เกษตรฯจัดงาน “Mango of SIAM ที่สุดแห่งมะม่วงไทย ถูกใจทั่วโลก”

กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ยกทัพมะม่วงคุณภาพดีให้คนกรุงได้ลิ้มลองในงาน “Mango of SIAM ที่สุดแห่งมะม่วงไทย ถูกใจทั่วโลก” ระหว่างวันที่ 2 – 6 เม.ย. 2564 นี้ ณ เจริญนครฮอลล์ ชั้น M ไอคอนสยาม เขตคลองสาน กรุงเทพฯ พร้อมเชิญชวนผู้บริโภคอุดหนุนชาวสวนผลไม้ไทย

วันที่ 2 เมษายน 2564 นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานในพิธีเปิดงาน “Mango of SIAM ที่สุดแห่งมะม่วงไทย ถูกใจทั่วโลก” เปิดเผยว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้นโยบายเกี่ยวกับการประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนถึงความร่วมมือและความเป็นไปได้ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ

เพื่อวางแผนการเปิดพื้นที่ให้เกษตรกรนำสินค้าเกษตรเข้าไปจำหน่ายตามฤดูกาล ภายใต้ความร่วมมือการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2564 และช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้การส่งออกเกิดการชะลอตัว โดยเฉพาะตลาดส่งออกมะม่วงที่สำคัญและใหญ่ที่สุด ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น รวมถึงสาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา แคนาดา และกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป โดยเชิญศูนย์การค้าไอคอนสยามเข้ามาร่วมกิจกรรมการจัดงานกับกรมส่งเสริมการเกษตรในงาน “Mango of SIAM ที่สุดแห่งมะม่วงไทย ถูกใจทั่วโลก” ระหว่างวันที่ 2 – 6 เม.ย. 2564 ณ เจริญนครฮอลล์ ชั้น M ไอคอนสยาม

ไอคอนสยาม นับเป็นศูนย์การค้าระดับ High end ที่ผู้ซื้อมีกำลังซื้อสูง และเลือกสรรของดีมีคุณภาพ เรียกได้ว่าสินค้าที่วางจำหน่ายที่นี่ได้นั้น คุณภาพเป็นตัวกำหนดราคา ราคาเป็นตัวกำหนดผู้ซื้อ ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ร่วมจัดงานกับศูนย์การค้าไอคอนสยาม ด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และผสมผสานกับความเป็นศูนย์การค้าใจกลางเมืองหลวงที่เข้ากับอัตลักษณ์ของมะม่วงไทยได้อย่างลงตัว

รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมการรองรับการกระจายผลผลิตมะม่วงในอนาคต โดยเน้นการผลิตมะม่วงคุณภาพให้เข้าสู่ตลาดโมเดิร์นเทรดภายในประเทศให้มากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการมะม่วงในอนาคตได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่ผลิตมะม่วงมีการปรับเปลี่ยนการผลิต

ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิตมะม่วงให้มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิต สามารถเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ได้ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน มีการวางแผนที่ดีและลดความเสี่ยงการผลิตสินค้ามากเกินความต้องการ ถือเป็นการพัฒนาเกษตรกรรมของประเทศด้วยวิถีทางแห่งนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่า และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามนโยบายเกษตร 4.0 ดังนั้น จึงต้องหันมาส่งเสริมด้านการตลาดในประเทศเพื่อช่วยชาวสวนเพิ่มให้มากขึ้น

ด้าน นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้เพื่อช่วยชาวสวนผลไม้กระจายผลผลิต โดยเฉพาะระยะนี้เป็นเทศกาลของมะม่วงซึ่งมีผลผลิตจากหลายพื้นที่ทยอยออกสู่ตลาด กรมส่งเสริมการเกษตรจึงร่วมกับสมาคมชาวสวนมะม่วงไทยคัดสรรผลผลิตและผลิตภัณฑ์มะม่วงคุณภาพดีที่ได้รับการรับรองมาตรฐานมาร่วมออกบูธจำหน่าย ประกอบด้วย สินค้ามะม่วงจากสมาคมชาวสวนมะม่วงไทยของจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ฉะเชิงเทรา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ราชบุรี นครราชสีมา สระแก้ว

สินค้าเกษตรจากตลาดเกษตรกร ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงของจังหวัดเชียงใหม่ ชลบุรี สมุทรปราการ ลำพูน นครนายก สินค้าเกษตรจากกลุ่มแปลงใหญ่ ได้แก่ แปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมของจังหวัดสมุทรสาคร, แปลงใหญ่ส้มโอ ลิ้นจี่ จังหวัดสมุทรสงคราม, แปลงใหญ่ทุเรียน มังคุด จังหวัดจันทบุรี, แปลงใหญ่อโวคาโด จังหวัดตาก, แปลงใหญ่สับปะรด (พันธุ์ใหม่) จังหวัดระยอง, แปลงใหญ่ขนุน จังหวัดชลบุรี และสินค้าเบ็ดเตล็ดที่เกี่ยวกับมะม่วงและการบริการต่าง ๆ ได้แก่ อุปกรณ์ทางการเกษตร ปุ๋ย สารชีวภัณฑ์ ฮอร์โมน ที่เหมาะสมสำหรับชุมชนเมือง รวมทั้งการให้บริการขนส่ง เช่น ไปรษณีย์ไทย, Kerry เป็นต้น

ทั้งนี้ ในปี 2564 สมาคมชาวสวนมะม่วงไทยได้ประเมินสถานการณ์ผลผลิตมะม่วงพันธุ์การค้าเบื้องต้นจากสมาชิกกลุ่มเกษตรกรในแหล่งผลิตสำคัญของประเทศไทย 3 แหล่ง ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 20 จังหวัด คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณผลผลิต 400,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 15 ขณะนี้มีการเก็บเกี่ยวแล้วร้อยละ 20 โดยสถานการณ์ราคามะม่วงที่เกษตรกรขายได้หน้าสวนสำหรับตลาดในประเทศ พบว่า ราคามะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง 17 บาท/กิโลกรัม มะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์สี่ 12 บาท/กิโลกรัม ฟ้าลั่น 7 บาท/กิโลกรัม เขียวเสวย 20 บาท/กิโลกรัม เป็นต้น สำหรับราคามะม่วงตลาดส่งออก พบว่า ราคามะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเกรด A 30 บาท/กิโลกรัม และมะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์สี่ 25 บาท/กิโลกรัม (ต้นทุนการผลิตมะม่วงเฉลี่ยทุกสายพันธุ์ประมาณ 7 บาท/กิโลกรัม) จึงทำให้สถานการณ์ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์พอใช้

กิจกรรมภายในงานครั้งนี้นอกจากจะมีการออกร้านจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ยังได้จัดแสดงนิทรรศการประกอบเพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าชมงาน เช่น นิทรรศการประวัติความเป็นมาและอัตลักษณ์แห่งมะม่วงไทย เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงคุณภาพดี ตั้งแต่การปลูก การดูแลรักษามะม่วง ศัตรูสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง การพัฒนาคุณภาพมะม่วงส่งออก/ดัชนีการเก็บเกี่ยวมะม่วง การแสดงความหลากหลายทางสายพันธุ์มะม่วง และมะม่วงที่ได้รับการรับรองเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สำหรับมะม่วงที่นำมาจัดแสดงครั้งนี้จำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 มะม่วงไทยพันธุ์การค้า ได้แก่ น้ำดอกไม้เบอร์สี่ น้ำดอกไม้สีทอง เขียวเสวย ฟ้าลั่น โชคอนันต์ มหาชนก อกร่อง (อกร่องทอง อกร่องเขียว อกร่องพิกุลทอง) แรด ขายตึก เพชรบ้านลาด มันเดือนเก้า มันขุนศรี มะม่วงเบา น้ำดอกไม้มัน แก้ว หนังกลางวัน กลุ่มที่ 2 มะม่วงไทยพันธุ์หายาก/โบราณ ได้แก่ ยายกล่ำ สายฝน

เจ้าคุณทิพย์ พิมเสนมัน พิมเสนเปรี้ยว งาช้างแดง นาทับ สาวน้อยกระทืบหอ ลิ้นงูเห่า แก้วลืมรัง กลุ่มที่ 3 มะม่วงพันธุ์ต่างประเทศ/ลูกผสม ได้แก่ อ้ายเหวิน อี้เหวิน จินหวง อาร์ทูอีทู แดงจักรพรรดิ แก้วขมิ้น กลุ่มที่ 4 มะม่วงที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ได้แก่ ยายกล่ำนนทบุรี น้ำดอกไม้สระแก้ว น้ำดอกไม้ฉะเชิงเทรา และการซื้อขายสินค้าเกษตรผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมบนเวที เช่น การแข่งขันแกะสลักผลไม้ ตำผลไม้ลีลา เชฟชื่อดังมาร่วมโชว์ปรุงเมนูมะม่วงรสเลิศ การถาม-ตอบความรู้ สาธิตต่าง ๆ

กิจกรรมนาทีทอง ลุ้นโชควงล้อมะม่วงมหาสนุก เป็นต้น โดยมุ่งหวังว่าการจัดงานครั้งนี้จะเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค ตลอดจนมีศูนย์การค้าต้นแบบที่สามารถการันตีมะม่วงคุณภาพสู่ผู้บริโภคในประเทศได้ดีต่อไป จึงขอเชิญชวนผู้บริโภคทั้งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียงร่วมอุดหนุนสินค้าเกษตรไทยช่วยสนับสนุนชาวสวนผลไม้ภายใต้ Campaign “ซื้อสินค้าเกษตรไทย เกษตรกรอยู่ได้ ประเทศไทยอยู่รอด” และเลือกซื้อเป็นของขวัญของฝากให้กับญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้

เกษตรย้ำเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ดำเนินการตามกฏหมายอย่างเข้มงวด เร่งสกัดปมปัญหาทุเรียนอ่อนอย่างต่อเนื่อง สร้างความเชื่อมั่นคุณภาพทุเรียนภาคตะวันออก พร้อมวางระบบรับรองมาตรฐานสุขอนามัยตั้งแต่สวนทุเรียนจนถึงโรงคัดบรรจุ

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้สั่งการให้สำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดจัดตั้งชุดเฉพาะกิจร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปูพรมพื้นที่ปลูกทุเรียน เพื่อตรวจสอบและสกัดกั้นไม่ให้มีการลักลอบตัดทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ออกขาย และให้ดำเนินการกับผู้กระทำผิดตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ในการติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังการตัดทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับรายงานจากสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรีว่า ในส่วนของสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรีได้ดำเนินการขับเคลื่อนการป้องกันแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตรในการป้องปรามทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ปี 2564 อย่างต่อเนื่อง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1. ) ร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 ดำเนินการบังคับและพักการใช้ใบอนุญาตเลขทะเบียน GMP ของล้ง และเลขทะเบียน GAP ของเกษตรกรในกรณีตรวจพบการตัดและการจำหน่ายทุเรียนอ่อน 2) แจ้งให้เกษตรกร ผู้ประกอบการทราบถึงมาตรการต่างๆ เช่น การกำหนดเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียนหมอนทองก่อนตัด

ต้องไม่น้อยกว่า 32% ขึ้นไป และมาตรการดำเนินคดีแก่ผู้จำหน่ายทุเรียนด้อยคุณภาพ 3) ตั้งชุดตรวจเฉพาะกิจเคลื่อนที่เร็ว ชุดตรวจที่ล้งและที่สวนเกษตรกร เฉพาะกรณีที่มีการเก็บเกี่ยวทุเรียนก่อนวันประกาศวันเก็บเกี่ยว (10 เมษายน 2564) และออกใบรับรองผลการตรวจความแก่ของทุเรียน และถ้าพบทุเรียนอ่อนให้คัดออกและทำสัญลักษณ์พ่นสีแดงที่ผล และพิจารณาใช้บทลงโทษขั้นสูงสุด 4) แต่งตั้งชุดเฉพาะกิจในการสุ่มตรวจและแก้ไขปัญหาการตัดทุเรียนอ่อนหรือทุเรียนด้อยคุณภาพ ในระดับตำบล หมู่บ้าน 5) จัดทำ QR Code ติดที่ทุเรียน เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงเกษตรกรผู้ปลุกได้ 6) สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จัดประชุมผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ (ล้ง) เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน และมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อนหรือทุเรียนด้อยคุณภาพ รวมทั้งการฝึกอบรมหลักสูตรนักคัด นักตัด ทุเรียนมืออาชีพ และ 7) ตั้งจุดให้บริการตรวจความอ่อน-แก่ ของทุเรียน ณ ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า ผลการปฏิบัติงานของชุดปฏิบัติการจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตใหญ่และมีล้งส่งออกจำนวนมากที่สุด เบื้องต้น พบว่ามี 8 บริษัทที่มีความผิดต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งฝ่ายปกครองของจังหวัด ได้รวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ดำเนินการทางกฎหมายไว้แล้ว ในขณะที่ผลการตรวจพบทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ประมาณ 30% ส่วนใหญ่พบที่ล้งส่งออก จึงนับว่ามาตรการที่ดำเนินการมาในขณะนี้สามารถควบคุมปัญหาได้เป็นที่น่าพอใจ และถึงแม้ขณะนี้เกษตรกรจะสามารถตัดทุเรียนขายได้ตามระบบปกติแล้ว แต่การป้องปรามก็จะยังคงดำเนินการต่อเนื่องต่อไป ตามที่ได้รับแจ้งเบาะแส เพื่อควบคุมป้องปรามทุเรียนด้อยคุณภาพออกนอกพื้นที่ รวมทั้งในช่วงนี้ต้นทุเรียนโดนลมพายุพัด ทำให้มีผลร่วงหล่น ชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจฯ จึงได้เข้าตรวจตามแผงค้าส่งภายในประเทศเพื่อป้องกันทุเรียนอ่อนเข้าสู่ตลาดบริโภคภายในประเทศอีกด้วย

ด้าน สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด ได้รายงานผลการปฏิบัติงานเชิงรุกว่า เนื่องจากจังหวัดตราดเป็นพื้นที่ที่จะมีผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดก่อนจังหวัดอื่นในภาคตะวันออก จึงได้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายปกครอง เกษตร ทหาร ตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่ อาสาสมัครเกษตรประจำหมู่บ้าน (อกม.) และอื่นๆ กว่า 20 หน่วยงาน เป็นหน่วยเฉพาะกิจระดับอำเภอ ทั้ง 7 อำเภอ ปฏิบัติการลงตรวจคุณภาพผลผลิตถึงสวนของเกษตรกร เพื่อสกัดกั้นทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) อย่างเข้มข้น ทุกวิถีทาง สำหรับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

หน่วยเฉพาะกิจของจังหวัดตราดได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างทุเรียนของเกษตรกร ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – 11 เมษายน 2564 สุ่มตรวจเปอร์เซ็นต์แป้งของผลผลิตทุเรียนก่อนการตัด 4 สายพันธุ์ จำนวนทั้งสิ้น 710 ตัวอย่าง โดยยึดเกณฑ์ดังนี้ พันธุ์หมอนทอง เปอร์เซ็นต์แป้งต้องได้ 32% ของน้ำหนักแห้งขึ้นไป พันธุ์ชะนี เปอร์เซ็นต์แป้งต้องได้ 30 % ของน้ำหนักแห้งขึ้นไป พันธุ์กระดุม เปอร์เซ็นต์แป้งต้องได้ 27 % ของน้ำหนักแห้งขึ้นไป และพันธุ์พวงมณี เปอร์เซ็นต์แป้งต้องได้ 30% ของน้ำหนักแห้งขึ้นไป โดยใช้ตู้อบไมโครเวฟ

ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร ทำให้ปี 2564 นี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดตราดมั่นใจว่าไม่มีทุเรียนด้อยคุณภาพจากพื้นที่จังหวัดตราดออกสู่ตลาดอย่างแน่นอน ทั้งนี้ เคล็ดลับความสำเร็จนอกจากทีมงานเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนจะร่วมกันทำงานอย่างเต็มกำลังแล้ว ในส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตทุเรียน อย่างเจ้าของสวนทุเรียนต้องมีความจริงใจในการตัดทุเรียนที่มีคุณภาพ คนตัดทุเรียนต้องตัดเฉพาะผลผลิตที่มีคุณภาพ และผู้ประกอบการซื้อ-ขายทุเรียน (ล้ง) ต้องรับซื้อเฉพาะทุเรียนคุณภาพด้วย จึงจะทำให้การแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

สำหรับบทลงโทษการซื้อขายทุเรียนที่เก็บเกี่ยวก่อนระยะเหมาะสม กรณีเกษตรกรจะพิจารณาพักหรือเพิกถอนการใช้ใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช เช่นเดียวกับโรงคัดบรรจุ (ล้ง) จะพักหรือเพิกถอนการใช้ใบรับรองโรงคัดบรรจุ GMP ซึ่งเกษตรกรจำนวนมากก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ส่งผลทำให้ราคาทุเรียนในพื้นที่ไม่อยู่ในระดับต่ำเหมือนปีที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดและผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในคุณภาพผลผลิต รวมทั้งยังส่งผลถึงภาพลักษณ์คุณภาพทุเรียนไทยก่อนส่งออกต่างประเทศอีกด้วย

ทั้งนี้ในปี 2564 เป็นปีแรกที่ประกาศให้มี “วันทุเรียนแก่” (วันที่ 10 เมษายน 2564) ซึ่งเป็นวันดีเดย์ให้เกษตรกรเริ่มเก็บเกี่ยวทุเรียนพันธุ์หมอนทองภาคตะวันออกโดยไม่แยกรายจังหวัด เน้นหนักในการตรวจสอบคุณภาพ เมื่อเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวทุเรียนให้แจ้งความประสงค์ที่กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน หรืออาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) เพื่อแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ให้ลงไปตรวจสอบความสุกแก่ของทุเรียนตามมาตรฐานที่กำหนด เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้ว สำนักงานเกษตรอำเภอจะออกใบรับรองเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของเนื้อทุเรียนเฉพาะตัวอย่างแนบไปกับรถขนส่งทุเรียนเข้าโรงคัดบรรจุพร้อมสำเนาใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช เพื่อคุมเข้มสกัดกั้นไม่ให้ทุเรียนอ่อนออกนอกพื้นที่ ส่วนกรณีของโรงคัดบรรจุ (ล้ง) ให้แจ้งความประสงค์ที่ด่านตรวจพืชตามพื้นที่ความรับผิดชอบของด่านแต่ละด่าน เพื่อตรวจคุณภาพทุเรียนตามมาตรฐาน ซึ่งโรงคัดบรรจุที่รับซื้อทุเรียนจะต้องตรวจสอบใบรับรองเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของเนื้อทุเรียนและสำเนาใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืชจากสวนเกษตรกรด้วย เพื่อใช้ในการยื่นต่อด่านตรวจพืชก่อนส่งออก

นายพลเชษฐ์ ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนพัฒนาฐานข้อมูลเกษตรกรกลาง (Farmer ONE) เปิดเผยว่า จากที่ สศก. ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรกรกลาง หรือ Farmer ONE มาตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงทะเบียนเกษตรกรกับหน่วยงานรับขึ้นทะเบียน คือ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ และกรมประมง โดยในปี 2562 ได้มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร กับหน่วยงานเพิ่มเติม คือ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมหม่อนไหม และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวมทั้ง ยังได้รับการสนับสนุนทางด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) อีกด้วย

ปัจจุบัน การให้บริการข้อมูล Farmer ONE มีการแบ่งกลุ่มเกษตรกรออกเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ 1) ปลูกพืช 2) เลี้ยงสัตว์ 3) เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 4) ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ 5) ปลูกพืชและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 6) เลี้ยงสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และ7) ปลูกพืช, เลี้ยงสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งสามารถสืบค้นแบบจำแนกชนิดสินค้า เพื่อรับทราบจำนวนครัวเรือน เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว แบบรายภาค รายจังหวัด ได้ 14 ชนิด คือ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ลำไย สับปะรดโรงงาน กาแฟ ยางพารา เงาะ มังคุด และ ทุเรียน รวมทั้งข่าวสารสำคัญทั่วไป เช่น ข้อมูลพยากรณ์อากาศ และสถานการณ์น้ำ

ล่าสุดผลจากการประชุมของคณะกรรมการขับเคลื่อนพัฒนาฐานข้อมูลเกษตรกรกลาง (Farmer ONE) เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้เห็นชอบในการเดินหน้าพัฒนาการให้บริการ ซึ่งภายในปี 2564 จะเชื่อมโยงฐานข้อมูลเพิ่มเติม จากเกษตรกรผู้ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทอผ้าไหม จากกรมหม่อนไหม และเกษตรกร ชาวสวนยาง จากการยางแห่งประเทศไทยแบบ Real Time เพื่อให้ฐานข้อมูล Farmer ONE มีข้อมูลทะเบียนเกษตรกรทางด้านต่าง ๆ ให้ครอบคลุมกิจกรรมทางการเกษตรให้มากที่สุด รวมทั้งพัฒนาสู่มาตรฐานข้อมูลกลาง (Data Standard) ซึ่งเป็นมาตรฐานในการจัดเก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูลของแต่ละรายบุคคลให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และลดความซ้ำซ้อนการจัดเก็บข้อมูล ชุดเดียวกันแต่มีข้อมูลที่ต่างกัน ยึดหลักการกำหนดมาตรฐานตามกรอบแนวทางเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ หรือ TH e-GIF และแนวทางการจัดทำมาตรฐานข้อมูลภาครัฐของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยเกษตรกรสามารถที่จะเข้ามาตรวจสอบข้อมูลของตนเองได้ และในปี 2565 จะดำเนินการกำหนดมาตรฐานกลางของสินค้าเกษตรที่สำคัญต่อไป

ทั้งนี้ ภายหลังจากที่คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบกรอบการกำหนดมาตรฐานข้อมูลกลาง (Data Standard) ข้อมูลบุคคลของฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรแล้ว สศก. จะได้นำเสนอต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก่อนประกาศใช้ ต่อไปภายในปีนี้ ทั้งนี้ หากท่านใดที่สนใจข้อมูลการให้บริการของ Farmer ONE สามารถเข้าสืบค้นข้อมูลได้ที่ www.farmerone.org หรือ สามารถสอบถามข้อมูลการใช้งานได้ที่ส่วนปฏิบัติการข้อมูลการเกษตร ศูนย์สารสนเทศการเกษตร โทร. 0 2561 2870 ในวันและเวลาราชการ

เว็บไซต์ของศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง ได้แจ้งข่าวเรื่องที่มีผู้สนใจจองสะตอพันธุ์ ตรัง 1 ว่า “เนื่องจากขณะนี้มีผู้สนใจจองเป็นจำนวนมากและปริมาณที่พร้อมจำหน่ายมีจำนวนไม่พอต่อความต้องการอาจทำให้คิวของท่านได้รับความล่าช้า ทางศูนย์ฯ ขอแจ้งหากท่านจะประสงค์จะจองสะตอ ทางเราจะเปิดให้จองอีกครั้ง เดือน กรกฎาคม 2564” แปลได้ความว่า ยอดจองล้นหลาม จึงต้องปิดการจองชั่วคราว ซึ่งตามปกติเปิดให้จองได้ตลอดและเพิ่งลงข่าวให้เบอร์โทร.จอง https://bit.ly/3aqqyWi อย่างไรก็ดีจะเปิดให้จองอีกครั้งเดือนกรกฎาคม 2564

พร้อมกับบอกถึง รายละเอียดการจองสะตอพันธุ์ตรัง 1 ดังนี้

1.รายชื่อ/บ้านเลขที่ จองได้ไม่เกิน 15 ต้น

2.แจ้งชื่อ – นามสกุล , ที่อยู่ , เบอร์โทรติดต่อกลับ

3.ไม่มีบริการจัดส่งต้องมารับด้วยตนเอง

4.ไม่มีการชำระก่อน หรือมัดจำล่วงหน้า ชำระเงิน ณ วันที่รับสินค้าเท่านั้น

5.ราคาต้นละ 50 บาท เป็นแบบติดตา

6.หลังจากทำการจอง หากใกล้จะถึงคิวของท่าน ทางศูนย์ฯ จะโทรไปแจ้งให้มารับพันธุ์สะตอล่วงหน้า 1 – 2 สัปดาห์

ปล.รบกวนท่านจดจำคิวการจองของท่านเพื่อรักษาสิทธิ์ในการจอง หากท่านมีการเปลี่ยนแปลงเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ให้โทรมาแจ้งลำดับคิวกับเจ้าหน้าที่..ขณะนี้จ่ายถึงลำดับคิวที่ 103 อัพเดตวันที่ 10/02/2564

อนึ่ง จากการติดตามข้อมูลของ “เกษตรก้าวไกล” ทราบว่า สะตอตรัง 1 มีคนสนใจและติดต่อมาเยอะมาก ยอดจองจนขณะนี้ประมาณ 70,000 ต้น แต่ด้วยกำลังการผลิตของศูนย์วิจัยพืชสวนตรังมีไม่เพียงพอ ตอนนี้ได้ประสานงานกับสหกรณ์จังหวัดตรัง ร่วมมือกับเกษตรกรที่มีความชำนาญการติดตาเพื่อจัดกลุ่มสร้างเครือข่ายผู้ผลิตต้นกล้าสะตอตรัง 1 เพื่อช่วยผลิตรองรับความต้องการของเกษตรกร ขณะนี้อยู่ในช่วงเสนอโครงการกับกรมวิชาการเกษตร และคาดว่าจะมีคืบหน้าในเร็วๆนี้

สำหรับการผลิตของศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง ที่ผ่านมาสามารถผลิตสะตอตรัง 1 ได้ปีละ 5,000 ต้น แต่ถ้าสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิต ประชุม อบรม สร้างแปลงแม่พันธุ์และขยายพันธุ์ควบคู่กันไปคาดว่าจะเคลียร์ยอดจองภายใน 3 ปี (64-66) แต่ก็ต้องรอการพิจารณาของกรมอีกครั้งว่าจะให้ดำเนินงานไปแนวไหน

อนึ่ง สะตอตรัง 1 ขยายพันธุ์แบบติดตา จึงค่อนข้างยาก เปอร์เซ็นต์การรอดน้อยกว่าพืชอื่นๆ ด้วยต้นเป็นฟองน้ำ จะเหี่ยวแห้งง่าย นั่นเอง

วงการไก่ชน น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก ตี๋..พานทอง เจ้าของฟาร์มไก่ชนระดับเงินล้าน มีไก่ชนไปเข้าสังเวียนนับร้อยชีวิต

แต่วันนี้ ตี๋ พานทอง หรือนายณัฐพงศ์ รอดพิรุณ วัย 59 ปี อยู่ที่ ต.พานทอง อ.พานทอง จ.ชลบุรี บอกว่า ผมทิ้งสังเวียนไปแล้ว เมื่อต้นปี 2563 หลังจากโควิด19 ระบาด ทิ้งไก่ชนหลายรัอยชีวิตไปจนหมดสิ้น

สาเหตุเพราะญาติๆ หลายคนมาขอร้องไว้อย่าไปทำเลยไก่ชน มันเป็นการซื้อขายชีวิตเขา สู้หันมาทำอะไรเพื่อธรรมชาติ เพื่อบ้านเมืองบ้างดีกว่า ตอนนั้นไก่ชนก็ออกไปตีบนสังเวียนไม่ได้ด้วย เลยเอาไก่ไปแจกจ่ายให้เพื่อนไป จนหมดเล้าไก่ ไม่เหลือแม้แต่ตัวเดียว

ก่อนจะมาขบคิดว่าเราจะทำอะไรดี นึกถึงวัตถุดิบในพื้นที่ก่อน เลยรู้ว่า เรามีดินดี มีแกลบเยอ มีขุยมะพร้าว มีต้นและใบก้ามปู อยู่เป็นจำนวนมาก เพราะเคยทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ก้ามปูมาก่อน ประกอบกับช่วงหลังมาปลูกต้นไม้เยอะต้องใช้ดินปลูกจำนวนมาก ไปหาซื้อมาราคาประมาณ 7 ถุง 100 บาท แต่ในถุงมีแค่ดินกับแกลบเผาเท่านั้นเอง

ตี๋พานทอง บอกว่า นี่เลยเป็นจุดเริ่มการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ จากความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาจากวิทยาลัยเกษตรบ้านบึง รุ่น 1 เอามาผสมผสานการทำปุ๋ยอินทรีย์ เริ่มจากการหมักปุ๋ยขี้วัวขี้ไก่ ไว้ 6-10 เดือน

จากนั้นนำปุ๋ยที่หมักไว้มาผสมในเครื่องผสมปุ๋ยอินทรีย์ มีวัตถุดิบ เช่น ดิน แกลบเผา ใบและต้นก้ามปู เปิดเดินเครื่องให้วัตถุดิบทั้งหมดเข้ากัน ก่อนจะเติมน้ำหมักอีเอ็ม ที่ได้มาจากกรมพัฒนาที่ดินใส่ลงไป และตามด้วยเชื้อราไตรโคเดอ์มา ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผลิตออกมาจำหน่ายให้กับเรา ผสมลงไปในขั้นตอนสุดท้าย

ก่อนจะคลุกเคล้าให้วัตถุดิบทั้งหมดเข้ากันแล้วจะนำออกจากเครื่องออกมาบรรจุลงถุงในอัตราถุงละ 5 กก. แล้วออกวางจำหน่ายในท้องตลาดราคา 6 ถุง 100 บาท ซึ่งกำไรไม่มากมายนักแต่ทำเพื่อให้ชาวบ้านชาวสวนได้ใช้ปุ๋ยคุณภาพดีราคาไม่แพงนัก

ก่อนที่จะออกมาจำหน่ายเราได้ทดลอง นำไปปลูกต้นไม้ ทั้งไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ พบว่าเจริญงอกงามดี เมื่อนำไปทดสอบทางห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงรู้ว่าดินปลูกผสมปุ๋ยอินทรีย์ มีคุณสมบัติ สร้างให้ต้นไม้แข็งแรง มีเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นตัวช่วยให้ปุ่มปมรากต้นไม้ทำงานได้ดี

แต่มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บจะต้องไม่ถูกแสงแดดจัดหรือถูกน้ำฝน ตกใส่ เพราะเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะสูญสลายไปโดยง่ายื อีกทั้งยังมีข้อจำกัด เก็บไว้ได้เพียงปีเดียวเท่านั้น

ใครสนใจไปเยี่ยมชมโรงงาน หรือชมขั้นตอนการผลิต ตี๋พานทองพร้อมเสมอ แต่ขอให้ติดต่อไปก่อนที่ 08-1781-8747 ไม่เว้นแม้วันหยุดราชการ กรมส่งเสริมการเกษตร เผยสถานการณ์ผลผลิตและการเก็บเกี่ยวผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2564 ผลผลิตลดจากปีที่แล้วร้อยละ 10 เหตุเพราะสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ประกอบกับได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน ส่งผลให้ราคาไม้ผลปีนี้ปรับตัวสูงขึ้น

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า จากการสำรวจข้อมูลเอกภาพไม้ผลภาคตะวันออก (ระยอง จันทบุรี ตราด) ปี 2564 (ข้อมูล ณ 19 เมษายน 2564) โดยฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) กรมส่งเสริมการเกษตร พบว่า ไม้ผลทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง มีผลผลิตรวม 900,126 ตัน ลดลงจากปี 2563 ที่มีจำนวน 995,501 ตัน (ลดลง 95,375 ตัน หรือร้อยละ 10) เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย หนาวเย็นนาน สลับกับมีฝนตกในช่วงปลายปี 2563 จนถึงต้นปี 2564 ทำให้ออกดอกได้น้อย ไม่เต็มต้น โดยทุเรียน ให้ผลผลิต 575,542 ตัน มังคุด 106,796 ตัน เงาะ 197,708 ตัน และลองกอง 20,080 ตัน ทั้งนี้ ผลผลิตทั้ง 4 ชนิดจะออกมากช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 สำหรับประมาณการผลผลิตรายจังหวัดมีดังนี้

ทุเรียน ได้แก่ จังหวัดระยอง 120,080 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 20,842 ตัน (ร้อยละ 17.36) จันทบุรี 398,618 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 68,898 ตัน (ร้อยละ 17.28 ตัน) ตราด 56,844 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 19,190 ตัน (ร้อยละ 33.76) ภาพรวมทุเรียนภาคตะวันออก ประมาณการผลผลิต 575,542 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 108,930 ตัน คิดเป็นร้อยละ 18.93 โดยทุเรียนเกรด A ราคา 113.33 บาท/กิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาเฉลี่ยรายสัปดาห์ ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 12.25 บาท/กิโลกรัม

มังคุด ได้แก่ จังหวัดระยอง 12,724 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 472 ตัน (ร้อยละ 3.71) จันทบุรี 71,695 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 1,622 ตัน (ร้อยละ 2.26 ตัน) ตราด 22,377 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 1,198 ตัน (ร้อยละ 5.35) ภาพรวมมังคุดภาคตะวันออก ประมาณการผลผลิต 106,796 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 3,292 ตัน คิดเป็นร้อยละ 3.08 โดยมังคุดเกรด A ราคา 196.67 บาท/กิโลกรัม ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 11.94 บาท/กิโลกรัม

เงาะ (โรงเรียน) ได้แก่ จังหวัดระยองให้ผลผลิต 5,350 ตัน จันทบุรี 99,179 ตัน ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวทั้ง 2 จังหวัด ตราด 93,179 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 8,763 ตัน (ร้อยละ 9.40) ภาพรวมเงาะ (โรงเรียน) ภาคตะวันออก ประมาณการผลผลิต 197,708 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 8,763 ตัน คิดเป็นร้อยละ 4.43 โดยเกรด A ราคา 55 บาท/กิโลกรัม ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 8.95 บาท/กิโลกรัม

ลองกอง ประมาณการผลผลิตภาคตะวันออก 20,080 ตัน ขณะนี้ยังไม่มีการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 21.26 บาท/กิโลกรัม

ขณะที่ลิ้นจี่ (นครพนม 1) สมัครพนันออนไลน์ ของภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ให้ผลผลิต 19,937 ตัน เชียงราย 3,059 ตัน น่าน 3,708 ตัน ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวทั้ง 3 จังหวัด พะเยา 4,012 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 3 ตัน (ร้อยละ 0.07) ภาพรวมลิ้นจี่ภาคเหนือ ประมาณการผลผลิต 30,716 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 3 ตัน คิดเป็นร้อยละ 0.01 โดยเกรด AA ราคา 100 บาท/กิโลกรัม ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 17.43 บาท/กิโลกรัม

แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2564 ไตรมาสแรก

สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัวร้อยละ 0.7 โดยกิจกรรมการเตรียมดินและการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกพืชสำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง ในส่วนของการเก็บเกี่ยวอ้อยโรงงาน แม้ว่าพื้นที่เก็บเกี่ยวอ้อยจะลดลงเนื่องจากเกษตรกรบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกพืชอื่น แต่ผู้ประกอบการได้ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการใช้เครื่องจักรกลในการตัดอ้อยมากขึ้น โดยการจัดหารถตัดอ้อยให้แก่ชาวไร่อ้อยคู่สัญญา

สาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 1.2 เนื่องจากผลผลิตไม้ยูคาลิปตัส ไม้ยางพารา และรังนก เพิ่มขึ้น โดยผลผลิตไม้ยูคาลิปตัสยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ จีน และญี่ปุ่น โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง ขณะที่ผลผลิตไม้ยางพาราเพิ่มขึ้นตามพื้นที่การตัดโค่นสวนยางพาราเก่า เพื่อปลูกทดแทนด้วยยางพาราพันธุ์ดีและพืชชนิดอื่น และรังนกยังมีความต้องการจากประเทศจีนและกัมพูชาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตถ่านไม้ลดลง เนื่องจากความต้องการที่ชะลอตัวลงจากการแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2564 คาดว่า จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.7 – 2.7 เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยทุกสาขาการผลิต ได้แก่ สาขาพืช สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ มีแนวโน้มขยายตัว และคาดว่าปริมาณน้ำฝนในปีนี้จะมีมากกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์ลานีญา ประกอบกับการบริหารจัดการที่ดีทั้งในด้านการผลิตและการตลาด มีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน รวมไปถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทำให้ภาวะเศรษฐกิจมีการฟื้นตัว

“แม้การคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรตลอดทั้งปี 2564 จะมีทิศทางที่ดี โดยมีการขยายตัวทุกสาขา การผลิต แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ทั้งความแปรปรวนของสภาพอากาศ ราคาน้ำมัน ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่า ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ซึ่งแน่นอนว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้มีแนวทางเพื่อรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป ทั้งการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ การพัฒนาระบบเตือนภัยด้านการเกษตร การส่งเสริมการทำเกษตรในรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Economy นอกจากนี้ ยังเน้นสร้างภูมิคุ้มกันและหลักประกันความมั่นคงทางด้านรายได้ เช่น การประกันภัยพืชผล การทำเกษตรพันธสัญญา รวมไปถึงส่งเสริมองค์ความรู้ในการทำเกษตรในรูปแบบเกษตรอัจฉริยะ เกษตรแม่นยำสูง และยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรด้วยเช่นกัน” เลขาธิการ สศก. กล่าว

ในวันเสาร์ที่ 27 มีนาคม 2564 เวลา 13.00-17.00 น. เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่เกิดขึ้นบนผืนดินของเกษตรกร นั่นก็คือ การจัดกิจกรรมห้องเรียนกลางสวน ตอน “ลุยเที่ยวเกี่ยวความรู้ที่ไร่คุณชาย” โดย “เกษตรอคาเดมี” ในเครือเกษตรก้าวไกล (เครือเดียวกันแต่คนละหวี) มุ่งหวังที่จะให้สวนหรือไร่นาของเกษตรกรเป็นห้องเรียน แทนที่จะเป็นที่ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์และขายผลผลิตเพียงอย่างเดียวก็มาเป็นสถานที่เรียนรู้หรือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไปด้วย

การจัดกิจกรรมของเราครั้งนี้ ไม่ได้มุ่งหวังเรื่องกำไรที่เป็นตัวเงิน แต่เรามุ่งหวังให้กิจกรรมเกิดขึ้นในสวนของพี่น้องเกษตรกร เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มตามนโยบาย 4.0 “ทำน้อยได้มาก” ซึ่งหลายสวนที่มีความพร้อมก็อาจจะจัดได้ดีอยู่แล้ว แต่หลายสวนก็อาจจะยังไม่มีความพร้อม เราในฐานะสื่อมวลชนเกษตรจึงคิดว่าจะเข้าไปช่วยเติมเต็ม เท่าที่จะสามารถทำได้ ตามประสบการณ์ที่มีอยู่ เพื่อให้ภาคเกษตรขับเคลื่อนไปสู่อนาคตที่ดีกว่าและสร้างความยั่งยืนในอาชีพการเกษตร…

ทุกท่านคงทราบกันดีว่าช่วงเวลาที่โควิด-19 ได้มาอยู่กับเรา ทำให้เราต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลง บังคับให้เกษตรกรเป็นเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการโดยสมบูรณ์แบบ ถนนทุกสายมุ่งสู่ภาคเกษตร แต่จะมีเกษตรกรสักกี่คนที่ปรับตัวได้ “เกษตรกรอยู่รอดประเทศไทยอยู่ได้” คือคำขวัญที่เราจะใช้รณรงค์ตลอดปี 2564 “เพราะเราเชื่อมั่นว่าเกษตรคือประเทศไทย ถ้าทำให้เศรษฐกิจภาคการเกษตรเติบโตได้ประเทศไทยของเราก็จะเจริญอย่างยั่งยืน” การจัดโครงการห้องเรียนกลางสวนที่ไร่คุณชายจึงถือเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่เราได้มุ่งมั่นดำเนินการมาเป็นระยะๆ จะว่าเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมที่หลายองค์กรคำนึงก็ใช่ โดยพัฒนาต่อยอดมาจากเสวนาเกษตรสัญจรหรือทัวร์เกษตร ที่เกิดขึ้นและได้รับความนิยมมากเมื่อหลายสิบปีก่อน ผู้ที่ริเริ่มและอยู่ในความทรงจำของพวกเราก็คือ คุณประพันธ์ ผลเสวก บรรณาธิการบริหารนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ในเครือมติชนสมัยนั้น

กล่าวสำหรับ “เกษตรก้าวไกล” ก็นำมาปรับต่อยอดใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดเสวนาเคลื่อนที่เร็ว ที่เรียกว่า Talk of The Farm รวมทั้ง “ห้องเรียนกลางสวน” ที่กำลังดำเนินการในวันนี้ที่ไร่คุณชาย บ้านพุตะเคียน ต.ท่าเสา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เป็นรูปแบบที่เจ้าของสวนได้ถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ที่ทำอยู่จริงๆ โดยคุณสมชาย แซ่ต้น เจ้าของสวนที่ยึดมั่นในอาชีพเกษตรหลายสิบปี และวันนี้เรายังได้รับเกียรติจาก คุณครูลออ ดอกเรียง วิทยากรชุมชน ที่ได้มาให้ความรู้เรื่อง พืชทนแล้ง พร้อมทั้งสาธิตการเสริมรากพืชด้วย

กิจกรรมของเราได้เริ่มต้นขึ้นเวลา 13.00 น. พอถึงเวลานัดหมายกลุ่มผู้สนใจก็มากันพร้อมหน้า “ต่างคนต่างมาหัวใจเดียวกัน” คือแนวคิดที่เราใช้ในคราวนี้ นั่นคือให้ทุกคนที่มีหัวใจเกษตรเดินทางมากันเอง ตามปกติอาจจะนัดพบกันที่จุดใดจุดหนึ่งและนั่งรถกันมา แต่ตามรูปแบบเดิมนี้เราพบว่าไม่สะดวกในภาวะปัจจุบันที่ทุกคนเน้นความเป็นอิสระ เรียกว่าทั้งแต่ระบบออนไลน์เฟื่องฟูทุกคนต้องรับผิดชอบตนเอง ไม่ต้องรอคนนั้นคนนี้ แค่ตั้งโลเคชั่นของสวน คุณจะหยุดแวะระหว่างทางเพื่อช่วยกันสร้างเศรษฐกิจ(กระจายรายได้)ก็ทำได้สะดวก พอถึงเวลาก็มาพบกันที่สวนเลย (ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง ตามแนวคิดที่ว่า ถนนทุกสายมุ่งสู่ภาคการเกษตร) มาไกลสุดจากจังหวัดร้อยเอ็ด นอกจากนั้นอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มากันในแบบครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ (ยกเว้นเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ลุยเดี่ยว)

ในครั้งนี้เรายังได้รับเกียรติจากนักวิจัยที่เป็นระดับดอกเตอร์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ถึง 2 ท่าน มาร่วมคณะและจัดทำข้อมูลท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกรไทยในโอกาสต่อไป

พอพูดคุยถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของเจ้าของสวนและผู้จัดเสร็จสรรพก็เป็นการแนะนำตัวว่าผู้ร่วมคณะเป็นใครมาจากไหนก้นบ้าง จากนั้นก็เข้าเรื่องราวการทำสวนตามหัวข้อเรื่องที่วางไว้ โดย คุณสมชาย แซ่ตัน ได้บรรยายเรื่องหลักคิดและวิธีการทำสวนในรูปแบบเกษตรผสมผสานว่าทำอย่างไร ประสบความสำเร็จอย่างไร ปลูกพืชชนิดไหนบ้างที่เข้ากันได้ดี และมีตลาดสม่ำเสมอ ต่อด้วย ครูลออ ดอกเรียง ได้มาบรรยายเรื่องการปลูกพืชทนแล้งและสาธิตเสริมรากมะกรูด ส้มโอ และมะขามป้อม

เมื่อพูดคุยทำความเข้าใจและเปิดโอกาสให้ซักถามกันแล้ว ประมาณ 15.00 น. เป็นการพักเบรก มีทั้งมะพร้าวน้ำหอมที่เฉาะกันสดๆ เป็นเครื่องดื่มธรรมชาติที่ต้อนรับตั้งแต่ก้าวย่างมาถึงสวน ผสมด้วยกล้วยไข่ที่ชมกันว่าหวานอร่อยมาก กล้วยหินต้มก็มันหวานนิดๆ บางคนก็เพิ่งทานครั้งแรก แซมด้วยมะม่วงหวานพอดีๆ มะละกอฮอลแลนด์ มะขามหวานสีทอง และไฮไลท์วันนี้คือมะปรางมะยงชิดที่เก็บมาให้ชิมกันถาดใหญ่ หรือใครจะไปเก็บจากต้นที่อยู่ใกล้ๆกันทางเจ้าของสวนก็เปิดพิเศษในวันนี้

ได้เวลาก็เดินเลาะชมสวน เริ่มจากแปลงข้างบ้าน เดินไปพลางพูดคุยกันไปพลาง ทั้งเจ้าทุเรียน กล้วย มะยงชิด มะละกอ มะม่วง มะนาว ยืนยิ้มน้อยยิ้มใหญ่(สังเกตดูอยู่ระหว่างออกดอกผลิผล) และมาหยุดเป็นจุดๆ ตามกลุ่มของพืชที่ปลูก ซึ่งเน้นไม้ผลเป็นพิเศษ ที่หยุดอยู่นาน เช่น กลุ่มทุเรียนที่มีหลายอายุ แต่ที่อายุ 3-4 ปี จะเยอะหน่อย ซึ่งกำลังออกดอกให้ผลผลิตหลายต้น มะยงชิดก็กำลังสุกพอดี ยืนคุยไป เก็บกินไป ขยับไปตรงขนุนต้นใหญ่มีปลูกไว้ไม่กี่ต้นตามจุดต่างๆที่ตั้งใจจะให้เป็นร่มเงา แต่ดันดกเหลือหลาย ส้มโอก็ใช่ย่อยแข่งกันออกลูกจนกิ่งต้องโน้มลงมากเกือบติดดิน เช่นเดียวกับเงาะโรงเรียนที่ออกลูกไล่เลี่ยกัน ดกกมากๆ ไม่มีกิ่งไหนที่ไม่มีลูกก็ว่าได้ คิดมองภาพไปถึงเดือนพฤษภาคมที่จะถึงคงจะแดงเต็มต้น เห็นเจ้าของสวนโปรยๆว่า จะทำเป็นสกายวอล์กแบบเตี้ยๆให้นักท่องเที่ยวเดินมาเก็บกินและถ่ายรูป เช่นเดียวกับทุเรียนก็จะมามีให้ชิมในช่วงนั้นบ้าง แต่อาจจะยังไม่มาก “ตั้งใจว่าเดือนพฤษภาคมจะจัดบุฟเฟ่ต์เงาะเชิญมาเที่ยวกันนะครับ” เจ้าของสวนย้ำ

