หลักการเดิมของในการกู้เงินกับ ธ.ก.ส. ที่ผ่านมา ก็คือ

นำเอาที่ดินมาค้ำประกัน แต่เนื่องจากที่ดินในต่างจังหวัดจะมีราคาไม่มากนัก การประเมินราคาต้นไม้ยืนต้นที่อยู่ในที่ดินนั้นไปด้วยจะทำให้มีราคามากขึ้นและถือเป็นการช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้นด้วย ผู้ช่วยผจก.ธ.ก.ส.สาขาอ่างทอง กล่าว เมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 ทีมข่าว “เกษตรก้าวไกล” ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทีมดีแทค นำโดย คุณประพันธ์ จิวะพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน และคุณอุกฤษ อุณหเลขกะ ผู้ร่วมก่อตั้ง Ricult สตาร์ทอัพที่เป็น AgriTech ในฐานะผู้ร่วมพัฒนาบริการ “ฟาร์มแม่นยำ” ผ่านแอป Farmer Info

การพบปะพูดคุยครั้งนี้ ไม่มีอะไรที่ยิ่งใหญ่เท่ากับความคิดที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะใช้เทคโนโลยีเป็นอาวุธปฏิวัติชีวิตเกษตรกร (รวมทั้งปฏิวัติชีวิตผู้สื่อข่าวเกษตรอย่างเราด้วย) เพราะเกษตรคือประเทศไทย ถ้าเกษตรกรไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้ก็ยากที่จะลดความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจลงได้

คุณประพันธ์ จิวะพงษ์ กล่าวนำว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดีแทคตระหนักถึงบทบาทในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมไทย ตามวิสัยทัศน์ empowering societies จึงเป็นที่มาของโครงการดีแทคพลิกไทย รวมทั้งโครงการดีแทคเน็ตอาสา ที่จะให้ความรู้และสอนเทคนิคการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต…และโดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรไทยที่ดีแทคเข้ามามีบทบาทผ่านโครงการ dtac Smart Farmer อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 และในปี 2561 ที่ผ่านมายังได้เปิดตัวบริการ “ฟาร์มแม่นยำ” แอปที่จะช่วยเกษตรกรเพาะปลูกอย่างแม่นยำ ซึ่งขณะนี้มีเกษตรกรโหลดแอปมาใช้หลายพันคนแล้ว

“การเปิดแอปฟาร์มแม่นยำเราไม่ได้หวังผลกำไรทางธุรกิจ แต่เราต้องการสร้างสรรค์สังคมเกษตร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ให้มีเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยการใช้งานผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน และคิดว่าแอปตัวนี้จะช่วยเกษตรกรทำเกษตรแม่นยำได้มาก” คุณประพันธ์ กล่าว

ทางด้าน คุณอุกฤษ อุณหเลขกะ ผู้บริหารหนุ่มรุ่นใหม่ “หัวใจเกษตร” กล่าวว่า การพัฒนาภาคเกษตรเป็นความใฝ่ฝันของตนเอง…หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านวิศวกรรมและการบริหารจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ก็ได้เข้าทำงานในสาขาวิชาที่เรียนมาในอเมริกา ก่อนเบนเข็มชีวิตกลับสู่เมืองไทย มาก่อตั้งบริษัท Ricult ซึ่งเป็น Social Enterprise หรือธุรกิจเพื่อสังคม

“ผมมีความหลงใหลในเรื่องเกษตรกรรมมาตั้งแต่เด็ก และมีโอกาสได้เห็นปัญหาของภาคการเกษตรมาโดยตลอด เมืองไทยถือว่าเกษตรเป็นกระดูกสันหลังของชาติ แต่ประเทศเรามีเกษตรกรราว 1 ใน 3 ที่ยังประสบปัญหา มันเลยเป็นสิ่งที่ทำให้ผมอยากจะนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยแก้ปัญหาทั้งระบบให้กับเกษตรกร” นี่คือความใฝ่ฝันของคนหนุ่มที่มีพื้นเพมาจากครอบครัวเกษตรกรในจังหวัดฉะเชิงเทรา

เพราะเหตุนี้แอปฟาร์มแม่นยำจึงเกิดขึ้น หลักการสำคัญคือการใช้ดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการทำเกษตรกรรม เรียกว่า “เกษตรแม่นยำ” เพราะสามารถหยั่งรู้ดิน ฟ้า อากาศ ฯลฯ ซึ่งจะทำการเกษตรแบบพึ่งพาฟ้าฝนหรือเทวดาแบบแต่ก่อนไม่ได้อีกแล้ว เพราะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปมาก เทคโนโลยีดิจิทัลเท่านั้นที่จะเข้ามาช่วยได้ (รายละเอียดของแอปฟาร์มแม่นยำ ตอบโจทย์ในเรื่องอะไรบ้าง อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2WDt6uw หรือดาวน์โหลดแอป Farmer Info ผ่าน App Store และ Google Play และเข้าไปที่บริการ “ฟาร์มแม่นยำ” ใช้บริการฟรี 60 วัน และเก็บค่าบริการเริ่มต้น 30 บาทต่อเดือน)

