จากสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่สร้างผลกระทบ

ต่อประเทศชาติ และประชาชนในทุกหมู่เหล่า ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงห่วงใยพสกนิกรและพระราชทานแนวนโยบายให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ติดต่อจัดหาวัคซีนป้องกันโควิดเพื่อช่วยเหลือรัฐบาลในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน โดยเฉพาะการช่วยเหลือราษฎรผู้ด้อยโอกาส

ผู้พิการ และผู้ประสบความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 อีกทั้งยังทรงห่วงใยต่อสถานการณ์แพร่ระบาดที่เกิดขึ้นในชุมชนและแรงงานที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ยารักษาโรคโควิด 19 อาจมีจำนวนไม่เพียงพอ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี จึงทรงมีพระวินิจฉัยให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จัดยาฟาวิพิราเวียร์ จำนวน ๑๐,๐๐๐ เม็ด

เพื่อพระราชทานแก่กรุงเทพมหานคร ในการช่วยเหลือผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นมา ทรงมีพระดำรัสพระราชทานกำลังใจแก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงานช่วงวิกฤตโควิด 19 ทั้งทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่เป็นกำลังหลักทุ่มเทดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 อย่างเต็มกำลังความสามารถ อีกทั้งต้องรับภาระและความเสี่ยงสูงในการเป็นแนวหน้าต่อสู้กับสถานการณ์ดังกล่าว และพระราชทานกำลังใจแก่ประชาชนและผู้ป่วยให้หายดี

กลับมาใช้ชีวิตตามปกติกับครอบครัวอันเป็นที่รักได้โดยเร็ว รวมถึงโปรดให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรุงเทพมหานคร จัดหน่วยฉีดวัคซีนโควิด 19 ภาคสนาม ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับเป็นพระกรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ในน้ำพระทัยและความห่วงใยที่มีต่อปวงชนชาวไทยท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด 19

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงรับการถวายรางวัล“ IUTOX 2013 Merit Award” จากสหภาพพิษวิทยานานาชาติ ในพิธีเปิดการประชุมวิชาการด้านพิษวิทยานานาชาติ ครั้งที่ ๑๓ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี จากผลงานที่ทรงอุทิศพระองค์ในการจัดทำโครงการฝึกอบรมด้านพิษวิทยา และการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการได้รับสารเคมีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

โดยเฉพาะเอเชียอาคเนย์ ที่ได้ทรงดำเนินการมานับตั้งแต่ทรงสถาปนาสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงให้ความสำคัญในด้านการพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ส่งผลให้โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme/UNEP) แต่งตั้งให้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ พระองค์ทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็ง และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ทรงเป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ได้ทรงพระอุตสาหะพระราชทานการเรียนการสอนแก่นักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้าน ทรงเป็น “ทูลกระหม่อมอาจารย์” ทางปรีคลินิก ที่ทรงพระปรีชาสามารถทั้งทางด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์เชิงประยุกต์ ทรงใส่พระทัยในการเรียนการสอน จึงเป็นที่เคารพรักของนักศึกษาแพทย์ในทุกยุคทุกสมัย โดยทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอนุชีววิทยาของโรคมะเร็ง และพิษวิทยา ทรงสอนนักศึกษาแพทย์ในรายวิชาต่าง ๆ ทรงสอนวิชาชีวเคมีและพิษวิทยาแก่นักศึกษาใน มหาวิทยาลัยมหิดล โรงเรียนนายเรืออากาศ โรงเรียนนายเรือ ทั้งยังทรงเป็นพระอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหพันธรัฐเยอรมนี เป็นต้น

ด้วยพระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถ และพระกรณียกิจที่กอปรด้วยพระกรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ที่ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระราชทานแก่วงการวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย และของโลกในด้านชีวเคมีดังกล่าว รวมทั้งการสนับสนุนการวิจัยทางด้านชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งวิทยาและพิษวิทยา

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงขอมติจากสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาชีวเคมี แด่ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณให้แผ่ไพศาลและเพื่อเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สืบไป

พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ เตรียมจัดงานนิทรรศการหมุนเวียน“พันธุกรรมสร้างชีวิต” เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีด้านการอนุรักษ์พันธุกรรม พร้อมเปิดโซนใหม่เป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ “ตลาดเศรษฐกิจพอเพียง” ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯจ.ปทุมธานีระหว่าง 1- 3 เม.ย 65 นี้

พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวว่า เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรม เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพวันที่ 2 เมษายนนี้

ตลอดจนต้องการสร้างความตระหนักและปลูกจิตสำนึกแก่เยาวชน ประชาชนได้รู้จักรักและหวงแหนในพันธุกรรมท้องถิ่นดังพระราชกระแสรับสั่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “การรักทรัพยากร คือการรักชาติ รักแผ่นดิน” เกิดแรงบันดาลใจในการรักษาไว้เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติของไทยมีความอุดมสมบูรณ์อย่างมั่นคง และยั่งยืน พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯเตรียมจัดงานนิทรรศการหมุนเวียน“พันธุกรรมสร้างชีวิต” พร้อมด้วยเปิดให้เข้าเรียนหลักสูตรการอบรมวิชาของแผ่นดินและอบรมเชิงปฏิบัติการฟรี

อิ่ม อร่อย ชม ช้อป สินค้าเกษตรอินทรีย์จากร้านค้าเครือข่ายและภาคีความร่วมมือจากทั่วประเทศ ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัดระหว่างวันที่ 1-3 เมษายน 2565 นี้ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯจ.ปทุมธานีในรูปแบบ Onsite ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดปทุมธานี และทาง Online ผ่านทาง Facebook พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ

นอกจากนี้ ในการจัดงานในครั้งนี้ยังเตรียมเปิดพื้นที่แหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ “ตลาดเศรษฐกิจพอเพียง” พื้นที่แห่งการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจ “สืบสาน รักษา ต่อยอด” พระราชปณิธาน ด้านการเกษตร และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางเหมาะสำหรับการจัดงานเพื่อรองรับพี่น้องประชาชนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019อีกด้วย

พลอากาศเอก เสนาะ ได้กล่าวถึงกิจกรรมสำคัญภายในงานด้วยว่า ประกอบด้วย นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเผยแพร่พระราชปณิธานและพระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์พันธุกรรม นิทรรศการพันธุกรรมสัตว์ท้องถิ่น และนิทรรศการเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จัดแสดง 7 ฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับพันธุกรรมพืช พันธุกรรมสัตว์ อาทิ พันธุกรรมมั่งคั่ง อาหารยั่งยืน แมลงเศรษฐกิจกู้วิกฤตโปรตีนโลก สัตว์เลี้ยงทำเงิน พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาเรียนฟร เก็บเกี่ยวองค์ความรู้ที่ตกผลึกจากประสบการณ์ของวิทยากรผู้มากความสามารถ ผ่านการอบรมวิชาของแผ่นดินและอบรมเชิงปฏิบัติการกว่า 10 หลักสูตร เช่น หลักสูตรกัญชา พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ โดยอาจารย์ นพ.สมยศ กิตติมั่นคง แพทย์ประจำโรงพยาบาลบางโพ กรุงเทพฯ หลักสูตร การผลิตมูลไส้เดือนด้วยวัสดุในบ้าน โดย ผศ.ดร.วิยดา กุนทีกาญจน์ และผศ.ดร.ทรรศวรรณ ทิพยวรการกูร อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หลักสูตรการเลี้ยงไก่ไข่และไก่เนื้ออินทรีย์

โดยอาจารย์อำนาจ เรียนสร้อย แทนคุณ ออร์แกนิคฟาร์ม จ.นครปฐม และหลักสูตรพรรณไม้แปลกที่ควรปลูก โดยอาจารย์วีระยุทธ ศรีเลอจันทร์ (ทอง ธรรมดา) ศูนย์เรียนรู้เพชรพิมาย จ.นครราชสีมา เป็นต้น โดยจำกัดผู้เข้าร่วมอบรม 30 คนต่อวิชา ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และรับชมบรรยากาศการถ่ายทอดสดได้ทาง Facebook พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ

พร้อมชม ช้อปตลาดเศรษฐกิจพอเพียงพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สินค้า ผลผลิตเกษตรปลอดภัยที่คัดสรรมาให้เลือกซื้อ รวมถึงอาหารพื้นบ้านคาวหวานทั้ง 4 ภาค ที่มากด้วยคุณภาพจากผู้ผลิต ราคาเป็นกันเองกว่า 200 ร้านค้าพิเศษ ภายในงานมีการแจกพันธุกรรม “เบญจรงค์ 5 สี” ให้ประชาชนผู้มาร่วมงานกว่า 1,000 ต้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการร่วมอนุรักษ์พันธุกรรมพืชต่อไป

พร้อมกล่าวย้ำ การจัดงานในครั้งนี้ยังคงคุมเข้มมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัดผู้เข้าเยี่ยมชมงานจะต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็ม หรือมีผลตรวจ ATK โดยแสดงหลักฐานประกอบภายใน 72 ชั่วโมง พร้อมตรวจวัดอุณหภูมิทุกครั้งก่อนเข้าร่วมงาน และลงทะเบียนก่อนเข้าสถานที่ด้วย Application ไทยชนะหรือสมุดสำหรับลงทะเบียน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ facebook / Instagram /Line ID : @wisdomkingmuseum และ Youtube พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ

วันที่ 28 มีนาคม 2565 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดตัวร้านค้า THE PREMIUM @ KU เฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นร้านค้าจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรต้นแบบครั้งแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อทดสอบระบบการจัดทำตลาดสินค้าเกษตรคุณภาพสูง ของมหาวิทยาลัย โดยเชื่อมโยงทุกหน่วยงาน ภายใต้สังกัดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีผลงานวิจัย และนวัตกรรมทางด้านสินค้าเกษตร แบบครบวงจร 360 องศา มุ่งเน้นผลลัพธ์เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย

เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของภาคการเกษตร สิ่งแวดล้อม และสังคมไทย ภายใต้นโยบายเชิงรุก KUniverse ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมผ่านสินค้าเกษตรคุณภาพสูงและบริการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยตาม BCG Model ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการเกษตรและอาหารคุณภาพของภูมิภาคเอเชียและของโลก โดยมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ เช่น เทคโนโลยี XR หรือ Extended Reality ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่รวมเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน

(Virtual Reality – VR) ความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality – AR) และ มิกซ์เรียลริตี้ (Mixed Reality – MR) เข้าด้วยกัน มาช่วยในการบริหารจัดการร้านค้า เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการให้กับลูกค้าได้อย่างเหนือจินตนาการ นอกจากนี้ เทคโนโลยีเสมือนจริงบนโลกออนไลน์ ยังสามารถเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ ผลผลิตของชุนชน เกษตรกร Smart farmer, AgriPrenuer และ SME ได้ง่าย มีต้นทุนต่ำ สร้างการกระจายรายได้สู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างชุมชนเข้มแข็งสู่พัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย

ดร.กฤษพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ร้านค้า THE PREMIUM @ KU เป็นรูปแบบร้านค้าที่ส่งมอบคุณค่าเพิ่มของผลผลิตทางการเกษตร และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร จากผลงานค้นคว้าวิจัย นวัตกรรม องค์ความรู้ของหน่วยงานภายใต้สังกัดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเครือข่ายทั้งภาครัฐ และเอกชน ซึ่งทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายทั้งหมดในร้าน THE PREMIUM @ KU เป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ที่มีมูลค่าเพิ่ม และคุณค่าที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภค

สร้างความยั่งยืนให้กับสังคม และเศรษฐกิจ ในอนาคต ผมเชื่อมั่นว่าสิ่งเหล่านี้ จะกลายเป็นบรรทัดฐานของร้านค้าแห่งคุณภาพ และการสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานของสังคมไทย และระดับนานาชาติ นับว่าเป็นการเปิดมุมมองความคิดร้านค้าจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรต้นแบบ ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์เพื่อสุขภาพของคนไทย

เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของภาคการเกษตร สิ่งแวดล้อม และสังคมไทย มากกว่าที่จะเน้นเพียงยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และในโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงอาจกล่าวได้ว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ก้าวเดิน ไปสู่องค์กรแห่งการให้ เพื่อความสุข ความยั่งยืนของสังคมไทยอย่างแท้จริง จากปรัชญาแนวคิด KUniverse ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ด้าน ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีนโยบายเชิงรุกที่เรียกว่า KUniverse เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานทุกหน่วยงานให้สนับสนุนการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยตาม BCG Model โดยอุตสาหกรรมการเกษตร จัดเป็นส่วนสำคัญที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจประเทศไทย ทั้งนี้ BCG Model ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถูกขับเคลื่อนในจักรวาล KUniverse ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำลังทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของโลกเศรษฐกิจ

เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Enhancing Our Quality of Life and the Environment) ด้วยบทบาทสำคัญ 7 ประการ ได้แก่ 1). สร้างองค์ความรู้ให้นิสิต เกษตรกร และผู้ประกอบการ 2). มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาที่นำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการของ SMEs และเกษตรกรรม 3). บริการรับรองคุณภาพ และมาตรฐานสินค้า เพื่อยกระดับความน่าเชื่อถือ ของสินค้าและบริการ 4). ติดอาวุธให้เกษตรกร และผู้ประกอบการผ่านงานบริการวิชาการ และปรึกษา 5). สร้าง KU Market Place ที่ใช้หลักการเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) 6). สร้าง KU Business Ecosystem พร้อมทั้งผนึกกำลังการส่งเสริมผ่าน ทุกวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ 7). จัดตั้ง Spin-Off Company ภายใต้ KU Holding Company เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สนับสนุนภาคเอกชนได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

สำหรับร้านค้า THE PREMIUM @ KU ถือเป็นก้าวแรกของการจัดทำรูปแบบร้านค้าจำลองเพื่อทดสอบระบบการจัดทำตลาดสินค้าเกษตรคุณภาพสูง ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเชื่อมโยงทุกหน่วยงาน ภายใต้สังกัดของมหาวิทยาลัย ที่มีผลงานวิจัย และนวัตกรรมทางด้านสินค้าเกษตร ในระยะถัดไปจะมีการเชื่อมโยงกับสินค้าของเกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐาน KU Standard เข้ามาเพิ่มในระบบอีกด้วย และการดำเนินงานครั้งนี้จะนำไปสู่บทเรียนแห่งการเรียนรู้ที่สำคัญในการทำธุรกิจตลาดสินค้าเกษตรขนาดย่อม ซึ่งอาจเติบโตไปถึงขนาดใหญ่ในอนาคต ที่สามารถยกระดับสู่การวางแผนการดำเนินงานของการศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาพื้นที่ด้านถนนวิภาวดีรังสิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

ในอนาคตสินค้าของมหาวิทยาลัยจะถูกบริหารจัดการผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการคุณภาพสูงด้านเกษตรและอาหารแบบครบวงจร 360 องศา มีระบบการรับรองมาตรฐานคุณภาพขั้นสูง KU quarantine ด้วยการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์และการผลิต จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัย สอดคล้องรองรับกับการจัดงานต่าง ๆ เพื่อยกระดับสินค้า และผลิตภัณฑ์อาหารไทยเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงจากแหล่งกำเนิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ภาคีเครือข่ายคณะทำงานนโยบายบูรณาการส่วนงานเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

อาทิ คณะเกษตร คณะเกษตรกำแพงแสน คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์เทคโนโลยีเกษตร และนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center: AIC) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่

ส่วนร้านอาหาร KU KIN DEE U-DEE “เคยู กินดีอยู่ดี” นั้น เปิดขึ้นมาเพื่อให้บริการแก่อาจารย์ บุคลากร นิสิต และบุคคลทั่วไป โดยใช้วัตถุดิบชั้นดีมีคุณภาพจากกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือเกษตรกรและผู้ผลิตที่มีอยู่กับคณะ สถาบัน และสถานีวิจัยต่างๆของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการโดยภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านคหกรรมศาสตร์ อีกทั้งเป็นต้นแบบของการดำเนินการที่บูรณาการความรู้และเครือข่ายอย่างครบวงจร เพื่อเผยแพร่อาหารไทย อาหารนานาชาติ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ในรูปแบบของ food street ร้านอาหาร และ food delivery ขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาหารคุณภาพของภูมิภาคเอเชียและของโลกและเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ร้านค้า THE PREMIUM @ KU ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ KU AVENUE ประตูงามวงศ์วาน 3 เปิดบริการทุกวัน เวลา 9.00 -17.00 น. และจำหน่ายทางช่องทางออนไลน์ ผ่าน http://www.kubookol.com / โดยนำสินค้าเกษตรคุณภาพสูงและโดดเด่นด้วยนวัตกรรมงานวิจัย จากทุกวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มารวมไว้ให้บริการ อาทิ เครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชูผสมน้ำผลไม้หมักจากธรรมชาติ ช่วยในการย่อยอาหาร เครื่องดื่มน้ำกัญชาโซดาคร้าฟ เครื่องดื่มคร้าฟโซดากลิ่นโซจู รสเหล้าบ๊วยสูตรกัญชาพิเศษ ช่วยให้ผ่อนคลาย บำรุงร่างกาย ทำให้หลับลึก และชะลอการสะสมของไขมันและน้ำตาลในเลือด กรีกโยเกิร์ตเสริมพรีไบโอติก ช่วยรักษาสมดุลของระบบทางเดินอาหาร และปรับสมดุลระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้เป็นปกติ ลูกชิ้นหมูแท้ ไส้กรอกไก่รมควัน ไก่จ๊อ ปราศจากผงชูรส และสารกันเสีย เนื้อโคขุนอบกรอบ เนื้อโคพันธุ์กำแพงแสน ผักผลไม้อบกรอบด้วยนวัตกรรมเครื่องทอดสูญญากาศ ไข่ทองคำ ข้าวโพดสีม่วง น้ำนมข้าวโพดหวานไร่สุวรรณ นมเกษตร ไอศกรีม เป็นต้น

ผศ.ดร.คมสัน โสมณวัตร รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มียุทธศาสตร์ในการเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้และบริการวิชาการชั้นนำ และการพัฒนางานวิจัยเพื่อต่อยอดสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนได้มีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่ม Startup และ OTOP เพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน สร้างอาชีพและรายได้ของคนในชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จึงได้ร่วมมือกับชุมชนบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เปิดตัว “ศูนย์เรียนรู้กลุ่มปั้นหม้อเขียนสี บ้านเชียง” เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ถ่ายทอดเรื่องราวมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าภูมิปัญญาการปั้นหม้อเขียนสีเอกลักษณ์บ้านเชียง ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่

ทั้งนี้ กลุ่มปั้นหม้อเขียนสี เป็นกลุ่มอาชีพหนึ่งของตำบลบ้านเชียง โดยเน้นผลิตเครื่องปั้นดินเผาอย่างครบวงจรที่สืบสานวิธีการหรือกระบวนการดั้งเดิม ตั้งแต่การปั้น เผา เขียนลายเขียนสี และต่อยอดพัฒนาเครื่องปั้นดินเผานั้นให้เป็นของที่ระลึกสำหรับจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณะที่เกี่ยวข้องได้บูรณาการร่วมกันนำองค์ความรู้และงานวิจัยไปถ่ายทอดให้กับสมาชิกกลุ่ม เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาให้มีคุณภาพมาตรฐาน

มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเสริม การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวผลิตภัณฑ์ การหาช่องทางการจัดจำหน่าย ไปจนถึงการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในร้านค้าปลีกของกลุ่ม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการค้าให้มีมาตรฐานสากลและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ยกระดับไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และ สำหรับผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ ข้อมูลด้านองค์ความรู้ต่างๆ สามารถติดตามผลงานของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้ทาง www.ird.ssru.ac.th และ www.ssru.ac.th อีกด้วย ผศ.ดร.คมสัน กล่าว

ด้าน นายชาตรี ตะโจประรัง ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปั้นหม้อเขียนสี บ้านเชียง กล่าวว่า กลุ่มปั้นหม้อเขียนสีบ้านเชียงมีการทำเครื่องปั้นดินเผามานานแล้ว เป็นการผลิตแบบดั้งเดิมตามภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถ่ายทอดกันมารุ่นสู่รุ่น แต่พอทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้นำองค์ความรู้ต่างๆ มาสอนให้ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การปั้น การลงสี การเผา รวมทั้งมาสร้างเตาเผาใช้พลังงานลมทดแทน ใช้เทคโนโลยีควบคุมอุณหภูมิ ช่วยร่นระยะเวลาในการเผาจากเดิมที่ต้องใช้เวลาเป็นวันเหลือเพียง 5 ชั่วโมง และยังทำให้เครื่องปั้นดินเผามีความแกร่งแข็งแรง ลดอัตราการสูญเสียลงได้เกือบ 100% นอกจากนี้ ยังช่วยหาช่องทางการตลาด ทำให้คนรู้จักผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมากขึ้น

สำหรับผู้ที่สนใจอยากมาศึกษาวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชุมชนชาวบ้านเชียง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแหล่งวัฒนธรรม หรือมาเรียนรู้วิธีการปั้นเครื่องปั้นดินเผา ติดต่อได้ที่ ศูนย์เรียนรู้กลุ่มปั้นหม้อเขียนสี ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี เปิดทุกวันไม่มีวันหยุด หรืออุดหนุนสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ที่เพจเฟสบุ๊ค : ศูนย์เรียนรู้กลุ่มปั้นหม้อเขียนสี โทร. 089-4210068

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี นายทรงศักดิ์ วลัยใจ นายอำเภอพร้าว นายสุริยะ คำปวง สหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ นายไพโรจน์ มหาวัน ประธานกรรมการสหกรณ์ฯ หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ สมาชิกสหกรณ์ และเกษตรกร ให้การต้อนรับ ณ สหกรณ์การเกษตรโหล่งขอดสามัคคี จำกัด ตำบลโหล่งขอดสามัคคี อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบอุปกรณ์การตลาด สิ่งก่อสร้าง อาทิ รถแทรกเตอร์พร้อมอุปกรณ์ เครื่องอบลดความชื้นพร้อมโรงคลุม เครื่องชั่งรถบรรทุกพร้อมอุปกรณ์และห้องควบคุม รถตักล้อยาง รถยกพาเลท โกดัง และลานตากคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายใต้โครงการปรับโครงสร้างการผลิต การรวบรวม การแปรรูป ของสถาบันเกษตรกร รองรับผลผลิตทางการเกษตร

ปีงบประมาณ 2564 ให้แก่สถาบันเกษตรกร 8 แห่ง ได้แก่ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรภาคเหนือ จำกัด สหกรณ์โคนมแม่ออน จำกัด สหกรณ์โคนมสันกำแพง (ป่าตึงห้วยหม้อ) จำกัด สหกรณ์การเกษตรแม่แจ่ม จำกัด สหกรณ์การเกษตรโหล่งขอดสามัคคี จำกัด สหกรณ์การเกษตรดอยสะเก็ด จำกัด สหกรณ์การเกษตรฝาง จำกัด และสหกรณ์การเกษตรสันป่าตอง จำกัด รวมมูลค่า 65,602,783 บาท ทั้งนี้ สหกรณ์การเกษตรโหล่งขอดสามัคคี จำกัด ได้ขับเคลื่อนงานนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ด้านการพัฒนาสหกรณ์ให้เกิดความเข้มแข็ง

ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมสหกรณ์เพื่อก่อสร้างลานตาก คอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นที่ไม่น้อยกว่า 3,200 ตารางเมตร เพื่อใช้รวบรวมผลผลิตทางการเกษตร อาทิ ข้าว มันฝรั่ง ลำไย มะม่วงของสมาชิกสหกรณ์และเกษตรทั่วไป ซึ่งมีการใช้ประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างหมุนเวียนตลอดทั้งปี ส่งผลให้สามารถลดต้นทุน เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร สมาชิกสหกรณ์ รวมทั้งมีการวางแผนการใช้ประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างให้มีความคุ้มค่าสูงสุด ช่วยเหลือสมาชิกและเกษตรกรในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงต่อไป

“ขอชื่นชมสหกรณ์การเกษตรโหล่งขอดสามัคคี จำกัด และสหกรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ที่ให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามนโยบายต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงนโยบายที่สำคัญของกรมส่งเสริมสหกรณ์ด้วยดีเสมอมา สหกรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ได้ขับเคลื่อนนโยบายสำคัญและงานเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาลได้หลายเรื่อง เช่นโครงการปรับโครงสร้างการผลิต

การรวบรวม และการแปรรูปของสถาบันเกษตรกร รองรับผลผลิตทางการเกษตร เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้สหกรณ์แม่ข่าย สหกรณ์ลูกข่ายขั้นกลาง และขั้นต้น เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมจัดเก็บและแปรรูป จำหน่าย กระจายผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสหกรณ์ด้วยกัน มีการให้บริการสมาชิกเพื่อลดต้นทุน และสร้างรายได้ให้กับสมาชิกสหกรณ์ รวมถึงลดการใช้สารเคมีอันตรายและส่งเสริมให้มีการผลิต การตลาด สินค้าเกษตรปลอดภัย “

“โครงการลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร เพื่อสนับสนุนให้ลูกหลานสมาชิกสหกรณ์ หรือบุคคลทั่วไปที่ไปประกอบอาชีพต่างจังหวัดกลับมาทำการเกษตรที่บ้านเกิด โดยมีสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่คอยเป็นพี่เลี้ยง ตลอดจนการจัดหาตลาดรองรับ นโยบายตลาดนำการผลิตเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพเป็นไปตามความต้องการของตลาด หรือผู้บริโภคปลายทาง

โครงการซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร ส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงสินค้าเกษตร ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ รวมถึงเครือข่ายสหกรณ์ด้วยกันเอง ขอเชิญชวนสหกรณ์ทุกแห่งร่วมกันพัฒนาสหกรณ์ ให้มีความเข้มแข็ง ช่วยกันส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้เป็นสินค้าเกษตรปลอดภัย มีคุณภาพ ลดการใช้สารเคมี ช่วยกันขับเคลื่อนงาน เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้เพิ่มและมีความมั่นคงในอาชีพ อีกทั้งให้มีการวางแผนการใช้ประโยชน์ จากโครงการที่รัฐบาลให้งบประมาณสนับสนุนให้เต็มศักยภาพ” รมช.มนัญญา กล่าว

จากนั้น ได้พบปะหัวหน้าส่วนราชการ สมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนในพื้นที่ที่มารอต้อนรับ และเยี่ยมชมนิทรรศการการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ฯ และบูธจัดแสดงสินค้าทางการเกษตรของกลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์กลุ่มเกษตรกร ได้แก่ และพบปะเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพทางการเกษตร ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 ราย นำโดย นายสถาพร คิดไชย อายุ 47 ปี นำผลผลิต ปลากดหลวงรมควัน ผักผลไม้อินทรีย์ ซึ่งผลผลิตได้รับรอง PGS (Participatory Guarantee Systems)

เป็นระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม รับรองคุณภาพที่มุ่งเน้นการรับประกันคุณภาพในท้องถิ่น ตนเองเริ่มทำเกษตรปี 2557 ทำไร่นาสวนผสม อาทิ มันเทศญี่ปุ่น ข้าวอินทรีย์ ข้าวเหนียวสันป่าตอง ข้าวจ้าวมะลิ 105 คะน้า ผักกาด ลำไย มะพร้าวน้ำหอม มะม่วง และประมงน้ำจืด เช่น เลี้ยงปลา เลี้ยงกระบือ ทำเกษตรแบบอินทรีย์มีตลาดและสามารถจำหน่ายผ่านบูท งานแสดงสินค้า ตลาดออนไลน์ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรและประมง สร้างรายได้พอเพียงตลอดปี

ด้าน นางสาวพัฒนา ขจรศรี อายุ 45 ปี นำสินค้าและผลิตภัณฑ์แปรรูป ได้แก่ มะม่วง มัลเบอรี่ผลสด แยมผลไม้ ชาผลไม้ มาร่วมจัดจำหน่าย ตนเองมีพื้นที่ทำการเกษตรในอำเภอพร้าว ทำการปลูกพืชผสมผสานสลับหมุนเวียน ปลูกข้าวจ้าวไร่ พืชผักสวนครัว ลำไยอีดอ ลำไยสีชมพู มะม่วงแก้วขมิ้น มะม่วงงาช้างแดง และแปรรูปสินค้าการเกษตรจากผลผลิตในสวน

ปัจจุบันมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของตนเอง คาสิโนออนไลน์ เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิตในสวนให้มีราคาตามที่ตลาดต้องการ และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวด้วย นอกจากนี้ ยังมีผลผลิต หน่อไม้ฝรั่ง ลูกหมูดำ หมูแม่พันธ์ ของนางสาวทิพวรรณ นาวิเคาะ ผลผลิต ข้าวเหนียวหอม ผักอินทรีย์ มะม่วง ของนายสมบัติ มั่งคำ และผลผลิต กระเทียมดอง มะม่วงแช่อิ่ม ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐาน อย. ของนายวรชัย ทองคำฟู

ในส่วนของกิจกรรมชิม ช้อป เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาจับจ่าย

ใช้สอย ชิม ช้อปชมนิทรรศการสัมผัสการเรียนรู้ ถ่ายทอดนวัตกรรม จาก ชาวสวนมะม่วง 100 สวนทั่วไทย ตอบโจทย์ : ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ จำหน่าย กิ่งพันธุ์ ผลมะม่วงสด 200,000 ลูก อาหารผลิตภัณฑ์คุณภาพ การประกวดอาหาร & ผลิตภัณฑ์มะม่วงไทย และบริการจัดส่งไปรษณีย์ให้คนรักถึงผู้รับปลายทางในงานนี้ได้ทันที

เมื่อ 15 มี.ค.65 ที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจค้าปลีกในเครือซีพี ประกอบ ด้วยบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (โลตัส) ได้จัดให้มีการปฐมนิเทศและเตรียมความพร้อมเข้าร่วมเจรจาธุรกิจ โครงการแพลตฟอร์มแห่งโอกาส “SME Online Business Matching ครั้งที่ 1/2565” ผ่านระบบออนไลน์

โดยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีคุณสมบัติผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการจำนวน 110 ราย ทั้งนี้โดยมีนายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนเครือฯเป็นประธานในการปฐมนิเทศและเตรียมความพร้อมแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และมีผู้บริหารจาก 3 ธุรกิจค้าปลีกร่วมพบปะกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเพื่อชี้ให้เห็นถึงโอกาสในการเข้าร่วมเจรจาธุรกิจกับเครือซีพีผ่านแพลตฟอร์มแห่งโอกาส ก่อนที่จะเปิดเวทีจับคู่เจรจาธุรกิจระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคมที่จะถึงนี้

นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจจำนวนมาก เครือเจริญโภคภัณฑ์โดยนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือฯ จึงมีนโยบาย “แพลตฟอร์มแห่งโอกาส” เพื่อให้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ในการช่วยฟื้นฟูประเทศไทย ช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีพัฒนาศักยภาพ

พร้อมเปิดประตูไปสู่โอกาสใหม่ ๆ เพื่อการเติบโตทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยจะมีการแบ่งปันข้อมูลตลาดให้เอสเอ็มอี พัฒนาช่องทางขาย รวมไปถึงการสนับสนุนสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และมีการให้องค์ความรู้เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพสินค้า เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด รวมถึงเครือซีพีพร้อมที่จะนำพาสินค้าของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและเกษตรกรไทยไปสู่ตลาดอาเซียนและภูมิภาคเอเชียใต้ เพื่อสร้างระบบนิเวศให้กับกลุ่มผู้ประกอบการได้มีโอกาสในการแข่งขันบนเวทีโลก

ในการนี้ นายกมล พงษ์ประยูร ที่ปรึกษา บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เวทีจับคู่ธุรกิจ “SME Online Business Matching” เป็นหนึ่งในกิจกรรมนำร่องแพลตฟอร์มแห่งโอกาส ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะได้เจรจาธุรกิจกับธุรกิจค้าปลีกในเครือซีพีพร้อมกันในคราวเดียวถึง 3 ราย ได้แก่ แม็คโคร , โลตัส และ 7 อีเลฟเว่น โดยสินค้าที่ผ่านการคัดเลือกสามารถจำหน่ายได้ทั้งช่องทาง Online และ On Shelf รวมถึงส่งออกไปต่างประเทศ

ด้าน นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจของแม็คโครมีแนวทางการทำงานสนับสนุนเอสเอ็มอีและเกษตรกรไทยร่วมกันแบบ “คู่ค้าพันธมิตร” เพื่อเติบโตไปด้วยกัน ฉะนั้นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพทางธุรกิจ ทางแม็คโครพร้อมสนับสนุนเสริมสร้างศักยภาพในทุกมิติ ทั้งการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค การให้โอกาสในการเข้าถึงช่องทางจำหน่ายสินค้าที่หลากหลายทั้งออนไลน์และออฟไลน์

เพื่อสร้างยอดขายและทำกำไรให้ผู้ประกอบการมากขึ้น รวมไปถึงการจัดเตรียมทีมงานเพื่อแบ่งปันประสบการณ์และองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจ และหากผู้ประกอบการที่มีความพร้อมจะขยายสินค้าเพื่อส่งออกทางแม็คโครพร้อมที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแพลตฟอร์มแห่งโอกาสในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและเกษตรกรไทยสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในตลาดโลก

ขณะเดียวกัน นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืนและกฎหมาย บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (โลตัส) กล่าวว่า โลตัสมีความมุ่งมั่นสนับสนุนผู้ประกอบการและเกษตรกรไทยมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ประกอบการที่มีความพร้อมทางโลตัสจะมีทีมงานช่วยผลักดันและพัฒนาสินค้าเพื่อวางจำหน่ายในสาขากว่า 2,322 แห่งทั่วประเทศ รวมไปถึงการสนับสนุนช่องทางออนไลน์เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น โดยผู้ประกอบการในระดับเริ่มต้นทางโลตัส เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้เปิดบูธจำหน่ายสินค้า ทดลองตลาด สร้างการรับรู้ และขยายฐานลูกค้าผ่านพื้นที่ศูนย์การค้าของโลตัสทั่วประเทศ นอกจากนี้ทางโลตัสพร้อมสนับสนุนทีมงานให้คำปรึกษาในด้านต่าง ๆ เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพสินค้าและ มาตรฐานการผลิตอีกด้วย

ในการปฐมนิเทศครั้งนี้ถือเป็นการติวเข้มแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้เข้าใจถึงขั้นตอนและวิธีการเจรจาจับคู่ธุรกิจแบบออนไลน์ รวมถึงรายละเอียดที่สำคัญต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เตรียมความพร้อมในการเจรจาจับคู่ธุรกิจที่จะมีขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 17-18 มีนาคมนี้ โดยมีบริษัท ซีพี ออริจิน จำกัด เป็นผู้สร้างแพลตฟอร์มในการพัฒนาเอสเอ็มอี ภายใต้โครงการแพลตฟอร์มแห่งโอกาส ให้ข้อแนะนำในการที่จะนำพาเอสเอ็มอีเข้ามาร่วมเป็นธุรกิจกับเครือซีพี ซึ่งแพลตฟอร์มนี้จะสนับสนุนองค์ความรู้ การจัดหาวัตถุดิบที่ดี ช่องทางการจัดจำหน่าย รวมถึงการให้คำแนะนำในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งเป็นตำราสำคัญที่จะทำให้เอสเอ็มอีประสบความสำเร็จ พร้อมนำพาเอสเอ็มอีและเกษตรกรไทยเข้าสู่ตลาดโมเดิร์นเทรดทั้งในไทยและต่างประเทศ

หนึ่งในผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าจะเข้าร่วมการเจรจาจับคู่ธุรกิจในโครงการนี้ คือ นายไพศาล กิตติฤดีกุล จาก บริษัท ไทยโคโค่ฟาร์ม จำกัด เปิดเผยว่า ขอบคุณทางเครือซีพีที่สร้างแพลตฟอร์มแห่งโอกาสด้วยการจัดเวทีการเจรจาธุรกิจออนไลน์ครั้งนี้ขึ้นมา ถือเป็นจุดเริ่มต้นของผู้ประกอบการไทยที่ได้มีโอกาสในการนำเสนอสินค้ากับ 3 กลุ่มธุรกิจค้าปลีกใหญ่ทั้ง เซเว่น อีเลฟเว่น แม็คโคร และโลตัสในครั้งเดียว ซึ่งเวทีนี้ยังได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้รับองค์ความรู้นำไปต่อยอดพัฒนาสินค้าให้มาตรฐาน รวมไปถึงช่องทางจำหน่ายสินค้าที่มีความหลากหลายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ นอกจากนี้เครือซีพียังให้การสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีความพร้อมขยายตลาดไปต่างประเทศอีกด้วย นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของผู้ประกอบการที่จะเพิ่มยอดขายและมีโอกาสได้ฟื้นธุรกิจที่ตอนนี้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เป็นอย่างมากให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง

อีกหนึ่งเสียงจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอี คือ นางสาวอมรรัตน์ อมรพิมล เจ้าของผลิตภัณฑ์ AVA Mineral Water Purifying OverNight Mask มาสก์สูตรน้ำแร่บริสุทธิ์ กล่าวว่า การที่เครือซีพีได้สร้างแพลตฟอร์มแห่งโอกาส เป็นช่องทางที่เป็นประโยชน์อย่างมากให้กับผู้ประกอบการไทย เพราะมีโอกาสไม่ง่ายนักที่จะได้เข้ามาเจรจาธุรกิจกับเครือข่ายค้าปลีกค้าส่งพร้อม ๆ กัน โดยมองว่าการได้เข้าร่วมเวทีครั้งนี้จะสามารถนำองค์ความรู้ รวมทั้งคำแนะนำในการทำการตลาดในแต่ละแพลตฟอร์มไปพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพตามมาตรฐานทางการผลิตที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ธ.ก.ส. ร่วมกับ กอช. เดินหน้าส่งเสริมการออมให้เกษตรกรและประชาชนผู้ประกอบอาชีพอิสระ พร้อมให้บริการออกสมุดเงินออมแก่สมาชิก กอช. ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อใช้ตรวจสอบยอดเงินออม เงินสมทบจากรัฐและผลประโยชน์เพิ่มจากการออม สร้างความมั่นใจให้กับสมาชิก เริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (คลิกชมบรรยากาศสดๆ https://fb.watch/bSqymFcDWU/)

วันนี้ (19 มีนาคม 2565) ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตดอกเบญจมาศแปลงใหญ่บ้านตาติด ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือการให้บริการหน่วยรับสมัครสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ ระหว่าง นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) และ นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) โดยมี นางสาวชุณหจิต สังข์ใหม่ รองปลัดกระทรวงการคลัง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ ร่วมเป็นสักขีพยาน และ นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยประชาชนในพื้นที่ให้การต้อนรับ

หลังพิธีลงนาม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ภาครัฐให้ความสำคัญกับการวางแผนออมเงินของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยได้กำหนดให้การออมเป็นวาระแห่งชาติ มุ่งหวังให้ประชาชนได้มีความมั่นคงในบั้นปลายชีวิตหลังอายุ 60 ปี พร้อมสร้างวินัยการออมในทุกช่วงวัย ผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ซึ่งถือเป็นกองทุนการออมภาคประชาชน เป็นกลไกส่งเสริมการออมของประชาชนที่เป็นแรงงานนอกระบบ ไม่มีสวัสดิการรองรับ เช่น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร ชาวไร่ชาวนา อสม. พ่อค้าแม่ค้า

เพียงแค่สมัครเป็นสมาชิก กอช. ในส่วนของ ธ.ก.ส. เป็นธนาคารที่ให้บริการกับเกษตรกร และประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะในภาคชนบท โดยยังมีการส่งเสริมการออมให้สถานศึกษาในรูปแบบโรงเรียนธนาคารแก่นักเรียน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ทั้ง 2 หน่วยงาน ได้ร่วมกันผนึกกำลังขับเคลื่อนส่งเสริมการออมให้ประชาชน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ได้มีการตระหนักถึงการวางแผนทางการเงิน เพื่อให้มีเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณโดยเฉพาะในวันที่ไม่มีแรงทำงาน จะได้มีเงินออมส่วนนี้ไว้ใช้จ่ายรายเดือน

นอกจาก ธ.ก.ส. จะเป็นหน่วยรับสมัคร และส่งเงินออมของสมาชิกให้ กอช. แล้ว ธ.ก.ส. ยังพร้อมเป็นหน่วยให้บริการออกสมุดเงินออม (Passbook) ให้แก่สมาชิก กอช. เพื่อใช้ในการตรวจสอบยอดเงินออมของตนเอง ยอดเงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบ รวมถึงผลประโยชน์เพิ่มจากการเงินออมสะสมและเงินสมทบจากรัฐ เพื่อให้สมาชิกมีความเชื่อมั่นในการออม นอกจากนี้สมาชิกยังสามารถดูความเคลื่อนไหวของเงินออม กอช. ผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน “กอช.” ได้ด้วย โดยความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันส่งเสริมให้ คนไทยได้รู้จักออมเงินกับ กอช. อีกทั้งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนคนไทยให้ดีขึ้น โดยไม่เป็นภาระของลูกหลานในยามชรา

นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ กล่าวว่า กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการสร้างหลักประกันที่มั่นคงในวัยเกษียณให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เริ่มต้นตั้งแต่วัยเรียนอายุ 15 ปี จนเข้าสู่วัยทำงานถึงอายุ 60 ปี ออมขั้นต่ำเพียง 50 บาท สูงสุด 13,200 บาทต่อปี พร้อมรับเงินสมทบจากรัฐตามช่วงอายุสูงสุด 100% หรือ ไม่เกิน 1,200 บาท ต่อปี สมาชิกจะได้รับเงินสมทบจากรัฐในเดือนถัดไป การส่งเงินออมสะสมกับ กอช. เป็นการออมภาคสมัครใจ ไม่จำเป็นต้องออมเท่ากันทุกปี สมาชิกสามารถส่งเงินออมได้ตามกำลัง สามารถส่งเงินออมตั้งแต่อายุยังน้อย จำนวนเงินไม่มาก จะได้มีบำนาญใช้ตลอดชีพ

ที่ผ่านมา ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนส่งเสริมการออม พร้อมให้บริการสมาชิก กอช. ด้วยดีมาตลอด อีกทั้งเป็นหนึ่งในหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด ปัจจุบัน กอช. มีจำนวนสมาชิกประมาณ 2,467,437 คน กองทุนมีมูลค่าสินทรัพย์ ทั้งสิ้น 10,832.34 ล้านบาท มีสมาชิก กอช. เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรสูงสุด คิดเป็น 46% ช่วงอายุสมาชิกที่มีการออมสูงสุด ในช่วงอายุ 31 – 50 ปี คิดเป็น 42% มีสมาชิก กอช. ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 44% อยู่พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 117,336 คน เงินออมรวม 208,441,199.76 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565)

และในครั้งนี้ทาง ธ.ก.ส. ได้เพิ่มการให้บริการแก่สมาชิก กอช. ในการเป็นหน่วยให้บริการออกสมุดเงินออม (Passbook) ตามความต้องการของสมาชิกได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยสมาชิกจะสมัครหรือส่งเงินออมกับ กอช. ที่ไหน ก็สามารถขอรับสมุดเงินออม กอช. ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งทาง ธ.ก.ส. ได้อำนวยความสะดวกในการพิมพ์รายการเคลื่อนไหวทางบัญชีให้กับสมาชิก ทั้งเงินออมสะสม เงินสมทบจากรัฐ ผลประโยชน์ของเงินออมสะสมและเงินสมทบจากรัฐ

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ธ.ก.ส.ได้เล็งเห็นความสำคัญของการออม เพื่อสวัสดิภาพของประชาชนในด้านการวางแผนทางการเงิน โดยที่ผ่านมา ธ.ก.ส. ได้เป็นหน่วยให้บริการ ทั้งการรับสมัครสมาชิก กอช.และ ส่งเงินออมสะสม โดยมีบริการหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ (Direct Debit) รายเดือน ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ธ.ก.ส. ได้ให้บริการสมาชิก กอช. จำนวน 1,112,703 คน เป็นเงินจำนวนกว่า 2,645 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565)

