ขับรถไถหยอดเมล็ดข้าวโพดหลังนา-แปลงใหญ่บ้านปละ

เริ่มกันตั้งแต่เช้าที่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บ้านปละ ตำบลสะพุง อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ โดยกลุ่มนี้มี นายศรชัย สารทอง เป็นประธานแปลงใหญ่ ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 90 ราย พื้นที่ปลูก 753 ไร่ กล่าวว่า หลังจากทางกลุ่มฯ ได้เข้าร่วมโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด เพื่อพัฒนาการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา ก็ช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตจากนวัตกรรมสมัยใหม่ที่ได้รับสนับสนุนจากโครงการ เช่น รถเกี่ยว โดรน ลานตาก และมีการแปรรูปเป็นอาหารสัตว์

เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า ทำให้สมาชิกกลุ่มมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเข้าร่วมโครงการยกระดับแปลงใหญ่ สามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องผลผลิตไม่มีคุณภาพและได้ราคาที่ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากอดีตกลุ่มไม่มีรถเกี่ยวเป็นของกลุ่มเอง ทำให้สมาชิกต้องรีบเกี่ยวถึงแม้ยังไม่ครบอายุการเก็บเกี่ยวและความชื้นยังสูง เนื่องจากรถเกี่ยวมีน้อย ถ้าหากไม่รีบเกี่ยว จะไม่มีรถเกี่ยวให้ใช้งาน

ทำให้ผลผลิตไม่มีคุณภาพ จึงได้ราคาที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อกลุ่มมีรถเกี่ยวแล้ว ทำให้การเก็บเกี่ยวมีความพิถีพิถันมากยิ่งขึ้น ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพและได้ปริมาณเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนการที่กลุ่มมีโดรนที่ใช้ในการฉีดสารเคมีควบคุมศัตรูพืชหรือฮอร์โมน ซึ่งมีประสิทธิภาพกว่าการใช้แรงงานคน ทำให้มีผลผลิตเพิ่มมากยิ่งขึ้น

นายศรชัย กล่าวอีกว่า สำหรับด้านการตลาด กลุ่มได้มีการเชื่อมโยงตลาดร่วมกับบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์และบริษัทก้าวหน้า ซึ่งบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ได้มีการเปิดจุดรับซื้อให้กับสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และบริษัทก้าวหน้าก็เป็นอีกบริษัทที่สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ซึ่งจะได้สิทธิพิเศษหรือราคารับซื้อที่สูงกว่าเกษตรกรทั่วไป

นอกจากนี้ทางกลุ่มยังได้มีการแปรรูปข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นอาหารสัตว์ เช่น อาหารโค อาหารสุกร อาหารไก่ ซึ่งได้เชื่อมโยงกับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคบ้านจอก บ้านทุ่งสว่าง บ้านสะพุง ตำบลสะพุง และตำบลใกล้เคียง เช่น ตำบลเสื่องข้าว และเกษตรผู้เลี้ยงสุกร ตำบลศรีโนนงาม และกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ตำบลศรีแก้ว ซึ่งทางกลุ่มยังมีโลโก้ประจำกลุ่มเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์แบรนด์สินค้าของกลุ่ม รวมทั้งยังมีร้านที่มาร่วมเป็นเครือข่ายในการจำหน่ายอาหารสัตว์ให้กับกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ด้วย คือร้านมีโชคพานิชย์ หมู่ที่ 7 ตำบลสะพุง ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดของกลุ่ม และยังได้มีการพัฒนาช่องทางการตลาดแบบออนไลน์ เพื่อให้สินค้าของกลุ่มสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้นอีกด้วย

อนึ่ง ในวันเดียวกันนี้ทางกลุ่มยังได้ทำการเปิดป้ายที่ทำการ โดย นายนวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นประธานเปิด และยังมี นายภัทรนันท์ บุญมานัด นายอำเภอศรีรัตนะ มาร่วมเป็นเกียรติด้วย และหลังจากนั้นทางประธานแปลงใหญ่ได้เชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และนายอำเภอศรีรัตนะ ชมการสาธิตนำเมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เป็นผลผลิตมาแปรรูปเป็นอาหารสัตว์สูตรต่างๆ ตามสูจรของกรมปศุสัตว์ ซึ่งมีโครงการจะนำออกขายเป็นรายได้ของกลุ่ม พร้อมกันนั้นได้เชิญรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ไปขับรถไถหยอดเมล็ดข้าวโพดหลังนา เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เกษตรกรที่หลายคนบอกว่ายังไม่เคยมีข้าราชการระดับสูงคนไหนขับรถไถนามาช่วยปลูกข้าวโพดเลย

ช่วงบ่ายของวันเดียวกัน นายนวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้เดินทางไปที่ กลุ่มแปลงใหญ่ข้าว หมู่ 1 ตำบลผักไหม โดยมี นายไพทูรย์ ฝางคำ ประธานกลุ่มแปลงใหญ่ข้าว หมู่ 1 ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ และสมาชิกมาให้การต้อนรับและนำเสนอผลงานของกลุ่ม ซึ่งได้กล่าวว่า ทางกลุ่มได้เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ในปี 2559 มีสมาชิกจำนวน 56 ราย พื้นที่ 910 ไร่ พร้อมกับได้เข้าร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์กับทางศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุรินทร์ในปีเดียวกัน ต่อมาในปี 2560 ได้สมัครเข้าร่วมเป็นกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัดศรีสะเกษ มีสมาชิก จำนวน 65 ราย พื้นที่ 949 ไร่ มีเป้าการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวน 475,120 กิโลกรัม

ซึ่งทางกลุ่มได้ร่วมกันดำเนินการในแบบแปลงใหญ่ เพื่อช่วยกันวางแผนการผลิตและการบริหารจัดการในแนวทางเดียวกัน สามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีการกำหนดเป้าหมายการผลิตและการดำเนินงานของกลุ่มที่ชัดเจน เพื่อเป็นการเพิ่มอำนาจการต่อรองของเกษตรกร มีการใช้เทคโนโลยีและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่สมาชิกในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวทุกขั้นตอน จนถึงการเชื่อมโยงตลาดทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้เพิ่มมากขึ้น เกิดความมั่นคงในอาชีพและสามารถพึ่งพาตนเองได้ นอกจากนี้ ทางกลุ่มฯ ยังได้ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิตข้าวให้กับสมาชิกอย่างต่อเนื่อง จนสามารถผลิตข้าวในระบบเกษตรอินทรีย์ จนผลผลิตผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทยแลนด์ กลายเป็นต้นแบบองค์กรชุมชนที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการพัฒนาข้าวระบบเกษตรอินทรีย์ในระดับแนวหน้าของจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วย

“สิ่งที่เกษตรกรได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาดนั้น นอกจากเป็นการช่วยพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการผลิตมากขึ้นแล้ว เครื่องจักรกล นวัตกรรม เทคโนโลยี อาคาร ยังเป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยช่วยในกระบวนการผลิต ช่วยให้ต้นทุนลดลง ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังยกระดับมาตรฐานการผลิต การแปรรูปเพิ่มมูลค่าและเชื่อมโยงตลาดเพื่อให้เกิดการพัฒนาอาชีพ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของสมาชิกดีขึ้นและมีความยั่งยืน” นายไพทูรย์ กล่าว

อนึ่ง หลังจากรับฟังผลการดำเนินงานและแนวคิดการพัฒนาของกลุ่มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางประธานกลุ่มแปลงใหญ่ข้าว หมู่ 1 ตำบลผักไหม ได้นำรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรไปดูการปลูกถั่วเหลืองหลังนา ซึ่งถือเป็นพืชเสริมรายได้และยังช่วยปรับสภาพดินก่อนทำนาในฤดูกาลต่อไป โดยตัวแทนจำหน่ายคูโบต้าในจังหวัดศรีสะเกษตรและผู้บริหารของสยามคูโบต้าภาคอิสานมาช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องรถไถนาและรถหยอดเมล็ดถั่วเหลือง พร้อมโชว์การอัดฟางข้าว และในโอกาสนี้รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรได้ทดลองขับโดรนและขับรถไถนาที่ติดตั้งเครื่องหยอดเมล็ดถั่วเหลือง พร้อมโชว์การไถนาอีกด้วย

วันที่สองของการลงพื้นที่ คณะของ นายนวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้เดินทางไปที่ กลุ่มแปลงใหญ่วิสาหกิจชุมชนคนปลูกข้าวหอมมะลิ (โคเนื้อ หมู่ 5) ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ โดย นายนภาสิทธ์ สระทอง ประธานกลุ่ม ได้ให้ข้อมูลว่า กลุ่มของตนเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ในปี 2559 มีสมาชิกจำนวน 52 ราย พื้นที่ 790 ไร่ จำนวนโค 450 ตัว โดยเป็นแม่พันธุ์ 400 ตัว และตัวผู้ขุน 50 ตัว มีการวางแผนการผลิตโคเนื้อ (โคขุน) และการบริหารจัดการในแนวทางเดียวกัน

เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อคุณภาพสูง ซึ่งหลังจากทางกลุ่มได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ทำให้มีเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการประกอบอาชีพและเหมาะสมกับพื้นที่ มาใช้ในกระบวนการผลิต สามารถร่วมกันบริหารจัดการกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ยกระดับมาตรฐานการผลิต และเชื่อมโยงตลาดเพื่อให้เกิดการพัฒนาอาชีพ พัฒนารายได้ และคุณภาพชีวิตของสมาชิกเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

โดยสมาชิกในกลุ่มมีการยกระดับการผลิตด้วยเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ทันสมัยร้อยละ 80 ทำให้สมาชิกสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ร้อยละ 20 เพิ่มผลผลิตได้ร้อยละ 20 และทางกลุ่มยังสามารถสร้างมูลค่าทางการตลาดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 ซึ่งในอนาคตทางกลุ่มได้วางแผนที่จะขยายผลการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ หรือวัสดุที่ได้จัดซื้อ รวมถึงจัดทำแผนธุรกิจ วางแผนการใช้ประโยชน์และบริหารจัดการเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าสูงสุด รวมทั้งขยายผลในรูปแบบเครือข่ายให้มากขึ้นเพื่อสร้างพลังในการผลิตและการตลาดต่อไป

นายศราวุธ ทรงโฉม นายอำเภอห้วยทับทัน มาร่วมนายศราวุธ ทรงโฉม นายอำเภอห้วยทับทัน มาร่วมงานด้วย
ในการมาเยี่ยมชมผลการดำเนินงานของกลุ่มแปลงใหญ่เลี้ยงโคเนื้อครั้งนี้ นอกจากรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว ยังมี นายนัทธ์เวโรจน์ บูชาพัฒน์ ปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ และ นายศราวุธ ทรงโฉม นายอำเภอห้วยทับทัน ตลอดจนคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) ที่ร่วมเดินทางลงพื้นที่ ทำให้บรรยากาศการเยี่ยมชมคึกคักมาก

ในขณะที่เกษตรกรก็ยิ้มแย้มแจ่มใสยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าอาชีพเลี้ยงโคเป็นอาชีพที่เหมาะกับพวกเขา โดยปัจจุบันหันมาเลี้ยงโคกันมาก แต่ละบ้านจะมีคอกเลี้ยง โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นมาทำเป็นอาหารตามสูตรของกรมปศุสัตว์ และใช้ฟางข้าวมาเป็นอาหารเสริม ซึ่งช่วยลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี และเวลาโคมีปัญหาเรื่องโรคก็ได้ปศุสัตว์เข้ามาดูแล อีกทั้งเข้ามาคอยให้คำปรึกษาในเรื่องการจัดการฟาร์ม และสิ่งสำคัญคือเรื่องการเชื่อมโยงตลาด ราคาของโคที่ขายได้อยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ หักต้นทุนกำไรแล้วมีรายได้ดี แถมคุณภาพของเนื้อโคที่เลี้ยงได้ตลาดต้องการสูงไม่พอต่อความต้องการ และเพื่อเป็นการการันตีคุณภาพทางกลุ่มได้นำเนื้อโคมาย่างให้ชิมด้วย

ในตอนท้ายทางรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ และปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ ได้ให้สัมภาษณ์ “เกษตรก้าวไกล” ถึงความพยายามของภาครัฐที่ต้องการยกระดับอาชีพเกษตรให้เกิดความมั่นคง ตามรายละเอียดในช่วงท้ายของ LIVE นี้

นายวิศณ์ ประสานพันธ์ หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร สภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่า ช่วงเวลาที่ผ่านมาภาคการเกษตรเผชิญกับสถานการณ์ที่หลากหลายมากตั้งแต่การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ที่ขยายลุกลามไปทั่ว ภาวะฝนแล้ง น้ำท่วม กระทบผลผลิต สินค้าล้นตลาดและขาดรายได้ การดำเนินชีวิตติดขัดยากลำบากแตกต่างกันไป สภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษได้รับปัญหาต่างๆจากเกษตรกรและเข้าช่วยเหลือ แก้ปัญหา รวมทั้งหาช่องทางทำการตลาดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

ยกตัวอย่างเช่น เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงอำเภอยางชุมน้อย พื้นที่ปลูกหอมแดงกว่า 250 ไร่ ถูกน้ำจากลำน้ำมูลเอ่อเข้าท่วมเสียหายทั้งหมด ขณะที่การสำรวจแปลงหอมแดงในพื้นที่อำเภอยางชุมน้อย พบพื้นที่เสียหายมากกว่า 2,000 ไร่ เกษตรกรขอความช่วยเหลือมาทางสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ จึงเชิญจังหวัด เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ พาณิชย์จังหวัด

ร่วมปรึกษา รวมทั้ง ‘เชฟเต๋า’ นายสิรพงศ์ สังข์แก้ว วิทยากรชำนาญการ สาขาการประกอบอาหาร ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดศรีสะเกษ ว่าน่าจะแปรรูปเป็นกิมจิได้ จึงทดลองทำกิมจิรอบแรก 4 กิโลกรัม ถือว่าผ่าน รอบที่ 2 ในงานช่วยเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงพื้นที่โดนน้ำท่วม โดยเชิญแกนนำกลุ่มมาเรียนรู้การทำกิมจิแล้วปรับรสชาติ เพิ่มเป็น 40 กิโลกรัม ขายดีขึ้น รอบที่ 3 ทำจำหน่ายในงานตักบาตรของจังหวัด 140 กิโลกรัม จำหน่ายหมดเลย ภายใต้แบรนด์ ‘กิมจิต้นหอมยางชุมน้อย’

นายวิศณ์ กล่าวต่อไปว่า หอมแดงศรีสะเกษนั้นขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ด้วยเทคนิคการเพาะปลูกของคนในท้องถิ่นที่ถ่ายทอดกันมายาวนานจึงทำให้หอมแดงศรีสะเกษมีกลิ่นและรสชาติที่โดดเด่นแตกต่างจากแหล่งปลูกพื้นที่อื่น กล่าวคือหอมแดงศรีสะเกษมีเปลือกแห้งมัน สีแดงเข้มปนม่วง หัวมีลักษณะกลม มีกลิ่นฉุน ดินมูลทรายที่เป็นดินตะกอนลุ่มน้ำโบราณลำน้ำมูลและลำน้ำสาขามูลที่ทับถมมานาน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์สูง ประกอบกับเมื่อผสมกับดินโพนหรือดินจอมปลวกจึงทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ กลิ่นหอม อร่อยและเป็นเอกลักษณ์

ทั้งนี้ หอมแดงศรีสะเกษที่นำมาทำกิมจิควรมีอายุ ประมาณ 30-45 วัน เกินกว่านี้จำหน่ายเป็นแบบแห้ง ‘กิมจิต้นหอมยางชุมน้อย’ ใช้เวลาหมัก 2 วัน จำหน่ายหน้างานได้เลย หากเป็นการสั่งซื้อแบบออนไลน์หมัก 1 วันแล้วส่งวันรุ่งขึ้นถึงมือผู้บริโภครสชาติจะพอดีอร่อย ตลาดของ ‘กิมจิต้นหอมยางชุมน้อย’ ตอนนี้รับคำสั่งซื้อในจังหวัดและส่วนหนึ่งจำหน่ายผ่านออนไลน์ไปกรุงเทพฯ

ปริมาณกล่องละ 200 กรัม ราคา 35 บาท 3 กล่อง 100 บาท และ 300 กรัม ราคา 59 บาท 2 กล่อง 100 บาท ไม่รวมค่าส่ง ซึ่งสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษกำลังคิดต่อยอดร่วมกับภาคส่วนพันธมิตรเพราะถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของจังหวัด ซึ่งก่อนหน้านี้หอมแดงศรีสะเกษก็มีปัญหาล้นตลาด ส่งจำหน่ายไม่ได้ด้วยติดสถานการณ์โควิด-19 จึงจะสร้างมาตรฐานและเพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรได้จำหน่ายหอมแดงเป็นกล่องที่เพิ่มมูลค่าต่อยอดจากการจำหน่ายเป็นกิโลกรัมหรือเป็นตัน หากสนใจผลิตภัณฑ์ ‘กิมจิต้นหอมยางชุมน้อย’ สามารถสอบถามหรือสั่งซื้อได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 08-8714-9714

ขณะที่ ‘กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ไฮเลิง’ เป็นกลุ่มที่ขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรกับสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ เป็นกลุ่มเลี้ยงกบพันธุ์บูลฟร็อก ทำหนังสือขอรับความช่วยเหลือเนื่องจากกลุ่มได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ทางบริษัทที่รับซื้อกบไม่สามารถเดินทางมารับกบไปจำหน่ายได้ ทำให้กบตกค้างประมาณ 30 ตัน เกษตรกรแบกรับต้นทุนอาหารกบไม่ไหว สภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษจึงประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปรึกษา ‘เชฟเต๋า’ ด้วย ทั้งนี้ เพื่อแนะนำเรื่องการจำหน่าย แปรรูป การตลาด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ซึ่งการแปรรูปเริ่มแรกทำแล้วทดลองจำหน่ายในกลุ่มเล็กๆต่อมาทำจำหน่ายในจังหวัดปรากฏว่ายอดสั่งซื้อถือว่าดี เสียงตอบรับดี รวมทั้งรับคำสั่งซื้อจากนอกพื้นที่รวมทั้งกรุงเทพฯด้วย

โดย นางสุชาดา หินกล้า ประธานกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ไฮเลิง เปิดเผยว่า ได้รับความรู้และการแนะนำจากสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษและ‘เชฟเต๋า’ หลักคือการแปรรูป และจะไม่ทำเหมือนตามตลาดทั่วไปแต่จะแบ่งเป็นชิ้นส่วน มีน่อง ตัว น่องใหญ่ น่องเล็ก กบยัดไส้ กบอั่ว หัวกบทอด อ่อมเครื่องใน และต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็น หนังกบทอดรสจี๊ดจ๊าด รสบาร์บีคิว ขณะที่ขี้กบก็นำไปเลี้ยงหนอนโปรตีนแล้วนำหนอนกลับมาเลี้ยงกบอีกที โดยกบที่นำมาแปรรูปจะมีน้ำหนักประมาณ 3 ขีดกว่าๆ 3-4 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม ราคาประมาณ 300 – 400 บาท ถ้าแยกขายเป็นแพ็ค ขากบสด น่องกบสด ราคากิโลกรัมละ 350 บาท, กบสดตัวละ 140 บาท, หนังกบสดกิโลกรัมละ 50 บาท, หนังกบทอดกิโลกรัมละ 250-300 บาท, น่องกบทอด กิโลกรัมละ 300 – 350 บาท ส่งขายซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ งานโอทอป MOBILE พาณิชย์ รวมทั้งรับคำสั่งซื้อแล้วส่งผ่านระบบไปรษณีย์ หากสนใจทดลองรสชาติกบของกลุ่มฯสามารถสั่งซื้อหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ไฮเลิง 08-6277-7055

นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะทำงานด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ และประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า สภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมาได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลปัญหา ความต้องการ แนวทางการพัฒนาพืชหลักของเกษตรกรในจังหวัด พบว่าเกษตรกรทำเกษตรกรรมโดยใช้ความรู้ดั้งเดิมขาดการศึกษาถึงปัญหาที่แท้จริงที่ส่งผลต่อผลผลิตและเมื่อผลผลิตไม่เป็นไปตามที่คาดหวังก็จะปรับเปลี่ยนโดยการเพิ่มปุ๋ยหรือสารเคมีเพื่อบำรุง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ขาดการศึกษาถึงสาเหตุและการแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุ

นั่นคือ ดิน สภาพดินที่มีความเป็นกรดจากการที่ใช้สารเคมีที่มากเกินไป สภาเกษตรกรแห่งชาติ จึงร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ) และมูลนิธิอุษรินทร์ โดย นายศศิศ มนต์เสรีนุสรณ์ สนับสนุน ทำการศึกษาวิจัย และทดลองพื้นที่การเกษตรด้วยนาโนแคลเซียมคาร์บอเนต ชนิดแขวนลอย ในแปลงเกษตรกร 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และ นครราชสีมา ผลที่ได้เปอร์เซ็นต์ในไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกษตรกรเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 18 – 28% ภายใต้การทำเกษตรกรรมของเกษตรกรปกติเหมือนเดิมทุกประการ

แคลเซียมคาร์บอเนตที่เป็นเทคโนโลยีนาโน ชนิดแขวนลอย เป็นสารที่มีอนุภาคเป็นบวก บดในส่วนที่เป็นโมเลกุลไม่เกิน 0.5 ไมครอน โดยใช้วิธีการวัดค่าดินเป็นหลัก วิธีการ คือ ผสมน้ำฉีดพ่นที่ดิน ซึ่งจากการทดสอบแล้วเก็บข้อมูลจะตอบสนองเรื่องของผลผลิตต่อไร่ที่สูงขึ้นกว่า โดยใช้ในปริมาณที่ไม่มาก เช่น ถ้าวัดค่าดินมี PH 5 จะใช้นาโนแคลเซียมคาร์บอเนต ชนิดแขวนลอย ประมาณ 5 ลิตร/ไร่ ต้นทุนการผลิตประมาณ 300 บาท/ไร่ แต่สามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 18 – 25% เป็นอย่างต่ำ

ในบางแปลงปลูกหรือบางสายพันธุ์ของข้าวโพดอาจจะสูงถึง 30% ลดการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ลดต้นทุนการใช้แรงงาน นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เช่น ไก่ไข่ ไข่จะเป็นสีแดงมากขึ้น สุกร เนื้อจะเป็นสีชมพู ซึ่งสารสีธรรมชาติจากข้าวโพดไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรหรือผู้บริโภค ไม่ต้องพึ่งสารเร่งเนื้อแดงซึ่งเป็นอันตราย ผสมน้ำฉีดพ่นที่ใบ จากงานวิจัยของประเทศทางยุโรป และทางกลุ่มตะวันออกกลาง ในพืชปลูกใหม่ อาทิ อะโวคาโด ในแปลงปลูกทะเลทราย เช่น ประเทศอิสราเอล เพื่อลดการคายน้ำในสภาวะแล้ง ซึ่งจะทำให้ทนทานต่อสภาพแล้งได้ยาวนานขึ้น โดยสภาเกษตรกรฯกำลังศึกษาเพิ่มเติมอย่างมีนัยยะเรื่องหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วย

อย่างไรก็ตาม สภาเกษตรกรฯยังได้ร่วมวิจัยกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เรื่องการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่ให้สูงขึ้น ซึ่งในจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่การปลูกประมาณ 1,600,000 ไร่ เกิดปัญหาไวรัสใบด่างประมาณ 500,000 ไร่ 4 อำเภอหลัก ได้แก่ อำเภอโชคชัย เสิงสาง ครบุรี หนองบุญมาก ก่อนเกิดปัญหาผลิตมันสำปะหลังทั้งจังหวัดได้ปริมาณ 3.3 ตัน หลังเกิดปัญหาปริมาณ 2.7 – 2.8 ตัน จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นำนาโนแคลเซียมคาร์บอเนต ชนิดแขวนลอยไปทดสอบวิจัยทั้งในแปลงเกษตรกรและแปลงในมหาวิทยาลัยปรากฏว่า

ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ เกษตรกรเคยปลูกได้ผลผลิตประมาณ 3 ตัน กลับเพิ่มขึ้นเท่าตัว เป็น 6 ตัน/ไร่/รอบ/ปี รวมทั้งผลข้างเคียง (Side effect) ที่ไปกระตุ้นให้พืชเกิดสภาพต้านทาน(resistor) สร้างสารโปรตีนขึ้น 2 ชนิด ชนิดแรกจะเป็นตัวทำลายไวรัสใบด่างเก่งมากในเรื่องของเชื้อรา ส่วนชนิดที่ 2 จะส่งผลให้มันสำปะหลังสร้างฮอร์โมนขึ้นมาแล้วไปกระตุ้นกลิ่นที่มีอยู่ในมันสำปะหลังซึ่งแมลงไม่ชอบ ในแปลงที่ฉีดพ่นนาโนแคลเซียมคาร์บอเนต ชนิดแขวนลอยจะพบแมลงหวี่ขาวน้อยมาก การระบาดของโรคใบด่างก็จะลดลง

“ตอนนี้ประเทศไทยผลิตข้าวโพดได้ 4.7 – 4.8 ล้านตัน แต่ความต้องการอยู่ที่ 8-9 ล้านตัน ตลาดยังมีความต้องการอีกสูงมาก ขณะที่มันสําปะหลังผลิตได้ 30 ล้านตัน แต่ความต้องการอยู่ที่ 40 ล้านตัน เพราะฉะนั้นโอกาสด้านการตลาดยังมีอีกเยอะมากที่จะขยาย ต้องฝากไปยังหน่วยงานของรัฐ ให้เร่งเรื่องของการศึกษาวิจัยต่อยอดในการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆแล้วเร่งรีบสู่การถ่ายทอดให้กับพี่น้องเกษตรกร เพื่อจะได้ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ซึ่งจะสร้างความมั่นคงให้กับพี่น้องเกษตรกรในอนาคตต่อไป ขณะที่นโยบายภาครัฐก็จะใช้เรื่องของงบประมาณน้อยลงด้วย” นายเติมศักดิ์ กล่าวปิดท้าย

เมื่อเวลา​ 12.00 น วันที่ 18 ธันวาคม 2564 ณ​ โรงแรม PULLMAN KINGPOWER​ ย่านรางน้ำ​ ถนนราชเทวี​ กรุงเทพฯ คุณยุวดี​ บุญครอง​ นักธุรกิจหญิงชื่อดัง​ ผู้ใจบุญ​ ได้สั่งซื้อข้าวเพื่อสุขภาพ​จาก ดร.สุขุม​ วงประสิทธิ​ และ คุณเตือนใจ​ วงประสิทธิ​ ผู้บริหารบริษัท​ พรหมชีวา​ จำกัด บริษัทผู้นำด้าน ​SOCIAL​ ENTERPRISE​ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไผ่หูช้าง ​2​ ซึ่งเป็นองค์กรของชาวนา​

ที่อำเภอบางเลน​ จังหวัดนครปฐม มอบให้เป็นของขวัญแก่เพื่อนร่วมรุ่น​ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร​(ว.ป.อ.) รุ่น ​51​ โดยซื้อข้าวกข​43​ ข้าวไรซ์เบอร์รี่​ เป็นข้าวเพื่อสุขภาพ​ น้ำตาลต่ำ​ ชะลอวัย ลดความอ้วน​ เหมาะกับผู้สูงอายุ​ ผู้ป่วย​และผู้รักสุขภาพ ซึ่งได้มาตรฐานสากล​ ซึ่งทำนาปลอดภัยแบบครบวงจร​ เป็นผลผลิตจากวิสาหกิจชุมชน​ไผ่หูช้าว​2​ ของดีของฝากจากอำเภอบางเลน​ ​จังหวัดนครปฐม​ ตราข้าวใหม่ปลามัน จุดสำคัญ​ เป็นข้าวที่สีใหม่​ๆ​ ชาวนาสีเอง​ ส่งให้ผู้บริโภคทันที

ดร.สุขุม กล่าวว่า บริษัทพรหมชีวา จำกัด เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม (social enterprise)และสนับสนุนกิจกรรมของทางราชการ มีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับชาวนาไทย15ล้านครอบครัวให้เป็นสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ สู่การประกอบกิจการวิสาหกิจชุมชนให้เป็นธุรกิจเพื่อสังคมแบบยั่งยืน หรือ social enterprise ซึ่งบริษัท พรหมชีวา จำกัด ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(Mou)

กับสมาคมชาวนาไทยเมื่อวันที่ 20 ก.พ.2564 และต่อมาได้ลงบันทึกความร่วมมือกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ข้าวไผ่หูช้าง2เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2564 และต่อมาได้ลงนามบันทึกความร่วมมือสามฝ่ายไตรภาคี ประกอบด้วยบริษัทพรหมชีวา จำกัด กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ข้าวไผ่หูช้าง2 และบริษัทคำ-วี การเกษตร จำกัด ในวันที่ 12 พ.ย. 2564 ซึ่งถือว่าเป็นก้าวสำคัญที่จะผลักดัน ที่จะยกระดับเกษตรกรชาวนาสู่ smart farmer สู่การประกอบกิจการวิสาหกิจชุมชนให้เป็นธุรกิจเพื่อสังคมแบบยั่งยืน หรือ social enterprise อย่างแท้จริง

“กล้วยตั้งแต่รากจรดใบทำอะไรได้บ้าง” เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้..

“กล้วยทำประโยชน์ได้ทุกส่วน” คือคำตอบจาก คุณปนิดา มูลนานัด หรือ “คุณเปิ้ล” ประธานวิสาหกิจชุมชนวัยหวาน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ผู้ชนะจากโครงการ ‘ฟอร์ดเติมฝันเกษตรกรหญิงรุ่นใหม่ (Ford Moves Her Business)’

ความเดิมมีอยู่ว่า ฟอร์ดได้จัดประกวดเกษตรกรหญิงรุ่นใหม่ มีผู้มาสมัครประมาณ 61 คน และเข้ารอบสุดท้าย 12 คน แต่ละคนก็มีความสามารถที่แตกต่างกัน 12 รูปแบบ ส่วนคุณเปิ้ลทำงานเกี่ยวกับเรื่องกล้วยนำกล้วยมาแปรรูปเพิ่มมูลค่า ด้วยการใช้นวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ และได้ส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชน ซึ่งนับเป็นการสร้างความยั่งยืนในอาชีพการเกษตร โดยสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นนับเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ตามแนวคิด Bring Others Along the Journey ของ ‘Live The Ranger Life’

“ก็เลยเชิญเพื่อนๆสื่อมวลชนมาเยี่ยมชม มาตามสัญญาที่ให้ไว้..อยากเห็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม อยากมาสนับสนุน และส่งเสริมการตลาดให้ด้วย” คุณกมลชนก ประเสริฐสม หรือ “คุณออม” ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย และตลาดอาเซียน กล่าว

หลังจากนั้น คุณเปิ้ลได้บอกเล่าเกี่ยวกับที่มาที่ไปของการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวัยหวาน เริ่มจากจุดเล็กๆ จากการมองเห็นว่าในชุมชนใกล้เคียงมีการปลูกกล้วยหอมกันมาก แต่บางครั้งก็ประสบปัญหาเรื่องการตลาดก็เลยมีโจทย์ว่าจะทำอย่างไรจึงจะนำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าได้

“จากการศึกษาร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่ให้การสนับสนุนเราพบว่าทุกส่วนของกล้วยนำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าได้ทั้งหมด ตั้งแต่รากจรดใบ แต่เราก็จะทำตามที่สามารถทำได้ก่อนไปตามลำดับ อย่างกล้วยหอมที่สุกเราก็จะนำมาทำเป็นกล้วยตากลงทุนสร้างโรงตากพลังงานแสงอาทิตย์ ไปดูงานกล้วยตากที่พิษณุโลกซึ่งเขาใช้กล้วยน้ำว้า แต่ของเราเป็นกล้วยหอม

ปรากฏว่าหมดกล้วยไปเป็นตันกว่าจะทำได้สำเร็จ และที่ทำตอนนี้ยังมีอีกหลายอย่างแต่ที่นำมาโชว์และเป็นที่สนใจกันมากก็คือการนำเส้นใยกล้วยมาถักทอเป็นผืนผ้าและนำมาตัดเย็บเป็นรูปแบบต่างๆ เป็นผลงานที่กลุ่มของเราภาคภูมิใจ อย่างกระเป๋าใบนี้รู้ไหมว่าต้องใช้ต้นกล้วยถึง 25 ต้น ฟังดูอาจะเป็นต้นทุนที่สูง แต่ต้นกล้วยปกติเกษตรกรจะตัดทิ้ง และที่เรากำลังทำตรงกับนโยบายเศรษฐกิจBCGของภาครัฐก็เลยทำให้ได้รับความสนใจและจากที่ฟอร์ดได้คัดเลือกให้เราเป็นเกษตรกรหญิงรุ่นใหม่ก็สามารถต่อยอดได้มาก” คุณเปิ้ล เล่าให้ฟังอย่างมีความสุขกับผลงานที่ทำมากับมือ

ปิดท้ายที่เป็นไฮไลท์ของการมาเยี่ยมชมครั้งนี้ คือการนำกล้วยหอมมาแปรรูปใน 2 เมนู เมนูแรกนั้นทำเป็นเค้กกล้วยหอมที่เป็นสูตรไม่เหมือนใคร โดยใช้แป้งเค้กกล้วยหอม DIY ที่ทำขึ้น และถ้วยกล้วยหอมแทนที่จะเป็นกระดาษก็ใช้กาบหมากมาทำเป็นถ้วย และขนมอีกชนิดหนึ่งคือ ขนมโมเลน โดยใช้กล้วยหอมตากมาหั่นเป็นเส้นๆและห่อด้วยแผ่นแป้ง จากนั้นนำไปทอดเหมือนกล้วยทอด ซึ่งอร่อยมากและเป็นขนมที่กำลังได้รับความสนใจ

ในการ Work Shop ทำขนมจากกล้วยหอมนี้ คณะสื่อมวลชนได้ลงมือทำกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งคุณเปิ้ลบอกว่าสูตรขนมทั้ง 2 อย่างนี้ เปิดเผยเคล็ดลับทุกอย่างตรงไปตรงมา สามารถนำไปประกอบอาชีพได้เลย และใครที่ได้ดูได้ชมจากการถ่ายทอดสด..เกษตรก้าวไกล LIVE ตามลิงก์นี้ https://fb.watch/9_KEQDdBud/ ก็สามารถทำได้เช่นกัน

อนึ่ง ในตอนท้ายระหว่างที่ชิมขนมอย่างเอร็ดอร่อย “เกษตรก้าวไกล” ได้มีโอกาสสอบถามคุณออม ว่า ปีหน้าซึ่งเป็นปีเสือทางฟอร์ดมีนโยบายที่จะให้การสนับสนุนเกษตรกรต่อเนื่องหรือไม่อย่างไร ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่าทางฟอร์ดมุ่งมั่นที่จะยกระดับอาชีพเกษตรให้เกิดความยั่งยืน และพร้อมที่จะสนับสนุนให้เกิดธุรกิจในชุมชน สร้างเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการ “ฟอร์ดตั้งใจจัดกิจกรรมที่สะท้อนถึงนิยามการใช้ชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ตามแนวคิด ‘Live The Ranger Life สร้างเส้นทางในแบบคุณ’ โดยมีรถฟอร์ด เรนเจอร์ เป็นตัวช่วยในการเดินทางไปสู่จุดหมาย..” ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย และตลาดอาเซียน กล่าว และย้ำว่า ฟอร์ดพร้อมสนับสนุนการสร้างเส้นทางในแบบคุณ นั่นหมายถึงว่า ทุกคนต้องมีเส้นทางของตนเอง

ระหว่างวันที่ 15-16 ธันวาคม 2564 – ฟอร์ด ประเทศไทย, นำคณะสื่อมวลชนร่วมเดินทางพิสูจน์สมรรถนะ ‘ฟอร์ด เรนเจอร์’ พร้อมสัมผัสประสบการณ์การใช้ชีวิตภายใต้แนวคิด ‘Live The Ranger Life สร้างเส้นทางในแบบคุณ’ ในกิจกรรมส่งมอบกระชังอนุบาลปลาน้ำจืดและปล่อยพันธุ์ปลาเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศ ณ เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และร่วมทำเวิร์กช็อปแปรรูปกล้วยหอมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิตทางการเกษตร ร่วมกับเกษตรกรหญิงที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากโครงการ ‘ฟอร์ดเติมฝันเกษตรกรหญิงรุ่นใหม่’ สะท้อนนิยามการใช้ชีวิตที่แตกต่างและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่น โดยมีรถยนต์ฟอร์ด เรนเจอร์ เป็นคู่หูที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์และการใช้งาน (รายละเอียดข่าวเวิร์กช็อปแปรรูปกล้วย

สำหรับกิจกรรมส่งมอบกระชังอนุบาลลูกปลาฟอร์ดได้ริเริ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา แต่เนื่องจากเกิดสถานการณ์โควิด จึงเพิ่งได้ลงพื้นที่จริง พร้อมนำคณะสื่อมวลชนมาร่วมในครั้งนี้ โดยเริ่มต้นกิจกรรมด้วยการเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ ร่วมสร้างกระชังอนุบาลปลา และนำไปติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสมในพื้นที่ชุมชนรอบเขื่อนแก่งกระจาน จำนวน 6 ชุมชน เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลปลาน้ำจืด

พร้อมปล่อยพันธุ์ปลาร่วมกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนแก่งกระจาน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศ รวมทั้งเตรียมอุปกรณ์กิ่งไม้สำหรับทำแนวป้องกันปลาใหญ่ ปกป้องปลาเล็กที่อาศัยอยู่ในบริเวณรอบกระชังปลา นอกจากนี้ การติดตั้งกระชังอนุบาลพันธุ์ปลาเพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำจืดในเขื่อนแก่งกระจานให้มีความอุดมสมบูรณ์ ยังเป็นการส่งเสริมอาชีพทางการประมงเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ผู้คนในชุมชนอีกด้วย

นายประสูตร หอมบรรเทิง นายอำเภอแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ร่วมทำพิธีปล่อยพันธุ์ปลากับ นายเอกชัย เตชะวันโต หัวหน้าหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี และ นางสาวกมลชนก ประเสริฐสม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย และตลาดอาเซียน ตลอดจนคณะสื่อมวลชน..

การจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายประสูตร หอมบรรเทิง นายอำเภอแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี มาเป็นประธานในพิธี ซึ่งได้กล่าวว่า วันนี้เราได้มาร่วมปล่อยปลากับบริษัทฟอร์ด ประเทศไทย ซึ่งบริษัทฟอร์ดให้การสนับสนุนชาวบ้านเลี้ยงปลาในกระชัง ปีนี้เป็นปีที่ 2 แล้ว ปีต่อไปทางฟอร์ดก็สัญญาว่าจะให้การสนับสนุนต่อไป ที่ผ่านมาทางอำเภอแก่งกระจานได้จัดกิจกรรมการจับปลาบึก ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน จับให้ครบ 50 ตัว ถ้าครบ 50 ตัวเมื่อไหร่เราก็เลิกจับ แล้วจัดกิจกรรมปล่อยปลาคืนสู่ธรรมชาติ..