ในระหว่างที่นั่งพูดคุยกันอยู่นั้น ทางคุณประพันธ์ และคุณอุกฤษ ได้นำเสนอแอปฟาร์มแม่นยำ ผ่าน powerpoint และมาสะดุดหยุดลงในหน้าสุดท้ายที่ว่า “เกษตรกรต้องรวย” คำนี้ทำให้ทีมงานเกษตรก้าวไกลหัวใจพองโต ไม่คิดว่าบริษัทผู้ให้บริการสัญญาณอินเตอร์เน็ตจะเห็นความสำคัญและกล้าที่จะใช้คำนี้

“คำว่า เกษตรกรต้องรวยในความหมายของผมคือ ต้องมีรายได้มากขึ้น และลดความเลื่อมล้ำในสังคมไทยครับ” คนหนุ่มที่ชื่อ อุกฤษ ตอบทันที

สรุปว่า หากคนหนุ่มรุ่นใหม่คิดและทำกันแบบนี้เยอะๆ เกษตรกรไทยมีโอกาสร่ำรวยอย่างแน่นอน และสิ่งที่อยากบอกในเบื้องต้นนี้คือ…โครงการเกษตรคือประเทศไทย ปี 2 ที่เกษตรก้าวไกลมีโครงการจะออกเดินทางไปยังพื้นที่เกษตรทั่วประเทศ เราจะมีโครงการความร่วมมือดีๆ “Digital for Farmers ติดอาวุธให้เกษตรกรไทยพร้อมรบในโลกออนไลน์”…ขอได้โปรดฟังสัญญาณอีกครั้งนะครับ

กรมชลประทาน ลุย EIA เขื่อนพระนครศรีอยุธยา ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 13 อำเภอ บรรเทาน้ำท่วม-แล้งซ้ำซาก พร้อมเปิดแผนโครงการจัดการลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 9 โครงการ

วันพุธที่ 5 มิถุนายน 2562 กรมชลประทาน นำคณะสื่อมวลชนสัญจรพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสำรวจพื้นที่ดำเนินโครงการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเขื่อนพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยโครงการดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 13 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วยพื้นที่ อ.บางไทร อ.บางบาล อ.บางปะหัน อ.บางปะอิน อ.ผักไห่ อ.พระนครศรีอยุธยา อ.มหาราช และ อ.เสนา ส่วนในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง ประกอบด้วย อ.ไชโย อ.ป่าโมก อ.โพธิ์ทอง อ. เมือง และ อ.วิเศษชัยชาญ โดยมีพื้นที่หัวงานโครงการตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่หัวงาน 76.93 ไร่ ระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลบ.ม./วินาที จากปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยในพื้นที่ดังกล่าว 10,970 ล้าน ลบ.ม./ปี

จุดประสงค์ของโครงการเขื่อนพระนครศรีอยุธยานั้น เนื่องจากพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประสบปัญหาทั้งน้ำท่วมและภัยแล้ง โดยเฉพาะน้ำท่วมที่เกิดซ้ำซากและมีแนวโน้มระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งสร้างความเสียหายต่อพื้นที่ชุมชน เกษตรกรรม อุตสาหกรรม รวมทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ในขณะเดียวกัน พื้นที่ดังกล่าวกลับเก็บกักน้ำได้น้อยในช่วงฤดูฝน ทำให้ในช่วงฤดูแล้ง ปริมาณน้ำใช้มีไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้ยังพบปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและพื้นที่เพาะปลูกอีกด้วย

การจัดทำเขื่อนพระนครศรีอยุธยาจะทำให้สามารถป้องกันกลุ่มโบราณสถานสำคัญในพื้นที่ประวัติศาสตร์ของพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม จากอุทกภัยซ้ำซากหรือปริมาณน้ำฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากลำน้ำมีลักษณะคดเคี้ยว แคบและเป็นคอขวด ตลอดจนริมสองฝั่งแม่น้ำเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชนเมืองปิดกั้นเส้นทางการระบายน้ำและกีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ อีกทั้งยังเพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์ให้แก่พื้นที่การเกษตรในช่วงฤดูแล้งและเป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการอุปโภค–บริโภคของประชาชนในพื้นที่

และด้วยโครงการดังกล่าวเข้าข่ายโครงการหรือกิจการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 “เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม” กรมชลประทานจึงได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประตูระบายน้ำพระนครศรีอยุธยา

