กรณีที่เกิดสถานการณ์โควิดในขณะนี้ เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี

กล่าวว่าการทำอาชีพเกษตรถือว่าเป็นอาชีพที่ดีที่สุด เวลานี้ทางหน่วยงานราชการให้การส่งเสริมอย่างเต็มที่ และพร้อมที่จะเดินหน้าสู้วิกฤตพร้อมกับพี่น้องเกษตรกรไทย ส่วน นายสมชาย แซ่ตัน เกษตรกรเจ้าของไร่คุณชาย กล่าวว่า โครงการ “เกษตรก้าวไกล LIVE ฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย” ที่เว็บไซต์ข่าว “เกษตรก้าวไกล” จัดขึ้นในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการทำงานของสื่อมวลชนที่ตรงกับสถานการณ์ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง การที่เกษตรก้าวไกลได้ดำเนินการโครงการดังกล่าว

ในมุมมองแล้วเห็นว่าจะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกรทั่วประเทศ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่กำลังให้ความสนใจและต้องการเข้ามาสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตด้วยอาชีพการเกษตร โดยเฉพาะทางไร่คุณชาย ซึ่งเน้นการทำสวนผลไม้ทั้งเงาะ ทุเรียน ส้มโอ ฝรั่ง กล้วยไข่ และอื่น ๆ ในลักษณะเกษตรผสมผสาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น ซึ่งที่สวนพร้อมให้คำแนะนำแก่ผู้สนใจที่ต้องการพัฒนาการผลิตของตนเองให้มีคุณภาพตรงกับที่ตลาดต้องการ

ในพิธีเปิดโครงการครั้งนี้ ใช้สัญลักษณ์การตัดทุเรียนด้วยดาบ เพื่อรณรงค์รงค์ไม่ตัดทุเรียนอ่อน ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ และยังตัดผลไม้อีก 5 ชนิด ที่อยู่ในสวนเดียวกัน รวมเป็น 6 ชนิด ซึ่งสอดคล้องกับโอกาสครบบรอบ 6 ปี เว็บไซต์เกษตรก้าวไกล และสื่อออนไลน์ในเครือ โดยมีบุคคลที่เป็นตัวแทนในท้องถิ่นเป็นผู้ตัด เช่น นายอำเภอไทรโยคตัดเงาะ เป็นต้น

อนึ่ง ผู้ให้การสนับสนุนโครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย นอกจากหน่วยงานภาครัฐ กรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ยังมีหน่วยงานภาคเอกชน ประกอบด้วย บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท ฟอร์ด ประเทศไทย จำกัด บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท เจียไต๋ จำกัด บริษัท ยารา(ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด (ศรแดง) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และบริษัท ซุปเปอร์เอส เซ็นเตอร์ จำกัด

เมื่อวานนี้ (19/6/64) ผม(ลุงพร)และทีมงานเกษตรก้าวไกลได้พบกับ คุณชาตรี โสวรรณตระกูล CEO เจ้าของสวนละอองฟ้า-The Demeter Garden สวนอนุรักษ์พันธุ์ทุเรียน(ปลูกทุเรียน) รวม 53 สายพันธุ์ บนพื้นที่ประมาณ 30 ไร่ ณ ตำบลเขาพระ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โทร.0897491735

ความตั้งใจเดิมที่ไปนั้นกะว่าจะค้นหาคำตอบเรื่องหลักการปลูกทุเรียนแบบสวนป่า ว่าเลือกสายพันธุ์อย่างไร ปลูกพันธุ์ไหนก่อนหลังอย่างไร จัดการอย่างไรให้ทุเรียนที่ปลูกได้ผลผลิตดี และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจถ้านับเป็นรายได้คุ้มแค่ไหนอย่างไร ความคุ้มที่ว่ามีดัชนีชี้วัดนอกจากเรื่องรายได้แล้ว เรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอย่างไร