พวกเราเดินลัดเลาะชมสวน พร้อมการเรียนรู้จากของจริง จนถึงเวลาประมาณ 16.30 น. ก็ไปรวมตัวกันที่ศาลาเอนกประสงค์ของสวนอีกครั้งหนึ่ง หลังเช็ดหน้าเช็ดตาด้วยผ้าเย็น (ต้องยอมรับว่าเดินกันนานและได้เหงื่อเหมือนกัน) ก็หยุดดื่มน้ำและทานบุฟเฟ่ต์ผลไม้กันต่อ พร้อมกับเจ้าของสวนได้สรุปความรู้ที่ได้รับ ใครมีอะไรซักถามเพิ่มเติมก็ได้อีกนิดหน่อย แต่เราจะมีกลุ่มไลน์ไว้สอบถามกันต่อ

ปิดท้ายเจ้าของสวนมอบกล้วยไข่กลับบ้านกันคนละกล่อง และหาซื้อผลไม้ที่เป็นผลผลิตของสวนไปฝากคนที่บ้าน หรือฝากเพื่อนบ้านก็ตามอัธยาศัย..และก็ไม่ลืมถ่ายภาพร่วมกันที่ป้ายไร่คุณชาย (วันนี้ป้ายจะเก่าๆหน่อยๆแต่ก็ยังขลังอยู่) ซึ่งเสียดายว่าวันนี้สมาชิกที่มากันครอบครัวใหญ่ที่มีคุณแม่ซึ่งอายุมาก และคุณลูก ได้ขอตัวกลับก่อนเวลาเล็กน้อย แต่เสียงเฮ(ถ่ายคลิปไว้)ก็ยังดังลั่น ก็หวังว่าแนวคิดนี้จะกระจายไปยังสวนเกษตรหรือฟาร์มเกษตรต่างๆที่มีอยู่ทั่วประเทศให้ลุกขึ้นมาหาหนทางให้อยู่รอดอยู่นานและยั่งยืนตลอดไปนะครับ

อนึ่ง “เกษตรอคาเดมี” (เรียนรู้สิ่งดีๆจากของจริง) ในเครือเกษตรก้าวไกลจะยังคงมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับสวนหรือฟาร์มต่างๆ รวมทั้งองค์กรที่มองเห็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆให้เกิดขึ้นกลางสวนกลางฟาร์ม รวมทั้งการร่วมมือกับอาจารย์หรือนักวิชาการต่างๆ เพื่อหาจุดลงตัวที่เป็นมาตรฐานของท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อนำมาสรุปจัดทำเป็นข้อมูลเพื่อเผยแพร่เป็นประโยชน์ในวงกว้างต่อไปครับ

ปัญหาของเกษตรกรในปัจจุบันไม่ได้อยู่ที่เรื่องของการเพาะปลูก แต่ปัญหาหลัก ๆ จะอยู่ที่ช่องทางการตลาด ต้องพึ่งพาการขายแบบช่องทางเดิม ๆ ที่มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อและไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา เกษตรกรเริ่มเล็งเห็นถึงการทำตลาดออนไลน์มากขึ้น เพราะช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย ซึ่งในหลายพื้นที่ไม่สามารถทำการค้าขายแบบตลาดปกติหรือตลาดออฟไลน์ได้ เพราะทุกคนกังวลและเกรงว่าจะเกิดความเสี่ยงเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่แออัด เป็นการสัมผัสกับเชื้อโควิด-19 จึงส่งผลให้การค้าขายสินค้าทางการเกษตรที่ผ่านมามีการทำตลาดออนไลน์มากขึ้น เกษตรกรมีการพัฒนาสินค้าทางการเกษตรให้ได้มาตรฐาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดตามไปด้วย

คุณสุพัฒน์ อ่อนคง หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี ให้ข้อมูลว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าไม่สามารถเดินมาหาตลาดออฟไลน์ได้ ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดร่วมกับจังหวัดราชบุรี จึงคิดจัดทำตลาดออนไลน์หรือแอปพลิเคชันภายใต้ชื่อ “เกษตรโมบายราชบุรี” เพื่อให้ผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าผ่านตลาดออนไลน์ได้ โดยพี่น้องเกษตรกรต้องเตรียมสินค้าให้ได้มาตรฐานพร้อมที่จะจัดส่งไปถึงมือผู้บริโภค

“กรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีนโยบายตลาดนำการผลิต โดยสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด มีการส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ และเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน GAP เมื่อมีการส่งเสริมอย่างมีคุณภาพแล้ว เกษตรกรก็มักจะมีคำถามว่า จะให้ไปขายที่ไหน ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอ จึงได้มีการริเริ่มตั้งตลาดเกษตรกร หรือ Farmer Market ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เกษตรกรได้เข้าถึงและเรียนรู้ช่องทางการตลาดรวมถึงการนำสินค้ามาจำหน่ายด้วยตนเอง และเกษตรกรจะได้พบกับผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งที่นี่ก็มีตลาดเกษตรกรแบบกางเต็นท์ประจำหน้าสำนักงานเกษตรอำเภอหรือสถานที่ราชการ และพัฒนาไปสู่ตลาดเกษตรกรถาวร ในรูปแบบศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้ก่อสร้างอาคารขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้ของเกษตรกร ก็จะมีประมาณ 50 กว่าร้าน เรียกว่า เปิดตลาดออฟไลน์” คุณสุพัฒน์ กล่าว

จากสินค้าตลาดออฟไลน์ สู่ตลาดออนไลน์เต็มรูปแบบ
ตลาดออฟไลน์ที่มีการนำผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพมาจำหน่ายนั้น คุณสุพัฒน์ บอกว่า เป็นตลาดเกษตรโมบายราชบุรี โดยนำชื่อมาจากตลาดออนไลน์ ซึ่งจังหวัดราชบุรีเรามีแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า ”เกษตรโมบาย” ซึ่งเป็นตลาดที่มีสินค้าผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP นำสินค้ามาตรฐานต่าง ๆ มาให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อได้อย่างมั่นใจ พร้อมกันนี้เกษตรกรได้มีการปรับตัว ผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาด คือ การตลาดนำการผลิตตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร

“พอเกษตรกรเริ่มจับทางการทำตลาดได้ว่า ลูกค้าหรือกลุ่มผู้บริโภคต้องการอะไร การผลิตสินค้าทางการเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการจึงเป็นเรื่องสำคัญ ต่อมาเมื่อเกษตรกรมีสินค้าที่ได้มาตรฐาน เราในฐานะผู้ดูแล จึงส่งเสริมการทำตลาดให้กับพี่น้องเกษตรกรมากขึ้น เพื่อให้มีการขายหลายช่องทาง ไม่ได้เน้นขายแต่ตลาดออฟไลน์เพียงอย่างเดียว แต่สามารถทำตลาดออนไลน์ส่งตรงไปถึงมือผู้บริโภค รวมทั้งสร้างเป็นสินค้าคุณภาพส่งขายยังตลาดโมเดิร์นเทรดอีกด้วย จึงทำให้เวลานี้ร้านค้าบางร้านที่มีสินค้าได้มาตรฐาน ก็จะมีปริมาณการสั่งซื้อจากลูกค้าเข้ามาอย่างต่อเนื่อง สามารถขายสินค้าได้ เกิดรายได้หลายช่องทาง” คุณสุพัฒน์ กล่าว

วิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัยบ้านหนองหลวง จ.ราชบุรี แหล่งรวบรวมสินค้าออนไลน์ครบวงจร
คุณนิรัญชรา สุขไข่ ประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัยบ้านหนองหลวง ตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดรราชบุรี ให้ข้อมูลว่า วิสาหกิจชุมชนแห่งนี้เริ่มจากการก่อตั้งมาครั้งแรกมีสมาชิกเพียง 7 คน เท่านั้น ต่อมามีการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่ม จนปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ที่ 33 คน เนื้อที่ทำการเกษตรอยู่ที่ 100 กว่าไร่ โดยทางกลุ่มได้ผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย เช่น ผัก ผลไม้ เพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภคเป็นหลัก จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้กลุ่มได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากในการทำตลาด จึงได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การทำตลาดให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น โดยปรับจากเดิมที่ทำแต่ตลาดออฟไลน์ มาสร้างแบรนด์สินค้าให้ได้มาตรฐานและเข้าสู่ระบบออนไลน์แบบเต็มรูปแบบ

“ที่ผ่านมาเนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผลผลิตค่อนข้างมีปัญหา คือไม่มีที่ขาย เพราะตลาดปิด ไม่อยากออกไปในพื้นที่เสี่ยง ก็เลยมาปรึกษาหารือกันว่าจะแก้ปัญหาตรงนี้ได้อย่างไร จึงได้เดินไปหาสำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร คุยถึงปัญหา จะให้ช่วยเหลือปัญหาตรงนี้ให้หน่อย ทางเกษตรจังหวัดจึงได้แนะนำและเข้ามาดูแล และได้มอบแอปพลิเคชันชื่อว่าเกษตรโมบาย ให้ทางกลุ่มได้มาใช้และเพิ่มช่องทางการตลาด ตั้งแต่นั้นมาเราก็เรียนรู้มากขึ้น และทำตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ควบคู่กันไป” คุณนิรัญชรา กล่าว

เมื่อมีลูกค้าให้ความสนใจสินค้าทางการเกษตรและสินค้าแปรรูปของกลุ่มมากขึ้น คุณนิรัญชรา บอกว่า จึงได้มีการพัฒนาสินค้าทางการเกษตรอยู่เสมอ และนำสินค้าดีประจำท้องถิ่นมาพัฒนาให้มีคุณภาพ อย่างเช่น ผักสวนครัว ที่เด่นดังในย่านนี้คือ กะหล่ำดอก เนื่องจากกะหล่ำดอกที่นี่มีรสชาติดี หวาน กรอบ และก็ไม่เหนียว ที่สำคัญคือ เป็นอาชีพที่เกษตรกรที่นี่ทำมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เมื่อความต้องการของลูกค้ามีมากจึงได้พัฒนาการปลูกให้มีหัวใหญ่และได้มาตรฐาน จนประสบผลสำเร็จตามที่ตลาดต้องการ

“พอเราทำตลาดออนไลน์เป็น เราไม่ได้ขายแค่ในออนไลน์ แต่สามารถเชื่อมต่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์ได้ ทำให้กลุ่มของเราขายสินค้าได้เยอะ และทุกปัญหาที่เราเจอ เรามีพี่เลี้ยงที่ดีในการดูแล นั่นก็คือกรมส่งเสริมการเกษตร มีปัญหาก็คุยกับทางสำนักงานเกษตรจังหวัดตลอดเวลา ช่วยให้ปัญหาของเราได้รับการแก้ไข้ สรุปมีปัญหาอะไรเราก็จะมีพี่เลี้ยงคอยดูแล ทำให้ปัญหาทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ ช่วยให้การ พัฒนาตนเองของกลุ่มทั้งเรื่องขายออนไลน์มีความทันยุคทันสมัยมากขึ้นตามไปด้วย” คุณนิรัญชรา กล่าว

การพัฒนาสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพช่วยสร้างรายได้จากตลาดออนไลน์เพิ่มอีกหนึ่งช่องทาง
คุณสุพัฒน์ ได้กล่าวถึงความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัยบ้านหนองหลวงว่า การที่กลุ่มวิสาหกิจฯ แห่งนี้มีการส่งเสริมให้สมาชิกที่นี่ได้เข้ามาเรียนรู้และสามารถทำการตลาดผ่านทางช่องทางออนไลน์อยู่เป็นประจำ จึงทำให้กลุ่มมีการพัฒนาสินค้าทางการเกษตรที่ทันสมัยและตรงตามความต้องการของตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันสามารถทำตลาดออนไลน์เชื่อมโยงไปสู่ตลาดออฟไลน์ได้มากขึ้น เช่น ส่งจำหน่ายสินค้าขึ้นห้างโมเดิร์นเทรดที่มีการสั่งสินค้าจากที่นี่ในปริมาณที่มากขึ้นตามไปด้วย

“เมื่อพี่น้องเกษตรกรสามารถผลิตสินค้าได้มาตรฐาน และรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร จึงช่วยให้สินค้าตรงสเปกและขายได้ตลอดทั้งปี เพื่อรักษาศักยภาพในการผลิตให้มั่นคง เพื่อที่จะสามารถต่อรองกับคู่ค้าได้ ดังนั้น การพัฒนาเกษตรกร สินค้า การพัฒนาเรื่องมาตรฐาน และการทำตลาด จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่เกษตรกรต้องรู้ ก็จะช่วยให้เกษตรกรไทยยืนได้ด้วยตัวเอง ขายให้เป็น เพื่อเป็นเกษตรกรมืออาชีพ” คุณสุพัฒน์ กล่าว

สำหรับเกษตรกรท่านใด สนใจในเรื่องของการทำตลาดออนไลน์ “เกษตรโมบาย” ต้องการเพิ่มช่องทางการตลาด สามารถติดต่อสำนักงานเกษตรอำเภอได้ทุกอำเภอ หรือที่สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี ตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดรราชบุรี หมายเลขโทรศัพท์

“เกษตรกรอยู่รอดประเทศไทยอยู่ได้” ไม่ได้เป็นคำที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ สิ่งที่ “เกษตรก้าวไกล” มุ่งหวังสูงสุดก็คือเรื่องการพัฒนาอาชีพเกษตรให้เกิดความยั่งยืน หลายท่านคงทราบว่า GDP ภาคเกษตรลดต่ำเรื่อยๆ เหลือเพียง 8% ในปีที่ผ่านมา ทั้งๆที่คนไทยส่วนใหญ่ 1 ใน 3 อยู่ในภาคเกษตร นั่นหมายถึงรายได้ต่อหัวของเกษตรกรน้อยมาก ยิ่งทำเกษตรยิ่งยากจน เพราะเราไม่ได้พัฒนาให้ถูกทิศถูกทาง นโยบายที่ว่าต้องเป็นเกษตร 4.0 คือใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรจึงถูกหยิบนกมาใช้…

บ้านเราเคยหลงใหลได้ปลื้มว่าขายข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่แค่หม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่ใช้กันทุกครัวเรือนมีสักแบรนด์สักยี่ห้อหรือไม่ที่เป็นของคนไทยแท้ๆ

อย่างที่เคยบอกในครั้งที่แล้วว่า Covid-19 ได้บังคับให้เกษตรกรทุกคนลุกขึ้นสู้จากที่เคยตั้งหน้าตั้งปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ต่อไปนี้ก็จะกลายมาเป็นผู้ประกอบการอย่างเต็มตัว ทุกคนสามารถทำมาค้าขายได้โดยตรง เลิกหวังคนกลางเพียงอย่างเดียว หันกลับมาสำรวจว่าสถานประกอบการของเราตัวของเรามีอะไรเป็นจุดเด่นหรือมีศักยภาพที่จะนำมาเป็นจุดขายได้บ้าง

“เกษตรก้าวไกล” เดินเข้าออกหลายสวน ชนิดที่ว่า “ลุยเกษตรสุดเขตไทย” ได้มีโอกาสพูดคุยกับพี่น้องเกษตรกรคนแล้วคนเล่า ถ้าเราไม่ร่วมมือกันนำความคิดที่ตกผลึกร่วมกันมาปฏิบัติก็ยากที่จะเป็นจริงได้ ณ สวนเสน่ห์พันธุ์ไม้ ที่มี “ลุงเล็ก-เสน่ห์ ลมสถิตย์” เป็น CEO (เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารที่มีภรรยาและลูกเป็นรองประธานและกรรมการผู้จัดการ) ได้ดำเนินกิจการปลูกมะม่วงและรวบรวมมะม่วงหลากสายพันธุ์จากทั่วโลก โดยเฉพาะมะม่วงพันธุ์ไต้หวันมากมายก่ายกองนัก รวมทั้งไม้ผลชนิดอื่นๆ มาอยู่ในสวนเดียวกัน เดิมนั้นก็ตั้งใจจะขายผลผลิต แต่ไปๆมาๆก็กลายเป็นว่ามีรายได้หลักจากการขายกิ่งพันธุ์ โดยตลาดหลักจะอยู่ที่สวนจตุจักรทุกวันพุธและพฤหัสบดี

เราเดินวนไปมาในสวนได้เห็นความหลากหลายในพันธุกรรมไม้ผล โดยเฉพาะมะม่วงที่มีสายพันธุ์จากทั่วโลกมากที่สุดแห่งหนึ่งของสวนที่เป็นเกษตรกร (ไม่นับศูนย์วิจัยของราชการ) ตรงนี้แหละน่าจะเป็นจุดเด่นของสวนที่น่าจะนำไปบอกต่อเพื่อให้ผู้สนใจเดินทางมาชมที่สวน “ทำอย่างไรให้ตลาดเกิดขึ้นที่สวนที่ฟาร์มหรือที่หน้าบ้านของเกษตรกร” มันทำให้คิดถึงประโยคนี้ของหลายๆคนที่พูดผ่านหูครั้งแล้วครั้งเล่าก็ปะทุขึ้นมาอีกครั้ง “สวนลุงเล็กเข้าตามหลักการนี้เลย เพราะว่าอยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง ถนนหน้าบ้านก็ขยายขึ้นใหม่ คงสะดวกแก่การเดินทาง ผลผลิตของสวนก็น่าจะเชิญชวนให้ผู้คนหลั่งไหลมาชิมได้ ยิ่งภูมิปัญญาเจ้าของสวนก็ไม่ต้องพูดถึง และเมื่อยิ่งได้สัมผัสลงลึกก็พบว่าเจ้าของสวนมีจิตใจแบ่งปันความรู้ไม่เป็นสองรองใคร ฉะนั้นแล้วจะชักช้าอยู่ใย ต้องจัดกิจกรรมขึ้นมาสักอย่างล่ะ ไม่งั้นความคิดก็ล่องลอยไปตามสายลมวันแล้ววันเล่า จะได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา…” คือความคิดที่ได้เริ่มก่อตัวขึ้นมา

จากความคิดดังกล่าวก็ถูกพัฒนามาตามลำดับ จนในที่สุดก็ลงตัวว่าเราจะจัดกิจกรรมเสวนากลางสวน Talk of The Farm เรื่อง การปลูกมะม่วงโลกบนดินแดนประเทศไทย ตอนบุฟเฟ่ต์มะม่วงนานาชาติ (International Mango Buffet, Thailand) โดยจะจัดกันกลางสวนเสน่ห์พันธุ์ไม้ ต.ขุนศรี อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี…ได้ถามลุงเล็กว่ามะม่วงที่สวนจะสุกช่วงไหน เดิมลุงเล็กบอกว่าน่าจะปลายเดือนเมษายน แต่ล่าสุด(29 มีนาคม 2564) บอกว่าน่าจะเป็นช่วงต้นเดือนไปถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2564 มะม่วงสายพันธุ์ต่างประเทศจะสุกช่วงนั้น คือจะช้ากว่ามะม่วงไทย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เลยว่าจะจัดกิจกรรมวันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม 2564 เวลา 13.30-17.30 น. หรือใครที่อยากต่อเวลาก็ให้แจ้งมาจะจัดสรรให้หนำใจ

รูปแบบของกิจกรรมที่จะจัดขึ้น นอกจากจะมีการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเจ้าของสวน ทั้งการทำความรู้จักสายพันธุ์มะม่วงจากทั่วโลก รวมทั้งการเรียนรู้เรื่องการปลูกและการขยายพันธุ์แล้ว เรามั่นใจว่าในวันนั้นจะมีแฟนพันธุ์ดีมะม่วงพันธ์แท้มาร่วมเสวนากันอย่างคึกคัก และอีกประการหนึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นนี้หวังที่จะกระตุ้นให้คนไทยหันมารับประทานมะม่วง ที่เวลานี้ทยอยออกมาจำนวนมาก ในขณะที่การส่งออกของเรายังไม่คล่องตัว ก็หวัวงคนไทยเรานั่นแหละที่จะช่วยกันให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้

มะม่วงสายพันธุ์ต่างประเทศที่จะได้รับประทานในวันนั้นจะมีไม่น้อยกว่า 10 สายพันธุ์ (ปกติหลายสิบสายพันธุ์ แต่ปัญหาคือจะสุกไม่พร้อมกัน) เพราะเหตุนี้จึงเป็นที่มาของงานบุฟเฟ่ต์มะม่วงนานาชาติ…แนวคิดนี้มาจากในบ่ายวันหนึ่งที่ผู้เขียนได้เห็นลุงเล็กดึงลิ้นชักบอกว่าเก็บมะม่วงไว้กินกันและซื้อข้าวเหนียวมะม่วงมาด้วย “มะม่วงของเกษตรกรไทยจะต้องออกจากลิ้นชักออกจากสวนไปสู่คนทั่วโลก” ความคิดที่จะจัดกิจกรรมนี้ก็โลดแล่นทันที

ขอเรียนว่ากิจกรรมในครั้งนี้ เราไม่ได้มุ่งหวังกำไรที่เป็นตัวเงิน ไม่ได้ยึดเรื่องรายได้เป็นตัวตั้ง แต่ยึดเรื่องของการสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆให้เกิดขึ้นในสวนของพี่น้องเกษตรกร และไม่เพียงความรู้เรื่องมะม่วงสายพันธุ์ต่างๆ แนวคิดเสริมของงานคราวนี้คือ “อร่อย ครึกครื้น ชื่นใจ” โดยในวันนั้นนอกจากจะได้ชิมมะม่วงที่อร่อย อันเป็นสายพันธุ์เด่นๆของประเทศต่างๆแล้ว เรายังจะมีข้าวเหนียวมูนจากร้านชื่อดังของจังหวัดนนทบุรี (ข้าวเหนียวคุณพะเยาว์ กฤษแก้ว ขายประจำที่หน้าธนาคารกสิกรไทย ถนนติวานนท์ 25 และโรงพยาบาลชลประทาน สอนอยู่ที่ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน) อีกทั้งยังจะได้ชื่นใจกับไอศกรีมมะม่วงชื่อดังจากปทุมธานี (มานะไอศกรีม ทำไอศกรีมส่งร้านอาหาร อีกทั้งสอนอยู่ที่ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน) มาร่วมสมทบจัดเสิร์ฟคู่กับความรู้ ตามความตั้งใจของลุงเล็กเจ้าของสวนนั้น บอกว่าไม่คิดสตางค์ แต่ในฐานะผู้จัด ต้องการให้ทุกคนได้มีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน จึงตั้งต้นเป็นค่าผ่านประตูเข้าสวนคนละ 200 บาท เพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าข้าวเหนียวมูนและไอศกรีม ซึ่งทั้งข้าวเหนียวมูนและไอศกรีมต่างก็บอกว่าอยากจะมีส่วนร่วม แต่ในฐานะผู้จัดคงจะฟรีไม่ได้ เพราะว่าเผื่อคราวหน้าคราวหลัง จะได้มีครั้งต่อไปอย่างยั่งยืนไม่ใช่จัดครั้งเดียว ขาดทุนกินเนื้อตัวเองก็เลิกกันไป

อนึ่ง ตามความตั้งใจของผู้จัดก่อนถึงวันงานเราจะมีการประกวดคลิปเชิญชวนคนไทยกินมะม่วง และวันงานเราตั้งใจจะเชิญ youtuber และ creator มาร่วมรีวิวกินมะม่วงที่สวนของเกษตรกรไทย(นอกเหนือจากทุกท่านที่สามารถรีวิวตามหน้าสื่อของตนเอง) และชมสวนมะม่วงในประเทศไทย ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานงานและจะแจ้งอีกครั้งว่าเป็นไปได้แค่ไหน สิ่งที่เป็นไปได้ตอนนี้ก็คือขอให้คนไทยทุกคนที่มีหัวใจเกษตรรีบติดต่อจองบัตรผ่านประตูได้ที่โทรไลน์ 0863266490 หรือ 0897877373 พอถึงเวลาก็จูงมือบุตรฉุดมือหลานเดินทางไปที่สวนของเกษตรกร ภายใต้แนวคิด “ต่างคนต่างไปหัวใจเดียวกัน” ขอย้ำว่ากิจกรรมครั้งนี้เราจัดขึ้นเพื่อคนไทยผู้มีส่วนได้เสียทุกคน…เกษตรคือประเทศไทย เกษตรกรอยู่รอดประเทศไทยอยู่ได้ ทำอย่างไรให้ถนนทุกสายมุ่งสู่เกษตรกรไทย All Roads To Farmers เราต้องสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้เกิดขึ้นบนผืนดินของเกษตรกรไทยที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้

หมายเหตุ ภาพมะม่วงส่วนหนึ่งนำมาจากเฟสบุ๊ค “ลุงเล็ก สวนเสน่ห์พันธุ์ไม้” และภาพแรกที่เป็นข้าวเหนียวมะม่วง (คัดมาบางส่วน) ต้นฉบับมาจากเว็บไซต์มติชนออนไลน์ จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

คณะนักวิจัยไทยและต่างประเทศ ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย ดร.รัมภ์รดา มีบุญญา ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ Prof. Henrik Balslev มหาวิทยาลัยออร์ฮุส ประเทศเดนมาร์ก (Aarhus University, Denmark) ได้ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในเอเซีย Dolichos kongkandae R. Meeboonya, Ngerns. & Balslev ชื่อภาษาไทยว่า “ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าขุนห้วยแม่กอก (เด่นหญ้าขัด) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ทางอนุกรมวิธานพืชให้โครงการพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย (Flora of Thailand Project)

รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยถึงการค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในเอเซียว่า “ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของ ดร.รัมภ์รดา มีบุญญา ผู้ได้รับทุนการศึกษาจากโครงการพัฒนากําลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งตนเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และ ได้ทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KURDI) รหัสโครงการ 3.1-61.61 และ The Carlsberg Foundation ประเทศเดนมาร์ก

“ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” อยู่ในวงศ์ถั่ว วงศ์ย่อยประดู่ (Leguminosae, Papilionoideae) เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นพันเลื้อย หูใบรูปไข่หรือรูปรีกว้าง ติดทน ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยใบปลายรูปไข่ รูปใบหอก หรือรูปไข่กว้าง กว้าง 1.5-4.5 ซม. ยาว 3.5-8 ซม. ปลายแหลมและมีติ่งแหลม โคนมน ขอบเรียบ ใบย่อยคู่ข้างรูปไข่หรือรูปใบหอก ไม่สมมาตร ปลายแหลมและมีติ่งแหลม โคนมนกลม มน หรือกึ่งรูปหัวใจ ขอบเรียบ ช่อดอกคล้ายช่อกระจะ ดอกรูปดอกถั่ว สีม่วงเข้ม เมื่อแห้งสีม่วงแกมสีดำ กลีบดอกมีก้านกลีบ กลีบกลางรูปเกือบกลม ปลายเว้าตื้น มีรยางค์ 2 รยางค์อยู่บริเวณกลางกลีบ กลีบคู่ข้างรูปไข่กลับ ปลายเว้าตื้น มีรยางค์ 1 รยางค์อยู่บริเวณใกล้โคนกลีบ กลีบคู่ล่างรูปขอบขนาน ปลายตัด เกสรเพศผู้ 10 เกสร เชื่อมติดสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งมี 9 เกสร อีกกลุ่มหนึ่งมี 1 เกสร รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปแถบ สีเขียวอ่อน มีขน ก้านยอดเกสรเพศเมียแบน ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม มีขนยาว ผลแบบผลแห้งแตกสองแนว เป็นฝัก แบน รูปขอบขนาน กว้าง 6-8 มม. ยาว 5-7.5 ซม. เมล็ดแบน รูปรีหรือรูปขอบขนาน

“ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” มักระบุชนิดผิดเป็น “ถั่วเพรียว” Dolichos tenuicaulis (Baker) Craib เนื่องจากมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์หลายอย่างคล้ายกัน โดยเฉพาะเมื่อเป็นตัวอย่างพรรณไม้แห้ง จากการศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเทียบเคียงกับตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ (type specimens) อย่างละเอียดแล้วพบว่า “ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” มีลักษณะเด่นคือ ลำต้นและใบมีขนหนาแน่น หูใบรูปไข่หรือรูปรีกว้าง กลีบดอกสีม่วงเข้ม เมื่อแห้งสีม่วงแกมสีดำ ซึ่งแตกต่างจาก “ถั่วเพรียว” ที่ลำต้นและใบมีขนประปราย หูใบรูปใบหอก รูปรี หรือรูปคล้ายสามเหลี่ยม สีดอกสีชมพูแกมสีม่วงหรือสีชมพูอ่อน เมื่อแห้งสีเหลือง นอกจากนี้พืชทั้ง 2 ชนิดยังมีความยาวช่อดอก ก้านผลย่อย ขนาดของหูใบ หูใบย่อย ใบประดับ กลีบกลาง กลีบคู่ข้าง และกลีบคู่ล่างแตกต่างกันด้วย

นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย ยังกล่าวอีกว่า คำระบุชนิด “kongkandae” และชื่อไทย “ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” นั้น ตั้งเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ ดร.ก่องกานดา ชยามฤต ผู้เชี่ยวชาญทางพฤกษศาสตร์ ผู้มีคุณูปการต่องานทางพฤกษศาสตร์ไทย อีกทั้งยังเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของ รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย และเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของ ดร.รัมภ์รดา มีบุญญา“ แหล่งที่พบ ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” คือบริเวณพื้นที่เปิดโล่งหรือเขาหินปูนในป่าดิบเขาและป่าเบญจพรรณ ที่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 550-2,150 ม. นอกจากพบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาวแล้ว ยังพบได้ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในต่างประเทศพบที่ภูฏาน อินเดีย เมียนมา จีน และลาว ออกดอกและเป็นผลเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม

ผลงานการค้นพบพืชชนิดใหม่ ของโลก นับเป็นงานวิจัยพื้นฐานที่มีคุณค่าทางวิชาการ เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและการวิจัยที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ทางอนุกรมวิธานพืชให้โครงการพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย (Flora of Thailand Project) ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก มาแล้วจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ช้างงาเอก (Garcinia nuntasaenii Ngerns. & Suddee) วงศ์ Clusiaceae (Guttiferae) เอื้องเทียนปากสีน้ำตาล (Coelogyne phuhinrongklaensis Ngerns. & Tippayasri) วงศ์ Orchidaceae ทังใบขนภูวัว (Litsea phuwuaensis Ngerns.) วงศ์ Lauraceae และล่าสุด คือ “ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” Dolichos kongkandae R. Meeboonya, Ngerns. & Balslev อยู่ในวงศ์ถั่ว วงศ์ย่อยประดู่ (Leguminosae, Papilionoideae)

“ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” Dolichos kongkandae R. Meeboonya, Ngerns. & Balslev ตีพิมพ์
ในวารสาร เว็บบอลออนไลน์ PhytoKeys 175: 55–65. เรื่อง Dolichos kongkandae sp. nov. and lectotypification of
D. fragrans (Leguminosae, Papilionoideae) from Asia ตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ เก็บโดย รัมภ์รดา มีบุญญา และ พีรนันท์ ยอดบ่อพลับ (R. Meeboonya & P. Yodboplub 406) ที่บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าขุนห้วยแม่กอก (เด่นหญ้าขัด) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560

โดยเจียไต๋ในฐานะผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทย

มีความเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีการเกษตร มีองค์ความรู้ด้านการเพาะปลูกพืชผักอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถถ่ายทอดให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบได้ริเริ่มปลูกพืชผักในพื้นที่ของตนเอง ไม่ว่าจะในพื้นที่เล็กๆ หรือในแปลงที่มีพื้นที่ใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยลดรายจ่ายด้านอาหารและสามารถสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง แม้กระทั่งสามารถพัฒนาเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงในระยะยาว

ซึ่งโครงการความร่วมมือในครั้งนี้ก็สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเจียไต๋ที่มุ่งมั่นในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งมอบนวัตกรรมการเกษตรด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ ซึ่งด้วยหลักสูตรนี้ เราหวังว่าองค์ความรู้ด้านการเกษตร ตลอดจนเทคนิคการเพาะปลูกของเจียไต๋จะช่วยเปิดโอกาสให้ผู้ที่เดือดร้อนสามารถข้ามผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกันได้

เป็นประสบการณ์เรียนรู้รูปแบบใหม่ของเกษตรกรไทย
นายณัฐพล วัชรศิริสุข ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คอร์สสแควร์ จำกัด กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า คอร์สสแควร์ ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นการเรียนออนไลน์ (Online Learning Solutions) ได้พัฒนาระบบซึ่งจะมาช่วยตอบโจทย์การเรียนรู้ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 โดยเกษตรกรสามารถเข้าถึงหลักสูตรต่าง ๆ ผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดจนเกษตรกรสามารถทำแบบทดสอบออนไลน์เพื่อวัดความเข้าใจหลังจบหลักสูตรได้ ซึ่งถือเป็นประสบการณ์การเรียนรู้รูปแบบใหม่ของเกษตรกรไทย

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถค้นหาหลักสูตรและลงทะเบียนสมัครฝึกอบรมได้ที่เว็บไซต์ www.coursesquare.co/kubota_csr เมื่อลงทะเบียนแล้วสามารถเลือกเรียนหลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม และประเมินผลการเรียนผ่านระบบออนไลน์ในท้ายบทเรียน ผู้ผ่านการประเมินในระดับคะแนน 80 % ขึ้นไปจะได้รับวุฒิบัตรรับรอง โดยสามารถพิมพ์วุฒิบัตรผ่านระบบออนไลน์ได้ด้วยตนเอง

เปิดลงทะเบียนพร้อมกันทั่วประเทศ
อนึ่ง หลักสูตรนักขับเครื่องจักรกลการเกษตร จะมีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ประกอบด้วย 1.โปรแกรมนักขับเบื้องต้น (ภาคทฤษฎีออนไลน์ เริ่มลงทะเบียนเรียน 20 มีนาคม 2564 สิ้นสุดการเรียน 30 เมษายน 2564 2.โปรแกรมนักขับมืออาชีพ (ภาคปฏิบัติ) ต้องเข้าเรียนและสอบผ่านโปรแกรมนักขับเบื้องต้น (ภาคทฤษฎีออนไลน์) แล้วเท่านั้น โดยสามารถจองลงทะเบียนไม่เกินวันที่ 25 เมษายน 2564 เพื่อนัดหมายสถานที่สอบภาคปฏิบัติ ระหว่างวันที่ 1 – 31 พฤษภาคม 2564 ณ 20 ร้านค้าผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้าที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเชียงราย จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดลพบุรี จังหวัดสุโขทัย จังหวัดลำปาง จังหวัดเลย จังหวัดสกลนคร จังหวัดพัทลุง จังหวัดราชบุรี จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดพิจิตร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดแพร่ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสงขลา และจังหวัดกรุงเทพมหานคร

ส่วน หลักสูตรเกษตรมือใหม่ (ภาคทฤษฎีออนไลน์) ลงทะเบียนเรียนได้ตั้งแต่ วันที่ 1 – 30 เมษายน 2564 เริ่มเรียน 1 เมษายน 2564 สิ้นสุดการเรียน 30 เมษายน 2564

เกษตรอำเภอลำทับ จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ ปี 2564 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศูนย์เครือข่าย) กลุ่มผลิตกาแฟขี้ชะมด หมู่ที่ 3 ต.ดินแดง อ.ลำทับ จ.กระบี่

วันที่ 18 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. นายธนากร ชูจิตต์ นายอำเภอลำทับ เป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2564 มี นายอนุชา ยาอีด เกษตรจังหวัดกระบี่ พบปะพี่น้องเกษตรกรที่มาร่วมงาน และ นางสาวจันทร์ฉาย เพ็ญเขตวิทย์ เกษตรอำเภอลำทับ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศูนย์เครือข่าย) หมู่ที่ 3 ตำบลดินแดง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่

นายธนากร ชูจิตต์ นายอำเภอลำทับ กล่าวว่า การจัดงานในวันนี้เป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรเกิดความตระหนักในการทำการเกษตร ซึ่งต้องมีการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลในการผลิตทางการเกษตร นำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพผลผลิตและเชื่อมโยงตลาด มีการพัฒนาให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยใช้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเป็นแหล่งเรียนรู้ของอำเภอ ดังนั้น การเริ่มต้นปีการเพาะปลูกใหม่ ถ้าเกษตรกรนำองค์ความรู้ที่เหมาะสม ในแต่ละพื้นที่ไปประยุกต์ใช้ในไร่นาและสวนของตนเองได้ จะทำให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญ หากมีการขยายผลหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกษตรกรได้เข้าถึงและนำไปใช้ ก็จะทำให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงสังคมก็จะมีแต่ความสุข

นางสาวจันทร์ฉาย เพ็ญเขตวิทย์ เกษตรอำเภอลำทับ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการการเกษตรเพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2564 ในวันนี้ สืบเนื่องมาจากภาคการเกษตรของไทยได้เข้าสู่ฤดูการผลิตใหม่แล้ว ซึ่งโดยทั่วไปถือว่าวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันเริ่มต้นปีเพาะปลูก ดังนั้นเพื่อให้การผลิตมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องมีการใช้องค์ความรู้ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยมีองค์ประกอบของศูนย์ ได้แก่ เกษตรกรต้นแบบ แปลงเรียนรู้ หลักสูตรการเรียนรู้ และฐานการเรียนรู้

อำเภอลำทับได้คัดเลือกพื้นที่ของนายพิศิษฎ์ เป็ดทอง หมู่ที่ 3 ตำบลดินแดง เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเครือข่าย กลุ่มผลิตกาแฟขี้ชะมด มีเป้าหมายในการพัฒนาเรื่องกาแฟ รวมถึงการทำการเกษตรโดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต

สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ มีดังนี้
1. เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรเริ่มต้นการผลิตในปีการเพาะปลูกใหม่โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่
2. หน่วยงานต่างๆ มีการให้บริการด้านการเกษตรตามภารกิจเพื่อสนับสนุนเกษตรกรเริ่มต้นการผลิตในปีการเพาะปลูกใหม่
3. เพื่อเผยแพร่ให้เกษตรกรรู้จักและใช้ประโยชน์จากศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่มีอยู่ในพื้นที่

กิจกรรมภายในงาน จัดให้มีสถานีเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งแต่ละสถานี จะมีเนื้อหาที่สอดคล้องกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายของการจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ โดยมีจำนวน 5 สถานีเรียนรู้ ดังนี้

สถานีที่ 1 บริการด้านวิชาการ
สถานีที่ 2 การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตกาแฟ
สถานีที่ 3 การจัดการและตกแต่งสวนกาแฟ
สถานีที่ 4 การปลูกไม้เศรษฐกิจในสวนกาแฟ
สถานีที่ 5 การเลี้ยงชะมด

นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงองค์ความรู้ กิจกรรมทางการเกษตร และการให้บริการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กลุ่ม/สถาบันเกษตรกร ภาคเอกชน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในการถ่ายทอดความรู้

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้มีเกษตรกรในพื้นที่อำเภอลำทับ และพื้นที่ใกล้เคียงมาร่วมงานไม่น้อยกว่า 120 คน ซึ่งเกษตรกรจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพการเกษตรในพื้นที่ของตนเอง โดยยึดหลักพอเพียง ความพอดีกับศักยภาพของตนเอง บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง รวมทั้งมีความเอื้ออาทรต่อคนอื่นๆ ในสังคมเป็นประการสำคัญ

กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ยกทัพมะม่วงคุณภาพดีให้คนกรุงได้ลิ้มลองในงาน “Mango of SIAM ที่สุดแห่งมะม่วงไทย ถูกใจทั่วโลก” ระหว่างวันที่ 2 – 6 เม.ย. 2564 นี้ ณ ห้างสรรพสินค้า ICONSIAM พร้อมรณรงค์แคมเปญ “ซื้อสินค้าเกษตรไทย เกษตรกรอยู่ได้ ประเทศไทยอยู่รอด” อุดหนุนชาวสวนผลไม้

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้นโยบายเกี่ยวกับการประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนถึงความร่วมมือและความเป็นไปได้ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ได้แก่ ICONSIAM, Central Pattana, The Mall, Tops Market, Makro, Lotus, Big C เพื่อวางแผนภาพรวมทั้งปีในการเปิดพื้นที่ให้เกษตรกรนำสินค้าเกษตรเข้าไปจำหน่ายตามฤดูกาล ภายใต้ความร่วมมือการบริหารจัดการผลไม้

ปี 2564 และช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 สำหรับในช่วงระยะเวลานี้สิ่งที่จำเป็นต้องเร่งทำเป็นกรณีพิเศษคือเรื่องผลไม้ ซึ่งผลไม้เขตร้อนเริ่มออกสู่ตลาดแล้วและจะออกสู่ตลาดมากขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมถัดจากนี้ไป ผลไม้ไทยถือว่ามีคุณภาพมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่งทางด้านการตลาดต้องดำเนินการทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องดำเนินการช่วยระบายผลไม้ทั้งในส่วนตลาดออฟไลน์และตลาดออนไลน์ควบคู่กันไปด้วยเพื่อไม่ให้ผลผลิตกระจุกตัว โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศขณะนี้ประสบปัญหาเรื่องการส่งออกผลไม้ในภาพรวมยังทำได้ไม่ 100% จึงต้องหันมาส่งเสริมด้านการตลาดในประเทศเพื่อช่วยชาวสวนเพิ่มให้มากขึ้น

กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับ ICONSIAM ได้กำหนดจัดงาน “Mango of SIAM ที่สุดแห่งมะม่วงไทย ถูกใจทั่วโลก” ระหว่างวันที่ 2 – 6 เมษายน 2564 ณ บริเวณชั้น G ห้างสรรพสินค้า ICONSIAM โดยเชิญ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน วัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้เพื่อช่วยชาวสวนผลไม้กระจายผลผลิต โดยเฉพาะระยะนี้เป็นเทศกาลของมะม่วงซึ่งมีผลผลิตจากหลายพื้นที่ทยอยออกสู่ตลาด กรมฯ จึงร่วมกับสมาคมชาวสวนมะม่วงไทยคัดสรรผลผลิตและผลิตภัณฑ์มะม่วงคุณภาพดีที่ได้รับการรับรองมาตรฐานมาร่วมออกบูธจำหน่าย รวม 25 บูธ ประกอบด้วย สินค้ามะม่วงจากสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย 8 บูธ

ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา (ผลสดและผลิตภัณฑ์), จ.พิจิตร (ผลสด ผลิตภัณฑ์ และกิ่งพันธุ์), จ.พิษณุโลก (ผลสดและกิ่งพันธุ์), จ.เพชรบูรณ์ (ผลสด), จ.ราชบุรี (ผลสด), จ.นครราชสีมา (ผลสด), จ.สระแก้ว (ผลสด GI) สินค้าเกษตรจากตลาดเกษตรกร 5 บูธ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงมหาชนก จ.เชียงใหม่, มะม่วงดองแช่อิ่ม จ.ชลบุรี, มะม่วงน้ำปลาหวานต้นหอม จ.สมุทรปราการ, มะม่วงพันธุ์ต่างประเทศ อบแห้ง จ.ลำพูน, มะม่วงน้ำปลาหวานมะดัน มะดันแช่อิ่ม จ.นครนายก สินค้าเกษตรจากกลุ่มแปลงใหญ่ 6 บูธ

ได้แก่ แปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม จ.สมุทรสาคร, แปลงใหญ่ส้มโอ ลิ้นจี่ จ.สมุทรสงคราม, แปลงใหญ่ทุเรียน มังคุด จ.จันทบุรี, แปลงใหญ่อะโวคาโด จ.ตาก, แปลงใหญ่สับปะรด (พันธุ์ใหม่) จ.ระยอง, แปลงใหญ่ขนุน จ.ชลบุรี และสินค้าเบ็ดเตล็ดที่เกี่ยวกับมะม่วงและการบริการต่าง ๆ จำนวน 5 บูธ ได้แก่ อุปกรณ์ทางการเกษตร ปุ๋ย สารชีวภัณฑ์ ฮอร์โมน ที่เหมาะสมสำหรับชุมชนเมือง รวมทั้งการให้บริการขนส่ง เช่น ไปรษณีย์ไทย, Kerry เป็นต้น

กิจกรรมภายในงาน นอกจากจะมีการออกร้านจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ยังได้จัดแสดงนิทรรศการประกอบเพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าชมงาน เช่น เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงคุณภาพดี ตั้งแต่การปลูก การดูแลรักษามะม่วง ศัตรูสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง การพัฒนาคุณภาพมะม่วงส่งออก/ดัชนีการเก็บเกี่ยวมะม่วง การแสดงความหลากหลายทางสายพันธุ์มะม่วง และมะม่วงที่ได้รับการรับรองเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สำหรับมะม่วงที่นำมาจัดแสดงครั้งนี้จำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 มะม่วงไทยพันธุ์การค้า จำนวน 16 พันธุ์ ได้แก่ น้ำดอกไม้เบอร์สี่ น้ำดอกไม้สีทอง เขียวเสวย ฟ้าลั่น โชคอนันต์ มหาชนก อกร่อง (อกร่องทอง อกร่องเขียว อกร่องพิกุลทอง) แรด ขายตึก เพชรบ้านลาด มันเดือนเก้า มันขุนศรี มะม่วงเบา น้ำดอกไม้มัน แก้ว หนังกลางวัน กลุ่มที่ 2 มะม่วงไทยพันธุ์หายาก/โบราณ จำนวน 10 พันธุ์