“ปีนี้เราจับได้น้ำหนักมากที่สุด 182 กิโลกรัม กิจกรรมของเราชาวบ้านสัญญากันไว้ว่า เราจะไม่จับปลาบึกนอกฤดูกาล เราจะใช้เวลาจับแค่ 2 เดือน โดยทางประมงอำเภอแก่งกระจาน ร่วมกับหน่วยป้องกันและปราบปรามฯและชาวบ้าน ร่วมกันทำงาน และเราได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านอย่างดีเยี่ยม เราได้รับความร่วมมือจากบริษัทฟอร์ด ประเทศไทย สนับสนุนพันธุ์ปลา และสร้างกระชังปลาให้กับชาวบ้าน 6 ชุมชน นอกจากนี้เรายังได้รับการสนับสนุนจากผู้ประกอบการรีสอร์ทในพื้นที่อีกด้วย ซึ่งทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างดี”

ด้าน นายเอกชัย เตชะวันโต หัวหน้าหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณบริษัทฟอร์ด ที่สนับสนุนเรื่องงบประมาณในการจัดกิจกรรมสร้างกระชังปลาให้กับชาวบ้านในครั้งนี้

ที่ผ่านมาเราได้รับความร่วมมือจากชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่เป็นอย่างดี สมัครเล่นคาสิโน และเราจะใช้กระชังปลาที่ได้รับที่ได้รับสนับสนุนจากฟอร์ดมาอนุบาลกระชังปลาทุกปี ที่ผ่านมาเรามีตัวชี้วัดว่าชาวประมงหันมาทำประมงอย่างถูกวิธีไม่กระทำผิดกฎหมายอีก นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี ถ้าเป็นไปได้เราอยากได้งบประมาณในการขยายกระชังปลาเพิ่มขึ้นอีก

WMTA เปิดตัวท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ-รักษาโรคด้วยกัญชา

ในโอกาสนี้ คุณปรีชา พนารักษ์ Founder CEO & Managing Director ประธานกรรมการบริษัท เวิลด์ เมดดิคัล ทัวริซึม อัลไลแอนซ์ จำกัด พร้อมด้วย นายเเพทย์สมพร คำผง และ นายแพทย์สมนึก ศิริพานทอง(ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และประธานที่ปรึกษา โครงการ1st cannabis) ได้เปิดตัว ตราสัญลักษณ์ 1st Cannabis อันทรงเกียรติ แก่เหล่าพันธมิตร ทั้ง 34 บริษัท

โรงพยาบาล คลินิกกัญชา โรงแรม-รีสอร์ทสุขภาพชั้นนำ รวม 38 คลินิกกัญชาทั่วประเทศ พร้อมด้วยพิธีลงนาม MOU บันทึกข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์กับพันธมิตรทางธุรกิจ กับ บริษัท เค ที ดี เอ็ม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท โอเชี่ยน คอมเมิรช จำกัด (มหาชน) และ บริษัทโรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชง-กัญชา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

พร้อมกันนั้นมีการลงนามความร่วมมือกับบริษัท INDEEM HOLDING สร้างธุรกิจเพื่อพลิกวงการแนวใหม่ มีการผนวกรวมระบบขนส่งกัญชา กัญชง ที่เชื่อมกับคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในเครือบริษัท World Medical Tourism Alliance โดยนำระบบ telemedicine มาใช้ในการรักษาทางไกล พร้อมคำปรึกษาจากแพทย์ที่มีใบสั่งจ่ายยากัญชา และสินค้าสุขภาพ โดยจะตั้งศูนย์กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศ…

นอกจากนั้น ยังมีความร่วมมือกับสถาบันกรีน อินโนเวชั่น (AGI) จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางธุรกิจ เพื่อสร้างผู้นำ ผู้ประกอบการกัญชาทางการแพทย์

สำหรับ World Medical Tourism Alliance นับเป็น Medical Tourism Facilitator เป็นผู้อำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ให้กับลูกค้าต่างชาติที่ต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงรักษาและเชิงสุขภาพในประเทศไทย ซึ่งมีทีม Network Marketing ทั่วโลก และกลุ่มลูกค้าด้านท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกว่า 500,000 คนทั่วโลก และทีมเซลกว่า 1,000 คน ที่แนะนำลูกค้ามารับการรักษาและบริการด้านสุขภาพกับสถานพยาบาลและโรงแรม-รีสอร์ทสุขภาพที่เป็นพันธมิตร

เราเป็นพันธมิตรกับโรงพยาบาล คลินิกต่างๆ และโรงแรมรีสอร์ทสุขภาพ ชั้นนำ ที่มีชื่อเสียง และได้มาตรฐานระดับโลกทั้งมาตรฐาน JCI, GHA, AACI, Wellhotel เพื่อให้ลูกค้าได้มั่นใจในความปลอดภัย และประสบการณ์ที่ดีในการมาท่องเที่ยวเชิงรักษาและเชิงสุขภาพกับพันธมิตร Healthcare Service Providers ของเรา

และตอนนี้ World Medical Tourism Alliance ได้ขยายการให้บริการการรักษามาถึงแพทย์ทางเลือกแผนไทย โดยใช้กัญชาในการรักษาโรคต่างๆ เราได้จับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจด้านกัญชาทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และได้จับมือกับพันธมิตรคลินิกกัญชาทั่วประเทศ ส่งเสริมให้นำยาสมุนไพรไทย และกัญชาไทยมารักษาผู้ป่วยทั้งคนไทยและต่างชาติ

ภายในงาน ได้มีการมอบตราสัญลักษณ์ 1st Cannabis ให้กับกลุ่มพันธมิตร 1st Cannabis คือ ตราสัญลักษณ์ที่แสดงถึง กลุ่มผู้ประกอบการกัญชากลุ่มแรกที่ได้ร่วมมือกันใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกัญชา / กลางน้ำ กลุ่มโรงงานผู้สกัดกัญชา คณะเภสัชต่างๆ ผู้ผลิตยาและผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้รับเลขทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย / ปลายน้ำ กลุ่มโรงพยาบาล คลินิกกัญชา คลินิกแพทย์แผนไทย สหคลินิก การจ่ายยาทางกัญชาโดยแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาตทางกัญชา โรงแรม-รีสอร์ทสุขภาพ ได้ร่วมมือกันทำให้เกิดการรักษาทางกัญชาอย่างมีระบบ ได้มาตรฐาน และถูกต้องตามกฎหมายและกฎบัตรสหประชาชาติ ถือเป็น One Stop กลุ่มแรกที่ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์อย่างเต็มระบบ ครบวงจร และถูกต้องตามกฎหมาย

World Medical Tourism Alliance (WMTA ) มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ในการปลดล็อคด้านการปลูก เพื่อสร้างมาตรฐานการปลูกกัญชาที่มีมาตรฐาน เกรดการแพทย์ เพื่อนำมาทำยาในการรักษาผู้ป่วย เรามีการจัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิดคลินิกกัญชาทั่วประเทศ และร่วมกันกับพันธมิตรคลินิกกัญชาในการขับเคลื่อน เพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงการรักษาด้วยยากัญชาตำรับไทยที่มีคุณภาพ

โดยร่วมกับผู้ประกอบการ โรงพยาบาล คลินิกกัญชา โรงแรม-รีสอร์ทสุขภาพชั้นนำกว่า 30 แห่ง รวม 37 คลินิกกัญชาทั่วประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ธุรกิจกัญชาทางการแพทย์ในประเทศ รวมมูลค่าธุรกิจกว่า 50 ล้านบาท

และภายในปี 2565 มีเป้าหมายร่วมกันที่จะขยายคลินิกกัญชาที่มีมาตรฐานมากว่า 70 แห่งทั่วประเทศ รวมมูลค่าธุรกิจกว่า188 ล้านบาท และกว่าอีก 100 แห่งทั่วประเทศในปี 2566 รวมมูลค่าธุรกิจกว่า 345 ล้านบาท

World Medical Tourism Alliance (WMTA ) ขอเป็นตัวกลางในการทำงานร่วมกันกับพันธมิตร ผู้นำ ผู้ประกอบการกัญชากลุ่มแรก (1st Cannabis) ในทุกภาคส่วนตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในความร่วมมือกันใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาธุรกิจกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทยให้เติบโตและยั่งยืนสืบต่อไป

บอร์ด ธ.ก.ส. อนุมัติการโอนเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 เพิ่มเติม หลัง ครม. เห็นชอบวงเงินกว่า 74,000 ล้านบาท เตรียมโอนในวันที่ 9-13 ธ.ค. นี้ โดยมีเกษตรกรได้รับประโยชน์ 4.69 ล้านครัวเรือน พร้อมเห็นชอบเงินช่วยเหลือค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ วงเงินกว่า 53,800 ล้านบาท เริ่มโอน 13-17 ธ.ค. และโครงการประกันรายได้เกษตรกร ชาวสวนยาง ระยะที่ 3 วงเงินกว่า 9,700 ล้านบาท เริ่มโอน 20 ธ.ค. เป็นต้นไป

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ปัญหาราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำลง ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบจากรายได้ที่ลดลง ซึ่ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยในปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมอบนโยบายให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางช่วยเหลือตามนโยบาย เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ในวันนี้ (3 ธันวาคม 2564) ธ.ก.ส. จึงได้จัดประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เป็นวาระพิเศษ เพื่อให้ความเห็นชอบกรอบแนวทางการดำเนินงานและอนุมัติวงเงินงบประมาณรวม 138,224.76 ล้านบาท ประกอบด้วย

1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 (เพิ่มเติม) จำนวน 74,569.31 ล้านบาท เกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 4.69 ล้านครัวเรือน โดย ธ.ก.ส. จะทำการตรวจสอบข้อมูลของเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์และดำเนินการ โอนเงินประกันรายได้เข้าบัญชีของเกษตรกรโดยตรง ในวันที่ 9 – 13 ธันวาคม 2564

2) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษาข้าวให้มีคุณภาพดี เพื่อที่จะมีโอกาสขายข้าวในราคาที่สูงและมีรายได้มากขึ้น โดยสนับสนุนเงินให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 20,000 บาทต่อครัวเรือน วงเงินงบประมาณจำนวน 53,871.84 ล้านบาท เป้าหมายเกษตรกรจำนวน 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะเริ่มโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรในวันที่ 13 – 17 ธันวาคม 2564

3) โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้ที่แน่นอนจากการประกันรายได้ ตามการผลิตแต่ละประเภท ได้แก่ ยางพาราแผ่นดิบคุณภาพดี ประกันราคา 60 บาท/กิโลกรัม น้ำยางสด (DRC 100%) ประกันราคา 57 บาท/กิโลกรัม และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ประกันราคา 23 บาท/กิโลกรัม ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ไร่ วงเงินงบประมาณจำนวน 9,783.61 ล้านบาท เป้าหมายเกษตรกร 1.88 ล้านราย พื้นที่สวนยางกว่า 19.16 ล้านไร่ โดยจะเริ่มโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรในวันที่ 20 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ธ.ก.ส. มีความพร้อมในการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยจะเร่งตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ภายในวันที่ 7 ธันวาคม 2564 เตรียมการโอนเงินให้กับเกษตรกรแต่ละรายตามสิทธิ์ที่ได้รับในวันที่ 8 ธันวาคม 2564 และวันที่ 9 ธันวาคม 2564 จะโอนเงินเข้าบัญชีของเกษตรกรและทยอยจ่ายตามรอบการผลิตที่แจ้งถึง 13 ธันวาคม 2564 สำหรับอีก 2 โครงการจะดำเนินการตามวันที่กำหนดต่อไป.

ไก่ประดู่หางดำ ถือเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองยอดนิยมที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรเป็นอย่างมาก เพราะมีลักษณะเด่นตรงกับความต้องการของตลาด เป็นไก่พันธ์เนื้อที่มีอัตราการเจริญเติบโตดี มีรสชาติอร่อย ทำให้ไก่ประดู่หางดำเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นโครงการ ”จากจมูกถึงหาง” ละเอียด ละเมียด ละมุน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย คณะเกษตรศาสตร์ ในงานวิจัยยกระดับไก่พื้นเมืองสู่วัตถุดิบเมนูสากลระดับโลก

กว่าจะได้ไก่ที่มีรสชาติอร่อย เป็นเมนูขึ้นโต๊ะอาหารได้อย่างสวยงามนั้น ต้องอาศัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไก่ประดู่หางดำ จากทีมอาจารย์นักวิจัย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้แผนงานวิจัย นวัตกรรมและการพัฒนากระบวนการผลิตไก่พื้นเมือง (ประดู่หางดำ) ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี 2564 ในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาปรับใช้ในกระบวนการเลี้ยงไก่ ควบคู่กับการให้ความรู้เกษตรกร ตั้งแต่การฟักไข่ การดูแลพ่อแม่พันธุ์

การนำงานวิจัยเข้ามาช่วยในเรื่องการลดต้นทุนอาหารเพื่อให้ขายไก่มีกำไรมากขึ้น หลังจากเมื่อได้ไก่ที่สมบูรณ์แล้ว ในโครงการยังช่วยเรื่องการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไก่ไปแปรูปเป็นอาหารต่างๆ เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่าย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเนื้อไก่ประดู่หางดำที่ได้คุณภาพ ซึ่งนอกจากจะทำเป็นอาหารพื้นเมืองหรืออาหารไทยได้อร่อยแล้ว ยังขึ้นโต๊ะเป็นเมนูอาหารสากลได้อย่างสวยงาม โดยการสร้างสรรค์ของเชฟมืออาชีพจากร้านอาหารชื่อดังในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมนูอาหาร เช่น น่องและสะโพกไก่เหลืองบุษราคัมย่างไฟอ่อน

ธ.ก.ส. พร้อมโอนเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 วงเงินกว่า 64,000 ล้านบาท โดยเริ่มจ่ายตั้งแต่วันที่ 9-13 ธ.ค. 2564 โดยมีเกษตรกรได้รับประโยชน์ในรอบนี้กว่า 3.58 ล้านครัวเรือนข้าวไร่เดอะแม่นายส์ ไวเนอรี่หุงน้ำสต๊อกไก่เหลืองบุษราคัม ปรุงรสแบบสเปน เครื่องเทศสีเหลืองทอง , สะโพกไก่ประดู่หางดำ วุ้น เทอร์รีน บรั่นดีและสันไนไก่อบในแป้งพัฟ , ไก่เหลืองบุษราคัมต้ามรากบัวกรอบและไก่เหลืองบุษราคัมอบดินกว๊านพะเยา เป็นต้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ถือเป็นการขับเคลื่อนเชิงบูรณาการตลอดห่วงโซ่อุปทาน โซ่คุณค่าที่นำมาสู่ระบบการผลิตไก่พื้นเมืองได้อย่างประสบความสำเร็จ เป็นการยกระดับไก่พื้นเมืองให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจ เป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร สร้างอาชีพให้กับเกษตร เกิดการกระจายรายได้ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรด้วยการเป็น Smart Farmer ซึ่งจะเสริมรากฐานสู่การเกษตรที่ยั่งยืนต่อไป

นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 และมติที่ประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 เห็นชอบกรอบแนวทางการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 (เพิ่มเติม) พร้อมอนุมัติวงเงินงบประมาณจำนวน 74,569.31 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์กว่า 4.69 ล้านครัวเรือน

ในส่วนของ ธ.ก.ส.ได้มีการเตรียมความพร้อม โดยเร่งตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กรมส่งเสริมการเกษตรและได้รับสิทธิ์ ให้เสร็จภายในวันที่ 7 ธันวาคม 2564 และเตรียมการโอนเงินให้กับเกษตรกรแต่ละรายตามสิทธิ์ที่ได้รับในวันที่ 8 ธันวาคม 2564 ซึ่งในวันที่ 9 ธันวาคม 2564 เงินดังกล่าวจะโอนเข้าบัญชีของเกษตรกรโดยตรง โดยเฉพาะเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตกและภาคใต้ จำนวนประมาณ 7.7 แสนราย ส่วนเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเริ่มโอนในวันที่ 10 ธันวาคม 2564 ประมาณ 7.5 แสนราย จากนั้นจะทยอยจ่ายตามรอบการผลิตที่แจ้งถึง 13 ธันวาคม 2564 โดยคาดว่าในรอบวันที่ 9-13 ธันวาคม 2564 จะสามารถโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรตามข้อมูลที่ได้รับและผ่านการประชุมของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงฯ งวดที่ 3-7 รวมทั้งสิ้น 3.58 ล้านราย คิดเป็นเงินกว่า 64,000 ล้านบาท

สำหรับโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 จะเริ่มจ่ายในวันที่ 13 – 17 ธันวาคม 2564 และ โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 จะเริ่มจ่ายในวันที่ 20 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect รวมถึงสามารถเบิกถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ของ ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ

ขอแสดงความยินดีกับสองนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้แก่ รศ. ดร. จินตนา อันอาตม์งาม หัวหน้าภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน และ อ.ดร.อาร์ม อันอาตม์งาม หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นำผลงาน KPS: Selectivebio-herbicide to control water hyacinth หรือผลงานชีวภัณฑ์กำจัดผักตบชวา โดยใช้เชื้อรากำจัดผักตบชวา ซึ่งเป็นวิธีทางธรรมชาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตควบคุมสิ่งมีชีวิต คว้ารางวัลเหรียญทอง จากงานประกวดนวัตกรรม “Seoul International Invention Fair 2021” (SIIF 2021) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 1 – 4 ธันวาคม 2564 ในรูปแบบออนไลน์

ผักตบชวาเป็นวัชพืชน้ำที่ก่อปัญหาหลักของประเทศไทย การแพร่ระบาดของผักตบชวาเป็นปัญหาที่แก้ไขให้หมดไปได้ยากต้องใช้เวลา และสิ้นเปลืองทรัพยากรในการกำจัด ไม่ว่าจะเป็นวิธีการทางกลหรือการใช้สารเคมีหรือทั้งสองอย่างร่วมกัน ซึ่งวิธีการใช้สารเคมีนั้นมีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์น้ำ และรวมถึงมนุษย์ ดังนั้นการกำจัดผักตบชวาด้วยสารชีวภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ ซึ่งผ่านการทดสอบความเป็นพิษแล้วว่า ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์น้ำ และมนุษย์ จึงเป็นวิธีการที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ที่จะนำมาใช้เพื่อการกำจัดผักตบชวาตลอดไป

ผลงานชีวภัณฑ์กำจัดผักตบชวา ทำให้มีการคัดเลือกเชื้อรา Paramyrothecium strain 448 มีประสิทธิภาพในการควบคุมผักตบชวาและทราบความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อรา Paramyrothecium strain 448 พร้อมทั้งการพัฒนาชีวภัณฑ์จากเชื้อรา Paramyrothecium strain 448 ร่วมกับวิธีกลมาใช้ในการควบคุมการแพร่พันธุ์ของผักตบชวาในแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อลดงบประมาณสำหรับการกำจัดผักตบชวาจากแหล่งน้ำและปลอดภัยต่อสารเคมี

ทั้งนี้ ผลงาน KPS: Selectivebio-herbicide to control water hyacinth หรือผลงานชีวภัณฑ์กำจัดผักตบชวา ยังได้รับรางวัลเหรียญทองแดง จากงานประกวดนวัตกรรม The XV International Warsaw Invention Show IWIS 2021 ณ กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์ ระหว่างวันที่ 24 – 26 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา

สำหรับงาน “Seoul International Invention Fair 2021” (SIIF 2021) ในปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 20 และเป็นเวทีการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติที่สำคัญในทวีปเอเชีย โดยมีนักวิจัยและนักประดิษฐ์จากทั่วโลกนำผลงานเข้าประกวดและจัดแสดงในงาน จำนวนกว่า 600 ผลงาน จาก 27 ประเทศ ตลอดจนยังเป็นศูนย์รวมของนักนวัตกร และนักลงทุน จากภาคธุรกิจที่มาจากทั่วโลกอีกด้วย

นายกรัฐมนตรี นำทีมรัฐมนตรีลงพื้นที่เมืองสุพรรณบุรี มอบเงินตามมาตรการช่วยเหลือชาวนา โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 วงเงินกว่า 74,000 ล้านบาท เกษตรกรได้รับประโยชน์ 4.69 ล้านครัวเรือน โดยในรอบนี้ ธ.ก.ส. จะทยอยโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง 9-13 ธ.ค. พร้อมเสริมมาตรการคู่ขนานเพื่อพยุงราคาข้าวผ่านสินเชื่อรวบรวมและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก วงเงินรวมกว่า 35,000 ล้านบาท

วันนี้ (9 ธันวาคม 2564) ณ ตลาดกลางสินค้าเกษตรสุพรรณบุรี อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในกิจกรรมส่งมอบเงินตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวและมาตรการคู่ขนาน ปีการผลิต 2564/65 โดยมี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และ นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. พร้อมด้วยผู้บริหารและผู้แทนจากส่วนงานต่าง ๆ เข้าร่วมกิจกรรม

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า ตามที่ ธ.ก.ส. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจ่ายเงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 ตามกรอบการอนุมัติวงเงินงบประมาณเพิ่มเติมจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 และคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 จำนวน 74,569 ล้านบาท เป้าหมายเกษตรกร 4.69 ล้านครัวเรือน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวให้ได้รับผลตอบแทนจากการผลิตที่เหมาะสม เป็นการป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน

และช่วยแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และอุทกภัย โดยที่กลไกตลาดยังคงทำงานเป็นปกติ โดยประกันรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกเขต ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน

ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะโอนเงินเข้าบัญชีของเกษตรกรโดยตรงตามข้อมูลที่ได้รับจากกรมส่งเสริมการเกษตร และผ่านการประชุมของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงฯ งวดที่ 3 – 7 ในช่วงระหว่างวันที่ 9 – 13 ธันวาคม 2564 รวมทั้งสิ้น 3.58 ล้านครัวเรือน เป็นเงินจำนวนกว่า 64,000 ล้านบาท สำหรับในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี มีการโอนเงินให้เกษตรกร จำนวน 51,203 ครัวเรือน วงเงิน 1,064 ล้านบาท ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect รวมถึงสามารถเบิกถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ของ ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ

นายธนารัตน์ กล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการยกระดับราคาข้าวเปลือก ธ.ก.ส. ยังได้ดำเนินมาตรการคู่ขนานผ่านโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 เพื่อให้เกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนระหว่างชะลอการขายข้าว ไม่ต้องเร่งขายข้าวเปลือกในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากและราคาตกต่ำ วงเงินสินเชื่อรวมกว่า 20,000 ล้านบาท โดยไม่คิดดอกเบี้ยกับเกษตรกร เป็นระยะเวลา 5 เดือน ตั้งเป้าดูดซับปริมาณข้าวเปลือก 2 ล้านตัน ประกอบด้วย ชนิดข้าวเปลือกหอมมะลิในเขต 23 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด และภาคเหนือ 3 จังหวัด (เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกเขต 23 จังหวัด ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 และข้าวเปลือกเหนียว

คุณสมบัติข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นข้าวเปลือกที่มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 สิ่งเจือปนไม่เกินร้อยละ 2 และสีได้ต้นข้าวไม่ต่ำกว่า 20 กรัม โดยในส่วนข้าวหอมมะลิจะมีเมล็ดข้าวแดงได้ไม่เกินร้อยละ 0.5 (ไม่เกิน 22 เมล็ดใน 100 กรัม) กำหนดวงเงินสินเชื่อต่อตัน ดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลิในเขต 23 จังหวัด 11,000 บาท/ตัน ข้าวหอมมะลินอกเขต 23 จังหวัด 9,500 บาท/ตัน ข้าวเจ้า 5,400 บาท/ตัน ข้าวหอมปทุมธานี 1 7,300 บาท/ตัน และข้าวเหนียว 8,600 บาท/ตัน โดยเกษตรกร

กู้ได้รายละไม่เกิน 300,000 บาท สหกรณ์การเกษตรและชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งละไม่เกิน 300 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรแห่งละไม่เกิน 20 ล้านบาท และวิสาหกิจชุมชนแห่งละไม่เกิน 5 ล้านบาท กรณีชำระคืนภายใน 5 เดือน ไม่มีดอกเบี้ย (รัฐบาลรับภาระจ่ายแทน) นอกจากนี้รัฐบาลยังช่วยเหลือค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือก 1,500 บาทต่อตัน กรณีเกษตรกรเก็บข้าวเอง ได้รับ 1,500 บาทต่อตัน กรณีเกษตรกรฝากข้าวกับสถาบันเกษตรกร เกษตรกรจะได้รับ 500 บาทต่อตัน และสถาบันฯจะได้รับ 1,000 บาทต่อตัน ระยะเวลาจัดทำสัญญาตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 กรณีภาคใต้ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง 31 กรกฎาคม 2565

และ สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65 วงเงินสินเชื่อรวม 15,000 ล้านบาท สำหรับสหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชนที่ประกอบธุรกิจรวบรวมข้าวจากเกษตรกรสมาชิก เกษตรกรทั่วไป เพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพ เช่น การลดความชื้น การแปรรูปผลผลิต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม วงเงินกู้สำหรับสหกรณ์การเกษตร แห่งละไม่เกิน 300 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรแห่งละไม่เกิน 20 ล้านบาท และวิสาหกิจชุมชนแห่งละไม่เกิน 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งคิดจากสถาบันฯ เพียงร้อยละ 1 ต่อปี ส่วนที่เหลือรัฐบาล รับภาระแทน ระยะเวลาจ่ายสินเชื่อ ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 กันยายน 2565.

กรมส่งเสริมการเกษตร โชว์ผลงานแปลงใหญ่จังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด พัฒนาศักยภาพอาชีพ เกษตรกรมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น สามารถต่อยอดการดำเนินงาน มีรายได้เป็นที่น่าพอใจ ด้วยการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ

นายนวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวระหว่างลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพบปะเกษตรกรที่ดำเนินการเกษตรแปลงใหญ่ของจังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 8-9 ธันวาคม 2564 ว่า เกษตรแปลงใหญ่ที่ได้เข้าร่วมโครงการในปี 2564 ทั้งสิ้นจำนวน 382 แปลง เกษตรกร 28,148 ราย พื้นที่ 300,930.15 ไร่ ซึ่งได้ยืนยันเข้าร่วมโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด จำนวน 254 แปลง งบประมาณ 713,367,959 บาท ปัจจุบันกลุ่มแปลงใหญ่ทั้ง 254 แปลง ได้ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณแล้ว จำนวน 693,392,797.18 บาท คิดเป็นร้อยละ 97.20 ของวงเงินงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ และคาดว่าจะเบิกจ่ายได้ครบถ้วนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564

โดยจำนวนแปลงใหญ่ทั้งหมดนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมปศุสัตว์ จำนวน 3 แปลง วงเงินงบประมาณ 8,482,190 บาท เบิกจ่ายแล้ว 8,476,360 บาท กรมการข้าว จำนวน 209 แปลง วงเงินงบประมาณ 593,714,054 บาท เบิกจ่ายแล้ว 577,737,627.18 บาท การยางแห่งประเทศไทย จำนวน 6 แปลง วงเงินงบประมาณ 14,837,995.00 บาท เบิกจ่ายแล้ว 11,559,612.00 บาท และกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 36 แปลง วงเงินงบประมาณ 96,333,720 บาท เบิกจ่ายแล้ว 95,619,198 บาท ซึ่งงบประมาณที่ใช้ในโครงการได้ถูกนำไปต่อยอดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรที่จำเป็นให้กับกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่งผลให้กลุ่มแปลงใหญ่สามารถสร้างรายได้และดำเนินธุรกิจด้านการเกษตรได้ดีมากยิ่งขึ้น และยังมีส่วนสำคัญทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นตามลำดับ

สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ สมัครพนันออนไลน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมแปลงใหญ่ต่างๆ จำนวน 3 แปลงใหญ่ ซึ่งได้มีภาคส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมาร่วมงาน ทั้งนายอำเภอในพื้นที่ เกษตรจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด ฯลฯ ตลอดจนคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) และโดยเฉพาะเกษตรกรที่เป็นสมาชิกแปลงใหญ่มากันล้นหลามคึกคักมาก

ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยกับเจ้ากระทิงที่เขาแผงม้า ว่า มีรูปร่างใหญ่

สวยงาม มีขนยาวสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ยกเว้นบริเวณหน้าผาก ที่บางตัวมีขนสีขาวเทา บางตัวมีขนสีเหลืองทอง ส่วนที่ขาทั้งสี่จะมีขนสีขาวเหมือนกับใส่ถุงเท้า โดยกระทิงจะมีเขาทั้งเพศผู้และเพศเมีย แต่เพศผู้จะมีตัวขนาดใหญ่กว่า

วันนี้(26 พ.ย.64)พวกเรามากันเกือบ 20 ชีวิต ภายใต้การนำของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ที่พาสื่อมวลชนเยี่ยมชมเกษตรกรลูกค้าที่ทำฟาร์มเกษตร ซึ่งในวันนี้เราได้ไปเยี่ยมชมสวนสับปะรดสีบ้านพระอังคารวังน้ำเขียว ที่สวยงามมากๆ เจ้าของเป็นสารวัตรวังน้ำเขียว https://fb.watch/9yAMSTjpKg/ และตามด้วยแปลงปลูกกัญชารักจังเมล่อนฟาร์มที่พลิกจากปลูกเมล่อนมาปลูกกัญชา https://fb.watch/9yDx9Q7X28/ ต่อด้วยการมาเก็บภาพการแพ็คกิ้งผักของศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริวังน้ำเขียว พร้อมพาไปชมแปลงปลูกของเกษตรกรในเครือข่าย และปิดท้ายวันด้วยการมาดูกระทิงดังกล่าวแล้ว

ขอบอกว่าฤดูกาลท่องเที่ยววังน้ำเขียวเริ่มต้นขึ้นแล้ว นักท่องเที่ยวท่านใดที่หันรีหันขวางไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหนดีก็ขอแนะนำให้ไปเที่ยววังน้ำเขียวสัก 2 วัน 1 คืน (ตามโปรแกรมที่มาครั้งนี้) และอย่าลืมในโปรแกรมนั้นขอให้บรรจุแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรเข้าไปด้วย เพราะว่าได้คุยกับ คุณสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการ ธ.ก.ส.ที่นำคณะไปครั้งนี้ บอกว่าทางภาครัฐหมายมั่นปั้นมือมากว่าจะทำให้การท่องเที่ยวเกิดความคึกคักแบบไทยเที่ยวไทยหลังโควิดคลายตัวและเปิดประเทศ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตร มีหลายที่ที่น่าสนใจ รวมไปถึงผลผลิตทางการเกษตรที่ขายตามร้านค้าหรือริมทาง ถ้าช่วยกันอุดหนุนเศรษฐกิจไทยก็จะคึกคัก..ถ้าเกษตรกรไทยอยู่ได้ประเทศไทยก็อยู่รอด โดยธ.ก.ส.พร้อมเคียงข้างเกษตรกรไทย

“ธ.ก.ส.หวังเชื่อมโยงฟาร์มเกษตรต่างๆ ค้นหาฟาร์มที่เป็นต้นแบบเพื่อสร้างเกษตรกรไทยให้เป็นผู้ประกอบการ..การพาสื่อมวลชนลงพื้นที่วังน้ำเขียวในครั้งนี้ จึงอยากจะสื่อออกไปว่า ธ.ก.ส.มีความพร้อมมากๆ อยากเชิญชวนเกษตรกรและชุมชนต่างๆทั่วประเทศ มาร่วมกันสร้างให้เกิดการท่องเที่ยวชุมชน รวมทั้งธุรกิจชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะน้องๆที่เป็นทายาทเกษตรกร และแรงงานที่จะกลับคืนถิ่น ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด เรามีสินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ โดยธ.ก.ส.มีความพร้อมที่จะสนับสนุนทุกรูปแบบทั้งด้านเงินทุนที่มีเมนูต่างๆให้เลือกมากมาย และนอกจากการเติมทุนเรายังมีการเติมความรู้ การแปรรูปเพิ่มมูลค่า รวมทั้งการตลาด การซื้อขายออนไลน์ เราพร้อมที่จะเดินเคียงข้างกับเกษตรกรไทยทุกคน” รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวย้ำ

อนึ่ง ในการเดินทางมาเยี่ยมชมเกษตรกรลูกค้าธ.ก.ส.ในครั้งนี้ ยังมี คุณอรุพงษ์ เพชรสุข ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาลูกค้าสถาบันและองค์กรชุมชน (สพส.) ซึ่งได้บอกกล่าวให้ฟังว่า ธ.ก.ส.มุ่งมั่นเป็นอย่างมากที่จะยกระดับอาชีพเกษตรกรให้เกิดการพัฒนาต่อยอดหรือสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะการสร้างชุมชนท่องเที่ยวถือเป็นภารกิจสำคัญที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และอยากฝากไปถึงเกษตรกรที่มีความประสงค์จะทำชุมชนท่องเที่ยวหรือทำฟาร์มเป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมไปถึงการเชื่อมโยงตลาด การสร้างแบรนด์สินค้าเกษตร ขอให้เดินขึ้นไปหาธ.ก.ส.สาขาในอำเภอหรือในจังหวัดนั้นๆได้โดยตรง โดยจะมีคำตอบให้กับเกษตรกรไทยทุกคน

สำหรับการลงพื้นที่เยี่ยมชมฟาร์มเกษตรครั้งนี้ ทาง ธ.ก.ส.พื้นที่ได้มาอำนวยความสะดวกและพาเยี่ยมชม ซึ่งประกอบด้วย คุณวิจิตร ศรีสมศักดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง คุณประยงค์ มุ่งยุทธกลาง ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดนครราขสีมา และคุณวันชัย บำรุงเกาะ ผู้จัดการธ.ก.ส.สาขาวังน้ำเขียว

มาวังน้ำเขียวเที่ยวนี้ทำให้ได้รู้ว่าที่นี่มีสวนไม้ประดับ “สับปะรดสี” ใหญ่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ชื่อว่า “สวนสับปะรดสี บ้านพระอังคาร” ตั้งอยู่ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา สวนแห่งนี้เกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงของ พ.ต.ต.นิรันทร์ ถวัลย์ภูวนาถ สวป.สภ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ที่ใช้เวลาว่างทำอาชีพเสริม ด้วยการเพาะพันธุ์สับปะรดสีขายสร้างรายได้งาม พร้อมเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ให้ผู้ที่สนใจแวะเวียนมาไม่ขาดสาย

โดยสวนแห่งนี้ได้รับการสนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตร ภายใต้การสนับสนุนของกรมส่งเสริมการเกษตร และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)

พ.ต.ต.นิรันทร์ เล่าว่า ตนเองนั้นเป็นคนชอบปลูกต้นไม้และศึกษาต้นไม้ต่างๆ จนมาสดุดตากับสับปะรดสี ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ประดับชนิดหนึ่งที่มีความหลากหลายในสายพันธุ์และสีสันสดใสสวยงาม อีกทั้งสับปะรดสีเป็นไม้ที่ดูแลง่าย ทนต่อสภาพแล้งได้เป็นอย่างดี จึงมองว่าสับปะรดสีน่าจะเป็นพันธุ์ไม้หนึ่งที่สามารถเพราะขายเป็นธุระกิจได้ในอนาคต โดยได้เริ่มต้นปลูกและลงทุนปลูกอย่างจริงจังเมื่อไม่กี่ปีมานี้

“อันดับแรกเกิดจากความชอบก่อน พอชอบก็มาศึกษาอย่างจริงจัง จากนั้นเปิดเป็นสวนเป็นร้านขึ้นมา พอคนมาเห็นเขาถ่ายรูปไปลงโซเชียลหรือส่งให้เพื่อน ทุกคนที่มาเหมือนเป็นนักข่าวให้เรา แล้วทีนี้คนสนใจเขาก็มาเที่ยวมาซื้อกัน”

กลุ่มลูกค้านอกจากจะเป็นนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวที่สวนแล้ว ยังมีกลุ่มที่มาเรียนรู้ มาศึกษาดูงาน และซื้อกลับไปปลูกหรือไปขยายพันธุ์ และอีกกลุ่มจะเป็นแม่ค้าออนไลน์ทั่วประเทศที่เขาเองไม่สามารถจะทำแปลงปลูกให้มีขนาดใหญ่ได้ แต่เอาสินค้าของเราไปขาย ซึ่งก็ถือว่าได้สร้างงานสร้างอาชีพให้กับเขาได้ โดยลูกค้าที่ซื้อผ่านออนไลน์ถือเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้นทุกวัน แต่ก่อนจะทำอาชีพปลูกไม้ดอกไม้ประดับจะต้องอาศัยทำเล ต้องมีร้านของตัวเอง แต่ตอนนี้ไม่จำเป็นแล้วสามารถเอาไปขายได้เลย แต่เราต้องซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

ลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่งคือส่งออกไปต่างประเทศ โดยลูกค้ารายใหญ่จะอยู่ที่มาเลเซีย และเวียดนาม โดยที่เวียดนามเป็นนักจัดสวนรายใหญ่ และสับปะรดสีเหมาะแก่การขนส่งทางไกลแค่ล้างรากให้สะอาดผึ่งให้แห้งก็ห่อและบรรจุลงกล่องได้

สำหรับการลงทุนนั้นพ.ต.ต.นิรันทร์ เปิดเผยว่า ครั้งแรกได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จำนวน 5 แสนบาท ต่อมาขยายพื้นที่ปลูกจาก 1 ไร่ เป็น 3 ไร่ โดยได้รับการสนับสนุนเพิ่มอีก 8 แสนบาท ซึ่งรายได้ถือว่าอยู่ได้อย่างน้อยก็พอเลี้ยงลูกน้องได้

“ผมอยากฝากไปยังผู้ที่สนใจอยากทำเป็นอาชีพ ขอให้ทำอย่างจริงจัง อย่างผมนั้นเกิดขึ้นจากความชอบก็สะสมพันธุ์สับปะรดสีเรื่อยมา จนปัจจุบันมีประมาณ 50 สายพันธุ์ พันธุ์ที่ขายดี(พันธุ์ตลาด)ก็มีไม่กี่สายพันธุ์ แต่เราจำเป็นต้องมีความหลายหลาย ซึ่งจริงๆก็ยังมีพันธุ์มากกว่านี้ เราต้องมีโรงเรือน แต่ก็ไม่ต้องสร้างแบบโครงสร้างเหล็กเหมือนกับผมตอนแรก เราสามารถทำเป็นลวดสลิง ซึ่งจะลดต้นทุนได้มากกว่า โดยทางสวนของผมพร้อมให้ความร่วมมือกับผู้ที่ต้องการสร้างงานสร้างอาชีพด้วยสับปะรดสีทุกคน”

“สุดท้ายอยากฝากขอบคุณธ.ก.ส.ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ข้าราชการชั้นผู้น้อยในการทำอาชีพเสริม เพราะว่าข้าราชการสมัยนี้รายได้ไม่มาก ถ้าไม่มีอาชีพเสริมนี้ก็ลำบากเหมือนกัน ธ.ก.ส.ให้เงินมาก้อนหนึ่งเราก็ทำเล็กๆก่อน ขยายพันธุ์มาเรื่อยๆ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี ก็จะมีพันธุ์มากขึ้นและแบ่งขายได้ และเมื่อปีที่แล้วเขาก็ให้มาอีกก้อนหนึ่งเพื่อขยายกิจการ ก็ทำให้เลี้ยงตัวเลี้ยงลูกน้องได้”

“ใครที่ไม่มีเงินทุน..ผมก็บอกว่าไม่ต้องติดขัด ขอให้ทำให้จริงและก็ให้ไปหาไปติดต่อธ.ก.ส.เขามีบริการด้านการเงินมากมาย และขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก ไม่ช้า ทันต่อความต้องการของเราเลยครับ” พ.ต.ต.นิรันทร์ กล่าวย้ำ

อนึ่ง ในการมาเยี่ยมชมสวนสับปะรดสี บ้านพระอังคารครั้งนี้ ทางทีมงานธ.ก.ส. ซึ่งนำโดย นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการ นายอรุพงษ์ เพชรสุข ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาลูกค้าสถาบันและองค์กรชุมชน (สพส.) และทีมงานสำนักประชาสัมพันธ์ (สปส.) นำคณะสื่อมวลชนจากหลายสำนักมาทำข่าว โดยมี นายวิจิตร ศรีสมศักดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง พร้อมด้วย ผอจ.นครราชสีมา ผู้บริหาร และพนักงาน ธ.ก.ส. สาขาวังน้ำเขียวให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2564

นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวย้ำในตอนท้ายว่า ที่นำสื่อมวลชนมาเยี่ยมชมเกษตรกรลูกค้าในครั้งนี้ นอกจากสวนสับปะรดสีบ้านพระอังคารแล้ว ยังมีวิสาหกิจชุมชนกลุ่มรักจังฟาร์มวังน้ำเขียว ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเมล่อนและกัญชา และสหกรณ์กสิกรรมไร้สารพิษวังน้ำเขียว จำหน่ายผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์

โดยการนำทีมสื่อมวลชนลงพื้นที่ครั้งนี้ นอกจากการช่วยนำเสนอข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์ให้แก่เกษตรกรแล้ว จะเป็นเสมือนเป็นการส่งสัญญานว่า ธ.ก.ส.ห่วงใยผู้ประกอบการด้านการเกษตร รวมไปถึงเกษตรกรไทยทุกคน และสิ่งที่ผู้บริหารได้ย้ำตลอดเวลาในการเดินทางทางไปแต่ละจุดที่ไปเยี่ยมชมคือ พร้อมสนับสนุนและเดินเคียงข้างเกษตรกรตลอดไป

วันนี้ (วันจันทร์ที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔) พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ มอบหมายให้ พลอากาศโท ชัยนาท ผลกิจ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนรถขนข้าว โครงการ “ทัพฟ้าช่วยชาวนา” ณ กรมขนส่งทหารอากาศ ดอนเมือง โดยมี พลอากาศตรี ธีรพล สนแจ้ง เจ้ากรมขนส่งทหารอากาศ ร่วมพิธี

สำหรับขบวนรถดังกล่าว ประกอบด้วย รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ จำนวน ๗ คัน และรถยนต์โดยสารปรับอากาศขนาดใหญ่ จำนวน ๑ คัน ซึ่งกองทัพอากาศให้การสนับสนุนการรับ-ส่งเกษตรกร พร้อมข้าว จำนวน ๕๐ ตัน ประกอบด้วย ข้าวเหนียว ข้าวจ้าว ข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง และข้าวเพื่อสุขภาพ รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ จากศาลากลาง จังหวัดยโสธร ถึงปลายทางสนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์) เพื่อนำมาจำหน่ายในโครงการ “ทัพฟ้าช่วยชาวนา” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกองทัพอากาศ กับ เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรจังหวัดยโสธร ในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องเกษตรกร

โดยกองทัพอากาศได้สนับสนุนพื้นที่ของสนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์) เป็นสถานที่จำหน่ายข้าวและผลผลิตทางการเกษตร สนับสนุนอาคารที่พักนักกีฬา ๕ ชั้น เป็นสถานที่พักให้แก่เกษตรกร รวมทั้งสนับสนุนยานพาหนะในการขนส่งสินค้าจากต้นทางมายังพื้นที่จำหน่าย

ทั้งนี้ กองทัพอากาศตระหนักดีว่า ความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากข้าวและสินค้าเกษตรราคาตกต่ำ จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนอย่างทันท่วงที จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนที่สนใจร่วมอุดหนุนข้าวและสินค้าเกษตรจากโครงการ “ทัพฟ้าช่วยชาวนา” เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่พี่น้องเกษตรกร ซึ่งกำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ ๑ – ๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ – ๒๐.๐๐ นาฬิกา ณ สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์)

ช่วงบ่ายๆจนเกือบค่ำของวันที่ 2 ธ.ค.64 พล.อ.อ.นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เดินทางไปเยี่ยมให้กำลังใจเกษตรกรจากจังหวัดยโสธรและจังหวัดใกล้เคียง ที่นำข้าวสารและสินค้าเกษตรมาจำหน่ายในโครงการ “ทัพฟ้าช่วยชาวนา” โดยผู้บัญชาการทหารอากาศได้เดินชมสินค้า พูดคุยกับเกษตรกรแต่ละกลุ่ม แต่ละบูธที่นำข้าวมาจำหน่ายอย่างกันเอง และอุดหนุนข้าวอย่างทั่วถึง จนเงินในกระเป๋าที่เตรียมมาไม่พอ ต้องให้ผู้ติดตามจดบัญชีไว้ สร้างความปลาบปลื้มใจแก่ชาวนาเป็นยิ่งนัก

ตามที่ได้รับทราบว่า เกษตรกรประสบปัญหาน้ำท่วมข้าว ทำให้การเก็บเกี่ยวข้าวเป็นไปด้วยความยากลำบาก ปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำโดยเฉพาะข้าว ทำให้ชาวนาได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้เกิดปัญหาในการจำหน่ายข้าวสารออกสู่ผู้บริโภค ซึ่งผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้กล่าวให้กำลังใจชาวนาที่มาออกร้านจำหน่ายข้าว พร้อมทั้งบอกว่ากองทัพอากาศยินดีสนับสนุน ทัพฟ้าพร้อมช่วยชาวนาทุกคน

ในโอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้เชิญชวนประชาชนที่สนใจ ร่วมอุดหนุนข้าวและสินค้าเกษตร เพื่อให้เกษตรกรที่เป็นคนกลุ่มใหญ่และผู้ผลิตที่สำคัญ สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีกำลังใจในการสร้างผลผลิตทางการเกษตรให้แก่คนไทยต่อไป

สำหรับโครงการ “ทัพฟ้า ช่วยชาวนา” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 7 ธ.ค.2564 เวลา 10.00 – 20.00 นาฬิกา ณ สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์) โดยมีข้าวและสินค้าเกษตรวางจำหน่าย ในราคาพิเศษ ซึ่งชาวนาทุกคนได้พร้อมใจกันขายข้าวในราคาพิเศษแบบที่ว่าจะขายให้หมดไม่ต้องนำกลับบ้าน

ราคาข้าวที่จำหน่าย เช่น ข้าวหอมมะลิ กิโลกรัมละ 30 บาท (แต่ละร้านจะอยู่ในราคาเท่ากัน-เท่าที่ได้เดินสำรวจ-ซึ่งถือว่าราคาพถูกกว่าตามตลาดทั่วไปเป็นอย่างมาก) ข้าวเหนียวก่ำ กิโลกรัมละ 50 บาท ข้าวเหนียวขาว กิโลกรัมละ 26 บาท ข้าวเหนียวขาวปลอดสาร กิโลกรัมละ 35 บาท ข้าวกล้องมะลิแดงอินทรีย์ แพ็คสุญญากาศ กิโลกรัมละ 70 บาท ข้าวกล้องหอมมะลิ 105 อินทรีย์ แพ็คสุญญากาศ กิโลกรัมละ 70 บาท ข้าวกล้องหอมนิลอินทรีย์ แพ็คสุญญากาศ กิโลกรัมละ 70 บาท ข้าวกล้องไรซ์เบอรี่อินทรีย์ แพ็คสุญญากาศ กิโลกรัมละ 70 บาท ข้าวกล้องผสม 5 สายพันธุ์อินทรีย์ แพ็คสุญญากาศ กิโลกรัมละ 70 บาท ฯลฯ

3 ธันวาคม 2564 – เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) โดยนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือซีพี ได้ประกาศดำเนินโครงการ “ซีพี ปันปลูก ฟ้าทะลายโจร” เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ให้กลุ่มธุรกิจในเครือซีพี ปลูกต้นสมุนไพรฟ้าทะลายโจร 100 ไร่ เพื่อสกัดเป็นยาสมุนไพรแคปซูล 30 ล้านเม็ด เร่งแจกจ่ายให้ประชาชนเพื่อใช้เสริมภูมิคุ้มกันป้องกันโรคในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในระลอกที่ผ่านมา โดยมุ่งแจกจ่ายไปที่ประชาชนกลุ่มเปราะบางและมอบให้หน่วยงาน องค์กรพันธมิตร และกลุ่มจิตอาสาต่าง ๆ ร่วมแจกจ่ายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ

ในการนี้ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือซีพี เปิดเผยว่า ขณะนี้โครงการซีพี ปันปลูก ฟ้าทะลายโจร ที่เริ่มตั้งแต่ลงกล้าเพาะปลูกต้นฟ้าทะลายโจร ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคมเป็นต้นมา โดยจัดพื้นที่แปลงปลูกจำนวน 100 ไร่ ที่ศูนย์วิจัยแสลงพัน และฟาร์มคำพราน จ.สระบุรี เพื่อผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจรแจกฟรี 30 ล้านแคปซูล ขณะนี้กระบวนการปลูกจนถึงการผลิตยาสมุนไพรดำเนินการเสร็จสิ้น พร้อมแจกจ่ายอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งโครงการนี้จัดตั้งขึ้นภายใต้แนวคิด “ร้อยเรียงความดีซีพี 100 ปี”

ที่ต้องการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงยาสมุนไพรไทยเพื่อใช้เสริมภูมิคุ้มกันป้องกันโรค และเพื่อร่วมแสดงออกถึงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ 5 ธันวาคม โดยตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมาเครือซีพีได้เริ่มทยอยนำร่องแจกจ่ายยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่มูลนิธิดวงประทีป ชุมชนคลองเตย และชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน และล่าสุดในวันที่ 2 ธันวาคม ได้ส่งมอบยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรอย่างเป็นทางการให้ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เพื่อส่งต่อไปยังจังหวัดชายแดนใต้ และอีกส่วนหนึ่งแจกในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ นอกจากนี้ยังได้มอบให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อกระจายยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรไปยังบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขต่อไป