นอกเหนือจากโครงการเขื่อนพระนครศรีอยุธยา กรมชลประทานจึงได้ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างทั้งระบบอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยได้นำเสนอในที่ประชุม กนช. 3 ครั้ง และครม. 2 ครั้ง จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการแผนงานบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 9 แผนงาน ประกอบด้วย

1.ปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง ผ่านการปรับปรุงคลองระพีพัฒน์และโครงข่ายระบบชลประทานฝั่งตะวันออก เพื่อให้สามารถเพิ่มการระบายน้ำจากแม่น้ำป่าสักสู่ทะเล จากเดิม 210 ลบ.ม./วินาที เป็น 400 ลบ.ม./วินาที เริ่มดำเนินการไปแล้วบางส่วน เช่น ประตูระบายน้ำพระมหินทร์ ประตูระบายน้ำพระศรีศิลป์ ประตูระบายน้ำพระศรีเสาวภาค ประตูระบายน้ำพระธรรมราชา เป็นต้น

2. คลองระบายน้ำหลากเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ซึ่งแบ่งเป็น การปรับปรุงคลองชัยนาท-ป่าสัก เป็นคลองส่งน้ำคู่คลองระบายน้ำ ซึ่งเป็นการปรับปรุงคลองชัยนาท-ป่าสัก ซึ่งมีอยู่เดิมให้ระบายน้ำหน้าเขื่อนเพิ่มขึ้นจาก 130 เป็น 930 ลบ.ม./วินาที ความยาว 134 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างสำรวจออกแบบรายละเอียดในช่วงแรก และคลองระบายน้ำหลากป่าสัก-อ่าวไทย เป็นคลองระบายน้ำขุดใหม่ขนาด 600 ลบ.ม./วินาที ยาว 135 กม. ระบายน้ำจากแม่น้ำป่าสัก ลงสู่อ่าวไทย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณารายงาน EIA

3. คลองระบายน้ำคู่ถนนวงแหวนรอบที่ 3 ซึ่งระบายน้ำได้ 500 ลบ.ม./วินาที มีความยาว 110.85 กิโลเมตร โดย JICA ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นแล้วเสร็จเมื่อกุมภาพันธ์ 2561 ปัจจุบัน สทนช. กำลังจะศึกษาเปรียบเทียบแนวทางและทางเลือกการดำเนินการ

4. ปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานฝั่งตะวันตก ซึ่งมีต้องปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานตั้งแต่คลองเจ้าเจ็ด-บางยี่หน ให้สามารถระบายน้ำออกสู่ทะเลได้เพิ่มจาก 52 ลบ.ม./วินาที เป็น 130 ลบ.ม./วินาที วงเงินรวม 34,300 ล้านบาท

5. เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา โดยขุดลอกให้สามารถระบายน้ำได้ 2,500 ลบ.ม./วินาที ที่ระดับตลิ่ง ดำเนินงานโดยกรมเจ้าท่า

6. การบริหารจัดการพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ ซึ่งมีชุมชนที่ได้รับผลกระทบ 14 ชุมชน บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา กรมโยธาธิการฯ โดยได้สร้างพนังป้องกันแล้ว 6 ชุมชน และอยู่ในแผนดำเนินการอีก 3 ชุมชน ในส่วนที่เหลือกรมโยธาธิการฯ จะเข้าแผนศึกษาเพี่อดำเนินการต่อไป

7. คลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร สามารถระบายน้ำเลี่ยงเมืองอยุธยา 1,200 ลบ.ม./วินาที โดยคลองระบายน้ำยาว 22.4 กิโลเมตร ครม.เห็นชอบในการดำเนินโครงการแล้ว

8. เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำท่าจีน โดยการขุดลอก และปรับปรุงบริเวณคอขวดและช่องลัด เพิ่มประสิทธิภาพการระบายแม่น้ำท่าจีน ได้สูงสุดอีก 90 ลบ.ม./วินาที ดำเนินงานโดยกรมเจ้าท่า และกรมชลประทานในส่วนที่เป็นทางน้ำชลประทาน

9. พื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง เริ่มดำเนินการแล้วใน พ.ศ. 2560 เป็นการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มต่ำ 1.15 ล้านไร่ ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ลงมา โดยปรับแผนการเพาะปลูก รองรับน้ำหลากได้ประมาณ 1,500 ล้าน ลบ.ม.

