นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย และในฐานะเลขาธิการสมาคมกุ้ง

เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตกุ้งในเขตภาคใต้ตอนบน ว่า ผลผลิตกุ้งปี 2563 ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน อาทิ จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรม เป็นต้น คาดว่าจะมีประมาณ 85,000 ตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ลดลงจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย แต่แม้ปริมาณผลผลิตจะลดลง เนื่องเนื่องจากปัญหาขี้ขาวในช่วงครึ่งปีหลัง รวมถึง EMS และไวรัสตัวแดงดวงขาว ทำให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ แต่กลับพบว่า ขนาดกุ้งเฉลี่ยใหญ่ขึ้น

ทั้งนี้สำหรับมุมมองต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด–19 นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมกุ้งไทยนับว่าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดน้อยกว่าอาชีพอื่น และจากการดำเนินการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งจนเป็นที่ยอมรับในระดับโลก รวมถึงทั้งภาคผู้เลี้ยงและโรงงานแปรรูปใส่ใจเรื่องสุขอนามัยของคนงาน ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทำให้สินค้ากุ้งไทยเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของผู้บริโภค

“สำหรับสถานการณ์กุ้งของไทย ปี 2563 นั้น จากการสรุปข้อมูลในภาพรวมที่แถลงโดยสมาคมกุ้งไทย นำโดย ดร.สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคม ได้ชี้ว่า ประเทศไทยและอุตสาหกรรมกุ้งไทยมีความได้เปรียบ ในเรื่องภาพลักษณ์เรื่องคุณภาพ ความปลอดภัยอาหาร และปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ ทั้งเป็นแหล่งผลิตลูกพันธุ์กุ้งที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก อาหารกุ้งที่มีประสิทธิภาพ และการที่ไทยสามารถบริหารจัดการเรื่องโรคโควิด-19 ในการควบคุมและจัดการโรคที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล ส่งผลให้ประเทศไทยได้เปรียบกว่าประเทศคู่แข่ง” นายสมชาย กล่าว

สำหรับในส่วนของเกษตรกรผู้เลี้ยง ต้องผลิตกุ้งให้ได้คุณภาพ และต้องลดความเสียหายจากโรคให้ได้ โดยภาครัฐโดยเฉพาะกรมประมงจะต้องดำเนินการศึกษาวิจัยและหาแนวทางในการแก้ปัญหาโรคระบาด โดยเฉพาะอาการขี้ขาว ซึ่งเป็นต้นทุนแฝงให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ภาครัฐจะต้องสนับสนุนส่งเสริมทั้งในด้านการผลิตและการตลาด การประชาสัมพันธ์เชิงรุก โดยใช้จุดเด่นที่มี คือ กุ้งคุณภาพ ระบบการผลิตที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งระบบ โดยไม่ต้องแข่งขันด้านราคากับประเทศผู้ผลิตที่มีต้นทุนถูกกว่า

“อีกประการที่ทางสมาคมกุ้งไทย ได้เรียกร้องคือ การเจรจากับตลาดคู่ค้าเพื่อเปิดตลาดใหม่ๆ รวมถึงการเจรจา FTA โดยเฉพาะกับสหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร การให้โอกาสเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยเข้าถึงแหล่งทุน การเสริมสภาพคล่อง การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ให้กับภาคการผลิต ภาคการส่งออก และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่าหากไทยใช้ศักยภาพเหล่านี้เต็มที่ โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย จะเป็นโอกาสสำหรับกุ้งไทยที่จะกลับมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมกุ้งได้อีกครั้งอย่างแน่นอน

“ส่วน สถานการณ์กุ้งของไทย ปี 2563 ทั้งนี้สมาคมกุ้งไทยได้ประเมินว่า ผลผลิตกุ้งเลี้ยงปี 2563 โดยรวมอยู่ที่ 270,000 ตัน ลดลงเมื่อเทียบกับผลผลิตกุ้งเลี้ยง ปี 2562 ที่อยู่ที่ประมาณ 290,000 ตัน ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาเรื่องโรคระบาด ความไม่มั่นใจเรื่องสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อตลาด และสถานการณ์ราคา ส่วนผลผลิตกุ้งทั่วโลกคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.3 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 3 เนื่องจากประเทศผู้ผลิตกุ้งหลักๆ มีผลผลิตกุ้งลดลง แทบทุกประเทศ ยกเว้นเอกวาดอร์ที่มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ คาดปี 2564 ประเทศไทยจะมีผลผลิตกุ้งอยู่ที่ประมาณ 310,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15” นายสมชายกล่าว

ในช่วงที่เราจะเข้าสู่ปี 2564 ปีแห่งความหวังของคนทั่วโลก(ไม่เฉพาะคนไทย) เพราะเราเจอปัญหาวิกฤตโควิด 19 ทำให้เครื่องยนต์เศรษฐกิจแทบดับสนิท แต่มองในมุมบวก นี่คือการสตาร์ทพร้อมกันอีกครั้งหนึ่ง โดยจะมองว่าเป็นโอกาสของคนตัวเล็กหรือเกษตรกรรายย่อยได้หรือไม่ คำตอบอยู่ที่พวกเราทุกคน

การใช้ digital technology เพื่อพัฒนาเกษตรกรรมไทยให้ก้าวไปสู่การทำเกษตรอัจฉริยะตอบสนองเทรนด์การเกษตรโลกและเพิ่มขีดความสามารถให้กับเกษตรกรไทย ที่รัฐบาลเคยโหมประโคมในเรื่องเกษตร 4.0 จึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นในการพัฒนาที่น่าศึกษาเรียนรู้และถือว่าเหมาะกับสถานการณ์ขณะนี้มาก โดยเมื่อ 2 วันที่แล้ว “เกษตรก้าวไกล” ได้ไปที่สมโภชน์เกาะช้างกับทีมงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ให้การสนับสนุนเรื่องเงินทุนและการส่งเสริมเป็นสวนเพื่อการท่องเที่ยว ได้เห็นว่ามีการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยี มาปรับใช้กับการทำการเกษตร ซึ่งคำตอบที่ได้จากเจ้าของสวน “สมโภชน์ ทัศมากร” ก็ทำให้ทราบว่าลูกชายของเขา “เฉลิมพล ทัศมากร” ประธานเครือข่าย Young Smart Farmer แห่งเกาะช้าง จ.ตราด เป็นผู้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับใช้ อย่างเช่นระบบน้ำที่สั่งการด้วยมือถือ ระบบตรวจวัดความชื้นผิวดินว่าชื้นมากน้อยแค่ไหน จะให้น้ำมากน้อยเพียงใด นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เกษตรกรไทยสามารถทำได้

คุณสมโภชน์เล่าให้ฟังว่าพอนำระบบน้ำอัจฉริยะแบบนี้มาใช้กับสวนก็ไม่ต้องลากสายยางแบบเก่าก่อน ซึ่งอนาคตตัวเขาเองก็อายุเริ่มเยอะคงลากไปมาไม่ไหว ซึ่งก็คงไม่ต่างกับสวนหรือฟาร์มอื่นๆที่แรงงานอยู่ในวัยสูงอายุเป็นส่วนใหญ่ และแรงงานที่จะมาทดแทนก็ใช่ว่าจะหาได้ง่าย แถมค่าแรงต่างๆอีกก็สูง แต่เมื่อนำระบบน้ำแบบนี้มาใช้จะทำให้สามารถลดแรงงาน ได้เวลากลับคืนมามีเวลาไปทำอย่างอื่นได้อีกมากมาย

นอกจากนี้ยังมีระบบพ่นหมอกแบบไทม์เมอร์หรือตั้งเวลา ลดการสูญเสียปุ๋ย ทดแทนแรงงานคน เพราะว่าไม่เฉพาะพ่นน้ำสร้างความชื้นในชั้นบรรยากาศ แต่ยังสามารถพ่นปุ๋ยทางใบหรือฮอร์โมน รวมไปถึงสารชีวภัณฑ์ต่าง ยังไม่หมดยังมีชุดล่อแมลงพลังงานแสงอาทิตย์ ตั้งเวลาทำงานได้ เช่น จะให้ล่อตอนกลางคืนที่แมลงศัตรูกำลังมา แถมเคลื่อนย้ายไปวางตรงไหนก็ได้

นี่อาจเป็นแค่ตัวอย่างและการเริ่มต้นเล็กๆ แต่จริงๆ แล้วเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่จะสามารถนำมาปรับใช้ในสวนเกษตรของพี่น้องเกษตรกรได้มากโข ในขณะที่สวนสมโภชน์แห่งนี้ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ในขณะที่อีกหลายส่วนยังไม่เริ่มต้น และอีกหลายส่วนก็อาจจะไปไกลกว่านี้แล้ว ถามว่าเกษตรกรรายย่อยที่เป็นส่วนใหญ่ของประเทศนี้ เราจะอาศัยกระแสตรงนี้สร้าง ให้มาเป็นจุดที่จะ startup พร้อมไปหรือเกาะกลุ่มกันไปกับกระแสตรงนี้ได้อย่างไร “เครื่องมือหรือแฟลตฟอร์มต่างๆได้ถูกออกแบบมาให้คนคนเดียวสามารถทำอะไรได้หลายอย่าง” อย่าได้คิดว่าเกษตรกรจะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่ได้ขอให้ดูช่วงนี้ที่เรามีโครงการคนละครึ่ง น้องของผมถึงกับลงทุนซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่ที่เป็น Smartphone มาให้คุณแม่ใช้ ก็เท่ากับว่าเรามีเครื่องมือมีอาวุธอยู่ในมืออยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับเราเราจะใช้ให้มันมีประสิทธิภาพเพียงใด

เราเคยเห็นการซื้อขายออนไลน์ผ่านมือถือของเกษตรกรรุ่นใหม่จำนวนมากเวลานี้ แต่ถามว่ามีเกษตรกรรุ่นเก่า(รุ่นบุกเบิก)อีกกี่ล้านคนที่ยังใช้เครื่องมือตรงนี้ได้ไม่เต็มร้อย(มีอาวุธอยู่ในมืออยู่แล้ว) “เกษตรก้าวไกล” ในฐานะที่เป็นสื่อมวลชนเกษตรรายย่อย มองเห็นว่าเราจำเป็นที่จะต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อที่จะช่วยกันฉุดเกษตรกรรายย่อยของเราให้ลุกตื่นขึ้นมา จึงขอประกาศว่า ในปี 2564 นี้ เราก็จะออกเดินทางไปตามโครงการเกษตรคือประเทศไทยเช่นเดิม ในการเดินทางครั้งนี้สิ่งที่เราฝันตลอด 3 ปีที่ผ่านมาก็คือจะมีโครงการ #DigitalforFarmer คือนำเทคโนโลยีความรู้ใหม่ๆไปถ่ายทอดกับพี่น้องเกษตรในชุมชนต่างๆ แต่ว่าเราลำพังคนเดียวคงทำได้ยาก #เราร่วมมือกันมากพอแล้วหรือยัง? จึงขอเชิญชวนทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน หรือองค์กรต่างๆ มาร่วมมือกัน #เกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน เรามีความพร้อมที่จะออกเดินทางและเชื่อมโยงกลุ่มเกษตรกรในชุมชนต่างๆ ท่านมีกำลังส่วนไหนก็มาบวกกัน เราพร้อมที่จะเดินวิ่งไปด้วยกันเพื่อช่วยกันพัฒนาเกษตรไทยให้เจริญ

“จากตัวเลขของกสิกรไทยปี 62 คนไทยอยู่ในภาคเกษตร 1 ใน 3 แต่ตัวเลข GDP(ผลิตภัณฑ์มวลรวม) มีแค่ 8 % นั่นหมายถึงว่าช่องว่าในการพัฒนาเกษตรของเราให้เพิ่มมูลค่ายังมีอีกมาก นวัตกรรมและเทคโนโลยีเท่านั้นที่จะเป็นตัวช่วยทำให้เราก้าวทัน ถ้าเรายังคิดว่าจะทำเกษตรเป็นธุรกิจ” หลังวิกฤตโควิด 19 จึงเป็นความหวังของเกษตรประเทศไทย ความหวังของคนตัวเล็กที่จะวิ่งตามคนตัวใหญ่เกิดขึ้นอีกครั้งแล้วครับ

“คลองดำเนินสะดวก” ลำน้ำสำคัญที่ไม่เพียงแต่หล่อเลี้ยงชีวิตเกษตรริมสองฝากเท่านั้น แต่ยังเป็นทางน้ำประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยถึง 3 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่ทรงดำริให้ขุดขึ้นเพื่อเป็นเส้นทางการค้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จประพาสต้น และพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่

“คลองดำเนินสะดวก” จึงเป็นหนึ่งในเส้นทางที่น่าสนใจ และควรไปเยือนตามโครงการท่องเที่ยว “วิถีคลอง วิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน” ซึ่งสวนเกษตรแม่ทองหยิบ ตั้งอยู่ที่ 153 หมู่ 8 ตำบลศรีสุราษฎร์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โทร. 09-9212-8682 คือหนึ่งในจุดท่องเที่ยวที่ต้องแวะในเส้นทางการท่องเที่ยว “วิถีคลอง วิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน” เพื่อสัมผัสเสน่ห์อันเป็นอัตลักษณ์ของวิถีชีวิตชาวคลองดำเนินสะดวก

สวนเกษตรแม่ทองหยิบ 1 ใน 4 จุดเที่ยว
“สวนเกษตรแม่ทองหยิบ เป็น 1 ใน 4 จุดในเส้นทางการท่องเที่ยว “วิถีคลอง วิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน” โดยจุดเริ่มต้นสำหรับการท่องเที่ยวเส้นทางนี้ เริ่มที่วัดโชติกทายการาม ซึ่งเป็นจุดตามรอยเสด็จ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ส่วนจุดที่สอง คือ บ้านมหาดเล็ก เจ็กฮวด ที่นี่ทุกคนจะได้ตื่นตาตื่นใจกับเมนูอาหารที่ทำถวาย รัชกาลที่ 5 จุดที่สาม คือที่สวนเกษตรแม่ทองหยิบแห่งนี้ ในกิจกรรมของการล่องเรือชมสวน ศึกษาวิถีเกษตรเป็นการน้อมนำศาสตร์พระราชามาปรับใช้กับวิถีเกษตร จากเกษตรเซิงเดี่ยวมาเป็นเกษตรผสมผสาน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไฮไลท์ของที่นี่คือ การพายเรือชมสวน เก็บผักและผลไม้ตามฤดูกาล และจุดที่สี่ สุดท้าย คือ ตลาดเหล่าตั๊กลัก ซึ่งจะได้ชมพิพิธภัณฑ์ และเลือกซื้อของฝากของที่ระลึก”

“ไพศาล ศรีเอี่ยมกูล” เกษตรกรเจ้าของสวนเกษตรแม่ทองหยิบ และยังเป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนเกษตรแม่ทองหยิบ บอกกล่าวถึงสิ่งที่จะทำให้เกิดความสุขกับทริปการท่องเที่ยว “วิถีคลอง วิถีไทย ตามรอยเสด็จคลองดำเนิน” อันเป็นหนึ่งการท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่อง

พี่ไพศาล เป็น 1 ใน 7 พี่น้องที่เป็นลูกของ แม่ทองหยิบ ศรีเอี่ยมกูล เกษตรกรชาวคลองดำเนินสะดวกที่เลี้ยงชีพและครอบครัวด้วยการทำการเกษตรและเป็นหนึ่งในเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่เป็นต้นแบบของการพัฒนาสวนเกษตรของตนเองให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สร้างรายได้เพิ่มอีกทางจากเดิมที่เคยเน้นแต่จำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรอย่างเดียว

ซึ่งแต่เดิมที่นี่เน้นการทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ทำให้มีรายได้ไม่ต่อเนื่อง แม่ทองหยิบและลูก ๆ จึงหันมาทำสวนเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งสามารถผลผลิตผลผลิตได้ตามฤดูกาลได้ตลอด จึงทำให้มีรายได้ตลอดทั้งปี

35 ไร่ กับความงามแห่งวิถีชาวสวน
แต่สำหรับวันนี้ สวนเกษตรแม่ทองหยิบ บนพื้นที่ 35 ไร่ คือแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตรที่หลากหลาย โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นธงนำ ที่มีทั้ง มะม่วง มะพร้าว มะนาว มะขาม กล้วย และผักส่วนครัว เป็นต้น

เสน่ห์ของสวนแห่งนี้มีความเพียบพร้อมทั้งความงดงามแห่งวิถีชีวิตเกษตรกรที่ผูกพันกับคลองดำเนินสะดวก ที่ยังคงอนุรักษ์สวนแบบดั้งเดิมไว้ครบเครื่อง ทั้งฝั่งที่เป็นสวนมะนาวและละมุดกระสวยมาเลย์ที่ปลูกหลุมเดียวกัน และอีกฝั่งที่เป็นสวนมะพร้าวน้ำหอม ที่เจ้าของมุ่งออกแบบให้มีร่องสวนกว้าง สะอาดสะอ้าน สามารถล่องเรือไปได้สุดสวน และมีมะพร้าวน้ำหอมไว้บริการนักท่องเที่ยว

พี่ไพศาลได้คิดค้นการปลูกแบบผสมผสาน โดยใช้แนวคิดการปลูกแบบ “เกื้อกูลกัน” คือ พืชหลักของสวนคือมะพร้าวและส้มโอ มะพร้าวกับฝรั่งและมะนาว และมีพืชอื่นแซมเข้ามาเรื่อย ๆ โดยมีมะม่วงอกร่องปลูกตามคันสวน

ทำต้องปลูกพืชร่วมกันระหว่าง มะพร้าวกับส้มโอ มะนาว พี่ไพศาลอธิบายว่า เพราะมะพร้าวนั้น นอกจากมีใบให้ร่มเงา รากช่วยยึดดินคันร่องไว้

“รากมะพร้าวช่วยดูดน้ำ ทำให้ดินแห้ง กลับมาร่วนซุย เกื้อกูลกับส้มโอ และมะนาว ที่ชอบดินแห้ง รากหาอาหารได้ดี ทำให้ได้ผลผลิตดี” พี่ไพศาลกล่าว

มะนาวและละมุด “ต้นไม้กอดกัน”
ขณะเดียวกันยังมีผลงานการพัฒนาที่เป็นภูมิปัญญาของพี่ไพศาลที่ที่ได้คิดค้นทดลอง และดัดแปลงจากการที่พี่ไพศาลได้ไปดูงานจากที่ต่าง ๆ และนำมาปรับใช้จนได้ผลดีในการลดต้นทุน ลดแรงงาน เป็นสวนที่ปลูก มะนาวกับละมุด ที่มาของ “ต้นไม้กอดกัน” พากันให้ผลผลิต

“ต้นไม้กอดกัน” จึงเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของสวนแห่งนี้ นอกเหนือจากการมีบรรยากาศอันร่มรื่นชื่นใจ ถือเป็นรูปแบบการปลูกพืชที่ไม่เหมือนใคร ด้วยการปลูกมะนาวแป้นรำไพและละมุดกระสวยมาเลย์อยู่ในหลุมเดียวกัน เรียกว่าหวานกับเปรี้ยวมาอยู่ด้วยกัน สื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการสร้างความรักและความอบอุ่นให้แก่กันและกัน

ละมุดพันธุ์กระสวยมาเลย์ มะนาวพันธุ์แป้นรำไพ
“ละมุดกับมะนาว ที่อยู่คู่กันได้ เพราะละมุดเป็นพืชที่มีความทน แมลงไม่ชอบ ลูกมีผิวสากกระด้างเพลี้ยไม่ชอบ ใบ ไม่เป็นราง่าย เพราะมีความหนาและแข็ง ส่วนรากสามารถชอนไชหาอาหารได้ดีทำให้ได้ผลผลิตที่ดี”

ทำไมต้องปลูกในหลุมเดียวกันและทำให้กอดกัน ?

“เพราะ กิ่งของละมุดนั้น ใช้ในการค้ำกิ่งก้านของต้นมะนาวแทนการใช้ไม้ค้ำ เป็นการลดต้นทุนการผลิต ลดค่าแรงงาน ลดเวลาในการดูแลรักษา และได้ผลผลิตที่ดี” พี่ไพศาลกล่าว และบอกว่า “ที่สำคัญอีกประการคือ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจากพืชทั้ง 2 ชนิดไปขายได้อย่างต่อเนื่อง”

ธ.ก.ส.พร้อมหนุนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
จากความโดดเด่นของสวนเกษตรแม่ทองหยิบในวันนี้ ได้กลายเป็นหนึ่งในต้นแบบของการเรียนรู้ของผู้ที่สนใจ ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.

“สวนเกษตรแม่ทองหยิบ คือหนึ่งในจุดน่าสนใจทั้งในด้านการประกอบอาชีพการเกษตร และการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นต้นแบบของการพัฒนาของเกษตรกรที่ทางธ.ก.ส.พร้อมให้การสนับสนุนทั้งในด้านสินเชื่อ และการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้แก่ประชาชนทั่วไป” นายคงทน ศรีชื่น ผู้ช่วยผู้จัดการธ.ก.ส.สาขาดำเนินสะดวก กล่าว

ด้วยการต่อยอดชุมชนต่าง ๆ ให้เกิดการพัฒนาก้าวไปสู่ชุมชนท่องเที่ยว จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างงาน สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพเสริม เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน ลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน ชาวบ้านเกิดความรักความหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่นตนเอง อันนำไปสู่การสร้างชุมชนอุดมสุข ที่มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน คือ หนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.

ธ.ก.ส. นับเป็นธนาคารที่อยู่เคียงข้างเกษตรกรและภาคเกษตรมายาวนาน และยังคงมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และการมุ่งเป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน มุ่งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

การได้มีโอกาสเดินทางมาสัมผัสกับความงดงามแห่งวิถีเกษตรกรคลองดำเนินสะดวกในครั้งนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งการทำงานเพื่อสนับสนุนเกษตรกรในด้านการช่วยประชาสัมพันธ์ ที่มีเป้าหมายสำคัญเพื่อการสร้างสุขให้กับเกษตรกรและส่งสุขนั้นไปยังผู้ที่กำลังหาสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอย่างสวนเกษตรแม่ทองหยิบแห่งนี้

สทนช.เร่งเครื่องวางแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ติดตามการบริหารจัดการ“อ่างเก็บน้ำคลองบางเหนียวดำ” และโครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล เตรียมพร้อมรับมือการท่องเที่ยว “ภูเก็ต”กลับมาบูม ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำพุ่งกระฉูด คาดปี 2582 ต้องใช้น้ำมากถึง 124.22 ล้าน ลบ.ม.

วันนี้ (21 ธันวาคม 2563) ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยมีนายปิยพงศ์ ชูวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตให้การต้อนรับ เลขาธิการสทนช.เปิดเผยว่า การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นหนึ่งพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกที่ สทนช. อยู่ในระหว่างดำเนินการโครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (SEA)

มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช พังงา พัทลุง ภูเก็ต ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี โดยได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยนเรศวรและกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาอย่างรอบด้านทั้งด้านวิศวกรรม อุตุ-อุทกวิทยา สภาพภูมิสังคม รวมถึงได้ทบทวนผลการศึกษาและการดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันผู้ศึกษาได้ลงพื้นที่พบปะประชาชนกว่า 70 ครั้ง เพื่อสอบถามความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และนำมาประกอบการจัดทำรายงานการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ของพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก พร้อมจัดทำแผนหลักการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก 20 ปี และแผนปฏิบัติการ 5 ปี ตลอดจนการพัฒนาแหล่งน้ำและแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) โดยจะดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2564

สำหรับจังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดที่สำคัญในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกที่มีอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยวที่ทำให้มีโรงแรมที่พักเกิดขึ้นในแทบทุกพื้นที่ตั้งแต่หัวเกาะจรด ท้ายเกาะ มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเฉลี่ยปีละกว่า 14 ล้านคน สามารถนำรายได้เข้าประเทศถึงปีละกว่า 4 แสนล้านบาท แต่เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะล้อมรอบด้วยทะเล จึงทำให้แหล่งน้ำต้นทุนมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งสวนทางกับปริมาณความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยจากการศึกษาพบว่าในปี 2562 มีความต้องการใช้น้ำรวมประมาณ 80.86 ล้าน ลบ.ม. (ไม่รวมการใช้น้ำการเกษตรนอกเขตชลประทาน) และคาดการณ์ว่าในปี 2572 จะเพิ่มเป็น 103.18 ล้าน ลบ.ม. และภายในปี 2582 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 124.22 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวทำให้สถานการณ์น้ำจังหวัดภูเก็ต อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการน้ำที่ดี เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างครอบคลุม

“ปัจจุบัน จังหวัดภูเก็ต มีน้ำต้นทุนประมาณ 27.14 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี (เป็นน้ำจากแหล่งเก็บกักน้ำผิวดิน 20.59 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี หรือร้อยละ 75.87 น้ำใต้ดิน 2.55 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี หรือร้อยละ 9.40 และการผลิตน้ำจืดจากทะเล 4 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี หรือร้อยละ 14.73) แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ขณะที่การผลิตน้ำประปาปัจจุบันมีกำลังการผลิตประมาณ 125,800 ลบ.ม.ต่อวัน หรือ 45 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี ซึ่งก็สามารถให้บริการได้เพียงร้อยละ 70 ของจำนวนผู้ต้องการใช้น้ำเท่านั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้สอดคล้องทั้งปริมาณน้ำต้นทุนที่มีความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มสูงขึ้น และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำต้นทุนทั้งน้ำจืด น้ำทะเล น้ำใต้ดิน รวมถึงมีการวางแผนการส่งเสริมการผลิตน้ำประปาอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับกับปริมาณ ความต้องการใช้น้ำในอนาคตและเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวไปพร้อม ๆ กัน

“ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จังหวัดภูเก็ต เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ จนต้องทำให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะจังหวัดต้องร่วมมือกันทุกรูปแบบ แก้ไขปัญหาจนผ่านพ้นไปได้ โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบกลาง ปี 2563 ให้จังหวัดภูเก็ต จำนวน 3 ครั้ง1,104 โครงการ วงเงิน 1,963.55 ล้านบาท ดำเนินการโดย 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย การประปาส่วนภูมิภาค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมเจ้าท่า กระทรวงมหาดไทย กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และกองทัพบก ได้ปริมาณน้ำดิบ 10.13 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำ 3.20 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่รับประโยชน์ 42,297 ไร่ และครัวเรือนรับประโยชน์ 10,770 ครัวเรือน ซึ่งคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.)

ที่มี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้มอบหมายให้ สทนช.ดำเนินการจัดทำแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาในระยะยาวต่อไปด้วย” ดร.สมเกียรติ กล่าว
ทั้งนี้ คณะเลขาธิการ สทนช. ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำที่อ่างเก็บน้ำคลองบางเหนียวดำ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 อ่างเก็บน้ำ (อ่างเก็บน้ำบางวาด อ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ และอ่างเก็บน้ำคลองกะทะ)

ที่เป็นแหล่งน้ำดิบที่สำคัญสำหรับการผลิตน้ำประปา โดยทั้ง 3 แห่ง สามารถกักเก็บน้ำดิบได้รวมกันประมาณ 30 ล้าน ลบ.ม.(รวมระบบสูบกลับ) และได้เดินทางไปติดตามการดำเนินงานของโรงผลิตน้ำทะเลเป็นน้ำจืด ของ บริษัท อาร์ อี คิว วอเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด โดยการแยกเกลือออกจากน้ำทะเลด้วยเทคโนโลยี Reverse Osmosis ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 10,000-12,000 ลบ.ม.ต่อวัน โดยน้ำประปาที่ได้จะส่งไปให้พื้นที่การท่องเที่ยวบริเวณหาดกะรน หาดกะตะและหาดกะตะน้อย ในอัตราร้อยละ 35 ที่เหลืออีกร้อยละ 65 จะส่งไปยังพื้นที่หาดป่าตองเพื่อเป็นน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับการท่องเที่ยวต่อไป

เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาว คนไทยเราเริ่มที่จะสังเกตเห็นว่าสภาวะอากาศรอบตัวนั้นเปลี่ยนแปลงไป บางวันอากาศก็ดูมืดสลัวคล้ายกับเมืองในหมอก พร้อมๆ กับรับรู้ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือฝุ่น PM 2.5 ที่เกินค่ามาตรฐานในหลายจังหวัด ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ด้วยเหตุนี้ สังคมจึงเกิดการตื่นตัว เฝ้าระวัง หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ก็ได้กำหนดนโยบายและมาตรการการดำเนินงานเพื่อป้องกัน ควบคุมปัญหาฝุ่นละอองดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 นั้น หากเป็นในเมืองใหญ่ ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการจราจร, การก่อสร้าง ขณะที่ในต่างจังหวัด ปัญหาฝุ่นละอองมักเกิดจากการเผาในที่โล่งแจ้งหรือการเผาในภาคเกษตรกรรม และเมื่อประกอบกับช่วงเวลาที่สภาพอากาศปิด ลมสงบ ไม่ถ่ายเท ก็ยิ่งส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง โดยที่ผ่านมา ภาคการเกษตรมักจะถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 จากการเผาพืชผลทางเกษตรหรือเศษชีวมวลต่าง ๆ ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว เช่น เผาฟางข้าว ซังข้าวโพด หรือเผาอ้อย

ในเรื่องนี้ คุณบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการบริษัท กลุ่มมิตรผล ได้ให้มุมมองไว้ว่า “ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรบางส่วนเลือกที่จะเผาวัสดุทางการเกษตรในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว อาทิ เช่น เผาฟางข้าว ซึ่งประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 60 ล้านไร่, ซังข้าวโพดซึ่งมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 6.53 ล้านไร่ หรืออ้อยซึ่งมีพื้นที่ปลูกในประเทศรวม 11.95 ล้านไร่ เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทันเวลา แต่การเผาก็จะทำให้สูญเสียคุณภาพผลผลิต รวมถึงส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งเป็นพื้นฐานการเจริญเติบโตที่จำเป็นของพืช อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาหลายภาคส่วนมีความพยายามที่จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหานี้ โดยผมมองเห็นว่าทางออกในการแก้ไขปัญหาเรื่องการเผาในภาคเกษตรอย่างยั่งยืนสำหรับประเทศไทยนั้นประกอบด้วย 4 แนวทางด้วยกัน ได้แก่

เปลี่ยนวิธีการทำการเกษตรแบบดั้งเดิมเป็นเกษตรสมัยใหม่ เริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนการปลูก บำรุง เก็บเกี่ยว ที่จะต้องนำนวัตกรรม เทคโนโลยี เครื่องจักรกลการเกษตรขนาดกลางและเล็ก เข้ามาใช้แทนแรงงานคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ช่วยลดต้นทุน และช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งสำหรับการทำไร่อ้อยแล้ว กลุ่มมิตรผลได้ส่งเสริมแนวทางการทำไร่อ้อยสมัยใหม่ตามหลัก “มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม” ให้แก่ชาวไร่อ้อยมา 5-6 ปี ซึ่งทำให้ปริมาณอ้อยไฟไหม้ของกลุ่มมิตรผลน้อยลง ตัวอย่างเช่น โรงงานน้ำตาลมิตรภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ มีอ้อยสดเข้าหีบสูงถึง 99%

ส่งเสริมให้ความรู้เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตระหนักว่าการทำการเกษตรแบบยั่งยืนที่ดูแลสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้ชาวไร่ได้รับประโยชน์สูงสุดทั้งในแง่ของคุณภาพของผลผลิตและรายได้ และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและสมดุลในระบบนิเวศน์ ลดการใช้สารเคมีในภาคเกษตร ทำให้เกษตรกรไทยสามารถประกอบอาชีพเกษตรได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ และสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตรให้กับเกษตรกร เช่น รถตัดอ้อย รถสางใบอ้อย รถอัดใบอ้อย เครื่องคลุกใบอ้อยเพื่อใช้เป็นวัตถุอินทรีย์ในดิน เป็นต้น

สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุชีวมวลทางการเกษตร เช่น ใบอ้อย ฟางข้าว ที่นอกจากจะใช้คลุมดินช่วยป้องกันวัชพืช รักษาความชื้น เป็นอินทรีย์วัตถุให้กับดินแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเสริมเพื่อผลิตไฟฟ้าชีวมวล พลังงานสะอาด ลดการใช้น้ำมันฟอสซิลซึ่งเมื่อเกษตรกรเห็นว่าวัสดุชีวมวลเหล่านี้มีคุณค่า สามารถสร้างรายได้ สร้างงาน สร้างอาชีพก็จะเลิกเผา

บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพลังงาน หน่วยงานในท้องถิ่น รวมถึงภาคเอกชน และเกษตรกร ซึ่งหากมีการบูรณาการแผนการดำเนินงานกันอย่างเข้มแข็ง และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง รวมถึงเข้มงวดกวดขันเรื่องการเผาอ้อย ก็จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้พร้อมกับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เช่นในปีนี้ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมมือกันรณรงค์ให้งดเผาและตัดอ้อยสดให้มากขึ้น โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้มีนโยบายให้ตัดอ้อยสดเข้าหีบไม่น้อยกว่า 80% ในฤดูการผลิตปีนี้ ซึ่งกลุ่มมิตรผลคาดว่าในฤดูหีบนี้ จะสามารถตัดอ้อยสดได้ตามเป้าหมายของภาครัฐถึงแม้ว่าจะประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร รวมถึงสถานการณ์โควิด-19”

“ผมมองเห็นว่าเกษตรสมัยใหม่คือจุดเปลี่ยนผ่านสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาคเกษตรของไทยให้สามารถแข่งขันบนเวทีโลกได้ ทั้งในด้านของคุณภาพและปริมาณผลผลิต เราจึงต้องส่งเสริมให้เกษตรกรมีทัศนคติที่อยากปรับเปลี่ยนตัวเองให้เป็น Smart Farmer เป็นเกษตรยุคใหม่ที่ใช้หลักการบริหาร เทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาปรับใช้ รวมถึงให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม เพราะหากไม่ปรับตัวในวันนี้ ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องฝุ่นที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ภาคเกษตรยังต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งหรือน้ำท่วมที่มีผลจากปัญหาโลกร้อนและสภาพอากาศแปรปรวน รวมถึงการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมเกษตรระดับโลกที่ท้าทายมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตและรายได้”
คุณบรรเทิง กล่าวสรุป

สำหรับฤดูการผลิตประจำปี 2563/2564 โรงงานน้ำตาลกลุ่มมิตรผล ในจังหวัดสุพรรณบุรี สิงห์บุรี ขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ เลย และอำนาจเจริญ ได้เปิดโครงการรับซื้อใบอ้อยและฟางข้าวจากชาวไร่ ตันละ 1,000 บาท (ราคาหน้าโรงงาน) อย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้าชีวมวล ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 – 15 มีนาคม 2564 โดยในปีนี้ มีเป้าหมายที่จะรับซื้อใบอ้อยและฟางข้าวจากชาวไร่จำนวน 380,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 380 ล้านบาท นับเป็นการส่งเสริมให้ชาวไร่มีรายได้เพิ่มขึ้น ท้องถิ่นมีอาชีพ เกิดการจ้างงานในชุมชน เศรษฐกิจระดับท้องถิ่นหมุนเวียน ช่วยลดภาระเศรษฐกิจที่ภาครัฐต้องสนับสนุน ทั้งยังได้ดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ลุงทุยหรือเถ้าแก่ทุย (คุณประสงค์ ภู่ทอง) เล่าถึงความเป็นมาของโค้งพันล้าน ให้กับทีมงานเกษตรก้าวไกลฟัง ในวันที่เราเดินทางไปเยือนถึงด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา พร้อมกับทีมงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)สาขาโชคชัย

เถ้าแก่ทุย เล่าว่า จริงๆ แล้วด่านเกวียนเน้นการปั้นดินเผามานานแล้ว ตั้งแต่บรรพบุรุษ เห็นมาตั้งแต่เด็กๆ พ่อแม่พามาทำตั้งแต่จำความได้ อยู่ในวงการเครื่องปั้นดินเผามานาน ส่วนมากเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนจะส่งออก 80 เปอร์เซ็นต์ ขายในประเทศเพียง 20 เปอร์เซ็นต์

“ผมทำเครื่องปั้นดินเผาเจ๊งมาแล้วถึง 3 รอบ แต่ก็สู้มาจนวันนี้ เริ่มจากพ่อผมมีรถอีแต๋น จึงไปเก็บฟืนมาขาย แต่ไม่มีใครซื้อ จึงมากองรวมก้นไว้ที่บ้าน มีคนมาชักชวนให้มาทำเครื่องปั้นดินเผา เริ่มจากเพื่อนๆ และลูกน้องเรียกไอ้ทุย เมื่อทำเครื่องปั้นดินเผา ผมก็เลี้ยงเหล้าลูกน้องทุกวัน อายุผมเพียง 22 ปี ลูกน้องจึงเริ่มเรียกเถ้าแก่ ทำให้หลงตัวเอง สั่งคนทำอย่างเดียว ตัวเองไม่มีประสบการณ์ ไม่เป็นงานเลย จึงเจ๊งรอบแรก ส่วนครั้งที่ 2 ข้าราชการ อ.ปักธงชัย เขามาชวนหุ้นกัน เราก็ร่วมหุ้น แต่เขาปล่อยให้ผมทำคนเดียว ส่วนหุ้นส่วนผม 4 คนพากันไปกินไปเที่ยวในโรงแรม ทิ้งให้ผมลำบากอยู่คนเดียว จึงเจ๊งเพราะหุ้นส่วน และเลิกกันก่อน ส่วนครั้งที่ 3 เจ๊งเพราะความโลภ เราเผาแผ่นหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ไม่ขอขมาหลวงพ่อคูณ ของที่เผามาจึงแตกเสียหายนับสิบเตา ลงทุนเตาละเป็นหมื่น ปู่ย่าตายายก็บอกว่า ไปเผาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่ขออนุญาตจึงไม่ประสบความสำเร็จ” เถ้าแก่ทุย ย้อนอดีตให้ฟัง

เถ้าแก่ทุย เล่าอย่างภาคภูมิใจว่า ผมมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ด้วยความที่เป็นคนกล้าได้กล้าเสีย ได้รับอานิสงส์จากธ.ก.ส. ที่ไปกู้เขามา เพราะกู้ธ.ก.ส.มาตั้งแต่ปี 2538 โดยไปคุยกับธ.ก.ส.และกสิกรไทยซื้อที่ดินเพิ่มอีก ซื้อมาในราคา 2.5 ล้านบาท จำนวน 4 ไร่ 3 งาน แต่มาปรับถมดินเองหมดเงินอีกนับล้านบาท

ประมาณปี 2549 เริ่มมีคนมาขอเช่า และมีการเซ้งต่อๆ กันไป ทำให้การค้าขายคึกคัก โดยเฉพาะปี 2551 มีการเซ้งต่อๆกันหลายราย ร่ำรวยไปหลายคน มีคนมาเช่าเต็ม ระยะหลังมีคนไม่จ่ายค่าเช่า เมื่อหมดสัญญาพากันเลิกไป แล้วจึงยึดมาทำโรงปั้นดินเผาอย่างทุกวันนี้

ผมมีลูก 3 คน ลูกสาวคนแรก มารับสืบทอดบริหารร่วมกับพ่อแม่ ลูกสาวจบใหม่ๆ มาก็ไปทำงานที่อเมซอนก่อน แต่ก็ลาออกมาสืบทอดเจตนารมณ์ของพ่อ คนที่สองเขาไปทำงานอยู่ที่กรมทรัพยากรน้ำ ส่วนคนสุดท้องกำลังเรียนหนังสืออยู่

ในส่วนของ คุณวีระชัย คำจันทร์ลา สมัครพนันออนไลน์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. สาขาโชคชัย และ คุณประเสริฐศักดิ์ ไชยจารุวณิช พนักงานพัฒนาธุรกิจ 7 ธ.ก.ส. สาขาโชคชัย กล่าวว่า มาเจอลุงทุยตั้งแต่เริ่มต้น สนับสนุนสินเชื่อให้ซื้อที่ดิน จนมาสนับสนุนสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย ถ้าลุงทุยมีการขยายธุรกิจหรือขยายหน้าร้านใหม่ ก็ไปติดต่อธ.ก.ส.ได้ เพราะธนาคารเห็นศักยภาพของลุงทุย

วันนี้กรมชลประทานยังคงทุ่มสรรพกำลังเดินหน้าเพื่อแก้ไข

ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะสามารถระบายน้ำออกไปได้หมด ซึ่งรองอธิบดีกรมชลประทาน ฝ่ายก่อสร้าง ยืนยันว่า “พร้อมทำงานเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างเต็มที่ และต่อเนื่อง”

กรมวิชาการเกษตร ผนึกภาคเอกชน จัดมหกรรมงานพืชสวนยิ่งใหญ่และทันสมัยสุดในภาคตะวันออก “พืชสวนก้าวหน้าครั้งที่ 16” ปลื้มกระแสครั้งที่ผ่านมาผู้เข้าชมงานคึกคักทะลักกว่า 25,000 คน เปิดไฮไลท์งานปีนี้โชว์เครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย และนวัตกรรมสมัยใหม่ทำสวนทุเรียน พร้อมจับคู่ธุรกิจครั้งแรกให้ชาวสวนทุเรียน GAP ดิวตรงซื้อขายผู้ประกอบการล้ง GMP ผู้สนใจเข้าร่วมชมงานได้ระหว่างวันที่ 11 – 13 ธันวาคมนี้ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 11 – 13 ธันวาคม 2563 นี้ กรมวิชาการเกษตร โดย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 และศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ร่วมกับ สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี บริษัท จันทบุรีคลังเกษตร จำกัด และสมาคมทุเรียนไทยและหอการค้าจังหวัดจันทบุรี จัดงานพืชสวนก้าวหน้าครั้งที่ 16 (Hortex 2020) ซึ่งเป็นการจัดงานมหกรรมการเกษตรที่ยิ่งใหญ่และทันสมัยในภาคตะวันออก โดยเฉพาะในด้านพืชสวน ที่จัดเป็นประจำต่อเนื่องทุก 2 ปี เพื่อนำเสนอความรู้ทางวิชาการและข้อมูลใหม่ๆ ในวงการพืชสวน ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการจัดการของพืชสวนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

สำหรับงานพืชสวนก้าวหน้า ครั้งที่ 16 นี้ รูปแบบการจัดงานจะมีทั้งนิทรรศการ การประชุมเสวนา เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านการเกษตร การแสดงและสาธิตการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร นวัตกรรมที่ทันสมัยในการทำสวนทุเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ลดต้นทุนการผลิต และยกระดับมาตรฐานระบบ GAP พืชของไทยให้ได้มาตรฐานสากล โดยในปีนี้มีเรื่องเด่นทางวิชาการนำเสนอ ได้แก่ การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีกับชาวสวนยุคใหม่ ยุทธศาสตร์ทุเรียนไทยในสงครามทุเรียนโลก 5G กับการพัฒนาพืชสวนไทย การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวทุเรียนในการทำตลาด Online และการส่งออกต่างประเทศ

นอกจากนี้ ภายในการจัดงานครั้งนี้ยังถือเป็นครั้งแรกของไทยกับการทำ Business Matching ของผู้ประกอบการและผู้ผลิต โดยเปิดโอกาสให้ชาวสวนทุเรียนที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP ได้พบกับผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ (ล้ง) ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP มาจับคู่ธุรกิจภายในงาน โดยชาวสวนทุเรียนที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมจับคู่กับล้ง และจองเวลาจับคู่ธุรกิจ พร้อมเตรียมเอกสาร ได้แก่ ใบรับรอง GAP รูปสวน ปริมาณผลผลิตภายในสวน ชนิดพันธุ์ทุเรียนภายในสวน ปริมาณผลผลิตแต่ละพันธุ์ และราคาที่คาดหวัง มายื่นแสดงภายในงานพืชสวนก้าวหน้าช่วงจับคู่ธุรกิจ