ได้แก่ ยายกล่ำ สายฝน เจ้าคุณทิพย์ พิมเสนมัน พิมเสนเปรี้ยว งาช้างแดง นาทับ สาวน้อยกระทืบหอ ลิ้นงูเห่า แก้วลืมรัง กลุ่มที่ 3 มะม่วงพันธุ์ต่างประเทศ/ลูกผสม จำนวน 6 พันธุ์ ได้แก่ อ้ายเหวิน อี้เหวิน จินหวง อาร์ทูอีทู แดงจักรพรรดิ แก้วขมิ้น กลุ่มที่ 4 มะม่วงที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ยายกล่ำนนทบุรี น้ำดอกไม้สระแก้ว น้ำดอกไม้ฉะเชิงเทรา และการซื้อขายสินค้าเกษตรผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมบนเวที เช่น การแข่งขันแกะสลักผลไม้

ตำผลไม้ลีลา เชฟชื่อดังมาร่วมโชว์ปรุงเมนูมะม่วงเลิศรส การถาม-ตอบความรู้มะม่วง สาธิตต่าง ๆ กิจกรรมนาทีทอง ลุ้นโชควงล้อมะม่วงมหาสนุก เป็นต้น จึงขอเชิญชวนผู้บริโภคทั้งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง ร่วมอุดหนุนสินค้าเกษตรไทยช่วยสนับสนุนชาวสวนผลไม้ภายใต้ Campaign “ซื้อสินค้าเกษตรไทย เกษตรกรอยู่ได้ ประเทศไทยอยู่รอด” พร้อมชมบรรยากาศดี ๆ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศได้ที่ห้างสรรพสินค้า ICONSIAM

ถือเป็นการประกาศวิสัยทัศน์ครั้งแรกของ “ธนารัตน์ งามวลัยรัตน์” ผู้จัดการธ.ก.ส.คนใหม่ หลังเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 1 มีนาคม 2564 มุ่งสร้างตาข่ายความปลอดภัยทางสังคม “Social Safety Net” หนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการรุ่นใหม่เข้ามาเสริมความเข้มแข็งและการเติบโตในภาคชนบท พร้อมดูแลด้านภาระหนี้สินเกษตรกร ผ่านกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ เร่งเติมเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย

ระหว่างวันที่ 20-21 มีนาคม 2564 นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้นำคณะผู้บริหารและพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมคณะสื่อมวลชน เดินทางไปยังจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีธ.ก.ส.ในพื้นที่มาสมทบรวมเบ็ดเสร็จเกือบ 100 ชีวิต

ทันทีที่ไปถึงนครศรีธรรมราช “เมืองพระ” ก็เดินทางไปที่วัดเจดีย์ไอ้ไข่เพื่อทำบุญร่วมกันเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย ซึ่งที่วัดแห่งนี้ได้สร้างความเลื่อมใสศรัทธาให้ผู้คนเดินทางมาสักการะบูชา จนทำให้เศรษฐกิจชุมชนคึกคักเป็นอย่างมาก (ชมคลิป LIVE สดได้ที่ https://fb.watch/4nMUutFMhq/)

จากนั้นในช่วงบ่ายได้เดินทางไปที่ ขนอม คาบานา บีช รีสอร์ต อันเป็นสถานที่แถลงข่าวแนวทางการขับเคลื่อนองค์กรประจำปีบัญชี 2564 นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธ.ก.ส.เปิดเผยถึงนโยบายการขับเคลื่อน ธ.ก.ส. ในฐานะผู้นำองค์กรว่า ยังคงมุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ที่ธนาคารวางไว้คือเป็น “ธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน มุ่งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท” แต่จะปรับวิธีหรือกระบวนการทำงาน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการดูแลเกษตรกรลูกค้าให้สามารถยืนอยู่ได้

“เกษตรกรอยู่ได้ ธ.ก.ส.อยู่ได้” อย่างมั่นคง ยั่งยืน ผ่านมาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ (New Gen /Smart Farmer / Entrepreneur)) ที่มีทักษะความรู้ ความสามารถด้านเทคโนโลยี การบริหารจัดการด้านการตลาด ให้เข้ามาต่อยอดในการเพิ่มมูลค่าผลผลิต และสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน ขณะเดียวกันต้องเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรที่มีภาระหนักด้านหนี้สิน โดยกำหนดให้พนักงานสาขาเข้าไปพบลูกค้าทุกรายเพื่อตรวจสุขภาพหนี้และประเมินศักยภาพ (Loan Review) หากพบว่าลูกค้ายังมีศักยภาพ จะแนะนำให้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น หรือชำระหนี้ให้สอดคล้องกับที่มาของรายได้ กรณีลูกค้าไม่มีศักยภาพ จะปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Loan Management) ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูอาชีพให้กับลูกค้า เพื่อสร้างที่มาแห่งรายได้หรือเพิ่มเติมทุนใหม่ต่อไป

ด้านการขับเคลื่อนงานพัฒนาชนบท จะมุ่งสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน (Community Engagement) ให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ เน้นดูแลรักษาสุขภาพในครัวเรือนและชุมชน การรวมกลุ่มวิเคราะห์ปัญหา สร้างทางเลือกและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด มีการจัดการด้านการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การดำรงรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน โดยเน้นความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค การเพิ่มมูลค่าผลผลิต และการบริหารจัดการทางการตลาด เช่น การเชื่อมโยงตลาด Social Commerce การส่งเสริมระบบการตรวจสอบย้อนกลับในสินค้าเกษตรอินทรีย์

ตลอดห่วงโซ่คุณค่าบนระบบ Blockchain การพัฒนาสินค้าเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน การส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร และส่งเสริมกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกให้กับชุมชนธนาคารต้นไม้ของ ธ.ก.ส. รวมถึงสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่เข้าไปสร้างองค์ความรู้ เพื่อต่อยอดผลผลิต สร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการที่ดำเนินการถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างตาข่ายความปลอดภัยทางสังคม (Social Safety Net) ที่จะเข้าไปดูแลและสร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกรและชุมชนมีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างมีคุณภาพ

อีกเรื่องหนึ่งที่ได้เน้นย้ำคือสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินงานของธนาคาร (Digital Workplace) การนำ Fin Tech มาใช้ผ่าน Digital Banking เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ทันสมัย รวดเร็ว สะดวกสบาย ช่วยลดต้นทุนและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เช่น การรับชำระเงินด้วย QR Code ผ่าน Alipay ผ่านแอปพลิเคชั่นร้านน้องหอมจัง ซึ่งเป็นการเชื่อมระบบการชำระเงินกับต่างประเทศ ช่วยอำนวยความสะดวกในการชำระเงินให้กับลูกค้า โครงการ ATM White Label

ระบบเอทีเอ็มกลางที่รับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของทุกธนาคาร ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวกและไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้บริการตู้เอทีเอ็มระหว่างธนาคารหรือข้ามเขต การสร้างเครือข่ายทางการเงิน (Banking Agent) ร่วมกับเคาน์เตอร์เซอร์วิส ไปรษณีย์ไทย ตู้บุญเติมและตู้เติมสบาย เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกในการทำธุรกรรมกับ ธ.ก.ส. มากยิ่งขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการข้อมูล (Data Governance) เพื่อรองรับการดำเนินงานและสร้างโอกาสการแข่งขัน การเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการอื่น (open API) และที่สำคัญคือการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ โดยปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการและให้บริการ พร้อมทั้งลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน

นายธนารัตน์ กล่าวอีกว่า ในช่วงปี 2563 ถึงปัจจุบัน ประเทศไทยและทั่วโลกประสบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ การดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ซึ่งในส่วนของ ธ.ก.ส. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือประคับประคองให้ลูกค้าก้าวข้ามวิกฤตไปด้วยกัน เช่น การพักหนี้ทั้งระบบ จำนวน 3.25 ล้านราย ต้นเงินประมาณ 1.07 ล้านล้านบาท

การเติมวงเงินสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และเสริมสภาพคล่อง ซึ่งช่วยบรรเทาความเดือดร้อน กระตุ้นการใช้จ่าย การลงทุน ทำให้ระบบเศรษฐกิจเกิดการหมุนเวียน เช่น เงินกู้ฉุกเฉิน ที่ไม่ต้องใช้หลักประกันวงเงิน 20,000 ล้านบาท สินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิด สินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ สินเชื่อเพื่อฤดูการผลิตใหม่ วงเงินรวม 170,000 ล้านบาท จัดทำโครงการชำระดีมีคืนและโครงการลดภาระ ซึ่งทั้ง 2 โครงการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องดอกเบี้ย โดยสามารถคืนเงินเข้าสู่กระเป๋าเกษตรกร กว่า 1.6 ล้านราย วงเงินกว่า 3,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการส่งมอบเงินและความช่วยเหลือไปยังเกษตรกรและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 เช่น การจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร 5,000 บาทเป็นระยะเวลา 3 เดือน ผู้พิทักษ์สิทธิ์ เราไม่ทิ้งกัน การจ่ายเงินตามโครงการประกันรายได้ 5 พืชเศรษฐกิจหลัก เป็นต้น

จากสถานการณ์ข้างต้น ส่งต่อผลการดำเนินงานในปีบัญชี 2563 ของ ธ.ก.ส. ซึ่งจะครบปีในวันที่ 31 มีนาคม 2564 ซึ่งข้อมูลคาดการณ์เบื้องต้น ธ.ก.ส. จะมีสินทรัพย์จำนวน 2,039,144 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 4.10 เงินให้สินเชื่อจำนวน 1,572,376 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.90 หนี้สินจำนวน 1,892,612 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.94 เงินรับฝาก 1,730,272 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 3.41 ส่วนของเจ้าของ 146,532 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.19 โดยมีรายได้จำนวน 103,171 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายจำนวน 95,987 ล้านบาท กำไรสุทธิจำนวน 7,184 ล้านบาท อัตราส่วน ROA ร้อยละ 0.36 NIM ร้อยละ 3.09 Cost to income 32.25 BIS ratio 11.99 และ NPLs/Loan ratio 3.57 ทั้งนี้ ในปีบัญชี 2564 (1 เมษายน 2564 – 31 มีนาคม 2565) วางเป้าหมายสินเชื่อเติบโตเพิ่มขึ้น 69,000 ล้านบาท เงินฝากเติบโตเพิ่มขึ้น 25,000 ล้านบาท

“ตลอดระยะเวลา 55 ปี ธ.ก.ส. ยังคงมุ่งมั่นสร้าง Better Life คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชนบท Better Community ชุมชนที่ดีและเข้มแข็งขึ้น และ Better Pride สร้างความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมให้มากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างรากฐานที่เข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ” ผู้จัดการธ.ก.ส. กล่าว และย้ำว่าสิ่งที่ได้ดำเนินนั้นได้ทำมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว เพียงแต่จะมุ่งมั่นให้สัมฤทธิ์ผลมากขึ้น “เกษตรกรอยู่ได้ ธ.ก.ส.อยู่ได้” คือประโยคที่ผู้จัดการคนใหม่กล่าวหลายครั้ง

ในวันรุ่งขึ้น นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธ.ก.ส. และคณะ เดินทางไปที่วิสาหกิจชุมกลุ่มผู้เลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า ที่มี นางจารึก เพ็ชรด้วง เป็นประธานกลุ่ม ทันทีที่ไปถึงก็ได้กล่าวทักทายกับเกษตรกรที่มาต้อนรับและถ่ายรูปร่วมกันที่ป้ายวิสาหกิจ จากนั้นเดินเข้าไปในบริเวณที่ทำการวิสาหกิจ ซึ่งวันนี้ได้มีกลุ่มเกษตรกรที่ธ.ก.ส.ให้การสนับสนุนมาตั้งบูธแสดงผลิตภัณฑ์กันอย่างคึกคัก อาทิ กลุ่มทุเรียนนอกฤดู ผู้ประกอบการน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น กลุ่มผ้ามัดย้อม กลุ่มยาย้อมผมจากสารสกัดธรรมชาติ กลุ่มสวนสละและแปรรูปสระ กลุ่มนวัตกรรมการจัดการและควบคุมน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร ฯลฯ โดยผู้จัดการธ.ก.ส.ได้เดินพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มเกษตรกรอย่างมุ่งมั่นและคำถามที่เน้นย้ำในทุกกลุ่มเกษตรกรคือเรื่องของการตลาดและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ โดยในส่วนนี้ทาง.ก.ส.จะเข้ามามีส่วนร่วมกับกลุ่มเกษตรกรและชุมชนเพื่อบรรลุเป้าหมายความสำเร็จร่วมกัน (รายละเอียดการเยี่ยมชมกลุ่มเกษตรกรสามารถชมเพิ่มเติมจากการ LIVE

ในช่วงบ่ายได้เดินทางไปที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ทำพิธีแห่ผ้าขึ้นห่มโอบรอบฐานพระมหาธาตุที่ประดิษฐานภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ถือเป็นการทำบุญร่วมกันและสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานเริ่มต้นปีบัญชีใหม่เพื่อขับเคลื่อนตามนโยบายที่วางไว้ให้ประสบความสำเร็จต่อไป

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 1 ปี 2564 (มกราคม – มีนาคม 2564) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยปัจจัยสำคัญมาจากฝนที่ตกสะสมเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำและในแหล่งน้ำธรรมชาติมีมากขึ้น เกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูกได้เพิ่ม ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิต นอกจากนี้ การดำเนินนโยบายของภาครัฐ อาทิ การขยายช่องทางการตลาดทั้งตลาดออนไลน์และออฟไลน์ การประกันรายได้ รวมถึงมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่น การส่งเสริมอาชีพเกษตร และการพักชำระหนี้ ทำให้เกษตรกรสามารถทำการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อพิจารณาในแต่ละสาขา พบว่า

สาขาพืช ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 พืชสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น คือ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และ อ้อยโรงงาน เนื่องจากปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของพืช รวมถึงสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ประกอบกับเกษตรกรมีการจัดการดูแลรักษาที่เหมาะสม ขณะที่ มันสำปะหลัง และ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น สับปะรดโรงงาน ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาสับปะรดโรงงานในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจ ให้เกษตรกรมีการบำรุงรักษาต้นสับปะรดดีขึ้น ยางพารา ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นยางพาราที่กรีดได้ส่วนใหญ่

อยู่ในช่วงอายุที่ให้ผลผลิตสูง ประกอบกับปริมาณน้ำฝนมีเพียงพอ ทำให้ต้นยางสมบูรณ์ดี ลำไย ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นลำไยที่ปลูกในปี 2560 เริ่มให้ผลผลิตในปีนี้ ประกอบกับสภาพอากาศเหมาะสม มีปริมาณน้ำเพียงพอ และ ทุเรียน ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรมีการบำรุงและดูแลรักษา และมีการทำทุเรียนนอกฤดูมากขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ทำให้มีการติดดอกออกผลได้มากขึ้น รวมถึงพื้นที่ปลูกใหม่ ในปี 2559 เริ่มให้ผลผลิตได้ในปี 2564 เป็นปีแรก ด้านพืชที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งและภาวะฝนทิ้งช่วงในปี 2562 ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของต้น ทำให้มีการติดผลปาล์มน้อย และทะลายปาล์มน้ำหนักน้อย ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่จึงลดลง

สาขาปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 0.5 เป็นผลจากการเพิ่มปริมาณการผลิต ตามความต้องการบริโภคของตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับการเฝ้าระวัง ควบคุมโรคระบาดอย่างเข้มงวด และการจัดการฟาร์มที่ได้มาตรฐาน ทำให้สินค้าปศุสัตว์หลัก ได้แก่ ไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น

สาขาประมง หดตัวร้อยละ 7.3 สมัครจีคลับ เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือลดลง ส่วนปริมาณกุ้งทะเลเพาะเลี้ยง มีทิศทางลดลง เพราะผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เกษตรกรจึงปรับลดพื้นที่การเลี้ยง ลดจำนวนลูกพันธุ์ และชะลอการลงลูกกุ้ง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตประมงน้ำจืด ได้แก่ ปลานิล และปลาดุก มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากฝนตกทั่วถึงทุกพื้นที่ในช่วงปลายปี 2563 จึงมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเลี้ยง ประกอบกับเกษตรกรมีการอนุบาลลูกปลาให้ได้ขนาดใหญ่ก่อนปล่อยลงบ่อเลี้ยงเพื่อเพิ่มอัตราการรอด และเพิ่มอัตราการปล่อยลูกพันธุ์ จึงมีผลผลิตเพิ่มขึ้น

ผู้จัดการทั่วไป ด้านหน่วยงานพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ

ธรรมาภิบาล เเละสื่อสารองค์กร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวว่า หมู่บ้านกองกาย อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ต้นแบบการเปลี่ยนแปลง ที่เครือซีพีเลือกเป็นพื้นที่นำร่องในปี 2560 ในการพัฒนาภายใต้ เเม่เเจ่มโมเดล ปรับเปลี่ยนพื้นที่ด้วยการปลูกพืชแบบผสมผสาน และมีจำนวนต้นไม้ที่ดูแลตลอดทั้งโครงการจำนวน 40,102 ต้น ในพื้นที่ 93 ไร่ ดึงศักยภาพของชุมชนออกมาและพัฒนาของเกษตรกรในพื้นที่ลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวคือ ข้าวโพด มาเป็นการปลูกกาแฟที่สามารถสร้างรายได้ พร้อมนำองค์ความรู้และทักษะด้านบริหารจัดการตลอดกระบวนการ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ โดยมีนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญจากเครือซีพีให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ผลผลิตกาแฟฟื้นป่าบ้านกองกาย ได้ขยายผลต่อยอดสู่ “วิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)” มีการจัดการที่ดีตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้ได้กาแฟคุณภาพส่งมอบสู่ตลาด เพื่อสร้างการกระจายรายได้สู่ชุมชน โดยเครือซีพีได้ทำหน้าที่เป็นตลาดในการรับซื้อกาแฟเชอร์รี่สดส่งต่อมาที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่แจ่ม เพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟคุณภาพภายในพื้นที่และจัดจำหน่ายแก่ผู้ประกอบการต่อไป ซึ่งในอนาคต เครือซีพีและกลุ่มวิสาหกิจบ้านกองกาย มีความตั้งใจสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เกิดแบรนด์กาแฟชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมพร้อมขยายการรับรู้ในวงกว้างเพื่อเป็นแนวทางสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ในชุมชน ให้คิดค้นพัฒนาสินค้าชุมชนอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงการสร้างโรงแปรรูปกาแฟพร้อมเครื่องจักรในการผลิตที่ครบวงจรในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

นายสมเกียรติ มีธรรม เลขานุการมูลนิธิฮักเมืองแจ่ม กล่าวว่า นับเป็นครั้งแรกที่เห็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่พร้อมใจขับเคลื่อนสู่วิสาหกิจชุมชนเข้มแข็ง และต่อยอดการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการจัดระบบบริหารจัดการอย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย ซึ่งผลผลิตปีแรกครั้งนี้ถือเป็นความภูมิใจของเกษตรกรและคนในพื้นที่แม่แจ่ม ต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ช่วยกันทำให้คนในพื้นที่มีการปรับเปลี่ยนอาชีพ และทำให้เห็นถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มวิสาหกิจ ที่เป็นก้าวแรกแห่งความสำเร็จที่สามารถขับเคลื่อนและช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ก่อเกิดแนวคิดการพัฒนาบ้านเกิดให้กลายเป็นโมเดลต้นแบบต่อไปในอนาคต

นายสุภพ เทพวงศ์ หรือ อาจารย์แม้ว นักวิชาการด้านพืชกาแฟ ที่ปรึกษาในโครงการ 4 พื้นที่ต้นน้ำ เครือเจริญโภคภัณฑ์กล่าวว่า กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่มีการเรียนรู้ที่รวดเร็ว สถานที่เพาะปลูกมีความเหมาะสม ส่งผลให้ปีนี้ได้ผลผลิตที่น่าพอใจ และแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งจากการรวมกลุ่มเกิดการผสานความรู้ระหว่างนักวิชาการและเกษตรกรให้เกิดความเข้าใจ ซึ่งจะผลักดันให้มีการพัฒนาเพื่อพร้อมเดินหน้าสู่ตลาดกาแฟอย่างเต็มรูปแบบ

นายศตวรรษ อาภาประเสริฐ เกษตรกรบ้านกองกายกล่าวว่า ปีนี้เป็นปีแรกของการสร้างรายได้จากผลผลิตกาแฟ จากเดิมที่เกษตรกรต่างคนต่างทำมาหากิน ไม่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน ได้ร่วมมือจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบนพื้นที่แม่แจ่มตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงวันนี้รู้สึกภูมิใจและสร้างคุณค่าแก่ตัวเองและครอบครัว ที่ในพื้นที่ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ ซึ่งในอนาคตคาดหวังว่าพื้นที่แห่งนี้จะกลายเป็นพื้นที่ต้นแบบแห่งการเรียนรู้แก่ชุมชนรอบข้าง มีการสนันสนุนปลูกพืชมูลค่าสูงมากขึ้น เพิ่มช่องทางสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ จากความท้าทายในการปรับเปลี่ยนวิถีการเกษตร วันนี้เกษตรกรบ้านกองกาย สามารถสร้างโมเดลต้นแบบและมีอาชีพที่สร้างรายได้ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหนึ่งโมเดลสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดพร้อมขยายองค์ความรู้และผลักดันชุนชนในพื้นที่ใกล้เคียงก้าวสู่การทำธุรกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป

ด้วยสถานการณ์การผลิตพืชอาหารทางการเกษตรเริ่มให้ความสำคัญไปที่การผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศและการส่งออกเพราะปัจจุบันข้อจำกัดทางด้านการค้าระหว่างประเทศในการส่งผลผลิตทางการเกษตรไปจำหน่าย มีข้อบังคับว่าด้วยสินค้าทางการเกษตรต้องผ่านมาตรฐานการรับรองที่เป็นสากล

ดังนั้น สินค้าทางการเกษตรจึงควรมีมาตรฐานการรับรองที่เป็นสากล เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกร GAP (Good Agricultural Practice) หรือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเป็นแนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี และปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด GAP จึงเป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรครบวงจร ตั้งแต่ ปัจจัยการผลิต การผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และการขนส่งการผลิต ทั้งนี้มาตรฐาน GAP ก็จะเป็นกระบวนการผลิตหนึ่งที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนทางการเกษตร สิ่งแวดล้อม รวมถึงเศรษฐกิจและสังคม

มาตรฐาน GAP ดำเนินการออกใบรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร แต่ในทางปฏิบัติเกษตรต้องการข้อมูล ความรู้ และความเข้าใจในการปฏิบัติ เพื่อผลิตสินค้าเกษตรให้ได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน GAP โดยกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานที่เป็นแกนหลักในการพัฒนาเกษตรกรให้เข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดหนึ่งที่สินค้าทางการเกษตรมีความหลากหลายไม่น้อยไปกว่าจังหวัดอื่น เมื่อให้ความสำคัญไปที่การขอมาตรฐาน GAP แล้ว พบว่าจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเกษตรกรที่รวมกลุ่มทำเกษตรแปลงใหญ่ และวิสาหกิจชุมชน ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP แล้วหลายราย

นายดนัย ปัญจพิทยากุล เกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ข้อมูลว่า พื้นที่ทางการเกษตรของจังหวัดมีมากกว่า 1 ล้านไร่ มีข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก มีพื้นที่กว่า 600,000 ไร่ รองลงมาเป็นไม้ผล ได้แก่ มะม่วง มะพร้าว ยางพารา เป็นต้น ซึ่งหน้าที่ที่สำคัญตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมการเกษตร ก็เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค อีกทั้งสินค้าต้องตรงความต้องการของตลาด เพื่อการจำหน่ายสินค้าเกษตรไม่สะดุด ไม่เกิดปัญหาเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา ระบุด้วยว่า การถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกร จึงเป็นหลักสำคัญเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน GAP โดยบทบาทที่เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร ต้องเข้าถึงเกษตรกร คือการถ่ายทอดความรู้ ติดตาม ให้คำปรึกษา ตรวจประเมินแปลงเบื้องต้น และส่งรายชื่อเกษตรกรให้หน่วยตรวจรับรอง เพื่อตรวจประเมิน

ทั้งนี้ จังหวัดฉะเชิงเทรามีเกษตรกรที่ได้รับมาตรฐาน GAP แบ่งเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ไผ่อำเภอท่าตะเกียบ ได้รับมาตรฐาน GAP ครบทั้ง 30 ราย กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวอำเภอคลองเขื่อน จำนวน 38 ราย ได้รับมาตรฐาน GAP 19 ราย กลุ่มแปลงใหญ่ลำไยอำเภอสนามไชยเขต จำนวน 30 ราย ได้รับมาตรฐาน 8 ราย กลุ่มเห็ด มี 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแปลงใหญ่เห็ดอำเภอท่าตะเกียบ กลุ่มแปลงใหญ่เห็ดฟางอำเภอพนมสารคาม กลุ่มแปลงใหญ่เห็ดอำเภอสนามชัยเขต ทั้งหมดจำนวน 56 ราย ได้รับมาตรฐาน GAP จำนวน 33 ราย กลุ่มแปลงใหญ่พืชผักอำเภอสนามชัยเขต จำนวน 29 ราย ได้รับมาตรฐาน GAP จำนวน 13 ราย กลุ่มแปลงใหญ่ขนุนอำเภอแปลงยาว ได้รับมาตรฐาน GAP 29 ราย จากจำนวน 30 ราย

สำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับพืชอาหารตามข้อกำหนด 8 ข้อ เพื่อการขอรับรอง GAP พืช คือ

1.น้ำ น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตต้องมาจากแหล่งที่ไม่มีสภาพแวดล้อม ซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนต่อผลผลิต

2.พื้นที่ปลูก ไม่อยู่ในสภาพแวดล้อม ซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผลผลิต

3.วัตถุอันตรายทางการเกษตร จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ในสถานที่เก็บที่มิดชิด และใช้ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

4.การจัดการคุณภาพในกระบวนการเก็บเกี่ยว มีแผนควบคุมการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพตามความต้องการของตลาดและข้อตกลงของประเทศคู่ค้า

5.การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีอายุเหมาะสม ผลผลิตที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาดและข้อตกลงของประเทศคู่ค้า

6.การพักผลิตผล การขนย้ายในแปลงปลูกและการเก็บรักษาผลผลิต มีการจัดการด้านสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่มีผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

7.สุขลักษณะส่วนบุคคล ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความเข้าใจในสุขลักษณะส่วนบุคคล เพื่อสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกสุขลักษณะ

8.การบันทึกข้อมูลและการตามสอบ มีการบันทึกข้อมูลการปฏิบัตงานการใช้สารเคมี ข้อมูลผู้รับซื้อและปริมาณผลผลิต เพื่อประโยชน์ต่อการตามสอบ

นางสาวอังคณา นาเมืองรักษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา อธิบายการทำงานของเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรในการช่วยให้เกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ว่า เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่อบรมถ่ายทอดความรู้ ติดตาม เตรียมความพร้อมและให้คำแนะนำเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการให้ปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP ประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรในการตรวจติดตามประเมินแปลง ประสานเครือข่ายเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ในการให้คำแนะนำแก่ผู้รับการตรวจประเมิน เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการดำเนินการขอรับรอง และประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรฐาน GAP ปรับปรุงสมุดจดบันทึกกิจกรรมทางการเกษตรให้เกษตรกรสามารถเข้าใจได้ง่าย ตรวจประเมินแปลงเบื้องต้นของเกษตรกร ก่อนขอรับการตรวจรับรองมาตรฐาน ประสานงานศูนยวิจัยและพัฒนาการเกษตรฉะเชิงเทรา เพื่อส่งเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ โดยดูจากความพร้อม และประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับจากการขอรับรองมาตรฐาน

นางสาวอังคณา กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากการให้ความสำคัญการรับรองมาตรฐาน GAP แบบกลุ่มแล้ว ยังให้ความสำคัฐกับเกษตรกรรายเดี่ยว ที่ต้องการมาตรฐาน GAP จึงมีการสำรวจและผลักดันการขอรับรองมาตรฐาน GAP ให้กับเกษตรรายเดี่ยวที่ต้องการรับรองมาตรฐาน GAP ด้วย ซึ่งการทำงานที่สำคัญ ต้องมุ่งเน้นไปที่การแนะนำเกษตรกรในการเริ่มต้นขอรับรองมาตรฐาน เช่น เริ่มต้นการจดบันทึก และทำตามข้อกำหนดในเบื้องต้น รวมถึงการถ่ายทอดความรู้และฝึกฝนให้คำแนะนำเกษตรกรให้สามารถเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรด้วยกันเองในเบื้องต้นอีกด้วย

“กรณีเป็นพืชที่อยู่ในกลุ่มที่ต้องใช้สารเคมีในการจัดการแปลง เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกรเองต้องมีความละเอียดรอบคอบมากขึ้น เพราะข้อกำหนดเรื่องวัตถุอันตรายทางการเกษตรมีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก เช่น การจดบันทึกชื่อสารเคมีที่ใช้ต้องเป็นชื่อสามัญ ไม่ใช่ชื่อทางการค้า แต่ถ้าเป็นพืชอื่น เช่น เห็ด ผักสลัด หรือพืชอายุสั้น ไม่มีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายทางการเกษตร ก็จะมุ่งเน้นไปที่การพักผลิตผล การขนย้ายในแปลงปลูกและการเก็บรักษาผลผลิต มีการจัดการด้านสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่มีผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคหรือไม่” นางอังคณา กล่าว

พื้นที่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ที่มีเกษตรกรรวมกลุ่มแปลงใหญ่ และตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP แล้ว 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแปลงใหญ่ไผ่อำเภอท่าตะเกียบ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตลำไยอำเภอท่าตะเกียบ และแปลงใหญ่เห็ดตำบลคลองตะเกรา

จุดเด่นของกลุ่มแปลงใหญ่ไผ่อำเภอท่าตะเกียบ ซึ่งมีสมาชิก 60 ราย ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP แล้ว 44 ราย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ GAP กลุ่ม มี Q อาสา เป็นผู้ตรวจประเมินเบื้องต้น ในลักษณะของเกษตรกรแนะนำเกษตรกรด้วยกันเองและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการผลิตพืชอาหารปลอดภัยร่วมกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลผลิตจากไผ่ที่ได้เป็นการจำหน่ายหน่อไผ่สด และผลิตหน่อไม้นอกฤดูได้ดี แต่หากมีมากในช่วงฤดูการผลิต จะนำไปแปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง หน่อไม้ปรุงรส เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตลำไยอำเภอท่าตะเกียบ มี คุณพิเชษฐ์ หงษา เป็นประธานวิสาหกิจชุมชนฯ เริ่มได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ในปี 2562 ถึงปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มที่ได้รับการรับรองมาตฐาน GAP แล้ว 46 ราย และเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตามข้อกำหนดการขอรับรองมาตรฐาน GAP เพราะเห็นว่า เป็นพื้นฐานการของการทำเกษตรปลอดภัย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผลผลิตได้รับการยอมรับทั้งตลาดภายในประเทศและเป็นช่องทางหนึ่งของการทำตลาดต่างประเทศด้วย

ด้าน คุณกัญญาภัค สกุลศรี ประธานแปลงใหญ่เห็ดตำบลคลองตะเกรา กล่าวว่า เดิมกลุ่มรวมตัวกันเพื่อการนำผลผลิตส่งจำหน่ายไปยังตลาดสดของจังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี โดยมีรถมารับซื้อถึงแปลงทุกวัน ในช่วงแรกยังไม่เห็นความสำคัญของการขอรับรองมาตรฐาน GAP กระทั่งเริ่มขยายตลาดส่งเห็ดไปยังตลาดไท ซึ่งการส่งผลผลิตไปยังตลาดไท ที่เป็นตลาดกลางค้าส่งสินค้าทางการเกษตรระดับประเทศ จำเป็นมากที่ผลผลิตควรผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP เพื่อความมั่นใจของผู้บริโภค จึงเห็นความสำคัญ และได้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด ให้คำแนะนำ ปรึกษา ช่วยเหลือ กระทั่งปัจจุบันโรงเรือนเห็ดของสมาชิกผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP ไปเกือบครบแล้ว

แม้ว่า การพัฒนาเกษตรกรเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP ของเกษตรกรแต่ละพื้นที่ ประสบความสำเร็จไปมากแล้ว แต่ยังมีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่รอการส่งเสริมและพัฒนา เพื่อเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐาน GAP อยู่ กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ มีความพร้อมให้คำแนะนำ ปรึกษา และช่วยเหลือเกษตรกรที่ต้องการผลักดันตนเองหรือกลุ่มเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP โดยเกษตรกรสามารถขอคำแนะนำได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่งทั่วประเทศ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งทุกจังหวัดจัดงานรณรงค์วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2564 จัดแผนผู้บริหาร กษ. ลงพื้นที่ 19 จุด พร้อมเชิญชวนเกษตรกรร่วมเรียนรู้และเข้าถึงเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิตใหม่ ๆ เพื่อนำไปใช้เริ่มต้นฤดูกาลผลิตที่จะมาถึงนี้ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) 882 ศูนย์ทั่วประเทศ

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยพี่น้องเกษตรกรในช่วงฤดูกาลผลิตใหม่ ปี 2564 ที่กำลังจะมาถึงนี้ จึงได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) 882 แห่งและศูนย์เครือข่ายทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรเริ่มต้นการผลิตในปีการเพาะปลูกใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง สามารถวิเคราะห์ปัญหา และมีฐานเรียนรู้ ซึ่งจะมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาให้บริการด้านการเกษตรตามภารกิจ ทั้งการเข้าถึงเทคโนโลยี ช่องทางการตลาด แหล่งข้อมูลความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจหลักของแต่ละพื้นที่ ได้แก่ ข้าว พืชไร่ ไม้ยืนต้น ผัก/สมุนไพร ไม้ผล ปศุสัตว์ และประมง เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เล็งเห็นความสำคัญของพี่น้องเกษตรกรทุกพื้นที่ จึงได้กำหนดแผนการเปิดงาน Field Day 19 จุดหลัก โดยผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะลงไปพบปะและเยี่ยมเยียน พร้อมนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดสู่พี่น้องเกษตรกร ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันที่ 8 มี.ค. 2564 สินค้าหลัก : ข้าว ณ แปลงใหญ่ข้าว อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย โดยมี อธิบดีกรมประมง เป็นประธาน ครั้งที่ 2 วันที่ 17 มี.ค. 2564 สินค้าหลัก : แตงโมไร้เมล็ด ณ ศพก.อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม โดยมี เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เป็นประธาน ครั้งที่ 3 วันที่ 17 มี.ค. 2564 สินค้าหลัก : ปาล์มน้ำมัน ณ ศพก.เมืองระนอง จ.ระนอง โดยมี

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธาน ครั้งที่ 4 วันที่ 18 มี.ค. 2564 สินค้าหลัก : มันสำปะหลัง ณ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี โดยเลขาธิการสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ครั้งที่ 5 วันที่ 18 มี.ค. 2564 สินค้าหลัก : ข้าวและถั่วลิสง ณ แปลงใหญ่ถั่วลิสง อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร โดยอธิบดีกรมหม่อนไหม ครั้งที่ 6 วันที่ 22 มี.ค. 2564 สินค้าหลัก : ข้าวและเกษตรผสมผสาน ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่บ้านหนองสามพราน อ.เมืองกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี โดยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ครั้งที่ 7 วันที่ 22 เม.ย. 2564 สินค้าหลัก : การเลี้ยงผึ้งโพรง ณ ศพก.เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งโพรงบ้านปังหวาน อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร โดยอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 8 วันที่ 27 เม.ย. 2564 สินค้าหลัก : ข้าว/ผัก/ปลา ณ ศูนย์เครือข่ายด้านเศรษฐกิจพอเพียง อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ

โดยอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ครั้งที่ 9 วันที่ 7 พ.ค. 2564 สินค้าหลัก : ข้าว ณ อ.บางเลน จ.นครปฐม โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) เป็นประธาน ครั้งที่ 10 วันที่ 7 พ.ค. 2564 สินค้าหลัก : มันสำปะหลัง ณ อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา โดยเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ครั้งที่ 11 วันที่ 12 พ.ค. 2564 สินค้าหลัก : ข้าว ณ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว โดยอธิบดีกรมชลประทาน ครั้งที่ 12 วันที่ 13 พ.ค. 2564 สินค้าหลัก : พืชผัก ณ ศพก.เครือข่ายตำบลสวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โดยอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ครั้งที่ 13 วันที่ 13 พ.ค. 2564 สินค้าหลัก : ข้าว ณ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี โดยมี รมช.เกษตรและสหกรณ์ (นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์) เป็นประธาน ครั้งที่ 14 วันที่ 27 พ.ค. 2564 สินค้าหลัก : ข้าว ณ อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์

โดยอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ครั้งที่ 15 วันที่ 9 มิ.ย. 2564 สินค้าหลัก : ข้าว ณ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก โดยมี รมช.เกษตรและสหกรณ์ (นายประภัตร โพธสุธน) เป็นประธาน ครั้งที่ 16 วันที่ 15 มิ.ย. 2564 สินค้าหลัก : ลองกอง ณ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส โดยอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ครั้งที่ 17 วันที่ 17 มิ.ย. 2564 สินค้าหลัก : ข้าว ณ ศพก.เครือข่ายศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว อ.ห้วยหม้าย จ.แพร่ โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ ครั้งที่ 18 วันที่ 15 ก.ค. 2564 สินค้าหลัก : ลำไย ณ ศพก.เครือข่ายตำบลท่ากว้าง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โดยมี รมช.เกษตรและสหกรณ์ (ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า) เป็นประธาน และ ครั้งที่ 19 วันที่ 25 ส.ค. 2564 สินค้าหลัก : ข้าวไร่ดอกข่า ณ ศพก.เครือข่ายข้าวไร่ดอกข่าสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านบางทอง อ.ห้วยเหมือง จ.พังงา โดยอธิบดีกรมการข้าว เป็นประธาน

กิจกรรมวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเตรียมความพร้อมของพี่น้องเกษตรกร ก่อนเข้าสู่การเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ ปี 2564 โดยให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีองค์ความรู้ เพื่อวางแผนการผลิต เข้าถึงปัจจัยการผลิต บริหารจัดการความเสี่ยง และสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร ซึ่งหากทำให้เกษตรกรนำองค์ความรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ไปประยุกต์ใช้ จะทำให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญคือหากมีการขยายผลหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และองค์ความรู้ต่างๆ จะทำให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ และ ศพก.ก็จะเป็นที่พึ่งพาช่วยเหลือดูแลเกษตรกรในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง

จึงขอเชิญชวนพี่น้องเกษตรกรมาร่วมเรียนรู้ และเข้าถึงเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิตใหม่ๆ ในการจัดงาน Field Day แต่ละจังหวัด โดยกิจกรรมหลักจะมีสถานีเรียนรู้ที่บูรณาการองค์ความรู้จากหลายหน่วยงาน ซึ่งเน้นเนื้อหา และเทคโนโลยีที่จำเป็นในกระบวนการผลิตสินค้า เพื่อถ่ายทอดให้เกษตรกรได้รับทราบ การให้บริการจากหน่วยงานภาครัฐ นิทรรศการของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ กลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร รวมทั้งภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุน และมีกิจกรรมเสริมภายในงาน ได้แก่ การแสดงและจำหน่ายสินค้าของสถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน โดยสามารถสอบถามข้อมูลการจัดงาน Field Day ได้ ณ สำนักเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่

วันนี้ (16 มีนาคม 2564) บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมกับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน บริษัท เจียไต๋ จำกัด และบริษัท คอร์สสแควร์ จำกัด ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวหลักสูตร KUBOTA Agri e-Learning หรือ โครงการพัฒนาทักษะอาชีพด้านการเกษตร เพื่อช่วยเหลือสถานการณ์โควิด–19 ปีที่ 2 ในรูปแบบหลักสูตรออนไลน์ ช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด–19 ภายใต้แคมเปญ KUBOTA on your side

พิธีการเริ่มต้นขึ้นโดยมี นายทาคาโนบุ อะซึมะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ขึ้นกล่าวต้อนรับแขกผู้เกียรติและกล่าวแสดงความยินดีถึงความร่วมมือในครั้งนี้ โดยบอกว่ามั่นใจในการผนึกกำลังว่าจะสามารถสร้างโอกาสและส่งเสริมศักยภาพการประกอบอาชีพด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน

นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึงการจัดโครงการในครั้งนี้ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ส่งผลกระทบทำให้ภาคเศรษฐกิจชะลอตัว อุตสาหกรรมแรงงานได้รับผลกระทบเกิดการเลิกจ้างงาน โดยในปีที่ผ่านมา โครงการพัฒนาทักษะอาชีพด้านการเกษตร เพื่อช่วยเหลือสถานการณ์โควิด–19 ปีที่ 1 จัดโดยสยามคูโบต้าร่วมกับร้านค้าผู้แทนจำหน่ายของสยามคูโบต้า และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้รับการตอบรับด้วยดี มีผู้สนใจเข้าร่วมอบรม 20 รุ่น จำนวน 365 คน จึงมองว่าเป็นโอกาสที่จะนำโครงการนี้กลับมาช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบ และกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการเกษตร เพราะอาชีพเกษตรกรรมยังเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ มีบทบาทสำคัญ สามารถรองรับและแก้ปัญหาแรงงานที่กลับไปทำงานยังภูมิลำเนาได้ อีกทั้งตลาดสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าแปรรูปยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวและขยายผลสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

“สำหรับปีนี้ สยามคูโบต้า ได้ร่วมกับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และ บริษัท เจียไต๋ จำกัด ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สยามคูโบต้าได้ร่วมทำบันทึกข้อตกลงทางวิชาการว่าด้วยความร่วมมือในภาคการเกษตรเมื่อปี 2563 มาร่วมมือกันสร้างโอกาสและส่งเสริมศักยภาพการประกอบอาชีพด้านการเกษตร พร้อมทั้งได้ บริษัท คอร์สสแควร์ จำกัด ให้บริการโซลูชั่นการเรียนออนไลน์ (Online Learning Solutions) มาร่วมเป็นพันธมิตรในการเปิดประสบการณ์เรียนออนไลน์รูปแบบใหม่ในครั้งนี้อีกด้วย” นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กล่าว

เปิด 2 หลักสูตรออนไลน์ อยู่ที่ไหนก็เรียนได้
นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กล่าวต่ออีกว่า ในครั้งนี้หลักสูตร KUBOTA Agri e-Learning ได้ปรับการเรียนการสอนเป็นรูปแบบออนไลน์ ตอบโจทย์ความร่วมมือภาครัฐในการงดรวมกลุ่มในช่วงที่ยังมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลาผ่านสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ โดยหลักสูตรประกอบด้วย หลักสูตรนักขับเครื่องจักรกลการเกษตร 2 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมนักขับเบื้องต้น (ภาคทฤษฎีออนไลน์) เรียนรู้การขับแทรกเตอร์ รถเกี่ยวนวดข้าว และรถขุดในระดับเบื้องต้น และเมื่อสามารถผ่านหลักสูตรนักขับเบื้องต้นแล้ว ผู้เรียนสามารถต่อยอดโดยเรียนโปรแกรมนักขับมืออาชีพ (ภาคปฏิบัติ) เพื่อพัฒนาฝีมือและทักษะการขับฯ ในระดับเชี่ยวชาญ พร้อมรับใบขับขี่ตามมาตรฐานผู้ประกอบอาชีพจากสถานประกอบการ ที่ได้การรับรองจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สามารถนำไปประกอบอาชีพรับจ้างในตลาดแรงงานเกษตรได้ โดยสามารถเข้าอบรมและลงทะเบียนเรียนได้ที่ร้านค้าผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้าที่เข้าร่วมโครงการ

นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรเกษตรมือใหม่ (ภาคทฤษฎีออนไลน์) โดยได้รับความร่วมมือจากเจียไต๋ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการปลูกพืชผักและผลไม้ให้ได้คุณภาพและราคาดี นอกจากนี้ยังสอนเรื่องนวัตกรรมเกษตรครบวงจร KUBOTA (Agri) Solutions หรือ KAS เป็นการจัดการเกษตรกรรมครบวงจรอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสยามคูโบต้า เทรนด์ในภาคการเกษตร ปัจจัยที่มีผลต่อการเพาะปลูกพืช และการสร้างมูลค่าเพิ่มอีกด้วย โดยคาดว่า จะมีผู้สนใจเข้าลงทะเบียนเรียนรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 3,000 คน อย่างไรก็ตามสยามคูโบต้า ไม่เพียงมุ่งหวังสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าและบริการอย่างดีที่สุดแก่ลูกค้า แต่เรามีความปรารถนาดีที่อยากจะช่วยเหลือสังคมอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร ตลอดจนการเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยให้ประชาชนมีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

มั่นใจพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน
นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และกระทรวงแรงงาน โดย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และ ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน มีนโยบายมุ่งเน้นให้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานใช้แนวทางประชารัฐร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา พัฒนาทักษะฝีมือให้เป็นแรงงานคุณภาพป้อนสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เป็นการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน และช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ตามนโยบายของรัฐบาลและนโยบายกระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนและให้การสนับสนุนการฝึกอบรม เชิงบูรณาการกับการทำงานทักษะด้านการเกษตร เพื่อหนุนตลาดแรงงานและช่วยเหลือแรงงานที่ตกงานเนื่องจากสถานการณ์โควิด–19