นายธนินท์ กล่าวว่า หลังจากนี้จะทยอยส่งมอบยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรไปยังองค์กรพันธมิตร โรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา มูลนิธิและกลุ่มจิตอาสา เพื่อร่วมแจกจ่ายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ตลอดจนกลุ่มธุรกิจในเครือฯ อาทิ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด ที่มีสาขาและโรงงานในจังหวัดต่าง ๆ ร่วมผนึกกำลังลงพื้นที่กระจายการแจกจ่ายสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในพื้นที่ที่ยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ด้วย

“เครือซีพียึดมั่นในหลักปรัชญาสามประโยชน์ มุ่งสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ และประชาชนมาเป็นลำดับแรก ก่อนจะเป็นของบริษัท ในฐานะที่ซีพีเป็นองค์กรเอกชนที่ดำเนินธุรกิจมา 100 ปี ในประเทศไทย พร้อมนำศักยภาพจากทุกกลุ่มธุรกิจช่วยประเทศ โดยเฉพาะในยามวิกฤต จึงได้จัดตั้งโครงการ ซีพี ปันปลูก ฟ้าทะลายโจรขึ้น แม้ในสถานการณ์ปัจจุบันจะเปิดประเทศแล้ว แต่ทุกคนยังต้องให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพ ควบคุมโรคเพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อ ทั้งเพื่อประโยชน์ต่อตัวเอง และช่วยแบ่งเบาภารกิจด้านสาธารณสุขของประเทศ และต้องขอบคุณพันธมิตรทุกภาคส่วนที่มาร่วมแรงร่วมใจช่วยส่งต่อยาฟ้าทะลายใจรให้คนในสังคม เพราะหากเรามีร่างกายและกำลังใจที่แข็งแกร่งแล้ว ย่อมผ่านวิกฤตนี้ไปได้” นายธนินท์ กล่าว

ล่าสุด เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดย นายวรวิทย์ เจนธนากุล กรรมการและเลขานุการมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้แทนเครือซีพี ในการส่งมอบ ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ให้แก่กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 20,000 กระปุก โดยมี นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์และการแพทย์ทางเลือก เป็นผู้รับมอบ และ นายสายัณห์ หงษา ประธานคณะผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด เป็นผู้แทนเครือฯ ส่งมอบยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร จำนวน 10,000 กระปุก ให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีนายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับมอบ

นายวรวิทย์ เจนธนากุล กรรมการและเลขานุการมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า โครงการ “ซีพีปันปลูก ฟ้าทะลายโจร” ได้ส่งมอบยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรให้กับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จำนวน 20,000 กระปุก เพื่อส่งต่อความห่วงใยไปสู่พี่น้องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ผ่านโรงพยาบาลในพื้นที่ ซึ่งยังเป็นพื้นที่สีแดงเข้มของการแพร่ระบาดโควิด-19ในขณะนี้ และมอบอีกส่วนหนึ่งให้กับผู้เข้าร่วมงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 22-26 ธันวาคมนี้ เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี

นอกจากนี้ในส่วนของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟจะได้ร่วมผนึกกำลังให้โรงงานและหน่วยงานในกลุ่มซีพีเอฟส่งมอบยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรให้กับหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ ทำการแจกจ่ายสมุนไพรฟ้าทะลายโจรต่อไปให้ประชาชนกลุ่มเปราะบางและประชาชนในพื้นที่ที่ยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ ส่งมอบให้แก่ 4 จังหวัดชายแดนใต้ โดยจังหวัดสงขลา ส่งมอบแก่ รพ.สต.น้ำน้อย รพ.สต.บ้านท่าจีน รพ.สต.บ้านพรุ รพ.รัตภูมิ รพ.สต.ตลิ่งชัน รพ.จะนะ เทศบาลบ้านไร่ และเทศบาลควนลัง ในส่วนของจังหวัดปัตตานี มอบให้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นอกจากนี้ยังได้ส่งมอบไปยัง สาธารณสุขจังหวัดยะลา สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส รวมทั้งจะมีการส่งมอบไปยังประชาชนในจังหวัดนครราชสีมาผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

นายสายัณห์ หงษา ประธานคณะผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด กล่าวว่า เครือซีพีได้ส่งมอบยาฟ้าทะลายโจรจำนวน 10,000 กระปุก ให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทุ่มเทการทำงานและเผชิญกับภารกิจที่ต้องเสียสละเพื่อปกป้องคนไทยให้มีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงในช่วงที่ประเทศกำลังอยู่ในสถานการณ์โควิด-19

ด้าน นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในยามที่ประเทศกำลังเผชิญวิกฤตเช่นนี้ ขอขอบคุณซีพีและบริษัทในเครือ ในฐานะภาคเอกชนที่มีความห่วงใยส่งมอบยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งแม้ขณะนี้อัตราของผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจะลดลง แต่ยังจำเป็นที่บุคลากรด่านหน้าจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันทางร่างกายตลอดเวลาเพื่อเตรียมตัวต่อทุกสถานการณ์ ทั้งนี้เครือซีพีได้ให้การสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกำลังใจสำคัญให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนที่พร้อมจะใช้ความสามารถอย่างเต็มศักยภาพในการร่วมมือกับคนไทยทั้งประเทศฝ่าวิกฤตโควิด-19 ให้ได้ในที่สุด

นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า แม้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยจะมีแนวโน้มที่ลดลง แต่ยังต้องคอยเฝ้าระวัง เพราะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในยุโรป ประกอบกับยังพบพื้นที่แพร่ระบาด โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งการที่ได้รับยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร 20,000 กระปุกจากเครือซีพีในครั้งนี้ จะนำไปกระจายแจกจ่ายให้กับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มกักตัวที่บ้าน (Home Isolation)

และประชาชนในพื้นที่จังหวัดชาดแดนใต้ 10,000 กระปุก โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมบูรณาการงานเพื่อลงไปขับเคลื่อนกับภาคประชาสังคมและประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้จะนำยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรอีกส่วนหนึ่งร่วมแจกจ่ายให้ประชาชนในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติในช่วงปลายเดือนธันวาคมนี้ต่อไป ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือจากภาคเอกชนในการช่วยภารกิจด้านสาธารณสุขช่วยสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโรคให้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาของการแพทย์แผนไทยอีกด้วย

สำหรับยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร โครงการ “ซีพี ปันปลูก ฟ้าทะลายโจร” มีสรรพคุณช่วยป้องกันไข้หวัดสร้างภูมิคุ้มกัน โดยแปลงปลูกทั้ง 100 ไร่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี(GAP) จาก กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมทั้งการบรรจุแคปซูลยังได้รับรองมาตรฐานจาก GMP PIC/S ซึ่งเป็นมาตรฐานสำคัญของโรงงานผลิตยา โดยได้ดำเนินการผลิตตามพ.ร.บ.ยาสมุนไพร และผ่านการรับรองการขึ้นทะเบียนยาสมุนไพรกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่มีข้อกำหนดด้านปริมาณสารสำคัญ แอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) ในวัตถุดิบอย่างเคร่งครัด เพื่อผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจร 30 ล้านแคปซูล เร่งแจกจ่ายให้ประชาชนคนไทยทั่วทุกภูมิภาค ได้สร้างภูมิคุ้มกัน มีสุขภาพที่ดี นอกจากนี้เครือซีพีจะมีการส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกฟ้าทะลายโจรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนอีกด้วย

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษาสมาคมฯ ร่วมประชุมหารือกับกับ ดร.เกษมสันต์ จิณณวาโส ที่ปรึกษาพิเศษ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดร.วีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ ที่ปรึกษาพิเศษ ด้านการพัฒนาเมืองใหม่ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับสวนยางพารา ร่วมประชุมกับ นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ดร.พฤฒิภา โรจน์กิตติคุณ ผู้อำนวยการสำนักประเมินและรับรองโครงการ และเจ้าหน้าที่ เพื่อหารือการจัดเตรียมการทำข้อเสนอในการศึกษาและประเมินการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์แบบสมัครใจ ตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ภาคป่าไม้และภาคการเกษตร

สรุปประเด็นจากที่ประชุม ดังนี้
1) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) นำเสนอโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ซึ่งเป็นกลไกที่ อบก. พัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยความสมัครใจ

โครงการ T-VER แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ 1) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน 2) พลังงานทดแทน 3) การจัดการของเสีย 4) การจัดการในภาคขนส่ง 5) การปลูกป่า/ต้นไม้ 6) การอนุรักษ์หรือฟื้นฟูป่า 7) การเกษตร โดยนำเสนอภาคป่าไม้ และภาคการเกษตร ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการพัฒนาโครงการ การขึ้นทะเบียนโครงการ และการขอรับรองคาร์บอนเครดิต พร้อมทั้งแนวคิดการคำนวณและหลักเกณฑ์การพิจารณา (ระเบียบวิธีการคำนวณการลดก๊าซเรือนกระจก) และมีการนำเสนอรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาฯ สำหรับการปลูกพืชเกษตรยืนต้น ดังนี้
• ลักษณะกิจกรรมที่เข้าข่าย :

เป็นพื้นที่สำหรับการปลูกพืชเกษตรยืนต้น ที่มีการปลูก ดูแล และจัดการอย่างถูกวิธี
เป็นพื้นที่การเกษตรที่ปรับการใช้ปุย และ/หรือ สารปรับปรุงดินอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เป็นการปลูกพืชเกษตรยืนต้น ที่มีรูปแบบการปลูกเป็นสวนเชิงเดี่ยว หรือเป็นสวนผสม
เป็นรูปแบบการปลูกพืชเกษตรยืนต้นที่ต้องมีบำรุงรักษาอยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาผลผลิตให้ได้อย่างต่อเนื่อง
เงื่อนไขของกิจกรรม :

มีหนังสือแสดงสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมาย
เป็นพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเหมาะสมกับเขตการใช้ที่ดิน
ไม่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อดินถล่ม
มีข้อมูลการใช้ปุ๋ย และ/หรือ สารปรับปรุงดินย้อนหลังในพื้นที่โครงการหรือข้อมูลอ้างอิงจากพื้นที่ใกล้เคียง ไม่น้อยกว่า 3 ปี
ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลการใช้ปุ๋ยใน ข้อ 4. สามารถใช้ข้อมูลอ้างอิงจากหน่วยงานราชการ ค่าจากงานวิจัย หรือ ค่าอ้างอิงที่ อบก. ให้การยอมรับ
ไม่เป็นพื้นที่ที่มีการตัดพืชเกษตรยืนต้นออกก่อนครบอายุรอบการผลิต/รอบตัดฟัน เพื่อทำการปลูกพืซเกษตรยืนต้นรอบใหม่
2)ความเห็นที่ปรึกษา : ความเห็นและข้อสังเกตต่อแนวทางการดำเนินโครงการ T-VER 3 ประเด็น คือ 2.1) สกพอ. สนใจเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนโครงการ T-VER ภาคการเกษตร เนื่องจากพื้นที่ อีอีซี มีพื้นที่ ทางการเกษตร เช่น สวนผลไม้ สวนยางพารา สำหรับโครงการ T-VER ภาคป่าไม้ มี อบก. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนแล้ว

สำหรับพื้นที่เกษตรที่เป็นสวนยางพารามีข้อสรุปร่วมกันว่าอบก.จะจัดทำหลักเกณฑ์ การประเมินคาร์บอนเครดิตในพื้นที่สวนยาง โดยอิงจากหลักเกณฑ์สากลที่ใช้อยู่ในหลายๆ ประเทศ แล้วต่อจากนั้น จะได้นำมาหารือกันอีกครั้งระหว่าง ฝ่าย อบก. ฝ่าย EEC และ ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปสู่ภาคปฏิบัติต่อไป นับว่าเป็นข่าวดีของชาวสวนยางเมื่อได้ต้นแบบการดำเนินการดังกล่าวเป็น Pilot Project แล้วในอนาคตก็จะได้นำไปขยายผลในพื้นที่สวนยางทั่วประเทศจำนวน 30 ล้านไร่ ต่อไป

ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากที่ผ่านมา ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ได้ร่วมประชุม คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ซึ่งมี พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานท่านให้ความสำคัญกับการกักเก็บคาร์บอนเครดิต สำหรับพื้นที่สวนยางพารา ซึ่งมีประมาณ 30 ล้านไร่ คาดการณ์จะได้คาร์บอนเครดิต 51,240 ล้านตัน คิดเป็นรายได้ให้กับชาวสวนยางถึง 49,190 ล้านบาท ต่อมาดร.อุทัยได้เสนอเป็นหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี ผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ผลคือนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบท) นัดหารือกับ ดร.อุทัย เพื่อสร้างความมั่นใจในการดำเนินงาน

วิธีการ ข้อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ รวมทั้ง ปัญหาอุปสรรค ในการประเมินการกักคาร์บอนเครดิตในพื้นที่สวนยาง ซึ่งได้มีการประชุม เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ผ่านระบบ Conference ระหว่าง ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ และผู้แทนองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) โดยมีข้อสรุปว่าควรจัดทำ Pilot Project นำร่องพื้นที่สวนยางในพื้นที่ EEC จังหวัด ระยอง ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ที่เข้าเงื่อนไข มีประมาณ 1.5 ล้านไร่ เนื่องด้วยเหตุผล ในเขต EEC มีกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมที่มีความต้องการใช้ประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต หากมีการ Matching กันในการซื้อขายได้จริง ก็จะขยายผลไปยังพื้นที่สวนยางทั่วประเทศที่มีประมาณ 30 ล้านไร่ เมื่อมีความชัดเจน ที่มุ่งเป้าไปที่พื้นที่สวนยางในเขต EEC เป็นผลให้ผู้บริหารโครงการ EEC เห็นด้วยในครั้งนี้ จึงเกิดการผลักดับขับเคลื่อนร่วมกันในวันนี้ขึ้น

บริษัท เวิลด์ เมดดิคัล ท้วริซึม อัลไลแอนซ์ จำกัด สล็อตออนไลน์ (World Medical Tourism Alliance หรือ WMTA) ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัว “World Medical Tourism Alliance & ตราสัญลักษณ์ 1st Cannabis” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม 2564 ณ ห้องอโนมา 1 ชั้น 3 โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ โดยมี นายแพทย์ธงชัย ทวิชาชาติ (อดีตผู้อำนวยการ องค์การเภสัชกรรม และประธานกรรมการและกรรมการอิสระ) ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีและ รองศาสตราจารย์ ดร.สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์ คณบดีวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาร่วมเป็นเกียรติในงาน

ผู้ค้าปุ๋ยพร้อมร่วมมือภาครัฐขายปุ๋ยเคมีในราคาพิเศษ

จากปัญหาราคาปัจจัยการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อเกษตรกรทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จึงเป็นที่มาของการออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรระยะสั้นที่ภาครัฐบาลและเอกชนร่วมกันช่วยเหลือเกษตรกรคือ การขายปุ๋ยเคมีในราคาพิเศษ ผ่านสหกรณ์การเกษตร และกลุ่มสถาบันเกษตรกร โดยเริ่มตั้งแต่ครั้งแรก ในระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม และมีการขยายเป็นครั้งที่สองจนถึงเดือนตุลาคม 2564 และล่าสุดนี้ได้ขยายเป็นครั้งที่สามจนถึงเดือนธันวาคม 2564 โดยทางสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ช่วยเหลือปุ๋ยเคมีราคาพิเศษกับเกษตรกร 201,106 ตัน หรือ 4,022,120 กระสอบ

จากมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรระยะสั้นดังกล่าวเป็นมาตรการที่ดีที่ภาครัฐร่วมกับภาคเอกชนช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงที่ปุ๋ยมีราคาแพง เนื่องจากปุ๋ยเคมีเป็นตัวแปรสำคัญในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและสร้างรายได้ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกร แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการที่ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ ควรทำอย่างระมัดระวัง ผู้กำหนดนโยบายควรเข้าใจธุรกิจและอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีอย่างลึกซึ้ง

ควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านก่อนตัดสินใจออกนโยบาย มิฉะนั้นอาจส่งผลกระทบต่อทั้งเกษตรกรเองและผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเกษตร และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแทรกแซงกลไกของตลาด โดยทั่วไปแล้วจะทำให้เกิดสิ่งที่ทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “การสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ (Deadweight loss)” ดังนั้นภาครัฐควรประเมินผลกระทบอย่างรอบคอบก่อนที่จะทำการแทรกแซง มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าต้องการทำไปเพื่ออะไร ตอบโจทย์การช่วยเหลือเกษตรกรจริงหรือไม่ และที่สำคัญ ได้ผลดีมากกว่าผลเสียหรือเปล่า

จากวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID -19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคเกษตรกรของไทย รวมทั้งเศรษฐกิจโลก ดังนั้นนโยบายภาคการเกษตรของประเทศไทยจะต้องมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น มีทิศทางและแนวทางที่ปฏิบัติได้จริงและสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ดีขึ้น หลายปีที่ผ่านมาภาครัฐบาลมีนโยบายที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก และเป็นผู้ผลิตอาหารปลอดภัยเป็นที่ยอมรับต่อประเทศต่างๆ แต่สิ่งที่จะรองรับนโยบายดังกล่าว คือ ผลผลิตทางการเกษตร ที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรเพื่อปรับแต่งพืชผลตามที่ต้องการ เช่น เร่งการเจริญเติบโตของใบและต้น เร่งการออกดอกออกผล เพิ่มขนาดและคุณภาพผลผลิต ซึ่งส่วนนี้ “ปุ๋ยเคมี” ถือว่าเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ รวมทั้งการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพก็ควรใส่ปุ๋ยให้ถูกชนิด ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกเวลาและถูกวิธี และต้องมีหน่วยงานที่เชี่ยวชาญให้คำแนะนำอย่างถูกต้องแก่เกษตรกร การวิเคราะห์ดิน-พืช ซึ่งเป็นมาตราการที่จะต้องนำมาใช้อย่างจริงจัง รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานการเพาะปลูกพืช เช่น GAP การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับพืช (Good Agricultural Practice) เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบันและเป็นสิ่งที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ในรอบปี พ.ศ. 2564..ข่าวคราวเกี่ยวกับกัญชา กัญชง และพืชกระท่อม ถือว่ามาแรงมาก เนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ที่ว่ากันว่าให้ผลตอบแทนสูงมาก..บ้านเรานั้นเริ่มเปิดประตูกว้างหลังจากถูกล็อกสนิทปิดตายมานาน

โดยเฉพาะในเรื่องการปลูกกัญชง ทุกคนได้สตาร์ทพร้อมกัน หลังจากกฎกระทรวงฯ กัญชงฉบับใหม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 29 มกราคม 2564 เป็นต้นไป เปิดให้คนไทยทุกคนปลูกได้ ใช้ประโยชน์ได้ทุกวัตถุประสงค์ สร้างมูลค่าเพิ่มใน ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งยา อาหาร เครื่องสาอาง และผลิตภัณฑ์สมุนไพร พร้อมเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของประเทศ

“เกษตรก้าวไกล” ได้พยายามสอดส่องสายตามองหานักวิชาการและเกษตรกรที่เป็นต้นแบบ (ที่พร้อมแบ่งปันความรู้) ในที่สุดเราก็ได้พบกับ ดร.วรพล วังฆนานนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีเอ็นเคบิวตี้ จำกัด ผู้นำพืชสมุนไพรมาผลิตเป็นเครื่องสำอาง และในอีกตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนระดับปริญญาโท-เอกในมหาวิทยาลัยชื่อดัง และตำแหน่งล่าสุดก็คือเกษตรกรผู้ลงทุนปลูกกัญชงในนาม วิสาหกิจชุมชนศูนย์พัฒนาพืชสมุนไพรพนัสนิคม (P-HERB) ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.ทุ่งขวาง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

ข้อมูลจาก ดร.วรพล ตามคลิปนี้ จึงนับว่าน่าสนใจ เพราะมีทั้งวิชาการ และประสบการณ์ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรไทยไม่มากก็น้อย

(จากในคลิป อาจจะมีหลายคนสอบถามว่าทำไมลงทุนสูง เรื่องนี้ ดร.วรพล บอกว่าตามระเบียบของ อย. ไม่ต้องทำรั้วให้แน่นหนาอย่างที่เห็น แต่ที่ทำอย่างนี้เพื่อต้องการยกระดับและสร้างมาตรฐานให้สูง ซึ่งจริงๆอาจใช้ทุนแค่ 2-3 แสนบาทเท่านั้น)

อนึ่ง จากการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ ดร.วรพล วังฆนานนท์ พบว่าแม้การลงทุนเริ่มแรกจะสูง เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่จะต้องนำมาทำเป็นอาหารและยา จึงต้องมีระบบการปลูกที่จะต้องได้มาตรฐาน รวมทั้งระบบความปลอดภัยเนื่องจากยังเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ดังนั้น การปลูกต้องขออนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขเสียก่อน โดยทำตาม “กฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2563”

โดยเมื่อพิจารณาจากกฎกระทรวงดังกล่าวได้เปิดกว้างให้มีการขออนุญาตปลูกกัญชงได้ตั้งแต่บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย ไปจนถึงนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย และยังรวมไปถึงวิสาหกิจชุมชนที่ไม่เป็นนิติบุคคล (มีลักษณะเดียวกับบุคคลธรรมดา) และหน่วยงานของรัฐ (ค้นอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากกูเกิ้ล รวมไปถึงวัตถุประสงค์ในการขออนุญาตผลิต ซึ่งจะต้องตรงกับข้อใดข้อหนึ่งที่กำหนดไว้ 6 ข้อ เช่น เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม ฯลฯ)

ส่วนเอกสารที่ต้องเตรียม ประกอบด้วย 1. แบบคำขอรับอนุญาต (แบบกัญชง 1) 2. แผนการผลิต แผนการใช้ประโยชน์ 3. แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ปลูกและเส้นทางการเข้าถึง 4. หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือสิทธิครอบครอง 5. แบบแปลนอาคารโรงเรือน และภาพถ่าย 6. เอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมอื่น ๆ

“การขออนุญาตปลูกอาจดูเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่คิดว่าเป็นปกติธรรมดาของพืชกัญชงที่ยังมีกฎหมายควบคุมอยู่…โดยมองว่าเรื่องที่ยากมากกว่าคือ การตลาด ปลูกขึ้นมาแล้วจะไปขายใคร ให้ราคาเท่าไร ทางที่ดีควรจะทดลองปลูกจาก 1 ไร่ไปก่อน เพื่อศึกษาเรียนรู้ไปในตัว โดยผมเองพร้อมที่จะให้เป็นศูนย์เรียนรู้ ซึ่งจากที่ได้ศึกษามาหากเราปลูกได้ตามมาตรฐานจะพบว่าตลาดยังเปิดกว้างมาก ไร่หนึ่งๆสามารถทำรายได้เกิน 1 ล้านบาทต่อปี (กรณีปลูกปีละ 1 รุ่น แต่ถ้าปลูก 2 รุ่น ก็จะมีรายได้เพิ่มเท่าตัว..โดยปลูก 1,900 ต้น/ไร่) และความมั่นใจอีกอย่างหนึ่งคือกฎหมายห้ามนำเข้าเป็นเวลา 5 ปี จึงเป็นโอกาสของเกษตรกรไทยมากๆ” ดร.วรพล วังฆนานนท์ กล่าวในที่สุด

ผู้สนใจที่จะศึกษาเรียนรู้หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ดร.วรพล วังฆนานนท์ ได้ที่ 095-552-2891 พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อก้าวเดินไปด้วยกัน

เริ่มแล้วอย่างเป็นทางการกับงาน AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit 2021 ซึ่งมีกำหนดการระหว่างวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2564 ณ โรงแรม ดิ อิมพีเรียลโฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช และถ่ายทอดสดผ่านระบบออนไลน์ DLG CONNECT จัดโดยผู้จัดงานแสดงสินค้าที่เชี่ยวชาญด้านธุรกิจเกษตรอย่าง วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค และ สมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน (ประเทศไทย) ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และพันธมิตรการจัดงานนานาประเทศ (กระทรวงอาหารและการเกษตรแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ และสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย) โดยมีพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ นำโดย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประธานเปิดงาน) พร้อมด้วย คุณชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา / คุณนุช หอมรสสุคนธ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายส่งเสริมการจัดประชุมนานาชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) / Mr. Michael Ritter, Senior Vice President Asia, CLAAS Global Sales GmbH และ Mrs. Katharina Staske กรรมการผู้จัดการ บริษัท สมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน (ประเทศไทย)

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า “AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit ซึ่งมีหัวข้อหลักของการประชุมในหัวข้อ การผลิตที่ชาญฉลาดสำหรับระบบอาหารที่ยั่งยืน มีความสอดคล้องกับการขับเคลื่อนภาคเกษตรของประเทศไทยที่ผ่านมา ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตที่กำลังเป็นมาพลิกโฉมจากการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่ระบบเกษตรและการผลิตอาหารที่ยั่งยืน ซึ่งจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญกับ 4 เรื่องหลัก ได้แก่ การพัฒนากำลังคนในภาคเกษตรให้เป็น

Smart Farmer และ Smart Officer ยกระดับผู้ประกอบการเกษตรสมัยใหม่ / พัฒนากระบวนการทำงานโดยทำงานในพื้นที่และแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์กัน / ผลักดันการใช้และเข้าถึงเทคโนโลยีนวัตกรรมการเกษตรเพื่อให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ลดปัญหาและความเสี่ยงจากการเกษตร และสุดท้าย การสร้างเครือข่ายกับทุกภาคส่วน ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร นำจุดแข็งของทุกภาคส่วนมาสนับสนุนการพัฒนาภาคเกษตรเพื่อสร้างความเข้าใจถึงการผลิตที่ทันสมัยและการจัดการพืชผลอย่างชาญฉลาดเพื่อการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนทั้งระบบ”

คุณชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เสริมว่า “หลังจากได้พิจารณาโปรแกรมงานประชุมในครั้งนี้ ผมเชื่อมั่นว่าทางผู้จัดฯ มาถูกทางแล้ว เนื่องจากโคราชเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางในการผลิตข้าว มันสำปะหลัง อ้อย กระเทียม และกาแฟของประเทศไทย ปัจจุบันผลผลิตทางการเกษตร 3 อันดับแรกของจังหวัด ได้แก่ ข้าว (ประมาณ 18,000 ตัน) กระเทียม (52 ตัน) และ เมล็ดกาแฟ (16 ตัน) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ภายในโคราชและพื้นที่ใกล้เคียงมีเกษตรกรมืออาชีพและเกษตรกรทั่วไปจำนวนมาก ซึ่งการเข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งและต่อยอดความรู้ในเรื่องการจัดการพืชผลอย่างชาญฉลาด และการใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการเปิดรับนวัตกรรม และวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน”

คุณนุช หอมรสสุคนธ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายส่งเสริมการจัดประชุมนานาชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) สนับสนุนว่า “เศรษฐกิจของประเทศไทยเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการเกษตรมาอย่างช้านาน โดยภาคเกษตรกรรมคิดเป็นร้อนละ 6 ของ GDP ผลิตโดยใช้แรงงานราวหนึ่งในสามของกำลังแรงงานทั้งประเทศ อย่างไรก็ตามด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและรูปแบบการทำงานของระบบเกษตรกรรม เกษตรกรจึงไม่สามารถพึ่งพาแรงงานการผลิตในรูปแบบดั้งเดิมเพียงอย่างเดียว และมีความจำเป็นที่จะต้องหันมาให้ความสนใจกับแนวคิดการปกป้องทรัพยากรทางธรรมชาติควบคู่ไปกับการผลิตอย่างยั่งยืน ภายในงานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาคครั้งนี้ มีการรวมหัวข้อสำคัญต่างๆ มานำเสนอให้เกษตรกรและผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นได้เรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ แนวทางการแก้ไขปัญหาทางการเกษตรเพื่อก้าวไปสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืน”

Mr. Michael Ritter, Senior Vice President Asia, CLAAS Global Sales GmbH กล่าวว่า “CLAAS มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงานในครั้งนี้เพื่อได้แบ่งปันความรู้และความเชี่ยวชาญของเรา ตลอดจนเรียนรู้จากเกษตรกรและผู้เข้าร่วมงานท่านอื่นๆ บริษัทของเรามีความสนใจและพยายามที่จะเข้าใจถึงความต้องการของเกษตรกรท้องถิ่นเพื่อจัดหาเครื่องมือที่จะช่วยส่งเสริมให้การทำเกษตรกรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบสนองความต้องการของการผลิตอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้เข้าร่วมงานจะมีโอกาสได้ชมการสาธิตเครื่องเก็บเกี่ยวอาหารสัตว์ CLAAS JAGUAR ในโปรแกรม Farm Visit วันพรุ่งนี้”

งานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์และรูปแบบปรกติ ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09:00-16:00 น. ณ โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช จังหวัดนครราชสีมา ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อซื้อบัตรเข้าชมงานผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ www.agritechnica-asia.com/regional-summit | www.horti-asia.com/regional-summit หรือซื้อบัตรเข้างานได้ที่สถานที่จัดงาน ผู้ที่เดินทางมายังสถานที่จัดงาน จำเป็นต้องมีผลตรวจ ATK Test ภายใน 72 ชม. พร้อมแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีน AstraZeneca อย่างน้อย 1 เข็ม หรือ วัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็ม โดยได้รับวัคซีนอย่างน้อย 14 วันก่อนวันจัดงาน | สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02-1116611 (วีเอ็นยูฯ)

เกษตรกรจะสู้ศึกโควิดอย่างไรในปี 65 จะฟื้นฟูอาชีพเกษตรอย่างไรให้เกิดความยั่งยืน นี่เป็นโจทย์ที่เราชาวคณะเกษตรก้าวไกลตั้งไว้..ยิ่งเมื่อได้รับทราบข่าวดีว่าตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน เราได้เปิดประเทศแล้ว ความหวังความตั้งใจก็จะเป็นจริงมากขึ้น ตั้งใจว่าจะลุยกันอีกสักยกก่อนสิ้นปี 64 ปีแห่งวิกฤตที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 63 ซึ่งไม่เฉพาะพี่น้องคนไทยแต่เป็นกันทั้งโลก

โควิดทำให้คนบนโลกตระหนักถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นการตอกย้ำหลังจากที่พวกเราทุกคนถูก Disrubtion จากเทคโนโลยีดิจิทัลมาหมาดๆ เป็นยุคที่จะต้องปรับตัวกันอย่างรุนแรง

เกษตรก้าวไกล ถือโอกาสนี้เดินทางไกลอีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ประจำการอยู่ในที่ตั้งเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ได้ส่งสัญญานมายังพี่น้องเกษตรกรไทยทุกคนด้วยความห่วงใย ภายใต้โครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย ซึ่งใครที่ได้ติดตามเว็บไซต์เกษตรก้าวไกล และสื่อออนไลน์ในเครือ (เพจเฟสบุ๊คและยูทูปช่อง เกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน) ก็คงจะทราบกันดี

การเดินทางของเราครั้งนี้ ยังใช้แนวคิดเดิม ภายใต้โครงการลุยเกษตรสุดเขตไทย (ใช้ชื่อตอนว่า ธ.ก.ส.เกษตรก้าวไกล) แต่จะลุยได้ไกลแค่ไหนก็ว่ากันไป เพราะครั้งนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่พอสมควร (อาจไปได้ไม่สุดเขตประเทศไทยเหมือนตอนที่ 1 แต่ขออาศัยชื่อโครงการเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง) ตามเดิมนั้นได้วางแผนไว้ว่าจะออกเดินทางช่วงเดือนสิงหาคม -กันยายน แต่โควิดรุนแรงห้ามคนจากพื้นที่สีแดงเข้าในจังหวัดต่างๆ และพอเดือนตุลาคมก็เกิดน้ำท่วมในพื้นที่หลายจังหวัด

อย่างไรก็ดีเราก็ไม่ลดทิ้งความตั้งใจ หมายมั่นว่าจะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสคือ การลงพื้นเกษตรครั้งนี้นอกจากจะสัมภาษณ์พบปะเกษตรกรเกี่ยวกับการฟื้นฟูอาชีพหรือกิจการเกษตรแล้ว เราจะถือโอกาสนี้สอบถามเรื่องแผนงานเกษตรปี 65 ซึ่งเป็น “ปีเสือ” ว่าเกษตรกรแต่ละคนได้วางแผนสู้อย่างไร

โดยวิธีการนำเสนอนั้นจะมีทั้งการ LIVEสด การถ่ายทำเป็นคลิป และการเขียนเป็นบทความข่าว ซึ่งการ LIVEสดนั้น เราหวังว่าจะสามารถเชื่อมสังคมเกษตรไปยังคนไทยทั่วประเทศได้อย่างทันท่วงที

การเดินทางภายใต้โครงการนี้ได้เริ่มต้นขึ้นมาได้ระยะหนึ่งแล้ว จากการไปสัมภาษณ์เกษตรกรเลี้ยงปลา “ดอนกระเบื้องฟาร์ม” ที่สุพรรณบุรี และ “เอ็นซีโคโคนัท” ที่ราชบุรี

โครงการลุยเกษตรสุดเขตไทย ในชื่อตอนว่า “ธ.ก.ส.เกษตรก้าวไกล” ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) พร้อมพาหนะการเดินทางโดย “ฟอร์ดประเทศไทย” ซึ่งเราหวังว่าจะทำหน้าที่ของสื่อมวลชนเกษตรให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

ต้อนรับผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 1,000 คน จาก 34 ประเทศ
การประชุมแบบออนไลน์และออนไซต์ พร้อมนิทรรศการและการเยี่ยมชมแปลงสาธิต
เจ้าภาพร่วมจัดงานโดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศไทย
ประเด็นต่างๆ ในการประชุมสัมมนา: การผลิตอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวและข้าวโพด ตลอดจนการเกษตรแม่นยำ การอารักขาพืช การจัดการน้ำ การเกษตรแบบคลัสเตอร์ฟาร์ม การเกษตรแนวตั้ง และโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ

งานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค หรือ AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit ในรูปแบบไฮบริดใหม่ได้ประสบความสำเร็จและปิดงานประชุมทั้งสองวันลงเมื่อวานนี้ (16-17 พฤศจิกายน 2564) ภายใต้ธีมการจัดงาน “การผลิตอัจฉริยะสำหรับระบบอาหารที่ยั่งยืน” สามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ได้จำนวนมากกว่า 800 คน จาก 34 ประเทศ เข้าชมงานผ่านระบบออนไลน์เสมือนจริง พร้อมด้วยผู้เข้าชมงานที่สถานที่จัดงานจริงมากกว่า 240 คน โดยมีการจัดงานประชุมขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย ซึ่งมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงานประชุมสุดยอดดังกล่าวนี้ ซึ่งถือว่าเป็นงานเกษตรกรรมระดับนานาชาติที่สามารถเข้าร่วมงานได้จริงทั้งสองรูปแบบที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่งที่มีการจัดขึ้นในประเทศไทยในปีนี้

ทั้งนี้ การประชุมได้ครอบคลุมหัวข้อเรื่องการผลิตพืชที่กำลังเป็นที่นิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น การทำเกษตรแบบคลัสเตอร์และการทำเกษตรแนวตั้ง ตลอดจนการผลิตน้ำตาลและมันสำปะหลังอย่างยั่งยืนโดยใช้เทคนิคที่ทันสมัย โดยมีผู้บรรยายทั้งที่อยู่ในสถานที่และแบบออนไลน์มากกว่า 90 คน จากประเทศไทยและทั่วโลก รวมถึงผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย ซึ่งได้นำเสนอองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องจากการประชุมสุดยอดระบบอาหารแห่งสหประชาชาติประจำปีนี้

“ในฐานะผู้ร่วมจัดงาน เราพอใจมากกับความสำเร็จของงานในครั้งนี้ ซึ่งยังคงยืนหยัดจัดงาน นอกจากนี้ยังมีความท้าทายใหม่สำหรับการจัดงานในรูปแบบดิจิทัลเสมือนจริง ผ่านรูปแบบการจัดงานแบบไฮบริดซึ่งเข้ากันได้เป็นอย่างดี ในส่วนของประเด็นหลักที่เรานำเสนอในงานสัมมนา คือเรื่องของระบบอาหารที่ยั่งยืนในประเทศไทย เราต้องการการดำเนินการจริงและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไป ผ่านงานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาคครั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ สามารถเข้าถึงผู้คนในอุตสาหกรรมมากขึ้น สร้างความตระหนักรู้ในหลายภาคส่วน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายทางการเกษตรระดับชาติ-ระหว่างประเทศ” ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเทศไทย กล่าวเสริม “ในปีหน้านี้ เราจะตั้งตารอคอยการกลับมาของงาน AGRITECHNICA ASIA และ HORTI ASIA 2022 ซึ่งเราต้องการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในรูปแบบปกตินี้อย่างแน่นอน” ดร.วนิดา กล่าวเสริม

“งานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาคครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ผู้คนในอุตสาหกรรมจะกลับมาพบปะกันเพื่ออัปเดตข่าวสารความรู้ของพวกเขา ตลอดจนการนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ภายในงาน สำหรับประเด็นหลักที่เรามีการนำเสนอจะมุ่งเน้นเรื่อง สถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มของการทำฟาร์มอัจฉริยะในประเทศไทยในปัจจุบันและในอนาคตให้แก่ผู้เข้าร่วมงานสัมมนา ซึ่งการจัดงานในรูปแบบไฮบริดนี้ถือเป็นเรื่องปกติใหม่ และเป็นประโยชน์สำหรับผู้เข้าร่วมงานที่สามารถเข้าถึงงานประชุมทั้งที่อยู่ห่างไกลจากสถานที่จัดงานผ่านทางระบบดิจิทัลเสมือนจริง ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งในยุคนี้” ดร.ดาเรศร์ กิตติโยภาส ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นายกสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย กล่าวปิดท้าย

การใช้เครื่องจักร การเกษตรแม่นยำ และการผลิตที่ยั่งยืน

ในการประชุมเชิงปฏิบัติและเชิงเทคนิค ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบถึงภาพรวมเกี่ยวกับทิศทางในการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับการผลิตอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวและข้าวโพดแบบยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) และองค์กรผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ รวมทั้งจากผู้ผลิตชั้นนำ เช่น CLAAS, CNH Industrial, Gessner และ John Deere โดยหนึ่งในจำนวนไฮไลท์เด่นของงานคือ แนวคิดใหม่ๆ เช่น การตรวจวัดดิน การจัดการปุ๋ยที่แม่นยำ เทคนิคหลังการเก็บเกี่ยว และวิธีแก้ปัญหาการเก็บรักษา ซึ่งผู้เยี่ยมชมได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเทคนิคสมัยใหม่ในการบริหารจัดการน้ำรวมถึงการควบคุมความเค็ม

สำหรับหัวข้อการประชุม ‘Agriculture 4.0 – Precision Agriculture’ เป็นการนำเสนอโดยวิทยากรจากสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย (TSAE), Planet และ Varuna, AI and Robotics ที่ได้สำรวจทั้งบทบาทของการทำเกษตรแบบแม่นยำในประเทศไทยและการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เช่น โดรนและเทคโนโลยีดาวเทียม ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ พร้อมตัวอย่างที่ใช้งานได้จริง เช่น Oz หุ่นยนต์กำจัดวัชพืช นำเสนอโดย Naio Technologies

หัวข้อที่กำลังเป็นที่นิยมในประเทศไทย: การเกษตรแม่นยำและการเกษตรแนวตั้ง

การประชุมนี้ได้รับการสนับสนุนโดยกระทรวงอาหารและการเกษตรแห่งสหพันธรัฐเยอรมันสำหรับ “Clusterfarm Future Conference ครั้งที่ 1” ซึ่งรายงานเกี่ยวกับโครงการการเกษตรแบบคลัสเตอร์ที่ประสบความสำเร็จที่ได้มีการจดทะเบียนฟาร์มถึง 8,000 แห่ง นับตั้งแต่เริ่มดำเนินการในปี 2559 โดยมีกรมส่งเสริมการเกษตรของไทยเป็นผู้นำในการดำเนินโครงการซึ่งมีเป้าหมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของฟาร์ม พร้อมด้วยผู้ปฏิบัติงาน วิทยากรผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศและระดับนานาชาติจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐ ซึ่งขอบเขตของการประชุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

โดยที่การผลิตอาหารแบบ plant-based ในพื้นที่เขตเมืองนั้นได้มอบทั้งโอกาสและความท้าทายซึ่งได้รับการสำรวจจากการนำเสนอของสมาคมการเกษตรแนวตั้ง (Association for Vertical Farming)

นอกจากการนำเสนอของผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงจากองค์กรมืออาชีพแล้ว ผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยียังได้นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาของตนด้วย ทั้งนี้ วิทยากรและผู้แสดงสินค้าต่างๆ นั้นมาจากหลายประเทศ เช่น ออสเตรีย ออสเตรเลีย แคนาดา กัมพูชา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ไทย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

การเยี่ยมชมฟาร์มและพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการในประเทศไทย

“สำหรับ การประชุมสุดยอดครั้งนี้ได้จัดขึ้นที่โรงแรม อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตข้าว มันสำปะหลัง และอ้อยในประเทศไทย ผู้เยี่ยมชมสามารถชมฟาร์ม ‘505 FarmTech’ ซึ่งแสดงการใช้อุปกรณ์ของ CLAAS JAGUAR ที่ทำการเก็บเกี่ยวพืชหมักแบบสด การเก็บขยะ และเทคนิคการอัดเป็นแท่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันจากผู้เข้าร่วมงาน” ซึ่ง คุณปนัดดา ก๋งม้า ผู้อำนวยการ ฝ่ายธุรกิจการเกษตร-ปศุสัตว์และฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ได้อธิบายไว้

จาก “จำนวนผู้เข้าร่วมงานที่สูงทั้งทางออนไลน์และแบบออนไซต์นั้นเป็นการแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรยังคงมุ่งมั่นที่จะสำรวจหาความรู้ใหม่ๆ และเชื่อมต่อกับผู้ที่เป็นมืออาชีพด้านอื่นๆ ในอุตสาหกรรมต่อไป ซึ่งความต้องการในการสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมของเรา” คุณ Katharina Staske กรรมการผู้จัดการของ DLG Thai กล่าวสรุป

โดยงานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค หรือ AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit นั้นถือเป็นครั้งแรกของ “AGRITECHNICA On Tour” ซึ่งเป็นงานชุดใหม่ โดยจะมีการสำรวจหัวข้อเครื่องจักรกลการเกษตรที่กำลังเป็นที่นิยมในประเทศหรือภูมิภาคในแต่ละครั้ง

การสนทนาแบบโต้ตอบกับผู้เชี่ยวชาญและการสร้างเครือข่ายแบบตัวต่อตัว

ในงานนี้ได้มีการอนุญาตให้ถามคำถามแบบโต้ตอบได้อย่างต่อเนื่องในระหว่างการนำเสนอและผู้เข้าร่วมประชุมสามารถใช้โอกาสในการสร้างเครือข่ายในห้องประชุมหลังจากการพูดคุย ซึ่งรวมถึงการสื่อสารด้วยเสียง วิดีโอ หรือการสนทนา โดย DLG-Connect หรือ www.dlg-connect.com ซึ่งได้รับการออกแบบโดยผู้จัดงานของ AGRITECHNICA และ DLG – German Agricultural Society โดยที่ DLG-Connect ได้เคยจัดกิจกรรมระดับมืออาชีพมาแล้วมากกว่า 400 รายการ

ผู้สนับสนุนการประชุมสุดยอดอย่างเป็นทางการ ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภาคการประชุมจังหวัดนครราชสีมา และ การประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit จัดโดย DLG (สมาคมเกษตรกรรมแห่งเยอรมนี) และ วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค

ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 3480 สายกาญจนบุรี-อำเภอหนองปรือ จะพบกับชุมชนและแปลงปลูกพืชเศรษฐกิจตลอดทาง จวบจนเข้าเขตอำเภอหนองปรือ เลี้ยวซ้ายสู่ตำบลสมเด็จเจริญ ตลอดเส้นทางมีไม้ยืนต้นน้อยใหญ่นานาพันธุ์สร้างความเขียวขจี ความร่มรื่นให้แก่พื้นที่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ตลอดสองฝั่งถนนภายในโครงการฯ มีบ้านเรือนตั้งอยู่เรียงราย ที่แปลกตาคือแต่ละบ้านมีแปลงปลูกพืชผักสวนครัว และไม้ผลปลูกอยู่ในบริเวณเกือบทุกหลังคาเรือน เช่น ผักชี สะระเเหน่ ไปจนถึงเผือก กล้วยน้ำว้า ส้มโอ และ ขนุน บางแปลงเป็นแปลงเกษตรแบบผสมผสานที่ปลูกตามหลักวิชาการเกษตรเชิงอิงอาศัย

ดังเช่นที่บ้านของ นายชรินทร์ กลั่นแฮม เกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรพื้นที่ทำกินและอยู่อาศัย จากโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยนำที่ดินที่ได้รับการจัดสรรมาจัดทำแปลงปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ที่สามารถสร้างรายได้ทั้งรายวัน รายเดือน และรายปี ลักษณะของการปลูกพืชแต่ละชนิดจะต้องอิงอาศัยเกื้อกูลกัน อาศัยร่มเงากัน ส่งผลให้พืชที่ปลูกในแปลงเดียวกันทุกชนิดมีผลผลิตสมบูรณ์

“ได้รับสิทธิ์เข้าทำกินในที่ดินโครงการฯ เมื่อปี 2533 ปลูกฝรั่ง พริก ผัก กล้วย โดยพิจารณาจากอายุการเจริญเติบโตของแต่ละชนิดว่าต่างกันอย่างไร เช่น ฝรั่ง 7- 8 เดือน จึงเก็บเกี่ยวได้ ปลูกพริกในร่องฝรั่ง 2-3 เดือนเก็บขายได้ ปลูกผักในร่องพริกหนึ่งเดือนเก็บขายได้ และปลูกกล้วยน้ำว้า ในดงฝรั่งตัดกล้วยขายปีละครั้ง 4 ปี มีเหง้าแทงยอดสามารถขุดขายเป็นต้นพันธุ์ ปลูกไม้ยืนต้น เช่น ขนุน ลำไย ชมพู่ มะม่วง และมะพร้าว เป็นพืชให้ผลผลิตนาน 40 – 50 ปี ก็จะทำให้มีรายได้อย่างต่อเนื่องจากการเริ่มต้นเพียงครั้งเดียว ผมมายืนอยู่จุดนี้ได้ก็เพราะยึดแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทำการเกษตรแบบผสมผสานตามคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9” นายชรินทร์ กล่าว

นอกจากนี้ภายในพื้นที่โครงการฯ ยังส่งเสริมกิจกรรมด้านปศุสัตว์เชิงพาณิชย์ให้แก่ราษฎรอีกด้วย เช่น การเลี้ยงแพะเลี้ยงแกะ และการทำฟาร์มไก่ไข่ในระบบปิดที่สามารถผลิตไข่ไก่ป้อนสู่ตลาดได้ไม่น้อยกว่า 8 หมื่นฟองต่อวัน มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการไก่ไข่ จำนวน 20 ครอบครัว โดยจะได้รับการสนับสนุนไก่ไข่เล้าละ 4,300 ตัว

“ไข่ไก่ที่ได้ขายในราคาประกัน 2.75 บาทต่อฟอง ถือว่าคุ้มค่าเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว ส่วนมูลไก่ขายได้กระสอบละ 30 บาท ที่หน้าฟาร์ม นอกจากนี้เกษตรกรจะมีรายได้จากการจำหน่ายไก่ปลดกรงอีกต่างหาก ทุกคนที่มาทำฟาร์มไก่ไข่มีรายได้ดีขึ้น มีเงินเก็บส่งลูกหลานเรียนจนจบปริญญาตรีทุกครอบครัว” นายสุรชัย รุ่งรัตนพงษ์พร ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ กล่าว

ทั้งนี้ โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ราษฎรมีที่อยู่ที่กินเป็นหลักแหล่ง ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และให้เข้าถึงช่องทางทำกินพร้อม ๆ กับการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรม ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิชัยพัฒนามีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ทำหน้าที่ประสานงานและสนับสนุนงบประมาณ และมีกรมการปกครอง โดยอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี รับผิดชอบดูแลโครงการฯ

หลังประกาศเปิดประเทศอันสืบเนื่องมาจากโควิด กิจการท่องเที่ยวก็เริ่มคึกคัก ดูอย่างที่วังน้ำเขียวแหล่งท่องเที่ยวร้านอาหารที่พักเริ่มเข้าที่แขกเหรื่อนักท่องเที่ยวหลั่งไหลมากันมาก และที่มาให้ดูนี้เป็นที่เขาแผงม้าที่นี่ไม่ได้มาดูม้าแต่มากูกระทิง..