โดยในปีนี้ ธ.ก.ส. ได้ร่วมมือกับ กอช. ยกระดับการให้บริการ ด้วยการออกสมุดเงินออมและบริการพิมพ์รายการเคลื่อนไหวในบัญชีแก่สมาชิก กอช. ที่ต้องการทราบจำนวนเงินสมทบของตัวเอง เงินสมทบจากรัฐบาล และผลประโยชน์เพิ่มจากการออมอย่างต่อเนื่อง เพิ่มความอุ่นใจในการสะสมเงินออมมากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปเป็นข้อมูลเพื่อวางแผนการเงินของตนเองต่อไป ทั้งนี้ ธ.ก.ส. พร้อมเปิดให้บริการออกสมุดเงินออมสะสม กอช. (Passbook) เพียงสมาชิกแสดงบัตรประจำตัวประชาชนติดต่อขอเข้ารับสมุดออมเงิน กอช. ได้ตั้งแต่วันนี้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ ธ.ก.ส. 1,020 สาขาทั่วประเทศ

สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 7 /2564 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาชีวเคมี แด่ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ด้วยพระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถ และพระกรณียกิจที่กอปรด้วยพระกรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ที่ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระราชทานแก่วงการวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยและของโลกในด้านชีวเคมี รวมทั้งการสนับสนุนการวิจัยทางด้านชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งวิทยาและพิษวิทยา

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ตามที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าน้อง นางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ พระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2563 แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างวันที่ 21 – 25 มีนาคม 2565 ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ ในการนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จึงขอพระราชทานทูลเกล้า ฯ ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาชีวเคมี แด่ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2563 วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2565 อีกทั้งได้รับพระราชทานพระอนุญาตให้จัดพิมพ์หนังสือสดุดีเฉลิมพระเกียรติ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เรื่อง “เจ้าฟ้านักปราชญ์ชีวเคมี”

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงสนพระทัยวิชาคำนวณและวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ โดยทรงเลือกเรียนสายวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อนำความรู้มาต่อยอดทำประโยชน์เพื่อความสุขของประชาชน ดังพระดำรัสว่า “สมเด็จแม่เคยรับสั่งว่าทรงมีลูกเพียง ๔ คน โปรดที่จะให้ศึกษาในแขนงวิชาต่างๆ กัน เพื่อที่จะได้มาทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้หลายด้าน ดังนั้น เมื่อสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงศึกษาด้านอักษรศาสตร์ก่อนแล้ว จึงได้ตัดสินใจมาเรียนด้านวิทยาศาสตร์ แม้จะชอบด้านศิลปะก็ตาม” ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงอุทิศพระวรกายเพื่ออาณาประชาราษฎร์ให้มีความสุข อยู่ดีกินดี และร่วมพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ทรงตั้งพระทัยอุทิศพระองค์เพื่อจุดมุ่งหมายที่สูงส่งยิ่งของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรทั่วสารทิศ

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงตระหนักดีว่า การส่งเสริมการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ เคมี การแพทย์ การสาธารณสุข และการพยาบาลอย่างจริงจังนั้น สามารถแก้ปัญหาความเดือดร้อนในชีวิตความเป็นอยู่ที่มีอยู่รอบด้านของพสกนิกรได้ ทรงมีพระปณิธานในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาประเทศ โดยทรงแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ ทำให้เป็นที่ประจักษ์ของชาวโลก

โดยในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ องค์การยูเนสโกได้ทูลเกล้า ฯ ถวายเหรียญทองคำอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แด่พระองค์ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานดีเด่น ทั้งนี้เพราะพระองค์ทรงนำเอาผลงานทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสภาพการดำเนินชีวิตของอาณาประชาราษฎร์ ทรงตระหนักในปัญหาที่สร้างความทุกข์ให้แก่ทวยราษฎร์ กอปรกับทรงส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างต่อเนื่องจึงทรงได้รับการยกย่องสูงสุด ทั้งยังทรงได้รับการยกย่องเป็น“เจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” เนื่องด้วยทรงสำเร็จการศึกษาระดับสูงสุดทางวิทยาศาสตร์ ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก และทรงมีผลงานการศึกษาวิจัยเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาสภาพแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อให้ราษฎรโดยเฉพาะบุคคลผู้ยากไร้ให้มีสภาพแวดล้อมของการดำรงชีวิตที่ดี และมีระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยดำเนินการตามแผนงาน พัฒนาสภาพแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิต และจัดทำโครงการหลัก ๒ โครงการ คือ โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา และโครงการทับทิมสยาม

โดยโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา มีทั้งสิ้นรวม ๑๒ โครงการ ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรที่ประสบอุทกภัย ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช และยังมีโครงการในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดน ไทย – มาเลเซีย คือ ที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี ความรักชาติ และความมั่นคง ในพื้นที่ ตลอดจนการกินดีอยู่ดีของราษฎร ส่วนโครงการทับทิมสยาม มีทั้งสิ้นรวม ๘ โครงการ ในพื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว และตราด

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ และศรีสะเกษ เป็นโครงการเพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และพัฒนา คุณภาพชีวิตของราษฎรตามแนวชายแดนไทย–กัมพูชา นอกจากนี้ยังมีโครงการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ สนับสนุนให้ราษฎรเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ และ ไม้ดอกไม้ประดับที่ตลาดต้องการ ประเภทกล้วยไม้ฟาแลนนอปซีสปริ้นเซสจุฬาภรณ์ กล้วยไม้ตระกูลหวาย ดอกหน้าวัว และต้นสับปะรดสี ฯลฯ และโครงการอนุรักษ์และสนับสนุนราษฎรให้ปลูกพืชสมุนไพรไทยที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยให้ได้ผลผลิตที่ได้มาตรฐาน เช่น ชาปัญจขันธ์ ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร และไพล เป็นต้น

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเป็นองค์ประธานมูลนิธิจุฬาภรณ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เทคนิคการแพทย์ การพยาบาล และชีวเคมี โดยมูลนิธิจุฬาภรณ์มุ่งดำเนินงานสืบสานพระปณิธานในการร่วมแก้ไขปัญหาของแผ่นดินด้วยการช่วยเหลือดูแลประชาชนไทยที่ด้อยโอกาสในด้านที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิต อาทิ ให้บริการทางการแพทย์และการเงินแก่ผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งยากไร้ และผู้ป่วยที่เป็นโรครักษายากต่าง ๆ ทั่วประเทศ

สนับสนุนงานหน่วยแพทย์พระราชทานโดยดูแลผู้ป่วยในพระอนุเคราะห์ จัดหาเวชภัณฑ์สำหรับหน่วยแพทย์พระราชทาน ตลอดจนมอบอุปกรณ์การแพทย์พระราชทานที่ทันสมัย เพื่อประสิทธิภาพของการให้บริการที่ดีของโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั้งยังทรงดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) และได้เสด็จฯไปทรงร่วมกับหน่วยแพทย์เคลื่อนที่มูลนิธิ พอ.สว. ให้การรักษาแก่ผู้ป่วยทุกภูมิภาคของไทย ทั้งยังทรงมีพระเมตตาแผ่ถึงบรรดาสัตว์ป่วยอนาถา ทรงรับเป็นประธานกรรมการขับเคลื่อนการดำเนิน “โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า” ตามพระปณิธาน ทั้งยังมีพระดำริให้ก่อตั้งโรงพยาบาลสัตว์ขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ

“วัตถุประสงค์หลักของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ คือ การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด” พระดำรัสในศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เนื่องในวันสถาปนาสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เพื่อส่งเสริมการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพชีวิต

เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน และเป็นศูนย์กลางการระดมสติปัญญาของนักวิชาการระดับสูง การระดมทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งองค์ประธานของสถาบัน ฯ และทรงกำหนดกิจกรรมของสถาบัน ฯ

ไว้หลายด้าน อาทิ ด้านงานวิจัย ทรงดำเนินการวิจัยทางเคมีและชีวการแพทย์ ทรงจัดหน่วยวิจัยเคมีอันประกอบด้วยห้องปฏิบัติการผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ชีวเคมี เคมีเภสัช อินทรีย์เคมีสังเคราะห์ การเกิดมะเร็งจากสารเคมี พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีชีวภาพ ภูมิคุ้มกันวิทยา พยาธิชีววิทยา และเภสัชวิทยา นอกจากงานวิจัยดังกล่าวแล้ว ยังทรงตระหนักในความสำคัญของการประชุมนานาชาติ ทรงเป็นองค์ประธานจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ เป็นต้นมา

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงก่อตั้งราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ซึ่งกำกับดูแลการผลิตแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางสาธารณสุข ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งผลิตบัณฑิตและบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี การแพทย์ พยาบาล สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ผลิตผลงานวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ที่นำมาปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และให้บริการทางการแพทย์ที่เป็นเลิศด้วยมาตรฐานสากล

บนหลักความเสมอภาคให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมกันเพื่อสนองพระปณิธานอันมุ่งมั่นของ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในการสืบสานพระปณิธานตามรอยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่มีพระประสงค์ให้ชาวไทยทุกคนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ด้วยพระวิสัยทัศน์และสายพระเนตรที่ยาวไกลว่าควรมีการผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และมีจำนวนพอเพียง ฉะนั้น การทรงงานพัฒนาเพื่อก้าวไปข้างหน้าอีกประการหนึ่ง คือ การจัดตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์

ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ รับหน้าที่จัดการศึกษาทางด้านแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสนับสนุนการทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ โดยวิทยาลัยการแพทย์และสาธารณสุขแห่งนี้ มุ่งผลิตแพทย์ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีความหมายว่า นอกจาก มีความรู้ในการรักษาผู้ป่วยแล้ว จะมีความสามารถด้านการวิจัยด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถนำผลวิจัยไปใช้ได้จริงกับผู้ป่วยในสังคมไทยทั้งในเมืองและชนบท

สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น ความสำเร็จของงานวิจัยซึ่งเป็นองค์ความรู้ใหม่ผ่านกระบวนการวิจัยที่เป็นมาตรฐานสากล จะช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างถูกทางและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้วยเทคนิคการเรียนการสอนที่ทันสมัย ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และให้การศึกษาและฝึกอบรมอย่างครบวงจร ประกอบกับแนวพระดำริของศาสตราจารย์

ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน
วรขัตติยราชนารี ที่ให้ขยายภารกิจด้านการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสาขาที่มีความต้องการสูงให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้มีการเสนอโครงการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อให้เป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตและพัฒนาบุคลากรระดับสูงทั้งในประเทศและระดับภูมิภาค ตลอดจนการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางไกลด้านการประเมินความเสี่ยงร่วมกับศูนย์ความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกของประเทศแคนาดาและประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากร ซึ่งเป็นนักศึกษาและนักวิทยาศาสตร์ในประเทศกำลังพัฒนา

ปัจจุบัน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงดำรงตำแหน่งองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ องค์ประธานสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นายกสภาสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็ง และจากการที่ทรงรับเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติ

การเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็งด้วยพระองค์เอง กอปรกับทรงพบว่าประชาชนชาวไทยเป็นโรคมะเร็งเพิ่มในอัตราที่สูงมากขึ้น จึงทรงก่อตั้งศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม และให้เป็นศูนย์วิจัยด้านโรคมะเร็งที่มีความเป็นเลิศทางการวิจัย วิชาการ และการบำบัดรักษา พร้อมทั้งพัฒนาเป็นศูนย์ชำนาญการวินิจฉัยมะเร็งที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุดในภูมิภาค โดยมีงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากลรองรับ

พระองค์ทรงได้รับการยกย่องจากทั่วโลกจากการวิจัยโรคมะเร็งและการบำบัดรักษาโดยวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งการใช้สมุนไพรไทยเพื่อหาแนวทางในการบำบัดรักษา โดยพระองค์ทรงร่วมมืออย่างเป็นทางการกับหลายหน่วยงานในต่างประเทศซึ่งเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคมะเร็ง และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการดำเนินงานของสถาบันมะเร็งหลายแห่ง

อาทิ สาธารณรัฐเยอรมนี สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐโรมาเนีย ฮังการี สหพันธ์สาธารณรัฐประชาชนจีน และสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพื่อทรงสานต่อพระปณิธานในการก่อตั้งศูนย์วิจัยและบำบัดโรคมะเร็งแบบครบวงจร ทรงพระราชทานเงินขวัญถุงจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน ๑ ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน จนพัฒนามาสู่การก่อตั้งโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ซึ่งทรงมุ่งหวังให้สถาบันนี้มีความเป็นเอกด้านวิชาการ การวิจัยศึกษาโรคมะเร็ง และการบำบัดรักษาด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย พร้อมเป็นที่พึ่งพิงดูแลเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยทุกคน

นอกจากนี้ เว็บคาสิโนออนไลน์ ยังทรงจัดตั้งศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ (Cyclotron and PET Scan) ซึ่งเป็นหน่วยงานให้บริการในการตรวจโดยสารเภสัชรังสี เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่สามารถติดตาม ตรวจวัด ประเมิน และวิเคราะห์ การทำหน้าที่ของอวัยวะนั้น ๆ ในระดับเซลล์เมตาบอลิสม์ ที่สามารถให้รายละเอียดการวินิจฉัยโรคและระยะของโรคได้ดีกว่าการตรวจอย่างอื่น ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง โรคทางสมอง และหัวใจ

3 เกษตรกรรักบ้านเกิด ผลักดันธุรกิจสู่ “เกษตรอินทรีย์ดิจิทัล”

ดิจิทัล นับว่าเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อชีวิตมนุษย์เราในโลกทุกวันนี้ โดยเทคโนโลยีดิจิทัลเปรียบเสมือนมันสมองที่ได้เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการทุกวงการ ไม่เว้นแม้แต่ภาคเกษตรของไทย ซึ่งนับเป็นรากฐานหลักของประเทศ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าภาคท่องเที่ยวและภาคอุตสาหกรรม จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้พูดถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในปี 64 ไว้ว่า มีการขยายตัวร้อยละ 1.5 ส่วน และคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2565 จะขยายตัวสูงขึ้นอยู่ในช่วงร้อยละ 2.0-3.0 โดยมีภาคเกษตรเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต ปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มากมาย มาใช้อำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรยุคใหม่ ช่วยแก้ปัญหาในด้านต่างๆ ซึ่งเราอาจเรียกสั้นๆ ว่า “เกษตรดิจิทัล“

เกษตรดิจิทัล คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการผลิตทางการเกษตรไปสู่ผู้บริโภค เป็นการใช้ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลด้านการเกษตรต่างๆ ทั้ง สภาพดิน สภาพน้ำ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณแสง พื้นที่เพาะปลูก การเจริญเติบโตของพืชพรรณ และอื่นๆ ที่จะช่วยให้เกษตรกรเข้าใจถึงปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เพื่อหาแนวทางที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงสุดให้กับเกษตรกร

ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรไทยยุคใหม่ ก็หันนำเอาแนวคิด เกษตรดิจิทัล มาปรับใช้และพัฒนาต่อยอดสร้างสรรค์ธุรกิจทางการเกษตร จนเกิดผลผลิตงอกงามและเติบโต แถมยังนำพาชุมชนให้ยั่งยืนโดยการนำความรู้และไอเดียต่างๆ มาร่วมกันแชร์และแบ่งปัน จนเกิดเป็นธุรกิจเกษตรสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัล โดย รักบ้านเกิด ขอพาไปรู้จัก 3 เกษตรกรไทย จากโครงการคัดเลือกเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดประจำปี 2564 ที่ได้นำแนวคิดและความรู้ด้านดิจิทัล มาประยุกต์ใช้จนก่อเกิดเป็นความสุขที่ยั่งยืน

จิรภัทร คาดีวี หรือพี่เอฟ เกษตรกรจากแสนบุญฟาร์ม จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวถึงการนำแนวคิดเกษตรดิจิทัลมาใช้ไว้ว่า “เดิมเคยทำอาชีพวิศวกรมาก่อน และเลือกออกจากงานกลับมาปลูกผักอินทรีย์เพื่อสุขภาพ เพราะวิเคราะห์แล้วว่าเป็นอาชีพที่ตอบโจทย์เราได้หมด โดยนำเอาความรู้ที่ได้จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากที่เรียนมา นำมาพัฒนา ต่อยอด รวมทั้งหาวิธีทำให้การทำเกษตรมันง่ายขึ้น ทั้งในเชิงด้านการผลิต การตลาด และการใช้แรงงาน ผมนำเอาวิทยาศาสตร์มาช่วยวิเคราะห์ และเทคโนโลยีมาช่วยเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้ลดต้นทุนการผลิตไปได้มากเลยทีเดียวครับ”

ด้าน พิริยากร ลีประเสริฐพันธ์ หรือพี่วรรณ เกษตรกรหญิงจาก GardenThree จังหวัดหนองคาย เล่าว่า “ตนได้เริ่มต้นทำเกษตรจากการตอบโจทย์เล็กๆ ของตัวเองว่าให้เรามีกินแบบไม่ต้องใช้เงินให้สำเร็จ สามารถเอาความสุขในการดำรงชีวิตเป็นตัวตั้งในการทำธุรกิจ ซึ่งเราเลือกปลูกผักสลัด การปลูกผักสลัดของพี่เป็นแบบ Make to order คือผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า โดยพี่สามารถส่งผักสดขายให้ผู้บริโภคและเปิดรับออเดอร์ได้ตลอดปี คลายความกังวลในเรื่องผักขาดช่วงไปได้เลย เพราะทางสวนของเราเลือกนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการทำการเกษตร เช่น การทำระบบแปลงผัก ที่เป็นระบบรดน้ำอัตโนมัติ ทั้งยังสามารถสั่งการเปิดปิดผ่านทางมือถือ ตอบโจทย์แม้ว่าจะมีธุระหรืออยู่ที่ใกล้ไกลก็สามารถเปิดปิดและตั้งค่าได้ตลอดเวลา หรืออย่างการใช้โซเชียลมีเดียเข้ามาช่วยในช่องทางการจำหน่าย เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภคได้โดยตรง”

สุดท้ายกับ ภิญญา ศรีสาหร่าย หรือพี่โอเล่ เกษตรกรจากฟาร์มฝันแม่ เกษตรอินทรีย์ จังหวัดราชบุรี ผู้สานฝันแม่ให้เป็นจริงด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาร่วมพัฒนาฟาร์มได้กล่าวว่า “เดิมการทำเกษตรของฟาร์มฝันแม่​เกษตรอินทรีย์​ เน้นการทำเกษตรบนพื้นฐานของข้อมูลเกษตร​ของฟาร์ม เรานำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์​เพื่อต่อยอด​วางแผนการปลูกร่วมกับแผนวิเคราะห์ข้อมูลสถิติในการทำการตลาดให้มีความสอดคล้องกัน​ ซึ่ง​เดิมได้ใช้วิธีการจดเอกสาร แต่ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนมาใช้เป็นแอปพลิเคชัน และนำข้อมูลพื้นฐาน(data base)​ มาวิเคราะห์ข้อมูลในการวางแผนผลิตเพื่อจำหน่าย​ ซึ่งทั้งนี้นอกจากการทำเกษตรบนฐานของข้อมูลแล้วเรายังนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์​และเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้ได้ผลผลิตเชิงคุณภาพมากยิ่งขึ้น​ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ นำพามาซึ่งรายได้ที่มั่นคง​และยั่งยืน​ พร้อมทำให้เกิดความสุขกับฟาร์มฝันแม่ของเราครับ”

จะเห็นว่าเกษตรดิจิทัลนับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากกับในหลายๆ มิติ หากแต่มีการนำมาปรับใช้และพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ ก็สามารถสร้างรายได้และอาชีพที่แน่นอน ซ้ำยังสามารถเกื้อกูลสังคมโดยการแบ่งปันและแชร์ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความสุขและสร้างรอยยิ้มที่ยั่งยืนสืบไป สำหรับใครที่อยากทำความรู้จักเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดท่านอื่นๆ ก็สามารถเข้าไปติดตามรับชมได้ที่ www.rakbankerd.com หรือติดตามข่าวสารของรักบ้านเกิดตามช่องทางต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่ Youtube:rakbankerdthailand, www.facebook.com/rakbankerd และ IG: rakbankerd_official หรือแอดไลน์มาพูดคุยกันได้ที่ Line@ : @rakbankerd

กรุงเทพฯ 8 มีนาคม 2565 – ความหลากหลายของผลิตผลทางการเกษตรในปัจจุบันนั้นมีที่มาอย่างไร ทำไมจึงสามารถบริโภคผักผลไม้เมืองหนาวที่เพาะปลูกในประเทศไทยได้ และทำไมจึงมีผักและผลไม้หลายสายพันธุ์ให้ได้เลือกบริโภคได้ตลอดทั้งปี หนึ่งในผู้ที่อยู่เบื้องหลังความหลากหลายของพืชพันธุ์ต่างๆ เหล่านี้คือ “นักปรับปรุงพันธุ์พืช” หนึ่งในอาชีพที่ช่วยผลักดันความยั่งยืนทางการเกษตรของไทย

เนื่องในวันสตรีสากล 2565 บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทย พร้อมส่งเสริมความเท่าเทียมและสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงในการทำงาน ผ่านการนำเสนอเรื่องราวแห่งแรงบันดาลใจของหญิงแกร่งผู้อยู่เบื้องหลังผลงานการปรับปรุงพันธุ์พืชของเจียไต๋ คุณจารุณี บัวบูชา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา ที่เริ่มเส้นทางอาชีพในบทบาท “นักปรับปรุงพันธุ์พืช” เป็นเวลายาวนานกว่า 30 ปีจนประสบความสำเร็จในอาชีพและได้ส่งมอบสายพันธุ์พืชผักใหม่ๆ สู่ตลาดสร้างความหลากหลายและความมั่นคงทางอาหารให้กับผู้บริโภค

“ผู้หญิงจบเกษตร จะไปทำอะไร” คุณจารุณีกับการถูกตั้งคำถามในการเริ่มอาชีพของตนเอง จากจุดเริ่มต้นในการเป็นนักวิชาการประจำสถานี สู่การเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนาของเจียไต๋ เส้นทางของการเติบโตในอาชีพสายเกษตรที่เต็มไปด้วยความตั้งใจ ผสานความสุขและความรักในอาชีพที่ทำ และได้พิสูจน์ตนเองด้วยผลงานมากมาย ล่าสุดคือผลงานการปรับปรุงสายพันธุ์แตงโมเจียไต๋ Century Star แตงโมไร้เมล็ดสายพันธุ์ใหม่ ที่คว้ารางวัลสายพันธุ์ดีเยี่ยมระดับภูมิภาค หรือ รางวัล All-America Selections® Regional Winner จากสถาบัน All-America Selections (AAS) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนอกจากช่วยเพิ่มตัวเลือกใหม่ให้ตลาดแล้ว ยังเพิ่มมูลค่าให้ผลิตผลทางการเกษตร และเป็นผลงานที่การันตีความสำเร็จที่เกิดจากความทุ่มเท ความกล้าที่จะแตกต่างเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้วงการเกษตร “ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือเพศใดก็สามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยความตั้งใจและการมีความสุขในงานที่ทำ” คุณจารุณี กล่าวเสริม

งานด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชช่วยสร้างสายพันธุ์พืชที่มีคุณภาพ มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น ทนต่อสภาพอากาศ ทนโรคและแมลง เกษตรกรจึงสามารถเพาะปลูกได้ในหลากหลายภูมิภาคของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังให้รสชาติและรสสัมผัสที่ตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งการปรับปรุงพันธุ์พืชแต่ละชนิดนั้นเป็นงานที่ต้องใช้ระยะเวลาในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูก การทดสอบ การปรับปรุงแก้ไข ซึ่งกว่าจะประสบความสำเร็จในแต่ละสายพันธุ์มักใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5-10 ปี ทั้งนี้ เพื่อสร้างสายพันธุ์พืชที่ตอบโจทย์และสร้างประโยชน์ให้กับทั้งเกษตรกรผู้ปลูก ผู้ค้า และผู้บริโภค สร้างความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืนทางการเกษตร

“บทบาทของนักปรับปรุงพันธุ์พืช เราถือได้ว่าเป็นผู้ที่พัฒนาพันธุ์ ทำให้มีสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตมากขึ้น มีคุณภาพ ตรงนี้ถือว่านักปรับปรุงพันธุ์พืชทำให้สายพันธุ์พืชมีความยั่งยืนต่อไป ไม่ว่าสภาพอากาศจะแปรเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม เราก็ยังจะมีพันธุ์พืชที่สามารถปลูกได้… ถือว่าเป็นความยั่งยืนของวงการเกษตร โดยเฉพาะในส่วนของพืชที่เป็นอาหารของมนุษย์เรา” คุณจารุณี ตอกย้ำถึงความสำคัญของอาชีพนักปรับปรุงพันธุ์พืชต่อความมั่นคงทางอาหาร

ที่เจียไต๋ เราส่งเสริมความเสมอภาค ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือเพศใดก็สามารถแสดงความสามารถและเติบโตในองค์กรได้อย่างเท่าเทียม มาร่วม #BreakTheBias ที่มีต่อผู้หญิงรับวันสตรีสากลไปด้วยกัน พร้อมติดตามแรงบันดาลใจจากเรื่องราวของนักปรับปรุงพันธุ์พืชหญิงแห่งเจียไต๋ คุณจารุณี บัวบูชา กับการพิสูจน์ตัวเองถึงบทบาทของผู้หญิงในอาชีพด้านการเกษตรได้ในแคมเปญเพ(ร)าะกล้า EP.3 ตอน “กล้าที่จะ… ต่าง” ได้ที่

“เกษตรก้าวไกล” และผองเพื่อนสื่อมวลชนเกษตรในนาม “ทีม5พลังแกร่ง” ออกเดินทางเพื่อภารกิจโปรโมทการท่องเที่ยวชุมชน(ททช.)บ้านแม่กระบุง ต.แม่กระบุง อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ที่ครั้งหนึ่งเคยสตาร์ทติดเครื่องเดินหน้า แต่ 2 ปีให้หลังมานี้ หลังเครื่องยนต์ตัวนี้ต้องจอดสนิท เพราะพิษโควิดที่ยังคงไม่จางหาย

นอกจากเป้าหมายหลักที่จะสร้างเรื่องราวของ “มนต์รักแม่กระบุง” ในรูปแบบของคลิปหรือภาพยนตร์สั้นเพื่อสะท้อนวิถีชีวิตของชุมชน “กะเหรี่ยงโพล่ง” ที่เกิดขึ้นมากว่า 200 ปีแล้ว เรายังมีโปรแกรมลุยสวนเกษตร และหนึ่งในก็คือ การลุยสวนเกษตรผสมผสานของ ผู้ใหญ่สนธิ เขียวเหลือง หมู่ 2 ที่มีทุเรียนเป็นพืชหลัก ดั้งเดิมนั้นคนในหมู่บ้านปลูกพืชไร่พวกข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นหลัก พร้อมทั้งทำสวนกล้วย สวนมะขามหวาน ฯลฯ แต่ยังไม่มีใครปลูกทุเรียนได้สำเร็จ เพราะปลูกแล้วตาย กระทั่งวันนี้ที่สวนผู้ใหญ่สนธิทุเรียนที่ปลูกไว้กำลังออกดอกแล้ว

“ผมเบื่อที่จะปลูกพืชไร่ที่ต้องปลูกกันทุกปี ก็เลยว่าหันมาปลูกไม้ผลแบบผสมผสาน เพื่อว่านักท่องเที่ยวจะได้มาเที่ยวบ้าง”

ข่าวผู้ใหญ่สนธิปลูกทุเรียนออกดอกได้สร้างความตื่นเต้นดีใจ ให้กับคนในหมู่บ้าน บ้างก็เดินทางมาดู หวังให้ออกลูกได้เชยชม ปีก่อนนี้เงาะที่ปลูกไว้ 75 ต้น ได้ออกผลผลิต..เปิดให้คนในหมู่บ้านและที่อยู่อาศัยในตำบลแม่กระบุงมาเก็บกินฟรี เพียง 2 วันก็หมดเกลี้ยง สร้างความประทับใจให้กับทุกคน

สำหรับเงาะในปีแรกออกเกือบทุกต้นแต่ละต้นยังไม่เยอะ แต่ปีนี้ดูจากที่ออกดอกผลผลิตน่าจะเยอะขึ้น จึงตั้งใจว่าใครมาเที่ยวสวนยังให้กินฟรีเหมือนเดิม แต่ถ้าใส่ถุงกลับบ้านจึงจะคิดเงิน “ใส่พุงกินฟรี ใส่ถุงคิดเงิน” คือสโลแกนของผู้ใหญ่สนธิ

ถามถึงทุเรียนที่กำลังออกดอก ผู้ใหญ่สนธิบอกว่าทุเรียนยังมีน้อย เพิ่งออกดอกแค่ 4 ต้น จากทั้งหมด 100 ต้น ทุเรียนที่ออกดอกมีอายุ 3 ปี ซึ่งจะปลูกไม่พร้อมกัน เพราะจะขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มีในเวลานั้น เช่นเดียวกับระบบสปริงเกอร์ยังไม่ได้คิดตั้ง คงใช้สายยางรดน้ำไปก่อน เพราะเหตุนี้จึงภูมิใจกับที่ทุเรียนนออกดอก ทั้งที่ปลูกแบบบ้านๆและไม่เคยมีใครในหมู่บ้านปลูกได้ผลมาก่อน

ต่อไปนี้คือคลิปบรรยากาศการเยี่ยมชมสวน จะสนุกครื้นเครงได้สาระมากน้อยแค่ไหนก็ให้ชมกันดู.. ขอบคุณ สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ที่จัดโครงการให้สื่อมวลชนเกษตรออกทัพลุยเกษตรสุดเขตไทย ภายใต้การสนับสนุนของ “ฟอร์ดประเทศไทย-ฟอร์ดแกร่งทุกงานเกษตร” และอย่าลืมติดตามภารกิจในคลิปต่อไป

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี และ นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (TCEB หรือ สสปน.) เข้าร่วมการประชุมสมาคมพืชสวนโลก (2022 AIPH Spring Meeting) ตามคำเชิญของสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (International Association of Horticultural Producers : AIPH)

โดยในวันนี้ (8 มีนาคม 2565) AIPH ได้ประกาศการคัดเลือกอย่างเป็นทางการ ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2569 (ระดับ B) ณ Crowne Plaza Dubai Marina เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ภายใต้แนวคิด Diversity of Life: Connecting people, water and plants for sustainable living (วิถีชีวิตสายน้ำและพืชพรรณ) ระยะเวลาจัดงานระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2569 – 14 มีนาคม 2570 (134 วัน)

พื้นที่จัดงานพืชสวนโลก ปี 2569
สถานที่จัดงานจะอยู่ บริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำหนองแด ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี บนเนื้อที่ 1,030 ไร่ แบ่งเป็นพื้นน้ำ 400 ไร่ และพื้นดิน 630 ไร่ คาดว่าจะทำให้มีจำนวนผู้เข้าชมงานถึง 3.6 ล้านคน เป็นชาวไทยร้อยละ 70 และชาวต่างชาติร้อยละ 30 มีจำนวนประเทศ ที่เข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า 20 ประเทศ / องค์กร / สมาคม

การเป็นเจ้าภาพมหกรรมพืชสวนโลกในปี 2569 ครั้งนี้ คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศไทยได้เป็นอย่างมาก สามารถเพิ่มเงินสะพัดระหว่างการจัดงานได้ประมาณ 32,000 ล้านบาท เพิ่มมูลค่าการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ประมาณ 20,000 ล้านบาท และเกิดการสร้างงาน การจ้างงาน ประมาณ 81,000 อัตรา

สำหรับงานมหกรรมพืชสวนโลกเป็นงานมหกรรมจัดแสดงด้านพืชสวนกลางแจ้ง โดยมีสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH) เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์การจัดงาน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตรเข้าเป็นสมาชิก AIPH ในนามประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 และไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกมาแล้วจำนวน 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2549 และ ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2554 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการยื่นประมูลสิทธิในการเป็นเจ้าภาพในปี พ.ศ.2569 นี้ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทย ยื่นประมูลสิทธิในการเป็นเจ้าภาพ และเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบงบประมาณด้วยแล้ว

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (TCEB หรือ สสปน.) ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และจังหวัดอุดรธานี ได้ยื่นประมูลสิทธิการเป็นเจ้าภาพการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2569 อย่างเป็นทางการต่อสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 และคณะกรรมการสมาคม AIPH ได้เดินทางมา สำรวจพื้นที่เชิงลึก (Site Inspection) เมื่อวันที่ 14 – 16 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ณ จังหวัดอุดรธานี ตามข้อกำหนดของ AIPH เรียบร้อยแล้ว

สำหรับวัตถุประสงค์ที่ประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานในปี 2569 นี้ คือ

1) เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาด้านพืชสวนของไทย และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านพืชสวนในระดับชาติและระดับนานาชาติ

2) ลดความเหลื่อมล้ำกระจายรายได้ด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศผ่านการจัดงาน 3) ส่งเสริมการพัฒนาและต่อยอดการเกษตรด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีและการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ให้เป็นศูนย์กลางด้านการค้า การลงทุนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และ 4) สร้างจังหวัดอุดรธานีให้เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมด้านการเกษตรของภูมิภาคลุ่มน้ำโขง GMS เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตและการต่อยอดสู่ BCG Model (Bio Economy, Circular Economy, Green Economy)

จากเวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง ภาคการเกษตรไทย เตรียมความพร้อมอย่างไร ถ้าประเทศไทยมีกฎหมายในแนว UPOV 1991 ในการประชุมวิชาการครั้งที่ 60 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งมีนักวิชาการภาคการเกษตร หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ร่วมการเสวนา ได้แก่ รองศาสตราจารย์สุรวิช วรรณไกรโรจน์ อาจารย์ข้าราชการบำนาญ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร. กนกวรรณ ชดเชย ผู้อำนวยการบริหารสมาคมเมล็ดพันธุ์ภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (APSA) นายพาโชค พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการบริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด นายอำนวย อรรถลังรอง รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านพืชผัก สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยะ กิตติภาดากุล ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ซึ่งได้ข้อสรุปจากเวทีเสวนาในครั้งนี้ว่า

การปรับปรุงพันธุ์พืชมีความสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพืชไร่ เพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพดีตรงตามความต้องการของตลาด ผลผลิตสูง และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ปัจจุบันธุรกิจเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทยผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์เพื่อใช้ภายในประเทศและเพื่อส่งออก โดยการส่งออกเมล็ดพันธุ์ลูกผสมมีมูลค่าสูงประมาณ 7,389 ล้านบาท ภาครัฐมีการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ (Seed Hub Center) ของเอเชียแปซิฟิก ซึ่งขีดความสามารถด้านการปรับปรุงพืชเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการเป็นศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ การที่งานปรับปรุงพันธุ์พืชอาจต้องใช้ระยะเวลายาวนานถึง 9 ปี และมีมูลค่าการลงทุนสูง โดยอาจสูงถึงปีละ 50 ล้านบาทในบริษัทขนาดใหญ่ ดังนั้น การที่ประเทศไทยมีกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่จะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับนักปรับปรุงพันธุ์ในการจะได้รับผลตอบแทนทางการเงินคุ้มค่ากับการลงทุนวิจัยและพัฒนาพันธุ์มากขึ้น จูงใจให้สร้างพันธุ์พืชที่หลากหลายและเป็นที่ต้องการของเกษตรกร

ประเทศไทยมีกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช หรือพระราชบัญญัติ (พรบ.) คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้สิทธิหวงกัน (exclusive right) ด้านการผลิต การค้าและการจำหน่ายส่วนขยายพันธุ์พืชแก่นักปรับปรุงพันธุ์พืชผู้ทรงสิทธิ โดยกฎหมายลักษณะนี้จะมีผลบังคับเฉพาะในประเทศที่ให้สิทธิ์ พรบ. คุ้มครองพันธุ์พืชถูกตราขึ้นโดยมุ่งสร้างแรงจูงใจให้นักปรับปรุงพันธุ์พืชทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรรายย่อย ผ่านการให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับการลงทุนทั้งระยะเวลาและเงิน ซึ่งน่าจะทำให้เกิดการต่อยอดการพัฒนาพันธุ์ใหม่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรมีพันธุ์ใหม่ ๆ ให้เลือกใช้อย่างเหมาะสมได้มากขึ้น

การที่ พรบ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ยึดแนวทางของอนุสัญญา UPOV1978 ซึ่ง UPOV เป็นอนุสัญญาว่าด้วยสหภาพการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ที่ปัจจุบันมีสมาชิกภาคีทั้งหมด 78 ภาคีสมาชิก (ประเทศและกลุ่มประเทศ) หรือ 98 ประเทศ ซึ่งเกินครึ่งหนึ่งของประเทศทั้งหมดในโลกที่มีจำนวน 193 ประเทศ สาระหลักของ พรบ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ที่ไม่เป็นไปตาม UPOV 1978 มีเพียงบางส่วน ได้แก่จำนวนชนิดพืชที่ให้ความคุ้มครองพันธุ์ใหม่รายละเอียดลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากพันธุ์ซึ่งปรากฏอยู่ก่อการนับความใหม่ในต่างประเทศ ขอบเขตการคุ้มครอง และระยะเวลาในการคุ้มครอง ปัจจุบันมีพืชที่ประกาศให้จดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ตามมาตรา 14 จำนวน 100 ชนิดพืช โดยได้ให้หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่เมื่อผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติของพันธุ์พืชแล้ว 802 พันธุ์

ประเทศคู่เจรจาข้อตกลงการค้าเสรี มักเรียกร้องให้ประเทศไทยเป็นภาคีของสหภาพ UPOV ซึ่งต้องมีการแก้ไข พรบ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ให้มีสาระเหมือนกับอนุสัญญา UPOV1991 ด้านคุณสมบัตินักปรับปรุงพันธุ์พืช จำนวนชนิดพืชที่ให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ การนับความใหม่ในต่างประเทศ รายละเอียดลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากพันธุ์ซึ่งปรากฏอยู่ก่อน การให้ความคุ้มครองชั่วคราว ขอบเขตการคุ้มครอง และระยะเวลาในการให้ความคุ้มครอง จึงจะเกิดประโยชน์ต่อบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น่าจะเอื้อโอกาสให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์แห่งหนึ่งของโลกได้ แต่จะมีโอกาสสร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเกษตรกรรายย่อยซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีนัก และอยู่ในพื้นที่นอกเขตชลประทานและ/หรือเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ

ดังนั้นหากต้องมีกฎหมายในแนว UPOV1991 ประเทศไทยจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมโดยอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร เพื่อให้ประเทศสามารถใช้ประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าวในการพัฒนาขึ้นเป็น Global Seed Hub ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของคนไทย ด้านการปรับปรุงพันธุ์และเมล็ดพันธุ์ โดยจัดตั้งกระบวนการที่สามารถช่วยไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่นอกเขตชลประทาน

หมายเหตุ : ข่าวโดย..ผกามาศ ธนพัฒนพงศ์ / หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ / มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / 10 มีนาคม 2565 / สรุปประเด็นเสวนาพิเศษ โดย ผศ.พิจิตรา แก้วสอน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

“เกษตรก้าวไกล” และผองเพื่อนสื่อมวลชนเกษตร ในนาม “ทีม5พลังแกร่ง” ออกเดินทางเพื่อภารกิจโปรโมทการท่องเที่ยวชุมชน(ททช.) จ.กาญจนบุรี คราวนี้ไปที่ “สวนทุเรียนรองเหนาะ” ของ นายเสนาะ อุตขุจันทร์ อดีตรองนายกอบต.ท่ากระดานหมาดๆ ผู้ได้ชื่อว่าปลูกทุเรียนคนแรกของ อ.ศรีสวัสดิ์ก็ว่าได้

(คลิปนี้ไม่เฉพาะเรื่องอาชีพการทำสวนทุเรียนของคนในชุมชน แต่เราได้แฝงไว้ด้วยแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติของชุมชน เพื่อให้การเกษตรและการท่องเที่ยวไปด้วยกัน เกิดการท่องเที่ยวชุมชน(ททช.) จึงอยากให้ทุกท่านรับชม และแสดงความคิดเห็นผ่านมาทางคลิปนี้ได้)

ทุเรียนที่ปลูกได้ผลผลิตเป็นที่เลื่องลือ สร้างชื่อเสียงให้ตำบลท่ากระดาน มีสื่อมวลชนจัดเที่ยวเชิงเกษตรเมื่อ 4 ปีที่แล้ว แต่แล้วก็แทบช็อกเมื่ออยู่ๆทุเรียน 120 ต้น ที่ปลูกไว้เหี่ยวเฉาและในที่สุด 119 ต้น ก็มีอันตายจากไป

คงเหลือเพียง 1 ต้น ที่อยู่เป็นอนุสรณ์เตือนใจว่าถ้าดูแลไม่ดีก็ต้องเป็นแบบนี้แหละ ส่วนต้นที่ตายก็ยังมีร่องรอยของตอให้อาลัย และเป็นที่สร้างรังของ “นกโพระดก” ในฤดูแล้งนี้ ซึ่งในวันที่ไปถ่ายทำเจอรูต้องสงสัยว่าใครมาเจาะไว้ ที่แท้เป็นรังนกกำลังกกไข่นั่นเอง

สาเหตุที่ทุเรียนตัดสินใจตายพร้อมๆกันมาจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน น้ำไหลบ่าจากภูเขาผ่านมาทางเนินเขาที่เป็นพื้นราบที่ปลูกทุเรียน ก่อให้เกิดน้ำซับ ไม่สามารถถ่ายเทไปไหนได้ทัน พื้นดินตรงนั้นก็แฉะอยู่นาน ผลก็คือทุเรียนเริ่มเฉาจากรากไล่ไปถึงยอด และก็ตายในที่สุด

เพราะว่าโรคเชื้อราไฟทอปทอรา หรือโรครากเน่าโคนเน่า ที่เป็นศัตรูตัวฉกาจของทุเรียนเข้าทำลายนั่นเอง “รองเหนาะ” บอกว่า เวลานั้นยังไม่มีประสบการณ์เรื่องการปลูกการดูแลทุเรียนมากนัก จึงไม่ทันได้ป้องกันอะไรไว้เลย และคิดว่าพื้นที่ริมภูเขาที่เป็นพื้นที่ลาดเอียงน้ำคงไม่ท่วมขัง

“รองเหนาะ” เก็บความข่มขื่นไว้ได้ไม่นานนัก กลับมาลุกขึ้นสู้ลุยปลูกต่อ 100 กว่าต้น เปลี่ยนความล้มเหลวมาเป็น “ศาสตร์ทุเรียน” ปรับพื้นที่ปลูกใหม่ ตรงไหนพื้นราบก็ยกโคก ตรงไหนเป็นทิศทางน้ำไหลก็หลีกเลี่ยง จะไม่เป็นสูตรว่าจะต้องปลูกระยะห่างเท่าไร และต้องตรงกันเป๊ะ เพราะจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ ณ บัดนี้ทุเรียนที่ปลูกใหม่เริ่มออกดอกในปีแรก แต่ก็ยังไม่วางใจนัก เคล็ดลับคือ เรื่องน้ำ ทุเรียนไม่ชอบน้ำท่วมขังหรือน้ำซับแต่ก็ขาดน้ำไม่ได้ หน้าแล้งต้องรดน้ำให้ถึง หน้าฝนแทบไม่ต้องรด ต้องดูแลเอาใจใส่เหมือนลูกอย่างที่เขาว่า… รายละเอียดเพิ่มเติมขอให้ชมจากคลิป https://youtu.be/o5hr1yxogNk และหากมีคำถามอื่นใดก็ถามมาในช่องแสดงความคิดเห็น(ในยูทูป) เผื่อว่าผู้สนใจท่านอื่นๆจะได้เรียนรู้ร่วมกัน หรือจะโทร.คุยกับ “รองเหนาะ” โดยตรงตามเบอร์ที่อยู่ในคลิปก็ย่อมได้