เจียไต๋ถ่ายทอดนวัตกรรมปลูกผักครบรวงจร
นายศุภรัตน์ แต่รุ่งเรือง สมัคร Royal Online รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนในทุกภาคส่วนนั้น เจียไต๋ได้เล็งเห็นความสำคัญของความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของคนในสังคม โดยในปีที่ผ่านมา เจียไต๋ได้ร่วมมือกับสยามคูโบต้าในการยกระดับองค์ความรู้และนวัตกรรมการเพาะปลูกพืชผักอย่างมั่นคงเพื่อส่งเสริมศักยภาพการเพาะปลูกของไทย สร้างประโยชน์แก่เกษตรกร และธุรกิจภาคเกษตรด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการปลูกพืชผักอย่างครบวงจร และในครั้งนี้ จึงได้ต่อยอดสู่การพัฒนาหลักสูตร KUBOTA Agri e-Learning

เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำเกษตรว่า อดีตเคยทำงานตำแหน่งคิวซี

อยู่ที่ต่างประเทศมาก่อน หลังจากนั้นได้ลาออกจากงาน เนื่องจากต้องกลับมาดูแลพ่อแม่ที่อายุมากขึ้น ซึ่งในตอนที่ตัดสินใจลาออกจากงานนั้น ก็ยังไม่รู้ว่าจะกลับมาประกอบอาชีพอะไร พ่อกับแม่ก็มีแต่ไร่นา ซึ่งที่ผ่านมาก็มักจะประสบปัญหาหนี้สินมาโดยตลอด ตนก็ไม่อยากกลับไปประสบปัญหาเดิมซ้ำๆ จึงตัดสินใจปรึกษากับพ่อแม่ แล้วขอพลิกผืนนาของท่านบางส่วนทำเป็นเกษตรผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่เคยได้อ่านมาในครั้งที่ยังทำงานประจำอยู่

“ตอนแรกพ่อกับแม่ก็ยังไม่เห็นด้วย คนแก่พอมาเห็นอะไรที่เป็นร่องๆ เขาจะทำใจไม่ได้ เขาไม่สนับสนุน แต่เราก็ไม่ยอมแพ้ อยากทำให้พ่อกับแม่เห็นว่าสิ่งที่เราคิดมันทำได้ และอยากทำให้เห็นว่า จริงๆ หลักที่ในหลวงท่านเคยสอนเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น นำมาปรับประยุกต์ภายในสวน ด้วยการบริหารจัดการน้ำ จัดการผืนดินที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด” คุณอมร กล่าว

เริ่มต้นจากอุปสรรคมากมาย
สำเร็จได้ เพราะมีที่ปรึกษาที่ดี
คุณอมร บอกว่า หลังจากที่ตัดสินใจได้แล้วว่าจะลุยในด้านของการทำเกษตรผสมผสาน ก็ได้หาวิธีการที่จะเข้าถึงแหล่งความรู้ และต้องการที่จะหาแหล่งความรู้จากแหล่งที่เชื่อถือได้ ซึ่งที่แรกที่นึกถึงในตอนนั้นคือ ที่สำนักงานเกษตรอำเภอหันคา

“ในวันแรกที่เดินเข้าไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่อย่างคนไม่รู้อะไรเลย ก็ถามอย่างคนไม่มีความรู้ไปว่า ถ้าอยากจะเปลี่ยนจากการทำนา มาเป็นเกษตรผสมผสาน ต้องทำยังไงบ้าง พี่เจ้าหน้าที่ก็ได้ให้คำแนะนำมาว่า อันดับแรกต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรก่อน เราก็ได้จัดการ ขึ้นทะเบียนเกษตรกรเรียบร้อย นี่ก็เป็นที่มาของการเริ่มต้นการเป็นเกษตรกร” คุณอมร กล่าว

หลังจากที่ได้ ขึ้นทะเบียนเกษตรกรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ให้คำปรึกษาเบื้องต้นในเรื่องของลักษณะภูมิศาสตร์ในพื้นที่ ว่าในแต่ละปีจะต้องประสบกับปัญหาอะไรบ้าง อากาศเป็นยังไง น้ำท่วมกี่ครั้งในรอบกี่ปี โดยเจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำและตามมาเป็นพี่เลี้ยงถึงสวน คอยติดตามผลกันมาตลอด จนประสบความสำเร็จเป็นสวนศรีบุญนาคมาถึงทุกวันนี้ แต่กว่าจะประสบผลสำเร็จมาได้ ทั้งตนและพี่ๆ เจ้าหน้าที่เกษตรต้องล้มลุกคลุกคลาน ผ่านพ้นอุปสรรคด้วยกันมามากมาย

โดยอุปสรรคที่ 1. เกิดจากครอบครัว ความเข้าใจของคนในครอบครัวสำคัญมาก ต้องเข้าใจต้องเห็นไปทิศทางเดียวกัน 2. พื้นที่ ปลูกอะไรก็ไม่โต เนื่องจากพื้นที่สวนเป็นที่ลุ่ม จำเป็นต้องยกร่อง ถ้าไม่ยกร่องต้นไม้จะเน่าเสียหายหมด เพราะรากพืชไม่สามารถหาอาหารกินได้ 3. อุปสรรคของดิน ดินถือเป็นปัญจัยสำคัญในการปลูกพืช ดินที่สวนเป็นดินเหนียว ปลูกอะไรก็ไม่งาม จึงต้องมีการปรับปรุงบำรุงดินใหม่ โดยได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่เกษตร ส่งเข้าไปอบรมที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก. เพื่อเรียนรู้เรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน ใช้เวลาเรียนรู้กว่าครึ่งปี จนสามารถนำมาปรับปรุงที่สวนได้

พื้นที่ 12 ไร่ 3 งาน
จัดสรรพื้นที่อย่างไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สำหรับการทำเกษตรผสมผสาน บนพื้นที่ 12 ไร่ 3 งาน นั้น คุณอมร บอกว่า การจัดสรรพื้นที่ก่อนปลูกนั้นทางเจ้าหน้าที่เกษตร ได้เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การวางผังปลูก ระยะการปลูก ระยะการวางร่อง รวมถึงการจัดวางระบบน้ำ มีการนำเทคโนโลยีระบบโซล่าร์เซลล์เข้ามาใช้ในการรดน้ำ ช่วยประหยัดต้นทุน ประหยัดเวลา และเป็นประโยชน์ในระยะยาว

และในส่วนของการวางผังจัดการปลูกพืชนั้น มีการขุดร่องดินทั้งหมด 11 ร่อง แบ่งปลูกเป็นพืชหลักและพืชรอง ในส่วนของพืชหลักจะเลือกปลูกส้มโอขาวแตงกวา ผลไม้เด่นประจำจังหวัดชัยนาท มีจุดเด่นที่รสชาติอร่อย หวาน กรอบ ส่วนพืชรองจะเลือกปลูกพืชที่ให้ผลผลิตไว และสามารถอยู่ด้วยกันอย่างเอื้อประโยชน์ อย่างเช่น มะละกอฮอลแลนด์ กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ และฝรั่งกิมจู แล้วแซมด้วยพืชผักสวนครัวอีกเล็กน้อย ตามความเหมาะสมของพื้นที่

ส่วนการสร้างรายได้นั้น ในช่วงแรกส้มโอที่เป็นพืชหลักจะต้องใช้เวลาในการปลูกจนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรกได้นั้นใช้เวลากว่า 4 ปี ซึ่งในระหว่างที่รอผลผลิตหลัก ที่สวนก็จะมีรายได้จากพืชรองที่ปลูก อย่างมะละกอฮอลแลนด์ เก็บขายได้ทุก 4 วัน กล้วยหอม ที่ลงปลูกไว้ 1,500 ต้น ผลผลิตก็จะสลับกันออกสร้างรายได้เป็นรายสัปดาห์ สะสมเงินในส่วนนี้มาซื้อต้นพันธุ์ของพืชหลักเพิ่ม ที่สวนจะไม่ลงทุนให้หมดในทีเดียว แต่จะมีการวางแผนให้เกิดรายได้ขึ้นมาเพื่อนำไปต่อยอดและพัฒนาเพิ่มตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เกษตร

“ตลาดฉลุย” เพราะผลผลิตที่มีคุณภาพ
ประกอบกับการมีที่ปรึกษาที่ยอดเยี่ยม
คุณอมร บอกว่า ปัญหาหลักๆ ที่อยู่คู่กับเกษตรกรคือ เรื่องของการหาตลาด เกษตรกรหลายคนเก่ง ปลูกได้ แต่ขายไม่เป็น ไม่รู้ว่าจะไปขายที่ไหน แต่ที่สวนศรีบุญนาคจะไม่เคยเกิดเหตุการณ์ขายผลผลิตไม่ได้ เพราะเรามีที่ปรึกษาที่ดี มีคนให้คำแนะนำในการทำตลาดที่ดีต้องทำแบบไหน อันดับแรกเลยคือคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า

เกษตรกรต้องผลิตสินค้าที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค อันดับถัดมาคือเรื่องของการสร้างจุดเด่นของสินค้า สร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ และผู้ผลิตหรือเจ้าของสวนถือว่ามีบทบาทสำคัญในการขายเช่นกัน ถ้าไปขายที่ไหนเจ้าของสวนไปเอง จากมือผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคโดยตรง ดังนั้น เขาจะได้สินค้าที่ราคาถูกและปลอดภัย ต่อมาเป็นเรื่องของการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และการได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่เกษตร ส่งเสริมในเรื่องของการขาย มีการจัดตลาดนัดชุมชน ตลาดนัดสินค้าเกษตร รวมถึงการขอมาตรฐาน

GAP ตรงนี้สำนักงานเกษตรอำเภอมีบทบาทมากๆ และอันดับสุดท้ายสำคัญมาก เป็นเรื่องของการทำตลาดออนไลน์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรอำเภอหันคา ส่งเข้าไปอบรมการทำตลาดออนไลน์ เรียนรู้ของการสร้างเพจ ตรงนี้ในช่วงของโควิด-19 เราเห็นอะไรได้ชัดมากเลย เราได้ประโยชน์จากการขายออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เพราะว่าโควิดทำให้ทั้งแม่ค้าและลูกค้าออกไปไหนไม่ได้ การขายออนไลน์ถือเป็นทางรอดที่ดีมากสำหรับเราตอนนี้ ทำให้เราอยู่ได้อย่างไม่เดือดร้อนมาถึงวันนี้

ต้นแบบเกษตรกรเข้มแข็ง
การกระจายรายได้สู่ชุมชน
คุณอมร บอกว่า จากการที่ทำสวนมาได้ระยะหนึ่ง ก็เริ่มประสบผลสำเร็จมาเรื่อยๆ จากตอนแรกที่ทำ ชาวบ้านใกล้เคียงต่างบอกว่าเราบ้า เพียงเพราะเราทำไม่เหมือนเขา แต่เมื่อเวลาผ่านไปเราได้ทำให้เขาเห็นแล้วว่าสิ่งที่เราทำ ไม่ได้บ้า แต่เป็นการทำของคนมีสติต่างหาก เมื่อเขาได้เห็นผลรับที่เราได้จากการที่มีรายได้เข้ามาทุกวัน เห็นว่ามีพ่อค้ามารับซื้อผลผลิตถึงที่สวน เห็นเราไปออกบูธตามงานต่างๆ ขายดิบขายดี ก็เริ่มมีคนเข้ามาถามและขอความรู้ เพราะเขาอยากทำอย่างเราบ้าง ซึ่งพอได้ยินคำนี้เราดีใจมาก ที่เริ่มมีคนเห็นถึงสิ่งที่เราทำ และมองเราเป็นต้นแบบ เราเต็มใจที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ให้กับพวกเขามากๆ

“สิ่งเหล่านี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการกระจายรายได้สู่ชุมชน เขาได้รับคำแนะนำจากเรา มีปัญหาตรงไหน เราไปช่วยเขาดู แนะนำการใช้สารชีวภัณฑ์ต่างๆ วันนี้น้องๆ พี่ๆ เขายิ้มออก เพราะว่าเขามีรายได้ก่อนที่จะเกี่ยวข้าว หลายๆ คนเขามีความสุขขึ้นจากรายได้ที่เขาได้เพิ่มขึ้น แล้วเราก็เป็นคนหาตลาดช่วยเขา ขายตลาดเดียวกัน ช่วยกันระบายของ เขาก็จะมีส่วนร่วมกับเราทุกอย่างกลายเป็นกลุ่มก้อนที่เรียนรู้การใช้ชีวิตกลุ่ม เพื่อก้าวไปสู่การเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง” คุณอมร กล่าวทิ้งท้าย

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจการเกษตรอาสา (ศกอ.) เป็นอาสาสมัครที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสศก. ซึ่งที่ผ่านมาสศก.ได้ผลักดัน สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของ ศกอ. มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ในการให้บริการข้อมูลข่าวสาร ขยายผลองค์ความรู้

เปรียบเสมือนโค้ชทางการเกษตรไปยังเกษตรกรรายอื่น ๆ และผู้สนใจ ตลอดจนร่วมดำเนินการจัดเก็บข้อมูลด้านการผลิต การตลาด และสถานการณ์ด้านการเกษตรในพื้นที่ โดยร่วมขับเคลื่อนผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) หรือศูนย์ปฏิบัติการอื่น ๆ ที่จัดตั้งโดยภาครัฐ หรือกลุ่มองค์กรประชาชน ดังนั้น ศกอ.จึงจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องในด้านเศรษฐกิจการเกษตรต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ทั้งแนวคิด ทฤษฎีในด้านการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการ ตลอดจนเทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเกษตรต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้สารสนเทศการเกษตรเพื่อการตัดสินใจ ตอบสนองความต้องการของตลาดในแต่ละพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับปี 2564 สศก. ได้จัดโครงการฝึกอบรมโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร : กิจกรรมอบรมและสาธิตการเกษตรไทยด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้ดำเนินการมาเป็นปีที่ 2 แล้ว โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา ได้มุ่งเน้นการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการผลิตที่สำคัญ

ทั้งภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจการค้าบริการ (เช่น ร้านอาหาร สถานบันเทิง ห้างสรรพสินค้า โรงแรม การค้าส่ง การค้าปลีก และการขนส่ง) ทำให้การจ้างงานที่มีแนวโน้มเลิกประกอบกิจการ เลิกจ้างแรงงาน หรือลดจำนวนแรงงาน รวมถึงแรงงานที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ จนเกิดปรากฏการณ์แรงงานคืนถิ่นกลับสู่บ้านเกิดและมีผู้ว่างงาน ซึ่ง สศก.ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้การทำการเกษตรเพื่อเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมสำหรับเลี้ยงตนเองและสร้างรายได้ให้กับครอบครัวในวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น

โดยการจัดอบรมในปีนี้สศก.ยังคงเน้นจัดฝึกอบรมให้แก่ศกอ.และผู้สนใจ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสศก.เพื่อให้มีองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บและรายงานข้อมูล การเข้าถึง Application “กระดานเศรษฐี เกษตรกร มีโอกาส” Application Farm D และ Application ราคาฟาร์ม ที่ช่วยคำนวณต้นทุนการผลิต ทราบแหล่งตลาดและราคา เพื่อการตัดสินใจในการลงทุนทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ จะมีการจัดอบรมโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1-12 ทั่วประเทศ จำนวน 36 รุ่น ๆ ละ 30 คน รวมประมาณ 1,080 คน ตั้งแต่กุมภาพันธ์ – กันยายน 2564

ด้านนายพลเชษฐ์ ตราโช รองเลขาธิการ สศก. กล่าวเสริมว่า ในการอบรมและสาธิตการเกษตรไทย ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงครั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎ์ธานี ได้เปิดอบรมแห่งแรกแล้ว เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ศพก.อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ สศก.จะทยอยจัดการอบรมโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1-12 ทั่วประเทศ โดยจะมุ่งเน้นหลักสูตรที่ได้จากการถอดบทเรียนของศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วย 9 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ฐานปรับพื้นฐานความรู้ด้านแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 2) ที่อยู่อาศัยและการจัดภูมิทัศน์รอบบ้านด้านการเกษตรให้น่าอยู่ 3) ฐานการปลูกพืชสวนครัว/พืชไร่ 4) ฐานประมงและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 5) ฐานปศุสัตว์ (สัตว์ปีก สัตว์ใหญ่ แปลงหญ้า) 6) ฐานการปลูกไม้ผล 7) ฐานการปลูกป่า และไม้เศรษฐกิจ 8) ฐานทำนา และ 9) ฐานสรุปบทเรียน (ถอดองค์ความรู้)

นอกจากนี้ ยังให้ผู้เข้าอบรมได้มีการจัดทำแผนธุรกิจและใช้ประโยชน์จาก Big Data ควบคู่ไปด้วย ซึ่งเชื่อมั่นว่าองค์ความรู้ต่าง ๆ จะช่วยพัฒนาศักยภาพของ ศกอ. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นหลักในการตัดสินใจลงทุนทำการเกษตร ถ่ายทอด และเผยแพร่เป็นความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อเครือข่ายแรงงานคืนถิ่น ผู้ว่างงาน และผู้สนใจอื่น ๆ ที่ต้องการประกอบอาชีพด้านการเกษตร สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมเกษตร ก้าวสู่การเป็น Smart Farmer ร่วมกันต่อไป

วันที่ 1 มีนาคม 2564 นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยคณะข้าราชการสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ให้การต้อนรับอาจารย์ดิสสกร กุนธร ประธานมูลนิธิสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา และอาจารย์บังอร บัวเมือง เลขานุการมูลนิธิสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา ในการลงพื้นที่บ้านพะใหญ่-มะหินกอง หมู่ที่ 11 ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เพื่อดูสถานที่ก่อสร้าง และร่างรูปแบบสนามเด็กเล่นให้กับเด็ก ๆ ตามคำร้องขอของแม่ยาบู ซึ่งท่านสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ได้สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างบนพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน ขนาด 55 ตารางวา ซึ่งไม่มีเอกสารสิทธิ์ ซึ่งสร้างความปลาบปลื้มใจและเป็นประกายแห่งความสุขสำหรับเด็กๆ ในหมู่บ้านพะใหญ่-มะหินกอง เป็นอย่างยิ่ง

นางยาบู กิตติศัพท์โตมร สมาชิกกลุ่มอาชีพเลี้ยงหมู ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ซึ่งกู้ยืมเงินจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้ครัวเรือน สามารถส่งคืนเงินกู้ยืมได้ครบถ้วนตามกำหนด เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2563 แม่ยาบูได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สร้างพลังสตรี สร้างรายได้ให้กลุ่มอาชีพ กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก รุ่นที่ 2 ณ แกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี

ในครั้งนั้น แม่ยาบูได้เป็นตัวแทนของกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีที่ประสบความสำเร็จนำเสนอผลการดำเนินงานของกลุ่ม และได้ขอสนามเด็กเล่นแก่เด็กๆ ในหมู่บ้านของเธอ ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าลาหู่ อยู่ห่างไกลจากความสะดวกสบายทั้งหลาย จึงได้รับความเมตตาจากนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ที่ตอบรับและยืนยันเจตนารมณ์ในการสร้างสนามเด็กเล่นให้แก่เด็ก ๆ โดยที่ประชุมได้ร่วมบริจาคสมทบทุนส่วนหนึ่ง และส่วนที่ขาดทางท่านอธิบดีฯ และ ท่านประธานสภาสตรีแห่งชาติ เป็นผู้สมทบทุนในการก่อสร้างสนามเด็กเล่นดังกล่าว

พช. เดินหน้ายุทธศาสตร์เงินทุนชุมชน จัดเสวนางานครบรอบ 47 ปี กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เน้นยึดมั่นหลักคุณธรรม 5 ประการ สร้างเสริมคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 นางวิไลวรรณ ไกรโสดา รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นำคณะข้าราชการเข้าร่วมกิจกรรม “ครบรอบ 47 ปี กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต สร้างเสริมคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง” พร้อมด้วย นายนิวัติ น้อยผาง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ศ.ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี อดีตอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้ตรวจราชการกรม ผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน นางสาวเขมฤทัย อัศวนนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการ

ธ.ไทยเครดิตฯ นายสุพจน์ อาวาส ผู้ทรงคุณวุฒิ นายบุญศรี จันทร์ชัย ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านขอนขว้าง จ.ปราจีนบุรี นายสมคิด อเนกวศินชัย ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านป่าแดง จ.ชลบุรี นายบรรจง พรมวิเศษ รองประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านขอนขว้าง จ.ปราจีนบุรี และพิธีกรดำเนินรายการ นางสาวกัญญ์ณาณัฏฐ์ ภาธรสืบนุกูล กรมประชาสัมพันธ์ และนางสาวจิตรานุช เกียรติอดิศร นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ รวมถึงแขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ณ ห้องสัมมนา 3003 ชั้น 3 กรมการพัฒนาชุมชน

นางวิไลวรรณ ไกรโสดา รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า เนื่องในโอกาสครบรอบ 47 ปี ของวันก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ในวันที่ 6 มีนาคม 2564 ท่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดกิจกรรม “ครบรอบ 47 ปี กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต สร้างเสริมคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ด้านการส่งเสริมการออม รู้จักการประหยัด และใช้จ่ายอย่างเหมาะสม สะสมเป็นทุนและหลักประกันในการลงทุน อีกทั้งยังเป็นภูมิคุ้มกันในการดูแลคุณภาพชีวิต

เป็นการน้อมนำพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา และ ต่อยอด หลักคิดในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตลอดจนส่งเสริมความรู้และสร้างวินัยทางการเงิน การจัดทำบัญชีครัวเรือน รวมถึงเผยแพร่ผลผลิตและผลสำเร็จที่มาจากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โดยยึดหลักคุณธรรม 5 ประการ ได้แก่ ซื่อสัตย์ เสียสละ รับผิดชอบ เห็นอกเห็นใจ และไว้วางใจ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาคนในชุมชนให้มีการดำเนินชีวิต และเรียนรู้การทำงานร่วมกันในรูปแบบ“กระบวนการกลุ่ม” และใช้ “สัจจะออมทรัพย์”

เป็นเครื่องมือในการสร้างวินัยการออมของสมาชิก เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในระดับชุมชน ให้สมาชิกได้กู้ยืมเงิน ทำกิจกรรมต่างๆ สร้างงาน สร้างอาชีพแก่สมาชิก เช่น ปั้มน้ำมัน ทำโรงสี ร้านค้าชุมชน ทำให้สังคมเกิดการพัฒนา เป็นแกนกลางในการเกื้อกูลในระดับสังคม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมไปถึงช่วยกันแก้ไขปัญหาความยากจน หนี้สินนอกระบบได้ ให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้

เป็นกลุ่มของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน จากเงินออมของประชาชน ด้วยการบริหารจัดการเงินร่วมกัน ทำให้งานเสวนาในครั้งนี้ สามารถลดความเหลื่อมล้ำในสังคม จากการทำงานของกรมการพัฒนาชุมชนจากอดีตถึงปัจจุบัน เราก็ขับเคลื่อนช่วยเหลือปัญหาของพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งกลุ่ม ก็ได้สร้างความเข้าใจแก่พี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง มาร่วมการบริหารจัดการร่วมกัน ทำให้เราเห็นความสำคัญของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ที่ทำให้พี่น้องประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถลดความเหลี่ยมล้ำทางรายได้แก่สังคม

ในการนี้ ได้มีการจัดเวทีเสวนา ในหัวข้อ 47 ปี กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จากปัจจุบันสู่อนาคตลดความเหลื่ยมล้ำให้ประชาชน โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ดังนี้ 1.นางวิไลวรรณ ไกรโสดา รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน 2.นายสุพจน์ อาวาส คณะทำงานจัดทำยุทธศาสตร์กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 3.นายบุญศรี จันทร์ชัย ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านขอนขว้าง จังหวัดปราจีนบุรี 4.นายสมคิด อเนกวศินชัย ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านป่าแดง จังหวัดชลบุรี โดยมีนางสาวกัญญ์ณาณัฏฐ์ ภาธรสืบนุกูล เป็นผู้ดำเนินรายการ

จากนั้นในช่วงบ่าย ได้มีเวทีถอดบทเรียน ในหัวข้อ ความสำเร็จของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ดังนี้ 1. ศ.ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี อดีตอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน 2.นายศิวโรฒ จิตนิยม ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดกาญจนบุรี 3.นางทัศนา เจริญผล ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านวังสรรพรส จังหวัดจันทบุรี และนางสาวจิตรานุช เกียรติอดิศร นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ เป็นผู้ดำเนินรายการ

โดย ศ.ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี อดีตอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มุ่งเน้นให้เกิดการออม เพื่อใช้ในการผลิตเท่านั้น เพราะเราต้องจำเป็นต้องมีเงินในการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน จึงเกิดแนวคิดการรวมกลุ่มขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหา จากการรวมกลุ่มของสมาชิก ซึ่งมีฐานะทางการเงินที่แตกต่างกัน ด้วยแนวทาง ใครมีเงินเท่าไหร่ก็สามารถเป็นสมาชิกได้ โดยการออมอย่างเดียวทำให้กลุ่มไม่สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างทั่วถึง จึงสามารถทำกู้ได้ โดยให้ตัวเองและเพื่อนสมาชิกเป็นผู้ค้ำประกัน ด้วยดอกเบี้ยราคาที่ต่ำเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ภายใต้คุณธรรม 5 ประการในการอยู่ร่วมกันของสมาชิก เพื่อการพัฒนาชุมชน โดยการสอนเขาให้หาเงิน เก็บเงิน และต่อยอดเงิน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อทำให้เศรษฐกิจของชุมชนให้เกิดความมั่นคงอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมงานยังมีได้เดินเยี่ยมชม การจัดบูธนิทรรศการของสถาบันการเงิน ได้แก่ การสร้างวินัยทางการเงินโดยธนาคารออมสิน การส่งเสริมการออมกองทุนต้นไม้โดย ธนาคาร ธ.ก.ส. และการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุน โดยธนาคารไทยเครดิต รวมถึง การจัดบูธนิทรรศการของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านขอนขว้าง จังหวัดปราจีนบุรีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลหนองสาหร่ายจังหวัดกาญจนบุรี และกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านป่าแดง จังหวัดชลบุรี อีกด้วย

ทั้งนี้ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 บุคคลผู้ริเริ่มคือ ศ.ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี อดีตอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน โดยเริ่มดำเนินการครั้งแรก จำนวน 2 แห่ง คือ ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2517 ต่อมาได้กำหนดให้วันที่ 6 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และกำหนดให้วันที่ 6 – 8 มีนาคม ของทุกปี เป็นสัปดาห์รณรงค์การประหยัดและการออมงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นงานสำคัญที่กรมการพัฒนาชุมชน เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนร่วมกันออมเงินและบริหารจัดการในรูปคณะกรรมการด้วยหลักธรรมาภิบาล เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง ครอบครัวและชุมชน

ซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 19,646 กลุ่ม สมาชิก 2,975,567 คน มีเงินสัจจะสะสม 30,532,053,717.25 บาท สมาชิกกลุ่มฯ ได้รับประโยชน์ในการกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพ โดยไม่ต้องอาศัย แหล่งทุนภายนอก จำนวน 1,580,348 คน จำนวนเงิน 23,360,738,679.92 บาท และมีผลประกอบการ 37 ล้าน นอกจากนี้ กลุ่มสามารถลงทุนต่อยอด เป็นกิจกรรมเครือข่ายหลากหลายรูปแบบ เพื่อเป็นการเพิ่มเงินทุนและสร้างกิจกรรมสนับสนุนการประกอบอาชีพของสมาชิก

และได้น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร และได้นำแบบผ้าลายขอพระราชทานตามพระดำริของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา มาทอเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับสมาชิก รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ศูนย์สาธิตการตลาด 693 แห่ง โรงสีชุมชน 106 ยุ้งฉาง 91 แห่ง ปั๊มน้ำมัน 73 แห่ง ลานตากผลผลิต 4 แห่ง เป็นต้น ทั้งนี้ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่เข้มแข็ง ยังเป็นแกนหลักสำคัญในการขับเคลื่อนศูนย์จัดการกองทุนชุมชน ประสานงานและบูรณาการกองทุนต่าง ๆ ร่วมแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน นำไปสู่การลดหนี้และปลดหนี้ได้อย่างยั่งยืน

วันที่ 11 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. นายไพศาล ศรีเทพ นายอำเภอคลองท่อม เป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2564 โดยมี นายอนุชา ยาอีด เกษตรจังหวัดกระบี่ พบปะพี่น้องเกษตรกรที่มาร่วมงาน และ นายชัยยุทธ์ ทองชัย เกษตรอำเภอคลองท่อม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอคลองท่อม หมู่ที่ 7 ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่

นายไพศาล ศรีเทพ นายอำเภอคลองท่อม กล่าวว่า การจัดงานในวันนี้เป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรเกิดความตระหนักในการทำการเกษตร ซึ่งต้องมีการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลในการผลิตทางการเกษตร นำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพผลผลิตและเชื่อมโยงตลาด มีการพัฒนาให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

โดยใช้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเป็นแหล่งเรียนรู้ของอำเภอ ดังนั้น การเริ่มต้นปีการเพาะปลูกใหม่ ถ้าเกษตรกรนำองค์ความรู้ที่เหมาะสม ในแต่ละพื้นที่ไปประยุกต์ใช้ในไร่นาและสวนของตนเองได้ จะทำให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญ หากมีการขยายผลหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกษตรกรได้เข้าถึงและนำไปใช้ ก็จะทำให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงสังคมก็จะมีแต่ความสุข

นายชัยยุทธ์ ทองชัย เกษตรอำเภอคลองท่อม กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงานในวันนี้สืบเนื่องมาจากภาคการเกษตรของไทยได้เข้าสู่ฤดูการผลิตใหม่แล้ว ซึ่งโดยทั่วไปถือว่าวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันเริ่มต้นปีเพาะปลูก ดังนั้นเพื่อให้การผลิตมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องมีการใช้องค์ความรู้ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ประกอบกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรขึ้นในทุกอำเภอทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรสอดคล้องกับการผลิตสินค้าหลัก และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ โดยมีองค์ประกอบของศูนย์ ได้แก่ เกษตรกรต้นแบบ แปลงเรียนรู้ หลักสูตรการเรียนรู้ และฐานการเรียนรู้

อำเภอคลองท่อมได้คัดเลือกพื้นที่ของนายประภาส กาเยาว์ ศูนย์เรียนรู้จการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรระดับอำเภอ (ศพก.หลัก) เป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ มีเป้าหมายในการพัฒนาเรื่องปาล์มน้ำมัน รวมถึงการทำการเกษตรโดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต กิจกรรมภายในงาน จัดให้มีสถานีเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งแต่ละสถานี จะมีเนื้อหาที่สอดคล้องกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดงาน โดยมีจำนวน 4 สถานีเรียนรู้ ดังนี้

สถานีที่ 1 การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน
สถานีที่ 2 การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
สถานีที่ 3 โรคกาโนเดอร์มา
สถานีที่ 4 การจัดทำบัญชีฟาร์ม

นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงองค์ความรู้ กิจกรรมทางการเกษตร และการให้บริการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กลุ่ม/สถาบันเกษตรกร ภาคเอกชน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในการถ่ายทอดความรู้ สำหรับการจัดงานในครั้งนี้มีเกษตรกรในพื้นที่อำเภอคลองท่อม และพื้นที่ใกล้เคียงมาร่วมงานไม่น้อยกว่า 150 คน

11 มีนาคม 2564 – เครือเจริญโภคภัณฑ์มุ่งมั่นการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยในด้านสิ่งแวดล้อมกำหนดแผนงานด้านความยั่งยืนควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน ผสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สนับสนุนการดำเนินงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ก่อเกิดเป็นธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise : SE) ภายใต้ “โมเดลกาเเฟสร้างอาชีพ” ในพื้นที่บ้านกองกาย อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ จากการส่งเสริมปลูกกาแฟในพื้นที่

โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 33 ครัวเรือน สมัครพนันออนไลน์ ตอบโจทย์อาชีพทางเลือกใหม่ที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรที่เข้มแข็ง แบ่งปันความรู้ภายในชุมชน โดยปีนี้เป็นปีแรกที่ก้าวสู่ฤดูการเก็บเกี่ยวกาแฟเชอรี่ และการรับซื้อเมล็ดกาแฟกะลาของชุมชนเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร โดยคาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 6-7 ตัน จะสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนได้มากถึง 300,000 บาท ซึ่งราคารับซื้อกาแฟอยู่ที่กิโลกรัมละ 16.50 บาท ถือเป็นราคารับซื้อในกาแฟเกรด A พร้อมส่งต่อแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่แจ่มเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟคุณภาพและจำหน่ายต่อไป

ฝรั่งไส้แดงไส้ขาว ขายกันได้ขายกันดี ระวังฝรั่งไส้ดำ

ในช่วง 2-3 ปีมานี้ การปลูกฝรั่งดูเหมือนว่าจะได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ เพราะว่าภาวะเศรษฐกิจต่างๆพลิกผัน โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่ต้นปี 2563 เรื่อยมาเราเกิดปัญหาโรคระบาดโควิด-19 กระทบกระเทือนกันถ้วนหน้า แม้ว่ารัฐบาลจะมีการเยียวยามาตั้งแต่เริ่มต้นและปัจจุบันการเยียวยาก็ยังไม่สิ้นสุด ดังที่มีการแปลงร่างมาเป็นคนละครึ่งบ้าง เราชนะบ้าง

ก็ช่วยให้ต่อลมหายใจได้ระยะหนึ่ง แต่จะให้หายใจได้ยาวๆก็ต้องหาอาชีพสร้างรายได้ที่เป็นของตนเอง โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรก็จำเป็นต้องหาทางรอด อะไรที่ปลูกได้ผลผลิตเร็ว หรือเลี้ยงแล้วได้ขายไวๆก็จะเป็นที่สนใจ อย่างเช่นฝรั่งที่ปลูกเพียง 7-8 เดือนก็เริ่มให้ผลผลิต ยิ่งเวลานี้มีฝรั่งพันธุ์ใหม่ๆ (ทราบว่าเป็นพันธุ์จากไต้หวัน-ตามที่โฆษณา) นำเข้ามาทำตลาดขายกันเยอะมาก

การที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดีเป็นทั้งวิกฤตและโอกาส วิกฤตที่หนึ่งเป็นโอกาสที่หนึ่ง มีบวกก็มีลบ ทุกอย่างล้วนเป็นอนิจจัง (ไม่เที่ยง, ไม่แน่นอน, ไม่คงที่, เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ.) นี่คือสัจธรรม (ความจริงแท้, ธรรมที่จริงแท้.) ของโลกมนุษย์ ขอมวลหมู่สัตว์ทั้งหลายพึงสังวรว่าช่วงไหนที่เศรษฐกิจไม่ดีประชาชนก็จะหาที่พึ่งทางใจ อย่างในตอนนี้ก็มี “ไอ้ไข่” สมัยก่อนนั้นจตุคามรามเทพก็ดังเป็นพลุแตก แต่แล้วความจริงก็คือความจริง ความอยู่รอดทางกายก็ต้องเป็นของคู่กัน (วันนี้เพิ่งฟังพระเทศน์ในงานศพแห่งหนึ่งก็เลยยังติดพันอยู่ครับ 555)

วกเข้าเรื่องฝรั่งดีกว่า เวลานี้เกษตรกรหลายท่านก็ร้องเรียน(บ่นให้ฟัง)ว่ากิ่งพันธุ์ขายกันแพงเกินและที่สำคัญไม่รู้เลยว่าพันธุ์ไหนดีไม่ดี กิ่งไหนดีไม่ดี เจ้าไหนของแท้ของปลอม และแต่ละคนที่ซื้อไปปลูกก็เน้นขายกิ่งพันธุ์กันต่อ…”เกษตรก้าวไกล” จึงไม่นิ่งนอนใจได้ตัดสินใจเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปถึง อาจารย์รัฐพล ฉัตรบรรยงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นนักวิชาการที่มีประสบการณ์ตรงในเรื่องฝรั่งที่ได้รับการยอมรับ อย่างล่าสุดนี้ก็ได้ไปสัมภาษณ์เกษตรกรท่านหนึ่งที่ดำเนินสะดวกได้พูดถึงอาจารย์ท่านนี้อย่างดีงาม โดยถามไปทั้งหมด 4 ข้อ และเพื่อให้ได้คำถามและคำตอบคู่กันจึงขอเรียบเรียงดังนี้

ถาม 1. ถ้าจะปลูกฝรั่งเป็นการค้า(เน้นขายผลผลิต) ควรเลือกพันธุ์ไหนที่คิดว่าจะเป็นที่นิยมของตลาดบ้าง?

ตอบ พันธุ์ที่แนะนำให้ปลูกคือ 1) สุ่ยมี่ (เนื้อสีขาว) 2) หงเป่าสือ (เนื้อสีชมพู แต่พันธุ์นี้ถ้าปลูกบนพื้นที่ที่มีความชื้นสูงและฝนตกชุกจะติดผลน้อยในช่วงฤดูฝน) และ 3) หงจ้วนสือ (เนื้อสีแดงอมชมพู) ทั้ง 3 พันธุ์ที่กล่าวมานี้ผมคิดว่าน่าจะเป็นที่พันธุ์ที่รสชาติและเนื้อสัมผัสน่าจะถูกปากคนไทยโดยส่วนใหญ่ ที่สำคัญคือเนื้อผลหนาเมล็ดน้อย แต่ฝรั่งพันธุ์อื่นๆ ใช่ว่าจะไม่ดี เพราะแต่ละพันธุ์ก็มีข้อดีที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมีหลายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและน่าจับตา

2.กรณีที่เราจะเลือกซื้อพันธุ์ฝรั่งใหม่ๆ มาปลูกควรเลือกอย่างไร (เช่น ลักษณะกิ่งพันธุ์ที่ดี ผู้ขายที่ดี ราคาที่ดี(เหมาะสม) ฯลฯ)

ตอบ การเลือกซื้อพันธุ์ ควรเลือกซื้อแหล่งพันธุ์ที่มีการปลูกเพื่อทำผลผลิตขายด้วย เพื่อเราะจะได้ขอซื้อมาชิมก่อนปลูก และหากปลูกไปแล้วมีปัญหาจะได้มีคนให้ปรึกษาครับ แต่สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงให้มากๆ คือ 1) ต้องเลือกต้นพันธุ์ที่ขยายพันธุ์ด้วยการติดตา ต่อกิ่ง และทาบกิ่ง ไม่ควรซื้อต้นตอที่เพาะจากเมล็ด (เพราะต้นที่ได้จะกลายพันธุ์) 2) หากพื้นที่เรามีปัญหาการระบาดของไส้เดือนฝอยรากปม จำเป็นต้องเลือกต้นพันธุ์ที่ใช้ต้นตอที่ต้านทานต่อไส้เดือนฝอยรากปม จะทำให้เราปลูกฝรั่งได้อายุยืน และสุขภาพต้นสมบูรณ์แข็งแรง

ถาม 3.กรณีที่เราได้ซื้อกิ่งพันธุ์ฝรั่งที่ดีมาแล้ว ถ้าเราเน้นนำไปขยายพันธุ์เองอย่างเช่นทุกวันนี้ สายพันธุ์ที่ได้จะดีเหมือนต้นพันธุ์เดิมหรือไม่ (ปัจจุบันผลผลิตแต่ละสายพันธุ์ที่ขายกิ่งพันธุ์แทบไม่ได้มีขายหรือมีให้ชิมนัก ทุกคนเน้นขายกิ่งพันธุ์เพียงอย่างเดียวและใช้ออนไลน์ทำตลาด)

ตอบ กรณีที่ต้องการขยายพันธุ์เองในแปลงเป็นสิ่งที่ดีครับและควรทำหากทำได้ เพราะเป็นการลดต้นทุนในการซื้อกิ่งพันธุ์ และหากเราทำเหลือจากปลูกก็สามารถจำหน่ายเป็นรายได้อีกทางหนึ่งด้วย หรือหากเป็นพันธุ์ใหม่ๆ ที่พึ่งถูกนำเข้ากิ่งพันธุ์มาปลูก ควรซื้อเพียง 1-2 ต้น เพื่อปลูกทดสอบคุณภาพในพื้นที่ของเราก่อน หากคุณภาพดีและให้ผลผลิตดกเป็นที่น่าพอใจจึงค่อยขยายพันธุ์ปลูกในแปลงต่อไป

ถาม 4.ข้อคิดอื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรไทย

ตอบ ก่อนตัดสินใจปลูกแนะนำให้สั่งซื้อผลมาทาน หรือติดต่อขอเข้าเยี่ยมชมแปลงปลูกที่ให้ผลผลิตแล้ว และชิมจากต้นก่อนตัดสินใจ

อีกประการที่สำคัญคือ ควรเลือกพันธุ์ที่หลังเก็บมาจากต้นแล้วมีอายุการวางตลาดนานหลายวัน โดยที่ยังคงคุณภาพที่ดีไว้. ทั้งหมดข้างต้นคือคำตอบของอาจารย์รัฐพล ฉัตรบรรยงค์ ซึ่งพ่อแม่ของอาจารย์ก็เป็นเกษตรกรชาวสวนจึงมั่นใจว่าคำตอบที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกรและเป็นคำตอบที่ตรงไปตรงมา อาจมีข้อ 4 อาจารย์อาจไม่ตอบตรงเสียทีเดียวแต่ก็พออนุโลมได้ว่าสามารถทำได้ (อาจารย์ตอบข้ามช๊อต ซึ่งได้มากกว่าที่ถามเสียอีก) และคำตอบข้อนี้ก็จะเกี่ยวโยงกับคำตอบข้อ 2 ขอให้ท่านที่สนใจอ่านละทำความเข้าใจให้ดี

สรุปว่า พี่น้องเกษตรกรก็ต้องดูกันเองนะครับ จะซื้อกิ่งพันธุ์ถูกแพง ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความพอใจ บ้านเรานั้นอิสระเสรี “ใครใคร่ค้า ค้า ใครใคร่ขาย ขาย” ดังที่ได้จารึกไว้ในหลักศิลาจารึกสมัย พ่อขุนรามคำแหง ใครจะค้าจะขายอะไรก็ได้ทั้งนั้นที่ไม่ผิดจารีตประเพณี หรือไม่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะฝรั่งที่ขายตรงตามลักษณะพันธุ์หรือไม่? ตรงนี้ต้องบอกว่าต้องพิจารณาใคร่ครวญกันให้ดีนะโยม.