หลายคำถามที่ตั้งใจจะไปหาคำตอบ ยังไม่บรรลุผลครับ หลายท่านที่ติดตามเกษตรก้าวไกลอาจจะผิดหวังเล็กๆ เนื่องจากผมได้ประชาสัมพันธ์ว่าจะ LIVE สดจากสวน แต่สวนของพี่ชาตรีเป็นสวนป่าระบบสัญญานโทรศัพท์ไม่ค่อยเป็นใจ(ไม่เสถียร) ก็เลยพลาด จึงแก้ไขเป็นการถ่ายคลิปก็จัดแจงถ่ายไปพอสมควรแต่ดันมีปัญหาเรื่องระบบเสียงไม่สมบูรณ์ในบางช่วงบางตอน จึงนำเรื่องมาปะติดปะต่อค่อนข้างยากอยู่ เช้าวันนี้จึงโทร.คุยกับพี่ชาตรีบอกไปว่าจะหาโอกาสไปเยือนใหม่อีกสักครั้ง

ต้องขอบอกเลยว่าสวนของพี่ชาตรี เป็นสุดยอด “สวนป่าทุเรียน” ที่เริ่มหาได้ยากในประเทศไทยนี้ที่ยังคงอนุรักษ์การปลูกทุเรียนแบบดั้งเดิม “สวนเทวดาเลี้ยง” ซึ่งสวนแบบนี้ที่ภาคใต้จะเรียกสวนสมรม ก็อาจจะหาชมได้บ้าง แต่นครนายกที่อยู่ใกล้ๆกรุงเทพฯ เข้าใจว่าไม่น่าจะมีครับ (หรือมีก็บอกกกันมาครับ)

สวนละอองฟ้าของคุณพี่ชาตรีจึงน่าจะตอบโจทย์ในเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรสำหรับคนเมืองได้อีกแห่งหนึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ ยุคที่โควิด-19 ผลักให้ทุกคนไปอยู่มุมเขียวที่เรียกว่าเศรษฐกิจสีเขียว เพราะว่าเป็นสวนที่คำนึงถึงธรรมชาติละสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ตรงตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติแบบไม่ต้องเสแสร้งแต่นี่คือของจริงที่เป็นวิถีชีวิตของเกษตรกรไทยแท้ๆ

มีเรื่องเล่าให้ฟังคือระหว่างที่นั่งคุยกับคุณพี่ชาตรีนั้น ผมเห็นนกกางเขนดง(นกบินหลาดง) คู่หนึ่งที่เป็นตัวผู้ตัวเมียกำลังบินจับคู่หยอกล้อกันต่อหน้าต่อตา(นกชนิดนี้เคยมีมากในภาคใต้แต่ปัจจุบันหาได้ยากยิ่งแล้ว) นี่น่าจะส่งผลมาจากการทำสวนเกษตรแบบผสมผสานแบบที่เรียกว่าอิงธรรมชาติ และคุณพี่ชาตรียังบอกอีกว่าปีนี้ทุเรียนที่สวนติดผลถึง 42 สายพันธุ์ มากกว่าทุกปีที่ผ่านมา (ซึ่งก็น่าจะส่งผลมาจากสภาพแวดล้อมของสวน) พันธุ์หลักๆก็เช่น หมอนทอง ชะนี ก้านยาว ฯลฯ แต่ทุเรียนส่วนหนึ่งก็ต้องปลูกเผื่อกระรอก เพราะต้องการให้สัตว์ทุกชนิดอยู่ร่วมกันกับสวนทุเรียนรวมทั้งสวนผลไม้ชนิดอื่นๆที่ปลูกสร้างขึ้น

เส้นทางของสวนละอองฟ้าภายใต้การกำกับดูแลของพี่ชาตรี “ศิลปินสวนป่าทุเรียน” (จบช่างศิลป์ภาพที่เห็นวาดติดไว้ที่บ้านไม้ไผ่นั่นคือฝีมือพี่เขาล่ะ) จึงน่าจะเป็นอีกแนวทางการทำเกษตรที่เป็นอัตลักษณ์ ซึ่งก็คือการทำสวนแบบดั้งเดิม อาจไม่ตอบโจทย์เศรษฐกิจเชิงรายได้ แบบกะทันหันเร่งด่วน แต่ตอบโจทย์เรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และสิ่งที่จะตามในอนาคตอันใกล้นี้คือเรื่องท่องเที่ยวเชิงการเกษตร ยังไงก็ช่วยกันสนับสนุนแนวทางนี้ให้อยู่รอดอยู่ได้นะครับเพื่อนๆ

ขอบคุณฟอร์ดประเทศไทย พาหนะลุยตามหาสุดยอดทุเรียนไทย..เราจะเดินทางไปที่สวนไหนตอบโจทย์(สุดยอด)ในเรื่องอะไร โปรดติดตามนะครับ