โครงการเกษตรคือประเทศไทย ก้าวไกลไปด้วยกันทั้งประเทศ ปี 2 (ตอน) ตามหาสุดยอดเกษตรกรประเทศไทย ตามที่ผมเคยเรียนแจ้งมาเป็นระยะๆ ว่าจะมีการเปิดตัวโครงการในวันพุธที่ 19 มิถุนายน 2562 มีอันต้องเลื่อนไปเป็นวันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2562 เพื่อความพร้อมให้มากกว่าที่เป็นอยู่อีกนิด

แต่ถึงอย่างไรกิจกรรมที่เราได้บรรจุไว้ในโครงการนี้ ก็ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว อย่างเช่น “ห้องเรียนกลางสวน” ที่ได้ออกสตาร์ทไปก่อนหน้านี้ที่สวนทุเรียนผู้ใหญ่ดำรงค์ศักดิ์ จังหวัดชุมพร และที่ฟาร์มเลี้ยงปลาหมอโกแอ๊ะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และล่าสุดนี้เราได้เปิดห้องเรียนกลางสวนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

ห้องเรียกลางสวนของเราคราวนี้ มีการเรียนรู้จำนวน 2 หลักสูตร หลักสูตรที่ 1 การปลูกไม้ผลในภาชนะ(กระถาง เข่ง) (เรียนเมื่อ 7มิ.ย.62) เรียนรู้เรื่องการปลูกไม้ผลในพื้นที่จำกัด นั่นคือการปลูกในกระถาง และในเข่ง นอกจากจะทลายข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ ยังแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่ทีมีดินไม่เหมาะสม บรรยากาศเป็นไปด้วยความคักคัก แถมได้ชิมฝรั่งพันธุ์ใหม่ๆ เป็นที่ประทับใจกันมาก

หลักสูตรที่ 2 การขยายพันธุ์พืช หรือ ชื่อหลักสูตรเก๋ไก๋ว่า “ปลูกไม้ผลเป็นเห็นเงินล้าน” (เรียนเมื่อ 7มิ.ย.62) เป็นการเรียนวิธีการขยายพันธุ์ไม้ผลจำนวน 5 วิธีที่ยอดนิยม หรือใช้ในทางปฏิบัติจริง ซึ่งบรรยากาศเข้มข้นมาก ท่ามกลางสายฝนที่เทลงมา แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคใดๆ

ทั้ง 2 หลักสูตร สอนโดย อ.รัฐพล ฉัตรบรรยงค์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งผู้เรียนบอกว่าได้รับวิชาความรู้คุ้มค่ามากๆ และชมเชยผู้สอนที่ทุ่มเทสุดๆ

ทั้งหมดนี้เป็นกิจกรรมเปิดห้องเรียนกลางสวน ที่ “เกษตรอคาเดมี” ในเครือเกษตรก้าวไกล ได้จัดขึ้น ภายใต้ความร่วมมือกับ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยศาสตร์ ซึ่งความร่วมมือนี้จะเกิดขึ้นกับทุกฝ่ายที่มีหัวใจเดียวกัน(หัวใจเกษตร) ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีความรู้และประสบการณ์ ที่มีหัวใจของความเป็นครูหรือผู้แบ่งปันความรู้และรับผิดชอบต่อสังคม

“ห้องเรียนของเราจะไม่จำกัดแค่ห้องสี่เหลี่ยมอีกต่อไป แต่จะเป็นที่ไหนก็ได้ ที่เราสามารถสื่อสารถึงกัน ไม่ว่าจะเป็นในสวน ในฟาร์ม ในบ่อปลา หรือในอากาศ…ขอแค่ทุกคนมีหัวใจเดียวกัน(หัวใจเกษตร)และพร้อมที่จะรับผิดชอบสังคมร่วมกัน”

จึงขอเชิญชวนทุกท่าน ที่มองเห็นร่วมกันว่า “เกษตรคือประเทศไทย” และ “เกษตรกรคือยอดมนุษย์” มาร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีดีให้เกิดขึ้นกับภาคเกษตรประเทศไทย โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรไทย ทำอย่างไรให้อาชีพเกษตรที่เป็นอาชีพของคนไทยที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษให้สามารถเจริญก้าวหน้า ดังแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ว่าถ้าทำให้การเกษตรเจริญได้ ประเทศไทยก็เจริญ…ติดต่อเดินทางไปด้วยกันได้ที่ โทร.ไลน์ 0813090599 (ลุงพร) นะครับ

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในการประชุมหารือร่วมกับกรมการแพทย์แผนไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ตัวแทนภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งตัวแทนจากโรงพยาบาลทั้ง 4 ภูมิภาค จนนำไปสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงกับทางกรมการแพทย์แผนไทย โดยสภาเกษตรกรแห่งชาติจะปลูกกัญชาแบบเกษตรอินทรีย์เท่านั้นส่งให้กับกรมการแพทย์แผนไทย เพราะทำอาหารต้องปลอดภัยมาก ทำเป็นยายิ่งต้องปลอดภัยมากยิ่งกว่า จึงเสนอการปลูกกัญชาแบบเกษตรอินทรีย์แบบลงทุนให้ฟรี เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์อย่างแท้จริง นำร่อง 4 จังหวัด คือ ลำปาง บุรีรัมย์ กาญจนบุรี และสุราษฎร์ธานี ด้วยพื้นที่ระหว่างต้น 2 X 2 เมตร จะปลูกได้ 400 ต้น/ไร่ จังหวัดละ 5 ไร่ ปลูกทั้งแบบในโรงเรือนและนอกโรงเรือน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะลงพื้นที่ไปตรวจสอบ วิเคราะห์ทุกขั้นตอน

