มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหาร

มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ หรือเคยูเฟิร์สท (KU-FIRST) จัดเว็บบินาร์ในหัวข้อเรื่อง โปรตีนทางเลือก…อาหารใหม่ อาหารแห่งอนาคต “แมลงกินได้” ภายใต้แนวคิดอาหารปลอดภัย โภชนาการมั่นคง ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ผู้ประกอบการ และผู้สนใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมได้จริง

ผศ.ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหาร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า KU-FIRST เป็นหน่วยงานในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการอาหาร ทั้งในด้านโภชนาการและความปลอดภัยอาหาร โดยร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก สำหรับ “แมลงกินได้” มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในฐานะแหล่งโปรตีนทางเลือกและอาหารแห่งอนาคต ด้วยคุณสมบัติการเป็น superfood ที่มีจุดเด่นในการเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพ และอุดมด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อตอบโจทย์ทั้งทางด้านความมั่นคงทางอาหารและการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตในยุคนิวนอร์มอล KU-FIRST จึงจัดเว็บบินาร์หรือสัมมนาออนไลน์อย่างต่อเนื่องครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “โปรตีนทางเลือก…อาหารใหม่ อาหารแห่งอนาคต “แมลงกินได้” เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้ผลิตและผู้บริโภคเกี่ยวกับแมลง

ความสำคัญของกฎระเบียบและมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่อการส่งออก การเพาะเลี้ยง การจัดการฟาร์ม เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย รวมถึงคุณค่าและโภชนาการ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ดร.รุจิเรช น้อยเสงี่ยม นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ผศ.ดร.ชามา อินซอน ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ผศ.ดร.วศะพร เพรททิเซย์ จันทร์พุฒ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดร.รุจิเรช น้อยเสงี่ยม นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กล่าวว่า ประเทศไทยมีศักยภาพและโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตอาหารทางเลือกจากแมลงป้อนตลาดโลก ด้วยจุดแข็งด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะเลี้ยงแมลงหลายชนิด มีองค์ความรู้ด้านมาตรฐานการผลิตเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะจิ้งหรีดซึ่งเป็นแมลงกินได้ต้นแบบ ที่ได้รับการยกระดับผลิตตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด (มกษ. 8202-2560) และมีการส่งเสริมการส่งออกอย่างเป็นรูปธรรม

“ในหลายประเทศแมลงกินได้ยังถือว่าเป็นอาหารใหม่ หรือ Novel food และไม่มีกฎหมายหรือข้อกำหนด ประเทศที่มีกฎระเบียบในการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากแมลงที่ชัดเจนในปัจจุบัน คือ เม็กซิโกและสหภาพยุโรป สำหรับสหภาพยุโรปปัจจุบันไทยอยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลทางเทคนิคเพื่อขอเปิดตลาดตามกฎระเบียบ Novel Food แต่สำหรับเม็กซิโก ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรของไทยได้สร้างระบบการควบคุมความปลอดภัยอาหารของผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดตลอดห่วงโซ่และเจรจาสร้างความเชื่อมั่นในระบบของไทย จนสามารถเปิดตลาดเม็กซิโกได้สำเร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดหรือแมลงกินได้ไปยังประเทศที่ต้องการใบรับรองสุขอนามัยจากหน่วยงานรัฐของไทย”

นอกจากนี้ ดร.รุจิเรข ยังเน้นย้ำอีกว่า “กฎระเบียบและมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหาร ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ควบคุมและป้องกันความเสี่ยงจากอาหารต่อสุขภาพผู้บริโภค แต่สิ่งสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในระยะยาว คือ ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบของผู้ผลิต ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารรวมถึงผลิตภัณฑ์แมลงกินได้ของไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากลและพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืนต่อไป”

ด้าน ผศ.ดร.ชามา อินซอน ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กล่าวถึงศักยภาพของ “จิ้งหรีด” ในการเป็นแมลงเศรษฐกิจว่า “ประเทศไทยสามารถผลิตจิ้งหรีดเพื่อการค้าสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยเศรษฐกิจ “BCG Model” ได้ การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์นั้น ผู้เลี้ยงจิ้งหรีดจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องชนิด วงจรชีวิต พฤติกรรมของจิ้งหรีด และการจัดการระบบฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่เรียกว่า “การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด”

หรือ GAP ฟาร์มจิ้งหรีด รวมทั้งควรใช้เทคโนโลยีในการจัดการฟาร์มที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับแบบเรียลไทม์ (real-time traceability) ได้ จึงจะส่งผลให้ผลผลิตจิ้งหรีดที่ได้จากฟาร์มมีคุณภาพดี เป็นอาหารที่ปลอดภัย และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้แล้ว การแปรรูปจิ้งหรีดเป็นผง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิตจิ้งหรีด เนื่องจากเป็นอาหารแหล่งโปรตีนสูงเพื่อสุขภาพ เพื่อผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและการส่งออก ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสแก่ผู้ประกอบการมากยิ่งขึ้น”

ผศ.ดร.วศะพร เพรททิเซย์ จันทร์พุฒ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าปัจจัยสำคัญต่อความปลอดภัยอาหารของแมลงก็คือ “ระบบการขนส่งที่ไม่ได้มาตรฐานเรื่องความเย็น และความสะอาด ทำให้เกิดการปนเปื้นของแบคทีเรียที่สามารถเปลี่ยนกรดอะมิโนฮิสทิดีน (histidine) เป็นฮิสตามีน (histamine) ก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้กับผู้บริโภคได้ นอกจากนี้ แมลงกินได้ยังมีโปรตีนบางชนิดคล้ายกับโปรตีนก่อภูมิแพ้ (allergen) ในสัตว์ทะเลเปลือกแข็ง เช่น กุ้ง ปู กั้ง ดังนั้นผู้บริโภคที่มีประวัติการแพ้โปรตีนจากสัตว์ทะเลเปลือกแข็งจึงไม่ควรรับประทานแมลง”

“จุดเด่นที่สุดของแมลง คือ แมลงมีปริมาณโปรตีนสูงกว่าร้อยละ 50 ของน้ำหนักแห้ง มีกรดไขมันที่เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (monounsaturated fatty acid) และหลายตำแหน่ง (polyunsaturated fatty acid) รวมทั้งมีโปรตีนที่มีความสามารถในการย่อยได้สูง (protein digestibility) อุดมไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็นครบเกือบทุกชนิด (essential amino acid) จึงกล่าวได้ว่าโปรตีนแมลงเป็นโปรตีนแห่งอนาคต” ผศ.ดร.วศะพร กล่าว

วันนี้กรมวิชาการเกษตรส่งข่าวมาให้สื่อมวลชนเหมือนเคยครับ นั่นคือข่าว “ทุเรียนรสเนยมาตรฐาน GAP แห่งแรกจังหวัดชัยภูมิ” (เขียนโดย พนารัตน์ เสรีทวีกุล) ข่าวนี้เข้ากระแสเพราะว่าคนไทยเราหายใจเข้าออกเป็นทุเรียนก็ว่าได้ เพราะพืชผลตัวอื่นราคาตก แต่ทุเรียนยังยืนหยัดอยู่ได้ ใครๆจึงพุ่งเป้าไปที่ทุเรียน ก็อย่างว่าแหละครับบ้านเรานั้นอิสระเสรี ใครใคร่ปลูก ปลูก…

เคยมีคำกล่าวว่า ใครนึกไม่ออกว่าจะปลูกอะไรดีก็ให้ปลูกกล้วย แต่บัดนี้อาจไม่ใช่แล้วครับ ใครนึกไม่ออกว่าจะปลูกอะไรก็ให้ปลูกทุเรียนครับ

เพราะว่าเกษตรกรไทยนั้นเก่งเรื่องการปลูกเป็นอย่างมาก ที่ดินหัวไร่ปลายนาปลูกขึ้นหมด ดินไม่ดีก็ปรุงดินได้ ดินโคลนดินดานไม่วิตก ดินน้ำท่วมก็ยกโคกให้สูงให้ระบายน้ำดี (ส่วนเรื่องการตลาดก็ไปว่ากันดาบหน้า แต่ตอนนี้ก็เริ่มจับทางกันได้มากแล้ว)

มาว่ากันที่ทุเรียนรสเนยมาตรฐาน GAP แห่งแรกจังหวัดชัยภูมิดีกว่าครับ สวนทุเรียนที่เป็นข่าวนี้ตั้งอยู่ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นสวนทุเรียนแห่งแรกของจังหวัดชัยภูมิที่ได้รับการรับรองแหล่งผลิตตามมาตรฐาน GAP จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชัยภูมิ กรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 โดยมี นายธงชัย นราทอง และ นางสอาด นราทอง เป็นเจ้าของ…

..ก่อนจะมาเป็นสวนทุเรียนในวันนี้ เจ้าของสวนรายนี้เคยประกอบอาชีพค้าขายแตงโมมาก่อนที่จะเริ่มปลูกทุเรียนในปี พ.ศ. 2556 เนื่องจากอำเภอเทพสถิตมีสภาพพื้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของทุเรียน และยังเป็นพืชที่เป็นที่ต้องการของตลาดและให้ผลตอบแทนสูง โดยเริ่มต้นจากปลูกทุเรียนในพื้นที่ 200 ไร่ ซึ่งขั้นตอนแรกของการผลิตทุเรียนให้ประสบผลสำเร็จนั้นนายธงชัยบอกว่าจำเป็นต้องมีการจัดการเรื่องระบบน้ำที่ดีจึงติดตั้งระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ และขุดบ่อน้ำขนาดพื้นที่ 14 ไร่ จากอีกฝั่งของสวนเพื่อส่งน้ำมายังสวนทุเรียนให้เพียงพอต่อความต้องการน้ำในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต โดยมีการให้น้ำวันเว้นวันประมาณ 2 ชั่วโมง อัตรา 140 ลิตร/ต้น

นายธงชัยได้เรียนรู้วิธีการปลูกและดูแลแก้ไขปัญหาภายในสวนทุเรียนเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน GAP จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชัยภูมิ โดยปัญหาที่พบในการผลิต ได้แก่ ระยะออกดอกจนถึงการติดผล การหลุดร่วงของผลทุเรียน ซึ่งแนวทางแก้ไขคือต้องระวังไม่ให้ทุเรียนแตกใบอ่อน โดยพ่นปุ๋ยน้ำทางใบอัตรา 20 ลิตร /น้ำ 1,000 ลิตร ตัดแต่งทรงพุ่มไม่ให้เกิน 5 เมตร และมีการตัดยอดเพื่อไม่ให้ต้นทุเรียนสูงเกินไปซึ่งจะทำให้ยากต่อการจัดการและเก็บเกี่ยวผลผลิต มีการสำรวจโรคแมลงอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็นตามคำแนะนำ และเก็บเกี่ยวผลผลิตในระยะปลอดภัย

นอกจากนี้ นายธงชัยยังมีเทคนิคในการนับวันเก็บเกี่ยวทุเรียน โดยการจดบันทึกตั้งแต่ดอกบาน นับไป 110-120 วัน จึงทำการเก็บเกี่ยวผลผลิต และก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตจะงดใช้สารเคมีประมาณ 2 สัปดาห์ ข้อควรระวังช่วงติดผลคือหากพบเพลี้ยแป้งที่ผลทุเรียน ผิวผลจะมีสีดำ ไม่ได้คุณภาพ ส่งผลกระทบต่อการส่งออก ซึ่งทุเรียนที่จะส่งออกไปประเทศจีนมีการกำหนดมาตรฐานด้านคุณภาพตามมาตรฐาน GAP โดยช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตจะมีล้งจากจังหวัดจันทบุรีเข้ามารับซื้อผลผลิตที่ความสุก 75-80 เปอร์เซ็นต์ และหลังจากที่ต้นทุเรียนให้ผลผลิตหมดแล้วจะทำการบำรุงต้นทุเรียนให้อุดมสมบูรณ์เพื่อรองรับการติดดอกออกผลในปีต่อไป

ทุเรียนพันธุ์หมอนทองของสวนนราทองมีเอกลักษณ์เฉพาะที่ไม่เหมือนสวนทุเรียนที่ใด คือ ไม่มีกลิ่นฉุน รสชาติหวานหอม เนื้อละเอียด ไม่มีเส้นใย เมื่อรับประทานแล้วจะมีรสชาติคล้ายเนย จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค และเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยผลผลิตทุเรียนที่สวนนราทองจะส่งออกไปประเทศจีน จำหน่ายในราคา 140 บาท/กิโลกรัม ขายแบบรวมเกรด โดยเกรด A น้ำหนักผลเฉลี่ย 4-6 กิโลกรัม เกรด B น้ำหนักผลเฉลี่ย 3-4 กิโลกรัม และเกรด C น้ำหนักผลเฉลี่ย 2 กิโลกรัม ซึ่งในปี2564 นี้ผลผลิตที่สวนนราทองมีจำนวนทั้งหมดประมาณ 80 ตัน โดยเฉลี่ยแล้วนายธงชัยมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทุเรียนประมาณ 11.2 ล้านบาท / ปี

ทางด้าน นายสุพจน์ สัตยากุล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชัยภูมิ กล่าวว่า การตรวจประเมินและให้การรับรองแหล่งผลิต GAP เป็นอีกหนึ่งภารกิจของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชัยภูมิ เพื่อให้เกษตรกรสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งยังได้เข้าไปให้ความรู้การผลิตและแนวทางในการขอรับรองตามมาตรฐานระบบคุณภาพ GAP ซึ่งที่สวนนราทองแห่งนี้นอกจากเจ้าของสวนจะภาคภูมิใจที่สามารถผลิตผลผลิตที่มีคุณภาพปลอดภัย และมีรสชาติดีเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ไม่เหมือนที่ใดทำให้ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP เป็นแห่งแรกของจังหวัดชัยภูมิแล้ว ที่สวนแห่งนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจในการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานเข้ามาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปลูกทุเรียนอีกด้วย..

เอาละครับ ทั้งหมดนั้นก็คือรายละเอียดของข่าว ว่าแต่ตอนนี้อยากชิมทุเรียนหมอนทองรสเนยจังเลย แต่ข่าวนี้ไม่มีที่อยู่ที่ติดต่อ แต่ก็ไม่เป็นไรครับ คงหาไม่ยาก หรือว่าใครที่ได้ชิมแล้วรสเนยจริงไหม อร่อยสมคำร่ำลือเพียงใด ถ้าไม่เจอล็อคดาว์นโควิด พรุ่งนี้ว่าจะพุ่งตรงไปสวนนราทองกันเลยครับ

ช่วงนี้มะนาวจากสวนทยอยออก ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคมะนาวหลักๆได้รับผลกระทบจากโควิดกันถ้วนหน้า เช่น ร้านอาหารภัตตาคาร ที่เคยใช้มะนาวจำนวนมากต้องปิดตัวเพราะล็อกดาว์น ขณะที่ตลาดใหญ่ๆก็ปิดทำการ..เกษตรกรจะฝ่าวิกฤตอย่างไร?

“ช่วงนี้มะนาวในสวนเกษตรกรออกไม่ได้เลยครับ ตลาดศรีเมืองปิด ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมืองคนเข้าน้อย เพราะว่าขั้นตอนการตรวจโควิดต่างๆที่ทำให้ยุ่งยาก สหกรณ์ก็เลยช่วยสมาชิกชาวสวนเอามะนาวมาแปรรูปน้ำ 100% แช่แข็ง มีโปรโมชั่น น้ำมะนาว 1 กก.(คั้นจาก80ผล) จากราคา 130 บาท เหลือ 50บาท/กก. มีจำนวน 10 ตัน เท่านั้น ราคานี้ยังไม่รวมค่าส่งครับ” คุณนิวัติ ปากวิเศษ ประธานกลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูกมะนาวบ้านแพ้ว-ดำเนินสะดวก ส่งข้อความมาทางไลน์

เมื่อได้ฟังดังนั้น “เกษตรก้าวไกล” ไม่รอช้าได้สัมภาษณ์คั้นสด ภายใต้โครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย ในทันทีทันใด ตามรายละเอียดในคลิปข้างต้น

อย่าลืมเมื่อได้ชมจบแล้ว ฝากให้ทุกท่านได้ช่วยเหลือกันตามกำลังเพื่อเกษตรกรไทยฝ่าวิกฤตโควิดไปด้วยกัน และเกษตรก้าวไกลขอส่งความห่วงใยมายังสมาชิกผู้ติดตามทุกท่าน

อนึ่ง คุณนิวัติ ได้ส่งภาพและข้อความมาล่าสุด(6 สิงหาคม 64) บอกว่า “ชาวสวนมะนาวเจอพิษโควิด-19 ขายไม่ได้ต้องเอามาเททิ้ง สู้ๆครับ” ซึ่งเป็นมะนาวที่ระบายไม่ทันก็ต้องขนไปทิ้ง เป็นภาพที่ไม่อยากให้เกิด แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะนำไปเป็นบทเรียน ซึ่งก็อยากให้ผู้เกี่ยวข้องลงมาดูแลและชาวสวนมะนาวพร้อมสู้ไปด้วยกัน

ภาพข่าวนี้เป็นบรรยายกาศการลงพื้นที่เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ของ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหาร จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อรับทราบปัญหาการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร ของผู้ประกอบการในพื้นที่ จ.ยะลา พร้อมเชิญทุกฝ่ายเร่งหาแนวทางช่วยเหลือ หลังพบผลผลิตระบายของสู่ตลาดไม่ทัน..ที่เห็นในภาพนี้คือบริเวณแยกมาลายูบางกอง ถนนสาย 15 ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้มีการหารือและพูดคุยกับกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการในการรับซื้อผลไม้เพื่อรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

โดยบริเวณจุดดังกล่าวถือเป็นจุดที่มีการรับซื้อทุเรียนรายใหญ่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่จะนำทุเรียนมาจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการเพื่อส่งจำหน่ายต่อในพื้นที่อื่นๆ โดยปัญหาที่พบในปีนี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของระบบการขนส่งที่ไม่สามารถขนส่งไปจำหน่ายในพื้นที่ต่างๆ ได้ เนื่องจากในพื้นที่เองมีมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโควิด – 19 ในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะในการเดินทางไปมานอกพื้นที่ ขณะเดียวกันกลุ่มเกษตรกรประสบปัญหาราคาผลไม้ที่ตกต่ำเนื่องจากมีผลผลิตจำนวนมาก ทำให้ล้นตลาด ทำให้ราคาตกต่ำกว่าทุกปี

ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ยังได้พบปะพูดคุยกับ นายจิระ พยุงภร ผู้ประกอบการทุเรียนบริษัท เอเจ ฟรุ๊ต อินเตอร์เทรด จำกัด ซึ่งได้เปิดเผยว่า ทางบริษัทมีการรับทุเรียนจากกลุ่มเกษตรกรประมาณวันละ 30 – 40 ตัน โดยปัจจุบันประสบปัญหาด้านการขนส่งทุเรียนออกนอกพื้นที่ที่เป็นไปด้วยความล่าช้า เนื่องจากมาตรการในการควบคุมพื้นที่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโควิด – 19 ซึ่งรถคอนเทนเนอร์ในการส่งของในแต่ละรอบนั้นมาไม่ทันเวลา ทำให้ทางบริษัทต้องแปรรูปทุเรียนและรับซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีการแปรรูปเพื่อเป็นการถนอมอาหารในเบื้องต้น โดยสามารถส่งออกนอกพื้นที่เพื่อจำหน่ายในแต่ละครั้ง 3 – 4 ตัน

ในโอกาสนี้ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. ได้กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ เป็นการมาเยี่ยมให้กำลังใจและมาเพื่อพูดคุยรับทราบปัญหาของผู้ประกอบการที่รับซื้อผลไม้ในพื้นที่ จากการพูดคุยทำให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดจากความล่าช้าในการขนส่ง เพื่อกระจายสินค้าไปในพื้นที่อื่นๆ รวมถึงราคาผลไม้ที่มีราคาตกต่ำ ซึ่งปัญหาทั้งหมดจะรับไว้เพื่อหาแนวทางการช่วยเหลือต่อไป โดยในวันศุกร์นี้จะมีการประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป

เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวด้วยว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ทำให้ทราบว่าลูกจ้างและพนักงานในระบบของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งจะรับไปดำเนินการประสานเพื่อให้ กลุ่มเหล่านี้ได้รับการฉีดวัคซีน เพื่อเป็นการป้องกันตนเอง และป้องกันผู้อื่น เนื่องจากแต่ละวันจะต้องพบกลุ่มเกษตรกรที่มาขายผลไม้เป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นต้องป้องกันตนเองไว้ก่อน

ปิดท้ายข่าวนี้ “เกษตรก้าวไกล” อยากสื่อสารเชื่อมโยงไปถึงคนไทยผู้มีส่วนได้เสียทุกคน โควิดที่เกิดขึ้นคือสงครามโลก ครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาวโลก เศรษฐกิจต่างๆล่มสลายอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน นี่คือการจัดระเบียบโลกที่ทำให้ทุกคนออกต้องสตาร์ทพร้อมกันอีกครั้งหนึ่ง ใครสังคมใดไม่ให้ความร่วมมือก็ยากที่สงครามครั้งนี้จะสิ้นสุดลง ไม่มีคนจนคนรวยมีแต่คนมีน้ำใจกับไม่มีน้ำใจ ต้องเอื้อเฟื้อแบ่งปัน คนมีกำลังมากกว่าก็ต้องฉุดคนที่เมื่อยล้า ถึงคราวที่พลโลกต้องรักสามัคคีกัน ประเทศไทยของเรามีต้นทุนที่สำคัญมาช้านาน ถึงเวลาหรือยังที่เราทุกคนต้องลุกออกมาช่วยเหลือกันครับ

เมื่อเช้านี้ (9 ส.ค.63) “ลุงหมู” ทักผมมาใน inbox “สวัสดีครับ ลุงพร..สนใจ กลุ่ม Digital for farmer ครับ” (ขออนุญาตลุงหมูนำมาบอกกล่าวนะครับ เพราะตรงนี้ถือเป็นแรงบันดาลใจให้ผมเขียนเรื่องนี้) ซึ่งผมเคยเขียนเรื่องนี้ลงในเว็บไซต์เกษตรก้าวไกล และพูดผ่านรายการ LIVE สด “เกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย” เพราะผมคิดว่าระบบออนไลน์จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้มากถ้าพี่น้องเกษตรกรเข้าถึง ซึ่งตอนนี้ทุกหมู่บ้านก็มีอินเตอร์เน็ต (ดูอย่างโครงการคนละครึ่งที่ผ่านมา ชาวบ้านเริ่มใช้ประโยชน์กันได้แล้ว)

แต่สัญญาณอาจจะชัดไม่ชัดบ้าง (มีหลายครั้งที่ผมและทีมงานLIVEสดจากสวนจากพื้นที่ของเกษตรกร มีบางคนต่อว่าก็มีบอกว่าดูมาหลายหนแล้วไม่ชัดตลอด ทำไมไม่ถ่ายเป็นคลิป ซึ่งตรงนี้ผมอยากจะสื่อให้เห็นว่าจำเป็นที่จะต้องเชื่อมโยงสังคมเกษตรไปสู่คนไทยทั่วประเทศ ตรงไหนชัดไม่ชัดผู้เกี่ยวข้องที่เป็นผู้วางระบบก็จะได้ปรับปรุงครับ-ผมคิดว่าการทำสัญญานอินเตอร์เน็ตให้ครอบคลุมทุกพื้นที่จะเป็นการส่งเสริมการลงทุนให้ลูกหลานหรือนักลงทุนกลับไปสู่บ้านเกิดหรือชนบท-ผมเคยคุยสดๆไว้ในรายการเมื่อเร็วๆนี้ครับ) แต่ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี สิ่งสำคัญทุกคนมีมือถือ Smartphone อยู่ก็มาก แต่ยังใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ..ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งจะสำคัญที่สุดที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่ายครับ

ประจวบกับเมื่อวานทาง Thai PBS รายการดูให้รู้ ได้ออกอากาศ ในเรื่องที่คุณฟูจิมาสัมภาษณ์ผมในประเด็น “เกษตรกรยูทูปเปอร์” คือเรื่องที่เกษตรกรสามารถใช้ออนไลน์(ยูทูป)มาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารบอกกล่าวเรื่องราวของตัวเองหรือขายผลิตภัณฑ์ของตัวเองได้

ผมก็เลยอยากจะบอกกล่าวเพื่อนๆว่าในช่วงที่เกิดสงครามโควิด ซึ่งก็คงจะยืดเยื้อพอสมควร ถ้าใครที่ติดตามช่องทางการสื่อสารของผมจะเห็นว่าผมมองบวกมาตลอด มองว่าโควิดเป็นเพื่อนเกษตรกร มองว่าโควิดคือโอกาสบ้างละ ฯลฯ เพราะผมพิจารณาดูแล้ว โควิดทำอะไรภาคเกษตรได้น้อยมาก เราจะพลิกให้ศัตรูมาเป็นมิตรได้อย่างไร โดยเฉพาะผู้ที่พึ่งพาตนเองมาด้วยอาชีพการเกษตรแท้ๆ เรียกว่าโควิดผลักให้มนุษย์ไปอยู่ในมุมสีเขียว คือ “เศรษฐกิจสีเขียว” ไม่ใช่มุมแดงมุมน้ำเงินอย่างแต่ก่อนแล้ว

มุมสีเขียวหรือเศรษฐกิจสีเขียว จะเป็นสิ่งเดียวที่เกษตรกรไทยของเรามีความได้เปรียบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (เรื่องนี้ถ้าจะว่าไปก็ยาวไปถึงองค์การสหประชาชาติเลยครับ) เอาเป็นว่ามันเป็นโอกาสเดียวที่พี่น้องเกษตรกรไทยจะได้ออกสตาร์ทพร้อมกันกับบรรดาคนตัวใหญ่ๆทั้งหลาย ที่เหมือนจอดรถอยู่ข้างทาง แต่เดิมนั้นเขาจะบอกว่าปลาใหญ่กินปลาเล็กแต่เดี่ยวนี้ไม่เสมอไปแล้วครับ

เราเป็นคนตัวเล็กเวลาพลิกตัวลุกขึ้นจะไวกว่าคนตัวใหญ่ เพราะถึงยุคที่เรียกว่าปลาเร็วกินปลาช้าครับ ถ้าเราไม่ใช้โอกาสนี้ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไร ชาติไหน ถึงจะมีโอกาสอีก…

วันนี้ผมได้นำภาพที่ YouTube บอกกับผมว่า “ความสำเร็จใหม่” (หาดูให้เจอว่าอยู่ตรงไหนของภาพ) คือช่องยูทูปเกษตรก้าวไกลไปด้วยกันที่ผมและทีมงานทำอยู่นั้น มีคนดูครบ 15 ล้านครั้งเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ผมก็มาคิดว่าควรจะบอกดีหรือไม่ แต่คิดในทันทีทันใดก็คือ ควรจะบอกดีกว่า สิ่งที่อยากบอกไปกว่านั้นก็คือว่า พี่น้องเกษตรกรไทยของเราเก่งเรื่องการผลิตอยู่แล้ว แม้แต่ทุเรียนก็ยังคิดประดิษฐ์ประดอยให้ปลูกในนาได้ แต่พี่น้องอย่าลืมนะครับ เวลานี้เราเก่งเรื่องการผลิตอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องเก่งเรื่องการตลาดควบคู่กันไป อย่าคิดแบบเดิมๆว่าให้เพื่อนเขาทำบ้าง โลกทุกวันนี้มันเปลี่ยนแปลงหมดแล้ว ใครพึ่งพาตนเองได้เป็นทางรอดที่ดีที่สุด

ผมพูดไปมากกว่านี้ก็จะยาวไปอีกไม่มีวันจบง่ายๆ เอาเป็นว่าให้พี่น้องนำเครื่องมือที่มีอยู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์ทั้งการผลิตและการตลาดให้มากที่สุด เครื่องมือบางอย่างแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลยครับ มันอยู่ในมือของเราอยู่แล้ว เทคโนโลยีทุกวันนี้มันได้ออกแบบให้คนคนเดียวทำอะไรได้หลายอย่าง ขอให้เรียนรู้ด้วยตัวเองก่อน (บนโลกออนไลน์มีให้เรียนรู้ทุกอย่าง) พอติดตรงไหนเราค่อยถามเพื่อนครับ

ใช้เวลาที่รัฐบาลล็อกดาว์นมาทำประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ให้กับตนเอง รอบตัวเรายังมีอาชีพที่เราสามารถพัฒนาต่อยอดขึ้นได้มากมาย

ผมจบดื้อๆว่า “โลกยุคใหม่ชนบทคือความทันสมัย” สวัสดีครับ กรุงเทพฯ ประเทศไทย, 10 สิงหาคม 2564 – ฟอร์ด ประเทศไทย ตอกย้ำพันธกิจในการสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงกลุ่มเกษตรกรหญิงรุ่นใหม่ที่เป็นแรงผลักดันทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศผ่านโครงการ “ฟอร์ดเติมฝันเกษตรกรหญิงรุ่นใหม่” ด้วยการมอบเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาทให้แก่ผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในการแข่งขันเพื่อต่อยอดการดำเนินธุรกิจด้านการเกษตร

สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากโครงการ “ฟอร์ดเติมฝันเกษตรกรหญิงรุ่นใหม่ (Ford Moves Her Business)” ได้แก่ นางปนิดา มูลนานัด เกษตรกรหญิงผู้ทำธุรกิจแปรรูปกล้วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร จากจังหวัดเพชรบุรี จะได้รับรางวัลเป็นทุนต่อยอดธุรกิจมูลค่า 100,000 บาท และสิทธิพิเศษในการทดลองขับรถกระบะ ฟอร์ด เรนเจอร์ เป็นระยะเวลา 3 เดือน

นางปนิดา มูลนานัด ทำหน้าที่ประธานวิสาหกิจชุมชนวัยหวาน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี สามารถเอาชนะใจคณะกรรมการจากกรมส่งเสริมการเกษตร สมาคมสื่อมวลชนเกษตร และผู้แทนจากฟอร์ด ประเทศไทย ด้วยแผนงานการพัฒนาธุรกิจทางการเกษตรในการแปรรูปกล้วยหอมทองตั้งแต่รากจรดใบ ต่อยอดไปถึงธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ถ่ายทอดความรู้ด้านการทำการเกษตรให้แก่ชุมชนและผู้อื่น ด้วยความมุ่งมั่นในการยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

มีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการทำการเกษตรอย่างสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ช่วยสร้างงานให้กับคน เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน และสร้างการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน พร้อมนำเสนอการใช้งานรถกระบะฟอร์ด เรนเจอร์ เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น จนได้รางวัลชนะเลิศไปครอง โดยนอกจากเงินทุนสำหรับต่อยอดพัฒนาธุรกิจมูลค่า 100,000 บาท และสิทธิพิเศษในการทดลองขับ ฟอร์ด เรนเจอร์ นาน 3 เดือนแล้ว ผู้ชนะยังมีโอกาสประชาสัมพันธ์ธุรกิจการเกษตรของตนผ่านกิจกรรมกับสื่อมวลชนและช่องทางออนไลน์ของฟอร์ดในอนาคตอีกด้วย

สำหรับรางวัลรองชนะเลิศ จำนวน 2 รางวัลเป็นของ นางสาวยอดหญิง พรชัยสิทธิ์ เจ้าของธุรกิจมะพร้าวน้ำหอม โคโค่ คาวบอย จากจังหวัดฉะเชิงเทรา และนางสาวปนัดดา กังวล เจ้าของไร่อ้อยและสัปปะรด จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับทุนสนับสนุนรางวัลละ 30,000 บาท นอกจากนี้ ฟอร์ดยังมอบรางวัลชมเชยให้แก่ผู้เข้ารอบสุดท้ายรายอื่นๆ เป็นเงินทุนสนับสนุนมูลค่า 5,000 บาท จำนวนทั้งสิ้น 8 รางวัล

และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรหญิงมีความรู้ความสามารถในการทำธุรกิจในยุคดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ ฟอร์ดยังได้จัดกิจกรรมเวิร์คช็อปอบรมพัฒนาธุรกิจทางการเกษตรผ่านช่องทางออนไลน์ในหัวข้อ “รู้จักชาวเน็ตไทย” และ “ทำการตลาดดิจิทัลอย่างไรให้ปัง กับ Google” สนับสนุนข้อมูลโดยกูเกิล ประเทศไทย ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสการเรียนรู้และเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้แก่เกษตรกรหญิงผู้สมัครเข้าร่วมโครงการทุกคน

“ฟอร์ดขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับผู้ชนะโครงการ ‘ฟอร์ดเติมฝันเกษตรกรหญิงรุ่นใหม่’ โครงการนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ากลุ่มเกษตรกรหญิงไทยในยุค 4.0 นั้นมีศักยภาพในการยกระดับธุรกิจของตนเองให้ทันสมัย มีความกล้าทำสิ่งใหม่ๆ พร้อมปรับตัวรับความท้าทาย และมีความพยายามที่จะสร้างเส้นทางสู่ความสำเร็จในแบบของตนเอง อีกทั้งยังสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ตรงกับแนวคิด ‘Live The Ranger Life’ หรือการใช้ชีวิตแบบฟอร์ด เรนเจอร์ ซึ่งเป็นรถกระบะที่ตอบโจทย์การใช้งานที่สมบุกสมบันในทุกงานเกษตร และเป็นยานพาหนะที่พร้อมพาเกษตรกรหญิงไทยพัฒนาสู่ความสำเร็จในการประกอบอาชีพ” นายวิชิต ว่องวัฒนาการ กรรมการผู้จัดการ ฟอร์ด ประเทศไทย กล่าว

โครงการฟอร์ดเติมฝันเกษตรกรหญิงรุ่นใหม่ (Ford Moves Her Business) เป็นโครงการที่ฟอร์ดร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตรเชิญชวนเกษตรกรหญิงอายุไม่เกิน 45 ปี ที่เป็น Young Smart Farmer หรือสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทั่วประเทศ หรือเกษตรกรทั่วไป ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรด้วยตนเอง หรือเป็นสมาชิกในครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมบอกเล่าเรื่องราวการทำการเกษตรของตนเอง พร้อมแนวคิดการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ โดยมีรถกระบะฟอร์ด เรนเจอร์ เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร-กระทรวง พม.-สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย-เกษตรก้าวไกล-เกษตรทำกิน-มติชน ผนึกกำลังซีพี-ซีพีเอฟ’ ภายใต้โครงการ “ครัวปันอิ่ม” มอบข้าวกล่อง-หน้ากากอนามัย ช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนจากภัยโควิด-19 เผยจุดแจกที่เคหะดินแดง 2 คึกคัก รัฐมนตรี พม.นำทีมมารับมอบด้วยตนเอง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการเปิดตัวแจกข้าวกล่อง 2 ล้านกล่อง ภายใต้โครงการ “ครัวปันอิ่ม” ที่เปิดตัวเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2564ที่ผ่านมา แต่วันนี้(16 สิงหาคม 2564) ถือว่าคึกคักเป็นพิเศษ เนื่องจากมี นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมกับ นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ และ นายวิชาญ เขียวแก้ว ประธานชุมชนดินแดง มาร่วมรับมอบข้าวกล่องอุ่นร้อนพร้อมทาน และหน้ากากอนามัย จากซีพี-ซีพีเอฟ พร้อมพันธมิตรมูลนิธิสืบนาคะเสถียร-สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย-เกษตรก้าวไกล-เกษตรทำกิน-มติชน สำหรับจุดส่งมอบข้าวกล่อง “เคหะชุมชนดินแดง 2” เป็นหนึ่งใน 40 จุดทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อนำข้าวกล่องส่งต่อให้กับผู้อยู่อาศัยในเคหะชุมชนดินแดง 2 เป็นการแบ่งเบาภาระ บรรเทาความเดือดร้อน ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ขณะนี้

โครงการ “ครัวปันอิ่ม” เป็นการผนึกกำลังเครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมกับพันธมิตรกว่า 100 องค์กร ส่งมอบข้าวกล่องอุ่นร้อนพร้อมทาน จำนวน 2 ล้านกล่อง ซึ่งประกอบด้วย 1 ล้านกล่องแรกมาจากร้านอาหารรายย่อยในกทม. และปริมณฑล และอีก 1 ล้านกล่องมาจากเครือ ซี.พี เป็นอาหารที่ปรุงใหม่ สุก สะอาด ถูกสุขอนามัย มีเมนูอาหารที่หลากหลายในแต่ละวัน โดยให้เครือข่ายจิตอาสา มูลนิธิ และหน่วยงานพันธมิตร มารับข้าวกล่องไปกระจายสู่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อีกครั้ง เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องในชุมชนต่างๆ ตลอดจนธุรกิจร้านอาหารรายย่อย ให้สามารถฝ่าวิกฤตโควิดไปได้ ลดการแออัด และลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ โดยที่ประชาชนไม่ต้องมาต่อคิวรับข้าวกล่องด้วยตัวเอง

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า “สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงมียอดผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการดำรงชีพของประชาชน รวมถึงผู้ประกอบการ ร้านอาหารรายย่อย โดยเฉพาะในเขตชุมชนดินแดง ซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ มีประชากรอาศัยหนาแน่นกว่า 48,000 คน ตอนนี้เราต้องแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด

เพราะผู้ป่วยจำนวนมากพักรักษาตัวที่บ้าน ไม่สามารถออกนอกได้ จำเป็นต้องมีอาหารทานอย่างเพียงพอ เพื่อไม่เกิดการแพร่เชื้อ ทางกระทรวงฯ รู้สึกยินดี และขอบคุณพันธมิตรทุกๆ หน่วยงาน ที่มาร่วมส่งมอบอาหาร และอุปกรณ์จำเป็นอย่างหน้ากากอนามัย ส่งตรงถึงคนในชุมชน ตลอดจนผู้ป่วย ความร่วมมือของคนไทยทุกภาคส่วน จะช่วยให้สังคมไทยสามารถเดินหน้าต่อไป ขอให้รักษาความมีน้ำใจของคนไทยไว้ เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และเราจะรอดจากวิกฤตครั้งนี้ไปด้วย”

นายภาณุเดช เกิดมะลิ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร กล่าวว่า “มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เป็นองค์กรที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า และเป็นหนึ่งในพันธมิตรโครงการฯ เราเล็งเห็นถึงความสำคัญของอาหาร เพราะเป็นปัจจุบันพื้นฐานในการมีชีวิตของทุกๆ คน มูลนิธิสืบฯ รู้สึกยินดี และขอร่วมเป็นสะพานบุญครั้งนี้ ทำหน้าที่อาสาเชื่อมต่อหน่วยงานระหว่างกัน ได้แก่ การเคหะแห่งชาติฯ และวัดพุทธปัญญา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดส่งมอบข้าวกล่องจาก 40 จุดภายใต้โครงการฯ เพื่อแบ่งปันความดี แบ่งปันความอิ่ม ส่งไปถึงมือของพี่น้องประชาชนทุกคน”

นายสุเมธ ภิญโญสนิท ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร (ข้าวโพด) ผู้แทนเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า “ขอบคุณกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย เกษตรก้าวไกล เกษตรทำกิน มติชน และพันธมิตรทุกท่าน งานวันนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากปราศจากพลังของเครือข่ายทุกภาคส่วน ที่ช่วยขับเคลื่อนโครงการ ไม่ว่าจะเป็นการอำนวยความสะดวกสถานที่ตั้งจุดส่งมอบข้าวกล่อง การประสานงานโครงการ เจ้าหน้าที่กระจายข้าวกล่องไปยังชุมชน

กลุ่มจิตอาสา และสื่อมวลชนที่ช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวสารโครงการฯ เพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ การส่งมอบข้าวกล่อง-หน้ากากอนามัย ไปสู่มือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน ผู้กักตัวที่บ้าน ให้พวกเขาได้มีอาหารที่ถูกสุขอนามัยรับประทาน และเครือเจริญโภคภัณฑ์ยังมีอีกหนึ่งโครงการ “ปันปลูก-ฟ้าทะลายโจร 100 ไร่ 100 วัน” ผลิตยาสมุนไพรไทยฟ้าทะลายโจร จำนวน 30 ล้านแคปซูล เพื่อแจกจ่ายฟรีให้กับประชาชนอีกด้วย และขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องชาวไทยทุกคน ก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 นี้ไปด้วยกัน”

อนึ่ง รายชื่อจุดแจกอาหาร 40 จุด ที่ตัวแทนชุมชนจะมารับมอบและนำไปแจกจ่ายคนในชุมชนโดยที่ไม่ต้องมาต่อคิวรับข้าวกล่องด้วยตัวเอง ประกอบด้วย 1. มูลนิธิดวงประทีป คลองเตย 2. คลองเตยดีจัง 3. ชุมชนหลังวัดดวงแข หัวลำโพง 4. ชุมชนหลังวัดสายไหม ลำลูกกา ปทุมธานี 5. ชุมชนหลังวัดไผ่เหลือง นนทบุรี 6. ชุมชนแดงบุหงา แถวเพชรบุรี

7. ชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน 8. ชุมชนบ้านครัวเหนือ 9. ชุมชนคลองส้มป่อย ทางขึ้นทางด่วนยมราช 10. ชุมชนพื้นที่เขตบางซี่อ 11. ชุมชนดอนเมือง 12. ชุมชนสวนอ้อย สามเสน 13. ชุมชนลาดพร้าว (วัดลาดพร้าว) 14. ชุมชนวัดสิงห์ เขตจอมทอง 15. ชุมชนวัดเพลง ราชพฤกษ์ 16. 7-11 วิภาวดี 64 (ปากซอย) 17. 7-11 สุโขทัย4 18. 7-11 รามอินทรา 93 19. สำนักงานเขตสวนหลวง 20. ผู้จัดการ ถ.พระอาทิตย์ 21.

สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคฯ 22. 1 7-11 อาจณรงค์ไนท์บาซาร์ 22. 2 วัดสุทธิวราราม (Quota CPALL 600) 23. วัดเทวสุนทร/ศูนย์อาสาเราต้องรอด Up For Thai 24. พระราม 4* 25. รังสิต 26. ศรีนครินทร์* 27. หลักสี่* 28. ปทุมธานี* 29. พระราม 2 30. หนองจอก 31. บางปู* 32. พระราม1* 33. บางกะปิ* 34.