“กล่าวได้ว่างานพืชสวนก้าวหน้า เป็นงานนิทรรศการที่นำเสนอนวัตกรรมการเกษตรที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงและสร้างความก้าวหน้าให้กับอาชีพของเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด ซึ่งประกอบอาชีพทำสวนไม้ผล เช่น ทุเรียน มังคุด ลำไย เงาะ ลองกอง ฯลฯ สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกและเกษตรกรทั่วประเทศที่มาร่วมงานส่วนใหญ่มีความต้องการพัฒนาการผลิตให้มีความทันสมัยตลอดเวลาด้วยการแสวงหาเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสมกับศักยภาพของตนเอง เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน รวมทั้งลดการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีราคาสูงขึ้น ตลอดจนมีการนำระบบเกษตรอัจฉริยะมาใช้ในการผลิตร่วมด้วย ซึ่งการจัดงานในแค่ละครั้งจะได้รับการตอบรับจากเกษตรกรและผู้สนใจเข้าร่วมชมงานเป็นจำนวนมากและมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี โดยการจัดงานครั้งที่ 15 ที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมชมงานประมาณ 25,358 คน ผู้สนใจเข้าร่วมชมงานพืชสวนก้าวหน้าครั้งที่ 16 ได้ระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม นี้ ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

ภายใต้คอนเช็ปต์ “เราปรับ…โลกเปลี่ยน” ชีวิตวิถีใหม่ ขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ งานสังคมสุขใจครั้งที่ 7 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ณ สวนสามพราน จ.นครปฐม ได้รับความสนใจจากคนไทยจำนวนมากที่ตื่นตัวและห่วงใยสุขภาพ มาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ทั้งมาช้อปพืชผักอาหารอินทรีย์มาเรียนรู้มาหาแรงบันดาลใจใหม่ๆเพื่อการปรับตัว พึ่งพาตนเอง สร้างการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ห่างไกลจากโรค โควิด-19 ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก หม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล สมาชิกวุฒิสภา เป็นประธานพิธีเปิดงาน

งานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 7 “เราปรับ…โลกเปลี่ยน” ปีนี้มีความพิเศษมากกว่าปีก่อนๆ โดยเฉพาะบรรยากาศงานสุดชิคเนื่องจากใช้พื้นที่หมู่บ้านปฐมออร์แกนิกเชื่อมต่อกับตลาดสุขใจ ในสวนสามพราน เป็นที่ตั้งบูธ กิจกรรมเวทีกลาง และฐานเรียนรู้มีชีวิตต่างๆ โดยในพื้นที่มีภูมิทัศน์สวยงามร่มรื่น มีแปลงเกษตรอินทรีย์สาธิต โปร่ง กว้าง เดินสะดวก มาได้ทุกวัย วีลแชร์ก็มาสะดวก และสามารถเว้นระยะห่างทางสังคมได้อย่างสบาย ทั้งนี้พื้นที่จัดงานได้รับมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ให้ทุกคนร่วมมืออย่างเคร่งครัด มีการตรวจวัดอุณหภูมิ ใส่หน้ากากอนามัย สแกนไทยชนะก่อนเข้างาน แต่ละจุดมีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และได้รับความร่วมมือจากสาธารณสุขอ.สามพราน สาธารณสุขจ.นครปฐม มาช่วยดูแลเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ชมงานตลอด 3 วัน

หม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล สมาชิกวุฒิสภา ประธานพิธีเปิดงานสังคมสุขใจกล่าวว่า แนวคิด “เราปรับ โลกเปลี่ยน” ของงานสังคมสุขใจปีนี้ นับว่ามีความสอดคล้องกับสถานการณ์และมีความสำคัญยิ่ง เพราะการปรับตัวที่เริ่มจากตัวเรานั้นมีความจำเป็น ซึ่งเวลาพูดว่า “เราจะปรับ” อาจจะดูเหมือนง่าย แต่ความจริงต้องอาศัยแรงบันดาลใจ มีการเรียนรู้ มีการฝึกฝน ตลอดจนมีสังคมกัลยาณมิตรช่วยหนุนเสริม ซึ่งภายในงานที่มีคนทั้งห่วงโซ่โดยเฉพาะเกษตรกรอินทรีย์ทั่วทุกภาค และปราชญ์ ที่พร้อมถ่ายทอดความรู้ ก็น่าจะเป็นโอกาสดี สำหรับการเรียนรู้ เพื่อเริ่มต้นสร้างการเปลี่ยนแปลง สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องอาหาร ที่เป็นปัจจัย 4 ที่สำคัญ และต้องเลือกบริโภคให้ปลอดภัย

นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า สถานการณ์โควิด- 19 ทำให้เรื่องเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น จากการขับเคลื่อนเรื่องนี้ต่อเนื่องในจังหวัดนครปฐม ทำให้มีเกษตรกรอินทรีย์และศูนย์การเรียนรู้หลายแห่งโดยเฉพาะในเครือข่ายที่สามพรานโมเดลได้ทำมาต่อเนื่อง พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสามารถสร้างความยั่งยืน สุขภาพดีขึ้น พึ่งพาตนเองได้ มีภูมิคุ้มกันทางจังหวัดจึงอยากส่งเสริมให้ประชาชนทั้งในจังหวัดและที่อยู่ใกล้เคียงได้ใช้โอกาสงานสังคมสุขใจ เข้ามาเรียนรู้ และนำไปปรับใช้ รวมถึงเป็นทางเลือกในการเริ่มทำอาชีพใหม่ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง

นายอรุษ นวราช เลขานุการมูลนิธิสังคมสุขใจ กล่าวถึงไฮไลต์ของงานสังคมสุขใจว่าเป็นการรวมพลคนในห่วงโซ่สังคมอินทรีย์ที่ครบถ้วนมากที่สุด โดยตลอด 3 วัน ทุกคนจะได้เจอเกษตรกรอินทรีย์ในเครือข่ายสามพรานโมเดลและจากเครือข่ายในระบบการรับรองอย่างมีส่วนร่วม (PGS)ครอบคลุมทุกภาคของประเทศกว่า 300 รายที่พร้อมแชร์องค์ความรู้กระบวนการทำเกษตรอินทรีย์ ที่มีการรวมกลุ่มอย่างเข้มแข็ง ลดต้นทุน พึ่งพาตนเองได้ รวมถึงได้เจอผู้ประกอบการที่มีวิสัยทัศน์ตลอดจนปราชญ์เกษตรอินทรีย์ที่มีชื่อเสียงเช่น คุณโจน จันไดิและผู้นำการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เช่น คุณวิฑูรย์ เรืองเลิศปัญญากุล ,คุณนคร ลิมปคุปตถาวร, คุณนภ พรชำนิ ศิลปินLIFEiS ขณะที่ในด้านความรู้มีฐานการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ เพื่อการพึ่งพาตนเองสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ทุกคนสามารถเข้าไปทดลองทำพร้อมนำไอเดียไปใช้งานได้จริง

และที่นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของสังคมอินทรีย์ คือ มีการเปิดตัวสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยเป็นครั้งแรกในประเทศไทย (TOCA: Thai Organic Consumer Association) เพื่อเชื่อมโยงผู้บริโภค ผู้ประกอบการ ร่วมขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์พร้อมเปิดรับสมัครสมาชิกและมีการเปิดตัวทริปเที่ยววิถีอินทรีย์ถึง 20 โปรแกรม ให้ไปสัมผัสเสน่ห์ฟาร์มจริง รวมถึงมีการเปิดตัวธุรกิจต้นแบบเกื้อกูลสังคม ที่แม้ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับอาหาร แต่เมื่อนำสามพรานโมเดล (โมเดลธุรกิจเกื้อกูลสังคม) ไปขยายผลกับพนักงานและชุมชน ก็เกิดเป็นนวัตกรรมความร่วมมือสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนของผลผลิตสินค้าอินทรีย์ ปีนี้นับว่ามีความโดดเด่นเช่นกัน คือมีทั้งพืชผักตามฤดูกาล ผักใบเขียวสดใหม่จากสวน อาหารพื้นบ้านจากภาคต่างๆ รวมถึงพืชผักเมืองหนาว อาหารพื้นถิ่น เช่น รากชู คะน้าดอย กุ้งโก่ง อีกทั้งยังมีสินค้าแปรรูป ไลฟ์สไตล์อินทรีย์มากมาย เช่นผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติจากสระแก้ว และอีกมากมาย

สำหรับครอบครัวที่อยากให้ลูกหลานได้เรียนรู้วิถีอินทรีย์ ภายในงานทีมปฐม และสวนสามพรานจัดกิจกรรมให้สนุกสนานอย่างเต็มที่ เปิดโซนเกษตรอินทรีย์ ให้ทดลองทำจริงทั้ง ดำนา สีข้าว ฝัดข้าวเวิร์คช็อปลูกต้นกล้า ในเปลือกไข่หรือปลูกในกระถาง สาธิตการสีข้าวที่โรงสีข้าว ทุกวัน เวลา 15.00 น. ส่วนเกษตรกรที่สนใจการ ทำเกษตร เฉพาะวันเสาร์มีคลินิกเกษตร 2 รอบ คือ เวลา10.00 น.และ14.00 น.ที่บริเวณศาลาปัจจัยการผลิต ซึ่งมีเจ้าหน้าที่พร้อมให้คำปรึกษา

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ(สสส.) กล่าวว่า การกินอาหารที่ปลอดภัยนั้น จะเชื่อมโยงไปถึงระบบสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งการที่งานสังคมสุขใจ เน้นสร้างคุณค่าวิถีอินทรีย์ ให้ทุกคนพึ่งพาตัวเองแบบองค์รวม จะช่วยสร้างแรงกระเพื่อมให้คนไทยตระหนักถึงปัญหาสถานการณ์โควิด-19 และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDsสิ่งสำคัญทุกคนต้องมีองค์ความรู้เรื่องอาหารเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย สสส. ยินดีอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมพื้นที่สังคมอินทรีย์ สร้างผู้บริโภคที่เข้มแข็ง ขยายการผลิตอาหารสู่ไลฟ์สไตล์วิถีอินทรีย์ จุดประกายให้ทุกคนบนแผ่นดินไทยเข้ามามีส่วนร่วมเข้าใจ และนำสามพรานโมเดลไปปรับใช้

คุณปทิตตา ตันติเวชกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กล่าวว่า ความพิเศษของงานสังคมสุขใจครั้งที่ 7 ที่มีการเปิด 20 โปรแกรมการท่องเที่ยววิถีอินทรีย์ (Organic Tourism) เชื่อมั่นว่าจะเป็นแม่เหล็กสำคัญที่ดึงดูดให้คนไทยมาเที่ยวงานสังคมสุขใจในปีนี้ มากขึ้น เพราะปัจจุบันนักท่องเที่ยวต่างแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ การได้ไปสัมผัสเสน่ห์ฟาร์มจริงในพื้นที่จริง ที่ได้รับมากกว่าความเพลิดเพลิน แต่เป็นคุณค่าทางจิตใจ ได้สนับสนุนท้องถิ่น ได้เรียนรู้เรื่องอาหาร การพึ่งพาตนเอง ได้สัมผัสกับธรรมชาติได้อย่างสบายใจ จะเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง

ด้านคุณจิรุตถ์อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) กล่าวว่า งานสังคมสุขใจ ถือเป็นโอกาส ที่จะเปิดมิติความร่วมมือสู่การเป็นพันธมิตรใหม่ๆ ระหว่างผู้ประกอบการ กับเกษตรกรอินทรีย์ ซึ่งปีนี้เป็นที่น่ายินดี ที่มีผู้ประกอบการมามีส่วนร่วมมากขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการที่เคยร่วมโครงการ Farm to Functions กับทางสสปน. และสามพรานโมเดล เช่นห้องอาหารสีฟ้า ก็ยังเหนียวแน่น มาสนับสนุนการทำBusiness Matching ในกลุ่มข้าวและกาแฟอินทรีย์ รวมถึงเรื่อง Food waste ManagementและCircular Economy ที่จัดขึ้นเป็นพิเศษในงานนี้ด้วย

ท่ามกลางธรรมชาติและโลกที่เปลี่ยนแปลงไป การปรับตัวที่สำคัญและง่ายที่สุด คือ เริ่มจากตัวเราเอง เช่น เริ่มจากช้อปรักษ์โลก พกถุงผ้า ตะกร้า มาเที่ยวงานให้ความร่วมมือคัดแยกเศษขยะก่อนทิ้ง และแน่นอนคือเริ่มรู้จักกับวัตถุดิบอาหารอินทรีย์ด้วยการพูดคุยกับเกษตรกรอินทรีย์ ปราชญ์ นักขับเคลื่อนที่พร้อมให้ข้อมูลอย่างไม่กั๊ก

งานสังคมสุขใจครั้งที่ 7 “เราปรับ…โลกเปลี่ยน” เป็นความร่วมมือของทั้งสามพรานโมเดล สวนสามพราน จังหวัดนครปฐม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ชีวจิต บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล โรงพยาบาลมหาชัย 2 แบรนด์ปฐม เครือข่ายYoung Happy สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ไทย พีจีเอส เครือข่ายมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) เกษตรกรอินทรีย์ และภาคี ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคมนี้ ณ สวนสามพราน จ.นครปฐม ตั้งแต่ เวลา 09.00-17.00 น.โดยสอบถามโปรแกรมและข้อมูลการเดินทางได้ที่โทร 034 322 588-93 หรือดูรายละเอียดที่ FaceBook

ยอดขาย “กล้วยน้ำว้า JIB” พุ่งช่วงโควิด ทำเอาเกษตรกร และคนในชุมชนจังหวัดเพชรบุรียิ้มร่า เพราะนอกจากจะไม่ตกงานยังรับทรัพย์เพิ่ม จากเดิมส่งกล้วยเข้าร้านเซเว่น อีเลฟเว่น วันละ 1,800 แพ็ค หรือ 3,600 ลูก ช่วงวิกฤตขยับเพิ่มเป็น 2,800 แพ็ค 5,600 ลูก อานิสงส์คนรักสุขภาพเพิ่มขึ้น ตลอดจนได้รับความช่วยเหลือจากร้านเซเว่นฯ ที่ช่วยกระตุ้นยอดขายด้วยโปรโมชั่น มีบริการ 7 Delivery อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าอยู่บ้านก็ช็อปปิ้งได้สะดวกสบาย ล่าสุดเจ้าของกิจการคว้า “เงินล้าน” ผลประกอบการโตต่อเนื่อง

คุณช่อทิพย์ อุฮุย หรือ “จิ๊บ” เจ้าของกิจการกล้วยน้ำว้า แบรนด์ JIB ย้อนเรื่องราวชีวิตให้ฟังว่า หลังจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 ยึดอาชีพขายส่งกล้วยหอม กล้วยน้ำว้า โดยจะขับรถจากจังหวัดเพชรบุรีไปขายที่กรุงเทพฯ และ ชลบุรี เฉลี่ยวันละ 80 – 100 กิโลกรัม เป็นเวลานานกว่า 5 ปี จนกระทั่งอายุ 20 ปี แต่งงานมีครอบครัว กลับมาขายส่งกล้วยที่บ้านเกิด ตลาดท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี มีกล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ เฉลี่ยวันละเกือบ 4 ตัน

กิจการกล้วยเหมือนว่าจะราบรื่น กระทั่งปี 2557 – 2559 เธอได้รับผลกระทบจากปัญหาผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาด ราคาผลไม้ตกต่ำ กล้วยเหลือเยอะมาก แก้ไขด้วยการนำไปขายต่อโรงงานแปรรูป ถูกกดราคาเหลือเพียงกิโลกรัมละ 2 บาท

“ช่วงที่กล้วยล้นตลาด เราขายกล้วยแทบไม่ได้เลย ต้องส่งโรงงานแปรรูป ประสบปัญหาต่อเนื่อง 2 ปี เคยถูกกดราคาต่ำสุด จากหวีละ 20 บาท เหลือเพียงกิโลกรัมละ 2 บาท นอกจากนั้นโรงงานที่รับซื้อกล้วยยังจ่ายเงินไม่ตรงเวลา ขณะเดียวกันคู่แข่งก็เยอะขึ้นมาก สุดท้ายแบกรับต้นทุนไม่ไหว ขอยุติส่งกล้วยให้โรงงาน แล้วเดินเข้าไปหาร้านเซเว่น อีเลฟเว่น”

ช่องทางร้านสะดวกซื้อนับเป็นเป้าหมายใหม่ในชีวิต หญิงสาว เล่าว่า มีอยู่วันหนึ่งเอากล้วยไปส่งโรงงาน แต่แล้วจู่ๆ โรงงานไม่รับซื้อ โดยที่ไม่บอกเหตุผล รู้สึกท้อแท้ หมดหวัง เบื่อหน่ายกับความไม่แน่นอน เลยขับรถไปคลังสินค้าซีพี ออลล์ เข้าไปขอเบอร์ฝ่ายจัดซื้อ ลองโทรศัพท์ปรึกษา บอกว่า จะขายกล้วยน้ำว้า และได้รับการติดต่อกลับ ให้นำกล้วยน้ำว้าเข้าไปขายในร้านเซเว่นฯ ตอนนั้นรู้สึกดีใจมาก

แต่กว่าสินค้าจะออกสู่มือผู้บริโภคต้องได้มาตรฐาน ช่อทิพย์ให้ข้อมูลต่อว่า กลับมาสร้างโรงแพ็คกล้วยเป็นเวลา 4 เดือน บนพื้นที่ขนาด 52 ตารางวา ลงทุนไป 8 แสนบาท กล้วยน้ำว้าวางจำหน่ายครั้งแรก 8 กุมภาพันธ์ 2561 ส่งร้านเซเว่นฯ สาขาภาคใต้ วันละ 500 แพ็ค แพ็คละ 2 ลูก หลังจากนั้นยอดขายก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดปัจจุบันส่งเซเว่นฯ 1,000 กว่าสาขา ส่งกล้วยวันละ 6,000 ลูก หรือราว 3, 000 แพ็คต่อวัน

ด้านของพื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้า เจ้าของกิจการ ปลูกเอง 5 เปอร์เซ็นต์ และรับซื้อจากเกษตรกรมากถึง 95 เปอร์เซ็นต์ โดยเธอบอกว่า ปลูกเอง 20 ไร่ รับซื้อจากเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรี 16 สวน ราว 300 ไร่ ให้ความช่วยเหลือคู่ค้า 5 อย่าง คือ ประกันราคา ให้ถุงห่อกล้วย ลงตรวจแปลงกล้วย เก็บเกี่ยวผลผลิต และให้เกษตรกรยืมเงินลงทุนโดยไม่คิดดอกเบี้ย รายละ 5,000 บาท เรียกว่าอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรเกือบทั้งหมด

สำหรับระยะเวลาการเก็บเกี่ยวกล้วยน้ำว้า เจ้าของกิจการ ให้ข้อมูลว่า จะตัดกล้วยทุกวัน แต่ละสวนเว้นรอบนาน 10 วัน สเปกกล้วยที่เลือกใช้ต้องปลูก 12 – 14 เดือน น้ำหนักต่อลูก 80 กรัม หลังเก็บกล้วยมาจากสวน จะพักไว้ในห้องแอร์ก่อนขาย 2 วัน เพื่อให้ยางแห้ง จุดเด่นของกล้วยน้ำว้า JIB เป็นกล้วยน้ำว้าสายพันธุ์กาบขาว กาบเขียว และ ปากช่อง 50 เหนียวหนึบ หวาน รสชาติดี เคล็ดลับสำคัญอยู่ที่กรรมวิธีการบ่ม ช่วยให้กล้วยมีเนื้อที่ละเอียดแตกต่างจากที่อื่น

ในส่วนของรายได้ หญิงสาวคนขยัน บอกว่า ปี 61 มีรายได้ 2 ล้านบาท ปี 62 ขยับขึ้นมา 4 ล้านบาท ล่าสุดปี 63 ตั้งเป้ายอดขาย 7 ล้านบาท ส่วนเกษตรกร 16 สวนที่ส่งกล้วยให้ แต่ละสวนมีรายได้ เฉลี่ยเดือนละ 60,000 บาท

“ยอดขายปีนี้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากช่วงวิกฤตโควิด – 19 จากเดิมส่งกล้วยวันละ 1,800 แพ็ค ช่วงโควิดขยับเพิ่มเป็น 2,800 แพ็ค อานิสงส์คนรักสุขภาพเพิ่มขึ้น อีกทั้งคนส่วนใหญ่ทำงานที่บ้าน ที่สำคัญได้รับความช่วยเหลือจากร้านเซเว่นฯ หลายอย่าง อาทิ กระตุ้นยอดขายด้วยโปรโมชั่น มีรวมถึงบริการ 7 Delivery อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าอยู่บ้านช็อปปิ้งได้”

หลังจากที่ได้ร่วมงานกับบริษัท ซีพี ออลล์ เอสเอ็มอีคนขยัน เผยความในใจว่า จากที่เป็นคู่ค้ากันมา 3 ปี ได้รับการช่วยเหลือทุกอย่าง เริ่มตั้งแต่สร้างโรงงาน มีทีมตรวจสอบคุณภาพเข้ามาให้คำแนะนำ ช่วยออกแบบแพคเกจจิ้ง ตั้งราคาขาย วางแผนการตลาด ฯลฯ ไม่คิดว่าองค์กรใหญ่จะให้ความสำคัญกับแม่ค้าตัวเล็กๆ ที่เรียนจบไม่สูง เรียกว่า ซีพี ออลล์ ช่วยสร้างงานที่มั่นคง มีออร์เดอร์ที่แน่นอน และมี Credit Term ในการชำระเงินที่ทำให้ SME บริหารจัดการการเงินได้อย่างคล่องตัว กระจายรายได้ช่วยสร้างรอยยิ้มให้ชาวสวน ไม่ต้องโค่นต้นกล้วยในยามที่ราคาตกต่ำ ลูกน้องทุกคนมีงานทำ ไม่มีใครตกงานเลย

ด้วยความรักในสินค้าเกษตรที่คลุกคลีมาตั้งแต่เด็กๆ ควบคู่กับความขยัน ทุ่มเทเกินร้อย ประกอบกับได้รับการสนับสนุนที่ดีจากซีพี ออลล์ วันนี้กล้วยน้ำว้า แบรนด์ JIB จึงครองใจลูกค้ารักสุขภาพได้ไม่ยาก

ผจก.ทั่วไปศรแดง “วิชัย เหล่าเจริญพรกุล” เผยกุญแจสำคัญที่ทำให้อีสท์เวสท์ซีด เป็นเบอร์ 1 ในตลาดธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ครองใจเกษตรกร พร้อมส่ง “สปีดแม็ก” แตงกวาสายพันธุ์ใหม่ เก็บผลผลิตได้เร็วที่สุด เพียง 30 วันนิดๆ ขายได้เงิน และตลาดต้องการสูง

สถานการณ์ในปีนี้ทุกประเทศทั่วโลกได้เผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบกับธุรกิจเกือบทุกภาคส่วน แต่ในทางกลับกัน บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด เจ้าของ “เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง” สามารถที่จะฟันผ่าวิกฤตนี้ได้ และก้าวผ่านได้อย่างไร พร้อมทั้งยังคงความเป็นบริษัทเมล็ดพันธุ์อันดับ 1 ในวันนี้

วันนี้ (15 ธันวาคม 2563) ณ อีสท์ เวสท์ ซีด (สนง.ใหญ่) อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี คุณวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ “กุญแจสำคัญที่ทำให้อีสท์เวสท์ซีด เป็นเบอร์ 1 ในตลาดธุรกิจเมล็ดพันธุ์” โดยกล่าวว่า เราถือว่า R&D ถือเป็นหัวใจหลัก เพราะเป้าหมายของเราคือเราจะเป็นบริษัทเมล็ดพันธุ์ผักเขตร้อนที่ดีที่สุดในโลก เรามีการลงทุนเฉพาะในด้านนี้หลาร้อยล้านบาทต่อปี พนักงานในฝ่ายนี้รวมทั้งสิ้นกว่า 1,200 คน ที่คอยคิดค้นและพัฒนาเพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ ๆ ออกมา บางสายพันธุ์ใช้เวลาพัฒนาหลายปี มีการทดลองในแปลงทดลอง และทดลองในแปลงเกษตรกร และเมื่อผลผลิตนั้นไปสู่ตลาด เราก็จะเก็บข้อมูลผลตอบรับของพ่อค้าแม่ค้า จนถึงผู้บริโภคที่ได้รับประทานผักจากเมล็ดพันธุ์ของเราต้องมีรสชาติที่ถูกปากและต้องได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนอีกด้วย ผนวกกับที่มาของเป้าหมายของเราที่ชัดเจนนี้มาจากปณิธานของผู้ก่อตั้งบริษัทฯ นั่นก็คือ คุณไซมอน แนนน์ กรู๊ท ซึ่งท่านมีปณิธานว่า ”เมล็ดพันธุ์ที่ดี สามารถเปลี่ยนชีวิตคนนับล้านได้“ เราทุกคนในองค์กรจึงมีเป้าหมายเดียวกันก็คือทำอย่างไรถึงให้เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ดี

ความภูมิใจอย่างหนึ่งของชาวอีสท์ เวสท์ ซีดติด ที่ทำงานด้วยความทุ่มเทนั่นคือ การติดอันดับ 1 ใน 30 ของโลก จากการจัดอันดับของสื่อระดับโลก FORTUNE เมื่อ 21 ก.ย. ที่ผ่านมา โดยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 28 จาก 53 ในรายชื่อบริษัทที่ช่วยเปลี่ยนแปลงโลก (Fortune’s Change the World) ซึ่งจัดลำดับบริษัทระดับโลกทั่วโลกที่มีนโยบายดำเนินงานภายใต้แนวคิด “ธุรกิจที่ดำเนินไปด้วยดี จากการทำดี”

“อีสท์ เวสท์ ซีด เรามุ่งเน้นไปที่เกษตรกรรายย่อยเป็นสำคัญ ซึ่งเกษตรกรรายย่อยเหล่านี้ถือเป็นพ่อครัวอาหารของโลก สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงโครงสร้างของบริษัทของเรา พิสูจน์ให้เห็นว่าเราสามารถสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริงในชีวิตของผู้คน ในขณะเดียวกันก็สามารถดำเนินธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จได้ด้วย” คุณวิชัยกล่าว

ผู้จัดการทั่วไปบริษัทอีสท์ เวสท์ ซีด มองปัญหาเป็นความท้าทายในปี 2020 ว่า เราต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่ๆ จากสภาพแวดล้อม และวิกฤตโรคภัยต่าง ๆ แต่เราไม่มองว่ามันเป็นปัญหา แต่เป็นความท้าทายที่เราต้องปรับธุรกิจของเราให้รอดพ้นจากปัญหาวิกฤต

“ผมมองว่าโควิดคือเพื่อนเรา ต้องอยู่กับเขาอีกนาน ต้องพลิกวิกฤต เป็นโอกาส” คุณวิชัย กล่าวยืนยัน

สำหรับภัยแล้งตอนต้นปี 2563 เราตระหนักเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศเป็นชาวนา รองลงมาคือปลูกพืชไร่ ซึ่งเกษตรกรกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ทางเราจึงได้ริเริ่มทำโครงการ “ศรแดงพืชน้ำน้อย ทางเลือกใหม่ในช่วงภัยแล้ง” ขึ้นมา เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรที่ไม่สามารถปลูกข้าวหรือพืชไร่ได้ ให้หันมาปลูกพืชผักที่ใช้น้ำน้อยทำให้เกษตรกรกลุ่มชาวนา และปลูกพืชไร่มีรายได้หล่อเลี้ยงครอบครัว

“วิกฤตโควิด-19 เราผุดโครงการ “ชวนเพื่อนรัก ปลูกผักอยู่บ้านต้านวิกฤต Covid-19” ในช่วงแรกที่เราเจอกับวิกฤตโควิด-19 เรามานั่งวิเคราะห์ถึงปัญหาและแนวทางตั้งรับวิกฤตครั้งนี้ ในสถานการณ์ที่ทุกคนต้องกักตัวอยู่ในบ้าน การปลูกผักถือเป็นกิจกรรมที่เรานำเสนอให้กับประชาชน โดยเราเป็นบริษัทแรกที่ริเริ่มโครงการ “ชวนเพื่อนรัก ปลูกผักอยู่บ้านต้านวิกฤต Covid-19” มีการแจกเมล็ดพันธุ์ฟรีให้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งจุดนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นของการรับมือกับวิกฤตครั้งนี้ ทำให้เกิดกระแสการปลูกผักอยู่บ้านไปทั่วประเทศซึ่งถือเป็นภาพบวกกับทางบริษัทฯ เราครับ” คุณวิชัยกล่าว

จากเป้าหมายของอีสท์ เวสท์ ซีด ที่มีความมุ่งมั่นต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ผมจะนำเป้าหมายจากประสบการณ์การทำงานตรงนี้ไปต่อยอดใช้กับสมาคมเมล็ดพันธุ์พืชพืชภาคพื้นเอเชียนและแปซิฟิค (APSA) โดยผมจะเป็นตัวแทนของทางสมาคมฯ ร่วมกับภาครัฐบาล ผลักดันนโยบายต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิคได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป้าหมายที่ผมมุ่งหวังมากที่สุดคือ ประเทศไทยต้องเป็น “SEED HUB” ของภาคพื้นเอเชียแปซิฟิคให้ได้ครับ

พร้อมส่ง “สปีดแม็ก” ลุยตลาดเมล็ดพันธุ์แตงกวา การันตีในเรื่องพัฒนาให้เก็บได้เร็วที่สุด
ในปี 2564 อีทส์ เวสท์ ซีย มีแผนจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่หลายตัว และที่นำร่องไปเมื่อเร็วๆนี้ คือ แตงกวาพันธุ์สปีดแม็ก เทรนด์สายพันธุ์แตงกวาในปัจจุบัน ต้องถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้เก็บผลผลิตได้เร็ว เพราะจะทำให้เกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน ด้านสารเคมี และในกรณีที่แตงกวาราคาดี อีกทั้งยังทำให้เกษตรกรสามารถเก็บผลผลิตได้ทันราคาอีกด้วย

“สปีดแม็ก คือสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดจากอีสท์ เวสท์ ซีดที่พัฒนาให้เก็บได้เร็วที่สุด ผลผลิตสูง ติดดกโคนต้น ผลสีเขียวตอง ตอบโจทย์ตลาดทั้งแม่ค้าและตลาดทนทานอีกด้วย” คุณวิชัย กล่าวอย่างมั่นใจ

ผลยาว 10-12 ซม. ผลสีเขียวสด ผลยาวสม่ำเสมอ ตกเกรดน้อย ต้นแข็งแรง แตกแขนงดี ขึ้นค้างเก่ง มีความทนทานไวรัสแมลงหวี่ขาวได้ดี ติดผลดก เก็บผลผลิตได้สูงถึง 4,000 – 5,000 กก.ต่อไร่ อายุเก็บเกี่ยว 32-35 วัน หลังหยอดเมล็ด

แตงกวาลูกผสม “สปีดแม็ก” สมัคร Royal Online V2 พร้อมจำหน่ายแล้วที่ร้านค้าเกษตรภัณฑ์ทั่วประเทศ เกษตรกรท่านใด สามารถสอบถามได้ที่เบอร์ 02-831-7714 ในเวลาทำการ เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ในนาม บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณอรยา เจริญสุทธิกุล โทรศัพท์ 063-845-8082

กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำโครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐาน

เพื่อพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการผลิตตามระบบมาตรฐาน GAP และส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ผลิตสามารถเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP เพิ่มมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเป็นเกษตรกรผู้ผลิตพืช (ยกเว้นข้าว) จำนวน 10,000 ราย ในพื้นที่ 77 จังหวัด ทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงาน ได้แก่ พัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้เป็นที่ปรึกษาสำหรับเกษตรกร การคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ เตรียมเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP จัดอบรมเกษตรกรให้มีความรู้ด้านการผลิตตามระบบมาตรฐาน GAP และศึกษาดูงานตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ

นอกจากนี้ ยังได้จัดเจ้าหน้าที่ออกติดตามให้คำปรึกษาแนะนำด้านการผลิตและตรวจประเมินแปลงเบื้องต้นให้เกษตรกรก่อนที่จะยื่นขอการรับรอง GAP การจัดเวทีประชุมรับฟังความเห็นปัญหาและความต้องการของเกษตรกร และให้การสนับสนุนด้านการจัดการผลผลิตร่วมกันในแบบกลุ่ม เช่น การแปรรูปผลผลิต บรรจุภัณฑ์ ตราสินค้า การทำ QR- Code เป็นต้น

รวมทั้งขับเคลื่อนงานส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตร ระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมวิชาการเกษตร ในการตรวจรับรองมาตรฐาน GAP ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เกษตรกรหรือผู้สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดโครงการได้ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ และหากสนใจสามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการในปี 2565 ได้ต่อไป

ดีแทค EXIM BANK กรมส่งเสริมการเกษตร และมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จัดเวทีประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2563 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “การเกษตรเพื่อการส่งออก” ประกาศผลแล้ว “เสาวลักษณ์ มณีทอง” เจ้าของผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรปลูกรัก plant love อ.ระมาด จ.ตาก คว้ารางวัลชนะเลิศไปครอง

ก่อนการประกาศผลจะเริ่มต้นขึ้นได้มีการกล่าวบนเวทีถึงที่มาที่ไปของการจัดงาน เริ่มต้นจาก นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด กล่าวว่า โครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 แล้ว ในปี 2563 เน้นเกษตรกรที่เป็นผู้ประกอบการ ที่สามารถส่งผลิตภัณฑ์ไปขายแข่งในตลาดโลกด้วย ตามแนวคิดที่ว่า “การเกษตรเพื่อการส่งออก” เพื่อยกระดับเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีความพร้อมด้านการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานสู่ระดับโลก สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการเกษตรและประเทศชาติ

ต่อจากนั้นเป็นคิวของ นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ ดีแทค พูดชัดเจนว่า ตลาดโลกแข่งขันกันที่คุณภาพของสินค้า ถ้าเกษตรกรไทยผลิตได้มีคุณภาพก็จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดโลกมาครองได้ เทคโนโลยีเกษตรและดิจิทัลจะมาช่วยเสริมศักยภาพ ล่าสุดดีแทคได้เปิดตัวแอป Kaset Go ร่วมมือกับปุ๋ยยารา ซึ่งเป็นชุมชนออนไลน์ของเกษตรกรตัวจริง ที่สามารถถามตอบปัญหาการทำเกษตรเฉพาะรายได้ และในปี 2564 ดีแทคจะไม่หยุดที่จะพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรม ด้วยความหวังที่จะเสริมศักยภาพเกษตรกรให้เกษตรกรไทยแข็งแกร่งพร้อมกับการเสริมโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้แข็งแรงมากขึ้น

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ซึ่งเป็นอีกผู้ร่วมให้การสนับสนุนในการจัดการประกวดครั้งนี้ และได้จัดขึ้น ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคาร EXIM BANK กล่าวว่า สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยปีละ 2.2 ล้านล้านบาท หรือ 13% ของ GDP ไทย ขณะที่เฉลี่ยของโลกอยู่ที่ราว 10% ของ GDP ที่ผ่านมาการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 17% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของไทย ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวลดลงต่อเนื่องตลอดเกือบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา จึงถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องเร่งหาทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรของไทย เพื่อหา Product Champion ตัวใหม่เพิ่มขึ้น

ก่อนที่พิธีการประกาศผลประกวดจะเริ่มต้นขึ้น ได้มีการสัมภาษณ์เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดรุ่นพี่ โดยพิธีการคู่ซี้ “กำภู รัชนีย์” และปิดท้ายการกล่าวบนเวทีของ นายชาตรี บุญนาค รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมนี้มาตั้งแต่เริ่มต้นในปีแรก

นายชาตรี บุญนาค ได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศไทย 20 ปี ของรัฐบาล และโดยเฉพาะนโยบายตลาดนำการเกษตร ของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรได้รับนโยบายมาปฏิบัติมีนโยบายชัดเจนที่จะพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ Young Smart Farmer หรือเกษตรศาสตร์ปราดเปรื่อง เพราะว่าปัจจุบันภาคเกษตรของเราเป็นเกษตรกรที่มีอายุมากเป็นส่วนใหญ่ จึงจำเป็นที่จะสร้างเกษตรกรุ่นใหม่ขึ้นมาทดแทน และโลกยุคใหม่ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาและการซื้อขายผ่านออนไลน์

โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่สามารถเชื่อมโยงผลผลิตของพี่น้องเกษตรมาขายและส่งออกได้ 5.44 แสนล้านบาท เกษตรกรรุ่นใหม่จึงเป็นความหวัง โดยกรมส่งเสริมการเกษตรมุ่งให้เป็นผู้ประกอบการเกษตรไม่ใช่แค่ผลิตและขายแบบเดิมอีกแล้ว ซึ่งในการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดในครั้งที่ 12 ที่เน้นการเกษตรเพื่อส่งออก สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ กรมส่งเสริมการเกษตรจึงให้การส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมที่เกิดขึ้นนี้อย่างเต็มที่

จากนั้นเป็นไฮไลท์ของงานนั่นคือ การประกาศผลการตัดสินการประกวด “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2563 ดังรายละเอียดต่อไปนี้ นาวสาวเสาวลักษณ์ มณีทอง จากสวนปันแสน จังหวัดตาก เกษตรกรผู้ผลิตสมุนไพรในแบรนด์ “ปลูกรัก” ส่งออกไปอเมริกา ศรีลังกา และออสเตรเลีย

เธอเป็นคนรุ่นใหม่ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของสมุนไพรไทย ด้วยการนำสมาชิกในชุมชนมาผลิต “สมุนไพรไทยไร้สารเคมี” มาตรฐานสากล รวบรวมและแปรรูป สร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อนำสมุนไพรไทยสู่สากล ทำการตลาดควบคู่การผลิต พัฒนา วิจัย ต่อยอดผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความแตกต่าง ด้วยการแบ่งปันผลประโยชน์ให้ชุมชนมีรายได้ที่น่าพอใจ ไม่เอาเปรียบเกษตรกร คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่า มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากร มีการวางแผนการเพาะปลูกอย่างเป็นระบบ แปรรูปเอง ขายเอง ทำการตลาดเอง สามารถกำหนดราคาตลาดได้เองจนชุมชนมีรายได้อย่างยั่งยืน

นายสิทธา สุขกันท์ จากกลุ่มข้าวฅนอินทรีย์ จังหวัดพิจิตร เกษตรกรผู้ส่งเมล็ดข้าวเปลือกให้กับคู่ค้า นำไปแปรรูปเป็นแป้ง เส้นพาสต้า และราเมง

เกษตรกรหนุ่มผู้ผลิตข้าวแข็งอินทรีย์ มาตรฐานส่งออก นำไปแปรรูปเป็นแป้ง เส้นพาสต้า และราเมง ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นบุคคลที่ให้คุณค่าในอาชีพชาวนาความตั้งใจที่จะยกระดับอาชีพชาวนาให้มีเกียรติเทียบเท่ากับอาชีพอื่น ๆ ให้ชาวนามีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำทุกอย่างให้เห็นเป็นตัวอย่าง และค่อย ๆ เปลี่ยนแนวคิด เปลี่ยนวิธีการ ให้ชุมชนเห็นว่า ชาวนาสามารถทำข้าวอินทรีย์ส่งออกได้ มาตรฐานสากลก็ทำได้ และร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมติดตาม ร่วมกันรับผิดและรับชอบ มีการพัฒนาการทำงานอย่างสม่ำเสมอ

นายณัฐวุฒิ จันทร์เรือง จันทร์เรืองฟาร์ม (JR Farm) จังหวัดจันทบุรี เกษตรกรผู้ส่งออกผลสด และทุเรียนแปรรูป ไปประเทศจีน สิงคโปร์ ใต้หวัน เวียดนาม

นายณัฐวุฒิเป็นคนรุ่นใหม่ที่กลับไปช่วยครอบครัวทำสวนผลไม้ และนำความรู้ที่เรียนจบปริญญาโทด้านพลังงานไปพัฒนาระบบการทำเกษตร จนกลายเป็นเกษตรอัจฉริยะที่มีการนำระบบหุ่นยนต์และการควบคุมอัตโนมัติมาพัฒนาด้านการผลิต การแปรรูป ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ลดต้นทุนการจ้างแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับใช้ภายในฟาร์ม พัฒนาสวนจนสามารถพึ่งพาตนเองได้ จึงต่อยอดเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในพื้นที่ ให้กับชุมชน ได้เข้ามาศึกษาและนำไปปรับใช้กับพื้นที่ของแต่ละบุคคล เพื่อสร้างความมั่งคงทางอาหารและพัฒนาการเกษตรของประเทศให้เกิดความยั่งยืนต่อไป มีการพัฒนา เพิ่มมูลค่า แปรรูปผลผลิตให้ตรงตามความต้องการของตลาด จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ทุเรียนกรอบ JR Farm ที่แปรรูปด้วยเครื่องอบระบบดิจิทัล ใส่ใจทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูกจนถึงการแปรรูป

นายชำนาญ คุ้มไพร จากจังหวัดร้อยเอ็ด เจ้าของคณิสรฟาร์มแมงอินเตอร์ เกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีด และแปรรูป
นางสาวอรวรรณ สุวรรณหล้า จากจังหวัดลำพูน หจก. สวนปทุมทิพย์ เกษตรกรผู้ปลูกและแปรรูปมะม่วง 7 สายพันธุ์
นายอมตะ สุขพันธ์ จากจังหวัดแม่ฮ่องสอน หจก.วัน-อ๊อฟ คอฟฟี่ ฟาร์มสเตย์ ผู้ผลิตกาแฟ
นายศราวุธ พรชัยสิทธิ์ จากจังหวัดฉะเชิงเทรา สวนมะพร้าวน้ำหอมคุณราตรี ผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม
นายสมพงษ์ หนูศาสตร์ จากจังหวัดเพชรบุรี สปาเกลือกังหันทอง ชาวนาเกลือ และผู้ผลิตเครื่องสำอางส่งต่างประเท
นางสาวมณีรัตน์ ภาโนมัย จากจังหวัดอุตรดิตถ์ ดี ฟรุต ฟาร์ม (Dfruit Farm) ชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองและมะม่วงโชคอนันต์
นายศักดา แสงกันหา จากจังหวัดนครราชสีมา Maligood ผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ผลิตผ้าไหมส่งออก

ธ.ก.ส. พร้อมช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย โดยมอบหมายให้สาขาจัดถุงยังชีพช่วยเหลือแล้วกว่า 8,000 ถุง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น พร้อมจัดสินเชื่อฉุกเฉิน การช่วยเหลือด้านภาระหนี้สินด้วยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ และสินเชื่อฟื้นฟูหลังประสบภัย รองรับกรณีเกษตรกรต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการประกอบอาชีพ การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและเครื่องมือทางการเกษตร วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท

นายสุรชัย รัศมี รองผู้จัดการ รักษาการแทนผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้มีปริมาณฝนตกสะสม เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่มและลมกระโชกแรง สร้างความเสียหายกับผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนทรัพย์สินที่อยู่อาศัยของเกษตรกรลูกค้าและประชาชนทั่วไป ซึ่ง ธ.ก.ส. มีความห่วงใยในสวัสดิภาพของผู้ประสบภัย จึงได้กำหนดแนวทางการช่วยเหลือพร้อมมอบหมายให้ ธ.ก.ส. ในพื้นที่เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดังนี้

กรณีฉุกเฉินเร่งด่วน ได้มอบหมายให้พนักงาน ธ.ก.ส. ในพื้นที่ ออกเยี่ยมเยียนให้กำลังใจลูกค้า พร้อมจัดหาถุงยังชีพเพื่อนำไปมอบให้เกษตรกรลูกค้าและประชาชนที่เดือดร้อน โดยเบื้องต้นได้ส่งถุงยังชีพช่วยเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา จำนวนกว่า 8,518 ชุด และเข้าไปสนับสนุนศูนย์อพยพหรือจุดรวมพลต่าง ๆ เช่น จัดหาอาหาร น้ำดื่ม บริการสุขาเคลื่อนที่ เต็นท์สนาม รวมถึงการให้ความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ เช่น ค่าเช่าเรือ ค่าเช่ารถบรรทุก ค่าแรงงาน เป็นต้น และหลังจากสถานการณ์คลี่คลายลง จะเร่งสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาพิจารณาให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูหลังประสบภัย เช่น การมอบเงินเพื่อสมทบทุนสร้างบ้านหลังใหม่ การซ่อมแซมทรัพย์สินของใช้จำเป็น การซ่อมแซมเครื่องจักรการเกษตร และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดที่เกี่ยวเนื่องในการให้ความช่วยเหลือกรณีฟื้นฟูหลังประสบภัย