เพิ่มเติมจากเกษตรก้าวไกล..ผู้ขายกิ่งพันธุ์ควรมีจรรยาบรรณ ขายให้ตรงตามลักษณะสายพันธุ์ อย่าขายเกินราคาจนเกินไป อย่าลืมว่าพันธุ์ที่เราได้มานั้นไม่ได้เกิดจากการปรับปรับพันธุ์ของเราเอง มีบางคนสื่อชวนเชื่อ(ให้เข้าใจผิด)ว่าเป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงขึ้นเองหรือไปตั้งชื่อเป็นของตนเอง อย่างนี้แล้วนักปรับปรุงพันธุ์ตัวจริงเขาจะรู้สึกอย่างไร เราคนไทยจะต้องให้ทุกคนอยู่รอดไปด้วยกันนะครับ

กรุงเทพฯ 25 กุมภาพันธ์ 2564 – บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทย เปิดตัวซองเมล็ดพันธุ์เจียไต๋ โฮมการ์เด้นโฉมใหม่ พร้อมเปิดสวนหน้าอาคารสำนักงานใหญ่ สุขุมวิท 60 ซึ่งรังสรรค์ขึ้นเป็น Urban Garden Space พื้นที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนเมืองหันมาปลูกผักเพื่อรับประทานเองภายใต้แนวคิด “ปลูกง่าย สไตล์คุณ” ในกิจกรรมเปิดตัวรูปแบบออนไลน์ “Home Garden Mini Field Day”

บริษัท เจียไต๋ จำกัด ยึดมั่นในการตอบสนองความต้องการของตลาดและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้ามาโดยตลอด จึงได้พัฒนาซองเมล็ดพันธุ์เจียไต๋ โฮมการ์เด้นในรูปแบบใหม่หรือซอง Easy ซึ่งปรับโฉมให้ทันสมัยและใช้งานง่ายขึ้นด้วยการระบุข้อมูลเฉพาะของพืชรวมถึงเทคนิคการปลูกต่างๆ เช่น ความต้องการน้ำและแสงของพืช ความสูงของพืช โดยผู้ปลูกสามารถใช้ซองที่ออกแบบเป็นไม้บรรทัดเพื่อวัดความสูงของต้นกล้าได้ นอกจากนี้ ด้านหลังซองยังมีขั้นตอนการปลูก วิธีการดูแล และเคล็ดลับต่างๆ ซึ่งถือป็นจุดเด่นของซองใหม่ พร้อมกันนี้ เจียไต๋ ยังได้รังสรรค์ Urban Garden Space พื้นที่แห่งแรงบันดาลใจสำหรับคนเมืองที่ต้องการเพาะปลูกในบ้านหรือที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่จำกัด เพื่อให้ทุกคนสามารถเพาะปลูกได้ง่ายและสนุกกว่าเคยด้วยแนวคิด “ปลูกง่าย สไตล์คุณ”

นายชัยวุฒิ สมปาน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการด้านการขาย ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวถึงกิจกรรมเปิดตัวรูปแบบออนไลน์ในครั้งนี้ว่า “เจียไต๋ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและลูกค้าอยู่เสมอ สำหรับซองใหม่ของเมล็ดพันธุ์เจียไต๋ โฮมการ์เด้นที่ชื่อว่าซอง Easy นี้ เราได้ปรับรูปลักษณ์ให้ทันสมัย น่าดึงดูดขึ้น เราได้เพิ่มข้อมูลวิธีการปลูกต่างๆ ที่อ่านง่าย เพื่อให้ผู้ปลูกสามารถทำได้เองจากข้อมูลและเคล็ดลับด้านหลังซอง และยังคงคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ให้ดีขึ้นอีกด้วย พร้อมกันนี้เราได้เปิดสวน Urban Garden Space ที่หน้าสำนักงานใหญ่บริษัท เจียไต๋ จำกัด ซึ่งเราต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่รักการเพาะปลูก เพียงปรับพื้นที่ภายในบ้านหรือแม้กระทั่งมุมเล็กๆ ของที่อยู่อาศัยอย่างคอนโดมิเนียมหรืออพาร์ตเมนต์มาเป็นโซนสีเขียว คุณก็มีแหล่งอาหารใกล้ตัวที่ทั้งสด สะอาด และปลอดภัยไว้รับประทาน ซึ่งความมั่นคงทางอาหารนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้จากมิติเล็กๆ อย่างตัวเราเอง”

นางสาวดวงพร จิราพิพัฒนชัย ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจโฮมการ์เด้น บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวเพิ่มเติมถึงที่มาของการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ของซองเมล็ดพันธุ์ว่า “จากการเก็บข้อมูลทั้งช่องทางขายออนไลน์ การขายตามอีเว้นท์ต่างๆ รวมไปถึงจากผู้จำหน่ายรายย่อยเอง พบว่ามีผู้สอบถามถึงวิธีปลูกพืชผักชนิดต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งเจียไต๋ ได้ให้ความสำคัญกับลูกค้าสูงสุด เราจึงนำเสียงตอบรับมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราเพื่อช่วยตอบคำถามเหล่านั้น และให้ตัวผลิตภัณฑ์สามารถขายตัวเองได้ ตลอดจนอำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อและผู้ขาย

โดยเราเปิดรับความคิดเห็นจากร้านค้าผู้จำหน่ายรายย่อย ถึงรูปแบบผลิตภัณฑ์แบบใหม่ ใช้รูปภาพประกอบให้เข้าใจง่าย เมื่อซื้อไปปลูกแล้วรู้สึกว่าไม่ได้ปลูกยากหรือซับซ้อนเกินไป ทำให้คนมีกำลังใจในการปลูกมากขึ้น นับว่าเป็นซองเมล็ดพันธุ์รูปแบบใหม่ที่เกิดจากความต้องการของผู้ใช้งานอย่างแท้จริง โดยซองใหม่หรือซอง Easy ของเจียไต๋ โฮมการ์เด้น มี 4 รูปแบบแบ่งตามชนิดสายพันธุ์ ได้แก่ ซองแถบสีฟ้า บรรจุเมล็ดพันธุ์ OP เป็นพืชผักสายพันธุ์พื้นบ้านที่ดูแลง่าย ทนต่อโรคและแมลง ซองแถบสีเขียว บรรจุเมล็ดพันธุ์ OP Selected ที่คัดสรรอย่างพิถีพิถัน และเมล็ดพันธุ์ F1 Hybrid ที่เป็นสายพันธุ์ลูกผสมที่ทนทานต่อโรคและแมลง ให้ผลิตผลที่มีคุณภาพสูง เหมาะสำหรับมืออาชีพและมือสมัครเล่น ซองแถบสีชมพู สำหรับบรรจุเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ และ ซองเมล็ดจัมโบ้ เป็นเมล็ดพันธุ์ OP ที่บรรจุในซองที่มีความจุมากขึ้น สำหรับลูกค้าที่ต้องการใช้ในปริมาณมาก”

ในส่วนของการปรับพื้นที่หน้าอาคารสำนักงานใหญ่เจียไต๋ จากสวนผักสไตล์โมเดิร์นสู่พื้นที่แห่งแรงบันดาลใจให้คนเมืองสนใจการปลูกผักเพื่อรับประทานเองนั้น เจียไต๋ ได้สร้าง Urban Garden Space โดยปรับผังของสวนเดิมออกเป็นสัดส่วนตามชนิดสายพันธุ์พืช ลงโครงสร้าง เพิ่มรายละเอียดการตกแต่งที่เสมือนยกบรรยากาศสวนในบ้านมาสู่กลางเมือง เพื่อเป็นไอเดียที่สามารถนำไปต่อยอดและใช้งานได้จริงกับสวนทุกขนาด โดยแบ่งออกเป็น 5 โซน ได้แก่ โซน Greenhouse หรือเรือนกระจกเพาะเมล็ดพันธุ์ขนาดย่อมที่ตกแต่งให้เป็นมุมที่สามารถทำงานในสวนได้ โซนกระบะและค้าง ที่จะช่วยประหยัดพื้นที่เพราะสามารถปลูกผักที่ขึ้นค้างร่วมกับการปลูกผักลงดินในแปลงเดียวกันได้ โซนซุ้มโค้งทางเดิน ที่นอกจากใช้ตกแต่งสวนแล้วยังใช้ปลูกผักชนิดเลื้อยให้คลุมทั่วทั้งซุ้มทางเดินได้ โซนทาวเวอร์ไม้เลื้อย ที่มีการผสมผสานกับไม้แขวน โดยการใช้โครงสร้างเดียวปลูกผักทั้งในกระถางแขวนและผักเลื้อยได้ สุดท้ายคือโซนนั่งเล่นในสวน ที่จะถูกใจคนรักสวนอย่างแน่นอน เพราะสามารถนำไอเดียไปตกแต่งได้ตามความเหมาะสมของขนาดพื้นที่สวนของตนเอง

นอกจากนี้ ในกิจกรรม Home Garden Mini Field Day เจียไต๋ ยังได้ร่วมงานกับอินฟลูเอนเซอร์อีก 3 ท่าน ได้แก่ แม่ขวัญศรี ผู้โด่งดังในทวิตเตอร์จากภาพอาหารไทยเมนูง่ายๆ สไตล์โฮมเมด ที่น่ารับประทาน สอดแทรกเคล็ดลับที่ใครๆ ก็สามารถทำตามได้ คุณโมส จากเพจ Mom Diary คุณแม่ยุคใหม่พร้อมลูกชายที่สร้างความอบอุ่นและเป็นแรงบันดาลใจในการตกแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่น และเชฟพลอย จากมาสเตอร์เชฟประเทศไทย ซีซั่น 1 ที่สร้างสรรค์เมนูรสเลิศจากวัตถุดิบที่หลากหลาย โดยทั้ง 3 ท่านได้นำเมล็ดพันธุ์เจียไต๋ โฮมการ์เด้นในรูปแบบซองใหม่ไปปลูกและนำผลิตผลที่ได้มาประกอบอาหารในแบบฉบับตนเอง เพื่อเป็นอีกแรงบันดาลใจและสะท้อนให้เห็นว่าการเพาะปลูกเป็นเรื่องง่ายที่ทุกคนสามารถทำได้

เจียไต๋ มุ่งให้การเพาะปลูกเป็นเรื่องง่ายเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ ตลอดจนตอกย้ำความมุ่งมั่นในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ด้วยนวัตกรรมการเกษตรและบริการที่มีคุณภาพ ทั้งนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายของการสร้างความมั่นคงทางอาหาร สำหรับผู้ที่สนใจสามารถรับชมกิจกรรมเปิดตัวซองเมล็ดพันธุ์รูปแบบออนไลน์ย้อนหลังได้ทาง www.facebook.com/cthomegarden หรือมาเยี่ยมชมและถ่ายรูปที่ Urban Garden Space บริเวณหน้าสำนักงานใหญ่ บริษัท เจียไต๋ จำกัด ได้ตั้งแต่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 9:00 น. – 17:00 น. และสำหรับท่านที่สนใจเมล็ดพันธุ์เจียไต๋ โฮมการ์เด้นซองใหม่นี้ สามารถหาซื้อได้ที่ร้านค้าเกษตร ร้านโมเดิร์นเทรดสาขาใกล้บ้าน หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.ct-homegarden.com / Line: @homegarden/ Facebook: Chia Tai Home Garden

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามประกาศใช้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุงใหม่) ทั้งหมด 13 ด้าน 1.ด้านการเมือง 2.ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 3.ด้านกฎหมาย 4.ด้านกระบวนการยุติธรรม 5.ด้านเศรษฐกิจ 6.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7.ด้านสาธารณสุข 8.ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ 9.ด้านสังคม 10.ด้านพลังงาน 11.ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ 12.ด้านการศึกษา 13.ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากร

“เกษตรก้าวไกล” ขอนำเสนอเฉพาะแผนปฏิรูปด้านการเกษตร ซึ่งมีบรรจุอยู่ในแผนปฏิรูปด้านที่ 5 (ด้านเศรษฐกิจ) ดังรายละเอียดล่างนี้ (เมื่อพิจารณาดูแล้ว สิ่งที่สรุปในมุมของเกษตรก้าวไกลคือจะปฏิรูปหรือพัฒนาประเทศอย่างไรให้เกษตรกรของเราสามารถจับปลาได้เอง โดยไม่หวังการได้รับแจกปลาจนเลยเถิด จริงอยู่การแจกปลาอาจได้ผลในระยะสั้น แต่ระยะยาวยังแต่จะทำให้อ่อนเปลี้ยเพลียแรง-ดังภาพที่เรานำมาประกอบ ถ้าเกษตรกรสามารถจับปลาได้เองก็จะยิ้มอย่างมีความสุขกว่ากันมาก)

ส่วนที่ ๒ กิจกรรมปฏิรูปที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ
๒.๑ กิจกรรมปฏิรูปที่ ๑ การสร้างเกษตรมูลค่าสูง (High Value Added)

ภาคเกษตรเป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญของไทย โดยมีประชากรจำนวนมากถึง ๒๗ ล้านคน อยู่ในภาคเกษตร อีกทั้งไทยยังมีความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารอันดับที่ ๑๑ ของโลก

อย่างไรก็ตาม ภาคเกษตรขาดการพัฒนาที่เหมาะสมมาเป็นเวลานาน เกษตรกรส่วนใหญ่ยังทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่มีผลิตภาพ และประสิทธิภาพ (Productivity and Efficiency) อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งสะท้อนจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี ๒๕๖๒

ที่พบว่า การจ้างงานในภาคเกษตร ๑๑ ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ ๓๐ ของการจ้างงานทั้งหมด แต่กลับมีสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) เพียงร้อยละ ๘ เท่านั้น เกษตรกรจึงมีรายได้น้อยและมีปัญหาหนี้สิน ทำให้ขาดความมั่นคงในชีวิต และเป็นภาระที่รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณในการอุดหนุนอย่างต่อเนื่องทุกปี

ทั้งนี้ สอดคล้องกับข้อมูลของธนาคารโลก ที่ได้จัดทำข้อมูลเปรียบเทียบผลิตภาพการผลิต (Productivity) โดยวัดจากมูลค่าเพิ่มต่อแรงงาน ในช่วงปี ๒๕๕๓-๒๕๕๘ ที่ชี้ว่าการเติบโตของมูลค่าเพิ่มต่อแรงงานของไทยคิดเป็นเพียงร้อยละ ๑.๙ ต่อปี ซึ่งค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับต่างประเทศ โดยเฉพาะผลิตภาพภาคเกษตรที่วัดจากอัตราการผลิตต่อพื้นที่ของไทยที่มีค่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น การที่ไร่นามีขนาดเล็ก ขาดเทคนิคในการทำไร่นาและเครื่องมือที่ทันสมัย ทั้งนี้ มีเพียงร้อยละ ๓๐ ของพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในเขตชลประทาน นอกจากนี้ ยังขาดความสมดุลของการผลิต ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการอุดหนุนของภาครัฐ เกษตรกรขาดการศึกษาและการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะที่จำเป็น และพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ถูกใช้ในการปลูกพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจต่ำ

โดยพื้นที่การเกษตรของไทย ๑๔๙ ล้านไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวถึง ๖๘.๗ ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ ๔๖ ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด รองลงมาคือพื้นที่ปลูก ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน และพืชอื่น ๆ ทั้งนี้ แนวทางหนึ่งที่สำคัญและเร่งด่วนในการเพิ่มผลิตภาพและมูลค่าต่อหน่วยพื้นที่ทางการเกษตร คือ การปรับเปลี่ยนไปสู่การปลูกพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง อาทิ หน่อไม้ฝรั่ง ขิง ถั่ว พริกไทย กล้วย ฯลฯ

ที่สำคัญจะต้องปฏิรูปเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร ด้วยการปรับโครงสร้างจากเกษตรแบบดั้งเดิมพัฒนาไปสู่เกษตรสมัยใหม่ที่มีมูลค่าสูง (High Value Added) โดยนำองค์ความรู้การวิจัยพัฒนา นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการทำเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) และเกษตรแบบแม่นยำ (Precision Farming) เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร และต่อยอดการพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy)

ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับห่วงโซ่คุณค่าภาคเกษตร เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล มั่นคง และเติบโตได้อย่างยั่งยืน เพื่อสนับสนุนให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก ตลอดจนยังจะเป็นการกระจายรายได้สู่เกษตรกรอย่างทั่วถึง อันจะเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้อีกทางหนึ่งด้วย

ดังนั้น การพัฒนาภาคเกษตรไปสู่เป้าหมายเกษตรมูลค่าสูง (High Value Added) จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ทั้งกระบวนการตั้งแต่ ต้นทาง กลางทางและปลายทางโดยใช้การตลาดนำการผลิต โดยมีประเด็นสำคัญที่ต้องขับเคลื่อนในการปฏิรูปด้านการสร้างเกษตรมูลค่าสูง ดังนี้

๑) ปรับเปลี่ยนพื้นที่จากการทำเกษตรมูลค่าต่ำและไม่เหมาะสมกับพื้นที่ ไปสู่การปลูกพืช เลี้ยงปศุสัตว์ และประมงที่มีมูลค่าสูง สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและเหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งขยายผลพื้นที่การทำเกษตรมูลค่าสูงที่ประสบความสำเร็จให้มีการขยายเติบโตออกไปมากขึ้น

๒) สนับสนุนการทำการเกษตรแบบรวมผลิตและรวมจำหน่าย (เกษตรแปลงใหญ่ หรือสหกรณ์) ตามความเหมาะสมกับศักยภาพของเกษตรกร กล่าวคือ พัฒนาเกษตรกรรายเล็กให้สามารถพึ่งตนเองได้ พัฒนาเกษตรกรรายกลางให้เข้มแข็ง ก้าวไปเป็นผู้ประกอบการเกษตร และพัฒนาเกษตรกรรายใหญ่ ให้มีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก โดยมีเป้าหมายในการพัฒนา ดังนี้

การตลาดนำการผลิต โดยการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพสูงจะเป็นไปตามความต้องการของตลาดหรือนำด้วยการตลาด รวมถึงการสร้างอุปสงค์ใหม่ๆ
การทำเกษตรสมัยใหม่ ทั้งเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) และเกษตรแม่นยำ (Precision Farming)
การทำเกษตรยึดหลัก ๓ ข้อ คือ คุณภาพสูง ประสิทธิภาพสูง และต้นทุนต่ำ
การทำเกษตรที่มีมาตรฐานความปลอดภัย (Sanitary and Phytosanitary Measures : SPS)
การพัฒนาความรู้ (ล้ำสมัย) อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
การปลูกพืช ปศุสัตว์ และประมงเสริมรายได้
๓) ขยายพื้นที่ชลประทานให้เกษตรกรมีน้ำใช้สำหรับการผลิตสินค้าเกษตร อย่างเหมาะสมเพียงพอ ทั่วถึง และเป็นธรรม รวมทั้งพัฒนาเกษตรกร ให้ใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

๔) พัฒนาคลัสเตอร์พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และส่งเสริมให้มีความหลากหลายทางชีวภาพการเกษตร (Agricultural Biodiversity) โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อให้เกษตรกรมีพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์คุณภาพดี มีความหลากหลาย และเพียงพอกับความต้องการใช้ในการทำการเกษตรมูลค่าสูง

๕) พัฒนาสหกรณ์การเกษตรให้มีความเข้มแข็งและส่งเสริมให้เกิดผู้ให้บริการด้านการจัดการเกษตรสมัยใหม่ (Service Provider) อย่างครบวงจร เพื่อให้มีบทบาทในการช่วยเหลือเกษตรกรในการทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ

๖) สร้างผู้ประกอบการเกษตร (Smart Farmer) โดยพัฒนาเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็นผู้ประกอบการเกษตรที่มีองค์ความรู้ มีการใช้เทคโนโลยีและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย รวมถึงดำเนินธุรกิจอย่างทันยุคสมัยสามารถเชื่อมโยงการผลิตกับตลาด และสร้างตราสินค้าที่เชื่อถือได้ให้กับสินค้าเกษตร

๗) ส่งเสริมเกษตรกรให้สามารถเข้าถึงข้อมูล Big Data ด้านการเกษตร และใช้ประโยชน์จากดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อให้เกษตรกรมีองค์ความรู้ (Knowledge) และข้อมูล (Data) สำหรับประกอบการตัดสินใจทำการเกษตร และเชื่อมโยงตลาดให้กับผู้ผลิตทั้งออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงการนำ Digital Content มาใช้ในการสื่อสาร สร้างการรับรู้ และปรับเปลี่ยนทัศนคติในการพัฒนาสู่เกษตรสมัยใหม่

๘) เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรไปสู่อุตสาหกรรมอาหาร และเศรษฐกิจชีวภาพตามแนวทาง BCG โดยใช้วัตถุดิบต้นทางจากทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสนับสนุน Value chain ภายในประเทศ รวมถึงนำนวัตกรรมมาช่วยเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์อาหารมูลค่าสูง ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดโลก อาทิ เกษตรพลังงานเพื่อสร้างทางเลือก อาหารเพื่อสุขภาพ ส่วนประกอบของอาหาร (Food Ingredients) อาหารที่มีประโยชน์เฉพาะ (Functional Food) อาหารเสริมและอาหารที่มีผลในเชิงการรักษา เป็นต้น

๒.๑.๑ เป้าหมายและตัวชี้วัดของกิจกรรมปฏิรูป

๑) เป้าหมาย

ยกระดับรายได้ภาคการเกษตร อาหารแปรรูป และผลิตภัณฑ์ชีวภาพ

๒) ตัวชี้วัด

๒.๑) อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสาขาเกษตรขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ ๓.๘

๒.๒) มูลค่าของสินค้าเกษตรแปรรูป เกษตรชีวภาพ และเกษตรที่ได้จากเทคโนโลยีสมัยใหม่คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๒๐ ของ GDP ภาคเกษตร ภายใน ๕ ปี

๒.๓) รายได้เงินสดสุทธิทางการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ ต่อปี

๒.๑.๒ หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

๒.๑.๓ ระยะเวลาดำเนินการรวม ๒ ปี (๒๕๖๔-๒๕๖๕)

๒.๑.๔ ประมาณการวงเงินรวม และแหล่งที่มาของเงินงบดำเนินงาน (ร้อยละ ๑๐ ของงบประมาณที่รัฐใช้ในการอุดหนุนภาคเกษตร)

๒.๑.๕ ขั้นตอนและวิธีการการดำเนินการปฏิรูป กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักในการท างานร่วมกับ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการด าเนินการ ดังนี้

๑) ขั้นตอนที่ ๑ หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนประเด็นปฏิรูปด้านการเกษตรที่ได้ตั้งไว้ ระยะเวลาดำเนินการ ไตรมาสที่ ๑ ของปีงบประมาณ ๒๕๖๔

๒) ขั้นตอนที่ ๒ ผลักดันให้เกิดงบประมาณแผนงานบูรณาการด้านปฏิรูปการเกษตร โดยประมาณการวงเงินร้อยละ ๑๐ ของวงเงินงบประมาณที่รัฐใช้ในการอุดหนุนภาคเกษตร ระยะเวลาดำเนินการ ๑ ปี(๒๕๖๔)

๓) ขั้นตอนที่ ๓ ให้มีคณะกรรมการ/อนุกรรมการ หรือคณะทำงานร่วมระหว่าง คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านการเกษตรมูลค่าสูง ระยะเวลาดำเนินการ ไตรมาสที่ ๑-๒ ของปีงบประมาณ ๒๕๖๔

๔) ขั้นตอนที่ ๔ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจประชุมร่วมกับหน่วยงาน ผู้รับผิดชอบเพื่อผลักดันการขับเคลื่อนและติดตามความก้าวหน้า ระยะเวลาดำเนินการ ทุก ๓ เดือน

ภาคเกษตรกรรมนับว่ามีบทบาทสําคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างมาก ซึ่งเห็นได้ชัดจากสถานการณ์วิกฤตโรคโควิด-19 ที่ทั่วโลกต้องเผชิญ ส่งผลกระทบต่อทุกสายงานอาชีพ ผู้คนออกมากักตุนอาหาร เพราะกลัวอดตาย จึงกลายเป็นสิ่งชี้วัดได้ว่า ไม่ว่าจะเกิดสถานการณ์ใดๆ สิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็นมากที่สุดสำหรับมนุษย์ก็คือ ความมั่นคงทางอาหาร ที่ต่อให้จะเป็นประเทศที่ร่ำรวยหรือเป็นประเทศมหาอำนาจ หากขาดความมั่นคงทางอาหารแล้วนั้น ก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

กรมส่งเสริมการเกษตร มีความห่วงใยพี่น้องเกษตรกรและประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของไวรัส โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรและประชาชนทั่วไป จึงไม่หยุดนิ่งที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ทั้งในด้านของการแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ รวมถึงการขยายองค์ความรู้ในการทำเกษตร จุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีองค์ความรู้ในการสร้างแหล่งอาหารที่มั่นคงเองได้ ด้วยการปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็ง มีการจัดเจ้าหน้าที่เกษตร และจัดอบรมเพื่อให้ความรู้กับประชาชน รวมถึงโครงการผลักดันเกษตรกรรุ่นใหม่ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาภาคการเกษตรต่อไป

คุณชัด ขำเอี่ยม เกษตรอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ให้ข้อมูลว่า กรมส่งเสริมการเกษตรให้ความสำคัญในเรื่องของงานส่งเสริมการเกษตร สำหรับเกษตรอำเภอ ได้ยึดหลักปฏิบัติหน้าที่ตามสโลแกนการบริหารงาน ที่บอกว่า “แนะนำ ส่งเสริม เพิ่มพูนผลผลิต คือภารกิจของเกษตรอำเภอ”

โดยภารกิจสำคัญของสำนักงานเกษตรอำเภอ คือ การช่วยเหลือและการสนับสนุนให้ความรู้เพื่อติดอาวุธให้กับเกษตรกร ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในด้านของทฤษฎีจะมีการจัดเจ้าหน้าที่อบรมให้ความรู้กับเกษตรกรในเรื่องของการจัดทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย รวมถึงการจัดอบรมสอนการทำตลาดออนไลน์ และในภาคปฏิบัติมีการส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาแนะนำเกษตรกรอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการปลูก การบริหารจัดการดินและน้ำ ไปจนถึงคำแนะนำแก้ไขปัญหาอุปสรรคระหว่างทาง และนอกเหนือจากการเผยแพร่องค์ความรู้ คือการที่ได้สร้างบุคลากรสำคัญที่มีคุณภาพ จนสามารถนำความรู้ที่เป็นประโยชน์ไปเผยแพร่ให้กับคนในชุมชนต่อไปได้ อย่างเช่น เกษตรกรตัวอย่างท่านนี้

“อมร ศรีบุญนาค คือเกษตรกรต้นแบบ ที่เริ่มต้นตั้งแต่เข้ามาขอคำปรึกษาที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ในเรื่องของการทำเกษตรผสมผสาน เมื่อผมมองเห็นคุณอมรเป็นคนที่มุ่งมั่นและสนใจในเรื่องของการหาความรู้ ตรงตามทฤษฎีที่บอกว่า หัวไว ใจสู้ ผมก็ได้ติดตามเขามาโดยตลอด และต้องบอกเลยว่าความแตกต่างตั้งแต่เริ่มแรก เรียกว่าพลิกฝ่ามือเลย เพราะว่าพื้นที่เดิมเป็นที่นา ที่เขาจะต้องทำนาตลอด เขาก็จะรู้อยู่แล้วว่าการทำนาต้องใช้ต้นทุนมาก แต่ได้กำไรน้อย แต่พอมายึดหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ คือเปลี่ยนจากนาเป็นสวน แล้วก็ได้แนะนำให้เขาว่าการทำฟาร์มจะต้องมีเงิน ตั้งแต่รายวัน รายเดือน รายปี เพื่อให้มีรายได้เข้ามาตลอด จนทุกวันนี้จากคนที่ไม่มีความรู้ด้านการเกษตรกลายมาเป็นเจ้าของสวนที่เป็นต้นแบบให้กับคนในชุมชนและได้กลายเป็น Young Smart Farmer หรือ YSF ที่มีคุณภาพ นับว่าประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม” คุณชัด กล่าว

ต้นแบบเกษตรกรนักสู้
“อมร ศรีบุญนาค”
คุณอมร ศรีบุญนาค เว็บเล่นบาคาร่า เกษตรกรเจ้าของสวนศรีบุญนาค อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์คนเก่งของจังหวัดชัยนาท อดีตมนุษย์เงินเดือนผันชีวิตเป็นเกษตรกร เข้ามาพลิกฟื้นผืนดินของพ่อแม่ด้วยการน้อมนำหลักเกษตรทฤษฎีใหม่มาประยุกต์ปรับปรุงจัดสรรพื้นที่ทำเกษตรผสมผสาน บนพื้นที่ 12 ไร่ 3 งาน จนประสบผลสำเร็จ ทั้งในด้านการผลิตและการตลาด ด้วยความช่วยเหลือจากสำนักงานเกษตรอำเภอหันคา ที่เป็นทั้งพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาที่ดีอยู่เคียงข้างกับเกษตรกรในทุกย่างก้าว

เผยทิศทางกระเทียมศรีสะเกษ ปีนี้ราคาดี คาดออกตลาดมากสุด

นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันจังหวัดศรีสะเกษ เป็นแหล่งผลิตกระเทียมอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศความหนาวเย็น เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ลักษณะพื้นที่ปลูกเป็นดินมูลทรายที่เป็นดินตะกอนลุ่มน้ำโบราณลำน้ำมูลและลำน้ำสาขามูล ที่ทับถมมานาน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์สูง ประกอบกับเมื่อผสมกับดินโพนหรือดินจอมปลวกตามภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้าน จึงทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

จากการติดตามสถานการณ์การผลิตกระเทียมของจังหวัดศรีสะเกษ (ข้อมูลพยากรณ์ ณ 19 มกราคม 2564) คาดว่า ปีเพาะปลูก 2563/64 มีเนื้อที่เพาะปลูก 638 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีจำนวน 597 ไร่ (เพิ่มขึ้น 41 ไร่ หรือร้อยละ 7) ผลผลิตรวม 527 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีจำนวน 489 ตัน (เพิ่มขึ้น 38 ตัน หรือร้อยละ 7.77) ผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 826กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีจำนวน 819 กิโลกรัม/ไร่ (เพิ่มขึ้น 7 กิโลกรัม/ไร่ หรือร้อยละ 0.85) เนื่องจากสภาพภูมิอากาศหนาวเย็น

มีน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต และไม่มีฝนช่วงใกล้เก็บเกี่ยว ประกอบกับราคาอยู่ในเกณฑ์ดีในปีที่ผ่านมาจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษาผลผลิตมากขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งจังหวัดมีทิศทางเพิ่มขึ้นแต่ไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม คาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2564 และจะออกตลาดมากที่สุดเดือนมีนาคม 2564 คิดเป็นร้อยละ 70 ของผลผลิตทั้งหมดในจังหวัด

ด้านต้นทุนการผลิตกระเทียมของจังหวัดศรีสะเกษ เฉลี่ย 25,783 บาท/ไร่ หรือคิดเป็น 31 บาท/กก. เกษตรกรเริ่มเพาะปลูกตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 70 – 80 วัน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 826 กก./ไร่ ได้ผลตอบแทน 90,034 บาท/ไร่ คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 64,251 บาท/ไร่ หลังจากที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะนำกระเทียมมามัดจุกรวมกันและนำไปแขวนตากในโรงเรือนที่มีอากาศถ่ายเทดี ไม่โดนฝน น้ำค้าง และแสงแดด ประมาณ 7 – 15 วัน ทำให้กระเทียมแห้งสนิท

มีคุณภาพดี ด้านราคากระเทียมแห้งมัดจุกปีนี้ คาดว่าปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (มกราคม 2563) เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ผลผลิตมีคุณภาพ ประกอบกับตลาดมีความต้องการต่อเนื่อง หากจำแนกราคา แต่ละขนาด (ราคา ณ 19 มกราคม 2564) พบว่ากระเทียมแห้งหัวใหญ่มัดจุกเฉลี่ย 121 บาท/กก. สูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีราคา 110 บาท/กก. กระเทียมแห้งหัวกลางมัดจุกเฉลี่ย 110 บาท/กก. สูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีราคา 100 บาท/กก. และกระเทียมแห้งหัวเล็กมัดจุก เฉลี่ย 96 บาท/กก. สูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีราคา 86 บาท/กก.

สำหรับสถานการณ์ตลาดกระเทียมแห้งมัดจุก พบว่า ผลผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 50 จำหน่ายให้กับพ่อค้าในชุมชน พ่อค้ารายย่อย พ่อค้าเร่ ซึ่งจะมารับซื้อจากเกษตรกรถึงแหล่งผลิต เพื่อนำไปจำหน่ายต่อให้กับลูกค้าทั่วไปภายในจังหวัด ผลผลิตร้อยละ 20 ส่งจำหน่ายจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ อุบลราชธานี และยโสธร ส่วนจังหวัดอื่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และชลบุรี ผลผลิตร้อยละ 25 เกษตรกรจะเก็บส่วนหัว และกลีบ ไว้สำหรับทำพันธุ์ในการเพาะปลูกรอบถัดไป ส่วนผลผลิตที่เหลืออีกร้อยละ 5 เกษตรกรจะเก็บไว้บริโภคในครัวเรือน

ผู้อำนวยการ สศท.11 กล่าวเพิ่มเติมว่า กระเทียมศรีสะเกษเป็นพืชเศรษฐกิจที่ได้รับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563 มีลักษณะเด่น คือ เปลือกนอกสีขาวแกมม่วงเปลือกบาง หัวแน่น กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน สามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่ฝ่อ ซึ่งกลิ่นและรสชาติมีความโดดเด่นแตกต่างจากสินค้าประเภทเดียวกันที่มาจากแหล่งอื่น อีกทั้ง จังหวัดศรีสะเกษ โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้ส่งเสริมการปลูกกระเทียมในรูปแบบเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มทำการผลิตและบริหารจัดการร่วมกัน โดยมีตลาดรองรับ ที่แน่นอน ลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน ผลักดันให้เกิดการสร้างรายได้กับเกษตรกรในจังหวัดอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด เกษตรกรควรเฝ้าระวังโรคหัวและรากเน่า โรคใบจุดสีม่วง และโรคใบไหม้ อาจส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิตได้ นอกจากนี้ เกษตรกรควรเพาะปลูกในพื้นที่ดินมูลทรายหรือ ดินจอมปลวกจะทำให้กระเทียมเจริญเติบโตดี มีคุณภาพดี สามารถจำหน่ายได้ราคาสูงกว่ากระเทียมจากแหล่งอื่น สำหรับเกษตรกรหรือท่านใดที่สนใจข้อมูลสถานการณ์การผลิตกระเทียมของจังหวัดศรีสะเกษ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.11 อุบลราชธานี โทร.045 344 654

เย็นวันนี้(26 มกราคม 2564) ได้คุยกับ คุณวิสัย ภูจันหา เจ้าของ “ไร่มดแดง” บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธ์ ถือว่าเป็นเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จกับการปลูกพุทรานมสดแบบกางมุ้ง นับตั้งแต่ที่ได้เข้าร่วมกับไปรษณีย์ไทย จำหน่ายพุทราทางไปรษณีย์ ทำให้เป็นที่รู้จักของลูกค้ามากขึ้น

คณวิสัย ปลูกพุทรามานานร่วม 30 ปี เรียกว่าจงรักภักดีกับการปลูกพุทรามานานมากๆ แต่เพิ่งจะยิ้มออกเมื่อไม่กี่ปีให้หลังมานี้ เพราะผลจากการเข้าร่วมกับไปรษณีย์ไทยในปี 2561 ทำให้สื่อมวลชนลงข่าวกันเกรียวกราว ทั้งผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวถวิลหาพุทราหวานบ้านโพน โดยคุณวิสัยนั้นรับหน้าที่เป็นประธานของกลุ่ม คอยดูแลสมาชิกในกลุ่มทั้งเรื่องการผลิตและการตลาด

จากการพูดคุยกันในวันนี้ เขามีแปลงปลูกพุทรา 2 แปลง แปลงขนาด 4 ไร่ กับ 3 ไร่เศษ ทั้งสองแปลงกางมุ้งมาได้ 7-8 ปีแล้ว ทึ่งที่ว่าเขากางมุ้งกันทั้งแปลงเลยทีเดียว เป็นมุ้งขนาดใหญ่มาก ซึ่งสามารถป้องกันแมลงวันทองที่เป็นศัตรูตัวฉกาจได้ดีกว่าไม่กางมุ้ง ลดต้นทุนเรื่องการฉีดยาป้องกันได้มาก และได้รับมาตรฐาน GAP ด้วย

“เกษตรก้าวไกล” ได้นัดคุณวิสัยไว้ว่า วันมะรืนนี้(วันพฤหัสที่ 28 มกราคม 2564) ช่วงเช้าๆเขาจะเข้าไปที่ไร่มดแดง และหากระบบสัญญานโทรศัพท์ชัดเจนก็จะทำการสัมภาษณ์แบบ LIVE สดจากใต้ต้นพุทรากันเลย ซึ่งพุทราช่วงนี้อยู่ในช่วงปลายฤดูกาล อาจไม่สวยนัก แต่ก็จะให้ดูชมกัน

เราตั้งใจมากว่าในช่วงที่เกษตรกรชาวสวนผลไม้มีผลผลิตออกเยอะๆ ในอีกเดือนสองเดือนข้างหน้านี้ จะทำการสัมภาษณ์แบบ LIVE สดจากสวน ไม่ว่าสวนจะอยู่แห่งหนตำบลใด โดยให้เกษตรกรทุกคนเป็น “เกษตรกรข่าว” รายงานสดมาจากสวนของตนเอง ซึ่งการเดินทางไปที่สวนอาจจะยังไม่สะดวกนัก ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อเป็นการช่วยกันสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รับรู้ของผู้บริโภค ซึ่งเวลานี้ระบบออนไลน์ได้ทำให้เกษตรกรสามารถขายผลิตได้โดยตรง โดยทางเราจะทำการประสานข้อมูลกับกรมส่งเสริมการเกษตรที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องการขายผลิตผ่านระบบออนไลน์อยู่แล้ว

เราจะขอใช้กรณีของไร่มดแดงเป็นต้นแบบก่อน เรียกว่า “มดแดงโมเดล” ถ้าไปได้ดีก็จะสัมภาษณ์ LIVE สดเกษตรกรรายอื่นๆ ที่มีผลผลิตออกเยอะๆ โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 จะเป็นการช่วยกันประชาสัมพันธ์สินค้าของเกษตรกรอีกทางหนึ่ง เท่าที่จะสามารถทำได้ครับ

นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ปัญหาโรคไวรัสใบด่างในมันสำปะหลังยังคงมีอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่แพร่ระบาด 28 จังหวัด การระบาดเพิ่มขึ้นคิดเป็นนัยยะเกินกว่า 200% พื้นที่เกินกว่า 4 แสนไร่ และยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะสามารถควบคุมหรือป้องกันโรคได้อยู่หรือไม่ ส่งผลให้ปัญหาต่างๆตามมา ทั้งจากพื้นที่การแพร่ระบาด การเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์ สายพันธุ์ต้านทาน ราคาตกต่ำ การขนส่ง การส่งออกต่างประเทศ โครงการช่วยเหลือเยียวยา ฯลฯ ปัญหาหลักประเด็นสำคัญหนึ่งคือกฎเกณฑ์ กติกาของระบบราชการที่เป็นเงื่อนไข อุปสรรค ซึ่งหากโรคไวรัสใบด่างยังคงระบาดเช่นนี้

เกรงว่าในปีการผลิต 2565 จะยังมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังได้อยู่หรือไม่ ด้านราคามันสำปะหลังสภาเกษตรกรแห่งชาติพยายามผลักดันเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เช่นล่าสุดได้จัดทำข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการราคาไปยัง 4 สมาคม เพื่อการกำหนดราคามันสำปะหลังภายในประเทศ ประกาศกำหนดราคาแนะนำ และแจ้งประกาศราคาแนะนำทุก 15 วัน รวมทั้งกำหนดให้มีมาตรการเพื่อป้องกันการขายตัดราคา ทั้งนี้ หากมองถึงการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน คณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ พยายามผลักดันให้เกษตรกรในพื้นที่อย่างน้อย 1 อำเภอ ได้มีการรวมตัวกันอย่างเป็นรูปแบบมีพลังยิ่งกว่าแปลงใหญ่ วางแผนการผลิต คุณภาพ ระยะเวลา การเก็บเกี่ยวและรวบรวมผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย เกษตรกรจะสามารถสร้างและควบคุมกลไก อำนาจการต่อรองเรื่องราคาได้ในวัตถุดิบการเกษตรทุกสาขาเพราะอยู่ในมือเกษตรกร

อย่างไรก็ตาม ด้านการแปรรูปก็สำคัญ มีผลงานวิจัยหลากหลายที่เกษตรกรสามารถแปรรูปได้ในเบื้องต้น เช่น การแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ สุราชุมชน แป้งฟลาวร์สำหรับคนแพ้กลูเตน ซึ่งต้องร่วมกันส่งเสริม ยกระดับการตลาดรวมทั้งงานวิจัยการแปรรูปและเรื่องมาตรฐานสถานที่ผลิตด้วย

“ ถ้าจัดทำหนึ่งตำบลหนึ่งอำเภอรวบรวมผลผลิตได้ เกษตรกรจะมีอำนาจต่อรองขึ้นมาทันทีไม่ว่าพืชชนิดไหน ด้วยวัตถุดิบอยู่ในมือพี่น้องเกษตรกรแต่ต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่ายนะ สภาเกษตรกรจะขายแนวคิด โดยนำร่องที่จังหวัดนครราชสีมาก่อน เชื่อมโยงแผนภาคการเกษตรไปสู่แผนการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็น 1 ในเรื่องของการสร้างองค์ความรู้ยกระดับรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกร ซึ่งต้องดูทิศทางและเตรียมเสนอผ่านอบจ. เช่น แผนในเรื่องของการบริหารจัดการท้องถิ่น เพื่อให้เป็นนโยบายของ อบจ. ต่อไป ” นายเติมศักดิ์ กล่าวปิดท้าย

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2560 “เกษตรก้าวไกล” ได้เปิดตัวโครงการเกษตรกรข่าว… “ใครๆก็เป็นผู้สื่อข่าว(เกษตร)ได้”-ขอแค่ใจรักเท่านั้น! https://bit.ly/3au1QDu จากวันนั้นจนวันนี้เราก็ไม่ได้สานต่อโครงการนี้แต่อย่างใด ทั้งๆที่ได้รับความสนใจมาก ทั้งผู้สมัครเป็นเกษตรกรข่าว และองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสถานีวิทยุ ม.ก. ที่เราได้รับเกียรติเซ็น MOU https://bit.ly/3j8Ik3q แต่จนแล้วจนเล่าก็ไม่ได้ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ด้วยความเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลที่ทำให้สื่อดั้งเดิมแบบเราแต่หันมาทำสื่อดิจิทัลตั้งตัวแทบไม่ทัน เรียกว่าต้องเอาตัวเองให้รอดเป็นลำดับแรก จึงจะสามารถยื่นมือไปให้คนอื่นจับได้

ต้องต่อสู้กันมาเป็นเวลา 4-5 ปีติดต่อกัน จนวันนี้ก็ใช่ว่าจะอยู่รอดปลอดภัย เพราะโลกยุคใหม่ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน แต่ที่แน่นอนคือประสบการณ์ที่มากขึ้น ตรงส่วนนี้เองที่เรามั่นใจว่าพอจะแบ่งปันความรู้กันได้บ้าง

เพราะฉะนั้น ในโอกาสที่เว็บไซต์ข่าวเกษตรก้าวไกลจะขึ้นปีที่ 6 เราจึงรื้อฟื้นโครงการ #เกษตรกรข่าว กลับมาใหม่ ซี่งเวลานี้มีโอกาสเป็นไปได้สูงกว่าเวลานั้นมาก เนื่องจากผู้คนเริ่มตื่นตัวในการใช้สื่อออนไลน์กันมากขึ้น แฟลตฟอร์มต่างๆแพร่หลายและใช้ง่ายมากขึ้น จากเดิมที่เราเคยคิดว่าจะต้องออกแบบแฟลตฟอร์มการส่งข่าวของเราเอง แต่วันนี้เราไม่ต้องทำเอง ขอแค่ใช้สิ่งที่มีอยู่ให้ครบถ้วนก็มากมายเกินตัวจนใช้ไม่หมดแล้ว

จึงขอประกาศเชิญชวนผู้สนใจที่จะร่วมโครงการเกษตรกรข่าวมาร่วมสร้างเครือข่ายการนำเสนอข่าวเกษตรให้มั่นคงแข็งแรง…ป่าวประกาศให้ทุกคนตระหนักรับรู้ว่า #เกษตรคือประเทศไทย #เกษตรกรอยู่รอดประเทศไทยอยู่ได้ คือไม่ว่าท่านจะอยู่แห่งหนตำบลใดก็สามารถรายงานข่าว LIVE สดได้ตลอดเวลา ขอแค่มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนและเน็ตดีๆก็ถือว่าทันสมัยที่สุดแล้ว

เทคนิควิธีการใช้เครื่องมือ รวมถึงวิธีการนำเสนอข่าว จะพูดจะคุยอย่างไร เราจะมีทีมงานผู้มีประสบการณ์คอยแนะนำ ชนิดที่ว่าทุกคนสามารถทำได้ทันที

ถามว่าการนำเสนอข่าวเกษตรจะได้ประโยชน์อย่างไร? โดยเฉพาะประโยชน์ต่อตัวท่าน ตรงนี้ตอบว่าในเรื่องของเงินตอบแทนอาจจะยังไม่ได้ในช่วงแรกนี้ แต่สิ่งที่ท่านจะได้รับคือการได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องของการใช้เครื่องมือ เทคนิควิธีการนำเสนอข่าว ซึ่งเราเชื่อเหลือเกินว่าความรู้เหล่านี้ท่านสามารถนำไปปรับใช้กับกิจการส่วนตัวของท่านได้ เช่น ท่านทำเกษตรอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็สามารถไปทำสื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์กิจการของท่านได้

ต่อเมื่อท่านมีความชำนาญและมองเห็นร่วมกันแล้ว เราก็จะมาตกลงร่วมกันอีกครั้งว่า จะเดินหน้าไปด้วยกันได้อย่างไร

แต่สิ่งที่ประโยชน์อย่างใหญ่หลวงคือ ภารกิจที่ท่านทำจะเป็นประโยชน์โดยรวมต่อเศรษฐกิจการเกษตรประเทศไทย หากทุกคนช่วยกันสื่อสารบอกกล่าวสิ่งดีงามของประเทศนี้ที่เป็นประเทศเกษตร เราเชื่อว่าการเกษตรประเทศไทยจะเข้มแข็งและเจริญก้าวหน้าได้ในที่สุด

จึงขอเชิญชวนทุกท่านที่มีหัวใจเกษตร มาสมัครเป็นเกษตรกรข่าวกันอีกครั้ง ติดต่อได้ที่โทร.ไอดีไลน์ 0863266490 (เท็น) นี่เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่เราจะได้ทำงานเดินหน้าไปด้วยกันครับ

ผมเฝ้าสังเกตการเก็บลำไยในพื้นที่สอยดาว โป่งน้ำร้อนมานาน…วันเก็บลำไยน่าจะเป็นวันที่ชาวสวนมีความสุขที่สุด แต่เรื่องจริงกลับตรงข้าม คือเป็นวันที่เครียดที่สุด บางคนถึงกับต้องร้องไห้หลั่งน้ำตา เลวร้ายที่สุดถึงขั้นทะเลาะ ฆ่ากันตาย เพราะล้งเอาเปรียบชาวสวนด้วยหลากหลายกลโกง…

1) เก็บลำไยลงตะกร้าเฉพาะเบอร์ใหญ่ (1-2) ส่วนเบอร์กลาง (3-4) แทนที่ตะลงตะกร้าตามสัญญา กลับเก็บเป็นลำไยร่วง ซึ่งราคาต่างกันฟ้ากับดิน คือลำไยลงตะกร้าราคา 30 บาทบวกบวก/กก ส่วนลำไยร่วงราคา 3 บาท/กก

2) ไม่มาเก็บตรงตามเวลา ถึงเวลาเก็บลำไย มักอ้างโน่นอ้างนี่ เช่นขาดแรงงาน ลำไยยังไม่ได้ขนาด ผิวไม่สวย ฯลฯ ปล่อยให้ลำไยเสียหายคาต้น ชาวสวนรับชะตากรรมขาดทุนสถานเดียว จะไปขายคนอื่นก็ไม่ได้เพราะมีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

3) โกงน้ำหนัก ปกติน้ำหนักที่ตกลงตามสัญญาคือตะกร้าละ 11.5 กก เอาเข้าจริงบางครั้งอัดถึง 14-15 กกต่อตะกร้า ใช้วิธีจัดเต็มตะกร้าเป็นเกณฑ์ โดยไม่ได้ชั่งน้ำหนักทุกตะกร้า ชาวสวนพูดไม่ออก เขี้ยวมากล้งก็ไม่เก็บ