เดินทางเข้ามาทางศูนย์ราชการเขาเขียว ลัดเลาะเลี้ยวไปมาตามลักษณะภูมิประเทศ ผ่านเนินดินภูเขาที่มีทิวทัศน์สวยงาม พอไปถึงจุดหมายก็ลงจากรถตู้ ลงมาก็สัมผัสอากาศเย็น เพราะว่าเริ่มย่างเข้าสู่ฤดูหนาว รีบถ่ายภาพเก็บเกี่ยวพระอาทิตย์ก่อนจะลับทิวเขา วันนี้นักท่องเที่ยวมากันมากหน้า เมื่อผ่านขั้นตอนตรวจวัดอุณภูมิเป็นที่เรียบร้อยและจ่ายเงินคนละ 20 บาทเป็นที่เรียบร้อยแล้ก็เดินขึ้นไปบนเนิน ตื่นตาตื่นใจกับรูปปั้นกระทิงตัวใหญ่ แต่ที่ตื่นตาตื่นใจยิ่งกว่าก็คือฝูงกระทิงที่อยู่ตรงหน้าด้านล่างที่เป็นเนินเขาซึ่งมีผืนหญ้ากว้างใหญ่ให้เจ้ากระทิงร่วมๆ 100 ตัว กินกันอย่างเพลิดเพลิน โดยไม่สนใจผู้คนแต่อย่างใด

ภาพที่เห็นอาจจะไกลสักหน่อย สล็อตออนไลน์ คือราว 1-2 กิโลเมตร แต่ก็พอเห็นได้ชัด ถ้าจะให้ชัดกว่าก็ใช้กล้องส่องทางไกล จะเห็นอริยาบททุกตัวเลย ซึ่งก็กำลังก้มหน้าก้อมตากินหญ้า เจ้าหน้าที่บอกว่าจะเริ่มมากินหญ้าบริเวณนี้ราว 4-5 โมงเย็นเป็นต้นไป จนกึงกลางคืน เพราะว่าชอบหากินกลางคืน และมีบึงน้ำที่อุดมสมบูรณ์อยู่ใกล้ๆด้วย เรียกว่ากินหญ้าเสร็จก็ไม่ต้องไปหาน้ำที่ไหน

นอกจากนี้ คุณสุเมธ ยังกล่าวต่อสื่อมวลชนในสิ่งที่น่าสนใจต่อ

ภาคเกษตรประเทศไทยว่า เกษตรของเรายังมีโอกาสอีกมาก แต่จะต้องให้ความสำคัญในเรื่องระบบชลประทาน ฝนที่ตกน้ำที่ท่วมจะต้องหาทางนำน้ำมาเก็บไว้ใช้ให้ตลอดทั้งปี ถ้าเรามีระบบน้ำที่สมบูรณ์จะทำให้เกิดพืชอาชีพหรือพืชเศรษฐกิจอีกมาก อย่าง ข้าวโพดไซเลจ ที่เก็บเกี่ยวต้นข้าวโพดสดพร้อมฝักมาให้วัวกินก็น่าสนใจมาก ทางเครือซีพีมีองค์ความรู้ที่พร้อมเผยแพร่

ถัดจากนั้นเป็นคิวของ ดร.ศฎาวุฒิ กุลมณี รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ได้พูดรายละเอียดของการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่การตามหาแหล่งพันธุ์ฟ้าทะลายโจรแบบพลิกแผ่นดินก็ว่าได้ เพราะขณะนั้นพันธุ์ฟ้าทะลายโจรเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก แต่ด้วยความพยายามก็เป็นผลสำเร็จสามารถเพาะพันธุ์ต้นกล้าฟ้าทะลายโจรจำนวน 1 ล้านต้น โดยมาจาก 6 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม ปราจีนบุรี สุโขทัย พิจิตร กาญจนบุรี และ อุบลราชธานี

“เราต้องออกเดินทางตามหาต้นกล้าฟ้าทะลายโจรเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจรตามแหล่งต่างๆทั่วประเทศ มันเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายในเวลาที่จำกัด แต่ทุกคนก็สามารถทำได้”

จากนั้นเราก็ได้มาวางแผนในเรื่องการปลูกฟ้าทะลายโจร โดยทำเป็น 2 แปลง แปลงแรก 70 ไร่ แปลงที่ 2 จำนวน 30 ไร่ เริ่มจากการเตรียมดิน ไถพรวนให้ดินร่วน ตรงไหนมีวัชพืชมากก็ไถพรวน 2 ครั้ง คือไถเปิดหน้าดินและตากดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ และอินทรีย์เคมีในบางส่วนที่ดินขาดธาตุอาหารจริงๆ

สำหรับการปลูกนั้นเราได้มีการเพาะกล้าและย้ายปลูก โดยต้นกล้าอายุประมาณ 40 – 50 วัน การปลูกจะขุดหลุมปลูกกว้างประมาณ 15 ซม. ลึกประมาณ 8 – 12 ซม. ปลูกเป็นแถวระยะห่างระหว่างต้น 20-30 ซม. และระหว่างแถว 70 – 75 ซม. เฉลี่ย 9,000 – 10,000 ต้นต่อไร่

ระบบการให้น้ำ..วันไหนที่มีแดดจัดจะให้น้ำวันละ 2 ครั้งเช้าเย็น แต่หลังจากการปลูก 2 เดือนไปแล้วเราก็จะให้น้ำตามความเหมาะสมตามความชื้นของดิน ระบบให้น้ำนี้ เป็นจุดเด่นอย่างหนึ่ง คือแปลงที่ปลูก 70 ไร่ จะเป็นระบบวงกลม (Center Pivot Irrigation) กับแปลงที่ 30 ไร่ เป็นระบบน้ำแบบเส้นตรง (Linear Move Irrigation) หรือ ระบบน้ำพุ่ง นั่นเอง

ส่วนการ กำจัดวัชพืชและการใส่ปุ๋ย เราใช้แรงงานคน และจักรกลเกษตร โดยการใส่ปุ๋ยนั้นจะรองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ 500 กิโลกรัมต่อไร่ หลังปลูก 30 วันใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 500 กิโลกรัมต่อไร่ เน้นเป็นเกษตรปลอดภัยไม่มีการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช

สำหรับ การเก็บเกี่ยวฟ้าทะลายโจร จะมีการเก็บเกี่ยวระยะเริ่มออกดอกระยะดอกบาน 50% วิธีเก็บเกี่ยวตัดต้นเหนือพื้นดินประมาณ 10 ซม. อายุการผลิต 2-3 เดือนหลังย้ายกล้าปลูกก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ ส่วนดอกนั้นจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ 2 รอบต่อปี ผลผลิตต้นสดเฉลี่ย 2,000 กิโลกรัมต่อไร่

หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว เราก็จะนำไปคัดแยกสิ่งปนปลอมเช่นวัชพืชที่ปนมาและล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นตัดเป็นท่อนยาว 3-5 เซนติเมตร เพื่อนำไปเข้าโรงอบเพื่อลดความชื้นเป็นโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์อบแห้งแบบลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ใน 8 ชั่วโมงแรก และลดอุณหภูมิเหลือ 40 – 45 องศาเซลเซียส อบต่อจนแห้งสนิท

โดย มาตรฐานการผลิต นั้น ปฏิบัติตามระบบ GAP ของกรมวิชาการเกษตรอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่เรื่องของการเรื่องของระบบการให้น้ำ พื้นที่ปลูก การใช้ปุ๋ยเคมีหรือวัตถุอันตรายทางการเกษตร การจัดการ การบันทึกข้อมูลต่างๆ สุขลักษณะการเก็บเกี่ยวและปฏิบัติ การพักผลผลิต โดยนอกจากกรมวิชาการเกษตรแล้ว ยังได้ประสานความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก โดยผลผลิตที่ได้ทั้งหมดก็จะนำไปแปรรูปเป็นยาสมุนไพรเป็นแคปซูล ซึ่งจะร่วมกับบริษัทพันธมิตรหลายแห่ง เช่น บริษัทแสงสว่างตราค้างคาวจำกัด บริษัท พนาพัฒน์เฮลท์แคร์ จำกัด บริษัทโรงงานเภสัชอุตสาหกรรมเจเอสพี(ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) บริษัทโชคชัยเอิร์บ จำกัด และใช้ชื่อทางการค้าว่า “ปันปลูก ยาฟ้าทะลายโจร”

หลังจากรับฟังข้อมูลจบลงก็ได้เดินทางไปที่แปลงปลูก..เริ่มจากแปลง 70 ไร่ ที่นี่เราได้เห็น ระบบน้ำแบบวงกลม (Center Pivot Irrigation) ซึ่งสามารถครอบคลุมในการดูแลได้ 70 ไร่ โดยระบบน้ำที่ว่านี้สามารถควบคุมแรงดันน้ำ ปริมาณน้ำ ความเร็วหรือระยะเวลาให้น้ำ ซึ่งระบบการให้น้ำที่เหมาะสมนี้ได้ทำให้ฟ้าทะลายโจรเจริญเติบโตได้ดี และ ในระหว่างที่ได้ชมแปลงนี้เราได้พูดคุยเพิ่มเติมเรื่องระบบน้ำกับผู้บริหาร 2 ท่าน คลิก

จากนั้นก็ได้เดินทางไปดูแปลงปลูก 30 ไร่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก แปลงนี้เน้น ระบบน้ำแบบเส้นตรง (Linear Move Irrigation) โดยจะมีร่องน้ำขนานไปกับแปลงปลูก ที่แปลงนี้เราได้รับคำอธิบายเพิ่มเติมจาก คุณธนพงษ์ อวนกลิ่น ผู้จัดการทั่วไปงานวิจัยฟาร์มแสลงพัน เน้นเรื่องของมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีหรือ CAP เพื่อชี้ให้เห็นว่าฟ้าทะลายโจรที่ปลูกกนั้นมีมาตรฐานเหมาะแก่การนำไปผลิตเป็นยาสมุนไพร “ปันปลูก ฟ้าทะลายโจร” ทุกประการ

ที่แปลงปลูกนี้ “เกษตรก้าวไกล” ยังได้มีโอกาสคุยกับ คุณศิลปชัย ก่อเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด ผู้บริหารดูแลแปลงปลูกฟ้าทะลายโจร 100 ไร่ ซึ่งรายละเอียดนั้นได้ถ่ายทำเป็นคลิปเผยแพร่ผ่านช่อง YouTube เกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน https://youtu.be/UrsYlTK19SM..ซึ่งคุณศิลปชัยบอกว่าพนักงานทุกคนที่ปลูกที่ดูแลมีความรู้สึกว่าภารกิจครั้งนี้เหมือนได้ทำบุญร่วมกัน

ก่อนจบจากการมาเยี่ยมชมแปลงปลูกฟ้าทะลายโจร 100 ไร่ เราได้รับการยืนยันจากผู้บริหารเครือซีพีหลายท่านว่า หลังภารกิจโครงการปันปลูก ฟ้าทะลายโจร 100 ไร่ 100 วัน 30 ล้านแคปซูล จบลงแล้ว องค์ความรู้ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งเกิดจากการศึกษาร่วมกับเกษตรกรคนเก่งจากทุกพื้นที่จะไม่สูญหายไปไหน โดยที่ทางเครือซีพีมีเป้าหมายที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ รวมทั้งต้นกล้าหรือเมล็ดพันธุ์ให้กับเกษตรกรที่สนใจต่อไป

กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมเฉลิมฉลองวันยุวเกษตรกรโลก จัดกิจกรรม “งานวันยุวเกษตรกรโลก” (Global 4-H Day) นำยุวเกษตรกรไทยร่วมปฏิญาณตน เป็นคนเกษตรรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมจัดกิจกรรมสาธิตและเสวนา เชิญชวนเกษตรกรและประชาชนร่วมรับชมและร่วมกิจกรรมในรูปแบบ new normal ผ่านระบบออนไลน์ ถ่ายทอดสัญญาณผ่านเฟซบุ๊กเพจประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยถึงการจัดกิจกรรม “งานวันยุวเกษตรกรโลก” (Global 4-H Day) ในปีนี้ว่า สืบเนื่องมาจากการประชุม The 1st Global 4-H Network Summit 2014 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งที่ประชุมมีการรับรองกฎบัตรเครือข่ายยุวเกษตรกรโลก และประกาศปฏิญญากรุงโซล เพื่อการขับเคลื่อนงาน 4-H ร่วมกัน โดยกำหนดให้วันที่ 1 พฤศจิกายน ของทุกปี ถือเป็น “วันยุวเกษตรกรโลก (Global 4-H Day)”

เพื่อให้การดำเนินงานขับเคลื่อนงานยุวเกษตรกร (4-H) ของทุกประเทศทั่วโลกมีความเจริญก้าวหน้า ซึ่งประเทศไทยโดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีการดำเนินงานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรกรมาโดยตลอด และเล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้กำหนดจัดงานวันยุวเกษตรกรโลกขึ้น ในวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ภายใต้แนวคิด “4-H Go For Green” ที่มีความหมายถึง ยุวเกษตรกรไทยรักโลก รักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของโลกในปัจจุบัน ที่กำลังเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาคการเกษตรก็นับว่าเป็นส่วนสำคัญหนึ่งที่จะช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้

“การจัดงานในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานยุวเกษตรกร (4-H) ของประเทศไทยให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้างแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของยุวเกษตรกร เพื่อให้สมาชิกยุวเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องได้เข้าร่วมกิจกรรม และยังถือเป็นการร่วมเฉลิมฉลองวันยุวเกษตรกรโลกไปพร้อมๆ กับประเทศสมาชิกที่มีการดำเนินงานยุวเกษตรกร (4-H) ทั่วโลกอีกด้วย ซึ่งการจัดงานในปีนี้ยังคงเป็นการจัดงานในรูปแบบใหม่ตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยจัดกิจกรรมต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์ ถ่ายทอดสัญญาณจากกรมส่งเสริมการเกษตร ผ่านเฟซบุ๊กเพจประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรจะเข้ามามีส่วนร่วมผ่านระบบ zoom ในขณะที่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปก็สามารถรับชมและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมได้ผ่านทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์”

นางอุบล มากอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรกร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากกิจกรรมพิธีเปิดที่ตัวแทนยุวเกษตรกรจะได้นำยุวเกษตรกรทั่วประเทศร่วมกล่าวคำปฏิญาณตนแล้ว ยังมีการสาธิตกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกร ภายใต้แนวคิด : “ 4-H Go For Green” ได้แก่ กิจกรรมการผลิตอาหารสัตว์ลดต้นทุน กิจกรรมจิตอาสาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และกิจกรรมการขยายพันธุ์ไม้ประดับโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันของภาคการเกษตร ที่ต้องการการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการทำการเกษตรเพื่อให้มีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งการลดต้นทุนการผลิต การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และยังมีกิจกรรมการเสวนา หัวข้อ “ยุวเกษตรกรไทยรักโลก รักษ์สิ่งแวดล้อม” พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ชมการถ่ายทอดสัญญาณได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมกับการตอบปัญหาชิงรางวัลด้วย

รับชมการถ่ายทอดสัญญาน “งานวันยุวเกษตรกรโลก Global 4-H Day” พร้อมกัน ในวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เวลา เวลา 09.30–12.00 น. ผ่านเฟซบุ๊กเพจ ประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวในงานประชุมเสวนา เรื่อง “ปฏิรูปภาคการเกษตร พัฒนาคน สู่การพลิกโฉมการเรียนการสอน” ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ ชั้น 2 อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ว่า วิกฤตการณ์ของโลกหลายเรื่องที่เราเผชิญอยู่ สรุปกว้างๆได้ 3 เรื่อง คือ วิกฤตการณ์โลกร้อน ที่นับวันจะหนักหน่วงมากขึ้น มีผลกระทบกับประเทศไทยโดยเฉพาะภาคการเกษตร ชัดเจนเวลานี้คือภัยธรรมชาติ จะรุนแรงและจะถี่มากขึ้น ภัยแล้งก็หนัก

น้ำมากก็ล้นเกินเหลือ วิกฤตการณ์โรคระบาด สภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนไปส่งผลให้สิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์ เช่นเดียวกับเชื้อโรคกลายพันธุ์ ต้นไม้เปลี่ยนสีและมีความหลากหลายมากขึ้น สิ่งมีชีวิตบนโลกรวมทั้งพฤติกรรมของประชาชาติและมนุษย์ก็เปลี่ยนไปด้วย วิกฤตการณ์เรื่องความขัดแย้งด้านการค้าไร้พรมแดน ส่งผลกระทบกับเกษตรกรทั่วโลกโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่แข่งขันไม่ได้ เช่น การเข้าร่วมอนุสัญญา CPTPP ปรากฏการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นอยู่ตลอด ประเทศที่พัฒนาแล้วพยายามเจาะทะลวงตลาดใหม่

เราจะปกป้องเกษตรกร/ประชาชนของเราได้น้อยลงจนวันหนึ่งก็จะปกป้องไม่ได้เลย วิกฤตเหล่านี้จะเป็นประเด็นท้าทายให้มหาวิทยาลัยว่าจะฝ่าฟันและก้าวข้ามไปอย่างไรอย่างมีคุณภาพและมีสติ หากไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้ทันตามยุคตามสมัยได้จะกลายเป็นโบราณวัตถุ คนชื่นชมแต่ไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับประเทศชาติได้ อย่างไรก็ตาม วิกฤตทั้ง 3 เรื่องยังส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร 4 สาขา ได้แก่ สาขาพืชไร่ ผลกระทบมากที่สุด ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด พืชอายุสั้นที่มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของภาวะโลกร้อนและภัยธรรมชาติ

กระทบต่อเกษตรกรและเป็นภาระของประเทศตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตอีกยาวนาน งบประมาณแผ่นดินในการเยียวยาให้เกษตรกรกลุ่มนี้ในแต่ละปีการผลิตจำนวนมากจนตกใจ และไม่สามารถแข่งขันได้เพราะประเทศคู่แข่งล้วนแต่เป็นประเทศเปิดใหม่ เพื่อนบ้านรอบอาเซียนผลิตได้เหมือนกัน ต้นทุน ที่ดิน ค่าแรงถูกกว่า การจะฉีกตัวหนีให้พ้นคู่แข่งเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยน่าจะพอคิดได้ว่าจะทำอย่างไรทั้งในเชิงคุณภาพ ปริมาณ รวมทั้งค้นหา วิจัยสายพันธุ์ใหม่ที่โดดเด่นหนีคู่แข่งให้ได้ต่อไป ลำดับต่อมา สาขาพืชสวน เกษตรกรกลุ่มนี้ค่อนข้างมีฐานะ

แต่ยังต้องการความรู้ใหม่เพิ่ม เช่น ผลิตภัณฑ์ สายพันธุ์ใหม่ เพราะคู่แข่งเริ่มผลิตตามมากขึ้น เช่น ทุเรียน สาขาปศุสัตว์ มีผลกระทบบ้างแต่ยังเป็นสาขาที่เป็นความหวังอยู่ เช่น สัตว์เล็ก กับสถานการณ์การค้าโลกที่ระบบการขนส่งถูกปิดกั้นพอสมควร สัตว์ปีกโดยเฉพาะไก่ ไก่เนื้อมีปัญหาเรื่องอุปสงค์และอุปทานที่มีผลกระทบกับราคาตลาดในประเทศ ด้านไข่ราคาจะแกว่งมาก ส่วนเศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงทั้งภาคอีสานคือ ตลาดนัดโค-กระบือ ที่ซื้อ/ขายด้วยเงินสดและแต่ละที่มีเงินหมุนเวียนหลายร้อยล้านบาท เสียดายที่ตอนนี้ตลาดปิด และ สาขาประมง การเลี้ยงปลาในกระชังเกิดความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วม ขณะที่อุตสาหกรรมกระทบด้านระบบขนส่งและตลาดปิด แต่ราคาดีต่อเนื่อง

“เมื่อเร็วๆได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี ท่านถามว่า ประเทศไทยการเกษตรจะปรับเปลี่ยนอย่างไร? คำถามนี้ถือว่าใหญ่มาก ผมเสนอแนะพร้อมยกตัวอย่างไปว่าสภาเกษตรกรฯพยายามที่จะปรับเปลี่ยนการผลิตของประเทศให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง เช่น ภาคใต้ทำสวนยางพารา ปาล์ม ให้เลี้ยงแพะ ปลูกหญ้าหรืออื่นๆ ภาคเหนือ/อีสานพื้นที่ทำนา/ข้าวโพด/แล้งน้ำ ให้เลี้ยงแพะ/โค/กระบือ ปลูกไม้ยืนต้น เช่น ไม้สัก ไผ่ ชิงชัน พะยูง เป็นต้น เราเน้นรูปธรรมของการทำงานคิดได้แล้วทำเลย ไม่มีใครทำสภาเกษตรกรแห่งชาติทำให้ดูเป็นตัวอย่างนำร่องทุกพื้นที่ นายกรัฐมนตรีรับฟังและเห็นด้วยพร้อมกับให้ทำแผนเสนอโดยท่านเป็นผู้กำหนดโครงการ “Sandbox ปศุสัตว์”

ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทำแผนเสนอรัฐบาล อย่างไรก็ตามแล้วมหาวิทยาลัยท้ายที่สุดต้องการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสามารถตอบสนองต่อปัญหาประเทศชาติแล้วก็อนาคตของตัวเขาเองได้ สร้างสังคมที่ดีให้กับประเทศไทยได้ ที่จริงเวลานี้เหมาะมากมนุษย์เปลี่ยนได้และสิ่งที่ทำให้เปลี่ยนมีไม่กี่อย่าง หนึ่งในนั้นคือวิกฤตการณ์ ถ้าเผชิญแล้วเริ่มคิดทบทวนตัวเองค่อยเริ่มเปลี่ยน ถ้าไม่ทบทวนและไม่เปลี่ยนโอกาสก็จะหมดไปวิกฤตการณ์ก็จะกลับมาเหมือนเดิมและหนักกว่าเดิม เปลี่ยนได้พร้อมกับคุณภาพใหม่ที่ดีกว่าและใหญ่กว่าเดิม” นายประพัฒน์ กล่าว

ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวต่อไปอีกว่า วิกฤตตการณ์ของชาติตอนนี้เป็นโอกาสใหญ่ การเรียนตามหลักสูตรในตำรายังมีความจำเป็นแต่เรื่องการปรับปรุงหลักสูตรที่เหมาะสม เรื่องความรู้นอกห้องเรียนนั้นสำคัญมากเพราะจะทำให้เด็กจบใหม่สามารถที่จะเปิดโลกทัศน์ที่กว้างขวาง รู้จักค้นคว้ามากขึ้น มีตำราหรือหนังสือเล่มไหนที่น่าอ่านให้เข้าใจเพื่อนำมาประกอบการมีชีวิตอยู่ในสังคมต่อไปได้ก็น่าส่งเสริม มีความรู้ที่พึงไปแสวงหาก็น่าชี้เป้า การเรียนให้ได้เกรดดีๆไม่ยาก แต่การทำให้เด็กจบมาพร้อมกับความพร้อม ความเป็นผู้นำคน ความพร้อมในการท้าทายตัวเองที่จะเป็นผู้ประกอบการให้ได้ เรื่องนี้ไม่ง่าย แต่เชื่อมั่นว่าทำได้ รัฐบาลกำลังกระตุ้นให้เกิด start up ด้วยหวังจะกระตุ้นเศรษฐกิจให้มากกว่านี้แต่อาจจะยังไม่มีรูปธรรม หากมีการร่วมมือกันกับหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องก็จะทำให้มีโอกาสเกิดรูปธรรมขึ้นได้

“การส่งมอบบัณฑิตต่อไปให้กับ สสว. ธกส.หรือว่าสภาเกษตรกรฯ เข้าช่วยดูแลบ่มเพาะจนเขาเข้มแข็ง เชื่อว่าจะทำให้บัณฑิตจบมาพรั่งพร้อมไปด้วยคุณภาพและจิตวิญญาณ สิ่งสำคัญคือต้องเสริมจิตใจให้เข้มแข็งกล้าเผชิญกับทุกปัญหา กำหนดเป้าหมายในชีวิตให้ได้แล้วเดินไป อุปสรรคกีดขวางก็พร้อมที่จะคลี่คลาย ถ้าหากมีปัญหา เขาจะรู้ว่าใครบ้างที่พร้อมจะเป็นเพื่อนร่วมทาง มหาวิทยาลัยเป็นความคาดหวังของสังคมและจะเป็นผู้นำในการทำให้ภาคเกษตรของไทยยังคงดำรงอยู่ต่อไปอย่างมีคุณภาพและเป็นที่พึ่งของเกษตรกรได้ในอนาคต” ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวปิดท้าย

กรมวิชาการเกษตรแจ้ง 7 ชนิดพืชพันธุ์ใหม่ได้รับความคุ้มครองแล้ว หลังผ่านความเห็นชอบคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชเข้าหลักเกณฑ์ให้นักปรับปรุงพันธุ์จดทะเบียนเป็นเจ้าของพันธุ์พืชใหม่ผลิตขายได้แต่เพียงผู้เดียว เผยยอดรวมชนิดพืชตามประกาศขอรับความคุ้มครองได้ถึง 100 ชนิดแล้ว ยูคาลิปตัสขึ้นแท่นแชมป์แห่จดทะเบียนขอรับความคุ้มครองสิทธิ์มากสุด

นางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในปี 2564 นี้มีผู้แจ้งความประสงค์ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดชนิดพืชที่พันธุ์พืชใหม่สามารถขอรับความคุ้มครองได้เพิ่มเติมจำนวน 7 ชนิดพืช ได้แก่ พืชสกุลแคนนาบิส ถั่วลิสง กะเพรา บัวบก โกโก้ กล้วยไม้สกุลซิมบิเดียมและลูกผสม และหอมแดง กรมวิชาการเกษตรในฐานะเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช จึงนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ และคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช เพื่อมีมติเห็นชอบเสนอพืชจำนวน 7 ชนิดพืชดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นชนิดพืชที่พันธุ์พืชใหม่สามารถขอรับความคุ้มครองได้

การพิจารณาชนิดพืชเพื่อออกประกาศเป็นพันธุ์พืชใหม่ที่สามารถนำมาขอรับความคุ้มครองได้ จะพิจารณาเลือกจาก 3 ประเด็น คือ พืชที่มีความสำคัญและโอกาสเติบโตทางเศรษฐกิจ พืชที่มีนักปรับปรุงพันธุ์พืชของไทยทำการปรับปรุงพันธุ์ และพืชที่มีพันธุ์พืชพื้นเมืองให้เกษตรกรเลือกใช้ ซึ่งขณะนี้พืชทั้ง 7 ชนิดดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชและประกาศลงราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้แล้วส่งผลให้นักปรับปรุงพันธุ์พืชทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน หรือนักปรับปรุงพันธุ์พืชอิสระ สามารถนำพันธุ์ใหม่ที่ปรับปรุงพันธุ์ได้ทั้ง 7 ชนิดมายื่นขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายได้ ทำให้ปัจจุบันมีชนิดพืชที่สามารถนำมาขอจดทะเบียนรับความคุ้มครองเป็นพันธุ์พืชใหม่เพิ่มขึ้นจากเดิมซึ่งมีจำนวน 93 ชนิดรวมเป็น 100 ชนิดแล้ว

รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การนำพันธุ์พืชใหม่ตามชนิดที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มายื่นจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองจะทำให้เจ้าของพันธุ์พืชใหม่มีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการผลิตขายหรือจำหน่าย นำเข้ามาในราชอาณาจักร ส่งออกนอกราชอาณาจักร แต่มีข้อยกเว้นสามารถใช้ได้ในกรณีเพื่อการศึกษา ค้นคว้าทดลอง วิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์ เพาะปลูกหรือขยายพันธุ์โดยเกษตรกร ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นส่วนขยายพันธุ์หรือเพื่อการค้า และถูกนำออกจำหน่ายด้วยความยินยอมของเจ้าของพันธุ์ ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ที่ต้องการส่งเสริม กระตุ้น สร้างแรงจูงใจให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ ด้วยการให้สิทธิคุ้มครองตามกฎหมายแก่นักปรับปรุงพันธุ์พืช

ในช่วงที่ผ่านมามีพืชตามประกาศกระทรวงเกษตรฯ ที่นักปรับปรุงพันธุ์ สถาบันการศึกษา เอกชน มูลนิธิ องค์กร และหน่วยงานภาครัฐได้ยื่นจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองรวมจำนวนทั้งสิ้น 44 ชนิดพืช รวม 1,732 คำขอ โดยชนิดพืชที่ขอยื่นจดทะเบียนรับความคุ้มครองมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ ยูคาลิปตัส ข้าวโพด แตงกวา/แตงร้าน พริก ข้าว กล้วยไม้สกุลหวาย มะเขือเทศ ไม้ดอกสกุลขมิ้น แตงโม และบัว นักปรับปรุงพันธุ์พืชที่ต้องการจดทะเบียนพันธุ์พืชเพื่อขอรับความคุ้มครองเป็นพันธุ์พืชใหม่ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มวิจัยการคุ้มครองพันธุ์พืช สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช โทรศัพท์ 0 2940 7214

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลการติดตามโครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ปีงบประมาณ 2564 ซึ่งมีสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักดำเนินการ วัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารและการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการทำเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยดำเนินการถ่ายทอดความรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เกษตรทฤษฎีใหม่ การจัดการน้ำ จัดการฟาร์ม การทำบัญชีครัวเรือน และการสนับสนุนปัจจัยการผลิต ทั้งพันธุ์พืช ปศุสัตว์ และประมง จากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งการดำเนินงานมีการประเมินศักยภาพเกษตรกรและจัดกลุ่มเกษตรกร โดยพิจารณาจากข้อมูลแหล่งน้ำ ที่ดิน แรงงาน และพฤติกรรมของเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ แบ่งกลุ่มเกษตรกรเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม A คือ เกษตรกรที่สามารถพัฒนาตนเองสู่เกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 และสามารถเป็นต้นแบบได้ กลุ่ม B คือ เกษตรกรที่มีแนวโน้มจะประสบผลสำเร็จในเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 และเป็นเกษตรกรที่ต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมให้สามารถเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ และ กลุ่ม C คือ เกษตรกรที่ยังขาดศักยภาพในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 และเป็นเกษตรกรที่ต้องได้รับการพัฒนาเต็มรูปแบบเพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเอง

ในการนี้ สศก. ได้ติดตามผลลัพธ์ของโครงการฯ ที่เกิดกับเกษตรกรกลุ่ม A ซึ่งเป็นกลุ่มต้นแบบในการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ ในพื้นที่ 23 จังหวัด จำนวนเกษตรกรตัวอย่าง 285 ราย พบว่า หลังจากที่เกษตรกรได้นำองค์ความรู้ และปัจจัยการผลิต ทั้งพันธุ์พืช ปศุสัตว์ และประมง จากหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรฯ ไปปรับใช้ ส่งผลให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ และดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เพิ่มพื้นที่แหล่งน้ำและพื้นที่ปลูก นำปัจจัยการผลิตที่ได้รับการสนับสนุนมาใช้ประโยชน์ นำความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมาปฏิบัติ และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่เอง นอกจากนี้ เกษตรกรถึงร้อยละ 82.55 มีการขยายองค์ความรู้เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำเกษตรแบบผสมผสาน การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การปรับปรุงบำรุงดิน การทำเกษตรแบบอินทรีย์ การทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ ถ่ายทอดไปยังเกษตรกรรายอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

สำหรับลักษณะการทำกิจกรรมในแปลงเกษตร เกษตรกรร้อยละ 76 จะเน้นผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก ส่วนที่เหลือจึงนำไปจำหน่าย แบ่งปัน เก็บไว้ทำพันธุ์ แปรรูป และใช้ปัจจัยการผลิตของตนเองแทน โดยมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลผลิตในแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น อาทิ การจำหน่ายพืชผักสวนครัว ไข่ไก่ ไก่เนื้อ ปลา และการแปรรูปผลผลิต เฉลี่ย 7,024 บาท/ครัวเรือน/ปี มีรายจ่ายลดลงจากการบริโภคในครัวเรือน การใช้ปัจจัยการผลิตของตนเอง การนำวัสดุเหลือทิ้งมาปรับใช้จากเศษใบไม้ กิ่งไม้ และมูลสัตว์ต่าง ๆ นำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ ทำให้ลดการเก็บขยะภายในครัวเรือนและลดค่าใช้จ่าย ได้เฉลี่ย 3,692 บาท/ครัวเรือน/ปี นอกจากนี้ ครัวเรือนเกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยลดค่าใช้จ่ายในด้านอบายมุขลง อาทิ ค่าบุหรี่ ค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และค่าใช้จ่ายในการพนันเสี่ยงโชค เป็นต้น ได้เฉลี่ย 5,207 บาท/ครัวเรือน/ปี เพราะเห็นว่าเป็นรายจ่ายที่ไม่จำเป็นของครัวเรือน

“ผลสำเร็จของการติดตามเกษตรกรกลุ่ม A ทำให้เห็นชัดเจนว่า สามารถเป็นต้นแบบในการถ่ายทอดความรู้ทฤษฎีใหม่ให้กับเกษตรกรรายอื่น ๆ ได้ โดยนำความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และแนวทางปฏิบัติของเกษตรทฤษฎีใหม่ไปเผยแพร่ให้เกษตรกรรายอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม พบว่า เกษตรกรยังคงประสบปัญหาด้านแหล่งน้ำอยู่ เนื่องจากแหล่งน้ำมีขนาดเล็กและไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ และเกษตรกรส่วนใหญ่ทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ต่างคนต่างทำภายในครัวเรือน

มีเพียงบางส่วนที่มีการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลิต จำหน่าย และสร้างเครือข่ายเป็นวิสาหกิจชุมชน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จะมีการส่งเสริมการทำเกษตรทฤษฎีใหม่อย่างต่อเนื่อง เพิ่มพูนทักษะด้านการผลิตและปัจจัยการผลิต การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร การแปรรูปผลผลิต รวมทั้งสนับสนุนการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมของเกษตรกรเพื่อเป็นการขยายผลจากการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และนำไปสู่การพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่ ในขั้นก้าวหน้าได้ต่อไป” เลขาธิการ สศก. กล่าว

หลังที่มีข่าวตามสื่อออนไลน์ว่าเกษตรกรโอดครวญปุ๋ยเคมีราคาพุ่งสูง เป็นการกระหน่ำซ้ำเติมหลังจากเกษตรกรบาดเจ็บจากสถานการแพร่ระบาดของโควิด-19 และภัยพิบัติน้ำท่วม ทำให้สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ที่ประกอบไปด้วยสามชิกผู้ค้าปุ๋ยรายสำคัญ นั่งไม่ติดต้องออกมาตั้งโต๊ะแถลงข่าว เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ณ Victor Club Samyan Mitrtown ห้อง 944, ชั้น 7 ถนนพระราม 4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

การแถลงข่าวครั้งนี้ นำโดย นายกองเอก เปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย นายวชิรศักดิ์ อรรจนานนท์ ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ นายศุภชัย ปานดำ กรรมการฝ่ายวิชาการ นายรัสชัย เหรียญพาณิชย์ กรรมการบริหารสมาคม นายทวีสุข เมฆธวัชชัยกุล รองประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ นายสุภัค เหล่าดี เลขานุการฝ่ายวิชาการ โดยมี นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เกษตรกรดีเด่น สาขาไร่นาสวนผสม เป็นตัวแทนเกษตรมาร่วมแถลงด้วย

ภาพรวมสถานการณ์ราคาและตลาดปุ๋ยเคมี 2564
ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2563 ต่อเนื่องมายังปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทย รวมทั้งประเทศต่างๆ ทั่วโลกประสบกับการแพร่ระบาดของโรคโคโรน่าไวรัส หรือ COVID-19 ในส่วนของภาคการผลิตสินค้าเกษตร ประเทศไทยต้องนำเข้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตรจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดพันธุ์บางชนิด สารอารักขาพืช และ “ปุ๋ยเคมี” ผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนในช่วงแรกๆ คือการนำเข้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตรและการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังต่างประเทศ รวมทั้งธุรกิจด้านโลจิสติกส์ได้รับผลกระทบโดยตรง จากการปิดเมืองสำคัญ รวมถึงการปิดประเทศ

ในภาพรวมของธุรกิจภาคการเกษตรได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยการผลิตทางการเกษตร คือ “ปุ๋ยเคมี” ประเทศไทยต้องนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศ ประมาณ 90-95 % มาเพื่อผลิตและจำหน่ายปุ๋ยให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ ในช่วงปลาย ปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน ราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยเคมี มีระดับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากหลายๆ ปัจจัย จากวิกฤตเศรษฐกิจที่ตกต่ำทั่วโลกจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้หลายๆ ประเทศเริ่มตระหนักถึงความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ซึ่งส่งผลต่อการผลิตพืชอาหาร ดังนั้น ปุ๋ยเคมี จึงเป็นปัจจัยการผลิตที่มีความจำเป็นและมีความต้องการมากขึ้น โดยปัจจัยที่ทำให้ปุ๋ยเคมี มีระดับราคาที่สูงขึ้นประกอบด้วย

สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร
ราคาผลผลิตทางการเกษตรในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น
การกำหนดนโยบายความมั่นคงทางด้านอาหารของแต่ละประเทศ
นโยบายการชะลอการส่งออกปุ๋ยเคมีของประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2564
วิกฤตราคาพลังงานน้ำมัน ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการผลิตปุ๋ยไนโตรเจน
วิกฤตการขนส่ง (Logistic) ระหว่างประเทศส่งผลให้ค่าขนส่งสินค้าทางเรืออยู่ในระดับราคาสูง
ความผันผวนของค่าเงินในตลาดโลก

จากปัจจัยดังกล่าวล้วนส่งผลต่อความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยต้องนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เช่น ประเทศจีน ซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย เป็นต้น การนำเข้าวัตถุดิบปุ๋ยเคมี แบ่งออกเป็นสามชนิด ประกอบด้วย ปุ๋ยไนโตรเจน (Nitrogen) การผลิตปุ๋ยไนโตรเจนจะมีสารตั้งต้นคือสารแอมโมเนียซึ่งมีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนซึ่งส่วนใหญ่ได้จากก๊าซธรรมชาติในกระบวนการปิโตรเคมี หรือกระบวนการผลิตถ่านหิน สารแอมโมเนียนั้นใช้ในการผลิตปุ๋ยไนโตรเจนต่าง ๆ ได้แก่ ยูเรีย (46-0-0) และแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) ซึ่งราคาน้ำมัน ถ่านหินจะส่งผลกระทบต่อการผลิตปุ๋ยไนโตรเจน

วัตถุดิบตัวถัดไป ปุ๋ยฟอสฟอรัส (Phosphorus) ซึ่งทำมาจากหินชนิดหนึ่งเรียกว่า หินฟอสเฟต วิธีการผลิตปุ๋ยฟอสฟอรัสที่นิยมกัน ก็คือนำหินฟอสเฟตมาบดละเอียดและมาทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถันก็จะได้กรดฟอสฟอริก กรดฟอสฟอริกนี้ถือเป็นตัวต้นน้ำของปุ๋ยฟอสฟอรัส กรดฟอสฟอริกเป็นของเหลวซึ่งยากต่อการใช้ การเก็บรักษาและการขนส่ง จึงได้นำกรดฟอสฟอริกไปทำปฏิกิริยากับแอมโมเนีย กลายเป็นแม่ปุ๋ย DAP (Diammonium Phosphate) สูตร 18-46-0 แม่ปุ๋ย MAP (Monoammonium Phosphate) สูตร 11-52-0 หรือใช้กระบวนการผลิตเดียวกันนี้ผลิตเป็นปุ๋ย N-P-K สูตรต่าง ๆ สำหรับปุ๋ยฟอสฟอรัสนั้น กรณีที่หินฟอสเฟตแพง ปุ๋ยฟอสฟอรัสก็จะแพงด้วย และถ้ากรดกำมะถัน (sulfuric acid) แพงปุ๋ยฟอสฟอรัสก็จะแพงด้วยเช่นกัน