สำหรับการให้ความช่วยเหลือด้านภาระหนี้สินที่มีอยู่กับ ธ.ก.ส. กรณีที่เกษตรกรได้รับความเสียหายด้านการผลิตและส่งผลกระทบต่อรายได้ ธ.ก.ส. จะพิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไปเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนตามความหนักเบาของผู้ประสบภัยทุกราย และพิจารณาให้สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน บรรเทาความเดือดร้อนและป้องกันการก่อหนี้นอกระบบ ไม่เกินรายละ 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ระยะ 6 เดือนแรก และสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับเกษตรกรลูกค้าผู้ประสบภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติ วงเงิน 5,000 ล้านบาท ตามความจำเป็นแต่ไม่เกินรายละ 500,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย MRR-2 (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.50 ต่อปี) กำหนดชำระคืนไม่เกิน 15 ปี ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้เป็นค่าลงทุนในการสร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหาย หรือลงทุนซ่อมแซมโรงเรือนการเกษตร เครื่องมือ เครื่องจักรกลการเกษตรหรือฟื้นฟูการประกอบอาชีพการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานวันดินโลก ปี 2563 “Keep soil alive, protect soil biodiversity : รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย (CESRA) อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมพัฒนาที่ดิน ได้มีการจัดงานวันดินโลก ในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เพื่อเป็นการถวายสดุดีและเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะที่ทรงเป็น “นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” พระองค์แรกและพระองค์เดียวของโลก พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ด้านการจัดการทรัพยากรดินและน้ำ จนเป็นรากฐานการผลิตที่มั่นคงของเกษตรกร นอกจากนี้ยังทรงศึกษา และพัฒนาด้านการจัดการดิน ด้วยวิธีการเรียบง่ายและประหยัดที่เกษตรกรนำไปปฏิบัติเองได้ โดยกิจกรรมภายในงาน จะประกอบด้วย นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นิทรรศกาพระราชปณิธานการทรงงาน ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอด มีการจัดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต จัดศูนย์ฝึกเกษตร สร้างอาชีพมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน มีการเสวนาวิชาการ และจุดเช็คอินดินโลกปี 2563 Landmark วันดินโลก สัญลักษณ์ World Soil Day ที่ใหญ่ที่สุดในสยาม

“กระทรวงเกษตรฯนั้น พร้อมที่จะสานต่อเจตนารมณ์ในพระราชปณิธาน พร้อมน้อมนำพระราชดำริ มาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการใช้ที่ดิน การพัฒนาดิน น้ำ พืช และอาชีพของเกษตรกรให้มีความมั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน และมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนา ในเรื่องทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร เพื่อขจัดความอยากไร้ ขาดแคลนให้หมดไป” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

ทั้งนี้ กรมพัฒนาที่ดิน ได้เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงานวันดินโลก ร่วมกับ สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย สมาคมอนุรักษ์ดินและน้ำ สมาคมดินโลก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และหน่วยงานภาคีภาครัฐ เอกชน องค์กรต่าง ๆ ในปีนี้ สมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินโลก กำหนดหัวข้อการจัดงาน “Keep Soil Alive, Protect Soil Biodiversity” โดยให้ความสำคัญของนิเวศวิทยา และความหลากหลายทางชีวภาพในดิน สิ่งมีชีวิตตั้งแต่ระดับจุลินทรีย์ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กใหญ่ ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ในระบบนิเวศ และก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของดินการจัดงานวันดินโลก และกำหนดให้มีการจัดงานระหว่างวันที่ 4 – 8 ธันวาคม 2563 ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

5 ธันวา วันมหามงคล ชาวดอนประดู่ร่วมใจน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติ พัฒนาโมเดลนาสร้างสุข ปีที่สอง ปล่อยปลา ๙,๙๙๙ ตัว สร้างผืนนาผสมผสานระบบอินทรีย์ ที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยร่วมกันของสรรพชีวิต

เป็นระยะเวลา 4 ปี ที่สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การทำการเกษตรของชุมชนบ้านกล้วยเภา ด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียง เกิดกลุ่มทำนาอินทรีย์บ้านกล้วยเภา มีสมาชิกมากกว่า 40 ครัวเรือน พื้นที่นาจำนวน 240 ไร่ ปีที่ผ่านมาได้พัฒนาโมเดลนาสร้างสุข ปีที่ 1 สำเร็จ ก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจที่จะเดินหน้าน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ระบบเกษตรผสมผสาน เดินหน้าสู่นาสร้างสุข ปีที่ 2 ต่อไป

โมเดลนาสร้างสุข เป็นรูปแบบการจัดการพื้นที่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการทำนาแบบผสมผสานระบบอินทรีย์ ด้วยการเลี้ยงปลาในนาข้าวและปลูกพืชผักบนคันนาทั้งแนวตั้งและแนวราบ โดยใช้พื้นที่นา 3 ไร่ ณ หมู่ที่ 5 บ้านกล้วยเภา ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นแปลงสาธิตเพื่อการเรียนรู้ของชุมชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ ในปีที่ผ่านมาได้ผลผลิตตามเป้าหมาย สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ (ICOFIS) ตั้งเป้าว่าการพัฒนาในปีที่สองนี้ จะคัดเลือกพันธุ์พืชและชนิดของปลาที่สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และนำอุปกรณ์ loT สำหรับ Smart Farm มาสนับสนุนการจัดการนาเพื่อให้มีความสะดวกและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

จึงใช้โอกาสวันพ่อแห่งขาติ 5 ธันวาคม เป็นวันดีอีกครั้งในการถ่ายทอดปลูกฝังการดำเนินชีวิตที่ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีกิจกรรมปล่อยปลาทับทิม ปลาดุก และปลานิล รวม 9,999 ตัว สู่ผืนนาพร้อมทั้งจัดพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดย นายสมยศ จิตเที่ยง ปลัดอาวุโส รักษาการแทนนายอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นประธานนำกล่าวสดุดี จากนั้น นางศิริพร ทองทวี วัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง นายจรัญ จันทร์แก้ว นายกเทศบาลตำบลดอนประดู่ นายพนม อินทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านกล้วยเภา และ อาจารย์ ดร.เปลื้อง สุวรรณมณี ผู้อำนวยการ ICOFIS ร่วมกับชาวดอนประดู่ เปล่งเสียงร้องเพลง ตามรอยเท้าพ่อ เพื่อร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

“นาสร้างสุข ผืนนี้เป็นการนำศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน ผมอยากให้ทุกท่าน โดยเฉพาะชาวนาดอนประดู่ ได้ใช้พื้นที่แห่งนี้เพื่อการเรียนรู้ ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด” นายสมยศ จิตเที่ยง ปลัดอาวุโส อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุงกล่าว

สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ ยินดีให้บริการแนะนำ เป็นที่ปรึกษาและเผยแพร่แนวทางการจัดการนาสร้างสุขแก่ผู้สนใจทุกท่าน ด้วยความตั้งใจขอสืบสานพระราชปณิธานด้วยความจงรักภักดี ยึดมั่นในการปฏิบัติดีเพื่อสร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่ชุมชนและประเทศชาติ

ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2563 ก่อนเข้าสู่ช่วงปีใหม่ สำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว ต้องประสบกับปัญหาความเดือดร้อนอย่างมากกับวิกฤตอุทกภัยที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ท่ามกลางการเข้าไปช่วยเหลือของหน่วยงานต่าง ๆ กรมชลประทาน สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ หนึ่งในหน่วยงานหลักที่เข้าไปดำเนินการกอบกู้วิฤตคลายทุกข์ให้กับชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช และได้เร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

หนึ่งในผู้บริหารของกรมชลประทาน ที่ลงพื้นที่แบบปักหลักแก้ไขปัญหากันอย่างต่อเนื่อง คือ นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทานฝ่ายก่อสร้าง ซึ่งภายหลังจากที่ได้เข้าประชุมและบรรยายสรุปถึงสถานการณ์น้ำท่วม และแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อบรรเทาอุกภัยในพื้นที่ แก่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะ ที่ได้เดินทางไปยัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำท่วม และเยี่ยมเยียนให้กำลังใจผู้ประสบภัย ในช่วงเช้าของวันที่ 7 ธันวาคม 2563 ได้ให้สัมภาษณ์ถึงภารกิจของกรมชลประทานในการช่วยเหลือชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชจากเหตุการณ์อุทกภัยในครั้งนี้

ฝนตกหนัก มากกว่า 900 มิลลิเมตร..
รองอธิบดีกรมชลประทานฝ่ายก่อสร้าง ได้สรุปถึงสาเหตุของการเกิดน้ำท่วมในครั้งนี้ว่า ทั้งนี้เป็นเพราะ ได้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มากกว่า 900 มิลลิเมตร และคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง ในหลายพื้นที่

“โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช มีฝนตกหนักมากต่อเนื่อง ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วม ส่งผลให้ระดับน้ำในคลองเพิ่มสูงขึ้นและเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ 15 อำเภอ ของจังหวัดนครศรีธรรมราชปัจจุบันปริมาณฝนลดลง ระดับน้ำเริ่มลดลงในบางพื้นที่”

พื้นที่ประสบอุทกภัย ใน 5 ลุ่มน้ำ..
นายประพิศ กล่าวต่อไปว่า สำหรับจังหวัดจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประสบอุทกภัย แบ่งเป็น 5 ลุ่มน้ำ

หนึ่ง ลุ่มน้ำคลองท่าดี ซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่เขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช โดยคลองท่าดี มีต้นน้ำเกิดจากเขาหลวงในเขตอำเภอลานสกา ไหลลงมาจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออกผ่านที่ราบสูงเชิงเขา ซึ่งมีความลาดชันมากในช่วงตอนบนของลำน้ำ และไหลเข้าสู่ที่ราบในตัวเมืองนครศรีธรรมราช ผ่านที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลและไหลออกสู่อ่าวไทยที่อ่าวปากพนัง บ้านปากนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

โดยเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2563 เวลา 09.00 น. ปริมาณน้ำได้ไหลผ่านสถานี X.200 บ้านวังไทร อ.ลานสกา ของกรมชลประทาน 689.60 ลบ.ม./วินาที ผ่านเข้าตัวเมืองที่มีความสามารถในการระบายน้ำ 262 ลบ.ม./วินาที ทำให้ปริมาณน้ำส่วนเกินไหล่บ่าท่วมพื้นที่น้ำในพื้นที่ชุมชนเทศบาลนครนครศรีธรรมราช น้ำท่วมเฉลี่ยลึก 0.50-1.00 ม.

สอง ต้นน้ำตรัง คลองท่าเลา คลองท่าโลน คลองเปิก ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เขตเทศบาลเมืองทุ่งสง เนื่องจากพื้นที่เทศบาลเมืองทุ่งสงและชุมชนรายรอบที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขาของแนวเทือกเขานครสรีธรรมราช ซึ่งเป็นต้นน้ำของลำคลองสายใหญ่ 3 สาย คือ คลองท่าเลา คลองท่าโลน และคลองเปิก เมื่อเกิดฝนตกหนัก จะเกิดกระแสน้ำไหลแรงและเร็วมาก ไหลบ่ามาท่วมเขตเทศบาลเมืองทุ่งสงลึกเฉลี่ย 1.00-1.50 ม. จากนั้นน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำตรัง แล้วไหลลงสู่ทะเลที่จังหวัดตรัง และอีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นขวางทางน้ำ เช่น ถนน บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย

สาม พื้นที่ลุ่มน้ำตาปี ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยพื้นที่ อำเภอพิปูน อำเภอช้างกลาง อำเภอฉวาง อำเภอนาบอน อำเภอทุ่งใหญ่ และ อำเภอถ้ำพรรณรา พื้นที่นี้มีอ่างเก็บน้ำคลองกะทูนและอ่างเก็บน้ำคลองดินแดง เพื่อรองรับน้ำฝนที่จะไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก ในช่วงเกิดอุทกภัยปริมาณน้ำจากแม่น้ำตาปีจะไหลต่อไปยังจังหวัดสุราษฎร์ธานี ออกสู่ทะเล บริเวณ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

สี่ ลุ่มน้ำคลองกลาย โดยน้ำไหลจากต้นน้ำบริเวณอำเภอนบพิตำ ผ่านอำเภอท่าศาลาออกสู่ทะเล พื้นที่ดังกล่าวมีความรุนแรงของน้ำท่วมเนื่องจากพื้นที่ลาดชันกระแสน้ำไหลเชี่ยวและแรง แต่สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ถ้าหากไม่มีอิทธิพลน้ำทะเลหนุน ซึ่งปัจจุบันจะต้องติดตามปริมาณฝนที่ตกลงมา หากวัดค่าที่ได้เกินกว่า 150 มิลลิเมตร เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันเกิน 72 ชั่วโมง จะทำให้เกิดน้ำหลากเอ่อล้นตลิ่งบริเวณคลองสายหลัก

ห้า พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำรับน้ำจากแม่น้ำปากพนัง คลองเชียรใหญ่ คลองหัวไทร คลองชะเมา ซึ่งฝนตกเป็นปริมาณมาก ทำให้เกิดไหลล้นตลิ่ง คลองเชียรใหญ่ คลองหัวไทร คลองชะเมา เข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนของราษฎร พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ค่อนข้างราบเป็นแอ่งกระทะบางจุด ซึ่งเป็นอุปสรรคในการระบายน้ำ

ไม่เกิน 10 วันระบายน้ำได้หมด..

นายประพิศ กล่าวว่า ในส่วนของกรมชลประทานนั้น นอกจากมีการจัดตั้งศูนย์ส่วนหน้าบรรเทาอุทกภัย ฯ และระดมเครื่องจักรเครื่องมือจากส่วนกลาง รวมถึงการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และเครื่องผลักดันน้ำ ทั้งหมด 90 เครื่อง ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทาน ไม่ว่า นายปริญญา สัคคะนายก ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 15 นายเดช เล็กวิชัย ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 16 นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล นายเสริมชัย เซียวศิริถาวร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับชั้นต่างได้ลงพื้นที่เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่

“พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ต่างมีความเป็นห่วงถึงพี่น้องประชาชนทุกคน จึงกำชับให้กรมชลประทานเร่งดำเนินการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ สำหรับการดำเนินการเพื่อบริหารจัดการน้ำนั้น สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดทำให้หลายพื้นที่มีระดับน้ำลดลง”

โดยนายประพิศ อธิบายว่า สำหรับ การระบายน้ำในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีทางออกสู่ทะเล 5 ช่องทาง มีการระบายน้ำทั้งหมด 13,046,400 ลูกบาศก์ต่อวัน ตามศักยภาพการระบายน้ำ 8 ชั่วโมง ตามการลดลงของน้ำทะเล และได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำ จำนวน 54 เครื่อง บริเวณเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และติดตั้ง เครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 46 เครื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการระบาย ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว โดยใช้เวลาในการระบายน้ำเพียง 3 วัน

อีกหนึ่งพื้นที่ คือ การระบายน้ำในเขตลุ่มน้ำปากพนัง ทางโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ทั้งฝั่งอ่าวไทย ฝั่งอ่าวปากพนัง ที่มีออกสู่ทะเล 9 ช่องทาง หรือการระบายน้ำทั้งหมด 44,236,800 ลูกบาศก์ต่อวัน ตามศักยภาพการระบายน้ำ 8 ชั่วโมง ตามการลดลงของน้ำทะเล

ทั้งนี้ สำนักงานชลประทานที่ 15 ได้จะดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาอุทกภัยโดยได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำ จำนวน 26 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำจำนวน 10 เครื่อง และได้วางแผนจะติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพในการระบาย เพิ่มอีก 75 เครื่อง

“คาดว่าจะสามารถเร่งการระบายตามความเหมาะสมออกจากพื้นที่ ภายใน 10 วัน ส่วนปริมาณน้ำในทุ่งจะสำรองไว้ให้เกษตรไว้ใช้ทำการเกษตรต่อไป” นายประพิศกล่าว

นอกจากนี้ บาคาร่าออนไลน์ ในส่วนพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ส้มโอทับทิมสยาม บ้านแสงวิมาน อำเภอปากพนัง กรมชลประทานได้เข้าไปให้การช่วยเหลือด้วยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน13 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำจำนวน 16 เครื่อง รวมทั้งรถขุดสร้างคันกั้นน้ำ 17 คัน เพื่อดำเนินทำคันกั้นน้ำไม่ให้น้ำไหลเข้าพื้นที่เพิ่มเติม และจะสูบระบายน้ำออกจากแปลงภายใน 5 วัน

ลงพื้นที่พบเกษตรกรกล้วยไม้ เผยตลาดส่งออกเริ่มดีขึ้นตามลำดับ

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 นายอนุสรณ์ กาญจนภักดิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดนนทบุรี และ นายภาสกรณ์ สมัครพงศ์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาบางใหญ่ ได้นำคณะลงพื้นที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เพื่อพบปะเกษตรกรลูกค้าในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย โดยได้ไปที่แปลงปลูกกล้วยไม้ของ นายนัฐวุฒิ เนตรประไพ เลขที่ 4/7 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

นายนัฐวุฒิ เนตรประไพ เกษตรหนุ่มผู้สร้างอนาคตกับกล้วยไม้ เปิดเผยว่าตนมีพื้นที่ปลูกกล้วยไม้ทั้งหมด 40 ไร่ โดยสร้างเนื้อสร้างตัวจากการเริ่มต้นปลูกแค่ 4 ไร่ ต่อมาได้ขยับขยายจำนวนพื้นที่มากขึ้นทั้งที่ดินที่เป็นของครอบครัวและที่เช่า เน้นปลูกกล้วยไม้สกุลหวายตัดดอกเพื่อส่งออกตลาดต่างประเทศ ภายใต้แบรนด์ เอ็น.พี.พี. ออคิด ตลาดหลักจะอยู่ที่ประเทศจีน แต่เมื่อสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ทำให้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ไม่สามารถส่งออกกล้วยไม้ได้ และตลาดในประเทศก็มีกำลังรองรับไม่เพียงพอ จากช่วงที่ราคาดีช่อละ 4 บาท เวลานี้เหลือช่อละ 80 สตางค์

“เคยเจอน้ำท่วมปี 54 หมดเนื้อหมดตัว ต้นกล้วยไม้ในสวนตายไม่เหลือแม้แต่ต้นเดียว แต่ก็ยังมีสวนเพื่อนๆที่น้ำไม่ท่วมยังเอามาทำพันธุ์ให้ไปต่อได้ เคยคิดว่าหนักที่สุดแล้ว แต่พอมาเจอโควิด-19 มันหนักกว่าครั้งใดๆ ต้องบอกว่าเจ็บใจมาก เพราะเราเห็นดอกไม้ออกดอกสวย แต่มันตัดขายไม่ได้ จะหันไปขายทางไหนก็ไม่ได้ เพราะเป็นกันทั้งโลก” นายนัฐวุฒิ บอกเล่าให้ฟังและเล่าต่อว่า ผลจากวิกฤตดังกล่าว ทำให้ต้องใช้บริการโครงการสินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งก่อนหน้านี้ทางกลุ่มของตนที่รวมตัวกันเป็นแปลงใหญ่ได้ใช้บริการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย หรือโครงการสินเชื่อล้านละร้อย ทำให้สามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้เกิดสภาพคล่องขึ้น

เน้นทำตลาดผ่านระบบออนไลน์เพื่อจำหน่ายสินค้าภายในประเทศให้มากขึ้นจากเดิมส่งออก 80 % ขายในประเทศ 20% ซึ่งมาถึงตอนนี้ก็ค่อยๆปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ “เงินทุนส่วนใหญ่จะนำไปใช้หมุนเวียนเรื่องการจัดการในสวน ทั้งเรื่องต้นพันธุ์ การซื้อปุ๋ย ค่าแรงคนงาน ฯลฯ ก็ทำให้สภาพคล่องเราดีขึ้น เหมือนเป็นการต่อลมหายใจ เพราะว่ากล้วยไม้เป็นพืชที่จำเป็นจะต้องดูแลจัดการ โดยเฉพาะเรื่องปุ๋ยขาดไม่ได้ ไม่ใช่ว่าช่วงไหนเราขายไม่ได้แล้ว เราจะหยุดใส่ปุ๋ย รวมทั้งโรคแมลงต่างๆ เราต้องบำรุงดูแลอยู่ตลอดเวลาครับ”

ทางด้าน นายภาสกรณ์ สมัครพงศ์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาบางใหญ่ กล่าวว่าในช่วงภาวะวิกฤตโควิด-19 ทางทีมงาน ธ.ก.ส.ในพื้นที่จะต้องหมั่นลงมาพบปะเกษตรกรลูกค้า ถือว่าเป็นภารกิจที่จะต้องเข้าไปสนับสนุนช่วยเหลือในเรื่องของสินเชื่อฉุกเฉินโควิด-19 และมีการพักชำระหนี้ ในช่วงโควิดที่ผ่านมาหากมองด้านบวกถือว่าทำให้เราได้ใกล้ชิดกับเกษตรกรมากขึ้น

ส่วน นายอนุสรณ์ กาญจนภักดิ์ ผู้ช่วย ผอ.ธ.ก.ส. สำนักงานนนทบุรี กล่าวว่า รู้สึกยินดีมากที่เกษตรกรเจ้าของสวนกล้วยไม้รายนี้ ซึ่งเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ได้เข้ามาเป็นลูกค้าธ.ก.ส. เพราะวัตถุประสงค์หลักของธนาคารตั้งขึ้นมาเพื่อที่จะช่วยเหลือเกษตรกรอยู่แล้ว โควิด-19 หรือภัยอะไรต่างๆ ก็แล้วแต่ที่กระทบต่ออาชีพทางการเกษตรธ.ก.ส.ก็พร้อมที่จะให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่

“ดีใจที่น้องต้อง(ชื่อเล่นเกษตรกร)มาเป็นลูกค้าใช้บริการสินเชื่อจากธ.ก.ส. ธนาคารเองมุ่งหวังที่จะให้คนรุ่นใหม่เข้ามาสืบทอดอาชีพทางการเกษตร ธ.ก.ส.ตั้งขึ้นมาก็เพื่อที่จะพัฒนาภาคเกษตรประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน เราพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างเกษตรกรและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ครับ”

ในตอนท้าย นายนัฐวุฒิ เนตรประไพ เกษตรกรหนุ่มเจ้าของสวนกล้วยไม้ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงโควิด-19 ถือเป็นบทเรียนครั้งสำคัญ ต้องหันมายึดหลักพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่จะต้องสร้างภูมิคุ้มกันในอาชีพและทำการปลูกกล้วยไม้หรือไม้ประดับให้หลากหลายขึ้น คือไม่ปลูกเฉพาะกล้วยไม้ตัดดอกอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว เช่น ปลูกเฟิร์น หรือไม้ประดับประเภทฟอกอากาศ หรือต้นเคราฤาษี ซึ่งช่วงที่ผ่านมาขายดีมาก ชนิดที่ว่าเป็นพระรองแต่มาช่วยพระเอกได้ และขณะเดียวกันทำให้ได้บทเรียนว่าจะต้องไม่หวังพึ่งตลาดต่างประเทศมากเกินไปแต่จะต้องทำตลาดในประเทศให้มากขึ้น และล่าสุดนี้ยอดการส่งออกกล้วยไม้ไปประเทศจีนเริ่มพลิกตัวกลับมาเพิ่มขึ้นตามลำดับเป็น 60% จากที่ไม่มียอดขายเลยในช่วงโควิดที่ผ่านมา…ท่านใจสนใจติดต่อซื้อหรือเยี่ยมชมสวน ติดต่อคุณณัฐวุฒิ โทร.090 9693697

อนึ่ง “เกษตรก้าวไกล” จะนำเสนอเรื่องราวของเกษตรกรท่านนี้อีกครั้ง ผ่านเว็บไซต์เกษตรก้าวไกล เพจเกษตรก้าวไกล และช่องยูทูปเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน โปรดติดตามเร็วๆ นี้

ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ ลงพื้นที่มหาวิทยาลัยแพะ จังหวัดกระบี่ ขับเคลื่อน Model แพะใน จ.กระบี่ และแพะในพื้นที่ภาคใต้ ขยายผลสำเร็จผ่านงานวิจัยเพื่อความยั่งยืน โดยได้นำขนแพะมาสกัดเป็นน้ำหอม ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี นายชวน ภูเก้าล้วน ประธานกรรมการบริษัท ศรีผ่องพานิช จำกัด เจ้าของมหาวิทยาลัยแพะนานาชาติ ศรีผ่องฟาร์ม อ.เมือง จ.กระบี่ ให้การต้อนรับ

ดร.ขนิษฐา ชวนะนรศรษฐ์ นักวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร วว. กล่าวว่า ได้ทำการวิจัยโดยนำนวัตกรรมการสกัดขนแพะมาพัฒนาเป็นน้ำหอม เนื่องจากแพะมีกลิ่นเฉพาะตัว มีความโดดเด่น ซับซ้อนและลอกเลียนแบบยาก อีกทั้งแพะเมื่อชำแหละเอาเนื้อแล้วต้องทิ้งขน จึงได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการสกัดน้ำมันจากขนแพะผลิตเป็นน้ำหอม ขนแพะ มีคุณสมบัติพิเศษ มีกลิ่นฉุนแรง แต่ในความฉุนนั้นมีกลิ่นที่เฉพาะตัวที่สามารถนำมารังสรรค์เป็นน้ำหอมที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและลอกเลียนแบบยาก อีกทั้งได้ผสมผสานกับน้ำหอมจากดอกไม้ ทำให้น้ำหอมจากขนแพะมีความละมุนขึ้น มีกลิ่นเฉพาะตัว และนักวิจัยยังอยู่ระหว่างการวิจัยเรื่อง Male Pheromone ที่มีในขนแพะเพื่อต่อยอดมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมน้ำหอมต่อไปอีกด้วย

นอกจากนี้ วว.ยังมีงานวิจัยและพัฒนาที่เน้นไปที่การใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีในด้านการส่งเสริมการเลี้ยงแพะ การเสริมประโยชน์จากแพะและนมแพะ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ให้กับฟาร์มแพะในจังหวัดกระบี่และเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะสามารถต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้นอย่างเช่น น้ำหอมและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องจากขนแพะ ที่มีศักยภาพต่ออุตสาหกรรมน้ำหอมและเครื่องสำอางในอนาคต ก่อให้เกิดรายได้และเกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนของชุมชนให้มากขึ้น

นางศิรินันท์ ทับทิมเทศ อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร วว. กล่าวเสริมถึงงานการวิจัยและพัฒนาน้ำมันหอมระเหยของ วว. ว่า ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ใช้ในด้านเสริมสุขภาพและความงาม การพัฒนาน้ำหอมจากขนแพะจึงเป็นแนวทางการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมน้ำหอมและเครื่องสำอางของประเทศ ที่มีแนวโน้มการเติบโตที่สูงขึ้น และแพะยังเป็นอีกหนึ่งสัตว์เศรษฐกิจที่น่าสนใจอีกด้วย

ทีมงาน “เกษตรก้าวไกล” มีโอกาสเดินทางขึ้นเหนือ ภายใต้โครงการลุยเกษตรสุดเขตไทย ระยะที่ 1 โดยการสนับสนุนของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เริ่มต้นที่จังหวัดน่าน เมืองที่ต้องตั้งใจไป เพราะไม่ใช่เมืองผ่าน ไปฟังแนวคิดของเกษตรกรรุ่นใหม่ 2 คน 2 คมคิด ที่น่าสนใจไม่น้อย

เราได้รับเกียรติจาก นายสุชาติ เพชรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส จังหวัดน่าน มอบหมายให้ น.ส.ขจร กาแสน ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาสันติสุข และ นายชายนิตย์ หาญคำ พนักงานพัฒนาลูกค้า ธ.ก.ส.น่าน ได้นำคณะของเราลงพื้นที่อำเภอสันติสุข เพื่อติดตามผลการพัฒนาเกษตรกรลูกค้าธ.ก.ส. จุดแรกที่ นาตาทา ฟาร์มสเตย์ & นาตาทา คาเฟ่ ตั้งอยู่เลขที่ 91 หมู่ 7 บ้านมั่นคง ตำบลป่าแลวหลวง อ.สันติสุข จ.น่าน

น.ส.อดิศา นภสินธุ์ธร หรือ “น้องแหวว” ผู้สร้างนาตาทาคาเฟ่ กับคมคิดที่ว่า “คิดอย่างเดียว ไม่ลงมือทำ ไม่เกิดธุรกิจ” เล่าว่าตัวเองเป็นคนชอบเที่ยวป่า ถ่ายรูป ชมธรรมชาติ เดินทางไปใช้ชีวิตกลางแจ้งมาแล้วหลายพื้นที่ จากประสบการณ์ที่ชอบถ่ายภาพ จึงมาเปิดร้านกาแฟ นาตาทา คาเฟ่ ซึ่งเป็นที่มรดกของคุณตาทา(คุณตาชื่อทา) มาพัฒนาเป็นร้านกาแฟและฟาร์มสเตย์ จุดขายอยู่ที่ท้องทุ่งปลูกข้าวเขียวขจี ล้อมรอบด้วยทิวทัศน์ที่เป็นภูเขา ผู้คนที่มาเที่ยวจะเป็นคนรุ่นใหม่ที่ถวิลหาธรรมชาติ ชอบถ่ายภาพสวยๆ ลงโซเชี่ยล จากผลอันนี้จึงทำให้เกิดกระแสตอบรับดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมล้นหลาม

วันที่ทีมงานเราไปสัมผัสเป็นช่วงต้นฤดูหนาว ช่วงเช้าอากาศเริ่มหนาวแล้ว มีนักท่องเที่ยวทั้งควงกันมาเป็นคู่ๆ และหมู่คณะ เดินทางมาเยือนนาตาทา คาเฟ่ ไม่ขาดสาย

“น้องแหวว” จะทำหน้าที่บริหารจัดการ มีพี่สาวมาช่วยดูแลเรื่องคาเฟ่ นอกจากจะบริการชงกาแฟและเครื่องดื่มต่างๆแล้ว ยังคอยรับแขกเป็นหมู่คณะเข้าพักที่นาตาทา ฟาร์มสเตย์ นอกจากนี้ยังมีบริการพิซซ่าอร่อยๆ โดย “น้านาย” น้าสาวของน้องแหววอีกด้วย ทีมงานเกษตรก้าวไกล และ ทีมงานธ.ก.ส.ได้ชิมพิชซ่า ฝีมือน้านาย หมดไป 2 ถาด ต่างบอกว่าอร่อย เพราะเป็นพิชซ่าที่อบจากเตาหม้อดิน ที่ก่อขึ้นมาเป็นรูปตัวหมีน่ารัก อบร้อนๆ หอมกรุ่นทั่วท้องทุ่งนา

ท่ามกลางธรรมชาติภูเขา ป่าไม้ และท้องทุ่งนา รวงข้าวสีทองปลิวไสวตามแรงลม ชาวนากำลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง ใช้แรงงานคนใช้เคียวเก็บเกี่ยวด้วยสองมือ มาวางเป็นฟ่อนๆ และนำไปกองรวมกัน ก่อนที่จะใช้แรงงานตีข้าวในลาน กรอกใส่กระสอบขนไปเก็บไว้ที่ยุ้งฉาง เป็นบรรยากาศดั้งเดิม ไม่เหมือนที่อื่น

ช่วงบ่ายวันเดียวกัน นายชายนิตย์ หาญคำ พนักงานพัฒนาลูกค้า ธ.ก.ส.น่าน พร้อม นายชวลิต คำเฝ้า ผู้ช่วยผจก.ธ.ก.ส.สาขาน่าน และคณะ พาเราเดินทางไปพบเกษตรกรอีกท่านหนึ่ง เป็นเกษตรกรนิวเจนฮักบ้านเกิด ที่กำลังสร้างโรงเรือนผลิตเห็ด ออรินจิ ยานางิ และอีกหลายชนิด ซึ่งจะไม่ใช่การเพาะเห็ดขายแบบเดิมๆ แต่จะใช้งานวิจัยและนวัตกรรมมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าอย่างเต็มรูปแบบ

นายวรากร เกศทับทิม หรือ น้องก่อ ผู้ก่อตั้งฟาร์มเห็ดมั่นคงน่านเล่าว่าเมื่อก่อนทำงานวิจัย อยู่หน่วยงานแห่งหนึ่งที่จังหวัดปทุมธานี เห็นช่องทางธุรกิจจึงลาออกมาทำธุรกิจภายใต้แบรนด์ “ฟาร์มเห็นโคนน่าน” ที่ฟาร์มเลขที่ 115 หมู่1 ต.ดู่ใต้ อ.เมือง จ.น่าน

“ฟาร์มของเราเริ่มจากการแปรรูปเห็ดโคนน่าน เป็นฟาร์มเกษตรอินทรีย์ เคยได้รับรางวัลแปรรูประดับเหรียญเงิน จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาแพร่ เมื่อปี 2560 โดยนำนวัตกรรมใหม่ๆ ผลิตเห็ดในโรงเรือน โดยเฉพาะเห็ดเมืองหนาว และสร้างโรงอบเห็ดสุญญากาศ สิ่งสำคัญเราหวังว่าจะเชื่อมโยงเกษตรกรในพื้นที่ที่เพาะเห็ดขายอยู่แล้วให้มาร่วมมือกัน เพราะเราทำคนเดียวไม่ได้ และเราจะสร้างเครือข่ายผู้บริโภคเห็ดให้เกิดขึ้นทุกชุมชนทุกหมู่บ้าน รวมทั้งส่งขายห้างสรรพสินค้าที่อยู่ในพื้นที่ ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ เช่น สสว. ธ.ก.ส. เป็นต้น” คุณวรากร กล่าวอย่างมุ่งมั่น

นอกจากนี้น้องก่อ ยังได้รับรางวัลเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ จากสสว. และเข้าประกวดนิวเจนฮักบ้านเกิด ของธ.ก.ส.ติดอันดับ 1 ใน 140 คน จากผู้สมัครกว่า 20,000 คนทั่วประเทศ เกษตรกรท่านใดสนใจที่จะทำฟาร์มเห็ดปรึกษานิวเจนรุ่นใหม่ โทรศัพท์ไปได้ที่เบอร์ 089­­-7466­-447 น้องก่อ ยินดีให้คำปรึกษา

ทริปนี้ถือเป็นการเดินทางตรงไปที่เมืองน่าน เมืองที่ต้องตั้งใจไปของทีมงานเกษตรก้าวไกล โดยท่านผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์เกษตรก้าวไกล เพจเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน รวมทั้งช่องยูทูปเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน ซึ่งจะได้นำเสนอข้อมูลดีๆ สู่สายตาเกษตรกรทั่วประเทศ โดยการสนับสนุนของธ.ก.ส.ที่เป็นมากกว่าธนาคารและพร้อมเคียงข้างเกษตรกรตลอดไป

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยหลังการติดตามผลการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่กล้วยหอมเมืองแกน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ว่า ได้มีโอกาสร่วมประชุมกับคณะกรรมการเครือข่ายเกษตรกรแปลงใหญ่กล้วยหอม พบว่าเกษตรกรเข้มแข็งและเข้าใจในหลักตลาดนำการผลิต รวมทั้งปรับตัวใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เทคนิคการห่อกล้วย รวมถึงการเข้าสู่มาตรฐาน GAP ที่ปัจจุบัน มีเกษตรกรที่ได้รับมาตรฐานแล้วกว่า 70 ราย

สิ่งที่ทางกลุ่มกำลังดำเนินการคือการทำระบบน้ำให้เพียงพอตลอดปี การปรับปรุงดิน เพื่อลดต้นทุนการผลิต รวมถึงการใช้พันธุ์ที่ดี ปัจจุบันผลผลิตสามารถยกระดับเป็นพรีเมี่ยมได้กว่า 40% จากเดิมได้เพียง 1-2 % เน้นคุณภาพ ลดต้นทุน และขับเคลื่อนกลุ่มแปลงใหญ่ในรูปแบบคณะกรรมการ ซึ่งจะทำให้โปร่งใส และตรวจสอบการทำงานได้และพัฒนากลุ่มอย่างเป็นระบบ ในอนาคตทางกลุ่มได้วางแผนที่จะใช้โดรนในการลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งแนะนำเกษตรกรผลิตสารชีวภัณฑ์ใช้เอง

สำหรับแปลงใหญ่กล้วยหอมทอง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ จัดตั้งเมื่อปี 2560 มีเกษตรกร 70 ราย พื้นที่ 320 ไร่ ผลผลิตรวม 102,400 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 4,800 กก./ไร่ (15 กก./ต้น) ลดต้นทุน เฉลี่ยต้นทุน (รุ่นที่ 1) 36,368 บาท/ไร่ (รุ่นที่ 2) 11,022 บาท/ไร่ เพิ่มผลผลิตจาก 3,840 กก./ไร่ เป็น 4,800 กก./ไร่ คิดเป็น 20% การพัฒนาคุณภาพ ได้รับมาตรฐาน GAP จำนวน 70 ราย และสามารถจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนได้

“เกษตรกรกลุ่มนี้ถือได้ว่าประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด ปัจจุบันนอกจากขานให้บริษัท P&F TECNO CO.,LTD และยังสามารถขายให้กับบิ๊กซีเอ็กซ์ตรา สาขาเชียงใหม่ และบิ๊กซี สาขา ดอนจั่น ตลาดเกษตรกร ศูนย์ราชการเชียงใหม่ รวมถึงตลาดอื่นๆ ในจังหวัดเชียงใหม่”

“นอกจากนี้ยังเป็นที่ต้องการของตลาดส่งออกต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่น ซึ่งล่าสุดได้ประสานความร่วมมือกับบริษัทธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ขนาดใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น ที่มีความต้องการกล้วยหอมทองเฉลี่ย 1,125 ตัน/เดือน หรือ 13,500 ตัน/ปี เรียบร้อยแล้ว นับเป็นอีกก้าวสำคัญของเกษตรกร ที่ใช้ตลาดนำการผลิตตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประสบความสำเร็จ” นายเข้มแข็ง กล่าว

โครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) จังหวัดมหาสารคาม เริ่มต้นขึ้นโดยสยามคูโบต้าได้ร่วมมือกับจังหวัดมหาสารคาม รวมทั้งเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ได้จัดกิจกรรม Kick off “มหาสารคาม มหานครปลอดการเผา” เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม โดยมี นายเกียรติศักดิ์ จันทรา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธี พร้อมกันนั้นมีตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆและเกษตรกรมาร่วมงานคับคั่ง

พิธีการได้เริ่มต้นขึ้นโดยผู้ว่าราชการจังหวัดได้กล่าวถึงภารกิจที่จะผลักดันให้จังหวัดมหาสารคามเป็นจังหวัดนำร่องปลอดการเผา (Zero Burn) ในพื้นที่การเกษตร เนื่องจากปัญหามลพิษและ “ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5” ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยกว่า 50% เกิดจากการเผาในที่โล่ง ซึ่งรวมถึงการเผาในพื้นที่ทางการเกษตร ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน

ต่อจากนั้นได้มีการเสวนาบนเวทีเรื่อง “มหาสารคาม มหานครปลอดการเผา” นำโดย นายปราโมทย์ วัฒนะรักษาการเกษตรจังหวัดมหาสารคาม พร้อมตัวแทนเกษตรที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรการปลอดการเผาคือ นายวิชัย เผิ่งจันดา เกษตรกรชาวนาอำเภอนาดูน และ นายสิระวัฒน์ สีจันแก้ว เกษตรกรปลูกอ้อย อำเภอโกสุมพิสัย และยังมีตัวแทนฝ่ายรับซื้อฟางก้อน รวมทั้งวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าชีวมวล โดยประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อจำกัด และ คุณพรเทวี วาชัยยุง ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ อีสานบน บริษัท แอบโซลูทคลีน อีเนอจี จำกัด (โรงงานไฟฟ้าชีวมวล ACE) รวมทั้ง นายวีรพงศ์ วิรบุตร์ ผู้จัดการภาคอีสานอาวุโส-แทรกเตอร์และอุปกรณ์ต่อพวง

เนื้อหาสาระในการเสวนาครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมเสวนาชี้ให้เห็นถึงบทบาทหน้าที่ความร่วมมือร่วมใจจะขับเคลื่อนนโยบายเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) เพื่อผลักดันให้จังหวัดมหาสารคามเป็นต้นแบบนำร่องแห่งแรกในการขับเคลื่อนโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) ให้เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “มหาสารคาม มหานครปลอดการเผา” รายละเอียดการเสวนาคลิกดูที่ https://fb.watch/1SanCB8c-V/ และในงานครั้งนี้ยังมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องเกษตรปลอดเผาจากหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร โรงงานไฟฟ้าชีวมวล ACE โรงงานน้ำตาลวังขนาย ฯลฯ

นายวีรพงศ์ วิรบุตร์ ผู้จัดการภาคอีสานอาวุโส-แทรกเตอร์และอุปกรณ์ต่อพวง บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จํากัด กล่าวว่า สยามคูโบต้าได้ตั้งเป้าให้เกษตรกรในพื้นที่ส่งเสริม สามารถเข้าถึงเครื่องจักรกลการเกษตร และนำไปใช้ในการทำการเกษตรปลอดการเผา สอดคล้องกับเป้าหมายภาครัฐในการลดการเผาในพื้นที่การเกษตรให้เป็น 0 ภายในปี 2565 ตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่วัสดุเหลือใช้หลังการเก็บเกี่ยว เช่น ฟางข้าว ตอซังข้าว และใบอ้อย ด้วยการนำเอานวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร Machinery Solutions และองค์ความรู้ด้านการเกษตร Knowledge Solutions ภายใต้องค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร มาปรับใช้ นำไปสู่การพัฒนาภาคเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืน

โดยในงานครั้งนี้ได้มีการสาธิตการใช้เครื่องจักรกลเกษตรที่จะนำมาใช้กับโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) ให้เห็นกันชัดๆ เป็นที่ประทับใจแก่ผู้เข้าร่วมงานมากทีเดียว

สำหรับการสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตรและการขนส่ง ซึ่งถือเป็นหัวใจความสำเร็จของโครงการที่สยามคูโบต้าได้ให้การสนับสนุน โดยจะจัดหาทางเลือกการเข้าถึงเครื่องจักรกลการเกษตร ในรูปแบบต่างๆ ทั้งส่วนลดโปรโมชั่นพิเศษ การเช่าใช้เครื่องจักรกลการเกษตร รวมถึง การพัฒนาแอพพลิเคชั่น เพื่อเป็นแพล็ตฟอร์ม ในการติดต่อผู้ประกอบการเครื่องจักรกลการเกษตร สำหรับให้บริการแก่เกษตรกร ด้วยการสนับสนุน 3 วิธี

สำหรับเกษตรกรที่มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการฯ บริษัทฯ สนับสนุนโปรโมชั่นพิเศษในการทำโครงการฯ โดยสามารถติดต่อสอบถามที่ผู้แทนจำหน่ายในพื้นที่
สำหรับเกษตรกรที่สนใจและต้องการทดลองเข้าร่วมโครงการฯ บริษัทฯ สนับสนุนการเช่าใช้เครื่องจักรกลการเกษตร
สำหรับเกษตรกรรายย่อย บริษัทฯ สนับสนุนให้ใช้แอพพลิเคชั่น Getztrac ในการเรียกใช้บริการเครื่องจักรกลการเกษตร

ทั้งนี้ เครื่องจักรกลการเกษตรที่สยามคูโบต้าสนับสนุนในพื้นที่ ได้แก่

อ้อย

เครื่องสางใบอ้อย เพื่อลดการขั้นตอนการสางใบ ทดแทนแรงงานคนในการตัดอ้อย
เครื่องอัดฟาง สำหรับอัดใบอ้อยก้อน เพื่อส่งให้แก่โรงไฟฟ้าชีวมวล สร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกร
ข้าว

เครื่องอัดฟาง สำหรับอัดก้อนฟาง เพื่อส่งให้แก่ตลาดปศุสัตว์ เช่น สหกรณ์โคนม รวมทั้งการทำปุ๋ยหมักจากฟางข้าว และจัดทำเป็นวัสดุคลุมดิน สำหรับการเพาะปลูก
เครื่องพ่นอเนกประสงค์ สำหรับฉีดน้ำหมัก เพื่อเร่งการย่อยสลายของตอซังข้าวในนา ส่วนแนวทางการสนับสนุนเรื่องการขนส่ง สยามคูโบต้า โดยทีมสาธิต เข้าประสานงานและวางแผนการขนส่งร่วมกับหัวหน้ากลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ และตลาดรับซื้อวัสดุชีวมวล ในการกำหนดวันขนส่ง เพื่อให้ตลาดสามารถจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาให้บริการแก่กลุ่มเกษตรกรได้