ขอบคุณ สมาคมสื่อมวลชเกษตรแห่งประเทศไทย ฟอร์ดประเทศไทย “ฟอร์ดแกร่งทุกงานเกษตร” และ ทีม 5 พลังแกร่ง ที่รวมตัวกันเพื่อภารกิจโปรโมทการท่องเที่ยวชุมชน(ททช.) หลังสถานการณ์โควิดที่ทุกคนเริ่มปรับตัวได้ ซึ่งชุมชนไทยของเรามีศักยภาพที่เหมาะจะพัฒนาต่อยอดตามนโยบาย BCG ของภาครัฐ ไม่เฉพาะประเพณีวัฒธรรม แหล่งท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งที่ชาวบ้านปลูกสร้างขึ้นมา ก็คืออาชีพการเกษตรทั้งปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เราพลิกอาชีพที่ทุกคนมีความถนัดมาเป็นเรื่องของการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มมูลค่าราคาสินค้าเกษตรให้เศรษฐกิจชุมชนเกิดการหมุนเวียนและยั่งยืนต่อไป

ม.เกษตร รวมพล “คนมะม่วง” จัดงาน นวัตกรรมยกระดับ “มะม่วง & ผลิตภัณฑ์อาหารไทยเพื่อสุขภาพ” เสริมความรู้ สร้างทักษะชาวสวนมะม่วงต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ 18-20 มีนาคม 2565 ณ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม อาคารวิทยบริการ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) โดย สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม ร่วมกับภาคีเครือข่ายคณะทำงานนโยบายบูรณาการส่วนงานเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย และสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย จัดงาน นวัตกรรมยกระดับ “มะม่วง & ผลิตภัณฑ์อาหารไทยเพื่อสุขภาพ” มี 2 เป้าหมาย คือ

1. การเพิ่มศักยภาพความร่วมมือเพื่อเพิ่มมูลค่าการตลาด (The Ecosystem of Agriculture Unions) ซึ่งเป็นการสนับสนุนศักยภาพระบบการจัดการระหว่างเกษตรกรผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริโภค และนักลงทุน ที่เข้าร่วมกับอุตสาหกรรมการเกษตร ในกระบวนการเพิ่มมูลค่า สร้างผลตอบแทน และยกระดับรายได้

2. เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Resource Center for Active Learning Technique) เพื่อเสริมบทบาทของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นห้องเรียนพื้นฐานเศรษฐกิจภาคเกษตร พัฒนาเป็นศูนย์กลางเทคนิคการเรียนรู้ มุ่งเน้นวิธีสอนที่พยายามให้ผู้เรียน หรือผู้ด้อยโอกาสเรียนรู้ในระบบ ได้มีโอกาสยกระดับการศึกษา และมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้มากขึ้น

ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก รองอธิการบดี ฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม ประธานคณะทำงานนโยบายบูรณาการส่วนงานเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต มก. กล่าวถึง Premium Product to KU-marketplace ว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษา ได้สนับสนุนการเรียนรู้ผ่านสินค้าและบริการ คู่กับการพัฒนาคนทั้งในและนอกห้องเรียน มีการนำนวัตกรรม งานวิจัยมาส่งเสริมให้ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภค ในรูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามแนวคิด K Universe โดย KU-Market Place

เป็นแพลตฟอร์มแห่งการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการคุณภาพสูงด้านเกษตรและอาหารแบบครบวงจร 360 องศา มีระบบการรับรองมาตรฐานคุณภาพขั้นสูง KU quarantine / KU-best ด้วยการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์และการผลิต จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัย สอดคล้องรองรับกับการจัดงาน มะม่วง & ผลิตภัณฑ์อาหารไทยเพื่อสุขภาพ ซึ่งคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงจากแหล่งกำเนิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ภาคีเครือข่ายคณะทำงานนโยบายบูรณาการส่วนงานเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วย ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มก. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มูลนิธิคลังสมองสหกรณ์ไทย กลุ่มเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มเกษตรกรจังหวัดอ่างทอง กลุ่มธุรกิจแปรรูป สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย และสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย

คุณนงนุช ยกย่องสกุล รักษาการผู้อำนวยการบริหารสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย กล่าวถึง สถานการณ์มะม่วงไทยที่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพว่า ชาวสวนมะม่วงรู้สึกยินดีที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดงาน นวัตกรรมยกระดับ “มะม่วง & ผลิตภัณฑ์อาหารไทยเพื่อสุขภาพ” เป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการ ได้กระจายผลผลิตมะม่วงออกนอกแหล่งผลิตอย่างครบวงจร ในปัจจุบันชาวสวนมะม่วงตระหนักถึงมาตรฐานการผลิตGAPที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้ผลิต และผู้บริโภค มะม่วงไทยมีรสชาติดี คาดหวังว่าการรับรองแบรนด์สินค้าใหม่ของสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย จะทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น และเป็นจุดแข็งของผลิตภัณฑ์มะม่วงไทย

รศ.สุวิสา พัฒนเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กล่าวถึงกิจกรรมภายในงานว่า งานนวัตกรรมยกระดับ “มะม่วง & ผลิตภัณฑ์อาหารไทยเพื่อสุขภาพ” จะจัดขึ้นในวันที่ 18 -20 มีนาคม 2565ณ บริเวณอาคารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กิจกรรมมีทั้งการเสวนาทางวิชาการ และชิม ช้อป ผลิตภัณฑ์มะม่วงคุณภาพ

กิจกรรมมีทั้งการเสวนาทางวิชาการ วันแรก 18 มีนาคม 2565 พบกับ การเปิดงานและนำเสนอ การเรียนรู้ตลอดชีวิต : ชุมชนเป็นฐาน “สุขภาวะที่ดี” โดย ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม ภาคเช้าการเสวนา “นวัตกรรมและอนาคตมะม่วงไทย” โดย ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มก. ภาคบ่ายการเสวนา “ยกระดับนวัตกรรมมะม่วงไทย : แนวทางสมานมิตร ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ เพื่อการค้าส่งออก” โดย ศูนย์อาเซียน สำนักงานยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเกียวโต

สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย และสมาคมผู้ประกอบการพืชผักและผลไม้ไทย วันที่สอง 19 มีนาคม 2565 ภาคเช้าพบกับการเสวนา “มะม่วงคุณภาพ : จุลินทรีย์ดิน ระบบดิน และน้ำ เพื่อสร้างคุณค่า และราคา” นำโดย อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน และหมอดินอาสาสวนมะม่วง ภาคบ่ายการเสวนา “อนาคตตลาดมะม่วงไทย : ผลิตภัณฑ์อาหาร การโรงแรมและท่องเที่ยว”

โดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สมัครพนันออนไลน์ พร้อมนักธุรกิจรุ่นใหม่เช่น ทิมฟู้ดจำกัด โกลบอลพาร์ทเนอร์อินเตอร์ฟู้ดจำกัด Madam mango และบ้านหมากม่วง ส่วนวันที่สาม 20 มีนาคม 2565 ภาคเช้าพบกับการเสวนา “มะม่วงไทยกับการสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืน” มีวิทยากรจากภาครัฐและเอกชน ภาคบ่ายพบกับการเสวนา “มะม่วงไทย : การส่งออก และโอกาสการส่งออกด้วยระบบ e-Commerce” มีวิทยากรจากภาครัฐและเอกชน

Metaverse กับการใช้ประโยชน์ด้านการศึกษาและด้านพิพิธภัณฑ์

การสร้างโลกเสมือนจริง การใช้ Web 3.0 การใช้อินเตอร์เนต การใช้ข้อมูล ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมได้ โครงการวิจัยระบบ Metaverse กับพิพิธภัณฑ์ นั้น ได้ศึกษาการเข้าถึงสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ของบางประเทศ ได้ใช้เทคโนโลยี scanning แบบ digital แล้วประมาลภาพให้เสมือนจริงด้วยเทคโนโลยี Destop AR technology ซึ่งต้องใช้แว่นพิเศษช่วย ในอนาคตเราไม่จำเป็นต้องไปถึงสถานที่ที่ต้องการเข้าชมหรือดู การเข้าถึงก็จะไม่ใช่แค่การเข้าชม เราสามารถเข้ามาเดินในโลกพิพิธภัณฑ์ได้

สามารถเลือกกิจกรรมที่อยากจะทำได้ ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกหลายๆ ประเทศเริ่มมีการตื่นตัว เช่น อเมริกา ไอแลนด์ โรมาเนีย แอฟริกา ฯลฯ Metaverse จะทำให้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้ และสัมผัสวัฒนธรรมทั่วโลกได้ ตัวอย่างเช่น Gallary for NFT Arts ในวงการศิลปะ สามารถทำให้คนมีส่วนร่วมในงานศิลปะได้ การมอบ NFT ให้กับผู้บริจาคจะเป็นการกระตุ้นให้มีการอยากมาร่วมทำกิจกรรม ดังนั้น โลกใน Metaverse สามารถแสดงความเป็นเจ้าของได้ ด้านการศึกษาก็จะเป็นโลกของการเรียนที่มีการเชื่อมต่อกันได้ระหว่างคนเรียนกับผู้สอน

ด้าน ผศ.ดร.โมเรศ ปรัชญพฤทธิ์ กล่าวถึง Metaverse กับการประยุกต์ใช้ในการสอนออนไลน์และการฝึกทางการแพทย์ ว่า สถานการณ์โควิดที่ระบาดในไทย ทำให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ปรับตัวเป็นการสอนออนไลน์ ตัวอย่างเช่นการใช้ WebEx แต่การใช้แพลตฟอร์ม WebEx ทำให้เห็นเฉพาะหน้านักศึกษาเท่านั้น ไม่สามารถสื่อสารภาษากายได้

รวมทั้งมีพื้นที่ในการทำงานจำกัด การโต้ตอบมีปฏิสัมพันธ์ในทางลบ ไม่สามารถเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ หรือประสบการณ์นั้นๆ ได้ จึงได้เปลี่ยนมาใช้แพลตฟอร์ม Social VR Platform คือTeaching in Mozilla Hubs ซึ่งผู้เรียนสามารถรู้พื้นที่ภายในห้องเรียน ทำให้มีแรงดึงดูดในการเรียนได้ดีเหมือนอยู่ในปัจจุบัน สามารถอัพโหลดโปรแกรมต่างๆ ได้ สามารถเคลื่อนไหว และดูได้ทุกมิติ มีปฏิสัมพันธ์มากกว่าการเรียนรู้ทั่วไป ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนจะตื่นตัว รู้สึกเหมือนเรียนในห้องเรียนจริง

ส่วนการฝึกทางการแพทย์ หรือระบบการแพทย์ฉุกเฉินนั้น ปัจจุบันมีการนำ VR storytelling and Emotional connection มาศึกษาวิจัยในการฝึกให้เกิดความต้านทานต่อความเครียด โดยทำผ่าน mozilla hub โดยให้ผู้รับการฝึกทดสอบได้รับความเครียด หรือ Stress inoculation มีการจำลองจากสถานการณ์จริง ซึ่งจากการทดลองการวัดความเครียดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พบว่า หากผู้ประสบเหตุเบื้องต้นเกิดความเครียดจะทำให้ปฏิบัติงานไม่ได้

อย่างไรก็ตาม วิทยากรทั้ง 3 ท่าน มีความเห็นว่า เทคโนโลยียังมีช่องว่างที่จะต้องแก้ไขหรือพัฒนา ซึ่งคงจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อไป บทบาท หรือการเรียนรู้ การเกิดนักวิจัยใหม่ในโลกใหม่ๆ การเปิดมุมมองใหม่ๆ ต้องแยกความเป็นจริง และความเป็นโลกเสมือนให้ได้

(ข่าวโดย ผกามาศ ธนพัฒนพงศ์ / นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ / มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / 22 กุมภาพันธ์ 2565 / สรุปประเด็นเสวนาพิเศษ โดย จันทร์วิภา รัตนอานันต์)

เมื่อวันที่ 23 ก.พ.65 เวลา 11.00 น. ดร.อภิวัฒน์ จ่าตา นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย พร้อมคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ เข้าพบนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อหารือถึงนโยบายภาคการเกษตรในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

นายเฉลิมชัย กล่าวว่า ในปีนี้กระทรวงเกษตรฯ ยังคงมีภารกิจที่ต้องเดินหน้าต่อใน 15 ยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นแผนงานที่วางไว้ให้แต่ละกรม เข้าไปแก้ปัญหาให้ประชาชนโดยเน้นการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร ที่กระทรวงฯ เข้าไปช่วยเจรจราไกล่เกลี่ยให้แล้วหลายกรณี บางรายมีหนี้สินสะสมมากว่า 20 ปี ต้องเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้เกษตรกรอยู่ได้

“นโยบายการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายให้กระทรวงเกษตรฯ ไปดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน ซึ่งขณะนี้เรามีกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งทำหน้าที่ตรงนี้เชื่อว่าจะเข้าไปแก้ปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรได้อีกจำนวนมาก” นายเฉลิมชัย กล่าว

ส่วนการเปิดเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ที่อาจส่งผลต่อสินค้าภาคการเกษตรของไทย รมว.กระทรวงเกษตรฯ มองว่า การเปิดเส้นทางรถไฟครั้งนี้เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับการส่งของไทยมากขึ้น เพราะแต่ละปีไทยส่งออกสินค้าเกษตรฯ ปีละกว่า 2 แสนล้านบาท ขณะที่จีนส่งออกสินค้าเกษตรเข้าไปเพียง 3 หมื่นล้าน ตามกรอบการเจรจาเขตการค้าเสรี ซี่งเราไม่สามารถไปปิดกั้นเขาได้

สิ่งที่เราต้องทำคือ การรักษามาตรฐานสินค้าเกษตร ถ้าเกษตรกรไม่ทำตรงนี้ สักวันหนึ่งมันก็ต้องฆ่าตัวเองตาย ส่วนหนึ่งที่จะต้องเข้าไปช่วยคือภาครัฐ ที่คอยทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ช่วยสนับสนุนไม่ใช่การจับผิด โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหม่ สร้างโอกาสทางการค้า ควบคู่การเจรจาระหว่างรัฐบาล เพราะสถานการณ์โควิดระบาดทำให้การเจรจาหลายครั้งชะงัก แต่เราก็แก้ปัญหาได้ด้วยดี

“ถ้าเราไม่สามารถยกระดับสินค้าทางการเกษตรของเราไม่มีทางที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรได้ ” รมว.กระทรวงเกษตรฯ กล่าว นอกจากนี้ นายเฉลิมชัย ยังกล่าวถึงการสนับสนุนคนรุ่นใหม่ ที่เดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อเข้าสู่ภาคการเกษตรมากขึ้น หลังมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า ตอนนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการสนับสนุนเครื่องจักรให้กับเกษตรกรทั้งประเทศ ขณะเดียวกัน ได้สนับสนุนการพัฒนา วิจัย เครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพของสินค้า รวมทั้งการสนับสนุนเงินกู้ระยะสั้น เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้กับคนรุ่นใหม่ที่จะเข้าสู่ภาคการเกษตร

“ในภาวะวิกฤตแบบนี้ ทำอย่างไรจะให้เกษตรกรเลี้ยงตัวเองได้และผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้ เพราะหลังวิกฤตคนที่แข็งแรงที่สุดคือคนที่จะเดินคนแรก เพราะฉะนั้นเป้าหมายของผมคือ สร้างเกษตรกรให้เข้มแข็ง โดยใช้วิกฤตโควิดให้เป็นโอกาสที่ก้าวเดินไปก่อนคนอื่น แต่ผมมั่นใจว่าในช่วงวิกฤตโควิดกว่า 2 ปี ภาคการเกษตรได้รับผลกระทบน้อยที่สุด” นายเฉลิมชัย กล่าว

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ดร.สุขุม วงประสิทธิ ประธานกรรมการ(CEO)บริษัทพรหมชีวา จำกัด และ นางเตือนใจ วงประสิทธิ ภรรยา ได้จัดงานเปิดตัว Grand opening บริษัท แลนด์ พรหมชีวา จำกัด โดยมี คุณพอพันธ์ รัตนมาศ ปลัดอาวุโส อ.บางเลน จ.นครปฐม มาเป็นตัวแทนนายอำเภอ อำเภอบางเลน ได้ให้เกียรติจุดธูปบูชาพระรัตนตรัยและเป็นประธานกล่าวเปิดงาน

ดร.สุขุม วงประสิทธิ ประธานกรรมการ(CEO) บริษัทในเครือพรหมชีวา กล่าวว่า การก่อตั้งบริษัท แลนด์ พรหมชีวา จำกัด เป็นผลสืบเนื่องมาจาก การลงนามปฏิญญาบางเลน เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ว่าด้วยเรื่องลดภาวะโลกร้อน ส่งออกเครดิตคาร์บอน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะมีการร่วมลงนาม 3-4 องค์กรในการบันทึกข้อตกลง MOU นำร่องเพื่อพัฒนาเรื่องคาร์บอนเครดิต ลดภาวะโลกร้อน โดยจะทำอำเภอบางเลนเป็นต้นแบบ โดยมีเป้าหมายจะขยายทั่วประเทศภายใต้บริษัทแลนด์พรมชีวา ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจแฟลตฟอร์มแฟรนไชส์ที่ดิน คู่กับงานบริหารจัดการเรื่องการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ เพื่อการซื้อขายคาร์บอนเครดิตให้กับบริษัทขนาดใหญ่และต่างประเทศเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทย

จากนั้นได้มีการเสวนาพิเศษเรื่อง คาร์บอนเครดิต แฟลตฟอร์มแฟรนไชส์ที่ดิน พัฒนาเกษตรกรไทย โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย คุณกมล แสงสีงาม เกษตรอำเภอบางเลน คุณประชา จันทร์จิระวิทยา วิศวกรคอมพิวเตอร์ จากอเมริกาผู้เชี่ยวชาญแฟลตฟอร์มแฟรนไชส์ที่ดินและที่ปรึกษา บริษัท แลนด์พรหมชีวา จำกัด คุณวิชาญ ทองตอนโต เลขาธิการสมาคมสถาบันชาวนาไทย และสมาคมส่งเสริมชาวนาไทย คุณสุนทร ก้อนทอง ประทาน Smart Farmer อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม คุณสมาน รักษาพราหมณ์ ผู้นำเกษตรกรด้านชีวภัณฑ์ อำเภอบางเลน และมี คุณพรศักดิ์ พงศาปาน หรือ “ลุงพร เกษตรก้าวไกล” บรรณาธิการผู้ก่อตั้งเว็บไซต์เกษตรก้าวไกลและสื่อออนไลน์ในเครือ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

ในการเสวนาเรื่องคาร์บอนเครดิตในนาข้าว ซึ่งบริษัทพรหมชีวาได้รวมกลุ่มให้การส่งเสริมอยู่ และสืบเนื่องจากอำเภอบางเลนได้มีเกษตรกรทำนาประมาณ 1.5 แสนไร่ ซึ่งที่ผ่านมาแม้จะมีหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะสำนักงานเกษตรอำเภอบางเลนออกรณรงค์เรื่องลดเผาในพื้นที่เกษตรเพื่อลดภาวะโลกร้อนและลดฝุ่น PM 2.5 ซึ่งก็ได้ผลในระดับที่น่าพอใจ แต่การเผาก็ยังมีอยู่ เนื่องจากเกษตรกรเน้นความสะดวก แต่หากมีการนำข้าวที่ปลูกมาทำเรื่องการซื้อขายคาร์บอนเครดิต นอกเหนือจากการนำมาเป็นวัสดุเพาะเห็ดและการทำเป็นปุ๋ยหมัก ซึ่งจะทำให้มีรายได้ก็จะช่วยได้มาก และจากที่เกษตรกรถูกมองว่าเป็นผู้ร้ายก็จะกลายเป็นพระเอกขึ้นมาทันที

ในโอกาสเดียวกันนี้ ท่านพระเดชพระคุณพระครูปทุมาธรรมานุโยค เจ้าอาวาสวัดสระบัวเผื่อน ตำบลบ้านเกาะอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นเจ้าคณะตำบลบ้านเกาะ ได้เมตตากับทางบริษัทพรหมชีวา เดินทางมาฉันภัตตาหารเพล เพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ทางบริษัท และท่านยังเมตตา แจกวัตถุมงคล แก่แขกผู้มีเกียรติในช่วงท้ายงาน

นอกจากนี้ คุณฐิติวัชร บุญครอง พี่ชาย คุณยุวดี บุญครอง อีกทั้ง ดร.ศิริวิตญ์ ดอกแก้ว ผู้อำนวยการประสานงานสำนักงานคณะรัฐมนตรีส่วนหน้า (สำนักงานนายกรัฐมนตรี) และ คุณอนันต์ ถาวรรณา ประธานมูลนิธิลุประสงค์ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ดร.ศิริวิตญ์ ดอกแก้ว และ คุณอนันต์ ถาวรรณา ได้ให้เกียรติเข้าร่วมฟังการเสวนา และ สมัครเป็นสมาชิก บริษัท แลนด์พรหมชีวา จำกัด อีกด้วย

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดตราดจึงได้ร่วมกับแขวงทางหลวงชนบทตราด ลงนามบันทึกความร่วมมือในการดำเนินการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร เน้นคน พื้นที่ สินค้า ทำจริง ต่อเนื่อง มีความยั่งยืน เพื่อให้จุดเด่นการผลิตทุเรียนเป็นที่รู้จักแพร่หลายภายใต้ชื่อ “ถนนทุเรียนตราด (Durian Road@Trat)” โดยได้มีการพัฒนาเส้นทางถนนทางหลวงชนบท ตร. 4008 หมู่ที่ 1 ตำบลอ่าวใหญ่ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ระยะทาง 6 กิโลเมตร

ที่ตัดผ่านสวนทุเรียนจากบ้านแหลมศอกไปท่าเรือแหลมศอก-เกาะกูด ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมและมีศักยภาพให้กลายเป็นเส้นทางผลไม้ แหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เรื่องสวนทุเรียนคุณภาพ มุ่งเน้นให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนร่วมพัฒนาพื้นที่บริเวณสองข้างทาง บ้านอ่าวใหญ่ หมู่ 1 บ้านแหลมพร้าว หมู่ 4 บ้านแหลมศอก หมู่ 6 ตำบลอ่าวใหญ่ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ให้เป็นเส้นทางที่สวยงาม มีป้ายแนะนำสวนเป็นที่สังเกตได้ชัดเจน ง่ายแก่ผู้สัญจรผ่านเส้นทางดังกล่าว พร้อมทั้งสร้างเกษตรกรต้นแบบ 5 เสือคนทำจริง ต้นแบบการส่งเสริมการผลิตทุเรียนคุณภาพและได้มาตรฐาน โดยบูรณาการกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรทุ่งเพล และการสร้างแบรนด์ทุเรียนที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดตราด

ปัจจุบันถนนทุเรียนตราดได้กำหนดเป็นกลยุทธ์เพื่อให้เป็นต้นแบบในการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการ โดยมีหน่วยงานร่วมมือเพื่อสนับสนุนกิจกรรมตลอดห่วงโซ่ของการผลิตทุเรียน ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ทำให้ถนนทุเรียนตราดเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ ได้แก่ การติดป้ายบอกทางถนนทุเรียนตราด กิจกรรมปั่นปัดดอกทุเรียนร่วมกับกลุ่มแกนนำเกษตรกร การสร้างจุดชมวิวสวนทุเรียนริมเลลุงอี๊ด และการเยี่ยมชมแปลงตามระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่ากรมส่งเสริมการเกษตรได้เน้นย้ำเรื่องทุเรียนอ่อนมาตลอด มีการดึงเกษตรกรมาร่วมเป็นเครือข่าย สร้างจิตสำนึกไม่ตัดทุเรียนอ่อน ตลอดจนสร้างการรับรู้การทำสวนทุเรียนที่ออกก่อนที่อื่น ๆ ให้นักท่องเที่ยวหรือผู้สนใจได้เห็นวิถีชีวิตของชาวสวนทุเรียนที่ดูแลเอาใจใส่ให้ทุเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบสามารถขยายผลสร้างทุเรียนตราดให้มีคุณภาพมาตรฐานสากลที่ต่างประเทศยอมรับตามสโลแกน “ทุเรียนออกก่อน คุณภาพดี ต้องที่จังหวัดตราด”

ทั้งนี้ ความนิยมบริโภคทุเรียนทั้งในและต่างประเทศทำให้เกษตรกรหันมาปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับที่จังหวัดตราด มีการคาดการณ์ผลผลิตปีนี้อยู่ที่ประมาณ 90,000 ตัน และขณะนี้เป็นช่วงที่ทุเรียนกำลังเริ่มให้ผลิตออกสู่ตลาด โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลห้วงน้ำขาว ตำบลอ่าวใหญ่ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ซึ่งทุเรียนที่นี่มีลักษณะเด่นและเป็นอัตลักษณ์ประจำถิ่น ผลผลิตทุเรียนออกก่อนทุกปี ด้วยสภาพภูมิศาสตร์เป็นแหลมยื่นสู่ทะเล ทำให้แต่ละปีที่ผ่านมา มีพ่อค้าและล้งต่าง ๆ เข้ามาวางแผนเพื่อซื้อผลผลิตทุเรียนเป็นจำนวนมาก โดยในช่วงที่ผ่านมาสำนักงานเกษตรจังหวัดตราดได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ จนเป็นที่มาของการรณรงค์ เพื่อให้เกษตรกรผู้ผลิตทุเรียน ผู้ประกอบการส่งออก และมือตัดทุเรียนได้รับทราบและตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อจำหน่าย

อนึ่ง ถนนสายทุเรียนตราดเป็นความพยายามของเกษตรกรในชุมชนที่ต้องการสร้างให้เกิดขึ้น โดยประสานความร่วมมือระหว่างจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดตราดและแขวงทางหลวงชนบทตราดได้ขับเคลื่อนจนสำเร็จเป็นรูปธรรม และจะสำเร็จในทางเศรษฐกิจท่องเที่ยวที่จะส่งผลไปยังเกษตรกรมากน้อยแค่ไหนก็ต้องหวังนักท่องเที่ยวคนไทยไปเที่ยวกันเยอะๆ

เมื่อกลางปีและปลายปี 2564 “เกษตรก้าวไกล” ได้พบกับ คุณชยุทกฤติ นนทแก้ว เกษตรจังหวัดตราด บอกถึงความมุ่งมั่นที่จะสร้างทุเรียนคุณภาพของจังหวัดตราดให้ได้คุณภาพเป็นที่ปรากฏ เพราะทุเรียนตราดจะออกก่อนใคร คราวนั้นได้พาไปตามหาดินPH6 ที่สวนทุเรียน นายเรือง ศรีนาราง ประธานส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียนท่ากุ่ม-เนินทราย ทั้งหลายทั้งหมดเพื่อต้องการให้พี่น้องเกษตรกรตื่นตัวเรื่องการปรับปรุงบำรุงดินอันนำมาซึ่งการผลิตทุเรียนคุณภาพและลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต

รวมไปถึงการประสานความร่วมมือกับ กรมวิชาการเกษตร และกรมพัฒนาที่ดิน ในพื้นที่ ซึ่งเกษตรก้าวไกลได้ถ่ายทำมาเป็นคลิปในบางส่วน (คลิปที่ 1 ตามหาดินPH6 https://youtu.be/A_L2AsVPWvw – คลิปที่ 2 การเก็บตัวอย่างดิน https://youtu.be/4bPvi07dubo)

อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องการตลาด เกษตรจังหวัดตราดบอกว่าจะจะต้องทำให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวถึงสวนเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตแทนที่จะขายล้งเพียงอย่างเดียว และในที่สุด ถนนสายทุเรียนก็เกิดขึ้นเมื่อวันหนึ่งได้เข้าไปพบ นายภิญโญ ประกอบผล ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดในขณะนั้น

“หลังจากได้เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดตราดก็คิดหากลยุทธ์ต่างๆ วันหนึ่งนั่งคุยกันมาในรถกับผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบท จะทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวมากินทุเรียนและผลไม้ที่จังหวัดตราด ก็พบว่าถนนทางหลวงชนบท ตร. 4008 หมู่ที่ 1 ตำบลอ่าวใหญ่ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ระยะทาง 6 กิโลเมตร ที่ตัดผ่านสวนทุเรียนจากบ้านแหลมศอกไปท่าเรือแหลมศอก-เกาะกูด ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมและมีศักยภาพ ทำอย่างไรจึงจะให้กลายเป็นเส้นทางผลไม้ แหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เรื่องสวนทุเรียนคุณภาพ เพราะเป็นถนนที่มีสวนทุเรียนหลายสวน ก็คิดว่าจะทำเป็นถนนทุเรียนได้หรือไม่ และในขณะที่นั่งรถได้ฟังเพลง Take Me Home Country Roads ของ John Denvers ไอเดียเรื่อง Durian Road จึงเกิดขึ้น..”

คลิปต่อไปนี้เป็นเบื้องหลังการเกิดขึ้นของ ถนนทุเรียนตราด Durian Road @ Trat ผู้สนใจสามารถรับชมไปพร้อมๆกัน และอย่าลืมฤดูกาลทุเรียนและผลไม้ที่จะถึงนี้เราจะไปพบกับที่ถนนสายนี้ ซึ่งล่าสุดนี้เมื่อวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2565 นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ลงพื้นที่พบปะพี่น้องเกษตรกรจังหวัดตราด เพื่อมาเตรียมความพร้อมที่จะเปิดถนนทุเรียนตราดอย่างเป็นทางการในฤดูกาลผลไม้ที่จะมาถึง ตามกำหนดนั้นจะเปิดชิมทุเรียนลูกแรกของโลกในวันที่ 1 เมษายน 2565 เหตุที่เป็นทุเรียนลูกแรกของโลพ เพราะจังหวัดตราดทุเรียนตามฤดูกาลจะออกก่อนจังหวัดอื่นๆและส่วนหนึ่งเกษตรกรมีภูมิปัญญาเฉพาะที่ทำให้ทุเรียนออกก่อนพื้นที่อื่นๆ ซึ่งรายละเอียดสามารถชมเพิ่มเติมได้จากคลิปข้างต้นนี้ หรือคลิกชมได้ที่ https://youtu.be/pdmnliLe5eQ

บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เดินหน้าขยาย “ฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ โดยผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้า” เปิดแห่งแรกใน จ.มหาสารคาม ภายใต้ชื่อ ณ นา ฟาร์ม สนับสนุนผู้แทนจำหน่าย คูโบต้า มหาสารคาม ยก “คูโบต้า ฟาร์ม” ต้นแบบ มาเนรมิตเป็นฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ในระดับจังหวัด เพื่อนำองค์ความรู้ และโซลูชั่น พร้อมเทคโนโลยีการเกษตร สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนมีรายได้ที่ยั่งยืน ชูจุดเด่นด้วย 6โซน ตั้งเป้าขยายฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ให้ครบ 40 แห่งทั่วประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า

นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า หลังจากสยามคูโบต้าได้เปิดคูโบต้า ฟาร์มอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนสิงหาคม 2563 เพื่อเป็น Innovative Farming Experience Center ฟาร์มสร้างประสบการณ์การเกษตรสมัยใหม่ของคูโบต้าในภูมิภาคอาเซียน ที่ออกแบบภายใต้แนวคิด End to End Solutions จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยนำเอาองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions หรือนวัตกรรมเกษตรครบวงจร เอกลักษณ์เฉพาะของคูโบต้ามาประยุกต์ใช้จริง ให้เกษตรกร หรือผู้สนใจ ได้เรียนรู้ ศึกษาวิถีการทำเกษตรที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่ง “คูโบต้า ฟาร์ม” ได้รับการตอบรับอย่างดีทั้งจากเกษตรกรทั่วประเทศไทย องค์กรภาครัฐ และ เอกชน ที่เข้ามาชมคูโบต้าฟาร์มแล้วกว่า 17,500 คน

“สยามคูโบต้า ได้เล็งเห็นว่าเรามีเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้าครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย ซึ่งมีศักยภาพในการร่วมกันขับเคลื่อนและขยายผลแนวคิดการทำเกษตรสมัยใหม่ จึงได้ริเริ่ม “โครงการฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ โดยผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้า” โดยส่งเสริมให้ผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้าเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งผู้แทนจำหน่ายจะเป็นเจ้าของฟาร์มและดำเนินกิจกรรมธุรกิจฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ด้วยตนเอง โดยทางสยามคูโบต้าฯ จะเข้ามาช่วยเป็นพี่เลี้ยง พร้อมทั้งสนับสนุนให้องค์ความรู้ โซลูชั่นและการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรควบคู่ไปกับเทคโนโลยี IoT โดยวางแผนในอีก 5 ปีข้างหน้าจะขยายโครงการนี้อีกกว่า 40 แห่งทั่วประเทศ”

“สำหรับ “ณ นา ฟาร์ม” เราได้มีการวิเคราะห์ในเรื่องปริมาณน้ำฝน สภาพดิน รายได้ของเกษตรกรส่วนใหญ่และข้อมูลเกี่ยวกับภาคเกษตรในจังหวัด วางแผนนำองค์ความรู้ โซลูชั่น และเทคโนโลยีการเกษตรที่มีมากกว่า 20 โซลูชั่น พร้อมทั้งการออกแบบฟาร์มตั้งแต่เรื่องต้นทุนน้ำ เพื่อมาประกอบพิจารณาว่าควรปลูกพืชอะไรได้บ้างในแต่ละช่วงของปี เพื่อทำให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้เป็นรายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาส รายปี ซึ่งทำให้เกษตรกรมีความมั่นคงในการทำการเกษตรมากขึ้น” นางวราภรณ์ กล่าว

นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า “จังหวัดมหาสารคาม ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคการเกษตรให้เกิดความเข้มแข็ง ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากร และผลักดันเศรษฐกิจของจังหวัดให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยการก่อตั้งฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่แห่งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาจังหวัดสู่ “เกษตรกรรมยั่งยืน นำภูมิปัญญาสร้างคุณค่า พัฒนาการค้าการลงทุน สู่สังคมมีสุข ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี”

นอกจากนี้ นางสุนิษา พรรักษมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท คูโบต้ามหาสารคาม จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะร้านค้าผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้าที่อยู่เคียงข้างพี่น้องเกษตรกรชาวมหาสารคาม เรามีเจตนารมณ์ที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยคาดหวังในการสร้าง ณ นา ฟาร์ม เพื่อเป็น Smart Farm ต้นแบบที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ให้สามารถปลูกพืชได้หลากหลาย ช่วยลดต้นทุนการเพาะปลูก รวมทั้งลดความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบต่อผลผลิต เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น อีกทั้งหวังสร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากขึ้น ตลอดจนส่งเสริมการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรต่างๆ ของเกษตรกรในจังหวัดมหาสารคามให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น”

ณ นา ฟาร์ม (NANA FARM) ถือเป็นฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ที่แรกในโครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจด้านการทำการเกษตร ได้เรียนรู้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ โคกหนองนาโมเดล ตามรูปแบบของ “คูโบต้า ฟาร์ม” แบ่งออกเป็น 6 โซนสร้างประสบการณ์ ประกอบด้วย 1.โซนแกลอรี่น้ำ : ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบน้ำ ภายในฟาร์ม ได้แก่ การคำนวณต้นทุนน้ำ การบริหารจัดการน้ำผิวดิน การใช้นวัตกรรม Cement Fabric การให้น้ำพืชแบบอัจฉริยะด้วยโทรศัพท์มือถือ

การใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดอากาศ การขุดสระน้ำเพื่อการเกษตร 2.โซนมีนาแล้ว เมื่อไหร่จะมีใจ (เกษตรแม่นยำข้าวและพืชหลังนา) : เป็นโซนปลูกข้าว กข43 เพื่อนำเสนอพันธุ์ข้าวที่ดีต่อสุขภาพ และข้าวหอมใบเตย 3.โซนเกษตรทฤษฎีใหม่ : เป็นการปลูกพืชผสมผสาน ทั้งพื้นผักสวนครัวตามรั้ว ผลไม้ยืนต้นและพืชสมุนไพรแซม การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืช 4.โซนแกลอรี่ดิน : เป็นอาคารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับดินชนิดต่างๆ การปรับปรุงคุณภาพดินเค็ม การเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินทรายด้วยการปลูกปอเทือง

การไถกลบตอซังและใช้เป็นพื้นที่รองรับการจัดงานสัมมนา 5. โซนเกษตรรายได้สูง : มีโรงเรือนที่เป็นระบบอัจฉริยะ การปลูกพืช ผัก ผลไม้ ที่มีราคาสูง 6. โซน ผักก่อนไหม ถ้าใจเหนื่อยล้า (พืชสลัด พริก และมะเขือ) : เป็นโซนปลูกผักชนิดต่างๆ โดยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ของคูโบต้า ด้วยการนำนวัตกรรมเครื่องยกร่องผัก และเครื่องปลูกผักที่มาช่วยลดต้นทุนแรงงาน อีกทั้งมีอาคารนิทรรศการและร้านอาหาร เป็นพื้นที่จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ของ ณ นา ฟาร์มและจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม

ณ นา ฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สำหรับการเข้าเยี่ยมชม จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบรายบุคคล สามารถ Walk in เข้ามาเยี่ยมชม ใช้บริการร้านอาหาร รวมถึงอุดหนุนผลิตภัณฑ์ของชุมชนเกษตรกรได้ทุกวัน และแบบหมู่คณะ เช่น กลุ่มเกษตรกร กลุ่มราชการ กลุ่มนักศึกษา สามารถเข้าเยี่ยมชมโดยมีวิทยากรร่วมบรรยายได้สัปดาห์ละ 2 วัน ได้แก่วันอังคารและวันพฤหัสบดี โดยสามารถติดต่อได้ทางช่องทาง Facebook Nana Farm (ณ นา ฟาร์ม) และ Official line : @nanafarm

วันที่ 28กุมภาพันธ์ 2565 ถือเป็นฤกษ์งามยามดี บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เดินหน้าขยาย “ฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ โดยผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้าจังหวัดมหาสารคาม ได้ดำเนินการเปิดขึ้น ภายใต้ชื่อ “ณ นา ฟาร์ม” โดย นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธี และแขกผู้มีเกียรติจากภาคส่วนราชการในจังหวัด ตลอดจนกำนันผู้ใหญ่บ้าน และพี่น้องเกษตรกรมาร่วมงานคับคั่ง

แนวคิดของ ณ นา ฟาร์ม ได้ยก “คูโบต้า ฟาร์ม” ต้นแบบ มาเนรมิตเป็นฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ในระดับจังหวัด เพื่อนำองค์ความรู้ และโซลูชั่น พร้อมเทคโนโลยีการเกษตร สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนมีรายได้ที่ยั่งยืน ชูจุดเด่นด้วย 6โซน ตั้งเป้าขยายฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ให้ครบ 40 แห่งทั่วประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า ตามที่ เกษตรก้าวไกล ได้นำเสนอข่าวไปแล้ว

ในระหว่างพิธีเปิด ณ นาฟาร์ม นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ได้กล่าวตอนหนึ่งที่น่าสนใจก่อนที่จะลงจากเวทีไปเดินชม ณ นาฟาร์ม ดังนี้

“โครงการ ณ นาฟาร์ม เป็นมิติใหม่ ของพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเรามีพื้นที่ 3.3 ล้านไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม 2.8 ล้านไร่ นั่นหมายความว่าพื้นที่ของเราประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่ทําการเกษตร คนส่วนใหญ่ของจังหวัดมหาสารคามประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชีวิตความเป็นอยู่สภาพเศรษฐกิจสังคม รวมไปถึงมิติต่างๆก็จะต้องเกิดจากรายได้ภาคการเกษตร ที่ผ่านมาก็ต้องเรียนว่าเกษตรกรชาวจังหวัดมหาสารคาม โดยส่วนใหญ่ก็ยังประกอบอาชีพเกษตรแบบเดิม เป็นพืชหวังพึ่งน้ำฝนยังรอธรรมชาติ

ซึ่งก็ไม่สามารถที่จะคาดหวังหรือกำหนดเป้าหมายผลผลิตที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพเรื่องปริมาณและที่สำคัญเรื่องการตลาด อันนี้ถือว่าเป็นปัญหาหลักของเกษตรกรในพื้นที่ ปัจจุบันในเรื่องของเทคโนโลยีนวัตกรรมถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องมาประยุกต์ใช้กับการประกอบอาชีพภาคการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้นมีคุณภาพที่ดีขึ้น ซึ่งขณะนี้เองก็ต้องเรียนว่า องค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งได้ลองใช้ดูก็ทำให้เริ่มเห็นภาพความชัดเจนของคุณภาพผลผลิต ซึ่งจะส่งผลกับในเรื่องของการสร้างอาชีพสร้างรายได้ของพี่น้องเกษตรกร

วันนี้คูโบต้าจังหวัดมหาสารคามก็ได้ทำแปลงตัวอย่าง ถือว่าเป็นโมเดลต้นแบบของจังหวัดมหาสารคาม รวมไปถึงพื้นที่ข้างเคียง ซึ่งก็เชื่อมั่นว่าทุกๆท่านสามารถที่จะนำองค์ความรู้นำเทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆไปประยุกต์ใช้กับการประกอบอาชีพ ความเสี่ยงในเรื่องของผลผลิตความเสี่ยงในเรื่องของราคาต่างๆก็จะลดน้อยลง นั่นหมายความว่ามันจะเป็นโอกาสในการที่จะทำให้ท่านมีอาชีพที่มั่นคงมีรายได้ที่มั่นคงและเพิ่มขึ้นเมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้นชีวิตความเป็นอยู่ก็จะดีขึ้นปัญหาในเรื่องเศรษฐกิจสังคม รวมไปถึงปัญหาต่างๆก็จะลดน้อยลง..”

ในช่วงของการเดินเยี่ยมชม ณ นาฟาร์ม นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ได้ให้ความสนใจในทุกโซน ดังภาพส่วนหนึ่งที่นำมาให้ชมประกอบข่าวนี้

ณ นา ฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ อำเภอโกสุมพิสัย SaGame จังหวัดมหาสารคาม สำหรับการเข้าเยี่ยมชม จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบรายบุคคล สามารถ Walk in เข้ามาเยี่ยมชม ใช้บริการร้านอาหาร รวมถึงอุดหนุนผลิตภัณฑ์ของชุมชนเกษตรกรได้ทุกวัน และแบบหมู่คณะ เช่น กลุ่มเกษตรกร กลุ่มราชการ กลุ่มนักศึกษา สามารถเข้าเยี่ยมชมโดยมีวิทยากรร่วมบรรยายได้สัปดาห์ละ 2 วัน ได้แก่วันอังคารและวันพฤหัสบดี โดยสามารถติดต่อได้ทางช่องทาง Facebook Nana Farm (ณ นา ฟาร์ม) และ Official line : @nanafarm

ได้เน้นย้ำการเร่งรัดการออกใบรับรอง GAP พื้นที่อำเภอนบพิตำ

ให้ดำเนินการให้เร็วที่สุด การพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นฮับมังคุด (ภาคใต้ตอนกลาง) การเพิ่มช่องทางการตลาด โดยการทำตลาดออนไลน์ การขายออนไลน์ล่วงหน้า การสั่งซื้อล่วงหน้า การขายผ่านระบบสหกรณ์ หรือบริษัทไปรษณีย์ไทย และเน้นย้ำการทำงานล่วงหน้าเชิงรุก ตามมาตรการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุก ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เพื่อเป็นแนวทางการเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ฤดูกาลผลิตต่อไป.