วัตถุดิบอีกตัวหนึ่งคือ ปุ๋ยโพแทสเซียม (Potassium) สมัครสล็อต UFABET เป็นแร่ที่ขุดจากดินได้โดยตรง ที่เรียกกันว่าแร่โพแทช ประเทศไทยมีแหล่งแร่โพแทชขนาดใหญ่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดชัยภูมิและจังหวัดอุดรธานี หากโครงการพัฒนาเหมืองดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ก็จะได้แม่ปุ๋ยโพแทสเซียมใช้ในประเทศ ทดแทนการนำเข้าปีละประมาณ 600,000-800,000 ตันต่อปี

ทางเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยท่านประธานมุ่งมั่นต่อภารกิจครั้งนี้

เรายังมีโครงการปลูกฟ้าทะลายโจรบนที่ดิน 100 ไร่ และผลิตเพื่อแจกฟรี 30 ล้านแคปซูล เพื่อเป็นการป้องกันโรค และการควบคุมโรค ให้กับผู้ที่กักตัวอยู่บ้านเพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อ และทำให้คนไทยหลายส่วนสามารถเข้าถึงสมุนไพรฟ้าทะลายโจรได้

อนึ่ง พันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ นอกจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ประกอบด้วยบริษัทในเครือ และวัดพุทธปัญญาแล้ว ยังมีมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เครือมติชน สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย เว็บไซต์เกษตรทำกิน เว็บไซต์เกษตรก้าวไกล ฯลฯ ซึ่งถือเป็นภารกิจที่จะต้องร่วมมือรวมพลังเพื่อสังคมไทยสู้ภัยโควิดไปด้วยกัน

การได้ไปเยือน “เอ็นซีโคโคนัท” ผู้ผลิตและส่งออกมะพร้าวน้ำหอมเบอร์ต้นๆที่เป็นบริษัทของคนไทย ซึ่งมีกิจการตั้งอยู่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี “เกษตรก้าวไกล” ได้พบกับ “คุณหนุ่ย” ณรงค์ศักดิ์ ชื่นสุชน ผู้บริหารหนุ่มที่ต่อยอดสวนมะพร้าวน้ำหอมของครอบครัวนำมะพร้าวมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าหลากหลายผลิตภัณฑ์ ในการเดินทางไปครั้งนี้เดิมเราตั้งใจจะไปสอบถามว่าจากวิกฤตโควิดได้รับผลกระทบอย่างไร แต่เมื่อได้พบกันทำให้เราได้รู้ว่ากิจการของเขาก้าวหน้าไปมาก ล่าสุดได้มีการพัฒนานวัตกรรม “COCO BUCKET” ให้สามารถเปิดดื่มน้ำมะพร้าวได้ง่ายๆ และพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ ทำให้สามารถฝ่าวิกฤตโควิดไปได้

จากวิกฤตโควิดที่ผ่านมาและที่กำลังเกิดขึ้นจนไม่รู้ว่าจะจบเมื่อไร ทางคุณหนุ่ยบอกว่า ได้รับผลกระทบไปพอสมควร แต่บริษัทก็ปรับกลยุทธ์การตลาดมาเพิ่มช่องทางออนไลน์เพื่อจำหน่ายในประเทศให้มากขึ้นจากเดิมที่พุ่งเป้าส่งออกในเป็นด้านหลัก พร้อมกันนั้นได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย โดยเฉพาะมะพร้าวน้ำหอมที่มีชื่อแบรนด์ว่า “COCO BUCKET” ถือได้ว่าเป็นสินค้านวัตกรรมตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว

หลักการของ “COCO BUCKET” คือมะพร้าวน้ำหอมที่ขายพร้อมชุดอุปกรณ์พร้อมดื่ม ประกอบด้วยตัวเจาะขนาดจิ๋วและหลอดดูด ตัวเจาะนี้ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ซุ่มพัฒนาอยู่หลายปี แต่นั่นไม่เท่ากับว่าจะรู้ได้อย่างไรว่ามะพร้าวมีตามีปากอยู่ตรงไหน เพราะมะพร้าวที่ขายในแบรนด์นี้นั้นจะต้องคงความเป็นลูกมะพร้าวให้มากที่สุด ไม่ได้ปอกเปลือกให้เห็นปาก แต่ตรงนี้ทางคุณหนุ่ยบอกว่าเขาได้ใช้ภูมิปัญญาของเกษตรกรไทย โดยเฉพาะตัวเขาเองที่เป็นลูกเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวดำเนินสะดวก สามารถหยั่งรู้ได้ว่าปากและตาของมะพร้าวอยู่ตรงไหน เขาจึงทำวงกลมไว้ตรงปากมะพร้าวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. นั่นหมายความว่าให้ตัวเจาะนั้นเจาะหรือจิ้มไปที่ตรงกลางของวงกลม แต่ถ้าผิดเพี้ยนก็จะไม่เกินเส้นวงกลมที่ทำไว้

“ภูมิปัญญาตรงนี้เรานำมาพัฒนาต่อยอด และเพิ่มมูลค่าได้เป็นอย่างดี อาจเป็นเรื่องสนุกท้าทายสำหรับบางคนที่ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามะพร้าวมีปากให้เจาะ และก็มีอีกหลายคนที่ถามว่าเรารู้ได้อย่างไรว่าตำแหน่งของปากจะอยู่ตรงนั้น ทั้งที่ไม่ได้ปอกเปลือกมะพราว ตรงนี้ต้องยกให้เป็นภูมิปัญญาของชาวสวนดำเนินสะดวก และใน 100 ลูก จะมีเจาะผิดที่ประมาณ 1 ลูกเท่านั้น”

จากการทดลองตลาดในช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนวันนี้ คุณหนุ่ยบอกว่าได้รับการตอบรับที่ดีในหลายประเทศที่เริ่มออร์เดอร์เข้ามา ซึ่งยังไม่นับรวมกลุ่มลูกค้าคนไทยที่เป็นคนรุ่นใหม่หรือกลุ่มที่มีกำลังซื้อ เพราะสามารถตอบโจทย์ความสะดวกสบาย เดิมนั้นต้องใช้มีดเฉาะ ยุ่งยากต่อการดื่ม แต่นี้ดื่มได้ทุกที่ แค่เพียงเจาะหรือจิ้มเบาๆ ก็จะได้ความสด เหมือนดื่มน้ำมะพร้าวสดๆจากต้น โดยเฉพาะแพ็กเก็ตจิ้งนั้นเล่าสวยงามมีเรื่องเล่า ทราบว่าออกแบบโดย SCG ที่ไม่ได้สวยเพียงอย่างเดียวแต่ยังช่วยยืดอายุความสดใหม่ได้อีกด้วย

จากการเปิดตัว “COCO BUCKET” และผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายในแบรนด์ “นายน้ำหอม” เช่น น้ำมะพร้าวบรรจุขวดพร้อมดื่มสด 100% น้ำมะพร้าวเจลลี่ น้ำมะพร้าวพุดดิ้ง ฯลฯ ทำให้ปัจจุบันมีความต้องการมะพร้าวน้ำหอมวันละเกือบ 1 แสนลูก คาดว่าจะทำให้ตลาดส่งออกเพิ่มจาก 17 ล้านลูก เป็น 20 ล้านลูก หรือเติบโต 30% จากปีที่แล้ว

ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนด้านสิทธิประโยชน์การลงทุนจากมาตรการของรัฐบาลผ่านทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จึงทำให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจให้เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาถือว่าได้รับผลกระทบ แต่บริษัทก็ไม่ได้เลิกจ้างพนักงาน แต่เน้นขยายช่องทางตลาดในประเทศ สามารถหาซื้อได้ที่ Facebook NC. Coconut Nc coconut line official. และที่กูเมต์มาร์เก็ต เครือเดอะมอลล์ รวมทั้งเทสโก้ โลตัส

ในตอนท้ายคุณหนุ่ย ได้เปิดเผยว่าจากกรณีที่มีแนวโน้มว่ามะพร้าวน้ำหอมจะได้รับความนิยมจากทั่วโลก เนื่องจากความมีอัตลักษณ์ของมะพร้าวน้ำหอมที่มีกลิ่นความหอมแจกต่างจากมะพร้างของประเทศอื่นๆ และถิ่นผลิตที่อำเภอบ้านแพ้วรวมทั้งอำเภอดำเนินสะดวก และอำเภอใกล้เคียงมีความแตกต่างทางสภาพภูมิศาสตร์ทำให้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือมะพร้าว GI ยิ่งทำให้ได้รับการตอบรับจากตลาดโลก ทางเอ็นซีโคโคนัทจึงได้ขายกำลังการผลิตออกไปอีกประมาณ 300 ไร่ ขณะนี้แปลงแรกอายุ 2 ปีครึ่ง เริ่มให้ผลผลิตบ้างแล้ว เช่นเดียวกับแปลงที่สองอายุปลูก 2 ปี แต่บางต้นก็เริ่มแทงจั่นและให้ผลผลิตแล้วเช่นกัน

นอกจากนี้เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้พอกับความต้องการตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะตลาดออนไลน์ที่เติบโตเป็นอย่างมาก ทำให้ปริมาณความต้องการมะพร้าวเพื่อนำแปรรูปเพิ่มมูลค่าไม่พอเพียงทางบริษัทจึงได้ประกาศรับซื้อมะพร้าวน้ำหอมจากพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ

“ตลอดระยะเวลา 40 ปี ที่เราได้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมต้นแรกมาจนวันนี้ ที่เราได้พัฒนามาสู่การค้าควบคู่กับการทำสวน ทำให้เราได้เห็นการเติบโตของเส้นทางธุรกิจมะพร้าวน้ำหอมว่ายังสามารถขยายได้อีกเยอะ ยังมีชาวโลกอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้ดื่มน้ำมะพร้าวน้ำหอมจากประเทศไทย เราจึงต้องลงทุนด้านวิจัยพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ขอขอบคุณรัฐบาลที่ผ่อนปรนมาตรการทางการเงิน และสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำผ่านทางธ.ก.ส. ทางบริษัทมั่นใจว่ามะพร้าวน้ำหอมจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรและชุมชนได้อย่างยั่งยืน” คุณหนุ่ย กล่าวย้ำอย่างมั่นใจ

สยามคูโบต้า เปิดตัวรถดำนารุ่นใหม่ เดินตาม 4 แถว รุ่น KW4 โฉมใหม่สีสะดุดตาเพิ่มทัศนวิสัยของผู้ใช้งานขณะทำงานเวลากลางคืน มาพร้อมกับเครื่องยนต์เบนซินขนาด 5 แรงม้าและถังน้ำมันขนาดความจุ 10 ลิตร เพิ่มความสะดวกสบายในการทำงาน ปักดำได้เป็นแถวเป็นแนว ได้ข้าวคุณภาพ พร้อมพิสูจน์แล้ววันนี้ ณ ร้านค้าผู้แทนจำหน่ายคูโบต้าทั่วประเทศ

นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า “การทำการเกษตรในยุคปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากขึ้น สามารถใช้แรงงานน้อยลงแต่ยังคงได้ผลผลิตมากขึ้นกว่าเดิมจากความแม่นยำของเครื่องจักรกลและเทคโนโลยี บริษัทฯ ได้ส่งเสริมมาอย่างต่อเนื่องสำหรับเกษตรกรที่ต้องการหันมาปลูกข้าวคุณภาพสูงเพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยใช้โซลูชั่นเกษตรปลอดนาหว่าน (Zero Broadcast Solutions) ด้วยเทคโนโลยีปักดำที่ช่วยลดต้นทุนและการสิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ลงร้อยละ 50-70 เพิ่มผลผลิตทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

รวมทั้งลดการใช้สารเคมี โดยล่าสุดได้เปิดตัวรถดำนา แบบเดินตาม 4 แถว รุ่น KW4 ที่พัฒนาต่อยอดจากรุ่นเดิม เพื่อให้สามารถดำนาได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น พร้อมประหยัดแรงงานคนและสามารถทำงานได้ไวและต่อเนื่อง โดยปรับโฉมใหม่ให้ดีไซน์ล้ำสมัย สีส้มสะดุดตา พร้อมกับไฟหน้าส่องสว่างแบบ LED เพิ่มทัศนวิสัยของผู้ใช้งานขณะทำงานเวลากลางคืน มาพร้อมความจุถังน้ำมันขนาด 10 ลิตร เครื่องยนต์เบนซินขนาด 5 แรงม้า แบบ OHV (Overhead valves) สามารถทำงานได้ไวและต่อเนื่องได้ถึงวันละ 7-13 ไร่ และทำงานได้คล่องตัวเลี้ยวง่ายเบาแรงแม้ในแปลงนาขนาดเล็ก ด้วยระบบบีบเลี้ยวและวงเลี้ยวแบบซีโร่เทิร์น (Zero-turn)”

รถดำนาคูโบต้า เดินตาม 4 แถว รุ่น KW4 เพิ่มความสะดวกสบายในการหยิบแผ่นกล้ามาเติมในแผงปักดำ เนื่องจากสามารถปรับชั้นวางแผ่นกล้าสำรองได้ 3 ตำแหน่ง และน้ำหนักเบาเพียง 169 กก. ทำให้คล่องตัวในการทำงาน ขนย้ายสะดวกและยังมีระบบป้อนกล้าแนวตั้งแบบสายพาน หน้ากว้าง 176 มม. เพิ่มพื้นที่สัมผัสแผ่นกล้า ช่วยป้อนกล้าได้อย่างต่อเนื่อง สามารถปรับระยะห่างระหว่างกอได้ถึง 6 ระยะ ตั้งแต่ 14 – 28 ซม. ปรับจำนวนต้นกล้าต่อกอ ได้ถึง 3-8 ต้น/กอ และปรับระดับความลึกในการปักดำ ได้ถึง 5 ระดับ ตั้งแต่ 0.7-3.7 ซม. สามารถปักดำได้ตามต้องการ ต้นข้าวเรียงเป็นแถวเป็นแนว มีระยะห่างที่เหมาะสม ทำให้ต้นข้าวไม่แย่งสารอาหาร รวมทั้งแสงสว่างส่องทั่วถึง ช่วยป้องกันโรคพืชและแมลงต่างๆ อีกทั้งเกษตรกรยังสามารถบำรุงรักษาต้นข้าวได้ง่ายขึ้น ทำให้ได้จำนวนเมล็ดข้าวต่อรวงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและมีน้ำหนักดี ผลผลิตจึงมีคุณภาพที่ดีขึ้น

โดยจากคำยืนยันของเกษตรกรผู้ทดลองใช้จริง นายธนพล วรจักร์ เกษตรกรผู้ทำนาดำ พื้นที่เพาะปลูก 40 ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร “ผมใช้รถดำนารุ่นเดิมมานาน พอคูโบต้าออกรุ่นเดินตาม 4 แถว KW4 ใหม่ ประทับใจในประสิทธิภาพการปักดำที่แม่นยำเหมือนเดิม โดยเฉพาะบริเวณแผงป้อนกล้าที่เปลี่ยนเป็นแบบสายพาน ช่วยให้ทำงานได้ต่อเนื่อง สะดวกสบายยิ่งขึ้น” และอีกราย คือ นายปรีชา พงศ์กาสอ เกษตรกรนาดำ พื้นที่เพาะปลูก 19 ไร่ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง “แผงปักดำที่พัฒนาจากรุ่นเดิม สามารถปักดำนาได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่ทำให้กล้าแผ่นเสียหายเวลาปักดำ”

เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกร รถดำนาเดินตาม 4 แถว รุ่น KW4 รับประกันคุณภาพ 2 ปี หรือ 600 ชั่วโมง และมีบริการตรวจเช็คสภาพรถดำนาฟรี 5 ครั้งจากศูนย์บริการสยามคูโบต้า โดยทีมช่างบริการผู้ชำนาญตามมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ พร้อมบริการสายด่วน 1747 ให้คำปรึกษาปัญหาทางเทคนิค แนะนำวิธีการใช้งาน และนัดหมายงานบริการต่างๆ อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกสบาย ไม่ต้องเพาะกล้าเอง ด้วยศูนย์จำหน่ายกล้าแผ่นคูโบต้าทั่วประเทศกว่า 45 แห่ง พร้อมรับข้อเสนอสุดพิเศษ ดาวน์เริ่มต้นเพียง 15% และรับส่วนลดสูงสุด 10,000 บาท ภายในวันนี้ – 31 ตุลาคม 2564 ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสัมผัสดีไซน์ล้ำสมัยของรถดำนาคูโบต้า เดินตาม 4 แถว KW4 ได้แล้ววันนี้ที่ร้านค้าผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้าใกล้บ้านท่าน หรือติดต่อ KUBOTA Connect โทร. 02-029-1747

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานสำคัญที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน พัฒนาและเพิ่มศักยภาพการผลิต การแปรรูป การเพิ่มมูลค่า การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการให้บริการทางการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน เป็นเวลากว่า 54 ปีที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้ช่วยเหลืออยู่เคียงคู่พี่น้องเกษตรกรมาด้วยความมุ่งมั่น นับตั้งแต่การก่อตั้งกรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2510 เพื่อเป็นการร่วมระลึกถึงวันแห่งความภาคภูมิใจ

กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้จัดงานวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมการเกษตรครบรอบ 54 ปีขึ้น ในวันที่ 21 ตุลาคม 2564 ณ บริเวณอาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร โดยได้รับเกียรติจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกล่าวแสดงความยินดีผ่านระบบออนไลน์ สำหรับกิจกรรมภายในงานได้จัดให้มีพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2564 การมอบเงินบริจาคแก่มูลนิธิศุภนิมิต การมอบรางวัลบุคคล หน่วยงานดีเด่น เกษตรกรดีเด่น สถาบันเกษตรกรดีเด่นระดับประเทศ และผู้ทำคุณประโยชน์กับกรมส่งเสริมการเกษตร และมอบแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรแก่ข้าราชการและลูกจ้างกรมส่งเสริมการเกษตร

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2565 กรมส่งเสริมการเกษตรวางแผน “Next Step” ขับเคลื่อนองค์กรวิถีใหม่ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้สโลแกน “เกษตรกรก้าวทันยุคดิจิทัล ใช้เทคโนโลยีแม่นยำ เชื่อมโยงตลาดนำการผลิต” ซึ่งได้วางแนวทางไว้ 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการปรับระบบการทำงานเข้าสู่ New Normal มุ่งพัฒนากรมส่งเสริมการเกษตรสู่การเป็น Digital DOAE เน้นพัฒนาและใช้ประโยชน์จากระบบ Big Data พร้อมยกระดับเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการเกษตรยุคใหม่ (Agri-Entrepreneurs)

ส่งเสริม e – Commerce และเชื่อมโยงสินค้าเกษตรเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับเกษตรกรรายบุคคล (Personalized Service) เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาอาชีพของเกษตรกร ตลอดจนเตรียมกลยุทธ์รองรับ Next Normal ในอนาคตสำหรับการทำงานออนไลน์เต็มรูปแบบ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ โดยยังคงยึดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของโครงการเป็นสำคัญ และผลักดันองค์กรสู่ระบบราชการ 4.0 มุ่งเป็นหน่วยงานที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งมอบบริการที่มีคุณภาพให้กับเกษตรกร โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

สำหรับส่วนที่ 2 คือ วางแนวทางการดำเนินงานภารกิจสำคัญ ได้แก่ การขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้ครอบคลุมพื้นที่และเกษตรกรมากขึ้น ส่งเสริมการเกษตรโดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เน้นผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยมีคุณภาพได้มาตรฐาน พัฒนาตลาดสินค้าเกษตร ทั้ง online และ offline ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ ยกระดับกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

ใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว ด้วยการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บนความยั่งยืนของฐานทรัพยากร รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร ขยายโอกาสให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนา Young Smart Farmer และ Smart Farmer ให้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการเกษตรของชุมชน พร้อมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และภาคการเกษตร ให้สามารถประกอบกิจการได้อย่างยั่งยืน และเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ขยายผลการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ บูรณาการงาน/โครงการลงสู่พื้นที่เป้าหมาย

ลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการช่วยเหลือดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร จัดทำแผนเตรียมรับมือและฟื้นฟูอาชีพการเกษตรหลังจากเกิดภัยพิบัติ โดยเฉพาะให้คำแนะนำ การเตรียมพันธุ์พืช สารชีวภัณฑ์ และปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีอาหารบริโภคในครัวเรือนและสร้างรายได้ในระยะสั้น และสามารถประกอบอาชีพการเกษตรต่อไปได้อย่างมั่นคง และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรในพื้นที่อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางวิกฤติที่เกิดขึ้น กรมส่งเสริมการเกษตร และนักส่งเสริมการเกษตรทุกคนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ยังคงมุ่งมั่นตั้งใจขับเคลื่อนการทำงานวิถีใหม่ เพื่อใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนแก่พี่น้องเกษตรกรไทยต่อไป

สยามคูโบต้า เดินหน้าเยียวยาและเป็นกำลังใจให้กับเกษตรกรและผู้ประสบอุทกภัย ทั่วประเทศ จับมือร้านค้าผู้แทนจำหน่ายฯ จัดกิจกรรม “คูโบต้าพลังใจสู้ภัยน้ำท่วม” ภายใต้แคมเปญ “KUBOTA on your side” มอบถุงยังชีพเครื่องอุปโภค – บริโภค 8,800 ชุด บรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยทั่วประเทศกว่า 180,000 ครัวเรือน พร้อมนำแทรกเตอร์จิตอาสาช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ประชาชนที่ประสบอุทกภัย

นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า “นับตั้งแต่สถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลของร่องมรสุมและพายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่และพายุคมปาซุ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและประชาชนในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางเกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมสูง ตั้งแต่เดือนกันยายน ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน บ้านเรือน รวมถึงพื้นที่ทำการเกษตรเป็นวงกว้าง อีกทั้งเครื่องจักรกลการเกษตรเสียหาย ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือในการทำมาหากินของพี่น้องประชาชนที่ต้องใช้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงมีข้อมูลจากการประเมินของสมาคมธนาคารไทยที่ได้คาดการณ์ว่า สถานการณ์อุทกภัยปีนี้จะเกิดมูลค่าความเสียหายในภาคการเกษตรประมาณ 4,701 ล้านบาท หรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 1.1 ล้านไร่ โดยนาข้าวได้รับความเสียหายมากที่สุด ประมาณ 0.6 ล้านไร่ มูลค่าความเสียหายประมาณ 1,833 ล้านบาท รวมถึงยังมีพืชอื่นๆ อาทิ มันสำปะหลัง และอ้อย ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ

สยามคูโบต้าจึงได้เร่งให้ความช่วยเหลืออย่างครอบคลุม โดยร่วมมือกับร้านค้าผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้าในพื้นที่ จัดกิจกรรม “คูโบต้าพลังใจสู้ภัยน้ำท่วม” ภายใต้แคมเปญ “KUBOTA on your side” พร้อมอยู่เคียงข้างสังคม โดยมอบถุงยังชีพเครื่องอุปโภค – บริโภค และของใช้จำเป็นกว่า 8,800 ชุด อาทิ ข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่ม กระจายความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่ได้รับความเดือดร้อนทั่วประเทศกว่า 180,000 ครัวเรือน รวมมูลค่ากว่า 2 ล้านบาท ใน 20 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบครอบคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดตาก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสระแก้ว จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม พร้อมเป็นจิตอาสานำแทรกเตอร์ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ประชาชนที่ประสบอุทกภัยด้วย

ทั้งนี้ กิจกรรม “คูโบต้าพลังใจสู้ภัยน้ำท่วม” เป็นกิจกรรมที่สยามคูโบต้าได้ให้ความช่วยเหลือสังคมมาโดยตลอดในยามเกิดภัยพิบัติ นอกจากนี้เรายังเตรียมเฝ้าระวังและขยายผลความช่วยเหลือไปยังจังหวัดอื่นๆ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยด้วย พร้อมตั้งเป้าหมายที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยฟื้นฟูความเสียหายหลังน้ำลดให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยไว เพื่อเป็นอีกหนึ่งพลังที่ส่งต่อให้ผู้ประสบอุทกภัยทั่วประเทศได้มีกำลังใจในชีวิตต่อไป” นางวราภรณ์ กล่าวทิ้งท้าย

นักวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. และเป็นผู้ดูแล “โครงการวิจัยและพัฒนากัญชงและพืชสกุล Cannabis เป็นพืชเศรษฐกิจและพืชทางเลือกใหม่บนพื้นที่สูง” เผยถึง สารสกัด CBD เป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ไม่ทำให้มึนเมา โดยออกฤทธิ์เพื่อการคลายเครียด ปกป้องเซลล์ประสาท ต้านชัก แก้ปวด ฤทธิ์ต้านเนื้องอก ต้านอาการอักเสบ ต้านฤทธิ์ต่อจิตประสาท และ CBD ไม่ทำให้เกิดการดื้อหรือติด สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร และเครื่องสำอาง โดย สธ. ประกาศให้ สารสกัด CBD ที่มี THC ไม่เกิน 0.2% ไม่เป็นยาเสพติด สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย โดยมีข้อแม้ให้สารสกัดดังกล่าว จะต้องได้จากกัญชงหรือกัญชาที่ผลิตภายในประเทศเท่านั้นหากเป็น CBD ที่ได้จากการนำเข้ายังจัดเป็นยาเสพติดให้โทษ

ดร.สริตา ปิ่นมณี นักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน) ซึ่งเป็นผู้ดูแล“โครงการวิจัยและพัฒนากัญชงและพืชสกุล Cannabis เป็นพืชเศรษฐกิจและพืชทางเลือกใหม่บนพื้นที่สูง” เปิดเผยว่า สาร CBD (Cannabidiol) และ THC (Tetrahydrocannabinol) จัดเป็นสารในกลุ่มคานนาบินอยด์ (Cannabinoids) ที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ พบในพืชสกุล Cannabis คือ กัญชา (Marijuana) และ กัญชง (Hemp) โดยสารสำคัญ THC และ CBD มีมากในส่วนของช่อดอก สกัดได้จากช่อดอก ไม่ใช่น้ำมันหรือการสกัดจากเมล็ดกัญชง

สำหรับสาร CBD นั้น ไม่จัดเป็นยาเสพติด ซึ่งเป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท (Non-psychoactive) ไม่ทำให้มึนเมา โดยออกฤทธิ์เพื่อการคลายเครียด ปกป้องเซลล์ประสาท ต้านชัก แก้ปวด ฤทธิ์ต้านเนื้องอก ต้านอาการอักเสบ ต้านฤทธิ์ต่อจิตประสาท และ CBD ไม่ทำให้เกิดการดื้อหรือติด สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา และอาหาร ส่วนสาร THC จัดเป็นสารเสพติดประเภทที่ 1 (องค์การอนามัยโลก) มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Psychoactive) ทำให้เคลิบเคลิ้ม ผ่อนคลาย ทำให้ง่วง หลับง่าย กระตุ้นการอยากอาหาร ต้านปวด ต้านอาเจียน และคลายกล้ามเนื้อ แต่ทำให้เสพติดได้

โดยกระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ สารสกัด CBD ที่มี THC ไม่เกิน 0.2% ไม่เป็นยาเสพติด สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ได้แก่ ทางการแพทย์ การศึกษาวิจัย ทำผลิตภัณฑ์ เช่น ยา อาหาร สมุนไพร และเครื่องสำอาง โดยมีข้อแม้ให้สารสกัดดังกล่าว จะต้องได้จากกัญชงหรือกัญชาที่ผลิตภายในประเทศเท่านั้นหากเป็น CBD ที่ได้จากการนำเข้ายังจัดเป็นยาเสพติดให้โทษ ดังนั้นถ้าต้องการใช้ CBD ต้องปลูกกัญชง หรือกัญชาเองในประเทศไทย

สาร CBD กับ คุณสมบัติทางยา โดย CBD มีกลไกการออกฤทธิ์ทำให้สามารถลดอาการปวด อาการอักเสบ ลดความกังวล และควบคุมอาการชักได้ โดยไม่มีความเป็นพิษต่อระบบประสาท ซึ่ง CBD สามารถช่วยลดอาการอักเสบในร่างกาย ลดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ และยังช่วยรักษาโรคหลอดเลือดและหัวใจ การศึกษาเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ ที่สามารถรักษาด้วย CBD นอกจากนี้ยังพบว่า CBD มีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น ลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่รับยาเคมีบำบัดเมื่อใช้ยามาตรฐานไม่ได้ผล , ลดอาการเบื่ออาหารน้ำหนักลดในผู้ติดเชื้อเอชไอวี , โรคลมชักรุนแรงสองชนิดที่ชื่อว่า Lennox-Gastaut syndrome และ Dravet syndrome , ควบคุมอาการปวดเรื้อรัง

รักษาอาการปวดจากโรคปลอกประสาทอักเสบ (โรคเอ็มเอส) ลดปวดและคลื่นไส้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งข้อบ่งชี้ของทางออสเตรเลียกำหนดไว้ว่าให้ใช้เมื่อการรักษามาตรฐานยังได้ผลไม่ดีเท่านั้น , บรรเทาอาการลมบ้าหมู , บรรเทาอาการของโรค ALS หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง , บรรเทาอาการพาร์์กิินสััน (อาการสั่น) , ลดปัญหาสิวและอาการผิวแห้ง , บรรเทาอาการซึมเศร้า , บรรเทาอาการโรคเบาหวาน , บรรเทาอาการทางจิตเภทต่่าง ๆ , บรรเทาอาการลงแดงจากสารเสพติดอื่น ๆ อีกทั้งบังช่วยบรรเทาและป้องกันโรคหัวใจด้วย

ในส่วนของสาร CBD กับ อาหารนั้น จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 429 (27 ส.ค.2564) ได้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหาร จะต้องมี CBD ได้ไม่เกิน 75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ppm) และ THC ไม่เกิน 0.15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 4 ประเภทอาหาร คือ 1. ผลิตภัณฑ์เสริม ชนิดเม็ด แคปซูล และของเหลว 2. เครื่องดื่มแต่งกลิ่นรสอัดก๊าซ 3. เครื่องดื่มแต่งกลิ่นรสไม่อัดก๊าซ และ 4. เครื่องดื่มธัญชาติ (Cereal and grain beverages)

ในด้านความสวยความงาม สาร CBD มีคุณสมบัติต่อต้านอาการอักเสบ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ฟื้นบำรุง และปกป้องผิวจากมลภาวะและแสงแดด ช่วยเพิ่มคอลลาเจนฟื้นฟูผิวให้เรียบเนียน กระตุ้นการผลัดเซลล์ และสร้างผิวใหม่ ลดรอยแดง รอยดำดูจางลง พร้อมเติมความชุ่มชื้นให้ผิว ทำให้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ CBD เป็นสินค้าขายดีในทั่วทุกมุมโลก

สำหรับประเทศไทยกฎหมายเปิดให้ใช้ CBD ในเครื่องสำอางพร้อมใช้ทุกประเภทได้ไม่เกิน 1.0% โดยห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในช่องปากหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้บริเวณจุดซ่อนเร้น วัตถุดิบที่ใช้ต้องมีสาร THC ปนเปื้อนไม่เกิน 0.2% และในกรณีเครื่องสำอางพร้อมใช้รูปแบบน้ำมัน หรือ soft gelatin capsules จะต้องมีสาร THC ปนเปื้อนไม่เกิน 0.001% (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข 11 พ.ค.2564) ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่มี CBD เป็นส่วนประกอบ เช่น ครีม โลชั่น สบู่ แชมพู ลิปบาล์ม รวมทั้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร เช่น ยาหม่อง เป็นต้น

“ปัจจุบัน สวพส. และมูลนิธิโครงการหลวง อยู่ระหว่างการปรับปรุงพันธุ์ให้กัญชงที่มีปริมาณ CBD สูง และ THC ต่ำกว่า 1.0% ซึ่งในปัจจุบัน พบสายพันธุ์ที่มีปริมาณ CBD เพิ่มสูงขึ้นในช่วง 5-15 % โดยอยู่ระหว่างขั้นตอนการปลูกทดสอบและปรับปรุงพันธุ์ โดยมีเป้าหมายให้ได้พันธุ์ที่มีปริมาณ CBD 20% ภายในปี พ.ศ. 2570 และปัจจุบัน มีพันธุ์กัญชงที่ขึ้นทะเบียนพันธุ์แล้วจำนวน 8 พันธุ์ ได้แก่ RPF1 , RPF2 , RPF3 , RPF4 , RPF5 , RPF6 , RPF7 และ RPF8 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจปริมาณและคุณภาพของเมล็ด โดยคาดว่าทาง สวพส. เปิดจำหน่ายเมล็ดกัญชง (Hemp) ครั้งที่ 2 ประมาณปลายปี พ.ศ. 2564 นี้ โดยสามารถติดตามข่าวสารต่าง ๆ ของ สถาบันฯ ผ่านเว็บไซต์ https://www.hrdi.or.th/ หรือ Facebook Fan page : สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน)” ดร.สริตา กล่าวทิ้งท้าย

เรื่องของสมุนไพรฟ้าทะลายโจรเป็นที่ฮือฮากันมากในช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 เพราะว่ามีคุณสมบัติช่วยยับยั้ง..จนเกิดขาดแคลนไม่พอต่อความต้องการ เพราะเหตุนี้ทางเครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) ซึ่งมีความพร้อมจึงประกาศที่จะปลูกฟ้าทะลายโจรขึ้นมาแจกจ่าย ภายใต้โครงการปันปลูก ฟ้าทะลายโจร 100 ไร่ 100 วัน 30 ล้านแคปซูล

งานปลูกได้เริ่มต้นปลูกเมื่อวันแม่ 12 สิงหาคม 2564 ณ ฟาร์มแสลงพัน และฟาร์มคำพราน จ.สระบุรี หรือเรียกว่าสถานีวิจัยแสลงพัน ของกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือซีพี ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลแสลงพัน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี นับเป็นเวลากว่า 2 เดือน ที่ต้นฟ้าทะลายโจรได้เจริญเติบโต และ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564 บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด (CPP) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการได้เชิญสื่อมวลชนไปชมแปลงปลูกเพื่อให้เห็นกับตาว่างานทุกอย่างคืบหน้าไปตามแผนงานที่วางไว้

เมื่อไปถึงบริเวณที่ตั้งของแปลงปลูกชาวคณะเยี่ยมชมก็เข้าห้องไปฟังบรรยาย โดย คุณสุเมธ ภิญโญสนิท ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด (CPP) พร้อมคณะผู้บริหารและพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ให้การต้อนรับ ซึ่งเปิดเผยว่า โครงการปันปลูก ฟ้าทะลายโจร มีผลการดำเนินงานที่ก้าวหน้าและเป็นไปตามนโยบายของประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) นายธนินท์ เจียรวนนท์

ที่มีความตั้งใจช่วยเหลือสังคม สมัครพนันออนไลน์ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงยาสมุนไพรไทยและใช้เสริมภูมิคุ้มกัน ในยามที่ขาดแคลนสมุนไพรฟ้าทะลายโจร จากวันปลูก…จนถึงปัจจุบันได้ทยอยเก็บเกี่ยวเพื่อนำไปผลิตเป็นยาสมุนไพรภายใต้ชื่อ “ปันปลูก” โดยจะแจกฟรีแก่ชุมชน สถานพยาบาล องค์กรต่าง ๆ รวมถึงประชาชนกลุ่มเปราะบางได้ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2564 ซึ่งเป็นวันพ่อแห่งชาติ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 พ่อหลวงของแผ่นดิน และเป็นการร้อยเรียงความดีเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ สอดคล้องตามค่านิยม 3 ประโยชน์ของเครือซีพีอีกด้วย

สำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรี High Roundtable Meeting

ร่วมกับผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 20 ประเทศทั่วโลก อันเป็นส่วนหนึ่งของการประชุม GCA+20 ครั้งนี้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับเกียรติให้กล่าวสุนทรพจน์ผ่านระบบออนไลน์ โดยได้กล่าวถึงบทบาทของประเทศไทยที่ได้ร่วมมือกับนานาประเทศ เพื่อสร้างความยั่งยืนในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาทิ ได้ร่วมจัดทำคู่มือจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของอาเซียน รวมถึงแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการปฏิบัติที่ดีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปี 2564-2568 ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน

พร้อมกันนี้ ประเทศไทยยังได้รับคัดเลือกให้เป็นคณะกรรมการบริหารภายใต้คณะกรรมาธิการด้านทรัพยากรพันธุกรรมสาขาอาหารและเกษตร รวมถึงได้เข้าร่วมประชุมระดับภูมิภาคด้านการทบทวนและการประเมินกฎหมายการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่จัดขึ้นโดย FAO และในปี 2565 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปค ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะจัดการประชุมคณะทำงานด้านมหาสมุทรและการประมง และการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความมั่นคงทางอาหาร เป็นการเน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญในการทำประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร

การจัดประชุม GCA+20 ครั้งนี้ กรมประมงได้จัดส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมในรูปแบบออนไลน์ภายใต้หัวข้อการประชุมที่สำคัญ 9 หัวข้อ (Thematic Reviews) ได้แก่ 1. ระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 2. เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 3. การปรับเปลี่ยนระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 4. อาหารและการให้อาหารสัตว์น้ำ 5. การพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ 6. ความปลอดภัยทางชีวภาพและการจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ/พืช/สาหร่าย 7. การวางแผนเชิงนโยบายด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 8. ขอบเขตของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และ 9. ห่วงโซ่คุณค่าและการเข้าถึงตลาดผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย

อธิบดีกรมประมงกล่าวเพิ่มเติมว่าในการประชุมครั้งนี้ มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลวิชาการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับความร่วมมือด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการประชุมในหัวข้อการเปลี่ยนผ่านด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไปสู่ความสำเร็จตาม SDGs ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากกรมประมงได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดนโยบายการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่สอดคล้องทั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)

และแผนการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2560-2564 โดยมียุทธศาสตร์พัฒนาความสามารถในการผลิต-เพาะเลี้ยงให้ได้ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ปลอดภัย ได้มาตรฐาน พร้อมผลักดันการเพาะเลี้ยงและอุตสาหกรรมการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน ควบคู่ไปกับการเพิ่มมูลค่าและศักยภาพการแข่งขันที่สอดรับกับความต้องการทางการตลาดในบริบท New Normal รวมไปถึงการส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าประมง ตลอดจนยกระดับเครือข่ายและควบคุมต้นทุนตลอด Supply Chain เพื่อรองรับวิกฤตโควิด-19 อีกด้วย การประชุมครั้งนี้ จึงถือเป็นโอกาสดีของประเทศไทยที่จะได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมทั้งได้แสดงบทบาทของไทยในการมีส่วนร่วมทางด้านวิชาการ สามารถแสดงศักยภาพในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทยในระดับสากล อันจะนำไปสู่การยกระดับความร่วมมือด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนระหว่างประเทศต่อไป

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยต่อเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมและภัยพิบัติด้านการเกษตรในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย และในโอกาสที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์ พร้อมตรวจเยี่ยมประชาชน และเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ จึงได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการเกษตรจัดทีมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย และเยียวยาเกษตรกรหลังน้ำลดทันที

นายเข้มแข็ง กล่าวอีกว่า วันนี้ (25 กันยายน 2564) ได้ลงพื้นที่พร้อมกับทีมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สำรวจพื้นที่เกษตรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย พร้อมเตรียมประชุมให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยในวันพรุ่งนี้ ซึ่งขณะนี้พบว่า พื้นที่เกษตรที่ประสบภัยประมาณ 169,297 ไร่ แบ่งเป็น ด้านข้าว 150,774 ไร่ พืชไร่และพืชผัก 16,761 ไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้น 1,762 ไร่ ได้รับผลกระทบจากฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องและปริมาณน้ำสมทบจากทางเหนือ ทำให้อำเภอศรีสำโรง สวรรคโลก ศรีนคร คีรีมาศ บ้านด่านลานหอย เมืองสุโขทัย ทุ่งเสลี่ยม กงไกรลาศ และอำเภอศรีสัชนาลัย ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้กรมส่งเสริมการเกษตร โดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลก ได้จัดชุดช่วยเหลือ ประกอบด้วยเมล็ดพืชพันธุ์ดี จำนวน 2,000 ซอง ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาว กระเจี๊ยบเขียว พริกจินดา และผักบุ้งจีน จากโครงการผลิตพืชพันธุ์ดีเพื่อสำรองในกรณีช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย และใช้ในภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตร และไตรโครเดอร์มา สำหรับฟื้นฟูพื้นที่เกษตรหลังน้ำลดพร้อมช่วยบรรจุเมล็ดพันธุ์ดีร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย แจกจ่ายให้เกษตรกรและเตรียมการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 โดยด่วนต่อไป

เมื่อวานนี้ (วันที่ 25 กันยายน 2564 ) ที่ศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้ COVID-19 ได้ให้บริการฉีดวัคซีน astrazeneca เข็มที่ 2 แก่นิสิตนักศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และ ประชาชน ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยการสนับสนุนของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยในวันที่ 25 กันยายน 2564 นับเป็นครั้งที่ 5 ของการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ได้ให้บริการฉีดวัคซีนเป็นจำนวนทั้งสิ้น 12,521 คน

ทั้งนี้ การให้บริการฉีดวัคซีน astrazeneca เข็มที่ 2 ของศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้ COVID-19 เปิดให้บริการมาแล้ว 4 ครั้ง คือ วันที่ 28 สิงหาคม 2564 มีจำนวนผู้รับวัคซีน 10,430 คน วันที่ 4 กันยายน 2564 จำนวนผู้รับวัคซีน 11,006 คน วันที่ 11 กันยายน 2564 จำนวนผู้รับวัคซีน 12,335 คน วันที่ 18 กันยายน 2564 จำนวนผู้รับวัคซีน 12,561 คน และยังเหลืออีก 3 ครั้ง คือ วันที่ 2,9,13 ตุลาคม 2564 สำหรับการให้บริการฉีดวัคซีนastrazeneca เข็มที่ 2 ของศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้ COVID-19 โดยจะต้องเป็นผู้ที่ฉีดวัคซีนที่นี่ตั้งแต่เข็มที่ 1

บรรยากาศของศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้โควิด 19 เต็มไปด้วยการทำงานและการบริการดูแลอย่างใกล้ชิดของทีมแพทย์พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ จิตอาสา นิสิต นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรทุกภาคส่วน รวมทั้ง จิตอาสาภาคประชาชน ที่คอยให้บริการสนับสนุนและช่วยเหลือผู้มารับวัคซีน

โดยในวันที่ 25 กันยายน 2564 อาจารย์ดร.เช ยอง ซอก หัวหน้าผู้ฝึกสอนเทควันโดทีมชาติไทย ในฐานะอาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน พร้อมกับ ร้อยโทหญิง ชนาธิป ซ้อนขำ ผู้ช่วยโค้ชผู้ฝึกสอนเทควันโดทีมชาติไทยและ นิสิตปริญญาเอก คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ได้อาสามาทำงานเป็นจิตอาสาและให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ และผู้มารับวัคซีน สร้างความประทับใจให้กับผู้มารับวัคซีนอย่างยิ่ง

อาจารย์ ดร.เช ยอง ซอก หรือ อาจารย์ ดร.ชัชชัย ชเว กล่าวว่า รู้สึกยินดีและดีใจที่มีส่วนร่วมทำงานจิตอาสาให้กับ มก. แม้ว่าจะมีเวลาไม่มากนักก็ตาม ได้เห็นการทำงานของเจ้าหน้าที่ แพทย์ พยาบาล แล้วรู้สึกประทับใจมาก
“ผมได้ดูทุกคนงาน รู้สึกว่าเป็นงานที่เหนื่อยแต่ทุกคนก็มีความสุขที่ได้ทำงานช่วยเหลือผู้อื่น ผมขอให้ทุกคนมารับวัคซีนกันให้เร็วที่สุดนะครับ สำหรับคนที่ยังรอวัคซีนอยู่ก็ขอเป็นกำลังใจ และขอให้ทุกคนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เราทุกคนต้องปลอดภัย ต้องสู้ต่อไป ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกๆคน สู้ๆๆครับ”