ภายใต้โครงการ “ลุยเกษตรสุดเขตไทย” โดยการสนับสนุนของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วันนี้ (19 พ.ย. 63) นายคมศร บุญนิธิ ผู้อำนวยการ ธ.ก.ส.จังหวัดสตูล มอบหมายให้ นายศักดา หมื่นสมาน ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ธ.ก.ส.จังหวัดสตูล พร้อมด้วย นายนายอนันต์ อาดำ หัวหน้าหน่วยอำเภอควนกาหลง น.ส.มณีพร จันทราพูน พนักงานพัฒนาลูกค้า นายยุทธนา น้อยจีน พนักงานพัฒนาลูกค้า นายชาญณรงค์ คำพันธ์ พนักงานบริการสินเชื่อ และ นายทิพากร อภิรอดมนตรี พนักงานสินเชื่อ นำสื่อมวลชนเกษตร ลุงพร เกษตรก้าวไกล จากเว็บไซต์เกษตรก้าวไกลดอทคอม เพจเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน และช่องยูทูป เกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน ลงพื้นที่อำเภอควนกาหลงเพื่อเยี่ยมชมผลการดำเนินงานและความสำเร็จจากโครงการช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่จินดารัตน์ฟาร์ม ของนายรัตน์ ดุกสุขแก้ว ตั้งอยู่เลขที่ 8 หมู่ที่ 2 ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

ทั้งนี้ ลูกค้าเป็นเกษตรกรและเป็นลูกค้าธนาคารมานานประกอบอาชีพการเกษตรมายาวมากกว่า 40 ปี โดยเดิมทีประกอบอาชีพ เกษตรกรรมสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน จากนั้นในปี 2560 จึงได้หันมาเริ่มเลี้ยงโคขุนประกอบด้วยโคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์ โคพันธุ์บราห์มันและโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน แต่เนื่องด้วยสภาพตลาดที่มีความไม่แน่นอนเรื่องพันธุ์โค รวมทั้งผลตอบแทนจากการเลี้ยง ทำให้การเลี้ยงไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทางนายรัตน์และบุตรชายผู้ร่วมดำเนินธุรกิจ จึงได้ปรับเปลี่ยนมาประกอบกิจการฟาร์มแพะ โดยปัจจุบันฟาร์มมีการเลี้ยงแพะประกอบด้วยแพะเนื้อขุน แพะแม่พันธุ์ และแพะให้น้ำนม

การเลี้ยงการจัดการนั้น เน้นกระบวนการใช้แพะสายพันธุ์ดี โรงเรือนมาตรฐาน อาหารตามหลักวิชาการเกษตร ใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาทำเป็นอาหารแพะ โดยเฉพาะทางปาล์มน้ำมันนำมาเป็นอาหารแพะ และการเลี้ยงมีลักษณะทำเกษตรผสมผสาน ร่วมกับ สวนปาล์มน้ำมัน ตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน

จุดเด่นของจินดารัตน์ฟาร์ม นอกจากการนำเข้าแพะสายพันธุ์ดีจากแอฟริกาใต้มาเพาะขยายพันธุ์และการเลี้ยงแพะต้นทุนต่ำด้วยการทำอาหารข้นขึ้นใช้เองแล้ว ยังมีระบบโรงเรือนที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในจังหวัดสตูลคือ สามารถรองรับการเลี้ยงแพะได้ถึง 500 ตัว พร้อมการออกแบบคอกเลี้ยงเป็นสัดส่วน ยกระดับโรงเรือนสูงหท่วมหัวทำให้จัดการเรื่องขี้แพะได้สะดวก ซึ่งขี้แพะสามารถจำหน่ายเป็นปุ๋ยมีรายได้มากกว่าต้นทุนอาหารแพะที่ต้องใช้แต่ละเดือน

ในการนี้ นายศักดา หมื่นสมาน ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ธ.ก.ส.จังหวัดสตูล กล่าวว่า ธ.ก.ส. เราเป็นมากกว่าธนาคารพร้อมเคียงข้างรู้ค่าเกษตรกรและให้การช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเกษตรกรที่ต้องการฟื้นฟูหรือพัฒนาอาชีพ ดังที่จินดารัตน์ฟาร์ม ที่วันนี้ได้ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนกิจกรรม และกลายเป็นต้นแบบแห่งการเรียนรู้ของเพื่อนเกษตรกรที่สนใจ ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้เข้ามาช่วยให้การสนับสนุนในหลายๆด้าน นอกเหนือจากการสนับสนุนสินเชื่อปกติ เช่น การพัฒนาให้เกิดการพัฒนาเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ มีการพัฒนาด้านตลาดด้วยการเพิ่มช่องทางการตลาดไปสู่ตลาดออนไลน์ ซึ่งเกษตรกรที่สนใจและต้องการคำปรึกษาสามารถติดต่อได้ที่ธ.ก.ส ในพื้นที่จังหวัดสตูลได้ทุกสาขา

สำหรับ ข่าวลุยเกษตรสุดเขตไทย “ลุยจินดารัตน์ฟาร์มแพะจังหวัดสตูล” จะนำมาเสนออย่างละเอียดอีกครั้งผ่านเว็บไซต์เกษตรก้าวไกล และเครือข่าย รวมทั้งเพจเฟสบุ๊ค และยูทูปช่องเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน…โปรดติดตามเร็วๆนี้ครับ

วันนี้ (27 พ.ย.2563) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ โดยโรงงาน และฟาร์ม ในจังหวัดต่างๆ ทั่วไทย ร่วมแสดงพลังกับจิตอาสาของเครือเจริญโภคภัณฑ์ทุกกลุ่มธุรกิจ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในชุมชนรอบสถานประกอบการอย่างพร้อมเพรียงกัน ตามโครงการจิตอาสา “เราทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ 5 ธันวาคม

กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในครั้งนี้ จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 จากนโยบายของเครือซีพี ที่ต้องการให้พนักงานซีพีจิตอาสาทุกกลุ่มธุรกิจทั่วประเทศ รวมพลังเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทำประโยชน์เพื่อสังคม ตามพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 สร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อสังคมส่วนรวมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

นายประเสริฐ พุ่งกุมาร รองประธานอาวุโส เครือซีพี พร้อมกับ นายสุขสันต์ เจียมใจสว่างฤกษ์ และนายสุขวัฒน์ ด่านเสริมสุข รองประธานคณะกรรมบริหาร ซีพีเอฟ นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ นำคณะผู้บริหาร และซีพีเอฟ จิตอาสา สำนักงาน อาคาร ซีพี ทาวเวอร์ สีลม ร่วมกับจิตอาสาบริษัทในเครือซีพี สำนักงานเขตบางรัก สถานีตำรวจนครบาล ทุ่งมหาเมฆ ช่วยกันปลูกต้นไม้ ทำความสะอาด และปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณทางเท้า ตั้งแต่บริเวณหน้าอาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ ถนนสีลม จนถึง ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่

นอกจากนี้ โรงงานธุรกิจสัตว์บกและธุรกิจสัตว์น้ำของซีพีเอฟในจังหวัดต่างๆ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย บำเพ็ญสาธารณประโยชน์พร้อมกัน ให้แก่ชุมชนรอบสถานประกอบการ วัด โรงเรียน ศาสนสถาน ได้แก่ โรงงานอาหารสำเร็จรูปหนองจอก นำพนักงานจิตอาสาช่วยกันทำความสะอาดวัดอู่ตะเภาเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี โรงงานแปรรูปเนื้อไก่และอาหารแปรรูป มีนบุรี รวมพลังกับชุมชนลำหินใต้ และจิตอาสา อปพร.เขตหนองจอก บริจาคหลอดไฟและพัดลมให้มัสยิดโรงเรียนสอนศาสนา พร้อมกับช่วยกันทำความสะอาด ซ่อมแซมระบบไฟฟ้าของมัสยิดเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับชาวบ้านที่มีปฏิบัติศาสนกิจ

ส่วนของธุรกิจอาหารสัตว์บกได้แสดงพลังจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์พร้อมกัน ได้แก่ โรงงานอาหารสัตว์บกโคกกรวด ร่วมกับ จ.นครราชสีมา มอบวัสดุก่อสร้างให้กับวัดพระธาตุโป่งดินสอ ขณะที่พนักงานซีพีเอฟจิตอาสาและประชาชนชาวโคราชจิตอาสา ช่วยกันซ่อมแซมระบบไฟฟ้า และทำความสะอาดบริเวณวัดพระธาตุโป่งดินสอ ด้านซีพีเอฟจิตอาสาของโรงงานผลิตอาหารสัตว์บกลำพูน ต่างช่วยกันทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะของกรมทางหลวง จ.ลำพูน

พนักงานจิตอาสาของโรงงานผลิตอาหารสัตว์บกหนองแค จ.สระบุรี มอบโรงเรือนปลูกผัก และร่วมแรงร่วมใจกันทำแปลงปลูกผัก ให้น้องๆ นักเรียนโรงเรียนวัดโพนทอง ได้มีวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ปรุงอาหารกลางวันนักเรียน เป็นการส่งเสริมด้านโภชนาการเยาวชนในพื้นที่รอบโรงงาน

ในส่วนของธุรกิจสัตว์น้ำ โรงเพาะฟักท่าบอน ฟาร์มท่าบอน ร่วมกับอ.ระโนด จ.สงขลา ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ช่วยกันปรับปรุงภูมิทัศน์วัดศาลาหลวง ส่วนโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำหนองแค จ.สระบุรี นำผู้บริหารและพนักงานจิตอาสา ร่วมกับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลข้ามงาม กำนันผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้าน ได้ช่วยกันทำความสะอาดศาลาปฏิบัติธรรม และบริเวณภายในวัดธรรมจริยา ในจ.พระนครศรีอยุธยา ขณะที่ ผู้บริหารและพนักงานจิตอาสาจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำบ้านบึง จ.ชลบุรี ผนึกพลังกับชุมชนรอบโรงงาน จัดกิจกรรม “ล้างทุกข์ สร้างสุข” ทำความสะอาดพระอุโบสถ ทำความสะอาด เก็บขยะ และปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ในวัดท่อใหญ่ (พรหมประทาน)./

นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรมีบทบาทเป็นหน่วยที่ปรึกษา (Advisory Body) ซึ่งมีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้ ทักษะ และมีความชำนาญในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกร (ต้นทาง) ให้ปลอดภัยและได้มาตรฐานตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) เพิ่มขึ้น ด้วยการขับเคลื่อนงานส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร ให้เกิดการพัฒนาระบบการผลิตภาคการเกษตรที่มีความปลอดภัย สินค้าเกษตรมีคุณภาพ ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความยั่งยืนในภาคการเกษตรของประเทศไทย

ในปี 2564 กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำโครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการผลิตตามระบบมาตรฐาน GAP และส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ผลิตสามารถเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP เพิ่มมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเป็นเกษตรกรผู้ผลิตพืช (ยกเว้นข้าว) จำนวน 10,000 ราย ในพื้นที่ 77 จังหวัด

ทั่วประเทศ บาคาร่าออนไลน์ โดยเฉพาะพื้นที่ส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงาน ได้แก่ พัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้เป็นที่ปรึกษาสำหรับเกษตรกร การคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ เตรียมเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP จัดอบรมเกษตรกรให้มีความรู้ด้านการผลิตตามระบบมาตรฐาน GAP และศึกษาดูงานตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ

การเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรและปรับวิธีการทำงานสู่ new normal

พัฒนาองค์กร สู่ระบบราชการ 4.0 ยึดธรรมาภิบาล มุ่งพัฒนาสู่การเป็นหน่วยงานภาครัฐที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน ยึดประชาชนเป็นส่วนกลาง ยกระดับศักยภาพและความสามารถบุคลากรตามแนวทางขับเคลื่อนองค์กรแห่งการเรียนรู้สมัยใหม่ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านดิจิทัล สามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ข้อมูลเชิงพื้นที่ พัฒนาฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตร รวมถึงฐานข้อมูลอื่นๆ พร้อมก้าวสู่การเป็น Digital DOAE
ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรโดยยึดหลักตลาดนำการผลิต :

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก ภายใต้วิสัยทัศน์ เกษตรผลิต พานิชย์ตลาด ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร ยังคงสานต่อภารกิจใช้หลักตลาดนำการผลิต ขับเคลื่อนผ่านกลไก การขับเคลื่อนเกษตรแปลงใหญ่ มีการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดโซ่อุปทาน ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานรองรับความต้องการของตลาด ยกระดับและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร

เพิ่มความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งมีการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายในการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน รวมถึงการส่งเสริมพืชที่มีศักยภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น พืชสมุนไพร, ไม้ดอกไม้ประดับ,ไผ่, หวาย, กาแฟ, พืชเคี้ยวมัน (มะคาเดเมีย,มะม่วงหิมพานต์), แมลงเศรษฐกิจ เป็นต้น การปรับระบบการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตร Agri – map ในพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, มันสำปะหลัง, สัปปะรด, ปาล์มน้ำมัน, มะพร้าว เป็นต้น

รวมถึงการสนับสนุนให้เกษตรกรใช้พืชพันธุ์ดี และมีแหล่งผลิตพืชพันธุ์ดี รวมถึงการส่งเสริมการอารักพืช มีกลไกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนทำงานร่วมกับชุมชนอย่างเป็นระบบ สร้างการยอมรับและความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าเกษตรจากการส่งเสริมการเกษตร มีระบบการตรวจสอบย้อนกลับ และส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายสินค้าเกษตร

ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร Smart Farmer Young Smart Farmer วิสาหกิจชุมชน รวมถึงองค์กรเกษตรกรอื่นๆ รวมถึง ยกระดับบทบาท อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) : การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตร รองรับการก้าวสู่เกษตรวิถีใหม่ รวมทั้งสร้างเครือข่ายการทำงานที่เข้มแข็ง เกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร : ส่งเสริมการเกษตรบนพื้นฐานของข้อมูลวิชาการ นำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานวิชาการ รวมถึงการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมการเกษตร ให้เกิดการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ สร้างการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงาน รวมถึงมีการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสถานการณ์ในพื้นที่นั้นๆ

“สิ่งสำคัญที่สุด การขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตร ต้องทำงานคู่กับพี่น้องเกษตรกร ทั้งการให้บริการทางการเกษตรและช่วยเหลือเกษตรกร ในทุกมิติ แม้ว่าความท้าทายนี้จะดูยิ่งใหญ่ ถ้าพวกเราทำงานด้วยความรัก ความศรัทธา และความสามัคคี อนาคตภาคการเกษตรจะเปลี่ยนแปลง เกษตรวิถีใหม่ จะเกิดขึ้นอยู่ที่พวกเราทุกคน” อธิบดีบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวย้ำ และบอกอีกว่าในช่วงที่ผ่านมีข่าวว่าตนจะไปอยู่ที่นั่นที่นี่แต่วันนี้ยังอยู่ที่กรมส่งเสริมการเกษตรก็จะมุ่งทำงานอย่างเต็มที่และเข้มแข็งอย่างที่สุด

คลิปที่นำมาเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม “ห้องเรียนกลางสวน” เรื่อง การปลูกไม้ผลในภาชนะ (ในกระถาง ในเข่ง) จัดขึ้นโดย “เกษตรก้าวไกล” โดยได้รับความร่วมมือจาก อาจารย์รัฐพล ฉัตรบรรยงค์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ความรู้ในคลิปประกอบด้วย

การตัดแต่งกิ่งฝรั่งให้ ออกดอก ออกผล
วิธีการตัดแต่งกิ่งฝรั่งประจำปี (ควบคุมทรงพุ่ม)
หลักการห่อผลฝรั่ง (ผลขนาดไหนจึงห่อได้)
หลักการใส่ปุ๋ยหลังตัดแต่งกิ่ง
อนึ่ง การปลูกไม้ผลในภาชนะ (ในกระถาง ในเข่ง) จะมีการจัดให้เรียนรู้กันอีกครั้งในวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ณ เรือนองุ่นปวิณ ปุณศรี (ฝั่งตรงข้ามกับโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประตู 2)

เวลาเรียน : 13.00-17.00 น. (ลงทะเบียน 12.30 น.) หลังจากบรรยายทฤษฎีจบก็จะศึกษาดูงานในแปลงจริงและสาธิตขั้นตอนการปลูกในเข่ง

หัวข้อการเรียนรู้ : ความรู้เกี่ยวกับชนิดของไม้ผลว่าชนิดไหนปลูกได้ ปลูกไม่ได้ ปลูกในเข่งหรือในกระถางดี (หรือภาชนะอื่นใด) ระบบรากพืชแต่ละชนิด การผสมดินปลูก ระบบปุ๋ย ระบบน้ำ การตัดแต่งกิ่ง การบังคับให้ออกดอก ออกผล การตัดแต่งผล การห่อผล รวมทั้งสาธิตการปลูกไม้ผลในเข่งให้ดูกันสดๆ

วิธีการสมัครเรียน : สมัครด้วยการแจ้งชื่อ นามสกุล ได้ที่ Id line 0863266490 (เท็น) หรือสอบถามรายละเอียด โทร.0897877373 (ภัทรานิษฐ์) หลังจากนั้นโอนเงินค่าสมัคร 500 บาท เข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขาสยาม เลขที่บัญชี 0431516640 ชื่อบัญชี นายโชติพัฒน์ พงศาปาน และส่งสลิปยืนยันการโอนตามไลน์ดังกล่าว

ช่วงโควิด-19 ข้าวมันไก่ฮ่องเต้ น้ำจิ้มสูตรมหัศจรรย์ ก็ต้องหยุดเชื้อเพื่อชาติอยู่พักหนึ่ง มาวันนี้โควิดเริ่มคลาย “ไก่กลับมาตีปีกอีกครั้งหนึ่ง” เพราะทุกชีวิตก็ต้องสู้กันต่อไป

ขอแนะนำอาชีพขายข้าวมันไก่ เพราะกินได้ทุกชาติศาสนา แถมเปิดได้ทุกเวลาเช้าจรดเย็นค่ำ กระทั่งโต้รุ่งก็ยังเปิด ขึ้นอยู่กับว่าทำเลเป็นอย่างไร และเวลานี้หลายคนที่มาเรียนไม่มีข้อจำกัดเรื่องทำเล เพราะขายออนไลน์ อยู่ตรงไหนก็ทำตรงนั่นขายตรงนั่น

ข้อจำกัดมีอยู่อย่างเดียว คือต้องทำให้อร่อยให้คนที่ทานแล้วอยากทานอีก ทานแล้วอยากบอกต่อ…ถามว่าทำให้อร่อยยากไหม ตอบว่ายาก แต่ถ้ามีสูตรที่ดีและเรียนรู้กันอย่างจริงจัง(เรียนรู้จากของจริง)ก็ไม่ยาก

“ข้าวมันไก่ฮ่องเต้ น้ำจิ้มสูตรมหัศจรรย์” ชื่อนี้หลายคนคุ้นเคยและบอกใครก็พยักหน้า เพราะว่าเจ้าของสูตรคือ คุณป้าสิรินาถ และคุณลุงตระการ ทรงสายตระกูล ขายมานานหลายสิบปี จนประสบความสำเร็จสามารถส่งลูกๆเรียนหนังสือจบชั้นสูงๆทำงานดีๆ และเมื่อสำเร็จแล้วก็ยังบอกต่อด้วยการมาเป็นวิทยากรสอนที่ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชนหลายปีดีดัก มีผู้เรียนจบ 164 รุ่น มาวันนี้ทั้งสองท่านอายุมาก ลูกหลานก็อยากให้พักผ่อน แต่ด้วยหัวใจแห่งความเป็นครูก็ได้มาถ่ายทอดเป็นกรณีพิเศษให้กับ “ลุงพร สอนอาชีพ” และ “บุญญา พงศาปาน” (น้องสาวลุงพร) จนได้สอนให้กับผู้สนใจมากว่า 20 รุ่นแล้ว

สรุปว่า ท่านที่อยากเรียนรู้ข้าวมันไก่ฮ่องเต้ อย่าได้โอ้เอ้ลังเลใจเป็นอันขาด บอกได้เลยว่าถ่ายทอดกันอย่างละเอียดหมดจด “ทุกขั้นตอนมีเคล็ดลับ” ชนิดไปทำตามได้รสชาติเดียวกัน ไม่มีกั้กสูตรใดๆ รู้มาอย่างไรบอกไปอย่างนั่น ด้วยหวังให้ทุกคนมีอาชีพมีรายได้เลี้ยงครอบครัว

บอกกันมายืดยาว เพราะอยากให้ทุกท่านได้รู้ที่มาที่ไปของข้าวมันไก่สูตรนี้ เรียนมี Story ขายได้แน่นอนครับ พูดมาถึงตอนนี้ให้รีบสมัครเรียนได้ที่ ได้ที่ Id line 0863266490 (เท็น) หรือสอบถามรายละเอียด โทร.0897877373 (ภัทรานิษฐ์) ออ..ราคาค่าเรียน 2,500 บาทเหมือนเดิม..โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขาสยาม เลขที่บัญชี 0431516640 ชื่อบัญชี นายโชติพัฒน์ พงศาปาน และส่งสลิปยืนยันการโอนตามไลน์ดังกล่าว

เปิดสอนรุ่นต่อไป…วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2563 เวลา 10.00-16.00 น. ณ หมู่บ้านชัยพฤกษ์ ถนนราชพฤกษ์ ตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ขอย้ำว่า..ข้าวมันไก่ฮ่องเต้เฮ!!! เรียนจบบินได้ทันที (เปิดขายได้แน่นอน) ลุงพร สอนอาชีพ การันตี ครับครับ ก้าวสู่ที่ปี 55 ธ.ก.ส. ประกาศรวมพลังพนักงานทั่วประเทศยืนหยัดเคียงข้างเกษตรกร ก้าวข้ามวิกฤตเศรษฐกิจและ COVID-19 เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนที่ดีและความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน สร้างรากฐานที่เข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจ สังคมของประเทศให้เติบโตและ ก้าวผ่านช่วงที่ยากลำบากมาได้อย่างยาวนาน เล็งดึงคนรุ่นใหม่กลับไปร่วมพัฒนา กอดบ้านเกิด กอดประเทศ ด้วยใจรัก พร้อมอัดฉีดเม็ดเงินอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 220,000 ล้านบาท กระตุ้นการลงทุนภาคชนบท ควบคู่การประสานเครือข่ายภาครัฐเอกชน เติมความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมและการตลาด สร้างความมั่นใจในการประกอบอาชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศ

นายสุรชัย รัศมี รองผู้จัดการ รักษาการแทนผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในโอกาสวันสถาปนาครบรอบ 54 ปี และการก้าวสู่ปีที่ 55 ธ.ก.ส. ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนา ภาคเกษตรและชนบทของไทย ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ “เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน มุ่งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท” และพร้อมใจรวมพลังพนักงานทั่วประเทศกว่า 25,000 คน ยืนหยัดเคียงข้างเกษตรกรในการก้าวข้ามวิกฤตเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ภัยธรรมชาติ

เพื่อร่วมขับเคลื่อนภารกิจต่าง ๆ ไปสู่เป้าหมายในการสร้าง “Better Life Better Community Better Pride” คุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนที่ดี และความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน สร้างรากฐานที่เข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมของประเทศให้เติบโตมาอย่างยาวนาน แม้ในช่วงที่ยากลำบากภาคเกษตรของไทยก็ได้ช่วยโอบอุ้มให้ก้าวผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ มาได้ทุกครั้ง และเชื่อมั่นว่าด้วยพลังมุ่งมั่นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เราจะก้าวข้ามวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกันเช่นเคย

ในการดำเนินงาน ธ.ก.ส. ตระหนักถึงคุณค่าและศักยภาพของคนรุ่นใหม่ ทั้งที่เป็นผู้ที่ทำงานในเมือง นิสิตนักศึกษาจบใหม่ ทายาทเกษตรกร ซึ่งเป็นผู้ที่มีทักษะความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม การบริหารจัดการและการตลาดสมัยใหม่ หันกลับมาช่วยพัฒนาภาคเกษตรกรรมโดยจับมือหรือทดแทนเกษตรกรในรุ่นพ่อแม่ที่มีอายุมาก เพื่อให้ภาคเกษตรเติบโตและก้าวทันความเปลี่ยนแปลง เพื่อประโยชน์ของทุก ๆ คนและประเทศชาติ ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้จัดกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ผ่าน โครงการประกวด “New Gen Hug บ้านเกิด

เพื่อสื่อสารให้คนรุ่นใหม่หันกลับมาพัฒนา กลับมากอดครอบครัว กอดประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน โดย ธ.ก.ส. พร้อม ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเติมเต็ม ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ ผ่านโครงการสินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิด สินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ และสินเชื่อระยะสั้นฤดูกาลผลิตใหม่ วงเงิน 170,000 ล้านบาท โดยปลอดดอกเบี้ยในช่วง 3 เดือนแรก และในช่วงเดือนที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR ร้อยละ 6.50 ต่อปี) และสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย วงเงิน 50,000 ล้านบาท

อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี หรือล้านละ 100 บาท เป็นต้น นอกจากนี้จะร่วมประสานเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ไม่ว่าจะเป็น กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมส่งเสริมการเกษตร กรมป่าไม้ สถาบันการศึกษา สำนักงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ห้างสรรพสินค้า โมเดิร์นเทรด เป็นต้น ในการช่วยเติมความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม การบริหารจัดการทางการผลิต การตลาด รวมถึงงบประมาณที่จะช่วยรองรับพื้นฐานการผลิต สร้างความมั่นใจให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการที่ลงทุนต่อไป

นายสุรชัย กล่าวต่อไปว่า ในช่วงสถานการณ์ภัยแล้งและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 รวมถึงอุทกภัยที่ผ่านมา ธ.ก.ส.ได้มอบนโยบายให้สาขาจัดทีมเข้าไปดูแลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น โดยการจัดถุงยังชีพ การมอบเงินช่วยเหลือกรณีเสียชีวิต บ้านเรือนและเครื่องมือทางการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย รวมทั้งสำรวจความเสียหายเพื่อรายงานส่วนกลางและรัฐบาลในการกำหนดแนวทางการช่วยเหลืออื่น ๆ ต่อไป โดย ธ.ก.ส.ได้ดำเนินการตามมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ไปแล้ว ดังนี้

มาตรการช่วยเหลือด้านภาระหนี้สิน เพื่อลดภาระและผ่อนคลายความกังวลในช่วงวิกฤต ให้สามารถดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง โดยการปรับปรุงโครงสร้างการชำระหนี้ (Loan Review) ให้สอดคล้องกับที่มาของรายได้ และการพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งระบบ 1 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดโครงการในเดือนมิถุนายน 2564 โดยมีเกษตรกรลูกค้า สหกรณ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้รับประโยชน์ ณ 22 ตุลาคม 2563 จำนวนกว่า 3.25 ล้านราย วงเงินพักชำระหนี้กว่า 1.45 ล้านล้านบาท

มาตรการสนับสนุนสินเชื่อ เพื่อเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ลดปัญหาการว่างงาน กระตุ้นกลไกการซื้อขายผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ โครงการสนับสนุนสินเชื่อธุรกิจ SME โดยใช้ Soft Loan ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธนาคารออมสิน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี ซึ่งมีเกษตรกร ผู้ประกอบและวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ ที่ได้รับประโยชน์ ณ 22 ตุลาคม 2563 จำนวน 5,974 ราย วงเงินกู้กว่า 5,085.58 ล้านบาท โครงการสินเชื่อฉุกเฉิน วงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและครอบครัวในการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายจำเป็นและฉุกเฉินภายในครัวเรือน วงเงินกู้รายละไม่เกิน 10,000 บาท โดยไม่ต้องมีหลักประกัน

อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.1 ต่อเดือน กำหนดชำระคืนไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน นับจากวันกู้ และปลอดชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรก มีเกษตรกรและครอบครัวให้ความสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านระบบ LINE Official BAAC Family ณ 31 ตุลาคม 2563 จำนวน 2,520,680 ราย โดย ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อไปแล้วกว่า 8.5 แสนราย วงเงินกว่า 8,484.83 ล้านบาท

มาตรการช่วยเหลือของรัฐผ่านระบบ ธ.ก.ส. ได้แก่ การจ่ายเงินชดเชยรายได้สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 “เราไม่ทิ้งกัน” ของกระทรวงการคลัง เดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (พฤษภาคม – กรกฎาคม 2563) ซึ่งในการดำเนินงาน นอกจากจ่ายเงินผ่านระบบ ธ.ก.ส. ไปยังผู้ใช้สิทธิ์ที่ลงทะเบียนในโครงการกว่า 2.7 ล้านราย เป็นเงินกว่า 43,015 ล้านบาทแล้ว ธ.ก.ส. ยังร่วมจัดตั้งทีมผู้พิทักษ์สิทธิ์ ทั่วประเทศกว่า 6,000 ราย ทำหน้าที่สอบทานการประกอบอาชีพของผู้ขอทบทวนสิทธิ์เพิ่มเติมอีกจำนวน 212,987 ราย โครงการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร รายละ 15,000 บาท โดยจ่ายเดือนละ 5,000 บาท

เป็นระยะเวลา 3 เดือน (พฤษภาคม – กรกฎาคม 2563) จำนวน 10 ล้านราย วงเงินงบประมาณ 150,000 ล้านบาท ให้กับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยได้นำมาตรวจสอบสถานะผู้ที่เสียชีวิตและความซ้ำซ้อนกับการให้ความช่วยเหลือ อื่น ๆ ของรัฐ และทยอยโอนเงินผ่าน ธ.ก.ส. ทุกสาขากว่า 1,200 สาขาทั่วประเทศ โดยมีผู้ได้รับสิทธิ์ช่วยเหลือจำนวนกว่า 7.56 ล้านราย เป็นเงิน 113,304 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลที่เข้าไปช่วยเหลือประชาชนในกลุ่มต่าง ๆ เช่น การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คนพิการ เงินเดือน อสม. เงินประกันรายได้สินค้าเกษตร 5 พืชหลัก เช่น ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ยางพารา และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น

นายสุรชัย กล่าวอีกว่า ในช่วงวิกฤตถือเป็นโอกาสของ ธ.ก.ส. และเกษตรกรลูกค้าในการปรับเปลี่ยนเรียนรู้ ที่จะนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการบริการและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ ที่ส่งตรงไปบนมือถือเกษตรกร ช่วยสร้างความสะดวกรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น การลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์กู้เงินฉุกเฉิน การแจ้งข้อมูลเงินเข้า – เงินออกผ่าน BAAC Connect โดยไม่มีค่าใช้จ่าย การแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จาก ธ.ก.ส. ในระบบ LINE Official : BAAC Family การเช็คสิทธิ์โครงการรัฐบาลผ่านเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com การสื่อสารผ่าน Facebook BAAC Thailand เป็นต้น และในขณะนี้ ธ.ก.ส. ได้พัฒนาระบบการอนุมัติสินเชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างบริการที่ทันสมัย รวดเร็ว แม่นยำ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคใหม่

สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้สภาวะเศรษกิจวิกฤตไปทั่วโลก แต่ประเทศไทยก็นับว่ายังโชคดีที่มีภาคเกษตรแข็งแกร่งให้พอรองรับขับสู้ได้ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมุ่งขับเคลื่อนภาคเกษตรอย่างเต็มที่ ทุกคนตระหนักดีว่า “เกษตรคือประเทศไทย” ถ้าเกษตรกรอยู่รอดประเทศไทยอยู่ได้

“เกษตรก้าวไกล” ในฐานะสื่อมวลชนที่นำเสนอข่าวด้านการเกษตรผ่านระบบออนไลน์ทั้งเว็บไซต์เกษตรก้าวไกล เกษตรว้อยซ์ เพจเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน และยูทูปเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน ได้จัดทำโครงการเกษตรคือประเทศมาตั้งแต่ปี 2561 แต่ได้สะดุดในปี 2563 อันเนื่องจากโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่เกษตรทั่วประเทศได้ จึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีการนำเสนอข่าวด้วยการสัมภาษณ์เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องผ่านระบบออนไลน์ ภายใต้โครงการ 30 วันปันความรู้เพื่อเกษตรกรไทย ซึ่งขณะนี้โครงการดังกล่าวได้จบลงแล้ว

ในขณะนี้สถานการณ์โควิด-19 ของประเทศไทย เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทางเกษตรก้าวไกลจึงไม่รอช้าที่จะขับเคลื่อนโครงการเกษตรคือประเทศไทยอีกครั้ง ภายใต้แนวคิดใหม่ว่า “ลุยเกษตรสุดเขตไทย” พร้อมแคมเปญรณรงค์ #เกษตรกรอยู่รอดประเทศไทยอยู่ได้ โดยยึดเกษตรกรเป็นที่ตั้ง หรือ “FARMER FIRST” เป้าหมายคือจะต้องทำให้คนไทยทุกคนพูดถึงภาคเกษตรให้ได้ ซึ่งฟังดูอาจเป็นเรื่องยากที่จะทำได้ แต่ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้คนไทยทุกคนเห็นความสำคัญของอาชีพการเกษตร เพราะภาคเกษตรได้พิสูจน์มาหลายครั้งหลายหนว่าคราวใดที่เราประสบกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจก็ได้ภาคเกษตรนี่ละที่เข้ามาช่วยเหลือไว้ได้

แต่กับโควิด-19 ในคราวนี้ ต้องยอมรับว่าวิกฤตมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เราจะทำอย่างไรให้วิกฤตเป็นโอกาส ภาคเกษตรจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้อย่างไร เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรของเราได้แค่ไหน นี่คือความท้าทายครั้งใหม่ที่เราในฐานะสื่อมวลชนเกษตรจะนิ่งเฉยหรือนำเสนอข่าวเกษตรแบบเดิมๆไม่ได้

การกำหนดลงพื้นที่เกษตรรอบใหม่จึงเกิดขึ้นอีกครั้ง ครั้งนี้เราตั้งใจว่าจะต้องลุยให้หนักกว่าเดิม นั่นคือ “ลุยเกษตรสุดเขตไทย” ใกล้ไกลแค่ไหนก็ต้องไปให้ถึง หนักหน่วงเพียงไหนก็ต้องสู้ให้ถึงที่สุด โดยตั้งเป้าหมายว่าจะดำเนินโครงการตลอดปี 2564 แบ่งการดำเนินการเป็นระยะๆ ขณะนี้ระยะที่ 1 ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม ไปจนถึงเดือนธันวาคม 2563 โดยจุดแรกที่เราไปเปิดตัวโครงการคือไร่แสงสกุลรุ่ง อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ถัดจากนั้นเรามาลุยเกษตรที่ย่านดำเนินสะดวกจังหวัดราชบุรี และเมื่อวานนี้ (5 พฤศจิกายน 2563) เราเพิ่งกลับมาจากการลุยเกษตรในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

ขอขอบคุณ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ให้การสนับสนุนโครงการลุยเกษตรสุดเขตไทย ระยะที่ 1 ซึ่ง ธ.ก.ส.มีความมุ่งมั่นเป็นอย่างมากในความเป็นธนาคารพัฒนาภาคเกษตรและชนบทของไทย ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน มุ่งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท” ขอย้ำว่า เรามุ่งมั่นที่จะทำหน้าที่เสนอข่าวเกษตรเพื่อเชื่อมโยงสังคมเกษตรไปสู่สังคมอื่นๆทั่วประเทศไทยให้ดีที่สุด

เดินหน้าขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ไม่หยุดยั้ง สามพรานโมเดล สวนสามพราน จังหวัดนครปฐม ผนึกกำลังร่วมกับ ททท.ทีเส็บ สสส. เซ็นทรัล พีทีที โกลบอล เคมิคอล รพ.มหาชัย 2 เกษตรกรอินทรีย์ และภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคการศึกษา จัดแถลงข่าวเตรียมพร้อมจัดงานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม 2563 ณ สวนสามพราน จ.นครปฐม ภายใต้คอนเซ็ปต์ “เราปรับ…โลกเปลี่ยน” ชีวิตวิถีใหม่ ขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์สู่ชีวิตที่สมดุล

นายอรุษ นวราช เลขานุการมูลนิธิสังคมสุขใจ ผู้ริเริ่มการขับเคลื่อนสามพรานโมเดลและประธานจัดงานสังคมสุขใจ เปิดเผยว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ได้ปลุกให้ทุกคนให้หันมาใส่ใจกับการดูแลสุขภาพเชิงรุกมากขึ้นตลอดจนให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารที่ปลอดภัย ที่ผลิตในระบบอินทรีย์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเองและครอบครัว อีกทั้งใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่งผลทำให้งานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 7 ในปีนี้มีความพิเศษกว่าทุกปี ภายใต้คอนเซ็ปต์ “เราปรับ…โลกเปลี่ยน” ชีวิตวิถีใหม่ ขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์สู่ชีวิตที่สมดุลโดยมุ่งเน้นให้ทุกคนได้มีการเรียนรู้ มีการปรับตัว มีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยสามารถมาหาแรงบันดาลใจ องค์ความรู้ ผลิตภัณฑ์เครือข่าย จากในงานสังคมสุขใจ แล้วกลับไปทำหรือไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องการพึ่งพาตนเอง การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ รวมถึงหันมาบริโภคอาหารอินทรีย์ซื้อวัตถุดิบอินทรีย์ตรงจากเกษตรกรตลอดจนมามีส่วนร่วมขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์

ด้าน นายรัฐศาสตร์ ชิดชู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า งานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 7 ภายใต้แนวคิดชีวิตวิถีใหม่ ขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ “เราปรับ…โลกเปลี่ยน” มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ของจังหวัด ที่มุ่งส่งเสริมให้นครปฐม เป็นเมืองเกษตรและอุตสาหกรรมปลอดภัย แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรมสังคมแห่งความรู้ และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะเรื่องการพึ่งพาตนเอง การดูแลสุขภาพ ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทางจังหวัดจึงยินดีสนับสนุนและขอเชิญชวนให้ประชาชน ในนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียงได้มาเที่ยวงานสังคมสุขใจ

ความพิเศษของงานสังคมสุขใจคือเป็นงานประจำปีที่รวมพลคนอินทรีย์ทั้งห่วงโซ่ คือต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมถึงมีพืชผัก ผลไม้สินค้าอินทรีย์ที่มั่นใจได้จากทั่วประเทศ มาให้ช้อปเปลี่ยนโลกช้อปสุขภาพดี ครบจบในงานเดียว โดยมีบูธสินค้าของเกษตรกรอินทรีย์จากทั่วประเทศ รวมกว่า 150 บูธ ที่พร้อมใจกันนำผลผลิตอินทรีย์ สดใหม่จากฟาร์ม มาส่งมอบให้ผู้บริโภค โดยพื้นที่จัดงานในปีนี้จะใช้บริเวณหมู่บ้านปฐม ออร์แกนิกวิลเลจหมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ ในสวนสามพราน ที่พร้อมเปิดให้ทุกคนได้สัมผัส เรียนรู้และเห็นความเชื่อมโยงของวิถีชีวิตอินทรีย์ทั้งห่วงโซ่ ทั้งการปลูก การแปรรูป การตลาด การทำปัจจัยการผลิต การจัดการขยะ โดยใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน การพึ่งพาตนเอง ที่ทำให้เพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย มีสุขภาพดี โดยมีวงจรฟาร์ม ฐานสาธิต ให้ทุกคนในครอบครัว รวมถึงเด็กๆ ได้ทดลองทำสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง

ในงานสังคมสุขใจครั้งที่ 7 ยังจะมีการเปิดตัวสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทยเป็นครั้งแรกในประเทศไทย (TOCA: Thai Organic Consumer Association)เพื่อเชื่อมโยงคนทั้งห่วงโซ่ คือ เกษตรกรอินทรีย์ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ให้มารู้จักกัน โดยเฉพาะผู้บริโภค ที่ TOCA จะมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับให้ผู้บริโภคมีความรู้ มีความเข้าใจ และมามีส่วนร่วมเป็น Active Consumers และจะมีการอัพเดทข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์ ตลอดจนช่วยบริหารจัดการเครื่องมือ TOCA Platform ที่จะเปิดใช้งานอย่างเต็มรูปแบบต้นปีหน้าเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงแหล่งอาหารอินทรีย์ซื้อผลผลิตตรงจากเกษตรกร หรือจองทริปท่องเที่ยววิถีอินทรีย์ โดยในงานสังคมสุขใจจะมีการเปิดรับสมัครสมาชิก(ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ) และมีกิจกรรมสนุกๆ พร้อมรับของรางวัล ผ่าน Line @ ของ TOCA

ในงานสังคมสุขใจ ยังจะมีการเปิดตัวทริปท่องเที่ยววิถีอินทรีย์มากกว่า 20 เส้นทาง เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกไปลงพื้นที่ฟาร์มจริง เยี่ยมบ้านเกษตรกรอินทรีย์ทั้งแบบล่องคลองชมสวน เข้าค่ายเปลี่ยนฝันให้เป็นจริง เก็บผลผลิตตามฤดูกาลสดๆจากสวน เรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เทคนิคในแปลงอินทรีย์ ทั้งการเพาะ การปลูก การทำปุ๋ยหมักสูตรต่างๆ การทำสมุนไพรไล่แมลง การขยายพันธุ์ การเก็บเกี่ยว และการแปรรูป

ในงานสังคมสุขใจครั้งที่ 7 ยังมีทั้งองค์กรและคนต้นแบบสร้างแรงบันดาลใจ อาทิ คุณโจน จันได ที่พร้อมมาจุดประกายถ่ายทอดองค์ความรู้แบบไม่กั้ก ทั้งวิถีการทำเกษตรอินทรีย์ การพึ่งพาตนเอง การฝ่าวิกฤติโควิด การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน และที่ต้องห้ามพลาดสำหรับองค์กร ที่จะได้เรียนรู้ จากองค์กรธุรกิจชั้นนำ เช่นบริษัทแสนสิริ บริษัทมั่นคงเคหะการ ชีวจิต บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล และ Sukinaที่มาเป็นพันธมิตรกับสามพรานโมเดล โดยสามารถนำโมเดลธุรกิจเกื้อกูลสังคมไปขยายผลตอบโจทย์ความยั่งยืนได้ตามบริบทของแต่ละแห่ง เช่นพีทีที โกลบอลเคมิคอลมีการปรับมุมคิดงานซีเอสอาร์ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมพัฒนาเกษตรกรคนต้นน้ำ ให้ทำเกษตรอินทรีย์ โดยมีสามพรานโมเดล ไปให้ความรู้ การทำเกษตรอินทรีย์ในระบบรับรองอย่างมีส่วนร่วม และเชื่อมโยงกับแบรนด์ปฐม เพื่อแปรรูปผลผลิต ยกระดับให้เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพแบรนด์พรีเมี่ยม

ภายในงานสังคมสุขใจครั้งที่ 7 ยังมีฐานกิจกรรม เวทีเสวนาสร้างสรรค์มากมายตลอด 3 วัน ด้วยแนวคิดของการจัดงาน “เราปรับ..โลกเปลี่ยน” งานสังคมสุขใจปีนี้ จะเป็นโอกาสของคนไทยที่ห่วงใยใส่ใจสุขภาพ ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคมอินทรีย์ การเกื้อกูลสังคม และมีความสนใจอยากเริ่มต้นทำเกษตรอินทรีย์ อยากมีส่วนร่วมขับเคลื่อน ได้มาเที่ยว มาเรียนรู้ มาหาแรงบันดาลใจ มาหาเครือข่ายพันธมิตร เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ตนเองโดยตลอด 3 วัน เรามีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด มีจุดเช็คอิน เช็คเอ๊าท์ ตรวจวัดอุณหภูมิกำหนดเว้นระยะห่างทางสังคม ประชาสัมพันธ์ให้มีการใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา มีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือบริการทุกจุด พร้อมชวนทุกคนช้อปรักษ์โลกพกถุงผ้า ตะกร้า มาช้อปตลอดงาน

ท่ามกลางธรรมชาติและโลกที่เปลี่ยนแปลงไป การสรรหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนได้ทั้ง 4 มิติ คือเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นงานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 7 “เราปรับ…โลกเปลี่ยน” จึงเป็นคำตอบที่ผู้สนใจมาได้ตลอด 3 วัน (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคมนี้ ณ สวนสามพราน จ.นครปฐม ตั้งแต่ เวลา 09.00-17.00 น.