วันนี้(18 กุมภาพันธ์ 2564) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จังหวัดนนทบุรี จัดงานจับรางวัลเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชคครั้งที่ 2/2564 ณ ศาลาประชาคมอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี โดยมี นายพรชัย งามสินจำรัส ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคกลาง นายสุรพงษ์ อิ่มเอิบ ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดนนทบุรี นายสมยศ มโนเลิศ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาบางใหญ่ ซึ่งเป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งนี้ พร้อมกับผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี มาร่วมงานกันอย่างพร้อมเพรียง

ในการจัดงานจับรางวัลครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายวิทยา ชพานนท์ นายอำเภอบางใหญ่ มาเป็นประธานและให้เกียรติจับรางวัลที่ 1 นายแพทย์ชูศักดิ์ วรงค์ชยกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางใหญ่ ให้เกียรติจับรางวัลที่ 2 พร้อมกันนั้นได้เชิญผู้นำชุมชนและตัวแทนลูกค้าเงินฝากแต่ละสาขามาเป็นสักขีพยาน ซึ่งถือว่าได้ดำเนินการอย่างโปร่งใสตรงไปตรงมาตามขั้นตอนและพิธีการจับรางวัล พร้อมกับมีการถ่ายทอดสดผ่านเพจเกษตรก้าวไกลไปด้วยกันและเครือข่าย ตั้งแต่เริ่มต้นการจับรางวัลจนจบงาน ภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อโควิด 19

นายสุรพงษ์ อิ่มเอิบ ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า “ตามวิสัยทัศน์ของธ.ก.ส.จะเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ภารกิจของเราคือการพัฒนาให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น โดยเฉพาะการสนับสนุนสินเชื่อ การส่งเสริมการออม รวมทั้งการสนับสนุนตามมาตรการของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นการเยียวยา การประกันราคาพืชผลต่างๆ วันนี้ก็เป็นโอกาสดีที่ธ.ก.ส.นนทบุรีได้มามอบโชค ซึ่งนอกจากธ.ก.ส.จะได้ดอกเบี้ยแล้ว สิ่งที่เราจะมีการตอบแทนคือลูกค้าทุกคนที่มีเงินฝากคงเหลือทุก 2,000 บาท ติดต่อกัน 3 เดือน จะได้รับสิทธิ์ในการชิงรางวัล 1 สิทธิ์ โดยใน 1 ปี จะกำหนดวันตัดยอดเพื่อจับรางวัลเป็น 2 ช่วง (2 ครั้ง) ครั้งนี้มีรางวัลทั้งสิ้นกว่า 5.9 ล้านบาท ส่วนคนที่ไม่ได้รางวัลก็ไม่ต้องเสียใจ เพราะท่านเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับบุญกุศลในการที่เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องในภาคชนบท และย้ำว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ท่านมาฝากไว้ ธ.ก.ส.จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผมขอขอบคุณลูกค้าและสักขีพยานทุกท่านที่มาช่วยมอบโชคในครั้งนี้”

ด้าน นายวิทยา ชพานนท์ นายอำเภอบางใหญ่ ประธานในพิธีจับรางวัล กล่าวว่า “ธ.ก.ส.เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนให้กับเกษตรกรเพื่อทำการเกษตร และโดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันได้กลายเป็นสถาบันการเงินที่มีบทบาทในการตอบสนองการทำงานตามมาตรการของรัฐบาลทั้งการให้สินเชื่อในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างอาชีพ การแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ การประกันรายได้ให้เกษตรกร ทั้งชาวนา ชาวสวนยาง ชาวสวนปาล์ม ฯลฯ วันนี้ทางธ.ก.ส.ได้จับรางวัลสมนาคุณให้กับลูกค้าผู้ฝากเงินออมทรัพย์ทวีโชคของทุกสาขาในเขตพื้นที่ของนนทบุรี ซึ่งมีทั้งรถยนต์ Toyota Cross รถยนต์ Toyota Yaris ทองคำ และเงินรางวัลอื่นๆ ก็ขอขอบคุณทางธ.ก.ส. และรู้สึกยินดีที่ได้มาเป็นประธานมอบรางวัลในครั้งนี้”

ส่วน นายแพทย์ชูศักดิ์ วรงค์ชยกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางใหญ่ กล่าวว่า “การฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ทวีโชคเป็นสิ่งที่ดี ที่มีการตอบแทนให้กับลูกค้าด้วยการจับรางวัล ซึ่งธนาคารพาณิชย์ทั่วไปอาจจะไม่มีสิ่งเหล่านี้ ก็ขอเชิญชวนให้สมาชิกที่เคยฝากเงินบอกกล่าวกันไปว่านอกจากจะได้รับความมั่นคงเป็นธนาคารของรัฐที่ดูแลพี่น้องเกษตรกรเป็นหลัก แต่ไม่ใช่ดูแลเฉพาะเกษตรกรธ.ก.ส.ยังดูแลลูกค้าทุกอาชีพที่เกี่ยวข้องด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างดียิ่งขอเรียนเชิญทุกท่านมาฝากเงินกับธ.ก.ส.อย่างเช่นตัวผมก็เป็นลูกค้าธ.ก.ส.เช่นกัน แต่วันนี้หวังว่าคงไม่จับรางวัลถูกตัวผมนะครับ”

สำหรับผลการจับรางวัลของธ.ก.ส.จังหวัดนนทบุรี รางวัลที่ 1 รถเก๋ง Toyota Cross จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 989,000 บาท ผู้ได้รับรางวัลเป็นลูกค้าธ.ก.ส.สาขาบางใหญ่ และ รางวัลที่ 2 รถเก๋ง TOYOTA Yaris จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 539,000 บาท ผู้ได้รับรางวัลเป็นลูกค้าธ.ก.ส.สาขานนทบุรี นอกจากรางวัลที่ 1 และ 2 ยังมีรางวัลที่ 3 ทองคำหนัก 1 บาท จำนวน 20 รางวัล รางวัลที่ 4 ทองคำหนัก 2 สลึง จำนวน 199 รางวัล รางวัลที่ 5 ทองคำหนัก 1 สลึง จำนวน 125 รางวัล รางวัลที่ 6 ข้าวสาร A ไรท์ 50 กิโลกรัม จำนวน 45 รางวัล รวมมูลค่าของรางวัลกว่า 5,900,000 บาท โดยลูกค้าสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้โชคดีและรายละเอียดของรางวัลได้ที่ธ.ก.ส.สาขาที่เปิดบัญชีตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา แนะการแพทย์ ยุค Next Normal ต้องให้ความสำคัญกับระบบบริการสุขภาพ เพื่อรับมือเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงและจัดการภาวะคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ในเวทีการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 60 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันนี้ (21 ก.พ.65) ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 60 หรือ The 60th Kasetsart University Annual Conference ภายใต้หัวข้อ “เกษตรศาสตร์ วิถีถัดไป พลิกวิกฤติสู่ความยั่งยืน” “Next Normal KASETSART: Turning Crisis into Sustainability” ขึ้นเป็นวันแรก ผ่านระบบ Cisco Webex, NontriLive ที่ https://live.ku.ac.th และ FacebookLive ที่ https://www.facebook.com/KasetsartUniversity โดยมี ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานเปิดการประชุม ซึ่งกำหนดจัดการประชุม รวม 3 วัน ระหว่างวันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2565 ประกอบด้วยการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ภาคบรรยายจำนวน 143 เรื่อง ภาคโปสเตอร์จำนวน 86 เรื่อง รวมทั้งสิ้น 229 เรื่อง

โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติเป็นองค์ปาฐก ในหัวข้อ “Disruptive Technology กับระบบสุขภาพยุค Next Normal” เพื่อเปิดมุมมองวิถีถัดไปพร้อมกระบวนการรับมือต่อเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงและจัดการต่อภาวะคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ด้วยระบบบริการสุขภาพ

ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา กล่าวว่านับตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงได้แก่ 1. Globalization ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่งและเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในทางลบและทางบวก เช่นทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ง่ายและในทางกลับกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารได้ง่ายยิ่งขึ้น 2. Digitalization เกิดกระบวนการแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบดิจิทัล 3. Disintermediation การหายไปของตัวกลางในระบบบริการสุขภาพ 4. Disruptive technologies การใช้เทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าเข้ามามีบทบาทและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 5. Climate change การเปลี่ยนแปลงสภาพระบบภูมิอากาศของโลกซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และเป็นสาเหตุของโรคระบาดที่เกิดการระบาดทั่วโลกที่สำคัญ (Viral Pandemic) ได้แก่การแพร่กระจายเชื้อก่อโรค SARS, ไข้หวัดหมู (Swine Flu), โรคเมอร์ส (MERS), โรคไข้ซิกา (Zika) และในปัจจุบันเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid19)

ดังนั้น ระบบบริการสุขภาพจะเข้ามามีส่วนช่วยในการรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ

ระบบสุขภาพต้องถูกออกแบบเพื่อส่งเสริมให้เกิดสุขภาพที่ดีทั้งจิตใจและร่างกายในบุคคลทั่วไปและบุคลากรด้านสุขภาพ
ระบบสุขภาพต้องมีคุณภาพ (Quality) มีการปรับตัวและความคล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลง (Agility)
ระบบสุขภาพต้องมีความพร้อมในการรับมือต่อการแพร่ระบาดครั้งใหม่ที่อาจเกิดขึ้นรวมทั้งโรคในกลุ่ม NCDs (Non-communicable diseases)
ผู้เกี่ยวข้องในระบบบริการสุขภาพมีทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ 1. ผู้มีอำนาจรับผิดชอบ ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างๆ 2. ผู้ที่นำนโยบายมาดำเนินการ และ 3. ประชาชน โดยในแต่ละส่วนนั้นจะมีผู้ที่คอยกำกับดูแล ในระบบบริการสุขภาพนั้นต้องให้ความสำคัญกับการจัดการ การเข้าถึงและการวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับมือต่อเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงและจัดการต่อภาวะคุกคามที่อาจเกิดขึ้น

นอกจากนี้ยังได้อธิบายเพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของระบบบริการสุขภาพ (New Normal Healthcare system) อย่างชัดเจนว่า ประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้

Health Promotion (การสร้างเสริมสุขภาพ) ได้แก่ การบริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Telehealth) และความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ทันสมัย (Health Literacy)
Disease Prevention (การป้องกันโรค) ได้แก่ 1. การตรวจทางพันธุกรรม (Genetic testing) ทำให้ทราบรหัสพันธุกรรมของตนเอง สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยที่มีผลต่อโรค และ 2. การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค (Vaccination)
Treatment of Disease (การรักษาโรค) โดยในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆเช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence; AI) การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) การใช้ระบบการพิมพ์ 3 มิติ (3D printer) หรือหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการรักษา

Rehabilitation (การฟื้นฟูสภาพ) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่ออำนวยความสะดวกระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล (Tele rehabilitation)
Palliative care (การประคับประคอง) การใช้เทคโนโลยีเพื่อให้คำปรึกษาทางการแพทย์แบบออนไลน์ (Tele – consultation) หรือการใช้หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical robot)

End of life care (การดูแลระยะสุดท้าย) โดยใช้ Tele–consultation และ Medical robot
“ระบบการดูแลสุขภาพที่ดีนั้นจะต้องเข้าถึงได้มากภายใต้คุณภาพที่เป็นที่ยอมรับและค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ซึ่งต้องพิจารณาทั้งหมด 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. ค่าใช้จ่าย (Cost) 2. การรักษาพยาบาลโดยตรงและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง (Quality) 3. การเข้าถึง (Access) โดยต้องคำนึงถึงการเข้าถึงได้ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน และนอกจากนี้บุคลากรด้านสุขภาพจำเป็นต้องเรียนรู้ด้านสุขภาพ (Health Education) โดยระบบการดูแลสุขภาพที่ดีประชาชนต้องมีความเสมอภาค (Equity) ในการเข้าถึงและสามารถการยกระดับทางสุขภาพของประชาชนให้ดีขึ้น (Population health)

ในอนาคตการใช้ Tele-system และ 5G technology จะเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงของระบบบริการสุขภาพให้ก้าวหน้า ทำให้ผู้ป่วยและแพทย์เกิดการปฏิสัมพันธ์แบบเผชิญหน้า (Face to face) น้อยลงและเข้าสู่ระบบ Digital Healthcare มากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมการแพทย์อาทิเช่น การใช้สมาร์ทโฟน (Smart phone) ทำการเก็บข้อมูลส่วนตัวทางการแพทย์ไว้ที่ระบบจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ (Cloud technologies) ทำการประมวลผลและวิเคราะห์ด้วยระบบ Ai เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสาร จากนั้นแพทย์จะทำการถ่ายทอดข้อมูลดังกล่าวกลับไปสู่คนไข้ นอกจากนี้การพัฒนาของเทคโนโลยีที่มากขึ้นในปัจจุบันทำให้แพทย์และคนไข้เกิดปฏิสัมพันธ์และสามารถแลกเปลี่ยนความรู้สึกร่วมกันได้อีกด้วย (High tech and high touch)” ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา กล่าว

หมายเหตุ : ข่าวโดย ผกามาศ ธนพัฒนพงศ์ / นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ / มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / 21 กุมภาพันธ์ 2565 / สรุปปาฐกถา โดย นางสาวดลฤดี โตเย็น

วันสองวันนี้ “เกษตรก้าวไกล” ได้ให้ความสนใจเรื่องชมพู่…เพราะเมื่อเย็นวานนี้(20 ก.พ.65) เห็นเฟสบุ๊คของเพื่อนๆอย่างน้อยก็ 2 คน ที่โพสต์เรื่องชมพู่ คนที่ 1 “เดชา สุขเปรม” โพสต์เรื่องชมพู่เพชรสายรุ้ง สวนลุงไพฑูรย์เพชรบุรี ดูจากรูปก็ชอบใจที่เขาสร้างนั่งร้านรอบต้นชมพู่ให้กลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกก็ว่าได้ ยิ่งศึกษาลงลึกพบว่าเป็นชมพู่ที่มีราคาแพงที่สุดของประเทศไทย คือ ราคากิโลกรัมละ 300 บาท (เบอร์ใหญ่สุด) และที่สวนแห่งนี้ยังมีภูมิปัญญาอันชวนหลงไหลและให้ค้นหาอีกมาก

สวนชมพู่ลุงไพฑูรย์(ชมพู่เพชรสายรุ้ง-เพชรบุรี) สุดยอดภูมิปัญญาเกษตรกรไทย ที่เห็นรูปช้างกับพญานาคคือถุงห่อที่เรียกว่าถุงมืดมีความเชื่อ(ความเชื่อก็คือความขลัง)ว่าจะทำให้ผลสวย..เหล่านี้เป็นตัวอย่างภูมิปัญญาที่สร้างเรื่องราวและก่อให้เกิดมูลค่าขึ้นมา (ภาพจาก คุณเดชา สุขเปรม)

และก็บังเอิญว่าเมื่อวานนี้ทางเราก็เพิ่งลงคลิปเรื่องชมพู่ทับทิมจันทร์ สวนคุณประยูร วิสุทธิไพศาล ที่ราชบุรี ทำให้เมื่อคืนนี้ต้องค้นหาข้อมูลเรื่องชมพู่จากทั่วโลก พบว่ามีความหลากหลายเรื่องสายพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็อยู่ในแถบเอเชียที่เป็นประเทศร้อน โดยเฉพาะประเทศไทยของเรา

พอรุ่งเช้า (21 ก.พ.65) ก็มาเจอโพสต์ของเพื่อนอีกคน คือ “ดร.จินดามาศ ทินกร” (เป็นเพื่อนในเฟสแต่จริงๆนับถือเป็นอาจารย์ เพราะว่าสอนวิชาชีพขนมครกชาววังที่มติชนสมัยก่อน) เช้านี้อาจารย์ได้โพสต์ว่า

“ชมพู่น้ำดอกไม้…ชมพู่โบราณ หวานหอมมากๆ ที่บ้านสวนราชบุรี— ที่ บ้านสวน คลองตาจ่า” พร้อมภาพชมพู่น้ำดอกไม้สีเหลืองสวยงามตามที่เห็นในโพสต์นี้แหล่ะ

ได้อ่านค้อมเม้นท์ของเพื่อนๆก็พบว่าหลายคนยังไม่เคยเห็น บางคนอยากได้เมล็ดพันธุ์ไปปลูก โดยรวมก็คือว่า ทุกคนให้ความสนใจ

กลับมาเปิด Google อีกรอบ คราวนี้เจอข้อมูลจากเว็บไซต์แห่งหนึ่งลงข่าวว่า…อั้ม พัชราภา ถึงกับร้องว้าว หลังเกิดมา 41 ปี เพิ่งเคยเห็น “ชมพู่น้ำดอกไม้” โดยอั้มได้เปิดเผยในไอจีว่า… “เกิดมาเพิ่งเคยเห็น เพิ่งเคยทาน ชมพู่น้ำดอกไม้ มีกลิ่นหอมมาก”

นอกจากนี้ยังอัดคลิปบอกชื่อเจ้าผลไม้หน้าตาแปลกนี้ว่า มันคือชมพู่น้ำดอกไม้ “เกิดมาก็เพิ่งเคยเห็นว่ามีชมพู่น้ำดอกไม้ กลิ่นหอมมาก (อั้มหอมแล้วหอมอีก) หอมเหมือนดอกไม้ เหมือนน้ำหอม…เดี๋ยวจะปอกให้ดู อั้มเกิดมาขนาดนี้ก็เพิ่งเคยเห็น (จากนั้นก็ผ่าชมพู่เป็น 5 แฉก) มีเม็ดด้วย นี่เม็ดเขาบอกเอาไปเพาะได้ หอมมากค่ะ(หอมอีกครั้ง) เดี๋ยวทานให้ดู กรอบอร่อย ยิ่งทานยิ่งหอมมากๆ โอ้โหไม่ได้เงินนะค่ะ(รีวิว) ไปเจอที่ตลาดอตก.เห็นว่าเป็นผลไม้แปลกก็เลยซื้อมา ลองหาทานกันดูนะค่ะ”

ครอบครัวชมพู่ทับทิมจันทร์ที่ราชบุรี
ที่นำเรื่องราวของคุณอั้มมาถ่ายทอดต่อก็ได้แรงบันดาลใจจากเพื่อนคนหนึ่งที่เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อไม่กี่วันก่อน ได้คุยกันว่าทำอย่างไรให้สินค้าของเกษตรกรเรา เวลาออกมาเยอะราคาจะตกต่ำ ก็คุยกันว่า จะต้องหาทางให้คนดังอย่างพวกสส.รัฐมนตรีนักธุรกิจผู้มีชื่อเสียงให้มุ่งเป้ามาตรงนี้ โดยเฉพาะดารานักร้องทั้งหลายที่เป็นบุคคลสาธารณะหรือคนของสังคมมาช่วยกันโพสต์ในออนไลน์กันให้เยอะๆ เพราะว่าก่อนหน้านี้ ไม้ประดับชนิดหนึ่งที่เป็นไม้ใบ คุณญาญ่า-อุรัสยา และคุณณเดชน์ ได้นำไปโพสต์ใน Instagram ของพวกเขาทำให้ต้นไม้พันธุ์ที่เขาโพสต์ขายดีจนขาดตลาดในไม่กี่วัน…

อย่าลืมว่า เกษตรคือประเทศไทย ถ้าทำให้เกษตรเจริญได้ประเทศไทยก็เจริญ…เรามาช่วยกันคนละไม้คนละมือการเกษตรของเราไปได้แน่นอนครับ วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 มีการจัดเสวนาวิชาการสาธารณะ เรื่อง ‘ปลดล็อกวิกฤตหนี้เกษตรกร ข้อเสนอเชิงนโยบายและทางออกที่ยั่งยืน’ ณ ห้องประชุมลาเวนเดอร์ 2 โรงแรม ทีเค. พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยมี สมจิต คงทน ผู้อำนวยการมูลนิธิชีวิตไท กล่าวรายงานตอนหนึ่งว่า จากอดีตถึงปัจจุบันเกษตรกรโดยเฉพาะชาวนา มีบทบาทสำคัญในการผลิตอาหารขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ภาคชนบท ที่สร้างรายได้ให้ประเทศจากการส่งออกข้าวและพืชเศรษฐกิจอีกหลายชนิด แต่กลับกลายเป็นอาชีพที่ถูกบีบคั้นจากปัญหาเศรษฐกิจเชิงโครงสร้างในหลายด้าน เช่น ราคาผลผลิตตกต่ำ ต้นทุน หรือปัจจัยการผลิตสูงขึ้นทุกปี ดังคำพูดของเกษตรกรที่ว่า ‘ของทุกอย่างที่ซื้อเขาแพงหมด แต่ของเราขายได้ในราคาถูก’ รวมทั้งเกษตรกรบางส่วนยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดที่เหนี่ยวรั้งศักยภาพในการปรับตัวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น พฤติกรรมทางการเงินที่เชื่อมโยงกับวงจรหนี้ รายได้ไม่ครอบคลุมรายจ่าย แนวคิด และวิธีการออมเงินไม่สามารถปลดล็อกหรือมีอิสระทางการเงินได้

ผู้อำนวยการมูลนิธิชีวิตไท กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 2 ปี ได้ตอกย้ำถึงความเหลื่อมล้ำของระบบเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อหนี้ครัวเรือนเกษตรกร โดยพบว่า ในช่วง 2 ปีที่เกิดโควิด-19 ระบาด ส่งผลให้หนี้สินเกษตรกรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 74 โดยปี 2564 มีหนี้ประมาณ 262,317 บาทต่อครัวเรือน และปี 2561 ก่อนจะมีการระบาดของโควิด-19 เกษตรกรมีหนี้สินเฉลี่ยเพียง 150,636 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งทั้งวิกฤตโควิด-19 และวิกฤตหนี้สินนี้เองส่งผลกระทบให้ปัญหาการสูญเสียที่ดินทํากินของเกษตรกรทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากเกษตรกรจํานวนมากนําที่ดินเป็นหลักประกันเงินกู้ในรูปแบบการจํานองและขายฝาก เมื่อเจอปัญหาวิกฤตด้านรายได้ ไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามกําหนดเวลา เกษตรกรจะมีปัญหาการถูกฟ้องร้อง จนจบลงด้วยการถูกบังคับคดี ขายทอดตลาด และสูญเสียที่ดินในที่สุด

ขณะที่ นายศรีสะเกษ สมาน รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวเปิดเวทีเสวนาและแสดงปาฐกถา หัวข้อ ‘ยุทธศาสตร์และแนวทางแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกรในภาวะวิกฤต’ ตอนหนึ่งว่า หนี้ต่อให้ปรับโครงสร้างอย่างไรก็ยังเป็นหนี้ ซึ่งทางออกที่จะไม่เป็นหนี้นั้น เป็นเรื่องที่พูดง่าย แต่ทำยาก เพราะนโยบายไม่ตอบโจทย์กับเกษตรกรที่เป็นคนกลุ่มเดิม ๆ คนรุ่นเก่า โดยเฉพาะในระยะหลัง ๆ มีเรื่อง Smart Farmer ทั้งหลายเข้ามา คนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีแนวคิดใหม่ มีความเป็นปัจเจกสูง กลุ่มทุน หน่วยงานต่าง ๆ ก็พากันเข้าไปสนับสนุนคนกลุ่มนี้ ตรงนี้เองกลับยิ่งทำให้เกษตรกรกลุ่มเดิมถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

“นโยบายที่บ้านเรามีไม่ได้มุ่งเข้าไปช่วยเกษตรรายย่อย เพราะบ้านเราไม่ได้ยอมรับไม่ยอมสถาปนาว่าประเทศเราเป็นประเทศเกษตรกรรายย่อย ทำให้เกษตรกรรายย่อยเป็นคนด้อยโอกาสชั้นล่างสุดที่รอรถโดยสารแบบลุ้น ๆ ว่าจะมาหรือไม่มา เปรียบเหมือนกับ ปลูกมะเขือออกมาก็ต้องลุ้น ไม่รู้ว่าจะขายได้หรือไม่”

รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวต่อว่า เกษตรกรถูกบังคับให้เป็นถึง 3 อย่างคือเป็น นักเกษตรกร, นักอุตสาหกรรม และนักการตลาดที่ดี ดูดีดูหรูหรา แต่ความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น เกษตรกรอยู่ไปวัน ๆ ซ้ายก็หนี้ ขวาก็หนี้ ไม่มีทางออก ขณะเดียวกัน บ้านเราก็ไม่ประสบความสำเร็จเรื่องการรวมกลุ่มเลย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบสหกรณ์ หรือวิสาหกิจชุมชน ดังนั้นเรื่องเหล่านี้จำเป็นต้องหาทางออกร่วมกัน

ดร.โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ เผยเกษตรกรส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 90 มีหนี้สิน ถึงเวลาที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องลงแก้ไขอย่างจริงจัง
เกษตรกรไทยร้อยละ 90 เป็นหนี้

จากนั้นมีการเสวนา ในหัวข้อ ‘ปลดล็อกวิกฤตหนี้เกษตรกร ข้อเสนอเชิงนโยบายและทางออกที่ยั่งยืน’ โดยมีวิทยากรและผู้สนใจมาร่วมเสวนาอย่างคึกคัก

ดร.โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวถึงงานวิจัยสู่การออกแบบนโยบายแก้หนี้เกษตรกรที่ยั่งยืน ว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 90 มีหนี้สิน และพบว่าเกษตรกรมีหนี้หลายก้อน มาจากหลายแหล่ง แต่แหล่งใหญ่สุดคือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ขณะเดียวกันยังพบอีกว่า เกษตรกรร้อยละ 92.2 เคยเข้าร่วมโครงการพักหนี้ แต่ผลคือทําให้เป็นหนี้และมีหนี้เสียเพิ่มมากขึ้น

“วงจรหนี้ของเกษตรกรมาจากการขาดสภาพคล่อง ทุนต่ำ ทำเกษตรไม่ได้ดี รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ติดกับดักนโยบายแก้หนี้ ที่เน้นช่วยระยะสั้น เช่น การพักหนี้ มากกว่าการแก้ปัญหาระยะยาว ขณะที่สถาบันการเงินก็เน้นการปล่อยสินเชื่อให้ลูกหนี้กู้เงินมาใช้หนี้ก้อนเดิม สร้างวัฒนธรรมหมุนหนี้ แทนที่จะส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินที่ยั่งยืน เพราะฉะนั้นตรงนี้ต้องปลดล็อกวัฒนธรรมการปล่อยกู้ของสถาบันการเงิน เปลี่ยน KPI เรื่องปริมาณสินเชื่อ เป็นคุณภาพสินเชื่อแทน

ส่วนนโยบายภาครัฐจากเดิมที่เน้นการพักชำระหนี้ ต้องเปลี่ยนเป็นปรับโครงสร้างหนี้ที่เป็นธรรม เหมาะสม และจูงใจลูกหนี้ รวมทั้งจะต้องมีหมอหนี้ประจำหมู่บ้าน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ต้องใช้พลังมหาศาลในการทำความเข้าใจลูกหนี้ ดังนั้นประเด็นคือธนาคารของรัฐจะเข้าใจเรื่องนี้หรือไม่” ดร.โสมรัศมิ์ กล่าว

ด้าน คุณเพ็ญนภา หงษ์ทอง นักวิชาการอิสระ กล่าวถึงบทเรียนกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งว่าด้วยการบังคับคดีหนี้เกษตรกรว่า หากมีการบังคับคดีให้ขายทอดตลาด ผลกระทบต่อเกษตรกรลูกหนี้คือ ต้องถูกบังคับให้ต้องขายที่ดินในราคาถูกกว่าท้องตลาด นำไปสู่การสูญเสียที่ดินภาคการเกษตรให้แก่นายทุนและบรรษัทต่างชาติ

“แนวทางปฏิบัติของเกษตรกรลูกหนี้เมื่อถูกบังคับคดี คือ อาจใช้วิธีเข้าร่วมประมูลที่ดินของตัวเอง แต่กรณีนี้ก็มีจุดอ่อนตรงที่เจ้าหนี้จะสามารถเข้าร่วมการเสนอราคาและปั่นราคาให้สูงเกินกว่าความเป็นจริง หรือกรณีขอให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เข้าซื้อหนี้ แนวทางนี้แม้มีจุดแข็งตรงที่ ศาลรับฟัง สามารถตีความเข้าสู่การให้ลูกหนี้ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการได้ แต่ก็มีจุดอ่อนคือ กระบวนการพิจารณาของกองทุนต้องใช้เวลา และปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูฯ มีเงินไม่เพียงพอที่จะซื้อหนี้เกษตรกรได้ทั้งหมด” เพ็ญนภา กล่าว

ขณะที่ นายพงษ์พันธ์ จงรักษ์ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาภาคการเกษตรเผชิญปัญหามาก่อนช่วงสถานการณ์โควิด-19 แล้ว ทั้งปัญหาในเรื่องภัยพิบัติ ปัญหาเรื่องโครงสร้างราคา ต้นทุนการผลิต ฯ โดยปัจจุบันนี้ ธ.ก.ส. มีลูกค้าซึ่งเป็นเกษตรกร 4.83 ล้านครัวเรือน หากคิดเฉลี่ยครัวเรือนละ 3 คน จะมีลูกค้าที่เป็นเกษตรกรประมาณ 15 ล้านคน

นายพงษ์พันธ์ กล่าวถึงการจัดการหนี้เกษตรกรในภาวะโควิด-19 ต่อว่า ได้มีมาตรการช่วยเหลือในรูปแบบการส่งผ่านเงินเยียวยา การพักชำระหนี้ และมาตรการฟื้นฟูอื่น ๆ อีกด้วย

“ในปี 2565 นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ระบุว่าจะเป็นปีแห่งการแก้ไขหนี้ครัวเรือน ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้รับลูกและมีการแก้ปัญหาหนี้มาอย่างต่อเนื่อง ธ.ก.ส.เราไม่ใช่แค่มีหน้าที่แค่อำนวยสินเชื่อ แต่เราได้เข้าไปพัฒนา ส่งเสริม ให้การช่วยเหลือเกษตรกร และในปีนี้ทาง ธ.ก.ส. ตั้งเป้าว่าจะออกไปเยี่ยมลูกค้าให้ครบถ้วน ไปดูว่าใครควรให้ยาแบบไหน ปรับโครงสร้างหนี้ ลดดอกเบี้ยอย่างไร รวมถึงสร้างมาตรการจูงใจ เช่น โครงการชำระดีมีคืน คืนดอกเบี้ยลูกค้าที่ไม่ใช่ NPL ร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง, ลูกค้า NPL คืนดอกเบี้ยสูงสุดร้อยละ 50 เป็นต้น ฉะนั้นการบังคับคดีชำระหนี้ของ ธ.ก.ส. จึงมีน้อยมาก” ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส.กล่าว

นอกจากนี้ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด นักวิชาการอิสระ ได้กล่าวว่า นโยบายและทางออกการแก้หนี้เกษตรกรที่ยั่งยืน ได้นำเสนอทางออกที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกรณีของธนาคารต้นไม้ ซึ่งการเสวนาครั้งนี้ ดำเนินรายการโดย คุณณัฐดนัย ใหม่ซ้อน ผู้ช่วยบรรณาธิการข่าว ช่อง 8

(รายละเอียดการเสวนาชมเต็มๆได้จากคลิป เกษตรก้าวไกลLIVE – ปลดล็อกวิกฤตหนี้เกษตรกร ข้อเสนอเชิงนโยบายและทางออกที่ยั่งยืน” https://fb.watch/bkAk7Zqh_V/ โดยในเรื่องหมอหนี้ประจำหมู่บ้าน และธนาคารต้นไม้จะอยู่ช่วงท้ายๆคลิป)

อนึ่ง องค์กรร่วมจัดเสวนาครั้งนี้ประกอบด้วย มูลนิธิชีวิตไท (Local Act) สภาเกษตรกรแห่งชาติ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.)และ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้การสนับสนุน

ในการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 60 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ “เกษตรศาสตร์วิถีถัดไป พลิกวิกฤตสู่ความยั่งยืน” เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ได้จัดให้มีการเสวนาพิเศษ เรื่อง Metaverse กับโลกการศึกษาและวิจัยในอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึง Metaverse และการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษาและการวิจัยอย่างมีศักยภาพสูงสุดในอนาคต โดย มีวิทยากรจำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ดร.รัฐภูมิ ตู้จินดา นักวิจัยทีมโครงสร้างพื้นฐานซูเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (ThaiSC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดร.ศิริศิลป์ กองศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ผศ.ดร.โมเรศ ปรัชญพฤทธิ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำเสนอตัวอย่างการนำเทคโนโลยีดิจิทัล โลกเสมือน Metaverse ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและแนวทางการพัฒนาในอนาคตให้กับเวทีการเสวนาพิเศษ โดยมี รศ.ดร.เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

ดร.รัฐภูมิ ตู้จินดา กล่าวถึงประเด็นการนำ Metaverse มาใช้ประโยชน์ด้านการวิจัย ว่า Metaverse คือโลกเสมือนที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้คนได้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ สามารถทำกิจกรรรมต่างๆร่วมกันได้ โดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์รองรับการเข้าถึงโลกเสมือน Metaverse ได้เริ่มต้นจากการที่เฟซบุ๊กได้พยายามผลักดันให้เกิดแพลตฟอร์มใหม่ๆ เนื่องจากมีการแข่งขันและแย่งชิงพื้นที่ นอกจากนี้สถานการณ์โควิดทำให้คนไม่ออกจากบ้าน จึงจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

ภาครัฐเองก็ต้องให้บริการแบบออนไลน์ คาสิโนออนไลน์ แต่ระบบออนไลน์ยังมีข้อบกพร่องในเรื่องความพร้อมของเทคโนโลยี และการเข้าถึงข้อมูล จึงได้มีการนำระบบ AI มาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะด้านการศึกษาวิจัย ซึ่งในอนาคตการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบใหม่ๆ จะต้องพัฒนาอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่นการทวิตเตอร์ข้อความจากคลื่นสมองทำให้รู้ว่าแนวโน้มจะมีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว คนจะใช้ระบบบริการมากขึ้น ถ้า service อยู่ที่ไหนคนจะไปที่นั่น Metaverve สามารถระบุตัวตนของ user สามารถแลกเปลี่ยน และเชื่อมโยงข้อมูลกันได้ หากการเตรียมพร้อมของ AI ดีก็จะทำให้เกิดสินทรัพย์ในโลกสมัยใหม่ ทำให้เกิดโลกจริงกับโลกเสมือน

ม.เกษตรฯเดินเกมรุก 6 ยุทธศาสตร์ ให้ประชาชนทุกกลุ่ม

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะสถาบันการศึกษา รับนโยบายของกระทรวง อว.ในการนำนวัตกรรมการศึกษา KU-Lifelong Learning ที่สร้างโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายวัยแรงงาน และวัยผู้สูงอายุได้เข้าถึงการศึกษาเรียนรู้ด้านสุขภาพเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต Health Science กำหนด 6 ยุทธศาสตร์เชิงรุก มุ่งเป้าความสำเร็จให้สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อ และสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21

ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (อว.)เป็นประธานเปิดตัวโครงการนำร่องเชิงนโยบายการบูรณาการส่วนงานเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต ณ ห้องประชุมวัฒนา สวรรยาธิปัติ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม อาคารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนำเสนอแนวคิดในประเด็น “โอกาสการเข้าถึงการศึกษา และนวัตกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต” กล่าวถึงแนวคิดการดำเนินโครงการของมหาวิทยาลัย ร่วมกับ ภาครัฐ เอกชน และชุมชนเพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มช่วงวัย

กลุ่มวัยแรงงาน ได้เข้าถึงระบบการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิตตอบสนองความต้องการ เพิ่มโอกาสที่จะยกระดับทักษะการบริหารจัดการการเงินของตนเองและครอบครัว และพัฒนาแรงงานฝีมือให้มีความชำนาญพิเศษ และต่อยอดความรู้เพื่อเป็นผู้ประกอบการใหม่ กลุ่มผู้สูงอายุ มีแผนส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศ โดยมีแผนส่งเสริมการทำงานหลังเกษียณ พัฒนาทักษะอาชีพในการหารายได้ การมีงานทำที่เหมาะสมกับศักยภาพ การเสริมสร้าง ฟื้นฟูสุขภาพ และการป้องกันโรค ซึ่งสถาบันการศึกษามีส่วนสำคัญที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับกลุ่มวัยแรงงาน และกลุ่มผู้สูงอายุได้

ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม ประธานคณะทำงานนโยบายบูรณาการส่วนงานเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต มก. กล่าวว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะสถาบันการศึกษา รับนโยบายของกระทรวง อว.ในการนำนวัตกรรมการศึกษา KU-Lifelong Learning ที่สร้างโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายวัยแรงงาน และวัยผู้สูงอายุได้เข้าถึงการศึกษาเรียนรู้ด้านสุขภาพเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต Health Science กำหนด 6 ยุทธศาสตร์เชิงรุก ได้แก่

1.การส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครอบครัว และชุมชนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

2. การส่งเสริมให้ชุมชุนเป็นฐานในการสร้างสุขภาวะที่ดีในทุกพื้นที่

3.การใช้สื่อและสื่อสารมวลชนในการปลูกฝังค่านิยม และวัฒนธรรมของคนในสังคม

4. การเปลี่ยนโฉมบทบาท “อาจารย์” ให้เป็นอาจารย์ยุคใหม่

5.การปลูกฝังค่านิยม และวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

6.การวางพื้นฐานระบบรองรับการเรียนรู้ โดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม

ภายใต้ตัวชี้วัดด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาวะ และความเป็นอยู่ที่ดีของคนไทย และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งความมุ่งหวังสำเร็จของการบูรณาการส่วนงาน KU Lifelong Learning คือ 1.สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อ และสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต 2.คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับ KU Lifelong Learning เป็นหนึ่งในกรอบแนวคิด KUniverse ของท่านอธิการบดีอีกด้วย

ด้าน ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำเสนอกรอบแนวคิด KUniverse ว่า “เป็นการพลิกโฉมของมหาวิทยาลัย โดยนำองค์ความรู้ทุกอย่างมาบูรณาการร่วมกัน นำสินค้าและบริการคุณภาพเป็นตัวนำและโยงมาสู่การเรียนการสอน ประกอบกับในขณะนี้มหาวิทยาลัยมีนโยบายสำคัญที่จะเปิดการเรียนการสอนสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือคณะแพทยศาสตร์ขอให้ทุกท่านติดตามและช่วยกันสนับสนุน” การดำเนินโครงการนำร่องเชิงนโยบายการบูรณาการส่วนงานเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในการพัฒนาตนเองให้ได้ผลสัมฤทธิ์ต่อไป

การเปิดตัวโครงการยังได้มีการนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ด้านสุขภาวะที่เหมาะกับคนทุกวัย ได้แก่ “โครงการนำร่อง : นวัตกรรมยกระดับผลิตภัณฑ์ เห็ดเป็นยา อาหารที่ดี และคลินิกเพื่อสุขภาพ โดย ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล สถาบันอานนท์ ไบโอเทค “การกีฬา นำพาสุขภาวะที่ดี” โดย ดร.ชัชชัย ชเว (“โค้ชเช”ผู้ฝึกสอนกีฬาเทควนโด้ทีมชาติไทย) และ ร้อยโทหญิง ชนาธิป ซ้อนขำ (“โค้ชเล็ก”อดีตนักเทควนโด้ทีมชาติไทย) ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.อิษฎี กุฎอินทร์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา “ดนตรีบำบัด เพื่อสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย” โดย ผศ.ดร.ธงรบ รื่นบรรเทิง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รับชมการแสดงดนตรีบำบัด เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดี โดย วง KU Wind

หลังจากมีการเปิดตัวโครงการคณะทำงานนี้จะมีการจัดกิจกรรมที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนอีกหลายกิจกรรม โดยมีเป้าหมายคือ 1.เพื่อพัฒนาสู่ตลาดอนาคต 2.เพื่อการรับรู้และตระหนักถึง โอกาสการเข้าถึงการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา และ 3.เพื่อนำนวัตกรรมและบริการคลินิกสุขภาพมาพัฒนาทักษะให้เข้าถึงตลาดงานในอนาคตมากยิ่งขึ้น.

ศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ผลิตสินค้า นมเกษตร และน้ำดื่มตราเกษตร จัดงาน “นมเกษตรทำดี ปีที่ 60” เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก้าวขึ้นสู่ปีที่ 60 วางยุทธศาสตร์การดำเนินงานสำคัญในปี 2565 ขับเคลื่อนธุรกิจตั้งเป้าเป็น Holding Company มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ครอบคลุมผู้บริโภคทุกกลุ่ม ปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจสู่เป้าหมายการเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจตาม S-curves BCG Model สอดคล้องวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้วิจัยและสร้างนวัตกรรมระดับโลก เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของศาสตร์แห่งแผ่นดิน

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าปีนี้เป็นปีสำคัญที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครบรอบ 79 ปี ก้าวสู่ปีที่ 80 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีเป้าหมายสำคัญตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป เพื่อจะขับเคลื่อนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานทุกหน่วยงาน ให้สนับสนุนการพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยตาม S-curves BCG Model ด้วยนโยบายเชิงรุกที่เรียกว่า KUniverse โดยอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นส่วนสำคัญที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจประเทศไทย ซึ่งบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัย

ในก่ารดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ประกอบด้วยบทบาทสำคัญคือ การสร้างองค์ความรู้ให้กับนิสิต เกษตรกร และผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการของ SMEs และเกษตรกรรม ให้บริการรับรองคุณภาพและมาตรฐานสินค้า เพื่อยกระดับความน่าเชื่อถือของสินค้าและบริการ ติดอาวุธให้เกษตรกร และผู้ประกอบการผ่านงานบริการวิชาการและปรึกษา สร้าง KU Market Place ที่ใช้หลักการเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) สร้าง KU Business Ecosystem พร้อมทั้งผนึกกำลังการส่งเสริมผ่านทุกวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย จัดตั้ง Spin-Off Company ภายใต้ KU Holding Company เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สนับสนุนภาคเอกชนได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมในด้านต่างๆ ดำเนินกิจการด้วยความใส่ใจสังคม ดูแลทั้งเกษตรกร นิสิต สายส่งนม อีกทั้งการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ และมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อมุ่งสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ตามนโยบายธุรกิจแนวใหม่ตามโมเดล BCG ซึ่งถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเป็น KUniverse โดยคาดหวังว่า ศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะเป็นหน่วยงานต้นแบบในการสร้างธุรกิจ การจัดตั้ง Holding Company ให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม และตั้งเป้าหมายให้ก้าวไปถึงการเป็นแบรนด์ในระดับสากล เนื่องจากเรามองเห็นถึงโอกาสและความเป็นไปได้ในการขยายผลสู่หน่วยงานอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยในการดำเนินงานเข้าสู่รูปแบบของการทำเป็นธุรกิจให้มากขึ้น

ด้าน ผศ.ดร.นุชนาถ มั่งคั่ง รองอธิการบดีฝ่ายการเงินและทรัพย์สิน เปิดเผยว่า ศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีเป้าหมายการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมให้มีคุณภาพและมาตรฐาน สนับสนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดต้นทุนในการผลิตและรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรซ์ภายใต้ชื่อ “นมเกษตร” ในโครงการ KU Fresh Milk ที่มีผลิตภัณฑ์อื่น อาทิ นมรสชาติต่างๆ 9 รสชาติ โยเกิร์ตรสธรรมชาติ และไอศกรีมโยเกิร์ต นอกจากนี้เรายังผลิตน้ำดื่มตราเกษตร

เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งนับจากนี้ไป เราจะเน้นกลยุทธ์การทำการตลาดเชิงรุก พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อมุ่งสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง Premium value โดยนมเกษตร ได้จัดให้มีการประกวดไอเดียเชิงนวัตกรรม ในโครงการประกวด Milk Design Contest เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตพร้อมดื่มชนิดเข้มข้น และกรีกโยเกิร์ต ที่จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับนมเกษตร และการนำเสนอรูปแบบธุรกิจให้นมเกษตร ตอบโจทย์ของผู้บริโภคในยุค 2030 ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากนิสิตหลากหลายคณะ

นอกจากนี้ โครงการนมเกษตรทำดีปีที่ 60 เรามีกิจกรรมทำเพื่อสังคม อาทิ กิจกรรมส่งมอบสุขภาพที่ดี โดยการสนับสนุนนมเกษตร ในโอกาสต่างๆ ให้กับสังคม ชุมชน โดยมีเป้าหมายส่งมอบนมเกษตร 60 กิจกรรมหรือชุมชน และยังมีกิจกรรมร่วมสมทบทุน / บริจาค โดยให้บุคลากรของศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มก. และเครือข่ายอาทิ สายส่ง คนกลาง ตัวแทน ซัพพลายเออร์ เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรม นมเกษตรทำดี ปีที่ 60 ตลอดปี 2565 โดยตั้งเป้าการทำดีของบุคลากรของศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มก 60 วัน /คน/ปี ผศ. ดร.นุชนาถ ให้ข้อมูลเพิ่มเติม

ด้าน ผศ.รัชด ชมภูนิช รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตและพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวแสดงความยินดี ถึงความสำเร็จของศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากการมุ่งมั่นผลิตสินค้าด้วยการใช้องค์ความรู้ การศึกษาวิจัย ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นที่น่าเชื่อถือของผู้บริโภค อีกทั้งมีการต่อยอดทั้งด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังสามารถตอบโจทย์ด้านการมุ่งสู่เป้าหมายของ UNSDGs ด้าน Zero Hunger การลดความหิวโหย ลดความยากจน นมเกษตรแบ่งปันและสร้างงานสร้างอาชีพในช่วงการแพร่ระบาดของวิกฤติโควิด-19 ช่วยให้ประชาชนมีงานทำจากการเข้ามาเป็นสายส่งนมให้กับนมเกษตร เป็นต้น นอกจากนี้นมเกษตร

ยังตอบโจทย์เป้าหมายความยั่งยืนด้าน Good Health and Well-being เพราะนมเกษตรเป็นนมเพื่อสุขภาพตลอดจนให้การสนับสนุนกิจกรรมด้านกีฬาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่อง นับว่าศูนย์ผลิตภัณฑ์นมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้นแบบธุรกิจที่พัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการดำเนินธุรกิจ สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เน้นเรื่องวิถีแห่งความยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถสร้างเครือข่ายและบรรลุเป้าหมาย Partnership for the Goals เนื่องจากมีหลายหน่วยงานทางภาคเอกชนได้เห็นถึงโอกาสในการทำธุรกิจและเปิดโอกาสสร้างเครือข่ายให้นมเกษตรได้เข้าสู่ตลาดสากลต่อไป

เภสัชกร ดร.พิสิฐ อุ่ยรุ่งโรจน์ นายกสมาคมปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แสดงความยินดีที่ศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก้าวขึ้นสู่ปีที่ 60 พร้อมให้ความเห็นว่างานวิจัยทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทางศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มก. ทำมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นมเกษตรมีคุณภาพเป็นที่น่าเชื่อถือ มีวิตามินแร่ธาตุที่จำเป็นเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงและมีภูมิต้านทาน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตทุกวันนี้ ในฐานะนายกสมาคม ExMBA ก็จะช่วยผลักดันให้เกิดการต่อยอดทางด้านธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบันมีศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จและสามารถที่จะสร้างเครือข่ายให้นมเกษตรเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังสามารถให้การสนับสนุนทางด้านการตลาด การอบรมให้ความรู้ด้าน Digital Marketing ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่ง ในการสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจของศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มก ตามนโยบาย BCG ของมหาวิทยาลัย

นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์ SME ไทยกล่าวชื่นชมว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นมเกษตรได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย ด้วยประวัติอันยาวนานได้มีการสั่งสมชื่อเสียงและคุณภาพของนมเกษตร อีกทั้งการพัฒนาแปรรูปต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้อีกหลากหลาย อาทิ โยเกิร์ต และ ชีสเป็นต้น นับเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเพิ่มคุณค่าได้ ทั้งนี้ ทางสมาพันธ์ จะร่วมผลักดันนมเกษตร ให้เป็นที่ยอมรับแพร่หลายมากขึ้น ทั้งด้านการเชื่อมโยงเครือข่าย การทำการตลาดการประชาสัมพันธ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์นมเกษตรสามารถสร้างประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการ SME ในแต่ละพื้นที่ที่สนใจทำธุรกิจได้ เช่นการเป็นสายส่งนม นับว่าเป็นแนวคิดที่ดีมากของอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการนำเอาหน่วยงานที่มีศักยภาพ มาสร้างคุณประโยชน์เพื่อช่วยผู้ประกอบการให้มีธุรกิจและกระจายรายได้ ซึ่งต่อไปในอนาคตนมเกษตรจะไม่เป็นเพียง Local Brand แต่จะขยายสู่การเป็นแบรนด์ระดับสากลต่อไป

ภายในงาน “นมเกษตรทำดี ปีที่ 60” มีการแนะนำตัวแทนคนรุ่นใหม่ดื่มนมเกษตร KU Milk ICON อาทิ นายนิปุณ แก้วเรือน (น้องต้นกล้า) นิสิตปี 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ น.ส.นันทิภัทร ภาระ (น้องฟ้า) นิสิตปี 1 คณะวนศาสตร์ และนักกีฬาเทควันโดของชมรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายชาคริต วาสประเสริฐสุข (น้องริว) นิสิตปี 2 คณะมนุษย์ศาสตร์ และนักกีฬาทีมฟุตบอลเกษตรศาสตร์ เอฟซี ดร.ชเว ยอง-ช็อก (โค้ชเช) จากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ดร.สง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์เครือข่ายนมดีทุกวัยดื่มได้ทุกวัน มีการจัดแสดงนิทรรศการ และผลงานนิสิตในโครงการประกวดนวัตกรรมนมเกษตร KU Milk Design Contest / การประกวด Dairy and KU Milk Model โดย ผศ.ดร. อรช กระแสอินทร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ / การประกวด KU Milk and Circular Living Idea โดย รศ.ดร.วีรเชษฐ์ จิตตาณิชย์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดต่อศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทางช่องทาง Email: kudc@ku.ac.th www.daily.ku.ac.th FB : นมเกษตร

กรมส่งเสริมการเกษตรจัดงานรณรงค์ลดการเผาในท้องถิ่น พื้นที่ภาคตะวันออก และนำร่องสาธิตเทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุการเกษตรทดแทนการเผา ภายใต้โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ปี 2565 เผยผลการดำเนินงานมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 47 ลดการเผาลงได้จริง

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ให้ความสนใจกิจกรรมในงาน
นางอัญชลี สุวจิตตานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรจัดงานรณรงค์ลดการเผาในท้องถิ่น ภายใต้โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ปี 2565 ณ แปลงสาธิตศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรลดการเผาในพื้นที่การเกษตร และปรับเปลี่ยนวิธีการทำการเกษตรมาทำการเกษตรแบบปลอดการเผา โดยการสร้างและพัฒนาเครือข่ายเกษตรปลอดการเผา เพื่อเร่งรัด จัดการ และแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร

ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปี 2547 ปัจจุบันได้กำหนดแนวทางสร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาโดยใช้กลไกของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) หรือศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) หรือกลุ่มเกษตรกรให้ได้ 294 เครือข่ายในพื้นที่ 60 จังหวัด พร้อมจัดอบรมหลักสูตรถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้สามารถเป็นวิทยากรด้านการทางการเกษตรปลอดการเผา นำเสนอทางเลือกและสาธิตการใช้เทคโนโลยีการเกษตรทดแทนการเผา เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและสร้างจิตสำนึกของเกษตรกรให้ยอมรับ การทำการเกษตรแบบปลอดการเผา รวมทั้งจัดกิจกรรมนำร่องสาธิตเทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุการเกษตรทดแทนการเผา หรือส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเพื่อแก้ปัญหาการเผาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะพิจารณาใช้เทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุการเกษตรทดแทนการเผาที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

สำหรับกิจกรรมภายในงานรณรงค์ลดการเผาในท้องถิ่น ซึ่งจัดขึ้นที่แปลงสาธิตศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีกิจกรรมสร้างการรับรู้ และกิจกรรมเสนอทางเลือกลดการเผา ดังนี้

1) การบรรยายความรู้เรื่องการแก้ปัญหาและมาตรการป้องกันและผลกระทบจากการเผาต่อสุขภาพ และแจกเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร และการจัดการเศษวัสดุทดแทนการเผา ได้แก่ การไถกลบทดแทนการเผา การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ฯลฯ

2) กิจกรรมสาธิตการฉีดพ่นน้ำหมัก และการไถกลบตอซัง

3) ฐานเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุการเกษตร น้ำหมักย่อยสลายตอซัง และการใช้ประโยชน์จากวัสดุทางการเกษตร “การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า” “การทำแซนวิชอาหารปลา” และการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร

4) การให้บริการตรวจวัดอุณหภูมิ และตรวจสารเคมีในเลือด และ

5) การจำหน่ายผลผลิตผลิตภัณฑ์จากวิสาหกิจชุมชนและเกษตรกรในท้องถิ่น

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า ปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตรถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เสื่อมโทรม ส่งผลต่อการผลิตพืชของเกษตรกร และยังเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ ก่อให้เกิดก๊าซพิษ หมอกควันสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งยังส่งผลเสียต่อการทำอาชีพการเกษตรโดยตรง ซึ่งผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรโดยกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2564 จากการสำรวจจากดาวเทียม TERRA และ AQUA

ระบบ MODIS ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2564 โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (Gistda) พบจุดความร้อน (Hotspot) ในประเทศไทยลดลง คิดเป็นร้อยละ 51.71 คือปี 2564 จำนวน 12,705 จุด ปี 2563 จำนวน 26,310 จุด ซึ่งจุดความร้อนอยู่ในพื้นที่การเกษตร ลดลงร้อยละ 47.17 คือปี 2564 จำนวน 3,320 จุด ปี 2563 จำนวน 6,285 จุด ในขณะที่พื้นที่ภาคตะวันออก 9 จังหวัด ก็มีแนวโน้มจุด Hotspot ลดลงต่อเนื่อง คือพบ Hotspot ปี 2563 จำนวน 1,471 จุด และปี 2564 จำนวน 1,057 จุด จากพื้นที่การเกษตรรวม จำนวน 10,506,992 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว 2,224,707 ไร่ ยางพารา 2,042,592 ไร่ ไม้ผล 1,172,571 ไร่ มันสำปะหลัง 898,990 ไร่ และอื่น ๆ 1,145,936 ไร่

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. ได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบของหมอกควันและไฟป่าที่เกิดขึ้น โดยสวพส.มีภารกิจในการนำองค์ความรู้จากโครงการหลวงมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชนบนพื้นที่สูง ให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้โดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดการเผาเพื่อการเกษตร เน้นการทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นผลให้จุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่สูงลดลง และมีแนวโน้มว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง

นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เปิดเผยว่า หากเอ่ยถึงปัญหาหมอกควันและไฟป่าในประเทศไทยคงจะทราบกันดีว่าปัญหานี้มีมานานหลายปี โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือนั้นนับว่าเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก โดยในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษาภาคม 2563 เกิดจุดความร้อนสะสมในพื้นที่การดูแลของ สวพส. 8 จังหวัด จำนวน 7,322 จุด ทำให้ป่าต้นน้ำลำธารเสียหาย และค่า PM 2.5 สูงมาก ก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตของประชาชน ซึ่งในส่วนของการแก้ไขปัญหานั้นทุกส่วนของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ และที่เห็นเป็นประจำทุกปีคือการพ่นน้ำ การดับไฟป่า การจัดทำแนวกันไฟ และอีกหลาย ๆ กิจกรรม ซึ่งยังไม่สามารถที่จะลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้ จากปัญหาดังกล่าว สวพส. ได้ขยายองค์ความรู้จากโครงการหลวงมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งการทำการเกษตรแบบไม่เผา โดยการจัดพื้นที่รายแปลงที่เหมาะสม เน้นการใช้พื้นที่น้อยให้มีรายได้มาก ใช้พืชผักที่ขายได้ในราคาสูงและทำได้ตลอดทั้งปี

สวพส. ได้ดำเนินงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยส่งเสริมการปลูกไม้ผลและกาแฟใต้ร่มเงาในพื้นที่ป่า และการประสานกับหน่วยงานภาคีในการช่วยเหลือชุมชนบนพื้นที่สูงให้มีวิถีชีวิตที่ดีและพอมีพอกินตามหลักปรัชญาเศรฐกิจพอเพียง โดยการทำการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ เมื่อชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้ชาวบ้านมีเวลาที่จะดูแลป่าไม้ที่อยู่รอบชุมชนมากขึ้น เพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ทำการเกษตรที่มีไม้ยืนต้น ไม่บุกรุกทำลายป่า โดยการทำเกษตรแบบไม่เผา ส่งผลให้ในปี 2564 นี้ จุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่การดูแลของ สวพส. 8 จังหวัด มีจำนวนลดลงมากถึง 70 % เมื่อเทียบกับปี 2563 และบางพื้นที่ไม่มีจุดความร้อนเกิดขึ้นเลย

ด้าน นายเดชธพล กล่อมจอหอ นักวิชาการส่งเสริมและพัฒนา สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง กล่าวว่า โครงการลุ่มน้ำสาละวินที่ทางสวพส. เข้าไปดำเนินการ มีพื้นที่ทั้งหมดล้านกว่าไร่ ครอบคุมพื้นที่จังหวัดตากและแม่ฮ่องสอน ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ปัญหาเรื่องการเผาเพื่อทำการเกษตรเกิดขึ้นเยอะมาก สวพส. จึงส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินงานด้วยการสร้างความคุ้นเคยกับผู้นำชุมชนและชาวบ้าน และการนำองค์ความรู้จากโครงการหลวงมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่สูงในทุกมิติ เพื่อให้ชุมชนมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ให้คนอยู่กับป่าได้อย่างลงตัว ส่งผลให้ปัจจุบันการเผาป่าและจุด Hotspot ในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินลดลงอย่างต่อเนื่อง และบางพื้นที่อย่างพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวงสบโขงไม่เกิดจุดความร้อนแม้แต่จุดเดียว ส่งผลให้ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น มีการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้มีรายได้ตลอดทั้งปี

“จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานของ สวพส. คือการลงพื้นที่และเข้าให้ถึงตัวชาวบ้าน โดยเริ่มจากผู้นำชุมชนก่อน ด้วยสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่น ซึ่งเป็นผู้มีส่วนสำคัญในทุกขั้นตอนของการพัฒนา ทำให้ชาวบ้านเปิดใจยอมรับพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ และเห็นความสำคัญของปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตร ทั้งนี้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นของทุกคนและเพื่อให้คงอยู่สืบต่อไปให้ลูกหลานในอนาคต ทางเดียวที่เราจะสู้ได้ คือ การนำองค์ความรู้เข้าไปแก้ปัญหา ซึ่งสิ่งนี้เป็นความตั้งใจของสวพส. ร่วมกับ มูลนิธิโครงการหลวง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยตั้งเป้าลดจุด Hotspot ในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด ให้คนและป่าอยู่ร่วมกันเพื่อการรักษา

เมื่อวันที่ 16 ก.พ.65 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อติดตามงานนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ แปลงใหญ่มังคุด ต.นาเรียง อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช (วิสาหกิจชุมชนคัดคุณภาพมังคุดบ้านศาลาใหม่) เพื่อตรวจเยี่ยม และรับทราบปัญหาจากเกษตรกรผู้ผลิตมังคุดในพื้นที่ โดยมี นายเกรียงศักดิ์ รักษ์สีทอง นายอำเภอพรหมบุรี กล่าวต้อนรับ นายอุดมเกียรติ เกิดสม เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช นายภูวเดช วุฒิวงศ์วัฒ เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช นายอนุชา ยาอีด ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่มังคุด ต.นาเรียง ร่วมให้การต้อนรับ และนางพัลวลี ภูมาวงค์ ประธานแปลงใหญ่มังคุด ต.นาเรียง รายงานข้อมูลผลการดำเนินงานและสถานการณ์ปัญหา

สำหรับแปลงใหญ่มังคุด ต.นาเรียง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 มีสมาชิก จำนวน 42 ราย มีพื้นที่ 343 ไร่ ปริมาณผลผลิตมังคุด เมื่อปี 2563 ประมาณ 103 ตัน ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ปัญหาราคาผลผลิตมังคุดตกต่ำ การขาดเงินทุน อุปกรณ์ และโรงเรือนแปรรูปผลผลิต การขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยวและคัดเกรดผลผลิตมังคุด ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ ได้ให้แนวการการขับเคลื่อนและการสนับสนุนแปลงใหญ่ตามนโยบายการส่งเสริมการผลิตแปลงใหญ่ ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยพัฒนายกระดับแปลงใหญ่ให้เป็น Start Up หรือ SMEs เกษตร การจัดอบรมผู้นำและสมาชิกแปลงใหญ่ให้เป็นผู้ประกอบการ เพื่อทำการเกษตรสู่การเป็นเกษตรมูลค่าสูง การรักษาคุณภาพมังคุดและปรับระบบการขนส่งผ่านระบบ Cold Chain การศึกษาวิจัยและพัฒนามังคุด โดยศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ด้านการแปรรูป การสกัดสารสำคัญจากมังคุด เพื่อมุ่งสู่การทำเกษตรมูลค่าสูง

จากนั้น นายอลงกรณ์ ได้เดินทางมายังศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช และเป็นประธานการประชุมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านภาคการเกษตรทั้งระบบของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช (นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์) ได้มอบหมายให้ นายไตรรัตน์ ไชยรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้การต้อนรับ และร่วมประชุม พร้อมด้วยนายอยุทธ์ เชาวลิต รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช นางเอกอนงค์ บัวมาศ พาณิชย์จังหวัดนครศรีธรรมราช นายวัชรินทร์ ไชยานุพงศ์ อุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้แทนในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ที่ประชุมได้รายงานสรุปแนวทางการพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช มีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) การบริหารจัดการเกษตรและอุตสาหกรรมสู่มาตรฐานครบวงจรและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2) การพัฒนาการท่องเที่ยวบนพื้นฐานธรรมะ ธรรมชาติ และศิลปวัฒนธรรม 3) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 4) การพัฒนาคน ชุมชน สังคมให้น่าอยู่ และเข้มแข็งตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5) การรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย และ 6) การส่งเสริมศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ ปี 2565 ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ผลผลิตผลไม้ 4 ชนิด (ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง) ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และการพิจารณาการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านภาคการเกษตรทั้งระบบของจังหวัดนครศรีธรรมราช (การบริหารจัดการผลไม้ทั้งระบบ) เพื่อเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาผลผลิตที่อาจจะเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อเกษตรกร ซึ่งจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ปลูกไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ทุเรียน มีพื้นที่ปลูก 89,265 ไร่ ผลผลิต (คาดคะเนสถานการณ์ ปี 2565) จำนวน 69,182 ตัน มังคุด พื้นที่ปลูก 96,620 ไร่ ผลผลิต จำนวน 66,919 ตัน เงาะ พื้นที่ปลูก 12,845 ไร่ ผลผลิต จำนวน 8,870 ตัน และลองกอง พื้นที่ปลูก 14,566 ไร่ ผลผลิต จำนวน 4,350 ตัน ซึ่งมีการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

ด้านการพัฒนาคุณภาพผลผลิต สมัครพนันออนไลน์ การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพผลไม้ทั้งในและนอกฤดู ส่งเสริมการผลิตตามระบบมาตรฐาน GAP ในการรับรองมาตรฐาน GAP มีแผนการดำเนินงาน ปี 2565 จำนวน 1,458 แปลง ได้แก่ ทุเรียน 605 แปลง มังคุด 547แปลง มะพร้าว 112 แปลง ส้มโอ 92 แปลง โกโก้ 40 แปลง สละ 34 แปลง เงาะ 20 แปลง ลองกอง 4 แปลงฝรั่ง 4 แปลง จำนวนแปลงสะสมทั้งหมด ปี 2547-2565 จำนวน 12,576 แปลง 11,125 ราย 57,277.3968 ไร่ มีแผนการบริหารจัดการการผลิต การพัฒนาองค์กรเกษตรกรและสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรเกษตรกร การจัดการด้านการตลาดและโลจิสติกส์ โดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัด อบรมให้ความรู้การบริหารจัดการด้านการตลาดออนไลน์ และการวางแผนเตรียมความพร้อมสำหรับฤดูกาลผลิตมังคุด ปี 2565

ขอขอบคุณ ชาวชุมชนบ้านแม่กระบุงที่ให้การต้อนรับผู้มาเยือน

อีกทั้งสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศรีสวัสดิ์ และ ฟอร์ดประเทศไทย ที่สนับสนุน ฟอร์ดเรนเจอร์ ให้เป็นพาหนะลุยท่องเที่ยวบ้านแม่กระบุงในครั้งนี้ ติดตามเรื่องราวของบ้านแม่กระบุงได้เพิ่มเติมจากคลิปที่เราเคยนำเสนอ…

คลิปที่ 1–ผู้ใหญ่บ้านชวนเที่ยว…OTOP นวัตวิถีบ้านแม่กระบุง กาญจนบุรี https://fb.watch/aR2gDzyWYe/

คลิปที่ 1–นวดตอกเส้น…ศูนย์สมุนไพรบ้านแม่กระบุง จ.กาญจนบุรี https://fb.watch/aS-9cTtMKb/

คลิปที่ 3–น้ำตกแห่งใหม่..น้ำตกแม่กระบุง อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี นายสุรชัย รุ่งรัตนพงษ์พร ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ในโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า ปัจจุบันสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ในโครงการฯ มี 20 ครอบครัว โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทในการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่เชิงพาณิชย์ในระบบปิด โดยเกษตรกรจะได้รับการสนับสนุนพันธุ์ไก่ไข่สำหรับเลี้ยงจำนวนเล้าละ 4,300 ตัว และทางโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สนับสนุนพื้นที่ในการก่อสร้างฟาร์ม ปัจจุบันมีไข่ไก่ที่ออกจากฟาร์มสู่ตลาดวันละประมาณ 80,000 ฟอง

“รายได้ถือว่ามั่นคง อย่างผมลูกสาวเรียนจบปริญญาตรี 2 คน ในการทำงานภายในฟาร์มนั้นแต่ละวันเกษตรกรจะเข้ามาในฟาร์มดูแลเล้า ประมาณช่วงตีสี่ถึงตีห้า ปัดกวาดเล้า ดูแลเรื่องน้ำดื่มไก่ ตลอดจนการให้อาหาร จากนั้นจะออกจากโรงเรือนส่งบุตรหลานไปโรงเรียน จะเข้ามาที่เล้าไก่อีกครั้งประมาณ 8 โมงเช้า เพื่อเก็บไข่รวบรวมไปไว้ที่โรงคัด และรถขนส่งไข่จะมารับไข่ไก่

ประมาณ 9 โมงเช้าเพื่อนำไปส่งโรงคัดอีกครั้ง ที่นั้นจะคัดแยกขนาดของไข่ไก่ออกมาตามเบอร์ต่างๆ ในการจำหน่ายเกษตรกรจะขายได้ในราคาประกันที่ 2.75 สตางค์ ต่อ 1 ฟอง ถือว่าคุ้มค่ากับใช้จ่ายในการเลี้ยง อย่างช่วงนี้ทางบริษัทจะเพิ่มค่าไฟฟ้าให้แก่เกษตรกร ด้วยการเพิ่มตัวไก่ให้เล้าละอีก 100 ตัว ก็เหมือนว่าเราลดต้นทุนไปได้เยอะ ช่วยค่าน้ำค่าไฟได้และคุ้มทุน เพราะปกติการเลี้ยงไก่ไข่อยู่ที่เล้าละ 4,200 ตัว มารุ่นนี้ทางบริษัทเพิ่มให้เป็น 4,300 ตัว เพิ่มอีก 100 ตัว ก็เป็นผลดีต่อเกษตรกรเพราะต้นทุนเท่าเดิมแต่ปริมาณไก่และไข่ไก่เพิ่มขึ้นทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น” นายสุรชัย กล่าว

ทั้งนี้ไก่ไข่ 1 ตัวจะให้ไข่ประมาณ 300 ฟองต่อการเลี้ยง 1 รุ่น ขณะที่ค่าไฟฟ้าเท่าเดิม แต่รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น และไก่ 1 รุ่นจะปลดรุ่นประมาณ 16 เดือน หากเกษตรกรมีความตั้งใจในการเลี้ยงและดูแลไก่ดี เมื่อถึงระยะปลดไก่จะมีรายได้อีกส่วนหนึ่ง รวมรายได้การเลี้ยงไก่ไข่ต่อรุ่นจะได้ประมาณ 3 – 4 แสนบาทต่อครอบครัว ขณะที่มูลไก่เกษตรกรสามารถเก็บขายได้ในราคากระสอบละ 30 บาท ซึ่งเป็นราคาหน้าฟาร์ม

ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงกลุ่มไก่ไข่ เปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า ก่อนมีโครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบพืชเชิงเดี่ยว ผลผลิตหรือรายได้จะไม่แน่นอน เกษตรกรจะยากจน หลังจากมีโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทางโครงการฯ ได้ส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ทำการเกษตรอย่างถูกวิธี ทำให้เกษตรกรมีโอกาสเข้าถึงอาชีพอย่างหลากหลายมากขึ้น

“สมัยก่อนลูกหลานจะไม่ค่อยได้เรียนจนจบปริญญาตรีแต่เดี่ยวนี้เกษตรกรที่ทำฟาร์มไก่ไข่จะมีเงินเพียงพอ สามารถส่งลูกหลานเรียนจนจบปริญญาตรีได้หมด ก็เป็นพระมหากรุณาที่คุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ส่งเสริมเกษตรกรจนมีอาชีพที่มั่นคง และก็ดีใจที่ในหลวงรัชกาลที่ 10 มาสืบสาน รักษา ต่อยอด เป็นพระราชปณิธาน ของพระมหากษัตริย์ สานต่องานจากรัชกาลที่ 9 ทำให้เกษตรกรมีความอุ่นใจ ที่ทุกพระองค์ไม่เคยทอดทิ้งประชาชนของพระองค์” นายสุรชัย กล่าว

“วันนี้(9มกราคม2565)เราได้มีโอกาสมาอีกจุดหนึ่งของอำเภอบางสะพานนะครับ แต่ที่น่าสนใจมากๆก็คือตรงนี้ถ้าเรามองก็คือเป็นแหล่งน้ำขนาดเล็กสำหรับพัฒนาชุมชนในพื้นที่เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคอยู่ในพื้นที่เขต 1,000, 2,000, 3,000 ไร่ก็แล้วแต่ มันเป็นฝายทดน้ำมีหน้าที่ยกระดับน้ำเข้าสู่แปลงเกษตรนะครับ จะมีระบบการจัดการน้ำอาจจะเป็นคลองส่งน้ำท่อส่งน้ำ เราเรียกว่าฝายยายฉิมก็สร้างเมื่อปี 2560 นะครับ และเมื่อปี 2560 เกิดอุทกภัยบางสะพาน ฝายนี้กำลังก่อสร้าง ผลจากกระแสน้ำที่มาอย่างรุนแรงของคลองบางสะพานทำให้ฝายนี้ได้รับผลกระทบก็พังไป

ทางกรมชลประทานก็ไม่ทอดทิ้งนะครับ เพราะเรากำลังสร้างอยู่เกือบเปิดใช้งานได้แล้ว แต่พี่น้องยังใช้ไม่ได้แน่ถ้าเราไม่มาซ่อมให้สมบูรณ์ วันนี้ทางผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างสำนักงานชลประทานที่ 14 (นายพิมล สกุลดิษฎี) ก็ได้มีการก่อสร้างพร้อมทีมงานแล้วเสร็จสวยงามก็อยากให้ทางพี่น้องสื่อมวลชนได้มาเยี่ยมชม แล้วก็ทางท่านผู้นำกลุ่มผู้ใช้น้ำพี่เล็ก(นายกฤษดา หมวดน้อย ปราชญ์ชาวบ้าน)

ก็อยู่ในพื้นที่แล้วก็เราก็ต้องทำเรื่องของการมีส่วนร่วมภาคประชาชนการจัดสรรปันน้ำให้เป็นธรรมครับ ผมก็เน้นนโยบายของกรมชลประทานที่เราสร้างเสร็จเราก็จะส่งมอบให้กับท้องถิ่น แต่เราต้องดูก่อนนะครับว่าโครงการนั้นอยู่ในขอบเขตของงานพระราชดำริ งานความมั่นคง หรืออุทกภัยอุทกภัยหรือเปล่านะครับ ก็เดี๋ยวจะให้ฟังขั้นตอนการก่อสร้างปัญหาอุปสรรคจากผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างสำนักงานชลประทานที่ 14 เชิญครับ”

นั่นคือเสียงของ นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ที่ได้อธิบายจุดเริ่มต้นของฝายทดน้ำบ้านเกาะยายฉิม ต.ร่อนทอง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งได้ส่งมอบงานเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2565 ซึ่งลักษณะของโครงการ ขั้นตอนและปัญหาอุสรรคการก่อสร้าง จะมีรายละเอียดอยู่ในคลิปที่เกษตรก้าวไกลได้LIVEสด (คลิกชมได้ที่ https://fb.watch/b4eGTFShmO/) และในตอนท้ายของคลิปรองอธิบดีกรมชลประทานได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการสร้างฝายทดน้ำของชุมชนต่างๆ ว่าถ้าชุมชนต้องการสร้างจะสามารถเข้าถึงกรมชลประทานได้อย่างไร ขอให้ผู้สนใจคลิกชมตามลิงก์ที่ให้ไว้ก็จะได้ความชัดเจน

พร้อมกันนี้ “เกษตรก้าวไกล” ยังได้นำภาพหนังสือตอบกลับการก่อสร้างโครงการฝายทดน้ำบ้านเกาะยายฉิมและภาพข้อมูลรายละเอียดโครงการมาให้ดูด้วย เพื่อจะได้เป็นแนวทางให้กับพี่น้องเกษตรกรในชุมชนอื่นๆ ที่ต้องการได้แหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะอีกไม่นานหลังจากนี้หน้าแล้งก็จะมาเยือนอีกแล้ว

เรื่องราวของฝายทดน้ำเกาะยายฉิมนับว่าเป็นอีกกรณีที่น่าศึกษา เราต้องติดตามกันว่าตัวแทนในชุมชนจะบริหารจัดการใช้น้ำกันอย่างไร จึงจะทำให้เกิดประโยชน์กับชุมชน “แหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อพัฒนาชุมชน” (ตามที่รองอธิบดีกล่าว) กับอีกกรณีหนึ่งคือ ฝายทดน้ำตั้งอยู่ในทำเลที่มีภูมิประเทศสวยงามจะสามารถสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนได้หรือไม่ หรือแหล่งน้ำก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในด้านใดได้บ้าง…?

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน นำคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่ไปติดตามความก้าวหน้าโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม จังหวัดชุมพร หวังบรรเทาและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชุมพรให้ได้มากที่สุด

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า บริเวณอำเภอเมืองชุมพรมักเกิดน้ำท่วมหลากจากลุ่มน้ำหลักที่สำคัญ 2 สาย ได้แก่ คลองท่าตะเภา และ คลองชุมพร พื้นที่รวมประมาณ 79,500 ไร่ แยกเป็น ลุ่มน้ำคลองท่าตะเภา 42,000 ไร่ ลุ่มน้ำคลองชุมพร 37,500 ไร่

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวชุมพรเป็นล้นพ้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงห่วงใยพสกนิกรชาวชุมพรเป็นอย่างยิ่ง ทรงทราบถึงภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับชาวชุมพร ได้มีพระราชดำริให้เร่งรัดขุดคลองหัววัง – พนังตัก ให้แล้วเสร็จ นอกจากนี้ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน อีกหลายอย่าง อาทิ 1. พิจารณาขุดคลองหรือวางท่อเชื่อมต่อระหว่างคลองท่าแซะกับต้นคลองละมุ เพื่อชักน้ำจากคลองท่าแซะลงหนองใหญ่ให้ราษฎรบริเวณใกล้เคียงมีน้ำใช้ทำการเกษตร และอุปโภค – บริโภคและในฤดูน้ำหลากสามารถช่วยผันน้ำบางส่วนจากคลองท่าแซะลงแก้มลิง “หนองใหญ่” เพื่อระบายน้ำสู่ทะเลผ่านทางคลองระบายน้ำหัววัง – พนังตักได้อีกด้วย

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้สนองพระราชดำริด้วยการดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัย ประกอบด้วย 15 กิจกรรม ดังนี้ 1. ขุดคลองระบายน้ำหัววัง-พนังตัก และก่อสร้างอาคารประกอบ 2. ประตูระบายน้ำหัววัง 3. ประตูระบายน้ำสามแก้ว (ใหม่) 4. ขุดลอกคลองท่าตะเภาและคลองสาขาในบริเวณลุ่มน้ำ 5. ขุดคลองระบายน้ำบ้านดอนทรายแก้วพร้อมปรับปรุงคันกั้นน้ำและอาคารประกอบ 6. ขุดคลองระบายน้ำท่านางสังข์ – บ้านบางตุ่มพร้อมอาคารประกอบ 7. โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ 8. ขุดลอกคลองละมุเชื่อมกับคลองท่าแซะ 9. ศึกษาและวางแผนระบบเตือนภัยน้ำท่วมเมืองชุมพร 10. คันกั้นน้ำคลองสามแก้วและคลองสาขาพร้อมอาคารประกอบ 11. ขุดลอกคลองชุมพรและคลองสาขา 12. ปรับปรุงคลองระบายน้ำสามแก้วพร้อมอาคารประกอบ 13. ปรับปรุงประตูระบายน้ำพนังตักและอาคารประกอบ 14. ประตูระบายน้ำท่าตะเภา และ 15. ประตูระบายน้ำท่าแซะ (รายละเอียดข่าวเพิ่มเติมคลิกชมได้จากเกษตรก้าวไกลLIVE

ในส่วนของลุ่มน้ำคลองชุมพร เกิดจากต้นน้ำในเขตอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง มีความยาวลำน้ำประมาณ 75 กิโลเมตร สภาพท้องคลองมีความลาดชันสูง คดเคี้ยวและมีขนาดแคบ ทั้งสองฝั่งคลองมีบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่นเป็นชุมชนเมือง ช่วงปลายคลองเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ เมื่อน้ำทะเลหนุนจะรุกล้ำเข้ามาในลำคลองเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร ในขณะที่มีขีดความสามารถในการระบายน้ำได้ประมาณ 140 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เท่านั้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำในคลองชุมพรเอ่อล้นตลิ่ง

กรมชลประทาน ได้วางแผนแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองชุมพร โดยการตัดยอดน้ำของคลองชุมพรให้สามารถไหลออกสู่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยได้อย่างรวดเร็ว ไม่เกิดการท่วมขังบริเวณถนนสายเอเชีย 41 (โดยเฉพาะ กม.33-34 ช่วง อ.สวี ที่มักท่วมซ้ำซาก) และบริเวณพื้นที่ตอนล่างในเขตอำเภอเมืองชุมพร พร้อมกับการขุดคลองผันน้ำ เพื่อผันน้ำจากคลองชุมพรผ่านคลองขุดใหม่เชื่อมต่อกับคลองนาคราช และขุดขยายคลองนาคราชให้สามารถระบายน้ำได้ 350 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมทั้งขุดลอกคลองชุมพรเดิมให้สามารถระบายน้ำได้ 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และขุดขยายคลองชุมพรเดิมช่วงปลายให้สามารถระบายน้ำได้ 550 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พร้อมทั้งก่อสร้างประตูระบายน้ำบริเวณปากคลองผันน้ำ จำนวน 1 แห่ง และก่อสร้างประตูระบายน้ำในคลองชุมพร จำนวน 3 แห่ง

ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสามารถระบายน้ำและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่างอำเภอเมืองชุมพร และสามารถเก็บกักน้ำไว้ในลำคลอง เพื่อใช้ประโยชน์ช่วงฤดูแล้ง 6.50 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มพื้นที่รับประโยชน์ 6,875 ไร่ โดยภาพรวมทั้งโครงการจะแล้วเสร็จภายในปี 2567 นอกจากจะช่วยระบายน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมได้แล้ว ยังมีประโยชน์เก็บน้ำไว้ใช้ในภาคเกษตร โดยส่วนใหญ่จะปลูกทุเรียน ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ฯลฯ (รายละเอียดเพิ่มเติมคลิกชมได้จากคลิปเกษตรก้าวไกลLIVE

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ณ โรงสีข้าวธัญโอสถ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้จัดพิธีมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ให้กับเกษตรกรผู้ประสบปัญหาอุทกภัย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิคม แหลมสัก รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม ในนามตัวแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และมี รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.อนุชัย ภิญโญภูมิมินทร์ รองอธิการบดีวิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวรายงานวัถตุประสงค์ของพิธีมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวในวันนี้

โดยมีที่มาจากโครงการปลูกข้าววันแม่ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2564 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 89 พรรษา 12 สิงหาคม 2564 ได้ใช้พันธุ์ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ในการเพาะปลูก บนพื้นที่ 13.5 ไร่ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และได้ดำเนินการเก็บเกี่ยว ในงานเกี่ยวข้าววันพ่อ ประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2564 เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ผลผลิตเป็นเมล็ดข้าวเปลือกพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ จำนวน 7,280 กิโลกรัม ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง นับเป็นความภาคภูมิใจของทีมนักวิจัยที่เป็นผู้คิดค้นและปรับปรุงสายพันธุ์ รวมถึงเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์..

ซี่งผลผลิตที่ได้มหาวิทยาลัยได้นอกจากจะนำมาแจกจ่ายให้กับบุคลากรแล้ว ยังนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ส่วนหนึ่งมอบให้กับเกษตรกรเพื่อใช้ในการเพาะปลูก ประกอบกับในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมาพื้นที่ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ในหลายจังหวัด ประสบปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ทำให้นาข้าวเสียหาย เกษตรกรขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับเพาะปลูกในปีต่อไป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งได้มีการทำงานเชิงบูรณาการเรื่องข้าว ร่วมกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโภชนาการสูงทั่วประเทศ เพื่อสร้างความกินดีอยู่ดี ให้เกิดขึ้นกับเกษตรกรไทยอยู่แล้ว จึงได้ทำการคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรเพื่อมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ จำนวน 5 กลุ่มจังหวัด

สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับมอบ ประกอบด้วย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านเนินสบาย จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มรักษ์ Organic จังหวัดอุทัยธานี กลุ่มคุรุอินทรีย์ จังหวัดกำแพงเพชร ศูนย์การเรียนรู้ตามรอยพ่อหลวง จังหวัดชัยนาท และ นายประทีป สวัสรังศรี จังหวัดกำแพงเพชร รวมจำนวนทั้งสิ้น 27 ราย

อนึ่ง ในพิธีมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ให้เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย 5 กลุ่มจังหวัดในครั้งนี้ “เกษตรก้าวไกล” ได้มีการLIVElไปทั่วประเทศ คลิกชมได้ที่ https://fb.watch/b4xJaW4J-e/ และสัมภาษณ์ ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก ประธานพิธีมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ https://fb.watch/b4LI0esjsh/ หรือชมพิธีมอบผ่านช่องยูทูป เสียงเกษตรโว้ย จากคลิปข้างล่างนี้

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน นำคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่ติดตามโครงการบรรเทาอุทกภัยบางสะพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ณ บริเวณคลองลัด อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า พื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีสภาพภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกระทะ ส่งผลให้ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำในช่วงที่มีฝนตกหนัก ทำให้มีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลลงสู่คลองบางสะพาน คลองปัตตามัง-เขาม้าร้อง, คลองแม่รำพึง และคลองย่อยสายต่างๆ ทำให้ระบายน้ำไม่ทัน เนื่องจากลำน้ำเหล่านี้มีสภาพแคบและตื้นเขิน เกิดน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำเป็นประจำ

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่อำเภอบางสะพาน กรมชลประทาน ได้วางแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในลุ่มน้ำคลองบางสะพานทั้งระบบ ได้แก่ 1.โครงการคลองผันน้ำ (คลองลัด) ยาว 530 เมตร สามารถระบายน้ำได้ 520 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดำเนินการแล้วเสร็จปี เมื่อปี 2563 2.โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านไทรทอง พร้อมระบบส่งน้ำ ความจุ 13.29 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 62% 3.โครงการประตูระบายน้ำปลายคลองบางสะพาน มีพื้นที่รับประโยชน์ 1,000 ไร่ ระบายน้ำได้ 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 95% 4.โครงการประตูระบายน้ำทุ่งมะพร้าว พื้นที่รับประโยชน์ 1,000 ไร่ ระบายน้ำได้ 980 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แผนงานดำเนินการปี 2565-2567 ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการจัดหาที่ดินเพื่อการก่อสร้าง และ 5. โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านคลองลอยตอนล่าง พร้อมระบบส่งน้ำ ความจุ 17.46 ล้านลูกบาศก์เมตร แผนงานดำเนินการปี 2565 -2569 ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการเตรียมการก่อสร้างที่ทำการ- บ้านพัก และการจัดหาที่ดินเพื่อการก่อสร้าง

ด้าน นายกฤษดา หมวดน้อย ราษฎรในพื้นที่ ต.ร่อนทอง อ.บางสะพาน กล่าวว่า “หลังจากที่ชาวบางสะพานได้ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากมาอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ได้มีพระราชดำริให้ กรมชลประทานดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยบางสะพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งแต่ปี 2560 มีการขุดลอกปลายคลองไปจนถึงถนนเพชรเกษม ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งน่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2570 อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า นับตั้งแต่กรมชลประทานได้ดำเนินการขุดลอกคลองบางสะพาน ทำให้หลายปีที่ผ่านมา รวมถึงเดือนพฤศจิกายน 2564 ได้มีฝนตกหนัก แต่น้ำไม่ท่วมเมืองบางสะพานเลย ซึ่งคลองผันน้ำ (คลองลัด) ถือว่าเป็นพระเอก เพราะสามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้น้ำไม่ท่วมอย่างที่เคยเป็นในอดีต”

อนึ่ง ในการลงพื้นที่ติดตามโครงการบรรเทาอุทกภัยบางสะพานของ นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ในครั้งนี้ “เกษตรก้าวไกล” ได้มีการLIVEสดไปทั่วประเทศ คลิกชมได้ที่

โคพีพอด เป็นสัตว์น้ำขนาดเล็ก อยู่ในกลุ่มครัสเตเชีย (Crustacea) เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ ล่องลอยอยู่ในมวลน้ำส่วนใหญ่มีขนาดเล็กประมาณ 0.5-2.0 มิลลิเมตร มีความหลากชนิดสูง พบทั้งกลุ่มที่เป็นผู้ล่า กลุ่มที่กินแพลงก์ตอนพืชเป็นอาหาร มีความสำคัญคือเป็นอาหารหลักให้กับสัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่นปลา กุ้ง เป็นต้น มีทั้งกลุ่มที่อาศัยในน้ำจืดและน้ำเค็ม ได้ทั้งแหล่งน้ำถาวร แหล่งน้ำชั่วคราว แหล่งน้ำนิ่งหรือน้ำไหล และในการค้นพบครั้งนี้ เป็นโคพีพอดน้ำจืดที่พบในแอ่งน้ำนิ่งในสระน้ำ และแหล่งน้ำขนาดเล็กในถ้ำ

ดร. กรอร วงษ์กําแหง จากภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ได้ค้นพบโคพีพอดน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกจำนวน 2 ชนิด ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุจีภรณ์ อธิบาย จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชายฉัตร บุญญานุสิทธิ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา โดยโคพีพอดน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกที่ค้นพบ มีจำนวน 2 ชนิด ดังนี้

1. โคพีพอด ชนิด Metacyclops sakaeratensis sp. nov. พบที่แหล่งน้ำ ที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา โดยตั้งชื่อวิทยาศาสตร์โคพีพอด ชนิดนี้ว่า sakaeratensis ตามถิ่นที่พบ คือ พื้นที่สะแกราช (คำว่า ensis เป็นภาษาละติน แปลว่า pertaining to,” “originating in คือมีจุดกำเนิดมาจาก แสดงถึงพื้นที่ที่สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่อาศัยอยู่นั่นเอง)

2. โคพีพอดถ้ำ ชนิด Metacyclops brancelji sp. nov. พบที่ถ้ำระฆังทองและถ้ำภูผาเพชร อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล และถ้ำเขานุ้ย จังหวัดสงขลา โดยตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ชนิดนี้ว่า brancelji เพื่อเป็นเกียรติแก่ Prof. Dr. Anton Brancelj ผู้เชี่ยวชาญการศึกษาโคพีพอดของโลก จากประเทศสโลวีเนีย ซึ่งท่านมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการศึกษาโคพีพอดถ้ำของประเทศไทย

หลายท่านที่ได้ติดตาม “เกษตรก้าวไกล” คงจะคุ้นๆกับชื่อของสวนปามี98ไปบ้างแล้ว โดยนำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอผ่านทาง YouTube ช่องเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน และเพจ Facebook เกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน อย่างคลิปล่าสุด ..“ทุเรียนแก่แดด2ปีครึ่งออกดอกแล้ว!! “ปลูกทุเรียนต้องมี8ดี” สวนปามี98เปิดให้ชมแล้ว https://youtu.be/trPuKkk-9z8 .. ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ชมอย่างล้นหลาม

เบื้องหลังการถ่ายทำครั้งนี้ คุณสุเทพ กังเกียรติกุล เจ้าสวนปามี 98 ต.บ้านใหม่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี แจ้งมาว่าเวลานี้ที่สวนมีไม้ผลหลายตัวกำลังออกดอก โดยเฉพาะทุเรียนที่ปลูกอายุ 2 ปี 5 เดือน ออกดอกกหลายต้นอยากให้มาดู..เมื่อไปถึงก็พบว่าวันนี้คุณสุเทพได้นัดทีมงานมาพร้อมเพรียง “วันนี้ขนพนักงานมาต้อนรับครับ” เสียงทักทายมาแต่ไกล แต่จริงๆแล้วความตั้งใจก็คือจะให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมในผลงานและเตรียมเข้าฉากการถ่ายทำ..