ศูนย์พักคอย รร.สุวรรณารามวิทยาคม สมัครเว็บจีคลับ บางกอกน้อย 35. รพ.สนามแสงแห่งใจ เขตบางนา (drop1) อาคารสำนักงานเนชั่น เขตบางนา (drop2) 36. สำนักงานเขตมีนบุรี (drop1) สำนักงานสื่อ Top News วัชรพล (drop2) 37. สำนักงานเขตประเวศ 38. ชุมชนวัดพุทธปัญญา จ.นนทบุรี 39. ชุมชนเคหะแฟลตดินแดง (ลานกีฬาระหว่างแฟลต51-53) 40. สำนักงานเขต หนองจอก

เรียนออนไลน์ฟรี!! ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ฝ่าวิกฤตโควิด

โควิด 19 ที่เกิดขึ้นทำให้ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า เว็บไซต์เกษตรก้าวไกลและสื่อออนไลน์ในเครือจึงได้ประกาศหาพันธมิตรมาร่วมกันจัดกิจกรรม ภายใต้โครงการที่ชื่อว่า “เกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย” ซึ่งได้เปิดตัวโครงการเมื่อวันที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา

สาระของโครงการจะมี 3 ส่วน คือ ส่วนแรกจะเป็นการสัมภาษณ์เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวทางฝ่าวิกฤตโควิด จำนวน 32 คน ส่วนที่ 2 เป็นการอบรมสร้างอาชีพเร่งด่วน จำนวน 4 เรื่อง และส่วนที่ 3 เป็นการเสนาออนไลน์ จำนวน 4 เรื่อง

สำหรับการจัดกิจกรรมอบรมสร้างอาชีพ หลักสูตรต่อไปจะเป็นหลักสูตร การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยได้รับความร่วมมือจาก อาจารย์สัมพันธ์ พิพัฒน์วรการ CEO Freshville farm เพื่อนเกษตรเฟรชวิลล์ฟาร์ม มีกำหนดจัดขึ้นวันพฤหัสที่ 29 กรกฎาคม 2564 เวลาประมาณ 14.00-16.00 น. ณ เฟรชวิลล์ฟาร์ม ถนนรามคำแหง 118 แยก 44 แขวง สะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร

เนื้อหาการอบรม ประกอบด้วย

ความเป็นมา ประโยชน์การนำไปใช้ของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
วัสดุ อุปกรณ์การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
สาธิตวิธีการเพาะเมล็ดแบบนิยม
สารอาหารสำหรับการเจริญเติบโตของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
การตรวจสอบค่าเหนี่ยวนำไฟฟ้า และค่าแสดงความเป็นกรด-เบส
สาธิตการปลูก การดูแล และเคล็ดลับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
อาชีพการทำฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์กลางเมือง (การลงทุน การตลาด ฯลฯ)
กิจกรรมถาม-ตอบ

“เป้าหมายที่จัดขึ้นก็เพื่อต้องการสร้างอาชีพ เสริมรายได้เร่งด่วนในยุคโควิด 19 ภายใต้โครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย ซึ่งวิกฤตครั้งนี้ทางเกษตรก้าวไกลและพันธมิตรมองเห็นตรงกันว่าคนไทยทุกคนรวมทั้งผู้คนบนโลกใบนี้กำลังประสบชะตากรรมร่วมกัน แต่ก็จะรอดพ้นไปได้ด้วยความรักสามัคคี คนไหน ชุมชนไหน ประเทศไหนให้ความร่วมมือกันก็จะฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้อย่างแน่นอนครับ” ลุงพร เกษตรก้าวไกล กล่าวย้ำ

ผู้สนใจรับที่จะเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ไม่ต้องลงทะเบียน เพียงแต่คลิกชมสดผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เพจ Facebook และ YouTube เกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป..แต่ถ้าชมไม่ทันในช่วงเวลาดังกล่าวก็สามารถชมย้อนหลังได้

กระแสกล้วยด่างที่มาแรง ทำให้ “เกษตรก้าวไกล” ต้องติดต่อไปยัง “สมบัติ สุขนันท์” เจ้าของ “สมบัติอาณาจักรกล้วย” ปลูกและสะสมกล้วยสายพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 20 ปี มีกล้วยกว่า 200 ชนิด บนพื้นที่ปลูก 500 ไร่ ซึ่งกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ

(เรื่องราวของสมบัติอาณาจักรกล้วย ชมได้จากคลิปนี้ https://youtu.be/1lmGkLOEyN4)

ประเด็นแรกที่อยากรู้ก็คือ กระแสกล้วยด่างที่มาแรงทางอาณาจักรกล้วยมีส่วนได้เสียอย่างไร และวิกฤตโควิดที่เกิดขึ้นเขาต้องสู้อย่างไร เพราะทราบว่างานออกบูธต่างๆชะงักงัน ซึ่งตามปกติคุณสมบัติจะทำการตลาดผ่านการออกบูธตามงานจัดแสดงสินค้าต่างๆ

เดิมนั้นคุณสมบัติเป็นเจ้าของกิจการโรงงานสร้างนั่งร้านเพื่องานก่อสร้างอาคาร แต่ไปๆมาๆต้องเป็นหนี้กว่า 20 ล้านบาท เขาต้องกัดฟันสู้นำความชื่นชอบส่วนตัวที่ชอบสะสมกล้วยแปลกหายากออกตระเวนขายตามงานจัดแสดงสินค้าต่างๆ ซึ่งในเวลานั้นไม่ค่อยมีใครนำหน่อกล้วยออกไปไปขาย ปรากฎว่าขายดีเป็นที่ต้องการของตลาด ผลก็คือใช้เวลา 10 ปี ก็สามารถปลดเปลื้องหนี้สินได้ ลบคำสบประมาทที่ว่ามัวแต่ขายหน่อกล้วยเมื่อไรจะหลุดหนี้ มัวแต่นั่งดูกล้วยชาตินี้คงได้กล้วยเป็นเมีย

เมื่อมาเจอโควิดเขาไม่ได้ออกงานหลายเดือนติดต่อกัน จนค่อนปีก็ยังไม่มีวี่แวว งานต่างๆถูกยกเลิกไม่สามารถจัดได้ “งานถูกยกเลิก 5 งานซ้อนๆ ไม่ได้ออกบูธ 6 เดือนติดต่อกัน” เขาจึงบ่ายหน้าสู่การขายผ่านออนไลน์ ซึ่งก็พอช่วยได้บ้างจากลูกค้าเก่าๆที่ยังคงหมุนเวียนมาซื้อและลูกค้าใหม่ที่นิยมชมชอบกล้วยแปลกหายาก โดยเฉพาะกล้วยด่างที่เวลานี้มาแรงและคุณสมบัติมีพันธุ์กล้วยด่างที่สะสมไว้กว่า 30 สายพันธุ์ โดยเฉพาะกล้วยด่างแดงอินโอที่นำชม(ตามคลิปข้างต้นราคา 5 แสนบาท)

“รายได้ของผมมันไม่มากเหมือนแต่ก่อน แต่ก็พอเลี้ยงครอบครัวและลูกน้องได้ ก็พอประคองตัวไปได้ครับ” คุณสมบัติกล่าว

และได้ให้ข้อคิดว่า ชีวิตต้องสู้ ทำสิ่งที่เรารักให้จริงจัง อย่ายอมแพ้ต่ออุปสรรค อย่ามีข้อจำกัด เช่น มีที่ดินน้อยนิดไม่สามารถปลูกกล้วยได้ ซึ่งได้ยกตัวอย่างลูกค้าคนหนึ่งได้ปลูกกล้วยบนดาดฟ้าและสามารถมีผลผลิตมาแจกจ่ายได้

“อย่างผมนั้นก็ไม่ได้มีที่ดินเป็นของตนเองในเริ่มแรกต้องเช่าที่ดินปลูกกล้วย ตอนนี้ก็ยังเช่าที่อยู่เลย แต่เราก็สามารถปลูกกล้วยได้ เคยปลูกเกือบ 1,000 ไร่ แต่ตอนนี้ปลูกประมาณ 500 ไร่ กระจายตามจังหวัดต่างๆ ถ้าเรารักที่จะทำอะไรอย่ามีข้อจำกัด ก็จะประสบความสำเร็จ”

ในตอนท้ายคุณสมบัติบอกว่า ถ้าเขาตายไม่ต้องเอาไปวางอะไรหน้าศพ แต่ขอให้วางกล้วยพันธุ์ต่างๆ และนำแจกจ่ายแก่ประชาชนที่มาร่วมงานทุกคน.

จากความขัดสนเงินทุนประกอบอาชีพ พัฒนาสู่การบริหารจัดการแก้ไขปัญหาแบบกลุ่ม ยึดแนวทาง สังคม ชุมชน และภูมิปัญญา มาผสมผสาน สร้างความอยู่ดี กินดี มีกิน มีใช้ในทุกสภาวะการณ์ สสก.3 จ.ระยอง พิจารณาคัดเลือกเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่น ระดับเขต ปี 64 ของภาคตะวันออก พร้อมขยายผลความสำเร็จสู่เกษตรกรชุมชนอื่น ๆ ต่อไป

นายปิยะ สมัครพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง (สสก. 3 จ.ระยอง) เปิดเผยว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทรายมูลพัฒนา หมู่ที่ 9 ตำบลหนองปรือ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นกลุ่มที่เกิดจากกิจกรรมออมทรัพย์เพื่อแก้ปัญหาเงินทุนของชุมชน ในการสร้างอาชีพตามความถนัด เพื่อสร้างรายได้แก่ครัวเรือน ก่อเกิดความเกื้อกูลเชื่อมโยงกันภายในชุมชน ภายใต้แนวทางนำภูมิปัญญาของชุมชนมาสร้างมูลค่า เพื่อให้มีความมั่นคงด้านอาหารและการดำรงชีพ

จากการบริหารจัดการกลุ่มตั้งแต่ เงินทุน การผลิต การแปรรูปผลผลิต และการตลาด แบบครบวงจรภายใต้หลักการ “ใช้ชีวิตพอเพียง ครอบครัวมีสุข ชุมชนเข้มแข็ง สังคมแบ่งปัน” จนประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรม คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2564 สสก. 3 จ.ระยอง จึงได้พิจารณาให้เป็นสถาบันเกษตรกรดีเด่น สาขากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่น ระดับเขต ประจำปี 2564 ของภาคตะวันออก

“กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทรายมูลพัฒนา ปัจจุบันมีสมาชิก 80 ราย เกิดจากการรวมกัน เพื่อจัดตั้งเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร โดยสมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ประกอบด้วยอาชีพทำนา ทำไร่ ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ รับจ้างในภาคการเกษตร และจักสานไม้ไผ่ในครัวเรือนเพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว ซึ่งการรวมกลุ่มกันในครั้งแรกนั้นมีวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตรและการแปรรูปผลผลิตการเกษตรในครัวเรือน เพื่อแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพการเกษตร และสร้างอาชีพเสริมให้ครอบครัว สมาชิกมีการทำการเกษตรที่หลากหลาย แต่ก็ยังประสบปัญหาในด้านปัจจัยการผลิต และต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งยังขาดองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพ อาทิเช่นการปัญหาภาวะดินเสื่อมโทรม การป้องกันและกำจัดโรคแมลงระบาด จึงเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการจัดตั้งกลุ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2535 ในชื่อ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทรายมูลพัฒนา” นายปิยะ กล่าว

ผอ. สสก. 3 จ.ระยอง เปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทรายมูลพัฒนา มีการบริหารจัดการเงินกองทุนหมุนเวียนการออมทรัพย์ และจัดกิจกรรมตามแผนพัฒนาอาชีพตามที่สมาชิกในกลุ่มสนใจ ซึ่งเห็นผลเชิงประจักษ์ชัดเจน มีรายได้เพิ่มขึ้น จากการที่สมาชิกประกอบอาชีพตามความถนัดและรวมกลุ่มกัน ประกอบด้วย ได้แก่ กลุ่มปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ กลุ่มเพาะเลี้ยงกบ กลุ่มจักสานจากไม้ไผ่ กลุ่มปลูกไม้ดอกไม้ประดับ กลุ่มปลูกไผ่และแปรรูปหน่อไม้อัดปี๊บ และกลุ่มรวบรวมผลผลิตต่างๆของสมาชิกเพื่อไปจำหน่าย

ซึ่งทุกกิจกรรมเป็นการสนับสนุนตามความถนัดของสมาชิก ตามความสนใจและสมัครใจ มีการสร้างกลุ่มให้มีความเชื่อมโยงเกื้อกูลกันทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของกลุ่มให้กับกลุ่มองค์กรเกษตรกร คนในชุมชน และบุคคลที่สนใจทั่วไปได้ศึกษาเรียนรู้ โดยวิทยากรประจำกลุ่ม ผลจากการที่สมาชิกมีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพของตนเอง นำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตให้ครอบครัว ชุมชนและสังคม มีความสุข กินดี อยู่ดี มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ยังผลให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้กรมส่งเสริมการเกษตร ได้กำหนดให้มีการดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่นเป็นประจำทุกปี เพื่อเผยแพร่และยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้เป็นที่ปรากฏต่อสาธารณชน เกิดความภาคภูมิใจในอาชีพตนเอง ตลอดจนเป็นเกษตรกรต้นแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาผลงานจากตัวอย่างจริง เพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรต่อไป

“สำหรับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทรายมูลพัฒนา มีลักษณะโดดเด่นอีกประการคือ กลุ่มได้อาศัยกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมของสมาชิก และความสามารถในการบริหารจัดการกลุ่ม โดยอาศัยทรัพยากรที่มีภายในชุมชน ส่งผลให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ในทุกสภาวะการณ์ ทาง สสก. 3 จ.ระยอง จะทำการขยายผลความสำเร็จนี้สู่การปฏิบัติใช้ของเกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ ต่อไ” นายปิยะ กล่าว

นายนิพนธ์ สุขสะอาด เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ปลูกมังคุด ประมาณ 96,000 ไร่ เกษตรกร จำนวน 30,199 ราย โดยในปี 2564 ผลผลิตมังคุดจังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งเป็นผลผลิตในฤดูจำนวน 57,000 ตัน เกรดส่งออกจำนวน 30,000 ตัน บริโภคภายในประเทศจำนวน 17,000 ตัน และที่เหลือเป็นมังคุดตกเกรดจำนวน 10,000 ตัน ผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคม 2564 และจะออกมากที่สุดในเดือนสิงหาคม 2564 ขณะนี้เก็บเกี่ยวไปแล้วประมาณ 17,000 ตัน จากผลการประชุมหารือแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช

ได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนมังคุด 5 มาตรการ ประกอบด้วย 1) ออกประกาศจังหวัดนครศรีธรรมราชกำหนดให้ล้ง/จุดรับซื้อผลผลิตมังคุดปิดป้ายราคารับซื้อที่ชัดเจนโดยอ้างอิงราคาที่พาณิชย์จังหวัดประกาศทุกวัน 2) ผ่อนปรนการกักตัวและการตรวจคัดกรองแรงงานจากภาคตะวันออกให้เข้ามาเป็นแรงงานเก็บเกี่ยว คัดแยกเกรดและการขนส่งมังคุด ทั้งนี้อยู่ภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุข 3) ขอรับสนับสนุนแรงงานเสริมจากกองทัพภาคที่ 4 กองอาสารักษาดินแดน เข้ามาช่วยเหลือ ด้านแรงงาน กรณีแรงงานไม่พอ 4 ) ขอสนับสนุนงบประมาณค่าบริหารจัดการเปิดจุดรับซื้อ กิโลกรัมละ 3 บาท จากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) และ 5) ขอสนับสนุนงบประมาณกล่องบรรจุภัณฑ์มังคุดเพื่อส่งเสริมการขายแบบออนไลน์ และตะกร้าหูเหล็กสำหรับการคัดเกรดมังคุด

ในส่วนของสำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการบริหารจัดการมังคุดครบวงจร ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช บริหารจัดการข้อมูลผลผลิตมังคุดเป็นรายวัน เพื่อขับเคลื่อนมาตรการทั้ง 5 มาตรการ โดยทุกอำเภอต้องรายงานปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยว ราคาที่กำหนด บริหารจัดการแรงงานและตู้สินค้าบริการข้อมูล การรับออร์เดอร์ออนไลน์ และสรุปปัญหาอุปสรรคเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชทราบ นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการส่งเสริมเกษตรกรให้กลุ่มแปลงใหญ่มังคุด วิสาหกิจชุมชนมังคุด ซึ่งเป็นผู้ผลิตมังคุดคุณภาพดีเป็นแกนนำ ในการรวมกลุ่มเพื่อรับซื้อมังคุดจากเกษตรกรรายย่อยและคัดเกรดส่งจำหน่ายให้ล้ง/จุดรับซื้อโดยตรง และประสานหาตลาดภายในประเทศเป็นการเร่งด่วน รวมทั้งยังได้มีการประมูลแบบลาน โดยการนำรถขนมังคุดมาเปิดประมูลให้กับพ่อค้าที่สนใจมารับซื้อ และมีตัวแทนเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ช่วยกันตรวจสอบคุณภาพ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ การดำเนินการสนับสนุนแรงงานเสริมจากกองทัพภาคที่ 4 กองอาสารักษาดินแดน การจัดซื้อกล่องกระดาษจำนวน 1 แสนใบ และตะกร้าหูเหล็ก จำนวน 3 หมื่นใบ สามารถดำเนินการได้แล้ว ซึ่งคาดว่าในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มังคุดออกสู่ตลาดมากที่สุด มาตรการทั้ง 5 มาตรการ สามารถกระจายผลผลิตออกนอกพื้นที่ได้เร็วที่สุด

(อ้างอิงข่าวจาก พีรมณฑ์, กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร และ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช) “อลงกรณ์” เผยสถานการณ์ราคามังคุดมีแนวโน้มดีขึ้นหลังฟื้นระบบขนส่งและไปรษณีย์ขณะที่ล้งในนครศรีธรรมราชเพิ่มขึ้น 146 แห่ง เริ่มรับซื้อมังคุดทำให้ตลาดเริ่มคึกคัก

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยวันนี้ (30 ก.ค.) ว่า ตามที่ ส.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ในนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เสนอให้รัฐบาลเยียวยาชาวสวนมังคุดที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้ราคาตกต่ำในฤดูกาลผลิตปี 2564 ระหว่างการประชุมที่ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

เป็นประธาน และมี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และตนร่วมประชุมพร้อมด้วยตัวแทนภาครัฐภาคเอกชนและภาคเกษตรกร เมื่อวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมานั้น โดยตนได้ชี้แจงว่า คณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ทบอร์ด-Fruit Board) ยินดีรับข้อเสนอไปพิจารณา โดยระหว่างนี้ได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการของฟรุ้ทบอร์ด (กรมส่งเสริมการเกษตร) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลตลอดจนมาตรการเยียวยาโดยให้ยึดแนวทางการเยียวยาชาวสวนลำไยฤดูกาลผลิตปี 2563 จากนั้นให้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการฯ ในครั้งต่อไปโดยเร็ว และจะเสนอต่อ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

นอกจากนี้ นายอลงกรณ์ ยังกล่าวต่อไปว่า จากการที่ตนลงพื้นที่เพื่อติดตามเร่งรัดการแก้ไขปัญหามังคุดและผลไม้ภาคใต้ 3 จังหวัด (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช) ตามข้อสั่งการของ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ ภายใต้ 7 มาตรการเพิ่มเติมล่าสุดของฟรุ้ทบอร์ด ระหว่างวันที่ 28 – 29 ก.ค. ที่ผ่านมา ร่วมกับ นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ โดยเฉพาะมังคุดมีราคาตกต่ำ พบว่าระบบการขนส่งผลไม้แบบบริการส่งถึงที่รวมทั้งระบบการค้าออนไลน์เกือบเป็นอัมพาตโดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้ามังคุดใหญ่ที่สุดของภาคใต้เพราะผู้ให้บริการรายใหญ่ เช่น บริษัทไปรษณีย์ไทย บริษัทเคอร์รี่ เป็นต้น ได้หยุดให้บริการโดยสิ้นเชิง

ดังนั้น ตนจึงได้ประสานขอความร่วมมือไปยัง ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และนายพงษ์ทร วิเศษสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย เมื่อวันที่ 28 ก.ค. และภายใน 24 ชั่วโมง บริษัทไปรษณีย์ไทยได้เปิดให้บริการเป็นกรณีพิเศษเร่งด่วนอีกครั้งพร้อมกัน 105 สาขาใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบนตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค.เป็นต้นไป ทำให้ระบบการขนส่ง ระบบไปรษณีย์และการค้าออนไลน์กลับมาเปิดบริการอีกครั้งหนึ่ง และวันนี้ได้ประสานกับบริษัทไปรษณีย์ไทยให้พร้อมนำส่งผู้รับปลายทางที่อยู่ในพื้นที่สีแดงทุกพื้นที่ซึ่งได้รับการยืนยันว่าจะเร่งกำชับไปรษณีย์ทุกสาขาให้ดำเนินการตามข้อเสนอและการจัดส่งอาจช้าไป 1 วัน

เพราะต้องใช้สาขาปลายทางที่อยู่นอกพื้นที่สีแดงผลัดเวรกันส่งเนื่องจากก่อนหน้านี้พนักงานของสาขาในพื้นที่สีแดงติดโควิดโดยไปรษณีย์ไทยจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดเพื่อช่วยชาวสวน ซึ่งตนได้ขอบคุณบริษัทไปรษณีย์ไทย และ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิตอลฯ ที่ให้ความร่วมมือกับฟรุ้ทบอร์ดด้วยดีตลอดมา เพราะระบบขนส่งเป็นกลไกสำคัญในการค้าขายและระบายผลไม้ออกจากแหล่งผลิตทั้งการค้าแบบออฟไลน์และออนไลน์ นอกจากนี้ รมว.เกษตรฯ ได้ขอความร่วมมือไปยังบริษัทเคอรรี่ตกลงที่จะเปิดบริการอีกครั้งเช่นกัน ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีฯ ได้ติดตามประสานงานกับ รมว.เกษตรฯ อย่างใกล้ชิดด้วยความห่วงใยต่อเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด19

นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า ฟรุ้ทบอร์ดได้คิกออฟโครงการ “เกษตรกรแฮปปี้” โดยรณรงค์ภายใต้กลยุทธ์เพิ่มการขายภายในประเทศทดแทนการส่งออกซึ่งเป็น 1 ใน 7 มาตรการใหม่ของฟรุ้ทบอร์ด ตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา และขอความร่วมมือพี่น้องชาวไทยทุกคนรวมทั้งชาวต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทยช่วยกันสร้างรอยยิ้มให้กับเกษตรกรด้วยการซื้อผลไม้ไทย

“ช่วงนี้ต้องเร่งช่วยระบายมังคุดคละที่สดอร่อยพร้อมจำหน่ายสู่ผู้บริโภคภายในประเทศทั้งรูปแบบการขายออนไลน์และออฟไลน์ซึ่งมีปริมาณมากและราคายังไม่น่าพอใจ แม้แนวโน้มราคาเริ่มปรับตัวดีขึ้นจึงได้ออกแคมเปญ “เกษตรกรแฮปปี้” ในวันนี้ ส่วนการแก้ไขปัญหาอื่น ๆ รมว.พาณิชย์ และรมว.เกษตรฯ ได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และปัญหาการขาดแคลนแรงงาน รวมทั้งการขอความร่วมมือผู้ประกอบการค้าผลไม้ (ล้ง) ทั้งค้าภายในและส่งออกให้ล้งมาซื้อมังคุดด้วยมาตรการที่ยืดหยุ่นมากขึ้น

โดยประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้องทำให้สถานการณ์เริ่มกระเตื้องขึ้น โดยล่าสุด ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช รายงานว่ามีล้งเข้ามาซื้อขายมังคุดและผลไม้เพิ่มขึ้นจาก 40 กว่าล้ง เป็น 146 ล้ง นอกจากนี้สมาคมผู้ส่งออกทุเรียนมังคุดแจ้งว่าสามารถจองตู้คอนเทนเนอร์ที่จะส่งออกผลไม้ทางเรือได้แล้วตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค.ซึ่งจะทำให้ลดการขนส่งทางรถไปประเทศจีนที่แออัดติดขัดที่ด่านโหยวอี้กวนและด่านโมฮ่านมีผลทำให้ตู้คอนเทนเนอร์หมุนกลับมาภาคใต้ไม่ทัน เชื่อว่าตู้คอนเทนเนอร์จะทยอยกลับมาขนมังคุดได้มากขึ้นภายในไม่กี่วันข้างหน้าจะทำให้การซื้อขายเพิ่มขึ้นและส่งผลต่อราคาที่จะขยับตัวสูงขึ้น” นายอลงกรณ์ กล่าว

ด้าน นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ปัญหาหลัก ๆ ที่พบ มาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงมาตรการป้องกันและควบคุมเชื้อโรคของประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกมังคุดและผลไม้อื่น ๆ ของไทย ที่เกิดจากปัญหาการขนส่งล่าช้า การขาดแคลนตู้คอนเทรนเนอร์และตะกร้าใส่ผลไม้ รวมทั้งปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าพื้นที่ที่ทำได้ยาก การขาดแคลนแรงงาน และตะกร้ามีไม่พอ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน คาดว่าสถานการณ์จะคลี่คลายได้เร็วขึ้น

ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์มีแนวทางมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยกระจายมังคุดในประเทศช่วงที่การส่งออกมีปัญหา ดังนี้ 1. เชื่อมโยงและกระจายมังคุดออกนอกแหล่งผลิต โดยสนับสนุนค่าบริหารจัดการแก่ศูนย์กระจายในจังหวัดแหล่งผลิต กก.ละ 3 บาท ซึ่งกรมการค้าภายในโอนเงินให้จังหวัดดำเนินการจำนวน 50,850,000 บาท ตามที่ฟรุ้ทบอร์ดอนุมัติเพื่อกระจายมังคุดจำนวน 16,950 ตัน

ออกนอกแหล่งผลิตอย่างเร่งด่วน 2. สนับสนุนค่าขนส่งสำหรับผลไม้ที่ส่งผ่านไปรษณีย์ กรมการค้าภายในร่วมกับบริษัทไปรษณีย์ไทยสนับสนุนกล่องไปรษณีย์และสติกเกอร์ส่งฟรีผลไม้ทั่วประเทศส่งเสริมการขายผ่านออนไลน์แก่เกษตรกรรายย่อยจำนวน 20,000 กล่องกล่องละ 10 กก. เพื่อช่วยกระจายผลไม้ 2,000 ตัน และ 3. เชื่อมโยงผู้รับซื้อของกรมการค้าภายในให้ช่วยเร่งระบายมังคุดเกรดรองหรือตกเกรดออกจากแหล่งผลิตโดยเร่งด่วนกรณีเกิดปัญหาระบายมังคุดไม่ทันในบางพื้นที่

จากนั้น ที่ปรึกษารมว.เกษตรฯ ได้ร่วมเปิดบริการส่งมังคุด ณ สำนักงานไปรษณีย์ไทยสาขาพรหมคีรี ก่อนเยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์รับซื้อมังคุดชนิดคละกก.ละ 20 บาท ที่อำเภอพรหมคีรีซึ่งเป็นโมเดลใหม่ภายใต้ความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการล้ง เกษตรกรในพื้นที่และศูนย์บลูเฮ้าส์ พรรคประชาธิปัตย์ในการนำล้งมาซื้อตรงจากเกษตรกรด้วยราคานำตลาด โดยจะให้ขยายโมเดลนี้ในจังหวัดอื่น ๆ ด้วย ต่อมา ได้เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนมังคุดแปลงใหญ่ และศูนย์กระจายสินค้าบริษัทไปรษณีย์ไทยอำเภอลานสกา สำหรับ จ.นครศรีธรรมราช มีพื้นที่ปลูกมังคุดทั้งหมด 96,159 ไร่ กระจายอยู่ใน 21 อำเภอ มีพื้นที่ที่ให้ผลผลิตแล้ว 90,016 ไร่ ปี 2564 นี้ คาดว่าจะให้ผลผลิตประมาณ 57,245 ตัน

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ในวันที่ 28 ก.ค. นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ และนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ ได้ลงพื้นที่ตลาดกระจายสินค้าเกษตร ต.วังตะกอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร ติดตามสถานการณ์ผลไม้ในพื้นที่ และประชุมหารือกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมังคุด ตลอดจนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อนำผลผลิตออกสู่ตลาด จากนั้นลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ผลไม้ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และร่วมหารือในการแก้ไขปัญหาการกระจายผลไม้ ปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ และการเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายผลผลิตโดยเฉพาะเงา พร้อมทั้งลงพื้นที่ตลาดสหกรณ์การเกษตร อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี

ทั้งนี้ จ.ชุมพร มีปริมาณผลผลิตรวม 51,587 ตัน ช่วงปลายเดือน ก.ค. 2564 จะปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดกว่า 26,985 ตัน จนถึง ปลายเดือน ส.ค. 2564 ปริมาณ 16,141 ตัน และราคาผลผลิตมังคุด ตลาดทั่วไป กก.ละ 8 – 10 บาท ราคา หน้าล้ง 33 บาท (รับซื้อเฉพาะลูกค้าประจำ) ตลาดประมูลจากกลุ่มผลิตมังคุดคุณภาพในพื้นที่จังหวัดชุมพร จำนวน 26 กลุ่ม เปิดประมูลผลผลิตมังคุด เพียง 11 กลุ่ม ในพื้นที่ อำเภอหลังสวน พะโต๊ะ ละแม ราคาผลผลิตมังคุดตลาดประมูล 12 – 33 บาท (เฉลี่ยทุกเบอร์ ราคา 16.77 บาท) ปริมาณผลผลิตที่คาดว่าจะมีปัญหา 30,735 ตัน สำหรับ จ.สุราษฎร์ธานี ทุเรียนมีปริมาณผลผลิต 46,957 ตัน เก็บเกี่ยวแล้วร้อยละ 50 ราคา กก.ละ 110 บาท มังคุดมีปริมาณผลผลิต 7,294 ตัน เก็บเกี่ยวแล้วร้อยละ 50 ราคากก.ละ 23 บาท เงาะมีปริมาณผลผลิต 38,936 ตัน เก็บเกี่ยวแล้วร้อยละ 32 ราคากก.ละ 25 บาท ลองกองมีปริมาณผลผลิต 4,842 ตัน เริ่มเก็บเกี่ยวไปเพียงร้อยละ 0.66 ราคากก.ละ 50 บาท.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาวาอากาศโทหญิง ดร.งามลมัย ผิวเหลือง คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ยังคงทวีความรุนแรง ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวันเพิ่มสูงขึ้นหลักหมื่นคนต่อวันอย่างต่อเนื่องในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และรัฐบาลโดยศบค.ใช้มาตรการที่เข้มข้นเพื่อควบคุมโรค ด้วยการออกมาตรการ “ล็อกดาวน์” นั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในด้านอาหาร และสิ่งของจำเป็น ในวันที่ 3 สิงหาคม 2564 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้เปิดเพจเฉพาะกิจ ชื่อว่า เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ประกอบการที่สามารถรับทำอาหาร หรือสิ่งของจำเป็น

จำหน่ายให้ผู้ต้องการสั่งไปบริจาค หรือสนับสนุนช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเปราะบาง ที่ขาดโอกาสทางสังคม ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เด็กและเยาวชน ผู้เรร่อน ขอทาน คนยากไร้ คนด้อยโอกาส ที่ต้องการ ภายใต้แนวคิด ของ Donors meet Sellers และเป็นสื่อกลางช่องทางช่วยผู้ประกอบการได้จำหน่ายสินค้า และผู้ใจบุญจะได้เข้ามาเลือก shop เลือกสั่ง ส่งไปได้อย่างง่ายโดยไม่ต้องหาจาก page ทั่วไป ในขณะเดียวกันผู้ต้องการความช่วยเหลือก็สามารถแสดงความจำนงได้ในเพจนี้ จึงขอเชิญชวนผู้ใจบุญทั้งหลาย มาร่วมต่อบุญกุศลกัน

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ในภาวะวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 เช่นนี้ ที่มียอดผู้ป่วยโควิดในประเทศวันนี้ (1 สิงหาคม 2564) 18,027 ราย ยอดเสียชีวิตสูง 133 คน ซึ่งถือว่า คนไทยทุกคนได้รับผลกระทบอย่างหนัก เรื่องสุขภาพ ความเจ็บป่วย โดยเฉพาะการดำรงชีพ ปากท้องประชาชน ถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ และยังไม่อาจรู้ได้ว่า

สถานการณ์แพร่ระบาดในเวฟล่าสุดนี้ จะคลี่คลายในระยะเวลายาวนานเพียงใด แต่ในวิกฤตเช่นนี้ เรายังได้เห็นน้ำใจของทุกภาคส่วน เราได้เห็นมูลนิธิ ภาคประชาชน สื่อมวลชน ศิลปินดารา ประชาชน ออกมาช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาโดยตลอด ทั้งนี้ในส่วนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) มีความตั้งใจในการร่วมแรงคนละไม้คนละมือเพื่อก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน โดยจะจัดทำ 2 โครงการ คือ โครงการ “ครัวปันอิ่ม” แจกอาหาร 2 ล้านกล่องและโครงการ “ปลูกฟ้าทะลายโจร” 100 ไร่ ผลิต 30 ล้านแคปซูลพร้อมแจกฟรีในอีก 100 วัน

โครงการ “ครัวปันอิ่ม” ผนึกกำลังบริษัทในเครือและพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมแจกอาหาร 2 ล้านกล่อง ใน 40 จุด ทั่วกรุงเทพฯ ตลอดช่วงเวลา 2 เดือน นับจากนี้ โดยแบ่งออกเป็น การซื้ออาหารจากร้านอาหารขนาดเล็กและขนาดกลาง จำนวน 1 ล้านกล่อง มาแจกจ่าย เพื่อเป็นการช่วยเหลือด้านรายได้ให้กับร้านอาหารรายย่อย และ อาหารของเครือซีพีสมทบอีก 1 ล้านกล่อง รวมเป็น 2 ล้านกล่อง

โดยครัวปันอิ่มนี้เปิดกว้างสำหรับเพื่อนๆ ผู้มีจิตสาธารณะที่จะมาร่วมสมทบ เพิ่มเติม และยังต้องผนึกกำลังกับมูลนิธิ กลุ่มจิตอาสา ภาคประชาสังคม เพื่อระดมกำลังด้านการแจกจ่ายให้ถึงชุมชนที่มีความเดือดร้อน ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกภาคส่วน ที่ยินดีเข้ามาร่วมไม้ร่วมมือกัน ซึ่งโครงการครัวปันอิ่มนี้ จะมีการประสานไปยังร้านอาหารรายย่อยเพื่อจัดเตรียมอาหาร และควบคุมคุณภาพ โดยคำนึงถึงความสะอาด และความปลอดภัย ทั้งนี้คาดว่าจะพร้อมดำเนินการแจกจ่ายภายในสัปดาห์หน้า โดยจะเน้น 40 จุดที่ใกล้ชุมชน เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทาง และลดโอกาสการแพร่เชื้อ

โครงการที่สอง คือ โครงการปลูกฟ้าทะลายโจรบนที่ดิน 100 ไร่ และผลิตเพื่อแจกฟรี 30 ล้านแคปซูล ซึ่งในสถานกาณ์ปัจจุบัน สิ่งสำคัญคือ การป้องกันโรค และ การควบคุมโรค การกักตัวอยู่บ้านเพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อ การดูแลตัวเองถือเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะสมุนไพรไทยนั้น ถือได้ว่า มีคุณค่าอย่างมาก จะเห็นได้ว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ฟ้าทะลายโจรเริ่มขาดแคลน ทำให้คนไทยหลายส่วนไม่สามารถเข้าถึงได้ เครือซีพี จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแก้ปัญหาดังกล่าว โดยจะริเริ่มโครงการปลูกฟ้าทะลายโจร ในพื้นที่ 100 ไร่ที่จ.สระบุรี และใช้เวลา 100 วัน

นับจากวันนี้จะพร้อมแจกจ่ายฟ้าทะลายโจร จำนวน 30 ล้านแคปซูล ฟรีให้กับพี่น้องประชาชนและชุมชน โดยจะดำเนินการแบบปลอดสารพิษทั้งกระบวนการ และมีการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมีคุณภาพ ซึ่งเครือซีพีจะนำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเกษตรมาช่วยในสถานการณ์นี้ ส่วนในด้านการแจกจ่าย จะดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่มีความรู้ด้านสมุนไพรและสาธารณสุข เพื่อให้การแจกจ่าย และการรับประทาน เป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม นอกจากนี้จะมีการส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกฟ้าทะลายโจร และมีการจ้างงานเกษตรกรในการเพาะกล้าไม้ และส่งเสริมให้ขยายผลไปในชุมชน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

นายธนินท์กล่าวสรุปว่า “ในยามวิกฤตแบบนี้ UFABET กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สิ่งที่ช่วยสู้กับไวรัส จริงๆแล้วคือภูมิคุ้มกันของตัวเราเอง ซึ่งหากเรามีร่างกายและกำลังใจที่แข็งแกร่งแล้ว ย่อมผ่านวิกฤตนี้ไปได้ ขอชื่นชมทุกภาคส่วนที่ทำงานอย่างหนัก ขอบคุณคุณหมอ และบุคลากรทางการแพทย์ที่ยังคงไม่ย่อท้อ ขอบคุณทุกคนที่ออกมาเป็นต้นแบบ และแรงบันดาลใจในการช่วยเหลือสังคม สุดท้ายนี้เครือซีพีขอขอบคุณเพื่อนๆ พันธมิตร จิตอาสา ทุกภาคส่วนอีกครั้ง ที่มาร่วมกันร้อยเรียงความดีผ่านทั้ง 2 โครงการนี้ ผมเชื่อว่าเราจะก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปได้ด้วยกัน”

ในฐานะที่เราเป็นองค์กรเทคโนโลยีชั้นนำที่มีภารกิจหลักคือ

การเสาะหานวัตกรรม เราเล็งเห็นศักยภาพในการผนึกกำลังกับทั้งสองบริษัทเพื่อสร้าง Co-Innovation Partnership นี้ขึ้นมา LINE BK เป็นแพลตฟอร์ม Social Financial จากการร่วมทุนระหว่างทางธนาคารกสิกรไทยและ LINE ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือและกลุ่มที่เป็น Self-Employed โดยง่าย

ส่วนดีแทคเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่มีผู้ใช้งานมากถึง 19 ล้านคนที่รู้ซึ้งถึงความต้องการของลูกค้า เราจึงมองว่าเทคโนโลยีทางการเงินของ KBTG สามารถช่วยเติมเต็มให้การพัฒนาแคมเปญ ใจดี มีวงเงินให้ยืม สมบูรณ์แบบและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างดี โดยเราทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยี (Tech Provider) ที่นำระบบของพันธมิตรทั้งสองฝ่ายมาผนวกเข้าด้วยกัน จุดแข็งของทั้งสามองค์กรนี้จะนำมาซึ่งบริการสินเชื่อดิจิทัลที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าในกลุ่มเป้าหมายและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับคนไทยในยุค New Normal”

สำหรับลูกค้าดีแทคที่สนใจทดลองเข้าร่วมแคมเปญ “ใจดี มีวงเงินให้ยืม” สามารถติดต่อ dtac call center 1678

เกี่ยวกับ ดีแทค ใจดี

บริการใจดี คือบริการที่ดีแทคสร้างสรรค์แนวคิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2547 เพื่อมอบความช่วยเหลือยามฉุกเฉิน ให้ผู้ใช้บริการทุกคน เป็นเพื่อนคู่คิดที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ใช้บริการดีแทคในด้านอื่นๆที่มากกว่าการติดต่อสื่อสาร เพื่อช่วยให้ชีวิตไม่สะดุด ไม่ว่าจะเป็น ใจดีให้ยืม ใจดีให้โอน ใจดีต่อโปรให้นะ และอีกหลากหลายบริการ มาวันนี้ “บริการใจดี” พร้อมก้าวไปอีกขั้น เพื่อยกระดับ “ใจดี” ด้วยบริการทางการเงินใหม่ล่าสุด คือบริการ “ใจดี มีวงเงินให้ยืม” ที่ให้บริการ เงินฉุกเฉินที่จะช่วยลูกค้าในเวลาที่คับขันเงินสด พร้อมกันนี้ยังให้ลูกค้าดีแทคได้รับสิทธิพิเศษที่เหนือกว่าใครเพื่อให้ชีวิตของผู้ใช้บริการดีแทคดำเนินไปต่อได้อย่างมั่นคง

เกี่ยวกับ LINE BK

LINE BK ผู้ให้บริการ Social Banking เต็มรูปแบบรายแรกในเมืองไทย โดยปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 2.8 ล้านราย (ข้อมูล ณ 1 กรกฎาคม 2564) เป็นความร่วมมือกันของธนาคารกสิกรไทย ธนาคารชั้นนำของไทย กับบริษัทระดับโลกอย่าง LINE มาพร้อมประสบการณ์การเงินรูปแบบใหม่ ด้วย 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ บัญชีเงินฝาก, บัญชีเงินออมดอกพิเศษ, บัตรเดบิต, และวงเงินให้ยืม ยกระดับบริการทางการเงินออนไลน์ด้วยความสะดวก รวดเร็ว ลื่นไหล ไม่สะดุด เสร็จครบจบใน LINE เพียงแอปพลิเคชันเดียว ไม่ต้องกดข้ามแอปพลิเคชันไปมา รวมถึงบริการสินเชื่อที่จะปลดล็อคข้อจำกัดให้กลุ่มฟรีแลนซ์หรือคนไม่มีรายได้ประจำสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น

เกี่ยวกับ KBTG

ที่ KBTG เราไม่หยุดยั้งที่จะคิดค้นนวัตกรรมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีทางการเงิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า (Customers First) เราคือกองทัพที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จและผู้นำในโลกดิจิทัลของธนาคารกสิกรไทย ให้คุณก้าวไปข้างหน้าอย่างราบรื่นไม่มีสะดุด KBTG สร้างสรรค์บริการธนาคารออนไลน์ครบวงจร

พร้อมโครงสร้างและเกราะป้องกันที่แข็งแรงมั่นคงเพื่อปกป้องทรัพย์สินและข้อมูลอันล้ำค่า ด้วยความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีธุรกิจของธนาคารชั้นนำและความคิดนอก กรอบของคนรุ่นใหม่ KBTG พร้อมทะยานสู่การเป็น The Best Tech Organization แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เปิดไทม์ไลน์จีนสุ่มตรวจ 12 สวน 12 ล้งผลไม้ไทย กรมวิชาการเกษตรจัดให้ 4 วัน 4 พืช มะพร้าวนำร่องผ่านฉลุยพืชแรก ปิดท้ายลำไยจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน พร้อมส่งสัญญาณแจ้งเตือนเกษตรกรและผู้ประกอบการจีนเน้นย้ำให้เฝ้าระวังศัตรูพืชเข้มข้นทั้งในสวนและโรงคัดบรรจุ สุดปลื้มจีนทึ่งมาตรการปราบปรามสวมสิทธิ์ผลไม้ไทยเฉียบ

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานศุลกากรจีนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) แจ้งความประสงค์ขอสุ่มตรวจประเมินสวนและโรงคัดบรรจุผลไม้ทุเรียน ลำไย มังคุด และมะพร้าวของไทยที่ส่งออกไปจีนจำนวน 3 สวน 3 โรงคัดบรรจุ ต่อ 1 พืชเพื่อสร้างความมั่นใจในการควบคุมดูแลศัตรูพืชในสวนผลไม้และมาตรการควบคุมและป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ของไทยนั้น กรมวิชาการเกษตรได้จัดแผนการตรวจประเมินผลไม้ทั้ง 4 ชนิด โดยมีเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร

เกษตรกรเจ้าของสวน และผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ ปฏิบัติงานจริงให้ผู้เข้าร่วมการตรวจประเมินฝ่ายจีนจำนวน 5 รายได้ตรวจประเมินผ่านระบบ VDO Conference โดยผู้รับการตรวจประเมินฝ่ายไทยเป็นหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1, 2, 5, 6 และ 7 และมีผู้แทนจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงปักกิ่ง และผู้แทนจากฝ่ายเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว ร่วมอยู่ในการตรวจประเมินดังกล่าวด้วย

ตามแผนการตรวจประเมิน วันที่ 30 มิถุนายน 2564 ได้ตรวจประเมินสวนและโรงคัดบรรจุมะพร้าวเป็นพืชแรก โดยเป็นสวนมะพร้าวของเกษตรกร จ. ราชบุรี 2 สวนและ จ.กำแพงเพชร 1 สวน โรงคัดบรรจุ จ.ราชบุรีจำนวน 3 โรงคัดบรรจุ วันที่ 2 กรกฎาคม 2564 ตรวจประเมินสวนมังคุด จ.จันทบุรีจำนวน 3 สวน และโรงคัดบรรจุ จ.จันทบุรีจำนวน 3 โรงคัดบรรจุ วันที่ 5 กรกฎาคม 2564 ตรวจประเมินสวนทุเรียน จ.ชุมพร จำนวน 3 สวน และโรงคัดบรรจุ จ.ชุมพรจำนวน 3 โรงคัดบรรจุ วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 ตรวจประเมินสวนลำไย จ.ลำพูนจำนวน 2 สวน และจ.เชียงใหม่ 1 สวน โรงคัดบรรจุ จ.ลำพูน 2 โรงคัดบรรจุ และจ.เชียงใหม่ 1 โรงคัดบรรจุ

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า จากผลการตรวจประเมินสวนและโรงคัดบรรจุพืชทั้ง 4 ชนิดในภาพรวมทั้งหมดเบื้องต้นผ่านการพิจารณาจากฝ่ายจีน แต่อย่างไรก็ตาม จีนได้เน้นย้ำให้ไทยเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันศัตรูพืชในแปลงปลูกของเกษตรกรและโรงคัดบรรจุอย่างเข้มงวด เนื่องจากที่ผ่านมาเคยตรวจพบศัตรูพืชในลำไยส่งออกจากไทย ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้รับข้อคิดเห็นดังกล่าวเพื่อแจ้งให้เกษตรกรและผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุได้ทราบพร้อมกับได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชของกรมวิชาการเกษตรเพิ่มความเข้มงวดในตรวจสอบเพิ่มขึ้นต่อไป รวมทั้งได้แจ้งให้ฝ่ายจีนทราบว่าจะมีเจ้าหน้าที่ภายในพื้นที่ของกรมวิชาการเกษตรเข้าไปตรวจติดตามแปลงเกษตรกรปีละ 1 ครั้งตามข้อกำหนดของ GAP พร้อมกับให้คำแนะนำเกษตรกรเรื่องศัตรูพืชและการเฝ้าระวังศัตรูพืชในสวน

นอกจากนี้ ฝ่านจีนได้เน้นย้ำการควบคุมและป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด 19 ภายในสวนและโรงคัดบรรจุ ซึ่งฝ่ายจีนให้ความสำคัญตั้งแต่จุดรับวัตถุดิบที่ต้องมีการคัดกรองคนงาน มีการตรวจวัดอุณหภูมิพนักงานก่อนเข้า-ออกโรงงาน มีการเว้นระยะห่างของพนักงาน รวมถึงมีการฆ่าเชื้อสำหรับวัสดุอุปกรณ์/รถขนย้ายสินค้า/ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรจะได้แจ้งให้ผู้ประกอบการได้เฝ้าระวังและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