อนึ่ง งานสังคมสุขใจครั้งที่ 7 GClub ได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)

การดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม ตั้งเป้าหมายส่งเสริมผู้ประกอบการ

เมื่อได้รับมาตรฐานสากลแล้วจะช่วยให้การจำหน่ายสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทั้งยังมีผลต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค ทั้งนี้ ภาพรวมการผลิตสินค้าเกษตรในกลุ่มสินค้าแปรรูปตั้งแต่ช่วงต้นปี จนถึงปัจจุบัน (สิงหาคม 2563 ;ธนาคารแห่งประเทศไทย) มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 83,009.70ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,139.16 ล้านบาท จากเดือนมกราคม 2563 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสทองสำหรับผู้ประกอบการ และด้วยการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบมาตรฐานสากลให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์คุณภาพสอดรับความต้องการของตลาดในทั่วทุกมุมโลก ซึ่งคาดว่าสิ้นปี 2563 มูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปจะเพิ่มขึ้นถึง 1 แสนล้านบาท นายใบน้อย กล่าวทิ้งท้าย

วันนี้ (10 ต.ค.63 ) ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) พร้อมด้วยคณะ ได้เดินลงพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อติดการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ โดยกรมชลประทาน บริเวณแก้มลิงบ้านชะแล้ ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร หนึ่งในพื้นดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งมีพื้นที่เชื่อมต่อกับ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ และสิงหนคร

โดย ดร.สมเกียรติ กล่าวว่า เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าว มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบชายทะเล ในอดีตไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำ รวมถึงคลองแบะระบบลำเลียงน้ำในพื้นที่ขาดประสิทธิภาพ ทำให้ต้องเผชิญปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และน้ำทะเลหนุนสูง จนไม่สามารถทำการเกษตรได้ ซึ่งจากการศึกษาของกรมชลประทานพบว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุด คือ การสร้างแก้มลิงขึ้นในพื้นที่ จำนวน 3 จุด

“แก้มลิงบ้านชะแล้เป็นหนึ่งในการสร้างแก้มลิงเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ โดยลักษณะโครงการเป็นการขุดแก้มลิง เนื้อที่ประมาณ 275 ไร่ ไร่ ลึก 4 เมตร ความจุประมาณ 1.76 ล้านลูกบาศก์เมตรพร้อมก่อสร้างอาคารและส่วนประกอบ เช่น อาคารระบายน้ำ อาคารรับน้ำ อาคารอัดน้ำ รางระบายน้ำ ทำนบดิน และถนนลาดยาง ซึ่งหลุงการก่อสร้างเสร็จ จะสามารถเก็บน้ำส่วนเกินในฤดูฝนไว้ใช้ในฤดูแล้งสำหรับทำเกษตรจองประชาชนในตำบลชะแล้ โดยได้รับประโยชน์ประมาณ 816 ครัวเรือน ประชากร 2,908 คน พื้นที่เกษตร 1,418 ไร่”

ดร.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า แก้มลิงบ้านชะแล้ ถือเป็นอีกหนึ่งต้นแบบของการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาภายใต้แผนการบริหารจัดการทรัยพยากรน้ำ และตามโครงการศึกษาการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและบรรเทาอุทกภัยทะเลสาบสงขลา ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยั่งยืนในชีวิตและอาชีพของประชาชนในพื้นที่

“สิ่งที่ สนทช.กำลังดำเนินการในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้ง อีกสิ่งที่ได้ดำเนินการควบคู่ไป คือ การติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำ เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมมาตรการป้องกันผลกระทบไว้ล่วงหน้า โดยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ หรือ กอนช. มึการประชุมติดตามแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยง รวมถึงประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์แหล่งน้ำต่าง ๆ แก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 51 แห่ง ยังคงเหลือ 12 แห่ง จากแผนทั้งหมด 115 แห่ง”

ดร.สมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการติดตามสถานการณ์ฝนในช่วงเดือนตุลาคมในพื้นที่ภาคใต้พบว่า มีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านตอนล่างของประเทศ จะส่งผลให้ภาคใต้เริ่มมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ทั้งนี้จากการคาดการณ์ปริมาณฝนในช่วง 7 วันข้างหน้า มีพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำป่าไหลหลาก จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และสตูลจึงขอให้ประชนได้แล้วเตรียมการรับมือ

วันนี้ (10 ต.ค.63 ) ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) พร้อมด้วยคณะ ได้เดินลงพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อติดตามโครงกาคศึกษาการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และบรรเทาอุทกภัยทะเลสาบสงขลา โดยได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมกาคแก้ไขปัญหาอุทกภัย โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำบางหยี ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระยะที่ 2 ที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพกาคระบายน้ำให้เพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่ 465 ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาที เป็น 1,200 ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาที

“สำหรับการดำเนินการระยะที่ 2 ของการก่อสร้างประตูระบายน้ำบางหยี ประกอบด้วย งานปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 ความยาว 21.34 กิโลเมตร งานก่อสร้างประตูระบายน้ำหน้าควน 2 เป็นประตูระบายน้ำชนิดบานโค้ง ขนาด 12.50 x7.50 เมตร จำนวน 3 ช่อง งานก่อสร้างประตูระบายน้ำบางหยี 2 เป็นประตูระบายน้ำชนิดบานประตูระบายตรง ขนาด 6×6 เมตร จำนวน 8 ช่อง และสุดท้ายงานก่อสร้างสถานีสูบน้ำบางหยี อัตราการสูบรวม 90 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที” ดร.สมเกียรติกล่าว

ดร.สมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า ในการลงพื้นที่ติดตามงานต่าง ๆ ไม่ว่า แนวขุดลอกทะเลสาบสงขลา บริเวณแหลมสนอ่อน แก้มลิงชะแล้ และประตูระบายน้ำบางหยี ถือเป็นตัวอย่างการดำเนินงานภายใต้แผนบริหารการจัดการทรัพยากรน้ำที่มีความเหมาะสมทั้งในเชิงยุทธศาสตร์ และการบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการดำเนินการไม่ได้คำนึงเพียงการพัฒนาสิ่งก่อสร้างให้เกิดประโยชน์เรื่องน้ำเท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาภายใต้การศึกษที่คำนึงถึงความสมดุลของน้ำ ชลศาสตร์ รวมถึงประเด็นในเรื่องคุณภาพน้ำ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตของประชาชน และอาชีพของคนในพื้นที่ไปพร้อมๆกัน นำมาซึ่งความยั่งยืนที่แท้จริง” ดร.สมเกียรติ กล่าว

ด้าน นายธวัช วิไลรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บ้านบางกล่ำ ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการก่อสร้างประตูระบายน้ำบางหยี ชีวิตมีความยากลำบากมาก เพราะต้องประสบปัญหา ทั้งปัญหา น้ำท่วมในช่วงหน้าฝน โดยประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปีต้องเตรียมเก็บของได้เลยแพราะน้ำจะท่วม ขณะที่หน้าและวงต้องประสบปัญหาภัยแล้ง แบะดารรถกตัวของน้ำเค็ม ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพการเกษครได้

“แต่วันนี้เปลี่ยนไปทุกอย่างดีขึ้น การมีประตูน้ำบางหยี ช่วยลดปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้วได้มากและยิ่งมีการขยายโครงการระยะที่ 2 ยิ่งข่วยทำให้มีประสิทธิภาพการระบายน้ำมากขึ้น ดังนั้นหากเกิดกรณีน้ำท่วมใหญ่เหมือนปี 2553 จะไม่สร้างความเสียหายให้เหมือนที่เคยเกิด และที่สำคัญ ประชาขนในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร ทำสวนผลไม้ มีน้ำพียงพอกับดารประกอบอาชีพ และแก้ไขการรุกของน้ำเค็ม และเมีอเร็วๆนี้ได้มีการทำประชาคมในพื้นที่ และนำมาสู่ข้อสรุปทำโครงการเสนอทางชลประทานเพื่อขอสนับสนุนในการใช้น้ำจากชลประทานเพื่อทำการเกษตร ซึ่งจะช่วยสร้างประโยชน์ให้ประชาชนในพื้นที่บ้านบางกล่ำประมาณ 100ครัว พื้นที่การเกษตร 500 ไร่” นายธวัชชัยกล่าวในที่สุด

กฎหมายแรงงานในหลายประเทศได้กำหนดให้บริษัทต้องจ้างผู้พิการ โดยเฉพาะที่ญี่ปุ่นกำหนดชัดว่าต้องไม่ต่ำกว่า 2.2 เปอร์เซ็นต์ ใครทำได้มากกว่านี้ถือเป็นเรื่องดี เช่นที่ KUBOTA SUN VEGE FARM สวนผักไฮโดรโพนิกส์(ปลูกผักไร้ดิน) ของบริษัท คูโบต้าคอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดกิฟุทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของโอซาก้า

โรงงานปลูกผักแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 10 ปีก่อน ตั้งอยู่บนพื้นที่เดิมซึ่งเป็นที่รกร้างกว่า 3,500 ตร.ม. มองผิวเผินจากด้านนอก(มองจากจุดที่รถจอดก็แลเห็นแต่ไกล)ก็เหมือนโรงงาน ต่างกับโรงเรือนปลูกผักที่อยู่ใกล้ๆกัน…

พวกเราเดินลงจากรถบัสผ่านบ้านเรือนของผู้คนในชุมชน บ้านของเขาดูสะอาดตา มีปลูกต้นไม้ดัดแบบญี่ปุ่นกันเกือบจะทุกบ้าน ข้างถนนจะมีคูน้ำเล็กๆไหลผ่าน น้ำของเขาสะอาดมากๆ เดินกันเป็นร้อยเมตร แต่ก็เพลิดเพลินเจริญตา และก็ไปถึงด้านหน้าโรงงาน เจ้าหน้าแจกที่คลุมรองเท้าสีฟ้าให้ใส่กันเพื่อความปลอดภัยต่อพืชผัก

เดินลอดประตู 2 ชั้นเข้าไป เจอด่านแรกเห็นผู้อาวุโสที่เป็นผู้หญิงและทีมงาน 2-3 คนกำลังตัดแต่งผักที่ผลิตได้ เห็นสีหน้าคุณป้าและทีมงานดูมีความสุขมีความตั้งใจมากที่จะส่งมอบพืชผักปลอดภัยให้ผู้บริโภค

จากห้องที่ตัดแต่งผักเราก็เปิดประตูสู่โรงงานปลูกผักที่ดูสวยงามตื่นตาตื่นใจ เราเดินจากประตูตรงไปหยุดที่พื้นที่ตรงกลางเขาจะกันพื้นที่ว่างไว้ส่วนหนึ่งเพื่อให้สามารถนั่งฟังบรรยายหรือซักถามพูดคุยกันนั่นเอง ซึ่งก็เป็นขั้นตอนการจัดการฟาร์มเวลามีผู้คนมาเยี่ยมชม คือให้นั่งฟังก่อนว่าโรงงานผักแห่งนี้เกิดขึ้นมาเพื่อการใด

ที่น่าดีใจคือ เขาจะติดธงชาติไทยผืนใหญ่ไว้ด้านหน้าฝั่งซ้ายตรงที่นั่งฟังบรรยาย เหมือนเป็นการต้อนรับผู้มาเยือนที่มาจากประเทศไทย ซึ่งวันนี้นำทีมโดย คุณสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และผู้ร่วมทีมหลักก็คือสื่อมวลชนนั่นเอง

คุณนาโอโตะ ซาไก ประธานกรรมการบริษัท คูโบต้า ซัน-เวก จำกัด (Kubota Sun-Vege Farm Co. , Ltd.) เล่าให้ฟังว่า พื้นที่สวนจะแบ่งเป็นโรงเรือนขนาด 2,500 ตร.ม. ติดตั้งเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความร้อนเพื่อปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ 4 ชนิด ประกอบด้วย ปวยเล้ง กวางตุ้ง ผักกาดใบ และผักสลัด เป็นการปลูกตามมาตรฐานผักปลอดภัยของญี่ปุ่น ปริมาณการผลิตในปีที่ผ่านมาคือ 27 ตัน ตั้งเป้าว่าในปีนี้(2563)จะเพิ่มเป็น 50 ตัน ผลผลิตส่วนใหญ่จะมีทั้งส่งไปขายให้โรงอาหารของบริษัทฯ ตามซูเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงจำหน่ายให้พนักงานและผู้คนในชุมชน ซึ่งจะขายในราคาถูกกว่าที่ส่งไปจำหน่ายถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยเชียว

ในส่วนแรงงานรวมถึงเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนโรงงานผักแห่งนี้ จะเป็นผู้คนในชุมชนกว่า 40 ชีวิต “เราต้องการอยู่ร่วมกับสังคม ภายใต้วิสัยทัศน์ For Earth, For Life” เน้นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่รอบฟาร์ม มีพนักงานอาวุโสคนหนึ่งอายุ 80 ปี แต่ยังทำงานอย่างขยันขันแข็ง นอกจากนี้อีก 15-16 คนยังเป็นผู้พิการ (ส่วนมากจะมีอาการออทิสติก-พิการทางสมอง) ที่ฝึกฝนและเรียนรู้การทำงานในโรงงานผักแห่งนี้ได้อย่างดี

หัวใจของการปลูกผักจะให้ความสำคัญทุกขั้นตอน โดยเฉพาะขั้นตอนการเพาะเมล็ดพันธุ์ผักที่ผู้จัดการฟาร์มได้พาพวกเราไปชมอย่างใกล้ชิด เขาจะแบ่งหน้าที่กันอย่างลงตัว เราได้เห็นพนักผู้หญิงอาวุโสกำลังหยอดเมล็ดผักลงบนแผ่นโฟม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ละเอียด ต้องใช้เวลาและมีสมาธิอันแน่วแน่ หลังหยอดเสร็จพนักงานผู้ชายก็พาแผ่นโฟมไปแช่น้ำด้วยวิธีการรีดอากาศออกจากโฟม ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาที่นำมาใช้ได้ผลดี

พอจบขั้นตอนนี้ก็ปล่อยให้ผู้ศึกษาดูงานอิสระ คือใครจะช่วยปลูกผักก็จะแบ่งพื้นที่ให้ปลูกส่วนหนึ่ง ใครจะเก็บภาพถ่ายหรืออยากได้อยากคุยเพิ่มเติมกับผู้จัดการฟาร์มก็เชิญตามสะดวก

ที่สำคัญที่สุดพอจบการเดินชมทุกคนก็จะมายืนอยู่ที่จุดเดิม เพราะว่าเขาขนผักสลัดที่ปลูกมาให้ชิมกันอย่างออกรสชาติ ..รสชาติที่ว่าคือผักกรอบอร่อยมากๆ นับว่าเป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้ศึกษาดูงานทุกคน อนึ่ง ในวันดังกล่าวนั้น “เกษตรก้าวไกล” ได้ LIVE สดให้ชมกับไปพอหอมหอมคอบ้างแล้ว (ใครที่ยังไม่ได้ชมก็คลิกไปที่ https://www.facebook.com/watch/?v=779171842596814) พร้อมใช้เวลาส่วนหนึ่งมาถ่ายเป็นคลิป ดังที่ทุกท่านจะได้ชมต่อไปนี้ https://youtu.be/G-NXYLyDZ5A ขอเรียนย้ำว่าผู้ถ่ายได้ใช้เวลาอันไม่มาก แต่ก็พยายามเก็บเกี่ยวสาระสำคัญของโรงงานปลูกผักมาให้ได้มากที่สุด

ทั้งหมดนี้ เพื่อต้องการให้ผู้สนใจปลูกผักคนไทยได้ดูกันเพลินๆ หรือดูเป็นแนวทางสร้างพลังใจที่จะเริ่มปลูกผักจะปลูกกินเองหรือปลูกขายในชุมชนก็ว่ากันไป และระบบการปลูกผักในโรงงานหรือโรงเรือนดูเหมือนว่าผู้คนสนใจกันมาก เพราะโลกของเรามีภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การหลบมาปลูกในโรงเรือนที่ควบคุมด้วยเทคโนโลยี “เกษตรอัจฉริยะ” หรือปลูกแบบ “เกษตรแม่นยำ” จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ส่วนการลงทุนจะสูงหรือไม่ จุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน ปลูกแล้วขายใคร ก็ขอให้ทุกท่านใคร่ครวญกันดูนะครับ

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า หน่อไม้ฝรั่ง เป็นผักเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง
ที่สามารถสร้างมูลค่าและใช้หลักตลาดนำการผลิตเพื่อดำเนินการมาโดยตลอด ปัจจุบันพื้นที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง มีประมาณ 12,200 ไร่ รูปแบบการรับซื้อหน่อไม้ฝรั่งมีทั้งการตกลงราคากันระหว่างบริษัทฯ

ผู้รับซื้อกับเกษตรกร และการขายให้กับตลาด การเก็บเกี่ยวหน่อไม้ฝรั่ง มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี โดยจะเก็บเกี่ยว 4 เดือน พักต้น 2 เดือน ซึ่งเกษตรกรจะมีการวางแผนการพักต้นสลับกันภายในกลุ่ม เพื่อให้มีผลผลิตส่งได้ตลอดทั้งปี ส่วนเกษตรกรที่ได้มีการทำสัญญากับบริษัท ธานียามา สยาม จำกัด (ตามสัญญาซื้อ ขายหน่อไม้ฝรั่ง ปี 2562/2563) มีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง จำนวน 16 กลุ่ม สมาชิก 347 ราย พื้นที่ประมาณ 645 ไร่ ใน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม 2 กลุ่ม จังหวัดกาญจนบุรี 8 กลุ่ม จังหวัดราชบุรี 4 กลุ่ม จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ 1 กลุ่ม และจังหวัดลพบุรี 1 กลุ่ม

นางมาลินี ยุวนานนท์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกรณีเกษตรกรกลุ่มผู้ผลิตหน่อไม้ฝรั่ง ได้ตกลงทำสัญญาซื้อขาย กับ บริษัท ธานียามา สยาม จำกัด ได้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยสัญญาซื้อขายหน่อไม้ฝรั่ง ประจำปี 2562/2563 ได้ครบวาระเมื่อเดือน กรกฎาคม 2563 แต่ด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงทำให้บริษัท ธานียามา สยาม จำกัด ไม่สามารถต่อสัญญาได้ในปี 2563/2564 กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้จัดเวที เพื่อให้บริษัท ธานียามา สยาม จำกัด และกลุ่มเกษตรกรได้มีโอกาสชี้แจงถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และร่วมหาแนวทางในการดำเนินการ เพื่อให้ผ่านพ้นเหตุการณ์วิกฤตินี้ไปด้วยกัน

โดย บริษัทฯ ชี้แจงว่าได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ไม่สามารถส่งออกผลผลิตได้ตามเดิม สาเหตุเกิดจากไม่มีพื้นที่ในเที่ยวบินที่สามารถขนส่งได้ อีกทั้งค่าส่งขนที่เกิดขึ้นมีราคาสูงมาก บริษัทฯ จึงได้ใช้วิธีการส่งออกทางเรือ ซึ่งใช้ระยะเวลาขนส่งนาน ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้หาวิธีการที่จะรักษาคุณภาพของผลผลิตหน่อไม้ฝรั่ง โดยการนำเข้าเครื่องแช่แข็งเทคโนโลยีสูงจากประเทศญี่ปุ่น มาใช้ในการแช่แข็งหน่อไม้ฝรั่ง

ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการดำเนินการทั้งหมดเกี่ยวกับการประกอบเครื่องจักรชนิดนี้ และการนำเข้าประมาณ 7-8 เดือน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้คำมั่นสัญญากับเกษตรกรที่จะรับซื้อปริมาณผลผลิตทั้งหมด ในราคา ณ ปัจจุบัน ที่เป็นราคานอกสัญญา และจะปรับเพิ่มให้เหมาะสมตามสถานการณ์ รวมถึงเมื่อสถานการณ์ทุกอย่างคลี่คลายและดีขึ้น จะดำเนินการตกลงราคาเพื่อทำสัญญาซื้อขายหน่อไม้ฝรั่งตามเดิม ส่วนทางฝ่ายเกษตรกรได้รับทราบ และเข้าใจถึงเหตุผลความจำเป็นของบริษัท พร้อมทั้งจะยังคง
ขายผลผลิตให้กับบริษัทฯ ตามที่แจ้งไว้ แต่ขอให้บริษัทพิจารณาในการปรับราคาให้เมื่อมีความเป็นไปได้ ภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายเกษตรกรกว่า 100 คน ร่วมกับ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ Better Farms, Better Lives ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หวังยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรรายย่อยไทยหลังสถานการณ์โควิด-19 ทั้งด้าน ต้นทุนผลิต การใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย รวมทั้งการนำเทคโนโลยีโดรนมาใช้ในพื้นที่เพาะปลูก ช่วยส่งผลดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในอนาคต

วิถีชีวิตของชาวนาและภาวะเศรษฐกิจชุมชนกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ล่าสุดยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ทาง บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ร่วมกับมูลนิธิคลังสมองสหกรณ์ไทย จัดกิจกรรม “การฟื้นฟูธุรกิจ และเศรษฐกิจข้าวชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” ภายใต้ โครงการ Better Farms, Better Lives ณ โรงเรียนวัดสามบัณฑิต อำเภออุทัย จังหวัดพระนครอยุธยา โดยจัดให้มีการฝึกอบรมความรู้ให้กับเกษตรกร เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมการใช้นวัตกรรม เช่น อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) และการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ฯลฯ โดยมีเครือข่ายเกษตรกรรายย่อยเข้าร่วมกว่า 100 คน

นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล ประธานมูลนิธิคลังสมองสหกรณ์ไทย เปิดเผยว่า โครงการฯ นี้ มุ่งเน้นให้เกษตรกรปลูกข้าวในผืนนาที่ปลอดภัยต่อทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค ส่งเสริมคุณภาพชีวิตเกษตรกรรายย่อยให้ได้ถึง 50,000 คน ครอบคลุม 25 จังหวัดหรือราว 150 ชุมชน โดยได้รับความร่วมมือจากภาคีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและเครือข่ายเกษตรกรต่างๆ

โครงการ Better Farms, Better Lives ณ ชุมชนเกษตรสามบัณฑิต จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการจัดกิจกรรมผ่านสถานีการเรียนรู้ที่สนับสนุนเกษตรกรในการทำนา อาทิ การปลูกข้าวปลอดภัย นวัตกรรมปลูกข้าว การใช้โดรน การสร้างเงินออม ฯลฯ โดยมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้การทำการเกษตรครบวงจร อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมการข้าว สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นต้น

สำหรับกิจกรรมที่เกษตรกรให้ความสนใจมาก ก็คือสถานีให้ความรู้ โดรนเพื่อการเกษตร ช่วยเรื่องการพ่นยาปราบวัชพืชในนาข้าว ทำให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนและเวลา ที่สำคัญคือปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการใช้คนเดินพ่นยา

นายฆาแวน คำดี ประธานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุข้าวชุมชน ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี กล่าวว่า การใช้โดรนเพื่อการเกษตรนับเป็นนวัตกรรมที่ได้รับความนิยมหลายพื้นที่และกำลังขยายตัวรวดเร็วเพราะตอบโจทย์ชาวนา เนื่องจากการใช้โดรนพ่นยาปราบวัชพืชคิดค่าบริการไร่ละ 60-80 บาท และ 1 ชม. สามารถพ่นได้ถึง 25 ไร่

“ถ้าใช้แรงงานคนอาจเปลืองเวลาทั้งวัน แถมแรงงานที่จะมาทำแบบนี้ก็หาได้ยากขึ้น เทียบกันแล้วค่าแรงคนกับการใช้โดรนเท่ากัน แต่โดรนมีความปลอดภัยกว่า ไม่ต้องให้เกษตรกรไปสัมผัสสารเคมีอีกด้วย”

ส่วนการบริหารต้นทุนอื่นๆ ก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิตชาวนา โดย นางธนภรณ์ หงส์ทอง ในฐานะประธานกลุ่มนาแปลงใหญ่ อำเภอวังน้อย และประธานสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. กล่าวว่า การทำนาให้ประสบผลสำเร็จคือต้องบริหารจัดการแปลงนาของเราให้ดี โดยปัจจุบันมีแปลงนา 12 ไร่ เลือกปลูกพันธุ์ข้าว กข.43 น้ำตาลต่ำมาหลายปีแล้ว

“ข้าวพันธุ์นี้คนไทยนิยมบริโภคเพราะช่วยควบคุมน้ำตาล และเราก็คุมต้นทุนด้วย เวลาหว่านเมล็ดพันธุ์ใช้ปริมาณไม่มาก 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ จากก่อนหน้านี้ต้องใช้ถึง 25 กิโลกรัม แถมข้าวในนาก็ไม่หนาแน่นพอมีช่องหายใจ ช่วยป้องกันศัตรูของข้าวอีกด้วย และการเป็นข้าวเพื่อสุขภาพ ราคาที่ขาย 5 กิโลกรัม 200 บาท หรือ 50 บาทต่อกิโลกรัม ถือเป็นราคาที่ชาวนาอยู่ได้”

นายสินสมุทร คงประโยชน์ ชาวนาต้นแบบอีกท่านหนึ่ง กล่าวเสริมว่า การใช้ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชอาจ ยังจำเป็นต้องใช้ต่อไป แต่ก็ควรผสมผสานกับปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ และต้องให้ความร่วมมือไม่เผาในแปลงนา ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ด้านนายสุทธินาท คงสมทอง ประธานศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีตำบลสามบัณฑิต ระบุถึงสาเหตุที่ชาวนาจำนวนมาก ยังไม่เปลี่ยนวิถีการทำนาแบบเดิมๆ เป็นเพราะความ “กลัว” การปรับเปลี่ยนสู่วิถีใหม่แล้วต้นทุนจะสูงขึ้น หรือบางส่วนยังไม่ตระหนักถึงสารตกค้างในนาข้าวเท่าที่ควร ซึ่งโครงการฯ นี้ช่วยแก้ปัญหาได้

ขณะที่ นายประพันธ์ ตรีบุบผา นายอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มองว่า ปัจจัยที่จะทำให้ชาวนาเข้าถึงการช่วยเหลือจากภาครัฐก็คือการรวมกลุ่มเป็น “เกษตรแปลงใหญ่” และต้องใช้เทคโนโลยีมาสนับสนุน ทั้งการปลูก การขาย และต้องเป็นการทำเกษตรที่ดีต่อคนและสิ่งแวดล้อม

โครงการ Better Farms, Better Lives จัดขึ้นโดย บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมการข้าว มูลนิธิคลังสมองสหกรณ์ไทย สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โปรดิวส์ จำกัด ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยที่เผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด -19 ด้วยการมอบชุดผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ความปลอดภัยจำนวน 50,000 ชุด พร้อมโครงการการฝึกอบรมความรู้การผลิตข้าวในวิถีใหม่ด้วยเทคโนโลยีที่ปลอดภัย เกิดความยั่งยืน รวมมูลค่า 20 ล้านบาท ให้กับเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา จังหวัดปทุมธานี สุพรรณบุรี พิษณุโลก และพื้นที่ใกล้เคียง 26 จังหวัด

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สศก.ในฐานะนายทะเบียน ได้ดำเนินการรวบรวม และตรวจสอบความซ้ำซ้อนเกษตรกรจากหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนจำนวน 7 หน่วยงาน เพื่อจัดส่งรายชื่อเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกร รายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือนตั้งแต่พฤษภาคม – กรกฎาคม 2563 รวมรายละ 15,000 บาท ซึ่งต่อมา ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม และ 22 กันยายน 2563 ให้ขยายระยะเวลาการจ่ายเงินตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่เอกสารทางบัญชีไม่สมบูรณ์ออกไปจนถึงเดือนกันยายน 2563 เพื่อให้เกษตรกรได้รับสิทธิครบถ้วน

ขณะนี้ ระยะเวลาการดำเนินโครงการได้สิ้นสุดแล้วตั้งแต่ 30 กันยายนที่ผ่านมา โดยสรุปผลการช่วยเหลือเกษตรกร ตามโครงการฯ พบว่า ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรรวม 7,565,880 ราย เป็นเงิน 113,304.4 ล้านบาท (ข้อมูล ธ.ก.ส. ณ 7 ต.ค. 63) แต่อย่างไรก็ตาม ในการขยายการดำเนินการจ่ายเงินในช่วงที่สองจนถึงเดือนกันยายน 2563 พบว่า ยังมีเกษตรกรบางส่วน ที่ยังไม่ได้รับโอนเงินทันภายใน 30 กันยายน 2563 เนื่องจากระยะเวลาที่การดำเนินการค่อนข้างจำกัด และจำเป็นต้องใช้เวลาตรวจสอบก่อนการโอนเงิน

“จากข้อจำกัดทั้งด้านระยะเวลาและขั้นตอนการตรวจสอบ จึงทำให้เกษตรกรบางส่วนยังไม่ได้รับการจ่ายเงินเยียวยา ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยจะได้มีการพิจารณาความเหมาะสมในการเสนอจ่ายเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ต่อไป โดยหลังจากนี้ สศก. ในฐานะนายทะเบียนและเป็นหน่วยงานเนวิเกเตอร์ด้านเศรษฐกิจการเกษตร จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งพัฒนา ปรับรูปแบบการขึ้นทะเบียนเกษตรกร รวมถึงการจัดทำฐานข้อมูลโดยใช้ Big Data และ AI สำหรับประมวล และวิเคราะห์ให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ทันต่อการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหากับภาคเกษตรและเกษตรกรต่อไป” เลขาธิการ สศก. กล่าว

ด้าน นายพลเชษฐ์ ตราโช รองเลขาธิการ สศก. กล่าวเสริมว่า โครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในครั้งนี้ เป็นการช่วยเหลือเฉพาะหน้าและเป็นโครงการลักษณะจ่ายตรง (Direct Payment) ซึ่งเป็นครั้งแรกของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สศก. ในฐานะนายทะเบียนเกษตรกรและเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำ Big Data ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่นๆ ที่ได้เข้าร่วมดำเนินโครงการฯ จะได้พิจารณาแนวทางการพัฒนารูปแบบการรับขึ้นทะเบียนเกษตรกร หรือแนวทางการจัดทำมาตรฐานข้อมูล (Data Standard) เพื่อรองรับการพัฒนา Big Data ภาคการเกษตรที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สำหรับใช้ข้อมูลเป็นฐานในการวิเคราะห์เพื่อเป็นแผนที่นำทาง (Navigator) ตามนโยบายของเลขาธิการ สศก.เพื่อการพัฒนาด้านการเกษตรในอนาคต

ทั้งนี้ จากการติดตามของ สศก. พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่นำเงินที่ได้รับไปลงทุนทางการเกษตร (ซื้อพันธุ์ อาหารสัตว์ ปุ๋ย และซ่อมแซมโรงเรือน) นำไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน รวมทั้งนำไปลงทุนนอกภาคการเกษตร โดยนำไปชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ (ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ) ตลอดจนนำไปใช้จ่ายค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน อย่างไรก็ตาม นอกจากการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรตามโครงการฯแล้ว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้ทำเป็นโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อาทิ โครงการ 1 ตำบล 1 เกษตรทฤษฎีใหม่ และโครงการอื่นๆ ซึ่งมีกิจกรรมทั้งการจ้างงานและการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น และวางฐานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะกลางต่อไปอีกด้วย จึงขอเชิญชวนผู้สนใจและมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขของโครงการฯ สมัครเข้าร่วมโครงการอื่นๆ เพิ่มเติมต่อไป

วันที่ 21 ตุลาคม 2563 ตรงกับวันที่ระลึกคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมการเกษตร ครบรอบ 53 ปี ในวันนี้มีพิธีการสำคัญเช่นทุกปี และแน่นอนว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่พลาดที่จะมาร่วมงงานนี้ พร้อมมอบนโยบายตามที่ “เกษตรก้าวไกล” ได้นำเสนอข่าว

อีกเรื่องหนึ่งที่น่าติดตามก็คือ ในวันเดียวกันนี้ได้มีการเปิดประเด็น ทิศทางของกรมส่งเสริมการเกษตรปี 2564 ว่าจะขับเคลื่อนไปยังทิศใด หรือให้ความสำคัญในประเด็นใดบ้าง?

คงเป็นที่ทราบกันว่า หลายปีที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์มุ่งที่จะปฏิรูปภาคเกษตรสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติของโลก ทั้งรูปแบบการแข่งขันที่สูงขึ้น การเผชิญกับเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปฏิวัติทางเทคโนโลยี การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย รวมถึงการเปลี่ยนรูปแบบความต้องการอาหารทั่วโลก จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ทำให้ทุกอย่างที่กำลังขับเคลื่อนต้องเร่งและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์อย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่ทุกอย่างยังคงขับเคลื่อน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดิม เพียงปรับเปลี่ยนวิธีคิด และวิธีการ ภายใต้วิถีปกติใหม่

เกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่าการขับเคลื่อนงานในปี 2564 เป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมาก แต่นั่นไม่เท่ากับการสร้างทีมงานที่มีคุณภาพ รองรับการเปลี่ยนแปลง ให้พร้อมก้าวสู่เกษตรวิถีใหม่ ควบคู่กับการขับเคลื่อนโครงการฯ สำคัญ การฟื้นฟูเศรษฐกิจ การกระตุ้นให้เกิดการปรับตัวขององค์กร และบุคลากร รวมถึงงานส่งเสริมการเกษตร

ที่ต้องก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ “เกษตรกรมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และมีรายได้ที่มั่นคง” ผ่าน 3 ยุทธศาสตร์ สำคัญ ได้แก่ 1. การพัฒนาเกษตรกร พัฒนาการผลิตสินค้าเกษตร และส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง 2. การขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยเครื่องมือส่งเสริมการเกษตร 3. การเพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริมการเกษตร นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการบูรณาการทำงานกับทุกภาคส่วน และการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด

กล่าวโดยสรุป ประเด็นหลัก ที่จะขับเคลื่อนงาน ปี 2564 ได้แก่

การส่งเสริมและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : บาคาร่าออนไลน์ เป็นนโยบายสำคัญที่กรมส่งเสริมการเกษตร ยึดถือและปฏิบัติ เพื่อที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอด ตามที่ได้พระราชทานแนวทาง รวมถึงขับเคลื่อนโครงการสำคัญต่างๆ เพื่อขยายผลสู่เกษตรกรให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

ด้วยฝีมือและแนวคิดในการต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การสนับสนุนของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. สาขาอ่างทอง ทำให้ในปัจจุบันกลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านบางตาแผ่น มีผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากผักตบชวา เช่น กระเป๋า หมวก รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ กล่องใส่สิ่งของ บรรจุภัณฑ์เพื่อใส่ผลผลิตต่างๆ มากกว่า 100 แบบ และที่สำคัญมีออร์เดอร์การสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงใกล้ปีใหม่ รวมยอดสั่งซื้อหลักหมื่นชิ้นขึ้นไป และมีการส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย เป็นต้น

“ต้องขอบคุณทุกหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือ อย่าง ธ.ก.ส.อ่างทอง ก็เข้ามาช่วยในเรื่องของการสนับสนับสนุนด้านเงินทุน เพราะการนำไปส่งจำหน่ายให้กับห้างหรือที่อื่น ๆ เราต้องมีการให้เครดิตในการเก็บเงิน ดังนั้นจึงต้องมีทุนมาสำรอง ซึ่งเรื่องนี้ ธ.ก.ส.ได้เข้ามาช่วยเหลืออย่างเต็มที่ รวมถึงการช่วยประชาสัมพันธ์หาตลาด จนทำให้เราสามารถก้าวเดินมาได้ถึงวันนี้”

หัวใจความสำเร็จของกลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านบางตาแผ่น คือการรวมกลุ่มกันเข้มแข็ง โดยที่ป้าปราณีที่ปัจจุบันไม่ได้เป็นประธานกลุ่มแล้ว แต่ยังคงปักหลักเป็นผู้นำช่วยเหลือกลุ่มอย่างแข็งขัน โดยประธานกลุ่มคนปัจจุบันคือ นายสมบัติ แพร่หลาย…

“หัวใจความสำเร็จของเราคือความซื่อสัตย์สุจริตในการผลิต ซื่อสัตย์กับตัวเอง ซื่อสัตย์กับสมาชิกกลุ่ม และซื่อสัตย์กับลูกค้า ฝีมือของเราต้องไม่ด้อย ไม่ใช่ว่าเขาสั่งเยอะแล้วหมกงาน เรามีคิวซีคอยคัด สินค้าต้องได้คุณภาพ ส่งตรงตามเวลา เมื่อก่อนรับงานหลายคน ตอนนี้รับงานคนเดียว จะได้รู้ว่าผลิตทันไหม แต่ละปีเราต้องมีแผนการผลิต ปีที่แล้วเราใช้วัตถุดิบไปเท่าไร ปีนี้ใช้เท่าไร และความซื่อสัตย์เรื่องเงินอีกเรื่องหนึ่ง เหรัญญิกต้องซื่อสัตย์ เงินได้เท่าไรต้องกลับมาเท่านั้น” ป้าปราณีกล่าว

ปัจจุบันกลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านบางตาแผ่นเป็นที่ศึกษาดูงานของผู้สนใจงานจักสานและป้าปราณีรวมทั้งสมาชิกกลุ่มที่ชำนาญจะได้รับเชิญไปสอนไปบรรยายให้กับกลุ่มชุมชนต่างๆทั่วประเทศ

หมายเหตุ ติดต่อสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายสมบัติ แพร่หลาย ประธานกลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านบางตาแผ่น โทร.0801084114 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะผู้บริหารจากกระทรวง อว. ลงพื้นที่จังหวัดตรังและจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน “บทบาทมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ : นวัตกรรมการสร้างเศรษฐกิจชุมชนบนฐานทรัพยากรพื้นถิ่นและภูมิวัฒนธรรม” โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีในพื้นที่ระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาคมท้องถิ่น

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก กล่าวว่า สิ่งที่น่าชื่นชมจากการลงพื้นที่ในแต่ละครั้ง นอกจากการได้เห็นศักยภาพนักวิจัยของมหาวิทยาลัยในพื้นที่แล้ว ยังได้เห็นแนวคิดของชาวบ้านที่เริ่มเข้าใจว่า“งานวิจัย” และเห็นประโยชน์ของงานวิจัย ซึ่งทางกระทรวงฯ จะเข้ามาสนับสนุนในส่วนนี้ต่อเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น

“เวลานี้ชาวบ้านพูดแล้วว่า รู้จักงานวิจัย เขาทำวิจัยเป็นแล้ว ดังนั้นผมคิดว่าเราจะต้องสนับสนุนงานวิจัยที่ทำให้คนเป็นนักวิจัย ที่ไม่ใช่เฉพาะบุคลากรในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ต้องให้คนทั่วไปโดยเฉพาะชาวบ้านเข้ามาร่วมเป็นนักวิจัยด้วย โดยต้องเป็นการทำวิจัยแบบที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด นั่นคือการคิด ใคร่ครวญ หาความรู้ และสร้างความรู้ เพราะการทำวิจัยจะได้ผลจริงส่วนหนึ่งคือ ต้องทำให้วิจัยเป็น ‘วัฒนธรรม’ หรือเป็น ‘วิถีชีวิต’ และต้องเป็นงานวิจัยที่ออกนอกมหาวิทยาลัย โดยทางกระทรวง อว.จะสนับสนุนให้หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หรือ บพท.เข้ามาดำเนินการตรงนี้ต่อไป”

ขณะเดียวกัน ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก ยังเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาเชิงพื้นที่ในมิติต่าง ๆ ผ่านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สร้างสรรค์ เพื่อเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรม พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม และวิสาหกิจเชิงวัฒนธรรม โดยให้ภาคประชาสังคมเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก มีภาคท้องถิ่น ภาควิชาการโดยมหาวิทยาลัย ภาคเอกชน และภาครัฐ เข้ามาหนุนเสริมตามพันธกิจของแต่ละหน่วยงาน

ด้าน ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า งานวิจัยที่ บพท. สนับสนุนทุนวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ ได้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยศิลปากรรวมถึงมหาวิทยาลัยในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เป็นงานวิจัยเพื่อสร้าง “พื้นที่การเรียนรู้ร่วมกัน” หรือ Learning Platform ของกลไกความร่วมมือเพื่อพัฒนาพื้นที่จากภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่นั่นเอง

“การดูงานครั้งนี้มีงาน 2 โมเดล ได้แก่ โมเดลที่ 1 งานสร้างเศรษฐกิจชุมชนบนฐานวัฒนธรรม งานวิจัยในรูปแบบนี้เป็นการพาชาวบ้านมาร่วมสร้างกลไกที่เรียกว่า ‘ประชาคมวัฒนธรรม’ โดยสำรวจทุนทางศิลปวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ที่เป็นรากเหง้าของเขาด้วยรูปแบบใหม่เพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น พร้อมกับฐานทุนดังกล่าว มาอนุรักษ์และและสืบสานไปพร้อมกัน โดยดึงคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมกระบวนการ ปรากฎว่าการทำงานรูปแบบนี้ทำให้ประชาคม และชาวบ้านหรือคนในชุมชน ลุกขึ้นมาคิดและลงมือทำด้วยตัวเอง แล้วใช้กระบวนการวิจัยในการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน โดยการค้นหารากเหง้าของตัวเองและนำมาคลี่ภาพให้ชัดเจนยิ่งขึ้น แล้วนำมาเรียนรู้สานต่อเพื่อปรับรูปแบบการดำรงชีวิตให้เข้ากับวิถีในปัจจุบัน นำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจของชุมชนได้จริง ๆ สุดท้ายก็กลายเป็นงานวิจัยที่กินได้ และที่สำคัญก็คือเราสร้างคนในชุมชน กลไกในชุมชนเพื่อลุกขึ้นมาจัดการตรงนี้ด้วยตัวเอง ฉะนั้นต่อไปไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเขาก็จะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาได้ด้วยตัวของเขาเอง”

“งานโมเดลที่ 2 งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยและมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มุ่งเน้นการขับเคลื่อนพื้นที่ชุมชนบนฐานทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ด้วยการสร้างกลไกการทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกิดการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนนับล้านบาท เกิดการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมและตลาดออนไลน์ Local Business ที่ชาวบ้านได้เรียนรู้ร่วมกับนักวิจัย”

อนึ่ง การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าผลการดำเนินงานฯ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย

พื้นที่จังหวัดตรัง เป็นงานวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ที่มีตั้งแต่งานวิจัยเชิงนโยบาย เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่อันดามันตอนล่างบนฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตลอดจนงานวิจัยด้านการจัดการทรัพยากรแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง รวมถึงการใช้นวัตกรรมเข้ามายกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร บนวิถีเมืองตรังคุณค่าแห่ง : เขา ป่า นา เล ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกต่อยอดเป็นงานวิจัยด้านการตลาดเพื่อสร้างตลาดออนไลน์ของสินค้าชุมชน

พื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนากลไกการดูดซับเศรษฐกิจผ้าพื้นถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นตลาด ซึ่งใช้กลไกเศรษฐกิจภายในมหาวิทยาลัยเข้ามาทำให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนผู้ผลิตผ้าทอพื้นถิ่น นอกจากนี้ยังลงพื้นที่อำเภอท่าศาลา ดูงานของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่รับผิดชอบโครงการโดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เกี่ยวกับการต่อยอดโครงการธนาคารปูม้า และสุดท้ายเป็นชุดโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยศิลปากรที่เข้าไปศึกษาทุนทางวัฒนธรรมของคนในอำเภอทุ่งสง และสามารถต่อยอดเป็นหลาดชุมทางทุ่งสง โดยสร้างเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม จนเกิดการกระจายรายได้และสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนให้คนในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม

เมื่อพูดถึงร้านค้าในโรงเรียน หลายคนคงนึกถึงร้านค้าที่จำหน่ายอุปกรณ์การเรียน แต่สำหรับโรงเรียนบ้านกระเทียม (ราษฎร์วิทยาคม) ต.กระเทียม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ร้านสวัสดิการโรงเรียนที่นี่ต่างจากที่อื่น เพราะนำพืชผักสวนครัวที่เป็นผลผลิตจากฝีมือนักเรียนมาจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็น มะนาว ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว ชะอม บวบ กวางตุ้ง ไข่ไก่ และสินค้าอื่นๆ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ กุ้งสด เป็นต้น เพื่อให้คนในชุมชนและชุมชนโดยรอบสามารถเข้ามาจับจ่าย และมั่นใจคุณภาพของสินค้าว่าปลอดภัย ปลอดสาร