ปัญหานี้แก้ได้ถ้าทุกคนช่วยกัน…#ภาครัฐ…ควรบังคับให้มีการคัดขนาดลำไยด้วยใช้ตะแกรงร่อนคัดไซด์ให้ได้มาตรฐาน ไม่ใช่วัดด้วยสายตา จนนำไปสู่การเอาเปรียบชาวสวนไม่มีวันสิ้นสุด…ส่วนน้ำหนักเกิน ควรบังคับและสร้างมาตรฐานด้วยการชั่งน้ำหนักทุกตะกร้า…สำคัญรัฐควร…ออกหนังสือรับรองล้งมาตรฐาน…ให้กับล้งที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้ เพื่อชาวสวนจะได้ใช้ประกอบการตัดสินใจในการขาย

#ชาวสวน…ควรทำลำไยคุณภาพ ลูกโต ผิวสวย และมีคุณภาพตามมาตรฐาน GAP และเลือกผู้ส่งออกที่ปฏิบัติตามข้อตกลง มีคุณธรรม สำคัญ มีหนังสือรับรองล้งมาตรฐาน

ผมขอ #ฝากสื่อมวลชน ช่วยกระจายข่าวนี้ให้ด้วยนะครับ อย่าปล่อยให้ชาวสวนถูกเอาเปรียบปีแล้วปีเล่าโดยขาดคนเหลียวแล #ฝากกระทรวงพานิชย์ด้วยนะครับ /ปล ที่สวนผมมีปัญหาน้อยครับ แต่ผมเห็นใจชาวสวนที่ถูกเอาเปรียบมาตลอด…

หมายเหตุ : (ข้อมูลจาก FB “Wimon Homying” 3 ก.พ.64) *ดร.วิมล หอมยิ่ง Ph.D. in Public Policy, Jackson State University, MS, USA (รางวัลผลการเรียนยอดเยี่ยม) / นักวิชาการอิสระ/ เจ้าของไร่พันดาว สอยดาว จ.จันทบุรี

ความกลมเกลียวของสังคมไทยที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์และความชิดใกล้ เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน…เป็นกลไกทางสังคมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เรียบง่าย ในอดีตแทบไม่ต้องใช้ความพยายามใดๆ ในการผลักดัน สถาบันรากฐานของสังคมก็มีความเชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่น สามารถประสาน ผนึกกำลังเกิดความสมบูรณ์และสมดุลในการอยู่ร่วมกัน…น่าเสียดาย หากความเรียบง่ายที่งดงามนี้พบเห็นได้แค่ในอดีตกาล

สถานศึกษาเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ในกระบวนการขัดเกลาทางสังคมให้แก่คนในชุมชน โรงเรียนมีบทบาทในการเตรียมเยาวชนในชุมชนให้มีความพร้อมเข้าสู่สังคม ในอดีตความสัมพันธ์ของโรงเรียนและชุมชน มีความใกล้ชิด พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แม้ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางทางสังคมจะส่งผลลดทอนความใกล้ชิด แต่ชุมชนก็ยังคงเป็นแหล่งทรัพยากรในการจัดการศึกษาที่สำคัญสำหรับโรงเรียน องค์กรภาครัฐจึงมีความพยายามพัฒนาระบบและกลไกในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ภาคประชาชนในชุมชนที่มีความเข้มแข็งก็สร้างกลไกความร่วมมือในหลากหลายรูปแบบตามบริบทและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่

เสียงจากขบวนกลองยาวที่ดังขึ้นในช่วงสายวันหนึ่งที่ โรงเรียนบ้านดอนประดู่ ต.ดอนประดู่ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง จึงไม่ใช่แค่การต้อนรับเลียงข้าวเปลือกหกร้อยกิโลกรัม ที่สมาชิกกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์บ้านกล้วยเภานำมามอบให้โรงเรียนเพื่อใช้เป็นอาหารมื้อเที่ยงของนักเรียน แต่เป็นกลไกหนึ่งในการอยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยของชุมชนและโรงเรียน

“โรงเรียนบ้านดอนประดู่ เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษา 160 คน เราเป็นโรงเรียนในชุมชน ได้นำนักเรียนไปเรียนรู้เรื่องการปลูกผัก การทำปุ๋ย การเพาะเห็ดจากชุมชน แล้วกลับมาทำที่โรงเรียน ทุกๆ ปีได้นำเด็กๆ ไปสัมผัสห้องเรียนธรรมชาติ ได้เล่นโคลน วิดลูกคลัก และทำนา ซึ่งเด็กๆ ชอบมาก ครูก็ได้ไปร่วมดำนาและเกี่ยวข้าวด้วยทุกปี” นางณัฏชา ยักกะพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนประดู่ บอกเล่ากิจกรรมนำนักเรียนเรียนรู้ศาสตร์บรรพชน จากแหล่งปฏิบัติการชุมชนวิถีชีวิตชาวนา ที่สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ ม.ทักษิณ จัดให้กับพื้นที่ตำบลดอนประดู่ต่อเนื่องในช่วงแปดปีที่ผ่านมา

กิจกรรมหาบข้าว เข้าโรงเรียน เกิดจากแนวคิดของสถาบันปฏิบัติการชุมชนฯ ที่ต้องการเชื่อมประสานให้ชุมชนและโรงเรียนมีความยึดโยง สามารถพึ่งพาซึ่งกันและกัน จึงชักชวนผู้ใหญ่พนม อินทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้านกล้วยเภา ให้เชิญชวนสมาชิกกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์นำผลผลิตมอบเป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียน โดยข้าวเปลือกส่วนหนึ่งประมาณหนึ่งร้อยกิโลจากน้ำพักน้ำแรงของนักเรียนเมื่อครั้งที่ได้ทำกิจกรรมเรียนรู้จากการปฏิบัติกับครูชาวนา และอีกห้าร้อยกิโลเป็นน้ำใจจากสมาชิกกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์

“ชุมชนบ้านกล้วยเภาเราได้กินข้าวอินทรีย์ จากการถ่ายทอดระบบเกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียงของ สถาบันปฏิบัติการชุมชนฯ เราก็อยากให้ลูกๆ ในโรงเรียนได้กินเพื่อสุขภาพที่ดี และจะได้รณรงค์การทำเกษตรปลอดสารพิษไปสู่โรงเรียนด้วย” เสียงจากคุณสุนี ภัทรารุ่งโรจน์ หนึ่งในสมาชิกที่ได้มอบข้าวให้กับโรงเรียน

“เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของสังคม สังคมชนบทในอดีตครูจะรู้จักคุ้นเคยกับบ้านนักเรียนเป็นอย่างดี เมื่อเกิดปัญหาจึงสามารถร่วมกันแก้ไขได้ ผู้ปกครอง/คนในชุมชนมองโรงเรียนและครูด้วยความยกย่องเชิดชู เชื่อใจว่าสามารถพึ่งพาได้ จึงไม่อยากให้บทบาทการช่วยเหลือเกื้อกูลนี้หายไป การขับเคลื่อนชุมชนที่ผ่านมาของสถาบันฯ นอกจากจะสนับสนุนความกลมเกลียวและการพึ่งพาตนเองภายในชุมชนด้วยการพัฒนาระบบกลุ่มต่างๆ แล้ว เรายังได้ออกแบบกิจกรรมเพื่อเชื่อมร้อยความสัมพันธ์ชุมชนกับวัด ชุมชนกับโรงเรียนด้วย เพราะเห็นความงดงามและคุณค่าที่จะเกิดขึ้นจากกลไกการทำงานร่วมกันภายในชุมชน” อาจารย์ ดร.เปลื้อง สุวรรณมณี ผู้อำนวยการสถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ กล่าว

วันนี้ (19 กุมภาพันธ์ 2564) กรมส่งเสริมการเกษตร นำโดย นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร จัดงานพบสื่อมวลชน Meet the Press “ยกระดับเกษตรกร ฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน” ชูนโยบายปี 2564 ก้าวสู่เกษตรวิถีใหม่ ปรับรูปแบบการทำงานส่งเสริมเกษตรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทุกสถานการณ์ ยึดหลักตลาดนำการเกษตร หนุนใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม สร้างความอุ่นใจให้เกษตรกรทุกพื้นที่อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยถึง ทิศทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ในปี 2564 หลังจากปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ประเทศไทยประสบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะภาคเกษตรได้รับผลกระทบตั้งแต่การผลิต จนถึงการตลาด ส่งผลต่อรายได้และการประกอบอาชีพ รวมถึงเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมดิจิทัล ความใส่ใจเรื่องความปลอดภัยจากอาหารและสุขอนามัย จึงนับเป็นความท้าทายของกรมส่งเสริมการเกษตรที่จะต้องปรับวิธีการทำงาน เพื่อยังคงให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีเช่นเดียวกับในภาวะปกติ การก้าวเข้าสู่เกษตรวิถีใหม่ (New Normal) สิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่กับการเปลี่ยนแปลง คือ การส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร โดยปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต การบริหารจัดการสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ใช้ตลาดนำการเกษตรเป็นหลัก เพื่อยกระดับเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกษตรกรเกิดรายได้ที่ยั่งยืน ด้วยการ “ยกระดับเกษตรกร ฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน” ในแต่ละด้านโดยมีแนวทางในการพัฒนา คือ

ส่งเสริมการรวมกลุ่มในรูปแบบแปลงใหญ่ และพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน โดยยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด เพื่อสร้างความเข้มแข็งส่งเสริมให้เกษตรกรทำงานในรูปแบบเครือข่าย พัฒนากระบวนการผลิตให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง การใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิการผลิต สร้างตราสินค้า (Brand) มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น

พัฒนาตลาดเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เพื่อให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตทางตลาดออนไลน์ได้มากขึ้น สนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์สินค้าเกษตร ตลาดเกษตรกร การทำ Contract Farming การจำหน่ายสินค้าเกษตรตามชั้นคุณภาพ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อให้สามารถบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชน สร้างรายได้จากการขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สร้างเศรษฐกิจชุมชน

ส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ ได้แก่ ยกระดับการทำงานของศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ให้เป็นกลไกหลักของชุมชนในการให้บริการด้านดินและปุ๋ย รวมทั้งส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อลดต้นทุนการผลิต ช่วยสร้างธุรกิจให้เกิดขึ้นในชุมชน

บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในชุมชน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร สร้างเครือข่ายปลอดการเผาให้เข้มแข็งครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น
พัฒนาศักยภาพองค์กรและการบริหารจัดการ ปรับวิธีการทำงานให้มีการใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการองค์กร รวมทั้งการให้บริการในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรมากขึ้น

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากการระบาดของโรค COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการกระจายสินค้าเกษตรของเกษตรกร ดังนั้น กรมส่งเสริมการเกษตรจึงต้องการให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นเพื่อลดผลกระทบจากการชะลอตัวของภาคเศรษฐกิจสำคัญ ตามกรอบนโยบายด้านเกษตรโดยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาศักยภาพการผลิตและต่อยอดของเดิมให้ดีขึ้น ซึ่ง ครม.ได้มีมติอนุมัติให้ใช้เงินกู้ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 ขณะนี้ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1)

โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด และ 2) โครงการพัฒนาธุรกิจบริการด้านดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน (One Stop Service) ทั้งนี้ ในการ “ยกระดับเกษตรกร” เป้าหมายสำคัญ คือ ยกระดับการรวมกลุ่มเกษตรกร สู่การดำเนินการในรูปแบบธุรกิจเกษตร สร้างโอกาสให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม กลุ่มเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ เกษตรแปลงใหญ่ และ เกษตรกรศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.)

ฟังบรรยายเรื่องโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด สำหรับโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด มีเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ คือ ต้องเป็นแปลงใหญ่ที่ผ่านการรับรองและอยู่ในระบบ Co-farm.doae.go.th ของกรมส่งเสริมการเกษตรที่ได้เสนอความต้องการเข้าร่วมโครงการ ซึ่ง ครม. มีมติอนุมัติงบประมาณไว้แล้ว จำนวน 5,250 แปลง โดยเป็นแปลงใหญ่ที่จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ประเภทนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การขอรับการสนับสนุนงบประมาณต้องไม่เกินวงเงินเดิมที่เคยเสนอขอความต้องการและได้รับการอนุมัติจาก ครม. แล้ว รวมทั้งต้องดำเนินกิจกรรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการอื่นๆ ผลการดำเนินงาน (ณ วันที่ 15 ก.พ. 2564) มีกลุ่มแปลงใหญ่แจ้งเข้าร่วมโครงการฯ แล้ว จำนวน 1,555 แปลง เป็นกลุ่มแปลงใหญ่ที่จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ประเภทนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน 879 แปลง และกลุ่มแปลงใหญ่ที่อยู่ระหว่างจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ประเภทนิติบุคคล

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน 676 แปลง ตัวอย่างกลุ่มแปลงใหญ่ที่จัดแสดงครั้งนี้เป็นของ นายพิพัฒน์ เต็งเศรษฐศักดิ์ แปลงใหญ่มังคุดหมู่ 1 ต.ชากไทย อ.เขาคิชกูฎ จ.จันทบุรี ปัจจุบันมีสมาชิก 70 ราย พื้นที่ 1098 ไร่ จดทะเบียนเป็น บริษัท วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่มังคุดคิชฌกูฎ จำกัด มีการต่อยอดโดยขอรับการสนับสนุนเป็นเครื่องคัดมังคุด เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพในการส่งออกด้วยตนเอง จากเดิมที่ทางกลุ่มได้มีการรวบรวมผลผลิตและคัดด้วยมือแล้วส่งให้ล้ง

ส่วนโครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน (One Stop Service) จะสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนในรูปแบบธุรกิจชุมชน ตัวอย่างโมเดลธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน ได้แก่ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน ต.หนองค้า อ.พยุห์ จ.ศรีสะเกษ ของนายสมชิต แซ่อึ้ง เกษตรกร ศดปช. ปัจจุบันมีสมาชิก 176 ราย ได้ดำเนินการในเชิงธุรกิจ มีการให้บริการตรวจวิเคราะห์ดิน ให้คำแนะนำการจัดการดินปุ๋ยที่ถูกต้อง บริการจัดหาแม่ปุ๋ยและผสมปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินหรือปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งเป็นปุ๋ยเต็มสูตรและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ศูนย์ผลิตเองเป็นตัวเติมเต็ม มีการวางแผนบริหารจัดการกิจกรรมศูนย์อย่างดี เช่น ให้สมาชิกเลี้ยงวัวเพื่อให้มีวัตถุดิบมูลทำปุ๋ยเพียงพอและต่อเนื่อง

มีการจัดสรรกำไรสู่สมาชิก สะสมเข้ากลุ่ม ใช้เพื่อสาธารณะ และจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก โดยศูนย์แห่งนี้มองโอกาสในการขยายธุรกิจบริการเพื่อให้สมาชิกในชุมชนได้ใช้ปุ๋ยคุณภาพเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต “หากสมาชิกใน ต.หนองค้า หันมาใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินจะทำให้ศูนย์ฯ สามารถจำหน่ายปุ๋ยรวมมูลค่าประมาณ 35 ล้านบาท ดังนั้น สมาชิก ศดปช. แห่งนี้จึงร่วมกันการผลิตปุ๋ยที่มีคุณภาพ ให้บริการดี มีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในชุมชนรู้จักธุรกิจบริการของศดปช.เพิ่มขึ้น” ขณะเดียวกันสำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอได้ให้ความรู้ที่ถูกต้องและช่วยประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรทั่วไปอีกทางหนึ่ง

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของการ “ฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน” กรมฯ ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานในมิติดังกล่าว 2 โครงการสำคัญ ได้แก่ 1) ส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตร และ 2) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป้าหมายสำคัญ คือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน เช่น การสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร นำไปสู่การลดการเผาในพื้นที่เกษตร และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในรูปแบบเครือข่ายชุมชน สร้างต้นแบบการท่องเที่ยววิถีเกษตร สร้างรายได้สู่ชุมชน

สำหรับกิจกรรมส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตร ได้นำเสนอกรณีตัวอย่างของ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีวิธีการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร โดยนำร่องจัดทำจุดสาธิตการทำปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุทางการเกษตร สาธิตการอัดฟางก้อน จัดทำสื่อรณรงค์ “หยุดเผาในพื้นที่การเกษตร” รวมทั้งบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน

จัดกิจกรรมการไถกลบตอซังฟางข้าว ลดการเผาฟางและตอซังข้าว, MOU หน่วยงานในท้องถิ่น (อบต.รางจระเข้ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา) ร่วมกับบริษัท SCG ซีเมนต์จำกัด และบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่นจำกัด ในการ ทำ MOU มอบเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อใช้ในโครงการ “ฟางอัดก้อน ลดการเผา Zero Burn”, ทำชีวมวลอัดแท่ง ซึ่งบริษัท SCG ตั้งโรงงานผลิตชีวมวลอัดแท่ง โดยรับซื้อฟางอัดก้อนจากเกษตรกร เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต และนำชีวมวลที่ได้ไปใช้ในโรงงานปูนซีเมนต์ของ SCG

อีกหนึ่งกิจกรรมซึ่งถือเป็นการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของชุมชน คือ เชิญชวนให้คนไทยหันมาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศเพิ่มขึ้น โดยกรมฯ มุ่งเน้นการส่งเสริมเป็นคลัสเตอร์การท่องเที่ยว ให้เกิดการหมุนเวียนเครือข่ายและกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน โดยเสนอจุดท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ไม่ไกลจาก กทม. เช่นตัวอย่างของ นายมงคลศิลป์ ลีนะกนิษฐ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ซึ่งให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวครอบคลุมทั้งอำเภอ

มีการสร้างสรรค์กิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยวรวมถึงการพัฒนาสินค้าการเกษตรเพื่อเป็นของฝากแก่นักท่องเที่ยว ปัจจุบันมีสมาชิก 28 คน กิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่โดดเด่น เป็นอัตลักษณ์ของอำเภอวังน้ำเขียว ได้แก่ การปลูกพืช เช่น พุทรานมสด หม่อน องุ่น ทุเรียน ลำไย อโวกาโด ข้าวโพด ผักสลัด และไม้ดอกไม้ประดับ, การเลี้ยงสัตว์ เช่น ฟาร์มเป็ดกากีแคมเบล และการอนุรักษ์ควายไทย, การเกษตรแบบผสมผสาน, ฟาร์มสเตย์ (ที่พักนักท่องเที่ยว) และผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรต่าง ๆ รวมถึงสินค้าของชุมชน

การจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในนโยบาย ปี 2564 สมัครจีคลับ ที่กรมส่งเสริมการเกษตรมุ่งขับเคลื่อนการดำเนินงานในมิติของการ “ก้าวสู่เกษตรวิถีใหม่” และไม่ว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร กรมส่งเสริมการเกษตรก็พร้อมจะก้าวไปกับพี่น้องเกษตรกร ทำหน้าที่เป็นมิตรแท้ในการดูแลเกษตรกรให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนต่อไป

กล่าวถึงการร่วมมือกับกรมการพัฒนาชุมชนในเฟส จากโครงการ

“ปฏิบัติการ 90 วันปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร“ ครั้งที่ 1 ที่เราได้ร่วมกับทางกรมการพัฒนาชุมชนเมื่อเกิดวิกฤตโควิดครั้งแรกนั้น ทางเราได้ผลตอบรับเป็นอย่างดีมาก เราได้รับรายงานต่อเนื่องว่าเมล็ดพันธุ์เหล่านี้ทางเกษตรกรหรือประชาชนได้นําไปปลูกแล้วได้ผลผลิตอย่างยอดเยี่ยมจริง ๆ และได้นําพืชผักจากการปลูกนี้มาเป็นคลังอาหารภายในครัวเรือน ทําให้สามารถลดค่าใช้จ่ายได้

อีกทั้งมีผัก คุณภาพดีทานตลอดปีด้วยครับ ซึ่งแนวคิดนี้ตรงกับปณิธานของมิสเตอร์ ไซมอน แนน์ กรู๊ท ผู้ก่อตั้งบริษัท อีสท์ เวสท์ซีด ที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า “เมล็ดพันธุ์ที่ดีสามารถเปลี่ยนชีวิตคนนับล้านได้” หรืออีกความหมายหนึ่งนั้น ก็คือ เมล็ดพันธุ์ที่ดีเหล่านี้เมื่อเกษตรกรนําไปปลูกจะมีชีวิตความเป็นอยู่ทีดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น และเมื่อผลผลิตเหล่านี้ส่งต่อไปยังผู้บริโภค ผู้บริโภคก็จะได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์จากการที่ได้รับประทานพืชผักคุณภาพเหล่านี้อีกด้วย

“จากความร่วมมือครั้งแรกกับทางกรมการพัฒนาชุมชน เราได้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของกรมฯ ซึ่งนําโดยท่าน สุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ท่านได้มีความตั้งใจให้คนไทยสามารถผลิตแหล่งอาหารได้ด้วยตนเองจากการปลูกผักในครัวเรือนท่านมีนโยบายที่ชัดเจนไปยังหน่วยงานในสังกัดเพื่อให้โครงการนี้เกิดขึ้นจริงและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน และจากความตั้งใจที่เราเห็นนี้ทําให้เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 ระลอกที่ 2 ขึ้นมาทางอีสท์เวสท์ซีดจึงไม่ลังเลใจที่จะติดต่อไปยังกรมการพัฒนาชุมชนเพื่อให้มีโครงการนี้ขึ้นมาอีกครั้ง

หรือเรียกว่าเป็นเฟส 2 ก็ได้ พวกเราทํางานกันอย่างรวดเร็วมาก เราได้ปรึกษากันว่าจะทําอย่างไรให้โครงการเฟส 2 นี้ ประชาชนได้รับเมล็ดพันธุ์อย่างเร็วที่สุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งเมล็ดพันธุ์ตราศรแดง จํานวน 100,000 ซอง พร้อมมอบให้ทางกรมการพัฒนาชุมชนในวันที่ 20 มกราคมนี้เลย” ผู้จัดการทั่วไป อีสท์เวสท์ซีด กล่าว และยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากการมอบเมล็ดพันธุ์ให้กับประชาชนแล้ว ทางเรามีเจ้าหน้าที่ภาคสนามที่มีความรู้และความเชียวชาญด้านการปลูกผัก ถ้าหน่วยงานไหนต้องการให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามของเราไปมอบองค์ความรู้ด้านการปลูก หรือการทําแปลงสาธิต สามารถติดต่อมาที่บริษัทฯ ได้

กรมการข้าว โดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครราชสีมาและศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมา ร่วมกิจกรรมพัฒนาพื้นที่แปลงนาสาธิตตามโครงการพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ภายในโครงการทหารพันธุ์ดี กรมพลาธิการทหารบก ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแปลงทดลองผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่เพื่อรองรับความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีสำหรับการปลูกเพื่อการบริโภคต่อไป

นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง รองอธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากเมื่อ วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม 2562 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการทหารพันธุ์ดี กรมพลาธิการทหารบก ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และกรมการข้าว โดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครราชสีมา

เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้เข้าดูแลดำเนินการทดลองปลูกข้าวเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีในฤดูการผลิต 2562/63ได้ดำเนินการปลูกข้าว 3 แปลง แปลงละ 1 งาน จำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์กข83 (มะลิดำหนองคาย 62) ได้ผลผลิต 200 กิโลกรัม (ผลผลิตเฉลี่ย 800 กิโลกรัมต่อไร่) พันธุ์กข69 (ทับทิมชุมแพ) ได้ผลผลิต 210 กิโลกรัม (ผลผลิตเฉลี่ย 840 กิโลกรัมต่อไร่) และข้าวไร่หอมดง ได้ผลผลิต 150 กิโลกรัม (ผลผลิตเฉลี่ย 600 กิโลกรัมต่อไร่) กรมการข้าว จึงขอพระราชทานพระราชานุญาตน้อมเกล้าฯถวายแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ตามพระราชอัธยาศัยต่อไป

รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ทั้งหมดนี้ กรมการข้าวนำไปวิเคราะห์คุณภาพในห้องปฏิบัติการ ณ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครราชสีมา ผลการวิเคราะห์สรุปว่าเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของกรมการข้าว สามารถนำไปขยายผลส่งเสริมปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อการบริโภคต่อไปได้
สำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวที่นำมาทดลองปลูกเพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีนี้ กรมการข้าวได้พิจารณาถึงความเหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ โดยแต่ละพันธุ์มีลักษณะเด่น ดังนี้

อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ข้าวสวยเหนียว นุ่ม มีกลิ่นหอม ระยะพักตัวของเมล็ด 8 สัปดาห์ มีสารต้านอนุมูลอิสระ กรดเฟอรูลิค แกมมาออไรซานอล วิตามินอี ฟีนอลิค และฟลาโวนอยด์ คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี ต้านทานต่อโรคใบไหม้ในระยะกล้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทานและนาน้ำฝน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีโรคไหม้ระบาด หรือพื้นที่ที่ต้องการข้าวคุณภาพพิเศษ ซึ่งมีตลาดเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้บริโภคข้าวเพื่อสุขภาพ

ข้าวเจ้าพันธุ์ กข69 (ทับทิมชุมแพ) เป็นข้าวเจ้าเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ไม่ไวต่อช่วงแสง ทรงต้นเตี้ย คุณภาพเมล็ดและคุณภาพการหุงต้มรับประทานดี ข้าวกล้องหุงสุกนุ่มและมีรสชาติดี มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระฟีโนลิกและฟลาโวนอยด์สูง และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง งานวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นพบว่าสามารถลดความเสี่ยงจากภาวะโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะเบาหวาน

หัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และมะเร็งท่อน้ำดี รวมถึงภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลและภาวะความจำเสื่อม กรมการข้าว ได้มีมติรับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2559 สำหรับข้าวพันธุ์นี้ปลูกได้ดีในทุกภูมิภาค และก่อนที่จะได้รับการประกาศรับรองพันธุ์นั้น เป็นข้าวที่เข้าโครงการข้าวโภชนาการสูงและโครงการข้าวเพื่อตลาดเฉพาะ โดยสนับสนุนชาวนาในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ หลายแห่งนำร่องในการปลูกและการตลาดในปี พ.ศ. 2558 ปัจจุบันมีการผลิต การตลาดอย่างเป็นระบบครบวงจรโดยเครือข่ายชาวนาในทุกภูมิภาค

มีการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าอยู่เสมอ อีกทั้งมีการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์
ข้าวกล้องและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ส่งขายในตลาดต่างประเทศข้าวไร่หอมดง เป็นข้าวพื้นเมืองของชาวญัฮกุร (อ่านว่า ญะ-กรุ้น) ซึ่งเป็นคนที่อาศัยบนที่สูงตามไหล่เขาหรือเนินเขาเตี้ยๆ แถบเทือกเขาพังเหย ในป่าดงจึงเรียกชื่อว่า ข้าวหอมดง เป็นข้าวไร่ที่มีคุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี มีความนิ่ม มีกลิ่นหอม เหมาะกับการปลูกในสภาพไร่ กรมการข้าวโดยศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ ได้ปลูกศึกษาตามโครงการคัดสายพันธุ์บริสุทธิ์ข้าวพื้นเมืองเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น

ผลการศึกษาพบว่า ข้าวหอมดงนี้นิยมปลูกในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเพชรบูรณ์ เกษตรกรปลูกข้าวโดยใช้แรงงานคนในการหยอด หรือหว่าน ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 15-25 กิโลกรัมต่อไร่
ได้ผลผลิตประมาณ 350 -450 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่ปลูกไว้บริโภคภายในครัวเรือน และแลกเปลี่ยนกัน
ในหมู่บ้าน จะนำออกจำหน่ายในตลาดชุมชนค่อนข้างน้อยเพราะมีปริมาณไม่เพียงพอ

กรมวิชาการเกษตร ส่งสะตอพันธุ์ตรัง 1 ถึงมือเกษตรกร ชูจุดขายให้ผลผลิตนอกฤดูเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า เผยเป็นสะตอผลิตนอกฤดูพันธุ์แรกของกรม ใช้เวลาปลูกสั้น 3 ปี ให้ผลผลิตแถมเก็บขายได้มากกว่า 1 ครั้ง/ปี ต้นไม่สูงมากเก็บเกี่ยวง่าย ฝักตรง ยาว เมล็ดมีขนาดสม่ำเสมอเรียงชิดติดกันตลอดทั้งฝักง่ายต่อการขนส่ง รสชาติดีหวานมัน โดนใจนักเปิบสะตอ

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า สะตอเป็นพืชพื้นเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทย ถือเป็นพืชผักเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญ สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด มีคุณค่าทางอาหารและทางสมุนไพร ทำให้ความต้องการบริโภคสะตอของตลาดมีแนวโน้มสูงขึ้นส่งผลให้เกษตรกรสนใจปลูกสะตอกันอย่างแพร่หลายเกือบทุกภาคของประเทศ แต่ในปัจจุบันผลผลิตสะตอยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เนื่องจากสะตอให้ผลผลิตได้เป็นช่วงฤดู คือ จะให้ผลผลิตมากในช่วงเดือน มิถุนายน – กรกฎาคม รวมทั้งสะตอพันธุ์ที่เกษตรกรเพาะปลูกส่วนใหญ่จะใช้วิธีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดทำให้ได้ผลผลิตช้า

จากสถานการณ์ดังกล่าว คณะนักวิจัยศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง กรมวิชาการเกษตร จึงมีแนวคิดพัฒนาปรับปรุงพันธุ์สะตอเพื่อเป็นพันธุ์แนะนำให้เกษตรกรปลูก โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ได้สะตอพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตนอกฤดูระหว่างเดือนพฤศจิกายน – เมษายน สำหรับนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้าสร้างรายได้เพิ่มขึ้น โดยคณะนักวิจัยได้ดำเนินการสำรวจคัดเลือกพันธุ์สะตอที่ให้ผลผลิตนอกฤดูจากสวนเกษตรกรได้พันธุ์สะตอจำนวน 12 สายต้นนำมาปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนตรังพบว่าสะตอสายต้น ตง. 4 เป็นสายต้นที่ดีที่สุด เนื่องจากสามารถให้ผลผลิตได้ทั้งในฤดูและนอกฤดู และให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพดี คณะนักวิจัยจึงเสนอพิจารณาเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรโดยใช้ชื่อ สะตอพันธุ์ตรัง 1

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า สะตอพันธุ์ตรัง 1 มีลักษณะเด่นตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการคือให้ผลผลิตทั้งในฤดูช่วงเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม และนอกฤดูช่วงเดือนพฤศจิกายน – เมษายน เนื่องจากไม่ทิ้งใบหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทำให้สะตอพันธุ์ตรัง 1 สามารถให้ผลผลิตได้มากกว่า 1 ครั้งในรอบปี และยังให้ผลผลิตเร็วโดยจะเริ่มออกดอกเมื่ออายุ 3 ปีหลังปลูก รวมทั้งฝักยังมีลักษณะตรงและยาว เมล็ดมีขนาดสม่ำเสมอเรียงชิดติดกันทำให้ง่ายต่อการบรรจุฝักลงภาชนะ ทรงพุ่มต่ำ เกษตรกรจึงสะดวกต่อการดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวผลผลิต

“สะตอพันธุ์ตรัง 1 เป็นสะตอพันธุ์แรกที่ผ่านการพิจารณาเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีลักษณะประจำพันธุ์ที่สำคัญคือให้ผลผลิตนอกฤดูทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 3 – 4 เท่าเพราะราคาผลผลิตสะตอนอกฤดูสูงมากประมาณ 15 บาทต่อฝัก ขณะที่ผลผลิตในฤดูมีราคาเพียง 3 – 5 บาทต่อฝัก ใช้เวลาปลูกสั้นเพียง 3 ปีก็ให้ผลผลิตแล้ว ลำต้นไม่สูงเกษตรกรจึงสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ไม่ยาก รสชาติดีหวาน มัน ด้วยลักษณะเด่นประจำพันธุ์สะตอตรัง 1 ดังกล่าวจึงทำให้พันธุ์เป็นที่ต้องการของเกษตรกรจำนวนมาก ซึ่งฝ่ายผลิตพันธุ์ของศูนย์วิจัยพืชสวนตรังได้ทำแปลงต้นพันธุ์และเพาะต้นกล้าสะตอไว้สำหรับติดตาขยายพันธุ์จึงไม่มีปัญหาเรื่องการขยายพันธุ์ หากเกษตรกรสนใจสามารถสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง โทรศัพท์ 063-227-6250” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในที่สุด

สถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด 19 รอบใหม่ ส่งผลกระทบให้โรงเรียนในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ มีมาตรการให้นักเรียนงดเดินทางมาที่โรงเรียน โดยให้เรียนผ่านระบบออนไลน์ เพื่อหลีกเลี่ยงและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19

แต่สำหรับ “โรงเรียนบ้านแม่ระเมิง” ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งนักเรียนเกือบ 100 % ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 957 คน เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าปะกาเกอะญอ ต้องหยุดเรียนอยู่ที่บ้านเช่นกัน น้องๆไม่มีโอกาสเรียนผ่านระบบออนไลน์ เนื่องจากอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ อาศัยพลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์และเครื่องปั่นไฟ ใช้ระบบน้ำประปาภูเขาต่อจากแหล่งต้นน้ำ

ถึงแม้ว่าจะเป็นโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล โรงเรียนบ้านแม่ระเมิง ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการสร้างทักษะด้านอาชีพ ให้กับนักเรียน เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน หนึ่งในกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน คือ โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน

ในช่วงสถานการณ์ระบาดของโควิด 19 คุณครูต้องเดินทางขึ้นไปบนดอย เพื่อติดตามดูแลนักเรียนและนำใบงานออกไปแจกให้นักเรียน เพื่อเป็นการทบทวนบทเรียน ซึ่งบ้านของนักเรียนบางคน คุณครูต้องเดินทางขึ้นดอยผ่านทางลูกรัง ระยะทางไกลมากกว่า 30 กิโลเมตร

ด้วยสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียนที่มีทั้งอยู่ประจำและไป-กลับ ในช่วงที่เพื่อนๆหลายคนต้องอยู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กบนดอย มีน้องๆ อีกกลุ่มหนึ่งรับอาสาอยู่ที่โรงเรียน เพื่อช่วยกันดูแลไก่ไข่ในโรงเรือน จำนวน 400 ตัว

ปีนี้..โรงเรียนเลี้ยงไก่ไข่เป็นรุ่นที่ 4 แล้ว นับจากที่โรงเรียนรับมอบโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน จากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ และมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ตั้งแต่ปี 2559 และในช่วงโควิด ซึ่งโรงเรียนไม่ต้องส่งผลผลิตไข่ไก่เข้าโครงการอาหารกลางวัน จึงต้องมีการบริหารจัดการผลผลิต ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น จำหน่ายให้ชุมชน แจกจ่ายให้ผู้สูงอายุ เป็นแหล่งอาหารของชุมชน

ขุนเพชร พนาลีสงบ ผู้ใหญ่บ้านบ้านแม่ระเมิง เป็นลูกค้าประจำที่สั่งซื้อไข่ไก่จากโรงเรียนบ้านแม่ระเมิง กล่าวว่า สั่งซื้อไข่ไก่จากโรงเรียนเป็นประจำ ทีละ 5 แผง เพราะผลผลิตไข่ไก่ของโรงเรียนสด เก็บได้นาน และราคาก็ใกล้เคียงกับราคาตลาด คือ แผง 30 ฟอง ราคา 90 บาท เวลาที่สั่งซื้อไข่ไก่ ก็จะมีนักเรียนมาส่งให้ถึงบ้าน บางทีคุณครูก็มาส่งเอง ผมว่าโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯเป็นโครงการที่ดีมาก ช่วยลดค่าใช้จ่ายของโรงเรียน และส่งเสริมประสบการณ์ของเด็กๆ เรียนรู้การเลี้ยงไก่ไข่ สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ ยิ่งช่วงนี้ โรงเรียนไม่ต้องส่งผลผลิตไข่ไก่เข้าโครงการอาหารกลางวัน ก็นำผลผลิตมาจำหน่ายให้กับชาวบ้านได้บริโภคไข่ไก่ที่สด สะอาด ส่งถึงบ้าน

“อุเทน วนาประเสริฐยิ่ง” นร.ชั้น ม.4 เป็นนักเรียนที่อาศัยอยู่ที่โรงเรียน เนื่องจากบ้านอยู่ห่างจากโรงเรียนเกือบ 10 กิโลเมตร อุเทนสมัครใจช่วยคุณครูดูแลรับผิดชอบโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ เล่าประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ว่า ได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ การดูแลไก่อย่างถูกวิธี สามารถนำความรู้จากการเลี้ยงไก่ไปประกอบอาชีพได้ รวมไปถึงการวางแผนบริหารจัดการผลผลิตไข่ไก่ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด 19 ผลผลิตไข่ไก่ของโรงเรียนเหลือจำนวนมาก จากที่เก็บผลผลิตไข่ไก่ได้ 300 ฟองต่อวัน เพราะในช่วงนี้ไม่ต้องส่งผลผลิตเข้าโครงการอาหารกลางวัน โรงเรียนบริหารจัดการผลผลิต โดยนำไข่ไก่จำหน่ายให้ผู้ปกครองนักเรียนที่สามารถสั่งซื้อได้ทางไลน์ หรือคนในชุมชนที่สามารถโทรมาสั่งซื้อ

ไม่ต้องเดินทางมาที่โรงเรียน เพราะผมและเพื่อนๆจะบริการออกไปส่งไข่ไก่ให้กับผู้ที่ต้องการซื้อถึงที่บ้าน เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้่อไวรัสโควิด 19

นักเรียนชั้น ม.6 กล่าวว่า ภูมิใจที่ได้เข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ เพราะทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ และวิธีที่ถูกต้องในการเลี้ยงไก่ไข่แบบยืนกรง ที่บ้านผมและบนดอย ยังไม่มีใครเคยเลี้ยงแบบนี้ และผลผลิตไข่ไก่จากโครงการ เป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ สด สะอาด แตกต่างจากไข่ไก่ที่เคยซื้อมา ที่เคยเจอไข่เน่า ผมคิดว่าถ้าบนดอยมีการเลี้ยงไก่ไข่กันในครัวเรือน ทำให้ได้บริโภคผลผลิตไข่ไก่ที่มีคุณภาพ และยังช่วยให้ครัวเรือนมีรายได้จากการขายผลผลิตไข่ไก่

คุณครูเรืองทรัพย์ ธนมงคลวารี ครูชำนาญการของโรงเรียนบ้านแม่ระเมิง ซึ่งรับผิดชอบโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ กล่าวว่า นอกจากโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ส่งเสริมอาชีพให้แก่นักเรียนสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต โดยที่นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ ตลอดจนการจัดการผลผลิตไข่ไก่ การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งปัจจุบัน มีนักเรียนระดับชั้นม.3 – ม. 6 ช่วยดูแลการเลี้ยงไก่ไข่ และพร้อมถ่ายทอดความรู้การเลี้ยงไก่ไข่ให้กับรุ่นน้องๆ หากมีนร.ชั้น ม .6 จบการศึกษาไป ก็จะมีรุ่นน้องๆที่ขึ้นมาดูแลแทน เพื่อความยั่งยืนของโครงการ

“ช่วงโควิด โรงเรียนบริหารจัดการผลผลิตไข่ไก่ โดยนำมาจำหน่ายให้ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชน เพราะมีผลผลิตไข่ไก่เหลือมาก เนื่องจากไม่ต้องส่งเข้าโครงการอาหารกลางวันนักเรียน เวลาที่มีคนสั่งซื้อไข่ไก่ นักเรียนก็จะนำไปส่งให้ถึงบ้าน บางที่คุณครูก็จะซื้่อไข่ไก่ไปแจกจ่ายให้กับผู้สูงอายุในชุมชนด้วย” คุณครูเรืองทรัพย์กล่า

โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน เป็นความร่วมมือของซีพีเอฟ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับพันธมิตร อาทิ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ (เจซีซี) บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 30 ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนทั่วประเทศ เข้าถึงการบริโภคไข่ไก่อย่างเพียงพอ สนับสนุนการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสติปัญญาอย่างสมวัย และโครงการฯยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนไทยที่สามารถนำประสบการณ์การเรียนรู้เลี้ยงไก่ไข่ไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารได้เป็นอย่างดี

เมื่อเย็นวานนี้ (24 มกราคม 2564) “เกษตรก้าวไกล” ได้สัมภาษณ์สดผ่านระบบออนไลน์ ว่าที่ ร.ต.ธเนศ แซวหลี เจ้าของ Rainbow Rice บ้านซาง ผู้พลิกผืนนาของพ่อแม่มาปลูกข้าวในรูปแบบใหม่ นั่นก็คือการปลูกข้าวที่เรียกว่า ข้าวสรรพสี (Rainbow Rice) หรือข้าวหลากสี ซึ่งในแปลงนาของเขาตั้งอยู่ที่ ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

“แรงบันดาลใจของผมเริ่มแรกมาจากสมัยทำงานอยู่ที่ศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตอง ตามพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผมดูแลในส่วนการปลูกผักทั่วไปแล้วมีแนวความคิดว่าทำอย่างไรให้มันน่าสนใจ มีอะไรใหม่ๆ นอกจากจะปลูกผักให้เป็นสีสันได้แล้ว เนื่องจากเราก็ทราบดีแล้วว่าผักผลไม้ที่มีสีก็จะมีคุณประโยชน์มากมาย เช่น ผักผลไม้สีม่วงก็จะมีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ยับยั้งเซลล์มะเร็ง พวกนี้เป็นสารโภชนาเภสัช ผมก็เลยจะมาปลูกข้าวดีไหม ข้าวส่วนมากที่คุ้นเคยก็จะเป็นใบสีเขียว จะมีก็ข้าวก่ำทางภาคเหนือที่มีสีแดงอมม่วงอยู่บ้าง แล้ววันหนึ่งผมก็ได้เจอเรื่อราวของข้าวสรรพสีของท่าน ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ซึ่งได้ศึกษาก็พบว่าข้าวสรรพสีชอบภูมิอากาศที่มีความหนาวเย็น อาจารย์บอกว่าความหนาวเย็นของอากาศแบบภาคเหนือจะทำให้ข้าวสรรพสีมีสีสดนานกว่าภาคกลางและก็ได้ให้ความอนุเคราะห์เมล็ดพันธุ์ข้าวมาปลูกนะครับ”

วัตถุประสงค์ในการปลูกข้าวสรรพสี อย่างแรกเลยก็เพื่อปลูกไว้กิน ต่อมาเพื่อการท่องเที่ยวในชุมชน และเพื่อนำข้าวมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ตางๆ “นี่คือที่มาที่ไปของการปลูกข้าวสรรพสีของผมครับ อ๋ออีกอย่างหนึ่งผมเห็นพ่อกับแม่ปลูกข้าวพันธุ์เดียวอยู่ตลอดปี ปีหนึ่งๆก็ปลูก 2 รอบ แล้วก็เห็นปัญหาหลายๆอย่าง เช่น ด้านราคาข้าวตกต่ำ ทำนากี่ปีก็ยังยากจน นี่เป็นโจทย์ที่ทำให้ต้องคิดว่าจะสร้างความแตกต่างได้อย่างไร จึงคิดว่าถ้าจะปลูกข้าวก็ต้องแก้ปัญหานี้ได้ด้วย สุดท้ายลงตัวที่การปลูกข้าวสรรพสีครับ”

“ตอนแรกขอคุณแม่มาปลูกก่อน 1 งาน ปลูกข้าวใบสีม่วงให้ดูก็เริ่มเห็นประโยชน์ พอเสร็จจากนั้นก็ขอ 2 งาน เพื่อมาปลูกเป็นข้าวสรรพสีอย่างที่เห็น ปัจจุบันพ่อแม่มาเห็นก็ชอบใจ หวงแหนที่นาและพันธุ์ข้าวมาเฝ้าเช้าเย็นจากเดิมที่ไม่เห็นด้วย และยังเอาของมาขายด้วยมีรายได้มีคนมาถ่ายรูปมาเที่ยว ซึ่งอนาคตผมจะพัฒนาต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนนะครับ” คุณเมต บอกกล่าวถึงจุดเริ่มต้นกว่าจะเห็นภาพอย่างวันนี้

ข้าวที่ปลูกมีทั้งหมด 7 สี 7 สายพันธุ์ ซึ่งจะมีสายพันธุ์ใดบ้าง ขอให้ชมจากคลิปสัมภาษณ์สดประกอบ จะบอกไว้อย่างละเอียด คลิกไปที่ https://youtu.be/GkWn1R2KrjA

(ในจำนวนนี้มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ที่เป็นงานวิจัยของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนในปี พ.ศ. 2553 เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์พ่อ “ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลายใบขาว” กับพันธุ์แม่ “ข้าวก่ำหอมนิล” ทำให้ได้ข้าวสรรพสีจำนวน 5 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ใบสีชมพูทับทิมต้นสูง ใบสีชมพูทับทิมต้นเตี้ย ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นสูง ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นเตี้ย และใบสีขาว)

ในการปลูกข้าวสรรพสี คุณเมตบอกว่าดูแลจัดการไม่ยาก โดยตนเองได้มาปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการทำนาแบบที่พ่อแม่เคยทำ ซึ่งพึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก แต่ตนได้ทำนากึ่งอินทรีย์ ใช้สารพด.ชนิดต่างๆ เริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน จะไม่เผาตอซัง แต่จะไถกลบเพื่อย่อยสลายทำเป็นปุ๋ย รวมไปถึงการใช้ปุ๋ย และการปราบแมลงศัตรูพืชก็พึ่งพาสารพด.กรมพัฒนาที่ดินทั้งหมด และจากการใช้วิธีทำนาแบบนี้สามารถลดต้นทุนการทำนาได้ถึงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับการทำนาแบบดั้งเดิมของพ่อแม่

“สิ่งสำคัญที่สุด พ่อแม่ยิ้มออก จากเดิมที่ไม่เคยมีใครมาเที่ยวชมแปลงนาของเราเลย คือหลังจากที่นำภาพไปลงผ่านสื่อเฟสบุ๊คคนก็ถามมาตลอด ถามเรื่องท่องเที่ยวเป็นลำดับแรก ต่อมาก็เรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าวจะขอซื้อ ซึ่งอยากให้ติดต่อศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวโดยตรง ตอนนี้ผมถือว่าทำสำเร็จ 60% แล้ว อีก 40% จะเป็นเรื่องของการพัฒนาต่อยอด เช่น นำใบข้าวหลากสีมาจักสานร่วมกับวัสดุอื่นๆ นำใบมาทำชาใบข้าว ฯลฯ ผมมั่นใจว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าจากการทำนาได้อีกเยอะ โดยเฉพาะเรื่องท่องเที่ยวที่เริ่มเห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงครับ” คุณเมต กล่าวด้วยความมั่นใจ

ใครอยากไปเที่ยวแปลงนาข้าว 7 สี คลิกไปที่เฟสบุ๊ค “Rainbow Rice บ้านซาง” หรือโทร. 094 749 5757 หรือพิกัดเส้นทาง https://maps.app.goo.gl/dGLb7KuRN9uoFvoP8) แต่อย่าลืมคลิกชมคลิปตามลิงก์ข้างต้นเพื่อจะเป็นพื้นฐานในการไปชม จะได้สอบถามเพิ่มในประเด็นที่ท่านต้องการทราบ ทางเกษตรก้าวไกลแอบมีความหวังลึกๆว่า “ถ้าเกษตรกรอยู่รอดประเทศไทยอยู่ได้” และอย่าลืมเป็นอันขาดว่า “โลกยุคใหม่ชนบทคือความทันสมัย” ขอคนไทยทุกคนช่วยกันครับ

วันที่ 25 มกราคม 2564 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน รับมอบเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ กะเพรา คะน้า ผักบุ้ง พริก และแตงกวา จำนวน 100,000 ซอง จาก นายวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จํากัด (ตราศรแดง) เพื่อเป็นการต่อยอดและขยายผลการดำเนินงาน น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน “ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ครั้งที่ 2” โดยมี รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน คณะผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จํากัด พร้อมด้วย แขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชน เข้าร่วมพิธี ณ ห้องประชุม 3003 ชั้น 3 กรมการพัฒนาชุมชน

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า ขอขอบคุณและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่กัลยาณมิตรของกรมการพัฒนาชุมชน อย่าง บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ได้ตระหนักถึงความยากลำบากของพี่น้องประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ที่กลับมาแพร่ระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด

ได้มอบเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัว จำนวน 5 ชนิด รวม 100,000 ซอง เพื่อให้กรมการพัฒนาชุมชนได้นำเมล็ดพันธุ์ผักไปแจกจ่ายให้พี่น้องประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ 76 จังหวัด ตามที่กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการ น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน “ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ครั้งที่ 2” โดยจะเริ่ม Kick Off อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 นี้ ถือเป็นวันแรกในการปฏิบัติการฯ

อันเป็นการรณรงค์ให้พี่น้องประชาชนร่วมปลูกผักสวนครัวในทุกครัวเรือนทั่วประเทศ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน โดยเน้นให้ครัวเรือนสามารถพึ่งตนเองได้และสนับสนุนให้มีการขยายผลดำเนินการตลอดทั้งปี 2564 มาเป็นแนวทางส่งเสริมความพออยู่ พอกิน อยู่ดี กินดี ของประชาชนอย่างยั่งยืน ความร่วมมือระหว่าง กรมการพัฒนาชุมชน และ บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีความฝันเหมือนกันที่อยากเห็นพี่น้องประชาชน ได้น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร พระองค์ทรงเพียรพยายาม ในการเผยแพร่และดำเนินการในเรื่องนี้หลายระดับ อาทิ ระดับโรงเรียน พระองค์ท่าน ทรงสนับสนุนส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางอาหาร รณรงค์การปลูกผักสวนครัว ในโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ให้สามารถมีพืชผักในการประกอบอาหารไว้รับประทาน สำหรับในชุมชน/หมู่บ้าน ขับเคลื่อนผ่าน โครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” อยู่หลายจุดด้วยกัน อาทิ ตำบลโก่งธนู อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ที่กรมการพัฒนาชุมชน ถอดบทเรียน ตามแนวพระราชดำริ สำหรับแผนปฏิบัติการ 90 วัน “ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร”

โดยมีแนวทางการดำเนินการ คือขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมการพัฒนาชุมชนเป็นผู้นำต้นแบบในการดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ 90 วัน “ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” โดยปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย คนละ 10 ชนิด เป็นตัวอย่างแก่ประชาชน และร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างทีมนักพัฒนา 3 ประสานในระดับตำบล (นักพัฒนาท้องถิ่น,พัฒนากร,นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และนักพัฒนาภาคประชาชน (อถล.อช.กพสม.)