“โดยรวมแล้วการตรวจประเมินครั้งนี้ผ่านไปด้วยดีโดยไทยได้รับข้อเสนอแนะของฝ่ายจีนเพื่อนำมาเน้นย้ำให้เกษตรกรและผู้ประกอบการได้เฝ้าระวังทั้งเรื่องศัตรูพืชและการปนเปื้อนเชื้อไวรัส โควิด-19 ซึ่งเป็นข้อกังวลของฝ่ายจีนเพิ่มมากขึ้นจากเดิม พร้อมกันนี้จีนยังได้ติดตามข่าวการปราบปรามการสวมสิทธิ์ผลไม้จากประเทศอื่นเพื่อส่งออกไปจีนของไทยและชื่นชมการดำเนินการดังกล่าว โดยเฉพาะการสวมสิทธิ์ทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปัจจุบันจีนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนผลสดจากประเทศไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้นโดยขอให้ไทยดำเนินการตามมาตรการป้องกันดังกล่าวอย่างเข้มงวดต่อไป” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

สสก.1จ.ชัยนาท โชว์ผลงานเด่นเกษตรจังหวัดสิงห์บุรี ดันเกษตรกรนักประดิษฐ์ ณรงค์ วิมา เป็นศพก.เครือข่ายต้นแบบใช้เทคโนโลยีผสานภูมิปัญญาชาวบ้านเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกพืชแบบง่ายด้วยสิ่งประดิษฐ์ต้นทุนต่ำ แถมเปิดกว้างให้เข้าเรียนรู้ได้เต็มที่

นายวีระชัย เข็มวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 (สสก.1) จังหวัดชัยนาท เปิดเผยว่าศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรหรือศพก. เป็นอีกหนึ่งนโยบายการขับเคลื่อนที่สำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมส่งเสริมการเกษตร ทั้งนี้ในฐานะที่สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริม ศพก .รวมถึง ศพก.เครือข่ายในพื้นที่รับผิดชอบ 9 จังหวัดภาคกลาง

ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สระบุรี ลพบุรี และกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีศูนย์ศพก.หลักอยู่ในทุกอำเภอ จำนวน 78 ศูนย์ และศูนย์เครือข่าย เช่น ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน เป็นต้นอีกจำนวน 1,061 ศูนย์ ศูนย์เรียนรู้ต่าง ๆ นี้ สามารถเชื่อมโยงและให้บริการความรู้และข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ได้เข้ามาศึกษาการทำกิจกรรมทางการเกษตรที่ตนเองสนใจและนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิต ได้หลากหลายตามศักยภาพพื้นที่ โดยไม่ต้องไปศึกษาในพื้นที่ห่างไกลถิ่นที่อยู่ของตน

“ศพก.รวมถึงศพก.เครือข่าย ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร โดยเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จจากการปฏิบัติจริงในพื้นที่และจากการขับเคลื่อนส่งเสริมและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของ สสก.1 จ.ชัยนาท ได้เกิดความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม และได้มีการขยายผลไปสู่เกษตรกร เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ภายใต้การดำเนินการของสำนักงานเกษตรจังหวัดสิงห์บุรี ที่สามารถพัฒนาทำให้ ศพก.เครือข่ายต้นแบบด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีผสานภูมิปัญญาชาวบ้านของนายณรงค์ วิมา” นายวีระชัยกล่าว

นางสาวรุจิพัชร บุญจริง เกษตรจังหวัดสิงห์บุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า นายณรงค์ วิมา เป็นเกษตรกรที่มีความพยายาม ความอุตสาหะ ความคิดสร้างสรรค์ และใช้เทคโนโลยีผสานภูมิปัญญาชาวบ้าน มาดัดแปลง และประยุกต์ใช้ในด้านการทำวัสดุ อุปกรณ์ทางการเกษตรอีกทั้งไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนาอาชีพการเกษตรของตนเอง โดยการทำสวนพืชผักแบบผสมผสานในพื้นที่ 1 ไร่ 1 งาน สามารถสร้างรายได้วันละหลายร้อยบาท และมีรายได้เกือบตลอดปี สำนักงานเกษตรจังหวัดสิงห์บุรี และสำนักงานเกษตรอำเภออินทร์บุรี จึงได้คัดเลือกให้เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเครือข่าย หรือศพก.เครือข่ายต้นแบบ เป็นศูนย์กลางการศึกษาเรียนรู้ของเกษตรกรและประชาชนที่สนใจ

ด้าน นายณรงค์ วิมา เกษตรกรเจ้าของศพก.เครือข่ายต้นแบบ อยู่บ้านเลขที่ 32/1หมู่ 4 ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี กล่าวว่า ในการคิดในการสร้างประดิษฐ์ วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ ในด้านการเกษตร จะเน้นในสิ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกพืชแบบง่ายๆ เป็นเทคโนโลยีที่ไม่สลับซับซ้อน มีต้นทุนต่ำ และเกษตรกรทั่วไปสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ เช่น ชุดระบบการให้ปุ๋ยไปกับน้ำ ด้วยการใช้ขวดเครื่องดื่มพลาสติกขนาดใหญ่กับท่อพีวีซี และหัวมินิสปริงเกอร์ โดยชิ้นส่วนต่างๆ สามารถถอดประกอบและเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่างๆได้ สะดวกต่อการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีกรรไกรตอนกิ่งเงินแสน ที่ประยุกต์จากคีมตัดลวด ดัดแปลงมาเป็นกรรไกรตอนกิ่งไม้ ที่ใช้ได้สะดวก รวดเร็ว สามารถตอนกิ่งไม้ได้เงินเรือนแสน

“สำหรับเครื่องห่อผลไม้อย่างง่าย ผลิตจากท่อพีวีซี สามารถทำเองได้โดยง่าย อีกทั้งสะดวกในการใช้งาน ไม่ต้องปีนป่ายไปห่อผลไม้ที่ต้นสูง ใช้สะดวกสบาย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายส่วนขวดดักปลาที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านกับวิธีหาปลาแบบง่ายๆ โดยใช้ขวดน้ำพลาสติกที่หาได้ทั่วไปนำมาเจาะรูและดัดแปลง ใช้เหยื่อล่อ ก็จะได้ปลาขนาดเล็กมาบริโภคในครอบครัวและเหลือจำหน่ายเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน”

“ในฐานะ ศพก.เครือข่าย ยินดีต้อนรับทุกคนที่สนใจ และพร้อมให้คำปรึกษาแนะนำ และสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Facebook : ณรงค์ ท่างาม วิมา หรือ Instragram : Narong Ta-ngam Wima และ Youtube Chanel: Narong Wima” นายณรงค์ กล่าวทิ้งท้าย

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ด้านการเกษตร ว่า จากที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 เห็นชอบให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่ ปี 2564 เป็นต้นไป

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ด้านการเกษตร โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พร้อมด้วยสำนักแผนงานและโครงการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทนสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าว จะกำหนดแนวทาง มาตรการ และกลไกการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ปี 2564 – 2570 ที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร ตลอดจนวางระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

“สำหรับการขับเคลื่อนภาคการเกษตรด้วย BCG Model มีเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรของประเทศไทยสู่ 3 สูง คือ ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูง รายได้สูง ด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา ยกระดับผลผลิตเกษตรสู่มาตรฐานสูง ครอบคลุมทั้ง ด้านคุณภาพ โภชนาการ ความปลอดภัย และระบบการผลิตที่ยั่งยืน ให้การทำการเกษตรเป็นอาชีพที่สร้างรายได้สูง มีผลิตสินค้าเกษตรพรีเมียม สินค้าเชิงนวัตกรรมที่หลากหลาย กำหนดราคาขายได้ตามคุณภาพของผลผลิตเกษตร อันจะส่งผลให้ GDP ภาคเกษตรเติบโตอย่างสมดุลและมีเสถียรภาพ รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรการเกษตรอย่างสมดุลและยั่งยืน” เลขาธิการ สศก. กล่าว

ด้านนางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการ สศก. กล่าวว่า แนวทางการพัฒนาภาคการเกษตรด้วย BCG Modelจะดำเนินการใน 4 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที่ 1 อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรทางการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน แนวทางที่ 2 ส่งเสริมเกษตรสมัยใหม่ การผลิตสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง แนวทางที่ 3 พัฒนาเกษตรกรมืออาชีพและเสริมสร้างความเชี่ยวชาญของบุคลากรภาครัฐ และ แนวทางที่ 4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะคัดเลือกโครงการและกิจกรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ในปีงบประมาณ 2565 ที่สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงาน BCG Value Chain ภาคการเกษตร ภายใต้หลักการตลาดนำการผลิต และให้หน่วยงานระดับกรม จัดทำโครงการที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน BCG ภาคการเกษตร เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2566 – 2570 รวมทั้งการขับเคลื่อนในระดับจังหวัดต่อไป

“ขณะนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้คัดเลือกจังหวัดนำร่อง 5 จังหวัดเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งกำหนดชนิดของสินค้า ประกอบด้วย จังหวัดราชบุรี มีสินค้ามะพร้าวน้ำหอม อ้อย สุกร และ โคนม จังหวัดลำปาง สินค้าข้าวเหนียว และไผ่ จังหวัดขอนแก่น สินค้าอ้อย และหม่อนไหม จังหวัดจันทบุรี สินค้าทุเรียน และมังคุด และจังหวัดพัทลุง สินค้าข้าว โดยได้จัดทำ BCG Value Chain ของสินค้าเป้าหมาย เร่งสร้างการรับรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมจัดทำแผนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ยกระดับผลผลิตทางการเกษตร จากการผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย (More for Less) ไปสู่การผลิตสินค้า พรีเมี่ยม ที่ผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก (Less for More) เพื่อนำพาประเทศไทยไปสู่เป้าหมายของการเป็นประเทศที่มีรายได้สูง และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน” รองเลขาธิการ สศก. กล่าว

“เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลให้น้ำท่วมสวนเงาะ ทุเรียน กระท้อน ของชาวสวนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีผลผลิตเสียหายเป็นจำนวนมาก ประชาชนเกิดความเครียด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ออกอากาศ 24 ชั่วโมง เพื่อผ่อนคลายความเครียดไม่ว่าจะเป็นนักเรียนหรือแม้นกระทั่งพ่อ แม่ ผู้ปกครองของนักเรียนได้รับชมรายการทางด้านการศึกษา ด้านภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส และด้านวิชาชีพ สามารถนำความรู้ที่ได้รับชมมาใช้เป็นทักษะ หรือแนวทางในการประกอบวิชาชีพต่อไปได้ นับตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบันสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ออกอากาศ 24 ชั่วโมง มาเป็นเวลา 14 ปี และไม่เคยหยุดการออกอากาศ…”

(คัดมาจากบางส่วนของบทความเรื่อง การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม อ่านฉบับเต็มที่ https://sites.google.com/site/princessict21/bthkhwam-phises/kar-suksa-thang-kil-phan-dawtheiym)

จากบทความข้างต้นนี้ ผมคิดว่าเหตุการณ์ที่น้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลให้น้ำท่วมสวนเงาะ ทุเรียน กระท้อน ของชาวสวนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีผลผลิตเสียหายเป็นจำนวนมาก ประชาชนเกิดความเครียด เราน่าจะนำมาปรับใช้กับวิกฤตโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี ซึ่งคราวนี้เครียดกันทั้งประเทศและทั่วโลกก็ว่าได้

เหตุการณ์โควิด-19 เกิดมาปีกว่าๆจะครบ 2 ปี ในอีกไม่นานนี้ ผมคิดว่าเราน่าจะตั้งหลักกันได้แล้วว่าโควิดจะยังอยู่กับเราอีกนานตราบที่พลโลกยังไม่รู้สึกรู้สาไม่รู้รักสามัคคีมีระเบียบวินัยในตัวเอง ถึงคราวที่ทุกคนต้องเคารพกติกาที่โควิดได้สร้างขึ้น ไม่งั้นจะอยู่กันหวาดระแวงซึ่งกันและกันไปอีกนาน

ระหว่างนี้ที่หยุดเชื้อเพื่อชาติหยุดทำงานอยู่ที่บ้านกันเป็นส่วนใหญ่และส่วนหนึ่งก็คงจะหยุดยาว เพราะไม่มีงานให้ทำเหมือนแต่ก่อน รัฐบาลจะเยียวยาด้วยเงินคงจะไม่ตลอดไป จะเอาเงินที่ไหนมาเยียวยา สิ่งที่จะเยียวยาได้ตลอดไปคือการงานอาชีพ…

ผมนั้นก็เป็นสื่อมวลชนเกษตรตัวเล็กๆในนาม “เกษตรก้าวไกล” ได้เห็นความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกรไทย พบว่ายังเป็นอาชีพที่ลำบากยากจน แต่ท่ามกลางความลำบากยากจนก็ยังมีแสงสว่างให้เห็น แต่จะเห็นกันได้กี่คน..ท่ามกลางวิกฤตโควิดเราเห็นได้ชัดว่าภาคการเกษตรคือทางรอด เพราะผลิตข้าวปลาอาหารที่ทำให้มีชีวิตรอดได้ แต่จะรอดเพื่อให้เข้ากับยุคทันสมัยได้อย่างไร ตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่จะต้องพัฒนากันต่อไป

(เกษตรคือประเทศไทย ถ้าทำให้เกษตรเจริญ ประเทศไทยของเราก็จะเจริญ https://bit.ly/2V0J2I1)

เมื่อปีที่แล้วเราได้จัดทำโครงการ “30วันปันความรู้เพื่อเกษตรกรไทย” (โควิดรอบใหม่นี้เราจัดโครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย) เพราะเรามองว่าการเยียวยาด้วยความรู้คือความสำคัญสูงสุดที่จะเกิดความยั่งยืนในชีวิต “เงินทองยิ่งใช้ยิ่งหมดไปแต่ความรู้ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่มพูน” จะเป็นไปได้ไหมที่ระหว่างนี้ที่เรากำลังให้ทุกคนหยุดอยู่กับบ้านจะได้มีการเยียวยากันด้วยความรู้อย่างเป็นระบบ…

บ้านเรานั้นเมื่อมองดูให้ดีๆมีการงานอาชีพที่หลากหลายมาก เอาง่ายๆอย่างอาชีพปลูกทุเรียนจะพบว่ามีอาชีพที่เกี่ยวเนื่องมากมายที่เราน่าจะยกระดับหรือพัฒนาให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานและนำมาเผยแพร่ให้คนไทยได้มีอาชีพที่มั่นคง อย่างเช่น คนทำพันธุ์ทุเรียนขาย คนทำปุ๋ยขาย คนตัดคนรับทุเรียน คนขนส่งทุเรียน คนขายทุเรียน คนแปรรูปทุเรียน คนรับปลูกทุเรียน คนรับดูแลสวนทุเรียน ฯลฯ นี่ยังไม่รวมเครื่องไม้เครื่องมือหรือเครื่องจักรกลเกษตรต่างๆ ชนิดที่เรียกว่ายังมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆอีกมากมายที่จะสามารถพัฒนาต่อยอดให้เป็นอาชีพของคนไทยได้

ไม่อยากให้คนไทยเราหลงใหลได้ปลื้มว่าเราเป็นเบอร์ 1 ทุเรียนโลก ครองความเป็นเจ้าทุเรียนมาหลายปีติดต่อกัน แต่อยู่ๆเมื่อวัดมูลค่าตลาดจะเกิดมูลค่าที่ต่ำเมื่อเทียบกับล้งหรือพ่อค้าคนกลางหรือคนที่นำผลผลิตของเราไปแปรรูปในอนาคตอันใกล้นี้

เมื่อถึงวันนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับที่เราขายข้าวเปลือกหรือข้าวสาร ส่งออกเป็นอันดับ 1 แต่ชาวนาผู้ปลูกข้าวยังยากจนอยู่…เราคงไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น

เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผานมาได้มีโอกาสสื่อสารกับทางสยามคูโบต้าบอกว่าอยากจะจัดกิจกรรมเสริมความรู้คือติดอาวุธความรู้ด้านดิจิทัลให้กับพี่น้องเกษตรกรไทย โดยให้ไปจัดในสถานที่ไหนสักแห่งเหมือนจัดการศึกษาทางไกลพระราชทาน จากโรงเรียนวังไกลกังวล จากนั้นทำการถ่ายทอดสดออกไปทั่วประเทศ ซึ่งสมัยนี้ทำได้สะดวกและง่ายขึ้นมาก

เมื่อได้ฟังดังนี้ก็มาเปิดข้อมูลเรื่องการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมก็ทำให้เกิดแรงบันดาลใจลึกๆว่าเราน่าจะมีหน่วยงานไหนที่เป็นเจ้าภาพหลักและส่งเสริมให้เกิดเจ้าภาพย่อยๆขึ้นมา คือระหว่างที่คนไทยหยุดอยู่บ้านและใช้ออนไลน์เป็นเครื่องมือนี้เราก็น่าจะสอดแทรกหลักสูตรการงานอาชีพต่างๆขึ้นมา ด้วยการออกแบบแฟลตฟอร์มเสริมอาชีพสร้างรายได้เร่งด่วน เพื่อสร้างโอกาสและทางเลือกใหม่ๆขึ้นมา ซึ่งผมเชื่อว่าเราคนไทยจำนวนมากที่มีความรู้พร้อมแบ่งปันให้เพื่อนร่วมชาติ เพียงแต่เรายังขาดเจ้าภาพหลัก…

ผมก็บ่นไปยาวพอสมควรตาประสาคนที่เริ่มมีอายุมากขึ้น ตนเองนั้นก็ใช่ว่าจะสบาย เปรียบไปก็เหมือนลอยคอกลางมหาสมุทร พยายามว่ายน้ำ แม้จะมองไม่เห็นฝั่ง ซึ่งผมเชื่อว่าคนไทยทุกคนยามนี้ตกสภาพเดียวกันไม่ว่าคนรวยคนจน ถ้าโควิดยังอยู่ มีทางเดียวที่เราจะรอดได้คือความร่วมมือร่วมใจสมัครสมานสามัคคีตามที่กล่าวข้างต้นแล้วครับ

เกษตรฯ แจงผลการดำเนินงานโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ด้านพืช ยกเว้นข้าว ทำได้แล้ว 100% พร้อมประสานงานอีก 5 หน่วยงาน เร่งรัดดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้ได้ตามแผน เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ตามที่มีการรายงานในระบบ co-farm ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 พบว่า ภาพรวมโครงการ มีกลุ่มแปลงใหญ่ที่แจ้งเข้าร่วมโครงการ ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2564 จำนวน 3,501 แปลง แบ่งเป็นกรมส่งเสริมการเกษตร 1,101 แปลง กรมการข้าว 2,101 แปลง กรมปศุสัตว์ 117 แปลง กรมประมง 29 แปลง การยางแห่งประเทศไทย 136 แปลง และกรมหม่อนไหม 17 แปลง ทั้งนี้ มีกลุ่มแปลงใหญ่ที่แจ้งขอยกเลิกการเข้าร่วมโครงการ จำนวน 120 แปลง โดยแบ่งเป็น กรมส่งเสริมการเกษตร 36 แปลง กรมการข้าว 72 แปลง กรมปศุสัตว์ 8 การยางแห่งประเทศไทย 2 แปลง และกรมหม่อนไหม 2 แปลง ดังนั้นคงเหลือกลุ่มแปลงใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งสิ้นจำนวน 3,381 แปลง แบ่งเป็น

กรมส่งเสริมการเกษตร 1,065 แปลง กรมการข้าว 2,029 แปลง กรมปศุสัตว์ 109 แปลง กรมประมง 29 แปลง การยางแห่งประเทศไทย 134 แปลง และกรมหม่อนไหม 15 แปลง โดยผลการดำเนินงานภาพรวม มีกลุ่มแปลงใหญ่ที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการระดับจังหวัดแล้ว 2,921 แปลง คิดเป็นร้อยละ 86.39 ของจำนวนแปลงที่เข้าร่วมโครงการ ดำเนินการจัดทำ MOU กับหน่วยงานที่เป็นเจ้าของสินค้าแปลงใหญ่แล้ว 2,873 แปลง คิดเป็นร้อยละ 84.97 ของจำนวนแปลงที่เข้าร่วมโครงการ และโอนเงินให้กับกลุ่มแปลงใหญ่แล้ว 2,566 แปลง คิดเป็นร้อยละ 75.89 ของจำนวนแปลงที่เข้าร่วมโครงการ วงเงินงบประมาณรวมกว่า 7,112 ล้านบาท

สำหรับความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด เฉพาะด้านพืช ยกเว้นข้าว ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้ดูแล ข้อมูล ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 พบว่า มีกลุ่มแปลงใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการ 1,065 แปลง ผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการระดับจังหวัดแล้ว 1,065 แปลง คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนแปลงที่เข้าร่วมโครงการ ดำเนินการจัดทำ MOU กับหน่วยงานที่เป็นเจ้าของสินค้าแปลงใหญ่แล้ว 1,065 แปลง คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนแปลงที่เข้าร่วมโครงการ และโอนเงินให้กับกลุ่มแปลงใหญ่แล้ว 1,065 แปลง คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนแปลงที่เข้าร่วมโครงการ วงเงินงบประมาณรวมกว่า 2,873 ล้านบาท ในส่วนของการเบิกจ่ายงบประมาณ กรมส่งเสริมการเกษตรได้สั่งการให้สำนักงานเกษตรจังหวัดเร่งรัดดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้ได้ตามแผน และเบิกจ่ายตามขั้นตอนและระเบียบราชการอย่างเคร่งครัด พร้อมประสานงานกับอีก 5 หน่วยงานที่ร่วมดำเนินโครงการเร่งรัดการดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่เกษตรกรต่อไป

สสก.3 จ.ระยอง เคาะแล้ว เกษตรกรดีเด่นอาชีพทำไร่ระดับเขตปี 64 ปลูกอ้อยโรงงาน ผลผลิต 1 ไร่ ได้ 15 ตัน เผย ใช้หลัก มุ่งพัฒนา เพิ่มเทคโนโลยี ลดต้นทุนการผลิต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาประยุกต์ใช้ในการผลิต ปัจจุบันเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

นายปิยะ สมัครพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง (สสก. 3 จ.ระยอง) เปิดเผยว่า สำนักงานฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการคัดเลือก เกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรดีเด่นที่ผ่านการคัดเลือกจากระดับจังหวัด เพื่อส่งให้กรมส่งเสริมการเกษตรพิจารณาคัดเลือกเป็นดีเด่นระดับประเทศ ซึ่งจะเข้ารับพระราชทานโล่ในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญต่อไปนั้น
ในส่วนของสาขาทำไร่ระดับเขตนั้นคณะกรรมการพิจารณาให้ นายชวการ ช่องชลธาร เกษตรกรทำไร่อ้อย และ Young Smart Farmer จังหวัดชลบุรี เป็นเกษตรกรดีเด่นอาชีพทำไร่ ระดับเขต ปี 2564

นายปิยะ กล่าวต่อไปว่า ด้วย นายชวการ เป็นเกษตรกรรายที่มีวิสัยทัศน์ในการทำงานแบบ “มุ่งพัฒนา เพิ่มเทคโนโลยี ลดต้นทุนการผลิต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ โดยปลูกอ้อยโรงงานกว่า 60 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 15 ตันต่อไร่ ขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยของพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศจะอยู่ที่ 10-13 ตันต่อไร่

“มีการปรับสภาพพื้นที่ปลูกอ้อยแบบร่องคู่ ทำให้สะดวกในการบริหารจัดการ กำจัดวัชพืชด้วยรถไถระหว่างร่องและใส่ปุ๋ยในคราวเดียว ทำให้ลดต้นทุนการใช้สารกำจัดวัชพืช เก็บเกี่ยวโดยใช้รถตัดอ้อย ควบคู่เครื่องอัดใบอ้อยจึงไม่ต้องเผาเพื่อเตรียมพื้นที่ปลูกในรอบต่อไป และรับจ้างอัดใบอ้อย ตัดอ้อย ให้กับเกษตรกรที่สนใจรายอื่นๆ สร้างรายได้กว่า 800,000 บาท ต่อรอบการผลิต นับเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการผลิตและการจัดการแปลงปลูก เพื่อลดปัญหาการเผาเศษซากอ้อย ในช่วงเก็บผลผลิตช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังนำแผงโซล่าเซลล์มาปรับใช้ ในการให้น้ำอ้อยด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ภายในแปลงปลูกอีกด้วย” นายปิยะ กล่าว

ด้าน นายชวการ ช่องชลธาร กล่าว ว่า ได้ยึดหลักการทำงาน 4 M คือ Man Machine Money Management คือ การบริหารจัดการโดยลดกำลังคน ลดแรงงาน ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม เครื่องจักร เข้ามาประยุกต์ใช้ มีการดัดแปลงเครื่องจักร เช่น เครื่องโรยขี้ไก่ เครื่องอัดใบอ้อย เครื่องตัดอ้อย รถไถ และเครื่องใส่ปุ๋ยเคมี พร้อมวางแผนการผลิตให้ตรงกับสภาพอากาศและความต้องการของตลาด

“ปัจจุบันเป็นวิทยากรในโครงการเสริมสร้างทักษะ และส่งเสริมอาชีพการเกษตร กิจกรรม อบรมเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายอื่นๆ ด้วยการถ่ายทอดความรู้เพิ่มทักษะในการประกอบอาชีพให้แก่ผู้รับการอบรมนำไปปฏิบัติใช้เพื่อสร้างรายได้เสริมให้แก่คนในชุมชน ขณะที่แปลงปลูกเป็นแปลงต้นแบบและเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับการเข้ามาศึกษาดูงานของผู้ที่สนใจทั่วไป”นายชวการ กล่าว

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร สมัครเว็บจีคลับ ได้กำหนดให้ดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่นเป็นประจำทุกปี เพื่อเผยแพร่และยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้เป็นที่ปรากฏต่อสาธารณะชน เกิดความภาคภูมิใจในอาชีพตนเอง ตลอดจนเป็นเกษตรกรต้นแบบ

เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาผลงานจากตัวอย่างจริงของเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรดีเด่น ที่ประสบความสำเร็จด้านการประกอบอาชีพการเกษตร เพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรต่อไป

ทางล้งทุเรียนได้มีการทดสอบคุณภาพแล้วพบว่า พันธุ์จันทบุรี

มีความเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการส่งไปจำหน่ายในตลาดประเทศจีน แต่สิ่งที่เป็นปัญหาขณะนี้คือ ปริมาณผลผลิตทุเรียนทั้ง 3 สายพันธุ์ที่เกษตรกรได้ซื้อสายพันธุ์จากศูนย์ฯ ไปปลูกยังมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอกับการส่งออก ดังนั้นจึงได้มีการประสานขอความร่วมมือให้ช่วยผลักดันให้เกษตรกรได้มีการปลูกทุเรียนพันธุ์จันทบุรีทั้ง 3 สายพันธุ์เพิ่มมากขึ้น”

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กล่าวต่อไปว่า จากความต้องการของล้งถือว่า เป็นการสร้างโอกาสให้กับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนของไทยในการเพิ่มชนิดของทุเรียนที่สามารถส่งออกได้นอกจากทุเรียนสายพันธุ์หลักอย่างหมอนทอง ซึ่งทางศูนย์ฯมีแนวคิดที่เห็นด้วยในการส่งเสริมการปลูกให้มีมากขึ้น ด้วยทุเรียนสายพันธุ์จันทบุรีนั้นนอกจากมีความโดดเด่นในด้านรสชาติแล้ว ยังเป็นทุเรียนสายพันธุ์เบา ที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ภายในระยะเวลา 90-100 วัน ในขณะที่ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ต้องใช้ระยเวลาในการเก็บเกี่ยวนานถึง 120 วัน ทุเรียนพันธุ์จันทบุรีจึงสามารถส่งออกได้ก่อนทุเรียนพันธุ์หมอนทอง

“ดังนั้นทางศูนย์ฯจึงพร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่ในด้านวิชาการในการปลูกทุเรียนพันธุ์จันทบุรีทั้ง 3 สายพันธุ์ ภายใต้ผลงานศึกษาวิจัยของนักวิจัยของศูนย์ฯ ที่ได้ทำการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง จนได้องค์ความรู้ในด้านต่างๆที่พร้อมถ่ายทอดให้กับเกษตรกรที่สนใจ ขณะที่ด้านต้นพันธุ์ทุเรียนจันทบุรี ทั้ง 10 สายพันธุ์นั้นในแต่ละปี ศูนย์ฯมีความสามารถในการผลิตและจำหน่ายให้กับเกษตรกรที่สนใจประมาณ 10,000 ต้น” นายสมพร กล่าวในที่สุด

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีนั้น เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 63 หมู่ 6 ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โทร. 039-397-030 และ 039-397-146 ถือเป็นแหล่งศึกษาวิจัยด้านทุเรียนที่สำคัญของภาคตะวันออก และของประเทศไทย โดยผลงานที่สำคัญคือ การปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์จนได้ทุเรียนพันธุ์จันทบุรี 1-10

เป็นที่ทราบกันว่า SME เกือบ 3 ล้านราย เป็นฟันเฟืองที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจของบ้านเรา ซึ่งในสภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มี SMEจำนวนไม่น้อยได้รับผลกระทบ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ได้ออกประกาศฉบับใหม่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการโดยตรง

ด้วยเหตุนี้เอง สมาคมการค้าปลีกและเอสเอ็มอีทุนไทย จึงได้ร่วมกับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ ตอกย้ำภารกิจ “เซเว่น อีเลฟเว่น กองหนุน SME” โดยจัดงานสัมมนาออนไลน์ “สร้างเถ้าแก่ SME สู่ความยั่งยืน รุ่นที่ 2” มุ่งเน้นให้ความรู้ด้านมาตรฐานการผลิตสินค้าในตลาด Modern Trade เพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลาง มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับระเบียบหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อทำให้สินค้ามีคุณภาพและได้มาตรฐานตามที่กฏหมายกำหนด

โดยได้รับเกียรติจาก น.ส.อินทิรา พฤกษ์รัตนนภา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ.ซีพี ออลล์ เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนาในครั้งนี้ โดยมีตอนหนึ่งว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และหน่วยงานราชการต่างๆ ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ จึงอยากเชิญชวนและขอความร่วมมือผู้ประกอบการทุกท่านต้องกลับไปทบทวนและพัฒนาระบบมาตรฐานการผลิตเพื่อให้มีคุณภาพตามที่กำหนด เพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการร้องเรียน หรือ ลูกค้าทิ้งเราไป โดยที่ไม่ได้บอกกล่าว

ขณะที่ปัจจุบันหน่วยงานราชการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น จะเห็นว่ามีกฎหมายใหม่ๆเกิดขึ้นมาหลายฉบับ ซึ่งเอื้ออำนวยหรือให้ความสะดวกกับองค์กรอิสระ เพื่อที่จะตรวจสอบสินค้า อาหารในตลาดได้ ถ้าเจอว่าสินค้าเหล่านั้นมีปัญหา หรือมีอะไรที่ไม่เป็นไปตามที่โฆษณาก็สามารถรวมตัวกันแล้วฟ้องร้องได้มากยิ่งขึ้น

ต่อจากนั้น นายเมธาสิทธิ์ ศิลาสิทธิพร ผู้เชี่ยวชาญด้านสินค้าเกษตร บมจ.ซีพี ออลล์ มาให้ความรู้ในหัวข้อ “มาตรฐานสินค้าเกษตรกับระบบ GMP โรงคัดบรรจุผัก ผลไม้สดบางชนิด (ป.สธ.ฉบับที่386)” โดยกล่าวว่า ปกติการขายสินค้าเกษตรมีเรื่องการประกันคุณภาพเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ในส่วนเซเว่นฯ จะดูเรื่องเอกสารด้านคุณภาพ เอกสารอนุญาตการผลิต และจะเข้าสู่กระบวนการตรวจสถานที่ผลิต (Audit) โรงคัดบรรจุ และเมื่อมีการค้าขายกันแล้ว จะตรวจติดตามสินค้าบนชั้นวาง โดยดูในเรื่องของข้อร้องเรียนต่างๆ รวมไปถึงการสุ่มสินค้ามาตรวจสอบด้านคุณภาพ

ส่วนระบบคุณภาพที่ใช้กันอยู่ หลักการของซีพี ออลล์ จะดูสินค้าเกษตร คือ การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร GMP (Good Manufacturing Practice) รวมไปถึงการดูเรื่องอายุการเก็บรักษา (Shelf life) ของสินค้า รวมไปถึงระบบการสอบย้อนกลับ หรือ ระบบ “TRACEABILITY” ตลอดจนการจัดการข้อร้องเรียนต่างๆ โดยเน้นด้าน Food Safety และต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

สำหรับผัก ผลไม้ มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เลขที่ 386 พ.ศ. 2560 เรื่อง กําหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษา ผักหรือผลไม้สดบางชนิด และการแสดงฉลาก ในเนื้อหาจะมีการกำหนดวิธีผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่เกี่ยวกับ GMP หมายถึงผักและผลไม้สดบางชนิด ไม่ใช่ทุกชนิดที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งตามประกาศสธ.ฉบับนี้ เมื่อเวลาไปยื่นขอเลข อย. ทางอย.ต้องไปตรวจอสอบสถานที่ผลิตด้วย จึงอยากให้ผู้ประกอบการไปศึกษาประกาศดังกล่าวที่จะบอกว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ถ้าทำตามนั้น จะผ่านแน่นอน โดยในมาตรฐาน GMP มีทั้งหมด 6 หมวดด้วยกัน

หมวดที่ 1 เป็นเรื่องของสถานที่ตั้งและสถานที่ผลิต ต้องสะอาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

หมวดที่ 2 เรื่องเครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ง่ายต่อการทำความสะอาดหรือไม่ สามารถทำให้เกิดการปนเปื้อนลงสู่อาหารได้หรือไม่ ทนต่อการกัดกร่อนได้หรือไม่

หมวดที่ 3 การควบคุมกระบวนการผลิต โปรแกรมการผลิต ต้องมีทะเบียนเกษตรกร และต้องมีทะเบียนผู้รวบรวมผลผลิต

หมวดที่ 4 เรื่องสุขาภิบาล เน้นไปที่การป้องกัน กำจัดสัตว์ และแมลง อย่างเช่น มีเครื่องดักแมลงหรือไม่

หมวดที่ 5 การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด จะพูดถึงน้ำยาทำความสะอาดและน้ำยาในการใช้ในการฆ่าเชื้อต่างๆ ว่ามีการแยกหรือไม่ ในการจัดเก็บและมีผู้ควบคุมหรือไม่

หมวดที่ 6 เรื่องบุคคลากร และสุขลักษณะของผู้ปฎิบัติงาน คนที่มาทำงานเกี่ยวกับอาหารต้องไม่เป็นโรคติดต่อที่น่ารังเกียจตามประกาศของ สธ. และต้องควบคุมการรักษาความสะอาดส่วนบุคคลด้วย

“เรื่องนี้ค่อนข้างสำคัญ บางบริษัทฯ ทำทุกอย่างมาดีหมดเลย แต่มาจบที่บุคคลากร ปรากฎว่าพนักงานที่ทำงาน ไม่ได้ทำตามข้อระเบียบที่กำหนดไว้ ทำให้ทุกอย่างไม่เป็นตามที่ต้องการ สินค้าก็มีปัญหา อาจเจอเส้นผม เจอแมลง ทำให้สินค้าโดนผู้บริโภคร้องเรียน

ในส่วนการแสดงฉลากที่ถูกต้อง ต้องมีชื่อสถานที่ผลิต เลขสถานที่ผลิต มีสัญญลักษณ์ ตามที่ อย.กำหนด อย่างเช่น กล้วยแปรรูปที่ขายอยู่ จะมีวันผลิต วันหมดอายุ มีล็อตนัมเบอร์ และระบุว่าควรเก็บที่อุณภูมิที่เท่าไหร่ การแสดงสถานที่เลขที่ผลิต

ทั้งนี้หลังจาก 2 วิทยากรบรรยายเสร็จแล้ว ภาคบ่ายเป็นช่วง SME Clinic เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ได้ปรึกษาพูดคุยโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญของ ซีพี ออลล์ ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งผู้ประกอบการต่างปรึกษาและสอบถาม หลายเรื่อง อาทิ ขั้นตอนการขอ อย. และการตรวจประเมินสถานที่ผลิต ฯลฯ

เครือซีพีมุ่งมั่นร้อยเรียงความดี สร้างหนังสั้น “กตัญญู เท่าชีวิต” ภายใต้แนวคิด “ความกตัญญู ทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้” ถ่ายทอดเรื่องราวความรักที่แท้จริงของเด็กผู้หญิงที่สู้ชีวิต มุ่งมั่นใช้พลังแห่งความกตัญญูหาเงินรักษาพ่อที่ป่วย สร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่เห็นคุณค่าทุกความกตัญญู

เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดตัวภาพยนตร์สั้น “กตัญญู…เท่าชีวิต” ที่สร้างขึ้นภายใต้แนวคิด “ความกตัญญู ทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้” ถ่ายทอดเรื่องราวของความรักที่แท้จริงของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่สู้ชีวิต และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับครอบครัว ด้วยการเข้าแข่งขันวิ่งมาราธอนด้วยขาเพียงข้างเดียวเพื่อนำเงินรางวัลมารักษาพ่อที่ป่วย โดยหวังว่าความมุ่งมั่นไม่ท้อถอยจากพลังแห่งความกตัญญูจะเป็นแรงบันดาลใจและเป็นตัวอย่างของคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะทำทุกอย่างให้สำเร็จได้ แม้งานนั้นจะท้าทาย หรือทำให้สำเร็จได้ยากเพียงใดก็ตาม เพราะทุกความกตัญญู ไม่ว่าจะทำเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ย่อมมีความหมายและมีคุณค่าเสมอ

“ถ้าเรามีความรัก ความเมตตา ความสามัคคี ซึ่งมีพื้นฐานมาจากความกตัญญู ไม่ว่าจะมีความฝันหรือเป้าหมายอะไร เราจะทำสำเร็จได้ ด้วยความเชื่อที่ว่าความกตัญญู จะทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้ ดังเช่นรตี หญิงสาวผู้พิการคนนี้ เพราะคุณค่าของความกตัญญู เติบโตที่ไหน ที่นั่นจะงดงาม”

ทั้งนี้ ภาพยนตร์สั้น “กตัญญู…เท่าชีวิต” มีกำหนดเผยแพร่บนสื่อออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้สังคมไทยตระหนักถึงคุณค่าของความกตัญญู ที่จะทำให้เกิดการลงมือทำและให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัว ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างสังคมแห่งความกตัญญูรากฐานที่จะทำให้ประเทศยั่งยืน

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า คณะกรรมการบริหารกองทุน FTA ได้อนุมัติงบประมาณ จำนวน 25 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการพัฒนาข้าว จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มเกษตรกรทำนาเศรษฐกิจพอเพียง ต.กุดน้ำใส อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น วงเงิน 9.404 ล้านบาท มีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 ปี (ตั้งแต่ปี 2564 – 2571)

เพื่อพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ได้แก่ พันธุ์ กข.6 และพันธุ์หอมมะลิ 105 นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวขยายชุมชน และเมล็ดพันธุ์ข้าวหลักชุมชน โดยจำหน่ายให้แก่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว เครือข่ายขบวนการสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และศูนย์ข้าวชุมชนและแปรรูปเพิ่มมูลค่าเป็นข้าวสารบรรจุถุง โดยจะร่วมกับกรมการข้าวในการตรวจสอบและรับรองคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวตามระบบ GAP Seed และการบริหารจัดการระบบควบคุมภายใน (Internal Control System: ICS) การตรวจวิเคราะห์เมล็ดพันธุ์ข้าว 5 ขั้นตอน

รวมถึงการตรวจรับรองแปลงนา 3 ปี ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ และสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น และ 2. โครงการพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล EU/NOP ด้วยวิธีการบริหารจัดการน้ำเพื่อการทำเกษตรอินทรีย์ วงเงิน 15.598 ล้านบาท มีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี (ตั้งแต่ปี 2564 – 2567) โดยมีทีมที่ปรึกษาให้ความรู้คำแนะนำ แก้ไขปัญหา และกำกับดูแลตั้งแต่พื้นฐานกระบวนการผลิตให้ได้ผลผลิตข้าวอินทรีย์

ที่มีมาตรฐาน ตามข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล โดยปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวอินทรีย์ (Organic Thailand) เป็นการผลิตข้าวอินทรีย์ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลเพื่อการส่งออก และมีตลาดรับซื้อล่วงหน้าที่แน่นอน รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำ ด้วยการเติมน้ำใต้ดินระดับตื้นในพื้นที่แปลงนาอินทรีย์ เพื่อบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอกับพื้นที่เพาะปลูกข้าวอินทรีย์

“ทั้ง 2 โครงการดังกล่าว จะช่วยสร้างประโยชน์ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งในเรื่องของการมีศักยภาพ การแข่งขัน เพิ่มผลผลิต และลดต้นทุน รวมทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้อย่างมั่นคง จากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์และผลผลิตจากข้าว นอกจากนี้ เกษตรกรจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกข้าวตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์สากล ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการส่งออก เพิ่มช่องทางการประสานงานระหว่างภาคีภาครัฐและกลุ่มเกษตรกร ตลอดจนเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สมาชิกของกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น” เลขาธิการ สศก. กล่าว

ด้าน นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการ สศก. กล่าวว่า ปัจจุบัน เกษตรกรไทยประกอบอาชีพทำนาประมาณ 3.7 ล้านคน พื้นที่ปลูกข้าว รวม 80.67 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่นาปี 64.57 ล้านไร่ (ร้อยละ 80) และพื้นที่นาปรัง 16.10 ล้านไร่ (ร้อยละ 20) ผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ 453 กิโลกรัม/ไร่ ขณะที่ผลผลิตข้าวเฉลี่ยในประเทศอาเซียนอื่น ๆ อยู่ที่ 638 กิโลกรัม/ไร่

ซึ่งนับว่ายังต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน และในแต่ละปีมีความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 6 แสนตัน แต่เมล็ดพันธุ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังได้คุณภาพไม่ดีพอ ทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ และต้นทุนการผลิตสูง ซึ่งเป้าหมายสำคัญของ 2 โครงการเพื่อพัฒนาข้าวในครั้งนี้ จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากกรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Agreement : AFTA) เนื่องจาก ข้าว นับเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหวทางด้านราคา ผลผลิต โดยประเทศไทย ยังมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศ เพื่อนบ้านในอาเซียน นอกจากนี้ ข้าว ยังเป็นสินค้าเกษตรที่อยู่ในกลุ่มกำหนดโควตาภาษี (TRQ) อีกด้วย

“ข้าว ถือเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของไทยมาอย่างยาวนาน และจากความตกลงทางการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (Asean Free Trade Area : AFTA) ทำให้ประเทศไทยได้เปิดตลาดข้าวโดยลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ประเทศคู่แข่งในการผลิตข้าวที่สำคัญ เช่น เวียดนาม เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา จึงมีแนวโน้มที่จะส่งออกข้าวและเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น

ดังนั้น ไทยจึงควรผลิตสินค้าข้าว ซึ่งเป็นตลาดเฉพาะ (Niche Market) ที่กลุ่มผู้บริโภคให้ความสนใจบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค ซึ่ง สศก. โดยกองทุน FTA เรามีความพร้อมและให้การสนับสนุนเงินทุน ให้คำปรึกษา สำหรับนำไปพัฒนาศักยภาพ ทั้งในด้านการผลิต การตลาด เพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า และเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าเกษตรไทยอย่างเต็มที่” รองเลขาธิการ สศก. กล่าวทิ้งท้าย

กรุงเทพฯ 12 กรกฎาคม 2564 – อีกหนึ่งความภูมิใจของ บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทยมาอย่างยาวนานกว่าศตวรรษ ซึ่งไม่ได้เพียงส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ครองใจพี่น้องเกษตรกรในไทยเท่านั้น แต่ยังได้รับความไว้วางใจและการยอมรับในต่างประเทศ โดยล่าสุด เจียไต๋คว้ารางวัลสายพันธุ์ดีเยี่ยมระดับภูมิภาค หรือ รางวัล All-America Selections® Regional Winner จากการปรับปรุงพันธุ์แตงโม Century Star แตงโมไร้เมล็ดสายพันธุ์ใหม่ของเจียไต๋ โดยได้รับการตัดสินจากสถาบัน All-America Selections (AAS) ซึ่งเป็นเวทีระดับโลกและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ด้วยประสบการณ์นานนับศตวรรษ เจียไต๋ได้สั่งสมวิทยาการและความรู้เพื่อคิดค้นและปรับปรุงสายพันธุ์พืชมาอย่างต่อเนื่อง แตงโม Century Star เป็นหนึ่งในผลงานที่ได้วิจัยและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด เพิ่มมูลค่าผลิตผล และเพื่อฉลองการก้าวสู่ศตวรรษใหม่ของเจียไต๋ โดยชูเอกลักษณ์ที่จุดสีเหลืองคล้ายพระจันทร์และดวงดาวบนผิวของแตงโมที่มีสีเขียวเข้ม ซึ่งเป็นลักษณะแตงโมที่หาได้ยากในท้องตลาด เจียไต๋จึงได้นำจุดขายนี้มาพัฒนาต่อยอดและปรับปรุงคุณภาพจนเกิดเมล็ดพันธุ์คุณภาพสายพันธุ์ใหม่ แตงโม Century Star ขึ้น