เหตุที่เลือก 4 จังหวัดนำร่องดังกล่าว เพราะมีตัวแทนเกษตรกรที่อาสาสมัครเข้ามาและมีความพร้อม พร้อมทั้งในแง่ของหัวใจ ทุนทรัพย์ ด้วยการปลูกนำร่องนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นใดให้เลย ทุกคนต้องลงทุนควักกระเป๋าเอง อย่างน้อยที่สุดคนละ 1 ล้านบาท เราลงทุนฟรีให้กับราชการจะได้เงินหรือไม่ได้เงินคืนมาไม่ทราบได้ ที่อาสาปลูก เพราะต้องการความรู้และความสำเร็จเพื่อประกาศให้คนไทยทั้งประเทศรู้ว่าเกษตรกรก็สามารถปลูกได้

อย่างไรก็ตาม จากการที่สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้จัดเวทีโครงการ “ประชุมสัมมนาขับเคลื่อนการพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” 6 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง สกลนคร นครศรีธรรมราช อุทัยธานี ตรัง กระบี่ มีผู้สนใจเข้าร่วมงาน 3,238 คน และจากการสำรวจออนไลน์เรื่องความสนใจการใช้กัญชาตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2562 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 มีผู้สนใจทำแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 6,195 คน ประกอบอาชีพ เกษตรกร ร้อยละ 72.95% อาชีพอิสระ ร้อยละ 8.58% ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 6.45% รับราชการ 4.57% พนักงานเอกชน ร้อยละ 2.89% เป็นต้น โดยสนใจใช้เพื่อรักษาโรค เหตุผล รักษาตนเอง 3,449 คน คิดเป็นร้อยละ 55.7%, รักษาคนในครอบครัว/คนรู้จัก 2,488 คน คิดเป็นร้อยละ 40.2%, เพื่อความรู้ 2,988 คน คิดเป็นร้อยละ 48.2% และสนใจปลูกกัญชา 3,624 คน คิดเป็นร้อยละ 58.5%

“ขณะนี้การปลูกกัญชาในเชิงพาณิชย์ยังไม่อนุญาต หากเกษตรกรปลูกไปก่อนก็ขายไม่ได้และอาจจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย สภาเกษตรกรฯ จึงขอเริ่มต้นจากพื้นที่ที่มีความพร้อมก่อน ปลูกในเชิงการวิจัยและต้องสละทั้งเงิน เวลา บุคลากรที่จะต้องทุ่มเทให้สำเร็จให้ได้ เพราะฉะนั้นขอให้อดใจรอจนกว่าสังคมจะเปิดกว้างกว่านี้ กฎหมายผ่อนปรนมากกว่านี้ ขอให้สภาเกษตรกรฯ กรุยทางให้เดินก่อนแล้วเกษตรกรค่อยเดินตามหลังมา อดใจรอ 4 จังหวัดนำร่องปลูกไปก่อน และหากเป็นไปได้ก็อยากผลักดันกฎหมายให้ขยายผลการปลูกออกไปได้ทุกพื้นที่จังหวัดในอนาคต” นายประพัฒน์ กล่าวปิดท้าย

ประธานเครือข่ายอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ไทย-ลาว จังหวัดบึงกาฬ ผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ จับมือเครือข่าย 23 องค์กร ลงนามความร่วมมือ(MOU) ด้านการพัฒนา-วิจัย สร้างนวัตกรรมด้านยางพารา ก้าวไปสู่ “บึงกาฬโมเดล” ต้นแบบการแก้ไขปัญหายางพาราอย่างเป็นระบบครบวงจร นับเป็นการบูรณาการความร่วมมือกิจการร่วมค้าเป็นการร่วมทุนแห่งแรกและครั้งแรกของประเทศไทย สร้างแบรนด์สินค้าร่วมกัน ผลักดันเกิดศูนย์การพัฒนานวัตกรรมยางแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พิธีลงนาม(MOU) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนา การวิจัยและสร้างนวัตกรรมด้านยางพารา ครั้งนี้ โดย วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ กับ 23 องค์กรทั้งภาคการศึกษา, ภาครัฐ-เอกชน ตลอดจนเครือข่ายภาคเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ณ ห้องประชุมวิทยาลัย เทคนิคบึงกาฬ โดยมี นายธวัชชัย ศรีทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) และ นายอำนวย ปะติเส อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะที่ปรึกษา สภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) พร้อมทั้ง นายถวิล สุวรรณมณี นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน

ทั้งนี้ ในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหายางพารา และเพื่อยกระดับราคายางในพื้นที่ ทั้งในด้านการพัฒนาผลิต และการแปรรูปยางอย่างครบวงจร ผ่านกลไกในการวิจัย การทดสอบ และการสร้างมาตรฐาน รวมทั้งสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับมูลค่ายางในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศ อย่างเป็นรูปธรรม โดยดำเนินการวิจัยและพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อให้เกิดเป็นศูนย์การพัฒนานวัตกรรมยางแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการให้บริการเรื่องยางแบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) ซึ่งจะมีการจัดประชุมวิชาการ การจัดฝึกอบรม และมีการสร้างเครือข่ายยางนำไปสู่การทำวิสาหกิจชุมชนในการแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ของทุกภูมิภาคทั่วประเทศ สามารถช่วยสร้างอาชีพมีรายได้ที่ดีให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประเทศไทย สอดรับกับนโยบาย Thailand 4.0 โดยเกษตรกรและผู้ประกอบการ สามารถประกอบอาชีพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราได้ เกิดความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน

สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ ได้กำหนดกรอบความร่วมมือเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิอื่นใดของผลงาน สิ่งประดิษฐ์ ระบบฐานข้อมูล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ข้อมูลการรายงานการศึกษาวิเคราะห์ คู่มือ เอกสาร หรือสิ่งอื่นใดที่มีอยู่เดิมของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และได้นำมาใช้ในการดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ย่อมเป็นของฝ่ายนั้น หากอีกฝ่ายประสงค์จะใช้สิทธิในผลงานเดิมของอีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายที่ประสงค์จะใช้สิทธิในผลงานเดิมนั้นจะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากฝ่ายที่เป็นเจ้าของผลงานเดิมนั้นก่อน

สำหรับสิทธิในทางทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิอื่นใดที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นจากการดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ ให้ทุกฝ่ายร่วมกันพิจารณาและกำหนดสิทธิหน้าที่ในทรัพย์สินทางปัญญาเป็นรายกรณีไป ในแต่ละข้อตกลงหรือสัญญาที่จะดำเนินการต่อไปในอนาคต กรณีมีการยกเลิกบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สามารถกระทำได้โดยฝ่ายที่ประสงค์จะยกเลิกให้บอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยให้ถือว่าข้อตกลมเป็นอันสิ้นผลในวันที่ระบุไว้ในหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าดังกล่าว แต่ในแต่ละฝ่ายยังคงมีสิทธิหน้าที่ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน สำหรับการดำเนินการใดๆที่ได้กระทำลงไปในระหว่างที่บันทึกข้อตกลงฉบับนี้มีผลบังคับใช้อยู่และการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม โดยได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากทุกฝ่าย

นายภคพล บุตรสิงห์ ประธานเครือข่ายอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ไทย-ลาวจังหวัดบึงกาฬสาขา สยยท.แห่งประเทศไทย กล่าวเปิดเผยถึงความร่วมมือครั้งนี้ ในฐานะผู้นำในการรวมรวมเกษตรกรและเครือข่ายสมาคมการค้ายางจ.บึงกาฬ สันนิบาตรสหกรณ์ สภาเกษตรกร และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรในความร่วมมือครั้งนี้ว่า นับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญในการบูรณาการความร่วมมือกิจการร่วมค้าของสหกรณ์การเกษตรเครือข่ายสภาเกษตรกรจังหวัดบึงกาฬ กับบริษัท อาร์ ที แอล เวิร์ดเทรด จำกัด

ซึ่งเป็นการร่วมทุนแห่งแรกและครั้งแรกของประเทศไทยที่จะสร้างแบรนด์สินค้าร่วมกันทั้งภายในและต่างประเทศใน CLMVT ประกอบด้วย ประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนม่าร์ เวียดนาม และประเทศไทย ทั้งนี้ได้มีหน่วยงานจากหลายภาคส่วนมาจับมือร่วมกัน คาดว่าจะส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการแก้ไขยางพาราทั้งระบบทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยเริ่มจากในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกยางมากที่สุดของประเทศ ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้เป็นการสร้างต้นแบบที่เรียกว่า “บึงกาฬโมเดล” นับเป็น พร้อมขยายผลความสำเร็จไปในพื้นที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเฉียงและของประเทศไทย และขยายไปในเขตอาเซี่ยน และทั่วโลกต่อไป ซึ่งหากภาครัฐให้การสนับสนุนประสบความสำเร็จนี้จะได้นำรูปแบบดังกล่าวไปใช้ในพื้นที่ปลูกยางพาราในภาคอื่น ๆ ของประเทศไทยซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถแก้ปัญหายางพาราได้อย่างยั่งยืน