เกษตรกรภาคตะวันออกสุดยอด เปิดตลาดออนไลน์ขายตรงจากสวนถึงมือผู้ซื้อ เน้นคุณภาพ บรรจุภัณฑ์แข็งแรง ดูแลสวนผลผลิตอย่างดี ทำมา 5 ปี ฉลุยขายได้หมดตลอด คาดปีต่อไปมีเกษตรกรขายตรงเพิ่มขึ้น สสก.3 จ.ระยอง ชื่นชมพร้อมสนับสนุนเต็มพิกัด

นายปิยะสมัครพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง เปิดเผยว่า พื้นที่ภาคตะวันออกถือว่าเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญของประเทศ ในแต่ละปีมีผลไม้ให้ผลผลิตเกือบ 1,000,000 ตัน จาก 4 ชนิด ประกอบด้วย ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง โดยในช่วงเดือนเมษายน – กรกฎาคม จะมีผลผลิตออกมามาก ขณะเดียวกันก็มีลำไยเริ่มออกสู่ตลาด ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ภาคตะวันออกมีการปลูกลำไยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดสระแก้ว ผลผลิตส่งออกขายต่างประเทศเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์

“ในแต่ละปีการบริหารจัดการผลไม้ของภาคตะวันออกจะมีองค์ประกอบการกระจายผลผลิต ออกสู่ตลาดทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ การส่งออกต่างประเทศจะเป็น ทุเรียน มังคุด และลำไย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ส่วนที่เหลือจะส่งขายภายในประเทศ ในหลายรูปแบบ ตั้งแต่ส่งร้านริมทาง ห้างสรรพสินค้า รถเร่ และทางออนไลน์ และเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ จนหลายๆ ธุรกิจต้องหันมาพึ่งพาช่องทาง “ออนไลน์” มากขึ้น”

“ซึ่งปัจจุบันมีโซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์ม และอีคอมเมิร์ซต่างๆ ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภคให้มาเจอกัน ได้แบบการเว้นระยะห่างทางสังคม ( Social Distancing )มีการดำเนินการในหลากหลายวิธี นับตั้งแต่ผ่านช่องทางที่เปิดขึ้นมาภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ เช่นเว็บไซต์ Thailandpostmart ของไปรษณีย์ไทย เว็บไซต์ ThehubThailand แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าจากผู้ประกอบการไทย ที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สถาบันส่งเสริมสินค้าเกษตรนวัตกรรม หรือ APi กรมการค้าต่างประเทศ ที่สนับสนุนให้เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยร่วมมือกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รวมไปถึงตลาดค้าส่ง เช่น ตลาดไทย และ อตก.และ แพลตฟอร์มของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในชื่อเว็บไซต์ ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com เป็นต้น” นายปิยะ กล่าว

อย่างไรก็ตามจากการระบาดของโควิด-19 ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของการตลาด พบว่าในพื้นที่เขตภาคตะวันออกในปี 2563 ที่ผ่านมามีการขายผลไม้ผ่านระบบออนไลน์มากถึง 1.5 พันตัน และในปี 2564 นี้นอกจากจะขายผ่านระบบไปรษณีย์แล้ว ยังมีภาคเอกชนหลายรายที่มีระบบขายตรงและการขายออนไลน์เข้ามาร่วมโครงการกับแพลตฟอร์ม ของกรมส่งเสริมการเกษตร และ สสก.3 จ.ระยอง ทำให้มียอดการขายเพิ่มขึ้นกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ การขายในระบบนี้มีข้อดีหลายประการ หนึ่งนั้นก็คือผู้ซื้อไม่ต้องเดินทางสามารถเลือกสินค้าได้ด้วยตนเอง สินค้ามีการประกันคุณภาพ และผู้ผลิตมีการดูแลระบบการปลูกการเก็บเกี่ยว และการจัดส่งเป็นอย่างดี คาดว่าในปี 2565 การขายผ่านระบบออนไลน์น่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น