นอกจากจุดสีเหลืองที่เป็นจุดเด่นแตกต่างจากพันธุ์ทั่วไปในท้องตลาดแล้ว แตงโม Century Star ยังโดดเด่นในเรื่องการเพาะปลูกที่ง่าย ต้นแข็งแรง ทนต่อโรค และสามารถปรับตัวเข้ากับแต่ละพื้นที่เพาะปลูกได้ดี และในส่วนของผลิตผล ก็มีรูปทรงที่สวย รสชาติอร่อย หวานฉ่ำ เนื้อแน่นกรอบ สีแดงสด และไร้เมล็ด น้ำหนักต่อผลอยู่ที่ 3-5 กิโลกรัม ซึ่งคุณสมบัติทั้งหมดนี้ทำให้ แตงโม Century Star สามารถคว้ารางวัลสายพันธุ์ดีเยี่ยมระดับภูมิภาค หรือ รางวัล All-America Selections® Regional Winner จาก All-America Selections (AAS) ได้สำเร็จ โดยสถาบัน AAS ก่อตั้งขึ้นในพ.ศ. 2475 เป็นองค์กรอิสระไม่แสวงหาผลกำไรและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทดสอบสายพันธุ์พืชใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งในทุกๆ ปี สายพันธุ์พืชใหม่ที่ยังไม่เคยวางจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกาจะถูกส่งมาให้ผู้เชี่ยวชาญได้ทดลองเพาะปลูก โดยสายพันธุ์ที่สามารถปลูกได้ประสิทธิผลดีจะได้รับคัดเลือกและการันตีรางวัลสายพันธุ์ดีเยี่ยม

นายมนัส เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวถึงรางวัลนี้ว่า “นับเป็นปีแห่งความภาคภูมิใจของเจียไต๋ ที่เมล็ดพันธุ์แตงโม Century Star ของเราสามารถคว้ารางวัลสายพันธุ์ดีเยี่ยม จาก AAS มาได้สำเร็จ แตงโม Century Star เป็นเสมือนดาวดวงใหม่ที่เจิดจรัสและสร้างความภาคภูมิใจให้ครอบครัวเจียไต๋ในโอกาสที่เราก้าวสู่ศตวรรษใหม่ของการดำเนินธุรกิจ รางวัล AAS นี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเจียไต๋ในการส่งมอบนวัตกรรมการเกษตรที่มีคุณภาพ และยังเป็นสิ่งที่สะท้อนว่าตลอดเวลากว่าศตวรรษ เราไม่เคยหยุดนิ่งที่จะพัฒนาตนเอง เรามีทีมงานและนักปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีศักยภาพ และเรามุ่งมั่นที่จะอยู่เคียงข้างพี่น้องเกษตรกร รวมถึงผู้บริโภค เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน”

นายสุภัทร เมฆิยานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสำนักวิจัยและพัฒนา บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวเสริมในรายละเอียดการปรับปรุงพันธุ์ว่า “ทีมนักปรับปรุงสายพันธุ์แตงโมเจียไต๋ ได้เล็งเห็นจุดเด่นที่น่าสนใจของแตงโมที่มีจุดสีเหลืองแบบสายพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งลักษณะจุดบนผิวแตงโมนี้เกษตรกรถือว่าเป็นสิ่งนำโชค เป็นคุณค่าทางจิตใจ จึงหาได้ยากและมีราคาสูง ทีมนักปรับปรุงพันธุ์พืชเจียไต๋จึงได้นำจุดเด่นนี้มาต่อยอด เพิ่มลักษณะเด่นด้านคุณภาพ และพัฒนาออกมาเป็น แตงโม Century Star ที่มีคุณสมบัติดีกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม

ไม่ว่าจะเป็นด้านเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ การเพาะปลูกที่ง่าย รวมถึงผลิตผลที่ดี รสชาติอร่อย ไร้เมล็ด และที่สำคัญตอบโจทย์ความต้องการของตลาด นอกจากนี้ เพื่อการันตีคุณภาพของสายพันธุ์ แตงโม Century Star จึงได้ถูกส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญ นักพืชสวน รวมถึงอาสาสมัครเกษตรกรต่างๆ ในเครือข่ายองค์กร AAS ทั่วสหรัฐอเมริกา ได้ทดลองปลูกและเปรียบเทียบกันในแต่ละภูมิภาคที่ล้วนมีสภาพแวดล้อมและอากาศที่แตกต่างกัน ซึ่งผลคือเราได้รับคะแนนโหวตสูงและสามารถคว้ารางวัล AAS Regional Winner มาครองได้ในที่สุด”

สำหรับการจัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพ แตงโม Century Star นี้ จะเริ่มออกสู่ตลาดครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา และสำหรับตลาดในประเทศไทย จะเริ่มวางจำหน่ายในเร็วๆ นี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ทาง Facebook: เมล็ดพันธุ์เจียไต๋ www.facebook.com/chiataiseed เว็บไซต์เจียไต๋ www.chiataigroup.com และช่องทางใหม่ที่พร้อมอัปเดตข่าวสารส่งตรงให้ถึงมือคุณ เพียงเพิ่มเพื่อนทาง Line: @CHIATAISEED

13 กรกฎาคม 2564 – ดีแทค ร่วมกับ LINE BK และ KBTG เปิดแคมเปญ ‘ใจดี มีวงเงินให้ยืม’ นับเป็นครั้งแรกของการร่วมมือกันระหว่างผู้ให้บริการโทรคมนาคม ผู้ให้บริการโซเซียลแบงกิ้ง และผู้พัฒนาเทคโนโลยีในการนำเสนอบริการสินเชื่อส่วนบุคคลรูปแบบดิจิทัล ให้กับลูกค้าดีแทค ผ่าน dtac แอปพลิเคชัน และ LINE แอปพลิเคชัน ที่ง่าย สะดวกรวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา

โดยในช่วงแรกจะเปิดให้ลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้ทดลองใช้ ก่อนที่จะพัฒนาบริการสู่ตลาดอย่างเต็มรูปแบบ โดยแคมเปญนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อผู้ที่ต้องการวงเงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องด้านการเงิน และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบในช่วงโควิด-19 ด้วยจุดยืนกลยุทธ์ของแบรนด์ดีแทค ที่มุ่งมั่น เรียนรู้ ปรับเปลี่ยน เติมเต็ม เพื่อตอบสนองความต้องการ ให้ได้ใจของลูกค้า เป็นพลังที่ช่วยขับเคลื่อน ให้ลูกค้าเลือกใช้ชีวิตได้ในแบบที่ต้องการ สอดคล้องกับความตั้งใจของ LINE BK ที่ต้องการสนับสนุนให้คนไทยเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบ

นายฮาว ริเร็น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคมุ่งมั่นในแนวทางที่มีลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง เราสร้างสรรค์บริการที่มีความหมาย มีความสำคัญกับลูกค้าของเราทุกคน พร้อมมอบประสบการณ์ทางด้านการติดต่อสื่อสารที่ดีที่สุด เป็นพลังช่วยให้ลูกค้าของเราได้ใช้ชีวิตที่ใช่ในแบบที่ชอบ เราตั้งใจพัฒนาบริการที่ใช้งานง่าย สะดวก คุ้มค่า และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในทุกๆ กลุ่ม เราร่วมมือกับพันธมิตรข้ามอุตสาหกรรม ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ พัฒนาบริการดิจิทัล เพิ่มคุณค่า ตอบสนองความต้องการลูกค้าในช่วงเวลาที่ใช่ในแบบที่ต้องการ”

ข้อมูลเชิงลึกจากการสำรวจปัญหาทางด้านการเงินของลูกค้าดีแทค ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2563- 2564 พบว่า ลูกค้าของเราต้องเผชิญภาวะความตึงเครียดด้านการเงิน การจัดการค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน พอมีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องใช้เงิน ก็หันไปพึ่งสินเชื่อจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่ถูกต้อง เหมาะสม และที่สำคัญ

เราได้เข้าใจและเข้าถึงความท้าทายที่แท้จริงของลูกค้าเราที่ต้องเผชิญนอกเหนือจากสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ นั่นคือ ความรู้ ความพร้อม การเข้าถึงการเงิน และดิจิทัล คนจำนวนมากยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงการให้บริการทางการเงินที่ถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะลูกค้าแบบเติมเงิน ที่มีรายได้เป็นรายวันหรือรายสัปดาห์ ซึ่งมีความไม่แน่นอนทางการเงินสูง ลูกค้ากลุ่มนี้ไม่มีใบแจ้งเงินเดือน ไม่มีเอกสารรายได้แบบทางการ บางคนไม่มีความรู้ความเข้าใจในบริการทางการเงิน

นอกจากนี้ ความรู้และทักษะการเข้าถึงดิจิทัลยังมีน้อย โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีรายได้น้อย อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งในการเข้าถึงแหล่งทางการเงิน เราพบว่า ลูกค้าของเราเพียง 56% เท่านั้น ที่มีโมบาย แบงค์กิ้งแอป

แน่นอนว่า ความท้าทายเรื่อง ความรู้ ความเข้าใจทางการเงิน และดิจิทัล จะจำกัดการสร้างโอกาสต่างๆ ในชีวิต การมีคุณภาพชีวิตที่ดี และยังมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่ผลกระทบหรือทางออกในแง่ลบ เช่น การเงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยและขั้นตอนการติดตามหนี้สินที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะดูแลลูกค้าของเราด้วยใจ ผ่าน “บริการใจดี” ที่อยู่เคียงข้างและสร้างรอยยิ้มให้กับคนไทยมากว่า 17 ปี มอบความช่วยเหลือยามฉุกเฉิน และเป็นเพื่อนคู่คิดของลูกค้าดีแทคในด้านต่างๆ วันนี้ “บริการใจดี” พร้อมก้าวไปอีกขั้น ด้วยบริการทางการเงินใหม่ล่าสุด ในแคมเปญ “ใจดี มีวงเงินให้ยืม” ยืมง่าย อนุมัติไว! ภายใต้ความร่วมมือจาก LINE BK และ KBTG พันธมิตรของเรา โดยจุดเด่นคือ การให้บริการสินเชื่อแบบดิจิทัลที่สามารถสมัครและรับการอนุมัติผ่าน LINE ได้เลย ตัดความยุ่งยากจากการสมัครและติดตามผลการอนุมัติสินเชื่อโดยปกติทั่วไป ทำให้ลูกค้าโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าของดีแทคที่ใช้มือถืออยู่แล้วได้มีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

โดยแคมเปญใจดี มีวงเงินให้ยืม ในช่วงแรก จะทดลองมอบข้อเสนอให้กับลูกค้าดีแทคเฉพาะกลุ่มผ่านช่องทาง dtac แอปพลิเคชัน SMS จากดีแทค และสื่อออนไลน์ และระบบจะเปิดให้สามารถเข้าสมัครบริการวงเงินให้ยืม (Credit Line) ของ LINE BK ได้ทันทีเพื่อนำเงินไปใช้ประโยชน์ตามที่ผู้กู้ต้องการ เช่น เพื่อการบริโภคและการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยลูกค้าสามารถเลือกการเบิกถอนเงินสดตามสะดวกได้ทันทีหลังได้รับอนุมัติวงเงิน โดยมีข้อเสนอพิเศษสำหรับลูกค้าดีแทค รับเงินคืนหรือสิทธิ์ส่วนลด 200 บาท พร้อมโปรโมชั่นดอกเบี้ยพิเศษ จาก LINE BK โดยแคมเปญจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 – 30 กันยายน 2564

นายธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด กล่าวว่า “ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญเพื่อตอกย้ำแนวคิด “เรื่องเงินง่ายใน LINE คุณ” ของ LINE BK เอง โดยมีเป้าประสงค์หลักเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ง่ายและสะดวกขึ้นภายใต้สภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ปัจจุบัน การขอสินเชื่อแบบดิจิทัลนี้จะมีขั้นตอนการกู้ยืมง่ายและเกณฑ์การอนุมัติจะผ่อนคลายกว่า

เมื่อเทียบกับการให้กู้ยืมแบบเดิม เพียงลูกค้ามีรายได้ขั้นต่ำ 5,000 บาท ก็สามารถยื่นขอสินเชื่อได้แล้ว ช่วยเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าได้เข้าถึงสินเชื่อในระบบ ไม่ต้องเสี่ยงกับการกู้สินเชื่อนอกระบบ”

“ลูกค้าที่ได้รับการอนุมัติในแคมเปญนี้ นอกจากจะได้รับเงินคืนถึง 200 บาทจากดีแทคแล้ว ลูกค้ายังจะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษที่ 9.99% ต่อปีนาน 2 เดือนจาก LINE BK อีกด้วย อย่างไรก็ตามดีแทคถือเป็นพันธมิตรรายแรกของ LINE BK ในการร่วมมือกันนำเสนอบริการสินเชื่อดิจิทัลให้แก่ลูกค้าพาร์ทเนอร์ ด้วยวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ เอง เราจึงมองหาโอกาสในการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์อุตสาหกรรมอื่น ๆ ในอนาคต เพื่อสร้างสรรค์บริการที่แตกต่าง และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในทุกแง่มุมมากยิ่งขึ้น” นายธนา กล่าว

ทั้งนี้แคมเปญ ใจดี มีวงเงินให้ยืม มีแผนที่จะพัฒนาต่อเนื่องในระยะต่อไป โดยจะมีการขยายทั้งกลุ่มลูกค้าให้ครอบคลุมมากขึ้น รวมถึงนำเทคโนโลยีให้เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น โดยในระยะที่สองทาง บริษัทฯ มีแผนร่วมมือกับทาง กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) หน่วยงานด้านเทคโนโลยีจากธนาคารกสิกรไทย ภายใต้ แนวคิดบริการใจดี จะนำไปสู่มิติใหม่ของการพัฒนาบริการทางการเงินในประเทศไทย

สร้างประสบการณ์ใหม่ในการเข้าถึง สมัครพนันออนไลน์ บริการทางการเงินที่มีความสะดวก ปลอดภัย ใช้งานง่ายและตรงต่อความต้องการของลูกค้า สร้างความแตกต่างและความได้เปรียบทางการแข่งขันทำให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลได้เข้าถึงประชาชนได้ง่ายขึ้น ช่วยลดอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ดีแทคหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บริการใหม่นี้จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจขณะนี้ และยังช่วยตอบโจทย์ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ จากเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในอนาคตอันใกล้”

กรณีที่เกิดสถานการณ์โควิดในขณะนี้ เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี

กล่าวว่าการทำอาชีพเกษตรถือว่าเป็นอาชีพที่ดีที่สุด เวลานี้ทางหน่วยงานราชการให้การส่งเสริมอย่างเต็มที่ และพร้อมที่จะเดินหน้าสู้วิกฤตพร้อมกับพี่น้องเกษตรกรไทย ส่วน นายสมชาย แซ่ตัน เกษตรกรเจ้าของไร่คุณชาย กล่าวว่า โครงการ “เกษตรก้าวไกล LIVE ฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย” ที่เว็บไซต์ข่าว “เกษตรก้าวไกล” จัดขึ้นในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการทำงานของสื่อมวลชนที่ตรงกับสถานการณ์ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง การที่เกษตรก้าวไกลได้ดำเนินการโครงการดังกล่าว

ในมุมมองแล้วเห็นว่าจะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกรทั่วประเทศ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่กำลังให้ความสนใจและต้องการเข้ามาสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตด้วยอาชีพการเกษตร โดยเฉพาะทางไร่คุณชาย ซึ่งเน้นการทำสวนผลไม้ทั้งเงาะ ทุเรียน ส้มโอ ฝรั่ง กล้วยไข่ และอื่น ๆ ในลักษณะเกษตรผสมผสาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น ซึ่งที่สวนพร้อมให้คำแนะนำแก่ผู้สนใจที่ต้องการพัฒนาการผลิตของตนเองให้มีคุณภาพตรงกับที่ตลาดต้องการ

ในพิธีเปิดโครงการครั้งนี้ ใช้สัญลักษณ์การตัดทุเรียนด้วยดาบ เพื่อรณรงค์รงค์ไม่ตัดทุเรียนอ่อน ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ และยังตัดผลไม้อีก 5 ชนิด ที่อยู่ในสวนเดียวกัน รวมเป็น 6 ชนิด ซึ่งสอดคล้องกับโอกาสครบบรอบ 6 ปี เว็บไซต์เกษตรก้าวไกล และสื่อออนไลน์ในเครือ โดยมีบุคคลที่เป็นตัวแทนในท้องถิ่นเป็นผู้ตัด เช่น นายอำเภอไทรโยคตัดเงาะ เป็นต้น

อนึ่ง ผู้ให้การสนับสนุนโครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย นอกจากหน่วยงานภาครัฐ กรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ยังมีหน่วยงานภาคเอกชน ประกอบด้วย บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท ฟอร์ด ประเทศไทย จำกัด บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท เจียไต๋ จำกัด บริษัท ยารา(ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด (ศรแดง) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และบริษัท ซุปเปอร์เอส เซ็นเตอร์ จำกัด

เมื่อวานนี้ (19/6/64) ผม(ลุงพร)และทีมงานเกษตรก้าวไกลได้พบกับ คุณชาตรี โสวรรณตระกูล CEO เจ้าของสวนละอองฟ้า-The Demeter Garden สวนอนุรักษ์พันธุ์ทุเรียน(ปลูกทุเรียน) รวม 53 สายพันธุ์ บนพื้นที่ประมาณ 30 ไร่ ณ ตำบลเขาพระ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โทร.0897491735

ความตั้งใจเดิมที่ไปนั้นกะว่าจะค้นหาคำตอบเรื่องหลักการปลูกทุเรียนแบบสวนป่า ว่าเลือกสายพันธุ์อย่างไร ปลูกพันธุ์ไหนก่อนหลังอย่างไร จัดการอย่างไรให้ทุเรียนที่ปลูกได้ผลผลิตดี และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจถ้านับเป็นรายได้คุ้มแค่ไหนอย่างไร ความคุ้มที่ว่ามีดัชนีชี้วัดนอกจากเรื่องรายได้แล้ว เรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอย่างไร

หลายคำถามที่ตั้งใจจะไปหาคำตอบ ยังไม่บรรลุผลครับ หลายท่านที่ติดตามเกษตรก้าวไกลอาจจะผิดหวังเล็กๆ เนื่องจากผมได้ประชาสัมพันธ์ว่าจะ LIVE สดจากสวน แต่สวนของพี่ชาตรีเป็นสวนป่าระบบสัญญานโทรศัพท์ไม่ค่อยเป็นใจ(ไม่เสถียร) ก็เลยพลาด จึงแก้ไขเป็นการถ่ายคลิปก็จัดแจงถ่ายไปพอสมควรแต่ดันมีปัญหาเรื่องระบบเสียงไม่สมบูรณ์ในบางช่วงบางตอน จึงนำเรื่องมาปะติดปะต่อค่อนข้างยากอยู่ เช้าวันนี้จึงโทร.คุยกับพี่ชาตรีบอกไปว่าจะหาโอกาสไปเยือนใหม่อีกสักครั้ง

ต้องขอบอกเลยว่าสวนของพี่ชาตรี เป็นสุดยอด “สวนป่าทุเรียน” ที่เริ่มหาได้ยากในประเทศไทยนี้ที่ยังคงอนุรักษ์การปลูกทุเรียนแบบดั้งเดิม “สวนเทวดาเลี้ยง” ซึ่งสวนแบบนี้ที่ภาคใต้จะเรียกสวนสมรม ก็อาจจะหาชมได้บ้าง แต่นครนายกที่อยู่ใกล้ๆกรุงเทพฯ เข้าใจว่าไม่น่าจะมีครับ (หรือมีก็บอกกกันมาครับ)

สวนละอองฟ้าของคุณพี่ชาตรีจึงน่าจะตอบโจทย์ในเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรสำหรับคนเมืองได้อีกแห่งหนึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ ยุคที่โควิด-19 ผลักให้ทุกคนไปอยู่มุมเขียวที่เรียกว่าเศรษฐกิจสีเขียว เพราะว่าเป็นสวนที่คำนึงถึงธรรมชาติละสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ตรงตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติแบบไม่ต้องเสแสร้งแต่นี่คือของจริงที่เป็นวิถีชีวิตของเกษตรกรไทยแท้ๆ

มีเรื่องเล่าให้ฟังคือระหว่างที่นั่งคุยกับคุณพี่ชาตรีนั้น ผมเห็นนกกางเขนดง(นกบินหลาดง) คู่หนึ่งที่เป็นตัวผู้ตัวเมียกำลังบินจับคู่หยอกล้อกันต่อหน้าต่อตา(นกชนิดนี้เคยมีมากในภาคใต้แต่ปัจจุบันหาได้ยากยิ่งแล้ว) นี่น่าจะส่งผลมาจากการทำสวนเกษตรแบบผสมผสานแบบที่เรียกว่าอิงธรรมชาติ และคุณพี่ชาตรียังบอกอีกว่าปีนี้ทุเรียนที่สวนติดผลถึง 42 สายพันธุ์ มากกว่าทุกปีที่ผ่านมา (ซึ่งก็น่าจะส่งผลมาจากสภาพแวดล้อมของสวน) พันธุ์หลักๆก็เช่น หมอนทอง ชะนี ก้านยาว ฯลฯ แต่ทุเรียนส่วนหนึ่งก็ต้องปลูกเผื่อกระรอก เพราะต้องการให้สัตว์ทุกชนิดอยู่ร่วมกันกับสวนทุเรียนรวมทั้งสวนผลไม้ชนิดอื่นๆที่ปลูกสร้างขึ้น

เส้นทางของสวนละอองฟ้าภายใต้การกำกับดูแลของพี่ชาตรี “ศิลปินสวนป่าทุเรียน” (จบช่างศิลป์ภาพที่เห็นวาดติดไว้ที่บ้านไม้ไผ่นั่นคือฝีมือพี่เขาล่ะ) จึงน่าจะเป็นอีกแนวทางการทำเกษตรที่เป็นอัตลักษณ์ ซึ่งก็คือการทำสวนแบบดั้งเดิม อาจไม่ตอบโจทย์เศรษฐกิจเชิงรายได้ แบบกะทันหันเร่งด่วน แต่ตอบโจทย์เรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และสิ่งที่จะตามในอนาคตอันใกล้นี้คือเรื่องท่องเที่ยวเชิงการเกษตร ยังไงก็ช่วยกันสนับสนุนแนวทางนี้ให้อยู่รอดอยู่ได้นะครับเพื่อนๆ

ขอบคุณฟอร์ดประเทศไทย พาหนะลุยตามหาสุดยอดทุเรียนไทย..เราจะเดินทางไปที่สวนไหนตอบโจทย์(สุดยอด)ในเรื่องอะไร โปรดติดตามนะครับ

เกษตรกรภาคตะวันออกสุดยอด เปิดตลาดออนไลน์ขายตรงจากสวนถึงมือผู้ซื้อ เน้นคุณภาพ บรรจุภัณฑ์แข็งแรง ดูแลสวนผลผลิตอย่างดี ทำมา 5 ปี ฉลุยขายได้หมดตลอด คาดปีต่อไปมีเกษตรกรขายตรงเพิ่มขึ้น สสก.3 จ.ระยอง ชื่นชมพร้อมสนับสนุนเต็มพิกัด

นายปิยะสมัครพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง เปิดเผยว่า พื้นที่ภาคตะวันออกถือว่าเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญของประเทศ ในแต่ละปีมีผลไม้ให้ผลผลิตเกือบ 1,000,000 ตัน จาก 4 ชนิด ประกอบด้วย ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง โดยในช่วงเดือนเมษายน – กรกฎาคม จะมีผลผลิตออกมามาก ขณะเดียวกันก็มีลำไยเริ่มออกสู่ตลาด ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ภาคตะวันออกมีการปลูกลำไยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดสระแก้ว ผลผลิตส่งออกขายต่างประเทศเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์

“ในแต่ละปีการบริหารจัดการผลไม้ของภาคตะวันออกจะมีองค์ประกอบการกระจายผลผลิต ออกสู่ตลาดทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ การส่งออกต่างประเทศจะเป็น ทุเรียน มังคุด และลำไย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ส่วนที่เหลือจะส่งขายภายในประเทศ ในหลายรูปแบบ ตั้งแต่ส่งร้านริมทาง ห้างสรรพสินค้า รถเร่ และทางออนไลน์ และเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ จนหลายๆ ธุรกิจต้องหันมาพึ่งพาช่องทาง “ออนไลน์” มากขึ้น”

“ซึ่งปัจจุบันมีโซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์ม และอีคอมเมิร์ซต่างๆ ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภคให้มาเจอกัน ได้แบบการเว้นระยะห่างทางสังคม ( Social Distancing )มีการดำเนินการในหลากหลายวิธี นับตั้งแต่ผ่านช่องทางที่เปิดขึ้นมาภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ เช่นเว็บไซต์ Thailandpostmart ของไปรษณีย์ไทย เว็บไซต์ ThehubThailand แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าจากผู้ประกอบการไทย ที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สถาบันส่งเสริมสินค้าเกษตรนวัตกรรม หรือ APi กรมการค้าต่างประเทศ ที่สนับสนุนให้เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยร่วมมือกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รวมไปถึงตลาดค้าส่ง เช่น ตลาดไทย และ อตก.และ แพลตฟอร์มของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในชื่อเว็บไซต์ ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com เป็นต้น” นายปิยะ กล่าว

อย่างไรก็ตามจากการระบาดของโควิด-19 ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของการตลาด พบว่าในพื้นที่เขตภาคตะวันออกในปี 2563 ที่ผ่านมามีการขายผลไม้ผ่านระบบออนไลน์มากถึง 1.5 พันตัน และในปี 2564 นี้นอกจากจะขายผ่านระบบไปรษณีย์แล้ว ยังมีภาคเอกชนหลายรายที่มีระบบขายตรงและการขายออนไลน์เข้ามาร่วมโครงการกับแพลตฟอร์ม ของกรมส่งเสริมการเกษตร และ สสก.3 จ.ระยอง ทำให้มียอดการขายเพิ่มขึ้นกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ การขายในระบบนี้มีข้อดีหลายประการ หนึ่งนั้นก็คือผู้ซื้อไม่ต้องเดินทางสามารถเลือกสินค้าได้ด้วยตนเอง สินค้ามีการประกันคุณภาพ และผู้ผลิตมีการดูแลระบบการปลูกการเก็บเกี่ยว และการจัดส่งเป็นอย่างดี คาดว่าในปี 2565 การขายผ่านระบบออนไลน์น่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น

“ที่น่าสนใจก็คือช่องทางธุรกิจแบบต่อเนื่องที่ได้ดำเนินการเองโดยเกษตรกรผู้ผลิต คือ การขายแบบออนไลน์จากแหล่งผลิตโดยตรง ซึ่งในพื้นที่ภาคตะวันออกมีเกษตรกรเจ้าของสวนเปิดช่องทางออนไลน์จำหน่ายผลไม้จากสวนของตนเองต่อผู้บริโภคโดยตรงจำนวนไม่น้อย และทุกสวนต่างประสบความสำเร็จที่มีแนวโน้มว่าในฤดูการผลิตปีต่อ ๆ ไป ช่องทางนี้น่าจะได้รับการขยายผลสู่เกษตรกรรายอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น และทาง สสก.3 จ.ระยอง จะสนับสนุนด้านข้อมูลและจัดหาผู้รู้ด้านการขายออนไลน์มาเสริมความรู้ให้เกษตรกรต่อไป เพราะสามารถทำให้เกิดการลดต้นทุนในขั้นตอนการตลาดทำให้เกษตรกรมีกำไรเพิ่มมากขึ้น” นายปิยะ กล่าว

ทางด้าน นางสาวสุรีย์ ธัญญคง เกษตรกรอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี หนึ่งในผู้เปิดช่องทางการขายผลไม้จากสวนของตนเองผ่านช่องทางออนไลน์ เจ้าของเพจ เฟสบุ๊ค “มาจากสวน” เปิดเผยว่า ได้ปลูกผลไม้ 4 ชนิด ประกอบด้วย ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง โดยทุเรียนผลผลิตส่งออกต่างประเทศทั้งหมด ส่วนผลไม้ชนิดอื่นๆ ขายภายในประเทศ โดยทำการตลาดด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ ส่วนใหญ่เป็นตลาดระดับบนและระดับกลาง

“ข้อดีของการขายผ่านระบบออนไลน์คือ ขายได้ราคาดีในขณะที่ผู้ซื้อ ซื้อในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดทั่วไป เพราะไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง และเจ้าของสวนมีการดูแลแปลงปลูกอย่างดีเพื่อให้ผลผลิตออกมามีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภค จะมีการคัดและเลือกเป็นอย่างดีก่อนส่งลูกค้า บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ดีและแข็งแรง เพื่อสะดวกและปลอดภัยในการขนส่งไม่ให้สินค้าเสียหายก่อนถึงมือผู้ซื้อ ที่สำคัญทำให้ผู้ซื้อได้รู้จักกับผู้ผลิตมีการติดตามสั่งซื้อผลไม้อย่างต่อเนื่องและทุกปี ปี 2564 เป็นปีที่ 5 ที่ได้จำหน่ายผ่านระบบออนไลน์ผลไม้ขายได้หมดทุกปีไม่ตกค้างที่สวน ปัจจุบันเกษตรกรสวนผลไม้จังหวัดจันทบุรีหันมาขายผ่านระบบออนไลน์กันมากขึ้น” นางสาวสุรีย์ กล่าว

รศ.ดร.กนกพร นุ่มทอง อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับ “รางวัลสุรินทราชา” ในฐานะนักแปลดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2564 นับเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกท่านที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ ทั้งนี้ ชาวเกษตรท่านแรกที่ได้รับรางวัลนี้คือ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร อดีตรองอธิการบดีและอดีตนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับรางวัลนักแปลดีเด่นในปี พ.ศ.2550 นอกจากนี้ยังมีศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือ ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับรางวัลนักแปลดีเด่นในปี พ.ศ.2557

“รางวัลสุรินทราชา” เป็นรางวัลเกียรติคุณที่สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย ตั้งขึ้นเป็นอนุสรณ์แด่พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) หรือ “แม่วัน” ผู้แปลนวนิยายเรื่องความพยาบาท (Vendetta) เป็นรางวัล ที่มอบแด่นักแปลและล่าม ผู้มีผลงานดีเด่นเผยแพร่เป็นเวลานาน และสร้างคุณูปการแก่วงวรรณกรรม สังคม และประเทศชาติ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 จนถึงปี พ.ศ.2564 เป็นปีที่ 15 ของการมอบรางวัลอันทรงคุณค่านี้

งานแปล รศ.ดร.กนกพร นุ่มทองมีผลงานเด่นด้านงานแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย ทั้งงานวรรณกรรม ประวัติศาสตร์และปรัชญา ผลงานเด่นได้แก่ เปาบุ้นจิ้นฉบับสมบูรณ์ (แปล 25 เรื่องจาก 100 เรื่อง), 100 ยอดหญิงแห่งประวัติศาสตร์จีน, 100 โสเภณีในประวัติศาสตร์จีน, 100 ขุนนางประเสริฐในประวัติศาสตร์จีน, 100 ทรชนในประวัติศาสตร์จีน, มูลเหตุสามก๊ก(สามก๊กอิ๋น) ฉบับแปลใหม่, จงยง (ความเหมาะสมที่แน่นอน), หลักฐานล้านนาในเอกสารโบราณจีน, เปิดม่านมังกร บทเรียนจากความล้มเหลว,พระสัทธรรมปุณฑรีกสูตร อวโลกิเตศวรสมันตมุขปริวรรต (แปลร่วมกับเกวลี เพชราทิพย์), ไภสัชยคุรุไวฑูรยประภาสยปูรวปณิธานสูตร (แปลร่วมกับเกวลี เพชราทิพย์) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลงานแปลวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง “คุณปู่แว่นตาโต” ของชมัยภร บางคมบางจากภาษาไทยเป็นภาษาจีน

งานวิชาการ นอกจากงานแปลแล้ว รศ.ดร.กนกพร นุ่มทองยังมีงานวิจัย/บทความที่เกี่ยวกับการแปล ที่ตีพิมพ์ลงในวารสารต่าง ๆ เช่น “Translation, Politics and Literature: Propagation of ‘Romance of the Western Han’ in Thailand”, “การแปลวรรณกรรมจีนเรื่องไซฮั่นในสมัยรัชกาลที่ ๑”, “การศึกษาแนวทางการจดบันทึกในงานล่ามจีน-ไทย ไทย-จีนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข”, “การเรียนการสอนวิชาการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทยและภาษาไทยเป็นภาษาจีนในระดับอุดมศึกษา”, “การศึกษาปัญหาและกลวิธีการแปลภาษาจากเอกสารประวัติศาสตร์ภาษาจีนเป็นภาษาไทย, “การแปลแบบดัดแปลงนิยายอิงพงศาวดารจีนเรื่อง ‘ตั้งฮั่น’ ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์” รวมทั้งงานเขียนตำรา/หนังสือที่เกี่ยวกับการแปล เช่น การแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน, ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย, ภาษาจีนเพื่อการล่ามในธุรกิจ ตลอดจนงานบรรยายทางวิชาการให้กับหน่วยงานต่าง ๆ หลายหัวข้อ อาทิ “แนวทางการเรียนการสอนวิชาการแปลและการล่าม จีน-ไทย ไทย-จีน ในระดับอุดมศึกษา”, “กลวิธีการสอนวิชาล่ามภาษาจีน”, “แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาล่าม จีน-ไทย ไทย-จีน ในระดับอุดมศึกษา”, “แนวทางการพัฒนาตนสู่ล่ามจีน-ไทย ไทย-จีน สำหรับผู้สนใจงานล่าม” เป็นต้น

รศ.ดร.กนกพร นุ่มทอง ยังเป็นบรรณาธิการภาษาจีนให้กับสำนักพิมพ์จีนและสำนักพิมพ์ไทย ตรวจสอบต้นฉบับงานแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทยกว่า 70 เล่ม รวมถึงเป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพการแปลบทภาพยนตร์อีกจำนวนมาก

รศ.ดร. กนกพร นักแปลดีเด่น ผู้ทุ่มเทเวลาให้กับการแปลและการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการแปล กล่าวว่า โดยทั่วไปเมื่อคนนึกถึงงานแปล จะนึกถึงงานแปลวรรณกรรมเป็นหลัก เพราะเป็นสิ่งที่พบบ่อยและมีประโยชน์ในการช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรม ความคิดอ่านของชาติอื่น เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดของบุคคลผู้อยู่ต่างวัฒนธรรม ซึ่งความเข้าใจอันดีต่อกันนี้จะส่งผลให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นอกจากงานวรรณกรรมแล้ว ตลาดงานแปลยังกว้างขวางมาก งานแปลเฉพาะด้าน ตัวอย่างเช่น ประวัติศาสตร์ แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ วนศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ มีผู้แปลอยู่น้อยมาก หากเราสามารถแปลงานวิชาการของต่างชาติเป็นไทย จะช่วยเปิดโลกวิชาการให้นักวิชาการบ้านเราได้กว้างขวางมาก นำไปสู่งานวิจัยที่มีคุณค่าในอนาคต และหากมีการแปลผลงานของนักวิชาการไทยเป็นภาษาต่างประเทศ ก็จะช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่วงวิชาการบ้านเราได้มาก

สำหรับงานแปลควรเริ่มต้นจากจุดใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสนใจของนักแปลและความต้องการของตลาด โดยทั่วไปนักแปลอาจมุ่งเน้นงานวรรณกรรม เพราะคนเรียนภาษาส่วนใหญ่จะเป็นคนสายศิลป์ ส่วนหนึ่งมีความชื่นชอบวรรณกรรมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่จากที่กล่าวมา จะเห็นว่าโลกของงานแปลไปได้กว้างมาก หากได้รับการสนับสนุนจากองค์กรระดับชาติ คัดเลือกหนังสือดีที่ควรแปลในหลายๆ ด้าน จากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ และภาษาต่างประเทศเป็นไทย จะเป็นการขยายพรมแดนความรู้ไปอย่างกว้างขวาง

อาชีพนักแปลสำคัญและสามารถช่วยพัฒนาประเทศได้มาก ยกตัวอย่าง คนที่ชำนาญศาสตร์เฉพาะทางบางอย่าง อาจไม่ต้องเก่งด้านภาษาต่างประเทศ แต่มีความสามารถในศาสตร์ของตน มีนักแปลที่เก่งภาษาต่างประเทศและเข้าใจศาสตร์นั้นพอสมควร ทำหน้าที่แปลตำราและงานวิชาการใหม่ๆ เป็นภาษาแม่ มีผู้เชี่ยวชาญศาสตร์เฉพาะทางนั้นตรวจสอบความถูกต้อง ผลงานที่ออกมาจะช่วยกระตุ้นให้เกิดความงอกงามในวิทยาการสาขานั้นและเปิดแนวทางวิจัยใหม่ได้มาก อาจารย์กล่าวทิ้งท้าย

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ด้านวรรณคดีจีนโบราณ จากมหาวิทยาลัยนานกิง และปริญญาโทด้านวรรณคดีจีนโบราณจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน และปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ภาษาจีน) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง รางวัลทุนภูมิพล ปัจจุบัน เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เกษตรกรเตรียมเฮ!! กรมวิชาการเกษตร แง้มพืชพันธุ์ดีปี 65 มะนาว ส้มโอ และมันเทศ นำร่องเตรียมขอรับรองพันธุ์พืชใหม่ นักวิจัยปลื้ม 3 พืชตอบโจทย์วิจัยครบ ให้ผลผลิตสูง ทนทานโรค ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี มีเอกลักษณ์เฉพาะพันธุ์โดดเด่น คาดผ่านพิจารณาเป็นพันธุ์แนะนำของกรมฯ พร้อมขยายผลงานวิจัยสู่แปลงเกษตรกรปีหน้า

นายอนันต์ อักษรศรี รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะโฆษกกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากภารกิจที่ได้รับมอบหมายจาก นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ให้กำกับดูแลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายของหน่วยงานในส่วนภูมิภาคที่รับผิดชอบ ซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรมีนโยบายหลักต้องการให้หน่วยงานในพื้นที่ส่วนภูมิภาคนำผลงานวิจัยในทุกด้านของกรมวิชาการเกษตรขยายผลไปสู่เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ซึ่งจากการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้างานตามนโยบายดังกล่าวในเขตพื้นที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก ได้รับรายงานความก้าวหน้างานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์พืชจำนวน 3 พืชได้แก่ มะนาว ส้มโอ และมันเทศ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งคาดว่าจะเสนอพันธุ์พืชทั้ง 3 พันธุ์ให้เป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรได้ในปี 2565

มะนาว สายต้น 1-02-07- 2 และสายต้น1-07-01-4 ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร โดยนำมะนาวพันธุ์พิจิตร 1 ไปฉายรังสีแกมมา เพื่อให้มีเมล็ดน้อยลง เปลือกบางและยังคงทนทานต่อโรคแคงเกอร์เหมือนพันธุ์เดิม โดยได้คัดเลือกสายต้นมะนาวพันธุ์พิจิตร 1 ตามหลักเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ จำนวนเมล็ดน้อยกว่า 10 เมล็ดต่อผล เปลือกบาง ทนทานต่อโรคแคงเกอร์ ให้ผลผลิตและคุณภาพดี และปลูกเปรียบเทียบสายต้นมะนาวพิจิตร 1 ที่มีเมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ด ที่ศูนย์วิจัยพัฒนาการเกษตรพิจิตร ปี 2562-2564 ปลูกทดสอบสายต้นมะนาวพิจิตร 1 ที่มีเมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ด ณ ศูนย์วิจัยพัฒนาการเกษตรพิจิตร ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย แปลงเกษตรกรจังหวัดพิจิตร กำแพงเพชร และเพชรบุรี โดยการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ในครั้งนี้เพื่อให้ได้มะนาวพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเด่นทนทานต่อโรคแคงเกอร์ เมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ด เปลือกบาง การเจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตสูง

ส้มโอสายต้นท่าชัย 32 ได้จากการคัดเลือกสายต้นส้มโอในแปลงส้มโอเพาะเมล็ดจากเมล็ดส้มโอพันธุ์ทองดีที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย โดยในปี 2543 – 2550 คัดเลือกสายต้นส้มโอที่ได้จาการเพาะเมล็ด 200 สายต้น ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ปี 2551 -2555 เปรียบเทียบสายต้นส้มโอจากการเพาะเมล็ดที่ผ่านการคัดเลือก 10 สายต้น ร่วมกับพันธุ์ทองดีและพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย และปี 2557 -2564 ทดสอบสายต้นส้มโอจากการเพาะเมล็ดที่ผ่านการคัดเลือกเปรียบเทียบ 4 สายต้นร่วมกับพันธุ์ทองดี ในแหล่งปลูก 3 สถานที่ ได้แก่ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย แปลงเกษตรกรจังหวัดพิจิตรและชัยภูมิ โดยการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ในครั้งนี้เพื่อให้ได้ส้มโอพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเด่น คือ กุ้งมีสีน้ำผึ้งอมชมพู รสหวาน ฉ่ำน้ำน้อย มีกลิ่นหอมเฉาะตัว ผลค่อนข้างใหญ่กว่าพันธุ์ทองดี และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในเขตภาคเหนือตอนล่างได้ดี

มันเทศสายต้น พจ.06-15 ได้จากการผสมเปิดของมันเทศพันธุ์ พจ.166-5 ที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร โดยใช้พันธุ์มันเทศเนื้อสีขาวสำหรับเป็นพันธุ์พ่อแม่พันธุ์ ทำการเปรียบเทียบพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร และทดสอบพันธุ์ภายศูนย์วิจัยฯ ของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี และศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ และปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกร โดยมันเทศสายต้น พจ.06-15 ที่กำลังอยู่ระหว่างการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ดังกล่าวนี้ มีลักษณะเด่นคือให้ผลผลิตเฉลี่ย 3,313 กิโลกรัมต่อไร่ เนื้อสีขาว รูปทรงหัวแบบยาวรี ปริมาณแป้งร้อยละ 25.0 คิดเป็นผลผลิตแป้ง 828 กิโลกรัมต่อไร่ และสามารถใช้ได้ทั้งบริโภคสดและอุตสาหกรรมแป้ง

“งานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์พืชเป็นภารกิจหลักที่สำคัญของกรมวิชาการเกษตร เพื่อให้ได้พันธุ์พืชใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อโรค แมลง และสภาพแวดล้อม ช่วยลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้น ซึ่งพันธุ์พืชทั้ง 3 พันธุ์ที่อยู่ระหว่างการวิจัย และทดสอบดังกล่าวคาดว่าจะได้รับการพิจารณาเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรภายได้ภายในปี 2565 หลังจากนั้นจึงจะกระจายพันธุ์ไปสู่เกษตรกรในพื้นที่เพื่อนำปลูกเป็นทางเลือกสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นต่อไป” โฆษกกรมวิชาการเกษตร กล่าว

ในอดีต…วัด…เป็นศูนย์กลางของชาวบ้าน ทำหน้าที่เป็นโรงเรียน โรงพยาบาล จัดงานเทศกาลสืบสานวัฒนธรรม บางครั้งเป็นห้องประชุมของชาวบ้าน บางครั้งยังทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และอีกมากมาย เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน มีองค์กรทางสังคมเข้ามาทำหน้าที่เหล่านี้อย่างเป็นระบบ บทบาทของวัดคงเหลือเพียงการเรียนรู้ด้านจิตวิญญาณและการขัดเกลากิเลส อันเป็นหัวใจหลักของพระพุทธศาสนาที่ยัง ไม่มีองค์กรใดจะสามารถเข้ามาแทนที่ได้ แต่กระนั้น ดูเหมือนว่าผู้คนจำนวนมากห่างไกลวัดออกไป ทุกที เราจึงเห็นว่าจากเดิมที่คนเดินเข้าวัด กลายเป็นวัดที่มีการปรับตัวเข้าหาผู้คนมากขึ้น

วัดตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ยังคงเป็นศูนย์กลางของชาวบ้านที่มีผู้คนแวะเวียนเข้าวัด ด้วยเพราะพื้นที่นี้มักเป็นที่เริ่มต้นของความคิดสำคัญๆ ที่นำพาความเปลี่ยนแปลงมาสู่ชาวบ้านเสมอ…บริเวณเนินควนห่างจากวัดไม่มาก พระครูสุนทรกิจจานุโยค เจ้าอาวาสวัดตะโหมด ชี้ชวนให้ชมโรงเรือนขนาดเล็กที่มีเมล่อนเรียงเป็นแถวสวยงาม ท่านชวนคุยถึงสถานการณ์โควิดที่ทำให้การทำมาหากินยากลำบาก ชาวบ้านรายได้น้อยลง จึงคิดทดลองปลูกเมล่อนซึ่งเป็นพืชที่มีราคาสูง ใช้พื้นที่ไม่มากก็สามารถสร้างรายได้เพิ่มให้ครัวเรือนได้ โรงเรือนแห่งนี้ตั้งใจทำให้ชาวบ้านดูเป็นตัวอย่าง เป็นโรงเรือนระบบปิดอย่างง่ายที่ใช้ระบบเกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียง ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัยทักษิณ ถ่ายทอดให้กลุ่มเกษตรกรทำนาอินทรีย์จนได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ท่านเห็นว่าหากนำไปให้ชาวบ้านนอกเหนือจากกลุ่มทำนาก็จะเกิดประโยชน์ในวงกว้างยิ่งขึ้น