ทางด้าน นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การ MOU ครั้งนี้เชื่อมั่นว่าจะเกิดประโยชน์อย่างแน่นอน ล่าสุดที่ผ่านมาได้ทำ บันทึกความร่วมมือ( MOU)กับประเทศเมียนม่าร์แล้ว ซึ่งรัฐบาลควรให้การสนับสนุนอย่างจริงจังและเป็นวาระเร่งด่วน เพราะหากประสบความสำเร็จแล้วจะได้นำรูปแบบดังกล่าวไปพัฒนาปรับใช้ในพื้นที่หรือจังหวัดต่าง ๆ ที่มีการปลูกยางก็จะช่วยแก้ปัญหาได้ในระยะยาวได้ นอกจากนี้ขอฝากให้รัฐบาลหรือพรรคการเมืองผู้ที่จะมารับผิดชอบดูแลด้านยางพารา

ขอให้คัดสรรคนทำงานที่เป็นเก่ง คนดี คนที่มีความรู้ความสามารถมาแก้ปัญหายางพาราจริง ๆ เนื่องจากในอดีต จนถึงวันนี้เกิดปัญหาเรื้อรังสั่งสมมานานท้ายคนรับกรรมคือเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งหากแก้ควรแก้ไขตั้งแต่คนที่จะมานั่งเก้าอี้บริหารองค์กรยาง รวมทั้งควรแก้ระบบ ระเบียบ/กฎเกณฑ์ การทำงาน และงบประมาณที่ไม้เอื้ออำนวยต่อการบริหารงาน รวมทั้งควรรับฟังความคิดเห็นจากคนในพื้นที่ และเปิดโอกาสให้เครือข่ายเกษตรกรเข้ามามีบทบาทในการมาร่วมแก้ไขเพิ่มมากขึ้น.

วันนี้ (12 มิ.ย. 2562) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดระบบจำกัดการใช้สารเคมี 3 ชนิด รับสมัครเกษตรกรที่ต้องใช้ สารจำกัดวัชพืช ได้แก่ พาราควอต ไกลโฟเซต และสารกำจัดศัตรูพืช คลอร์ไพริฟอส เพียงสมัครด้วยตนเองได้ที่ http://chem.doae.go.th หรือผ่านแอปพลิเคชัน FARMBOOK ได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ทุกวันตามเวลาราชการ เกษตรกรเลือกวันและวิธีการอบรมได้เองตามความสมัครใจ และเข้าทดสอบตามวันเวลาที่เลือก เกษตรกรที่สอบผ่านจึงจะได้รับสิทธิ์ซื้อสาร

นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหรณ์ เปิดเผยว่า หลังจากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ ออกประกาศเกี่ยวกับการจำกัดการใช้สารเคมีเกษตร พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส จำนวน 5 ฉบับ ลงวันที่ 5 เมษายน 2562 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2562 ตามที่คณะกรรมการวัตถุอันตราย เห็นชอบให้ดำเนินการตามมาตรการจำกัดการใช้สารเคมี โดยจะมีผลบังคับใช้หลังจากประกาศ 180 วัน เป็นต้นไป (20 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป) ประกาศฯ ดังกล่าวกำหนดให้ เกษตรกรผู้ใช้สาร ผู้รับจ้างพ่น

จะต้องผ่านการอบรมเพื่อให้สามารถใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยมี 4 หน่วยงานที่รับผิดชอบในการอบรม ดังนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร จะอบรมและทดสอบ ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล พืชไร่ ไม้ดอก ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร การยางแห่งประเทศไทย จะอบรมและทดสอบให้กับเกษตรผู้ปลูกยางพารา สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จะอบรมและทดสอบให้กับเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย โดยกรมวิชาการเกษตร จะทำหน้าที่อบรมเจ้าหน้าที่ของ 3 หน่วยงานเพื่อให้เป็นวิทยากรไปอบรมเกษตรกร และเป็นผู้อบรมให้กับผู้รับจ้างพ่น และพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และปลัด อบต.