รณรงค์เชิญชวนให้ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องที่/ท้องถิ่น กลุ่มองค์กรเครือข่าย สร้างกระแสการปลูกผักสวนครัวอย่างต่อเนื่องทุกพื้นที่เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ทุกครัวเรือน รวมถึงมีการสื่อสารสร้างการรับรู้การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ 90 วัน “ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ทาง Social Media เพื่อขยายผลไปถึงประชาชนทุกครัวเรือนให้ร่วมกันปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร นอกจากนี้ ยังมีการรณรงค์ให้ทุกหมู่บ้านสร้างคลังอาหารชุมชนโดยใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์และส่งเสริมให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานศึกษา ศาสนสถาน เป็นแหล่งเรียนรู้ในการปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างมั่นคงทางอาหาร โดยมีเป้าหมายให้ทุกครัวเรือนคือ คลังอาหารทุกหมู่บ้าน คือศูนย์แบ่งปัน เพื่อขับเคลื่อนการปลูกผักสวนครัวอย่างต่อเนื่องในระดับครัวเรือน และระดับชุมชนให้มีความยั่งยืน

ด้าน นายวิชัย เหล่าเจริญพรกุล กล่าวว่า “บริษัทอีสท์ เวสท์ ซีด จํากัด ร่วมสนับสนุนกิจกรรมของกรมการพัฒนาชุมชนในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ 90 วัน “ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ในครั้งนี้ ก่อนอื่นชื่นชมและเห็นถึงความตั้งใจที่ชัดเจนของ กรมการพัฒนาชุมชน ที่ขับเคลื่อนให้พี่น้องประชาชนทุกภาคหันมาปลูกผักสวนครัวอย่างเป็นรูปธรรม ทาง บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จํากัด จึงมีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งที่จะยังคงจับมือและสนับสนุนสร้างความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ต้องขอขอบคุณท่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน

ที่ให้โอกาสกับทางเราเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนกิจกรรมดี ๆ เพราะเป้าหมายของเราในครั้งนี้เป็นทั้งการสนับสนุนให้ครัวเรือนที่ดำเนินการปลูกพืชผักสวนครัวอยู่แล้วยิ่งทวีความมั่นคงขึ้นไปอีก ทั้งยังหวังว่าจะสามารถขยายผลสร้างแรงจูงใจให้ทุกครัวเรือนหันมาปลูกผักสวนครัว สามารถมีแหล่งอาหารภายในครัวเรือน สร้างความมั่นคงทางอาหาร และไม่ใช่เพียงแต่การกระตุ้นในช่วงของวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เท่านั้น การปลูกพืชผักสวนครัวจะต้องขยายผลสร้างวิถีชีวิต วัฒนธรรมดี ๆ

ของครัวเรือนไทยให้เกิดขึ้น ยั่งยืนต่อไปได้ในทุกสภาวการณ์ด้วย บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จํากัด เรายินดีทำตามสัญญา ที่ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) เมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา ในการส่งมอบเมล็ดพันธุ์ผัก ตราศรแดง จำนวน 100,000 ซอง ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชน จะได้นำความปรารถนาดีนี้กระจายไปสู่มือของพี่น้องประชาชนทั่วประเทศต่อไป ขอให้คำมั่นว่าหากมีการขยายผลกิจกรรมดังกล่าว หรือโครงการในลักษณะเช่นนี้ทางบริษัทจะขอเข้าร่วมและให้การสนับสนุนด้วยดี”

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้จะเป็นการปฏิบัติการเพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่จะเป็นรากฐานความมั่นคงทางอาหารในระยะยาวอย่างยั่งยืน สามารถเห็นผลชัดเจนว่าการปลูกพืชผักสวนครัวนี้ พี่น้องประชาชนจะมีพืชผักที่สะอาด ปลอดภัย ไว้รับประทานในครัวเรือน ประหยัดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และเป็นกิจกรรมเสริมสร้างความรักความอบอุ่นในครัวเรือนเพิ่มพูนขี้นมาได้ ในนามของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ขอขอบคุณท่านผู้บริหาร บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด และเจ้าหน้าที่ทุกท่านอีกครั้ง

ที่ได้ตระหนักถึงภาวะความลำบากของประชาชนในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมอบเมล็ดพันธุ์พืชผักหลากหลายชนิดไปสู่ประชาชนทั่วประเทศ ในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยให้การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์สำหรับการดำเนินกิจกรรมตามแผน “ปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ในครั้งนี้และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า

กรมการพัฒนาชุมชนจะได้รับการสนับสนุน สมัครพนันออนไลน์ จากกัลยาณมิตรอย่างบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ในการสร้างสรรค์กิจกรรมดี ๆ ให้แก่พี่น้องประชาชนชาวไทยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ในโอกาสต่อไป และขอถือโอกาสนี้เชิญชวนพี่น้องประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ เข้าเป็นสมาชิก Facebook “ปลูกพืช ปลูกผัก ปลูกรัก กับ พช.” เพื่อเป็นกำลังใจ โชว์กิจกรรมที่ทำกับครอบครัวที่บ้าน ให้พี่ๆน้องๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ชื่นชม และทำตามด้วยในการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร อธิบดี พช. กล่าวทิ้งท้าย

โครงการลุยเกษตรสุดเขตไทย จบแล้ว โปรดติดตามต่อไป

ทุกคนตระหนักรับรู้ว่า “เกษตรคือประเทศไทย” แต่จะทำอย่างไรให้ทุกภาคส่วนมาร่วมมือกัน บ้านเรานั้นมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี 2504 คือ 60 ปีมาแล้ว

คราวนั้นผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ชาวบ้านชาวช่องตื่นตัวกันมาก รับคำสั่งจากทางการว่าต่อไปนี้ประเทศไทยเราจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วนะ

เป็น 60 ปีแห่งการพัฒนาที่คนไทยยังยากจนเหมือนเดิม ตามตำราที่เรียนมาบอกว่าเพราะการพัฒนาของเราผิดทิศผิดทางไปเอาอย่างฝรั่งมั่งค่าเมืองนอกเมืองนาเห่อเหิมว่าของเขาดีของเขาเลิศจนทุกอย่างก็เข้าทางเขาหมด

เราเคยหลงใหลได้ปลื้มว่าส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 แต่หม้อหุงข้าวที่เป็นแบรนด์คนไทยไม่มีสักใบเดียว ยางพาราก็ที่ 1 สับปะรดก็ที่ 1 ทุเรียนก็ที่ 1…

บัดนี้เราตื่นตัวว่า เกษตร 4.0 ต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต การตลาดนำการเกษตร เกษตรกรของเราจึงจะหลุดพ้นกับดักความยากจน เป็นกับดักที่เหนียวหนึบคนไทยเราดิ้นไม่หลุดสักที

“เกษตรก้าวไกล” ในฐานะสื่อมวลชนเกษตรได้ออกตีฆ้องร้องเป่าว่า “เกษตรคือประเทศไทย” เมื่อ 3 ปีที่แล้ว จนปีนี้เข้าปีที่ 4 เราก็คงเดินหน้าต่อไป เพียงแต่ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปตามสถานการณ์ที่ตอนนี้มีโควิด-19 เข้ามาควบคุม ไม่ให้ทำอะไรแบบเดิม เราก็ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการนำเสนอข่าว อย่างเช่นโครงการ 30 วันปันความรู้เพื่อเกษตรกรไทย ที่ได้สัมภาษณ์เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งหลายท่านที่ได้ติดตามก็คงทราบกันดี

จนเมื่อโควิด 19 เริ่มคลายตัว เราก็ได้เริ่มโครงการ “ลุยเกษตรสุดเขตไทย” เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กระทั่งวันนี้ที่โควิด 19 ภาค 2 ออกมาสตาร์ทการฉายอีกครั้งหนึ่ง โชคดีที่เราได้ปิดโครงการ “ลุยเกษตรสุดเขตไทย” ระยะที่ 1 ทันพอดี

ขอเรียนให้ทุกท่านทราบว่า โครงการลุยเกษตรสุดเขตไทย ระยะที่ 1 ที่จบลงนั้น เราได้ออกเดินทางไปทั่วประเทศ ครบทั้ง 4 ภาคของประเทศไทย เราได้ไปพบเกษตรกรและกลุ่มเกษตรที่เป็นต้นแบบหรือหัวขบวน รวมทั้งหมดประมาณ 12 คน/กลุ่ม ได้ถ่ายทำเป็นคลิปและเขียนเป็นบทความข่าวร่วม 20 เรื่อง 20 คลิป ทั้งข่าวและคลิปท่านสามารถติดตามได้จากเว็บไซต์เกษตรก้าวไกล เกษตรว้อยซ์ ส่วนที่เป็นคลิปเฉพาะเรื่องติดตามได้จากเพจเฟสบุ๊คและยูทูปช่องเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน ซึ่งตอนนี้ข่าวหลักและคลิปหลักก็เผยแพร่จนครบ เหลือเพียงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่จะทยอยออกมาเป็นระยะๆ

สำหรับโครงการลุยเกษตรสุดเขตไทย ระยะที่ 1 เราได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เราขอย้ำบอกเลยว่ายุคนี้สื่อมวลชนต้องทำงานกันอย่างหนัก แต่รายได้ไม่หนักเหมือนเก่าก่อน เราไม่มีเงินอุดหนุนไม่มีเงินเยียวยาใดๆ ทำงานกันด้วยหัวใจ จึงต้องขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรามา ณ โอกาสนี้

อาจมีคำถามว่า โครงการเกษตรคือประเทศไทย ระยะที่ 2 จะเริ่มต้นอีกเมื่อไร ขอเรียนว่าจะต้องเริ่มต้นอย่างแน่นอน เนื่องจากเป้าหมายของเราบอกไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่ออกสตาร์ทโครงการแล้วว่า เราจะดำเนินโครงการนี้ตลอดปี 2564 ซึ่งรูปแบบที่จะลุยนั้นจะเป็นอย่างไรบ้างขอให้ติดตาม แต่ที่แน่ๆเราก็จะรณรงค์ด้วยสโลแกน #เกษตรกรอยู่รอดประเทศไทยอยู่ได้ โดยยึดเกษตรกรเป็นที่ตั้งหลัก หรือ “FARMER FIRST” เป้าหมายคือจะต้องทำให้คนไทยทุกคนพูดถึงภาคเกษตรให้ได้ ตามบทบาทของสื่อมวลชนเกษตรที่จะต้องทำหน้าที่และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ซึ่งฟังดูอาจเป็นเรื่องยากที่จะทำได้ แต่ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำเพื่อให้เกิดความยั่งยืน เพราะภาคเกษตรได้พิสูจน์มาหลายครั้งหลายหนว่าคราวใดที่เราประสบกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจก็ได้ภาคเกษตรนี่ละที่เข้ามารองรับไว้

อนึ่ง นอกจาก ธ.ก.ส.ที่เป็นผู้สนับสนุนหลักในคราวนี้แล้ว เรายังมีพันธมิตรคือ สยามคูโบต้า ฟอร์ดประเทศไทย ฯลฯ รวมทั้งเกษตรกรที่เปรียบเสมือนหุ้นส่วนหลักของเรา ตลอดจนผู้ติดตามและผู้เกี่ยวข้องทุกคนทุกฝ่าย…เราสัญญาว่าจะทำหน้าที่เสนอข่าวสารด้านการเกษตรเพื่อเชื่อมโยงสังคมเกษตรไปสู่สังคมอื่นๆทั่วประเทศไทยให้ดีที่สุดครับ

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร มีนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน โดยส่งเสริมให้เป็นผู้ประกอบการที่เข้มแข็ง และสามารถประกอบกิจการได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืนมาจนปัจจุบัน ซึ่งในระหว่างวันที่ 1 -30 มกราคม 2564 นี้ กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดให้บริการต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ประจำปี 2564 จึงขอแจ้งเตือนให้วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน มาต่อทะเบียน ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียนฯ เพื่อรักษาสิทธิในการได้รับการสนับสนุนและบริการจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

สำหรับมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) กรมส่งเสริมการเกษตร ขอให้วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายฯ ที่จะมาขอต่อทะเบียนฯ เตรียมเอกสารประกอบการขอ

ต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ประจำปี 2564 ประกอบด้วย 1) หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (ท.ว.ช.2) 2) เอกสารสำคัญแสดงการดำเนินกิจการวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (ท.ว.ช.3) 3) บัตรประชาชนของผู้มายื่นแบบขอต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 4) หนังสือมอบอำนาจให้ทำการแทน (กรณีผู้มีอำนาจทำการแทนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนไม่ได้มาด้วยตนเอง) 5) บันทึกแจ้งความ (กรณี ท.ว.ช.2/ท.ว.ช.3 สูญหาย) 6) ข้อบังคับหรือข้อตกลงร่วมกันของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 7) แบบคำขอดำเนินกิจการต่อของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (สวช.03) 8) แบบจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 9) แผนประกอบการวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน และ 10) ผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ทั้งนี้ ให้กรอกข้อมูลพร้อมจัดเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนเรียบร้อย โดยสามารถศึกษาวิธีการและดาวน์โหลดเอกสารต่าง ๆ ได้ที่ http://www.sceb.doae.go.th/ext64.html และนำมายื่นต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอที่ได้ขอจดทะเบียนฯ ไว้ เพื่อตรวจเช็คความเรียบร้อยและดำเนินการต่อทะเบียนฯ ได้อย่างรวดเร็ว ลดระยะเวลาเผชิญหน้า ลดความแออัด และลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวย้ำว่า หากวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนไม่มาต่อทะเบียนระหว่างวันที่ 1-30 มกราคม 2564 ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียนฯ จะถูกเพิกถอนทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (กรณีหากไม่มาต่อทะเบียน 2 ปีติดต่อกัน) และหมดสิทธิ์รับการสนับสนุนหรือบริการจากภาครัฐ

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มอบหลักการและนโยบายในการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วน นมเกษตรประสบปัญหาภาวะนมล้นเกิน สืบเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้โรงเรียนปิดการเรียนการสอน นมเกษตรต้องหยุดส่งนมโรงเรียน ในขณะที่การรับน้ำนมดิบจากเกษตรกรยังต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร จึงได้มอบให้ศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มก. จัดโครงการ Friday Ku Milk Day รณรงค์ให้บุคลากรและนิสิต ดื่มนมฟรีทุกวันศุกร์ ในช่วงที่มีสถานการณ์โควิด -19 และ โรงเรียนปิดการเรียนการสอน เริ่มตั้งแต่ วันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ในจำนวน 5,000 ถุงต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ เพื่อให้บุคลากรที่มาทำงานให้บริการประชาชน และนิสิตหอพัก ได้ดื่มนมฟรีทุกวันศุกร์ เพื่อสุขภาพที่ดีสู้กับโควิด – 19

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เนื่องจากเรามีศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มก. หรือโรงนม ซึ่งเป็นศูนย์สาธิตการผลิตนมที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ การสอน การวิจัย และการส่งเสริมนิสิต อาจารย์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศไทย โดยศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มก. เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรซ์ภายใต้ชื่อ “นมเกษตร” ทำการผลิตนมด้วยระบบ Pasteurization ผ่านการตรวจสอบระบบมาตรฐานคุณภาพซึ่งเป็นไปตามหลัก GMP (CODEX) และ HACCP (Hazard Critical Control Point) โดยรับชื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร เป็นปริมาณ 7.5 ตัน/วัน จากสหกรณ์ในจังหวัดสระบุรี จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย 1. สหกรณ์ทรัพย์ขาม 2. สหกรณ์ทรัพย์สนุ่น 3. สหกรณ์เกรทมิลด์ โดยผลิตเป็นนมโรงเรียน จำนวน 5 ตัน/วัน คิดเป็นปริมาณการผลิต 2,737.5 ตัน/ปี การรับน้ำนมดิบเข้าโรงนม จะรับจากรถขนส่งนมดิบขนาด 15 ตัน/เที่ยว ซึ่งจะสามารถนำไปผลิตเป็นนมถุงได้ 4,800ถุง/ตัน ดังนั้นการผลิตจากน้ำนมดิบ 7.5 ตัน/วัน ทำให้นมเกษตรมีนมถุงที่ผสิตได้ 7.5*4,800 ถุง เท่ากับ 36,000 ถุง/วัน ในจำนวนนี้ส่งเป็นนมโรงเรียน 24,000 ถุง/วัน และจำหน่ายเป็นนมพาณิชย์ 12,000 ถุง/วัน

“เรามีทิศทางในการดำเนินงานต่างๆสนับสนุนและเป็นโมเดลต้นแบบให้ผู้ผลิตรายอื่นได้เห็นว่าเราสามารถจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ต่อไป โดยการบริโภคนม ผู้บริโภคหลักของประเทศก็คือนักเรียน ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทำแคมเปญเชิญชวนให้คนดื่มนมทุกวัน ในรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ มีการเชิญชวนให้ซื้อนมและร่วมส่งต่อนมให้กับโรงพยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย กับกิจกรรมพิเศษ นมเกษตรเพื่อบุคลากรทางการแพทย์ สู้ โควิดรอบใหม่ จำหน่ายนมเกษตรในราคาขาดทุน 5 บาทต่อถุง โดยท่านสามารถกำหนดได้ว่าจะร่วมสนับสนุนจำนวนเท่าใด และทางเศูนย์ผลิตภัณฑ์นมจะจัดส่งให้ถึงโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่ร่วมโครงการ โดยไม่มีค่าจัดส่ง ”

“ในส่วนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ผลิตนมในปริมาณไม่มาก วันละประมาณ สี่หมื่นกว่าถุง แต่ในภาพรวมของประเทศปริมาณเป็นล้านๆ ถุง อยากจะขอรณรงค์ให้จังหวัดทำโครงการเหล่านี้ เพราะนักเรียนเมื่อหยุดอยู่บ้านก็ต้องดื่มนม ฝากถึงผู้บริหารของประเทศว่าจะทำอย่างไรถึงจะให้นมเหล่านี้ไปถึงมือนักเรียน ถึงมือของประชาชนทั่วไป ”

อย่างไรก็ตาม นมเกษตรมีต้นทุนการผลิต ถุงละ 7.10 บาทโดยประมาณ ดังนั้นการจำหน่ายในราคา 6 บาท หรือ 5 บาท จึงทำให้นมเกษตรอยู่ในภาวะขาดทุน แต่จากปณิธานของอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ ที่เน้นว่า “ขาดทุนคือกำไร” การที่นมเกษตรรับภาระขาดทุน แต่ส่งผลให้เกษตรกรขายน้ำนมดิบได้ตามสัญญา ผู้บริโภคได้ดื่มนมคุณภาพดีอย่างถั่วถึง เช่นนี้ก็เปรียบได้ว่า นมเกษตร และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับกำไรจากการทำสิ่งดี ๆ เพื่อสังคมไทยโดยรวม

ผู้สนใจสอบถามรายละเอียด และร่วมกิจกรรมกับศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มก. ได้ที่ 02-579-9594 หรือสั่งซื้อทางเฟซบุ๊ค พิมพ์คำว่า “นมเกษตร”

(ข่าวโดย ผกามาศ ธนพัฒนพงศ์ / นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ / มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / วันที่ 8 มกราคา 2563) ในปี 2563 ที่ผ่านไปหยกๆ คงเป็นปีแห่งความจดจำครั้งสำคัญ ที่โลกของเราเกิดโรคระบาดโควิด-19 และก็ต่อเนื่องมาถึงปี 2564 เรียกว่าเป็นยกที่ 2 หรือรอบ 2 หรือภาค 2 หรือ รอบใหม่ ก็แล้วแต่จะเรียกกัน ที่รู้ๆโควิดได้ให้บทเรียนมากมายก่ายกองพะเนินเถินทึกนัก…

“เกษตรก้าวไกล” เคยเขียนบอกผ่านบทความในเว็บไซต์ว่ายุค Disrupt จะเป็นโอกาสของคนตัวเล็ก ทุกคนจะสตาร์ทพร้อมกันอีกครั้งหนึ่ง และเมื่อมาถึงยุคโควิดยิ่งต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หมดยุคปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่ปลาเร็วจะกินปลาช้า…

วันนี้ได้อ่าน บทรายงานของ Adobe บริษัทคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ชื่อดังที่ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ และได้ออกรายงาน “7 เทรนด์ผู้บริโภคของเศรษฐกิจดิจิทัลของปี 2021” (7 consumer trends that will define the digital economy in 2021) อันนี้อ่านมาจากเว็บไซต์ของสื่อด้านการตลาดของไทยเรารายงานต่อมาอีกทีนะครับ

สิ่งที่เป็นประเด็นให้ต้องอ่านเขาพาดหัวว่า “ออนไลน์จะมาแรงกว่าเดิม และ Brand Loyalty ไม่สำคัญเหมือนแต่ก่อน” ตรงนี้แหละครับตรงใจมาก เป็น 2 ประเด็น ที่ต้องหยิบยกมาเล่าสู่กันฟัง ส่วนอีก 5 ประเด็นให้ไปหาอ่านกันเอง ออ ประเด็นเรื่องออนไลน์ก็ให้ไปหาอ่านกันเองเหมือนกัน แต่ละหยิบมาเฉพาะประเด็น #BrandLoyaltyไม่สำคัญเหมือนแต่ก่อน เพราะอะไรลองอ่านดูครับ

“จากงานวิจัยของบริษัทที่ปรึกษาด้านการตลาด Merkle ได้เปิดเผยว่า 75% ของผู้บริโภค ในระหว่างช่วงล็อกดาวน์ได้มีโอกาสใช้เว็บไซต์ใหม่ ๆ ในการซื้อสินค้า และมีโอกาสได้ลองผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ที่ไม่เคยใช้ และยังลงลึกไปอีกด้วยว่า 65% ของผู้บริโภคเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแบรนด์ที่ตัวเองใช้อีกแม้กระทั่งหลังการแพร่ระบาดจะสิ้นสุดลงแล้ว”

“เทรนด์ของ Brand Royalty เป็นเทรนด์ที่มีความเปลี่ยนแปลงมาระยะหนึ่งแล้ว เพราะคนรุ่นใหม่ไม่ได้ชอบการยึดติดตัวเองกับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง และในขณะเดียวกันระบบเศรษฐกิจดิจิทัลก็ยังสนับสนุนให้เกิดตัวเลือกและแบรนด์ใหม่ ๆ ขึ้นมามากมาย”

ตรงนี้ตอบอะไรเราบ้าง? ตอบว่าธุรกิจขนาดย่อมหรือผู้ประกอบการรายย่อย อันรวมไปถึงพี่น้องเกษตรกร ท่านคือผู้ทำกิจการส่วนตัว โอกาสเกิดของเรามาถึงแล้ว (เกษตรก้าวไกล-โควิด 19 คือโอกาสของเกษตรกรไทย? โอกาสเกิดใหม่มาถึงแล้ว https://bit.ly/3q5WcOh) สินค้าของเราจะเล็กจะใหญ่ ขอให้มีเรื่องราวที่ดี ผลิตได้คุณภาพ กินได้ปลอดภัย ทานได้สุขภาพ ไม่แน่ว่าหน่อไม้ต้มหน่อไม้ดองจะโกอินเตอร์ก็คราวนี้ ดูอย่างกิมจิของเกาหลี หรือผักดองแบบญี่ปุ่นเขายังขายทั่วโลก เพราะอะไรจึงพูดเช่นนี้ ก็เพราะว่าว่าเรามีเครื่องมือที่สำคัญที่จะสามารถบุกทะลวงไปทั่วโลกได้ง่ายขึ้น ด้วยระบบการซื้อขายออนไลน์ แค่ใช้มือถือสมาร์ทโฟนที่มีสัญญานอินเตอร์เน็ตดีๆ

ผมว่าเวลานี้เรามีโทรศัพท์มือถือที่ทันสมัยขึ้น คุณแม่ถิ้ง-พริ้มพร้อม พงศาปาน ของผมยังมีใช้เลย ทั้งที่ว่าแทบไม่จำเป็นเท่าไร แต่ที่มีก็เพราะรัฐบาลมีโครงการคนละครึ่ง คุณลูกคนหนึ่งจึงต้องไปซื้อโทรศัพท์มือถือมาให้เพื่อจะใช้สแกน QR Code ซื้อของที่ร้านค้าได้

เพราะฉะนั้นช่วงโควิด 19 นี้ ใครที่พักยกอยู่ที่บ้าน ขอให้หยิบมือถือขึ้นมา ค้นหาข้อมูลที่ต้องการ เรียกว่าในโลกออนไลน์เราสามารถเรียนรู้ได้ทุกอย่าง ยิ่งใน YouTube มีคลิปให้ดูครบ และช่วงโควิดที่ผ่านมาเกษตรก้าวไกลยังได้จัดโครงการ 30 วันปันความรู้เพื่อเกษตรกรไทย มีกว่า 30 หัวข้อเรื่อง และก็มีหัวข้อเกี่ยวกับการซื้อขายออนไลน์ digital marketing รวมทั้งได้เชิญผู้รู้มาพูดถึงโอกาสเกิดของเกษตรกรไทยในโลกออนไลน์อยู่ด้วย ยังไงก็ลองไปค้นกันดูครับ
สรุปอีกครั้งว่า โอกาสเกิดของเกษตรกรไทยมาถึงแล้ว ส่วนที่ว่าจะได้เกิดแบบไหน ตอนนี้ค้นอ่านดูครับ หรือดูใน YouTube ช่องเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน ได้ไปสัมภาษณ์ตามโครงการ “ลุยเกษตรสุดเขตไทย (ระยะที่ 1)” ที่ ธ.ก.ส.ให้การสนับสนุน ล้วนแต่มีเกษตรต้นแบบที่เจ๋งๆ ทั้งนั้นครับ 555

บทความนี้ที่เขียนขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้พี่น้องเกษตรกรไทยฮึกเหิม หลายคนอาจจะบอกว่าจะเอาอะไรไปเกิด ตรงนี้พวกเราทุกคนตกอยู่ในสภาพเดียวกัน แม้แต่ตัวผู้เขียน แต่เราจะยอมจำนนกับวิกฤตที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเด็ดขาด ขอให้พวกเราทุกคนสู้ไปด้วยกัน ใครทำหน้าที่ไหนทำให้ดีที่สุด โอกาสเป็นของเราทุกคนครับ

ภาพประกอบบบทความนี้ ถ่ายทำที่ไร่นาสวนผสมของเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดอ่างทอง YSF (Young Smart Farmer) นำโดยโป้ง-ไวทยวิชญ์ หอมชะเอม ประธาน YSF จังหวัดอ่างทอง และสมาชิกอย่าง ดุ่ย-จักรี เดชงาม รวมกับเพื่อนๆอีก 2-3 คนที่มาสมทบ เขาทำเกษตรบนพื้นที่ 50 ไร่ ปลูกพืชที่หลากหลาย ทั้งข้าวโพดหวาน กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก มะกรูดตัดใบ ข้าว กข 79 ฯลฯ…ขอบคุณพี่น้อย-นิภาภรณ์ สนิทพันธุ์ เกษตรอำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ที่ได้ประสานงานให้มาพบกับเกษตรกรรุ่นใหม่กลุ่มนี้

วันนี้(9 มกราคม 2564) “เกษตรก้าวไกล” ได้มีโอกาสสื่อสารพูดคุยกับ คุณสมชาย แซ่ตัน เจ้าของไร่คุณชาย แห่งบ้านพุตะเคียน ต.ท่าเสา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี อีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เมื่อปีก่อนก็มาเยือนและปีก่อนหน้าก็มาเยือน วาระพูดคุยก็ได้สอบถามไปว่าโควิด-19 ได้พ่นพิษอย่างไรบ้าง คุณสมชายตอบว่า “ทุกอย่างค่อยๆดีขึ้น” ผิดคาดครับ คิดว่าจะบ่นเหมือนคนทั่วๆไปที่ประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจค้าขายไม่คล่อง ซึ่งแต่เดิมก่อนโควิด 19 คือเมื่อปี 2562 สวนคุณสมชายมีนักท่องเที่ยวจีนหลั่งไหลมา แต่ปี 2563 กลับไม่มีเลย แต่คุณสมชายก็บอกว่ายังอยู่ได้สบายๆครับ และถือโอกาสนี้ดูแลสวนอย่างเต็มที่ ซึ่งในปี 2563 ที่ผ่านมาได้ปรับเปลี่ยนสวนเข้าที่เข้าทางมากขึ้นจากที่เมื่อหลายปีก่อนเคยใช้เคมีเป็นหลักและจากเกษตรปลอดภัยที่เป็นอยู่นี้ก็จะเข้าพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ในอนาคตอันใกล้นี้

ทางเกษตรก้าวไกลเคยนำเสนอเรื่องราวสวนคุณชายมา 2 – 3 หน เนื่องจากสวนของเขาได้พัฒนาอยู่ตลอดเวลา โดยในปีล่าสุดเราได้ไป LIVE สด และนำเรื่องราวมาลงใน YouTube (การตัดแต่งใบกล้วยสวนคุณสมชาย https://youtu.be/VoMhDdOT75k LIVE ชมสวนเกษตรผสมผสานของสมชาย แซ่ตัน..ทำสวนอย่างไรให้น่าเที่ยว? https://youtu.be/r6MQmZZt1E0) ปรากฏว่าเป็นที่สนอกสนใจกันมาก เพราะเป็นสวนที่ทำการเกษตรแบบผสมผสานปลูกไม้ผลหลายชนิดและโตวันโตคืน จากเดิมที่เน้นสวนมะละกอฮอลแลนด์เป็นหลัก แต่ตอนนี้มีไม้ผลหลายมาก เช่น เงาะ ทุเรียน กล้วยไข่ กล้วยหอม มะปราง ขนุน ส้มโอ กระท้อน ฯลฯ โดยเฉพาะทุเรียนที่หลายคนปลูกแล้วตายแต่ที่สวนคุณสมชายแทบไม่ตายเลย แถมต้นโตเสมอกันและบางรุ่นที่ปลูกอายุ 4 ปี เริ่มออกดอก หัวใจของการปลูกคือเลียนแบบธรรมชาติ เช่น ปลูกกล้วย มะละกอ แซมทุเรียน เรียกว่าให้พึ่งพาอาศัยและเก็บเกี่ยวผลผลิตไปได้พลางๆ

ก่อนที่จะมาถึงยุคปลูกกล้วย มะละกอ แซมทุเรียนอย่างปัจจุบัน คุณสมชายประสบความสำเร็จในการปลูกกล้วยแซมมะละกอมาก่อน เขาจะใช้ระยะปลูก 3×3 เมตร โดยจะปลูก 1 ต้น แซมแถวเดียวกับมะละกอ จะไม่ปลูกระหว่างร่อง เพราะจะทำให้ยากต่อการเข้าไปบริหารจัดการ แต่จะปลูกกล้วยได้ก็ต่อเมื่อปลูกมะละกอไปแล้ว 5 เดือน หากปลูกพร้อมกันจะทำให้ต้นกล้วยโตเร็ว จะทำให้ใบกล้วยไปบังแสงต้นมะละกอที่โตช้ากว่าได้

อีกเรื่องหนึ่งพันธุ์กล้วยที่ปลูกควรใช้กล้วยหอม กล้วยไข่ และกล้วยเล็บมือนาง ไม่ควรใช้กล้วยน้ำว้า เพราะกอใหญ่จะบังร่มเงาของมะละกอ ทำให้มะละกอเสียหายเจริญเติบโตได้ไม่ดี

พูดถึงการสวนเกษตรผสมผสานต้องยอมรับว่าไร่คุณชายของคุณสมชายเป็นสวนแห่งหนึ่งที่น่าศึกษาดูงานมาก สามารถบรรยายให้ความรู้ทั้งวิชาการและประสบการณ์ได้หมดจด เนื่องจากตัวคุณสมชายนั้นถือได้ว่าเมื่อหลายปีก่อนเขาก็คือเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่เคยทำงานประจำมาก่อน เขาเป็นคนในพื้นที่ ต.ท่าเสา อ.ไทรโยค เกิดและโตที่นั่น เรียนจบ ปวช. ทางด้านไฟฟ้ากำลัง ทำงานบริษัทมา 13 ปี ก่อนที่จะออกมารับทอดอาชีพเกษตรกรจากพ่อแม่จนปัจจุบัน

เพราะเหตุนี้จึงอยากเรียนให้ผู้สนใจทราบว่า “เกษตรอคาเดมี-เรียนรู้สิ่งดีดีจากของจริง” ในเครือเว็บไซต์ “เกษตรก้าวไกล” มีโครงการความร่วมมือกับไร่คุณชาย ภายใต้ชื่อโครงการ “ห้องเรียนกลางสวน ชวนเรียนรู้และชิมไปด้วยกัน” วัตถุประสงค์ก็เพื่อเปิดสวนให้ผู้สนใจได้เข้ามาเรียนรู้กันเฉพาะ ซึ่งปกติไร่คุณชายจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชม คือไปซื้อผลไม้ได้ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่มีผลไม้ออกเยอะ แต่ถ้าเป็นช่วงที่นอกเหนือจากนี้ก็จะใช้เวลาทุ่มเทไปกับการทำสวน และในอนาคตทางคุณสมชายบอกว่าจะทำสวนเพื่อการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ

นอกจากนี้ในการจัดโครงการนี้ ยังมีความมุ่งหวังให้กิจกรรมในลักษณะนี้เกิดขึ้นในสวนหรือในฟาร์มของพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ เนื่องจากปัญหาโควิด-19 เห็นได้ชัดว่าเกษตรคือทางรอดของประเทศไทย แต่จะทำอย่างไรให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นมา การทำเป็นสวนเกษตรเพื่อการเรียนรู้หรือเพื่อการท่องเที่ยว จึงน่าจะเป็นรูปแบบหนึ่งที่จะสร้างความยั่งยืนได้

สำหรับโครงการที่จะจัดขึ้นนั้น เน้นการศึกษาเรียนรู้เป็นลำดับแรก ตามแบบฉบับของ “ห้องเรียนกลางสวน” ชนิดที่ว่าจะสามารถนำไปต่อยอดทำเป็นอาชีพที่สวนของตนเองได้เลย ส่วนการชิมเป็นส่วนเสริมจะขึ้นอยู่กับผลไม้ในช่วงนั้นๆ แต่จะมีอย่างแน่นอนคือ มะละกอฮอลแลนด์ กล้วยไข่ กล้วยหอม (สำหรับ มะปราง ขนุน ส้มโอ กระท้อน เงาะ ทุเรียน มะพร้าวน้ำหอม ขอดูช่วงใกล้ๆอีกครั้ง)

หัวข้อการเรียนรู้ประกอบด้วย หลักการการทำสวนแบบเกษตรผสมผสาน การออกแบบวางผังสวน การเลือกชนิดไม้ผลหรือพืชผักที่จะปลูก วิธีการปลูกไม้ผลผสมผสาน หลักการปลูกไม้ผลแต่ละชนิด (เช่น ทุเรียน กล้วย มะละกอ มะม่วง ส้มโอ เงาะ ฯลฯ) การดูแลจัดการสวนให้ได้ผลผลิตดี เทคโนโลยีและนวัตกรรม (การใช้อุปกรณ์เครื่องมือทำสวน) การตลาดเกษตรผสมผสาน ผลตอบแทนต่างๆ ฯลฯ

กำหนดเปิดสวนเพื่อการเรียนรู้…วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม 2564 เวลา 13.00-17.00 น. วิธีการสมัครนั้นให้ผู้สนใจสมัครผ่านทางโทรศัพท์หรือไลน์ 0863266490 (เท็น) ค่าลงทะเบียนเรียนท่านละ 555 บาท กรณีมา 2 ท่านขึ้นไป คิดท่านละ 500 บาท พอถึงวันเรียนก็ให้ไปตามจุดนัดหมายที่สวน ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงสวนประมาณ 2.30 ชั่วโมง สามารถไปเช้า-เย็นกลับได้ แต่ถ้าให้ดีควรมีเวลาไปเที่ยวในสถานที่ใกล้เคียง พักค้างคืนที่กาญจนบุรีสัก 1 คืน เพื่อให้เศรษฐกิจหมุนเวียน

(หมายเหตุ…ราคาที่กำหนดนี้ให้จองและชำระเงินภายในเดือนกุมภาพันธ์ กรณีหลังจากนี้ปรับราคาเป็น 666 บาท กรณีมา 2 ท่านขึ้นไป คิดท่านละ 600 บาท โดยหลังจากจองแล้วให้โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขาสยาม เลขที่บัญชี 0431516640 ชื่อบัญชี นายโชติพัฒน์ พงศาปาน และส่งสลิปยืนยันการโอนตามไลน์ดังกล่าว-จึงเรียนมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน)

ในราคานี้ทางเกษตรก้าวไกลไม่ได้มีกำไร ขอแค่ให้มีค่าใช้จ่ายน้ำมันรถเท่านั้น เหตุที่จัดก็เพราะว่า เราได้ประกาศความหุ้นส่วนกับเกษตรกรไทยทุกคน โดยทำหน้าที่เสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวของพี่น้องเกษตรและสิ่งสำคัญในช่วงที่เกิดโควิด-19 นี้ เราคาดหวังให้เศรษฐกิจของพี่น้องเกษตรกรเกิดการหมุนเวียนและคนไทยเที่ยวเมืองไทย “เกษตรกรอยู่รอดประเทศไทยอยู่ได้” โดยเราคาดว่าสวนที่เราจัดนั้นจะทำให้ผู้คนได้รู้จักมากขึ้น ซึ่งบางสวนก็อาจจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่บางสวนที่ยังไม่รู้จักดีก็จะได้รู้จักและจะได้ขายผลผลิตของสวนได้ด้วย

อันนี้เป็นแนวทางหนึ่งที่เราคิดได้ ซึ่งปกติก็จัดโครงการลักษณะนี้อยู่บ้างแล้ว แต่เมื่อเกิดโควิด-19 เราจะขยายผลออกไปอย่างไร ผลผลิตทางการเกษตรหลายตัวคงจะออกมาพรั่งพรูในช่วงเวลาอีกไม่นานนี้ เราจะช่วยกันอย่างไรได้บ้าง ที่เกษตรกรอยู่รอด เราอยู่รอด และผู้สนใจที่เป็นผู้เรียนหรือผู้บริโภคอยู่รอดไปด้วยกัน

พูดมาถึงตรงนี้ ท่านใดที่สนใจก็รีบจองเข้ามาได้ คาดว่าจะรับประมาณ 20 ท่าน และสวนใดที่อยากจะเข้าร่วมโครงการก็ติดต่อมาได้เช่นกันครับ ลงเรือเฟอร์รี่ราวครึ่งชั่วโมงก็ถึงเกาะช้างแล้วให้เลี้ยวซ้ายขับรถไปชิลล์ๆชื่นชมวิวไปเรื่อยๆสักพักก็มาถึง Flukie’s House ตามที่ได้ปักหมุดไว้ แต่ช้าก่อนที่ปากซอยทางเข้านั้นเขาไม่ได้มีป้ายบอกว่า แต่ก็ให้เลี้ยวเข้าไปเถอะ เพราะคุณมาถูกทาแล้ว

พอไปถึงก็ตรงรี่ไปที่อาคารที่เป็นส่วนกลาง ซึ่งจะเรียกว่าเป็นบ้านหลัก ที่ถูกออกแบบเป็นบ้านสองชั้น มีระเบียงที่ยื่นออกไปเห็นวิวบึงน้ำทรงกลมขนาดใหญ่ คล้ายกับเป็นกระทะยักษ์ ที่รอบๆกระทะจะมีสะพานไม้ล้อมรอบและบ้านพักอยู่เรียงราว นับไปนับมาได้ 8 หลังพอดิบพอดี เป็นพักพักที่ปลูกซ่อนไว้ระหว่างผืนน้ำและผืนป่า

“คิดว่ามานอนบ้านเพื่อนก็แล้วกัน…เรียกที่นี่ว่าเป็นเฟรนด์สเตย์ (Friendstay) เพราะอยากให้แขกที่มาพักรู้สึกเหมือนมาเที่ยวบ้านญาตนอนบ้านเพื่อน มีพ่อคอยหาวัตถุดิบ มีแม่ทำกับข้าวให้กิน และตัวผมจะพาเพื่อนไปเที่ยวเล่นในเกาะช้าง” คุณฟลุ๊ค – กสิณรัช ถังไชย คนหนุ่มผู้เปลี่ยนบ่อกุ้งมาเป็นโฮมสเตย์ บอกกับผู้มาเยือน

ความโดดเด่นของ Flukie’s House คือธรรมชาติและความเงียบสงบ ไม่พลุกพล่าน อย่างที่บอกว่าป้ายบอกทางเข้าที่ปากทางก็ไม่ได้ติดไว้ เพราะต้องการให้มีความเป็นส่วนตัวนั่นเอง