“วัดไม่ได้เน้นเชิงเศรษฐกิจ แต่ต้องการส่งเสริมระบบเกษตรอินทรีย์ตามนโยบายของจังหวัด คนในชุมชนจะได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย เราทำแบบพอเพียงเน้นบริโภค ที่เหลือเป็นรายได้เสริม ที่ต้องทำให้ดูเพราะถ้าเขาไม่เห็นความสำเร็จเขาจะไม่กล้า เมื่อชาวบ้านเห็นว่าวัดก็ยังปลูกได้ อาศัยพระลูกวัดช่วยกันดูแล จนเป็นผลสำเร็จอย่างที่เห็น ชาวบ้านจะได้มั่นใจ โรงเรือนนี้ได้พัฒนาชุมชนมาช่วย ใช้ทุนไม่มาก แต่หากชาวบ้านไม่มีทุน ขอให้คิดจะทำ วัดยินดีสนับสนุน จะให้ปลูกในพื้นที่แปลงรวมที่จัดให้” พระครูสุนทรกิจจานุโยคกล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจปลูกเมล่อน ทางวัดแนะนำว่าหลังจากเพาะเมล็ดประมาณ 15 วันเมื่อเริ่มมีดอกต้องผสมเกสร ถ้าเลยเวลาไปก็อาจไม่ติดผล วัดตะโหมดใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณพัฒนาขึ้น และได้รับคำแนะนำเรื่องโรคและแมลง และการจัดการในแปลง การปลูกในโรงเรือนทำให้ปลูกเมล่อนได้ตลอดทั้งปี ไม่ต้องกังวลเรื่องฝนฟ้า อากาศ และยังช่วยลดการรบกวนของแมลงศัตรูพืช แต่ถึงอย่างไรเมล่อนก็เป็นพืชที่ต้องอาศัยการเอาใจใส่และดูแลเป็นพิเศษ ที่วัดปลูกก็ต้องคอยระวังโรคราน้ำค้าง และโรคเหี่ยวในเมล่อน ใช้เวลาตั้งแต่เพาะเมล็ดประมาณ 75-80 วันก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ทุกวันนี้เริ่มมีเกษตรกรที่สนใจเข้ามาถามไถ่ ขอเรียนรู้วิธีการปลูก วัดตะโหมดยินดีที่ได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เสริมสร้างปัญญาให้แก่ชาวบ้าน เป็นข้อพิสูจน์ว่าวัดซึ่งแหล่งถ่ายทอดความรู้และพัฒนาคนมาตั้งแต่ยุคอดีตนั้น สามารถปรับบทบาทให้ตอบสนองการใช้ชีวิตของผู้คน และไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปอย่างไร วัดก็คงยังเป็นที่พึ่งของชุมชนได้เสมอ

“สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ ต้องขอบคุณวัดตะโหมด และชาวชุมชนตะโหมด ที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพิงตนเองได้มากขึ้น ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ชุมชนตะโหมด คือ ห้องเรียนที่มีชีวิต ซึ่งนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณได้มีโอกาสไปเรียนรู้รุ่นแล้วรุ่นเล่า นิสิตได้โอกาสก้าวออกจากรั้วมหาวิทยาลัยไปเรียนรู้กับครูภูมิปัญญาชุมชน ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่เรียนรู้จริง องค์ความรู้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัย ทำให้มหาวิทยาลัยทักษิณ ตระหนักว่าความมุ่งมั่นที่จะทำตามพันธกิจ “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม” นั้นเราได้เดินมาถูกทางแล้ว และเราต้องทำให้มากยิ่งขึ้นไปอีก” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรไทย ศิริสาธิตกิจ รักษาแทนผู้อำนวยการ สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ กล่าว

กรมประมง…ออกประกาศฯคุมเข้ม !!! ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นที่ขึ้นบัญชีเพิ่มอีกจำนวน 13 ชนิดหวังตัดวงจรการแพร่พันธุ์และคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นพร้อมป้องกันผลกระทบต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำของไทยไม่ให้เกิดความเสียหาย

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่าปัจจุบันสถานการณ์การแพร่พันธุ์ ของสัตว์น้ำต่างถิ่น หรือเอเลียนสปีชีส์ ยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากกรณีปลาหมอสีคางดำที่หลุดรอดเข้าบ่อเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำพื้นถิ่นเป็นอย่างมากซึ่งครั้งนั้นกรมประมงได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยการออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน

หรือเพาะเลี้ยงพ.ศ.2561 สำหรับสัตว์น้ำ 3 ชนิด ได้แก่ ปลาหมอสีคางดำ ปลาหมอมายัน และปลาหมอบัตเตอร์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2561 อีกทั้ง ยังได้มีมาตรการจับสัตว์น้ำเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ด้วยการทำปุ๋ยหมักชีวภาพหรือการฝังกลบ หลังจากนั้นกรมประมงได้มีการติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันการรุกรานของสัตว์น้ำต่างถิ่นในชนิดพันธุ์อื่นๆ และได้มีการประชุมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การเพาะเลี้ยงในประเทศ การรุกราน ที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร

ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผู้ประกอบการประกอบกับการพิจารณาสัตว์น้ำในทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ควรป้องกันควบคุมและกำจัดของประเทศไทยตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 (สำนักงานนโยบายและแผนงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)โดยพิจารณาควบคู่กับทะเบียนชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นที่รุกราน 100 อันดับโลก (GISD; Global Invasive Species Database,IUCN) จึงเห็นควรที่จะเพิ่มชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นที่ขึ้นบัญชีห้ามเพาะเลี้ยงเพื่อให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

ล่าสุดกรมประมงจึงได้อาศัยความตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมงพ.ศ. 2560 ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2564ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันทึ่ 16 สิงหาคม 2564 นี้เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นหายาก หรือป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ ซึ่งประกอบสัตว์น้ำด้วย 13 ชนิดได้แก่

ทั้งนี้ ประกาศฉบับดังกล่าวฯ มีแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญดังนี้

กรณีที่เกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกลุ่มเหล่านี้ ต้องดำเนินการขอใบอนุญาตตามประกาศกรมประมง ภายใน 30 วันหลังจากประกาศฯ มีผลบังคับใช้และเมื่อไม่ต้องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่นกลุ่มดังกล่าวแล้วให้รีบนำสัตว์น้ำส่งมอบให้สำนักงานประมงจังหวัด หรือ หน่วยงานกรมประมงอื่นๆในพื้นที่โดยด่วน
กรณีที่ประชาชนทำการประมงแล้วได้สัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดนี้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ประชาชนสามารถนำไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ แต่ต้องทำให้สัตว์น้ำตายก่อนนำไปจำหน่าย

กรณีที่สัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดนี้จากธรรมชาติได้หลุดรอดเข้าในบ่อเพาะเลี้ยงของเกษตรกรโดย
ไม่เจตนาเกษตรกรสามารถนำไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ แต่ต้องทำให้ปลาตายก่อนนำไปจำหน่าย
กรณีส่วนราชการ สถาบันการศึกษา หรือกรณีจำเป็นอื่นใดที่ต้องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดไว้เพื่อศึกษาวิจัยและประโยชน์ทางราชการให้แจ้งขออนุญาตกรมประมงก่อน

ห้ามผู้ใดปล่อยสัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิด ลงในแหล่งน้ำธรรมชาติโดยเด็ดขาด เนื่องจากมีความผิดตามมาตรา 144 แห่ง พรก.การประมง 2558
บทลงโทษหากพบผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 หรือมาตรา 65 วรรคสอง ต้องระวางโทษตามมาตรา 144 จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง นำสัตว์น้ำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

รองอธิบดีกรมประมง กล่าวในตอนท้ายว่า การออกประกาศฉบับดังกล่าวโดยห้ามทำการเพาะเลี้ยง
สัตว์น้ำทั้ง 13 สายพันธุ์นี้ ถือเป็นอีกแนวทางที่จะช่วยลดปัญหาสัตว์น้ำต่างถิ่นที่หลุดรอดเข้ามาแพร่พันธุ์และสร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรไทย ดังนั้นจึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน หากท่านเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่น (สัตว์น้ำจากต่างประเทศ) และไม่ต้องการที่จะเลี้ยงอีกต่อไปแล้ว อย่านำไปปล่อยลงในแหล่งน้ำสาธารณะ ขอให้ท่านนำสัตว์น้ำเหล่านั้นมามอบให้กับทางกรมประมง หรือสำนักงานประมงจังหวัดในพื้นที่ใกล้บ้านท่าน ให้รับไปดูแล
เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์น้ำต่างถิ่นเกิดการหลุดรอดลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ อันจะสร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศแหล่งน้ำของประเทศในระยะยาว

นายสมพร เหรียญรุ่งเรือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี เปิดเผยกับ “เกษตรก้าวไกล” ในโครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย ว่า ทางศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้รับข้อมูลจากผู้ประกอบการรับซื้อทุเรียนหรือที่เรียกว่าล้ง ด้วยมีความประสงค์ต้องการรับซื้อและรวบรวมทุเรียนสายพันธุ์จันทบุรี เพื่อส่งออกไปยังประเทศจีน

โดยสายพันธุ์ที่มีความต้องการมาก เว็บเล่นพนันออนไลน์ ประกอบด้วย พันธุ์จันทบุรี 1 จันทบุรี 4 และจันทบุรี 10 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีได้ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยเป็นการนำสายพันธุ์พื้นเมืองจากแปลงรวบรวมพันธุ์ทุเรียนของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ที่มีมากกว่า 600 สายพันธุ์มาพัฒนาจนได้ทุเรียนพันธุ์ลูกผสมคุณภาพดี ถึง 10 สายพันธุ์ และตั้งชื่อว่า จันทบุรี 1-10

โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 สศก. โดยศูนย์ข้อมูล

(National Agricultural Big Data Center) หรือ NABC ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำตัวเลขประมาณการผลผลิต ระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 – 12 (สศท.) เพื่อให้ เจ้าหน้าที่ สศท. 1 – 12 เรียนรู้การใช้งาน Web Application และการปรับปรุงข้อมูลสถานการณ์ผลผลิตสินค้าเกษตรระดับจังหวัดได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพข้อมูลผลผลิตของระบบเสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งการวิเคราะห์เชิงลึกในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับโครงสร้างภาคเกษตรรายพื้นที่

เลขาธิการ สศก. กล่าวทิ้งท้ายว่า “การพัฒนาระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ภายใต้ความร่วมมือ ธปท. ในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จไปอีกขั้นของ Big Data ด้านการเกษตร อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ระยะแรก จะเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจให้เฉพาะผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานเกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งในส่วนของเกษตรกรและประชาชนทั่วไป สามารถสืบค้นข้อมูลบริการด้านต่าง ๆ อาทิ ได้จากเว็บไซต์ www.nabc.go.th หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ 0 2579 8161

ประเทศไทย มีภูมิปัญญาอันเนื่องมาจากการปลูกข้าวและมีข้าวเป็นอาหารหลัก สืบมาเป็นเวลา ช้านาน ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็น วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ เนื่องจากวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระอนุชา (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9)ทอดพระเนตรการทำนาและกิจการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ทั้งได้ทรงหว่านข้าวด้วยพระองค์เองในแปลงนาหลังตึกขาว (ปัจจุบันคือตึกพืชพรรณของกรมวิชาการเกษตร) ณ เกษตรกลางบางเขน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานต่อพสกนิกรชาวไทยและข้าวไทย เป็นวาระสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ของกิจกรรมข้าวไทย และยังเป็นพระราชกรณียกิจสุดท้ายในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 ที่คนไทยขอน้อมเกล้า ฯ รำลึกถึง

ต่อมา วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของรัชกาลที่ 8 เป็นวันรัฐพิธี โดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติ โดยจะมีพิธีถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 ดังนั้น วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558 จึงถือว่าเป็นวันรัฐพิธีเป็นปีแรก โดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะพร้อมใจกันมาวางพวงมาลา ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี เป็นพระราชโอรสพระองค์แรก ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีสมเด็จพระเชษฐภคินี 1 พระองค์

และสมเด็จพระอนุชา 1 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ ทั้งงานพระราชพิธี งานรัฐพิธี งานด้านการศาสนาและการศึกษา เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสด็จเยี่ยมโรงพยาบาล หน่วยทหาร สถานที่สำคัญต่างๆ และทรงริเริ่มประเพณีการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในชนบท โดยเริ่มในจังหวัดและอำเภอใกล้ๆ กรุงเทพฯ เช่น จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม ปากเกร็ด

พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งและมีผลระยะยาว คือ การเสด็จเยี่ยมชาวจีนในย่านสำเพ็ง พระนคร ซึ่งถือเป็นการเสด็จเยี่ยมราษฎรครั้งแรก โดยเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชา เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 การเสด็จเยี่ยมชาวจีนที่สำเพ็งครั้งนั้น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่ง เพราะทำให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างชาวจีนและชาวไทยที่มีมาก่อนหน้านั้นหายไป

พระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในการตรวจพลสวนสนามของกองทัพสัมพันธมิตรพร้อมด้วย ลอร์ด หลุยส์ เมาน์ตแบตตัน ณ ท้องสนามหลวงและถนนราชดำเนิน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าประเทศไทย ยังเป็นเอกราชมิได้ถูกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร

พระราชกรณียกิจสุดท้ายของพระองค์ที่มีความสำคัญต่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คือ การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรที่บางเขน และได้ทรงหว่านข้าว ณ แปลงสาธิตที่สถานีเกษตรกลางบางเขน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร มีกำหนดจะเสด็จกลับไปมหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เพื่อทรงทำปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ที่ยังค้างอยู่ให้สำเร็จ แต่ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489

ประวัติศาสตร์บอกเล่า (Oral History) จากการสัมภาษณ์บูรพาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศาสตราจารย์กิตติคุณ คุณชวนชม จันทระเปารยะ อดีตหัวหน้าภาควิชาคหกรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2540 สรุปได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จฯพร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาเพื่อทอดพระเนตรกิจการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 โดยเสด็จฯเยี่ยมตึกเคมี (ตึกสัตวบาล ปัจจุบันคือตึกหอประวัติ มก.) เพื่อพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้อาจารย์ ข้าราชการ และนิสิตเฝ้าฯ และพระราชทานพระบรมราโชวาท แล้วเสด็จฯต่อไปยังสโมสรข้าราชการ จากนั้นประทับรถยนต์พระที่นั่งไปยังตึกขาว (ตึกพืชพรรณ) และเสวยพระกระยาหารที่นั่น..ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 เสด็จฯ ลงยังชั้นล่างเพื่อทอดพระเนตรการแสดงเกี่ยวกับการเกษตร แล้วเสด็จฯไปนาทดลองซึ่งอยู่หลังตึก ทรงหว่านข้าวและพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ราษฎรทูลเกล้าฯถวายของแล้วเสด็จฯกลับ

วันที่ 5 มิถุนายน วันสำคัญของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และของชาติ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาที่มีการเรียนการสอนทางด้านการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย มีภารกิจสำคัญในงานสอนงานวิจัยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์และการเพิ่มมูลค่าเกี่ยวกับข้าวมา โดยตลอดการจัดกิจกรรมอันเนื่องด้วยการส่งเสริมการเกษตร จึงนับเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับความเป็นศาสตร์แห่งแผ่นดินของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง และ ในวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันสำคัญยิ่งของชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในอดีตได้ถือเอาวันที่ 5 มิถุนายนของ

ทุกปีเป็นวันต้อนรับน้องใหม่ (เริ่มปีใดไม่ปรากฏหลักฐาน) เนื่องจากเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ที่พระมหากษัตริย์ไทย คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และสมเด็จพระอนุชา ได้เสด็จ ฯ เยี่ยมชมกิจการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นครั้งแรก จึงถือว่าวันนี้เป็นวันสิริมงคลในการจัดงานต้อนรับน้องใหม่ ไม่ว่าวันที่ 5 มิถุนายนจะตรงกับวันใดก็ตาม ถ้าตรงกับวันธรรมดามหาวิทยาลัยต้องหยุดเรียน 3 วัน คือ วันที่ 4 มิถุนายน เป็นวันเตรียมงาน วันที่ 5 เป็นวันพิธี และวันที่ 6 เป็นวันเก็บงาน

ถือเป็นประเพณีต้อนรับน้องใหม่ในยุคนั้นและได้ถือปฏิบัติกันสืบเนื่องต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2502 จึงได้เปลี่ยนเป็นวันใดก็ได้ที่เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ เพราะเป็นการสะดวกสำหรับนิสิตที่ไม่ต้องหยุดเรียน ซึ่งปัจจุบันวันรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้ปรับเปลี่ยนไปตามระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย และระบบเปิดปิดภาคการศึกษาใหม่ตามประชาคมอาเซียน จวบจนปัจจุบันด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้มีการรับน้องใหม่และจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ 100 %

เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในครั้งนั้น มิได้เลือนหายไปจากความทรงจำของชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ยังคงฝังแน่นไว้ด้วยความจงรักภักดีและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระมหากษัตริย์ไทยทั้ง 2 พระองค์ ได้เสด็จ ฯ เยี่ยมชมกิจการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ทรงหว่านข้าว ณ เกษตรกลาง บางเขน เพื่อเป็นการสืบทอดพระราชปณิธานของพระมหากษัตริย์ไทย ที่ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ ชมรม มก.อาวุโส และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้ร่วมกันจัดงานทำบุญถวายเป็นพระราชกุศล

ในวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี โดยใช้ชื่องานว่า “งานวันรำลึกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงหว่านข้าว ณ เกษตรกลางบางเขน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 โดยจัดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 ที่ได้พระราชทานความสำคัญต่อภาคการเกษตรและข้าว ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของประเทศไทยเสมอมา

ถือว่าเป็นปฏิบัติการเร่งด่วนก็ว่าได้ เกี่ยวกับการเปิดตัวโครงการเกษตรก้าวไกล LIVE ฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ 6 ปี เว็บไซต์เกษตรก้าวไกลและสื่อออนไลน์ในเครือ ซึ่งในตอนนี้ก็ได้ฤกษ์ผานาทีที่ชัดเจน จะเปิดสนามนัดแรก วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน 2564 ที่ไร่คุณชาย อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี

ยุคโควิด-19 นี่ จะบอกอะไร ทำอะไร ต้องรวดเร็วฉับไว รู้อะไรไม่ต้องรู้นาน แต่รู้แล้วต้องทำทันที..ทำวันนี้ให้ดีที่สุด ประธานเปิดงานก็คือ นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งทาง “เกษตรก้าวไกล” ได้เข้าหารือเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 ท่านอธิบดีบอกว่ายินดีมากที่สื่อมวลชนได้ริเริ่มโครงการในลักษณะนี้ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางการเกษตรในยุคโควิด ที่ใช้ระบบออนไลน์เป็นเครื่องมือ ท่านบอกว่าช่วงนี้เสียดายมากที่ไม่ได้ลงพื้นที่ไปหาเกษตรกร เพราะเกิดโควิด หากสถานการณ์คลายเมื่อไรจะรีบลงพื้นที่เหมือนเดิม

ในช่วงวันเปิดตัวโครงการเกษตรก้าวไกล LIVE ซึ่งจะเสมือนเป็นการเปิดสนามนัดแรก (ช่วง 1-2 เดือนนี้ จะตรงกับการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2020 และโอลิมปิกเกมส์ 2021 เราก็เลยอิงให้เข้ากับบรรยากาศนี้ด้วย) หลังจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวเปิดงานจบลง(เปิดงานผ่านระบบออนไลน์จากกรมส่งเสริมการเกษตร กรุงเทพฯ)ก็จะส่งไม้ต่อให้กับ นายมนตรี เชื้อใจ เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี (อยู่ในพื้นที่จริง) ซึ่งตรงนี้พิธีการจะเป็นอย่างไร ทางเกษตรก้าวไกลจะขออุบไว้ก่อน

กล่าวสำหรับไร่คุณชาย โดย นายสมชาย แซ่ตัน CEO เจ้าของสวนนั้น ก็ได้รับการส่งเสริมเรื่องท่องเที่ยวเชิงการเกษตร โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ผ่านทางเกษตรอำเภอไทรโยค และเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในสวนครั้งนี้จึงหวังให้เป็นต้นแบบต่อไป

สำหรับรายละเอียดของกิจกรรม หลังพิธีเปิดจบลง ก็จะออกเดินทาง LIVE ลุยไปตามเรือกสวนตามไร่นาตามฟาร์มของพี่น้องเกษตรที่สามารถเดินทางได้ ส่วนที่เดินทางไม่ได้ก็จะใช้ระบบออนไลน์เชื่อมโยงถึงกัน รวมทั้งการลุยไปยังหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ “เราคนไทยเกษตรกรไทยจะฝ่าฟันสู้วิกฤตโควิดไปด้วยกันอย่างไร” นี่คือภารกิจในครั้งนี้ (รายละเอียดเพิ่มเติมของกิจกรรมครั้งนี้ คลิกอ่าน https://bit.ly/2SMMox0)

ก่อนที่จะถึงวันงาน ขอนำภาพไร่คุณชายมาให้ชมกันไปพลางๆก่อน เวลานี้ทุเรียนอายุ 4 ปี จะเริ่มตัดได้บ้าง เงาะก็ดกมาก มะละกอยิ่งไม่ต้องพูดถึงดกมาหลายปีดีดัก ยังมีขนุน ส้มโอ ฯลฯ เรื่องทุเรียนที่ออกลูกปีแรกนั้นมีจำนวนไม่กี่ลูก กำลังคิดอยู่ว่าทำอย่างไรให้เกิดมูลค่าต่อเกษตรกร ใครมีไอเดียอะไรก็นำเสนอเข้ามาได้

สำหรับท่านที่ไปร่วมกิจกรรมเปิดสนามนัดแรกไม่ได้ ขอให้ดูจากการถ่ายทอดสดจากเพจเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน และช่องยูทูปเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน..ขอย้ำว่าเรามีความมุ่งมั่นตั้งใจที่อยากจะให้เกิดกิจกรรมขึ้นในสวนของพี่น้องเกษตรกรเยอะๆ ทำอย่างไรให้ถนนทุกสายมุ่งหน้ามาหาเกษตรกร ทำได้ประเทศไทยของเรารวยแน่นอนครับ

หลายฝ่ายกำลังพูดถึงทุเรียนไม้ผลเศรษฐกิจเบอร์ 1 ของประเทศไทย เฉพาะส่งออกผลสดไปเมืองจีนในปีที่ผ่านมามีมูลค่าเกือบ 70,000 ล้านบาท ชนิดที่เรียกว่าไทยครองแชมป์เป็นเจ้าทุเรียนโลกตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แต่อนาคตจะยั่งยืนแค่ไหน เป็นเรื่องที่ต้องถกกัน

“เกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน” เลียบๆเคียงๆเรื่องทุเรียนมาตั้งแต่ปี 2561 ภายใต้โครงการเกษตรคือประเทศไทย เดินทางลุยพื้นที่ทุเรียนทั่วประเทศ ตั้งใจว่าปีนี้ 2564 จะจัดกิจกรรมเชิงลึก “ตามหาสุดยอดทุเรียนพื้นบ้านไทย” แต่ก็ยังไม่บรรลุข้อตกลงเนื่องจากต้องประสานงานหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะทุเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล บางต้นอยู่ในป่าลึก และบังเอิญอยู่ในสถานการณ์โควิด ก็เลยต้องพับโครงการไว้ก่อน…

แต่ช้าแต่..ไหนๆก็ออกเดินทางมาบ้างแล้ว จะเลี้ยวกลับมาตั้งหลักแบบไม่มีอะไรติดมือก็ใช่ที ก็เลยว่าปรับโครงการย่อส่วนให้กระชับลงเป็นการอุ่นเครื่อง เพื่อที่จะชกจริงลุยจริงในปี 2565 ด้วยการตามหาสุดยอดทุเรียนไทยเท่าที่จะสามารถทำได้

ความหมายของ “สุดยอดทุเรียนไทย” ที่จะตามหามานำเสนอ เช่น สุดยอดด้านการจัดการสมัยใหม่ สุดยอดด้านการอนุรักษ์พันธุ์กรรม สุดยอดด้านความโดดเด่นเชิงพื้นที่ และสุดยอดด้านอื่นๆ (เช่น ความแปลกใหม่ของพันธุ์ทุเรียน ภูมิปัญญาด้านการปลูกทุเรียน ฯลฯ)

ทั้งหมดนี้เพื่อต้องการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องทิศทางการพัฒนาทุเรียนไทยให้เกิดความยั่งยืน อีกทั้งรณรงค์ให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรทุเรียนไทย พร้อมๆกับการท่องเที่ยวชุมชนไปเที่ยวสวนทุเรียนต่างๆ และในฐานะสื่อมวลชนด้านการเกษตรเราก็หวังว่าการสื่อสารผ่านระบบออนไลน์ข้อมูลจะหลั่งไหลไปสู่ชาวโลกอย่างรวดเร็วว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางทรัพยากรชีวภาพ โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นที่ยังคงอนุรักษ์ไว้

วันไหนโควิดคลาย ฉีดวัคซีนกันส่วนใหญ่แล้วก็ให้มาเที่ยวเมืองไทย ถ้าไม่รีบนำเสนอตอนนี้ที่คนส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่บนโลกออนไลน์เราก็จะพลาดโอกาสทองได้

สำหรับโครงการนี้ เราได้รับการสนับสนุนจากฟอร์ดประเทศไทย ที่มองเห็นคุณค่าการอนุรักษ์ทุเรียนพื้นเมืองไทย รวมทั้งมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะทำให้เกิดขึ้นกับพี่น้องเกษตรกรไทย และเรากำลังประสานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะเริ่มลุยได้ในช่วงกลางเดือนมิถุนายนคู่กับโครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย..อย่าลืมติดตามนะครับ

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (กองทุน FTA) ได้อนุมัติงบประมาณ จำนวน 21.88 ล้านบาท ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการตลาดโคเนื้อสุรินทร์วากิวครบวงจรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้เกษตรกรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคขุนสุรินทร์โกเบครบวงจร ตำบลสลักได อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยมีกรมปศุสัตว์ เป็นผู้กำกับดูแล ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 ปี (ตั้งแต่ ปี 2564 – 2573) โดยร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคขุนพันธุ์สุรินทร์วากิว ให้เป็นเนื้อโคที่ดีมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

การอนุมัติงบประมาณดังกล่าว เพื่อลดผลกระทบจากการสิ้นสุดมาตรการปกป้องพิเศษ (SSG) ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลีย (TAFTA) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นมา ซึ่งกำหนดให้สินค้าเกษตร ที่นำเข้าจากออสเตรเลียจำนวน 17 รายการ เช่น เนื้อวัวและเครื่องใน เนื้อหมูและเครื่องใน ผลิตภัณฑ์จากเนยและนม เป็นต้น จะไม่มีภาษี ไม่จำกัดปริมาณการนำเข้าอีกต่อไป

สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคขุนสุรินทร์โกเบครบวงจร ตำบลสลักได อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ นับเป็นกลุ่มวิสาหกิจที่ประกอบอาชีพเลี้ยงโคเนื้อสายพันธุ์วากิว ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ปัจจุบันมีสมาชิก 107 ราย จำนวนโคแม่พันธุ์ 2,079 ตัว แต่ผลผลิตของกลุ่มฯ ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ซึ่งมีความต้องการประมาณเดือนละ 60 ตัว หรือ ปีละ 720 ตัว ขณะที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ผลิตได้เพียงเดือนละ 18 ตัว หรือปีละ 216 ตัว (คิดเป็นร้อยละ 30 ของตลาดที่มีอยู่)

เป้าหมายของโครงการ คือ การผลิตลูกโคเพศผู้สำหรับขุนได้ ไม่น้อยกว่า 240 ตัว/ปี หรือ 2,400 ตัวตลอด ทั้งโครงการ ด้วยระบบการบริหารจัดการฟาร์มแบบคอกกลาง (Central Feedlot) มีการจัดอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรผู้เป็นสมาชิก ทั้งนี้ จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแล และควบคุมโดยกรมปศุสัตว์ ขณะที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จะร่วมยกระดับการบริหารจัดการฟาร์มภายใต้แนวคิดการผลิตแบบคอกกลางที่มีศักยภาพ ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ 10 ปี เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการ และจะเป็นเนื้อโคขุนที่มีเกรดคุณภาพไขมันแทรกระดับ 2.5 ขึ้นไป จากฟาร์มที่ได้มาตรฐาน GFM / GAP เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดระดับบน ซึ่งเป็นตลาดเนื้อโคขุนคุณภาพ นอกจากนี้ โครงการนี้ ยังได้จัดทำความตกลงด้านการตลาด (MOU) กับบริษัทคู่ค้าไว้แล้ว จำนวน 2 ฉบับ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่เกษตรกรว่า มีตลาดรองรับผลผลิตอย่างแน่นอน

“ที่ผ่านมา สินค้าโคเนื้อ นับเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากตลาดภายในประเทศอย่างมาก แต่กลับพบว่า ปริมาณการผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะเนื้อโคคุณภาพระดับเกรดไขมันแทรกตั้งแต่ระดับ 2.5 ขึ้นไป ดังนั้น หากประเทศไทยสามารถผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพไขมันแทรกได้เอง เช่น โคเนื้อลูกผสมยุโรป ชาโรเร่ส์ แองกัส บราห์มัน หรือโคลูกผสมวากิว ที่เป็นโคสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น จะส่งผลให้ไทยสามารถลดการนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศได้ ซึ่ง สศก. โดยกองทุน FTA เรามีความมุ่งมั่นและยินดีให้การสนับสนุนเงินทุน ให้คำปรึกษาแก่กลุ่มเกษตรกร สำหรับนำไปพัฒนาศักยภาพ ทั้งในด้านการผลิต การตลาด เพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ร่วมกันพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าเกษตรไทย” รองเลขาธิการ สศก. กล่าว

กรมวิชาการเกษตร เร่งเครื่องขยายผลเทคโนโลยีชีวภัณฑ์และปุ๋ยชีวภาพสู่ภูมิภาค ดันนักวิจัยในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยงขยายผลองค์ความรู้สู่กลุ่มเกษตรกรผลิตได้ ใช้เป็น วางเป้าโครงการปีครึ่งเกษตรกรกว่า 8 พันรายใน 57 จังหวัดรับเทคโนโลยีผลิตใช้เองได้ พร้อมต่อยอดสร้างรายได้เป็นอาชีพเสริม ชูโครงการสอดรับนโยบายเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย

นายอนันต์ อักษรศรี รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะโฆษกกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนโครงการขยายผลงานวิจัยและเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรที่ประสบผลสำเร็จแล้วไปสู่เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดเป็นนโยบายหลักของนายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ซึ่งได้มอบนโยบายให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรทั้ง 8 เขตหน่วยงานในส่วนภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตรเร่งดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ซึ่งในปี 2564 นี้กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำโครงการวิจัยต่อยอดและขยายผลเทคโนโลยีการใช้ชีวภัณฑ์และปุ๋ยชีวภาพเพื่อการผลิตพืชปลอดภัยและพืชอินทรีย์ ซึ่งจะเริ่มดำเนินโครงการในเดือนกรกฎาคม 2564 นี้ โดยมีเป้าหมายขยายผลเทคโนโลยีไปสู่กลุ่มเกษตรกรจำนวน 8,425 รายครอบคลุมพื้นที่จำนวน 57 จังหวัด

กรมวิชาการเกษตรมีผลงานวิจัยปุ๋ยชีวภาพหลายชนิดที่มีคุณสมบัติช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและเพิ่มธาตุอาหารที่สำคัญให้แก่ดินที่ใช้เพาะปลูกพืช ซึ่งช่วยลดและทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีและเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ปุ๋ยชีภาพไมคอร์ไรซ่า ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอตเฟต และแหนแดง รวมทั้งยังมีผลงานวิจัยด้านชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชและการผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติเพื่อนำไปใช้ทดแทนสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ แตนเบียนควบคุมแมลงศัตรูพืช แมลงหางหนีบ แมลงช้างปีกใส มวนพิฆาต ไวรัสเอ็นพีวี แบคทีเรียบีที ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืช เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม ไตรโคเดอร์มา เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี และแบคทีเรีย Bs-DOA24 แต่ที่ผ่านมาการนำผลงานวิจัยดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ยังไม่กว้างขวางเท่าที่ควร เนื่องจากสถานที่ผลิตอยู่ในหน่วยงานส่วนกลางห่างไกลจากเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ที่ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเหล่านี้

โฆษกกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า จากปัญหาดังกล่าวอธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงได้มีข้อสั่งการให้มีการขยายผลเทคโนโลยีจากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชและกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไปสู่บุคลากรของกรมวิชาการเกษตรในส่วนภูมิภาคทั้ง 8 แห่ง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งผ่านการอบรมแล้วนำเทคโนโลยีไปขยายผลต่อให้กลุ่มเกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยชีวภาพและชีวภัณฑ์บางชนิดที่มีขั้นตอนไม่ยุ่งยากใช้เองได้ โดยภายหลังจากการขยายผลให้แก่กลุ่มเกษตรกรแล้วเจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจติดตามให้คำแนะนำตลอดขั้นตอนการผลิตจนมั่นใจว่ากลุ่มเกษตรกรสามารถผลิตได้เองอย่างมีคุณภาพ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะทำให้เกษตรกรมีปุ๋ยชีวภาพและชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชไว้ใช้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดฤดูกาลผลิต ช่วยลดต้นทุนการผลิต และบางรายยังสามารถต่อยอดผลิตเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้เพิ่มขึ้นได้ด้วย ทำให้เกษตรกรสามารถผลิตพืชที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ไม่มีสารพิษ ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น สอดรับนโยบายลด ละ เลิกการใช้สารเคมีทางการเกษตรของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

“โครงการวิจัยขยายผลเทคโนโลยีการใช้ชีวภัณฑ์และปุ๋ยชีวภาพเพื่อการผลิตพืชปลอดภัยและอินทรีย์จะเริ่มดำเนินการในเดือนกรกฎาคม 2564 – ธันวาคม 2565 คาดว่าหลังสิ้นสุดโครงการจะมีกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพืชผักและผลไม้จำนวน 8,425 ราย ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ 57 จังหวัดสามารถผลิตชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชและปุ๋ยชีวภาพไว้ใช้เองได้และผลิตขายเป็นอาชีพเสริม รวมทั้งยังมีศูนย์เครือข่ายในส่วนภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตรจำนวน 57 ศูนย์เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้การผลิตและกระจายชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชไปสู่กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ที่ต้องการผลิตพืชปลอดภัยและพืชอินทรีย์” โฆษกกรมวิชาการเกษตร กล่าว

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้ COVID-19 ภายใต้กระทรวงอว.โดยการสนับสนุนของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้เปิดบริการฉีดวัคซีนมาแล้ว 4 วันคือวันที่ 7 ,9 ,11, 12 มิ.ย. 64 มีผู้ฉีดวัคซีนไปแล้ว 16,707 คน รายวันเฉลี่ยฉีดวัคซีนได้ 5,000 คน โดยรายงานยอดการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของวันที่ 12 มิถุนายน 2564 ณ ช่วงเวลาประมาณ 18.30 น. ฉีดวัคซีนไปแล้ว 5, 666 คน

“ศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้ COVID-19 มีเป้าหมายในการให้บริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มบุคลากร นิสิต นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสถาบันการศึกษาอื่นๆ ที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง รวมถึงหน่วยงานและชุมชนโดยรอบ ในระยะถัดไปตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถลงทะเบียนเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ด้วย โดยคาดว่าเมื่อถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2564 จะสามารถฉีดวัคซีนรวม 2.4 แสนโดส เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศไทยตามวาระแห่งชาติโดยเร็ว ทั้งนี้ การให้บริการของศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้ COVID-19 สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องมาจากมี ระบบการฉีดวัคซีนภาคสนามที่พัฒนาโดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

อีกทั้งมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย Application CRA CARE นำมาใช้นำร่องที่ศูนย์แห่งนี้ เป็นรูปแบบใหม่ที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ร่วมกันพัฒนากับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) โดยใช้ Tablet และ Card Reader ในการลงทะเบียนและบริหารจัดการข้อมูลและให้คนรับวัคซีนนั่งอยู่กับที่ตั้งแต่เริ่มต้นลงทะเบียนด้วยบัตรประชาชน วัดความดัน ฉีดวัคซีน และเฝ้าระวังอาการหลังฉีดจนเสร็จโดยไม่ต้องเดินไปตามจุดต่าง ๆ โดยเจ้าหน้าที่ พยาบาล และแพทย์จะเป็นผู้ที่เดินให้บริการแก่ผู้ที่มารับวัคซีนเอง ซึ่งวิธีดังกล่าวนี้จะช่วยประหยัดทรัพยากรบุคคล และแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ได้มาก สร้างความสะดวก รวดเร็ว ให้กับผู้มาฉีดวัคซีน โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาที่จฺุดฉีดวัคซีนนี้ 35-40 นาที ต่อคน” ดร.จงรัก กล่าว

วันนี้ (14 มิ.ย. 64) ที่ไร่คุณชาย บ้านพุตะเคียน ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เว็บไซต์เกษตรก้าวไกล ได้จัดพิธีเปิดโครงการ “เกษตรก้าวไกล LIVE ฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย” ขึ้น โดยมี นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดงาน ได้กล่าวเปิดงานผ่านระบบออนไลน์ นายมนตรี เชื้อใจ เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี เป็นตัวแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ทำพิธีเปิดด้วยการตัดทุเรียนด้วยดาบอาญาสิทธิ์ พร้อมแขกผู้มีเกียรติจากภาคส่วนต่างๆ ประกอบด้วย นายสาวิตร เจียมจิระพร นายอำเภอไทรโยค นายชาตรี คงสุวรรณ ปลัดอำเภอไทรโยค นางสาวสิรินวรรณ สุวรรณ เกษตรอำเภอไทรโยค นางสาวปาณิสรา ผิวนวล ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาน้ำตกไทรโยคน้อย ดร.ปิยะพร พิทักษ์ตันสกุล รองคณะบดีคณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี นายวิกิจ แก้วจิตคงทอง นายก อบต.ท่าเสา นางสาวมัทนา ศรอารา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ตำบลท่าเสา และตัวแทนเกษตรกรในพื้นที่

นายพรศักดิ์ พงศาปาน หรือ “ลุงพร เกษตรก้าวไกล” ประธานและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์เกษตรก้าวไกล เปิดเผยว่า เว็บไซต์เกษตรก้าวไกลและสื่อออนไลน์ในเครือได้เปิดดำเนินการครบรอบ 6 ปี ในปี 2564 ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมาได้มุ่งมั่นพัฒนาการรายงานข่าวเกษตรด้วยระบบการสื่อสารสมัยใหม่เพื่อต้องการเชื่อมโยงสังคมเกษตรไปสู่คนไทยทั่วประเทศ โดยจัดโครงการเกษตรคือประเทศไทย “เกษตรกรอยู่ที่ไหนเราอยู่ที่นั่น” และเมื่อเกิดสถานการณ์โควิดจึงจัดโครงการพิเศษมุ่งเน้นการ LIVE สด ปลุกเร้าเกษตรกรไทยให้ลุกขึ้นสู้ไปด้วยกัน ภายใต้ชื่อโครงการ “เกษตรก้าวไกล LIVE ฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย”

“ภายใต้โครงการฯดังกล่าว จะเน้นนำเสนอบทสัมภาษณ์เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 32 คน พร้อมการสาธิตอาชีพสร้างรายได้เร่งด่วน จำนวน 4 อาชีพ และเสวนาออนไลน์ จำนวน 4 เรื่อง รวมทั้งหมด 40 เรื่อง โดยจะเน้นนำเสนอแง่มุมความคิด “พลิกวิกฤตโควิดเป็นโอกาส” พร้อมกลยุทธ์การปรับตัวในยุค New Normal ทุกเรื่องจะถ่ายทอดสด LIVE ผ่านเพจ Facebook และ YouTube ช่องเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน ซึ่งจะยังนำประโยชน์ให้กับการพัฒนาภาคเกษตรของประเทศไทย” ลุงพร กล่าว

ด้าน นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะประธานเปิดโครงการได้กล่าวผ่าน LIVE ว่า เกษตรก้าวไกล ถือเป็นต้นแบบสื่อออนไลน์ที่สร้างประโยชน์ให้ทั้งเกษตรกรในการถ่ายทอดเรื่องราวความสำเร็จในการประกอบอาชีพ รวมถึงการเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร และ ในโอกาสที่เกษตรก้าวไกล ครบรอบปีที่ 6 และมีการจัดโครงการ “เกษตรก้าวไกล LIVE ฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย” ในครั้งนี้ ถือเป็นการทำงานในบทบาทของสื่อมวลชนด้วยการเลือกที่จะไม่ทำงานในห้อง แต่เน้นการลงพื้นที่จริง สัมผัสเกษตรกรตัวจริง นำประโยชน์ไปสู่ผู้สนใจในวงกว้าง และในโอกาสนี้ขอฝากถึงเกษตรกรว่า ให้ยึดคำว่าคุณภาพเป็นหลัก สร้างผลผลิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

สำหรับในพิธีเปิดโครงการฯ ได้ใช้สัญลักษณ์การตัดผลทุเรียนด้วยดาบที่เรียกว่า “ดาบอาญาสิทธิ์” เป็นดาบที่ได้รับมอบมาจากวัดเส้าหลิน ประเทศจีน ซึ่งประเทศจีนเป็นคู่ค้าสำคัญนำเข้าทุเรียนปีที่ผ่านมามีมูลค่าเกือบ 70,000 ล้านบาท มีจุดหมายเพื่อสื่อไปถึงเกษตรกรว่าอย่าตัดทุเรียนอ่อน ไม่เช่นนั้นแล้วตลาดอาจมีผลกระทบและเกษตรกรที่ไม่ใส่ใจยังมีการตัดทุเรียนอ่อนจำหน่าย จะต้องได้รับการจัดการตามมาตรการที่กฎหมายกำหนด เหมือนเป็นการ “ลงดาบ” หรือลงโทษนั่นเอง

ขณะที่ นายมนตรี เชื้อใจ เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี ผู้ที่ได้รับมอบดาบจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อนำมาใช้ในการตัดทุเรียน ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาไม้ผลจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งยึดหลักตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ 2564 จะเน้นทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

การถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตไม้ผลที่สำคัญ สมัคร GClub ได้แก่ เงาะ ทุเรียน ส้มโอ มังคุด ชมพู่ มะขามหวาน เป็นต้น เพื่อพัฒนาการผลิตไม้ผลให้ได้คุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัย และการสนับสนุนการรับรองแหล่งผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์ พร้อมทั้งการสนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการเสนอช่องทางการจำหน่ายสินค้าในตลาดท้องถิ่น ตลาดเกษตรกร และตลาดออนไลน์ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ผลผลิตสินค้าเกษตรและการจัดอีเว้นท์ต่าง ๆ

ส่งมอบ “กบชายน้ำ” ลูกละ 1 แสนแล้ว เผยที่มาราคา เฉพาะลูกละ

เป็นที่ฮือฮาลือลั่นมากเมื่อสวนจิตร์นิยม อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี ได้ประกาศขายทุเรียนกบชายน้ำของสวนประจำฤดูกาลนี้ว่า ทุเรียนลูกนางพญา 1 ต้นมีเพียงลูกเดียว ขายลูกละ 100,000 บาท ซึ่งขายมาหลายปีแล้ว และในฤดูกาลนี้ “เกษตรก้าวไกล” ได้ลุยไป LIVE ถึงสวนในเวลามืดค่ำ ตามรายละเอียดจากคลิป https://fb.watch/5GIODlXghg/

หลังจากได้ LIVE สด ก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันพอสมควร โดยส่วนใหญ่ผู้คนก็บอกว่าไม่น่าจะเป็นเรื่องจริง เป็นการสร้างข่าวบ้างละ อยากเห็นหน้าคนซื้อจัง ต่างๆนาๆ จนเมื่อตอนบ่ายวันนี้(23 พ.คง64) “จตุพล เกษตรก้าวไกล” ก็ต้องรุดไปที่สวนอีกครั้ง เพราะทราบว่าทุเรียนลูกละ 1 แสน ได้มีการส่งมอบให้ลูกค้าที่จองแล้ว

พร้อมกันนั้นได้ LIVE อีกครั้ง เพื่อคลายข้อสงสัยว่าที่ออกข่าวไปมีผลกลับมาอย่างไร ขายได้ราคาจริงตามที่ว่าหรือไม่ และได้ปีนขึ้นต้นทุเรียนไปดูลูกที่จองกันไว้ ซึ่งสรุปว่าทุเรียนกบชายน้ำ ลูกละ 11,000 บาท จาก 300 ลูก ตอนนี้ขายเหลือ 40 กว่าลูก โดย คุณเกรียงศักดิ์ อุดมสิน หรือพี่หมู ได้ให้ข้อมูลรายละเอียดว่ามีผู้สนใจจองจำนวนมาก พร้อมบอกกถึงที่มาของสายพันธุ์ว่ามาจากรุ่นอากง ซื้อกบชายน้ำจากจังหวัดนนทบุรี จากนั้นนำมาเพาะเมล็ดปลูกไว้ ซึ่งมีลักษณะลูกกลม เนื้อเนียน อร่อยมาก โดยรุ่นลูกๆ

ได้สืบทอดมาเป็นรุ่นที่ 4 แล้ว ส่วนการตั้งราคากบชายน้ำที่สูงนั้น ครั้งแรกก็ไม่ได้คิดว่าจะขายได้ราคาสูงขนาดนี้ เกิดจากความไม่ตั้งใจ เกิดขึ้นเมื่อ 8 ปีที่แล้ว จากลูกค้าคนจีนคนหนึ่งที่สนใจจะขอซื้อ ก็บอกว่าทุเรียนนี้ราคากิโลกรัมละ 5,000-6,000 บาท ก็ไม่คิดว่าเขาจะซื้อ และเหมาคนเดียว 100 ลูก ได้มาเล่าให้คุณแม่ฟัง คูณแม่บอกว่าจะบ้าหรือขายแพงขนาดนี้ และอีกเหตุผลหนึ่งต้องการทำสิ่งที่คุณพ่อสร้างไว้ให้มีมูลค่าที่สุด รวมทั้งการออกแบบแพ็คเก็จจิ้งต่างๆ ก็มีส่วนสำคัญ คลิกชมรายละเอียดเพิ่มเติมจากคลิปในนาทีท้าย

อนึ่ง ทุเรียนกบชายน้ำลูกละ 100,000 บาท ทางเฟสบุ๊คของผู้ใช้นาม Narinchat Phuchutthanutkul ได้ลงไว้เมื่อวานนี้ (22 พ.ค.64) ตามข้อความว่า..