ด้าน นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ดูแลเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว และมีพื้นที่ปลูกพืชจริง ซึ่งเกษตรกรที่ปลูกพืช มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล พืชไร่ ไม้ดอก และมีความประสงค์ใช้สาร ก็ยังสามารถมาขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร และเข้าสู่ขั้นตอนของการขึ้นทะเบียน ซึ่งต้องลงพื้นที่ตรวจสอบแปลงและวาดแปลง ทั้งนี้ คุณสมบัติของเกษตรกรจะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป สัญชาติไทย และเป็นเกษตรกรที่ปลูกพืชนั้นจริงไม่น้อยกว่า 15 – 60 วัน เงื่อนไขตามแต่ละชนิดพืช

สำหรับการสมัครขอรับสิทธิ์ซื้อ 3 สาร เกษตรกรสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป ที่ “ระบบจำกัดการใช้สารเคมี 3 ชนิด” http://chem.doae.go.th หรือ แอปพลิเคชัน “FARMBOOK” ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง Android และ iOS ได้ทันที สำหรับท่านที่ยังไม่สะดวกให้ไปติดต่อได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่งใกล้บ้านท่าน โดยสามารถเลือกช่องทางเรียนรู้ได้ 3 ช่องทาง คือ ช่องทางแรก เข้ารับการอบรมโดยวิทยากร ครู ข ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง ช่องทางที่ 2 เรียนรู้ผ่านระบบ e-Learning โดยเรียนจากเว็บไซต์ http://elearning.doae.go.th มีทั้งหมด 9 ตอน ใช้เวลาประมาณ 60 นาที หรือ ท่านใดที่ประสงค์จะทดสอบเลย เนื่องจากมีความรู้เพียงพอแล้ว สามารถเลือก ช่องทางที่ 3 สมัครเข้ารับการทดสอบ ได้เลย จากเว็บไซต์ดังกล่าว โดยต้องเลือกสถานที่สอบ วันที่และช่วงเวลาที่ต้องการสอบได้ตามความสมัครใจ ทั้งนี้ สำหรับการทดสอบจะเริ่มตั้งแต่ 1 ก.ค. 62 เป็นต้นไป กรณีไม่ผ่านการทดสอบ สามารถเลือกสอบได้อีก 1 รอบ หากยังไม่ผ่านเกษตรกรจะต้องสมัครเข้าไปเลือกการทดสอบอีกครั้งในระบบ.

การปลูกไม้มีค่าคึกคักทันตาเห็นหลังจากที่รัฐบาลปลดล็อคให้มีการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจบนที่ดินของตนเอง จากเดิมที่ผิดกฎหมาย และยิ่งคึกคักเพิ่มขึ้นเมื่อธนาคาร ธ.ก.ส.เข้ามารับช่วงเรื่องการใช้ไม้มีค่าเป็นหลักทรัพย์ สามารถตีราคาเป็นมูลค่าเพิ่มจากที่ดิน

ณ บริเวณ หมู่ 7 ตำบลจำปาหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง เช้าวันนี้คึกคักมาเป็นพิเศษ เพราะได้มีพิธีการปลูกต้นไม้ขึ้นในชุมชม โดยมี นายเรวัต ประสงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานในพิธี ภายใต้ชื่อโครงการปลูกไม้มีค่าเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน “พอเพียง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยน้อมนำการปลูกป่า ตามแนวพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่าง องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาหล่อ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในนามของธนาคารต้นไม้ภาคกลาง

การปลูกไม้มีค่าวันนี้ (30 พฤษภาคม 2562) ได้ปลูกขึ้นบนที่ดินของ นายธนิสร นิรันดร ชาวบ้านหมู่ 7 บนเนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวา โดย นายศิวกร นิรันดร (น้องชายนายธนิสร) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาหล่อ เปิดเผยว่า เดิมทีเดียว อบต.จำปาหล่อ มีนโยบายปลูกต้นไม่ในที่ดินสาธารณะอยู่ก่อนแล้ว จึงได้เห็นว่าต้นไม้มีการเจริญเติบโตดี จึงเกิดความคิดว่าน่าจะขยายผลไปสู่ที่ดินของชาวบ้านในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการขึ้นและมีชาวบ้านเข้าร่วมตอนนี้จำนวน 8 ราย รวมเนื้อที่ 53 ไร่ โดยมีเป้าหมายที่จะปลูกไม้มีค่าให้ได้ จำนวน 9,999 ต้น

“ที่ปลูกไม้มีค่าวันนี้เป็นการปลูกบนที่ดินของพี่ชาย www.walkoffbalk.com เรามีเป้าหมายว่าจะทำแปลงนี้ให้เป็นแปลงตัวอย่างของชุมชน ซึ่งหวังว่าเมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ต้นไม้เหล่านี้จะเติบโตขึ้นมีมูลค่าต้นละ 2,000 บาท มันก็จะมีเงินเก็บไว้ให้ลูกหลาน แทนที่จะส่งมอบที่ดินว่างเปล่าให้พวกเขา และเกิดเป็นอาชีพแปรรูปไม้มีค่าในชุมชน หรืออย่างน้อยมันก็เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนเราน่าอยู่…” นายยก อบต.จำปาหล่อ กล่าว