“นายสุเทพ เกิดสมนึก” ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกระเทียมฯ กล่าวว่า “ร้านอิ่มสุข โรงเรียนบ้านกระเทียม” มีจุดเริ่มต้นมาจากโรงเรียนเข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ที่มีมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทและซีพีเอฟสนับสนุนตั้งแต่ปี 2560 จากนั้นซีพีเอฟต่อยอดนำองค์ความรู้เรื่องการเกษตรเข้ามาเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารครบทุกมิติ โดยเฉพาะโรงเรียนสามารถพึ่งพาตนเองในการผลิตอาหารได้อย่างเพียงพอ ผ่านโครงการ ซีพีเอฟ อิ่มสุข ปลูกอนาคต ปัจจุบันโรงเรียนมีฐานกิจกรรมด้านเกษตร 10 กิจกรรม ประกอบด้วย โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน โครงการอุโมงค์ผักและศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชา โครงการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ โครงการปลูกผักสวนครัวในหลุมพอเพียง โครงการไม้ผลแบบผสมผสาน โครงการนาข้าวอินทรีย์ โครงการปลูกพืชไร่แบบผสม โครงการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ โครงการแปลงผักปลอดสาร และโครงการร้านค้าอิ่มสุข โรงเรียนบ้านกระเทียม

“ทางซีพีเอฟเห็นว่าผลผลิตที่โรงเรียนผลิตได้จาก 10 กิจกรรมมีปริมาณมาก จึงแนะนำให้โรงเรียนมีร้านค้าสวัสดิการขึ้นเป็นช่องทางกระจายสินค้าสู่ชุมชน ไม่เพียงช่วยให้ ชาวบ้านในพื้นที่และชุมชนรอบข้างเข้าถึงแหล่งอาหารที่เหมาะสม ได้บริโภคอาหารที่มีคุณภาพ สด สะอาด ปลอดภัย ได้เข้าถึงอาหารที่สะอาดปลอดภัย ที่สำคัญ นักเรียนจะได้เรียนรู้การผลิตผลผลิตทางการเกษตรที่เหมาะสม ควบคู่กับวิธีการบริหารจัดการร้านค้า เป็นทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต โดยมอบหมายให้นักเรียนชั้นป.5 และ ป.6 ช่วยคุณครูดูแลร้านค้าอิ่มสุข ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งหลังจากโรงเรียนเปิดให้บริการร้านอิ่มสุขมาแล้ว 4-5 เดือน ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี” ผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าว

“ตอนนี้ ร้านอิ่มสุข เป็นที่รู้จักของคนในชุมชนและชุมชนโดยรอบมากขึ้น เพราะมั่นใจคุณภาพของสินค้า พอทราบว่ามีผลผลิตที่มาจากนักเรียน ชุมชนยิ่งให้ความสนใจ เพราะถือว่าเป็นลูกหลานของพวกเขา รายได้จากร้านสามารถนำไปพัฒนาด้านต่างๆ รวมถึงสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักเรียนในโรงเรียน การที่โรงเรียนต่อยอดร้านอิ่มสุขแห่งนี้ ทำให้คุณครูและนักเรียนได้ร่วมฝึกทักษะการบริหารจัดการเพิ่มขึ้น เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทดลองและลงมือทำจริง ซึ่งเป็นผลดีกับพวกเขามาก ตอนนี้หลายหน่วยงานใน จ.สุรินทร์ ขอเข้ามาศึกษาดูงาน ซึ่งหวังว่าสิ่งที่ทางโรงเรียนร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และชุมชนทำจะสามารถนำไปพัฒนาในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป” คุณครูกล่าว

ซีพีเอฟ ในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร และเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลก ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการผลิตอาหารให้เพียงพอรองรับความต้องการบริโภคของประชากรในประเทศและประชากรโลก พร้อมทั้งมุ่งมั่นมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารของโรงเรียนและชุมชนอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2563 นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานเปิดศูนย์รับ-ส่งสินค้าเครือข่ายสหกรณ์ ซึ่งชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสท.) ได้ร่วมมือกับ บริษัท ซุปเปอร์เอสเซ็นเตอร์ จำกัด จัดขึ้น พร้อมมอบประกาศนียบัตรให้คณะกรรมการดำเนินการ ชสท. และผู้สนับสนุนกิจการ ชสท. โดยมีแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมงานจำนวนมาก ณ อาคารสำนักงานชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสท.) ถนนงามวงศ์วาน ตรงข้ามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพ ฯ ทั้งนี้ ศูนย์รับ-ส่งสินค้าเครือข่ายสหกรณ์ ตั้งอยู่ภายในศูนย์ข้าวสหกรณ์ไทยและศูนย์กระจายสินค้าสหกรณ์ ชั้น 1 อาคาร ชสท. โดยมีสินค้าสหกรณ์ อาทิ ข้าวสาร จากสหกรณ์การเกษตรทั่วประเทศ ให้เลือกซื้อ

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ รู้สึกยินดีที่ ชสท. ริเริ่มโครงการศูนย์รับ-ส่งสินค้าเครือข่ายสหกรณ์ขึ้น เพื่อบริการการรับส่งสินค้าแก่สมาชิกและบุคคลทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับหลักสหกรณ์ที่ต้องตอบสนองต่อมวลสมาชิกและก่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมแก่สังคม กรมส่งเสริมสหกรณ์พร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์รับ-ส่งสินค้าเครือข่ายสหกรณ์ และขอขอบคุณ ชสท. ที่ได้ริเริ่มโครงการ ฯ ที่เป็นประโยชน์ในครั้งนี้

ด้าน นายศิริชัย ออสุวรรณ ประธานกรรมการดำเนินการ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ในฐานะ ผู้ริเริ่มก่อตั้ง ศูนย์รับ-ส่งสินค้าเครือข่ายสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ชสท. เป็นศูนย์กลางความร่วมมือของสหกรณ์การเกษตร ที่ให้บริการแก่สมาชิกครบวงจรในทุกด้าน ชสท. ได้จัดตั้งศูนย์ข้าวสหกรณ์ไทยและศูนย์กระจายสินค้าสหกรณ์ขึ้น ตามนโยบายของกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายข้าวทุกชนิด ที่ผลิตและจำหน่ายโดยสมาชิกสหกรณ์ และสหกรณ์การเกษตรทั่วประเทศ

เพื่อให้การดำเนินการซื้อขายข้าวของสหกรณ์การเกษตรประสบความสำเร็จในทุกด้าน ชสท. จึงได้ร่วมมือกับ พันธมิตรด้านการขนส่ง คือบริษัท ซุปเปอร์เอสเซ็นเตอร์ จำกัด ก่อตั้ง ศูนย์รับ-ส่งสินค้าเครือข่ายสหกรณ์ขึ้นสอดคล้องตามหลักการวิธีการสหกรณ์ มีเป้าหมาย เพื่อลดต้นทุนการส่งสินค้าให้กับสหกรณ์และสมาชิก รวมถึงเป็นการต่อยอดจากศูนย์ข้าวสหกรณ์ไทยและศูนย์กระจาย สินค้าสหกรณ์ที่ได้ดำเนินการระยะหนึ่งแล้ว รวมถึงเพื่อก่อประโยชน์แก่สมาชิก บุคคลทั่วไป ในการใช้บริการสินค้าสหกรณ์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอีกด้วย

นายศุภชัย นิลวานิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซุปเปอร์เอส เซ็นเตอร์ จำกัด พันธมิตรการขนส่ง ของ ชสท. กล่าวว่า ทางบริษัท ฯ ได้ดำเนินงานบริการรับส่งพัสดุไปรษณีย์และเคาน์เตอร์เซอร์วิส โดยมีสาขา บริการกว่า 200 สาขา ในการนี้ทางบริษัท ฯ ได้เล็งเห็นช่องทางการสนับสนุนการบริการสินค้าเครือข่ายสหกรณ์ อันที่จะก่อประโยชน์แก่สหกรณ์โดยรวม จึงได้ร่วมมือกับ ชสท. โดยเปิดศูนย์รับ-ส่งสินค้าเครือข่ายสหกรณ์ ซึ่งถือว่าเป็น โครงการตัวอย่าง ซึ่งในอนาคตจะขยายโครงการฯ ศูนย์รับ–ส่งสินค้าไปยังสหกรณ์การเกษตรอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่สมาชิกสหกรณ์และลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า ซึ่งปัจจุบันระบบการซื้อขายออนไลน์เติบโตเป็นอย่างมาก การที่ซุปเปอร์เอสมาเปิดบริการจึงหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจประเทศชาติในที่สุด

ในตอนท้ายประธานกรรมการดำเนินการ ชสท. และประธานซุปเปอร์เอส ได้เชิญชวนท่านที่สนใจเลือกซื้อสินค้าคุณภาพมาตรฐานสหกรณ์ ได้ที่ศูนย์ข้าวสหกรณ์ไทยและศูนย์กระจายสินค้าสหกรณ์ และใช้บริการศูนย์รับ-ส่งสินค้าเครือข่ายสหกรณ์ ในราคาพิเศษช่วงเปิดตัว ได้ที่ ชั้น 1 อาคาร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ถนนงามวงศ์วาน ตรงข้ามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพ ฯ ได้ในเวลาทำการ ทุกวันจันทร์-วันเสาร์ ตั้งแต่

กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับ กรมเสมียนตรา กระทรวงกลาโหม จัดอบรมเตรียมความพร้อมด้านการเกษตรให้กับทหารกองประจำการสู่ ยอดทหารสนใจเข้าอบรมเกินเป้า พร้อมเร่งวางแผนต่อเนื่องปีที่ 3

นายชาตรี บุญนาค รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ด้านพัฒนาเกษตรกร กล่าวว่า โครงการเตรียมความพร้อมทหารกองประจำการสู่การเป็นทายาทเกษตรรุ่นใหม่ เป็นโครงการเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเกษตรแก่ทหารกองประจำการให้สามารถนำไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้หลังปลดประจำการ รวมถึงช่วยบ่มเพาะและสร้างทายาทเกษตรรุ่นใหม่ด้วย ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 แล้ว โดยดำเนินการร่วมกับ กรมเสมียนตรา กระทรวงกลาโหม จัดการอบรมที่สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1- 6 และศูนย์ปฏิบัติการ ซึ่งตั้งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ภายใต้หลักสูตร “การทำการเกษตรผสมผสาน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” รายละเอียดหลักสูตรประกอบด้วย

การปรับแนวคิด (Mind set) การวิเคราะห์และจัดทำแผนพัฒนาตนเอง ระบบการทำการเกษตรแบบผสมผสาน การจัดการปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กระบวนการเพาะปลูกพืช การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (IPM) การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร การตลาดสินค้าเกษตรในยุคประเทศไทย 4.0 การใช้ ICT กับการเกษตรเชิงพาณิชย์ และการจัดทำแผนพัฒนาตนเองและแผนพัฒนาอาชีพ โดยทุกหลักสูตรจะเน้นการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยในการทำงานและช่วยทำให้จดจำได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้หน่วยงานในระดับพื้นที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรจะได้มอบหมายเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปติดตามผลการนำความรู้ไปใช้งานจริง ให้คำแนะนำพร้อมสอบถามความต้องการในการอบรมเพิ่มเติม ภายหลังจากที่ทหารเหล่านี้ปลดประจำการไปแล้วด้วย

ขณะนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ปิดการอบรมโครงการเตรียมความพร้อมทหารกองประจำการสู่การเป็นทายาทเกษตรรุ่นใหม่ของปีนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีทหารกองประจำการที่เป็นลูกหลานเกษตรกรมาสมัครและเข้ารับการอบรมเกินเป้าหมายที่ได้วางไว้ รวมจำนวน 224 ราย ซึ่งผลสำเร็จจาก 2 ปีที่ผ่านมานั้น กรมส่งเสริมการเกษตรได้วางแผนจะดำเนินโครงการนี้อย่างต่อเนื่องในปีต่อไปเป็นปีที่ 3 โดยตั้งเป้าจะเปิดรับสมัครทหารกองประจำการเข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมทหารกองประจำการสู่การเป็นทายาทเกษตรรุ่นใหม่ รุ่นที่ 3 จำนวน 200 ราย เพื่อนำมาพัฒนาต่อไป

เมื่อเร็ว ๆนี้ ที่ โรงงานลำพูน บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายมันฝรั่งทอดกรอบ “เลย์” ได้จัดให้มีพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือระหว่างธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) กับบริษัทเป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด โดยมีธ.ก.ส.สนับสนุนสินเชื่อเพื่อปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกมันฝรั่งจากการเพาะปลูกด้วยระบบชลประทานเป็นระบบเทคโนโลยีน้ำหยด ซึ่งเป็นการทำเกษตรแบบสมัยใหม่ช่วยเพิ่มรายได้และสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกร สามารถจัดการควบคุมน้ำและธาตุอาหารแก่พืชที่เหมาะสม ตลอดจนลดความเสี่ยงจากผลกระทบของภัยแล้งเป็นอย่างดี เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตช่วยให้ปริมาณผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น โดยมีเป้าหมายพื้นที่การดำเนินการ 22,000 ไร่ ผลผลิต 80,000 ตัน เกษตรกรได้รับผลประโยชน์ 3,500 ครัวเรือน

นายชวาลา วงศ์ใหญ่ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการเกษตร ภูมิเอเชีย บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัดกล่าวว่า เป๊ปซี่โคสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและได้ดำเนินโครงการระบบน้ำหยดมาสู่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งที่จะช่วยให้เกษตรกรประหยัดน้ำที่ต้องใช้ ลดต้นทุนในการทำการเกษตร ทำให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการต้นทุนช่วยเพิ่มผลผลิตส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

ด้าน นายอานนท์ สุนทรนนท์ ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการเกษตร บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวเสริมว่า โครงการดังกล่าวได้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2562 ในรูปแบบของฟาร์มต้นแบบที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการทำการเกษตร ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ออกมาคือช่วยลดปริมาณการใช้น้ำได้ถึง 50% ผลผลิตเพิ่มขึ้น พัฒนาการบริหารจัดการฟาร์มให้เป็นเกษตรแม่นยำโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วย และระบบนี้จะช่วยลดต้นทุนการผลิตลงอย่างเห็นได้ชัด

ขณะที่ นายเสกสรร จันทร์ขวาง ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ยืนยันว่า ในปี 2563 ธ.ก.ส.พร้อมที่จะสนับสนุนเกษตรกรด้วยสินเชื่อที่มีเงื่อนไขผ่อนปรนตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถปรับโครงสร้างการผลิตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการตลาดเกษตรสมัยใหม่ โดยทาง ธกส. พร้อมสนับสนุนสินเชื่อวงเงิน 300 ล้านบาท ในการพัฒนาการผลิตด้วยการเปลี่ยนใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากระบบชลประทานเป็นระบบเทคโนโลยีน้ำหยด เกษตรกรผู้สนใจสามารถติดต่อขอสินเชื่อได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาใกล้บ้าน

ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. ชี้ปัญหาภัยธรรมชาติ ภาวะตลาดโลกและนโยบายรัฐ ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรเดือนตุลาคม 2563 เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ยางพาราแผ่นดิบ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น ด้านข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกเหนียว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ น้ำตาลทรายดิบ สุกรและกุ้งขาวแวนนาไม มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง

นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนตุลาคม 2563 โดยสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาอยู่ที่ 9,479 – 9,628 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.05 – 1.63 เนื่องจากปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรงในประเทศออสเตรเลีย ส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลงร้อยละ 90 จึงมีสต็อกข้าวไม่เพียงพอต่อการบริโภค ทำให้ประเทศออสเตรเลียอาจนำเข้าข้าวจากประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคม ยางพาราแผ่นดิบ ชั้น 3 ราคาอยู่ที่ 48.00 – 48.25 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.23 – 0.75 เนื่องจากความต้องการใช้ยางพาราภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากมาตรการภาครัฐ ประกอบกับคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดลดลงจากภาวะฝนตกชุกซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยางพารา มันสำปะหลัง ราคาอยู่ที่ 1.77 – 1.82 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.57 – 3.41 เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูกาลผลิตปี 2563/64 ผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มาก ประกอบกับความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากต่างประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง และปาล์มน้ำมัน ราคาอยู่ที่ 4.07 – 4.15 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.25 – 2.22 เนื่องจากราคาน้ำมันปาล์มดิบยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความต้องการใช้พลังงานไบโอดีเซลภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น จึงผลักดันให้ราคาปาล์มน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ด้านสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาอยู่ที่ 13,067 – 13,365 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.57 – 2.79 เนื่องจากผลผลิตข้าวหอมมะลิเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือนตุลาคม ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ประกอบกับโรงสียังคงประสบปัญหาสภาพคล่องซึ่งอาจเป็นปัจจัยสำคัญในการกดดันราคาข้าวในตลาด ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคาอยู่ที่ 14,777 – 15,091 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.77 – 2.83 เนื่องจากผลผลิตข้าวเหนียวนาปีเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือนตุลาคม ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ราคาอยู่ที่ 7.56-7.60 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.50 – 1.00 เนื่องจากปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นในช่วงช่วงฤดูเก็บเกี่ยวรุ่นแรก (เดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน) ขณะที่ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตอาหารสัตว์คาดว่าทรงตัวตามสภาวะการบริโภคเนื้อไก่ที่ทรงตัว น้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก ราคาอยู่ที่ 11.74 – 11.86 เซนต์/ปอนด์ ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.50 – 1.50 (8.80-8.85 บาท/กก.) เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความต้องการเอทานอลที่ลดลงในบราซิล ซึ่งอาจกระตุ้นให้โรงงานน้ำตาลของบราซิลเพิ่มสัดส่วน

การผลิตน้ำตาลมากกว่าผลิตเอทานอล ประกอบกับคาดว่าจะมีผลผลิตน้ำตาลในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ทำให้มีผลผลิตน้ำตาลส่วนเกิน สุกร ราคาอยู่ที่ 76.12 – 76.86 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.28 – 2.23 เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลกินเจปี 2563 (ช่วงวันที่ 17 – 25 ตุลาคม 2563) ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งงดการบริโภคเนื้อสุกร เนื้อไก่ และไข่ไก่ ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรลดลง และ กุ้งขาวแวนนาไม ราคาอยู่ที่ 137.50 – 138.50 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.36 – 1.08 เนื่องจากความต้องการบริโภคในประเทศชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ และเข้าสู่เทศกาลกินเจ ประกอบกับสถานการณ์ราคากุ้งโลกยังอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องเป็นปัจจัยกดดันให้ราคากุ้งในประเทศลดลง

หนึ่งในกลไกเพื่อกระจายความเจริญจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นหรือพื้นที่ก็คือ “การลดความเหลื่อมล้ำ” โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดลักษณะของการกระจุกตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉพาะกลุ่มคนบางกลุ่ม (โดยเฉพาะในส่วนกลาง) ขณะที่เศรษฐกิจในระดับภูมิภาคหรือท้องถิ่นกลับหยุดชะงัก หรือไม่เติบโตเท่าที่ควร อันเป็นอุปสรรคสำคัญของการกระจายความเจริญตามนโยบายของภาครัฐ

ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้บรรจุวาระการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจฐานรากเป็นวาระเร่งด่วน โดยในยุทธศาสตร์ชาติที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม จะมีแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่ 16 เรื่อง “เศรษฐกิจฐานราก ที่มีวัตถุประสงค์คือ ส่งเสริมและพัฒนากลไกและโครงสร้างดูดซับมูลค่าทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้กลับสู่ชุมชน เพื่อสร้างการเติบโตและการหมุนเวียนของเศรษฐกิจฐานราก ผ่านการรวมตัวของสมาชิกในชุมชนและกระบวนการการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกลับสู่สมาชิก รวมทั้งพัฒนาช่องทางและศูนย์กลางตลาดสินค้าชุมชน

นั่นจึงเป็นที่มาของการสนับสนุนทุนวิจัย “มหาวิทยาลัยกับการพัฒนากลไกเพื่อดูดซับเศรษฐกิจภายในพื้นที่” ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่มีการให้ทุนกับมหาวิทยาลัยในการเข้าไปสร้าง “ต้นแบบ” ทำให้เห็นถึง “กลไก” “ข้อมูล” “กระบวนการ” รวมถึง “ปัจจัยแห่งความสำเร็จ” และ “ปัจจัยแห่งความล้มเหลว” ที่ของการสร้างกลไกดูดซับเศรษฐกิจผ่านกลไกของมหาวิทยาลัย โดยหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ได้รับทุนนี้ก็คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ภายใต้ชื่อ “โครงการการวิจัยและพัฒนาระบบกลไกดูดซับเศรษฐกิจผ้าพื้นถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมหาวิทยาลัยเป็นตลาด”

“การที่เราเลือกนำผ้ามาเป็นประเด็นวิจัยนั้น เพราะมหาวิทยาลัยเรามีทุนเดิมที่ใช้ในการพัฒนาผ้าพื้นถิ่นนครศรีธรรมราชมาก่อน มีการทำงานวิจัยผ้าพื้นถิ่นมาหลายสิบปี ทั้งงานวิจัยที่ได้รับทุนจาก สกสว. (สกว.เดิม) . และงานวิจัยอื่นๆ ซึ่งพอมาทำกระบวนการพัฒนาโจทย์ ที่มีการวิเคราะห์ทั้งอุปสงค์และอุปทาน วิเคราะห์ความต้องการใช้ผ้าพื้นถิ่นในมหาวิทยาลัย ในส่วนของความจำเป็นในการใช้ผ้าพื้นถิ่นของมหาวิทยาลัยใน 13 รายการ เราพบว่ามีปริมาณผ้าที่ต้องใช้ในกิจการเฉพาะของวิทยาเขตนครศรีธรรมราชรวมแล้วกว่า 1 แสนเมตรต่อปี ซึ่งคิดเป็นมูลค่ามหาศาล” ผศ.สุรศักดิ์ แก้วอ่อน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.นครศรีธรรมราช กล่าวถึงที่มาของการเลือกผ้าทอพื้นถิ่น เป็นโจทย์ร่วมของชุดโครงการวิจัยนี้

ภายใต้โครงการที่มีงานวิจัยย่อย 5 กลุ่มงาน รวม 9 โจทย์วิจัย ได้มีการผู้วิจัยเชิญกลุ่มชุมชนผู้ผลิตผ้าพื้นถิ่นกลุ่มต่างๆ ในจังหวัดมาร่วมทำ workshop เพื่อพัฒนาโจทย์ โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมจากชุมชน จับคู่โจทย์วิจัยที่ตรงกับตัวผลิตภัณฑ์ที่มหาวิทยาลัยต้องการ และตรงกับศักยภาพของชุมชน โดยมีชุมชนที่ผลิตผ้าพื้นถิ่น 3 ประเภท ได้แก่ ผ้ามัดย้อม ผ้าบาติก และผ้ายกเมืองนคร เข้าร่วมทั้งหมด 6 ชุมชน ได้แก่ (1)วิสาหกิจชุมชนต้นน้ำตาปีแฮนด์เมด อ.พิปูน (2)วิสาหกิจชุมชนสวนขันเกษตรยั่งยืน อ.ช้างกลาง (3)วิสาหกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรผสมผสาน อ.นบพิตำ (4)กลุ่ม 4 ป. บาติก อ.นบพิตำ (5)กลุ่มสวนตาเหน่ง อ.สิชล และ (6)กลุ่มผ้าทอบ้านตรอกแค อ.ชะอวด

ผอ.สวพ. กล่าวถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากวิจัยว่า ทีมวิจัยได้เข้าไปช่วยพัฒนากลุ่มผู้ผลิตผ้าในชุมชนทั้ง 6 แห่ง ในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่น มีการนำสีธรรมชาติ ที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่น มาย้อมเป็นผ้ามัดย้อม ลายดอกขัน สีต้นประ มาย้อมผ้า เผื่อสร้างอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ใช้เทคนิค Eco-Print ตรึงสีและกลิ่นอยู่ในผ้า ใช้เทคโนโลยีนาโนกับผ้าคลุมไหล่ที่ทำให้กันน้ำกันยูวีและแบคทีเรีย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการทำผลิตภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์เหล่านี้ให้เป็นสินค้าที่มีมาตรฐานและตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งในที่นี้คือมหาวิทยาลัยและคนในมหาวิทยาลัย รวมถึงทำให้เกิดการนำผ้าเหล่านี้ไปใช้ในกิจกรรมของมหาวิทยาลัยด้วย

“ตอนที้ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ มีการรณรงค์ให้บุคลากรนักศึกษา รวมถึงนักเรียนในโรงเรียนสาธิต แต่งกายด้วยชุดผ้าพื้นถิ่น รณรงค์ให้ใช้กระเป่าที่มีผ้าพื้นถิ่นเป็นส่วนประกอบ มีการนำผ้ายกเมืองนครเข้าไปตบแต่งห้องประชุมของมหาวิทยาลัยรวมถึงผนังหอประชุมใหม่ของโรงแรมของเรา ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ได้รับคัดเลือกจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรมให้เป็น 1 ใน 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีความพร้อมในการนำผ้าพื้นถิ่นสู่สากล”

ปัจจุบัน คณะผู้วิจัยกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ ปกปริญญาบัตร ชุดครุยในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร Bed sheet บาติก และเสื้อมัดย้อมสำหรับแต่ละคณะ ซึ่งทั้งหมดนี้ เมื่อคำนวณตัวเลขออกมาพบว่าจะทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชเป็นตลาดดูดซับเศรษฐกิจผ้าพื้นถิ่นให้กับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 9,008,380 บาท โดยจำนวนเงินดังกล่าว ทำให้เกิดการกระจายรายได้ในพื้นที่ 2,491,599 บาท ต้น

ผศ. สุรศักดิ์ สรุปว่า หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนงานวิจัยโครงการนี้ คือระบบกลไกที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้จริง ภายใต้ “แบรนด์ภูมิภัฏ” มีช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งแบบ online และ offline โดยมีการร่างประกาศมหาวิทยาลัยเพื่อผลักดันในระดับนโยบาย รวมถึงมีหน่วยงานจัดหารายได้เป็นหน่วยสนับสนุนการดำเนินการ ซึ่งความสำเร็จครั้งนี้ได้นำไปสู่ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิจัย ในการทำวิจัยร่วมกันภายใต้หัวข้อ “การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย” ที่อยู่ภายใต้กรอบวิจัย Demand-Supply Matching Platform ของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หรือ บพท. อีกด้วย โดยวิจัยในระยะถัดไปจะพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่มที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง เช่น ผลิตภัณฑ์สำหรับนักเรียนโรงเรียนสาธิต ผลิตภัณฑ์สำหรับโรงแรมของมหาวิทยาลัย เป็นต้น

กรุงเทพฯ 8ตุลาคม 2563 – กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.) จับคู่ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมแปรรูปกับผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าไฮเปอร์มาร์เก็ตเพื่อขยายตลาด เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย พร้อมจัดโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการให้ได้รับมาตรฐานสากล ตั้งเป้า สิ้นปี 2563 ยกระดับมูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปกว่า 1 แสนล้านบาท และเตรียมขยายผลไปยังผู้ประกอบการทั่วประเทศในปี 2564

นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.)มุ่งมั่นสนับสนุนผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมแปรรูปให้ได้รับมาตรฐานสากล โดยมอบรางวัลให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับมาตรฐานสากล จำนวน 10 กิจการ พร้อมจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างผู้ประกอบการเกษตรจำนวน 30 ราย ร่วมกับ บริษัท เอก-ชัยดิสทริบิวชั่นซิสเทม จำกัด หรือ เทสโก้โลตัส บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัดหรือ ท็อปส์ และ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมได้มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่เพิ่มมากขึ้นโดยผู้แทนจากห้างสรรพสินค้าจะพิจารณาจากคุณภาพสินค้า กระบวนการผลิตและการได้รับการรับรองมาตรฐานสากลเพื่อการันตีคุณภาพผลิตภัณฑ์ พร้อมหารือโดยตรงกับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเพื่อบรรลุข้อตกลงร่วมกัน สร้างรายได้และขยายฐานลูกค้า

ที่ผ่านมา กรมฯ ได้จัดกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบมาตรฐานสากลทั้งอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวข้องพร้อมนำระบบมาตรฐานสากลเข้าไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจขยายโอกาสทางการตลาดและสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยได้ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้คำปรึกษาแนะนำประเมินความพร้อมเพื่อตรวจประเมินขอการรับรองมาตรฐานแก่สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ มีความพร้อมสำหรับจัดทำระบบระบบมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

นายใบน้อยกล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับการดำเนินงานในปีนี้ ได้เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการให้ได้รับมาตรฐานระบบต่างๆ อาทิ มาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ หรือ GMPมาตรฐานควบคุมดูแลความปลอดภัยในทุกกระบวนการผลิตอาหาร หรือ HACCPมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหารของสมาคมผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกแห่งสหราชอาณาจักร หรือ BRC มาตรฐานองค์กรธุรกิจทั่วโลกต่างให้ความสำคัญหรือ ISO9001 มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม หรือ ISO14001มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร หรือ ISO22000 และ มาตรฐานสากลเพื่อการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือ ISO45001 ซึ่งผู้ประกอบการทั้งหมดได้รับการตรวจประเมินจากหน่วยงานให้การรับรอง (ThirdParty Audit)

อย่างไรก็ดี ในปี2564 กรมฯ สมัครพนันออนไลน์ ได้ตั้งเป้าขยายการส่งเสริมผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อให้ได้รับมาตรฐานสากลในทุกภูมิภาคโดยมีศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค ทั้ง 11 ศูนย์ ขับเคลื่อน

ผู้ทรงบุกเบิกงานเกษตรกรรมแผนใหม่ในประเทศไทย จนมีความ

ก้าวหน้าเป็นลำดับมาจนถึงปัจจุบัน พระองค์ได้ทรงริเริ่มทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสมขึ้นที่ฟาร์มบางเบิด ในปี พ.ศ.2463 ถือว่าเป็นฟาร์มแห่งแรกในประเทศไทยที่มีการทำไร่แบบผสมผสาน ทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในที่ดอน และในปี พ.ศ. 2510 ท่านทรงได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาการพัฒนาการเกษตรแผนใหม่ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขากสิกรรมและสัตวบาล พระองค์ท่านทรงมุ่งมั่น และทุ่มเทวางรากฐานให้กับงานด้านการเกษตรของประเทศ นับเป็น คุณูปการต่อวงการเกษตรของประเทศไทยอย่างยิ่ง

เพราะหนึ่งในปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นของประเทศไทยในปัจจุบัน คือ ปัญหาด้านการศึกษา ซึ่งพบว่า เด็กและเยาวชนมีโอกาสได้รับการศึกษาน้อย ขาดเรียน ออกกลางคัน ไม่ได้เรียนต่อในระดับสูง หรือแม้ได้เรียนจนจบหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับแล้วแต่ก็ไม่มีอาชีพ โดยสาเหตุ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากทางบ้านมีฐานะยากจน ผู้ปกครองมีอาชีพไม่มั่นคงทำให้มีรายได้น้อยไม่เพียงพอสาหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวและอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม นับเป็นอาชีพที่มีความสำคัญอาชีพหนึ่งต่อเศรษฐกิจและสังคมชนบท

ปัจจุบันภาคการเกษตรของประเทศไทยจะมีเกษตรกรในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอยู่เป็นจำนวนมากและสินค้าไหมไทยก็ยังเป็นสินค้าที่ได้การยอมรับจากผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างดีด้วยคุณลักษณะรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ และที่สำคัญ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน ประชาชนในถิ่นทุรกันดาร และผู้ด้อยโอกาส ทรงยึดการดำเนินงานโดยให้คนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้การพัฒนาและใช้โรงเรียนเป็นฐานของการพัฒนาให้ครอบคลุมมิติต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและยังประโยชน์สุขแก่ประชาชนอย่างสมดุล ทั้งทางด้านอาหารโภชนาการสุขอนามัย การศึกษา การงานอาชีพ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมท้องถิ่น

กรมหม่อนไหมกับการดำเนินงานสนองพระราชดำริ
นางนงลักษณ์ เกตุเวชสุริยา รองอธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า ดังนั้น กรมหม่อนไหม ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาความรู้และส่งเสริมอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ให้แก่ เด็กและเยาวชนในทั้งในโรงเรียนและชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการอาชีพการเกษตร เกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และเส้นใยธรรมชาติ มีนโยบายที่จะดำเนินการถ่ายทอดสนองพระราชดาริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทำให้เกิดการสร้างอาชีพทางด้านหม่อนไหมอันจะเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ การสร้างความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนในอนาคต รวมทั้งเป็นการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และสืบทอดภูมิปัญญาด้านหม่อนไหมให้คงอยู่คู่ประเทศไทยต่อไป

ด้วยเหตุผลดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น กรมหม่อนไหมจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพด้านหม่อนไหม รวมทั้งจัดฝึกอบรมเด็กและเยาวชนทั้งในโรงเรียน ชุมชนที่สนใจศึกษางานด้านหม่อนไหม รวมทั้งการศึกษางานในศูนย์เรียนรู้เชิงอนุรักษ์ด้านหม่อนไหม ไม้ย้อมสี และผ้าไหม ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านหม่อนไหม และศูนย์ท่องเที่ยวครบวงจร ทำให้เกิดผลดี ต่อเกษตรกรที่ประกอบอาชีพหม่อนไหมให้เกิดความมั่นใจและมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพต่อไป

เป้าหมายการพัฒนา ประจำปีงบประมาณ 2563
รองอธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวต่อไปว่า โครงการสร้างทายาทหม่อนไหม จึงนับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สำคัญของกรมหม่อนไหม ที่ได้ดำเนินการในปีงบประมาณ 2563 ที่มีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในด้านยุทธศาสตร์ประเทศด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม และตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในด้านการส่งเสริมสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยกรมหม่อนไหมได้บรรจุการดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างทายาทหม่อนไหม ไว้ภายใต้ในแผนปฏิบัติราชการตามแผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โครงการสร้างทายาทหม่อนไหม ประจำปีงบประมาณ 2563 ที่กรมหม่อนไหมดำเนินการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ…

หนึ่ง เพื่อส่งเสริมอาชีพด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การสาวไหม ฟอกย้อมสีเส้นไหม การทอผ้าและการแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อนไหม ให้แก่เด็กและเยาวชนในโรงเรียน และทายาทเกษตรกรในชุมชน

สอง เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน มีรายได้ระหว่างเรียน มีอาชีพที่มั่นคงหลังจากจบการศึกษา หรือไม่มีโอกาสศึกษาต่อ สามารถสร้างอาชีพที่พึ่งพาตนเองได้

สาม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอาชีพด้านหม่อนไหม พร้อมทั้งสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ เด็ก เยาวชนและผู้มีความสามารถในการพัฒนางานด้านหม่อนไหม

สี่ เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้เกิดการเรียนรู้รวมทั้งการสร้างรายได้และอาชีพที่ยั่งยืนด้วยตนเองให้แก่เยาวชน และผู้ที่สนใจ สำหรับโครงการสร้างทายาทหม่อนไหม ที่กรมหม่อนดำเนินการ ประจำปีงบประมาณ 2563 นับเป็นโครงการสำคัญในการช่วยพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งผลที่จะได้รับตามโครงการคือ เด็กและเยาวชนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ได้รับการส่งเสริมอาชีพในงานด้านหม่อนไหม รวมทั้งสิ้น 36 โรงเรียน นักเรียนเข้าร่วม จานวน 655 ราย อีกทั้งมีทายาทเกษตรกรในชุมชน (นาร่อง) ได้รับการส่งเสริมอาชีพงานด้านหม่อนไหม รวมทั้งสิ้น 12 ชุมชน ทายาทเกษตรกร เข้าร่วม 295 ราย

โดยการดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายนั้นจะประกอบด้วย 3 กิจกรรมที่สำคัญ คือ

กิจกรรมที่ 1 : ส่งเสริมอาชีพทายาทหม่อนไหมในโรงเรียน จำนวน 28 โรงเรียน นักเรียน 480 ราย แบ่งเป็น 2 กิจกรรมย่อย ดังนี้

1) กิจกรรมฝึกอบรมด้านหม่อนไหมในโรงเรียน ตชด.เป้าหมาย 16 โรงเรียน จำนวนนักเรียน 240 ราย

2) กิจกรรมจัดนิทรรศการ จุดเรียนรู้ และการสาธิตงานด้านหม่อนไหมในโรงเรียนฯ เป้าหมาย 12 โรงเรียน จานวนนักเรียน 240 ราย

กิจกรรมที่ 2 : ส่งเสริมอาชีพด้านหม่อนไหมในชุมชน นำร่อง 6 ชุมชน จำนวนเกษตรกร 120 ราย

กิจกรรมที่ 3 : ดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมด้านหม่อนไหมในพื้นที่โรงเรียนและชุมชน รวมทั้งติดตามและให้คาแนะนำ นักเรียน และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ (สำหรับนักเรียนและเกษตรกรที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมและจัดสาธิตงานด้านหม่อนไหม) เป้าหมาย 8 โรงเรียน จำนวนนักเรียน 175 ราย และ 6 ชุมชน จำนวนเกษตรกร 175 ราย

จากการดำเนินโครงการสร้างทายาทหม่อนไหม ของกรมหม่อนไหม จะทำให้เกิดผลบนเส้นทางการพัฒนาประกอบด้วย

หนึ่ง เด็กและเยาวชนในโรงเรียนและชุมชน มีความรู้ความสามารถในงานด้านหม่อนไหม

สอง เด็กและเยาวชนในโรงเรียนและชุมชน สามารถนาความรู้ที่ได้รับไประกอบเป็นอาชีพสร้างรายได้ระหว่างเรียน และมีอาชีพที่มั่นคงหลังจากจบการศึกษา สามารถพึ่งพาตนเองได้

สาม กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการส่งเสริมอาชีพด้านหม่อนไหม พร้อมทั้งสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เด็กและเยาวชนในการพัฒนาอาชีพ และปลูกจิตสำนึกให้เกิดการเรียนรู้ การสร้างรายได้ และให้มีความผูกพัน สืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาหม่อนไหมให้มากยิ่งขึ้น

ความสำเร็จที่ฉะเชิงเทรา “สุรพงษ์ กระแสโสม” ทายาทหม่อนไหมในชุมชน ดีเด่นระดับประเทศ ปี 60
นางสาวลำแพน สารจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สระบุรี กล่าวว่า การดำเนินการในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯสระบุรี ได้ดำเนินการใน 2 กิจกรรมที่สำคัญ คือ กิจกรรมส่งเสริมอาชีพทายาทหม่อนไหมในโรงเรียนที่โรงเรียนห้วยตะปอก อำเภอท่าตะเกียบ ด้วยการส่งเสริมให้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และปลูกหม่อนผลสด จำนวน 1.5 ไร่ และอีกกิจกรรมได้แก่ การสร้างทายาทหม่อนไหมในชุมชน ซึ่งประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย โดยมีทายาทหม่อนไหมในชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับรางวัลทายาทหม่อนไหมในชุมชน ดีเด่นระดับประเทศ ประจำปี 2560 คือ นายสุรพงษ์ กระแสโสม และได้นำซึ่งความภาคภูมิใจมาสู่ครอบครัวและประชาชนในพื้นที่ เกิดการสืบทอดด้านอาชีพการเลี้ยงหม่อนไหมอย่างยั่งยืน

นายสุรพงษ์ กระแสโสม อายุ 22 ปี เจ้าของรางวัลทายาทหม่อนไหมในชุมชน ดีเด่นระดับประเทศ ประจำปี 2560 อยู่บ้านเลขที่ 43/2 หมู่ที่ 9 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา โทรศัพท์ 093-0162609 โดยเกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 เป็นบุตรของนายส่งเสริม และ นางมาลัย กระแสโสม มีพี่น้องทั้งหมด 2 คน โดยจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่โรงเรียนสนามชัยเขต และปัจจุบันกำลังศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุระนารี จังหวัดนครราชสีมา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 4

สิ่งที่ทำให้ทายาทหม่อนไหมผู้นี้ เริ่มต้นและให้ความสนใจเกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เริ่มจากทางบ้านและในหมู่บ้านมีการประกอบอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และได้รับการถ่ายทอดอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาจาก นางมะลิ อนันต์ ผู้เป็นยาย และนายเที่ยง อนันต์ ผู้เป็นตา ซึ่งประกอบอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ก้าวเริ่มแรกบนอาชีพนี้ เริ่มมาจากการที่นายสุรพงษ์ได้ช่วยตากับยายทำอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ซึ่งมีกรมหม่อนไหมโดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สระบุรี ที่มี นางสาวลำแพนสาร จันทึก เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ เข้ามาช่วยสนับสนุนในด้านต่าง ๆที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ

ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สระบุรี จึงทำให้นายสุรพงษ์ได้เกิดความประทับใจและมุ่งมั่นที่จะสานต่ออาชีพของการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันสาวไหม ที่กรมหม่อนไหมจัดขึ้น ยิ่งเป็นแรงกระตุ้นทำให้นายสุรพงษ์ได้ทุ่มเทให้กับการประกอบอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ทั้งนี้ด้วยผ้าไหมไทยนั้น มีความหลากหลายของลวดลายและกรรมวิธีการผลิตในแต่ละพื้นถิ่นแตกต่างกันไป การสาวไหมนั้น ถือเป็นขั้นตอนแรกๆ ที่สำคัญของการผลิตเส้นไหม และเป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันกรมหม่อนไหมได้สืบสานภูมิปัญญาการสาวไหมนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดให้มีงานแข่งขันสาวไหมตั้งแต่ระดับพื้นที่จนถึงระดับประเทศ

ดังนั้นการประจัดแข่งขันสาวไหมที่กรมหม่อนไหมได้ดำเนินการจัดขึ้น จึงเป็นการสร้างกระแสการตื่นตัวให้แก่กลุ่มเยาวชน เกษตรกรและผู้ประกอบการด้านหม่อนไหมในการพัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้าใหม่ไทยให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของตลาด ตลอดจนสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ผลิตผลงานที่มีคุณภาพ ร่วมสร้างจิตสำนึกให้กับคนในท้องถิ่นให้มีความรู้สึกรักและหวงแหนในวัฒนธรรมไทยอันล้ำค่า และเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามด้านหม่อนไหมให้คงอยู่ต่อไป

จากการที่นายสุรพงษ์ได้เข้าร่วมการแข่งขันการสาวไหมมาตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา โดยขณะนั้นกำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา ด้วยวัยเพียง 10 ปี และสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศมาได้อย่างต่อเนื่อง ดังนี้

พ.ศ. 2554 ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง การแข่งขันสาวไหมและประกวดเส้นไหม ระดับจังหวัด ประจำปี 2554 ประเภทไหมน้อยสาวมือ ระดับประถมศึกษา

พ.ศ. 2554 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง การแข่งขันสาวไหมและประกวดเส้นไหม ระดับประเทศ ประจำปี 2554 ประเภทไหมน้อยสาวมือ ระดับประถมศึกษา

พ.ศ. 2555 ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง การแข่งขันสาวไหมและประกวดเส้นไหม ระดับจังหวัด ประจำปี 2555 ประเภทไหมลืบสาวมือ ระดับมัธยมศึกษา

พ.ศ. 2556 ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง การแข่งขันสาวไหมและประกวดเส้นไหม ระดับจังหวัด ประจำปี 2556 ประเภทไหมน้อยสาวมือ ระดับมัธยมศึกษา

พ.ศ. 2558 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง การแข่งขันสาวไหมและประกวดเส้นไหม ระดับจังหวัด ประจำปี 2558 ประเภทไหมน้อยสาวมือ ระดับบุคคลทั่วไป

ผ้าไหมลาย ช้าง-ม้า ที่พัฒนาขึ้น

จากความสำเร็จที่เกิดขึ้น ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้กับนายสุรพงษ์ในการประกอบอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เขาทุ่มเท เกิดการเรียนรู้ในกิจกรรมเกี่ยวกับทางด้านหม่อนไหม อย่างเช่น การเลี้ยงไหม การสาวไหม การฟอกย้อม การมัดหมี่ การทอ และการถอดลวดลายของผ้ามัดหมี่ จากยาย จึงเกิดการเรียนรู้ และเสริมสร้างทักษะในขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งการสอบถามจากข้อมูลจากผู้ที่มีความรู้ และข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เพื่อหาวิธีการในการพัฒนาฝีมือทางด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการคิดค้นลายผ้าไหมขึ้นมาใหม่ 2 ลาย คือ สายบันไดสวรรค์ และลายม้า-ช้าง ซึ่งขณะนี้ทางศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯสระบุรีกำลังดำเนินการต่อยอดเพื่อการพัฒนาและถ่ายทอดไปสู่ผู้สนใจต่อไป

นายสุรพงษ์ กระแสโสม คือ อีกหนึ่งความสำเร็จทีเกิดขึ้น ภายใต้การทำงานของกรมหม่อนไหมตามโครงการทายาทหม่อนไหม อันเป็นการสืบสาน ต่อยอด อาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงให้อยู่คู่กับประเทศไทยตลอดไป