“ถ้าจะบอกว่าปลูกทุเรียนแล้วรวย เขาก็มีให้ดูกันเยอะแล้ว” เราก็เลยคิดกันว่าทำอย่างไรจะสื่อให้แตกต่าง “ถ้าจะปลูกทุเรียนให้รวยจะต้องมีดีอะไรบ้าง” ก็เลยเป็นที่มาว่าปลูกทุเรียนต้องมี 8 ดี ซึ่งเป็นการตกผลึกจากประสบการณ์ของคุณสุเทพ แต่แค่ 8 ดี จะยังมีอะไรอีกบ้างไหม โดยเฉพาะทุเรียนอายุแค่ 2 ปี 5 เดือน ก็เริ่มออกดอกแล้ว จึงเป็นที่มาของ “ทุเรียนแก่แดด” คำว่า “แก่แดด” เป็นคำที่คนไทยเรานิยมใช้เรียกเด็กที่ทำตัวเป็นผู้ใหญ่เกินอายุจริง ทำตัวแก่แรดเกินอายุ หรือเรียกว่า “เด็กแก่แดด” นั่นเอง

เมื่อสรุปเข้าใจตรงกัน การถ่ายทำก็เริ่มขึ้นในช่วงบ่ายๆที่อากาศร้อนเปรี้ยง (แดดเปรี้ยง) ชนิดที่ว่าอากาศร้อนแดดเป็นใจมากๆ ปัญหาอุปสรรคของเราก็คือ แต่ละคนจะต้องท่องบทจำบท “8ดี” ให้ได้ ตรงนี้ก็ซักซ้อมกันพอสมควรกว่าจะลงตัวได้ และก็สรุปตรงกันเมื่อถ่ายทำเสร็จว่าพอใจ 70% ถือว่าให้กำลังใจกับทุกคนที่ได้มีส่วนร่วม ซึ่งบังเอิญว่าวันนี้ยังมีผู้ที่มาเที่ยวชมสวนอีก 2 คนที่เข้ามาในจังหวะที่กำลังจะถ่ายทำก็เลยเป็นดารารับเชิญ..

วันนี้ยังเป็นโอกาสพิเศษที่ “น้องปามี” ได้มาเข้าฉาก ซึ่งอนาคตคุณสุเทพบอกว่าจะเข้ามาดูแลจัดการและเป็นดาราประจำของสวนในโอกาสต่อไป

สำหรับทุเรียนแก่แดด “8 ดีมีให้ทุเรียน รวยรวย” ประกอบด้วย

1. ดินดี ดินจืด ดินร่วน ระบายน้ำดี

2. น้ำดี น้ำจืด ไม่มีสารพิษปะปน

3. อากาศดี อุณหภูมิ 20 – 35 องศา C

4. แดดดี รับแสงแดด 6 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็น

5. ความชุ่มชื้นดี ไม่ชอบร้อนแห้งแล้ง

6. พันธุ์ดี รากมาก ต้นตรงแข็งแรง ไม่มีโรคแมลง

7. สิ่งแวดล้อมดี ใกล้ชุมชนมีน้ำทิ้ง น้ำเค็มไม่ดี

8. จัดการดี มีเงินมากไม่มาดูแล ทุเรียนเหงาตาย

สาระสำคัญของคลิปนี้ คุณสุเทพไม่เพียงแต่จะบอกว่าปลูกทุเรียนต้องมี 8 ดี แต่ยังฝากไปถึงผู้สนใจการปลูกให้มาศึกษาดูงานของจริง โดยทางสวนปามี98 ได้จัดพนักงานไว้คอยต้อนรับทุกวันอังคาร พุธ และพฤหัส โทร.ติดต่อประสานงานได้ที่เบอร์ 098 1909898

ส่วนความตั้งใจของเกษตรก้าวไกล..เราต้องการนำเสนอความคิดริ่เริ่มสร้างสรรค์ของพี่น้องเกษตรกรไทย และที่สวนปามี98 มีความหลากหลายในพืชที่ปลูก ซึ่งเราได้บรรลุข้อตกลงกับเจ้าของสวนว่าจะต้องถ่ายทอดความรู้ออกจากสวนเพื่อให้เป็นประโยชน์กับพี่น้องเกษตรกรให้มากที่สุด ซึ่งข้อตกลงนี้ก็บังเอิญตรงกับความคิดความตั้งใจของสวนที่ต้องการจะยกระดับสวนสู่การเป็น ศูนย์เรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร นั่นเอง

ธ.ก.ส. เร่งช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ราคาผลผลิตตกต่ำ ภัยธรรมชาติ โดยมอบนโยบายให้สาขาเข้าพบลูกค้าทุกรายเพื่อสอบถามข้อมูลการประกอบอาชีพและรายได้ พร้อมกำหนดแนวทางบริหารจัดการหนี้ให้เหมาะสมกับศักยภาพของลูกค้าแต่ละราย ควบคู่การเติมสินเชื่อใหม่ ในการฟื้นฟูอาชีพอย่างยั่งยืน

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน ซึ่ง ธ.ก.ส. ในฐานะธนาคารของรัฐ พร้อมช่วยเหลือลูกค้าเงินกู้ ทั้งเกษตรกร บุคคล ผู้ประกอบการ และสถาบันเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาผลผลิตการเกษตรได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ราคาผลผลิตตกต่ำ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือมีรายได้ไม่สอดคล้องกับแผนการชำระหนี้เดิม เพื่อกำหนดกระบวนการการบริหารจัดการหนี้อย่างยั่งยืน

เริ่มจากการมอบนโยบายให้พนักงานในพื้นที่ไปพบลูกค้าทุกราย โดยมีเป้าหมายเกษตรกรที่ใช้บริการสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. จำนวน 4.83 ล้านราย เพื่อสอบถามข้อมูลการประกอบอาชีพ ที่มาของรายได้มาประเมิน โดยวิเคราะห์ศักยภาพสมรรถนะและความสามารถในการประกอบอาชีพ ความสามารถในการชำระหนี้ จากนั้นจัดกลุ่มลูกหนี้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด โดยแบ่งลูกค้าเป็นกลุ่มตามศักยภาพ เช่น กลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพสูง กลุ่มศักยภาพปานกลาง กลุ่มมีเหตุผิดปกติ เป็นต้น

เพื่อทำการบริหารจัดการหนี้ให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การปรับตารางกำหนดการชำระหนี้ใหม่ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยพิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้และการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามศักยภาพของลูกหนี้ การเติมสินเชื่อใหม่เพื่อฟื้นฟูอาชีพ รวมถึงพิจารณาช่วยเหลือลูกค้าที่มีหนี้สินเป็นภาระหนัก เนื่องจากรายได้ครัวเรือนลดลงหรือไม่ได้มีรายได้เพียงพอเพราะเหตุผิดปกติ เช่น เสียชีวิต เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ เป็นต้น เพื่อพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเป็นรายกรณีต่อไป

นอกจากบรรเทาความเดือดร้อนและลดความกังวลในเรื่องภาระหนี้สินแล้ว ธ.ก.ส. ยังเสริมสภาพคล่องในการลงทุนและการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ผ่านโครงการชำระดีมีคืน วงเงินงบประมาณ 1,200 ล้านบาท ให้กับลูกค้าที่นำเงินมาชำระหนี้ โดยจะทำการคืนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากลูกค้าโดยตรง ร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง ไม่เกินรายละ 1,000 บาท ล่าสุดมีการคืนดอกเบี้ยไปแล้วกว่า 622 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 850,000 ราย และโครงการนาทีทองลดดอกเบี้ยสู้โควิด โดยจะลดดอกเบี้ยที่ค้างชำระรวมถึงเบี้ยปรับสูงสุด ไม่เกินร้อยละ 50 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง ระยะเวลาตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 มีนาคม 2565 หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินที่กำหนด โดยมีการช่วยเหลือไปแล้วกว่า 1,110 ล้านบาท

ทั้งนี้ ลูกค้ามีประสบปัญหาในการชำระหนี้หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการการบริหารจัดการหนี้ได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือที่ Call Center 02 555 0555

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ว่า ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเกษตรของไทยล็อตแรก 20 ตู้คอนเทนเนอร์ โดยรถไฟสายจีน-ลาว จากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ สู่ด่านรถไฟโมฮ่านของมณฑลยูนนาน ได้ขนส่งถึงมหานครฉงชิ่ง โดยใช้เวลารวมทั้งสิ้น 6 วัน ตั้งแต่เดินทางออกจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ เมื่อเวลา 15.00 น.ของวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยใช้เวลาในสปป.ลาว 3 วัน และการเดินทางในจีนอีก 3 วัน โดยได้สรุปตารางเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนจากไทยผ่านสปป.ลาว ข้ามพรมแดนจีนจนถึงภาคตะวันตกของจีน คือมหานครฉงชิ่ง เชื่อว่าจะสามารถลดเวลาในการขนส่งในอนาคตเหลือเพียง 4 วัน เมื่อมีการปรับตัวการทำงานของทุกฝ่าย เป้าหมายต่อไปคือการเร่งเปิดบริการอย่างเป็นระบบ การลดเวลา การขนส่งตลอดห่วงโซ่โลจิสติกส์เพื่อขยายการขนส่งทางรถไฟสายนี้

สำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา ผักผลไม้ มันสำปะหลัง ปาล์ม กล้วยไม้ น้ำตาล และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายให้สามารถขนส่งทางรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิตปี 2565 ขณะนี้ฝ่ายไทย และสปป.ลาว พร้อมแล้ว รอทางจีนเปิดทำการด่านตรวจพืช ณ สถานีรถไฟโมฮ่านภายใต้พิธีสารที่ได้ตกลงกันตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว ซึ่งได้ประสานขอความร่วมมือกับทางการจีนให้เร่งดำเนินการหลังเทศกาลตรุษจีนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ จะรายงานความคืบหน้าในการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ในวันที่ 17 ก.พ.นี้

“นับเป็นขบวนสินค้าปฐมฤกษ์ของไทยที่สามารถเปิดบริการได้เป็นขบวนแรก และเป็นการเปิดศักราชใหม่ของนโยบายอีสานเกตเวย์ เชื่อมอีสานเชื่อมโลกด้วยเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายโลจิสติกส์เกษตรของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน” นายอลงกรณ์ กล่าว

นายอลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สื่อมวลชนในประเทศจีนให้ความสำคัญกับการขนส่งทางรถไฟจากไทยไปจีนเที่ยวแรกอย่างมาก โดยเสนอข่าวกันครึกโครมและวิเคราะห์ว่าเร็วกว่าการขนส่งทางเรือถึง 4 เท่า ดังตัวอย่างข่าวจีนที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “สินค้าทางการเกษตรของไทยที่ถูกขนส่งโดยรถไฟมาถึงจีนเป็นครั้งแรก เส้นทางรถไฟจีน-ลาว

ทั้งสองทางเปิดให้บริการแล้วรถไฟบรรทุกข้าวเหนียวไทยปริมาณ 500 ตัน ขบวนแรกของรถไฟสายจีน-ลาว ได้ออกจากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ในลาวและเดินทางมาถึงด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนานของจีนเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2565 จากนั้นใช้เวลา 3 วัน ขนส่งถึงเมืองฉงชิ่งในช่วงเทศกาลตรุษจีน เป็นที่รู้กันว่าการขนส่งทางรถไฟนั้นใช้ระยะเวลาในการขนส่งน้อยกว่าทางทะเลถึง 4 เท่า โดยการมาถึงของสินค้าทางการเกษตรของไทยในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงการเปิดให้เส้นทางรถไฟจีน-ลาวอย่างเป็นทางการทั้งสองทาง

การเปิดตัวรถไฟขบวนนี้ได้รับความสนใจจากรัฐบาลไทยและลาว หลังจากบรรจุข้าวเหนียวในโรงงานของไทยเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 เสร็จสิ้นพิธีการศุลกากรในไทยเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565 จากนั้นจึงขนส่งทางถนนไปยังด่านท่านาเล้ง ในลาวเพื่อดำเนินพิธีการศุลกากร เนื่องจากศุลกากรลาวได้ดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าทางการเกษตรของไทยซึ่งขนส่งทางรถไฟจากลาวไปยังจีนเป็นครั้งแรก

จึงเกิดปัญหาการกักกันสินค้าระหว่างพิธีการทางศุลกากร สมัครเล่นคาสิโน อย่างไรก็ตาม ด้วยการประสานงานของหลายฝ่ายทั้งไทยและลาว รวมถึงความร่วมมือของ New Land-Sea Corridor Operation Co., Ltd. ด้วยเหตุนี้เอง รถไฟจึงออกเดินทางจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกที่ไทยได้ขนส่งสินค้าทางการเกษตรไปยังจีนผ่านลาว.

สำหรับผลงานนวัตกรรม “เกษตรวิถีใหม่ หลังมหันตภัยโควิด”

มีจำนวน 34 ผลงาน หนึ่งในนั้น คือ ผลงาน ที่แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาต้นแบบการท่องเที่ยวสัตว์ป่าที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดการจัดการถิ่นอาศัย สัตว์ป่าขนาดใหญ่ ของพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้งบนพื้นฐานทางวิชาการ รวมถึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น สร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพ

ซึ่งจะนำมาสู่การปรับทัศนคติของชุมชนต่อพื้นที่คุ้มครองให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมยิ่งขึ้น และสามารถลดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ แบบไม่ยั่งยืนของชุมชน อีกทั้งยังมีเป้าหมายที่จะสร้างการท่องเที่ยวทางเลือกสำหรับนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มที่ต้องการเรียนรู้ระบบนิเวศและทรัพยากรสัตว์ป่า ให้เกิดจิตสำนึกในด้านการอนุรักษ์ นำมาซึ่งการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอนาคต

(ภาพ) ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2565 นำชมผลงานพัฒนาต้นแบบการท่องเที่ยวเขตห้ามล่าสัตว์ป่า “ห้วยทับเสลา – ห้วยระบำ” จ.อุทัยธานี
(ชมคลิปประกอบข่าวนี้ : การจัดการพื้นที่เขตกันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า EP.1 l ผศ.ดร.นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์ มก.)

ผศ.ดร.แสงสรรค์ ภูมิสถาน และทีมนักวิจัยประกอบด้วย ผศ.ดร.นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์ ผศ.ฐิติวุฒิ ชัยสวัสดิ์อารี และ ดร.สมหมาย อุดมวิทิต ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงทำการศึกษาวิจัย “โครงการพัฒนาต้นแบบการท่องเที่ยวสัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์ บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยทับเสลา–ห้วยระบำ” ซึ่งเป็นเขตกันชนที่สำคัญของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี มาตั้งแต่ ปี 2562 โดยทำการศึกษาพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวสัตว์ป่า ทางเลือกหนึ่งเพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่าในพื้นที่มรดกโลก ที่จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายของการดำเนินโครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพและแรงจูงใจในการอนุรักษ์สัตว์ป่าในผืนป่าตะวันตกในการปกป้องสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่ รวมทั้งสร้างนวัตกรรมและแรงจูงใจในการดำรงชีวิตของชุมชนเพื่อรักษาความสมบูรณ์ของผืนป่าและสัตว์ป่าหายาก ที่ยังคงเหลืออยู่ในพื้นที่ซึ่งเป็นความหวังเดียวในภูมิภาคนี้

ในกระบวนการศึกษาเพื่อออกแบบแนวทางการพัฒนาต้นแบบการท่องเที่ยวสัตว์ป่าในพื้นที่เป้าหมายดังกล่าว ประกอบด้วยการศึกษา 4 ส่วน ได้แก่ การจัดการถิ่นที่อยู่อาศัย การออกแบบและการพัฒนาพื้นที่ การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว และการพัฒนาและเตรียมความพร้อมชุมชน

ทั้งนี้ เพื่อให้แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวสัตว์ป่ามีกรอบการพัฒนาบนพื้นฐานทางวิชาการ และบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน และจากผลการศึกษา ได้นำเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวสัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์ โดยกำหนดวิสัยทัศน์ของการพัฒนา คือ เป็นแหล่งท่องเที่ยวสัตว์ป่าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการจัดการสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัยตามมาตรฐานสากลที่เป็นจุดหมายปลายทางหลักของประเทศ และ เป็นต้นแบบศูนย์การเรียนรู้การอนุรักษ์และการจัดการสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนของประเทศไทย

จากนั้น จึงกำหนดการพัฒนาพื้นที่เป็น 3 โซนหลัก ได้แก่ โซนที่ 1 พื้นที่การท่องเที่ยวชุมชนระบำรักษ์ขาแข้ง มีแนวคิดการพัฒนาเป็นพื้นที่นันทนาการโดยชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้ผู้มาเยือนได้พักผ่อนหย่อนใจจากภูมิทัศน์ทางธรรมชาติที่สวยงาม และเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น โซนที่ 2 พื้นที่การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวสัตว์ป่าเชิงนิเวศ และ โซนที่ 3 ศูนย์การเรียนรู้การอนุรักษ์และจัดการสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนของประเทศไทย เพื่อให้ผู้มาเยือนได้ศึกษาเรียนรู้การจัดการสัตว์ป่า

ผู้สนใจ “การพัฒนาต้นแบบการท่องเที่ยวสัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์ บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วย ทับเสลา–ห้วยระบำ” เข้าชมได้ที่ โซนนวัตกรรม มก. ในงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2565 บริเวณด้านข้างอาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.แสงสรรค์ ภูมิสถาน ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทรศัพท์ 08 4936 6994

อนึ่ง ในงานแถลงข่าวเกษตรแฟร์ประจำปี 2565 “เกษตรก้าวไกล” ได้สอบถามเพิ่มเติมกับ ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม ประธานอนุกรรมการฝ่ายจัดแสดงผลงานนวัตกรรม ได้กล่าวว่า “ในเรื่องของการจัดพัฒนาต้นแบบการท่องเที่ยวเขตห้ามล่าสัตว์ป่า “ห้วยทับเสลา – ห้วยระบำ” จ.อุทัยธานี จะเป็นพื้นที่แห่งแรกซึ่งอยากจะนำร่องนะครับ หลายคนอาจจะเคยดูภาพยนตร์สารคดีในแอฟริกา ซึ่งก็จะมีตัวอย่างในหลายประเทศ เช่น ในเคนยา ไนจีเรีย ฯลฯ แต่ว่าในประเทศไทยหรือในทวีปเอเชียตัวอย่างแบบนี้ไม่มีเลยแล้วก็อาจจะได้ยินอยู่บ้างที่อินเดีย แต่ว่าในประเทศไทยเรายังไม่มี เพราะฉะนั้นอยากจะผลักดันให้เกิดพื้นที่นี้เป็นพื้นที่แห่งแรกในเรื่องของท่องเที่ยวเชิงสัตว์ป่านะครับ”

(ชมคลิปเกษตรก้าวไกลLIVE–สัมภาษณ์ ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก เพิ่มเติมได้ตั้งแต่นาที 37.35 ซึ่งเป็นช่วงปิดท้ายของการถ่ายทอดสดในคลิปนี้

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์​ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ​ กล่าวถึงการประชุมคณะทำงานด้านข้าวและชาวนาไทย ครั้งที่ 1/2565 ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เรื่อง ข้าวและชาวนา จัดโดยสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ว่า เป็นครั้งแรกที่มีการพูดคุยพร้อมกันกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 9 สมาคม 1 ศูนย์ข้าวชุมชนระดับประเทศ ตั้งแต่ต้นน้ำ ชาวนา​ ผลิต​ กลางน้ำ โรงสี แปรรูป​ และปลายน้ำ ผู้ส่งออก​ ตลาด​

เพื่อจะเตรียมวางแผนการผลิตในฤดูกาลถัดไปของชาวนา ทั้งนี้ ด้วยปัญหาหลักของชาวนา ได้แก่ 1.ต้นทุนการผลิตสูงไม่คุ้มทุน 2.ผลผลิตต่อไร่ต่ำ 3.คุณภาพข้าวไม่ตรงตามความต้องการของตลาด 4.ขาดการวางแผนร่วมในการผลิต ซึ่งข้อสรุปในที่ประชุมเพื่อเป็นแผนการทำงานต่อไป คือ ตั้งกลุ่มทำงานเพื่อหารือเรื่องแผนการผลิตข้าวในรอบต่อไปว่าควรจะผลิตข้าวสายพันธุ์อะไรบ้าง เช่น ข้าวพื้นนุ่ม ข้าวพื้นแข็ง ข้าวเหนียว ข้าวหอมมะลิ หรือข้าวอื่นๆในแต่ละพื้นที่ โดยนำข้อมูลจากผู้ส่งออกนำไปให้ชาวนาใช้ประกอบ ทั้งเรื่องการผลิต​,

กระบวนการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งหลายเครือข่าย/องค์กร มีวิธีลดที่ดีเยี่ยมและครอบคลุมทุกภูมิภาค และ​​, การตลาด รวมทั้งการมอบให้ทีมงานลงพื้นที่ไปจัดเก็บ ประมวลองค์ความรู้ทั้งหมด​ ทุกเครือข่าย ในด้านการลดต้นทุนการผลิต​ การเพิ่มผลผลิต การฟื้นฟูดินหลังจากที่ทำนามาตลอดหลายสิบปี การใช้ปุ๋ยเคมี​ สารเคมี​ทำให้ดินเสื่อมสภาพตามลำดับ โดยชาวนาหลายเครือข่ายมีวิธีการฟื้นฟูดินจนสามารถทำให้ดินกลับฟื้นสมบูรณ์เหมือนเดิม​ ซึ่งทั้งหมดจะจัดเก็บเป็นเอกสาร​ แล้วนำสู่เวทีประชาพิจารณ์เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายพัฒนาข้าวทั้งระบบอย่างยั่งยืน แล้วจักได้นำไปใช้ประโยชน์ ได้แก่

– สภาเกษตรกรทุกจังหวัดที่มีการทำนาได้นำไปใช้ในพื้นที่

– สภาเกษตรกรแห่งชาติจัดทำหนังสือข้อเสนอเชิงนโยบายถึงรัฐบาล ผู้มีอำนาจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายในเดือนพฤษภาคมก่อนฤดูกาลเพาะปลูกรอบต่อไป

อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมเห็นควรเรื่องการปรับการผลิตของชาวนาให้เข้าสู่ระบบ GAP ทั้งประเทศ ภายในระยะเวลาที่กำหนด อาทิ ภายใน 5 ปี หรือ 10 ปี โดยมอบหมายให้สภาเกษตรกรแห่งชาติประสานไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อทำงานร่วมกัน และหากจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการทำให้ชาวนาปรับตัวเข้าสู่ระบบการผลิต GAP สภาเกษตรกรแห่งชาติก็พร้อมทำบันทึกถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อได้รับทราบแล้วนำไปสู่การจัดสรรงบประมาณ ซึ่งการรับรองอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนภายใต้ระบบ​ GAP​ จักได้นำเสนอไปยังประเทศลูกค้าทั่วโลกว่าประเทศไทยได้ผลิตข้าวด้วยระบบการผลิตที่ทันสมัยและปลอดภัยต่อผู้บริโภค

“ด้านการตลาดนั้น ปัญหาใหญ่มากของการค้าข้าวไทย คือ แข่งขันไม่ได้ ทั้งด้านราคา​ คุณภาพและชนิดของข้าว ตลาดข้าวโลกมีความต้องการข้าวพื้นนุ่มจำนวนมาก​ แต่ประเทศไทยผลิตข้าวพื้นแข็งจำนวนมาก สินค้าที่เราจะไปขายไม่ตรงตามความต้องการของตลาด และที่สำคัญก็คือราคาเราแข่งไม่ได้เพราะว่าประเทศที่เคยเป็นคู่ค้า เคยซื้อข้าวไทยบัดนี้เป็นคู่แข่งขายข้าวกับเรา

ทำให้สูญเสียตลาดไปพอสมควรและจะสูญเสียไปเรื่อยๆเพราะไม่ได้วางแผนการผลิต ไม่เข้าใจเรื่องความต้องการของตลาด และเรื่องต้นทุนที่แข่งขันได้ โดยสภาเกษตรกรแห่งชาติจะประสานเรียนเชิญ กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการค้าต่างประเทศ กรมการค้าภายใน เครือข่ายชาวนา พร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อซักซ้อมแนวทางการวางแผนด้านการผลิต และจากนี้ไปสภาเกษตรกรฯก็จะพยายามทำงาน​ด้านข้าวและชาวนานำเสนอถึงรัฐบาลให้เข้าใจสิ่งเหล่านี้แล้วมาทำงานร่วมกันเพื่อนำสู่การพยายามผลักดันให้ชาวนาปรับตัวโดยเร็วเพื่อความอยู่รอดของอาชีพการทำนาสืบไป” นายป​ระพัฒน์​ กล่าวปิดท้าย

การจัดงานเกษตรแฟร์ประจำปี 2565 ได้กลับมาพบกันอีกครั้ง ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 มกราคม ถึง 5 กุมภาพันธ์ 2565 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ภายใต้มาตรการเข้มข้นตามแนวปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันโควิด-19 โดยผู้เข้าร่วมงาน จะต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีน 2 เข็ม หรือผลตรวจ ATK / PCR ไม่เกิน 72 ชั่วโมงแก่เจ้าหน้าที่ พร้อมตรวจวัดอุณหภูมิ หากอุณหภูมิเกิน 37.5 องศาเซลเซียสไม่อนุญาตให้เข้าภายในงานนอกจากนี้เพื่อลดความแออัดของผู้เข้าร่วมงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังได้เปิดเว็บไซต์ virtual kasetfair เพื่อให้ผู้สนใจเข้าชมบรรยากาศของงานเกษตรแฟร์ 2565 เข้าชมร้านค้าและสั่งซื้อสินค้าตามช่องทางการสั่งซื้อสินค้าที่ร้านค้าแจ้งไว้ตลอดระยะเวลาการจัดงานและหลังการจัดงานได้อย่างต่อเนื่อง

วันที่ 27 มกราคม 2565 ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และประธานคณะกรรมการดำเนินงานจัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2565 ภายใต้แนวคิด “เกษตรวิถีใหม่ หลังมหันตภัยโควิด” พร้อมด้วยคณะกรรมการจัดงาน ได้นำสื่อมวลชนนั่งรถราง ซึ่งเป็นรถโดยสารให้บริการผู้เข้าร่วมงานตลอดการจัดงานเกษตรแฟร์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ชมบรรยากาศการจัดพื้นที่ในโซนต่างๆ และจุดสำคัญด่านแรกของการเข้าชมงาน คือจุดตรวจคัดกรองรับวัคซีนโควิด-19 แล้ว และตรวจวัดอุณหภูมิ ซึ่งมีจำนวน 6 จุดเข้างาน ได้แก่ ประตูพหลโยธิน , ประตูงามวงศ์วาน (1), ประตูสวนวรุณาวัณ (สำนักพิพิธภัณฑ์ฯ) , แยกโครงการหลวง , แยกสำนักการกีฬา , แยกคณะเกษตร (อาคารวชิรานุสรณ์)

โดยการคัดกรองผู้เข้าร่วมงาน จะตรวจสอบประวัติการรับวัคซีนด้วยแอป “หมอพร้อม” จากนั้นแสดงผลดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ สำหรับขั้นตอนต่อไปคือการตรวจวัดอุณหภูมิ หากอุณหภูมิเกิน37.5 องศาเซลเซียส ไม่อนุญาตให้เข้าภายในงาน

กรณีที่ไม่ได้นำโทรศัพท์มา ให้ถ่ายสำเนาประวัติการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม แสดงต่อเจ้าหน้าที่ หรือ แสดงผลตรวจ ATK / PCR ไม่เกิน 72 ชั่วโมง แก่เจ้าหน้าที่ โดยจะต้องลงนามลายมือชื่อกำกับพร้อมหมายเลขโทรศัพท์

ข้อปฏิบัติที่จะต้องขอความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมงานอย่างเคร่งคัด ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลา 100 % งดรับประทานอาหารขณะเดินชมงาน เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร เดินชมงานตามระบบเดินทางเดียว (One way) ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และเจลแอลกอฮอล์ ตามจุดต่างๆที่ให้บริการในงาน โดยทิ้งขยะและ คัดแยกขยะอย่างเป็นระบบตามจุดต่างๆที่ให้บริการ จำนวน 20 จุดภายในงาน

สำหรับมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และด้านสิ่งแวดล้อม โซนร้านค้างานเกษตรแฟร์ ปี 2565 มีดังนี้

1. มาตรการด้านบุคคล

1.1 ผู้ประกอบการต้องรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างน้อย 2 เข็มขึ้นไป

1.2 ผู้ประกอบการต้องตรวจ Antigen Test Kit หรือ ATK ทุกวันโดยส่งผลการตรวจให้เจ้าหน้าที่โซน ทุกวัน

1.3 ผู้ประกอบการต้องสวมหน้ากากอนามัย และรักษาสุขอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในพื้นที่จำหน่ายสินค้า

1.4 กรณีมีความเสี่ยง/มีอาการไม่สบาย/พบผู้ติดเชื้อ ให้งดเข้าพื้นที่จำหน่ายสินค้าและรีบแจ้งเจ้าหน้าที่โซนพื้นที่โดยด่วน

1.5 ผู้ประกอบการภายในร้านจะต้องรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

อย่างน้อย 2 เข็มขึ้นไป โดยต้องมีแสดงเอกสารหน้าร้าน

2. มาตรการด้านกายภาพร้านค้า

2.1 ร้านค้าทุกร้านต้องจัดให้มีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือสำหรับลูกค้า

2.2 ในการจัดร้านค้าผู้ประกอบการต้องใช้ผ้าใบ แผ่นพลาสติก หรืออุปกรณ์อื่น กั้นพื้นที่รอยต่อระหว่างร้านค้า พร้อมจัดวางสินค้าในบริเวณที่สูงจากพื้นที่ไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร

2.3 ร้านค้าต้องคัดแยกขยะตามประเภท และขยะติดเชื้อเช่น หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู่ ชุดตรวจ ให้ใส่ถุงแดงและทิ้งในถังขยะติดเชื้อ และดูแลพื้นที่ให้สะอาดตามสุขอนามัยอยู่เสมอ

2.4 ร้านค้าต้องจัดให้มีการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชั่น โดยแสดงคิวอาร์โคดให้ชัดเจน เพื่อลดการสัมผัสและลดการใช้เงินสด

2.5 กรณีร้านค้าที่มีพื้นที่ใหญ่ ให้กำหนดทางเข้า-ออกให้ชัดเจนและจำกัดจำนวนคนไม่ให้แออัดและจัดสรรพื้นที่ให้ถ่ายเท

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัย จะดำเนินการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อบริเวณจุดสัมผัสร่วมและบริเวณโดยรอบงานทุกวันหลังเลิกงาน รวมถึงฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อรถราง ซึ่งเป็นรถโดยสารให้บริการผู้เข้าร่วมงานทุกรอบที่ให้บริการอีกด้วย

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, 28 มกราคม 2565 – “คงจะดีกว่านี้นะครับ ถ้าเรามีรถมารับของ เราจะได้ไม่ต้องแบกออกไปไกล” เป็นคำพูดของน้องชายที่กลายเป็นแรงผลักดันให้ ‘เปิ้ล – ปนิดา มูลนานัด’ ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรวัยหวาน ตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขัน และได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดโครงการ ‘ฟอร์ดเติมฝันเกษตรกรหญิงรุ่นใหม่’ คว้ารางวัลเงินทุนมูลค่า 1 แสนบาท พร้อมสิทธิ์ในการใช้งานรถกระบะพันธุ์แกร่ง ฟอร์ด เรนเจอร์ เป็นเวลา 3 เดือน

ปนิดาจบการศึกษาจากโรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้รับแรงบันดาลใจในการพัฒนาชุมชนที่ตนอยู่อาศัยให้ดีขึ้นจากความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ จึงริเริ่มกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรวัยหวานขึ้นที่ชุมชนบ้านเกิดคือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ ความคิดเห็น วัตถุดิบ กระบวนการผลิต และวิธีแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชนอย่างยั่งยืน

ธุรกิจของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรวัยหวานคือการแปรรูปกล้วยหอมทอง ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าทางการเกษตรในรูปแบบไร้ขยะ กล่าวคือ การใช้ทุกส่วนของต้นกล้วยมาแปรรูปทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปผลกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคอย่างกล้วยตาก แยมกล้วย กล้วยกวนสามรส แป้งวาฟเฟิล การใช้หัวปลีในการทำขนมขบเคี้ยว หรือการนำต้นกล้วยไปผลิตสินค้าภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างเสื้อผ้าและกระเป๋าจากเส้นใยกล้วย

“ชุมชนของเราต้องใช้เวลา ความคิดสร้างสรรค์ และพลังงานมากในการทำงานแต่ละครั้ง เราจึงได้นำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้กับการเกษตร รวมถึงส่งต่อความรู้ให้คนในชุมชนด้วย” ปนิดากล่าว

ปนิดาใช้พื้นที่บางส่วนในการเพิ่มรายได้จากการทำการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และสร้างศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจด้านการเกษตรแปรรูป และการสร้างอาชีพด้วยตนเอง รวมถึงนำเทคโนโลยีการรดน้ำผ่านโทรศัพท์มือถือมาช่วยลดภาระในการทำงานของเกษตรกรในชุมชน

“เปิ้ลอยากเห็นชุมชนของเปิ้ล ทั้งเกษตรกรในกลุ่มและเกษตรกรที่ส่งวัตถุดิบให้กับกลุ่มเติบโตด้วยตนเองได้อย่างยั่งยืน เปิ้ลจึงหาหนทางพัฒนาธุรกิจให้ทุกฝ่ายสามารถสร้างรายได้อย่างมีประสิทธิภาพและหาเครื่องทุ่นแรงในการขนย้ายวัตถุดิบเพื่อร่นระยะเวลาและการใช้แรงงานในการผลิต จนมีหลายครั้งที่คนในกลุ่มเริ่มเป็นห่วงที่เราทำงานหนัก แต่สำหรับเปิ้ล นั่นคือกำลังใจที่ทำให้เราสู้ต่อไป” ปนิดากล่าว “เปิ้ลเชื่อว่าการทำงานแต่ละครั้งไม่ได้ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก และย่อมมีอุปสรรค แต่ทุกอย่างจะผ่านไปได้ถ้าเรายืนหยัดพร้อมสู้ และสร้างเส้นทางในแบบของเราเอง”

จากการรับฟังความคิดเห็นของคนในกลุ่มแม่บ้านฯ ปนิดาจึงได้วางแผนธุรกิจที่จะต่อยอดการแปรรูปต้นกล้วยให้เป็นเสื้อผ้าและกระเป๋า สนับสนุนเกษตรกร โรงงานปั่นเส้นด้าย และวิศวกรสิ่งทอ ด้วยการจัดหาอุปกรณ์ผลิตสินค้าจากใยกล้วยได้แก่ เครื่องตีเส้นใยและกี่ทอผ้ามาให้สมาชิก โดยกำไรที่ได้จากการประกอบธุรกิจจะนำมาปันผลให้กับสมาชิกกลุ่ม เก็บเป็นเงินทุน และใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์

ด้วยความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ และความมุมานะที่จะพัฒนาชุมชนตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปนิดาได้รับรางวัลชนะเลิศจากโครงการ ‘ฟอร์ดเติมฝันเกษตรกรหญิงรุ่นใหม่’ ที่ฟอร์ด ประเทศไทยจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนเกษตรกรคนรุ่นใหม่ จากการนำเสนอแผนการพัฒนาธุรกิจที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจำนวน 100,000 บาท ซึ่งปนิดานำไปใช้จัดหาเครื่องทอผ้าจากใยกล้วย รวมถึงได้ทดลองขับฟอร์ด เรนเจอร์ FX4 Max เป็นเวลา 3 เดือน โดย ปนิดาได้นำมาใช้ทุ่นแรงในการขนย้ายวัตถุดิบ พร้อมขยายขีดความสามารถในการทำงานให้เกษตรกรที่ได้ร่วมพัฒนาชุมชนมาด้วยกัน

“เปิ้ลรู้สึกประทับใจในระบบช่วยขับขี่ต่างๆ ของฟอร์ด เรนเจอร์ ที่ทำให้ขับรถได้สะดวกสบาย และมั่นใจในความปลอดภัยบนทุกเส้นทาง รวมถึงเรื่องการบรรทุกที่ทำให้เราขนสินค้าได้จำนวนมากและเดินทางไปในเป็นเส้นทางที่ยากลำบากได้อย่างง่ายดาย และยังมีเทคโนโลยีแจ้งเตือนสถานะการใช้งาน เช่น การแจ้งเตือนระดับน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เอื้อประโยชน์ให้บริหารและจัดสรรเวลาการทำงานที่ต้องใช้รถได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แม้จะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาไม่นาน แต่ฟอร์ด เรนเจอร์ ก็เข้ามามีส่วนช่วยส่งเสริมให้การดำเนินธุรกิจของชุมชนเติบโตขึ้นด้วยดี ต้องขอขอบคุณโครงการดีๆ ของฟอร์ด ประเทศไทย” ปนิดา กล่าวเสริม

เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 28 มกราคม 2565 ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานเปิดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2565 “เกษตรวิถีใหม่หลัง มหันตภัยโควิด” ภายใต้มาตรการเข้มข้นตามแนวปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันโควิด-19 โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานจัดงานเกษตรแฟร์ คณะผู้บริหาร แขกเชิญ และนิสิต ร่วมในพิธี

พิธีเปิดจัดขึ้นอย่างมีสีสัน ให้แนวคิดเรื่องของการใช้ชีวิตและทำกิจกรรมอย่างปลอดภัยภายใต้สถานการณ์โควิด โดย ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี มก. ได้นำไม้กระบอง ที่ชื่อ “C.Wachrinrat-Kasetsart” ฟาดเจ้าโควิดล้มคว่ำ สื่อให้เห็นว่าได้ฆ่าเชื้อโควิด-19 ทำลายตัวเชื้อไวรัสให้หมดสิ้นไป หลังจากตัวเชื้อไวรัสถูกทำลายแล้วก็ถูกแทนที่โดยข้อความ งานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2565 “เกษตรวิถีใหม่ หลังมหันตภัยโควิด” และตามด้วยการร้องและรำอย่างชาวนนทรี จากนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชมรมดนตรีสากลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยูแบนด์ หลังจากนั้นประธานเปิดงานได้พาคณะที่มาร่วมงานขึ้นรถชมงานตามโซนต่างๆ

การจัดงานเกษตรแฟร์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดขึ้นในช่วงคาบเกี่ยวกับงานวันคล้ายวันสถาปนา มก. 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ในอดีตการจัดงานแสดงเทคโลยีทางการเกษตร เริ่มจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2491 จากนั้นจึงมีการจัดงานอย่างต่อเนื่องโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ทางการเกษตรสมัยใหม่แก่ประชาชน และขยายความร่วมมือการจัดงานไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นที่มาของการจัดงานเกษตรแห่งชาติ

สำหรับการจัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2565 มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยออกสู่สังคม เปิดการเรียนรู้ให้กับนิสิต บุคลากร และอาจารย์ โดยใช้งานเกษตรแฟร์ เป็นห้องปฏิบัติการภาคสนามเพื่อถ่ายทอดความรู้ทุกมิติจากห้องเรียน ช่วยเหลือสังคมประชาชน อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการให้มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน กลับไปสู่ชุมชน และสังคม สร้างความสุขให้กับครอบครัว ขณะเดียวกันก็คาดหวังงานเกษตรแฟร์จะเป็นต้นแบบการใช้ชีวิตประจำวันในวิถีใหม่ ซึ่งเราทุกคนจำเป็นต้องใช้ชีวิตเดินหน้า ทั้งการงานอาชีพ การเรียน การทำกิจกรรมและบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ ในสังคม ภายใต้สถานการณ์โควิดอย่างปลอดภัย โดยมหาวิทยาลัยได้กำหนดแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร ของการจัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2565 ให้ทุกฝ่ายเข้าใจและร่วมมือกันปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

กิจกรรมประกอบด้วย การจัดแสดงผลงานวิจัยนวัตกรรมของ มก. การประกวดพืช ผลไม้ การประกวดปลากัด การประกวดผลิตภัณฑ์เครื่องแกงอาหารไทยพร้อมปรุง ประเภทแกง การประกวดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม TGDA Awards 2022 กลุ่มร้านค้านิสิต การแสดงศิลปและวัฒนธรรม ดนตรี นาฎศิลป์ และกลุ่มร้านค้าตลาดนัดสินค้าทางการเกษตรจากเกษตรกร ตลาดน้ำนนทรี สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเบ็ดเตล็ดจากผู้ประกอบการ โดยในปีนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สนับสนุนพื้นที่สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่อง BCG แก่ผู้ประกอบการและประชาชน ภายในงานเกษตรแฟร์ โดยร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ภายใต้โครงการ อว. BCG Market @Kaset Fair ซึ่งจะมีผู้ประกอบการภายใต้หน่วยงานต่าง ๆ ของ กระทรวง อว.เข้าร่วมประมาณ 100 ราย นอกจากนี้ยังเปิดแพลตฟอร์มออนไลน์Kasefair.kyu.ac.tk ให้ทุกท่านสามารถเข้าชมงานเกษตรแฟร์เสมือนจริงและเลือกสินค้าได้ตลอดงานและหลังจากการจัดงาน