ทางด้าน ร้อยโทหญิง ชนาธิป ซ้อนขำ หรือโค้ช “เล็ก” นิสิตปริญญาเอก คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา กล่าวว่า “ขอเป็นกำลังใจให้กับทีมแพทย์พยาบาล พี่ ๆ นิสิต นักศึกษา บุคลากรที่อาสาสมัครมาทำงานเป็นจิตอาสา มาให้บริการพี่น้องประชาชนที่ศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้ COVID-19 “เล็ก” รู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งมาให้กำลังใจ ได้เห็นการทำงานของทุกคนที่นี่ รู้สึกได้ว่าทุกคนมีความสุขที่ได้ข่วยเหลือกัน ขอให้ทุกคนรักษาสุขภาพนะคะ และขอให้มีสุขภาพที่แข็งแรง เราทุกคนจะต้องรอดพ้นจากภัยโควิด19 และผ่านพ้นเหตุการณ์นี้ไปด้วยกันค่ะ”

วันที่ 25 กันยายน 2564 ชาวคณะเกษตรก้าวไกลได้ออกเดินทางตามภารกิจ “เกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย” ไปยังตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี วันนี้ใช้เวลามากเป็นพิเศษ เพราะที่กรุงเทพฯต้นทางฝนเทลงมาแต่เช้า ไปถึงราว 10 โมงกว่าๆ เกษตรกรทยอยนำข้าวโพดมาขาย(ข้าวโพดฟักสดหรือข้าวโพดหวาน) รถกระบะคันแล้วคันเล่าถอยเข้าถอยออก สลับด้วยรถเก๋งประปราย พวกเขานำข้าวโพดที่ปลูกมาขาย กับอีกส่วนหนึ่งมาซื้อข้าวโพดที่ตัดใหม่สดๆจากไร่

ตรงจุดที่นัดพบนั้นเดิมใช้พื้นที่กลางไร่ข้าวโพด แต่ต้องเข้าไปลึกพอสมควร พวกเขาก็เลยร่นมาให้ใกล้กับถนนใหญ่ให้ไปมาสะดวกของผู้ขายและผู้ซื้อ คือใช้พื้นที่ของไร่ข้าวโพด FCC ที่แวดล้อมด้วยไร่อ้อย พวกเขากางเต้นท์ขึ้นมาเพียงแค่ให้การซื้อขายสะดวกไม่ต้องตากแดดตากฝนและมีพื้นที่จอดรถกว้างพอสมควร

เราได้พบปะพูดคุยกับ คุณสมชาย และ คุณชดาภา(โบ) วรอมราคุณ สองแกนนำผู้รวบรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูก(ผู้ขาย) และกลุ่มผู้ซื้อ(บรรดาพ่อค้าแม่ขายข้าวโพดต้มที่เป็นขาประจำ) ตลอดจนพ่อค้าแม่ค้าขาจรหรือประชาชนทั่วไปที่หมุนเวียนมารับซื้อข้าวโพดเพื่อนำไปต้มขายหรือไปแปรรูปหรือไปแจกจ่ายหรือนำไปต้มกินก็แล้วแต่…

คุณสมชาย บอกว่า ได้รวมกลุ่มซื้อขายกันกลางไร่ข้าวโพดแบบนี้ประมาณ 10 ปีมาแล้ว เริ่มจากบรรดาเพื่อนๆเกษตรกร และญาติๆ ซึ่งตนเองก็เป็นเกษตรกรผู้ปลูกมาก่อน และตอนหลังได้นำข้าวโพดที่ปลูกไปต้มขาย ซึ่งได้เห็นโอกาสของตลาดในชุมชน จึงคิดว่าเราน่าจะมีการรวมกลุ่มเพื่อผลิตและเพื่อขาย ปรากฏว่าตลาดค่อยๆเติบโตขึ้น จนในเวลาต่อมาตนกับคุณโบได้ออกมาทำหน้าที่ด้านการประสานงานและเน้นเรื่องตลาดเพียงอย่างเดียว พร้อมกับประสานงานกับบรรดาผู้ค้าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่ต่อมาได้กลายเป็นจุดทดสอบพันธุ์ข้าวโพดใหม่ๆของบรรดาบริษัทเหล่านั้น

“หัวใจสำคัญคือ ทุกคนต้องมีความจริงใจต่อกันซื่อสัตย์ในอาชีพในจรรยาบรรณของตัวเอง ผู้ปลูกมีหน้าที่ปลูก คนขายมีหน้าที่ขาย คนปลูกคุณอย่าคิดว่าฉันจะไปขายด้วย จะไม่มีเวลาดูแลเรื่องการปลูกจะทำให้ผลผลิตไม่ดีไม่ได้คุณภาพ หรือคนขาย ฉันจะไปปลูกด้วยก็จะทำหน้าที่การขายไม่ดี เราแบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจนและรับผิดชอบในหน้าที่ตัวเองให้ดีที่สุด

ปัจจัยที่สอง การเรียนรู้และการพัฒนา โบจะหาพันธุ์ใหม่ๆมาให้ปลูก ศึกษาว่าตลาดเขานิยมพันธุ์ไหน พันธุ์อะไรที่อร่อยที่สุด ซึ่งบริษัทหรือนักพัฒนาสายพันธุ์จะมีการพัฒนาพันธุ์ใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ เราต้องตามให้ทัน

ปัจจัยที่สาม เรื่องการตลาดเราจะต้องมีข้าวโพดที่สดใหม่ตัดเช้าต้มขายบ่าย จะต้องประสานกับตลาด เรามีการพรีออเดอร์ อย่างวันนี้มีคำสั่งซื้อมากี่ราย พอวันพรุ่งนี้เราก็ตัดสดๆให้ ทั้งผู้ซื้อเจ้าประจำผู้ซื้อรายใหม่ ซึ่งตอนนี้ยังมีการซื้อไปขายผ่านออนไลน์ เราจะต้องบริหารให้มีข้าวโพดตัดสดใหม่และขายได้ในทุกวัน ทุกคนต้องอยู่ได้ด้วยกัน

นอกจากการได้รับรู้ข้อมูลจากคุณสมชายและคุณโบแล้ว เกษตรก้าวไกล ยังได้คุยแลกเปลี่ยนกับเกษตรกรผู้ปลูกและพ่อค้าแม่ค้าที่มารับซื้อ จากการพูดคุยเก็บข้อมูลในครั้งนี้ เราพบว่าหัวใจสำคัญคือ แกนนำที่เป็นคนประสานงานในกลุ่ม ซึ่งก็คือ คุณสมชายและคุณโบ เราทราบว่าปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 50 ราย และมีพ่อค้าแม่ขายที่มารับซื้อนับสิบรายที่หมุนเวียนมาซื้อถึงจุดที่นัดหมาย และข้าวโพดส่วนหนึ่งทางคุณสมชายและคุณโบจะไปส่งให้ลูกค้าถึงที่หรือตามจุดที่นัดหมายกันไว้

สรุปก็คือว่า พวกเขาทุกคนหน้าชื่นตาบาน “โควิดทำอะไรได้ไม่มาก” พอใจกับตลาดที่พวกเขาสร้างขึ้น ไม่ต้องเร่รถไปขายในเมืองหรือตามตลาดใหญ่ แต่ซื้อขายกันในไร่ในชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่ นี่คือ “หนองอิรุณโมเดล” ต้นแบบการสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้หมุนเวียน ที่ควรจะผลักดันให้เกิดขึ้นเยอะๆ หากเกิดขึ้นได้ก็จะแก้ไขปัญหาปลายทางได้เป็นอย่างดี เพราะนี่คือการตลาดนำการผลิต และตัวอย่างของเกษตรกรกลุ่มนี้ คือการทำงานเชิงรุก ไม่ตั้งรับหรือรอการช่วยเหลือจากภาครัฐ และประสานกับบริษัทหรือนักพัฒนาสายพันธุ์ที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ดีเยี่ยม

อนึ่ง ในวันนี้หลังจากจบภารกิจพูดคุยเก็บข้อมูล เราได้ชิมข้าวโพดหวานที่คุณโบได้ต้มให้กินกันสดๆร้อนๆ แต่ละสายพันธุ์เป็นพันธุ์ยอดนิยมในปัจจุบัน ซึ่งอร่อยมากๆ ใครอยากกินข้าวโพดที่อร่อยแบบนี้ก็ติดต่อซื้อขายกันได้ตามเบอร์โทร.ท้ายคลิปข้างต้นนะครับ

29 กันยายน 2564 – ดีแทค เน็ตทำกิน จับมือ ดีป้า มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และ ยังแฮปปี้ (YoungHappy) เปิดโครงการ เน็ตทำกิน ในภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+ เล็งยกระดับทักษะดิจิทัลให้ผู้สูงวัยอาศัยลำพังรุ่นแรก 250 คนให้พึ่งพาตนเองได้ ท่ามกลางสภาวะการเข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ เชื่อเศรษฐกิจสูงวัยขับเคลื่อนได้ด้วยองค์ความรู้ด้านดิจิทัลและความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการ

นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “สังคมผู้สูงวัยถือเป็นอีกเมกะเทรนด์หนึ่งของโลกในศตวรรษที่ 21 โดยองค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่า ประชากรผู้สูงวัยโลกที่มีอายุกว่า 65 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนกว่า 1,500 ล้านคนในปี 2593 ขณะที่ประเทศไทยจำนวนผู้สูงวัยในตอนนี้สูงถึงประมาณ 20% และจะเพิ่มเป็น 28% ของประชากรทั้งประเทศในปี 2576 โดยในอีก 30 ปีข้างหน้าคาดว่าประชากรกลุ่มเกษียณและเตรียมเกษียณจะมีจำนวนถึง 30 ล้านคน ดังนั้น ถ้าผู้สูงวัยไม่สามารถก้าวทันดิจิทัล พวกเขาจะประสบปัญหาการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ธนาคาร และบริการของภาครัฐ นอกจากนี้ พวกเขายังต้องการทักษะดิจิทัลเพื่อพัฒนาการสร้างรายได้เพิ่ม ดีแทคเน็ตทำกิน จึงมุ่งมั่นที่จะปิดช่องว่างดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อผู้สูงวัยในประเทศไทย”

การก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยของไทยถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสาธารณสุขอย่างมาก จากแนวโน้มสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ไทยเป็นประเทศที่มีผู้สูงวัยมากที่สุดเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์ ซึ่งปัญหาสำคัญที่ตามมาคือ “ปัญหาภาระพึ่งพิงทางสังคมของผู้สูงวัย” (Social Dependency) โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดการณ์ว่าอัตราส่วนพึ่งพิงของผู้สูงวัยต่อวัยแรงงานจะเพิ่มขึ้นจาก 27.7% เป็น 56.2% ในอีก 20 ปีข้างหน้า

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า “เศรษฐกิจผู้สูงวัย หรือ Silver Economy ถือเป็น 1 ใน 5 สาขาเศรษฐกิจที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาโดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ หากผู้สูงวัยได้รับการยกระดับทักษะด้านดิจิทัลให้เป็นผู้สูงวัยที่เข้มแข็งทั้งกายและใจ

ก็จะนำมาซึ่งโอกาสมหาศาลในการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจผู้สูงวัยในประเทศที่ปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านบาท อีกทั้งมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องประมาณ 5-10% ต่อปี นอกจากนี้ ดีป้า มองว่าการส่งเสริมให้เกิดความคุ้นเคยในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระดับที่เหมาะสมยังช่วยส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย ไม่ว่าจะเป็นการลดความเสี่ยงต่ออันตรายจากอุบัติเหตุผ่านเทคโนโลยี IoT การสร้างเกมเพื่อพัฒนาการทำงานของสมองในผู้สูงวัย การติดตามสุขภาวะสุขภาพเชิงดิจิทัล และการเข้าถึงการรักษาแบบออนไลน์”

ดีแทค เน็ตทำกิน ภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+ สร้างพฤฒพลังดันเศรษฐกิจสังคมยั่งยืน
“ดีแทคมองว่าดิจิทัลเทคโนโลยีจะเป็นตัวแปรสำคัญ (Key enabler) ที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงวัยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีในบั้นปลายชีวิต สร้างพฤฒพลังให้ผู้สูงวัย ส่งเสริมศักยภาพในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงวัย เปลี่ยนจากประชากรผู้มีความเปราะบางสู่ประชากรที่มีคุณค่าและมีความหมายต่อสังคมอย่างยั่งยืน และดีแทคเน็ตทำกิน ภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+ ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อตอบโจทย์ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจนี้” นายชารัด กล่าว

“โครงการดีแทค เน็ตทำกิน” ในภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+ ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก 3 องค์กรพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และธุรกิจเพื่อสังคมที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาผู้สูงวัย “ยังแฮปปี้” กำหนดจุดมุ่งหมายสำคัญในการสร้างเสริมทักษะและความรู้ในการค้าขายออนไลน์ การแสวงหาโอกาสในการทำธุรกิจดิจิทัล รวมทั้ง การให้ความรู้เพื่อรับมือกับภัยเสี่ยงบนโลกออนไลน์ให้ผู้สูงวัยด้วย ภายใต้โครงการนี้ ดีแทคจะเป็นพี่เลี้ยง ร่วมเป็นแอดมินเพจ และช่วยแนะนำ แก้ไขปัญหาให้ผู้ประกอบการออนไลน์วัยเก๋าหน้าใหม่จนกว่าจะมีความมั่นใจและสานต่อดูแลธุรกิจออนไลน์ของตัวเองได้ ทั้งนี้ ดีแทคและองค์กรพันธมิตรมุ่งหวังที่จะเห็น ผู้สูงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง เป็นผู้สูงวัยที่มีพฤฒพลังสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและคุณภาพสังคมที่ดีขึ้น

ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ดีแทคโดยทีมงานดีแทคเน็ตทำกินจะรับผิดชอบการอบรมการตลาดออนไลน์ ให้บริการพี่เลี้ยงและหาจุดขายให้แก่ผู้สูงวัย ขณะที่ดีป้าให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนโครงการและเชื่อมโยงพันธมิตรกับหน่วยงานรัฐอื่นๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยที่มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทยจะทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการและร่วมจัดการอบรมเกี่ยวกับการรับมือกับภายเสี่ยงในโลกออนไลน์ ในส่วนของ ยังแฮปปี้ นั้นจะรับผิดชอบทางด้านการคัดเลือกผู้เข้าอบรม รูปแบบและการบริหารกิจกรรม ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมุ่งเน้นที่กลุ่มผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่ลำพัง ต้องการหารายได้เสริม โดยตั้งเป้าอบรมผู้สูงวัยจำนวนทั้งสิ้น 250 คนในระยะแรกนี้

ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย กล่าวว่า “นอกจากประเด็นการเข้าถึงเทคโนโลยีแล้ว ความรู้ความเข้าใจในการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญในการส่งเสริมผู้สูงวัยให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ไม่หลงเชื่อข่าวลวงข่าวปลอม ไม่ถูกหลอกลวงฉ้อโกง ตกเป็นเหยื่อของ Romance Scam หรือการขายยาอาหารเสริมต่าง ๆ สามารถใช้ดิจิทัลสร้างความสุข ลดช่องว่างระหว่างวัยกับบุตรหลาน รวมถึงสามารถหารายได้ทางการใช้ดิจิทัล สร้างคุณค่าเสริมความแข็งแกร่งในการพึ่งพาตนเอง”

นายธนากร พรหมยศ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ยังแฮปปี้ (YoungHappy) กิจการเพื่อสังคมที่มุ่งสร้างคอมมูนิตี้ของผู้สูงวัย กล่าวว่า “ยังแฮปปี้ มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ ลดปัญหาทางด้านร่างกายและจิตใจที่เสื่อมถอยตามกาลเวลา ป้องกันโอกาสเสี่ยงในการเป็นผู้สูงวัยติดบ้านและติดเตียง เพื่อขยายช่วงเวลาของการเป็น Active Aging หรือผู้สูงวัยที่ยังคงแอคทีฟออกไปให้มากที่สุด ด้วยคอนเซปต์ ‘สนุก มีคุณค่า และพึ่งพาตัวเองได้’ ด้วย”

นายชารัด กล่าวเสริมว่า “ในวาระที่องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ปี 2564-2573 เป็นทศวรรษแห่งสูงวัยสุขภาวะดี (Decade of Healthy Ageing) ดีแทคในฐานะองค์กรเอกชนและ corporate citizenship ที่มีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์สังคม จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนผ่านสังคมสูงวัยยุคดิจิทัลที่แข็งแรงผ่านองค์ความรู้และเทคโนโลยีดิจิทัล การสร้างสังคมดิจิทัลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม”

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือ ว่าด้วยการสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ให้มีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้นร่วมกัน ระหว่าง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ (กองทุน FTA) และหน่วยงานภาคีภาครัฐและเอกชน รวม 9 หน่วยงาน

โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวว่า ภาคการเกษตรบางภาคของไทย เกษตรกรยังเผชิญกับปัญหาหลายประการ ทั้งการขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ขาดความรู้และเทคโนโลยีในการผลิต การเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมไปถึงปัญหาการค้าระหว่างประเทศ จากการเจรจาการเปิดการค้าเสรี ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบทวิภาคี พหุภาคี ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตระหนักถึงปัญหาและวิกฤติเศรษฐกิจ ที่เกษตรกรประสบอยู่

จึงได้ดำเนินการแก้ปัญหาภาคเกษตรในหลายมิติ อาทิ สนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต การยกระดับมาตรฐานและคุณภาพสินค้าเกษตร ขยายโอกาส และเพิ่มช่องทางการตลาด เพื่อยกระดับรายได้ให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และที่สำคัญ การพัฒนาภาคเกษตรจะขับเคลื่อนให้สำเร็จได้ ต้องมาจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร และสถาบันเกษตรกร เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคการเกษตรของไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก

“วันนี้ เป็นที่น่ายินดี ที่หน่วยงานต่าง ๆ ตกลงที่จะลงนามความร่วมมือกัน เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาการเกษตร โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ตลอดจนความรู้ทางวิชาการระหว่างกัน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันภาคเกษตรทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด รวมถึงร่วมกันวางแผนและพัฒนาโครงการเพื่อปรับโครงสร้างการผลิต ภาคเกษตร ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาภาคเกษตรที่มีประสิทธิภาพ เกิดผลในทางปฏิบัติต่อการปรับตัวของภาคเกษตร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกรได้อย่างแท้จริง โดยความร่วมมือในครั้งนี้ จะทำให้ภาคเกษตรของไทยมีความเข้มแข็งและเกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน” รัฐมนตรี เกษตรฯ กล่าว

ด้านนายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) และโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กองทุน FTA เป็นกองทุนหมุนเวียนที่จัดตั้งขึ้น เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งการลงนามความร่วมมือกันในวันนี้ เป็นการสร้างความร่วมมือพัฒนา ขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าในทุกๆ กรอบการค้าเสรี ทั้งในระดับ ทวิภาคีและพหุภาคี โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบ เช่น โคเนื้อ โคนม น้ำนมดิบ ข้าว ชา กาแฟ ผัก และ ผลไม้

สำหรับการลงนามข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ชุดความร่วมมือ ประกอบด้วย ชุดที่ 1 ความร่วมมือทางด้านนโยบายและข้อมูล ประกอบด้วย 8 หน่วยงาน คือ สศก. โดยกองทุน FTA ลงนามร่วมกับ กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และ ชุดที่ 2 ความร่วมมือด้านการปฏิบัติงานกับหน่วยงานต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย 3 หน่วยงาน คือ สศก. โดยกองทุน FTA ลงนามร่วมกับ สหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน จำกัด และ บริษัท พรีเมี่ยม บีฟ จำกัด โดยที่ข้อตกลงทั้ง 2 ฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และจะสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2565

“ทุกหน่วยงานภาคี จะร่วมส่งเสริม สนับสนุน แลกเปลี่ยนทั้งองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันภาคเกษตร ทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด ผ่านการจัดฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ บุคลากรภาครัฐ นอกจากนี้ จะร่วมกันวางแผนและพัฒนาโครงการเพื่อปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร โดยหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนจะเป็นผู้เสนอโครงการ ตลอดจนสรรหา คัดเลือกเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรที่สมควรได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน เข้าร่วมโครงการ ในขณะที่กองทุน FTA จะเป็นผู้ให้การสนับสนุนความรู้ทางวิชาการในการเขียนโครงการ และสนับสนุนงบประมาณให้โครงการที่เสนอตามกฎ ข้อบังคับของกองทุน” เลขาธิการ สศก. กล่าว

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงาน ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนให้กำลังใจเกษตรกรลูกค้าที่ประสบอุทกภัย พร้อมมอบถุงยังชีพ รวมถึงสิ่งของจำเป็นต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรลูกค้าและประชาชนในพื้นที่บ้านบุ่งระกำ หมู่ที่ 8 ตำบลหนองบัวละคร อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีลูกค้าธนาคารผู้ประสบภัย จำนวน 90 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตรเสียหาย จำนวน 150 ไร่ และพื้นที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท เมื่อวันที่ 28 – 29 กันยายน 2564

วิกฤตโควิด-19 ทุกภาคส่วนได้ออกมาแบ่งปันช่วยเหลือสังคมไทย เป็นอีกครั้งที่จะได้เห็นน้ำใจคนไทยที่มีให้กัน “คนมีกำลังมากกว่าออกมาช่วยคนที่มีกำลังน้อยกว่า” และ “โครงการครัวปันอิ่ม ซีพีร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด-19” ที่มีเครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นแกนนำได้แสดงพลัง ร่วมกับพันธมิตรหลายภาคส่วนกว่า 100 องค์กร ดำเนินการแจกอาหารกล่อง 2 ล้านกล่อง รวมทั้ง “ถุงยังชีพ” สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น เมื่อ 9 สิงหาคม 2564

ณ บัดนี้การดำเนินโครงการครัวปันอิ่มได้เดินทางมาจนสามารถแจกข้าวกล่อง กล่องสุดท้ายครบ 2 ล้านกล่อง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 ณ วัดพุทธปัญญา นนทบุรี ซึ่งเป็น 1 ใน 40 จุด ที่ได้ร่วมภารกิจครั้งนี้ โดย “เกษตรก้าวไกล” ได้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจ ณ จุดนี้ ทำให้ได้เห็นบรรยากาศของความร่วมมือร่วมใจครั้งสำคัญ…

พระมหาทวี โพธิเมธี เจ้าอาวาส วัดพุทธปัญญา กล่าวว่า นับตั้งแต่การพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คนในชุมชนรอบๆวัดมีการติดเชื้อจำนวนมากโดยเฉพาะรอบสองและรอบสาม ทำให้ชาวชุมชนได้รับความเดือดในเรื่องของความเป็นอยู่ เพราะส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง ค้าขาย มีความเป็นอยู่ที่ไม่สู้จะดีนัก บางคนป่วยติดเตียง บางคนมีอายุมาก พอมาเจอการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การใช้ชีวิตยิ่งลำบาก แถมบางคนเกิดล้มป่วย รายได้ที่เคยเลี้ยงชีพก็หดหาย ทำให้ขาดรายได้อีกด้วย

“ที่ผ่านมาทางวัดจึงจัดโรงครัว ทำอาหารแจกให้ชาวบ้านในชุมชน พอได้เครือเจริญโภคภัณฑ์มาสนับสนุนและพันธมิตรที่เข้ามาร่วมดำเนินโครงการครัวปันอิ่มและเลือกวัดพุทธปัญญาเป็นจุดแจกที่ 38 (จาก 40 จุด) รู้สึกดีใจและขอบคุณในความช่วยเหลือแบ่งปันแบ่งเบาภาระบรรเทาความเดือดร้อน ช่วงโควิด-19 เป็นช่วงเวลาที่ถือว่าวิกฤตมากที่สุด..ข้าว 1 กล่อง เท่ากับอิ่ม 1 มื้อ มันเป็นมื้อที่สำคัญที่จะช่วยให้ชีวิตมีกำลังใจสู้ต่อไป”

ทางด้าน คุณนิพนธ์ มุ่ยเรืองศรี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด แกนนำที่เข้ามาดูแลประสานงานร่วมกับทีมงาน ณ จุดส่งมอบข้าวกล่องวัดพุทธปัญญา กล่าวว่า โครงการครัวปันอิ่ม เป็นการผนึกกำลังของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมกับพันธมิตรกว่า 100 องค์กร เพื่อส่งมอบข้าวกล่องอุ่นร้อนพร้อมรับประทาน จำนวน 2 ล้านกล่อง โดย 1 ล้านกล่อง

จากเครือซีพี และอีก 1 ล้านกล่อง สมัครยูฟ่าเบท จากร้านอาหารรายย่อยในกทม. และปริมณฑล เป็นอาหารที่ปรุงใหม่ สุก สะอาด ถูกสุขอนามัย มีเมนูอาหารหลากหลายในแต่ละวันเป็นการช่วยธุรกิจร้านอาหารรายย่อย ให้สามารถฝ่าวิกฤตโควิดไปได้ และสิ่งสำคัญช่วยให้คนในชุมชนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แม้ว่าข้าว 1 กล่อง จะไม่ได้มีคุณค่าอะไรมาก “เราไม่สามารถจะให้ได้ตลอดไป แต่ให้รู้ว่าเป็น 1 มื้อ ที่มีคนห่วงใย” ยามใดที่เกิดวิกฤตเราจะต้องเข้ามาช่วยเหลือเป็นกำลังใจให้กันและกัน

ในการจัดงานจับรางวัลครั้งนี้ บรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคัก

แม้ว่าจะจัดในแบบ New Normal ภายใต้การนำของ นายสุรพงษ์ อิ่มเอิบ ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดนนทบุรี นายอนุสรณ์ กาญจนภักดิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดนนทบุรี พร้อมกับผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี มากันอย่างพร้อมเพรียง

ในการจับรางวัลครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายบุญเลิศ คำกล่อม ผู้อำนวยการโรงเรียนนนทบุรีพิทยาคม และ นายพิรุณ วิมลอักษร นายอำเภอเมืองนนทบุรี เป็นประธานในการจับรางวัล และมีลูกค้าตัวแทนแต่ละสาขามาเป็นสักขีพยาน ซึ่งถือว่าได้ดำเนินการอย่างโปร่งใสตรงไปตรงมาตามขั้นตอนและพิธีการจับรางวัล พร้อมกับมีการถ่ายทอดสดผ่านเพจเกษตรก้าวไกลไปด้วยกันและเครือข่าย ตั้งแต่เริ่มต้นการจับรางวัลจนจบงาน โดย นางขวัญจิตร์ ทองส่งแสง ผู้จัดการสาขานนทบุรี เป็นเจ้าภาพจัดงาน

นายสุรพงษ์ อิ่มเอิบ ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า ปกติการจับรางวัลเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชคของทุกปีจะมีกิจกรรมบันเทิงและเชิญลูกค้ามาร่วมงานมากกว่านี้ แต่ในปีนี้นั้นเกิดโรคระบาดโควิด-19 จึงเน้นความเรียบง่ายตามมาตรการควบคุมโรคระบาดอย่างเคร่งครัด

“การจัดงานจับรางวัลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และแม้ว่าจะเกิดโควิด 19 แต่การฝากเงินออมทรัพย์ทวีโชคก็ยังคึกคัก โดยธ.ก.ส.จังหวัดนนทบุรี มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค 69,700 บัญชี และมียอดเงินฝากกว่า 3,600 ล้านบาท ซึ่งเมื่อมีการถ่ายทอดสดการจับรางวัลครั้งนี้ออกไปมีประชาชนผู้สนใจสอบถามว่าจะมีสิทธิ์ลุ้นโชคจับรางวัลอย่างไร ตรงนี้นั้นก็อยากจะเรียนว่าให้ฝากเงินในโครงการเงินออมทรัพย์ทวีโชคได้ที่ ธ.ก.ส.ทุกสาขาทั่วประเทศ คือถ้าเงินฝากคงเหลือทุก 2,000 บาท ติดต่อกัน 3 เดือน จะได้รับสิทธิ์ในการชิงรางวัล 1 สิทธิ์ โดยใน 1 ปี จะกำหนดวันตัดยอดเพื่อจับรางวัลเป็น 2 ช่วง (2 ครั้ง) และกำหนดวันจับรางวัลพร้อมกันระดับประเทศอีก 1 ครั้ง”

สำหรับผลการจับรางวัลของธ.ก.ส.จังหวัดนนทบุรี รางวัลที่ 1 เป็นรถ SUV TOYOTA Corolla Cross 1.8 Sport มูลค่า 989,000 บาท ผู้ได้รับรางวัลเป็นลูกค้าธ.ก.ส.สาขาบางบัวทอง และ รางวัลที่ 2 รถเก๋ง TOYOTA Yaris Ativ 1.2 Entry มูลค่า 539,000 บาท ผู้ได้รับรางวัลเป็นลูกค้าธ.ก.ส.สาขาปากเกร็ด นอกจากรางวัลที่ 1 และ 2 ยังมีรางวัลที่ 3 ทองคำหนัก 1 บาท จำนวน 20 รางวัล รางวัลที่ 4 ทองคำหนัก 2 สลึง จำนวน 131 รางวัลรางวัลที่ 5 ทองคำหนัก 1 สลึง จำนวน 121 รางวัล รางวัลที่ 6 ข้าวสาร 50 กิโลกรัม จำนวน 45 รางวัล รวมมูลค่าของรางวัลกว่า 4,800,000 บาท โดยลูกค้าสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้โชคดีและรายละเอียดของรางวัลได้ที่ธนาคารธ.ก.ส.สาขาที่เปิดบัญชีตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเตือนให้ประชาชนระวังพายุโซนร้อนกำลังแรง “โกนเซิน” ซึ่งอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง และกำลังเคลื่อนตัวมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งคาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นและเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ประมาณวันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2564 ในขณะที่มีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน

ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง จะส่งผลทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอแนะนำให้เกษตรกรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย เช่น ไม้ผลภาคใต้ ได้แก่ มังคุด เงาะลองกอง และลำไยภาคเหนือ ที่แม้จะเป็นช่วงปลายฤดูกาลผลิตในเดือนกันยายน แต่ยังมีเกษตรกรชาวสวนหลายกลุ่มที่เตรียมผลิตลำไยนอกฤดูอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับไม้ผลหลายชนิดเป็นพืชที่ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้นานหลายปี จึงต้องบำรุงรักษาต้นไม่ให้โค่นล้มเสียหาย เพื่อพร้อมสำหรับให้ผลผลิตในฤดูกาลถัดไป

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการดูแลสวนไม้ผลในระยะก่อนและหลังการเกิดพายุ เพื่อป้องกันบรรเทาความเสียหายหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้น ทำได้โดยในระยะก่อนการเกิดพายุฤดูร้อน ควรดูแลดังนี้ 1) ปลูกต้นไม้บังลม เช่น ไม้ไผ่ กระถินณรงค์ ขี้เหล็กบ้าน และสะเดาอินเดีย เพื่อลดความรุนแรงของลมก่อนที่จะเข้าถึงสวนผลไม้หรือพื้นที่เพาะปลูก จะช่วยลดความสูญเสียจากพายุลมแรงได้ 2) ตัดแต่งกิ่งที่แน่นทึบหรือกิ่งที่ไม่ให้ผลผลิตออก เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง ไม่ต้านลม สำหรับต้นไม้ผลที่อายุมากและมีลำต้นสูง อาจตัดทอนส่วนยอดให้ต่ำลง เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นไม้โค่นล้มง่ายเมื่อถูกลมพายุพัดแรง ขณะเดียวกันควรใช้เชือกโยงกิ่งและต้น เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก รวมทั้งใช้ไม้ค้ำกิ่งและค้ำต้นเพื่อช่วยพยุงไม่ให้โค่นลงได้ง่าย 3) เก็บผลผลิตที่แก่ออกไปบ่มหรือจำหน่ายก่อน เพื่อลดความเสียหาย และลดน้ำหนักบนกิ่งและต้นลง

สำหรับระยะหลังจากเกิดพายุฤดูร้อน ควรดูแลดังนี้ 1) สวนไม้ผลที่ได้รับผลกระทบจากพายุ สามารถที่จะฟื้นฟูได้โดยทำการตัดแต่งกิ่งที่ฉีกหัก หรือต้นไม้ที่โค่นล้มออกทันทีที่พื้นดินในบริเวณสวนแห้ง 2) ขณะที่ดินยังเปียกชื้นอยู่ เกษตรกรไม่ควรนำเครื่องจักรกลเข้าไปในสวน เพราะจะทำให้โครงสร้างดินถูกทำลายและอัดแน่นได้ง่าย 3) กรณีที่มีดินโคลนทับถมเข้ามาในสวน เมื่อดินแห้งให้ขุดหรือปาดเอาดินโคลนที่ทับถมออกจากบริเวณทรงพุ่มให้ลึกถึงระดับดินเดิม เพื่อให้การถ่ายเทอากาศดีขึ้น และหากต้นไม้เอนลง ให้ใช้เชือกหรือลวดดึงลำต้นให้ตั้งตรง โดยยึดไว้กับหลักหรือไม้ผลต้นอื่น พร้อมตัดแต่งกิ่งออก 1 ใน 3 ของที่มีอยู่ ซึ่งจะช่วยให้ต้นไม้ผลฟื้นตัวเร็วขึ้น จากนั้นควรฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่ไม้ผล และเมื่อดินแห้งเป็นปกติ ควรพรวนดินเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช ซึ่งจะทำให้รากแตกใหม่ได้ดีขึ้น และควรใส่ปุ๋ยบำรุงต้นด้วย ทั้งนี้เกษตรกรสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอและสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านท่าน

ในยุคโควิด 19 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใหญ่ ส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวโดดเด่น บทบาทของเกษตรกรทั่วโลกถูกพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม นี่คือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs) และการพัฒนาเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการกลายเป็นหนึ่งในโมเดลการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ซึ่งผลักดันให้เกิดการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ และเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย BCG Economy ที่ภาครัฐกำลังเดินหน้าเต็มสูบ..

ในช่วงที่เกิดโควิด รอบ 3 นี่เอง “เกษตรก้าวไกล” ได้ดำเนินโครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย ซึ่งได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ด้วยความประสงค์ที่จะออกเดินทางปลุกเร้าเกษตรกรไทยให้ลุกขึ้นสู้ไปด้วยกัน ทั้งการลงพื้นที่จริงและการสัมภาษณ์LIVEสดผ่านระบบออนไลน์ โดยเราหวังว่าจะลงพื้นที่จริงให้มากที่สุด แต่แล้วภาครัฐก็ประกาศล็อกดาว์นทำให้เราต้องหันทิศทางมาหาเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน

ในที่สุดเราก็ได้พบกับ “สุเทพ กังเกียรติกุล” เกษตรกรเจ้าของสวนปามี 98 ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทุรี ถือได้ว่าเป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ครบเครื่อง “ออกอาวุธได้ทุกดอก” ตรงตามแนวทางการพัฒนาดังกล่าวข้างต้น และพานให้คิดไปว่า ถ้าเราสามารถสร้างเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการให้มากๆกว่าที่เป็นอยู่ พลิกเปลี่ยนเกษตรที่เคยตั้งรับให้ออกมาเชิงรุกทำเกษตรให้เหมือนทำธุรกิจ เหมือนที่คุณสุเทพทำได้สำเร็จนั่นแหละจะเป็นโอกาสของเกษตรกรอย่างแท้จริง

เกษตรกรประเทศไทยเรามีมาก 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด ถ้าเราทำให้กลุ่มคนนี้อยู่รอดมีรายได้ต่อเนื่องก็จะเกิดความยั่งยืนในอาชีพ “ถ้าเราทำให้เกษตรเจริญ เศรษฐกิจของประเทศก็จะเจริญได้” หัวใจของการพัฒนาที่เหมาะสมกับประเทศไทยจึงอยู่ตรงนี้

ระหว่างที่ได้เจอกับคุณสุเทพก็ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหลายเรื่องราว ซึ่งได้เห็นว่าการทำเกษตรของคุณสุเทพก็คือการทำธุรกิจการเกษตร

“เกษตรกรไม่ได้แปลว่ายากจน เกษตรกรมีแต่รวยไม่เลิกกับโคตรรวย อย่างเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer จะรวยยิ่งกว่าผม เพราะความรู้ต่างๆและปัจจัยเกื้อหนุนมีมากกว่าเกษตรกรรุ่นก่อนๆ” คุณสุเทพ กล่าวระหว่างที่เกษตรก้าวไกล LIVE สด ขณะกำลังปลูกส้มสลับทุเรียน…

ในการ LIVEสดอีกครั้งหนึ่งคุณสุเทพได้จัดแข่งขันปลูกส้มที่ปลูกแซมในสวนอินทผลัม เขาชี้ให้เห็นถึงการใช้พื้นที่ให้มากประโยชน์เช่นเดียวกับการปลูกฝรั่งหงเป่าสือแซมทุเรียน “เราต้องเข้าใจว่าพืชชนิดไหนปลูกร่วมกันได้ ควรทำเกษตรแบบผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยงการปลูกพืชเชิงเดี่ยวและจะได้มีรายได้หมุนเวียนทั้งปี”

สำหรับการแข่งขันเก็บ “ส้มโกลเด้นดราก้อน” หรือ “ส้มมังกรทอง” หรือภาษาทางการตลาดเรียกว่า “ส้มก้านยาว” เพราะนนทบุรีมีทุเรียนก้านยาวที่มีชื่อเสียง การอิงให้เป็น “ส้มก้านยาวนนทบุรี” ก็คือกลยุทธ์การตลาดอย่างหนึ่งที่จะสร้างการจดจำให้กับผู้บริโภค…ซึ่งไม่ใช่การสร้างความสามัคคีระหว่างหมู่พนักงานเพียงอย่างเดียวและกลยุทธ์นี้ยังสื่อให้รู้ว่าเกษตรกรสามารถใช้เครื่องมือสื่อสารที่มีอยู่ในมือให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างถูกจังหวะ…

การทำธุรกิจเกษตรของคุณสุเทพเหมือนทำธุรกิจของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย เพราะระหว่างทางที่จะไปสวนปามี 98 เราได้เห็นหมู่บ้านจัดสรรชื่อดังหลายโครงการที่เจ้าของเป็นนักธุรกิจหรือบริษัทเดียวกัน จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นสวนปามี 98 ของคุณสุเทพตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอบางใหญ่อีกหลายสวน เพียงแต่ชื่อไม่ซ้ำกัน แต่พืชที่ปลูกซ้ำกัน ซึ่งในการเลือกพืชที่จะปลูกก็สำคัญมาก

“เราต้องเลือกปลูกพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง อย่างอินทผลัมกิโลกรัมละ 100 บาทขึ้น ทุเรียนก็ 100 บาทขึ้น ส้มก็ 100 บาทขึ้น ฝรั่งเนื้อสีแดง(หงเป่าสือ)ก็ 100 บาทขึ้น…พืชเหล่านี้เราต้องทำให้มีรายได้หมุนเวียน ไม่เน้นขายผลผลิตเพียงอย่างเดียว ต้องแปรรูปเพิ่มมูลค่า สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ตัวไหนทำพันธุ์ขายได้เราก็ต้องทำพันธุ์ขายด้วย” คุณสุเทพ ให้ข้อคิดตรงไปตรงมา

คุณสุเทพ บอกอีกว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนให้รู้ว่าเกษตรคือทางรอด เกษตรคือความร่ำรวย ตัวเขาจึงตั้งใจที่จะสร้างสวนปามี 98 ให้เป็นศูนย์เรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงเกษตรขึ้นมา “ผมเชื่อว่าคนไทยทุกคนหัวใจเกษตร อย่างสถานการณ์ที่เกิดโควิดในคราวนี้เราเห็นชัดว่าเกษตรคือทางรอดประเทศไทย เป็นหนทางเดียวที่จะสร้างความร่ำรวยอยู่ดีกินดีให้กับคนไทย เราจะเห็นช่องว่างและโอกาสอีกมากที่จะพัฒนาอาชีพการเกษตรขึ้นมา ผมจึงตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้สนใจได้มาฝึกปฏิบัติของจริง เรียนรู้จริงทำจริง..จากผู้มีประสบการณ์จริง”

นี่คือแง่มุมหนึ่งของเกษตรกรไทยที่ชื่อ “สุเทพ กังเกียรติกุล” เป็นคนเดียวกับที่ได้รับคัดเลือกเป็นศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะนักบริหารภาคเอกชนดีเด่น ประจำปี 2561 ต้องบอกว่าพลังในตัวของเขาล้นเหลือจริงๆ…ถึงยุคที่เกษตรกรไทยจะทำเกษตรแบบธุรกิจแล้วครับ

ในยุคโควิด 19 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใหญ่ ส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวโดดเด่น บทบาทของเกษตรกรทั่วโลกถูกพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม นี่คือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs) และการพัฒนาเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการกลายเป็นหนึ่งในโมเดลการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ซึ่งผลักดันให้เกิดการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ และเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย BCG Economy ที่ภาครัฐกำลังเดินหน้าเต็มสูบ

การได้พบกับ “สุเทพ กังเกียรติกุล” CEO สวนปามี 98 นนทบุรี ทำให้เห็นว่าเกษตรกรยุคใหม่ต้องเป็นนักการตลาด ไม่ใชนักการผลิตอย่างในอดีตแต่เพียงอย่างเดียว

วันนี้เขาได้นัดหมายชาวคณะมาเก็บส้มที่กำลังสุกได้ที่ ซึ่งเก็บไปเกือบหมดแล้ว แต่ก็ยังเว้นไว้จำนวนหนึ่งเพื่อสร้างกิจกรรม..จะเก็บธรรมดาก็คงไม่ได้ พนักงานมาพร้อมกันทีก็ต้องมีเรื่องให้ฮือฮาบ้าง

นั่นคือจัดการแข่งขันเก็บส้มที่ปลูกแซมอยู่ในดงอินทผลัม ซึ่งเพิ่งเก็บใหญ่ไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา การเก็บรุ่นนี้ถือเป็นการส่งท้ายฤดูกาล “ส้มก้านยาวเป็นพิเศษ” เหมือนจะบอกให้รู้ว่าที่นนทบุรีนอกจากมีของดีทุเรียนก้านยาวแล้วยังมี “ส้มก้านยาว” หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ส้มโกลเด้นดรากอน golden dragon มีลักษณะใบสีด่างออกเหลือง เช่นเดียวกับผลส้มที่สีเลืองออกทองเมื่อสุกเต็มที่.