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ โชว์ความสำเร็จงาน “FTA Fair : สินค้าเกษตรไทย ก้าวไกลด้วย FTA” ที่จัดขึ้นในช่วงวันหยุดยาว 5-6 ก.ย. 2563 ณ จังหวัดพิษณุโลก ชี้! เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ ภาคเหนือตอนล่าง จำหน่ายสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของดีในพื้นที่อย่างคึกคัก ผู้ร่วมงานได้รับสาระความรู้การเตรียมความพร้อมส่งออกไปตลาดต่างประเทศ พร้อมใช้ประโยชน์จาก FTA ลดต้นทุนการทำธุรกิจ

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้จับมือสภาเกษตรกรแห่งชาติ จัดงาน “FTA Fair : สินค้าเกษตรไทย ก้าวไกลด้วย FTA” ระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน 2563 ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา จังหวัดพิษณุโลก โดยภายในงานได้เปิดพื้นที่ให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 5 จังหวัด คือ ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และอุตรดิตถ์ นำสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมาจัดแสดงและจำหน่ายจำนวน 20 บูธ

นอกจากนี้ ยังได้จัดสัมมนาให้ความรู้เรื่องการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) 13 ฉบับ ส่งออกไปตลาดคู่ค้า 18 ประเทศ เช่น อาเซียน จีน อินเดีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เป็นต้น เพื่อเตรียมความพร้อมใช้โอกาสที่ประเทศคู่ค้าลดหรือยกเลิกภาษีนำเข้ากับสินค้าที่ส่งออกจากไทย ซึ่งจะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มแต้มต่อทางการค้าในเวทีการค้าโลก

พร้อมทั้งเปิดคลีนิค FTA Center ให้ข้อมูลและคำแนะนำเรื่องการค้าระหว่างประเทศ ความตกลงการค้าเสรี กฎระเบียบทางการค้า อัตราภาษีนำเข้า และขั้นตอนการใช้ประโยชน์จาก FTA

“การจัดงานครั้งนี้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยได้รับความสนใจและการตอบรับจากผู้เข้าร่วมงานที่ได้ชม ชิม ช้อป พร้อมสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ และกิจกรรมให้ร่วมสนุก อีกทั้งยังช่วยเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้า กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่น และเชื่อมโยงสินค้าเกษตรในชุมชนกับตลาดต่างประเทศโดยใช้ FTA เป็นเครื่องมือ รวมทั้งเป็นโอกาสที่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการได้แสดงศักยภาพของสินค้าเกษตรหลากหลายประเภท ที่มีคุณภาพมาตรฐานและสามารถขยายตลาดไปต่างประเทศ” นางอรมน ย้ำ

สำหรับสินค้าสำคัญที่ขายดี เช่น ละมุดออร์แกนิกและกาแฟบ้านห้วยตมจากสุโขทัย เครื่องสำอางอะโวคาโดจากตาก ผลิตภัณฑ์เสริมความงามส้มซ่าและเมล่อนจากพิษณุโลก ผ้าทอจกลายจากอุตรดิตถ์ และน้ำมันรำข้าวบ้านเขาแหลมจากนครสวรรค์ เป็นต้น

จังหวัดนครพนม ได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ในพื้นที่จังหวัดนครพนม เพื่อพัฒนาจังหวัดนครพนมให้เป็นเมืองแห่งเกษตรอินทรีย์ โดยมีการพัฒนาศักยภาพและกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพดี มีมาตรฐานทั้ง GAP และ PGS และเพื่อจัดหาตลาดรองรับสินค้า และผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร ตลอดจน เชื่อมโยงตลาดแหล่งต่าง ๆ ให้สามารถกระจายสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบ

โดยสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครพนม จึงได้จัดตั้ง “ร้านพรีเมียม ฟาร์ม ช้อป นครพนม” ขึ้นเป็นร้านค้าสำหรับขายสินค้าเกษตรปลอดภัย ผลิตภัณฑ์กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครพนมให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ทั้งกลุ่มสินค้าปศุสัตว์ ประมง และพืช ด้วยการส่งเสริมเกษตรกรพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยให้ได้คุณภาพมาตรฐาน และส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ด้วยกระบวนการแปรรูป อาทิเช่นข้าว ผัก ผลไม้ พืชผักสวนครัว ผักพื้นบ้าน ปลาแดดเดียว ลูกอ็อดแช่แข็ง เนื้อโคขุน เนื้อไก่งวง ฯลฯ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสเลือกซื้อสินค้าเกษตรปลอดภัยในราคายุติธรรมจากเกษตรกรผู้ผลิตโดยตรง ตลอดจนเพิ่มช่องทางการตลาดในการจำหน่ายผลผลิตให้แก่เกษตรกร

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครพนม จึงได้ต่อยอด “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย จังหวัดนครพนม“ ขึ้น โดยได้จัดกิจกรรมคัดสรรผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร เพื่อยกระดับสินค้าเป็น “พรีเมี่ยมโปรดักส์” ของจังหวัด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เกษตรของจังหวัดนครพนม สามารถแข่งขันกับตลาดทั้งในและต่างประเทศได้

นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากที่ สศก. ในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ได้ร่วมกับ ทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอินทรีย์ และดำเนินการทบทวนสาระสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 ปรับเปลี่ยนไปสู่แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2560-2565 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในการจัดทำแผนภายใต้ยุทธศาสตร์ชาตินั้น

ล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ได้ให้ความเห็นชอบการปรับปรุงยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ 2560 – 2564 เป็นแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2560 – 2565 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งแผนปฏิบัติการดังกล่าว มีเป้าหมายอัตราการขยายตัวของมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์เฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี ขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 1.3 ล้านไร่ และจำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ ไม่น้อยกว่า 80,000 ราย ภายในปี 2565 มีประเด็นการพัฒนา 3 ด้าน ได้แก่ ประเด็นการพัฒนาที่ 1 ส่งเสริมการวิจัย พัฒนาฐานข้อมูล และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ประเด็นการพัฒนาที่ 2 พัฒนาการผลิตและการบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ ประเด็นการพัฒนาที่ 3 พัฒนาการตลาด การบริการ และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

สำหรับปีงบประมาณ 2564 รัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะยังคงบูรณาการขับเคลื่อนด้านเกษตรอินทรีย์กับกระทรวงต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนการดำเนินงานมากกว่า 200 โครงการ งบประมาณ 1.9 พันล้านบาท ซึ่งจากการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาเห็นได้ชัดว่า การส่งเสริมการบริโภคเกษตรอินทรีย์ นับว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก อาทิ โครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย ที่กระทรวงเกษตรฯ ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานเกี่ยวข้อง เพื่อขยายการบริโภคเกษตรอินทรีย์ให้โรงพยาบาล และสถานบริการสาธารณสุข ซึ่งในปี 2560-2562 ได้ดำเนินการไปแล้วในพื้นที่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขรวม 896 แห่ง โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งจำนวน 780 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีการขยายการบริโภคเกษตรอินทรีย์ไปยังกลุ่มโรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการอาหารกลางวันปลอดภัย ปลอดสารพิษ ป้องกันโรคให้แก่นักเรียน และจะยังคงเดินหน้าขยายผลไปยังกลุ่มต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งโรงแรม รีสอร์ท และร้านอาหาร ตลอดจนการส่งเสริมเกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ และเปิดตลาดสีเขียวขายผักปลอดภัยในสถานที่ต่างๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2560-2564 (1 ล้านไร่) เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรผลิตข้าวอินทรีย์ตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และขยายพื้นที่การผลิตข้าวให้ได้การรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์ Organic Thailand โดยในช่วงที่ผ่านมา 2560-2562 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 5,818 กลุ่ม เกษตรกร 130,082 ราย รวมพื้นที่ 1.21 ล้านไร่ มีเกษตรกรผ่านเกณฑ์ประเมินแล้ว 4,873 กลุ่ม เกษตรกรจำนวน 103,492 ราย พื้นที่ 0.922 ล้านไร่ ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรอยู่ในระยะปรับเปลี่ยน 4,034 กลุ่ม 85,762 ราย 0.74 ล้านไร่ และมีเกษตรกรที่ได้รับรองการผลิตข้าวอินทรีย์ จำนวน 839 กลุ่ม 17,730 ราย ในพื้นที่ 0.182 ล้านไร่

ดังนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่าน ร่วมกันส่งเสริมสินค้าเกษตรอินทรีย์ด้วยการอุดหนุนและหันมาบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยสนับสนุนเกษตรกรไทยให้หันมาปลูกพืชเกษตรอินทรีย์แล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพ และสมดุลของทรัพยากรในระบบนิเวศโดยรอบ อีกทั้ง ตลาดเกษตรอินทรีย์ ยังเป็นตลาดที่น่าสนใจจากแนวโน้มและความนิยมของทั่วโลก โดยมีมูลค่าตลาดโลกสูงถึงปีละ 3.55 ล้านล้านบาท และขยายตัวต่อเนื่องทุกปี โดยปัจจุบัน ไทยมีมูลค่าตลาดเกษตรอินทรีย์ ประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยเป็นการบริโภคในประเทศ 900 ล้านบาท และตลาดต่างประเทศ 2,100 ล้านบาท ซึ่งไทยยังได้รับการยอมรับว่ามีศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน มีความพร้อมทางภูมิศาสตร์และโลจิสติกส์ สามารถยกระดับสู่ผู้นำด้านเกษตรอินทรีย์ของภูมิภาคอาเซียนได้

เราได้พบกับ คุณสุทธิวัฒน์ วียะศรี หรือ “เวส” เจ้าของไร่วียะศรีเมล่อนคาเฟ่ และในฐานะประธานเครือข่ายยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ เชียงใหม่ ในระหว่างที่เขามาอบรมหลักสูตรปลูกผักเพื่อการค้า ที่แปลงปลูกของบริษัท อีสท์เวสท์ซีด จำกัด หรือที่รู้จักกันในนาม “เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง” ภายใต้ความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร ณ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา

มุมมองและความคิดของคุณเวส ถือว่าไม่ธรรมดาทีเดียว เขาเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ที่เรียนจบระดับปริญญาโท กระโดดเข้าภาคเกษตร เพราะคิดว่าเป็นอาชีพที่มีเวลาจะได้อยู่กับครอบครัว

“ในสถานะเกษตรกร อยากให้สถานะทางสังคมฐานะการเงินของเกษตรกรไทย ให้มีความนับหน้าถือตาเหมือนข้าราชการ…” รายละเอียดทั้งหมดเราอยากให้ติดตามจากคลิปที่นำมาเสนอนี้ https://www.facebook.com/watch/?v=604462373553978&extid=rpQcPUZE3DG4X0J7

อนึ่ง “เกษตรก้าวไกล” มุ่งมั่นตั้งใจที่จะนำเสนอบทบาทและผลงานของยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์อย่างต่อเนื่อง เพราะเราเชื่อว่านี้คือความหวังของภาคเกษตรไทยที่เกษตรกรส่วนใหญ่จะเริ่มมีอายุมากขึ้นและทำการเกษตรจากประสบการณ์ที่สืบทอดกันมา ไม่ได้อาศัยองค์ความรู้สมัยใหม่เท่าที่ควร

การที่มีเกษตรกรรุ่นใหม่เข้ามาและทำเกษตรในรูปแบบของการเป็นผู้ประกอบการจึงน่าจะมาพลิกเปลี่ยนเกษตรไทยแบบเดิมๆ ได้อย่างแน่นอน นี่คือความหวัง…

“เกษตรมีโอกาสเหลือเฟือ” ประโยคนี้เราไม่ได้พูดเอง แต่หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เจ้าของอมตวาจา “เงินทองเป็นมายา ข้าวปลาเป็นของจริง” พระบิดาแห่งเกษตรสมัยใหม่ได้ทรงมองเห็นเมื่อ 100 ปีที่แล้ว

เราจึงหวังว่าเกษตรกรรุ่นใหม่เหล่านี้จะมาเปลี่ยนแปลงภาคเกษตรไทยให้ดีขึ้น ให้เป็นอาชีพที่ความมั่นคงยั่งยืนและถึงวันนั้นจะต้องเป็นอาชีพที่ได้รับความนับหน้าถือตาเหมือนที่คุณเวสมุ่งหวังอย่างแน่นอนครับ

นายวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด เจ้าของเมล็ดพันธุ์ตราศรแดง กล่าวว่า ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สานต่อ เฟส 2 โครงการ ”ตู้เย็นข้างบ้านต้านภัย COVID-19” แจกเมล็ดพันธุ์ 100,000 ชุด จากเดิมเฟส 1 ได้แจกเมล็ดพันธุ์จำนวน 10,000 ชุด เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 ซึ่งครั้งนั้นมีผู้ประสงค์ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ กว่า 103,656 ราย จากกระแสตอบรับที่ดีนอกจากเมล็ดพันธุ์แล้ว ยังมีความร่วมมืออื่น ๆ ที่จะทำให้ประชาชนเป็นสุขอย่างยั่งยืน นั่นก็คือแนวคิด สร้างสุข 3 ประการ

สุขที่ 1 ส่งมอบเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี สู่ประชาชนทั่วประเทศ ผ่านโครงการต่างๆ ภายในปี 2020 เป็นมูลค่ารวมกว่า 6 ล้านบาท

สุขที่ 2 ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการปลูกผัก เรามีทีมงาน Knowledge transfer ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิกพืชที่ถูกต้อง เพื่อให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ซึ่งก็คือนโยบายหลักของบริษัทฯ นอกจากกลุ่มเกษตรกรมืออาชีพนี้แล้ว เรายังเห็นว่ากลุ่มผู้ปลูกผักมือใหม่ที่ต้องการความรู้ในด้านการปลูกพืชผัก โดยในกลุ่มนี้ข้อมูลที่สื่อสารต้องเป็นข้อมูลที่เข้าใจได้ง่าย ๆ ซึ่งเราได้มีการจัดองค์ความรู้ด้านการปลูกพืชเหล่านี้ให้เข้ากับกลุ่มผู้ปลูกผักมือใหม่นี้ด้วย ซึ่งสามารถสแกน Qr code ด้านหลังซองได้เลยครับ

สุขที่ 3 เสริมสร้าง Young Smart Farmer บุคคลต้นแบบเป็นหัวใจสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม Young Smart Farmer นี้จะเป็นเกษตรกรที่มีคุณภาพอย่างยิ่งสำหรับประเทศชาติของเรา โดยเราพัฒนาหลักสูตรร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร หลักสูตรแรกมีชื่อว่า “การผลิตผักเพื่อการค้า” ที่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ นำร่องเป็นที่แรก ให้เกษตรกรรุ่นใหม่ ได้เรียนรู้และถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อไปครับ

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในส่วนของการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนขอรับชุดเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมส่งเสริมการเกษตร ทางเว็บไซต์ https://app.doae-gov.org/landing ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2563 เวลา 12:00 น. เป็นต้นไป จนกว่าจะครบจำนวน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของโครงการที่ Facebook : ประชาสัมพันธ์กรมส่งเสริมการเกษตร

https://www.facebook.com/pr.doae โดย 1 ครัวเรือน (ทะเบียนบ้าน) จะได้รับจำนวน 1 สิทธิ์ คือ เมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัว 1 ชุด ประกอบด้วย เมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัว จำนวน 5 ชนิด สำหรับเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯสำเร็จ หากมีพื้นที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด จะเป็นผู้จัดส่งซองบรรจุเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวตามโครงการฯ ให้แก่ผู้ลงทะเบียน ส่วนผู้มีพื้นที่อยู่ต่างจังหวัด ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 1 – 10 ของกรมส่งเสริมการเกษตร จะดำเนินการส่งมอบเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวพร้อมรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการฯ ให้สำนักงานเกษตรจังหวัดและมอบหมายให้เกษตรตำบลในแต่ละพื้นที่ทำการส่งมอบเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวให้แก่ผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ

สำหรับโครงการตู้เย็นข้างบ้านต้านภัย COVID-19 ในครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตหมายอันดีในการช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวในภาวะวิกฤต ตลอดจนเป็นการบูรณาการความร่วมมือทางด้านความรู้และวิชาการจากภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนต่อยอดการดำเนินโครงการอื่น ๆ สร้างความร่วมมือในการพัฒนาภาคการเกษตรตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรและประชาชนในยุคที่เศรษฐกิจยังชะลอตัวให้สามารถพึ่งพาตนเองได้และช่วยลดรายจ่ายครัวเรือนในระยะนี้

นางปราณี จันทวร หรือ “ป้าปราณี” วัย 73 ปี อดีตประธานกลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านบางตาแผ่น ตำบลคลองวัว อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ย้อนอดีตถึงวันเริ่มต้น ว่ากลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านบางตาแผ่น ก่อตั้งเมื่อปี 2532 ด้วยจำนวนสมาชิกเริ่มต้น 14 คน ต่อมาในปี 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตก แรงงานในภาคอุตสาหกรรมถูกเลิกจ้าง และคนในหมู่บ้านเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวที่ไปทำงานในเมืองใหญ่จึงพากันกลับบ้าน ป้าปรานีจึงชักชวนให้ทุกคนเข้ามารวมกลุ่มเป็นกลุ่มจักสานผักชวา มีสมาชิกเพิ่มเป็น 93 คน อีกทั้งยังได้มีการขยายเป็นเครือข่ายอีก 5 กลุ่ม ทั้งในอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียง เช่น นครปฐม สุพรรณบุรี และชัยนาท รวมสมาชิกเครือข่ายทั้งหมดแล้วจะมีมากกว่า 700 คน

“ใครจะมาบอกว่าผักปอดหรือผักตบชวานั้นไม่มีค่า ไม่จริง สมัคร UFABET เพราะสามารถนำมาทำประโยชน์ได้มากมาย ไม่ว่าจะทำจักสาน ทำปุ๋ยหมัก หรือนำไปเพาะเห็ด หรือนำมาผลิตเป็นกระดาษสา เครื่องใช้ต่าง ๆ ก็ได้ ผักตบชวาสามารถนำมาทำได้ทุกอย่าง” ป้าปราณี กล่าว

คนกล้าคืนถิ่นรุ่นที่ 1 ที่ลาออกจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์

มาทำสวนกาแฟต่อจากบิดา ผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์กาแฟขี้ชะมดรายแรกของจังหวัดกระบี่ และเป็นทีมงานวิทยากรอบรมร่วมกับคุณสุชัญญานมาศ กล่าวเสริมว่า จุดเด่นของการอบรมคนกล้าคือ เขาสามารถละลายอัตตาของแต่ละคนให้มาหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันได้ นำความรู้และทักษะของแต่ละคน มาเสริมกันและกันได้จริง และยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้นั้นให้กับทุกคน

ถอดบทเรียนความสำเร็จ 4 ประการ
ดร.จารุวรี กล่าวว่า งานวิจัยที่ไปสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากคนกล้าฯเหล่านี้ ได้ทำให้เห็นรูปแบบความสำเร็จของผู้ประกอบการเกษตรกลุ่มตัวอย่างประสบความสำเร็จในระดับที่สามารถทำเกษตรกรกรรมโดยพึ่งพาตนเองได้ในหลายรูปแบบ ไมว่าจะเป็นการสร้างแหล่งเรียนรู้ เป็นต้นแบบแบ่งปันเกษตรเชิงวิถี, การรวมกลุ่มคนกล้าฯมีแนวคิดเดียวกัน, การรขยายเครือข่ายของคนกล้า, การสร้างโอกาสให้กับเยาวชนในพื้นที่ในการสร้างรายได้จากการทำวิถีเกษตร, รูปแบบของคนกล้าที่เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณ และคนกล้าที่ต้องการใช้เกษตรแบบธรรมชาติบำบัดเพื่อครอบครัวของตนเอง ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนมีปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จที่เหมือนกันอย่างน้อย 4 ประการ

“หนึ่ง ปัจจัยภายในบุคคล อันมาจากความมุ่งมั่นและอดทนส่วนบุคคล การมีที่ดินเป็นของตนเอง และทรัพยากรน้ำเพียงพอไว้เป็นทุนตั้งต้นที่สำคัญ และการใช้ทักษะการบริหารและทักษะทางการเกษตรกรรมเพื่อจัดการแปลง การแปรรูปสินค้า และการทำตลาด สอง มีแรงสนับสนุนของครอบครัว สาม มีการสนับสนุนจากเครือข่ายและชุมชน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ การสนับสนุนด้านการตลาด และแหล่งทุน และ สี่ การส่งเสริมจากภายนอก ทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน และหน่วยงานวิชาการ ในรูปแบบรางวัลหรือการให้ทุนวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัย”

คนกล้าร่วมเสวนา..ถอดบทเรียน
ในการเดินทางไปเยี่ยมชมโครงการวิจัยจังหวัดกระบี่และจังหวัดตรังครั้งนี้ ได้มีการไปพบปะกับคนกล้าคืนถิ่นหลายคน ภายใต้การนำของคณะกรรมการอำนวยการแผนงานการพัฒนาภูมิภาคและจังหวัด 4.0 (SIP) โดยนัดหมายกันที่ ศูนย์เรียนรู้ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ต.ดินอุดม อ.ลำทับ จ.กระบี่ ซึ่งที่นั่นมี คุณสุชัญญานมาศ สุขาพันธ์ และเหล่าคนกล้าทั้งหลายมาร่วมให้การต้อนรับ ได้บรรยายให้ฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิจัย พร้อมพาเดินชม ตามจุดต่างๆ ของศูนย์เรียนรู้ ชีวิวิถีฯ และช่วงบ่ายเหล่าคนกล้าได้ไปร่วมเสวนาถอดบทเรียนโครงการคนกล้าคืนถิ่นกันที่ร้านกาแฟขี้ชะมด ของ คุณพิศิษฐ์ เป็ดทอง คนกล้าคืนถิ่นรุ่นที่ 1 ซึ่งร้านกาแฟของเขาตั้งอยู่ในสวนกาแฟโรบัสต้าและใกล้ๆกันมีโรงเรือนเลี้ยงชะมดอันเป็นที่มาของกาแฟขี้ชะมดให้ชมด้วย โดยผู้ร่วมเสวนานอกจากจะประกอบด้วยคนกล้า 2 คนดังกล่าวแล้ว ยังมีเหล่าคนกล้าคืนถิ่นภาคใต้หลายคนเดินทางมาร่วมเสวนาในครั้งนี้

คุณสุรชัย เจ๊ะละหวัง คนกล้า ต.ดินอุดม อ.ลำทับ จ.กระบี่ เขาเป็นคนกล้า รุ่น 2 เคยทำเกษตรเชิงเดี่ยว ยาง, ปาล์ม แต่ปัจจุบันหันมาทำเกษตรผสมผสาน ทำแปรรูปข้าว ปุ๋ยหมักแห้ง น้ำจุลินทรีย์ สวนป่า โดยเชื่อมโยงเครือข่ายกับตลาดเกษตรชุมชน อีกทั้งทำหน้าที่เป็นวิทยากรอีกด้วย
คุณสรพงษ์ สุขาพันธ์ คนกล้า ต.ดินอุดม อ.ลำทับ จ.กระบี่ จบ ปวส.ช่างยนต์ ปัจจุบันทำอาชีพการเกษตรควบคู่กับทำงานอิสระ เคยเข้าอบรมคนกล้าคืนถิ่นรุ่น 2 ปี 2559 ปัจจุบันทำการเกษตรแบบผสมผสาน ป่าพืชผักสมุนไพร ที่อยู่อาศัย ในเนื้อที่ 3 ไร่ กินขายแจกจ่าย เกิดรายได้ คือรายได้กับครอบครัว มีอากาศที่บริสุทธิ์มีสีเขียวเป็นป่าของครอบครัว

คุณภูมิพงษ์ ส่งเสริม คนกล้า ต.หนองปรือ อ.รัษฏา จ.ตรัง ก่อนหน้านี้ทำงานบริษัทจนกลับมาอยู่บ้าน ตามรอยพ่อแม่ สานต่ออาชีพเกษตรกร ต่อยอดปรับแนวทางไปในทางใหม่ๆและได้เข้าร่วมกระบวนการการอบรมคนกล้าคืนถิ่นรุ่นแรก ปี 2558 จนถึง ปี 2561 ที่ได้มีการอบรมของหน่วยงานพัฒนาชุมชน ตลอดจนได้ช่วยในการติดตามแปลงของคนกล้าคืนถิ่น ที่ต้องมีการตรวจเยี่ยมแปลง ตามที่ได้รับมอบหมายให้มีการติดตาม โดยร่วมกับบ้านบ่มเพาะ บ้านเขาดิน
คุณคำรณ กองแก้ว คนกล้า ต.กะปาง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช อบรมคนกล้ารุ่นแรก ปี 2558 กิจกรรมที่มีเพาะเห็ดนางฟ้า อนุรักษ์ผึ้งโพรงไทย ชันโรง เลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตมูลไส้เดือนปลูกไผ่กิมซุง

คุณพรเทพ สุขศรีแก้ว คนกล้า ต.กะปาง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ได้ชื่อว่าเป็นนักดนตรีสายเกษตรใช้ชื่อวงว่า เทพจิปาถะ โดยมีกลุ่มนักดนตรีกลุ่มใหญ่ที่ใช้ชื่อว่าสโมสรนักดนตรี อำเภอทุ่งสง ใช้ชีวิตอยู่ในวิถีเกษตรพอเพียงตั้งกลุ่มหมู่บ้านนักดนตรีในพื้นที่ 5 ไร่ เป็นคนกล้าแตกตัว รุ่น 6/2 อบรมมาจากบ้านป้าโรส อ.ขนอม จ.นครศรีฯ
ในการเสนวนาครั้งนี้มี ดร. จารุวรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินรายการ พร้อมคณะนักวิจัยที่ร่วมเสวนาพูดคุยเพื่อถอดแบบคนกล้าคืนถิ่นแบบถึงลูกถึงคน (รายละเอียดเพิ่มเติมชมได้ที่ ถอดบทเรียนคนกล้าคืนถิ่นภาคใต้)

ถัดจากนั้นได้เดินทาง ไปยังจังหวัดตรัง เยี่ยมชมธุรกิจอาหารทะเลของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ BLISS FOOD Market โดยภายในร้านมีทั้งการให้บริการอาหารชื่อร้านปูม้าปาร์ตี้ นอกจากจะนำวัตถุดิบที่รับซื้อจากชาวประมงมาแปรรูป เป็นเมนูต่างๆ ยังปรุงสำเร็จแบบแช่งแข็งให้ซื้อไปรับประทานที่บ้าน พร้อมกับมีอาหารทะเลสดๆให้ซื้อไปปรุงที่บ้าน โดยใช้การขายผ่านระบบออนไลน์อีกด้วย

ในวันถัดมา (วันศุกร์ ที่ 21 สิงหาคม 2563) คณะกรรมการอำนวยการแผนงานการพัฒนาภูมิภาคและจังหวัด 4.0 ได้เดินทางไปที่ อ.หาดสำราญ จ.ตรัง เพื่อเยี่ยมชมการดำเนินโครงการวิจัยแพรับซื้อสัตว์น้ำบ้านทุ่งเปลว ต.ตะเสะ ที่นี่รับซื้อปูม้าเป็นหลัก และจุดที่ 2 ไปดูงานที่แพรับซื้อสัตว์น้ำ บ้านหาดสำราญ ต.หาดสำราญ เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ที่รับซื้อกุ้งเป็นการเฉพาะ จบจากการศึกษาดูงานแพรับซื้อสัตว์น้ำแล้ว คณะนักวิจัยและผู้ร่วมเดินทางทั้งหมดได้เดินทางไปยังร้านอาหารอิ่มหนำสำราญ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและรับประทานอาหารเที่ยง ซึ่งที่ร้านอาหารแห่งนี้ได้แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งมาทำเป็นธนาคารปูม้าและรับซื้อสัตว์น้ำเพื่อนำมาปรุงเป็นเมนูต่างๆขายให้กับนักท่องเที่ยว

ช่วงบ่ายได้เดินทางไปที่ร้านกาแฟมาเจอนี่ เพื่อเสวนาหัวข้อเรื่อง “การขับเคลื่อนงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์กรณีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลตลอดห่วงโซ่” โดยยกกรณีของอาหารทะเลแบรนด์ “กลางเล” มาเป็นกรณีศึกษา โดยมี ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ หัวหน้าโครงการวิจัยเป็นผู้นำเสนอ และมีผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนบริษัท ตรังวิสาหกิจเพื่อสังคม(TSE) ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทะเล ผู้มีส่วนได้เสีย(ภาคีเครือข่าย) รวมทั้งผู้แทนจังหวัด ประมงจังหวัด ตัวแทนผู้บริโภค มาร่วมกันเสวนา

ทั้งหมดนี้คือการเดินทางไปเยี่ยมชมโครงการวิจัยและร่วมพูดคุยถอดบทเรียนกับคนกล้าคืนถิ่นตามแผนงานการพัฒนาภูมิภาคและจังหวัด 4.0 (SIP) ซึ่งหวังว่าจะเกิดขบวนการเครือข่ายคนกล้าคืนถิ่นที่เข้มแข็งในการที่จะเติมพลังชีวิตให้ชุมชนให้สมดังเจตนารมย์ของ ดร. สุมิท แช่มประสิทธิ์ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว

ที่ประชุม ครม.มีมติ 25 ส.ค.63 อนุมัติการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563 อัตราไร่ละ 2,000 บาท ไม่เกิน 25 ไร่/ครัวเรือน โดยให้ฟื้นฟูการผลิตลำไยที่ได้รับผลกระทบด้านการผลิตและตลาดจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และต้องขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรภายใน 15 ก.ย.นี้

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ลำไยเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากมีศักยภาพการผลิตค่อนข้างสูง โดยในปี 2562 มีผลผลิตจำนวน 1,011,276 ตัน มูลค่าการส่งออกลำไยสด 583,297 ตัน คิดเป็น 20,812 ล้านบาท และลำไยอบแห้ง 164,575 ตัน คิดเป็น 8,780 ล้านบาท ตลาดหลักที่สำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งจากผลกระทบด้านสภาพอากาศที่ร้อนแล้งส่งผลให้ลำไยมีการออกดอกและติดผลมากแต่ผลลำไยไม่ได้คุณภาพ

รวมทั้งเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ชาวสวนลำไยได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 25 สิงหาคม 2563 ได้เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ที่ได้รับแจ้งจากสภาอาชีพเกษตรกร และมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะเลขานุการ Fruit Board เสนอโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563 เพื่อช่วยเหลือชาวสวนให้สามารถฟื้นฟูการผลิตลำไยที่ได้รับผลกระทบทั้งด้านการผลิตและการตลาด รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้มีแนวทางปฏิบัติต่อสวนลำไยเพื่อประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน

เป้าหมายของโครงการจะต้องเป็นเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563 ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรทุกครัวเรือน ประมาณ 200,000 ครัวเรือน พื้นที่ไม่เกิน 1,200,000 ไร่ และเป็นพื้นที่ลำไยที่ให้ผลผลิตแล้ว (อายุต้นลำไยตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป) อัตราไร่ละ 2,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ไร่ พร้อมเน้นย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนลำไยอย่างทั่วถึง โปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ เพื่อป้องกันการทุจริตและให้เกิดประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกรชาวสวนลำไยมากที่สุด

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า สำหรับเงื่อนไขการรับแจ้งยืนยันสิทธิ์เข้าร่วมโครงการเยียวยาชาวสวนลำไย ปี 2563 เกษตรกรที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องมีสัญชาติไทย และบรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นหัวหน้าครัวเรือนที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกลำไยกับกรมส่งเสริมการเกษตรภายในวันที่ 15 กันยายน 2563 และในกรณีที่เป็นเกษตรกรซึ่งเคยขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้ก่อนหน้านี้แล้ว (ก่อนมีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 25 สิงหาคม 2563) ขอให้มาปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันภายในวันที่ 15 กันยายน 2563 สำหรับเกษตรกรรายใหม่ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนเกษตรกรมาก่อน

หากเกษตรกรประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ ต้องมาขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 กันยายน 2563 เช่นเดียวกัน โดยต้องเตรียมเอกสารและหลักฐานการขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้พร้อม ได้แก่ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สำเนาเอกสารสิทธิ์ (ถ้ามี) สำหรับทะเบียนบ้านที่นำมาขึ้นทะเบียนเกษตรกรจะต้องมีการกำหนดบ้านเลขที่ และกรณีที่ย้ายเข้าทะเบียนบ้านใหม่ ต้องดำเนินการตามเงื่อนไขของกระทรวงมหาดไทย ก่อนวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ส่วนการจ่ายเงินให้เกษตรกรจะโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงที่เปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งจะดำเนินการตามกรอบระยะเวลาโครงการให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2563

วันนี้ (27 สิงหาคม 2563) เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานกล่าวปาฐกถาพิเศษภายใต้หัวข้อ “เกษตรทางรอดของประเทศไทย” ในพิธีเปิดงานเกษตรสร้างชาติ ครั้งที่ 2 และการสัมมนารวมพลคนสร้างชาติ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมส่งเสริมการเกษตร จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 27 – 30 สิงหาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ ฮอลล์ 9-10 อิมแพคเมืองทองธานี

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ภาคการเกษตรมีความสำคัญกับประเทศมายาวนาน และเป็นอาชีพหลักของคนไทย แต่เกษตรกรกว่า 25 ล้านราย ยังมีรายได้ไม่เพียงพอ รัฐบาลยังพยายามแก้ไขปัญหาทั้งระบบ รวมถึงปรับรูปแบบการเกษตร ให้มีการปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวมถึงส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัย มาเพิ่มผลผลิตและมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร ให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไป มีความท้าทาย และการแข่งขันมากขึ้น ซึ่งไทยต้องพยายามปรับตัวเอง แต่ต้องไม่ละทิ้งความเป็นไทย และต้องอย่าให้ใครมาทำลายความเป็นไทย

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ว่า เพื่อให้งานมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจมหภาครวมทั้งการสร้างโอกาส
ให้กับพี่น้องเกษตรกร โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนายกระดับสินค้าเกษตร และแสดงศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อเข้าสู่การแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากตลาดท้องถิ่น ตลาดภูมิภาค สู่ตลาดต่างประเทศ และตลาดออนไลน์ ให้คนเมืองได้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม และเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

ทั้งเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งย่อมจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจฐานราก มีการกระจายตัวของรายได้มากขึ้น ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคได้โดยตรง เชิญชวนพี่น้องประชาชน ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ และ
ผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมงาน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนภาคการเกษตร และทำความเข้าใจว่าเกษตรสร้างชาติ
ได้อย่างไร และสินค้าเกษตรไทย พร้อมไปตลาดโลกแล้ว

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกิจกรรมสำคัญภายในงานประกอบด้วยการพบปะ แลกเปลี่ยน พูดคุยกับเกษตรกรตัวจริง ที่เป็นต้นแบบในการประกอบอาชีพ จากการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จาก 6 แห่งทั่วประเทศ, เกษตรแปลงใหญ่ ที่รวมกลุ่มการผลิต เปลี่ยนสินค้าจากขายในประเทศ ยกระดับสินค้า Premium to fly, เครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer
ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพการเกษตร มีความรู้ และมีความภาคภูมิใจในอาชีพ สามารถสร้าง

แรงบันดาลใจให้กับทุกคนหันกลับมาทำการเกษตร เป็นอนาคตของการปฏิรูปภาคการเกษตรต่อไป ความอลังการของกล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ฟอกอากาศ หลากหลายประเภท เรียนรู้และเข้าใจกลไกการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ กระบวนการส่งเสริมผ่านการรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อเป็นเครือข่ายในการส่งต่อความรู้ไปสู่เกษตรกรรายย่อยอื่นๆ สร้างการมีส่วนร่วม

ในการปฏิบัติดูแลพื้นที่การเกษตรของตัวเองในทุกด้าน ทั้งการลดต้นทุนและการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ผ่าน ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) การเฝ้าระวังศัตรูพืช ผ่าน ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ส่งเสริมการใช้ดินและปุ๋ยที่เหมาะสมในการปลูกพืช ผ่าน ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) รวมทั้งสร้างตัวแทนเกษตรกร เพื่อส่งต่อข้อมูลข่าวสาร ผ่าน อาสาสมัครเกษตรกร (อกม.) ตื่นตาไปกับ นวัตกรรมการเกษตร โชว์เทคโนโลยีไบโอรีแอคเตอร์ ขยายเนื้อเยื่อสัปปะรดกินสด พันธุ์ MD2 และโชว์นวัตกรรมการเกษตร จากภาคีเครือข่าย เช่น หุ่นยนต์อารักขาพืช จาก ม.เกษตร

ห้ามพลาดการช้อปปิ้ง พร้อมอิ่มท้อง กับครัวไทย สินค้าเกษตรคุณภาพ product premium หลากหลายประเภท กว่า 1,000 รายการ เพื่อย้ำความมั่นใจ “อาหารไทย อาหารโลก” ภายใต้วิสัยทัศน์ “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด”

และร่วมเลือกสรรพัสตราภรณ์ กว่า 100 ร้านค้า จากแม่บ้านเกษตรกรคุณภาพ สร้างโอกาสธุรกิจเกษตร จับคู่ Business Matching เปิดโอกาสให้กับเกษตรกรไทย ได้เป็นผู้ประกอบการเกษตร พบปะผู้ส่งออก Start up
ส่งสินค้าดีมีคุณภาพสู่ตลาดสากล รวมทั้งการส่งเสริมให้เกษตรกรขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น โดยจำหน่ายผ่านตลาดเกษตรกรออนไลน์.com ฝึกอาชีพฟรี หนึ่งวันทำได้จริง 28 หลักสูตร เช่น ขนมจีนน้ำยาเห็ด ผักบุ้งดองสูตรโบราณ พวงมาลัยใบเตย การขยายพันธุ์แคคตัส น้ำพริกกากหมู รวมถึงกิจกรรมสาระบันเทิง ให้บริการความรู้แก่เกษตรกรและผู้เข้าชมงาน การล้างผักอย่างปลอดภัย คำแนะนำการปลูกพืช คลินิกพืช โชว์การ
เดินแบบผ้าไทย สาธิตการทำอาหารจากเชฟชั้นนำ มินิคอนเสริต์จากศิลปินชื่อดัง

มาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนชาติและเห็นถึงพลังของพี่น้องเกษตรกรไทยในงาน เกษตรสร้างชาติ ครั้งที่ 2 มหกรรม product premium ระหว่างวันที่ 27 – 30 สิงหาคม 2563 “Smart & Strong Together รวมพลังส่งเสริมเกษตรไทย ก้าวไกลมั่นคง”.

เมื่อวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2563 ผมได้รับคำถามจากผู้เข้าร่วมอบรมเรื่องการปลูกไม้ผลในภาชนะว่า..มีข้อมูลเรื่องการเลี้ยงนกนางแอ่นบ้างหรือไม่? ผมก็บอกว่าวันที่ 3-4 กันยายน 2563 ผมจะเดินทางไปที่หาดวนกร จ.ประจวบคีรีขันธ์ กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามโปรแกรมเขาจะมีดูงานเรื่องการทำฟาร์มเลี้ยงนกนางแอ่นอยู่ด้วย ถ้ายังไงผมจะสื่อสารมาอีกครั้งว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร ซึ่งผู้ถามท่านนี้ที่ได้คุยกันบอกว่าบ้านอยู่ที่จ.ร้อยเอ็ด (ถ้าคนร้อยเอ็ดสนใจแสดงว่าไม่ธรรมดา เพราะผมนึกไปถึงว่า “ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ” คงจะมีคนสนใจกันมากอยู่ครับ) ตอนนี้มีเกษตรกรที่นั่นเริ่มสนใจกันมาก ผมก็ถามว่าจะเลี้ยงได้หรือ เขาบอกว่าเลี้ยงได้…มีเลี้ยงกันแล้ว

ผมยอมรับว่าถ้าผู้เข้าอบรมท่านนี้ไม่ไถ่ถามก็คงยังไม่เกิดแรงบันดาลใจที่จะให้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมในทันที เพราะว่าผมมาอ่านดูโปรกรมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็พบว่าตอบโจทย์ให้กับผู้เรียนที่ถามผมเป็นอย่างมาก

โปรแกรมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำหนดเรื่องการเลี้ยงนกนางแอ่นไว้วันพุธที่ 2 กันยายน 2563 รายละเอียดดังนี้

“เวลา 13.30 น. ฟังการบรรยายและสัมภาษณ์อธิการบดี/ คณบดีคณะวนศาสตร์/ หัวหน้าโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำฟาร์มนกแอ่นกินรัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หารือแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์รังนกเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับผลิตภัณฑ์รังนก ตลอดจนการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมเกษตรกรสำหรับการจัดการฟาร์มนกแอ่นกินรังตามการปฏิบัติที่ดีทางการเกษตร ณ ศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำฟาร์มนกแอ่นกินรัง สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์หาดวนกร”

จากข้อมูลนี้ผมยังค้นไปดูย้อนหลังว่ามีการพูดถึงเรื่องการเลี้ยงนกนางแอ่นอย่างไรบ้างก็พบว่าน่าสนใจอยู่มาก โดยเฉพาะเฟสบุ๊คของ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 ข้อความว่า… ·

“KU for bio economy

วันนี้ 21 ก.ค. 63 ท่านคณบดีคณะวนศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์หัวหน้าโครงการที่ทำวิจัย เรื่องนกแอ่นกินรังได้นำผลิตภัณฑ์นกแอ่นกินรังที่ได้รับงบประมาณแผ่นดินในการสร้างบ้านนกแอ่น ที่สถานีวิจัยและฝึกนิสิตหาดวนกร จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อครั้งผมดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวนศาสตร์ ปี 2557-59 และได้ งบวิจัยจาก วช. ผ่าน สวพ มก. จนสามารถพัฒนางานวิจัยที่นำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับนกแอ่นกินรังตามมาตรฐานระดับนานาชาติ เพื่อให้สามารถสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน มาแสดงถึงความสำเร็จซึ่งเป็นผลผลิต ชุดแรกจากการวิจัยมามากกว่า 6 ปี ด้วยความภาคภูมิใจ

อาจารย์และนักวิจัยได้วิจัยและติดตาม พฤติกรรมของนกแอ่นในทุกด้านและสามารถเก็บรังนกแอ่นและสร้างผลิตภัณฑ์พื้นฐานทั้งรังนกแอ่น และ เครื่องดื่มรังนกพร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรและผู้ประกอบการให้เลี้ยงนกแอ่นกินรังได้อย่างยั่งยืนต่อไป

พร้อมกันนี้ ด้วยความรู้เชิงบูรณาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะสร้างความร่วมมือ กับเครือข่ายผู้เลี้ยงนกแอ่นกินรัง และมอบหมายสถาบันของ มก. 2 แห่งคือ สถาบันพัฒนาและค้นคว้าผลิตภัณฑ์อาหารและ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหรรมเกษตร โดยการประสานงานของสถาบันวิจัยแห่งพัฒนาแห่ง มก. ที่จะพัฒนาทั้งอาหารเครื่องดื่ม และเครื่องสำอางจากรังนกแอ่นเพื่อให้เกิดผลผลิตในเชิงพาณิชย์เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายผู้ประกอบการ และ ประเทศต่อไป

โมเดลนี้ มหาวิทยาลัยจะร่วมกันพัฒนาอย่างเต็มที่เพื่อให้งานวิจัยและนวัตกรรมที่อาจารย์และนักวิจัยดำเนินการจะต้องส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ และส่งผลต่อความกินดีอยู่ดีของเกษตรกร และผู้ประกอบการอย่างเป็นรูปธรรม ให้เป็นไปตามนโยบายประเทศที่จะมีเศรษฐกิจบนฐานชีวภาพ Bio economy

ขอขอบคุณท่านคณบดีวนศาสตร์ ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก และนักวิจัย 2 ท่าน จากคณะวนศาสตร์ ผศ.ดร.นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์ และ ผศ.ดร.แสงสรรค์ ภูมิสถาน ที่ได้พัฒนางานงานวิจัยเป็นเวลา มากกว่า 6 ปี อย่างต่อเนื่อง จนสร้างสามารถสร้างสรรค์ทั้งองค์ความรู้และนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม”

นอกจากเฟสบุ๊คของอธิการบดีแล้ว ผมยังได้พบข้อมูลจากเพจ ศูนย์การเรียนรู้การเพาะเลี้ยงนกแอ่นกินรังระบบฟาร์ม (ซึ่งภาพที่ผมนำมาประกอบก็นำมาจากเพจนี้/ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้) เพจนี้ให้ข้อมูลความเคลื่อนไหวของการการศึกษาเรื่องการเลี้ยงนกนางแอ่นกินรังระบบฟาร์มที่ดำเนินงานโดยคณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมทั้งเครือข่ายเป็นการเฉพาะ

ทั้งหมดนี้จึงน่าจะตอบโจทย์ข้อสงสัยต่างๆของผู้เรียนที่ถามผม รวมทั้งตัวผมเองที่เคยเห็นแต่คอนโดรังนกนางแอ่นหลายแห่งแต่ไม่เคยได้ลงไปดูใกล้ๆหรือพูดคุยอย่างจริงจังกับผู้เกี่ยวข้องสักครั้งหนึ่ง…

เลี้ยงนกนางแอ่นกินรัง เลี้ยงอย่างไร นกที่เลี้ยงมาจากไหน สภาพแวดล้อมต้องอย่างไร จึงจะได้ผลในเชิงพาณิชย์….?
ที่ต้องสร้างคอนโดให้นกนางแอ่นกินรังแบบที่เห็นนั้นมันจะคุ้มกันไหมในเชิงพาณิชย์ เลี้ยงแล้วตลาดอยู่ที่ไหน ไปขายใครได้บ้าง…?