“ที่น่าสนใจก็คือช่องทางธุรกิจแบบต่อเนื่องที่ได้ดำเนินการเองโดยเกษตรกรผู้ผลิต คือ การขายแบบออนไลน์จากแหล่งผลิตโดยตรง ซึ่งในพื้นที่ภาคตะวันออกมีเกษตรกรเจ้าของสวนเปิดช่องทางออนไลน์จำหน่ายผลไม้จากสวนของตนเองต่อผู้บริโภคโดยตรงจำนวนไม่น้อย และทุกสวนต่างประสบความสำเร็จที่มีแนวโน้มว่าในฤดูการผลิตปีต่อ ๆ ไป ช่องทางนี้น่าจะได้รับการขยายผลสู่เกษตรกรรายอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น และทาง สสก.3 จ.ระยอง จะสนับสนุนด้านข้อมูลและจัดหาผู้รู้ด้านการขายออนไลน์มาเสริมความรู้ให้เกษตรกรต่อไป เพราะสามารถทำให้เกิดการลดต้นทุนในขั้นตอนการตลาดทำให้เกษตรกรมีกำไรเพิ่มมากขึ้น” นายปิยะ กล่าว

ทางด้าน นางสาวสุรีย์ ธัญญคง เกษตรกรอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี หนึ่งในผู้เปิดช่องทางการขายผลไม้จากสวนของตนเองผ่านช่องทางออนไลน์ เจ้าของเพจ เฟสบุ๊ค “มาจากสวน” เปิดเผยว่า ได้ปลูกผลไม้ 4 ชนิด ประกอบด้วย ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง โดยทุเรียนผลผลิตส่งออกต่างประเทศทั้งหมด ส่วนผลไม้ชนิดอื่นๆ ขายภายในประเทศ โดยทำการตลาดด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ ส่วนใหญ่เป็นตลาดระดับบนและระดับกลาง

“ข้อดีของการขายผ่านระบบออนไลน์คือ ขายได้ราคาดีในขณะที่ผู้ซื้อ ซื้อในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดทั่วไป เพราะไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง และเจ้าของสวนมีการดูแลแปลงปลูกอย่างดีเพื่อให้ผลผลิตออกมามีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภค จะมีการคัดและเลือกเป็นอย่างดีก่อนส่งลูกค้า บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ดีและแข็งแรง เพื่อสะดวกและปลอดภัยในการขนส่งไม่ให้สินค้าเสียหายก่อนถึงมือผู้ซื้อ ที่สำคัญทำให้ผู้ซื้อได้รู้จักกับผู้ผลิตมีการติดตามสั่งซื้อผลไม้อย่างต่อเนื่องและทุกปี ปี 2564 เป็นปีที่ 5 ที่ได้จำหน่ายผ่านระบบออนไลน์ผลไม้ขายได้หมดทุกปีไม่ตกค้างที่สวน ปัจจุบันเกษตรกรสวนผลไม้จังหวัดจันทบุรีหันมาขายผ่านระบบออนไลน์กันมากขึ้น” นางสาวสุรีย์ กล่าว

รศ.ดร.กนกพร นุ่มทอง อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับ “รางวัลสุรินทราชา” ในฐานะนักแปลดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2564 นับเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกท่านที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ ทั้งนี้ ชาวเกษตรท่านแรกที่ได้รับรางวัลนี้คือ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร อดีตรองอธิการบดีและอดีตนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับรางวัลนักแปลดีเด่นในปี พ.ศ.2550 นอกจากนี้ยังมีศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือ ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับรางวัลนักแปลดีเด่นในปี พ.ศ.2557

“รางวัลสุรินทราชา” เป็นรางวัลเกียรติคุณที่สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย ตั้งขึ้นเป็นอนุสรณ์แด่พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) หรือ “แม่วัน” ผู้แปลนวนิยายเรื่องความพยาบาท (Vendetta) เป็นรางวัล ที่มอบแด่นักแปลและล่าม ผู้มีผลงานดีเด่นเผยแพร่เป็นเวลานาน และสร้างคุณูปการแก่วงวรรณกรรม สังคม และประเทศชาติ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 จนถึงปี พ.ศ.2564 เป็นปีที่ 15 ของการมอบรางวัลอันทรงคุณค่านี้