การแข่งขันเก็บส้มวันนี้ คึกคักมาก ทั้งด้วยผู้เข้าแข่งขันที่เตรียมตัวมาพร้อมทั้ง 4 ทีม และประจวบกับฝนเทลงมาอย่างหนักก่อนการแข่งขันจเริ่มต้นขึ้นเพียงไม่กี่อึดใจ ผลก็คือได้บรรยากาศของความเป็นชาวเกษตรกรครบถ้วน

การสร้างกิจกรรมให้เกิดขึ้นในสวนไม่เพียงแต่จะจะกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างหมู่พนักงาน แต่นับเป็นกลยุทธ์การตลาดอย่างหนึ่งที่จะสร้างความจดจำให้เกิดขึ้นกับสวนและสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ของสวนที่จะส่งผลต่อเนื่องไปยังฤดูกาลหน้า

กลยุทธ์การตลาดอันเกิดจากกิจกรรมที่สร้างขึ้นนี้พี่น้องเกษตรกรทุกคนทำได้ ยิ่งปัจจุบันทุกคนมีพื้นที่สื่ออยู่ในมือ จึงไม่ต้องลงทุนอะไรที่สูง บางครั้งแทบไม่ต้องมีต้นทุนที่เป็นตัวเงินเลย…ดังที่เกษตรกรสุเทพทำให้เห็นแล้ว

“เกษตรก้าวไกล” มุ่งมั่นที่จะนำเสนอเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการตลาด และมีแนวคิดที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)…โปรดติดตามต่อไป

สํานักงานการค้าของเปรู Promperú สนับสนุนการขยายการส่งออกอาหารและเกษตรของเปรูไปยังประเทศไทย โดยประเทศไทยเป็นตลาดส่งออกอาหารและเกษตรของเปรูที่ใหญ่เป็นอันดับสามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ Promperú จะย้ายสํานักงานการค้าสําหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังกรุงเทพ หลังจากอยู่ในฮ่องกงเป็นเวลา 4 ปี

การส่งออกอาหารและเกษตรของเปรูไปยังประเทศไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2564 เป็นจํานวนถึง 4.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเกินจํานวนที่ทําได้สําเร็จในปี 2563 ที่ 3.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าสำคัญ เช่น อะโวคาโด องุ่น แครนเบอร์รี่ และหน่อไม้ฝรั่ง เป็นสินค้าบริโภคชั้นนําของเปรูที่ส่งออกไปยังประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว สินค้าบริโภคที่ซื้อง่ายขายคล่องมากที่สุดคือ แครนเบอร์รี่ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 747% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้วเปรูยึดไทยเป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าเกษตรในภูมิภาค

ความสําคัญที่เพิ่มขึ้นของตลาดไทยต่อกลยุทธ์ในการส่งออกของเปรูเป็นเหตุผลเบื้องหลังของการย้ายสํานักงานการค้าของ PROMPERÚ ในภูมิภาคนี้หลังจากเกือบ 5 ปีในฮ่องกง ตั้งแต่ปี 2564 กรุงเทพฯ จะเป็นที่ตั้งของสํานักงานส่งเสริมองค์กรชาวเปรูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วัตถุประสงค์หลักของสํานักงานการค้าของ PROMPERÚ ในกรุงเทพ คือเพื่อเพิ่มความต้องการผลิตผลจากเปรูผ่านข้อตกลงทางการค้าใหม่และการดําเนินการส่งเสริมการขายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า การส่งเสริมการขายจะเข้าถึงแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนําของประเทศไทย อะโวคาโด แครนเบอร์รี่ คีนัวและเมล็ดเจีย ของเปรู มีจําหน่ายตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายนบนเว็บไซต์ Fresh Living

นอกจากนี้ในซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนํา เช่น ท็อปส์ ฟู้ดแลนด์ แม็คโคร และแม็กซ์ ยังจําหน่ายอะโวคาโดและแครนเบอร์รี่ของเปรูให้นักช้อปออนไลน์ในเดือนสิงหาคมและกันยายนอีกด้วย

Erick Aponte กรรมาธิการการค้าของ PROMPERÚ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า “ในประเทศไทยเรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมผู้บริโภคโดยตรง เพราะตามการส่งออกอาหารประมาณ 54% ของคนไทยค้นหาอาหารจากตะวันตก ดังนั้นจึงซื้ออาหารนําเข้า”เปรูยึดไทยเป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าเกษตรในภูมิภาค

เปรูในตลาดเอเชีย

การส่งออกอาหารและเกษตรของเปรูไปยังทวีปเอเชียคิดเป็น 15% ของการส่งออกทั้งหมดไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลาดหลัก ได้แก่ จีน (76 ล้าน) ฮ่องกง (117 ล้าน) เกาหลีใต้(88.6 ล้าน) และญี่ปุ่น (55.5 ล้าน)

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จุดหมายปลายทางหลักคืออินโดนีเซีย (11.5 ล้าน) มาเลเซีย (6.4 ล้าน) ไทย (5.8 ล้าน) เวียดนาม (4 ล้าน) และสิงคโปร์ (1.4 ล้าน)

SUPER FOODS PERU

แบรนด์ ‘Super Foods Peru’ เป็นตัวแทนของสิ่งบริโภคของเปรูที่มีคุณภาพโดดเด่นซึ่งมีต้นกําเนิดในระบบนิเวศที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศอย่างเช่น ชายฝั่ง ป่าไม้ และภูเขา ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีคุณสมบัติทางโภชนาการที่เป็นเอกลักษณ์

กรุงเทพฯ 24 กันยายน 2564 – ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทุกภาคส่วนต่างร่วมมือกันเพื่อก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้ บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทย จับมือกับ แบรนด์วิชชุลดา (WISHULADA) โดยคุณวิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ ศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มช่างตัดเย็บ และร้านปันกัน โดยมูลนิธิยุวพัฒน์ เปิดตัวคอลเล็กชัน “แรบ อะแดป (RabAdapt)” กระเป๋าไลฟ์สไตล์ที่พัฒนาขึ้นจากกระสอบถุงปุ๋ยตรากระต่าย ในโครงการถุงปุ๋ยปลูกความยั่งยืน ที่พี่กระต่ายจะส่งต่อโอกาสทางการศึกษาสู่น้องๆ เยาวชนและสู่สังคมไทยในยามวิกฤต

คอลเล็กชัน แรบ อะแดป (RabAdapt) ถือเป็นครั้งแรกของการแปลงโฉมกระสอบถุงปุ๋ยตรากระต่ายสู่สินค้าไลฟ์สไตล์ ด้วยกระบวนการ Upcycle นำวัสดุเหลือใช้มาออกแบบและผลิตเป็นของใช้ชิ้นใหม่โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อสร้างประโยชน์ต่อผู้คน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากการนำกระสอบถุงปุ๋ยตรากระต่ายที่เหลือใช้มาเพิ่มมูลค่าและนำกลับมาใช้ซ้ำในรูปแบบกระเป๋าอย่างคุ้มค่า ทั้งยังช่วยกระจายรายได้สู่กลุ่มช่างตัดเย็บที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เจียไต๋จะส่งมอบกระเป๋าคอลเล็กชัน แรบ อะแดป (RabAdapt) ให้กับร้านปันกัน โดยมูลนิธิยุวพัฒน์ เพื่อนำไปจัดจำหน่าย โดยเงินที่ระดมได้ทั้งหมดจะมอบเป็นทุนการศึกษาให้กับนักเรียนทุนในมูลนิธิยุวพัฒน์ต่อไป

กระเป๋าคอลเล็กชัน แรบ อะแดป (RabAdapt) ออกแบบให้ตอบโจทย์การใช้งานได้ทุกเพศทุกวัย ทันสมัย และเน้นรูปทรงสี่เหลี่ยม เพื่อให้เกิดเศษเหลือทิ้งจากการตัดขอบมุมต่างๆ น้อยที่สุด (Zero waste) อีกทั้งได้แต่งแต้มสีสันด้วยเศษผ้าไหมจากสินค้า OTOP จังหวัดนนทบุรี โดยอาศัยฝีมือการผลิตและความชำนาญจากกลุ่มช่างตัดเย็บที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เป็นผู้ผลิตทีละชิ้นทีละใบ ทั้งนี้ คอลเล็กชัน แรบ อะแดป ประกอบด้วยสินค้า 5 ชนิด ได้แก่ กระเป๋าใบเล็ก กระเป๋าคล้องคอ กระเป๋าคลัชอเนกประสงค์ กระเป๋าสะพายข้าง และกระเป๋าเป้

นางสาวมนันย์พร เจียรวนนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์องค์กร บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวถึงการจัดโครงการในครั้งนี้ว่า “เจียไต๋ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านความยั่งยืนมาโดยตลอด ด้วยหลัก 3P ได้แก่ Prosperity, People และ Planet ที่เราได้พยายามปลูกฝังจนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจอย่างแท้จริง

นอกจากนั้น ที่เจียไต๋ เรายังยึดมั่นในค่านิยมขององค์กร โดยเฉพาะ Innovation ซึ่งเป็นหนึ่งในค่านิยมหลักของเรา ซึ่งเอื้อให้เกิดการเปิดกว้างทางความคิดและสร้างสรรค์โครงการใหม่ๆ ที่ช่วยผลักดันองค์กรไปสู่ความยั่งยืน จึงเป็นที่มาของโครงการนี้ เพื่อนำกระสอบถุงปุ๋ยตรากระต่ายที่เหลือจากการใช้งานกลับมาใช้ซ้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบกับสถานการณ์ในช่วงนี้ ที่ทุกคนต่างได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เราจึงมองภาพที่ใหญ่ขึ้น จึงเกิดเป็นโครงการพัฒนาสังคมเพื่อความยั่งยืนที่ต้องการสร้างประโยชน์ให้กับทั้งผู้คน สังคม และสิ่งแวดล้อม

ซึ่งเราก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากคุณเอ๋ วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ ศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ ที่ออกแบบกระเป๋าได้อย่างตอบโจทย์กระบวนการ Upcycle และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ถุงปุ๋ยได้เป็นอย่างดี โดยโครงการนี้ยังได้สนับสนุนกลุ่มช่างตัดเย็บที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้มีรายได้เสริมในยามวิกฤต และที่สำคัญ คือการจับมือกับร้านปันกัน โดยมูลนิธิยุวพัฒน์ โดยเจียไต๋จะมอบกระเป๋าคอลเล็กชัน แรบ อะแดป ที่ผลิตขึ้นทั้งหมดให้ทางร้านนำไปจัดจำหน่ายใน 16 สาขา รวมถึงในช่องทางออนไลน์ด้วย ซึ่งเงินที่ระดมได้ทั้งหมดจากการจำหน่ายกระเป๋าคอลเล็กชัน แรบ อะแดปนี้ จะช่วยสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับน้องๆ เยาวชนไทยต่อไป”

นางสาววิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ ศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ (Social Activist Artist) และผู้ออกแบบคอลเล็กชัน แรบ อะแดป อธิบายถึงแนวคิดการออกแบบและการเข้าร่วมโครงการนี้ว่า “ปัจจุบันขยะอุตสาหกรรมแฟชั่น สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากเป็นอันดับ 2 ของโลก เช่นเดียวกันกับขยะพลาสติกต่างๆ เราได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว และในขณะเดียวกัน ก็ได้รับคำเชิญจากเจียไต๋ ให้เข้าร่วมในโครงการนี้ ซึ่งก็ตรงกับแนวคิดการทำงานของตัวเองในการเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นงานศิลปะอันล้ำค่า (Turning Trash to Treasured Art)

สำหรับคอลเล็กชัน แรบ อะแดป ในโครงการถุงปุ๋ยปลูกความยั่งยืน ทางแบรนด์วิชชุลดานำวัสดุเหลือใช้ทั้งกระสอบถุงปุ๋ยตรากระต่ายและนำเศษผ้าไหมจากสินค้า OTOP จังหวัดนนทบุรี มาผสานร่วมกันเป็นงานศิลปะด้วยกระบวนการ Upcycle ที่กระเป๋าทุกใบมีการจัดเรียงสีสันของเศษผ้าแตกต่างกันไป ผู้ที่ซื้อกระเป๋าแรบ อะแดป ก็เสมือนได้งานศิลปะไปสะสม และยังสามารถใช้งานในชีวิตประจำวันได้จริง นอกจากนี้ เศษกระสอบถุงปุ๋ยจากการตัดเย็บกระเป๋าทุกใบ เรายังนำมาจัดทำ ดิสเพลย์กระต่ายสำหรับโชว์สินค้าคอลเล็กชันนี้ ซึ่งช่วยสานต่อแนวคิด Zero Waste ลดปัญหาขยะที่เกิดขึ้นจากการผลิตอีกด้วย

แบรนด์วิชชุลดาเชื่อว่างานศิลปะและการออกแบบที่คำนึงต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ จะมีส่วนสำคัญในการช่วยลดปัญหาขยะล้นโลกและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเรามุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลงานที่ทุกท่านได้รับจะช่วยจุดประกายแรงบันดาลใจในการหันมาใส่ใจและร่วมกันจัดการขยะอย่างสร้างสรรค์ต่อไป”

นายวีระพันธ์ จันทร์แต่งผล และนางสาวบานชื่น กรรณิการ์ ตัวแทนกลุ่มช่างตัดเย็บ ผู้ผลิตกระเป๋า กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “ด้วยประสบการณ์ในการทำกระเป๋าแฟชั่นมานานกว่า 29 ปี และเป็นช่างแพทเทิร์นของแบรนด์เครื่องหนังแบรนด์หนึ่ง ผมและเพื่อนรู้สึกตื่นเต้นที่ได้มีส่วนร่วมกับคอลเล็กชัน แรบ อะแดป ในโครงการถุงปุ๋ยปลูกความยั่งยืนนี้ และมีหน้าที่ในการผลิตกระเป๋าที่ทำจากถุงปุ๋ยตรากระต่าย และเริ่มท้าทายยิ่งขึ้นด้วยการนำเศษผ้าไหมมาตกแต่งในตัวกระเป๋า ซึ่งช่วยให้งานนี้ออกมาได้อย่างลงตัวและแต่ละใบจะมีลวดลายของผ้าไหมที่ไม่ซ้ำกัน นอกจากความภูมิใจที่ได้เห็นผลงานที่เราตั้งใจผลิตกันทีละใบๆ แล้ว โครงการนี้ยังช่วยให้เราได้มีรายได้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 อีกด้วย เพราะทีมช่างต่างถูกพักงานอย่างไม่มีกำหนด โครงการนี้จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยสร้างรายได้เสริมให้พวกเราสามารถผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปได้”

นางฐาปนีย์ สินาดโยธารักษ์ ผู้อำนวยการโครงการร้านปันกัน โดยมูลนิธิยุวพัฒน์ กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “ปัจจุบัน ยังมีเด็กไทยจำนวนมากที่ขาดโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ มูลนิธิยุวพัฒน์ได้ช่วยเหลือ โดยมอบทุนการศึกษาและดูแลติดตามนักเรียนทุนให้เรียนจบชั้น ม. 6 หรือ ปวช. 3 เพื่อให้เด็กๆ ได้มีโอกาสและมีทางเลือกในชีวิตมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมูลนิธิยุวพัฒน์มีนักเรียนทุนที่อยู่ในความดูแล 8,269 คน ทั่วประเทศ

ในช่วงสถานการณ์โควิด -19 มูลนิธิยุวพัฒน์ได้ติดตามนักเรียนทุนใกล้ชิดมากขึ้น โดยร่วมกับคุณครู กลุ่มพี่เลี้ยงอาสาที่มาช่วยเหลือดูแลนักเรียนทุนผ่านออนไลน์และการพูดคุยทางโทรศัพท์ และสำหรับการเรียนการสอนที่ต้องปรับตัวมาเรียนผ่านออนไลน์ เงินทุนที่เด็กๆ ได้รับ ณ ขณะนี้ บางส่วนจะเป็นค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็น

สำหรับโครงการถุงปุ๋ยปลูกความยั่งยืนที่ได้มาร่วมกับเจียไต๋และภาคี เพื่อเปลี่ยนของเหลือใช้ให้เป็นกระเป๋าสวยๆ ในคอลเล็กชัน แรบ อะแดปนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับน้องๆ ผ่านโครงการร้านปันกันได้มากขึ้น และคาดหวังว่าโครงการนี้จะเป็นต้นแบบที่จะจุดประกายให้กับธุรกิจอื่นๆ ที่อยากจะช่วยเหลือสังคมได้นำไปเป็นแบบอย่างต่อไป”

สำหรับผู้ที่สนใจ กระเป๋าคอลเล็กชัน แรบ อะแดป มีวางจำหน่ายแล้วที่ร้านปันกันทั้ง 16 สาขา และช่องทางออนไลน์ที่ LINE My Shop: pankan online shop หรือ https://shop.line.me/@pankanonline และสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ LINE Official: @pankanonline ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2564 เป็นต้นไป ซึ่งเงินที่ระดมได้ทั้งหมดจะมอบเป็นทุนการศึกษาให้กับนักเรียนทุนในมูลนิธิยุวพัฒน์ มาร่วมส่งต่อโอกาส หยิบยื่นรอยยิ้ม และเติมกำลังใจให้กับสังคมไปด้วยกัน พร้อมติดตามข้อมูลข่าวสารโครงการได้ทาง www.chiataigroup.com และ Facebook: Chiatai.group.official

ในความเคลื่อนไหวตลอดระยะเวลา 32 ปี “แม็คโคร” ได้ชื่อว่าเป็นธุรกิจค้าส่งที่เดินเคียงข้างเอสเอ็มอี เกษตรกร และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการเติบโตของผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศ ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับเศรษฐกิจฐานรากของไทย

การขับเคลื่อนธุรกิจที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องเติบโตเคียงข้างไปด้วยกันจึงมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ด้วยเป้าหมายการทำงานของแม็คโคร ในการเติบโตไปพร้อมกับการสนับสนุนลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และเกษตรกรรายย่อยที่เป็นคู่ค้า ให้พัฒนาสินค้าและผลผลิตสู่มาตรฐาน ทำให้เจ้าของธุรกิจรายเล็ก รายกลาง ได้รับโอกาสการขยายตัวไปพร้อมกันกับเรา

“ซัพพลายเออร์ที่เป็นเอสเอ็มอี เกษตรกร และลูกค้าผู้ประกอบการรายย่อย มีส่วนสำคัญที่ทำให้แม็คโครเติบโตจนถึงวันนี้ ด้วยการทำงานอย่างเข้าใจ ทำให้เอสเอ็มอีและเกษตรกรรายย่อยทั่วประเทศ กว่า 7,500 ราย รวมทั้งลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยทั้ง ร้านค้าปลีก โชห่วย ร้านอาหาร ฯลฯ ได้รับโอกาสที่มากไปกว่า การซื้อมาขายไป แต่ยังจะได้รับคำชี้แนะแนวทางการพัฒนา ต่อยอด โดยมีแม็คโครเป็น คู่คิดธุรกิจ และพี่เลี้ยงที่มีระบบนิเวศน์และการกระจายสินค้าแบบผสมผสาน ทั้งการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ (O2O) เข้าด้วยกัน”

นางศิริพร กล่าวอีกว่า “แม็คโครให้ความสำคัญกับพื้นฐานการทำงานที่ว่าด้วย คุณภาพ ความปลอดภัย และความถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาล เป็นเรื่องสําคัญสูงสุด เราได้คัดสรรสินค้าที่หลากหลาย ครบครัน มีคุณภาพดี ในราคาขายส่ง เพื่อให้ลูกค้าผู้ประกอบการรายย่อยในทุกกลุ่มของเรา สามารถลดต้นทุน ประกอบธุรกิจได้อย่างมีกําไร และเติบโต อย่างยั่งยืน”

“ในทุกช่วงเวลาแห่งการเติบโต แม็คโครไม่ได้เป็นคู่คิดทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข ที่คอยเคียงข้างในการพัฒนา เสริมทักษะความรู้ด้านการตลาด พฤติกรรมการบริโภคในแบบวิถีใหม่ อาทิ การส่งเสริมการทำผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็ง ในขนาดบรรจุที่เหมาะกับวิถีชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่”

สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อย โชห่วย จำนวน 500,000 ราย และ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ที่มีอยู่กว่า 300,000 ราย แม็คโครได้ตั้ง โครงการแม็คโคร มิตรแท้โชห่วย และ แม็คโคร โฮเรก้า อคาเดมี ขึ้นมาดูแลให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว โดยใช้ความเชี่ยวชาญในธุรกิจมาแบ่งปันกับผู้ประกอบการรายย่อยเพื่อเพิ่มโอกาสสร้างทั้งยอดขาย ทำรายได้ และการขยายธุรกิจให้เติบโต

กลายเป็นเครือข่ายคนทำธุรกิจรายเล็กที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันอย่างเหนียวแน่น “แม้ในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากยุคโควิด-19 ธุรกิจรายเล็ก เกษตรกรเดือดร้อน เราก็ทำทุกวิถีทางที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเข้าไปช่วยเหลือรับซื้อผลผลิตที่ประสบปัญหา ร่วมมือกับพันธมิตรผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ช่วยกันลดราคาสินค้าให้ผู้ประกอบการไม่ต้องแบกภาระต้นทุนอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมสภาพคล่องให้มีกำหนดระยะเวลาการชำระสินค้า (Credit Term) แก่เกษตรกรรายย่อย ไม่เกิน 30 วัน ก็ทำให้หลายธุรกิจมีกำลังเดินต่อไปได้” นางศิริพร กล่าว

นอกจากนี้ แม็คโครยังไม่หยุดที่จะพัฒนาศักยภาพและต่อยอดธุรกิจให้เอสเอ็มอีเติบโตและขยายตลาดในอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีสินค้าจากผู้ผลิตเอสเอ็มอีมากกว่า 100 รายการถูกนำไปวางจำหน่ายผ่านสาขาของแม็คโครใน กัมพูชา และเมียนมา และมีอีกหลายรายที่กำลังจะดำเนินรอยตาม

วันที่ 24 กันยายน 2564 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้แทนประเทศไทย ร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมฯ ผ่านระบบออนไลน์ ในการประชุมระดับรัฐมนตรีภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา อันเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมความร่วมมือด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระดับโลก (The Global Conference on Aquaculture 2020 : GCA+20) ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยประเทศไทยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการกับนานาประเทศ พร้อมแสดงบทบาทและศักยภาพของประเทศไทยในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในระดับสากล

นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมง ในฐานะหน่วยงานผู้แทนประเทศไทย ได้เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระดับโลก (The Global Conference on Aquaculture GCA+20 ในรูปแบบการประชุมออนไลน์ ระหว่างวันที่ 23-24 กันยายน 2564 ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในธีม “Aquaculture for Food and Sustainable Development” จัดโดยกระทรวงเกษตรและกิจการชนบทแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Ministry of Agriculture and Rural Affairs of the People’s Republic of China : MARA)

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) และองค์การข่ายงานศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแห่งเอเชียและแปซิฟิก (The Network of Aquaculture Centres in Asia-Pacific : NACA)

ซึ่งการประชุมดังกล่าว สมัครจีคลับ มีวัตถุประสงค์เพื่อเชิญชวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคมจากทั่วโลกที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาทั้งด้านนโยบาย นวัตกรรม เทคโนโลยี โอกาสการลงทุน และความร่วมมือด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่ออาหารและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ได้พูดถึงเรื่องสถานการณ์การปลูกพืชในโรงเรือน

คุณธีรพันธ์ กล่าวว่าปัจจุบันมีการใช้โรงเรือนในหลากหลายพื้นที่ทั่วทั้งประเทศ และกับในหลายชนิดพืช เดิมนั้นโรงเรือนที่ใช้ในการผลิตผลสดจะมีแค่ กลุ่มเมล่อนในภาคเหนือและภาคกลาง กลุ่มมะเขือเทศ พริกหวาน ในภาคเหนือ กลุ่มผักไฮโดรโพนิกส์ ในภาคเหนือและอีสานเหนือ ซึ่งในปัจจุบันโรงเรือนได้ถูกนำมาใช้ในหลายพืชมากขึ้น โดยเฉพาะกับพืชที่ต้องการควบคุมปัจจัยในการผลิต เช่น แตงโม ผลฟิกส์ แตงกวา องุ่น บางรายก็นำไปใช้กับข้าวโพด และที่กำลังมาแรงปัจจุบัน คือ กัญชง และ กัญชา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพืช ที่ให้ค่าตอบแทนสูง ให้ความคุ้มค่ากับเกษตรกรที่ต้องการลงทุนค่าใช้จ่ายด้านโรงเรือน

“ตอนนี้เราได้เห็นมีการปลูกกัญชงและกัญชาในโรงเรือนกันมาก เพราะว่าเป็นพืชที่ต้องมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย และเป็นพืชที่มีราคาสูง คุ้มค่าแก่การลงทุน จะเห็นว่ามีการขายผ่านออนไลน์ ระบบการปลูกในโรงเรือนจึงตอบโจทย์ที่สามารถควบคุมความผันแปรต่างๆได้ดีกว่า ไม่แน่หลังจากกปลดล็อกพืชกระท่อมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา เราจะเห็นการปลูกกระท่อมในโรงเรือน..”

ต่อคำถามที่ว่าที่ประเทศญี่ปุ่นนิยมปลูกมะม่วงในโรงเรือน ซึ่งมีสายพันธุ์หนึ่งที่คนไทยรู้จักมีการปลูกในโรงเรือน แสดงให้เห็นว่าไม้ผลเมืองร้อนสามารถปลูกในโรงเรือนได้ดี ซึ่งตอบโจทย์ในเรื่องการควบคุมสภาพภูมิอากาศ ต่อกรณีของทุเรียนที่เราเริ่มเห็นโพสต์ว่ามีปลูกในกระถางหรือในเข่งเราจะมีโอกาสได้เห็นการปลูกทุเรียนในโรงเรือนหรือไม่

ในเรื่องนี้คุณธีรพันธ์ให้ความคิดเห็นว่ามีโอกาสเป็นไปได้ทีเดียว เพราะว่าเทคโนโลยีการปลูกพืชของโลกได้พัฒนาไปไกลมาก

“ด้วยสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป การตลาดที่มีการแข่งขันสูง เน้นคุณภาพและความปลอดภัยเป็นหลัก บวกกับค่าแรงงานที่สูงขึ้น ทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆขึ้นมารองรับ และปัจจุบันเทคโนโลยีเข้าถึงได้ง่ายขึ้น การนำระบบโรงเรือนเข้าไปใช้ในการเพาะปลูก ซึ่งเปรียบเสมือนโรงงานปลูกพืช จะช่วยให้เกษตรกรเพาะปลูกได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความเสี่ยงระหว่างการเพาะปลูกได้ อีกทั้งสามารถควบคุมปัจจัยทางธรรมชาติได้ ดังนั้นการปลูกมะม่วงหรือปลูกทุเรียนในโรงเรือนก็เป็นไปได้ เพราะเทคโนโลยีก้าวไกลไปมาก” คุณธีรพันธ์ กล่าวในที่สุด

สยามคูโบต้า และผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้า ร่วมส่งมอบนวัตกรรมโควิด-19 เตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี (SCGP Paper Field Hospital Bed) จากมูลนิธิเอสซีจี ให้แก่โรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอย เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนเตียง ในจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุด จังหวัดพื้นที่ควบคุม และจังหวัดพื้นที่เฝ้าระวัง รวม 20 จังหวัด ทั่วประเทศ

นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า “บริษัทฯ ส่งมอบความห่วงใยผ่านความช่วยเหลือให้แก่หน่วยงานและชุมชนที่ประสบความเดือดร้อนท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายใต้แคมเปญ KUBOTA On Your Side มาโดยตลอด ล่าสุดจากที่ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยอย่างใกล้ชิด พบว่ายังมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงคือปัญหาการขาดแคลนเตียงรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลสนาม โดยเฉพาะในบางจังหวัดที่เร่งดำเนินการจัดตั้งการกักตัวในชุมชน หรือ Community Isolation สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอัตราการติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นทั้งกลุ่มที่ไม่แสดงอาการหรือมีอาการน้อย บริษัทฯ จึงได้ร่วมกับมูลนิธิเอสซีจี ในการสนับสนุนเตียงกระดาษเพื่อส่งต่อความช่วยเหลือให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาด”

โดยบริษัทฯ ได้สนับสนุนเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี (SCGP Paper Field Hospital Bed) ผ่านโครงการ “สะพานบุญ สะพานใจ สู้ภัยโควิด-19” จากมูลนิธิเอสซีจี จำนวน 2,000 เตียง มูลค่ากว่า 1,600,000 บาท ส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอย ที่เผชิญกับปัญหาการขาดแคลนเตียง ในจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวัง รวม 20 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร กำแพงเพชร ลพบุรี นครปฐม ราชบุรี ตาก เชียงใหม่ นครราชสีมา อุดรธานี มหาสารคาม อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ระยอง ฉะเชิงเทรา ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา ยะลา นครศรีธรรมราช นราธิวาส ซึ่งส่งมอบเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วในเดือนสิงหาคม 64 นอกเหนือจากนี้มูลนิธิเอสซีจียังบริจาคเพิ่มเติมอีก 1 เท่าจากยอดบริจาคทั้งหมด รวมเป็น 4,000 เตียง เพื่อเป็นการช่วยสมทบให้มีเตียงไว้รองรับผู้ป่วยได้เพิ่มมากขึ้น

สยามคูโบต้าพร้อมเดินหน้าให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือกับทุกฝ่ายต่อไป เพื่อก้าวผ่านสถานการณ์วิกฤตจากไวรัสโควิด-19 และขอร่วมเป็นกำลังใจให้กับประชาชนชาวไทยทั่วประเทศจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

วันที่ 5 ก.ย.64 กรุงเทพฯ-นนทบุรี/ นายกูเซ็ง ยาวอหะซัน นายกอบจ.นราธิวาส พร้อมนายสาราหุดิน อาบู ประธานสภาอบจ.นราธิวาส นายมูหามัดรอซากี รองนายกสมาคมผู้ส่งออกผลไม้ภาคใต้ และทีมงาน เดินทางมาเยี่ยมบูท Queen Frozen Fruit ในห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ซึ่งเป็นบริษัทที่รับซื้อทุเรียนจากชาวสวนในจังหวัดนราธิวาส มาจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ ในกรุงเทพฯ

นายกูเซ็ง ยาวอหะซัน นายกอบจ.นราธิวาส กล่าวว่า จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศ ที่เป็นทั้งภูเขาและทะเล ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่มีรสชาติที่ดีเพราะได้รับอากาศเย็นทั้งปี

สำหรับทุเรียนบางนรา เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่ปลูกอยู่ในเส้นแม่น้ำ ที่มีน้ำแร่ทองธรรมชาติไหลผ่านมาจากภูเขาทอง ทำให้เกิดแม่น้ำสองสาย นั่นคือแม่น้ำสายบุรีและแม่น้ำสุไหงโกลก เกษตรกรจึงสามารถใช้ประโยชน์จากแม่น้ำ 2 สายนี้ ในการทำไร่ทำสวน ทำให้รสชาติของผลไม้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่มีรสชาติที่ดีและสิ่งที่สำคัญเกษตรกรในพื้นที่จะไม่ใช้สารเคมีในการฉีดพ่นทุเรียน ทำให้ทุเรียนของเรายังคงความเป็น organic ได้เกือบ 100%

ลักษณะสายพันธุ์และจุดเด่นของทุเรียนบางนรา มีหนามเรียงสวยงาม เนื้อหนาสีเหลืองทอง เนื้อละเอียดเส้นใยน้อย เม็ดลีบรสชาติหอมหวาน มีกลิ่นอ่อนๆคล้ายกระดังงา

“ทุเรียนบางนราจึงได้รับฉายาว่า Gold durian ทุเรียนสายแร่ทอง” หรือชื่อทางการตลาดว่า “ทุเรียนทองคำ” อัตลักษณ์ที่จะจดจำของผู้บริโภคต่อไป นายกอบจ.นราธิวาส กล่าวอีกว่า นับเป็นความโชคดีของชาวสวนนราธิวาสที่ได้รับโอกาสจากบริษัทควีนโฟรเซ่น ฟรุต และเดอะมอลล์กรุ๊ป เปิดพื้นที่ให้ทุเรียนบางนารา เป็นอีกสายพันธุ์ที่ได้มีโอกาสเข้าห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งก่อนหน้าที่จะมาที่ห้างเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ตนได้เดินทางไปที่ห้างสยามพารากอน ที่วางจำหน่ายทุเรียนหมอนทองบางนราเช่นกัน ซึ่งทางอบจ.จะได้ประชาสัมพันธ์และกระตุ้นให้ชาวสวนทุเรียนเก็บผลผลิตส่งต่อให้กับผู้บริโภคได้เพียงพอต่อไป

เปิดตัวงานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit: การผลิตอัจฉริยะเพื่อระบบอาหารที่ยั่งยืน กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤศจิกายน 2564 ณ จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย พร้อมกันบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของสมาคมการเกษตรเยอรมัน (DLG) ครอบคลุมทั้งงานประชุม งานแสดงสินค้า และการเยี่ยมชมฟาร์ม – ร่วมเป็นเจ้าภาพการจัดงานโดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,ประเทศไทย

งานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit จะจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์และรูปแบบปกติระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤศจิกายน 2564 พร้อมนำเสนอระบบนวัตกรรมทางการเกษตรและบริการที่หลากหลายเพื่อการปรับปรุงการผลิตให้แก่เกษตรกร ตลอดจนการพบปะผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรจากประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมโอกาสในการเข้าถึงเครือข่ายทางธุรกิจทั้งในระดับผู้ประกอบการผู้ซื้อ และผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ

ภายใต้ธีมการจัดงาน “การผลิตอัจฉริยะสำหรับระบบอาหารที่ยั่งยืน” ซึ่งจะกล่าวถึงความท้าทายของการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนสำหรับเกษตรกรจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย โดยงานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit ซึ่งจัดโดย สมาคมการเกษตรเยอรมัน (DLG) และ วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จะจัดขึ้นที่โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช จังหวัดนครราชสีมา ณ ศูนย์กลางการผลิตข้าว มันสำปะหลัง และอ้อยของประเทศไทย และเพื่อให้งานมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผู้จัดมีการเชื่อมโยงแพลตฟอร์มออนไลน์ DLG CONNECT เข้ามาทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เข้าร่วมประชุมทั้งในสถานที่จริงและทางออนไลน์เข้าไว้ด้วยกัน การประชุมสุดยอดนี้จัดขึ้นอย่างเป็นทางการร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ประเทศไทย

การผลิตพืชผลนั้นถือเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับระบบอาหารที่ยั่งยืน ซึ่งระบบอาหารเหล่านี้ก็จำเป็นที่จะต้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมทั้งพัฒนาการดำรงชีวิตของผู้ที่เกี่ยวข้องและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในทุกระดับด้วยเช่นกัน เพื่อจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ไปพร้อมๆ กับการดำเนินการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนโดยเกษตรกรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยเกษตรไทย จึงเกิดเป็นความจำเป็นที่จะต้องนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น คุณกมลชนก นันทบุรม ผู้จัดการโครงการ กล่าวถึงสิ่งที่ผู้เข้าร่วมงานสามารถคาดหวังได้จากงานในครั้งนี้ “งานประชุมสัมมนาสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit จะเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มระหว่างประเทศที่กำลังจะเกิดขึ้น และข้อมูลที่เกี่ยวกับการปรับปรุงระบบการผลิตในท้องถิ่น โดยคำนึงถึงความต้องการของเกษตรกรและตลาดเป็นหลัก เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้นำเสนองานระดับนานาชาติ ณ ศูนย์กลางการผลิตหลักทางการเกษตรอย่างจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเราได้รับการสนับสนุนจากท้องถิ่นอย่างล้นหลาม” คุณกมลชนก นันทบุรมย์ กล่าว

โปรแกรมการประชุม: ระบบการผลิตในท้องถิ่น
ภายในงานจะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรมากกว่า 50 ท่านมาร่วมบรรยายทั้งจากประเทศไทยและนานาชาติ นำเสนอหัวข้อต่างๆ อาทิ การผลิตอ้อย การผลิตมันสำปะหลัง การผลิตข้าว การผลิตข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนการทำฟาร์มที่ชาญฉลาดและแม่นยำ การปกป้องวัชพืช ระบบการจัดการน้ำ และการทำฟาร์มแบบคลัสเตอร์ รวมไปถึงอุตสาหกรรมใหม่ อย่างเช่น การทำฟาร์มแนวตั้งและเศรษฐศาสตร์ชีวภาพ

“เราได้ร่วมมือกับพันธมิตรมากคุณภาพในการร่วมประชุมครั้งนี้ ซึ่งล้วนแต่เป็นองค์กรผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็น สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ สมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย การรวมตัวกันของเหล่าผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเทศไทย และจากภาคเอกชนที่จะมาแบ่งปันนวัตกรรมล่าสุด รวมไปถึงผู้ปฏิบัติงานจริงที่จะสาธิตแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดจากภาคสนาม จึงทำให้งานนี้เป็นเป็นเวทีที่ดีสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างเครือข่ายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน” คุณ Katharina Staske ผู้จัดการโครงการอธิบาย

“การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 นั้น ทำให้วิถีชีวิต การทำงาน และความคาดหวังต่ออนาคตของเราเปลี่ยนไป การประชุมสุดยอดระบบอาหารแห่งสหประชาชาติ ประจำปี 2564 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “ทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง” หรือ “Decade of Actions” นั้นได้ปลุกโลกให้ตื่นขึ้นด้วยความจริงที่ว่า พวกเราต้องทำงานร่วมกันในการสร้างอนาคตของระบบอาหารและการเกษตรเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 ของสหประชาชาติ หน่วยงานรัฐบาลเพียงอย่างเดียวไม่สามารถบรรลุเป้าหมายแผนงานในการสร้างระบบอาหารและการเกษตรที่ยั่งยืน ครอบคลุม และยืดหยุ่นขึ้นได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด

ซึ่งในบริบทนี้ งานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit จะเป็นสถานที่ที่รวบรวมความรู้และนวัตกรรมจากนานาประเทศ ที่จะนำเสนอแนวทางแก้ไขเชิงเทคนิคให้แก่เกษตรกรและธุรกิจในท้องถิ่นของเรา จากการแลกเปลี่ยนของกระทรวงเกษตรระหว่างประเทศไทยและประเทศเยอรมนีที่ผ่านมา เราตั้งตารอที่จะร่วมมือกันในทุกระดับมากขึ้น ตั้งแต่รัฐบาลกับรัฐบาล ธุรกิจกับธุรกิจ และที่สำคัญที่สุดคือระดับเกษตรกรกับเกษตร” ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ สำนักกิจการเกษตรต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของงานในเดือนพฤศจิกายนนี้

สัตวแพทย์หญิง สุภธิรดา วงษ์จันฬา นิสิตเก่า KU 73 VET 77 ผู้ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกสัตวแพทยศาสตร์ ประจำปี 2563 เผยถึงความรู้สึกซาบซึ้งใจในพระมหากรุณาธิคุณ และนำความรู้มาประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาการเลี้ยงปศุสัตว์ไทย โดยใช้หลักการ Zero waste

จากความมุ่งมั่นในการศึกษาเรียนรู้ และความตั้งใจที่จะไปเรียนต่อในสาขาโภชนศาสตร์สัตว์ ทางสัตวแพทย์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ภายหลังสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาสัตวแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2562 ของสัตวแพทย์หญิง สุภธิรดา วงษ์จันฬา หรือ “คุณหมอเจน” ก็ประสบผลสำเร็จตามความตั้งใจ สัตวแพทย์หญิง สุภธิรดา วงษ์จันฬา เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกสัตวแพทยศาสตร์ ประจำปี 2563 และได้มีโอกาสเข้าเฝ้า ฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อกราบถวายบังคมลาไปศึกษาต่อต่างประเทศ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา

สัตวแพทย์หญิง สุภธิรดา วงษ์จันฬา ผู้ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกสัตวแพทยศาสตร์ ประจำปี 2563 กล่าวด้วยความปลาบปลื้มปิติและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณว่า รู้สึกดีใจ ภูมิใจและเป็นเกียรติอย่างยิ่งกับวงศ์ตระกูลและตนเอง ที่ได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล ในครั้งนี้ เพราะถือว่าได้เข้าใกล้ความฝันและความสำเร็จไปอีกก้าว อีกทั้งรู้สึกซาบซึ้งและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งมูลนิธิอานันทมหิดลขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาชั้นสูง ด้วยการพระราชทานทุน ให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศไทย ผู้มีคุณสมบัติดีเด่นทั้งด้านวิชาการและคุณธรรม ไปศึกษาต่อในสาขาวิชาอันจะเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ แล้วนำกลับมาถ่ายทอดแก่ชนรุ่นหลัง เป็นการรับใช้ชาติบ้านเมือง ตลอดจนช่วยในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น ตนจึงยึดถือวัตถุประสงค์หลักของมูลนิธิอานันทมหิดลเป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถและศักยภาพตัวเองให้มากขึ้นในทุกๆ วัน เพื่อให้เป็นบุลคลที่มีคุณภาพและพร้อมที่จะนำองค์ความรู้ที่ตัวเองมี มาใช้เพื่อพัฒนาสังคมไทยต่อไปในอนาคต

“เจนมีความมุ่งมั่นที่จะไปเรียนเพื่อนำเอาทักษะและองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เจนจะได้รับในต่างประเทศ มาประยุกต์ใช้กับการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทย และเจนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เจนจะได้เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้วงการวิชาชีพสัตวแพทย์ไทยมีความก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป และสามารถที่จะแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในตลาดโลกได้มากยิ่งขึ้น จากประสบการณ์การทำงาน เจนได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกี่ยวกับเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะที่เพิ่มขึ้น ซึ่งปัญหานี้ก็ได้ส่งผลกระทบในวงกว้าง จึงอยากไปศึกษาต่อและทำงานวิจัยเกี่ยวกับอาหารทดแทนยาปฏิชีวนะ รวมไปถึงอาหารที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพสัตว์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสัตว์ และช่วยแก้ปัญหาโรคบางโรคที่พบในประเทศไทยด้วย”

สัตวแพทย์หญิง สุภธิรดา วงษ์จันฬา ได้เดินทางไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท-เอก สาขาโภชนศาสตร์สัตว์ ทางสัตวแพทย์ ที่ Graduate Group of Animal Biology, University of California, Davis (UC Davis) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเรียนเกี่ยวกับโภชนาการสำหรับสัตว์ เพื่อสุขเสริมสุขภาพองค์รวมของสัตว์ นับว่าเป็นสาขาที่มีความจำเป็นต่อวงวิชาชีพทางสัตวแพทย์ อีกทั้งสัตวแพทย์ที่จบทางด้านนี้โดยตรงยังมีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการในประเทศ พร้อมกับได้น้อมนำพระราชดำรัส ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้รับเมื่อครั้งได้เข้าเฝ้าฯเพื่อกราบถวายบังคมลาไปศึกษาต่อต่างประเทศ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 เป็นธงชัยและเป็นขวัญกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ต่อไป โดยทรงรับสั่งให้นำองค์ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนในต่างประเทศมาประยุกต์ใช้กับวงการเกษตรกรรม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทย และช่วยพัฒนาการเลี้ยง ปศุสัตว์ไทยให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป รวมถึงพัฒนาเพื่อช่วยลดขยะที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ โดยใช้หลักการ Zero waste มาร่วมประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงสัตว์

“เจนอยากเข้ามาเป็นส่วนช่วยเสริมกำลังบุคลากรที่ทำงานทางด้านโภชนศาสตร์ และเมื่อเรียนจบแล้ว ก็มีความตั้งใจที่จะกลับมาทำงานที่ประเทศไทย และตั้งเป้าหมายที่จะทำวิจัยเกี่ยวกับโภชนาการสำหรับสัตว์ โดยเฉพาะการค้นหาสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพสัตว์โดยรวม ช่วยให้สัตว์มีสุขภาพที่ดีขึ้นและช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ด้วย อยากเป็นคนออกแบบและคิดค้นอาหารเสริมสุขภาพให้สัตว์กินเพื่อให้สัตว์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตสัตว์ เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในประเทศได้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น” สัตวแพทย์หญิง สุภธิรดา วงษ์จันฬา กล่าว

ประวัติ สัตวแพทย์หญิง สุภธิรดา วงษ์จันฬา ชื่อเล่น เจน อายุ 26 ปี จบปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาสาขาสัตวแพทยศาสตร์ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2562 ปัจจุบันทำงานในตำแหน่ง Technical product advisor ฝ่ายวิชาการ กลุ่มบริษัท Smart vet เป็นผู้ได้รับทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกสัตวแพทยศาสตร์ ประจำปี 2563

พระมหาทวี โพธิเมธี เจ้าอาวาส วัดพุทธปัญญา พร้อมด้วย นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข นายภาณุเดช เกิดมะลิ เลขามูลนิธิสืบนาคะเสถียร และพันธมิตรสื่อมวลชน นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ นายอภิวัฒน์ จ่าตา นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย นายดลมนัส กาเจ เว็บไซต์เกษตรทำกิน นายพรศักดิ์ พงศาปาน เว็บไซต์เกษตรก้าวไกล ฯลฯ และ ดร.ศฎาวุฒิ กุลมณี

รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ผู้แทนเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ ร่วมมอบข้าวกล่องอุ่นร้อนพร้อมรับประทาน เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ขนม หน้ากากอนามัย และเมล็ดพันธุ์เจียไต๋ ในโครงการ “ครัวปันอิ่ม ซีพีร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด-19” โดยมี นายสมจิตต์ วุฒิสุทธิ์ ประธานชุมชนศิริชัยพัฒนา และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นตัวแทนรับมอบ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับชุมชนบริเวณรอบๆ วัด และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อแบ่งเบาภาระบรรเทาความเดือดร้อนและเป็นกำลังใจสู้ภัยโควิดไปด้วยกัน ณ วัดพุทธปัญญา จ.นนทบุรี