สรุปก็คือว่า ท่านที่สนใจขอได้โปรดติดตามทาง “เกษตรก้าวไกล” จะได้นำมาเสนอ…เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 กันยายนนี้ ตรงจุดไหนไลฟ์สดได้เราก็จะไลฟ์สดพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้อง ตรงไหนทำเป็นข่าวเป็นบทความได้เราก็จะทำ ตรงไหนทำเป็นคลิปลงยูทูปได้ก็จะทำ…อย่าลืมท่านที่มีคำถามโปรดได้ช่วยกันถามหรือส่งคำถามมาแต่เนิ่นๆได้เลยครับ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จับมือกรมส่งเสริมสหกรณ์ เตรียมจัดสัมมนา การพัฒนาความพร้อมสหกรณ์ไทยสู่การใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) พร้อมลงพื้นที่สำรวจศักยภาพสินค้าสหกรณ์กล้วยแปรรูป จังหวัดสุโขทัย วันที่ 4 ก.ย. 63 และร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ จัดงาน “FTA Fair : สินค้าเกษตรไทย ก้าวไกลด้วย FTA” ในวันที่ 5 – 6 ก.ย. 63 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา จังหวัดพิษณุโลก

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม เปิดเผยว่า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ เตรียมจัดสัมมนา เรื่อง “การพัฒนาความพร้อมทางการค้าของสหกรณ์ไทยสู่การค้าเสรี” ในวันที่ 4 กันยายน 2563 ณ โรงแรมสุโขทัย เฮอริเทจ รีสอร์ท จังหวัดสุโขทัย เพื่อนำผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสินค้า การค้าระหว่างประเทศ การส่งออก การค้าออนไลน์ และการพัฒนาติดอาวุธให้สินค้าเกษตรไทย รับมือการแข่งขันเสรี (เอฟทีเอ) มาถ่ายทอดองค์ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ให้กับสมาชิกสหกรณ์ และเกษตรกรในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร และอุตรดิตถ์ รวม 100 คน และจะใช้โอกาสนี้ลงพื้นที่สหกรณ์กล้วยแปรรูปตำบลหนองตูม จำกัด อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เพื่อสำรวจศักยภาพสินค้ากล้วยและกล้วยแปรรูปของสหกรณ์ ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรสำคัญในพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพส่งออก และใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ขยายตลาดได้ โดยเฉพาะไปจีนซึ่งไม่เก็บภาษีนำเข้ากับสินค้าส่งออกจากไทยแล้ว

นางอรมน กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมฯ ยังร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ เตรียมจัดงาน “FTA Fair : สินค้าเกษตรไทย ก้าวไกลด้วย FTA” ในวันที่ 5 – 6 กันยายน 2563 ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา จังหวัดพิษณุโลก เพื่อเปิดพื้นที่ให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการจากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 5 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ นำสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป มาจำหน่ายกว่า 20 บูธ เช่น ละมุดออร์แกนิคสุโขทัย ผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์และข้าวบ้านข่อยสูงจากอุตรดิตถ์ มะขามและมะขามแปรรูปจากจังหวัดเพชรบูรณ์ กล้วยแปรรูปจากจังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย น้ำมันรำข้าวบ้านเขาแหลมนครสวรรค์ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอะโวคาโดจากจังหวัดตาก และผ้าทอจกลายจากอุตรดิตถ์ เป็นต้น พร้อมจัดเวทีสัมมนา สร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องช่องทางการใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้สนใจ ขยายตลาดส่งออกสินค้าเกษตรไทยสู่ต่างประเทศด้วยเอฟทีเอ โดยจะมีกิจกรรมพิเศษตลอดวัน ทั้งนาทีทองสินค้าดีลดราคา และร่วมสนุกตอบคำถามพร้อมรับของรางวัลอีกด้วย

ทั้งนี้ การจัดงานของกรมฯ ทั้งในจังหวัดสุโขทัยและพิษณุโลก จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร สหกรณ์ผู้ประกอบการ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้เข้าใจถึงช่องทางการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่ไทยทำกับ 18 ประเทศคู่ค้า ที่ส่งผลให้ประเทศเหล่านี้ไม่เก็บภาษีนำเข้ากับสินค้าส่วนใหญ่ที่ส่งออกจากไทยแล้ว เป็นการเพิ่มแต้มต่อในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดต่างประเทศ

มก. จัดงาน 100 ปี ฟาร์มบางเบิด จุดกำเนิดเกษตรสมัยใหม่ของประเทศไทย สืบสานเจตนารมณ์หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ที่ว่า “เงินทองเป็นมายา ข้าวปลาเป็นของจริง” โดยเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ได้มาเป็นประธานเปิดงาน 100 ปี ฟาร์มบางเบิด จุดกำเนิดเกษตรสมัยใหม่ของประเทศไทย และ พิธีวางพวงมาลา หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร โดยมี ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ปภพ สินชยกุล คณบดีคณะเกษตร กำแพงแสน ในนามคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน 100 ปี ฟาร์มบางเบิด จุดกำเนิดเกษตรสมัยใหม่ของประเทศไทย พร้อมด้วยคณาจารย์ นักวิจัย และเกษตรกร ร่วมในพิธี

การจัดงาน 100 ปี ฟาร์มบางเบิด จุดกำเนิดเกษตรสมัยใหม่ของประเทศไทย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 – 5 กันยายน 2563 ณ สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร คณะเกษตร กำแพงแสน อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคลากรคณะเกษตร กำแพงแสน มาร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร เพื่อให้สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร เป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ และพัฒนา สืบสานวิทยาการทางการเกษตรสมัยใหม่ ให้กับชุมชน และประเทศไทย ต่อไป

การจัดกิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสในการต่อยอดและตอกย้ำ ให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนางานทางด้านการเกษตร ของประเทศ ผ่านกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการด้านการเกษตร การประกวดแข่งขันผลผลิตทางการเกษตร อาทิ การประกวดแพะ การประกวดไก่แจ้ การประกวดแผ่นยางดิบ/การกรีดยาง กิจกรรมฝึกอบรม และนิทรรศการเพื่อถ่ายทอดวิทยาการทางการเกษตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้เยาวชน เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป ได้เรียนรู้ และนำความรู้ที่ใช้ให้เกิดประโยชน์ในภาคการเกษตรของประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับ คำกล่าวของหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ที่ว่า “เงินทองเป็นมายา ข้าวปลาเป็นของจริง” โดยมีวัตถุประสงค์ ของการจัดงานดังนี้

เพื่อฟื้นฟูผลงาน และเผยแพร่เกียรติคุณของหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ และสามารถนำมาปรับใช้กับวิถีการเกษตรในยุคปัจจุบัน
เพื่อเผยแพร่ผลงาน และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนหน่วยงานจากภาครัฐและเอกชนให้กับเยาวชน เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป
เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ GClub สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ทางการเกษตร สถานที่ท่องเที่ยว ที่ตั้งอยู่ในอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้เป็นที่ทราบโดยทั่วกัน

ภาพลักษณ์ใหม่ของงาน ILDEX Indonesia

ฝ่ายบริหารของ VNU ประกาศการรวมงาน ILDEX เข้าเป็นหนึ่งในงานของ VIV Portfolio เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดงานให้เติบโตควบคู่กันไปตามพันธกิจของ VIV ในการเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายของภาคธุรกิจตั้งแต่เมล็ดพันธุ์จนถึงอาหาร ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย VIV งาน ILDEX จะสามารถขยายเครือข่ายของปศุสัตว์และสัตว์น้ำในตลาดอินโดนีเซียและเวียดนามได้อย่างสมบูรณ์

ยิ่งไปกว่านั้นในปีนี้ทาง VIV มีการปรับภาพลักษณ์ใหม่ในตราสัญลักษณ์ประจำของงาน เช่นเดียวกันกับงานในเครือข่าย โดยมีการนำสัญลักษณ์เพชรของ VIV มารวมกับโบราณสถานประจำชาติของอินโดนีเซียอย่างบุโรพุทโธ กลายเป็นตราสัญลักษณ์ใหม่และปรับภาพลักษณ์ของงาน ILDEX Indonesia ใหม่ทั้งหมด งานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-17 กันยายน พ.ศ. 2564 ณ Indonesia Convention Exhibition (ICE) ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่

นายสุริยะ ชูวงศ์ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาบัญชีฟาร์มประจำปี 2559 หรือชื่อที่ทุกคนเรียกอย่างคุ้นเคยว่า “ลุงน้อย” เป็นผู้ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาตลอดระยะเวลา 37 ปี ควบคู่ไปกับการจดบัญชีครัวเรือน บัญชีฟาร์ม และบันทึกข้อมูลการทำการเกษตร เพื่อวิเคราะห์วางแผนการผลิต ภายใต้การส่งเสริมแนะนำของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ส่งผลให้การผลิตภาคการเกษตร ผ่านพ้นความเสี่ยงจากกลไกทางการตลาด และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ปลอดหนี้สิน

ลุงน้อย เปิดเผยว่า ตนเองสืบสานพระราชปณิธานด้านเกษตรและยึดมั่นปฏิบัติมาตลอดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2526 หลังจากได้เข้าเฝ้าฯ ในหลวง ร.9 ณ สวนจิตรลดา ซึ่งทรงอธิบายและสอนการทำเกษตรผสมผสานแบบเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงสอนให้เป็นคนรอบรู้ รอบคอบ ช่างสังเกต เมื่อได้รับพระราชดำรัสก็น้อมนำทฤษฎีไร่นาสวนผสมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางพัฒนาสวนมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นรูปแบบของการเกษตรแบบผสมผสาน ทั้งทำนา ปลูกผลไม้ปลอดสารพิษ เช่น ชมพู่ ละมุด มะนาว มะละกอ มะยงชิด กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า ตาลโตนด เป็นต้น

โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการจดบันทึกทางบัญชีในทุกกิจกรรมที่ทำ และมีการวางแผนการผลิต การตลาด และหาวิธีการลดต้นทุนการผลิต รวมถึงวางแผนการใช้จ่ายในครอบครัวอย่างเป็นระบบ แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการจดบันทึกมาคิดวิเคราะห์ ภายใต้การแนะนำจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ทำให้สามารถมองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และนำไปวางแผนในการเพาะปลูกให้ได้ผลผลิตที่สอดคล้องกับกลไกการตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี เพราะในอดีตเคยประสบปัญหาในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม จากการวางแผนการผลิตกล้วยหอมทองที่ผิดพลาด จนผลผลิตออกมามากในช่วงสินค้าล้นตลาด ทำให้ขายได้ราคาตกต่ำ แต่เมื่อนำข้อมูลจากการจดบันทึกทางบัญชีมาวิเคราะห์ จึงทำให้รู้ว่า ในช่วงเทศกาล กล้วยหอมทองจะเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ในท้องตลาดมีผลผลิตจำหน่ายน้อยมาก สูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้ จึงปรับเปลี่ยนวางแผนการเพาะปลูกกล้วยหอมทองเพื่อให้ได้ผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเทศกาล เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และจำหน่ายได้ราคาดี

“จากประสบการณ์ที่เรียนรู้และปฏิบัติมาตลอดชีวิต ปัจจุบันจึงทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้สนใจ ที่เข้ามาเยี่ยมชมสวน และยังรับเชิญเป็นวิทยากรทั่วประเทศ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชไร่ พืชสวนแบบผสมผสาน รวมถึงเทคนิคและวิธีการทำการเกษตรต่างๆ ที่ตนทำมาแล้วประสบความสำเร็จ เพื่อให้ผู้ที่มารับความรู้นำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม และในฐานะที่เป็นครูบัญชีอาสาของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จะเน้นย้ำกับผู้ที่เข้ามาเรียนรู้ทุกครั้งว่า จะต้องทำบัญชีในทุกกิจกรรมที่ทำ แล้วนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้มาวิเคราะห์วางแผนการผลิต จึงจะทำให้สามารถมองเห็นถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขได้ เพราะองค์ความรู้ทางบัญชีจะเป็นอาวุธทางปัญญาที่ส่งผลให้การผลิตภาคการเกษตร ผ่านพ้นความเสี่ยงจากกลไกทางการตลาดที่มีผลต่อการกำหนดราคาพืชผลทางการเกษตร” ลุงน้อย กล่าว

ด้าน นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ รองอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ดำเนินการสนับสนุนองค์ความรู้ทางบัญชีสู่เกษตรกร ให้ทำบัญชีได้ใช้บัญชีเป็นในภาคครัวเรือนและภาคการเกษตร มาแล้วตั้งแต่ปี 2545 ถึงปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพด้านการประกอบการเกษตรให้กับเกษตรกรได้อย่างมั่นคง โดยเกษตรกรผู้มีองค์ความรู้ทางบัญชีนอกจากจะรู้รายรับ รายจ่าย รู้ตัวตนแล้ว ข้อมูล ที่ได้บันทึกจากการประกอบการทำเกษตรจะช่วยให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิต การเก็บเกี่ยวผลผลิตและการตลาด รวมถึงต่อยอดพัฒนาพืชผลทางการเกษตรให้เป็นสินค้าที่ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ สำหรับลุงน้อย ถือว่าเป็นเกษตรกรรุ่นแรกๆ ที่กรมฯ เข้ามาแนะนำ และจากการจดบันทึกทางบัญชีอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ลุงน้อยรู้แต่ละรายการว่าจะมีรายได้ในช่วงไหนเท่าไหร่ ผลผลิตจะออกเดือนไหน ได้เรียนรู้และนำไปพัฒนาทางความคิดในวิชาชีพเกษตรกรของเขา โดยใช้หลักบัญชี การจดการรับจ่ายในครัวเรือน ตลอดจนบันทึกบัญชีต้นทุนอาชีพได้ ซึ่ง นับว่าเป็นเกษตรกรต้นแบบคนหนึ่งที่กรมฯ ภูมิใจ เพราะนอกจากนำระบบการบันทึกทางบัญชีมาใช้ด้วยตนเองจนประสบความสำเร็จแล้ว ยังทำหน้าที่ครูบัญชีอาสา นำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้เกษตรกรคนอื่นๆ

รองอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ บอกอีกว่า ก่อนที่ทางกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จะเข้ามาแนะนำ ลุงน้อยก็มีหลักคิด มีวิธีการที่ดีในการทำการเกษตรและมีวินัยทางการเงินที่ดีอยู่แล้ว แต่เมื่อได้รับองค์ความรู้ด้านบัญชีเพิ่มเติม ก็ยิ่งให้ความสำคัญกับการจดบันทึกทางบัญชีที่เป็นระบบมากขึ้น เมื่อจดบันทึกแล้วความคิดก็เป็นระบบมากขึ้น เกิดการวางแผนที่ดี ออกแบบการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะเห็นว่าลุงน้อยเป็นผู้ที่อยู่ในอาชีพเกษตรกรรมที่ไม่มีหนี้สิน เหมาะสมที่จะเป็นแบบอย่างให้กับเกษตรกรและเป็นแรงจูงใจให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ มาให้ความสำคัญกับการทำบัญชี

“กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ สนับสนุนและพัฒนาให้อาสาสมัครเกษตรกรด้านบัญชี หรือครูบัญชีอาสา เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนการถ่ายทอดความรู้การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน และบัญชีต้นทุนอาชีพให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่สนใจมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งลุงน้อยนับเป็นตัวอย่างเกษตรกรที่ยอมรับและทำความเข้าใจในความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับปัจจัยการผลิตภาคการเกษตรและการตลาดที่มีผลกระทบต่อการเกษตรที่ทำอยู่ ส่งผลให้มีความพร้อมในการปรับตัวฝ่าวิกฤติที่เกิดขึ้นสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนในภาคการเกษตรและการดำเนินชีวิตในสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยนำระบบบัญชีมาเป็นคู่มือในการพัฒนาตนเองจากเกษตรกรทั่วไป ขึ้นเป็นนักเกษตรยุคใหม่ที่คิดเป็นระบบสู่การวางแผนและบริหารจัดการการเกษตรของตนเองด้วยระบบบัญชี” รองอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวทิ้งท้าย

บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ร่วมกับ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดโครงการจัดอบรม Young Smart Farmer (YSF) หลักสูตรการผลิตผักเพื่อการค้า ระหว่างวันที่ 17-20 ส.ค. 2563 ณ ศูนย์การเรียนรู้อีสท์ เวสท์ ซีด อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ โดยมีคุณวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผจก.ทั่วไปบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด และคุณชาตรี บุญนาค รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดงาน โดยโครงการนี้เป็นหนึ่งในความร่วมมือของทั้ง 2 หน่วยงาน ภายใต้ชื่อโครงการ “ตู้เย็นข้างบ้าน” ซึ่งได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ไปเมื่อต้นเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา

คุณชาตรี บุญนาค รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ประธานเปิดงานการอบรมครั้งนี้ กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรมีนโยบายในการขับเคลื่อนงานการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น YSF เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร ซึ่งมีผลกระทบกับสังคมภาคการเกษตรมากขึ้น เนื่องจากการเกษตรกรส่วนใหญ่เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย แรงงานภาคการเกษตรเป็นผู้สูงอายุ ดังนั้นเกษตรกรรุ่นใหม่จึงความสำคัญกับภาคการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรจึงมีแนวทางในการสร้างและพัฒนาบุคลากรทางการเกษตรผ่านการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น YSF เพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ในการสืบทอดอาชีพการเกษตร มุ่งเน้นการเรียนรู้ เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้และทักษะทางด้านการเกษตร เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการเกษตรและสามารถพัฒนาองค์ความรู้และนำมาปรับใช้ในการทำการเกษตร ขอขอบคุณ บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ที่ร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในการส่งเสริมและพัฒนาทักษะเกษตรกรให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการผลิตพืชผัก ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคและแมลงศัตรูพืช รวมถึงความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์และความรู้ด้านการตลาดของพืชผัก

คุณวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผจก. ทั่วไปบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด กล่าวถึงโครงการอบรมในครั้งนี้ว่า อีสท์ เวสท์ ซีด เป็นบริษัทเมล็ดพันธุ์ผักอันดับ1ของไทย ไม่เพียงแต่เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักเท่านั้น การได้มาซึ่งเมล็ดพันธุ์แต่ละสายพันธุ์ต้องทำการวิจัย เพาะปลูกจริง และศึกษาตลาดของผักนั้น ๆ ให้มากที่สุด ก่อนที่จะออกมาเป็นสายพันธุ์ให้เกษตรกรได้ใช้กันจริง ๆ

ดังนั้นทุกสายพันธุ์ที่ออกไป จะต้องมีการเรียนรู้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่นำเมล็ดมาปลูก ดูแล เก็บเกี่ยว จนถึงนำไปขายในตลาด เราจึงมีทีมงานที่เชี่ยวชาญในแต่ละภาคส่วน ซึ่งเราเห็นว่าทีมงานเหล่านี้มีศักยภาพในการถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรรุ่นใหม่ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

สำหรับโครงการอบรม YSF หลักสูตรการผลิตผักเพื่อการค้า มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรนี้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกผักอย่างมืออาชีพ ส่งเสริมการประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้านการปลูกผัก ผู้ที่เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ด้านการปลูกผักไปประกอบเป็นอาชีพได้จริง

ส่วนระยะเวลาการจัดอบรม จัดขึ้น 4 วัน คือระหว่างวันที่ 17 – 20 สิงหาคม 2563 ณ ศูนย์การเรียนรู้อีสท์ เวสท์ ซีด อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้สนใจและผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม จำนวน 16 ราย ประกอบด้วย YSF จากจังหวัดเชียงใหม่ 10 ราย และจากจังหวัดลำปาง จำนวน 6 ราย

ทั้งนี้หลักสูตรการฝึกอบรมเน้นการผลิตผักใบ, พืชตระกูลมะเขือ และพืชตระกูลแตง ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

ความรู้เรื่องเมล็ดพันธุ์และการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์
การเตรียมวัสดุเพาะกล้า และวิธีการเพาะกล้า และการดูแลต้นกล้า
การเตรียมแปลง
การย้ายปลูกและการดูแลพืชในสภาพเปิด (Open field)
ชนิดของปุ๋ยธาตุอาหารสำคัญของพืช และ การให้ปุ๋ยในโรงเรือน การย้ายปลูกและวิธีการปลูกพืชในสภาพในสภาพปิด ( Green house production)
การจัดการน้ำและวิธีการให้น้ำพืช แบบระบบน้ำหยด
โรคพืชและการจัดการ
สารกำจัดศัตรูพืชและการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย
การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยใช้วิธีธรรมชาติและการใช้สารชีวภัณฑ์ร่วมกับการใช้สารเคมีกำจัดศตรูพืชอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการทำการเกษตร
การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
การตลาดของพืชผัก

ด้าน นายนวนิตย์ พลเคน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จ.เชียงใหม่ กล่าวว่ากรมส่งเสริมการเกษตรตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตและบริโภคพืชผัก พืชผักเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์ พืชผักสามารถนำมาแปรรูปในภาคอุตสาหกรรมเกษตรและการผลิตเมล็ดพันธุ์ โดยมีการบริโภคและจำหน่ายผลผลิตทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เป็นการสร้างรายได้ให้เกษตรกรและระบบเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการ และมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานสากล

อนึ่ง ในอนาคต อีสท์ เวสท์ ซีด จะร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร ขยายผลการอบรมไปยัง YSF กลุ่มอื่นๆ โดยครั้งต่อไปจะจัดที่จังหวัดสุพรรณบุรี ให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด และยังมีโครงการที่จะอบรมเกษตรกรทั่วไปเพื่อให้ปลูกผักและนำเมล็ดพันธุ์มาขายให้กับอีสท์ เวสท์ ซีด อีกด้วย

สยามคูโบต้า นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมคูโบต้าฟาร์ม ฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ของคูโบต้าในอาเซียน ซึ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา รวบรวมองค์ความรู้ทั้งส่วนอาคารนิทรรศการและ 9 โซนสร้างประสบการณ์จริง นำเสนอนวัตกรรมเกษตรครบวงจรให้ทุกคนได้เข้าถึง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและภาคเกษตรกรรมให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า คูโบต้าฟาร์ม มีจุดเริ่มต้นจากการที่สยามคูโบต้าได้คำนึงถึงการพัฒนาภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน ซึ่งมีความสําคัญต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาประเทศ ในปี พ.ศ.2561 สยามคูโบต้าจึงได้จึงได้ต่อยอดแนวคิด KUBOTA (Agri) Solutions หรือ KAS เกษตรครบวงจรที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคูโบต้า พัฒนาพื้นที่ 220 ไร่ ณ ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ให้กลายเป็น “คูโบต้าฟาร์ม” โดยมุ่งหวังให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่คำนึงถึงความต้องการของเกษตรกรเป็นหลัก เสมือนจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่

เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้การบริหารจัดการนวัตกรรมเกษตรทั้งเทคนิคด้านการเกษตร (Agriculture Solutions) ผสานการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร (Machinery Solutions) เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความผันแปรของผลผลิตในแต่ละปีให้น้อยที่สุด และช่วยให้เกษตรกรทราบผลผลิตในแต่ละปีได้อย่างแม่นยำมากขึ้น สามารถคาดการณ์ผลผลิตและคุณภาพ สร้างรายได้ที่มั่นคงให้เกษตรกร สนับสนุนให้เกษตรกรเข้าถึงทุกนวัตกรรมเกษตรครบวงจรที่ใช้ได้จริง อีกทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ในพื้นที่ของตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม

คูโบต้าฟาร์ม เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2563 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเป็นองค์ประธานในการเปิด “KUBOTA FARM” และพระราชทานชื่ออาคารนิทรรศการ “อาคารเกษตรชัยพัฒน์” อันหมายถึง อาคารที่เป็นแหล่งความสำเร็จและความเจริญทางการเกษตร พร้อมพระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญอักษรพระนามาภิไธย ส.ธ.ประดับที่ป้ายชื่ออาคารภายในอาคารบริเวณห้องโถงเทิดพระเกียรติ

“กษัตริย์เกษตร” (Royal Project) ซึ่งนำเสนอพระราชกรณียกิจและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านพัฒนาการเกษตร นอกจากนี้ภายในอาคารยังประกอบไปด้วย ห้องนิทรรศการ “KUBOTA FARM The Beginning” ที่นำเสนอความเป็นมาของคูโบต้าฟาร์ม ห้องนิทรรศการ “360 องศา” (KUBOTA FARM Concept) แนะนำโซนต่างๆ ในรูปแบบจอ 360 องศา ห้องนิทรรศการ “Application” นำเสนอแอปพลิเคชันปฏิทินการเพาะปลูก (KAS Crop Calendar Application) ห้องนิทรรศการ “Internet of Things” นวัตกรรมเกษตร IoT ที่ใช้ภายในคูโบต้าฟาร์ม และห้องนิทรรศการ “KUBOTA FARM Zone” ที่รวมโซลูชั่นต่างๆ ผ่านบอร์ดนิทรรศการรูปแบบ Interactive

ในการออกแบบคูโบต้าฟาร์ม เราเล็งเห็นถึงความสำคัญขององค์ความรู้แบบครบวงจรที่ครอบคลุมในภาคอุตสาหกรรมเกษตรของไทยและภูมิภาคอาเซียน แบ่งออกเป็น 9 โซน ดังนี้

โซนปรึกษาเกษตรครบวงจร (KAS Consultant Zone) แนะนำการทำเกษตรแบบครบวงจรของสยามคูโบต้าและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำเกษตรแบบตัวต่อตัว
โซนเกษตรแม่นยำข้าวและพืชหลังนา (Precision Rice Farm and Crop Rotation Zone) นำนวัตกรรมต่างๆ เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำเกษตรมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งในโซนนี้จะนำเสนอ 5 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1.โซลูชั่นปลอดนาหว่าน (Zero Broadcast) แสดงตัวอย่างด้วยการส่งเสริม 3 วิธี คือ การปักดำ การหยอดน้ำตม และการหยอดข้าวแห้ง 2.GNSS ระบบควบคุมทิศทางอัตโนมัติ 3.โดรนฉีดพ่นทางการเกษตร 4.แอปพลิเคชั่นปฎิทินการเพาะปลูก (KAS Crop Calendar Application) 5.การบริหารเครื่องจักรด้วยคูโบต้านวัตกรรมอัจฉริยะ KUBOTA Intelligent Solutions (KIS) หรือระบบ GPS telematics ที่สามารถระบุพิกัดของเครื่องจักรกลคูโบต้าและดึงข้อมูลรายงานออกมาให้เกษตรกรพัฒนาประสิทธิภาพการทำเกษตรได้

โซนเกษตรทฤษฎีใหม่ (New Theory Agriculture Zone) พื้นที่จำลองการเพาะปลูกที่น้อมนำแนวพระราชดำริในการบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรคูโบต้าและนำเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนารูปแบบการเกษตรสมัยใหม่ เพื่อให้เกิดรายได้ตลอดปี
โซนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ (Para Rubber Oil Palm and Fruits Zone) เสนอรูปแบบการเพาะปลูกเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรคูโบต้า

โซนระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Construction Zone) นำเสนอการใช้งานรถขุดคูโบต้า ที่เหมาะสำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและขุดสระน้ำเพื่อการเกษตร
โซนเกษตรสมัยใหม่พืชไร่ (Modern Field Crop Farm Zone) แสดงรูปแบบการเพาะปลูกอ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด ด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจรในทุกขั้นตอน เทคนิคการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ตลอดจนแนะนำวิธีการและนวัตกรรมเกษตรต่างๆ ที่เหมาะสมเพื่อลดการเผาหลังจากเก็บเกี่ยว
โซนวิจัยเกษตรครบวงจร (KAS Research Zone) วิจัยและพัฒนารูปแบบการทำเกษตรครบวงจรด้วยนวัตกรรมเกษตรครบวงจร รวมถึงการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพดินร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน

โซนอบรมเกษตรครบวงจร (KAS Training Zone) พื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้การเกษตรครบวงจร เพื่อสร้างทักษะให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ สามารถนำกลับไปใช้พัฒนาในพื้นที่ของตนเองได้จริง
โซนพื้นที่สร้างประสบการณ์นวัตกรรมการเกษตร (Innovation Experience Zone) พื้นที่สำหรับทดลองใช้ และเลือกเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรคูโบต้าที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกของเกษตรกร
“สยามคูโบต้า ตั้งปณิธานที่จะพัฒนาคูโบต้าฟาร์ม ให้เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ เป็นแหล่งรวมองค์ความรู้เกษตรแม่นยำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับให้เป็นเกษตรแม่นยำที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้ผลลัพธ์คุ้มค่า รวมถึงบริหารจัดการรายได้อย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาการเกษตรของไทย ตลอดจนนำพาภูมิภาคอาเซียนไปสู่เกษตรยุคใหม่” นายสมศักดิ์ กล่าว

นายพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ เปิดเผยว่า ในยุคเกษตร 4.0 ที่เทคโนโลยีก้าวล้ำไปอย่างไม่หยุดยั้ง สยามคูโบต้าได้สรรค์สร้างโซลูชั่นและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาให้เกษตรกรไทยและอาเซียนอย่างเข้าใจ ซึ่งต้องอาศัยทักษะและความรู้หลากหลายด้าน รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เข้าใจง่าย จึงปรับเปลี่ยนการนำเสนอในรูปแบบโซลูชั่นให้เกษตรกรมากกว่าการสาธิตสมรรถนะของผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว เพื่อช่วยให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนการทำเกษตรไปในทิศทางที่ถูกต้องพร้อมๆ กับการสร้างประสบการณ์ที่ดีว่าแบรนด์คูโบต้าเสมือนเพื่อนที่คอยอยู่เคียงข้าง (On Your Side)

“คูโบต้าฟาร์มนำเสนอนวัตกรรมบริหารจัดการฟาร์มที่ทำให้เกษตรเป็นเรื่องง่าย เพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพผลผลิต อีกทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงนวัตกรรมได้ง่ายขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของเครื่องจักรกลการเกษตร ด้วยนวัตกรรมและบริการต่างๆ ของคูโบต้า อาทิ KUBOTA intelligence Solutions (KIS) นวัตกรรมใหม่จากคูโบต้าที่เชื่อมต่อระหว่างสินค้าคูโบต้ากับระบบเทเลเมติกส์ (GPS Telematics) ที่จะเข้ามาเป็นผู้ช่วยลูกค้าให้รับทราบข้อมูลการทำงานต่างๆ ของตัวรถได้ตลอดเวลา

ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการบำรุงรักษาเครื่องจักรแก่ลูกค้าได้ K-rent รูปแบบการให้บริการเช่าเครื่องจักรกลการเกษตร จากสยามคูโบต้าและผู้แทนจำหน่าย ที่มีรูปแบบการเช่าทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเครื่องจักรกลเกษตรได้ง่ายขึ้น และ Getztrac ระบบแอปพลิเคชั่นจองบริการเครื่องจักรกลการเกษตรของคูโบต้าทุกชนิด โดยระบบจะทำการเชื่อมต่อจับคู่ระหว่าง เกษตรกรผู้ที่ต้องการงานบริการเครื่องจักรกลการเกษตร และลูกค้าเครื่องจักรกลการเกษตรของคูโบต้า ถูกออกแบบและพัฒนาให้สามารถแก้ไขปัญหาของการจ้างงานเครื่องจักรกลการเกษตร

สยามคูโบต้า มุ่งหวังให้คูโบต้าฟาร์มเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์คูโบต้าและลูกค้าให้เกิดประสบการณ์และความผูกพันระหว่างกัน รวมทั้งสามารถนำองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมที่ได้จากคูโบต้าฟาร์มไปเป็นแนวทางในการทำการเกษตรสมัยใหม่ในพื้นที่ของเกษตรกรเอง หากลูกค้ามีความสนใจในสินค้าสามารถติดต่อหรือขอคำแนะนำไปยังร้านค้าผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้าที่มีอยู่ทั่วประเทศ เราเชื่อมั่นว่า เมื่อพูดถึงนวัตกรรมเกษตรแล้ว ทุกคนจะต้องนึกถึง “คูโบต้าฟาร์ม” มาเป็นอันดับแรกในใจอย่างแน่นอน” นายพิษณุ กล่าว

สำหรับองค์กร หน่วยงาน และกลุ่มเกษตรกร ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมคูโบต้าฟาร์ม สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ 0 2909 1234 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ พบพระ เตรียมจัดงานใหญ่ เทศกาลอะโวคาโด้ ครั้งที่1 ชมความยิ่งใหญ่ รวมความหลากหลายสายพันธุ์อะโวคาโด้เมืองไทย ประกวดอะโวคาโด้สวยๆสายพันธุ์ดี ที่หาชมได้ยาก ชิมอะโวคาโด้ สุก สด สวย อิ่มอร่อยๆกับไอศกรีมอะโวคาโด้สุดฟิน ช๊อปอะโวคาโด้คุณภาพดี ทั้งผลสดและกิ่งพันธุ์ พร้อมกับสินค้าพื้นเมืองและสินค้าเกษตรจากเกษตรกรในท้องถิ่นอีกมากมาย พบกัน 28-30 สค.นี้ ที่ อบต.รวมไทยพัฒนา อ.พบพระ จ.ตาก

นายธนากร โปธิกำชัย นักวิชาการชำนาญการ ประจำศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรตาก หรือ ศสพ.ตาก (เกษตรที่สูง) เปิดเผยว่าจะมีการจัดงานเทศกาลอะโวคาโด้ ขึ้นที่ อ.พบพระ จ.ตาก ในงานมีกิจกรรมต่างๆที่น่าสนใจ อาทิ การประกวดอะโวคาโด้ โดยให้เกษตรกรนำผลอะโวคาโด้จากสวนของตนเอง ที่คิดว่าเป็นผลิตผลที่ดี มีคุณภาพ มาประกวดกัน ซึ่งผลอะโวคาโด้ที่จะนำมาประกวดจะต้องเป็นผล สุก ผิวดี เนื้อดี รสชาติดี สีสวย ตรงตามสายพันธุ์ ผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัลพร้อมประกาศเกียรติบัตร กลับบ้านเป็นขวัญและกำลังใจ ให้พัฒนาสายพันธุ์ให้ดียิ่งๆขึ้นไป

นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย เช่นพานักท่องเที่ยวและผู้สนใจชมสวนอะโวคาโด้ ของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ ในพื้นที่ ต.รวมไทยพัฒนา จัดไว้ 2 รอบ เช้า-บ่าย ผู้สนใจจับจองที่นั่งกันได้ โดยจะมี รถรับ-ส่ง ที่ อบต.รวมไทยพัฒนาจัดไว้บริการ มีการออกร้านจำหน่ายผลผลิตอะโวคาโด้สดๆจากชาวสวน ทั้งผลสดคุณภาพดี และกิ่งพันธุ์อะโวคาโด้ อะโวคาโด้แปรรูป เช่น ไอศกรีม สบู่ แชมพู เครื่องสำอางค์ ฯลฯ

นอกจากอะโวคาโด้แล้วยังมีสินค้าพื้นเมืองและสินค้าเกษตร จากเกษตรกรในท้องถิ่น มีกิจกรรมการแสดงของชนเผ่าพื้นเมือง ดนตรีพื้นบ้าน วงดนตรีลูกทุ่ง การแข่งขันกีฬา เปตองและฟุตบอลเยาวชน อีกด้วย

“ผมอยากเชิญชวน ผู้ที่ชื่นชอบในอะโวคาโด้และผู้สนใจทั่วไป มาเที่ยวงานนี้ครับ เพราะท่านจะได้พบกับการนำอะโวคาโด้มาโชว์และจำหน่ายมากมาย หลากหลายสายพันธุ์ ท่านจะได้ชิมอะโวคาโด้แปรรูปไอศกรีมอะโวคาโด้ อร่อยและดีต่อสุขภาพ มาพร้อมกับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากอะโวคาโด้อีกหลายรายการ ชมนิทรรศการและการบรรยายพิเศษเรื่องแนวทางการพัฒนาสายพันธุ์อะโวคาโด้ในเมืองไทย เที่ยวงานนี้มีอิ่มท้องแล้วยังได้สาระความรู้ กลับบ้านแน่นอนครับ” นายธนากร กล่าว

นายธนากร กล่าวอีกว่า การจัดงานเทศกาลอะโวคาโด้ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของ อ.พบพระ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนส่งเสริมและเผยแพร่ผลิตภัณท์แปรรูปจากอะโวคาโด้ ส่งเสริมการนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบให้สูงขึ้น เป็นการเสริมรายได้ในครอบครัวและเป็นอาชีพเสริมของเกษตรกรและประชาชน

เป้าหมายสูงสุดของการจัดงานในครั้งนี้ อยากให้ความรู้ที่ถูกต้องของพืชเศรษฐกิจใหม่ อย่างอะโวคาโด้ เป็นพืชทางเลือก ให้สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรที่ปลูกพืชผักหมุนเวียนแบบเดิมๆ อีกอย่างหากการพัฒนาเป็นไปตามแผนงานและเป้าหมายที่วางไว้ ตั้งใจจะงานเทศกาลอะโวคาโด้ พบพระ ต่อเนื่องทุกปี ในอนาคต ต้องการให้ อ.พบพระ เป็นแลนด์มาร์คอะโวคาโด้ของเมืองไทย “นึกถึงอะโวคาโด้ นึกถึงพบพระ”

อย่าลืม…28- 30 สค. นี้พบกันในงานเทศกาลอะโวคาโด้ พบพระ ณ.ลานเอนกประสงค์ อบต.รวมไทยพัฒนา อ.พบพระ จ.ตาก สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศสพ.ตาก (เกษตรที่สูง) 055-806249 อบต.รวมไทยพัฒนา 055-806245 หรือสายตรงคุณธนากร โทร.09-8759-1556

“เราต้องการพาคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่กลับมาเติมพลังชีวิตให้ชุมชน ทำชุมชนให้มีชีวิตชีวาไปพร้อมๆ กับการทำเกษตรกรรม เพราะเกษตรกรรมนี่แหละคือทางออกของประเทศ เราต้องทำให้ทุกคนรู้ว่าเป็นเกษตรกรก็สามารถรวยได้ เกษตรกรมันต้องไม่จน และเมื่อคนส่วนมากเห็นแล้วว่า เออเป็นเกษตรกรก็รวยได้นะ ทีนี้มันจะเริ่มเกิดเป็นแรงดึงดูดให้คนรุ่นใหม่ๆ เก่งๆ มาเป็นเกษตรกรกัน กลับมาช่วยกันทำให้รากฐานของประเทศเราแข็งแรง”

ข้างต้นนี้คือคำกล่าวของ ดร. สุมิท แช่มประสิทธิ์ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย ตลอด 5 ปีของการดำเนินโครงการคนกล้าคืนถิ่น ของมูลนิธิส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย กับคนกล้าที่ผ่านการอบรมจำนวน 5 รุ่น กว่า 3,400 คน มีปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ คนกล้าเหล่านั้น (หรือที่เขาบางคนเรียกตัวเองว่า คนบ้า) ยังสามารถเดินทางบนเส้นทางนี้ได้อยู่ และอะไร ทำให้ผู้ผ่านการอบรมอีกไม่น้อย ยังคงเลือกที่จะเก็บความฝันนี้เอาไว้ในใจ และใช้ชีวิตใน Safe Zone ต่อไป

นั่นจึงเป็นที่มาของชุด โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจฐานราก สังคม และสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา : โครงการคนกล้าคืนถิ่น ของมูลนิธิส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย โดยการสนับสนุนของแผนงานการพัฒนาภูมิภาคและจังหวัด 4.0 (SIP) ที่ต้องการศึกษากระบวนการที่ใช้ในการส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่สามารถกลับไปเป็นพลังขับเคลื่อนในท้องถิ่น ศึกษาผลกระทบทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจฐานรากจาก คนรุ่นใหม่ในโครงการคนกล้าคืนถิ่น และสุดท้ายคือการถอดบทเรียนจากตัวอย่างความสำเร็จที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นองค์ความรู้ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ต่อไป

ดร.จารุวรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย กล่าวระหว่างการเดินทางลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการวิจัยจังหวัดกระบี่และจังหวัดตรัง ระหว่างวันที่ 20-21 สิงหาคม 2563 ว่า จากการไปสอบถามแลกเปลี่ยนกับคนกล้าคืนถิ่นกว่า 1,000 คน เราพบว่า หัวใจของโครงการคนกล้าคืนถิ่น คือการปรับทัศนคติของคนที่เข้าอบรม ที่ส่วนใหญ่ ต้องการผันตัวเองไปทำอาชีพเกษตรกรรม ให้มองมากกว่าแค่คำว่า “เกษตรกร”

“สิ่งที่โครงการคนกล้าฯทำ ไม่ใช่การสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่เพียงอย่างเดียว แต่เราอยากให้คนที่สนใจทำการเกษตรมีมุมมองของการเป็นผู้ประกอบการเกษตร สามารถมองเห็นตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การปลูกที่ต้นน้ำ ไปถึงการแปรรูปที่กลางน้ำ และการตลาดที่ปลายน้ำ เพื่อให้เขาสามารถไปสร้างธุรกิจจากสินค้าเกษตรของเขาเองได้ เพราะจะเป็นวิธีที่จะทำให้เขาสามารถเลี้ยงตัวเองได้จริง เพราะสามารถกำหนดราคาได้เอง ซึ่งนอกจากงานวิจัยจะทำให้เห็นความสำเร็จแบบนี้จากคนกล้าคืนถิ่นหลายๆ ท่านแล้ว เรายังเห็นถึง “จุดแข็ง” ที่สำคัญของโครงการคนกล้าคืนถิ่น นั่นคือการรวมตัวกันเป็น “เครือข่ายคนกล้า” ที่เริ่มมีการแตกหน่อหรือขยายแนวคิดนี้ไปสู่เกษตรกรในพื้นที่ของตนเองแล้ว”

คุณสุชัญญานมาศ สุขาพันธ์ หนึ่งในคนกล้าคืนถิ่น ที่เลือกทิ้งรายได้มากกว่าหนึ่งแสนบาทต่อเดือนในตำแหน่งพนักงานดูแลลูกค้าให้กับโรงแรมและคาสิโนแห่งหนึ่งที่ปอยเปต มาทำสวนยางพารา 15 ไร่ต่อจากบิดา ในพื้นที่ อำเภอลำทับ จ.กระบี่ เมื่อปี 2551 จนประสบความสำเร็จ และเป็นผู้เข้าร่วมโครงการคนกล้าคืนถิ่นตั้งแต่ปี 2557 ในฐานะคนกล้าตนแบบเมื่อปี 2557 กล่าวว่าสิ่งที่โครงการคนกล้า ให้ก็คือ “กัลยาณมิตร”

“ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ฐานะอะไร สมัครพนันออนไลน์ แต่เมื่อผ่านกระบวนการคนกล้าแล้ว ทุกคนเท่าเทียมกัน สามารถทำงานร่วมกัน ไปเจอกันที่ไหน ก็จะคุยกันแบบเป็นกันเอง คุยกันได้ทุกเรื่อง ช่วยเหลือกันอย่างจริงใจ อย่างตอนนี้สวนของดิฉัน (จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง) กลายเป็นศูนย์บ่มเพาะของโครงการคนกล้า ก็จะมีเพื่อนๆ คนกล้ามาช่วยทุกครั้งที่มีกิจกรรมอบรมต่างๆ”