งานแปล รศ.ดร.กนกพร นุ่มทองมีผลงานเด่นด้านงานแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย ทั้งงานวรรณกรรม ประวัติศาสตร์และปรัชญา ผลงานเด่นได้แก่ เปาบุ้นจิ้นฉบับสมบูรณ์ (แปล 25 เรื่องจาก 100 เรื่อง), 100 ยอดหญิงแห่งประวัติศาสตร์จีน, 100 โสเภณีในประวัติศาสตร์จีน, 100 ขุนนางประเสริฐในประวัติศาสตร์จีน, 100 ทรชนในประวัติศาสตร์จีน, มูลเหตุสามก๊ก(สามก๊กอิ๋น) ฉบับแปลใหม่, จงยง (ความเหมาะสมที่แน่นอน), หลักฐานล้านนาในเอกสารโบราณจีน, เปิดม่านมังกร บทเรียนจากความล้มเหลว,พระสัทธรรมปุณฑรีกสูตร อวโลกิเตศวรสมันตมุขปริวรรต (แปลร่วมกับเกวลี เพชราทิพย์), ไภสัชยคุรุไวฑูรยประภาสยปูรวปณิธานสูตร (แปลร่วมกับเกวลี เพชราทิพย์) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลงานแปลวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง “คุณปู่แว่นตาโต” ของชมัยภร บางคมบางจากภาษาไทยเป็นภาษาจีน

งานวิชาการ นอกจากงานแปลแล้ว รศ.ดร.กนกพร นุ่มทองยังมีงานวิจัย/บทความที่เกี่ยวกับการแปล ที่ตีพิมพ์ลงในวารสารต่าง ๆ เช่น “Translation, Politics and Literature: Propagation of ‘Romance of the Western Han’ in Thailand”, “การแปลวรรณกรรมจีนเรื่องไซฮั่นในสมัยรัชกาลที่ ๑”, “การศึกษาแนวทางการจดบันทึกในงานล่ามจีน-ไทย ไทย-จีนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข”, “การเรียนการสอนวิชาการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทยและภาษาไทยเป็นภาษาจีนในระดับอุดมศึกษา”, “การศึกษาปัญหาและกลวิธีการแปลภาษาจากเอกสารประวัติศาสตร์ภาษาจีนเป็นภาษาไทย, “การแปลแบบดัดแปลงนิยายอิงพงศาวดารจีนเรื่อง ‘ตั้งฮั่น’ ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์” รวมทั้งงานเขียนตำรา/หนังสือที่เกี่ยวกับการแปล เช่น การแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน, ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย, ภาษาจีนเพื่อการล่ามในธุรกิจ ตลอดจนงานบรรยายทางวิชาการให้กับหน่วยงานต่าง ๆ หลายหัวข้อ อาทิ “แนวทางการเรียนการสอนวิชาการแปลและการล่าม จีน-ไทย ไทย-จีน ในระดับอุดมศึกษา”, “กลวิธีการสอนวิชาล่ามภาษาจีน”, “แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาล่าม จีน-ไทย ไทย-จีน ในระดับอุดมศึกษา”, “แนวทางการพัฒนาตนสู่ล่ามจีน-ไทย ไทย-จีน สำหรับผู้สนใจงานล่าม” เป็นต้น

รศ.ดร.กนกพร นุ่มทอง ยังเป็นบรรณาธิการภาษาจีนให้กับสำนักพิมพ์จีนและสำนักพิมพ์ไทย ตรวจสอบต้นฉบับงานแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทยกว่า 70 เล่ม รวมถึงเป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพการแปลบทภาพยนตร์อีกจำนวนมาก

รศ.ดร. กนกพร นักแปลดีเด่น ผู้ทุ่มเทเวลาให้กับการแปลและการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการแปล กล่าวว่า โดยทั่วไปเมื่อคนนึกถึงงานแปล จะนึกถึงงานแปลวรรณกรรมเป็นหลัก เพราะเป็นสิ่งที่พบบ่อยและมีประโยชน์ในการช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรม ความคิดอ่านของชาติอื่น เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดของบุคคลผู้อยู่ต่างวัฒนธรรม ซึ่งความเข้าใจอันดีต่อกันนี้จะส่งผลให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นอกจากงานวรรณกรรมแล้ว ตลาดงานแปลยังกว้างขวางมาก งานแปลเฉพาะด้าน ตัวอย่างเช่น ประวัติศาสตร์ แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ วนศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ มีผู้แปลอยู่น้อยมาก หากเราสามารถแปลงานวิชาการของต่างชาติเป็นไทย จะช่วยเปิดโลกวิชาการให้นักวิชาการบ้านเราได้กว้างขวางมาก นำไปสู่งานวิจัยที่มีคุณค่าในอนาคต และหากมีการแปลผลงานของนักวิชาการไทยเป็นภาษาต่างประเทศ ก็จะช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่วงวิชาการบ้านเราได้มาก