โฮมสเตย์แห่งนี้ดูแลกันเองในครอบครัว มีคุณพ่อ คุณแม่ คุณฟลุ๊คและน้องสาวช่วยกันดูแล้ แต่คุณฟลุ๊กนั่นถือเป็นกำลังหลัก ที่คอยต้อนรับผู้มาเยือนในแบบเพื่อนต้อนรับเพื่อน คือเน้นความเป็นกันเอง สามารถพูดคุยกับสมาชิกทุกคนในครอบครัวได้โดยตรง

“ผมตั้งใจจะรับคนเข้าพักไม่มาก เพราะไม่ต้องการให้พลุกพล่านจนเกินควร บ้านพักก็สร้างไว้ 8 หลัง กะว่าพักได้ไม่เกิน 30 คน คือบางหลังก็ทำเป็น 3 เตียง 4 เตียง แต่ละหลังนั้นใกล้ชิดกับธรรมชาติ อย่างที่เห็นนั้นสร้างด้วยไม้ มีระเบียงหน้าบ้าน ที่ดูว่าเหมือนสร้างไม่เสร็จ ไม่มีรั้วไม่มีราว เพราะไม่ต้องการให้มีอาณาเขต อยากให้ทุกคนนั่งเล่นทอดน่องห้อยขาแบบสบายๆครับ” คุณฟลุ๊กบอกเมื่อผู้มาเยือนถาม

นอกจากห้องอาหารที่ออกแบบเป็นล้อปบี้หรือเป็นจุดรวมพลไปในตัว ซึ่งจะมองวิวสวยงามโดยรอบ ยังมีกิจกรรมพายซับบอร์ดที่คุณฟลุ๊กซื้อมาใหม่และได้พายโชว์ให้เราดู ตรงส่วนนี้อนาคตจะให้เช่าเป็นรายชั่วโมงๆละ 500 บาท ซึ่งจะสอนให้พายจนได้ สำหรับผู้ที่ไม่เคยพายจะพายไม่ยากเลย คุณฟลุ๊กบอกอย่างนั้น

จุดเริ่มที่มาทำโฮมสเตย์คุณฟล๊กบอกว่าพ่อเป็นข้าราชการครู ต่อมาได้ทำบ่อกุ้งคือมีอาชีพเป็นเกษตรกรควบคู่กับ มีทั้งสวนผลไม้ สวนยางพารา ในส่วนของบ่อกุ้งไม่ค่อยประสบความสำเร็จนักจึงเปลี่ยนมาเป็นโฮมสเตย์ โดยโฮมสเตย์นั้นจะเน้นการปลูกสร้างเป็นธรรมชาติ “เราทำลายธรรมชาติให้น้อยที่สุด ที่ต้องสร้างเป็นบ้านไม้ หลายคนบอกว่าทำลายธรรมชาติ แต่ผมว่าไม้เป็นสิ่งที่เราปลูกขึ้นมาใหม่ได้ ถ้าเป็นเหล็กเป็นปูนเราปลูกไม่ได้ ผมปลูกไม่เป็น” คุณฟลุ๊ก พูดจริงจัง

คุณฟลุ๊คบอกอีกว่าตัวเขานั้นเป็นนักเดินทางที่อยากมีเวลาว่างออกท่องเที่ยวเดินป่าตลอดทั้งปี เขาจึงออกแบบการทำงานที่เข้ากับการใช้ชีวิตของเขา นอกจากที่พัก 8 หลังกับกิจกรรมพายซับบอร์ดแล้ว ยังมีบริการพาท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทั้งดำน้ำ พายเรือ เดินป่า ขึ้นเขาทั้งในเกาะช้าง และเกาะข้างเคียง ตามแต่เลือก โดยคุณฟลุ๊คเป็นไกด์จัดทริปให้เอง อยากไปไหนก็บอกฟลุ๊ค เขาทำแพกเกจเที่ยวไม่เหมือนคนอื่น เพราะเคยมีประสบการณ์การทำงานในรีสอร์ตแห่งอื่นมา สิ่งไหนที่เขาคิดว่าไม่เวิร์คก็ไม่ทำ

สถานที่ใกล้เคียง Flukie’s House มีมากมายที่อยากให้คุณได้มาสัมผัส ซึ่งไม่ต้องอธิบายมาก ขอบอกแค่ว่าเกาะช้างยังมีความงานที่เป็นธรรมชาติทั้งทะเลภูเขาป่าไม้และก่อนกลับผู้มาเยือนก็ได้แวะไปที่บ้านสลักเพชร เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนบ้านนาในหรือมีอีกชื่อว่า โครงการฟื้นฟูบูรณะป่าชายเลนบ้านสลักเพชร เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่มีสะพานไม้สีแดงทอดยาวไปจนจุดที่ปากอ่าวสลักเพชร ซึ่งเป็นอุทยานป่าชายเลนที่มีไม้โกงกางหลากหลายสายพันธุ์มาก เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่พลาดไม่ได้จริงๆ

อนึ่ง Flukie’s House ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ที่เวลานี้มุ่งให้เกษตรกรยกระดับอาชีพหรือพัฒนาต่อยอดจากอาชีพเกษตรกรรมที่ทำอยู่สู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรและที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งในวันนี้เรามี คุณนพดล พลปิยะ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาเกาะช้าง มาให้ข้อมูลรายละเอียดต่างๆว่าธ.ก.ส.มุ่งมั่นตั้งใจที่จะสนับสนุนการปรับเปลี่ยนอาชีพของเกษตรกรเพื่อสร้างความยั่งยืน “ธ.ก.ส.เป็นมากกว่าธนาคาร และ Flukie’s House เป็นกิจการที่ธ.ก.ส.พร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ทั้งในแง่เงินทุนหมุนเวียนและการช่วยประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อเครือข่ายของ ธ.ก.ส.อย่างเช่นในครั้งนี้”

เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2564 บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จํากัด(เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง) ร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) เพื่อส่งมอบเมล็ดพันธุ์คุณภาพตรา ศรแดงให้คนไทยทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ รวมจํานวน 100,000 ซอง ภายใต้โครงการ “ปฏิบัติการ 90 วันปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ครั้งที่ 2” โดยมี คุณวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทัวไปบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จํากัด และ คุณสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ให้เกียรติร่วมในพิธีลงนาม พร้อมทั้งสาธิตการปลูกผักสวนครัว ณ บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จํากัด (สํานักงานใหญ่ ) อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า…ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นการยกระดับความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่มีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะสร้างความมั่นคงด้านอาหารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่ 2 ซึ่งครั้งนี้สถานการณ์ค่อนข้างรุนแรงกว่าครั้งแรกมาก ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศต้องหยุดชะงักอีกครั้ง และจากบทเรียนที่ผ่านมาได้ชี้ให้เห็นว่าการน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 คือการสร้างพื้นฐานพอมี พอกิน

พอใช้ประชาชนพึ่งพาตนเองได้ มาสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนได้น้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติในระดับครัวเรือน ด้วยการขับเคลื่อนโครงการ “ปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ภายใน 90 วัน สร้างความมั่นคงด้านอาหารต้านภัยโควิด-19” ซึ่งผลการดําเนินงานตลอดปี 2563 ได้ก่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารในระดับครัวเรือนจนถึงระดับหมู่บ้านมีการปลูกผักสวนครัว และสร้างคลังอาหารเพิ่มขึ้น ทั้งยังเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนอีกด้วย “ผมขอขอบคุณท่านผู้บริหาร

บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จํากัด สมัครเว็บบาคาร่า และเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ได้เล็งเห็นความสําคัญและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคงด้านอาหารต้านภัยโควิด-19 รวมถึงขอบคุณที่ได้ให้การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์สําหรับโครงการเฟส 2 นี้ให้กับทางกรมการพัฒนาชุมชนจํานวนทั้งสิน 100,000 ซอง เพื่อสนับสนุนการปลูกผักสวนครัว ให้แก่ประชาชนชาวไทยครอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศไทย”

ผมเป็นลูกค้าธ.ก.ส.มาตั้งแต่ปี 2538 คุยกันแบบเป็นกันเอง

ดีกว่าทุกธนาคาร เป็นเสมือนญาติมิตร ธนาคารอื่นบางครั้งจ่ายช้าก็ยื่นโนติส แต่ธ.ก.ส.ผ่อนจ่ายได้ เรามีมากก็จ่ายมาก ส่วนใหญ่เราจ่ายตรงเวลา กลัวเขาจะเกลียด ผมมีธ.ก.ส.จึงมีอาณาจักรใหญ่ขนาดนี้

“น้องซิ่ว” (คุณปิ่นพินัทธ์ ภู่ทอง) ลูกสาวคนโต เล่าว่าโดนคุณพ่อหลอกใช้ตั้งแต่เด็ก วันเสาร์อาทิตย์ก็ต้องแบกกระถาง ช่วยพ่อช่วยแม่ แต่มาทำจริงๆจังๆ ช่วงที่พ่อมาทำโรงงานในปี 2559 มาช่วยกันบริหาร มาออกแบบผลิตภัณฑ์เอง ขายเองหน้าร้าน เพราะช่วงนั้นเศรษฐกิจดีมากๆ

“น้องซิ่ว” กล่าวว่าการออกแบบเราจะทำเครื่องปั้นดินเผาให้เข้ากับทุกบ้าน เน้นเรียบง่าย และเน้นที่สีให้แตกต่างจากเพื่อนบ้าน แบบเดิมๆ เขาจะนิยมการแกะลาย แต่เราชอบงานเรียบๆ ลงสีเอง ทำสีเอง พัฒนารูปแบบต่างๆ ขึ้นมา ร่วมกับพี่นักออกแบบเขาทำให้

ปัจจุบันโค้งพันล้านมีผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบมาก คอนเซ็ปต์ของเราต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่งานไหนที่ลูกค้าสั่งทำก็ทำตามสั่ง

“น้องซิ่ว” กล่าวอีกว่า จุดเด่นของโค้งพันล้าน เรามีงานใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ และงานรีรัน เราจะไม่ตามกระแสข้างนอก เราจะตามใจตัวเอง พวกพี่ๆ ที่มาช่วยงาน เขามีตระกูลที่ทำเครื่องปั้นดินเผาอยู่แล้ว จึงมีทักษะมาร่วมกันพัฒนางาน ผลิตภัณฑ์ที่ขายดีตอนนี้คือโอ่งปลูกต้นไม้ในบ้านหรือปลูกบัว ทำออกมาทีไรก็ขายดิบขายดี จนทำไม่ทัน

“น้องซิ่ว” พูดถึงการพัฒนาสินค้าว่า เราจะพัฒนารูปแบบใหม่ๆ และงานรีรัน ไม่เน้นการแกะลายเหมือนคนอื่น ส่วนการตลาดเราจะเน้นลูกค้าเก่าๆ ที่เขายังสั่งงานเราอยู่ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ แม้แต่ช่วงโควิดยังมีสั่งมาเรื่อยๆ นอกจากนี้เรายังปลูกบัวเป็นการต่อยอดความคิดของพ่อมาใส่โอ่งขาย ปรากฏว่าขายดิบขายดี เราจะพัฒนาสายพันธุ์ที่ดี แข็งแรง มาเพิ่มและต่อยอดผลิตภัณฑ์ จะสานต่องานของด่านเกวียน และจะพัฒนารูปแบบใหม่ๆ ออกสู่ตลาด

ด้วยความสำนึกถึงบรรพบุรุษ และสำนึกรักบ้านเกิด ลุงทุย จึงแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งของโค้งพันล้านมาทำเป็นอุทยานแห่งการเรียนรู้ พร้อมกับปั้นรูปปั้นของบรรพบุรุษไว้ เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของชาวด่านเกวียน ที่สร้างงานไว้ให้ชุมชน ไม่ต้องออกไปทำงานถึงกรุงเทพฯ เป็นรูปปั้นสวยงาม ใกล้เสร็จและเปิดให้ชมแล้วครับ

“จาก “โครงการครึ่งไร่คลายจน” ของสำนักงาน ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก ได้เข้ามาสนับสนุนให้ไร่แสงสกุลรุ่งของเรา นับเป็นการสร้างประโยชน์ให้อย่างมาก เป็นการช่วยเพิ่มช่องทางสร้างรายได้ จากการปลูกพืชที่มากชนิดขึ้น ทำให้เรามีรายได้เพิ่มทั้งแบบรายวัน รายเดือน และรายปี”

คุณกมลวรรณ รุ่งประเสริฐวงศ์ หรือ “แสบ” ต้นแบบเกษตรกรทันสมัย (Young Smart Farmer) เจ้าของ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ไร่แสงสกุลรุ่ง ตั้งอยู่เลขที่ 111 หมู่ที่ 7 ตำบลกลอนโด อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี โทร. 09 1753 6491 ย้ำถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้น ภายใต้แผนการพัฒนาของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ที่วันนี้เป็นมากกว่าธนาคาร ได้เข้ามาช่วยสนับสนุนให้เกิดขึ้นบนพื้นที่ 10 ไร่ของครอบครัว

“แนวคิดของธกส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก ในการดำเนินโครงการครึ่งไร่คลายจนนั้นเกิดขึ้น เพราะ มีความต้องการที่จะหาแนวทางทำอย่างไรให้เกษตรกรได้ใช้พื้นที่ที่มีอยู่ ซึ่งไม่ต้องใช้พื้นที่เป็น 10 ไร่ หรือ 100 ไร่ แต่ใช้พื้นที่แค่ 200 ตารางวา ก็สามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้”

“พื้นที่ 200 ตารางวา สามารถจัดสรรแบ่งการใช้ประโยชน์ ได้ทั้ง เป็นที่อยู่อาศัย ทำเกษตรเช่น ปลูกผักอินทรีย์ ปลูกไม้ผลอินทรีย์ ขุดบ่อน้ำเพื่อไว้ใช้ในพื้นที่ และใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงการปลูกไม้ยืนต้นเศรษฐกิจ โดยในด้านตลาดรองรับผลผลิตนั้น จะสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อนำผลผลิตที่ได้ของสมาชิกแต่คนมารวมกันก่อนส่งจำหน่ายในตลาดต่าง ๆ” คุณมณฑาทิพย์ รักษากุล พนักงานพัฒนาธุรกิจ ธ.ก.ส. สาขาด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี เล่าถึงที่มา และสิ่งที่ ธ.ก.ส. มุ่งดำเนินการ เพื่อสร้างความยั่งยืนของภาคเกษตรไทย

สำหรับที่ไร่แสงสกุลรุ่ง ถือเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษา เพราะเป็นการดัดแปลงลักษณะการดำเนินการ ที่เดิมจะเน้นให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ปรับพื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือ เป็นพื้นที่ใหม่ เพื่อดำเนินการตามโครงการครึ่งไร่คลายจน แต่ด้วยพื้นที่ 10 ไร่ของไร่แห่งนี้ได้มีการปลูกพืชหลากชนิดในลักษณะเกษตรผสมผสานภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์ เช่น กล้วย มะพร้าวน้ำหอม มะกอกน้ำ ที่นา และบ่อเลี้ยงปลา

“จากจุดนี้เราจึงปรับในเรื่องการเพิ่มกิจกรรมการเกษตร โดยส่งเสริมให้ทำในลักษณะของหลุมพอเพียง คือ เอาพื้นที่เดิมที่มีต้นไม้อยู่เดิมมาฟื้นฟูพัฒนา เพื่อให้ได้ผลผลิตดีขึ้น ด้วยการปลูกพืชอื่นที่เกื้อกูลกันเพิ่มเข้าไป เช่น เช่นพืชผักสวนครัว การปลูกไม้ยืนต้นเศรษฐกิจ เพิ่มเข้าไป” คุณมณฑาทิพย์ กล่าว

แล้ว ครึ่งไร่จะคลายจนได้อย่างไร ? คำถามนี้มีคำอธิบายจากกมลวรรณว่า สำหรับหลุมพอเพียงที่ทางธ.ก.ส.เข้ามาสนับสนุนนั้น ช่วยทำให้เราสามารถเพิ่มชนิดของพืชได้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น จากเดิมนั้นที่ไร่ของเรามีต้นกล้วยน้ำว้า หรือกล้วยหักมุก หลุมละ 1 ต้น แต่เมื่อธ.ก.ส.นำเรื่องของหลุมพอเพียงเข้ามา ทำให้สามารถปลูกต้นไม้หลายๆชนิดเพิ่มในที่เดียวกัน เช่น ไม้สัก และไม้พยุง ซึ่งเป็นผลผลิตในอนาคต เป็นรายได้หลังเกษียณ ดังนั้นในหลุมพอเพียงเราจึงมีทั้ง กล้วย ไม้ยืนต้นเศรษฐกิจ และพืชผักสวนครัว อย่าง กระเพรา โหระพา มะกรูด เป็นต้น

ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก ได้ให้คำจำกัดความของหลุมพอเพียงว่า การปลูกหลายอย่างในหลุมเดียวกัน ใช้พื้นที่ในการปลูกปลูก 1×1 ตารางเมตร ปลูกไม้ 4 – 5 ประเภท 5 – 10 กว่าชนิดพืชในหลุมเดียวกัน เพื่อลดภาระการปลูก การรดน้ำ การดูแลรักษา ให้ทุกอย่างเกื้อกูลกัน ถือเป็นรูปแบบพอที่เกษตรกรจะมีพื้นที่ มีเวลา มีกำลังพอทำได้ และที่สำคัญคือ การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง อันจะมาซึ่งความมั่นคง และยั่งยืน เกิดการขยายผล จาก 1 หลุม เป็น 1 ไร่ หรือเป็น 10 ไร่ได้ในโอกาสต่อไป

“จากเดิมนั้นผลผลิตของเราทั้งไร่จะเป็นไปตามฤดูกาล แต่ใช้วิธีการหลุมพอเพียงกับที่ธ.ก.ส.ส่งเสริม จะทำให้เรามีรายได้ทั้ง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี เพราะฉะนั้นความยั่งยืนของเกษตรกรก็จะมีเพิ่มมาก ขึ้น และจะมากยิ่งขึ้น หากเกษตรกรนำผลผลิตที่ได้มาแปรรูป เพิ่มมูลค่าให้มากขึ้น จะช่วยทำให้มีรายได้เพียงพออย่างแน่นอน ”

“สำคัญที่สุดของการเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ ต้องปลูกเองได้ แปรรูปเองได้ และ ขายเองได้” นั่นคืออีกหนึ่งประโยคที่เกษตรกรเจ้าของไร่แสงสกุลรุ่ง ฝากไว้เป็นข้อคิด

เลี้ยงผำ 1 บ่อ ได้ผลผลิต 2-3 กก.ๆละ 100-150 บาท
ผำ เป็นอีกหนึ่งในผลผลิตทางการเกษตรที่อยู่ภายใต้โครงการครึ่งไร่คลายจน ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับไร่แสงสกุลรุ่นได้เป็นอย่างดีในวันนี้ โดยน้องแสบได้ใช้พื้นที่ว่างข้างบ้านที่อยู่ใต้หลังคา ขนาดประมาณ 10 ตารางเมตร เป็นสถานที่เพาะเลี้ยง

สำหรับจุดเริ่มต้นนั้น น้องแสบ เล่าให้ฟังว่า ด้วยความโชคดีที่ได้วางเป้าหมายอาชีพ ด้วยการยึดแนวทางเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ปี 2542 จึงทำได้ได้สภาพแวดล้อมที่ดี เรียกว่า ปลอดภัยจากสารพิษทั้งปวง

“ผำนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นมาที่ไร่ของเราแต่ดั้งเดิม เพิ่งมาเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่านี่คืออะไร แต่พอดีว่า มีคนในอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน และเป็นคนมาจากทางภาคอีสาน ได้มาเห็น และบอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในบ่อน้ำของเรา นั่น คือ ผำ”

น้องแสบ บอกว่า จากข้อมูลที่ได้รับมาจากสำนักงานประมงจังหวัดกาญจนบุรี ชี้ว่า ผำ หรือที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นว่า ไข่แหน ไข่น้ำ ไข่ขำ เป็นพืชมีดอกที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งทางภาคอีสานนิยมนำไปประกอบอาหารกันมานานตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น แกง หรือ ผัด บางที่ก็ใส่เป็นส่วนประกอบของอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติให้มีความหอม มัน อร่อย มากยิ่งขึ้น

ผำ จัดเป็นพืชน้ำที่มีลักษณะเป็นสีเขียวขนาดเล็กคล้ายไข่ปลา กระจายคลุมเหนือผิวน้ำเป็นแพขึ้นอยู่ตามแหล่งน้ำที่เป็นน้ำนิ่ง เช่น บึง และหนองน้ำธรรมชาติทั่วไป แต่ที่น่าสนใจยิ่ง คือ จากรายงานผลวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของไข่น้ำ พบว่า ใน 100 กรัมน้ำหนักแห้ง ผำให้พลังงานต่อร่างกาย 8 กิโลแคลอรี เส้นใย 0.3 กรัม แคลเซียม59 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม เหล็ก 6.6 มิลลิกรัม และยังมีวิตามินเอ บี1 บี 2 และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นหลายชนิด เช่น ลิวซีนวาลีน ฟีนิวอลานีน ฯลฯ เป็นต้น

“สำหรับในภาคกลางนั้น จะพบเห็นผำเกิดขึ้นตามธรรมชาติเองได้น้อย ดังนั้นจึงเป็นความโชคดีของไร่แสงสกุลรุ่งที่ผำได้มาเกิดขึ้นในแหล่งน้ำของเรา ต่อมาจึงได้ทดลองช้อนไปจำหน่าย ที่ตลาดประรัฐของธ.ก.ส. กาญจนบุรี ลูกค้าที่มาเห็นต่างถามว่า คืออะไร แล้วกินได้จริง ๆหรือ เป็นอันตรายกับคนกินไหม”

แต่ในวันนี้ ผำของไร่แสงสกุลรุ่ง ไม่ถูกถามเช่นนั้นแล้ว !!

แต่จะถูกถามว่า วันนี้มีผำมาขายไหม ?

“ทั้งนี้ เพราะวันนี้ได้เราได้ปรับรูปแบบวิธีการเพาะเลี้ยงจากในแหล่งน้ำธรรมชาติมาสู่การเลี้ยงในวงบ่อซีเมนต์ มีการควบคุมในเรื่องของความสะอาด และสุขอนามัยต่าง ๆทุกขั้นตอน จึงทำให้ได้ผำที่สะอาดและสด จำหน่ายให้กับลูกค้าได้มากขึ้น” น้องแสบ กล่าว

สำหรับวิธีการเลี้ยง น้องแสบบอกว่า หลังจากที่เตรียมวงบ่อซีเมนต์เรียบร้อย จะใส่น้ำสะอาด ซึ่งยิ่งผ่านระบบเครื่องกรองน้ำได้ยิ่งดี โดยในวงซีเมนต์ 1 บ่อ จะใส่น้ำประมาณ 3 ใน 4 ส่วน หลังจากนั้นจะนำผำมาปล่อยลงเลี้ยงในอัตรา 500 กรัม หรือครึ่งกิโลกรัม ต่อ 1 บ่อ

“ส่วนการสร้างอาหารให้ผำที่เลี้ยง จะใช้น้ำหมักปลา หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ปุ๋ยปลา เติมลงไปในบ่อเลี้ยงประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ โดยใส่พร้อมกับผำที่นำมาปล่อยลงเลี้ยง เพราะผำเขาคือ ต้นพืชต้นหนึ่งที่ต้องการปุ๋ยที่สำคัญเหมือนกับต้นไม้อื่น นั่นคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปรตัสเซียม หรือ N P K ”

“อีกจุดที่สำคัญ นั่นคือ เรื่องของแสงแดด การเลี้ยงผำต้องเลี้ยงสถานที่มีแดดรำไรเท่านั้น อย่าให้อยู่ในสถานที่ที่มีแดดจัด เพราะจะทำให้ผำไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี”

น้องแสบ อธิบายถึงวิธีการเลี้ยงผำต่อไปว่า หลังจากเลี้ยงครบ 7 วัน แล้วจะทำการเปลี่ยนน้ำที่ใช้เลี้ยงใหม่ โดยช้อนผำที่มีอยู่ทั้งหมดขึ้นมา แล้วปล่อยน้ำออกให้หมด จากนั้นจะเติมน้ำใส่ลงไปในอัตราเท่าเดิม พร้อมเติมปุ๋ยน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะ และผำที่ช้อนขึ้นมา โดยทำการเลี้ยงต่อไปอีก 7 วัน จะสามารถเก็บผำจำหน่ายได้ โดยน้ำหนักผำที่ได้จากการเลี้ยงต่อ 1 บ่อนั้นอยู่ที่ประมาณ 2 – 3 กิโลกรัม

โดยก่อนที่จะจำหน่ายให้กับลูกค้านั้นต้องมีการนำผำที่ตักจากบ่อเลี้ยงนี้ไปทำความสะอาดด้วยการล้างน้ำอีก 4 ครั้ง จึงจะสามารถส่งให้กับลูกค้าที่สั่งซื้อได้

“สรุปว่าในการเลี้ยงผำ 1 รุ่นใน 1 บ่อ จะใช้เวลาการเลี้ยงทั้งหมด 14 วันหรือ 2 สัปดาห์ ก็จะได้ผำมาจำหน่ายให้กับลูกค้า โดยราคาที่จำหน่ายจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 100-150 บาท ซึ่งบ้างคนอาจถามว่าทำไมถึงจำหน่ายในราคาที่สูงกว่าที่อื่น ซึ่งปกติอยู่ที่กิโลกรัมละ 30-40 บาท สาเหตุเพราะด้วยกระบวนการเลี้ยง และความสะอาดที่ลูกค้ามั่นใจได้เลย” น้องแสบ กล่าว

สำหรับการจำหน่ายผลผลิตผำที่ไร่แสงสกุลรุ่งแห่งนี้ ได้สร้างช่องทางจำหน่ายในหลายๆ รูปแบบ ทั้งการนำมาแปรรูปเป็นอาหาร เช่น ไข่เจียวผำ ขนมจีนน้ำยาผำ เป็นต้น จัดเป็นเมนูสำหรับมื้อกลางให้กับเพื่อนเกษตรกรที่เดินทางมาศึกษาดูงานที่สวนในมื้อกลางวัน โดยสนนราคานั้นขึ้นอยู่กับการสั่งจอง

ขณะที่อีกช่องทางคือ การนำไปจำหน่ายตามตลาดนัดต่าง ๆ ที่ส่วนราชการจัดขึ้นในลักษณะของผำสด รวมถึงการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์โดยใช้เฟสบุ๊คของไร่แสงสกุลรุ่งเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีการตอบรับเป็นอย่างดี

ขณะที่อีกช่องทางสร้างรายได้คือ การนำมาแปรรูปเป็นสบู่ผำ ภายใต้การสนับสนุนการวิจัยโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ด้วยมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงผิว ทำหลายคนที่มีโอกาสได้นำไปใช้ต่างติดใจ และได้กลายเป็นลูกค้าขาประจำสั่งซื้อกันมาอย่างต่อเนื่อง

นี่คือ อีกหนึ่งความสำเร็จของเกษตรกรต้นแบบภายใต้โครงการครึ่งไร่คลายจนของธ.ก.ส.กิจการสาขาภาคตะวันตก ที่วันนี้พร้อมให้คนได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้ เพื่อนำรูปแบบไปปรับใช้กับการประกอบอาชีพของตนเอง เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป

ทีมงานเกษตรก้าวไกล เดินทางตามฝัน “ลุยเกษตรสุดเขตไทย” วันนี้ได้รับเกียรติจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดย คุณปานเทพ มารศรี ผจก.ธ.ก.ส.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา และ คุณสหกรณ์ สุขสิงห์ พนักงานพัฒนาลูกค้า 8 นำเราเดินทางไปที่ ต.บ้านหัน อ.สีคิ้ว เพื่อไปพบกับกลุ่มเกษตรกร โดยการนำของสุภาพสตรีที่แข็งแกร่ง สมกับคำขวัญเมืองย่าโม “ดาบก็แกว่ง เปลก็ไกว” คุณบรรจง พรมพันธ์ใจ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องหนังบ้านหนองโอง ต.บ้านหัน อ.สีคิ้ว โคราชบ้านเอ็ง

คุณบรรจง กล่าวว่า อาชีพเดิมทำไร่ ทำนา แต่ชาวบ้านอยากหาอาชีพเสริม จึงได้ตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องหนังบ้านหนองโอง ขึ้น เริ่มแรกจากการทอผ้า แล้วนำมาทำกระเป๋า แล้วช่วยกันนำออกไปขายตามงานต่างๆ ที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจัดขึ้น โดยใช้แรงงานจากหมู่บ้าน เมื่อลูกค้าซื้อไป ก็จะออเดอร์มาว่าต้องการแบบนั้นแบบนี้ เราจึงพัฒนาจากงานตามสั่งของลูกค้า กระเป๋าเราจึงมีรูปแบบออกมาหลากหลาย มีคุณภาพ สวยงาม โดดใจ

“ทางกลุ่มจะแบ่งงานตามความถนัดของสมาชิก ใครทำตัวไหนสวย เราก็จะแบ่งตามความถนัดของสมาชิกคนนั้น งานจึงออกมาดีมีคุณภาพ โดยเน้นวัตถุดิบท้องถิ่นก่อน แต่ถ้าลูกค้าต้องการวัตถุดิบชนิดอื่น เราก็หามาให้ตามความต้องการของลูกค้า” คุณบรรจง กล่าวและว่า สินค้าของเราได้ระดับ 5 ดาว จากกรมการพัฒนาชุมชน เป็นสินค้าทำมือที่มีคุณภาพ เพราะเรารวมกลุ่มกันทำด้วยใจ เรามีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า มีความรับผิดชอบต่อกลุ่ม เน้นคุณภาพของสินค้า และพัฒนารูปแบบสินค้าไปเรื่อยๆ จนเจ้าอื่นตามไม่ทัน

“สำหรับการดูแลสมาชิก ถือว่า เป็นหัวใจสำคัญ เราจะทำอะไรก็ต้องประชุม เพี่อให้เขารับรู้ร่วมกัน งานเราจะส่งวันไหน ให้ส่งทันเวลาที่ลูกค้าสั่ง ไม่ค้างงาน ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า” นางบรรจง กล่าวและว่า เป้าหมายของกลุ่มในอนาคต เราวางเป้าหมายไว้ว่า อยากได้เครื่องจักรปักเพิ่ม จึงต้องขอกู้เงินจากธ.ก.ส.

“สำหรับเรื่องตลาด เริ่มแรกเราจะไปออกบูธต่างๆ ก่อนที่จะมาขายทางออนไลน์ แจกเบอร์โทรศัพท์ แผ่นผับต่างๆ เขาก็รู้จักเรามากขึ้น คนเห็นเรา ออเดอร์ก็จะตามมาทีหลัง เราขยันแจกเบอร์โทรศัพท์และแผ่นผับ ช่วงปีใหม่หรือช่วงโยกย้าย เราจะจัดกระเช้าไว้ ก็มีออเดอร์สั่งจากลูกค้าตามมาอีกมากมาย ก็เป็นความภาคภูมิใจของกลุ่มเรา เช่น ครั้งหนึ่งเราไปออกงานที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี วันนั้นขายไม่ค่อยได้ แต่เพราะลูกค้าตามมาจากแผ่นพับ นามบัตร สั่งออเดอร์มากว่า 2,000 ใบ เราใจชื่นขึ้นมาเลย ซื้อสินค้าของเรารับรองไม่ผิดหวัง สินค้าเรามีคุณภาพ สมาชิกรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง เน้นคุณภาพของงาน ลูกค้าซื้อไปแล้วก็กลับมาซื้ออีก รับรองไม่ผิดหวัง ถ้าซื้อสินค้าจากกลุ่มเรา” ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องหนังบ้านหนองโอง กล่าวอย่างภาคภูมิใจ

คุณบรรจง กล่าวอีกว่า ทางกลุ่มเราดีใจมากที่ได้รับการสนับสนุนจาก ธ.ก.ส.สาขา สีคิ้ว ที่ให้สินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย ในอัตราดอกเบี้ยล้านละร้อยบาท ต้องขอขอบคุณธ.ก.ส.ที่เห็นความสำคัญของกลุ่มเรา และย้ำว่าสนใจสั่งซื้อสินค้าได้ทางเฟสบุ๊คกลุ่มเครื่องหนังบ้านหนองโอง โทร. 08 1877 2116 สินค้าคุณภาพ ราคาถูก สินค้าระดับ 5 ดาว

ด้าน คุณสหกรณ์ สุขสิงห์ พนักงานพัฒนาลูกค้า 8 ธ.ก.ส.สาขาสีคิ้ว กล่าวว่า ให้การสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนเครื่องหนังบ้านหนองโอง ตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ภารกิจเราก็ต้องค้นหาวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพ ต่อยอดสร้างงานให้กับชุมชน โดยเราจะประสานงานกับส่วนราชการ เช่น กรมการพัฒนาชุมชน กรมปศุสัตว์ สำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อต่อยอดเติมเต็ม เติมองค์ความรู้ต่างๆ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน

“ในปี 2563 เราตั้งเป้าไว้ให้การสนับสนุน 5 กลุ่ม เช่น กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อลำตะคอง กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านมอดินแดง กลุ่มวิสาหกิจเย็บผ้าบ้านหนองกก หมู่ 1 กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อบ้านค่ายทะยิง และกลุ่มตัดเย็บเครื่องหนังบ้านหนองโอง นอกจากนี้ยังสนับสนุนกลุ่มยังสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ เกษตรกรรายย่อย นิวเจนต่างๆ ตามปณิธาน “ธ.ก.ส.เคียงคู่ รู้ค่าประชาชน ให้มากกว่าสินเชื่อ” ซึ่ง ธ.ก.ส.มีความมุ่งมั่นเป็นอย่างมากในความเป็นธนาคารพัฒนาภาคเกษตรและชนบทของไทย ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน มุ่งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท” คุณสหกรณ์ สุขสิงห์ กล่าวในที่สุด

บันได 10 ขั้น ที่ทอดยาวพุ่งสู่ฟ้าสวยที่พร้อมให้ทุกคนได้ขึ้นไปสัมผัสกับมุมสวยของนาข้าวที่โอบล้อมด้วยขุนเขา เก็บเกี่ยวความงดงามและบันทึกเป็นความทรงจำผ่านเลนส์กล้อง พร้อมจิบเครื่องดื่มรสเยี่ยม อย่าง คาราเมลมัคคิอาโต้

นี่คือ ส่วนหนึ่งของ Signature หรือเอกลักษณ์อันโดดเด่นของนาตาทา คาเฟ่ ตั้งอยู่เลขที่ 91 หมู่ 7 บ้านมั่นคง ตำบลป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวสุดฮิตในวันนี้ ที่ใครๆที่ไปน่านก็ไม่พลาด โดยใน 1 ปี จะแบ่งเป็น ช่วงเปิดให้บริการ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม ถึง สิ้นเดือนกุมภาพันธุ์ ของทุกปี และช่วงที่ปิดบริการ ในช่วงฤดูร้อน 4 เดือน มีนาคมถึงมิถุนายน เหตุผลสำคัญ เพราะมีปัญหาเรื่องหมอกควันในพื้นที่

โดยในเดือนมกราคม 2564 นี้ จะครบ 6 เดือน กับการสานฝันของคนรุ่นใหม่อย่าง “อดิศา นภสินธุ์ธร” หรือ “แหวว” ที่เปลี่ยนความชอบให้กลายเป็นธุรกิจ

“คิดอย่างเดียว ไม่ลงมือทำ ไม่เกิดธุรกิจ” นั่นคือ แนวคิดที่ผู้หญิงตัวเล็ก ๆแต่มีหัวใจอันยิ่งใหญ่ในการเปลี่ยนนาของตาที่ชื่อทา ให้กลายเป็นคาเฟ่เล็กๆ ที่อบอวลไปด้วยกลิ่นไอความงามของธรรมชาติของเส้นทางท่องเที่ยวสายสะปัน-บ่อเกลือ ได้มองและลงมือทำให้เกิด

นาตาทาคาเฟ่ เกิดขึ้นจากที่คุณอดิศา เป็นหนึ่งในผู้รักการท่องเที่ยวธรรมชาติ เดินป่า ถ่ายรูป เธอได้เดินทางไปใช้ชีวิตกลางแจ้งมาแล้วหลายพื้นที่ จากความประทับใจที่เกิดจากประสบการณ์ที่ได้รับ จึงได้นำมาสู่การจุดประกายในการสร้างธุรกิจที่เป็นของตนเอง

ทุ่งนาในมุมของนาตาทาคาเฟ่..
นาของตาทา ผู้เป็นตา เดิมนั้นเป็นเฉกเช่นผืนนาทั่วไป ที่เน้นเพียงการปลูกข้าวไว้เพื่อบริโภคและจำหน่ายสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว

แต่ท่ามกลางความเรียบง่ายของวิถีชีวิตชาวนา ที่จะเริ่มปลูกข้าวนาช่วงเดือนกรกฏาคม เกี่ยวข้าวช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ความเขียวชอุ่มของต้นข้าวในช่วงเติบโตแตกกอ ก่อนเปลี่ยนเป็นทุ่งนาสีทองเมื่อข้าวสุกพร้อมเก็บเกี่ยวของข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง ที่เมื่อเก็บเกี่ยวจะใช้แรงงานคนใช้เคียวเก็บเกี่ยวด้วยสองมือ มาวางเป็นฟ่อนๆ และนำไปกองรวมกัน ก่อนที่จะใช้แรงงานตีข้าวในลาน กรอกใส่กระสอบขนไปเก็บไว้ที่ยุ้งฉาง เป็นบรรยากาศดั้งเดิม ไม่เหมือนที่อื่น

นี่คือวัตถุดิบชั้นดีที่พร้อมให้นำมาปรุงแต่งเพิ่มเติมให้กลายเป็นธุรกิจด้านการท่องเที่ยวแบบที่เป็นสไตล์ของคุณอดิศา ด้วยการจัดวางรูปแบบที่เน้นการใช้สิ่งที่มีอยู่เดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เติมในส่วนที่ขาดเพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์ในการให้บริการ ทุ่งนามีแล้ว แต่ยังขาดเพิงเล็ก ๆ ที่จะเป็นจุดต้อนรับ จุดจำหน่ายเครื่องดื่ม แล้ววิวทัศน์โดยรอบที่เป็นอีกหนึ่งจุดขายทำอย่างไร จึงจะทำให้คนที่มาได้ประทับใจด้วยมุมมองแปลกตาไปจากทุ่งนาที่อื่น

นั่นจึงเป็นที่มาของการสร้างมุมมองในมุมสูงและกว้างแบบ 360 องศา พุ่งทะยานขึ้นไปสู่ท้องฟ้าด้วยโครงการสร้างที่แข็งแรงสามารถรองรับการขึ้นลงของนักท่องเที่ยวได้ตลอดช่วงเวลาของการให้บริการในแต่ละวัน จากมุมมองระดับสายตา กลายมาเป็นมุมมองจากระดับสูง จึงให้ความแปลกตา และกลายเป็นจุดขายที่สำคัญที่ใครมายังนาตาทา คาเฟ่ ต้องขึ้นบันไดอันนี้ จนมีหลายคนเรียกขานเมื่อรีวิวความประทับใจผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวว่า “บันไดสวรรค์”

อีกหนึ่งมุมที่น่าสนใจ และถือว่า เป็นหัวใจของการให้บริการ นั่นคือ การคัดสรรวัตถุดิบที่สุดยอดมาทำเป็นผลิตภัณฑ์แสนอร่อย ที่ไม่ได้อร่อยแต่เพียงเจ้าของ แต่ทุกคนที่มาต่างยกนิ้วให้ ไม่ว่า เมล็ดกาแฟเกรด A กิโลกรัมละ 1,000 บาท จากสวนยาหลวง คั่วโดยร้าน Erabica Coffee Nan หรือชาพีทแสนร่อยที่สร้างสรรค์สูตรเด็ดแบบมีที่นาตาทาคาเฟ่ที่เดียว รวมถึง พิซซ่าแสนอร่อยหน้าต่าง ๆ ที่แป้งจะบางกรอบ และหน้าแน่นมาก ผ่านกรรมวิธีการอบจากเตาดินปั้นรูปหมี ใช้ถ่านไม้เป็นเชื้อเพลิง กลายเป็นอีกเมนูที่ห้ามพลาดของทุกคน

ราคา…เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ใช้มุมมองแบบคนมีประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว นั่นจึงกลายมาเป็นหลักของการตั้งราคาอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ แบบที่ขอเรียกว่า อร่อยแต่ไม่แพง กินอร่อยแบบสบายกระเป๋า

รอยยิ้มและใจที่พร้อมบริการ เป็นอีกหนึ่งความโดดเด่นที่มีอยู่อย่างมากมายท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามโดดยรอบของคาเฟ่แห่งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ที่สร้างความประทับใจแบบเรียกแขกได้เป็นอย่างดี โดยทั้งหมดที่เข้ามาช่วยเติมเต็มในส่วนนี้ จะเป็นญาติพี่น้องที่มีใจรักด้านบริการมาช่วยกันทำงานกันอย่างเต็มที่

นอกจากนี้ยังมีการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อบริการอื่นๆ เช่น กิจกรรม Workshop ทำพิซซ่าเตาดิน ในราคาท่านละ 350 บาท การนวดแผนโบราณ รวมถึงกิจกรรมตามใจเจ้าของบ้านตามฤดูกาล และอื่นๆอีกมากมาย

สิ่งที่เกิดและเป็นไปที่นาตาทาคาเฟ่แห่งนี้ มุมมองหนึ่งที่คือ มุมมองของการเป็นคนรุ่นใหม่ ที่ทำธุรกิจเพื่อให้ลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่ได้ประทับใจ และนำมาสู่ช่องทางการประชาสัมพันธ์แบบคนรุ่นใหม่ นั่นคือ การรีวิวสิ่งที่สัมผัสผ่านช่องทางออนไลน์ ที่ถือว่า มีประสิทธิภาพสูงสุดในด้านการประชาสัมพันธ์ ณ เวลานี้

อีกหนึ่งประการที่มองข้ามไม่ได้ และถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการสร้างธุรกิจนั่นคือ เงินทุน โดยที่นาตาทาคาเฟ่ ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.

ธุรกิจชุมชนสร้างไทย เคียงข้างทุกคน
คุณขจร กาแสน ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาสันติสุข กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการของธ.ก.ส.ในการสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการที่ดำเนินการนั้น ประกอบด้วยหลายโครงการที่สำคัญ เช่น ธุรกิจชุมชนสร้างไทย เป็น เป็นโครงการที่ ธ.ก.ส. ดำเนินการเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของคนในชุมชน ตั้งแต่เริ่มกิจกรรมการผลิตจนถึงการจำหน่ายในช่องทางการตลาดต่าง ๆ โดยมีแนวทางในการขับเคลื่อนจากการค้นหาและศึกษาความต้องการของชุมชน สู่การพัฒนาสร้างความเข้มแข็ง ยึดหลักตลาดนำการผลิตและมีการกำหนดแผนธุรกิจที่ชัดเจน ผสานความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนในด้านความรู้และเทคโนโลยีนวัตกรรม เพื่อทำให้เกิดความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก มีภูมิคุ้มกัน มีรายได้ สวัสดิการสังคม และโอกาสทางการตลาดที่เพิ่มขึ้น โดยสนับสนุนด้านสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทยในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดเพียงร้อยละ 0.01 ต่อปี และสินเชื่ออื่น ๆ ตามแผนธุรกิจที่เหมาะสมตามความต้องการของแต่ละชุมชน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของโครงการ คือ กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มเกษตรกร สถาบันการเงินชุมชน สถาบันการเงินประชาชน วิสาหกิจเพื่อสังคม วิสาหกิจชุมชน Smart Farmer SMEs เกษตร หัวขบวน และสหกรณ์การเกษตร

อีกหนึ่งโครงการที่ดำเนินการที่ธ.ก.ส.สาขาสันติสุขได้รับมอบนโยบายให้มาดำเนินการ คือ สินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิด เพื่อเป็นค่าลงทุนหรือค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในการทำการเกษตรหรือประกอบธุรกิจการเกษตรสมัยใหม่ที่อาศัยเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม หรือในลักษณะ Smart Farmer อัตราดอกเบี้ยกรณีค่าใช้จ่ายหมุนเวียน ร้อยละ 0 ต่อปี ในช่วง 3 เดือนแรก และตั้งแต่เดือนที่ 4 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ย MRR (ร้อยละ 6.50 ต่อปี) กรณีค่าลงทุน ปีที่ 1-3 ร้อยละ 4 ต่อปี ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR

ผู้จัดการธ.ก.ส.สาขาสันติสุข กล่าวอีกว่า โครงการน่านโมเดล เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ธ.ก.ส.สาขาสันติสุขได้ดำเนินการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยเน้นให้เกษตรกรเกิดการปรับเปลี่ยนมาสู่การทำเกษตรที่สร้างเลือกให้มากกว่า เช่น กาปรลูกพืช 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง การทำเกษตรภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นต้น

“สำหรับคนรุ่นใหม่นั้น เว็บเล่นบาคาร่า ในส่วนของธ.ก.ส.สาขาสันติสุข กำลังเร่งดำเนินการสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ที่ยังไม่มีงานทำ หรือ ต้องตกงานจากภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ได้กลับมายังบ้านเกิดเพื่อต่อยอดอาชีพของครอบครัว ด้วยใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ หรือมีการปรับเปลี่ยนการผลิต ซึ่งนาตาทาคาเฟ่ เป็นหนึ่งในต้นแบบความสำเร็จ ซึ่งธ.ก.ส.พร้อมที่จะสนับสนุนด้านสินเชื่อ และองค์ความรู้ต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เพื่อให้ทุกคนสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” ผู้จัดการธ.ก.ส.สาขาสันติสุข กล่าวในที่สุด