“นอกจากจะมีโอกาสชมผ้าโบราณแล้ว ยังได้ร่วมพิธีส่งมอบทุเรียนกบชายน้ำ ลูกนางพญา ราคาลูกละ 100,000 บาท จากสวนจิตร์นิยม จ.ปราจีนบุรี ของคุณเกรียงศักดิ์เจ้าของสวนมาส่งมอบให้แก่ คุณพ่อสำราญ เฮือนไทโซ่ง จ.ราชบุรี ด้วยตนเอง และคุณพ่อสำราญยังเมตตาให้ชิมทุเรียนกบชายน้ำรุ่นลูก รุ่นหลาน (ลูกละ 8,000 -11,000) มีความสุขกันถ้วนหน้า

นางพญาลูกนี้ไม่ธรรมดา มาจากต้นทุเรียนที่มีอายุกว่า 120 ปี ลักษณะอวบสมบูรณ์ กลิ่นหอมเหมือนเกสรดอกไม้ ลูกใหญ่กว่าทุกลูกบนต้น ออกลูกก่อนใครแต่สุกไม่พร้อมใคร สนใจต้องเข้าไปอ่านประวัติต่อค่ะ”

พร้อมกับภาพประกอบหลายภาพ แต่เกษตรก้าวไกลขอคัดมาจำนวน 3 ภาพ ซึ่งต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ สำหรับผู้สนใจทุเรียนกบชายน้ำที่ยังเหลืออยู่ สามารถสั่งจองได้ที่ เซเว่นอีเลฟเว่น ซึ่งเพจ 7-Eleven Thailand ได้ลงครั้งแรกเมื่อ 8 พฤษภาคม เวลา 10:00 น. ว่า “ขอเสนอ…ที่สุดของทุเรียนในตำนาน กบชายน้ำ พันธุ์โบราณหายาก เก็บจากต้นอายุมากกว่า 100 ปี จากสวนจิตร์นิยม ผลกลมสม่ำเสมอ เนื้อเนียนละเอียด ไร้ใย เก็บได้หลายวัน ไม่เละ กลิ่นหอม ไม่ฉุน คุณภาพคับพู อร่อยขึ้นหิ้ง กินแล้ววางไม่ลงจริงๆ จะบอกให้..สาวกทุเรียนอย่าพลาด ราคาลูกละ 11,000 บาทว่าแต่มีใครอยากจะหารกับแอดไหมคร้าบ..ด่วน! จำนวนจำกัด สั่งเลยวันนี้‼️ ส่งฟรี บรรจุกล่องพรีเมียมถึงบ้าน คลิกเลย”

ทั้งหมดนี้ก็แสดงให้เห็นว่า เกษตรกรไทย สวนจิตร์นิยม จ.ปราจีนบุรี ทำได้..ใครสนใจที่จะสั่งจองทุเรียนลูกละ 11,000 บาท ก็ให้รีบจอง ช้าอดหมดได้ชิม ต้องรอฤดูกาลหน้าครับ

กรุงเทพฯ 24 พฤษภาคม 2564 – คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เดินหน้าสร้างความเป็นธรรมพร้อมดูแลเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ทั่วประเทศ รับฤดูกาลผลไม้ไทยหลากหลายชนิดที่มีผลผลิตทยอยออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก พร้อมเตือนผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) ห้ามมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายการกระทำความผิด ไกด์ไลน์แนวทางการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจการรับซื้อผลไม้

ประกอบด้วย 1.การไม่ระบุวันหรือช่วงเวลาในการเข้าเก็บผลไม้ 2. การต่อรองราคารับซื้อผลไม้ลดลงจากที่กำหนดไว้ในสัญญา 3. ปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมจนทำให้เกิดความเสียหาย และ 4. การฮั้วกันกำหนดราคารับซื้อผลไม้ ซึ่งหากเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ประสบปัญหาถูกเอารัดเอาเปรียบหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) สามารถร้องเรียนโดยตรงได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือช่องทางเว็บไซต์และอื่น ๆ ได้ทันที

นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ กรรมการการแข่งขันทางการค้า และโฆษกคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เปิดเผยว่า ฤดูกาลผลไม้หลากหลายชนิดที่ผลผลิตกำลังออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลทำให้เกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ได้ประสบปัญหาการถูก เอารัดเอาเปรียบจากกลุ่มธุรกิจที่รับซื้อผลไม้ (ล้ง) เนื่องจากการมีอำนาจต่อรองที่น้อยกว่า คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) จึงได้เน้นความสำคัญในการเข้าไปกำกับดูแลเกษตรกรผูปลูกผลไม้ให้ได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น โดยจะเข้มงวดกวดขันให้ผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) ปฏิบัติตามแนวทางการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2563 เป็นต้นมา

ทั้งนี้ประกาศดังกล่าวได้กำหนดพฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรมที่อาจเข้าข่ายความผิดมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย

การไม่ระบุวันหรือช่วงเวลาในการเข้าเก็บผลไม้ การใช้อำนาจต่อรองที่เหนือกว่า รวมถึงเงื่อนไขการค้าที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถขายผลไม้ให้ผู้รับซื้อผลไม้ให้ผู้รับซื้อผลไม้รายอื่นได้ เป็นต้น
การต่อรองราคารับซื้อผลไม้ลดลงจากที่กำหนดไว้ในสัญญาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร การกำหนดคุณภาพของผลไม้หรือเงื่อนไขอื่นใดที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น
การชะลอการเข้าเก็บผลไม้ การเก็บผลไม้ไม่ครบตามจำนวนที่ตกลงไว้ในสัญญา หรือเลือกเก็บผลไม้บางส่วน รวมทั้งพฤติกรรมในลักษณะอื่น ๆ ที่เป็นการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น
การฮั้วกันเพื่อผูกขาดหรือลดการแข่งขัน เช่น การร่วมกันกำหนดราคาซื้อหรือจำกัดปริมาณของสินค้า หรือร่วมกันกำหนดแบ่งท้องที่ซื้อขาย เป็นต้น

นายสันติชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ถูกเอาเปรียบทางการค้า มีอยู่เป็นประจำทุกปี คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรในเรื่องดังกล่าว พร้อมกำชับให้ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) เข้าไปกำกับดูแลให้ความเป็นธรรมภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า และลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างจริงจัง โดยที่ผ่านมามีเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ภาคตะวันออก ร้องเรียนว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) ที่มีพฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรมจำนวนทั้งหมด 10 เรื่อง ซึ่งตรวจพบว่ามีการกระทำความผิดที่เข้าข่ายการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมตามมาตรา 57 จำนวน 1 ราย และได้ลงโทษปรับทางปกครอง

ซึ่งมีโทษปรับสูงสุดอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ในปีที่กระทำความผิด ส่วนอีก 8 ราย อยู่ระหว่างการดำเนินเรื่องของคณะอนุกรรมการสอบข้อเท็จจริง ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อยุติและนำเสนอให้ คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) พิจารณาในเร็ววันนี้ และยุติเรื่อง จำนวน 1 ราย เนื่องจากเป็นกรณีข้อพิพากทางแพ่งที่ไม่เข้าข่ายผิดกฎหมายการแข่งขันทางการค้า เนื่องจากมีโทษปรับในอัตราที่ค่อนข้างสูง

จึงอยากเตือนให้ผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) ระมัดระวังพฤติกรรมทางการค้า ที่อาจเข้าข่ายการกระทำความผิดตามแนวทางการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ และสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้หากได้รับการเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจการรับซื้อผลไม้ (ล้ง) สามารถร้องเรียนโดยตรงได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือช่องทางเว็บไซต์ www.otcc.or.th หมายเลขโทรศัพท์ 02-199-5444 ตลอดจนอีเมล info@otcc.or.th

นางสาวศิริพร จูประจักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 ราชบุรี (สศท.10) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการลงพื้นที่ติดตามโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม “กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมตำบลบางช้าง” ภายใต้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม นับเป็นตัวอย่างของการรวมกลุ่มที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก สามารถสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มเกษตรกร รวมถึงได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ยกระดับคุณภาพผลผลิตมะพร้าวน้ำหอม โดยเกษตรกรได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต พัฒนาเป็น Smart farmer และการรวมกลุ่มเพื่อผลิตและการใช้สารชีวภัณฑ์ จึงสร้างความมั่นใจกับผู้ค้าและผู้บริโภคได้ว่าผลผลิตได้มาตรฐานและมีคุณภาพ

จากการติดตามของ สศท.10 พบว่า กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมตำบลบางช้าง เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 มีพื้นที่ปลูก 375 ไร่ มีสมาชิกเกษตรกร 37 ราย โดยมีนายวชิรวิชย์ มีดี เป็นประธานกลุ่ม เกษตรกรนิยมปลูกมะพร้าวพันธุ์ก้นจีบ (มะพร้าวน้ำหอมสามพราน) มีลักษณะเด่นคือ เป็นพันธุ์ที่มีผลใหญ่ ให้ผลผลิตสม่ำเสมอ น้ำของผลมีความหวาน ให้ผลผลิต หลังปลูกเพียง 3 ปี และเป็นที่ต้องการของตลาดประเทศจีน ในส่วนของต้นพันธุ์เกษตรกรส่วนใหญ่จะเพาะพันธุ์มะพร้าวเอง โดยการคัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพให้ผลผลิตสูงและยังนำลูกไปเพาะพันธุ์เป็นต้นกล้าสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรสูงมากเช่นเดียวกัน เพราะมียอดการสั่งจองล่วงหน้า 5 – 6 เดือน ราคาต้นละ 80 – 150 บาท

สถานการณ์การผลิตมะพร้าวน้ำหอมของกลุ่มฯ มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 42,626 บาท/ไร่/ปี (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 3 และเก็บเกี่ยวได้ถึง 15 – 17 ปี) นิยมปลูกช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม ในรอบ 1 ปี สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 18 ครั้ง(เฉลี่ยเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวได้ทุก 20 วัน) ผลผลิตจะออกตลาดชุกช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน ผลผลิตรวมประมาณ 3,331 ตัน/ปี ผลผลิตเฉลี่ย 8,883 กิโลกรัม/ไร่/ปี (น้ำหนักประมาณ 700 – 1,400 กรัม/ผล) ผลตอบแทนเฉลี่ย 128,797บาท/ไร่/ปี ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) เฉลี่ย 86,171 บาท/ไร่/ปี ราคาที่เกษตรกรขายได้ ณ 24 พฤษภาคม 2564 เฉลี่ย 23 บาท/ผล ทั้งนี้ หากคิดเป็นผลตอบแทนของทั้งกลุ่มฯ จะได้กำไร 32 ล้านบาท/ปี ด้านสถานการณ์ตลาด ผลผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 70 ส่งจำหน่ายพ่อค้าคนกลาง ซึ่งจะมารับซื้อผลผลิตถึงสวน รองลงมาร้อยละ 20 ส่งจำหน่าย บริษัท โรงงานมาลี สามพราน จำกัด เพื่อนำไปแปรรูปเป็นน้ำมะพร้าวน้ำหอม 100% ส่งจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนที่เหลือ อีกร้อยละ 10 จำหน่ายให้กับพ่อค้าในท้องถิ่น ซึ่งผู้รับซื้อจะมาตัดมะพร้าวเองที่สวน

ผลสำเร็จของกลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมตำบลบางช้างเกษตรกรได้มีการรวมกลุ่มผลิตมะพร้าวน้ำหอมคุณภาพตามมาตรฐาน GAP และอินทรีย์ โดยการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด เน้นตลาดนำการผลิต มีการเชื่อมโยงตลาดหรือมีข้อตกลงซื้อขายผลผลิตล่วงหน้า มีตลาดกลางสินค้าเกษตร ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และสร้างรายได้ให้เกษตกรอย่างมั่นคง นอกจากนี้ ทางกลุ่มฯ ยังได้รับการสนับสนุนจากสถานีพัฒนาที่ดินนครปฐม สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์นครปฐม

โครงการชลประทานนครปฐม ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครปฐม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมให้องค์ความรู้ด้านการผลิต การบริหารจัดการกลุ่มฯ ตลอดจนการจัดการด้านตลาด โดยในส่วนของ สศก. ได้มีการติดตามประเมินผลโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 – 2561 พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการส่งเสริมสนับสนุนตามโครงการฯ เนื่องจากได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 รองลงมาร้อยละ 72 การพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐาน GAP ตรงกับความต้องการของตลาด รองลงมาร้อยละ 68 การเพิ่มผลผลิต และร้อยละ 66 สามารถลดต้นทุนการผลิตได้

ผู้อำนวยการ สศท.10 กล่าวทิ้งท้ายว่า การผลิตมะพร้าวน้ำหอมคุณภาพ GAP สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ซึ่งถ้าเกษตรกรได้จัดตั้งกลุ่มบริหารจัดการทั้งระบบร่วมกันตั้งแต่การผลิต การจำหน่าย จนถึงผู้บริโภค แล้วมีตลาดรองรับแน่นอน หากเกษตรกรหรือท่านที่สนใจข้อมูลการผลิตมะพร้าวน้ำหอม สามารถขอคำปรึกษา นายวชิรวิชย์ มีดี ประธานกลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมตำบลบางช้าง หมู่ที่ 5 ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม หรือโทร 09 6096 6522 และสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.10 ราชบุรี โทร. 0 3233 7951

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มุั่งมั่นมีส่วนร่วมเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ประเทศ และลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก บรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ส่งเสริมโรงงานและฟาร์มของซีพีเอฟทั่วประเทศ สานต่อ “โครงการรักษ์นิเวศ” ปลูกต้นไม้ในสถานประกอบการ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี เดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟมุ่งมั่นขับเคลื่อนองค์กรสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้กลยุทธ์ 3 เสาหลักสู่ความยั่งยืน คือ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยเสี่ยงทั้งสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต บริษัทฯ ได้กำหนดแผนปฏิบัติการ โดยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศ ลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร และอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ แก้ปัญหาโดยอาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน ด้วยการจัดการวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบ ส่งเสริมแหล่งวัตถุดิบที่ยั่งยืน การอนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าชายเลน เพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการ

ขณะเดียวกันได้พัฒนาระบบรวบรวมข้อมูลการวัดผลเชิงระบบนิเวศ และในทุกๆปี มีการจัดอบรมให้พนักงานในหลักสูตรการวัดผลการให้บริการระบบนิเวศ และการประเมินการกักเก็บคาร์บอน เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกต้นไม้ โดยตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ซึ่งล่าสุด ในปี 2563 อบก.ได้มอบประกาศนียบัตรให้สถานประกอบการ 58 แห่งของซีพีเอฟที่ร่วมโครงการ มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ต้นไม้กักเก็บจากการปลูกต้นไม้ทั้งสิ้น 5,960 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า” นายวุฒิชัยกล่าว

ในโอกาสวันที่ 26 พ.ค.ปีนี้ ตรงกับวันต้นไม้ประจำปีของชาติ ผู้บริหารและพนักงานของโรงงานและฟาร์มของซีพีเอฟทั่วประเทศ สานต่อโครงการรักษ์นิเวศ โดยร่วมกันจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ อาทิ โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกหนองแค จ.สระบุรี ร่วมกันปลูกต้นทุเรียน ขนุน มะม่วง โรงงานคัดไข่และแปรรูปไข่บ้านนา จังหวัดนครนายก ปลูกต้นกัลปพฤกษ์ ต้นอินทนิล จากเดิมที่ปลูกต้นหูกระจงไว้กว่า 70 ต้น ผู้บริหารและพนักงานของโรงงานผลิตอาหารสัตว์หาดใหญ่ ร่วมกันปลูกต้นบัวตองเพื่อปรับภูมิทัศน์ภายในโรงงาน โรงงานผลิตอาหารสัตว์ศรีราชา ปลูกต้นขนุน ส้มโอ และละมุด จากเดิมที่ปลูกไม้ยืนต้นรวมแล้วกว่า 200 ต้น Complex สันกำแพง ธุรกิจไก่ไข่ ปลูกมะพร้าวน้ำหอม 10 ไร่ เป็นต้น

นอกจากการดำเนินโครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการแล้ว ซีพีเอฟ ยังได้สานต่อโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าบกและป่าชายเลน ในโครงการ “ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” (ปี 2559-2563) สามารถอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปลูกป่าใหม่ บริเวณป่าต้นน้ำพื้นที่เขาพระยาเดินธง ต.พัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี 5,971 ไร่ และ โครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และปลูกป่าใหม่ ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ 5 จังหวัด คือ ระยอง สมุทรสาคร ชุมพร สงขลา และพังงา รวม 2,388 ไร่ ซึ่งพบว่าในพื้นที่ป่าชายเลนปลูกใหม่ ที่ต.บางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร ช่วยดููดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 439 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และในพื้นที่ป่าชายเลนปลูกใหม่ที่ต.ปากน้ำประแส จ.ระยอง ช่วยดููดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 28 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

นอกจากนี้ กิจการในต่างประเทศของซีพีเอฟ อาทิ ลาว กัมพูชา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินเดีย และตุรกี มีการดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ปลูกต้นไม้ในสถานประกอบการ โดยมีเป้าหมายเพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน./

โควิด 19 ประเทศไทย ดำเนินมาเป็นปีที่ 2 ทำให้ภาวะเศรษฐกิจ และสังคม เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก “เกษตรก้าวไกล” ได้เปิดดำเนินการครบรอบ 6 ปี ปกติทุกครบรอบปีจะจัดทำโครงการ “เกษตรคือประเทศไทย ก้าวไกลไปด้วยกันทั้งประเทศ” ด้วยการเชื่อมโยงสังคมเกษตรไปสู่สังคมอื่นๆ ทั่วประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งดำเนินการมาจะขึ้นปีที่ 4 ในปีนี้ โดยปีแรก 2561 มีแนวคิดว่า “เกษตรกรอยู่ที่ไหนเราอยู่ที่นั่น” ปี 2 (2562) “ตามหายอดมนุษย์เกษตรกรไทย” ปี 3 (ปี 2563) ช่วงต้นปีเจอโควิดต้องปรับเป็น “30 วันปันความรู้เพื่อเกษตรกรไทย” และปลายปีพอโควิดคลายก็ออกเดินทางอีกครั้งคราวนี้ชื่อโครงการว่า “ลุยเกษตรสุดเขตไทย” ตั้งใจว่าโครงการนี้จะเดินหน้าไปตลอดปี 2564 จะเห็นว่ามีโครงการระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ครั้นมาถึงต้นปี 2564 โควิด 19 กลับมาเยือนอีกครั้ง คราวนี้หนักกว่าคราวก่อน เอาอย่างไรดีล่ะ จะเดินหน้าต่ออย่างไรดี

คิดอยู่อย่างนี้วนเวียนไปมา แต่ก็มีเวลาให้คิดได้ไม่นานนัก สุดท้ายต้องปรับเปลี่ยนโครงการใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

นั่นคือ การจัดทำโครงการ “เกษตรก้าวไกล LIVE ฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย” จะบอกว่าเป็นการพัฒนาต่อยอดจากโครงการ 30 วันปันความรู้เพื่อเกษตรกรไทยก็ว่าได้ แต่จริงๆก็ไม่อยากจะต่อยอดเลย ไม่มีโควิดเป็นดีที่สุด ช่วงที่เกิดดิจิทัล Disrupt ก็หนักหนาสาหัส จึงเป็นเหมือนไฟท์บังคับที่จะต้องต่อสู้กันต่อไป

แนวคิดของโครงการเกษตรก้าวไกล LIVE ฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย คือจะเน้นการ LIVE รายงานสดหรือถ่ายทอดสด (LIVE Streaming) ทั้งจากส่วนกลางเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ และการลงพื้นที่จริงไป LIVE สด แต่กรณีนี้ขึ้นอยู่กับโควิด 19 ว่าจะผ่อนปรนได้มากน้อยแค่ไหน

โดยเนื้อหาของโครงการจะแบ่งเป็น 3 ส่วน

ส่วนที่ 1 จะเป็นการสัมภาษณ์ LIVE เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยจะเน้นนำเสนอแง่มุมความคิด “พลิกวิกฤตโควิดเป็นโอกาส” พร้อมกลยุทธ์การปรับตัวในยุค New Normal จำนวน 32 คน (32 เรื่อง)

ส่วนที่ 2 จะเป็นการสาธิตอาชีพสร้างรายได้เร่งด่วน จำนวน 4 เรื่อง ซึ่งจะพัฒนาต่อยอดจาก “ห้องเรียนกลางสวน” ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งที่คู่มากับโครงการเกษตรคือประเทศไทย

ส่วนที่ 3 จะเป็นการเสวนาออนไลน์ จำนวน 4 เรื่อง ทั้ง 3 ส่วน รวมทั้งหมด 40 เรื่อง “เกษตรก้าวไกล” ได้วางกรอบกว้างๆไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดเชิงลึก เนื่องจากอยากจะรับฟังจากความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ซึ่งจะพยายามทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ยกตัวอย่างเช่น ท่านอยากจะให้สัมภาษณ์เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องคนไหน หรืออยากจะให้สาธิตอาชีพอะไร รวมทั้งอยากจะฟังเสวนาหัวข้อไหน วิทยากรท่านใด ขอให้ท่านรีบแจ้งเข้ามาที่เพจเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน หรือไอดีไลน์ 0863266490 (รวมทั้งเกษตรกร วิทยากร และผู้เกี่ยวข้องที่เห็นว่ามีแนวทางฝ่าวิกฤตก็สามารถเสนอตัวมาได้เช่นกัน)

ทั้งนี้ การสัมภาษณ์ LIVE การสาธิตอาชีพ และการเสวนาออนไลน์ จะถ่ายทอดสดผ่านเพจ Facebook เกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน และ YouTube ช่องเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน

สำหรับ กำหนดเปิดตัวโครงการประมาณกลางๆ เดือนมิถุนายน และสิ้นสุดโครงการภายในเดือนสิงหาคม 2564 เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือผู้สนับสนุนโครงการที่จะขาดไม่ได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานอย่างเร่งด่วน (ยุคโควิดไม่สามารถใช้เวลาอะไรได้มาก) เบื้องต้นได้ติดต่อกับผู้สนับสนุนรายเดิม แต่ก็ไม่ปฏิเสธที่จะมีผู้สนับสนุนรายใหม่ ที่พูดอย่างนี้เพราะทุกอย่างมันกระชั้นชิด โควิดที่ตอนแรกจะดีขึ้นแล้วยังกลับมาใหม่ เพราะฉะนั้นองค์กรหรือหน่วยงานใดที่จะสนับสนุนก็เรียนเชิญได้

ขอย้ำว่าโครงการเกษตรก้าวไกล LIVE ฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย ทีมงานเกษตรก้าวไกลมีประสบการณ์จากที่ออกเดินทางลงพื้นที่เกษตรมาอย่างต่อเนื่อง เราพบว่าการ LIVE สดเป็นวิธีการที่จะเข้าถึงเกษตรกรและผู้สนใจในวงกว้างอย่างรวดเร็ว หากไม่มีอะไรผิดพลาด อันหมายถึงเสบียงกำลังพอเพียง รับรองว่าโครงการของเราสนุกได้สาระความรู้ครบถ้วนอย่างแน่นอนครับ.

เพื่อนๆสมาชิกผู้ติดตาม “เกษตรก้าวไกล” อาจจะร้อนๆหนาวๆกับโครงการใหม่ของเราที่ได้นำเสนอไปเมื่อวันก่อน นั่นก็คือ “โครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย” โครงการนี้จะพัฒนาต่อยอดจาก “โครงการ30วันปันความรู้เพื่อเกษตรกรไทย” ซึ่งได้จัดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา (โครงการนี้ส่งไม้ต่อมาจากโครงการเกษตรคือประเทศไทยอีกที) พอมาถึงปีนี้ 2564 โควิดก็ยังไม่ลดละ เรียกว่าโควิดรอบ 3 เราจึงเพิ่มความแรงขึ้น 3 เท่าตัว จากเนื้อหาที่เคยนั่งอยู่กับที่และใช้ระบบออนไลน์เชื่อมโยงไปยังพี่น้องเกษตรกร ครั้งใหม่นี้เราจะยกระดับให้แรงขึ้น ด้วยเนื้อหาสาระ 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 จะเป็นการสัมภาษณ์ LIVE เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยจะเน้นนำเสนอแง่มุมความคิด “พลิกวิกฤตโควิดเป็นโอกาส” พร้อมกลยุทธ์การปรับตัวในยุค New Normal จำนวน 32 คน (32 เรื่อง)

ตั้งใจเลยว่าจะตามหาเกษตรกรที่มีคาถาดี เสกสะกดให้โควิดอยู่หมัด ยัดกระสอบให้อยู่เฉยๆ ไม่ให้ทำอะไรได้ ใครรู้ว่าเกษตรกรคนนั้นอยู่ที่ไหนช่วยบอกที
ตั้งใจที่ 2 เดินขึ้นไปบนสำนักงานของบุคคลภาครัฐระดับนโยบาย ไปถามกันตรงๆว่าท่านจะมีอะไรที่จะทำให้(ส่งเสริม)เกษตรกรพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้บ้าง
ตั้งใจที่ 3 เดินไปพบผู้บริหารภาคเอกชน ถามให้รู้ดำรู้แดงว่าท่านมีกลยุทธ์ปรับตัวอย่างไรให้อยู่รอดและจะสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับพี่น้องเกษตรกรไทยอย่างไร

ส่วนที่ 2 จะเป็นการสาธิตอาชีพสร้างรายได้เร่งด่วน จำนวน 4 เรื่อง (หรืออาจจะมากกว่านี้) โดยจะพัฒนาต่อยอดจาก “ห้องเรียนกลางสวน” ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งที่ตีคู่มากับโครงการเกษตรคือประเทศไทย

จากที่เราได้ทดลองนำร่องไปบ้างแล้ว ทั้งที่ในสวน ที่บ่อปลา ที่ฟาร์มเลี้ยงวัว พบว่ามีเกษตรกรจำนวนมากที่มีองค์ความรู้ “ขลัง” พอที่จะแบ่งปันให้เกษตรกรคนอื่นๆได้คุ้มภัยโควิดได้บ้าง

ส่วนที่ 3 จะเป็นการเสวนาออนไลน์ จำนวน 4 เรื่อง

ขณะนี้ทีมงานของเรากำลังผนึกหัวข้อเรื่องและมองหาวิทยากรอย่างเร่งด่วน โดยหัวข้อได้กำหนดไว้แล้ว แต่ก็ยังเปิดกว้าง พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงหากมีหัวข้อที่เหมาะสมกว่า ซึ่งจะเป็นเรื่องอะไรบ้างนั้น จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าจะได้ติดตามชมกันเยอะๆ

โครงการของเราจะเริ่มสตาร์ทเปิดตัวประมาณกลางๆเดือนมิถุนายน ที่ยังไม่กำหนดวันชัดเจน เพราะรอหารือประธานที่จะตัดริบบิ้นหรือกดปุ่มเปิดก่อน เราเป็นคนไทยทำอะไรก็ต้องยึดถือผู้หลักผู้ใหญ่เข้าว่า เพื่อความเข้มแข็งเป็นสิริมงคลว่างั้นเถอะ ตั้งใจว่าพิธีเปิดจะไม่ให้เหมือนใคร แต่จะให้สอดคล้องสถานการณ์ที่สุด จะเป็นอย่างไรก็ต้องติดตาม(อีกแล้ว) ที่พูดมานี้ก็ยังไม่ลงตัวนะ แต่ก็ต้องมั่นใจไว้ก่อนว่าจะต้องทำได้

ยุคโควิดไม่มีอะไรที่เราคนไทยจะทำไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปได้ครับ ขอเพียงว่าต้องร่วมมือร่วมใจกัน เห็นอันไหนดีงามก็ต้องช่วยกัน ออ! เกือบลืมพูดถึงสปอนเซอร์ หรือผู้สนับสนุนของเรา ยึดหลักของปีที่ผ่านมาก่อน แต่ก็พร้อมรับผู้สนับสนุนรายใหม่ เราพูดยังกับว่าจะมีผู้สนับสนุนมากมาย แต่จริงๆไม่มากครับ ทุกท่านช่วยกันคนละเล็กคนละน้อย แต่มากด้วยน้ำใจ ขอเรียนว่าไม่มีผู้สนับสนุนเราก็ไม่มีทางทำได้

ตอนนี้ก็มีผู้สนับสนุนของเราแจ้งเข้ามาเกือบครบแล้วครับ จากที่เราได้ส่งหนังสือไปเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือว่ารวดเร็วทันใจ สัปดาห์ต่อไปเราก็จะมาแจ้งกันว่ามีใครบ้าง…ขอบคุณทุกท่านด้วยใจครับ

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการดำเนินงาน Big Data ด้านการเกษตร ซึ่ง สศก. ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลักที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้ดำเนินการ และเป็นหน่วยงานด้านนโยบายและข้อมูลสารสนเทศการเกษตร ได้เร่งพัฒนาฐานข้อมูล Big Data มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อการบริหารและการให้บริการข้อมูลภาคเกษตรในทุกมิติ

สำหรับปี 2564 สศก. และธนาคารแห่งแประเทศไทย (ธปท.) ภายใต้ความร่วมมือ MOU ของทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันพัฒนาระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ที่เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารในยุคดิจิทัลในการติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตรอย่างรอบด้าน มีข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่ มีความแม่นยำและทันต่อทุกสถานการณ์ โดยระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตรเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (Decision Support System) ที่ให้ข้อมูลอย่างรอบด้าน ประกอบด้วย 1) รายรับจากการขายสินค้าเกษตรของเกษตรกร 2) ต้นทุนการผลิต 3) มูลค่าความเสียหายจากภัยพิบัติ และ 4) เงินช่วยเหลือจากภาครัฐ เป็นรายพืชและรายจังหวัด

ทั้งนี้การพัฒนาระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ในระยะที่ 1 จะเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลระดับจังหวัด อาทิ กำหนดฤดูกาลเพาะปลูก กำหนดรอบรายสินค้าตามฤดูกาล สินค้าที่มีการผลิตรายจังหวัด และการประมาณการผลผลิตภาพรวม เข้าสู่ฐานข้อมูลเกษตรแห่งชาติ และประมวลผลด้วยวิธีการจัดทำดัชนีแบบลูกโซ่ สามารถรายงานสถานการณ์

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรเป็นรายเดือน สมัครสโบเบ็ต ในระดับจังหวัด ภาค และประเทศ ซึ่งเป้าหมายของระบบติดตาม ระยะที่ 1 คือ “ค่าพยากรณ์ผลผลิต” จะใกล้เคียง “ค่าจริงผลผลิต” เมื่อช่วงการเพาะปลูกเข้าใกล้การเก็บเกี่ยว รวมทั้ง การปรับ “ค่าพยากรณ์ผลผลิต” สะท้อนผลผลิตในพื้นที่อย่างทันกาลและมีเหตุผล และในระยะถัดไป จะมีการนำเข้าข้อมูลมิติอื่น ๆ ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

รองอธิบดีกรมอุตนิยมวิทยากล่าวต่อไปว่า จากนั้นตั้งแต่กลางเดือน

แนวร่องมรสุมจะเลื่อนมาพาดผ่านประเทศไทย และมรสุมจะมีกำลังแรงขึ้น ฝนจะมีการตกชุกหนาแน่นในเกณฑ์ 60 – 80 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ และทำให้มีฝนตกหนักได้หลายพื้นที่ และหนักมากในบางแห่ง ดังนั้นในช่วงนี้จึงต้องระมัดระวังในเรื่องของการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่

สำหรับช่วงเดือน ต.ค. คาดว่า ในพื้นภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จะมีปริมาณฝนเริ่มลดลง และมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า ส่วนบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และฝนตกหนักบางแห่ง

“สำหรับปี 2564 คาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน เคลื่อนเข้ามาสู่ประเทศไทยประมาณ 2 – 3 ลูก ในช่วงเดือน ส.ค – ก.ย. แต่ไม่ได้หมายความในเดือน ก.ค. จะไม่มีโอกาสเกิดพายุขึ้นมา ยังมีโอกาสอยู่ แต่แนวทางการเคลื่อนตัวจะอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงหนือตอนบน หรือภาคเหนือ สิ่งที่ต้องระมัดระวังในช่วงเดือนส.ค-ก.ย. ด้วยมีปัจจัยที่เป็นตัวแปรค่อนข้างมาก ไม่ว่า โอกาสการเกิดพายุ แนวร่องมรสุมที่ค่อนข้างแรง ดังนั้นเดือน ส.ค.-ก.ย. เป็นเดือนที่ต้องเตรียมการป้องกัน เพราะมีฝนตกชุกหนาแน่น” รองอธิบดีกรมอุตนิยมวิทยากล่าว

กรมวิชาการเกษตร เล็งออกประกาศเอื้อขึ้นทะเบียนสารชีวภัณฑ์ 17 ชนิดได้สิทธิ์ไม่ต้องส่งข้อมูลพิษวิทยา ลดทั้งเวลาและขั้นตอนขึ้นทะเบียนคล่องตัว เผยหลักการผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงเกษตรฯ แล้ว เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็นรอบด้าน ก่อนเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตราย

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงนำสารเคมีมาใช้เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชจำนวนมาก ก่อให้เกิดสารตกค้างในพืช และเป็นอันตรายต่อเกษตรกรผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ซึ่ง นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวและมอบเป็นนโยบายหลักเร่งด่วนให้กรมวิชาการเกษตรเร่งดำเนินการให้เกษตรกรลด ละ เลิก การใช้สารเคมีโดยปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรที่ปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ ซึ่งถือเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย

การใช้สารชีวภัณฑ์ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรเป็นแนวทางสำคัญที่ตอบสนองต่อนโยบายดังกล่าวเพราะสามารถนำมาใช้ทดแทนสารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ ดังนั้นเพื่อสนับสนุนให้มีการนำสารชีวภัณฑ์มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวางมากขึ้น กรมวิชาการเกษตร จึงได้เสนอกระทรวงเกษตรฯ เพื่อออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง “การขึ้นทะเบียนการออกใบสำคัญและการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ (ฉบับที่ 2)” โดยประกาศฉบับดังกล่าวจะปรับลดขั้นตอนและระยะเวลาการขึ้นทะเบียนสารชีวภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากพืช และสารฟีโรโมน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรได้นำสารชีวภัณฑ์มาใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชทดแทนการใช้สารเคมีให้มากขึ้น

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า สารชีวภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากพืช และสารฟีโรโมน ที่มีข้อมูลทางวิชาการว่ามีความปลอดภัยต่อมนุษย์ พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ตามรายชื่อที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องส่งข้อมูลพิษวิทยามาประกอบการขึ้นทะเบียนมีจำนวนทั้งสิ้น 17 ชนิด โดยเป็นชีวภัณฑ์ที่อยู่ในประกาศเดิม 5 ชนิดและเพิ่มในร่างประกาศใหม่อีก 12 ชนิด ดังนี้

บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) ควบคุมโรคพืชที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น โรคเหี่ยวที่เกิดจากแบคทีเรีย โรคแคงเคอร์, โรคใบจุด, โรคเน่าเละ, โรคแอนแทรคโนส, โรคใบจุด, โรคไหม้ข้าว, โรครากเน่าโคนเน่า, โรครากปมที่เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
บาซิลลัส อะไมโลลิคเฟเชียน (Bacillus amyloliquefaciens) ควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium, Pythium, Rhizoctonia, Phytophthora, Verticillium, Botrytis cinerea, and Alternaria, โรคราแป้ง, โรคแอนแทรคโนส, โรคราน้ำค้าง, โรคไหม้ข้าว และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
บาซิลลัส ไลเคนิฟอร์มิส (Bacillus licheniformis) ควบคุมโรคเน่าสีน้ำตาลในพีท ควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา Botrytis cinerea (gray mold), ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคทางใบของชาน้ำมัน และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

บิซิลลัส พูมิลัส (Bacillus pumilus) ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช อุตสาหกรรมการผลิตทางการเกษตร, อุตสาหกรรมการหมักอาหาร, การบำบัดน้ำเสีย
บิวเวอร์เรีย บัสเซียน่า (Beauveria bassiana) เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลงศัตรูพืชโดยครอบคลุมเข้าทำลายแมลงหลายชนิด ซึ่งเป็นแมลงจำพวกตระกูลเพลี้ย เช่น เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่นเพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อนส้ม เพลี้ยไก่แจ้ รวมถึง บั่ว ที่ทำลายช่อและยอดกล้วยไม้ (ค่อนข้างดื้อยาฆ่าแมลง)หนอนทุกชนิด และแมลงที่เป็นศัตรูพืชเช่น มอดเจาะผลกาแฟ ไรแดง ไรขาว แมลงหวี่ขาว ด้วง แมลงวัน และยุง

เมทาไรเซียม แอนิโซเพลีย (Metarhizium anisopliae) ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชจำพวกปากกัดและปากดูด เช่น ไรแดงแอฟริกัน เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนด้วง และหนอนของผีเสื้อศัตรูพืชหลายชนิด ตลอดจนแมลงปากกัดบางจำพวก เช่น ด้วงกออ้อย ด้วงหมัดผัก ตั๊กแตน หนอนด้วงเจาะลำต้น ด้วงแรด แมลงดำหนาม หนอนหัวดำในมะพร้าว มอดเจาะผลกาแฟ ฯลฯ สามารถใช้ผสมน้ำฉีดพ่นพืชผัก ไม้ผลและไม้ดอก ไม้ประดับทุกชนิด และทุกระยะการเจริญเติบโต

ไตรโคเดอร์มา แอสเพอเรลลัม (Trichoderma asperellum) ควบคุมโรคพืชที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า เหี่ยว และเน่าแห้ง ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม พิเที่ยม ไรซอคโทเนีย ไฟทอปทอร่า

ไตรโคเดอร์มา ฮาร์เซียนั่ม (Trichoderma harzianum)ควบคุมโรคพืชที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า เหี่ยว และเน่าแห้ง ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม พิเที่ยม ไรซอคโทเนีย ไฟทอปทอร่า สเคลอโรเที่ยม มาโครโฟมิน่า และ โบไทรทิส และโรคทางใบเช่น ใบจุดที่เกิดจากเชื้อรา โบไทรทิส และโรคราน้ำค้าง
ไตรโคเดอร์มา แกมซิไอ (Trichoderma gamsii)ควบคุมโรคพืชที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า เหี่ยว และเน่าแห้ง ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม พิเที่ยม ไรซอคโทเนีย ไฟทอปทอร่า และ สเคลอโรเที่ยม
ไตรโคเดอร์มา วิริดี้ (Trichoderma viride)ควบคุมโรคพืชที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า เหี่ยว และเน่าแห้ง ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม พิเที่ยม ไรซอคโทเนีย ไฟทอปทอร่า สเคลอโรเที่ยม มาโครโฟมิน่า และ โบไทรทิส และโรคทางใบเช่น ใบจุดที่เกิดจากเชื้อรา โบไทรทิส และ อัลเทอร์นาเรีย โรคราน้ำค้าง และราแป้ง

ไตรโคเดอร์มา ไวเรน (Trichoderma virens)ควบคุมโรคพืชที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า เหี่ยว และเน่าแห้ง ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม พิเที่ยม ไรซอคโทเนีย และโรคทางใบที่เกิดจากเชื้อราอัลเทอร์นาเรีย
ไตรโคเดอร์มา อะโทรวิริดี้ (Trichoderma atroviride)ควบคุมโรคพืชที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า เหี่ยว และเน่าแห้ง ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม และไรซอคโทเนีย

บาซิลลัส ทูริงจิเอนซิส หรือ เชื้อบีที สายพันธุ์ ไอซาไว จุลินทรีย์ควบคุมแมลงศัตรูพืช ได้แก่ กลุ่มหนอนผีเสื้อ เช่น หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนหนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะเสมอฝ้าย หนอนคืบกระหล่ำ หนอนคืบละหุง หนอนร่านกินใบปาล์ม หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
บาซิลลัส ทูริงจิเอนซิส จุลินทรีย์ควบคุมแมลงศัตรูพืช ได้แก่ กลุ่มหนอนผีเสื้อ เช่น หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนหนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะเสมอฝ้าย หนอนคืบกระหล่ำ หนอนคืบละหุง หนอนร่านกินใบปาล์ม หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด

ไวรัส เอ็นพีวี (NPV) จุลินทรีย์ชนิดไวรัสใช้สำหรับควบคุมแมลงได้ หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะเสมอฝ้าย
ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง ไส้เดือนฝอยชนิดกำจัดแมลงได้แก่ ด้วงหมัดผัก ด้วงมันงวงมันเทศ หนอนกินเปลือกลองกอง หนอนผีเสื้อกินก้อนเห็ด หนอนกระทู้หอม
โปรโตซัว ชนิด Sarcocystis singaporensisโปรโตซัว ใช้กำจัดหนู

“ขณะนี้ร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฉบับดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว ซึ่งขั้นตอนในลำดับต่อไปกรมวิชาการเกษตรจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และส่งให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณา หากคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติเห็นชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ จะลงนามในประกาศเพื่อลงราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ซึ่งการปลดล็อคขั้นตอนและระยะเวลาการขึ้นทะเบียนในครั้งนี้จะส่งผลให้การขึ้นทะเบียนสารชีวภัณฑ์เป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น และจะทำให้เกษตรกรได้ใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อนำไปใช้กำจัดศัตรูพืชทดแทนสารเคมีเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

กรมวิชาการเกษตร เปิดประวัติ 2 เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติปี 2564 ไทม์ไลน์ไม่ธรรมดา สาขา GAP อดีตข้าราชการครูเบนเข็มเป็นชาวสวนผลิตลำไยนอกฤดูสร้างรายได้เป็นล้าน/ปี สาขาอินทรีย์ปลูกพืชผักผสมผสานปลดหนี้ได้ สุขภาพดี ชู 2 เกษตรกรยึดหลักผลิตสินค้ามีคุณภาพ ปลอดภัย เรียนรู้ปรับใช้เทคโนโลยี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พร้อมแบ่งปันความรู้ให้ชุมชน

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในทุกปีกรมวิชาการเกษตรจะพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นที่ผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์ เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณ และเผยแพร่ผลงานให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จักและยึดเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เกษตรกร โดยในปี 2564 นี้กรมวิชาการเกษตรได้คัดเลือก นายอำนาจ จันทรส เกษตรกรเจ้าของสวนลำไย จังหวัดจันทบุรี เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) และนายสุธรรม จันทร์อ่อน เกษตรกรปลูกพืชผักผสมผสาน จังหวัดนครปฐม ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาพืชอินทรีย์