สำหรับงานแปลควรเริ่มต้นจากจุดใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสนใจของนักแปลและความต้องการของตลาด โดยทั่วไปนักแปลอาจมุ่งเน้นงานวรรณกรรม เพราะคนเรียนภาษาส่วนใหญ่จะเป็นคนสายศิลป์ ส่วนหนึ่งมีความชื่นชอบวรรณกรรมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่จากที่กล่าวมา จะเห็นว่าโลกของงานแปลไปได้กว้างมาก หากได้รับการสนับสนุนจากองค์กรระดับชาติ คัดเลือกหนังสือดีที่ควรแปลในหลายๆ ด้าน จากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ และภาษาต่างประเทศเป็นไทย จะเป็นการขยายพรมแดนความรู้ไปอย่างกว้างขวาง

อาชีพนักแปลสำคัญและสามารถช่วยพัฒนาประเทศได้มาก ยกตัวอย่าง คนที่ชำนาญศาสตร์เฉพาะทางบางอย่าง อาจไม่ต้องเก่งด้านภาษาต่างประเทศ แต่มีความสามารถในศาสตร์ของตน มีนักแปลที่เก่งภาษาต่างประเทศและเข้าใจศาสตร์นั้นพอสมควร ทำหน้าที่แปลตำราและงานวิชาการใหม่ๆ เป็นภาษาแม่ มีผู้เชี่ยวชาญศาสตร์เฉพาะทางนั้นตรวจสอบความถูกต้อง ผลงานที่ออกมาจะช่วยกระตุ้นให้เกิดความงอกงามในวิทยาการสาขานั้นและเปิดแนวทางวิจัยใหม่ได้มาก อาจารย์กล่าวทิ้งท้าย

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ด้านวรรณคดีจีนโบราณ จากมหาวิทยาลัยนานกิง และปริญญาโทด้านวรรณคดีจีนโบราณจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน และปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ภาษาจีน) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง รางวัลทุนภูมิพล ปัจจุบัน เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เกษตรกรเตรียมเฮ!! กรมวิชาการเกษตร แง้มพืชพันธุ์ดีปี 65 มะนาว ส้มโอ และมันเทศ นำร่องเตรียมขอรับรองพันธุ์พืชใหม่ นักวิจัยปลื้ม 3 พืชตอบโจทย์วิจัยครบ ให้ผลผลิตสูง ทนทานโรค ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี มีเอกลักษณ์เฉพาะพันธุ์โดดเด่น คาดผ่านพิจารณาเป็นพันธุ์แนะนำของกรมฯ พร้อมขยายผลงานวิจัยสู่แปลงเกษตรกรปีหน้า

นายอนันต์ อักษรศรี รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะโฆษกกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากภารกิจที่ได้รับมอบหมายจาก นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ให้กำกับดูแลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายของหน่วยงานในส่วนภูมิภาคที่รับผิดชอบ ซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรมีนโยบายหลักต้องการให้หน่วยงานในพื้นที่ส่วนภูมิภาคนำผลงานวิจัยในทุกด้านของกรมวิชาการเกษตรขยายผลไปสู่เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ซึ่งจากการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้างานตามนโยบายดังกล่าวในเขตพื้นที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก ได้รับรายงานความก้าวหน้างานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์พืชจำนวน 3 พืชได้แก่ มะนาว ส้มโอ และมันเทศ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งคาดว่าจะเสนอพันธุ์พืชทั้ง 3 พันธุ์ให้เป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรได้ในปี 2565