เจ้าอาวาสวัดพุทธปัญญา กล่าวว่า “ชุมชนรอบๆ วัดได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นชุมชนแออัด มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น บางคนต้องออกไปทำงานได้รับเชื้อแบบไม่รู้ตัวและนำมาสู่ครอบครัว ทำให้เกิดการแพร่ระบาด บางคนต้องตกงาน ขาดรายได้ วัดซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ อาทิ CP-CPF นำข้าวกล่องเข้ามาสนับสนุน เพื่อนำไปแจกจ่ายชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง 14 ชุมชน อาตมาขอเป็นสะพานบุญส่งต่อความช่วยเหลือในครั้งนี้

“สังคมจะรอดปลอดภัย สิ่งสำคัญคือ ต้องมีสติและสัมปชัญญะ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา การระแวงและระวังจะทำให้ป้องกันตัวเองและผู้อื่น พร้อมฝากกำลังใจไปยังบุคลากรด้านสาธารณสุข แม้วัดฯ จะไม่ใช่ด่านหน้าและด่านสุดท้าย แต่เราเป็นหน่วยสนับสนุนแก่ทุกคนที่ต้องการความช่วยเหลือ”

รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวว่า “สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ค่อยๆ คลี่คลายลดลง ตัวเลขผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มลดลง คาดการณ์ว่าภายในเดือนตุลาคม สถานการณ์ก็จะผ่อนคลาย อยากฝากถึงพี่น้องประชาชนดูแลตนเองตามมาตรการป้องกันโควิดอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว ให้ไปฉีดวัคซีน ทั้งนี้ ก.สาธารณสุข เป็นหน่วยงานดูแลเรื่องการรักษาพยาบาล การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ และมีกรมการแพทย์แผนไทยฯ ได้นำสมุนไพรและยาตำรับแผนไทยต่างๆ ร่วมกับพันธมิตรภาคเอกชน ภาคประชาสังคม นำสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ที่เครือซีพีเป็นคนปลูก นำมาผลิตเป็นยา เพื่อนำไปแจกจ่ายให้พี่น้องประชาชนต่อไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผ่านพ้นวิกฤตโควิดในครั้งนี้ไปด้วยกัน”

เลขาธิการมูลนิธิสืบฯ กล่าวว่า “มูลนิธิฯ ได้เข้าไปช่วยเหลือในชุมชนอยู่กับพื้นที่ป่าและใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม แต่ในสถานการณ์โควิด เรามีความยินดีในการช่วยผู้ที่เดือดร้อนในเขตชุมชนเมือง ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่โครงการ “ครัวปันอิ่ม” ผนึกกำลังหลายหน่วยงาน เช่น วัดพุทธปัญญา เครือ CP-CPF ส่งมอบอาหารและสิ่งของที่จำเป็นแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้ดำเนินชีวิตอยู่ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิดได้อย่างปลอดภัย”

นายสมจิตต์ วุฒิสุทธิ์ ประธานชุมชนศิริชัยพัฒนา กล่าวว่า “หลังจากที่ชาวชุมชนรอบวัดพุทธปัญญาได้รับอาหารกล่อง หน้ากากอนามัย และสิ่งของจำเป็นจาก “ครัวปันอิ่ม” ทำให้ชุมชนของเราอยู่ดีมีสุขกันมากขึ้น บางครอบครัวมีผู้ป่วยเป็นโควิดทั้งบ้าน หลายคนต้องกักตัวซึ่งส่วนมากมีอาชีพรับจ้าง ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ ต้องขอขอบคุณที่ให้ความกรุณาและเมตตาชุมชน เราได้นำอาหารไปส่งมอบให้พวกเค้าทุกมื้อ เป็นการให้ความสุข ให้ทุกชีวิตได้อยู่รอดในสถานการณ์เช่นนี้”

ผู้แทนเครือ CP-CPF กล่าวว่า “โครงการ “ครัวปันอิ่ม” เป็นดำริของประธานอาวุโส ธนินท์ เจียรวนนท์ และค่านิยมขององค์กร 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน คือ สร้างประโยชน์ให้กับประเทศ สังคม และประชาชน ซึ่งวิกฤตในครั้งนี้ หลายๆ ภาคส่วนมาร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อแบ่งเบาภาระของประชาชนในด้านค่าใช้จ่าย ด้านอาหาร และเป็นขวัญกำลังใจให้ก้าวพ้นผ่านวิกฤตนี้ไปได้”

โครงการ “ครัวปันอิ่ม ซีพีร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด-19” เป็นการผนึกกำลังเครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมกับพันธมิตรกว่า 100 องค์กร เพื่อส่งมอบข้าวกล่องอุ่นร้อนพร้อมรับประทาน จำนวน 2 ล้านกล่อง โดย 1 ล้านกล่อง ซื้อจากร้านอาหารรายย่อย และอีก 1 ล้านกล่อง จากซีพีเอฟ เป็นอาหารที่ปรุงใหม่ สุก สะอาด ถูกสุขอนามัย มีเมนูอาหารหลากหลายในแต่ละวัน โดยมีเครือข่ายจิตอาสา มูลนิธิ และหน่วยงานพันธมิตร รับมอบอาหารจาก 40 จุด ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่งให้กับประชาชน เพื่อลดการแออัด และลดความเสี่ยงในการระบาดของเชื้อโควิด-19

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในการประชุมการดำเนินงานระดับโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้โครงการหนึ่งประเทศหนึ่งผลิตภัณฑ์ ผ่านระบบออนไลน์ ว่า การเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์ระยะ 10 ปี ฉบับใหม่ของ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO (Food and Agriculture Organization)

ที่มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบอาหารเกษตรที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม ยืดหยุ่นและยั่งยืนมากขึ้น โดยไม่มีทิ้งใครไว้ข้างหลัง และได้ร่วมนำเสนอการดำเนินงานในการพัฒนาสินค้าเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบาย 3S คือ ความปลอดภัยของอาหาร ความมั่นคงของภาคการเกษตรและอาหาร และความยั่งยืนภาคการเกษตร ขับเคลื่อนโดยกรอบยุทธศาสตร์โมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวด้านการเกษตร

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ยังได้ผลักดันการดำเนินการพัฒนาภาคการเกษตรในรูปแบบระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เน้นการพัฒนาแบบบูรณาการทรัพยากรธรรมชาติทั้ง 5 อย่างเข้าด้วยกัน ได้แก่ ระบบนิเวศ ดิน ป่าไม้ ที่ดิน และน้ำ ยึดหลักเกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฏีใหม่ เกษตรผสมผสาน เกษตรธรรมชาติ และวนเกษตร โดยการพัฒนาในรูปแบบนี้จะครอบคลุมถึงวิถีชีวิตของเกษตรกร กระบวนการผลิต และการจัดการทุกรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศวิทยาในการเกษตร จนนําไปสู่การพึ่งตนเองและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค ซึ่งมีความสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานระดับโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ FAO ในครั้งนี้อย่างเห็นได้ชัด และจะนำไปสู่การตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 1 และ 2 เกี่ยวกับการขจัดความยากจน หิวโหย และความอดอยากทุกรูปแบบ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังกล่าวต่ออีกว่า สำหรับการนำเสนอสินค้าเกษตร Special Agricultural Products (SAPs) ให้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ในโครงการหนึ่งประเทศหนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย ซึ่งสินค้า SAP จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรสีเขียวที่มีเอกลักษณ์ด้านแหล่งผลิต ขั้นตอนการผลิต การแปรรูป และรสชาติ โดยสินค้าเกษตรไทยหลากหลายชนิดมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขของสินค้าเกษตร SAP ตามที่ FAO กำหนด โดยสินค้าเกษตรที่จะหยิบยกขึ้นเป็นสินค้าเกษตร SAP คือทุเรียนไทย ซึ่งมีเอกลักษณ์ของแหล่งผลิต

มีอัตลักษณ์ด้านกลิ่น รสชาติ และลักษณะเนื้อ เป็นสินค้าที่ขึ้นทะเบียน GI เป็นทุเรียนระดับพรีเมียมที่มีความโดดเด่นและแตกต่างจากทุเรียนต่างชาติอย่างชัดเจน ซึ่งอัตลักษณ์ของความเป็นทุเรียนไทยนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้า ทุเรียนไทยเป็นสินค้าเกษตรไทยที่มีปริมาณและมูลค่าส่งออกสูงที่สุด ซึ่งอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปีในช่วงตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทยอย่างต่อเนื่องและมั่นคง โดยในปีนี้ แนวโน้มการส่งออกทุเรียนไทยจะมีมูลค่าอยู่ที่ราว 2,900 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 40 ซึ่งเทียบเท่ากับราวร้อยละ 2.5 ของ GDP ของไทย

ทั้งนี้ การปลูกทุเรียนไทยเป็นการปลูกในรูปแบบเกษตรยั่งยืนและเกษตรสีเขียว โดยการแซมแปลงทุเรียนด้วยพืชสมุนไพร เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยไม่ต้องใช้สารเคมี ไม่ก่อให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำธรรมชาติ สวนทุเรียนไทยตั้งอยู่บนพื้นที่ภูเขา ซึ่งต้นทุเรียนเป็นพืชที่มีรากแก้ว สามารถยึดเกาะพื้นดินได้แน่นและสามารถอุ้มน้ำได้ดี

จึงมีส่วนช่วยในการรักษาทรัพยากรดิน น้ำ และระบบนิเวชได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นส่วนประกอบสำคัญในการป้องกันการเกิดน้ำป่าไหลหลากและหน้าดินถล่ม นอกจากนี้ การปลูกทุเรียนไทยเป็นในลักษณะวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ มีระบบการบริหารจัดการที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ส่งผลให้ทุเรียนไทยได้รับมาตรฐาน GAP เป็นส่วนสำคัญในการขยายตลาดการส่งออกอีกด้วย

ธ.ก.ส.จังหวัดนนทบุรี ถือฤกษ์ดี วันที่ 9 เดือน 9 (9 กันยายน 2564) จัดงานจับรางวัลเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชคครั้งที่ 1/2564 ณ หอประชุมโรงเรียนนนทบุรีพิทยาคม จังหวัดนนทบุรี

ในการจัดงานจับรางวัลครั้งนี้ Royal Online V2 บรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคักแม้ว่าจะจัดในแบบ New Normal ภายใต้การนำของ นายสุรพงษ์ อิ่มเอิบ ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดนนทบุรี นายอนุสรณ์ กาญจนภักดิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดนนทบุรี พร้อมกับผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี มากันอย่างพร้อมเพรียง

โครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร ปี64

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตามผลการดำเนินงานโครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตรซึ่งเป็นโครงการหนึ่งภายใต้แผนงาน บูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งปีงบประมาณ 2564 มีเป้าหมายส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 1,723 กลุ่ม เกษตรกร 26,201 ราย รวม 77 จังหวัด

โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม และสร้างเครือข่าย สามารถบริหารจัดการกลุ่มได้อย่างยั่งยืน พร้อมกับส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเกษตรกรด้วยการถ่ายทอดความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้เกษตรกรมีความรู้ความสามารถในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่ได้มาตรฐาน พัฒนาคุณภาพดินในพื้นที่โครงการให้มีศักยภาพ มีความเหมาะสมในการผลิตพืช และใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืน โดยโครงการปีนี้ มีกรมหม่อนไหม กรมพัฒนาที่ดิน และกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก

จากการติดตามผลการดำเนินงานโครงการ ปีงบประมาณ 2564 สำรวจตัวอย่างเกษตรกร 629 ราย 55 จังหวัด พบว่า เกษตรกรที่เข้ารับการอบรมเกือบร้อยละ 100 สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้ในการทำการเกษตรของตนเอง อาทิ การปรับปรุงบำรุงดิน การทำปุ๋ยหมักเพื่อลดต้นทุนการผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า การออกแบบลวดลายผ้าไหม การฟอกย้อมสีจากธรรมชาติ และการทำแผนการผลิตของตนเองและกลุ่มเพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพเป็นรายได้เสริม เป็นต้น เกษตรกรเพียงร้อยละ 1 ไม่ได้นำความรู้ไปใช้ เนื่องจาก เห็นว่าอยู่ในช่วงของการระบาดโควิด-19 เศรษฐกิจไม่ดี การขายผลผลิตอาจไม่ดีตาม จึงยังไม่ได้นำไปปรับใช้

ด้านรายได้ พบว่า เกษตรกรมีรายได้ 9,396 บาทต่อเดือน จากที่ก่อนเข้าร่วมโครงการ มีรายได้ 7,045 บาทต่อเดือน (เพิ่มขึ้น 2,351 บาทต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33) โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็นรายได้จากการจำหน่ายผลผลิต เช่น เส้นไหม พืชผักสวนครัว กล้วย ผักกาด กะหล่ำ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยและจากเห็ด เป็นต้น นอกจากนี้ ในการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเกษตรกร ยังช่วยให้เกษตรกรมีเครือข่ายเพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรถึงร้อยละ 92 เห็นว่าการเข้าร่วมโครงการส่งผลให้กลุ่มของตนเองมีการประสานงานเครือข่ายสะดวกยิ่งขึ้นในด้านต่าง ๆ ทั้งการจัดหาวัตถุดิบในการผลิตสินค้าของกลุ่ม การจัดจำหน่าย ตลอดจนการได้แลกเปลี่ยนความรู้ด้านต่าง ๆ ร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลต่อเกษตรกรในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การส่งเสริมและพัฒนาในพื้นที่ทำได้ยาก บางกิจกรรมต้องมีการรวมตัวของผู้สูงอายุ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ ประกอบกับข้อจำกัดในบางพื้นที่ที่ไม่ต้องการให้เข้าไปรวมตัวกันภายในชุมชน เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค โดยยังมีกลุ่มเกษตรกรที่มีความต้องการเข้ารับการพัฒนาศักยภาพจำนวนมาก จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทุกกลุ่ม ซึ่งเมื่อสถานการณ์คลี่คลายหรือเหมาะสมแล้ว ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเร่งดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ในทันที

กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย และ ครอปไลฟ์ เอเชีย จัดการฝึกอบรมหลักสูตร “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี อากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรนทางการเกษตร (UAV) และ การประมวลผลภาพ (Image processing)” เพื่อสร้างความเข้าใจในกฎระเบียบของเทคโนโลยี UAV ทางการเกษตรในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและปลอดภัยในระดับสากล สามารถนำทักษะมาประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรอัจฉริยะ เสริมอาชีพ สร้างความปลอดภัย พร้อมก้าวสู่การเป็นเกษตรอัจฉริยะ โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมงานในระดับเอเชีย มากกว่า 1,200 คน ประกอบด้วย นักวิจัยภาครัฐ/เอกชน เกษตรกร ผู้ประกอบการ Start up ด้านการเกษตร นิสิต/นักศึกษา

นายศรุต สุทธิอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช เปิดเผยว่า จากแนวทางนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้วยการนำนวัตกรรม/เทคโนโลยีในภาคเกษตรกรรมของประเทศและของโลก มาถ่ายทอดให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจเพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งการผลิตและการต่อยอดงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร จึงได้ร่วมกับสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย และ ครอปไลฟ์ เอเชีย จัดการฝึกอบรมหลักสูตร “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี อากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน ทางการเกษตร (UAV) และ การประมวลผลภาพ (Image processing)” ขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจในกฎระเบียบของเทคโนโลยี UAV ทางการเกษตรในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและปลอดภัยในระดับสากล โดยหลักสูตรการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมใน 4 หัวข้อหลัก ได้แก่

การศึกษาข้อบังคับและกฎหมายของการใช้โดรน ผู้ใช้โดรนจะได้ทราบขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนโดรนเกษตร การขออนุญาตใช้คลื่นความถี่สำหรับอากาศยานไร้คนขับ และพ.ร.บ.วัตถุอันตรายทางการเกษตร

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Image Processing กับงานด้านอารักขาพืช เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชด้วยการใช้โดรนทางการเกษตร กรณีการศึกษาการเข้าทำลายของไรแดงแอฟริกันในทุเรียน ที่ถูกยกเป็นกรณีศึกษาให้ผู้เข้าอบรม

การใช้งานและการประยุกต์ใช้ UAV ทางการเกษตร โดยการวางกฎระเบียบการใช้ โดรนด้านการเกษตร แลกเปลี่ยนมุมมองภาคอุตสาหกรรมต่อการพัฒนาโดรน และการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยจากประสบการณ์จริง
การศึกษาเทคนิคการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยโดรนการเกษตร เพื่อเป็นอาวุธลับให้เกษตรกรและผู้ใช้โดรน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

อากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV เข้ามามีบทบาททางการเกษตรในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น เป็นเครื่องมือที่เกษตรกร หรือนักวิจัย ใช้ในกระบวนการการผลิตและวิจัย เพื่อรองรับการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศไทย ในยุคที่เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้ามาสร้างตลาดและมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร กรมวิชาการเกษตรพยายามขับเคลื่อนนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาภาคการเกษตร อาทิการใช้เซนเซอร์ชนิดต่างๆ เช่น กล้อง RGB กล้อง MULTISPECTRAL เซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อม ตรวจวัดดิน/น้ำ

พร้อมทั้งปรับรูปแบบของการบันทึกและการจัดเก็บข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบของ Digital Data บน Platform เดียวกัน เพื่อการเชื่อมโยงงานด้านการเกษตรเข้ากับงานด้านไอที และเครื่องจักรกลการเกษตร นำไปสู่การประมวลผลและสั่งการการทำงานของอุปกรณ์/เครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งการอบรมครั้งนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Digital Transformation จากภาคการเกษตร สำหรับการเตรียมความพร้อมของนักวิจัย เกษตรกร ผู้ประกอบการ ในการเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยให้มีศักยภาพแข่งขันในตลาดโลก นายศรุต กล่าวสรุป

ด้าน นายเจอริโก เบอนาบี แกสกอน นายกสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ทำกินของคนในประเทศ และเป็นหัวใจหรือหลอดเลือดของเกษตรกร จากอดีตจนถึงปัจจุบันเกษตรกรมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากมาย มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เป็นตัวช่วยให้การทำงานรวดเร็ว และสะดวกสบายมากยิ่ง จวบจนปัจจุบัน “โดรน” หรือ อากาศยานไร้คนขับ เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมในภาคอุตสาหกรรมเกษตร มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ครั้งที่ 4 นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาผสมกับโลกการผลิตให้เป็นจริงในระดับประเทศ ในยุคของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดรนกลายเป็นกุญแจสำคัญที่สามารถนำประโยชน์มาสู่เกษตรกรอย่างมากมาย เช่น การประหยัดแรงงาน ลดการสัมผัสของผู้ปฏิบัติงาน ลดต้นทุนของเกษตรกร มีความคุ้มทุน คล่องตัว รวดเร็ว ประหยัดเวลา รวมทั้งมีความแม่นยำและลดความสูญเสียได้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนทำให้ผลผลิตของเกษตรกรมีคุณภาพ สามารถสร้างรายได้ให้ผู้ใช้โดรนอีกด้วย และในอนาคต “โดรน” อาจเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญของเกษตรกรไทย ที่ทำให้ทุกคนให้มั่นใจว่าเทคโนโลยีนี้จะใช้งานได้อย่างมีความรับผิดชอบและมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ เป้าหมายในการฝึกอบรมดังกล่าว คือ ทำให้ทุกคนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขึ้นทะเบียน ความปลอดภัย ตลอดจนการนำเทคโนโลยี และภาควิชาการของโดรนทางการเกษตรไปใช้ในทุกแง่มุม จำเป็นต้องเกิดจากความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ครอปไลฟ์ เอเชีย กำลังผนึกกำลังกับรัฐบาลทั่วเอเชีย ในการเพิ่มความรู้และความเข้าใจในเทคโนโลยีทางการเกษตร ขณะเดียวกันยังมุ่งมั่นในการสานต่อความร่วมมือกับรัฐบาลไทยและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งมอบเทคโนโลยีโดรนให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เกษตรกร รวมทั้งนักศึกษาหรือผู้ว่างงานได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถเสริมสร้างอาชีพ เกิดรายได้ พร้อมก้าวเข้าสู่การเป็น “เกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture)” อย่างมีประสิทธิภาพได้ในวงกว้าง นาย เจอริโก กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับผู้สนใจหลักสูตร “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี อากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรนทางการเกษตร (UAV)” รวมถึงการขอข้อมูลเกี่ยวกับโดรนทางการเกษตรในงานด้านอารักขาพืช สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร 02-579-4115, 02-579-1061 ต่อ 162 หรือ ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 รอบที่ 3 เมื่อต้นเดือนเมษายน 2564 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลามากกว่า 4 เดือน ทำให้มีการแพร่เชื้อกันอย่างกว้างขวางนั้น

สำหรับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบัน มีผู้ติดเชื้อโควิด 19 เกือบ 500 คน เป็นนิสิต 421 คน จากจำนวนนิสิตทั้งสิ้น 72,155 คน คิดเป็น ร้อยละ 0.58 โดยเฉพาะในระยะหลัง ส่วนใหญ่ ติดจากในครอบครัว และที่พักอาศัย นิสิตส่วนมาก

จะมีอาการค่อนข้างน้อย จึงเข้าระบบ home isolation และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เร่งส่ง กล่อง KU help health เพื่อช่วยบรรเทา ดูแลสุขภาพและรักษาอาการผู้ติดเชื้อ พร้อมทั้งมีระบบติดตามสุขภาพกายและสุขภาพใจของผู้ติดเชื้อซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อตัวนิสิต แล้วยังเป็นประโยชน์ต่อคนในครอบครัว ซี่งพบว่าในกรณีของนิสิต มีการติดเชื้อทั้งครอบครัว

ดร.จงรัก กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ที่น่าเป็นห่วงเนื่องจากการระบาดค่อนข้างยาวนาน ทำให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยหรือไม่มีรายได้ ลำบากในการดำรงชีพ ตนได้มอบนโยบายให้ทุกส่วนงาน ทุกคณะวิทยาเขต ช่วยเหลือประชาชน ที่อาจจะขาดรายได้ ทำให้ ขาดแคลนอาหาร โดยเฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยหรือตกงาน จึงถือเป็นภารกิจเร่งด่วนช่วยเหลือในระยะสั้น ที่ทุกวิทยาเขต ได้นำอาหาร น้ำดื่ม นมเกษตร ยารักษาโรค และสิ่งของจำเป็นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตไปมอบแก่ประชาชน เด็ก และผู้สูงวัยที่อยู่ที่บ้านตามชุมชนต่างๆ รอบมหาวิทยาลัย และวิทยาเขต และถ้าบุคคลเหล่านั้นสามารถออกมาปฏิบัติงานได้ ก็อาจจะหาทางจ้างงานในระยะสั้นๆ เพื่อแบ่งเบาความเดือดร้อนของประชาชนรอบมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อพาประชาชนรอด KU พารอด สอดรับกับโครงการ อว. พารอด หรือ survival

การช่วยเหลือประชาชนในระยะกลาง ทุกส่วนงานของ มก. จะต้องเร่งให้ความรู้ในการพัฒนาอาชีพในทั้งการเกษตร เลี้ยงสัตว์ และสัตว์น้ำ การแปรรูปผลิตผลและผลิตภัณฑ์ การดูแลสวนและต้นไม้ การทำอาหาร ศิลปะ หัตถกรรม การค้าขาย การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี และ digital เพื่อช่วยประชาชน ให้แข็งแรงขึ้นอย่างพอเพียง หรือ sufficiency

สำหรับระยะยาว เร่งพัฒนานวัตกรรม และ ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนอาชีพ หรือพัฒนาทักษะให้สูงขึ้น reskill, upskill and new skill ให้ประชาชน ให้เป็นคนไทยที่แข่งขันได้บนพื้นฐานของประเทศ ทั้ง BCG, innovation, value added อย่างแบ่งปัน sharing และ ยั่งยืน คือ sustainability

ไม่มีใครคาดคิดว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะยาวนานและส่งผลกระทบยืดเยื้อจนถึงวันนี้ เช่นเดียวกับ หนึ่งในตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งอย่าง “นางจันปภัสร์ ตะถาวรวงศ์เจริญ” ผู้มีเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง หรือลูกฟาร์มกว่า 40 ราย กระจายในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด สมุทรสาคร ประจวบคีรีขันธ์

“ในช่วงแรกๆ ที่เกิดโควิด-19 ยอมรับว่าได้รับผลกระทบมาก แต่พอโควิด-19 อยู่กับเรานานจนถึงวันนี้ ก็ได้แม็คโครเป็นช่องทางในการระบายผลผลิตที่สำคัญและมั่นคง ช่วยเกษตรกรได้มาก”

“ราคาตก” ปัญหาประจำ

กับดักสำคัญ ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งต้องเผชิญอย่างต่อเนื่องทุกปีก็คือ ปัญหาราคาตกต่ำ ที่เกิดจากหลายปัจจัยแตกต่างกัน แต่สำหรับปีนี้ ดูเหมือน “โควิด-19” จะสร้างผลกระทบซ้ำเติมหนักหน่วง

“ปัญหาราคาตกต่ำ นับได้ว่าเป็นปัญหาประจำที่พวกเราทุกคนต้องเผชิญอยู่แล้วทุกปี แต่พอมาเจอกับ สถานการณ์โควิด-19 เราต้องเจอกับปัญหาที่ใหญ่ขึ้น นั่นคือ จากเดิมที่มีช่องทางขายผ่านแม่ค้าในตลาดสด ตลาดนัด ช่องทางนี้ก็หายไป เพราะตลาดต้องปิดตัวลงเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในหลายพื้นที่ ก็มีแม็คโคร นี่แหละ ที่เป็นช่องทางสำคัญในตอนนี้ และได้ระบายผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง”

“จันปภัสร์” บอกว่า เธอและลูกฟาร์มในเครือข่าย ส่งกุ้งขาวให้แม็คโครอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว และเมื่อมีโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งปี 2564 ที่แม็คโคร ร่วมกับกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงโควิด-19 ทำให้มีช่องทางระบายผลผลิตที่สำคัญ ช่วยเกษตรกรที่เป็นลูกฟาร์มเครือข่ายให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยส่งตรง กุ้งขาวหลายขนาด ทั้งเล็ก ใหญ่ จัมโบ้ หรือกุ้งขาวในรูปแบบตาข่าย ให้กับแม็คโครสาขาต่างๆ

แม็คโครเคียงข้างเกษตรกรไทย สู้ภัยโควิด

ปัจจุบันแม็คโคร มีเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยส่งผลผลิต กุ้งขาว และกุ้งก้ามกราม กุ้งนาง ให้แม็คโครประมาณ 945 ราย จากหลายภูมิภาค ทั้งภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ในจำนวนนี้มีหลายรายที่พัฒนามาจากการเป็นเกษตรกรรายย่อยที่ประสบปัญหาและเข้าร่วมโครงการเชื่อมโยงกับกรมการค้าภายใน จนกลายเป็นคู่ค้าสำคัญของแม็คโคร สร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน

นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาว หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้รับผลกระทบประสบปัญหามีช่องทางระบายผลผลิตได้น้อยลง แม็คโคร จึงร่วมกับ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ขับเคลื่อนโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งปี 2564 สอดคล้องไปกับพันธกิจสำคัญของแม็คโคร นั่นคือ “โครงการแม็คโครเคียงข้างเกษตรกรไทย สู้ภัยโควิด” แม็คโครจึงเร่งเข้ารับซื้อตรงเพื่อแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ทำให้เกษตรกรในหลายพื้นที่ได้ระบายผลผลิตมาอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ เราช่วยรับซื้อกุ้งจากเกษตรกรไปแล้ว 2,714 ตัน”

“ในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 เช่นนี้ ยังมีเกษตรกรอีกมากมายที่กำลังเดือดร้อน และต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ความร่วมมือกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในหลายมิติ เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่าย การส่งเสริมการขาย นับเป็นการรวมพลังของภาครัฐและเอกชนขับเคลื่อนการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง และเกษตรกรในกลุ่มการผลิตอื่นๆ อย่างเร่งด่วนตามยุทธศาสตร์ ตลาดนำการผลิต อย่างแท้จริง” นางศิริพร กล่าว

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 – ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร เป็นประธานกล่าวเปิดงาน “ARDA Virtual Event : ต่อยอดงานวิจัยเกษตรไทย มิติใหม่แห่งการลงทุน” บนแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยมี นางสาวภาวดี ใจเอื้อ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ กล่าววัตถุประสงค์การจัดงาน เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยด้านการเกษตรของ สวก. ให้เป็นที่รับรู้ และรู้จักอย่างกว้างขวาง ในการส่งเสริมและผลักดันสู่การใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย สาธารณะ และพาณิชย์

โดยได้นำเสนอเทคโนโลยี จำนวน 12 โครงการ จากนักวิจัยฝีมือเยี่ยมระดับประเทศ ที่พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่ภาครัฐและเอกชน รวมทั้งได้นำเสนอความสำเร็จของภาคเอกชนที่นำผลงานวิจัยนวัตกรรมของ สวก. ไปใช้ประโยชน์ จำนวน 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท เอ็ม.วาย.อาร์.คอสเมติคส์ โซลูชั่น จำกัด บริษัท ไบโอเมดอินโนเวชั่น จำกัด และ บริษัท เจอาร์ แลบโบราทอรี่ จำกัด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของผลงานวิจัยนวัตกรรม ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในเชิงธุรกิจ ในงานมีการเสวนา เรื่อง “ศักยภาพของสมุนไพรไทยในการป้องกัน รักษา และฟื้นฟูโรคโควิด 19” เพื่อยกระดับงานวิจัยด้านสมุนไพรไทย นำไปต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาดโลก จากหลากหลายหน่วยงานที่มีพันธกิจเกี่ยวข้องและมีความเชี่ยวชาญด้านสมุนไพรไทย

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถชมนิทรรศการผลงานวิจัยของ สวก. ในรูปแบบเสมือนจริง Virtual Event บนแพลตฟอร์มออนไลน์ จำนวนกว่า 60 ผลงาน โดยลงทะเบียนผ่าน http://www.ardavirtual2021.com/ แบ่งเป็น 4 โซน ดังนี้

โซนที่ 1 ผลิตภัณฑ์ผลงานวิจัยจาก “หิ้งสู่ห้าง” มากกว่า 20 ผลิตภัณฑ์ ที่มีการผลิตและจำหน่ายจริง อาทิ เครื่องสำอางชะลอความชราจากข้าว เครื่องดื่มข้าวสินเหล็ก ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงและแมลง ผลิตภัณฑ์เส้นบุก เครื่องสำอางจากดอกไม้สีเหลือง เป็นต้น

โซนที่ 2 ต้นแบบผลงานวิจัยพร้อมใช้ “เชิงพาณิชย์” มากกว่า 20 ผลงาน อาทิ ตำรับยาเม็ดฟ้าทะลายโจร ตำรับยาจากพืชกระท่อม อาหารสุขภาพสำหรับโรคเรื้อรังจากสาหร่าย เป็นต้น

โซนที่ 3 ต้นแบบองค์ความรู้วิจัยพร้อมใช้ “เชิงสาธารณะ” มากกว่า 20 ผลงาน อาทิ คู่มือเทคโนโลยีการผลิตภัณฑ์ปลาช่อน Food loss เทคโนโลยีการให้น้ำด้วยการใช้อ่างน้ำจากยางรถยนต์เก่าและระบบไส้ตะเกียง และนวัตกรรม Cement ring แบบประหยัดน้ำ เป็นต้น

โซนที่ 4 การให้บริการข้อมูลของ สวก. (ARDA Contact) ได้แก่ การสนับสนุนทุนวิจัย ทุนพัฒนาบุคลากรวิจัย ระบบคลังข้อมูลการวิจัยการเกษตรไทย (TARR) ช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ และช่องทางการติดต่อ สวก.

รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) โทร. 02-579-7435 และ Facebook : Agricultural Research Development Agency (ARDA)

เป็นผลผลิตเกษตรอีกตัวหนึ่งที่จะต้องพูดคุยกันเรื่องตลาดให้ชัดๆ นั่นก็คือ “อินทผลัมกินผลสด” ที่กำลังจะปิดฤดูกาลปี 64 ปีนี้นับว่าราคาตกต่ำลงจากปีที่ผ่านมา คงเหลือราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200-400 บาท จากเดิมที่เปิดตลาดราคา 400-700 บาท ในกรณีของพันธุ์บาฮีสีเหลือง ซึ่งเป็นผลผลิตหลักที่มีมากกว่าพันธุ์อื่นๆ เหตุที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากโรคระบาดคิด 19 ที่ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคหดหายไป คือเลือกที่จะซื้อผลไม้ที่มีราคาย่อมกว่า โดยเฉพาะมังคุดที่ออกมาในเวลาไล่เลี่ยกันราคาตกต่ำมากๆ เพราะไม่สามารถส่งออกไปยังประเทศจีนได้คล่องเหมือนช่วงที่ไม่มีโควิด

คุณสุเทพ กังเกียรติกุล เจ้าของสวนอินทผลัมปามี98 สวนขนาดใหญ่ของอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ได้ให้สัมภาษณ์ “เกษตรก้าวไกล” ว่า ภาพรวมของผลผลิตอินทผลัมผลสดแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด ที่ทำให้ราคาตกต่ำลง แต่ยอดขายของสวนก็ยังไม่น่าวิตกมาก เพียงแต่ต้องปรับกลยุทธ์การขายด้วยการสร้างแรงจูงใจให้มากขึ้น

“ปัญหาของอินทผลัมคือผลผลิตจะออกมากระจุกพร้อมๆกันในเดือนกรกฎาคม ทำให้ระบายตลาดไม่ทันและประจวบกับกำลังซื้อปีนี้ลดลง จึงต้องปรับลดราคาลงเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ง่ายขึ้น อย่างเช่นราคาขายของสวนวันนี้(18 สิงหาคม 2562) ที่อยู่ในช่วงต้อนรับวันสารทจีน ปกติก่อนหน้านี้เราจะขายกิโลกรัมละ 298 บาท แต่ช่วงนี้จะเป็นราคาพิเศษและเป็นการส่งท้ายฤดูกาลซึ่งจะมีผลผลิตไปจนสิ้นเดือนสิงหาคมเราจะขายกิโลกรัมละ 198 บาท และมีกลยุทธ์ ซื้อ 6 กิโลกรัม แถม 1 กิโลกรัม (ตามภาพประกอบ) ซึ่งก็ส่งผลให้ลูกค้าซื้อในปริมาณที่มากขึ้น จากเดิมคนซื้อมีมากแต่ซื้อผลผลิตต่อคนน้อยกว่า โดยนอกจากจะมีร้านอยู่ในสวน(สวนปามี98 บางใหญ่) เรายังจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ทั้งห้างท้อปเครือเซ็นทรัล เดอะมอลล์ ฯลฯ”

สำหรับในอนาคต คุณสุเทพ กล่าวว่า จะมีทางออก 3 แนวทาง คือจะต้องวางแผนให้ผลผลิตออกก่อนฤดูหรือออกหลังฤดู ซึ่งที่สวนปามี98ได้วางแผนมา 3 ปีแล้ว และจากการทดลองเราสามารถทำให้ออกก่อนหรือหลังฤดูได้ แนวทางที่สอง จะต้องเน้นการแปรรูปให้มีความหลากหลาย อย่างที่สวนจะทำเป็นน้ำอินทผลัม หรือเครื่องดื่มสมุนไพร เช่น อินทผลัมผสมน้ำดอกอัญชัน ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีและที่กำลังจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น อินทผลัมน้ำขิง อินทผลัมกระชาย อินทผลัมฟ้าทะลายโจร อินทผลัมกัญชง อินทผลัมว่านหางจระเข้ ฯลฯ แนวทางที่สาม จะต้องเจาะตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศจีน เรามีประสบการณ์เรื่องของการส่งออกทุเรียนที่เราสามารถเปิดตลาดและครองส่วนแบ่ง 70% ของตลาดโลกได้

“ประเทศจีนไม่สามารถผลิตทุเรียนได้ดีเท่ากับเรา เช่นเดียวกับอินทผลัม เพราะว่าบ้านเขามีช่วงอากาศหนาวมากกว่าอากาศร้อน จึงยากที่จะทำผลผลิตได้คุณภาพ ซึ่งถ้าเราใช้โมเดลทุเรียนเปิดตลาดประเทศจีนได้จะทำให้เราสามารถขยายตลาดออกไปได้อีกมาก ปัญหาของเราเวลานี้คือนักวิชาการและภาครัฐยังให้ความสนใจอินทผลัมน้อยเกินไป ซึ่งผมมีความคิดว่า เราควรจะนำอินทผลัมไปให้ผู้ส่งออกได้ทดลองชิมรสชาติดู ทางสวนผมยินดีให้ความร่วมมือขายให้ในราคาพิเศษ เพื่อให้เกษตรกรทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกัน”

ในตอนท้ายคุณสุเทพมองว่า ประเทศไทยมีชัยภูมิที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรดีที่สุดในโลก จึงมีความเชื่อมั่นว่าเกษตรกรของเราสามารถทำผลผลิตได้คุณภาพ “ผมมองว่าการตลาดอินทผลัมยังไม่ค่อยน่าห่วงมากนัก ผู้บริโภคในประเทศเริ่มขยายวงกว้างขึ้น ราคาขนาดนี้ยังพออยู่ได้แต่ถ้าราคาต่ำกว่า 100 ก็จะอยู่ยากเหมือนกัน จึงฝากให้ผู้เกี่ยวข้องช่วยกันวางแผนและผลักดัน หากเราวางแผนการผลิต การแปรรูป และการกระจายตลาดได้ดีก็เชื่อมั่นว่าอินทผลัมจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืนได้” คุณสุเทพ กล่าวอย่างมั่นใจ.

การปลูกทุเรียนในพื้นที่นาหรือดินนา(ดินเหนียว)เป็นเรื่องที่หลายคนถามไถ่กันอยู่ตลอด..เกษตรก้าวไกลได้พยายามตามหาเกษตรกรต้นแบบ และในที่สุดก็ได้พบกับ คุณสุเทพ กังเกียรติกุล เจ้าของสวนปามี 98 ซึ่งมีแนวคิดในเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตรมากมาย

ตามคลิปนี้จะเป็นการบรรยายให้ความรู้ในเรื่องการปลูกทุเรียนดินนา โดยเน้นความสำคัญเรื่องการเตรียมดิน “ก่อนจะลงตัวตามที่เห็นวันนี้ ผมเคยทดลองปลูกมาหลายรอบ ตายแล้วตายเล่า ค่อยๆศึกษาเรียนรู้มาเรื่อย จนวันนี้พูดได้เต็มปากว่า ดินนาปลูกได้ แต่ต้องมีวิธีการ…” คุณสุเทพ กล่าว

วิธีการที่ว่าคือ การนำอินทรีย์วัตถุจำพวกเศษใบไม้ เน้นใบก้ามปูหรือใบจามจุรี กับฟางข้าวที่จะรับซื้อจากชาวนา มาผสมกับดินชั้นที่ 1 ในอัตราส่วนดิน 80 % ต่อใบไม้และฟางข้าว 20 % แต่วิธีการนั้นจะต้องค่อยๆผสม คลุกเคล้าดินให้เข้ากัน พลิกกลับไปมา เรียกว่าตากดินให้สุก โดยใช้เวลาประมาณ 8 เดือน โดยที่ฟางข้าวนั้นจะผสมไปทีละส่วน เช่น 1 โคก ใช้ฟางข้าว 40 ฟ่อน ก็จะผสม ครั้งละ 10 ฟ่อนต่อ 2 เดือน รวม 8 เดือน สุดท้ายจะยกเป็นโคก และผสมปุ๋ยอินทรีย์เคมีประมาณ 7-8 กิโลกรัมต่อโคก โดยที่ปุ๋ยนี้จะผสมอยู่ในระดับหน้าดินลึกลงไป 50 เซนติเมตร (โคกจะทำเป็นหมอน และตรงโคกที่ปลูกทุเรียนก็จะยกขึ้นมาอีกต่างหาก โคกจะสูงจากยอดข้าวที่อยู่ในนาข้างๆ ประมาณ 1.8 เมตร) และแต่ละโคกจะต้องมีร่องน้ำให้ระบายน้ำได้ดี

“แต่ก่อนปลูกตายแล้วตายเล่า 90% แต่ตอนนี้ปลูกรอด 99.5% คือปลูก 200 ต้น ตายแค่ 1 ต้นเท่านั้น” คุณสุเทพ กล่าวอย่างมั่นใจ

ปัจจุบันสวนปามี 98 ได้ทำเป็นศูนย์เรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยหวังว่าหลังโควิด-19 ซ่างซาลงก็จะเปิดให้ผู้สนใจได้มาศึกษาดูงานได้ ซึ่งนอกจากจะมีการปลูกทุเรียนดินนาแบบยกโคกแล้ว พืชหลักยังมีการปลูกอินทผลัม และพืชรองจะมีการปลูกส้มสายพันธุ์ดังๆจากทั่วโลก การปลูกฝรั่งหงเป่าสือ รวมทั้งการปลูกโกโก้ โดยการปลูกนั้นจะแซมอยู่ในสวนทุเรียนและสวนอินทผลัม

รายละเอียดเรื่องการปลูกทุเรียนดินนา ดูเพิ่มเติมได้จากคลิปข้างต้น (หรือคลิก https://youtu.be/9HbAN5noMyA) ส่วนการปลูกพืชชนิดอื่นๆ รวมทั้งเกร็ดความรู้ต่างๆ ชมได้ที่เพจเฟสบุ๊ค pamy98.farm และช่องยูทูป Pamy Happy Farm หรือต้องการนัดหมายเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ โทร. 0981909898 จะเปิดให้ชมในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์

31 สิงหาคม 2564 กรุงเทพฯ-โครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย ที่เริ่มต้นเปิดตัวเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ยังคงปลายแรง แม้ว่าโครงการนี้จะเริ่มมาเข้าสู่เดือนที่ 3 เข้าไปแล้ว ซึ่งตามเดิมจะจบโครงการภายใน 2 เดือน แต่ด้วยช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม สถานการณ์ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 รุนแรง จนรัฐบาลประกาศล็อกดาว์น ทำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่สีแดงไม่สามารถเดินทางข้ามเขตจังหวัดได้ จึงทำให้กระทบต่อแผนการที่จะลงพื้นที่เพื่อLIVEสดชะงักไปบ้าง แต่เมื่อสถานการณ์ที่ดูจะมีแนวโน้มจะดีขึ้นเล็กน้อยก็ทำให้บรรยายกาศต่างๆคึกคักขึ้นมาอีกครั้ง

โดยในวันนี้นั้นได้มีการจัดหัวข้อเสวนา เรื่องเทคโนโลยีการปลูกพืชในโรงเรือน ตอบโจทย์เกษตรยุคใหม่อย่างไร ซึ่งผู้ที่มาเป็นวิทยากรแบ่งปันความรู้ก็คือ คุณธีรพันธ์ มหาวนา General Manager Cultivation Management เทคโนโลยีการเพาะปลูก บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทย โดยมีคุณพรศักดิ์ พงศาปาน หรือ “ลุงพร เกษตรก้าวไกล” เป็นผู้ดำเนินรายการ

ในการเสวนาครั้งนั้นคุณธีรพันธ์ได้ให้ข้อมูลอย่างรอบด้าน Royal Online ตั้งแต่พัฒนาของโรงเรือนปลูกพืชในประเทศไทย ความจำเป็นของการปลูกพืชในโรงเรือน ประเภทของโรงเรือน องค์ประกอบเทคโนโลยีการเพาะปลูกในโรงเรือน ไม่ว่าจะเป็นระบบโรงเรือน ระบบการเพาะปลูก ระบบปรับอุณหภูมิ ระบบการควบคุม รวมไปถึงการประยุกต์การใช้งาน และเกษตรกรจะลงทุน หรือเข้าถึงระบบโรงเรือนได้อย่างไร