นายอำนาจ จันทรส เกษตรกร GAP ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 ของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดจันทบุรี อดีตข้าราชการครูที่หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรชาวสวนลำไย โดยนำกิ่งพันธุ์จำนวน 200 ต้นจากจังหวัดลำพูนมาทดลองปลูก ซึ่งเมื่อปลูกจนให้ผลแล้วจึงพบปัญหาการออกดอกติดผลแปรปรวนไม่สม่ำเสมอทำให้ไม่สามารถวางแผนการผลิตและคาดการณ์ปริมาณผลผลิตที่แน่นอนได้ เมื่อทราบว่าทางภาคใต้เริ่มมีการทำลำไยนอกฤดูและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพจึงได้เดินทางไปศึกษาวิธีการทำลำไยนอกฤดูและนำกลับมาทำในพื้นที่ของตนเองจนได้ผลผลิตลำไยนอกฤดูออกจำหน่ายในปี 2541 และได้สมัครเข้าสู่การผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP กับสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จันทบุรี ในปี 2547 เนื่องจากเห็นว่าตลาดประเทศจีนมีความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน GAP

ด้วยทักษะและประสบการณ์การผลิตลำไยนอกฤดูคุณภาพและการบริหารจัดการสวนที่ดีตามมาตรฐาน GAP ทำให้การผลิตลำไยที่สวนภัทรพันธุ์ของนายอำนาจซึ่งมีพื้นที่ 140 ไร่ มีต้นลำไยจำนวน 3,374 ต้นประสบความสำเร็จทุกปี โดยนายอำนาจใช้วิธีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยการใส้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ต้นลำไย 5-10กก./ต้น/ปี และทุก 3 ปีจะมีการปรับค่าความเป็นกรดด่างของดินด้วยการใส่ปูนโดโลไมท์เพื่อไม่ให้ดินที่ใส่ปุ๋ยเคมีติดต่อกันเป็นเวลานานมีค่าความเป็นกรดด่างมากเกินไปซึ่งอาจส่งผลเสียต่อต้นลำไยได้ ในช่วงใบอ่อนมีการใช้น้ำหมักจากสะเดาเพื่อไล่แมลงและใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาผสมน้ำฉีดพ่นลงดินเพื่อปรับปรุงดินและป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า โดยในปี 2563 ที่ผ่านมาได้ผลผลิตจำนวน 1,980 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งสูงกว่าผลผลิตลำไยของจังหวัดจันทบุรีที่มีค่าเฉลี่ย 869 กิโลกรัม/ไร่ โดยนายอำนาจมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตลำไยในปี 2563 จำนวน 1,744,360 บาท

นายสุธรรม จันทร์อ่อน เกษตรกรพืชอินทรีย์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 ของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดชัยนาท เกษตรกรที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิต แต่เนื่องจากกิจกรรมทางการเกษตรมีต้นทุนที่สูง กระบวนการผลิตยังมีการใช้สารเคมีในปริมาณสูง ส่งผลให้มีปัญหาทั้งด้านสุขภาพและหนี้สินจึงกลับมาทำเกษตรแบบธรรมชาติโดยเริ่มทำการเกษตรในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ ในปี พ.ศ. 2542 จนสามารถปลดหนี้สินได้สำเร็จและยึดแนวทางผลิตพืชแบบอินทรีย์มาจนถึงปัจจุบัน

ภายในเนื้อที่ทำการเกษตรจำนวน 17 ไร่ นายสุธรรม ได้แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนสำหรับปลูกข้าว ปลูกพืชผักผสมผสาน ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร ผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ และโรงสีข้าว โดยพื้นที่จำนวน 5 ไร่ ได้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากกรมวิชาการเกษตร ปัจจุบันมีพืชที่ขอการรับรองจำนวน 27 ชนิด โดยปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกันและเลือกปลูกผักที่ให้ผลผลิตดีตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของระบบเกษตรอินทรีย์มากที่สุด เช่น ผักพื้นบ้าน โดยนำเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร เช่น แมลงหางหนีบ ไส้เดือนฝอย เชื้อราบิวเวอเรีย มาใช้ในการบริหารจัดการศัตรูพืช ใช้พืชสมุนไพรขับไล่แมลง คลุมแปลงด้วยพลาสติกในพืชบางชนิด เพื่อลดปัญหาวัชพืชและแรงงาน

นอกจากนี้ ยังปลูกพืช 9 ชนิดในแปลงเดียวกันโดยเน้นชนิดพืชผักที่มีอายุใกล้เคียงกัน แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ พืชอายุสั้น อายุปานกลาง และอายุยาว ซึ่งพืชทั้ง 3 ระดับจะต้องเป็นพืชที่ดูแลอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น เมื่อปลูกผักกาด คะน้า ผักโขม มะเขือ ก็จะปลูกพืชสมุนไพรร่วมด้วย เพื่อป้องกันโรคและแมลงมารบกวน มีการวางแผนการปลูกพืชทั้งในโรงเรือนและนอกโรงเรือน โดยปลูกแบบผสมผสาน หมุนเวียนสอดคล้องกับฤดูกาลผลิตและความต้องการของตลาด ในปี 2563 ที่ผ่านมามีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตจำนวน 55,900 บาท/ไร่/ปี

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2564 ทั้ง 2 รายนี้นับเป็นความภาคภูมิใจของกรมวิชาการเกษตร เพราะเป็นเกษตรกรที่มีความมุ่งมั่นและรักในอาชีพเกษตรกร มีความคิดริเริ่ม อดทน ขยันหมั่นเพียร พร้อมที่จะแบ่งปันความรู้ ทำการเกษตรโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ผลผลิตมีคุณภาพได้รับการยอมรับจากตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งสามารถเป็นผู้นำและแบบอย่างให้เกษตรกรรายอื่นได้ปฏิบัติตามต่อไป

ซุกิ กับคนไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะซุกิคือปลาช่อนทะเล ที่นำมาอัพเวอร์ชั่นใหม่ให้เป็นปลาช่อนทะเลคุณภาพสูงที่มีความอร่อยขึ้น เป็นปลาช่อนทะเลที่แข็งแรง ทนต่อโรค เลี้ยงง่าย โตไว ได้รับอาหารดี คนกินก็ได้กินเนื้อปลาที่อร่อยมากขึ้นกว่าปลาช่อนทะเลทั่วไป โดยคงคุณสมบัติที่ดีเลิศไว้ เป็นปลาที่ดีต่อสุขภาพมากที่สุด ด้วยคุณสมบัติโปรตีนสูง มีโอเมก้า 3 และมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว DHA สูง และมีไขมันดีแทรกตัวอยู่ เมื่อกัดเข้าไปแล้วจะมีความชุ่มฉ่ำ Juicy เพิ่มอรรถรสในการกินเมนูนั้นมากขึ้น อีกทั้งเนื้อปลายังมีความขาว แน่น ทรงตัวและคงรูป จึงเป็นที่สนใจของเชฟ ร้านอาหาร คนที่รักในการทำอาหารและรักสุขภาพอย่างมาก

ความต้องการที่จะผลักดันให้ปลาช่อนทะเล ของดีจากทะเลไทยเป็นหนึ่งในใจผู้บริโภคและเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ทำให้ โครงการ Booster โดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภูเก็ต กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านการวิจัยเพาะเลี้ยงกระชังน้ำลึกจากรัฐบาลนอร์เวย์ หลังจากเหตุการณ์สึนามิ เพื่อฟื้นฟูความเป็นอยู่ของชาวภูเก็ต มาจับมือร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ในการเลี้ยงให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาช่อนทะเล เลี้ยงด้วยอาหารคุณภาพสูงและเลี้ยงในกระชังน้ำลึก โดยไม่ทำลายระบบนิเวศน์ในทะเล และกระตุ้นให้สังคมเห็นศักยภาพของผลิตภัณฑ์ปลาช่อนทะเลที่สามารถสร้างคุณค่า และสร้างมูลค่าเพิ่มได้ โดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ถึงคุณค่าของปลาช่อนทะเลและทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และพร้อมที่จะส่งเสริมให้ปลาช่อนทะเลกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจใหม่ช่วยสร้างครัวของโลกอย่างยั่งยืนภายใต้ชื่อแบรนด์ ซุกิ (SUGI)

สิ่งที่จะยืนยันถึงศักยภาพของปลาช่อนทะเลที่จะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ที่สำคัญของประเทศ สะท้อนผ่านความคิดเห็นของเชฟชื่อดังในเมืองไทยหลายท่าน อาทิ เชฟแวน-เฉลิมพล โรหิตรัตนะ เจ้าของร้านแดก (DAG) เผยถึงความน่าสนใจในตัวปลาช่อนทะเล เป็นวัตถุดิบที่คุ้มค่า ใช้ได้ทั้งตัวตั้งแต่หัวจรดหาง แม้กระทั่งเครื่องในก็นำมาเนรมิตเป็นอาหารจานอร่อยได้ สามารถกินดิบได้เลย หรือจะเอามาปรุงด้วยความร้อนก็น่ารับประทานมากเช่นกัน

เช่นเดียวกับเชฟโป้ง-ฐาปกรณ์ ชินะวาสี FOOD DEVELOPER สาย Entertain ผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนที่รักการทำอาหาร ให้นิยามปลาชนิดนี้ว่า เป็นปลาคุณภาพเนื้อดี สามารถนำมากินเป็นซาชิมิ เทียบเท่าฮามาจิ ทั้งยังเป็นปลาที่มีรูปทรงเป็นเอกลักษณ์ ด้วยความเป็นปลาตัวกลม จึงสามารถสร้างสรรค์เมนูได้หลากหลาย โดดเด่นที่คุณค่าทางโภชนาการ มีโปรตีนสูงเป็นอันดับต้นๆ เมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น

นอกจากนั้นเชฟถัง-ดนัย โทตระกูล Executive Chef ประจำร้านอาหาร Dewa Phuket Resort ประธานชมรมพัฒนาวิชาชีพเชฟภูเก็ตอันดามัน (PACC) ยังประทับใจในรูปลักษณ์ปลาเนื้อขาว มีความแน่น และด้วยความเป็นปลาขนาดใหญ่ จึงสามารถทำเมนูอาหารได้หลากหลาย จะทำเป็นซาชิมิ สเต็ก รวมทั้งอาหารไทย ซึ่งการนำปลาช่อนทะเลมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักช่วยเพิ่มมูลค่าอาหารไทยได้อย่างมาก

ซุกิ (SUGI) ภาพลักษณ์ใหม่ของปลาช่อนทะเลไทยที่เต็มไปด้วยข้อดีและคุณประโยชน์มากมายนี้ กำลังจะเข้ามาอยู่ในครัวทุกบ้าน ทุกร้านอาหารแล้ว และซุกิก็พร้อมที่จะเป็นสุดยอดปลาไทย เป็นวัตถุดิบปรุงอาหารชั้นดีที่คนกินทั้งไทยและทั่วโลกยกให้เป็นที่หนึ่งอย่างแน่นอน

นางเพ็ญศิริ วงษ์วาท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี (สศท.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “ลูกอ๊อดกบ” เป็นหนึ่งในสัตว์น้ำนำร่องที่ได้รับการผลักดันเข้าสู่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ด้านการประมง เมื่อปี 2560 เนื่องจากเป็นสัตว์น้ำที่ตลาดในท้องถิ่นมีความต้องการสูง ราคาดี ซึ่งเป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสในช่วงหน้าแล้งหลังการทำนาปี โดยปรับพื้นที่นาข้าวเพื่อเพาะเลี้ยงลูกอ๊อดกบ ปัจจุบันเกษตรกรได้มีการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ลูกอ๊อดบ้านหนองแต้ ผลิตและจำหน่ายลูกอ๊อดกบ จนเกิดรายได้หมุนเวียนให้เกษตรกร ที่สำคัญทางกลุ่มแปลงใหญ่ฯ ยังได้รับมาตรฐาน GAP และเกษตรกรผู้เลี้ยงได้มีการจดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เพาะเลี้ยงลูกอ๊อดกบกลุ่มแรกของประเทศไทย ซึ่งนับเป็นตัวอย่างของการรวมกลุ่มที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก

จากการลงพื้นที่ของ สศท.3 เพื่อติดตามสถานการณ์ผลิตของกลุ่มแปลงใหญ่ลูกอ๊อดบ้านหนองแต้ ตำบลนาขาม อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม โดยสัมภาษณ์นายสมชัย วงษ์สุข ผู้จัดการแปลงใหญ่ฯ และยังเป็นเกษตรกรต้นแบบ ซึ่งมีประสบการณ์เพาะเลี้ยงลูกอ๊อดกบมาเป็นระยะเวลานานกว่า 15 ปี เล่าว่า ตนประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก และมีความสนใจอยากทำอาชีพเกษตรอย่างอื่น เพื่อให้มีรายได้ในช่วงหลังการทำนา จึงเลือกการเพาะลูกอ๊อดกบขาย เนื่องจากเลี้ยงง่าย สร้างรายได้สูง ซึ่งได้เลี้ยงมาอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จ และได้มีการถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรรายอื่น รวมถึงแนะนำให้เกษตรกรผู้สนใจหันมาเลี้ยงกันมากขึ้น หลังจากนั้นจึงได้เริ่มรวมกลุ่มแปลงใหญ่ฯ

ปี 2560 ปัจจุบันมีสมาชิกเกษตรกร 32 ราย พื้นที่เลี้ยงรวม 64 ไร่ สำหรับพื้นที่การเพาะเลี้ยงลูกอ๊อดในนา 1 ไร่ จะมีต้นทุนการเลี้ยงเฉลี่ย 61,200 บาท/ไร่ (1 ไร่ มีบ่อเพาะเลี้ยง 20 บ่อ ขนาด 4 x 15 เมตร) ผลผลิตลูกอ๊อดเฉลี่ย 60 กิโลกรัม/บ่อ (1 กิโลกรัม จะได้ลูกอ๊อดประมาณ 450 – 500 ตัว) เกษตรกรมีผลตอบแทน 96,000 บาท/ไร่ คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 34,800 บาท/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 80 บาท/กิโลกรัม โดยภายในระยะเวลา 1 ปี สามารถเพาะเลี้ยงลูกอ๊อดกบได้ถึง 5 ครั้ง คิดเป็นผลตอบแทนทั้งปีเกษตรกรจะมีรายได้สุทธิจากการขายลูกอ๊อดกบมีชีวิตเฉลี่ย 174,000 บาท/ปี/ราย ทั้งนี้ หากมองในภาพรวมของกลุ่มแปลงใหญ่ฯ ในระยะเวลา 1 ปี สามารถผลิตลูกอ๊อดได้ประมาณ 180 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 14.40 ล้านบาท ด้านการจำหน่ายผลผลิตลูกอ๊อดกบ ทางกลุ่มแปลงใหญ่ฯ จะจำหน่ายเพื่อการบริโภคหรือนำไปเลี้ยงเป็นกบเนื้อ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ ลูกอ๊อดกบมีชีวิตและแช่แข็ง

ผู้อำนวยการ สศท.3 กล่าวทิ้งท้ายว่า การเพาะเลี้ยงลูกอ๊อดกบ อีกทั้งยังเป็นอาชีพทางเลือกที่สร้างความสำเร็จ สร้างรายได้ให้เกษตรกร จากโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ทั้งนี้ เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจข้อมูลการผลิตลูกอ๊อดกบของกลุ่มแปลงใหญ่ลูกอ๊อดบ้านหนองแต้ สามารถสอบถามได้ที่ นายสมชัย วงษ์สุข ผู้จัดการแปลงใหญ่ฯ กลุ่มแปลงใหญ่ลูกอ๊อดบ้านหนองแต้ ตำบลนาขาม อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม หรือ โทร 09 8221 7904 ซึ่งยินดีให้คำปรึกษาแก่ทุกท่าน

กรุงเทพฯ 19 พฤษภาคม 2564 – เพราะเราเข้าใจเกษตรกร ที่ต้องเผชิญความไม่แน่นอนในการเพาะปลูก ปุ๋ยตรากระต่าย โดยบริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทย ขอมอบความมั่นใจ และความชัวร์แบบเด๊ะเด๊ะในเรื่องผลิตผลที่ดีด้วยปุ๋ยคุณภาพ ผ่านภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ “ปุ๋ยกระต่ายมาชัวร์” ตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาดปุ๋ยที่อยู่คู่เกษตรกรไทยและได้รับความไว้วางใจมาอย่างยาวนาน พร้อมเพิ่มความมั่นใจและเพิ่มศักยภาพการเพาะปลูกให้พี่น้องเกษตรกรไทย

ปุ๋ยตรากระต่ายเข้าใจอุปสรรคในการเพาะปลูกของเกษตรกร ไม่ว่าจะเรื่องปัจจัยทางธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้ รวมถึงปัจจัยด้านอื่นๆ ที่ล้วนส่งผลต่อผลิตผล เพื่อเพิ่มความมั่นใจและเพื่อให้ทุกการลงทุนในการเพาะปลูกผลิดอกออกผลอย่างสมบูรณ์ ปุ๋ยตรากระต่ายจึงคัดสรรสูตรปุ๋ยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตชั้นนำทั่วโลกให้เหมาะสมกับพืชแต่ละประเภท ทั้งข้าว พืชไร่ ผัก และไม้ผล การันตีด้วยระบบบริหารคุณภาพ ISO9001:2015 ตอกย้ำมาตรฐานการดำเนินงานในระดับสากล

ภาพยนตร์โฆษณา “ปุ๋ยกระต่ายมาชัวร์” ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตเกษตรกรในงานคอนเสิร์ตคาราวานมาชัวร์ ที่พวกเขาต่างต้องเจออุปสรรคในการประกอบอาชีพมากมาย รวมถึงยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆในการเพาะปลูก แต่พวกเขากลับต้องลุ้นรอคอยผลิตผลในทุกๆ ปี ว่าจะมีคุณภาพตามต้องการหรือไม่ แต่ไม่ว่าจะเจออุปสรรคใดๆ ปุ๋ยตรากระต่ายจะเป็นอีกตัวช่วยให้พี่น้องเกษตรกรมั่นใจมากขึ้น ว่าจะได้ผลิตผลดีมีคุณภาพ มาชัวร์ เด๊ะเด๊ะ

นายเทพวิทย์ เตียวสุรัตน์กุล ประธานคณะผู้ปฏิบัติการ บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวว่า “ด้วยความที่เจียไต๋เติบโตเคียงข้างพี่น้องเกษตรกรมายาวนานนับศตวรรษ เราได้มองเห็นปัญหาและอุปสรรคในการเพาะปลูก การลงทุนต้องได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าแบบไม่เสียเปล่า เราจึงมุ่งเน้นคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ทั้งปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ และเทคโนโลยีการเกษตรต่างๆ ที่ตอบโจทย์การเพาะปลูกทั้งพืชไร่ พืชสวน และนาข้าว เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้อย่างมั่นใจและได้ผลิตผลที่ดีมีคุณภาพ ต่อสู้กับความไม่แน่นอนได้ ทั้งนี้ เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงและเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงเพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคผลิตผลที่ดี สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของเจียไต๋ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งมอบนวัตกรรมการเกษตรด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ โดยภาพยนตร์โฆษณา “ปุ๋ยกระต่ายมาชัวร์” ชุดนี้ จะเป็นอีกแรงผลักดันให้พี่น้องเกษตรกรเพาะปลูกได้อย่างมั่นใจ ไม่ว่าจะเจออุปสรรคใดๆ ก็ตาม”

ติดตามรับชมภาพยนตร์โฆษณาปุ๋ยตรากระต่ายชุด “ปุ๋ยกระต่ายมาชัวร์” ที่จะออกอากาศทางโทรทัศน์ และรับชมผ่านช่องทางออนไลน์ที่ กรมวิชาการเกษตร กำชับผู้ส่งออกไทยเฝ้าระวังเชื้อโควิดติดไปกับผลไม้ เผยจีนมาตรการเข้มงวดตรวจหนัก แนะปฏิบัติตามแนวทางป้องการปนเปื้อนในโรงคัดบรรจุเคร่งครัด พร้อมดันผู้ส่งออกใช้บริการตรวจปล่อยสินค้าที่ด่านตงซิงและผิงเสียง แก้ปัญหารถติดสะสมหน้าด่านยอดนิยมโหย่วอี้กวน หลังจีนยืนยันไม่ขยายเวลาให้บริการเพิ่มจากเดิม

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทยที่ยังมีอัตราการตรวจพบผู้ติดเชื้อในประเทศสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรไทยได้โดยเฉพาะผลไม้ที่ขนส่งผ่านเส้นทางบกไปยังประเทศจีน เนื่องจากฝ่ายจีนมีมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 อย่างเข้มงวด โดยสินค้าผลไม้ที่ส่งออกมาจีนจะถูกตรวจกรดนิวคลิอิกเพื่อหาเชื้อโควิด-19 ในสินค้า รวมทั้งการตรวจหาเชื้อในคนขับรถสินค้า และการพ่นฆ่าเชื้อในสินค้า ดังนั้นกรมวิชาการเกษตรจึงขอย้ำเตือนผู้ประกอบการส่งออกของไทยในการควบคุม กำกับดูแลและป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 อย่างเข้มงวดตั้งแต่สวน โรงคัดบรรจุและขั้นตอนการขนส่งเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19 ติดไปกับสินค้า ซึ่งในขณะนี้จีนได้ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้เป็นอย่างมาก หากตรวจพบอาจนำไปสู่การระงับการนำเข้าสินค้าผลไม้จากไทยได้

ทั้งนี้ ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรก็ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับโรงคัดบรรจุผลไม้ให้ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ โดยยึดตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) และ FAO ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่ทางจีนให้การยอมรับและแนะนำให้ประเทศคู่ค้าปฏิบัติด้วยเช่นกันเพื่อควบคุมสุขอนามัยของพนักงานและสิ่งแวดล้อมในสถานที่ผลิต โดยกรมวิชาการเกษตรได้จัดทำเอกสารดังกล่าวทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาจีนส่งให้สำนักงานศุลกากรของจีนพร้อมกับยืนยันว่าไทยได้ให้ความสำคัญกับการควบคุมเชื้อโควิด-19 ในผลไม้ส่งออกตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เพื่อตอกย้ำให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยของผลไม้ไทย

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า นอกจากประเด็นดังกล่าวแล้วขอแจ้งเตือนให้ผู้ส่งออกของไทยวางแผนและบริหารจัดการเวลาในการแจ้งนำเข้าสินค้าผลไม้ที่ด่านนำเข้าของจีนให้ทันต่อเวลา เพื่อไม่ให้เกิดการตกค้างของผลไม้ที่หน้าด่าน โดยเฉพาะด่านโหย่วอี้กวนซึ่งเป็นด่านนำเข้าผลไม้ทางบกที่ผู้ส่งออกของไทยนิยมไปใช้บริการจำนวนมากทำให้เกิดปัญหารถติดสะสมที่หน้าด่านต้องใช้ระยะเวลารอคิวตรวจปล่อยสินค้าค่อนข้างนานส่งผลกระทบต่อคุณภาพผลไม้ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ของไทยได้เจรจากับกระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานศุลกากรของจีน

เพื่อขอขยายเวลาทำการของด่านโหย่วอี้กวนจากเดิมเวลา 09.00-19.00 น. เป็นเวลา 09.00-21.00 น. แต่ได้รับแจ้งจากจีนว่าไม่สามารถดำเนินการให้ได้ เนื่องจากได้เปิดด่านใหม่ตงซิงเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้กับฝ่ายไทยอย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่วันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา ดังนั้นจึงขอย้ำเตือนผู้ส่งออกให้แก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนไปใช้เส้นทางด่านรถไฟผิงเสียงและด่านตงซิง ซึ่งทั้ง 2 ด่านดังกล่าวมีศักยภาพเพียงพอและใช้เวลารวดเร็วในการตรวจปล่อยสินค้า รวมทั้งสามารถรองรับสินค้านำเข้าได้จำนวนมาก

“แม้ที่ผ่านมาแม้จีนจะยังไม่เคยตรวจพบปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19 ในสินค้าเกษตรจากไทยแต่ก็อยากจะเน้นย้ำให้ผู้ส่งออกให้ความสำคัญและปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19 ในโรงคัดบรรจุซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่จีนแนะนำให้ประเทศคู่ค้าปฏิบัติด้วยเช่นกัน รวมทั้งขอให้ผู้ส่งออกปรับเปลี่ยนไปใช้เส้นทางด่านนำเข้าด่านตงซิงและผิงเสียงเพื่อให้เกิดความคล่องตัวต่อการส่งออกและไม่กระทบกับคุณภาพสินค้าผลไม้ไทยที่ต้องรอคิวการตรวจปล่อยสินค้านาน ทั้งนี้ แต่เดือนมกราคม – เมษายน 2564

ไทยได้ส่งออกผลไม้ไปจีนแล้วจำนวน 532,262 ตัน สมัครพนันออนไลน์ รวมมูลค่า 34,453 ล้านบาท โดยผลไม้ไทยที่จีนนำเข้ามากสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ ทุเรียน 193,778 ตัน มูลค่า 23,585 ล้านบาท ลำไย 188,844 ตัน มูลค่า 7,993 ล้านบาท มะพร้าวอ่อน 102,110 ตัน มูลค่า 1,940 ล้านบาท สับปะรดปอกเปลือก 16,309 ตัน มูลค่า 102 ล้านบาท และขนุนปริมาณ 12,289 ตัน มูลค่า 172 ล้านบาท” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

มติที่ประชุมมอบหมายให้คณะทำงานฯ ปรับปรุงแผนปฏิบัติ

การขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยแบ่งกลุ่มคนภาคเกษตรในอนาคตของประเทศไทย ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง/กลุ่มพื้นฐาน/กลุ่มอนุรักษ์ 2) กลุ่มคนที่ทำเกษตรแปรรูป 3) กลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร/ผู้บริโภค และ 4) กลุ่มนักวิชาการ ภาคประชาสังคม (NGO) เพื่อจัดทำแผนพัฒนากำลังคนภาคเกษตรในอนาคตต่อไป

ผลการคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติปะจำปี 2564 ออกมาแล้ว เกษตรกรคนเด่นได้รับรางวัลตามคาดหมาย ฮือฮาปีนี้เกษตรกรเลี้ยงควายมาแรงแข่งโควิด-19 เพราะเป็นอาชีพยอดฮิต และแล้วตัวแทนเกษตรกรเลี้ยงควาย “พรหมพิริยะ สอนศิริ” จากปราจีนบุรี แซงหน้าเกษตรกรเลี้ยงปศุสัตว์อื่นๆ จนคว้ารางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติไปครอง

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีนโยบายให้ส่วนราชการในสังกัดดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่น สาขาอาชีพ/ประเภทที่กำหนดเป็นเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณ และเผยแพร่ผลงานดีเด่นให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จัก ยึดถือเป็นแบบอย่างในแนวทางการปฏิบัติงานด้านการเกษตร โดยในปี 2564 นี้ มีเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่น ที่ได้รับการคัดเลือก ประกอบด้วย เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 16 สาขาอาชีพ สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 12 กลุ่ม สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 6 สหกรณ์ และปราชญ์เกษตรแห่งแผ่นดิน จำนวน 3 สาขา ดังต่อไปนี้

เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 16 สาขาอาชีพ ได้แก่ 1) อาชีพทำนา ได้แก่ นายศักดิ์ดา เขตกลาง จ.ร้อยเอ็ด 2) อาชีพทำสวน ได้แก่ นายยงยุทธ ศรีจินดา จ.สมุทรสาคร 3) อาชีพทำไร่ ได้แก่ นายสุทธิ ที่หมาย จ.ระยอง 4) อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ นายวีระชัย ก้องพนาไพรสณฑ์ จ.ตาก 5) อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้แก่ นางจงรักษ์ พลายงาม จ.ศรีสะเกษ 6) อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายพรหมพิริยะ สอนศิริ จ.ปราจีนบุรี 7) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นางเพียงใจ ต้นสกุลประเสริฐ จ.อ่างทอง 8)

อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ได้แก่ นายจรูญ ทรัพย์ศิริ จ.สมุทรสาคร 9) อาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ ได้แก่ นายกำพล สร้อยแสง จ.ราชบุรี 10) อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นายปริญญา ดรุณศรี จ.สมุทรสงคราม 11) สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ นางสำรวย บางสร้อย จ.ร้อยเอ็ด 12) สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ นายวิเชียร บุญรอด จ.ราชบุรี 13) สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช ได้แก่ นายอำนาจ จันทรส จ.จันทบุรี 14) ที่ปรึกษายุวชนเกษตรกร ได้แก่ นายเผ่า พันธุภา จ.กาฬสินธุ์ 15) สมาชิกกลุ่มยุวชนเกษตรกร ได้แก่ เด็กชายณัฐพล ชมวิระ จ.กาฬสินธุ์ และ 16) สาขาเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ นายสุธรรม จันทร์อ่อน จ.นครปฐม

สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 จำนวน 12 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรกรทำนา ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำนากุดประทาย จ.อุบลราชธานี 2) กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมดงบัง จ.ชัยภูมิ 3) กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์เกาะแกด จ.อุบลราชธานี 4) กลุ่มเกษตรกรทำประมงหรือกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ สมาคมประมงพื้นบ้านหัวไทร จ. นครศรีธรรมราช 5) กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนร้านคนจับปลา จ.สตูล จ.สตูล 6)

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรนายาวสามัคคี จ.ฉะเชิงเทรา 7) กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม จ.ชลบุรี 8) กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลานตาบัว จ.กำแพงเพชร 9) สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานพลังดอนตะโก จ.นครศรีธรรมราช 10) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลศรีดอนมูล จ.เชียงราย 11) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภท ข้าวอื่น ๆ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนข้าวอินทรีย์ ตำบลหนองห้าง จ.กาฬสินธุ์ และ 12) วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านป่าศรี จ.ปัตตานี

สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 จำนวน 6 สหกรณ์ ได้แก่ 1) สหกรณ์การเกษตร ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรไชยา จำกัด จ.สุราษฎร์ธานี 2) สหกรณ์โคนม ได้แก่ สหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์กพัฒนานิคม จำกัด จ.ลพบุรี 3) สหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขพัทลุง จำกัด จ.พัทลุง 4) สหกรณ์ร้านค้า ได้แก่ ร้านสหกรณ์พนักงานโรงพยาบาลบ้านแพ้ว จำกัด จ.สมุทรสาคร 5) สหกรณ์บริการ ได้แก่ สหกรณ์บริการไออาร์พีซี จำกัด จ.ระยอง และ 6) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ได้แก่ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนรวมน้ำใจท่ายาง จำกัด จ.เพชรบุรี

ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2564 จำนวน 3 สาขา ได้แก่ 1) สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ นายนายสุชล สุขเกษม 2) สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ได้แก่ นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล และ 3) สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ได้แก่ นายสิทธิพงษ์ อรุณรักษ์

สำหรับในปี 2564 นี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนั้น ไม่สามารถดำเนินการจัดได้ตามปกติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ผู้แทนสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ผู้แทนสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปีพุทธศักราช 2563 – 2564 จำนวน 76 คน เข้ารับโล่รางวัลพระราชทานเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรฯ จะกำหนดวันและเวลาที่เหมาะสมอีกครั้ง

อนึ่ง เมื่อพิจารณาตามรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกก็จะพบว่าแต่ละรายชื่อล้วนมีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ผ่านการคัดเลือกมาตามขั้นตอนของหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ แต่รายชื่อหนึ่งที่ขอหยิบยกมากล่าวถึง คือ นายพรหมพิริยะ สอนศิริ เกษตรกรผู้เลี้ยงควาย “สอนศิริฟาร์มควายไทย” ฟาร์มควายไทยขนาดใหญ่กว่า 300 ตัว ตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี เกษตรกรคนนี้มีประวัติน่าสนใจ มุ่งมั่นเลี้ยงควายหลังจากลาออกจากงานประจำ และเดินหน้าคัดสรรควายลักษณะดีเข้าประจำคอก โดยที่คอกของเขาเลี้ยงระบบฟาร์มปิด หรือระบบโรงเรือน มีวิธีการจัดการที่ครบวงจร

ความน่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตจากการเลี้ยงควาย เช่น น้ำนมควายพาสเจอร์ไรส์ และนำไปแปรรูปเป็นโยเกิร์ต พุดดิ้ง ฯลฯ อีกทั้งความมุ่งมั่นที่จะให้เกิดขึ้นหลังโควิด 19 คือการทำฟาร์มควายไทยเป็นฟาร์มเพื่อการท่องเที่ยวอีกด้วย

“รู้สึก ยินดี และดีใจอย่างที่สุด..จะพัฒนานวัตกรรมใหม่ในการเลี้ยงสัตว์ต่อไป ซึ่งจะปรากฏขึ้นอีกมากมาย และเป็นแนวทางที่สามารถประกอบอาชีพหลักได้อย่างยั่งยืนและอนุรักษ์สัตว์พันธุ์พื้นเมืองไว้ให้คู่ประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน” นายพรหมพิริยะ สอนศิริ กล่าวกับ “เกษตรก้าวไกล” เมื่อ 30 เมษายน 2564 และอาชีพเลี้ยงควายไทยถือเป็นอาชีพหนึ่งที่มาแรงในยุคโควิด-19 เพราะว่ามีผู้คนที่ทำงานประจำในเมืองจำนวนมากที่เดินทางกลับบ้านเกิดมาทำการเกษตรแบบผสมผสานและการเลี้ยงควายไทยถือเป็นอาชีพยอดฮิตก็ว่าได้ ท่านที่สนใจเรื่องราวของเกษตรกรผู้เลี้ยงควายที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ สามารถ

รศ. ดร. เฉลิมพล สุวรรณภักดี ผู้เชี่ยวชาญพืชสกุลหนามแน่ (Thunbergia) อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ดร. สมราน สุดดี นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช ดร.ขวัญใจ รอสูงเนิน นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูลังกา และ Dr. David Middleton ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์แห่งสวนพฤกษศาสตร์สิงคโปร์ ร่วมกันตีพิมพ์พืชชนิดใหม่ของโลก “หนามแน่ขาวอัมไพ” ในวารสารนานาชาติ Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 49(1) หน้าที่ 57-62 ปี พ.ศ. 2564

รศ. ดร. เฉลิมพล สุวรรณภักดี เปิดเผยว่า “หนามแน่ขาวอัมไพ” พืชชนิดใหม่นี้ ค้นพบโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดนครพนม ซึ่งทำการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (smart patrol) ในพื้นที่อุทยานฯ ได้พบไม้พุ่มกึ่งเลื้อยดอกสวยงามไม่ทราบชนิดบริเวณป่าดิบแล้งริมลำธาร ความสูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร และได้ประสานส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช ติดตามเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ โดยดร.สมราน สุดดี จึงได้ประสานมาที่ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบ พบว่า ไม้พุ่มกึ่งเลื้อยดอกสวยงาม ดังกล่าว เป็นพืชชนิดใหม่ของโลก

“หนามแน่ขาวอัมไพ” เป็นพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลหนามแน่ (Thunbergia) วงศ์ต้อยติ่ง (Acanthaceae) มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า ThunbergiaamphaiiSuwanph., K. Khamm., D. J. Middleton & Suddee คำระบุชนิด “amphaii” ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นายอัมไพ ผาสีดา เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ภูลังกา ผู้ค้นพบพืชชนิดนี้ระหว่างทำการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ โดยมีชื่อไทยว่า “หนามแน่ขาวอัมไพ” ตามลักษณะสีดอกที่ออกขาวและตามชื่อผู้ค้นพบ ทั้งนี้ ตัวอย่างต้นแบบเก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ “หนามแน่ขาวอัมไพ” เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ลำต้นมีขนตามข้อ มีร่องตามยาว 2 ร่อง ใบเรียงตรงข้าม รูปรี รูปขอบขนานแกมรูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3.5-5 ซม. ยาว 12-14 ซม. ปลายแหลม เรียวแหลม หรือยาวคล้ายหาง โคนรูปลิ่มหรือสอบเรียว ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 8-10 เส้น ปลายเชื่อมติดกันก่อนถึงขอบใบ ก้านใบแบนทางด้านบน มีขนสาก ช่อดอกคล้ายช่อซี่ร่ม ออกที่ปลายยอด ช่อละ 3-8 ดอก ใบประดับ 2 ใบ

รูปใบหอกแกมรูปแถบ ยาวประมาณ 2 มม. ใบประดับย่อย 2 ใบ สีขาวถึงขาวครีม รูปไข่แกมรูปรีถึงรูปไข่ กว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 1.5 ซม. โคนเชื่อมติดกันมากกว่าครึ่งของความยาว ปลายแยก มี เส้นตามยาว 7 เส้น กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกขนาดเกือบเท่ากัน 5 แฉก กลีบดอกสมมาตรด้านข้าง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีขาวถึงขาวครีม ด้านในบริเวณปากหลอดมีแต้มสีเหลืองหรือน้ำตาล ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก แยกเป็นกลีบบน 2 แฉก กลีบล่าง 3 แฉก เกสรเพศผู้ 4 เกสร แยกเป็น 2 คู่ยาวไม่เท่ากัน ก้านชูอับเรณูมีขนต่อมหนาแน่น อับเรณูโคนมีขน ผลแบบผลแห้งแตก โคนป่อง ปลายแหลม มีขนสั้น

มนัญญา สั่งกรมวิชาการเกษตร เสริมคนเพิ่มเวลาทำงานเต็มพิกัดดันส่งออกทุเรียนไทยไปจีนลื่นไหลไม่ถึง 4 เดือนยอดขายพุ่งแล้วกว่า 2 แสนตัน มูลค่าทะลุ 2 หมื่นล้านบาท เผยเป็นปีทองผลไม้ไทยจีนอ้าแขนรับเต็มที่ประกาศเพิ่มทะเบียนสวนทุเรียน GAP และโรงคัดบรรจุ GMP ในเว็บไซต์ พร้อมเคลียร์เส้นทางเพิ่มด่านตงซิงนำเข้าฉลุยอีก 1 ด่านไฟเขียว 29 เมษายนนี้

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่าในปี 2564 นี้นับเป็นปีทองของการส่งออกทุเรียนไทยไปจีนเนื่องจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันผลักดันให้มีการส่งออกผลผลิตที่มีคุณภาพให้เป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้าของจีนอย่างเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งการดำเนินงานในส่วนที่เป็นภารกิจของกรมวิชาการเกษตรได้รับนโยบายจากนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชของกรมวิชาการเกษตรทั่วประเทศเพื่อปฏิบัติงานตรวจสอบและออกใบรับรองสุขอนามัยพืชในพื้นที่ภาคตะวันออกกว่า 40 คน

และเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานพื้นที่ภาคตะวันออกของกรมวิชาการเกษตรทั้งหมดให้ร่วมกันปฏิบัติงานอำนวยความสะดวกสนับสนุนการส่งออกให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีความคล่องตัวมากขึ้นทั้งการตรวจสอบความแก่-อ่อนของทุเรียนควบคู่ไปกับการตรวจสอบศัตรูพืชและการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเชื้อโควิด-19 ของโรงคัดบรรจุ ตลอดจนตรวจสอบการใช้ใบรับรอง GAP ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการสวมสิทธิ์ รวมทั้งได้ขยายระยะเวลาการปฏิบัติงานตรวจปิดตู้ทุเรียนจากเดิม 19.00 น.เป็น 23.00 น.ทุกวัน ทำให้ตั้งแต่เริ่มต้นฤดูกาลผลิต จนถึงขณะนี้สามารถส่งผลผลิตทุเรียนส่งไปจีนได้ปริมาณ 12,000 ตู้ หรือประมาณ 216,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 21,600 ล้านบาท(ราคาเฉลี่ย 100 บาท/กก.)

โดยผลผลิตทุเรียนจะออกมากที่สุดระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม ซึ่งจากการที่กรมวิชาการเกษตรได้เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่เข้าไปปฏิบัติงานและขยายเวลาในการปิดตู้ทำให้สามารถตรวจรับรองการส่งออกได้เพิ่มขึ้นโดยในช่วงระว่างวันที่ 20-29 เมษายน 2564 ผลผลิตทุเรียนที่ส่งออกไปจีน มีจำนวนถึง 4,974 ชิปเม้นท์มากกว่าปี 2563 ในช่วงเวลาเดียวกันที่มีการส่งออก 3,298 ชิปเม้นท์ ซึ่งเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 75 ทั้งนี้ราคารับซื้อทุเรียนหมอนทอง ณ วันที่ 30 เม.ย.64 อยู่ที่ 90-100 บาท/กก.