มะนาว สายต้น 1-02-07- 2 และสายต้น1-07-01-4 ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร โดยนำมะนาวพันธุ์พิจิตร 1 ไปฉายรังสีแกมมา เพื่อให้มีเมล็ดน้อยลง เปลือกบางและยังคงทนทานต่อโรคแคงเกอร์เหมือนพันธุ์เดิม โดยได้คัดเลือกสายต้นมะนาวพันธุ์พิจิตร 1 ตามหลักเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ จำนวนเมล็ดน้อยกว่า 10 เมล็ดต่อผล เปลือกบาง ทนทานต่อโรคแคงเกอร์ ให้ผลผลิตและคุณภาพดี และปลูกเปรียบเทียบสายต้นมะนาวพิจิตร 1 ที่มีเมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ด ที่ศูนย์วิจัยพัฒนาการเกษตรพิจิตร ปี 2562-2564 ปลูกทดสอบสายต้นมะนาวพิจิตร 1 ที่มีเมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ด ณ ศูนย์วิจัยพัฒนาการเกษตรพิจิตร ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย แปลงเกษตรกรจังหวัดพิจิตร กำแพงเพชร และเพชรบุรี โดยการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ในครั้งนี้เพื่อให้ได้มะนาวพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเด่นทนทานต่อโรคแคงเกอร์ เมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ด เปลือกบาง การเจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตสูง

ส้มโอสายต้นท่าชัย 32 ได้จากการคัดเลือกสายต้นส้มโอในแปลงส้มโอเพาะเมล็ดจากเมล็ดส้มโอพันธุ์ทองดีที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย โดยในปี 2543 – 2550 คัดเลือกสายต้นส้มโอที่ได้จาการเพาะเมล็ด 200 สายต้น ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ปี 2551 -2555 เปรียบเทียบสายต้นส้มโอจากการเพาะเมล็ดที่ผ่านการคัดเลือก 10 สายต้น ร่วมกับพันธุ์ทองดีและพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย และปี 2557 -2564 ทดสอบสายต้นส้มโอจากการเพาะเมล็ดที่ผ่านการคัดเลือกเปรียบเทียบ 4 สายต้นร่วมกับพันธุ์ทองดี ในแหล่งปลูก 3 สถานที่ ได้แก่ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย แปลงเกษตรกรจังหวัดพิจิตรและชัยภูมิ โดยการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ในครั้งนี้เพื่อให้ได้ส้มโอพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเด่น คือ กุ้งมีสีน้ำผึ้งอมชมพู รสหวาน ฉ่ำน้ำน้อย มีกลิ่นหอมเฉาะตัว ผลค่อนข้างใหญ่กว่าพันธุ์ทองดี และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในเขตภาคเหนือตอนล่างได้ดี

มันเทศสายต้น พจ.06-15 ได้จากการผสมเปิดของมันเทศพันธุ์ พจ.166-5 ที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร โดยใช้พันธุ์มันเทศเนื้อสีขาวสำหรับเป็นพันธุ์พ่อแม่พันธุ์ ทำการเปรียบเทียบพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร และทดสอบพันธุ์ภายศูนย์วิจัยฯ ของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี และศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ และปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกร โดยมันเทศสายต้น พจ.06-15 ที่กำลังอยู่ระหว่างการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ดังกล่าวนี้ มีลักษณะเด่นคือให้ผลผลิตเฉลี่ย 3,313 กิโลกรัมต่อไร่ เนื้อสีขาว รูปทรงหัวแบบยาวรี ปริมาณแป้งร้อยละ 25.0 คิดเป็นผลผลิตแป้ง 828 กิโลกรัมต่อไร่ และสามารถใช้ได้ทั้งบริโภคสดและอุตสาหกรรมแป้ง

“งานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์พืชเป็นภารกิจหลักที่สำคัญของกรมวิชาการเกษตร เพื่อให้ได้พันธุ์พืชใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อโรค แมลง และสภาพแวดล้อม ช่วยลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้น ซึ่งพันธุ์พืชทั้ง 3 พันธุ์ที่อยู่ระหว่างการวิจัย และทดสอบดังกล่าวคาดว่าจะได้รับการพิจารณาเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรภายได้ภายในปี 2565 หลังจากนั้นจึงจะกระจายพันธุ์ไปสู่เกษตรกรในพื้นที่เพื่อนำปลูกเป็นทางเลือกสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นต่อไป” โฆษกกรมวิชาการเกษตร กล่าว