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าจากภารกิจการดูแลด้านสุขภาพความปลอดภัยของนิสิตบุคลากร สู่ การพัฒนาภารกิจมหาวิทยาลัย ด้านการสอนทั้ง online offline และ hybrid การดูแลทุนการศึกษา การลดหย่อนและบรรเทาความเดือดร้อนของนิสิต การวิจัยที่ต่อเนื่อง งานบริการวิชาการ อาทิ มหาวิทยาลัยสู่ตำบาล U2T ตลอดจน โครงการพัฒนาวิชาการ การบ่มเพาะธุรกิจ start up, spin off ที่มีอย่างไม่หยุดนิ่ง อีกทั้งการช่วยประชาชนในภาวะวิกฤตทั้ง ชุดอุปกรณ์ เบื้องต้นช่วยเหลือผู้ติดโดวิด-19 การเป็นโรงพยาบาลสนาม community isolation และเป็นศูนย์วัคซีน ทั้งบางเขน กำแพงแสน สกลนคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งหนึ่งที่จะต้องดำเนินต่อไป หลังจากที่เผชิญปัญหามา 2 ปีเต็มคือความเป็นอยู่ของคนไทย เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งใจจะพัฒนาทั้งความรู้ นวัตกรรม เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

ดังนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้จัดงานเกษตรแฟร์ ในยุค new normal ในระหว่างวันที่ 28 มกราคม ถึง 5 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อให้นิสิตได้ฝึกปฏิบัตินอกห้องเรียน ซึ่งปีนี้ มีนิสิตรวมกลุ่มกันขอพื้นที่มากกว่า 150 กลุ่ม รวมเป็นจำนวนนิสิต เกี่ยวข้องมากกว่า 500 คน และมีร้านค้าในระดับสโมสร ชมรมจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะมีนิสิตเข้ามามีส่วนร่วมจำนวนมาก และ มีจิตอาสา ในการดำเนินการทำระบบออนไลน์ การประชาสัมพันธ์ การจัดประกวดแข่งขันทั้งพืชสัตว์ สิ่งแวดล้อม และ นวัตกรรมต่างๆ ซึ่งถือเป็น การฝึกนิสิต ให้ทำงานเป็นทีม เป็นผู้ประกอบการ เป็นจิตอาสา ตลอดจนความอดทนในการทำงานจริง จากเช้าจรดเย็น 9 วัน เหนื่อยจริง ขาดทุนจริง และกำไรจริง นิสิตจะได้เข้าใจในการเป็นผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีนวัตกรรมมากมายที่พร้อมใช้งานทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม มีการเสวนาวิชาการออนไลน์ ในระดับชาติและนานาชาติ เกษตรกร และ ผู้ประกอบการ มากกว่า 1,200 กลุ่ม

จากรายงานการสรุปการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของการจัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2563 โดยคณาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าการจัดงานเกษตรแฟร์ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ทั้งทางตรงและทางอ้อม กว่า 4,800 ล้านบาท เกิดความรู้ และ นวัตกรรม ชื่อเสียงต่อความน่าเชื่อถือ และตราสินค้าของผู้ประกอบการ มากมาย มีผู้เข้ามาในงานเกษตรแฟร์ ในปี 2563 ถึง 750,000 คน ใน 9 วัน สร้างความโดดเด่นให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเป็นภาคภาคภูมิใจที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ช่วยประเทศชาติ ช่วยสังคม

ปีนี้ทางกระทรวง อว. และ สวทช. ยังได้ร่วมจัดแสดงสินค้าและให้ความรู้เกี่ยวกับ BCG โดยนำสินค้า จากโครงการ U2T จากมหาวิทยาลัยต่างๆ มาแสดง มากกว่า 100 ร้าน นอกจากนี้ นอกจากมาตรการเคร่งครัดทางสาธารณสุข ต่างๆ แล้ว มก. ยังได้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชน นำ เนื้อหมู วัว ไข่ไก่ ราคาถูก และเป็นผลผลิตของมหาวิทยาลัยเพื่อช่วยประชาชน และยังเปิดฉีดวัคซีนให้ประชาชนโดยทั่วไป ในระหว่าง 28-30 ม.ค. นี้ ในงานเกษตรแฟร์ อีกด้วย เพื่อช่วยประเทศ และเป็นการช่วยประชาชนให้เข้าถึงวัคซีนได้เร็วขึ้น และปลอดภัยมากขึ้น

“เราต้องออกมาใช้ชีวิตอย่างปกติใหม่ภายหลังโควิด และ อยู่อย่างปลอดภัยโดยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข และยั่งยืนเพื่อให้สังคม และประเทศ มีความเจริญก้าวหน้า และแข่งขันได้กับนานาอารยประเทศ” อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวย้ำในที่สุด

(เรียบเรียงจากข่าวต้นฉบับ โดย ผกามาศ ธนพัฒนพงศ์ / นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ/ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 28 มกราคม 2565)

(ภาพโดย “น้าตู่” และประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้)

ชมคลิป/ เกษตรก้าวไกล LIVE in KU kaset fair 65-เกษตรแฟร์ 65 เปิดงานแล้ว โดย ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้ไม้กระบองที่ชื่อ “C.Wachrinrat-Kasetsart” ฟาดเจ้าโควิดล้มคว่ำ เป็นสัญลักษณ์ว่า หลังจากตัวเชื้อไวรัสถูกทำลายแล้ว เราก็จะได้ออกมาใช้ชีวิตอย่างปกติใหม่

วันที่เราไปเยือน..ศูนย์สมุนไพรบ้านแม่กระบุง อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี คึกคักเป็นพิเศษ เพราะว่าผู้ใหญ่สนธิ เขียวเหลือง และผู้ช่วยผู้ใหญ่ประเดิม ศรีชันยา แห่งหมู่ที่ 2 บ้านแม่กระบุง ได้นัดลูกบ้านมากันอย่างพร้อมเพรียง เพื่อที่จะเตรียมการรับนักท่องเที่ยวชุดแรก

“หมู่บ้านของเรามีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย เช่น น้ำตก ถ้ำ สวนสมุนไพร เจดีย์สัจจะ ฯลฯ เราจะมีโปรแกรมท่องเที่ยวให้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งเป็นชุมชนกะเหรี่ยงที่สืบทอดมาแต่ดั้งเดิม”

ระหว่างที่ “เกษตรก้าวไกล” กำลังยืนสนทนาอยู่นั้นก็แอบทึ่งกับบ้านที่เรียกว่าโฮมสเตย์ ซึ่งนอกจากจะเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องสมุนไพร และวัฒนธรรมของชุมชนแล้ว เขายังจะทำเป็นบ้านพักไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว เรียกว่าเป็นบ้านหลังพิเศษ VIP สารพัดประโยชน์ ที่น่าทึ่งก็คือว่าเขาปลูกสร้างด้วยไม้ไผ่ทั้งหลัง ชนิดที่ว่าไร้ตะปูใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเสาบ้าน คานบ้าน พื้นบ้าน ไปจนถึงไม้ระแนงบนหลังคา…”

“บ้านหลังนี้ใช้ไม้ไผ่ทั้งหมด ไม่ใช้ตะปูหรือเหล็กแม้แต่นิดเดียว” นายประเดิม ศรีชันยา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งรับผิดชอบงานก่อสร้างเล่าให้ฟัง เราถามว่า ค่าก่อสร้างประมาณเท่าไร….เพราะคิดว่าคนเมืองกรุงที่ถวิลหาธรรมชาติคงจะถูกใจ…ถามแทนว่างั้นเถอะ

“ค่าก่อสร้างรวมวัสดุทั้งหมดประมาณ 70,000 บาท แต่ว่าเป็นแรงงานในท้องถิ่นที่ทำกันเองนะ ถ้าให้ไปสร้างที่อื่นคงจะแพงกว่านี้…หลักๆคือค่าจ้างไปตัดไม้ไผ่ในป่า…ถ้าซื้อไม้ไผ่มาสร้างเองคงจะสร้างไม่ได้ในราคานี้” ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านให้ข้อมูลอย่างละเอียดเมื่อเห็นว่าเราสนใจ

กำลังพูดถึงชุมชนท่องเที่ยว OTOPนวัตวิถีบ้านแม่กระบุง แต่ไงกลายเป็นเรื่องบ้านไม้ไผ่…เอาเป็นว่าท่านผู้ใดใครสนใจก็ต้องมาเที่ยวบ้านแม่กระบุง…ชาวบ้านยินดีต้อนรับทุกท่านครับ

อนึ่ง “เกษตรก้าวไกล” ได้เคยมาเที่ยวบ้านแม่กระบุงในปี 2562 และนำเรื่องราวมาเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ เป็นที่สนใจกันมาก และหลังจากนั้นไม่นานก็ย่างเข้าไป 2563 เกิดสถานการณ์โควิด-19 และต่อเนื่องมาปี 2564 จนมาปี 2565 โควิดก็ยังอยู่กับเรา แต่เราก็ต้องใช้ชีวิตอยู่กับมันให้ได้ ด้วยการนำเรื่องราวของบ้านแม่กระบุงมาถ่ายทอดใหม่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยเห็นว่า

“โลกยุคใหม่ชนบทคือความทันสมัย” สมัคร Royal Online ท่องเที่ยวชุมชนจะต้องกลับมาได้เกิดอย่างเต็มภาคภูมิใจ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เราได้พยายามสื่อสารกับสังคม ภายใต้แนวคิด “เชื่อมสังคมเกษตรสู่คนไทยทั่วประเทศ” และบ้านแม่กระบุงได้รับการส่งเสริมจากสำนักพัฒนาชุมชนอำเภอศรีสวัสดิ์ ให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มีความพร้อมทั้งในเรื่องของท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และวัฒนธรรมวิถีชีวิตชุมชน ที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมควบคู่ไปกับการรักษาธรรมชาติและระบบนิเวศไว้เป็นอย่างดีนั่นเอง

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เผยเพิ่มเติมด้วยว่า ในทุกปีกรมส่งเสริม

จะจัดประกวดสหกรณ์และบุคคลดีเด่นในพื้นที่โครงการหลวงขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจของเกษตรกรสมาชิก และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการหลวง และเพื่อเป็นการสนับสนุนการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติใช้ในสหกรณ์ โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติแบบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานสหกรณ์ เพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กรมฯ กำหนด พร้อมร่วมกันวางแผนการผลิตให้ได้มาตรฐานตามที่โครงการหลวงกำหนด พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการคิด การออกแบบ การผลิตการแปรรูปสินค้า และบรรจุภัณฑ์ของสหกรณ์ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้โดดเด่นอย่างทันสมัย

“กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้แนะนำส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการนำแนวการประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริมาเป็นแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาสหกรณ์อย่างยั่งยืน (บันได 7 ขั้น) มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนการยกระดับสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็ง มีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจ มีระบบการบริหารการจัดการที่ดี รวมถึงการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถบริการทางธุรกิจเป็นที่พึ่งของสมาชิกสหกรณ์ และยกระดับสหกรณ์ให้ดีขึ้น” อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว ​

สำหรับสหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด มีจุดสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นจุดเด่นของสหกรณ์ คือการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรสมาชิกที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยพืชหลักที่เกษตรกรปลูกประกอบด้วย ข้าวไร่ พริกกะเหรี่ยง เสาวรส กาแฟใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ ทำให้การดำรงชีวิตแบบอยู่ป่าไม้ได้อย่างสมดุล และนับเป็นพื้นที่ตัวอย่างของจังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือสบเมยโมเดล “คนอยู่กับป่า” ได้เป็นอย่างดี

ไม่ว่าจะเรียนจบสายไหน ก็มาสมัครทุน “ต้นกล้า เพื่อพัฒนาประเทศ” ของคณะนวัตกรรมเกษตร ที่มีรายวิชากัญชาศาสตร์แห่งแรกในมหาวิทยาลัยของไทย โดยไฮไลท์ของหลักสูตรอยู่ที่การเรียนการเกษตรซึ่งเป็นแบบองค์รวมในทุกสาขา เสริมความเข้มข้นด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจสำหรับการค้าสินค้าเกษตรออนไลน์ในยุคดิจิตอล https://www.facebook.com/agriculturalRSU

คณะนวัตกรรมเกษตรมีข่าวดีสำหรับสำหรับนักเรียนที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่สนใจเข้ามาศึกษาด้านนวัตกรรมเกษตรและมาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากัญชาศาสตร์เพื่อทางการแพทย์ โดยในปีการศึกษา 2565 คณะนวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร และอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต มีทุนการศึกษา “ทุนต้นกล้าเกษตร เพื่อพัฒนาประเทศ” (เรียนฟรีตลอด 4 ปี) หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (นวัตกรรมเกษตร) ระดับปริญญาตรี มอบให้สำหรับนักเรียนที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทย์-คณิต ที่มีเกรดเฉลี่ย 2.50 ขึ้นไป สายศิลป์และผู้ที่จบระดับชั้น ปวช. ที่มีเกรดเฉลี่ย 2.75 ขึ้นไป (รับนักศึกษาจบปีการศึกษา 2564 เท่านั้น) โดยผู้สนใจขอสมัครรับทุน “ทุนต้นกล้าเกษตร เพื่อพัฒนาประเทศ” ได้ตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงวันที่ 25 กุมภาพันธุ์ 2565 ผ่านระบบ Online ตามลิงค์ https://forms.gle/2SFUgAgQgcpvF72j9 หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.02 997 2222 ต่อ 3428,3441 หรือ 094 4956351

เกาะนารอบโฮมสเตย์ แหล่งท่องเที่ยวของชุมชน ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)สาขา อ.กงหรา จ.พัทลุง แนะนำเกษตรก้าวไกล ให้ไปเยี่ยมชม ตั้งอยู่ใกล้ๆ จุดชมวิวควนนกเต้น เป็นทะเลหมอกอันสวยสดงดงามแห่งหนึ่งของ อ.กงหรา ที่มาแรง

คุณไพศาล ช่วยเทศ หรือ “น้องป๊อก” เกษตรกรคนรุ่นใหม่ที่สานต่องานของ พ่อเพียร ช่วยเทศ ผู้มาบุกเบิกพื้นที่แห่งนี้ตั้งแต่เริ่มต้น โดยสืบทอดมาจากบรพบุรุษเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่เพิ่งได้มาพัฒนาเป็นบ่อเลี้ยงปลาเล็กๆ และโฮมสเตย์แบบปัจจุบัน กล่าวว่า จุดตรงนี้เกิดขึ้นเนื่องจากคนจะไปเที่ยวทะเลหมอกเกาะนกเต้น เราจึงมาสร้างโฮมสเตย์ดักรอ คนล้นจากที่พักบนควนนกเต้น ก็จะมาพักกับเรา

น้องป๊อก พาทีมงานเราเดินชมรอบๆ บริเวณโฮมสเตย์ เริ่มจากบ่อปลาทับทิม ครั้งแรกจะเลี้ยงไว้ขายคนในชุมชน ต่อมามีนักท่องเที่ยวมาเยอะขึ้นจึงสร้างเป็นบ่อปลาสวยงาม เพื่อเป็นแหล่งให้อาหารปลาให้กับนักท่องเที่ยว โดยเน้นการเลี้ยงปลาคาร์ป นักท่องเที่ยวจะนิยมมาชมปลาและมาให้อาหารปลา ปลาคาร์ปเราเลี้ยงมาตั้งแต่เล็กๆ ซื้อมาตัวล่ะ 3-4 บาท เลี้ยงไว้ 3 ปี ก็จะโตขึ้นเต็มสระ และฝึกให้ปลาคุ้นเคยกับการให้อาหารปลาของนักท่องเที่ยวที่เรียกว่า “ปลาคาร์ปดูดนม” นั่นก็คือการนำอาหารมาใส่ในขวดนมและนำขวดนมไปให้ปลาดูด เป็นที่สนใจของลูกหลานเป็นอย่างมาก โดยบ่อปลาเราเลี้ยงในระบบน้ำไหลเวียน จึงไม่มีเชื้อโรคใดๆ ไม่ต้องติดเครื่องทำออกซิเจน เพราะข้างบนภูเขามีน้ำตกอยู่ ทำให้น้ำไหลหมุนเวียนในสวนตามธรรมชาติ ไหลจากที่สูงลงต่ำ

“จุดไฮไลท์สำคัญเราสร้างชิงช้าต้นมะพร้าว นักท่องเที่ยวต่างชื่นชอบมาเล่นสนุกสนาน เมื่อก่อนตรงนี้เป็นทุ่งนา พื้นที่ของเราเหมือนเป็นเกาะ จึงตั้งชื่อว่าเกาะนารอบ และที่สำคัญนักท่องเที่ยวมาเยือนเรา สามารถสอยมังคุดในสวนรับประทานได้ฟรี เพราะช่วงที่ผ่านมาราคามังคุดตกต่ำ ถือเป็นบริการเสริมให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน” น้องป๊อก กล่าวและว่าพื้นที่ใกล้เคียงกันก็เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน ในส่วนของตนมีบ้านพักในราคา 800 บาท 2 หลัง และราคา 1,200 บาท จำนวนหนึ่งหลัง บ้านพักของตน เห็นใจนักท่องเที่ยว จะมาพักกี่คนก็ได้

ท้ายสุด น้องป๊อก กล่าวขอบคุณธ.ก.ส.สาขากงหรา ที่มาช่วยสนับสนุนให้สินเชื่อเพื่อมาสร้างโฮมสเตย์ในเบื้องต้น ซึ่งจะซื้อวัสดุมาก่อสร้างด้วยตนเองกับลูกมือที่เป็นคนในชุมชน บ้านหลังหนึ่งๆก็เป็นแสนบาท ธ.ก.ส.ต้องการให้จุดนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เราต้องขอบคุณธ.ก.ส.ที่มาสนับสนุน ขาดเหลืออะไรก็ไปบอกได้ ส่วนการตลาดเราจะโปรโมททางเฟสบุ๊ค ชื่อ “เกาะนารอบโฮมสเตย์” ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวที่มาเยือนต่างโพสต์เฟสบุ๊ค บอกต่อๆกันไป ต้องขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมธรรมชาติ มาให้อาหารปลาคาร์ปดูดนมและเล่นน้ำที่ไหลหมุนเวียนมาจากน้ำตก

ด้าน พ่อเพียร ช่วยเทศ กล่าวว่า เมื่อประมาณสัก 50-60 ปีที่แล้ว ซื้อมาในราคาไร่ละ 3 บาท ใช้เงินซื้อมา 2 ไร่ ราคา 6 บาท เริ่มแรกปลูกต้นมะพร้าวและมังคุด และต่อมาได้ขุดบ่อปลาเพิ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 เพื่อปรับเปลี่ยนจากสวนมังคุด สวนมะพร้าวเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างบ้านหลังแรกๆ ก็มีครูต่างชาติมาเช่า ทำให้มีกำลังใจ ต่อมาก็สร้างที่พักเพิ่มเรื่อยๆ ราคา 800-1200 บาท

สนใจมาเที่ยวได้ที่เกาะนารอบโฮมสเตย์ ติดต่อมาได้ เลขที่ 315 หมู่ 4 ต.คลองทรายขาว อ.กงหรา จ.พัทลุง โทรศัพท์ 08-9978-0092 ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความเต็มใจ

สำหรับท่านที่ต้องการเพลิดเพลินกับธรรมชาติที่เกาะนารอบไปพลางๆก่อนไปชมจริง รวมทั้งฟังความเห็นจากน้องป๊อกและคุณพ่อเพียร “คุณพ่อดีเด่นแห่งกงหรา” ชมกันเต็มอิ่มจากคลิปข้างบนนี้หรือคลิกลิงก์นี้ https://youtu.be/OSoL9Ij0-aY ขอบคุณ ธ.ก.ส.สาขากงหรา ที่แนะนำ และฟอร์ดประเทศไทยที่สนับสนุนพาหนะลุยพื้นที่ภาคใต้ในครั้งนี้

เดินทางล่องใต้เที่ยวนี้ได้พบว่าพี่น้องเกษตรกไทยตื่นตัวสุดๆ หมายมั่นปั้นมือว่าโควิดที่เกิดขึ้นจะจุดไฟเกษตรให้เจิดจ้า “โอกาสเกษตรเกิดขึ้นทันตาเห็น” อย่างที่ “ล่องแก่งหนานมดแดงพัทลุง” ได้ใช้โอกาสนี้เติมเต็มความสนุกให้กับล่องแก่งที่มีความแกร่งเป็นทุนเดิม ด้วยสกายวอล์คและสไลด์เนอร์บนยอดไม้

ทั้งหมดนี้คือความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นจาก “โยธิน เขาไข่แก้ว” เกษตรกรชาวสวนผู้ไม่ยอมหยุดนิ่ง ด้วยหวังว่ารูปแบบที่ทำขึ้นจะช่วยเพิ่มมูลค่าสวนเกษตรและสร้างชุมชนท่องเที่ยวให้เป็นที่ปรากฏแก่ชาวโลก

คุณโยธิน เขาไข่แก้ว เล่าว่า เมื่อก่อนพื้นที่ ต.ลานข่อย อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง อันเป็นที่ตั้งของล่องแก่งหนานมดแดง เป็นพื้นที่สีแดง สมัยเมื่อปี พ.ศ. 2516 ครอบครัวของตนได้มาพัฒนาพื้นที่ปลูกสวนผลไม้ทั้งทุเรียน มังคุด ลองกอง ฯลฯ แต่เมื่อประมาณปี 2553-2554 เกิดวาตภัย พายุดีเปรสชั่นพัดสวนผลไม้ล้มจนเป็นพื้นที่โล่ง เปิดพื้นที่กว้าง ตนจึงไปขอสินเชื่อจากธ.ก.ส.ด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยราคาพิเศษ ที่ได้จัดให้กับผู้ประสบภัย จากเงินก้อนนั้นก็เริ่มมาก่อสร้างที่พัก พาชาวบ้านในชุมชนมาจัดกิจกรรมล่องแก่ง เพราะมีน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใสไหลทั้งปี เหมาะแก่การล่องแก่ง ผจญภัยทางธรรมชาติ และด้วยความสนุกสนานของนักท่องเที่ยวที่บอกกันปากต่อปาก และมาเที่ยวแล้วปลอดภัยก็ทำให้เกิดความมั่นใจ นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมากมาย จึงเป็นที่มาของการเกิดรีสอร์ทอื่นๆ อีกนับสิบๆที่อยู่ใกล้เคียงกัน

นับว่าเป็นการจุดกระแสท่องเที่ยวชุมชนให้ทุกคนหันมามองครั้งใหญ่ ได้สร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในท้องถิ่น จากตำบลที่ถูกมองข้ามด้วยเรื่องราวในทางลบในอดีตก็ค่อยๆกลับมาเป็นที่รู้จักและทางราชการเห็นความสำคัญจึงก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคถนนหนทางต่างๆจากถนน 2 เลน กลายเป็นถนน 4 เลน

อย่างไรก็ดี ในช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิดทำให้ได้รับผลกระทบเสมือนจนพายุดีเปรสชั่นอีกรอบหนึ่ง จากพนักงานที่มีอยู่กว่า 100 คน ก็ต้องแบกภาระและคิดหาหนทางที่จะกลับมาใหม่ ด้วยการลงทุนสร้างสรรค์กิจกรรมขึ้นมา และนำพนักงานทุกคนมาช่วยกันสร้าง นั่นคือการก่อสร้างสกายวอล์คยาว 111 เมตร ลัดเลาะไปตามยอดไม้ ซึ่งก็คือสวนผลไม้ดั้งเดิมที่ยังคงอนุรักษ์ไว้

วันที่ทีมงานเกษตรก้าวไกลมาเยือน คุณโยธิน พาเดินชมสวนผลไม้ที่บัดนี้ทำเป็นวอล์คเวย์หรือสกายวอล์คด้วยความภาคภูมิใจ เพราะตลอดเส้นทางจะมีจุดเช็คอินเรียงรายอันเกิดขึ้นจากไอเดียสร้างสรรค์ของคุณโยธินและชาวคณะหนานมดแดง ที่พร้อมใจกันเป็น “สถาปนึก” โดยเน้นวัสดุในท้องถิ่นและวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน BCG ตามนโยบายของรัฐบาล (สามารถชมจุดเช็คอินไอเดียระดับโลกไม่แพ้ชาติใดได้เต็มๆจากคลิปประกอบข่าวนี้)

สำหรับสกายวอร์คนักท่องเที่ยวทุกคนสามารถเดินชมได้ฟรีๆ ยกเว้นสไลด์เดอร์บนยอดไม้ที่สร้างขึ้นก่อนหน้า เก็บค่าเล่นเพียง 50 บาท เพราะต้องใช้เครื่องสูบน้ำมาหมุนเวียนบนเครื่องเล่น แต่สามารถเล่นได้ทั้งวัน และเน้นความปลอดภัยสูงสุด

คุณโยธิน ให้ความคิดเห็นเรื่องการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเกษตรบอกว่าเป็นโอกาสของเกษตรกร โดยตนเองนั้นยึดอาชีพการเกษตรมาโดยตลอด ซึ่งเดิมนั้นเคยรับราชการเป็นเกษตรอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ แต่ได้ลาออกมาดูแลแม่ที่มีอายุมาก และจุดเปลี่ยนสำคัญมาจากการประสบปัญหาวาตภัยและได้เงินสินเชื่อจากธ.ก.ส. “ถ้าไม่มีธ.ก.ส.ในวันนั้นก็ไม่มีผมมายืนอยู่ในวันนี้” ดังที่ได้เล่าในเบื้องต้น ซึ่งตนอยากชี้ให้เห็นว่าทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ พื้นที่ตรงนี้พลิกจากสวนเกษตร สวนผลไม้ เมื่อ 12 ปีที่แล้ว มาทำเป็นล่องแก่งเป็นการเพิ่มมูลค่าสวนเกษตรและสร้างสรรค์ให้เหมือนสวนสนุกในปัจจุบัน ซึ่งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพัทลุง

คุณโยธิน กล่าวเชิญชวนเกษตรกรและพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ จากประสบการณ์ของตนเองที่เริ่มต้นบุกเบิกมา เราสามารถเปลี่ยนพื้นที่ทำเกษตรมาดัดแปลงสร้างสรรค์เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ ถึงเวลาที่เราจะต้องยกระดับทำการเกษตรและการท่องเที่ยวให้เป็นเรื่องเดียวกัน เช่น เราปลูกปาล์มมีสวนปาล์ม เราก็สามารถนำกล้วยไม้มาแปะไว้ที่ต้นปาล์ม แปลงสวนปาล์มเป็นสวนกล้วยไม้ และเมื่อกล้วยไม้เราสวยๆ แล้วก็ทำวอล์คเวย์ ให้คนเข้ามาชม หรือถ้าเป็นสวนยางก็สามารถปลูกเป็นสวนป่าทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้เช่นกัน และเราสามารถขาย “น้ำแข็ง” เปิดร้านกาแฟ หรือนำผลผลิตทางการเกษตรมาขายในสวน เราก็ไม่ต้องไปขายไกล เราสามารถนำมาขายให้กับนักท่องเที่ยวได้ มีคนมาซื้อถึงพื้นที่ หรือทำเป็นจุดเช็คอินสวยๆ อนาคตจะเกิดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อาชีพเกษตรกรจึงมีโอกาสเป็นอย่างมาก

สำหรับ ล่องแก่งหนานมดแดง คุณโยธินบอกว่า โชคดีที่จุดนี้ล่องแก่งได้ทั้งปี เนื่องจากได้รับผลดีจากโครงการพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ มวลน้ำทั้ง 5 สาย จากเทือกเขาบรรทัด จะไหลมาเก็บไว้ที่อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส เมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำก็จะไม่ท่วม ถึงฤดูแล้งน้ำก็จะปล่อยน้ำช่วยเหลือให้เกษตรกรที่อยู่ด้านล่าง เราก็ใช้น้ำในส่วนนี้เป็นพื้นที่ล่องแก่ง เป็นการ “เพิ่มมูลค่าน้ำ” ทำให้เกิดอาชีพสามารถเลี้ยงครอบครัวและสร้างงานให้ชุมชนได้

“สิ่งสำคัญสถานที่แห่งนี้ ผมจะสร้างเหมือนสวนสาธารณะ ทุกคนเข้ามาเที่ยว มาเยือนได้โดยไม่ต้องเสียเงิน ผมอยู่อีกไม่กี่ผืนเสื่อ ตายไปคงเอาอะไรไปไม่ได้ จึงมีความคิดว่าจะแปลงสินทรัพย์เป็นบุญ เห็นทุกคนมาเที่ยวแล้วยิ้มแย้มแจ่มใส สนุกสนุกผมก็มีความสุข” คุณโยธิน กล่าวทิ้งท้ายและเชิญชวนมาเที่ยวได้ทั้งปี

สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจจะมาล่องแก่งหนานมดแดง ซึ่งปัจจุบันถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดพัทลุง ที่นอกจากจะมีล่องแก่ง มีสกายวอล์ก สไลด์เนอร์ ยังมีที่พัก มีร้านเครื่องดื่ม ร้านของของที่ระลึกของชุมชน ติดต่อได้ที่โทร. 081-0820206 และชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/zSKZsp4SRyE ขอบคุณ ธ.ก.ส.สาขาป่าพะยอม ที่แนะนำให้มาเที่ยวในครั้งนี้

หากฝันอยากทำเกษตร สิ่งสำคัญ ต้องมีใจ พร้อมสู้ ด้วยการวางแผนบริหารจัดการที่ดี ได้รับการสนับสนุนที่ดี โดยเฉพาะในด้านเงินทุน นี่คือสิ่งที่ Smart New Gen จังหวัดอุทัยธานี ภายใต้การสนับสนุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ที่ชื่อ “โชค-ศศเศรษฐโชค ตามพระหัตถิ์” ใช้เป็นแนวทางก้าวสู่ความสำเร็จบนเส้นทางการเป็นเกษตรกรในวันนี้

“ก่อนหน้านี้ ทำงานบริษัทที่กรุงเทพฯครับ กลับมาบ้านเกิดได้ประมาณ 10 ปี มาปรับพื้นที่มีอยู่ประมาณ 60 ไร่ให้เป็นแปลงเกษตรเลี้ยงชีวิต โดยยึดหลักตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9”

โชค ได้พลิกเปลี่ยนพื้นที่ที่เป็นมรดก ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 61 หมู่ 6 ตำบลหนองไผ่ อำเภอหนองขาหย่าง ที่ครั้งอดีตเคยแห้งแล้ง มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างข้าว ให้กลายเป็นแปลงเกษตรที่มีกิจกรรมหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ สร้างรายได้มากมายอย่างน่าสนใจ ไม่ว่า จากการจำหน่ายข้าวกล้อง, ข้าวไรซ์เบอร์รี่, ข้าวเหนียวกล่ำการเพิ่มมูลค่าผลผลิต ด้วยการทำเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว เช่น แป้งข้าวหมาก ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วย เช่น กล้วยฉาบ กล้วยอบน้ำผึ้งผลิตภัณฑ์น้ำอ้อยคั้นสด รวมถึงผลผลิตด้านปศุสัตว์ ทั้งเป็ด ไข่ และควาย

“ผมช่วยกันทำงานแบบครอบครัวครับ 3 คน เราใช้หลักของการบริหารพื้นที่เข้ามาช่วย โดยจัดพื้นที่ออกเป็นแปลงๆ เพื่อทำกิจกรรมตามเป้าหมายที่กำหนด เช่น ล่าสุด ได้จัดทำแปลงโคกหนองนาในพื้นที่ 5 ไร่” ภายใต้ชื่อ “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง” เป็นชื่อที่มีความหมายมากๆสำหรับผู้หัวใจการเกษตรที่จะต้องต่อสู้อดทน..

โชคกับข้อแนะนำ สำหรับคนที่อยากเริ่มต้น

เพราะการทำงานที่เน้นการวางแผน และมีหลักมั่นในการปฏิบัติ จากวันที่เริ่มต้นในวัย 39 ปี ผ่านมาวันนี้ 10 ปี จึงก้าวมาสู่ความสำเร็จ

“อย่างตอนเริ่มต้น ผมเริ่มจากพื้นที่ 5 ไร่ก่อน ปลูกไม้ยืนต้นผสมผสานกับพืชสวนอย่าง มะม่วง มะกรูด มะนาว เพราะไม้ยืนต้นนั้น ไม่ต้องเข้าไปดูแลมากนัก จากนั้นก็มาจัดการบริหารเรื่องที่นา และแหล่งน้ำ ค่อยๆทำ ค่อยๆสร้างมาตามกำลังครับ”

จากสิ่งที่ค่อยๆ ทำในแปลงเกษตร ได้นำมาซึ่งรายได้อย่างต่อเนื่องทั้งแบบรายวัน รายเดือน และรายปี สามารถสร้างสุขให้ชีวิตได้เป็นอย่างดี ผ่านจุดขายที่เน้นการผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษ

แต่สิ่งสำคัญอีกประการที่เป็นข้อแนะนำ คือ การลดต้นทุนการผลิต ด้วยโชคบอกว่า ปัจจุบันต้นทุนการผลิตของเกษตรกรนั้นเพิ่มสูงมากขึ้น ดังนั้น การที่จะอยู่ได้อยู่รอด ต้องลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด

“อย่างที่ผมทำและได้แนะนำให้กับเพื่อนเกษตรกรเสมอ คือ ใช้วิธีการปรับปรุงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช เช่น การใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก เพื่อปรับโครงสร้าง และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน การใช้วิธีการห่มฟาง เป็นต้น เมื่อดินเรามีความอุดสมบูรณ์แล้ว จะทำให้ต้นพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรสามารถลดเรื่องการใช้ปุ๋ยใช้ยาลงไปได้ครับ”

“ดังนั้นในวันนี้ หากใครสนใจ อยากกลับบ้านมาทำอาชีพเกษตร ที่เป็นนักธุรกิจเกษตร เป็นสิ่งที่ต้องเติมแต่งให้สมบูรณ์ คือ แนวคิดในการบริหารจัดการพื้นที่ เช่น ดูว่า มีอะไรที่เราพอจะเริ่มทำได้เองบ้าง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย เช่น การทำปุ๋ยหมักใช้เอง การปลูกพืชผักสวนครัว เพาะเห็ด ไว้บริโภคในครัวเรือนก่อน เหลือแล้วค่อยขาย เป็นต้น หรือ ถ้ามีทุนน้อย ก็เริ่มทำน้อยๆ ตามกำลัง ค่อยๆ ทำที่ละนิด แล้วใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ทั้งการสื่อสารไปสู่ลูกค้าเป้าหมาย และใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่รู้ผู้ที่สำเร็จ เพื่อนำมาสู่การพัฒนาของเรา”

สิ่งหนึ่งที่ Smart New Gen ผู้นี้ได้บอกเล่า คือ ความยากลำบากในการเริ่มต้น ที่ต้องอาศัยสรรพกำลังมากมาย กว่าจะทำให้ทุกอย่างออกมาสวยงาม เหมือนกับภาพของแปลงเกษตรสวยๆ ที่เผยแพร่กันตามสื่อต่างๆ

“อย่างพื้นที่ 3 ไร่ ที่ทำโคกหนองนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองขาหย่าง ดินที่ขุดจากบ่อซึ่งลึก 6 เมตร แล้วนำขึ้นมาถมพื้นที่ จะเป็นดินที่เรียกว่า ดินเลนผสมกรวด พอแห้งแล้วน้ำจะไม่ซึมแห้งแล้วจะเหมือนปูนเลย ซึ่งไม่อุดมสมบูรณ์แบบสุดๆ น้ำไม่ซึมผ่าน มีพืชชนิดเดียวที่ขึ้นได้งามมากคือ หญ้าแฝก ซึ่งหลายคนที่ผมได้พบ จะเจอปัญหานี้ คือขุดบ่อเอาดินขึ้นมาถมแล้ว ปลูกอะไรไม่ได้ และไม่รู้จะทำอย่างไร จึงทำให้ท้อและเลิกไปในที่สุด”

ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ไข ด้วยการปรับปรุงบำรุงดิน เช่น การปรับโครงสร้างด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ใส่ปูนโดโลไมท์ ราดด้วยน้ำจุลินทรีย์ ห่มฟาง ปลูกหญ้าแฝก เป็นต้น โชคบอกว่า แม้ดินไม่ดี แต่แก้ไขได้ ขอเพียงศึกษาหาองค์ความรู้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ค่อยๆทำค่อยๆปรับ แล้ววันหนึ่งจะสามารถก้าวไปสู่เป้าหมายได้

“สิ่งที่ผมอยากแนะนำคือ จุดที่เราจะปลูกต้นไม้นั้น ยังไม่สามารถทำได้ ก็ปรับไปทำกิจกรรมอื่นที่จะเข้ามาช่วยสร้างรายได้ อย่างเช่น ไปเลี้ยงปลาในคลองไส้ไก่ เป็นปลาดุก หรือปลาธรรมชาติ เลี้ยงไปประมาณ 3 เดือนก็สามารถได้จับมากินมาขายแล้ว หรือจะเลี้ยงเป็ด เลี้ยงกบ โดยกบตอนนี้ราคาดีมาก กิโลกรัมหนึ่งอยู่ที่ 70 บาท หากเลี้ยงกบ 1 กระชังก็สามารถสร้างเงินหมื่นได้ หรือถ้าเป็นพืช ที่เก็บขายได้เร็วก็จะเป็นกล้วยและอ้อยคั้นน้ำ เป็นต้น ผมอยากให้เริ่มตรงจุดไหนที่สามารถทำได้ทำก่อน ตรงไหนที่ต้องปรับต้องปรุงก็ค่อยๆทำไป ซึ่งขึ้นอยู่แนวความคิดของแต่ละคน เป็นเรื่องสำคัญ”

อย่างไรก็ตาม บนก้าวแห่งชีวิตการเป็นเกษตรกรที่สามารถประสบความสำเร็จได้เช่นวันนี้ หนึ่งในพลังสำคัญที่จะเสริมและสนับสนุนคือ หน่วยงานต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง “ถนนทุกสายมุ่งสู่โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง” โดยในจำนวนนี้ ธ.ก.ส. คือ หนึ่งพลังที่สำคัญที่จะช่วยสนับสนุนด้านทุนดำเนินการ จนทำให้สามารถก้าวเดินได้อย่างไม่ติดขัด

“ธ.ก.ส.ให้โอกาสผมหลายอย่าง ไม่ว่า การสนับสนุนด้านการเพิ่มพูดความรู้ ด้วยการส่งเข้ารับการอบรมในโครงการต่างๆ ของ ธ.ก.ส. ทำให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากวิทยากร มาต่อยอดการประกอบอาชีพได้ และการสนับสนุนด้านเงินทุนจากโครงการช่วยเหลือเกษตรกรของรัฐบาลผ่าน ธ.ก.ส. เช่น สินเชื่อพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อผู้ประสบภัยแล้ง สินเชื่อ Green Credit ผ่านพันธบัตร Green Bond ปลาในนาข้าวครับ” โชคกล่าว

อีกสิ่งที่ได้เห็นจากความมุ่งมั่นของเกษตรกรผู้นี้คือ การสร้างอนาคตในด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่เน้นกิจกรรมเกี่ยวกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“ผมอยากตั้งเป็นชุมชนเล็ก ๆ ภายใต้ชื่อ Ecovillage by Chok มีการใช้พลังงานสะอาด เช่น ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ มีการจัดการเรื่องป่า เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีก 3 ปีครับ ผมจะทำ Ecovillage by Chok ให้สำเร็จ” โชค กล่าวทิ้งท้าย

โชค-ศศเศรษฐโชค ตามพระหัตถิ์ นี่คืออีกอีกตัวอย่างความสำเร็จที่ไม่ได้เพราะโชคช่วย แต่มาจากโชคที่ลงมือทำจริง ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเททำจริง และได้นำมาซึ่งความมั่นคงอย่างยั่งยืนในอาชีพตลอดไป

ในช่วงเวลาต่อเชื่อมระหว่างปี 64 กับ 65 ทีมงานเกษตรก้าวไกลได้มีโอกาสเดินทางลงพื้นที่เกษตรหลายจังหวัด สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือพี่น้องเกษตรกรตื่นตัวมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา อาจจะเป็นผลสืบเนื่องมาจาก ยุค Covid ที่บีบให้มนุษย์กลับคืนสู่ธรรมชาติ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ยุค Disrupt ที่ผลักให้ทุกคนเข้าสู่ดิจิทัล ทุกคนมีเครื่องมือสื่อสารอยู่ในมือ ทุกอย่างมันสอดรับกันอย่างรวดเร็ว โอกาสเกษตรก็เกิดขึ้นทันตาเห็น “เกษตรมีโอกาสเหลือเฟือ” หลายคนเปลี่ยนพื้นที่เกษตรเพิ่มมูลค่าพื้นที่เกษตรด้วยการนำผลผลิตมาต่อยอดมาแปรรูป นำสิ่งที่มีอยู่ในผืนดินมาสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น สร้างเป็นโฮมสเตย์หรือฟาร์มสเตย์ขึ้นมาบ้าง จากนั้นก็ใช้สื่อที่อยู่ในมือสื่อสารออกไป

ตรงนี้จะสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ Sustainable Development Goals – SDGs ซึ่งมีทั้งหมด 17 เป้าหมาย

อย่างเช่นเป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน เป้าหมายที่ 2 ขจัดความหิวโหย แค่ 2 เป้าหมายนี้สอดคล้องกับภาคเกษตรของเราแบบจังๆ ยังไม่ต้องไปดูเป้าหมายที่ 10 ที่บอกว่าจะลดความเหลื่อมล้ำ เอาเป็นว่าทุกเป้าหมายตรงกับประเทศไทย เราจะขจัดความยากจนได้อย่างไร ซึ่งคนส่วนใหญ่ของเราอยู่ในภาคเกษตร แต่สัดส่วน GDP กลับน้อยกว่าอย่างสิ้นเชิง ผลที่ผ่านมาก็เลยทำให้เกิดคามเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม “รวยกระจุกจนกระจาย” ทำได้ทางเดียวก็คือเราต้องทำให้ภาคเกษตรของเรา “เกษตรคือประเทศไทย” มีอัตราการเติบโตทางรายได้ที่มากขึ้น ให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น “ยกระดับเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการทั้งประเทศ” ไม่อย่างนั้นแล้วก็ไม่มีทางอื่นใดที่จะลดความเลื่อมล้ำตรงนี้ได้

ประเทศไทยของเรานั้นได้ขานรับทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างชัดเจน ตั้งแต่การประกาศเป็นประเทศไทย 4.0 จนมาล่าสุดนี้ คือ BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม (สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nxpo.or.th/th/bcg-economy/)

ดังจะเห็นได้ในช่วงที่ผ่านมาถนนทุกสายกำลังมุ่งหน้าสู่เกษตรกรและมีพี่น้องเกษตรกรตื่นตัวกันมาก ที่จะเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆขึ้นมา และขณะเดียวกันได้ยกระดับอาชีพการเกษตรสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งได้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นทุกขณะ ดังเช่นคลิปวิดีโอที่เราได้ถ่ายทำมาเมื่อเร็วๆนี้

คลิปที่ 1 ความผูกพันพ่อแม่ลูกสู่ “สมจิตฟาร์มสเตย์” เท่ด้วยไม้ไผ่และหัวใจ ธ.ก.ส.หนุนสุดๆที่ชลบุรี วันนี้จึงไม่แปลกที่ถนนทุกสายกำลังมุ่งหน้าสู่เกษตรกรไทย หลายสวนหลายฟาร์มที่เราไปเห็นมาว่า หน่วยงานต่างๆกำลังเข้าไปให้การส่งเสริมและสนับสนุน หลายที่หลายแห่งเราเห็นว่า เขากำลังยกระดับสวนเกษตรของเขาขึ้นมา โดยเฉพาะเรื่องการท่องเที่ยวเชิงการเกษตรเป็นภาพที่ชัดเจนมากในยามนี้ มีเกษตรกรที่เป็น Young Smart Farmer หลายคน หรือ เกษตรกร Smart New Gen หลายคนที่กำลังมุ่งหน้าสู่บ้านเกิดไปพัฒนาต่อยอดอาชีพของพ่อแม่

เราเชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยของเราจะถูกผลักดันให้เป็นประเทศท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ดีที่สุดในโลก ถามว่าตอนนี้พี่น้องเกษตรกรไทยของเราได้เตรียมพร้อมที่จะรับมือการเปลี่ยนแปลงตรงนี้มากน้อยแค่ไหน นี่เป็นสิ่งที่เราคนไทยทุกคนจะต้องช่วยกันจะต้องให้ความร่วมมือครั้งสำคัญ..เกษตรก้าวไกลไปด้วยกันทั้งประเทศ..โอกาสอันยิ่งใหญ่ของเรามาถึงแล้วครับ

ในรอบปี 2564 เป็นปีที่ “เกษตรก้าวไกล” ไม่สามารถเดินทางลงพื้นที่เกษตรได้สะดวกนั้น ช่วงเวลานั้นเราได้ใช้วิธี LIVEสดผ่านระบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ภายใต้โครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย โดยเราได้เดินทางไปเปิดตัวที่ไร่คุณชาย อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี และระหว่างทางที่จะไปถึงไร่คุณชายเพื่อเตรียมงานนั้นเราได้แวะที่สวนฟ้าใส อ.ท่าม่วง ของ คุณเอ “สุรฤทธิ์ กาญจนคชินทร์” เจ้าตำรับปลูกทุเรียนไม่ตาย ซึ่งเคยได้สร้างความฮือฮากับคลิป “ทำไมทุเรียนตาย? พบวิธีปลูกทุเรียนสูตรโบราณ โดยมหาบัณฑิตแปลงร่างมาขายพันธุ์ทุเรียน”

จากคลิปนี้ก็ได้มีการติดตามเรื่องราวของคุณเอ หรือ “อาจารย์เอ” มาฝากผู้สนใจเป็นระยะ เพราะอาจารย์ทิ้งท้ายไว้ว่าจะสอนวิธีปลูกทุเรียนในเข่งให้ออกลูก และการปลูกทุเรียนยกโคกแบบคนขี้เกียจ นั่นจึงเป็นที่มาของคลิปนี้ คือการปลูกทุเรียนในเข่งสูตรดินพิเศษ(ตามรายละเอียดในคลิป) ซึ่งในวันดังกล่าว (13 มิถุนายน 2564) เราได้ LIVE สด เนื่องจากมีเวลาจำกัด ได้นัดเกษตรจังหวัดกาญจนบุรีและเกษตรอำเภอไทรโยคที่รออยู่ที่ไร่คุณชาย

สรุปว่าเป็นคลิปที่ไม่ได้เตรียมการอะไรมากนัก แต่จากเนื้อหาสาระที่ได้ก็ได้รับความสนใจ จนกลายเป็นคลิปที่ได้รับความนิยมสูงสุด สามารถบรรลุ 1 ล้านวิว ภายใน 6 เดือน..จึงขอขอบคุณผู้ติดตามรับชมทุกท่านมา ณ โอกาสนี้..ส่วนท่านที่ยังไม่ได้รับชมก็เชิญชมได้ครับ

นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานความร่วมมือการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 1/2565 ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจด้านการเกษตร โดยเชิญชวนประชาชนคนไทยเที่ยวเมืองไทย เน้นส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและชุมชน พร้อมทั้งสนับสนุนสินค้าเกษตรเป็นของฝากของที่ระลึก เพื่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้แก่เกษตรกรและชุมชน รวมทั้งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้ได้มาตรฐานและมีความยั่งยืน

นายนราพัฒน์ กล่าวว่า ที่ประชุมมีการหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และมีมติให้เชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกับสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย เพื่อความหลากหลายในการท่องเที่ยว โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมการท่องเที่ยว องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยว หน่วยงานในท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะประสานรายละเอียดเพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวที่มีการจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร รวมทั้งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรร่วมกับเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer: YSF) ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวได้พบกับประสบการณ์ใหม่ๆ ด้านการเกษตร การเรียนรู้วิถีเกษตร โดยให้ความสำคัญในด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้คัดเลือกเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน 4 เส้นทาง ดังนี้ 1. ภาคตะวันตก จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเกลือทะเลกังหันทอง ชุมชนท่องเที่ยวบ้านไร่กร่าง มาลัยฟาร์ม ศูนย์การเรียนรู้การปศุสัตว์ (ด่านกักกันสัตว์เพชรบุรี) สหกรณ์การเกษตรหุบกระพง จำกัด และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มธนาคารต้นไม้บ้านถ้ำเสือ 2. ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง ประกอบด้วย สวนสุภัทราแลนด์ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผลิตไม้กฤษณา (มีสุขฟาร์ม) วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านทะเลน้อยระยองฮิ

ทุ่งโปรงทอง และวิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์มหาวิทยาลัยบ้านนอกบ้านจำรุง 3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย สวนแม่กรทอง สวนแม่หม่อน ปาป้าฟาร์มสเตย์ สวนสัปปะรดสีบ้านพระอังคาร รักจังเมล่อนฟาร์ม และวังน้ำเขียวฟาร์ม 4. ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) สถานีวิจัยเกษตรหลวงดอยอินทนนท์ และดอยอินทนนท์ เป็นต้น โดยจะพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพิ่มเติม อาทิ ธนาคารปูม้า ฟาร์มกุ้ง และฟาร์มปศุสัตว์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 28 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์ 2565 ภายใต้มาตรการตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สู่สังคมเป็นต้นแบบการใช้ชีวิต และทำกิจกรรมภายใต้สถานการณ์โควิดอย่างปลอดภัย

โดยนิสิต อาจารย์ และบุคลากร สมัครพนันออนไลน์ จะมีส่วนร่วมนำองค์ความรู้ผลลัพธ์ จากผลิตภัณฑ์งานวิจัย การเรียนการสอน ถ่ายทอดแก่ประชาชน นอกจากนี้ เป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน มูลนิธิฯ ให้มีช่องทางจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สินค้าแปรรูป สินค้าอุโภคบริโภค ฯลฯ รวมถึงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ

ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย ตลาดอาเซียน

“ฟอร์ดตั้งใจจัดกิจกรรมที่สะท้อนถึงนิยามการใช้ชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ตามแนวคิด ‘Live The Ranger Life’ โดยมีรถฟอร์ด เรนเจอร์ เป็นตัวช่วยในการเดินทาง ไปร่วมกันสร้างแหล่งอนุบาลปลาน้ำจืดและปล่อยพันธุ์ปลาเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศ นับเป็นการสานต่อสิ่งดีๆ ที่ชุมชนได้ร่วมมือกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนแก่งกระจานได้ริเริ่มไว้ ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำยังเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนต่อไปในอนาคต” ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย และตลาดอาเซียน กล่าวในที่สุด

มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด ร่วมกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และดีแทค (dtac) จัด โครงการคัดเลือกเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี พ.ศ.2564 ครั้งที่ 13 ภายใต้แนวคิด “เกษตรสร้างสรรค์ สุขยั่งยืน” เพื่อเฟ้นหาเกษตรกรที่มีศักยภาพ พร้อมสนับสนุนและยกย่องเชิดชูเกษตรกรไทยที่มีแนวความคิด และการปฏิบัติด้านเกษตรอินทรีย์ โดยใช้องค์ความรู้ต่างๆ มาพัฒนาและต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิต ทั้งยังสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้แก่คุณภาพชีวิตของตนเอง สังคม และชุมชนโดยรอบ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในเรื่องเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy : BCG)

นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด กล่าวในฐานะผู้ริเริ่มโครงการว่า “ในปีนี้ โครงการคัดเลือกเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดของเราได้เดินทางก้าวเข้าสู่ปีที่ 13 แล้ว ภายใต้หัวข้อ “เกษตรสร้างสรรค์ สุขยั่งยืน” โดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรไทยได้รู้จักการทำการเกษตรแบบวิถีอินทรีย์ เพื่อมุ่งเน้นถึงการใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นแกนหลัก พร้อมผสมผสานนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มาประยุกต์และปรับใช้ไปกับกระบวนการผลิต ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดรับไปกับนโยบายของภาครัฐที่ว่าในเรื่องของเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy : BCG) พร้อมนำไปสู่การส่งออกผ่านช่องทางทางการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกภาคมิติ”

“ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา โครงการเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด เริ่มต้นด้วยการค้นหาปราชญ์ทางเกษตรว่าด้วยทฤษฎีใหม่ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต่อด้วยโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยแดช อาทิ ต้นแบบกลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์การเกษตร เกษตรกรเจ้าของแผนธุรกิจสินค้าเกษตรออนไลน์ ไปถึงการส่งออกไปยังต่างประเทศโดยเกษตรกรเอง”

ด้าน นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวถึงแนวทางการดำเนินการต่างๆ ที่มีต่อภาคเกษตร ที่ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการขับเคลื่อนและการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ที่ว่า “เกษตรกรมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย และแผนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางภาครัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังจะเห็นได้จากการจัดกิจกรรมประกวด

เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ที่มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมการเรียนรู้โดยการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแก่เกษตรกร ที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรมาโดยตลอด จนเกิดเป็นโครงการคัดเลือกเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดในปีนี้ โดยผมหวังว่าการร่วมมือกันของมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด รวมถึงดีแทค และกรมส่งเสริมการเกษตร นับจากนี้ไปจะส่งผลให้การพัฒนาภาคการเกษตรของไทย เกิดความเข้มแข็ง มั่นคง ยั่งยืน และก้าวไกลยิ่งๆ ขึ้นไป พร้อมทั้งช่วยทำให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสุขอย่างแท้จริง”

ทางด้าน นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้กล่าวถึง เกษตรกรสร้างสรรค์ สุขยั่งยืน ไว้ว่า “เป็นแนวคิดหลักของการคัดเลือกเกษตรกรในปีนี้ มีความสำคัญและยึดโยงกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง อันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ดีแทคในฐานะผู้ให้บริการการสื่อสารอันถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญเศรษฐกิจดิจิทัล เราได้วางนโยบาย Digital Inclusion เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางดิจิทัล ผ่านการขยายโครงข่ายบนคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ภายใต้แนวคิด “ดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตที่เท่าเทียม” ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ภารกิจ ได้แก่ 1.สัญญาณอินเทอร์เน็ตเพื่อทุกคน (Good for All Connectivity) 2.การเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม (Affordable and Accessible Services) และ 3.การเพิ่มทักษะดิจิทัล (Digital Upskilling) ทั้งนี้ ดีแทคจะยังเดินหน้าส่งเสริมให้ประเทศไทยดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม”

สำหรับเกษตรกรที่ได้รับรางวัลในปี 2564 ประกอบด้วยรางวัลชนะเลิศ “นายนราธิป ภูมิถาวร” เกษตรกรจากฟาร์มปูนาชญาดา จังหวัดสุโขทัย เกษตรกรผู้สร้างธุรกิจจากความชอบ เกิดเป็นธุรกิจปูนาอินทรีย์สร้างชีวิต

“เกษตรกรนักพัฒนาที่เริ่มต้นเลี้ยงปูนาด้วยความชอบต่อยอดเป็นธุรกิจเลี้ยงปูนาอินทรีย์ สร้างอาชีพโดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเลี้ยงปูนาระบบปิด (GAP) ได้ผลผลิตที่สะอาดปลอดภัย และใช้ระบบโซลาร์เซลล์ในการควบคุมการปล่อยน้ำให้เหมือนฤดูฝน เพื่อให้ได้ผลผลิตตลอดปี เพิ่มมูลค่าปูนาอินทรีย์สู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ทั้งปูนาดอง น้ำพริกปูนา ปลาร้าปูนา น้ำปลาปูนา กะปิปูนา มันปูสด จนประสบความสำเร็จในประเทศและขยายช่องทางการจัดจำหน่ายไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้ให้เกษตรกรในเครือข่าย กระจายรายได้สู่ชุมชน นำไปสู่ความยั่งยืนให้กับอาชีพเลี้ยงปูนาจากรุ่นสู่รุ่น”
รองชนะเลิศอันดับ 1 “จิรภัทร คาดีวี” เกษตรกรจากแสนบุญฟาร์ม จังหวัดกาฬสินธุ์ วิศวกรหนุ่มผู้ผันตัวมาเป็นเกษตรกร สร้างผลผลิตทางการเกษตร ส่งออกผักสลัด น้ำพริกกุ้งสมุนไพร และกุ้งก้ามกราม

“เกษตรกรนักวิทยาศาสตร์ที่ตั้งใจกลับบ้านเกิดมาทำเกษตรอินทรีย์ ด้วยความมุ่งมั่นให้คนในครอบครัวและชุมชนได้ทานอาหารปลอดสารพิษ จึงนำเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการทำเกษตร ทั้งการปรุงดิน ทำน้ำหมัก รวมถึงนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในโรงเรือนเพาะปลูก ควบคุมระบบน้ำผ่านรีโมต พร้อมอำนวยความสะดวกสบายในโรงเรือน จนได้ผลผลิตที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ได้แก่ ผักสลัด น้ำพริกกุ้งสมุนไพร และกุ้งก้ามกราม อีกทั้งยังพัฒนาฟาร์มให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรสมัยใหม่ เพื่อให้ผู้สนใจได้เข้าศึกษาดูงาน พร้อมพาชุมชนไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง”

และรองชนะเลิศอันดับ 2 “ธนวัฒน์ มโนวชิรสรรค์” เกษตรกรจากสวนบ้านแม่ จังหวัดพังงา เกษตรกรผู้สานต่อความฝันของแม่ นำภูมิปัญญาเก่าผสมผสานกับเทคโนโลยีใหม่ เกิดเป็นธุรกิจส่งออกมังคุดออร์แกนิก

“เกษตรกรนักออกแบบที่กลับบ้านเกิดมาดูแลความฝันของแม่ พร้อมยกระดับคุณค่าของอาชีพเกษตรกร ด้วยการผสานภูมิปัญญาเก่าและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไว้ด้วยกัน ก่อเกิดเป็นมังคุดออร์แกนิก สะตอฝัก และต่อยอดไปอีกขั้นด้วยการแปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น น้ำมังคุดสกัดเย็น มังคุดกวน มะม่วงเบาแช่อิ่ม พร้อมพัฒนานำเอาความรู้จากการออกแบบที่ได้ศึกษามา มาต่อยอดสร้างมูลค่าผ่านการสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์อันเป็นเอกลักษณ์ ก่อเกิดเป็นลายจักรสานที่งดงาม สะท้อนความเป็นไทยได้อย่างลงตัว”

เกษตรกรดีเด่น

1. นภัสวรรณ เมณะสินธุ์ เกษตรกรจากสวนเบญจมาศนภัสวรรณ จังหวัดอุบลราชธานี

2. อิสมาแอล ลาเต๊ะ เกษตรกรจากสวนนูริสฟาร์ม จังหวัดยะลา

3. ภิญญา ศรีสาหร่าย เกษตรกรจากฟาร์มฝันแม่ เกษตรอินทรีย์ จังหวัดราชบุรี

4. ภัทรฤทัย พรมนิล เกษตรกรจากนพรัตน์ฟาร์ม จังหวัดนครพนม

5. พิริยากร ลีประเสริฐพันธ์ เกษตรกรจาก GardenThree จังหวัดหนองคาย

6. รัฐรินทร์ สว่างสาลีรัฐ เกษตรกรจากไร่ดีต่อใจ จังหวัดสระแก้ว

7. มโนธรรม ชูแสง เกษตรกรจากบ้านไร่ ชายน้ำ ฟาร์มนก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เกี่ยวกับ เวทีคัดเลือกเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด

“เวทีคัดเลือกเกษตกรสำนึกรักบ้านเกิด” เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อพัฒนาผู้นำชุมชน ด้วยปณิธานหวังปลุกจิตสำนึกการพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนแก่เยาวชนของผู้ก่อตั้ง คุณบุญชัย เบญจรงคกุล ทั้งนี้ การคัดเลือกฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเฟ้นหา สนับสนุน และยกย่องเชิดชูเกษตรกรที่มีศักยภาพในการเป็นต้นแบบสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ ที่มีวิธีคิดอย่างเป็นระบบ สามารถนำบทเรียนต้นแบบไปประยุกต์และปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ปรับตัวกับกระแสการเปลี่ยนแปลง พึ่งพาตนเองได้ พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ เพื่อเป็นการตอกย้ำอุดมการณ์สำนึกรักบ้านเกิดและแสดงถึงความมุ่งมั่นในการตอบแทนคุณแผ่นดินของมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิดและองค์กรภาคีในการส่งเสริม สนับสนุน ยกระดับเครือข่ายเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดให้มีความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการเกษตร ที่สำคัญ เพื่อเผยแพร่ผลงานและความสำเร็จของเกษตรกรต้นแบบสำนึกรักบ้านเกิดสู่สาธารณชน ให้เกิดการยอมรับและเป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตและประกอบการเกษตร

เกณฑ์การคัดเลือก

คณะกรรมการฯ จะพิจารณาจากองค์ประกอบ 4 มิติ ได้แก่

1.คุณสมบัติส่วนบุคคล (Farmer) เป็นเกษตรกรอินทรีย์ หรือ วิถีอินทรีย์ ที่มีอายุ 18 – 50 ปี และมีสัญชาติไทย มีทักษะความรู้ด้านการเกษตร และสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ได้

2.คุณสมบัติด้านการเกษตรอินทรีย์ (Agri Organic) ทำเกษตรอินทรีย์ครบในด้านสุขภาพ ด้านนิเวศวิทยา ด้านความเป็นธรรม และด้านการดูแลเอาใจใส่

3.คุณสมบัติด้านความสร้างสรรค์ (Creative) สามารถนำเอาภูมิปัญญาดั้งเดิม องค์ความรู้สมัยใหม่ เทคโนโลยี และหลักการตลาด มาต่อยอดและปรับใช้เพื่อพัฒนาและสร้างแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์

4.คุณสมบัติด้านความยั่งยืน (Sustainability) มีการรวมกลุ่มและการพัฒนาศักยภาพของชุมชน พร้อมสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับตนเองและคนในชุมชน พร้อมต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ผลการตัดสินการคัดเลือก “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด พ.ศ.2564”

ผู้ที่ได้รับรางวัลจะต้องสามารถเป็นต้นแบบสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ที่มีวิธีคิดอย่างเป็นระบบ สามารถนำบทเรียนไปประยุกต์และปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ปรับตัวเข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลง สามารถพึ่งพาตนเอง และพร้อมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนอย่างยั่งยืน

นายนราธิป ภูมิถาวร
สำหรับเกษตรกรที่ได้รับรางวัลในปี 2564 ประกอบด้วยรางวัลชนะเลิศ “นราธิป ภูมิถาวร” เกษตรกรจากฟาร์มปูนาชญาดา จังหวัดสุโขทัย เกษตรกรผู้สร้างธุรกิจจากความชอบ เกิดเป็นธุรกิจปูนาอินทรีย์สร้างชีวิต

“เกษตรกรนักพัฒนาที่เริ่มต้นเลี้ยงปูนาด้วยความชอบต่อยอดเป็นธุรกิจเลี้ยงปูนาอินทรีย์ สร้างอาชีพโดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเลี้ยงปูนาระบบปิด (GAP) ได้ผลผลิตที่สะอาดปลอดภัย และใช้ระบบโซลาร์เซลล์ในการควบคุมการปล่อยน้ำให้เหมือนฤดูฝน เพื่อให้ได้ผลผลิตตลอดปี เพิ่มมูลค่าปูนาอินทรีย์สู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ทั้งปูนาดอง น้ำพริกปูนา ปลาร้าปูนา น้ำปลาปูนา กะปิปูนา มันปูสด จนประสบความสำเร็จในประเทศและขยายช่องทางการจัดจำหน่ายไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้ให้เกษตรกรในเครือข่าย กระจายรายได้สู่ชุมชน นำไปสู่ความยั่งยืนให้กับอาชีพเลี้ยงปูนาจากรุ่นสู่รุ่น”

นายจิรภัทร คาดีวี
รองชนะเลิศอันดับ 1 “จิรภัทร คาดีวี” เกษตรกรจากแสนบุญฟาร์ม จังหวัดกาฬสินธุ์ วิศวกรหนุ่มผู้ผันตัวมาเป็นเกษตรกร สร้างผลผลิตทางการเกษตร ส่งออกผักสลัด น้ำพริกกุ้งสมุนไพร และกุ้งก้ามกราม

“เกษตรกรนักวิทยาศาสตร์ที่ตั้งใจกลับบ้านเกิดมาทำเกษตรอินทรีย์ ด้วยความมุ่งมั่นให้คนในครอบครัวและชุมชนได้ทานอาหารปลอดสารพิษ จึงนำเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการทำเกษตร ทั้งการปรุงดิน ทำน้ำหมัก รวมถึงนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในโรงเรือนเพาะปลูก ควบคุมระบบน้ำผ่านรีโมต พร้อมอำนวยความสะดวกสบายในโรงเรือน จนได้ผลผลิตที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ได้แก่ ผักสลัด น้ำพริกกุ้งสมุนไพร และกุ้งก้ามกราม อีกทั้งยังพัฒนาฟาร์มให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรสมัยใหม่ เพื่อให้ผู้สนใจได้เข้าศึกษาดูงาน พร้อมพาชุมชนไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง”

นายธนวัฒน์ มโนวชิรสรรค์
และรองชนะเลิศอันดับ 2 “ธนวัฒน์ มโนวชิรสรรค์” เกษตรกรจากสวนบ้านแม่ จังหวัดพังงา เกษตรกรผู้สานต่อความฝันของแม่ นำภูมิปัญญาเก่าผสมผสานกับเทคโนโลยีใหม่ เกิดเป็นธุรกิจส่งออกมังคุดออร์แกนิก

พัฒนาฟาร์มให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรสมัยใหม่ เพื่อให้ผู้สนใจได้เข้าศึกษาดูงาน พร้อมพาชุมชนไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง”

ระหว่างที่ “ธนวัฒน์ มโนวชิรสรรค์” หรือ “คุณปอ” เกษตรกรนักออกแบบจากสวนบ้านแม่ จังหวัดพังงา ผู้ทำมังคุดออร์แกนิก ในฐานะรองชนะเลิศอันดับ 2 โครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2564 กำลังจะมอบกล่องมังคุดที่ออกแบบอย่างสวยงามให้กับ คุณบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่มุ่งมั่นให้เกิดโครงการนี้

ในโอกาสนี้ “เกษตรก้าวไกล” ได้สอบถามคุณบุญชัย ถึงเป้าหมายการสนับสนุนเกษตร ได้รับคำตอบว่า..

“เกษตรกรของเราเท่มาก..ผมเป็นคนคลั่งมังคุดอยู่แล้ว คนญี่ปุ่นนะ crazy มากเลย..โครงการประกวดนี่นะครับเรายังมาไม่ถึงครึ่งทางเลยครับ เพราะคนที่รู้เรื่องดี ทำอะไรดี อย่างน้องๆเหล่านี้นะครับ (เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด) ยังเต็มบ้านเต็มเมือง แล้วก็ยังมีผู้ที่ไม่รู้จะทำอะไรดีครึ่งประเทศ..เยาวชนสำนึกรักบ้านเกิด 800 อำเภอเนี่ยยังตกค้างอยู่กรุงเทพฯ ประมาณ 600 กว่าคน เพราะว่าเขาไม่รู้ว่าบ้านเกิดเขาทำอะไรได้บ้าง ถ้าเขาได้มาดูตัวอย่างวันนี้ ซึ่งเท่ มีกิน ดีกว่าเป็นขี้ข้าเขา ในเมืองหลวง”

อยากให้ท่านบอกเป้าหมายหน่อยว่า โครงการเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดที่ท่านบอกว่ายังไม่ถึงครึ่งเลยจะไปถึงขนาดไหนครับ

“เป้าหมายนะครับ เราต้องทำจนถึงจุดที่ว่าเกษตรกรของเราเนี่ย เรียกว่ามีฐานะดี ผมเจอลุงไหว (สวนไสวศรียา นครนายก) บอกว่ามาดูก่อนรถเบนซ์สปอร์ตลูกสาวที่เคยเป็นพยาบาล เพราะว่าลุงไหวก็เป็นปราชญ์เกษตร ทำได้ทุกอย่าง เดินตามแนวพระราชดำริรวยทุกคน สำคัญอย่าถอย เพราะว่าคนรุ่นใหม่บางทีอาจจะนึกว่าทำเกษตรลำบากลำบนเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีช่วยแล้ว คุณไม่ต้องไปรดน้ำทุกวันหรอกตั้งโปรแกรมไว้ ต้องเหมือนญี่ปุ่นนอร์เวย์ให้ได้ ชาวประมงนอร์เวย์เลี้ยงปลาแซลมอนไม่ต้องรอคนซื้อ รัฐบาลมาเหมาส่งทั้งหมด ญี่ปุ่นขายสตอร์เบอรี่กล่องละ 2-3 พัน เมล่อนลูกละ 3,000 เขาทำได้”

ติดตามชมรายละเอียดแบบเต็มๆได้จากเกษตรก้าวไกลLIVE..ตั้งแต่นาทีที่ 16.28 เป็นต้นไป กระทรวงเกษตรฯ โชว์ผลสำเร็จโครงการยกระดับแปลงใหญ่ฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มุ่งเป็นศูนย์กลางของเกษตรกรอำเภอหัวหิน ในด้านการผลิตและการตลาด รวมทั้งเป็นจุดสาธิตเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดที่สำคัญของจังหวัด

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเปิดโครงการประชาสัมพันธ์โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอหัวหิน หมู่ที่ 11 ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ว่า การดำเนินงานระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่

เป็นกลไกการขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทย ซึ่งมุ่งเน้นการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยที่อยู่บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกัน มีความพร้อมจะพัฒนาการผลิตและการตลาดร่วมกันตลอดห่วงโซ่อุปทาน เน้นการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตามนโยบายการตลาดนำการผลิต โดยการนำหลักเกษตรสมัยใหม่ร่วมกับการเชื่อมโยงตลาด ซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือในการผลิต และผลักดันให้เกษตรกรรวมกลุ่มในการผลิต เพื่อมีอำนาจการต่อรองร่วมกันการจัดหาปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพดี ราคาถูก และการใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการของตลาด

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลตระหนักและเข้าใจในปัญหาที่พี่น้องเกษตรกรต้องเผชิญอยู่ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จึงมีนโยบายให้กระทรวงเกษตรฯ ดำเนินการโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ และเชื่อมโยงตลาด เพื่อให้เกษตรกรมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีความหลากหลายมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแปลงใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมสมัยใหม่ต่อยอด และสร้างโอกาสในการเพิ่มคุณภาพผลผลิต และผลตอบแทนจากการผลิตสินค้าเกษตร

ให้พี่น้องเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน “วันนี้ได้มีโอกาสมาดูแลพี่น้องเกษตรกร ทำให้มีความท้าทายที่จะทำอย่างไรให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกรดียิ่งขึ้น ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่จะนำเกษตรเดินไปข้างหน้า โดยยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต และการนำเทคโนโลยี 4.0 มาใช้ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญที่กระทรวงเกษตรฯ ได้นำมาสู่การปฎิบัติ ซึ่งโครงการเกษตรแปลงใหญ่ เป็นโครงการที่รัฐบาลสามารถเข้ามาดูแลพี่น้องเกษตรกรในเรื่องงบประมาณต่าง ๆ

ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถนำเทคโนโลยีมาสู่พี่น้องเกษตรกร นอกจากนี้ ยังไม่ละทิ้งเกษตรกรรายย่อยด้วย ซึ่งได้มอบนโยบายให้ข้าราชการทุกคนต้องเข้าไปดูแลพี่น้องเกษตรกรเหมือนคนในครอบครัว จึงต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับพี่น้องเกษตรกร เพื่อแก้ปัญหากับพี่น้องเกษตรกรได้จริง ๆ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนวิถีการทำการเกษตรใหม่ ต้องทำการเกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐาน โดยต้นทุนและราคาจะเป็นตัวกำหนดว่าภาคการเกษตรจะเดินไปข้างหน้าได้

อย่างไร จึงอยากฝากถึงพี่น้องเกษตรกรให้เปิดรับความรู้และเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนากระบวนการผลิตให้เพิ่มมากขึ้น โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมจะเข้ามาดูแลและอยู่เคียงข้างกับพี่น้องเกษตรกรทุกคน” ดร.เฉลิมชัย กล่าว

ทั้งนี้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ จนถึงปัจจุบัน จำนวน 71 แปลง ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 8 อำเภอ แบ่งเป็น ด้านพืช 56 แปลง ด้านปศุสัตว์ 5 แปลง ด้านประมง 3 แปลง ด้านข้าว 3 แปลง และด้านยางพารา 4 แปลง โดยมีกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่เข้าร่วมโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด จำนวน 19 แปลง สมาชิก 1,408 ราย พื้นที่ 17,839.25 ไร่

ซึ่งอำเภอหัวหิน เป็นแหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของจังหวัด โดยมีพื้นที่ปลูก 70,495 ไร่ มากที่สุดของจังหวัด โดยเกษตรกรในตำบลหินเหล็กไฟ ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มแปลงใหญ่สับปะรด ในปี พ.ศ. 2562 มีสมาชิกจำนวน 30 ราย พื้นที่ทั้งหมด จำนวน 385.20 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์กลางของเกษตรกรอำเภอหัวหิน ในด้านการผลิตและการตลาด รวมทั้งเป็นจุดสาธิตเทคโนโลยีการผลิตสับปะรด มีการสร้างเครือข่ายกับเกษตรกรพื้นที่ใกล้เคียง ร่วมกันบริหารจัดการ ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป การตลาด และคาดว่าจะมีการขยายผลให้เกิดการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งอำเภอต่อไป

ด้าน นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การแสดงผลงานความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ และโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาดของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งตลาดสินค้าเกษตรจากแปลงใหญ่ และสินค้าเกษตรจากตลาดเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกร ผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป นำไปเป็นแบบอย่างการพัฒนาให้กับกลุ่มแปลงใหญ่อื่น ๆ เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายที่เข้มแข็ง และเกิดพลังในการขับเคลื่อนการปฏิรูปภาคการเกษตรต่อไป

วัดป่าเขาน้อย เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายใต้ความร่มรื่นข้องต้นไม้น้อยใหญ่ ที่แทรกตัวอยู่ในโขดหินธรรมชาติ บนภูเขาลูกเล็กๆใน ต.บัววัฒนา อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์

วัดป่าแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นโดยพุทธศาสนิกชน ที่มีจิตศรัธาต่อพระพุทธศาสนา โดยมี พระอาจารย์บุรินทร์ นาฆวโร เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ท่านเป็นพระนักปฏิบัติ นักพัฒนา เผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นที่ศรัทธาของญาติโยมเป็นอย่างมาก มีกิจกรรมธรรมะ โดยเปิดเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไปทั้งในและนอกพื้นที่ ให้เข้ามาปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง จนได้เป็น สำนักปฏิบัติธรรม สาขาวัดมหาธาตุ ลำดับที่ 144

ปัจจุบันท่านเจ้าอาวาสรูปแรกได้มรณะภาพไปแล้ว กว่า 10 ปี และได้มีเจ้าอาวาสรูปใหม่ มาสานงานต่อ คือ ท่านพระอาจารย์มหาภูษิต ปญญาชโร ซึ่งท่านเป็นพระนักปฏิบัติ นักพัฒนา เช่นเดียวกับเจ้าอาวาสรูปก่อน

วัดป่าเขาน้อย มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 10 ไร่ และมีป่าชุมชนล้อมรอบอีกประมาณ 50 ไร่ โดยทางวัดเป็นผู้ดูแลและใช้ประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทางวัดได้ใช้พื้นที่ทั้งหมดเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ เปิดเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม แก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป

นอกจากนี้ทางวัดยังใช้สถานที่ จัดกิจกรรม “ปริวาสกรรม” สำหรับพระสงฆ์ ทุกปี ในแต่ละปีจะมีจะมีพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน มาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันทางวัดกำลังพัฒนาสถานที่ โดยสร้างพระอุโบสถ หลังใหม่ เพื่อใช้ประกอบศาสนกิจ ตามธรรมเนียมประเพณีทางพุทธศาสนา การก่อสร้างคืบหน้าไปมากแล้ว แต่ยังขาดปัจจัยในการก่อสร้างให้เสร็จสมบูรณ์อีกบางส่วน

ดังนั้นทางวัดและศิษยานุศิษย์ จึงอนุโมธนาบุญมายังผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันทำบุญก่อสร้างพระอุโบสถ ให้เสร็จสมบูรณ์ไปด้วยกัน ท่านผู้มีจิตศรัทธา สามารถบริจาค อิฐ หิน ปูน ทราย และปัจจัยในการจัดซื้ออุปกรณ์ ที่ยังขาดเหลือได้ที่…วัดป่าเขาน้อย 222 หมู่ 2 ต.บัววัฒนา อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “บจธ. มอบสิทธิที่ดินทำกิน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และเดินทางติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ วันที่ 27 ธันวาคม 2564 ณ วิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากช่องโคพัฒนา ต.รังกาใหญ่ อ.พิมาย จ. นครราชสีมา ว่า จะเร่งผลักดันกฎหมายจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการที่ดิน ที่สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ. กำลังเร่งดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังฝากถึงสมาชิกวิสาหกิจชุมชนฯ ช่องโคพัฒนา ที่ได้รับสิทธิที่ดินทำกินว่าขอให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

“ฝากพี่น้องช่วยกัยรักษาพื้นที่เพื่อต่อยอดให้ลูกหลานของเรา เอาไว้เป็นหลักให้ บจธ. ได้ดำเนินการต่อไป ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนจะได้มีที่อยู่อาศัยที่มากขึ้น บจธ. จะทำทุกอย่างเพื่อให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย มีที่ดินทำกินที่ยั่งยืน” พลเอกประวิตรกล่าว

ในงาน บจธ. มอบที่ดินทำกินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย พลตำรวจเอกเฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ประธานกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน นางรวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ รวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการ และเกษตรกรกว่า 400 คน ให้การต้อนรับ

สำหรับพื้นที่วิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากช่องโคพัฒนา ได้รับการสนับสนุนที่ดินทำกินจาก บจธ. เนื้อที่รวม 150 ไร่เศษ สมาชิก 45 ครัวเรือน มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้เต็มศักยภาพ มีผลผลิตสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน จนเป็นพื้นที่ต้นแบบ หรือตัวอย่างความสำเร็จ (Best Practice)ของ บจธ. ที่จังหวัดนครราชสีมาพร้อมจะนำไปขยายผลแก้ปัญหาที่ดินทำกินในพื้นที่ 32 อำเภอต่อไป

สวัสดีปีเสือ65….ในโอกาสปีใหม่ “เกษตรก้าวไกล” ขออำนวยชัยให้สมาชิกผู้ติดตามทุกท่านจงสุขภาพดีมีความสุขความเจริญตลอดปีตลอดไป

ในรอบปีมานี้โลกทั้งใบต้องสะเทือนเลือนลั่นกับโรคระบาดโควิด-19 ทุกคนถอยกันมาตั้งหลักชะงักกันไปพอสมควร แต่เมื่อเวลาผ่านไปทุกอย่างก็เริ่มเข้าที่ ทุกคนก็ได้มีการจัดระเบียบใหม่ว่าจะเดินหน้าให้ก้าวกระโดดได้อย่างไรกับวันคืนที่เหลืออยู่

ระหว่างที่เกิดโควิดระบาดอย่างหนัก เราก็ปักหลักอยู่ในพื้นที่ แต่ก็ยังสื่อสารเชิงรุกด้วยระบบออนไลน์ ภายใต้โครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย เป้าหมายของเราต้องการปลุกเร้าให้เกษตรกรไทยลุกขึ้นสู้ไปด้วยกัน ครั้นต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน รัฐบาลประกาศเปิดประเทศเป็นระยะๆ เราได้ใช้ช่วงจังหวะเวลานี้ลงพื้นที่อีกครั้ง ภายใต้โครงการลุยเกษตรสุดเขตไทย ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง แต่ตอนใหม่นี้เราใช้ชื่อว่า #โครงการธกสเกษตรก้าวไกล เนื่องจากว่าผู้สนับสนุนหลักของเราก็คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) โดยการเดินทางเราได้รับการสนับสนุนพาหนะจากฟอร์ดประเทศไทย

การเดินทางภายใต้โครงการ ธ.ก.ส.เกษตรก้าวไกล ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ รวมทั้งจังหวะโอกาสของเกษตรกรแต่ละพื้นที่ที่ยังทำได้ไม่เต็มร้อย แต่เราก็ทำได้พอประมาณ เราไปถึงพื้นที่ที่สามารถ LIVEสดได้เราก็รายงานสดๆตามที่ปรากฎทางเพจเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน และทุกพื้นที่นั้นเรายังมีการเขียนเป็นบทความข่าวลงในเว็บไซต์เกษตรก้าวไกล รวมทั้งการตัดคลิปลงในยูทูปช่องเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน (สามารถติดตามได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป)

ทั้งหลายทั้งหมดนี้ เป้าหมายของเราเพื่อต้องการเชื่อมโยงสังคมเกษตรไปสู่พี่น้องคนไทยทั่วประเทศ ต้องการที่จะสื่อให้รู้ว่าการเกษตรของเราเป็นทางรอด เกษตรกรแต่ละพื้นที่เขากำลังคิดและทำอะไรอยู่ ซึ่งจากการลงพื้นที่ของเราในระยะเวลาสั้นๆแต่เห็นได้ชัดว่าพี่น้องเกษตรกรกำลังตื่นตัวอย่างมาก ในขณะที่หน่วยงานภาครัฐก็ไม่ยิ่งหย่อน หากเทียบกับสมัยก่อนๆที่ทำงานแยกส่วนกับเกษตรกร แต่ ณ เวลานี้พูดได้เต็มปากว่าใกล้ชิดขึ้น แทบไม่มีช่องว่างให้เห็น อาจมีบางส่วนที่อาจยังมีความเลื่อมล้ำในเรื่องการให้การสนับสนุนอยู่บ้าง แต่เชื่อว่าเวลาผ่านไปสักระยะก็น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น

ขอย้ำว่าถนนทุกสายกำลังมุ่งหน้าสู่เกษตรกร โลกยุคใหม่ชนบทคือความทันสมัย เกษตรกรที่เคยเป็นเบี้ยล่างที่เคยเป็นพระรองหรือตัวประกอบ กำลังถูกชู(เปิดโอกาส)ให้ขึ้นให้มาอยู่แถวหน้า มีบทบาทเด่นชัดขึ้นทุกขณะ และเชื่อว่าหากเราเดินไปตามแนวทางนี้ โดยเฉพาะโมเดลเศรษฐกิจ BCG มันถูกต้องตรงเผงที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรเป็นพระเอกได้ไม่ยาก

ซึ่งก็จะสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG ที่มุ่งลดความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ทุกประเทศจึงมุ่งที่จะยกระดับให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ

ขอบคุณ ฟอร์ดประเทศไทย ที่สนับสนุนพาหนะลุยเกษตรสุดเขตไทย
ในโอกาสปีใหม่นี้ จึงเรียนย้ำว่า เกษตรคือประเทศไทย เราจะเป็นเสือได้ก็ด้วยการเกษตร ถึงเวลาที่เราจะต้องช่วยกันสร้าง “เสือเกษตร” หรือ “ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร” ให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ ด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้ภาคเกษตรของประเทศไทยยิ่งใหญ่ยั่งยืนสืบทอดไปสู่ลูกหลานไทยทุกคน

สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด จังหวัดแม่ฮ่องสอน เกิดจากการรวมกลุ่มกันของเกษตรกร ที่ได้รับการส่งเสริมการเกษตรจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน) ในลักษณะกลุ่มเตรียมสหกรณ์ ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นสหกรณ์ประเภทการเกษตร และเปลี่ยนชื่อเป็น สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด ดำเนินการธุรกิจ 4 ด่าน ประกอบด้วย ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายแก่สมาชิก ธุรกิจรวบรวมผลผลิต ธุรกิจแปรรูป ผลิตภัณฑ์ภาชนะจากธรรมชาติ (กาบหมาก) และ ธุรกิจรับฝากเงินออมทรัพย์

นายมาโนชย์ มิ่งขวัญธารากุล ประธานสหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด เผยว่า สมาชิกสหกรณ์จะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่ากะเหรี่ยงโปว์ เดิมทำไร่แบบหมุนเวียนต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการปลูกพืชผักเมืองหนาว ฟักทอง เสาวรส และไม้ให้ผลชนิดยืนต้น เช่น อโวคาโด

“ขอขอบคุณสหกรณ์และโครงการหลวงที่ให้การสนับสนุนมา และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ได้สนับสนุนตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว และพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 10 ที่ทรงสืบสานต่อ ต่อจากรัชกาลที่ 9 ทำให้พวกเราได้อยู่ดีกินดี ได้รู้จักอาชีพที่มั่นคง จากเศรษฐกิจพอเพียง อยู่อย่างพอเพียง คือ ไม่ต้องไปเบียดเบียนคนอื่น หรือว่าใช้กินในสิ่งที่เราปลูก ทำในสิ่งที่เรารัก ทำให้บ้านเกิดเมืองนอนมีอาชีพที่ยั่งยืนขึ้นและมีฐานะที่มั่นคงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาก็ดี โดยเฉพาะเรื่องการเกษตร เพราะว่าชาวบ้านแถวนี้พื้นฐานมาจากเกษตรกรอยู่แล้ว ในส่วนนี้ที่ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือมาโดยตลอด ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น แล้วก็ต้องขอขอบคุณจากใจของประชาชน” นายมาโนชย์ กล่าว

ด้าน นายบรมัตถ์ ทิพกนก ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 7 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ได้นำองค์ความรู้จากโครงการหลวงเข้ามาขยายผลในพื้นที่ภายใต้แนวทางการรักษาป่า ไม่เผาไม่บุกรุกทำลาย พร้อมสร้างพื้นที่สีเขียวให้กับผืนป่าด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจในร่มเงาต้นไม้ใหญ่ เช่น กาแฟ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกสหกรณ์ปลูกต้นหมากเพื่อจำหน่ายลูกและนำกาบหมากมาผลิตเป็นภาชนะ เช่นถ้วย ชาม สำหรับใส่อาหาร แทนการเอาไปเผาสร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม ขณะที่ลูกหมากมีตลาดรองรับที่แน่นอนเนื่องจากสหกรณ์อยู่ใกล้กับศูนย์อพยพชาวพม่าที่นิยมบริโภคหมาก

นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกณ์ กล่าวย้ำว่า การส่งเสริมสหรณ์ในทื้นที่โครงการหลวง ทางกรมฯ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 9 ต่อเนื่องต่อยอดมาจนถึงรัชกาลที่ 10 มีการสนับสนุนอุปกรณ์การตลาดเครื่องมือด้านการผลิตและแปรรูป เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพให้กับสมาชิกในสหกรณ์โครงการหลวง ทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้นและในปัจจุบันได้ขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

“กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับ Royal Online V2 แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานสหกรณ์มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด และร่วมกันวางแผนการผลิตให้ได้มาตรฐานตามที่โครงการหลวงกำหนด ควบคู่การพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการคิดการออกแบบการผลิต การแปรรูปสินค้า และบรรจุภัณฑ์ของสหกรณ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้โดดเด่น” นายวิศิษฐ์ กล่าว