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ตลาดจีนถือเป็นตลาดส่งออกผลไม้ที่สำคัญของไทยโดยอนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากประเทศไทยมากกว่าถึง 22 ชนิด สร้างรายได้ให้แก่ประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท / ปี ดังนั้นคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราสามารถรักษาตลาดไว้ได้ โดยไทยและจีนมีข้อตกลงเงื่อนไขการนำเข้าและส่งออกผลไม้ที่ต้องปฏิบัติร่วมกันคือผลผลิตจะต้องมาจากสวนที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP และคัดบรรจุในโรงงานผลิตสินค้าพืชที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามมาตรฐาน GMP โดยกรมวิชาการเกษตรได้จัดส่งข้อมูลทะเบียนสวนทุเรียนที่ได้รับการรับรองทั้งหมดส่งให้จีนประกาศในเว็บไซต์ของจีนแล้ว รวมจำนวนทั้งสิ้น 38,767 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มีจำนวน 30,076 ราย ส่วนโรงงานคัดบรรจุ GMP ที่ได้แลกเปลี่ยนทะเบียนและประกาศรายชื่อในเว็บไซต์ของจีนแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 1,587 โรงงาน

“ทั้งนี้ที่ผ่านมาจีนได้เปิดด่านอนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากไทยได้จำนวน 3 ด่านคือ ด่านโม่หัน ด่าน โหย่วอี้กวน และด่านรถไฟผิงเสียง แต่ในขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งข่าวดีว่าสำนักงานศุลกากรของจีน (GACC) ได้อนุญาตให้นำเข้าผลไม้สดของไทยที่ด่านตงซิงได้แล้วโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2564 เป็นต้นไป ซึ่งถือเป็นข่าวดีที่ไทยได้รอคอยมาเป็นระยะเวลา 1 ปี ภายหลังจากที่กรมวิชาการเกษตรและสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้ประสบความสำเร็จในการเจรจา “ร่างพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างไทยและจีน” กับสำนักงานศุลกากรของจีนเมื่อเดือนเมษายน 2563 นำไปสู่การปลดล็อคเส้นทางการขนส่งผลไม้ไปจีนและไทยได้ด่านนำเข้าและส่งออกผลไม้ไปจีนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับผู้ส่งออกผลไม้ไปจีนช่วยแก้ปัญหารถติดสะสมบริเวณหน้าด่านโหย่วอี้กวน โดยเฉพาะในฤดูกาลส่งออกทุเรียนในขณะนี้” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

นางสาวศิริวรรณ นาคมุข นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอสวี เปิดเผยว่าจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดสวี ในพื้นที่ตำบลทุ่งระยะ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ได้รับผลกระทบในด้านการตลาดไม่สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ ด้วยสาเหตุหลักๆ ดังนี้

1.ตลาดส่วนใหญ่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว เช่น จังหวัดภูเก็ต กระบี่ ระนอง ฯลฯ ซึ่งจังหวัดเหล่านี้มีการประกาศระเบียบการเดินทางข้ามจังหวัด ทำให้นักท่องเที่ยวน้อย

2.ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ของทุกปี เป็นช่วงฤดูกาลที่ผลผลิตสับปะรดออกค่อนข้างมาก ทำให้มีสับปะรดที่รอจำหน่ายจำนวนมาก

3.ตลาดไทยในจังหวัดชุมพรค่อนข้างเงียบ เนื่องจากเกษตรกรส่งแผงร้านค้าริมทางถนนเพชรเกษม มีผู้คนหรือนักท่องเที่ยวเดินทางจำนวนน้อยและส่วนใหญ่ไม่แวะซื้อของฝากผลไม้ริมทางเพราะกลัวโควิด

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของสำนักงานเกษตรอำเภอสวี พบว่าสับปะรดสวีที่มีช่วงเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2564 ถึง 20 พฤษภาคม 2564 มีประมาณ 20,000 ผล (30 ตัน) โดยมีรายละเอียดการขายหน้าแปลง ดังนี้

สับปะรดผลขนาดจิ๋ว น้ำหนัก 0.5-0.9 กิโลกรัม ราคา 6 บาท ขนาดเล็กน้ำหนัก 1.0-1.4 กิโลกรัม ราคา 10 บาท ซึ่งสับปะรดจำนวน 2 ขนาดนี้คิดเป็นผลผลิตประมาณ 10 % ผลขนาดกลาง 1.5-1.7 กิโลกรัม ราคา 15 บาท มีประมาณ 20 % ผลขนาดใหญ่ 1.8-2.0 กิโลกรัม ราคา 20 บาท และขนาดจัมโบ้ 2.1 กิโลกรัมขึ้นไป ราคา 23 บาท ผลผลิต 2 ขนาดนี้ผลิตได้มากที่สุดประมาณ 70 %

“ผู้สนใจ สั่งซื้อได้จากเฟสบุ๊ค สับปะรดสวี จังหวัดชุมพร หรือ ติดต่อ นายเชาวลิต ถึงเสียบญวน ประธานกลุ่ม วสช.สับปะรดสวีตำบลทุ่งระยะ 0899948412 อย่าลืมมาช่วยกันอุดหนุนสินค้าจากเกษตรกรไทย เกษตรกรอยู่ได้ประเทศอยู่รอดครับ” นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร กล่าว

อนึ่ง สับปะรดสวี เป็นพันธุ์สับปะรดจากเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย โดยพระยาจรูญโภคากร อดีตเจ้าเมืองหลังสวน นำ เข้ามาปลูกครั้งแรกปลูกในพื้นที่อำเภอหลังสวน เมื่อ 100 ปีที่แล้ว ซึ่งชาวบ้านเรียกชื่อว่า สับปะรดฝรั่ง ต่อมาภายหลังมีการปลูกแพร่หลายในพื้นที่อำเภอสวี จนเป็นที่นิยมและเรียกกันต่อมาว่า “สับปะรดสวี” ซึ่งมีลักษณะผลเล็กทรงกระบอก น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม มีจุดเด่นตรงจุกตั้งยาวขึ้น ผลสุกมีเนื้อเหลือง กลิ่นหอม และรสหวานกรอบ แกนกินได้

ปัญหาทุเรียนอ่อนหรือตัดทุเรียนอ่อนบ้านเราพูดกันมานานมากแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ และนับวันจะมีให้เห็นมากจากโลกการสื่อสารที่ออกมาเปิดเผยกัน ซึ่งการที่จะแก้ไขได้ 100% ทุกคนทุกฝ่ายต้องช่วยกัน เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน เนื่องจากต้องยอมรับว่าทุเรียนเป็นพืชแห่งความหวังที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดมาหลายปีติดต่อกัน โดยตลาดหลักอยู่ที่ประเทศจีน จากตัวเลขส่งออกปี 2563 ที่ผ่านมาพบว่าจีนนำเข้าทุเรียนผลสดจากไทยปริมาณทั้งสิ้น 575,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าถึง 69,000 ล้านบาท เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วผู้รับผิดชอบหลายฝ่ายจึงออกมารณรงค์ไม่ให้มีการตัดทุเรียนอ่อน ซึ่งจะทำให้กลายเป็นจุดบอดหรืออุปสรรคอย่างหนึ่งที่จะเกิดขึ้นหากไม่ได้แก้ไขอย่างทันท่วงที

“เกษตรก้าวไกล” จึงขอนำข้อมูลเรื่อง 7 วิธีการสังเกตทุเรียนแก่ที่พร้อมตัด ตามที่กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำขึ้นมาเผยแพร่อีกครั้ง ดังนี้

สังเกตก้านผล ก้านผลจะแข็งและมีสีเข้มขึ้น เมื่อลูบจะรู้สึกสากมือ เมื่อจับก้านผลแล้วแกว่งผลทุเรียน จะรู้สึกว่าก้านผลทุเรียนยืดหยุ่นมากขึ้น ก้านผลบริเวณปากปลิงจะบวมโตเห็นรอยต่อชัดเจน
สังเกตหนาม ปลายหนามแห้งมีสีน้ำตาลเข้ม เปราะและหักง่าย ดังนั้นเมื่อมองจากด้านบนของผลจะเห็นหนามเป็นสีเข้ม หนามมีลักษณะกว้างออก ร่องหนามห่าง เวลาบีบปลายหนามเข้าหากันจะรู้สึกว่ายืดหยุ่น
สังเกตรอยแยกระหว่างพูผลทุเรียนที่แก่จัดจะสังเกตเห็นรอยแยกบนพูได้อย่างชัดเจน ยกเว้นบางพันธุ์ที่ปรากฏไม่เด่นชัด เช่น พันธุ์ก้านยาว
การชิมปลิง ผลทุเรียนที่แก่จัด เมื่อตัดขั้วผลหรือปลิงออกจะพบน้ำใสซึ่งไม่ข้นเหนียวเหมือนในทุเรียนอ่อนและเมื่อใช้ลิ้นแตะชิมดูจะมีรสหวาน
การเคาะเปลือกหรือกรีดหนาม เมื่อเคาะเปลือกผลทุเรียนที่แก่จัดจะมีเสียงดังหลวม ๆ เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างเปลือกและเนื้อภายในผล เสียงหนักหรือเบาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพันธุ์และอายุของต้นทุเรียน

การปล่อยให้ทุเรียนร่วง ปกติดอกทุเรียนแต่ละรุ่นในแต่ละต้นจะบานไม่พร้อมกันและมีช่วงต่างกันไม่เกิน 10 วัน ดังนั้นเมื่อมีผลทุเรียนในต้นเริ่มแก่ สุก และร่วงก็เป็นสัญญาณเตือนว่าผลทุเรียนที่เหลือในรุ่นนั้นแก่แล้วสามารถเก็บเกี่ยวได้
การนับอายุโดยนับอายุผลเป็นจำนวนวันหลังดอกบาน เช่น
พันธุ์ชะนี ใช้เวลา 100-105 วัน
พันธุ์กระดุม ใช้เวลา 90 ถึง100 วัน
พันธุ์ก้านยาว ใช้เวลา 120 ถึง 135 วัน
พันธุ์หมอนทอง ใช้เวลา 140 ถึง 150 วัน เป็นต้น

การนับวันหรืออายุของผลจะแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละปีและในแต่ละท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ เช่น ถ้าปีใดมีอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างสูง ผลทุเรียนจะแก่เร็วกว่าปีที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่าลุงเหนอเลือกแล้วเลือกเล่าก่อนตัดทุเรียนแก

วันนี้ (7 พ.ค. 64) นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการแถลงข่าว “ปิดจ๊อบส่งน้ำฤดูแล้ง พร้อมเดินหน้ารับมือฤดูฝนปี 64” ผ่านระบบ VDO Conference โดยมีนายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ดร.สุกันยาณี ยะวิญชาญ รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา และผู้แทนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมแถลง

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในการแถลงข่าวตอนหนึ่งว่า ขอให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความพร้อมทั้งในด้านเครื่องจักร เครื่องมือ และกำลังคน รวมถึงการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งได้มอบหมายให้กรมชลประทานกำหนดมาตรการจัดการน้ำและการรับมือฤดูฝนปี 2564 โดยกำชับให้คำนึงถึงการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และส่งเสริมการปลูกพืชฤดูฝนโดยใช้น้ำฝนเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำให้บริหารจัดการน้ำตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ให้มีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน ประสานงานกับทุกภาคส่วน บูรณาการการทำงานร่วมกัน และเน้นย้ำการสื่อสารกับพี่น้องเกษตรกรและพี่น้องประชาชน เพื่อสร้างความเข้าใจ และบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบที่อาจเกินขึ้น รวมถึงสามารถบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วย

ด้าน นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูแล้ง ปี 2563/2564 ที่ผ่านมากรมชลประทาน ได้ดำเนินการจัดสรรน้ำตามแผนที่วางไว้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร และประชาชน อีกทั้งมีการจ้างแรงงานชลประทานทั่วประเทศ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ถึงจำนวน 63,088 คน

สำหรับในช่วงฤดูฝนของปี 2564 มีปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง รวมทั้งสิ้น 447 แห่ง ทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 พฤษาคม รวมจำนวนกว่า 36,442 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่าง ทำให้มีความสามารถในการรองรับน้ำได้อีก ประมาณ 39,626 ล้าน ลบ.ม. พร้อมกันนี้ กรมชลประทานได้วางแผนการบริหารจัดการน้ำตามความต้องการใช้น้ำในแต่ละกิจกรรม ทั้งการอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศน์ การเกษตรและอุตสาหกรรม อย่างเพียงพอ

“นอกจากนี้ กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมในการรับมือและเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัย ด้วยการกำหนดพื้นที่ การกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม การกำหนดคนเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ และประจำพื้นที่เสี่ยง รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักรต่าง ๆ รวมจำนวนทั้งสิ้น 5,935 หน่วย ซึ่งกระจายอยู่ในแต่ละพื้นที่ให้เพียงพอ โดยพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม” อธิบดีกรมชลประทานกล่าว

ด้าน นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการของประเทศไทยนั้น คาดว่า เริ่มประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพ.ค. และสิ้นสุดประมาณกลางเดือนต.ค. 2564 ซึ่งต้องขอให้รอประกาศอย่างเป็นทางการของกรมอุตุนิยมวิทยาอีกครั้ง เพราะขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามระบบลมอยู่

“สำหรับการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนสะสมในปี 2564 คาดว่า จะมีปริมาณสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติของประเทศ และลักษณะของฤดูฝนในช่วงต้นนี้จากการวิเคราะห์พบว่า จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับปี 2551 ที่ผ่านมา ส่วนปริมาณฝนที่ตกลงมาตั้งแต่ช่วงเดือนม.ค.-เม.ย. ของปี 2564 พบว่า ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคเหนือและภาคกลางตอนบนมีปริมาณฝนตกสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ย

รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวต่อไปว่า สำหรับฤดูฝนของปี 2564 พบว่า ในช่วงกลางเดือนพ.ค.ถึงเดือนมิ.ย. จะมีปริมาณต่อเนื่องและมากขึ้น โดยมีปริมาณฝนตกในเกณฑ์ 40 – 60 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ และอาจมมีบางช่วงที่จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ด้วยอาจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวขึ้นบริเวณอ่างเบงกอลแล้วอาจทวีกำลังแรงเป็นพายุไซโคลน และเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ดังนั้นต้องขอให้ติดตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เพราะอาจจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้

“ขณะเดียวกันคาดว่าจะเกิด SBOBET สภาวะที่เรียกว่าฝนทิ้งช่วงในช่วงปลายเดือนมิ.ย.ถึงกลางเดือนก.ค. เนื่องด้วยร่องมรสุมจะเคลื่อนตัวไปพาดผ่านประเทศจีนตอนใต้ และช่วงเดือนนี้มรสุมจะอ่อนกำลังลง เพราะฉะนั้นปริมาณและการกระจายตัวของฝนจะลดลง ทำให้เกิดปัญหาต่อเกษตรกรได้ในเรื่องของการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อยู่นอกเขตชลประทาน”

สำหรับแนวทางการรับซื้อทุเรียนในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม

ล้งและพ่อค้าผู้ส่งออกตั้งราคารับซื้อแบบเหมาสวน ซึ่งมีการจัดแบ่งตามเกรดส่งออกตามมาตรฐาน GAP และ GMP ที่ประเทศจีนกำหนด ราคาอยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 130 – 190 บาท ทั้งนี้ ราคารับซื้อแบบเหมาสวนล่วงหน้า ทุเรียนเกรดมาตรฐานส่งออกเกรด AB ล้งรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 160 บาท เนื่องจากปีนี้กำลังซื้อจากจีนเพิ่มมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวหลังจากโควิด-19 ซึ่งนับว่าเป็นราคาที่อยู่ในเกณฑ์สูง

เกษตรกรพึงพอใจมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ประกอบกับความต้องการบริโภคทุเรียนในประเทศยังมีต่อเนื่อง เห็นได้จากจำนวนล้งที่รับซื้อทุเรียนมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปีนี้ผลผลิตทุเรียนได้รับความเสียหายเยอะช่วงก่อนเก็บผลผลิต เนื่องจากมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นทำให้ทุเรียนใกล้เก็บเกี่ยวพลัดหล่นจากต้นเสียหายจำนวนมาก จนผลิตไม่พอต่อความต้องการ ส่งผลให้ราคาทุเรียนพุ่งสูงขึ้นและยังคงอยู่ในระดับสูงต่ออีกปี

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ขอความร่วมมือเกษตรกรและผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับคุณภาพของทุเรียน และไม่ตัดทุเรียนอ่อนหรือด้อยคุณภาพออกจำหน่าย ซึ่งหากมีการลักลอบตัดทุเรียนอ่อนจะมีบทลงโทษตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมถึงการยึดใบ GAP ของเกษตรกร และใบ GMP ของผู้ประกอบการด้วย

เมื่อวันที่ 19 เมษายน เวลา 18:09 น. นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัวใช้ชื่อ..“พิเชษฐ์ วิริยะพาหะ” “เป็นข้าราชการกินเงินเดือนที่มาจากเงินภาษีของชาวบ้าน พึงระลึกเสมอว่า ต้องทำงานเพื่อชาวบ้าน” เรื่องการการกำหนดพื้นที่เหมาะสมในการปลูกกัญชงว่า “กรมวิชาการเกษตรร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน ได้กำหนด Zoning พื้นที่สำหรับปลูกกัญชง ออกมาสำหรับเป็นข้อมูลในเบื้องต้นแล้วครับ ในภาพรวมเป็นพื้นที่เหมาะสมสูง (S1)จำนวน 6.69 ล้านไร่ พื้นที่เหมาะสมปานกลาง(S2) จำนวน 38.22 ล้านไร่ สำหรับรายละเอียดในรายพื้นที่จะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไปครับ”

เพียงข้อความเท่านี้กับภาพแผนที่ประเทศไทยที่กำหนด Zoning หรือพื้นที่ที่เหมาะสมกับการการปลูกกัญชง จำนวน 5 ภาพ ก็มีคนกดไลท์ 318 คน แสดงความคิดเห็น 17 รายการ แชร์ 81 ครั้ง ตัวอย่างความคิดเห็นส่วนใหญ่จะแสดงถึงพื้นที่ของตนว่าอยู่ในเกณฑ์หรือไม่ แต่ก็มีความคิดเห็นส่วนหนึ่งที่น่าจะนำมาขยายผลหรือต้องตอบให้แน่ชัด เช่น ขอทราบเป็นความรู้หน่อยครับ ใช้เกณฑ์อะไรมาวัดและตัดสินครับ”, “พื้นที่s1 ไม่น่าปลูกได้ไม่มีเอกสารสิทธิ์”, “จันทบุรี ไม่เหมาะสมกับการปลูกลำไย เช่นเดียวกัน อ.ฝาง อ.ไชยปราการ เชียงใหม่ ไม่เหมาะสมกับการปลูกส้ม (ดินแดงสวยมาก) เหมาะสมปลูกมังคุดกับเงาะ ฉะนั้น อย่าเชื่อทั้งหมดครับ” ฯลฯ

ตามรายละเอียดภาพที่กำหนดพื้นที่เหมาะสมนั้น จะแบ่งเป็น 5 ภาค คือภาคเหนือมีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 4,085,864 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 1,849,768 ไร่ ภาคตะวันออก มีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 200 ,499 ไร่ ภาคกลางมีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 547,412 ไร่ ภาคใต้มีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 7,274 ไร่ รวมพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) จำนวน 6.69 ล้านไร่ พื้นที่เหมาะสมปานกลาง(S2) จำนวน 38.22 ล้านไร่ (รายละเอียดเพิ่มเติมขอให้ตรวจสอบจากภาพแผนที่)

อนึ่ง จากการติดตามข้อมูลของ “เกษตรก้าวไกล” พบว่าการกำหนดพื้นที่เหมาะสมสูงดังกล่าวจะเป็นการกำหนดพื้นที่เหมาะสมของพืชเศรษฐกิจตามภารกิจของกรมพัฒนาที่ดิน ภายใต้นโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจะมีการการกำหนดแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ (Agri-Map Online) ซึ่งกรณีของกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกที่อยู่ในความสนใจจึงได้กำหนด Zoning ออกมาในช่วงเวลานี้ และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรผู้สนใจปลูกจะได้รู้ว่าพื้นที่โซนไหนเหมาะสมไม่เหมาะสมเพียงใด แต่ในความเป็นจริงเทคโนโลยีการเพาะปลูกก็ได้พัฒนาไปมาก เช่น การปลูกในภาชนะ หรือปลูกในโรงเรือน เป็นต้น

เมื่อวันที่ 19 เมษายน เวลา 18:09 น. นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัวใช้ชื่อ..“พิเชษฐ์ วิริยะพาหะ” “เป็นข้าราชการกินเงินเดือนที่มาจากเงินภาษีของชาวบ้าน พึงระลึกเสมอว่า ต้องทำงานเพื่อชาวบ้าน” เรื่องการการกำหนดพื้นที่เหมาะสมในการปลูกกัญชงว่า “กรมวิชาการเกษตรร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน ได้กำหนด Zoning พื้นที่สำหรับปลูกกัญชง ออกมาสำหรับเป็นข้อมูลในเบื้องต้นแล้วครับ ในภาพรวมเป็นพื้นที่เหมาะสมสูง (S1)จำนวน 6.69 ล้านไร่ พื้นที่เหมาะสมปานกลาง(S2) จำนวน 38.22 ล้านไร่ สำหรับรายละเอียดในรายพื้นที่จะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไปครับ”

เพียงข้อความเท่านี้กับภาพแผนที่ประเทศไทยที่กำหนด Zoning หรือพื้นที่ที่เหมาะสมกับการการปลูกกัญชง จำนวน 5 ภาพ ก็มีคนกดไลท์ 318 คน แสดงความคิดเห็น 17 รายการ แชร์ 81 ครั้ง ตัวอย่างความคิดเห็นส่วนใหญ่จะแสดงถึงพื้นที่ของตนว่าอยู่ในเกณฑ์หรือไม่ แต่ก็มีความคิดเห็นส่วนหนึ่งที่น่าจะนำมาขยายผลหรือต้องตอบให้แน่ชัด เช่น ขอทราบเป็นความรู้หน่อยครับ ใช้เกณฑ์อะไรมาวัดและตัดสินครับ”, “พื้นที่s1 ไม่น่าปลูกได้ไม่มีเอกสารสิทธิ์”, “จันทบุรี ไม่เหมาะสมกับการปลูกลำไย เช่นเดียวกัน อ.ฝาง อ.ไชยปราการ เชียงใหม่ ไม่เหมาะสมกับการปลูกส้ม (ดินแดงสวยมาก) เหมาะสมปลูกมังคุดกับเงาะ ฉะนั้น อย่าเชื่อทั้งหมดครับ” ฯลฯ

ตามรายละเอียดภาพที่กำหนดพื้นที่เหมาะสมนั้น จะแบ่งเป็น 5 ภาค คือภาคเหนือมีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 4,085,864 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 1,849,768 ไร่ ภาคตะวันออก มีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 200 ,499 ไร่ ภาคกลางมีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 547,412 ไร่ ภาคใต้มีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 7,274 ไร่ รวมพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) จำนวน 6.69 ล้านไร่ พื้นที่เหมาะสมปานกลาง(S2) จำนวน 38.22 ล้านไร่ (รายละเอียดเพิ่มเติมขอให้ตรวจสอบจากภาพแผนที่)

สำหรับการแสดงความคิดเห็นทั้งหมดยังไม่ได้รับการตอบกลับใดๆ แต่อย่างไรก้ดีในข้อความท้ายโพสต์อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้บอกไว้ว่า “…สำหรับรายละเอียดในรายพื้นที่จะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไปครับ”

อนึ่ง จากการติดตามข้อมูลของ “เกษตรก้าวไกล” พบว่าการกำหนดพื้นที่เหมาะสมสูงดังกล่าวจะเป็นการกำหนดพื้นที่เหมาะสมของพืชเศรษฐกิจตามภารกิจของกรมพัฒนาที่ดิน ภายใต้นโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจะมีการการกำหนดแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ (Agri-Map Online) ซึ่งกรณีของกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกที่อยู่ในความสนใจจึงได้กำหนด Zoning ออกมาในช่วงเวลานี้ และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรผู้สนใจปลูกจะได้รู้ว่าพื้นที่โซนไหนเหมาะสมไม่เหมาะสมเพียงใด แต่ในความเป็นจริงเทคโนโลยีการเพาะปลูกก็ได้พัฒนาไปมาก เช่น การปลูกในภาชนะ หรือปลูกในโรงเรือน เป็นต้น

นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ภาคใต้เป็นแหล่งผลิตไม้ผลที่สำคัญของประเทศไทย ลำดับ 2 รองจากภาคตะวันออก สถานการณ์ การผลิตผลไม้ภาคใต้ ในปี 2564 (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) จากการประชุมรอบแรก พบว่า มีพื้นที่ปลูกรวม 1,079,728 ไร่ แยกเป็น ทุเรียน 628,689 ไร่ มังคุด 242,522 ไร่ เงาะ 73,470 ไร่ และลองกอง 135,047 ไร่ มีเนื้อที่ให้ผลผลิตแล้ว 899,120 ไร่ จำแนกเป็น ทุเรียน 465,714 ไร่ มังคุด 228,814 ไร่ เงาะ 71,340 ไร่ ลองกอง 133,225 ไร่

ปริมาณผลผลิตรวมทั้งสิ้น 871,379 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 20.76 หรือเกือบ 1.5 แสนตัน (ปี 2563 ผลผลิตรวม 721,590 ตัน) จำแนกเป็นทุเรียน 609,813 ตัน มังคุด 155,538 ตัน เงาะ 55,047 ตัน และลองกอง 48,417 ตัน ซึ่งฤดูกาลเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม โดยผลผลิตส่วนใหญ่จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนสิงหาคม ยกเว้นลองกองออกมากในช่วงเดือนกันยายน ปีนี้ผลผลิตทุเรียนเพิ่มขึ้น ประมาณ 9 หมื่นตัน เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้นประมาณ 27,700 ไร่ (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2564) สำหรับ มังคุด เงาะ และลองกอง แม้ว่าพื้นที่ให้ผลจะลดลง แต่ผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากสภาพอากาศค่อนข้างแล้งติดต่อกันระยะเวลาหนึ่งแต่ปีนี้ฝนมาเร็วกว่าปีก่อน ทำให้โอกาสออกดอกและติดผลมากขึ้น แต่ก็ต้องประเมินติดตามสถานการณ์ทุกระยะอย่างใกล้ชิด

สำหรับสถานการณ์ภาพรวมไม้ผลทั้ง 4 ชนิด ขณะนี้พบว่า ทุเรียน ออกดอกแล้วประมาณ ร้อยละ 75 ผลผลิตที่จะเก็บเกี่ยวในช่วงแรกเป็นทุเรียนพันธุ์เบา และทุเรียนที่ใช้สารกระตุ้นการออกดอก ซึ่งเกษตรกรทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิต ได้ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม และสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวปลายเดือนตุลาคม 2564 โดยผลผลิตจะออกชุกช่วงปลายเดือนกรกฎาคมต่อเนื่องถึงเดือนสิงหาคม 2564 มังคุด ปีนี้ออกดอกล่าช้าเนื่องจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ส่งผลให้ออกดอกเพียงร้อยละ 10 แต่คาดว่าปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว

ขณะนี้อยู่ในระยะปากนกแก้ว และระยะคาบไข่ มีดอกบาน และผลเล็กเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มังคุดมีหลายรุ่น เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เล็กน้อยตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม และจะเก็บเกี่ยวได้มากที่สุดช่วงเดือนสิงหาคม 2564 ด้านลองกอง ขณะนี้ยังออกดอกน้อยมาก ปีนี้การพัฒนาช่อดอกยืดยาวได้ดีกว่าปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะออกดอกมากในช่วงปลายเมษายนถึงพฤษภาคม 2564 เมื่อมีฝนตกกระตุ้นช่วงดังกล่าว ซึ่งเกษตรกรจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม 2564 และจะเก็บเกี่ยวได้มากที่สุดช่วงเดือนกันยายน 2564 ส่วนเงาะ ออกดอกเพียงร้อยละ 11 เท่านั้น ส่วนใหญ่อยู่ในระยะตั้งช่อ จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ช่วงมิถุนายนและจะเก็บเกี่ยวได้มากช่วงกลางเดือนกรกฎาคมต่อเนื่องถึงเดือนกันยายน

นายสุพิท กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการผลักดัน การบริหารจัดการผลไม้ โดยใช้มาตรการเชิงรุก มีการประชุมวางแผนจัดทำข้อมูล โดยการสำรวจข้อมูลการผลิตไม้ผลตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และรวบรวมเป็นระดับภาค ตั้งแต่เริ่มต้นฤดูกาล การคาดการณ์ผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด เพื่อจัดทำแผนรองรับ และรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงคุณภาพผลผลิต การขอรับรองคุณภาพมาตรฐาน GAP โดยผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)

รวมไปถึงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ กลุ่มเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการคุณภาพผลผลิต โดยเชื่อมโยงกับการตลาดทั้งในและต่างประเทศ คาดกว่าอีกประมาณ 2-3 เดือนหลังจากนี้สถานการณ์การระบาดของ Covid 19 อาจจะเริ่มคลี่คลาย ผลผลิตจะทยอยออกสู่ตลาด จึงต้องเร่งส่งเสริมการตลาดเพื่อกระจายผลไม้คุณภาพไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั้งนี้ได้จัดประชุมเชื่อมโยงเกษตรกร พ่อค้า และผู้ประกอบการเป็นระยะ เช่น การเชื่อมโยงเครือข่ายมังคุดซึ่งดำเนินการไปแล้ว 1 ครั้ง และจัดเป็นครั้งที่ 2 ในเดือนพฤษภาคมนี้ การเชื่อมโยงเครือข่ายทุเรียน และการพัฒนาศูนย์คัดแยก การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

วันนี้ (24 เมษายน 2564) ได้เดินทางไปที่ สวนไม้เมืองนนท์ ซึ่งตั้งอยู่ที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ หรือสวนสมเด็จย่าของชาวไทย ที่นั่นเขามี “โครงการอนุรักษ์สวนทุเรียนนนท์” จัดทำขึ้นเพื่ออนุรักษ์ทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองนนท์ จำนวน 60 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ไหน ลักษณะประจำพันธุ์เป็นอย่างไร คืบหน้าอย่างไร ตรวจสอบได้ที่ https://www.pakkretcity.go.th/duriannon/) ภายใต้วิถีชาวสวนนนท์ด้วยการจำลองพื้นที่สวนนนท์ ยกร่อง ปลูกไม้แซม สืบค้นกล้าพันธุ์ทุเรียนนนท์มาอนุรักษ์ ภายใต้ภูมิปัญญาของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ รวบรวมเป็นข้อมูลองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ทุเรียนนนท์จากพื้นที่จริง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษา ค้นคว้า และปรับปรุงวิธีการในการปลูกทุเรียนนนท์พันธุ์ต่างๆ ได้ต่อไป

จากการศึกษาข้อมูลพบว่าน่าสนใจมากๆ บวกกับข่าวที่ว่าเมื่อเช้าวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 จังหวัดนนทบุรี โดยนายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายวิชัย บรรดาศักดิ์นายกเทศมนตรีนครปากเกร็ด ผู้ดูแล สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์นนทบุรี พร้อมปราชญ์ทุเรียนและคณะทำงานโครงการอนุรักษ์สวนทุเรียนนนท์ ได้ถือฤกษ์วันพืชมงคล ดำเนินการตัดทุเรียน 3 ผลแรกของโครงการ เมื่อเวลา 6.58 น. ทุเรียนทั้ง 3 ผล ได้แก่ ทุเรียนพันธุ์ลวงหางสิงห์ 1 ผล และทุเรียนพันธุ์กบแม่เฒ่า 2 ผล น้ำหนักรวม 8 กิโลกรัม

และเนื่องจากโครงการอนุรักษ์สวนทุเรียนนนท์ เป็นโครงการในพระราชปรารภของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนนทบุรีจึงนำทุเรียน 3 ลูกแรกของโครงการขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในวาระนี้ด้วย และโครงการนี้พระองค์ท่านทรงเสด็จมาเปิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558

จากข่าวนี้เองจึงเป็นแรงบันดาลใจให้ออกเดินทางลุยเดี่ยว เพื่อไปดูว่าทุเรียนเมืองนนท์ที่ปลูกว่าปีนี้ได้ผลเป็นอย่างไร เพราะนี้ก็ใกล้วันที่ 11 พฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันตัดของปีที่แล้ว ปรากฏว่าเมื่อไปถึงก็ติดต่อสอบถามจากรปภ.ก่อนเลย ทราบว่าตรงส่วนที่ปลูกทุเรียนไม่สามารถให้เข้าได้ ต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่ แต่ก็เดินไปดูรอบๆได้ ไหนๆก็มาแล้วไม่ให้เสียเที่ยวก็เดินไปไกลหน่อยถือว่าเป็นการออกกำลังกายไปในตัว

พอไปถึงก็จัดแจงถ่ายรูปเท่าที่สามารถทำได้ และก่อนกลับเจอพี่ที่ดูแลสวนบอกว่าดูแลทุเรียนยากมาก ต้องดูแลเอาใจใส่เหมือนดูแลลูก ตอนนี้มีหลายต้นที่ออกลูกโตมากๆแล้ว แต่ก็ไม่มั่นใจว่าจะตัดวันไหนต้องถามจากเจ้าหน้าที่อีกคน

เมื่อไม่สามารถถ่ายรูปต้นทุเรียนและลูกปัจจุบันได้จึงขอนำภาพของปีที่แล้ว (ภาพจากเว็บไซต์เทศบาลนครปากเกร็ด https://www.pakkretcity.go.th/index.php/page-public-relations/2738-news3023.html) ที่กำลังตัดมาให้ดูชมไปพลางๆก่อน บวกกับภาพที่ถ่ายวันนี้เป็นบริเวณโดยรอบและหากมีความคืบหน้าเรื่องตัดทุเรียนหรือข้อมูลความก้าวหน้าเมื่อไรวันไหนจะนำมาบอกกล่าวกันอีกครั้ง

อนึ่ง “โครงการอนุรักษ์สวนทุเรียนนนท์” ตั้งอยู่พื้นที่ 7 ไร่ ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ นนทบุรี โดยมีเทศบาลนครปากเกร็ดเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 ส่วนลานทรงปลูก กำหนดให้มีพื้นที่ทรงปลูกทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองนนท์ จำนวน 3 ต้น บริเวณด้านหน้าโครงการ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์สวนทุเรียนนนท์ และร่วมโครงการในการสร้างศูนย์เรียนรู้วิถีและภูมิปัญญาชาวสวนนนท์ ที่จะจัดทำขึ้นในพื้นที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ นนทบุรี

ส่วนที่ 2 ส่วนพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เรือนไทย พื้นที่ประมาณ 300 ตร.ม. ในลักษณะศูนย์เรียนรู้ เพื่อเป็นส่วนจัดแสดงวิถีและภูมิปัญญาชาวสวนนนท์ พระราชประวัติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พันธุ์ไม้ประจำของสวนสมเด็จฯ ทั้ง 12 สวน โดยเทศบาลนครปากเกร็ดเป็นผู้ดำเนินการออกแบบ และจัดทำผังรายละเอียดโครงการ

ส่วนที่ 3 ส่วนสวนทุเรียนนนท์ พื้นที่ประมาณ 3 ไร่เศษ ดำเนินการถมดินในสวนสมเด็จฯ โดยใช้ดินจากสวนทุเรียนในจังหวัดนนทบุรีพร้อมจัดทำเป็นร่องสวน กำหนดพื้นที่ในการปลูกทุเรียน ทองหลาง มังคุดและไม้พื้นเมือง จัดทำระบบระบายน้ำ ร่องสวน เพื่อสร้างสวนให้มีลักษณะของสวนทุเรียนนนท์

สำหรับ “เกษตรก้าวไกล” มีโครงการลุยเกษตรสุดเขตไทย ซึ่งดำเนินการมาเป็นปีที่ 2 เป็นการพัฒนาต่อยอดจากโครงการเกษตรคือประเทศไทย ในปีที่ 2 นี้มีความมุ่งมั่นจั้งใจว่าจะออกเดินทางตามหาสุดยอดทุเรียนพื้นเมืองหรือทุเรียนพื้นบ้านทั่วประเทศ ระหว่างนี้อยู่ในช่วงการจัดเตรียมวางแผนการเดินทางและศึกษาข้อมูลต่างๆ หากทุกอย่างลงตัวก็จะลุยตามหาในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2564

ฝ่าวิกฤติโควิด ”เกษตรฯ” ชูธง ”5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ใช้แพลตฟอร์มรูปแบบใหม่ระบบสั่งซื้อล่วงหน้าออนไลน์เจาะตลาดจีน 1,400 ล้านคน พร้อมกลยุทธ์สร้างแบรนด์ทุเรียนไทยสำเร็จเป็นครั้งแรก เตรียมขึ้นเครื่องเช่าเหมาลำล็อตแรก 27 เมษายนนี้ “อลงกรณ์” เผยจะมีการส่งออกแบบพรีออเดอร์อีกหลายประเทศเดือนหน้า พร้อมชื่นชมความร่วมมือระหว่างฟรุ้ทบอร์ด ผู้ประกอบการ สหกรณ์เมืองขลุงและจังหวัดจันทบุรี

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยวันนี้ (25 เม.ย.) ว่า ในวันที่ 27 เมษายนนี้ จะจัดส่งทุเรียนจากสหกรณ์เมืองขลุง จังหวัดจันทบุรี ไปจำหน่ายที่ประเทศจีนโดยเครื่องบินเช่าเหมาลำของสายการบินเซินเจิ้นแอร์ไลน์ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นการจำหน่ายผ่านระบบออนไลน์แบบสั่งซื้อล่วงหน้า (Pre-Order) ที่ลูกค้าจ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์มาเรียบร้อยแล้ว จำนวน 20 ตัน

“เป็นครั้งแรกของการจำหน่ายทุเรียนผ่านระบบ Pre-Order ไปประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่สุดของผลไม้ไทยโดยเฉพาะทุเรียน เราต้องเจาะตลาดจีนที่มีประชากรกว่า 1,400 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วขายทุเรียนได้กว่า 6 หมื่นล้านบาท ด้วยแพลตฟอร์มใหม่ๆบนความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ บริษัทเอกชนและสหกรณ์ผลไม้ เช่น สหกรณ์เมืองขลุง จังหวัดจันทบุรี และยังเป็นทุเรียนชุดแรกที่มีการสร้างแบรนด์ทุเรียนไทยในระดับสหกรณ์ผลไม้ (Cooperative based Branding)ให้เป็นที่รู้จักในสายตาชาวโลกทำให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนและสหกรณ์ขายได้ราคาสูงขึ้นคู่ขนานไปกับการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของทุเรียนในระบบ GAP และ GMP ภายใต้ ”5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” และโมเดล ”เกษตรผลิต-พาณิชย์ตลาด” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายการปฏิรูปไม้ผลทั้งระบบของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) และการขับเคลื่อนโมเดล ”เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ร่วมกับ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์” นายอลงกรณ์ กล่าว

ทั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จทางนโยบายและการบริหารแบบทำได้ไวทำได้จริง หลังจากคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ครั้งที่ 3/2564 เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา เห็นชอบโครงการจำหน่ายผลไม้บนแพลตฟอร์มออนไลน์แบบสั่งซื้อล่วงหน้า (Pre-order) เพื่อเป็นกลไกการขายเชิงรุกทั้งในและต่างประเทศโดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerce กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และฝ่ายเลขานุการของฟรุ้ทบอร์ด คือกรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ภาคเอกชนและกระทรวงพาณิชย์ โดยล่าสุด กรมประชาสัมพันธ์จะมาช่วยเสริมทัพด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์และการผลิตสื่อออนไลน์ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้จะมีการส่งออกภายใต้ระบบพรีออเดอร์อีกหลายประเทศในเดือนหน้าและขอแสดงความชื่นชมความร่วมมือ ระหว่าง ฟรุ้ทบอร์ด ผู้ประกอบการ สหกรณ์เมืองขลุงและจังหวัดจันทบุรี ที่สามารถเปิดฉากการส่งออกทุเรียนล็อตแรกได้สำเร็จอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึง 1 เดือน

นายกฤชฐา โภคาสถิตย์ ประธานคณะอนุกรรมการอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerce กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการฯ ได้ประสานความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนเพื่อสร้าง New Ecosystem ในการ “สร้างแบรนด์ผลไม้ไทย” ในการส่งออกไปทั่วโลก ผ่านช่องทาง Pre-order เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการจดจำ ในฐานะที่เราเป็นผู้ส่งออกผลไม้ที่มีศักยภาพอันดับต้นๆ ของโลก เราสามารถสร้างแบรนด์ให้แต่ละสวน แต่ละฟาร์มผ่านกลไกสหกรณ์ และมีระบบ Logistics ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำที่แข็งแรง ผสานเข้ากับผู้ประกอบการที่มีความพร้อมในการส่งออกผ่านกระบวนการ Pre-Order ทางออนไลน์ ซึ่งจะเป็นมิติใหม่ในการจำหน่ายและเพิ่มมูลค่าของผลไม้ไทยอย่างยั่งยืน.

เฉลิมชัยสั่งเกษตรฯ ผนึกพาณิชย์จับมือขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต ตั้งอนุกรรมการและคณะทำงานจัดทำแผนขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์ใน 4 กลุ่มสินค้าเกษตรให้ตรงกับความต้องการของตลาด และสร้างแพลตฟอร์มกลาง “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” เพิ่มความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัยและการตรวจสอบย้อนกลับให้โดนใจผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการย่อย 4 คณะ ประกอบด้วย 1. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการสร้างและใช้ข้อมูลจากฐานเดียวกัน (Single Big Data) เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีความเชื่อมโยงกัน โดยฐานข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน เข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว เพื่อใช้วางแผนการผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกรให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ 2. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการสร้างแพลตฟอร์มกลาง “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด”

โดยตั้งเป้าหมายหลักเพื่อให้เกิดการซื้อขายสินค้าเกษตรมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ 3. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัยและการตรวจสอบย้อนกลับ ตั้งเป้ายกระดับสินค้าเกษตรและอาหารไทยไปสู่ระดับมาตรฐานพื้นฐานตามที่ตลาดต้องการ 4. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาด วางแนวทางพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร รวมถึงพัฒนาหลักสูตรให้แก่บุคลากร ตอบโจทย์ให้ตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งแต่ละคณะได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนดังกล่าว และมอบหมายให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ติดตามความคืบหน้าพร้อมรายงานให้คณะอนุกรรมการฯ ทราบ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการร่วมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตพิจารณาให้ความเห็นชอบ และมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางขยายผลสู่การปฏิบัติจริงต่อไป

ด้านนายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในส่วนของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาด ได้กำหนดจัดประชุมผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา โดยมีการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์ จำนวน 4 คณะ ใน 4 กลุ่มสินค้า ประกอบด้วย สินค้าข้าว พืชไร่ และพืชสวน สินค้าผลไม้ สินค้าปศุสัตว์ และสินค้าประมง โดยคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์สินค้าข้าว พืชไร่ และพืชสวน เห็นชอบกำหนดกลุ่มสินค้าเป้าหมาย จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ สินค้าข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา

โดยกำหนดสินค้าข้าว และมันสำปะหลังเป็นสินค้านำร่อง (Quick win) ในการจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนดังกล่าว เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ มีความชัดเจนเห็นเป็นรูปธรรมได้ในระยะเวลาไม่นานเกินไป ส่วนการกำหนดแนวทางการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาดในสินค้ากลุ่มนี้ได้วางเป้าหมายไว้ดังนี้ 1) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรทั้งด้านการผลิต และการประกอบธุรกิจ 2) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการและผู้ส่งออกเพื่อรองรับการค้ายุคใหม่ 3)

สร้างความสามารถในการแข่งขันของสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการลดต้นทุนการผลิตข้าว และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ กำหนดการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ตรงตามความต้องการของตลาด 4) สนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกร 5) สร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่ หันมาทำการเกษตรมากขึ้น 6) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้จากทางการเกษตรมาผลิตเป็นสินค้านวัตกรรม 7) พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะสร้างองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ด้านการตลาดทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ เป็นต้น

คณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์สินค้าผลไม้ เห็นชอบกำหนดกลุ่มสินค้าเป้าหมาย จำนวน 4 ชนิด คือ ทุเรียน มะม่วง มังคุด และลำไย โดยได้วางแนวทางการพัฒนาคนให้สามารถผลิตสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานดังนี้ 1) พัฒนาความรู้และทักษะด้านการผลิตให้ได้คุณภาพมาตรฐาน การใช้เทคโนโลยีด้านการผลิต และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของทุเรียน มะม่วง มังคุด และลำไย 2) สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร 3) พัฒนาเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตร ส่วนกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลไม้มีแนวทางดังนี้ 1) พัฒนาความรู้และทักษะ ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มและแปรรูปสินค้าเกษตร 2) พัฒนาความรู้และทักษะด้านการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรแปรรูป 3) ส่งเสริมการเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ด้านการแปรรูปทุเรียน มะม่วง มังคุด และลำไย 4) พัฒนาความรู้และทักษะให้แก่แรงงาน/บุคลากรที่เกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร 5) พัฒนาทักษะด้านการจัดการโลจิสติกส์ภาคการเกษตร ผลิตภัณฑ์เป้าหมาย เช่น ทุเรียน GI มะม่วงแช่แข็ง น้ำมังคุดพร้อมดื่ม เยลลี่มังคุด มังคุดผงฟรีซดราย พรีไบโอติกส์ และลำไยคุณภาพ

ทั้งนี้ คณะทำงานฯ กำหนดให้ทุเรียนเป็นสินค้านำร่อง (Quick win) ปี 2564 – 2565 ในการจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนดังกล่าว มุ่งเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ตลาด (ภาคตะวันออก) เริ่มตั้งแต่ช่วงก่อนฤดูผลไม้ออกจะต้องจัดฝึกอบรมพัฒนาเจ้าหน้าที่และเกษตรกรชาวสวนทุเรียนทุกระดับทั้งมือตัด มือคัด สถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน Smart Farmer, Young Smart Farmer, ผู้ประกอบการ (ล้ง) สมาพันธ์ทุเรียนฯ เป็นต้น หลักสูตรที่จำเป็น ได้แก่ มาตรฐานสินค้า/ข้อกำหนดทางการค้า

การบริหารจัดการสวนทุเรียน การเป็นผู้ประกอบการ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายอาญา ม.271 และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 47 เป็นต้น ส่วนช่วงติดดอก – ผล เริ่มจากการสำรวจติดตามการติดดอก ประมาณการผลผลิต ประชุมคณะทำงานจัดทำข้อมูลเอกภาพ ประชุมจัดทำข้อมูลการซื้อขาย การจัดทำแผนบริหารจัดการผลไม้ การปฏิบัติการป้องปรามในพื้นที่

ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ทุกระดับและเน้นหนัก การแต่งตั้งชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจตรวจสอบทุเรียนด้อยคุณภาพทุกระดับ พร้อมอบรมให้ความรู้ด้านกฎหมายและการตรวจหาเปอร์เซ็นต์เนื้อแห้งทุเรียน เป็นต้น และช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรจะต้องตรวจสอบคุณภาพก่อนเก็บเกี่ยว เช่น พันธุ์หมอนทอง นับจากดอกบาน 120 วัน เนื้อแห้งทุเรียน 32% พันธุ์ชะนี, พวงมณี นับจากดอกบาน 110 วัน เนื้อแห้งทุเรียน 30% และพันธุ์กระดุม นับจากดอกบาน 100 วัน เนื้อแห้งทุเรียน 27% รวมถึงกระบวนการตัด และคัดทุเรียนที่มีคุณภาพ

คณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์สินค้าปศุสัตว์ เห็นชอบกำหนดกลุ่มสินค้าเป้าหมาย จำนวน 6 ชนิด คือ นมโค เนื้อโค เนื้อสุกร ไก่เนื้อ ไข่ไก่ และเนื้อแพะ โดยได้วางแนวทางการพัฒนาคนให้มีองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่สามารถผลิตสินค้ามีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ให้มีมูลค่าเพิ่มและตรงตามความต้องการของตลาด

ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เช่น การวิจัยพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพสายพันธุ์ ระบบการเลี้ยง ระบบการผลิตอาหารสัตว์ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิตนมโค เนื้อโค เนื้อสุกร ไก่เนื้อ ไข่ไก่ และเนื้อแพะ การพัฒนาผลผลิตให้ได้คุณภาพมาตรฐาน มีความปลอดภัย เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตรวมทั้งผลพลอยได้โดยการแปรรูปสินค้าปศุสัตว์ สร้างตราสินค้า (Branding) ชุมชน และบรรจุภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย เป็นต้น

คณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์สินค้าประมง เห็นชอบกำหนดกลุ่มสินค้าเป้าหมาย จำนวน 2 ชนิด คือ กุ้งขาว และกุ้งก้ามกราม โดยแนวทางการพัฒนาเริ่มจากต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เช่น สร้างกลไกการเชื่อมโยงข้อมูลความต้องการผลผลิตระหว่างผู้ผลิต ผู้แปรรูป และตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตกุ้งก้ามกรามที่นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่การผลิต

เพิ่มขีดความสามารถการผลิตของเกษตรกร สมัครเว็บคาสิโน ให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตที่ระเบียบและกฎหมายกำหนด พัฒนาสายพันธุ์ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเครื่องจักรหรือระบบอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการแปรรูป เพื่อทดแทนแรงงานคน การเพิ่มช่องทางตลาด ขยายตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น สำหรับเป้าหมายการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งและผลผลิตต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP กรมประมงและปลอดภัยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องมีประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมีความรู้ด้านการตลาด สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต เพื่อขยายโอกาสในการจำหน่าย