ในอดีต…วัด…เป็นศูนย์กลางของชาวบ้าน ทำหน้าที่เป็นโรงเรียน โรงพยาบาล จัดงานเทศกาลสืบสานวัฒนธรรม บางครั้งเป็นห้องประชุมของชาวบ้าน บางครั้งยังทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และอีกมากมาย เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน มีองค์กรทางสังคมเข้ามาทำหน้าที่เหล่านี้อย่างเป็นระบบ บทบาทของวัดคงเหลือเพียงการเรียนรู้ด้านจิตวิญญาณและการขัดเกลากิเลส อันเป็นหัวใจหลักของพระพุทธศาสนาที่ยัง ไม่มีองค์กรใดจะสามารถเข้ามาแทนที่ได้ แต่กระนั้น ดูเหมือนว่าผู้คนจำนวนมากห่างไกลวัดออกไป ทุกที เราจึงเห็นว่าจากเดิมที่คนเดินเข้าวัด กลายเป็นวัดที่มีการปรับตัวเข้าหาผู้คนมากขึ้น

วัดตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ยังคงเป็นศูนย์กลางของชาวบ้านที่มีผู้คนแวะเวียนเข้าวัด ด้วยเพราะพื้นที่นี้มักเป็นที่เริ่มต้นของความคิดสำคัญๆ ที่นำพาความเปลี่ยนแปลงมาสู่ชาวบ้านเสมอ…บริเวณเนินควนห่างจากวัดไม่มาก พระครูสุนทรกิจจานุโยค เจ้าอาวาสวัดตะโหมด ชี้ชวนให้ชมโรงเรือนขนาดเล็กที่มีเมล่อนเรียงเป็นแถวสวยงาม ท่านชวนคุยถึงสถานการณ์โควิดที่ทำให้การทำมาหากินยากลำบาก ชาวบ้านรายได้น้อยลง จึงคิดทดลองปลูกเมล่อนซึ่งเป็นพืชที่มีราคาสูง ใช้พื้นที่ไม่มากก็สามารถสร้างรายได้เพิ่มให้ครัวเรือนได้ โรงเรือนแห่งนี้ตั้งใจทำให้ชาวบ้านดูเป็นตัวอย่าง เป็นโรงเรือนระบบปิดอย่างง่ายที่ใช้ระบบเกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียง ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัยทักษิณ ถ่ายทอดให้กลุ่มเกษตรกรทำนาอินทรีย์จนได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ท่านเห็นว่าหากนำไปให้ชาวบ้านนอกเหนือจากกลุ่มทำนาก็จะเกิดประโยชน์ในวงกว้างยิ่งขึ้น

“วัดไม่ได้เน้นเชิงเศรษฐกิจ แต่ต้องการส่งเสริมระบบเกษตรอินทรีย์ตามนโยบายของจังหวัด คนในชุมชนจะได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย เราทำแบบพอเพียงเน้นบริโภค ที่เหลือเป็นรายได้เสริม ที่ต้องทำให้ดูเพราะถ้าเขาไม่เห็นความสำเร็จเขาจะไม่กล้า เมื่อชาวบ้านเห็นว่าวัดก็ยังปลูกได้ อาศัยพระลูกวัดช่วยกันดูแล จนเป็นผลสำเร็จอย่างที่เห็น ชาวบ้านจะได้มั่นใจ โรงเรือนนี้ได้พัฒนาชุมชนมาช่วย ใช้ทุนไม่มาก แต่หากชาวบ้านไม่มีทุน ขอให้คิดจะทำ วัดยินดีสนับสนุน จะให้ปลูกในพื้นที่แปลงรวมที่จัดให้” พระครูสุนทรกิจจานุโยคกล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจปลูกเมล่อน ทางวัดแนะนำว่าหลังจากเพาะเมล็ดประมาณ 15 วันเมื่อเริ่มมีดอกต้องผสมเกสร ถ้าเลยเวลาไปก็อาจไม่ติดผล วัดตะโหมดใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณพัฒนาขึ้น และได้รับคำแนะนำเรื่องโรคและแมลง และการจัดการในแปลง การปลูกในโรงเรือนทำให้ปลูกเมล่อนได้ตลอดทั้งปี ไม่ต้องกังวลเรื่องฝนฟ้า อากาศ และยังช่วยลดการรบกวนของแมลงศัตรูพืช แต่ถึงอย่างไรเมล่อนก็เป็นพืชที่ต้องอาศัยการเอาใจใส่และดูแลเป็นพิเศษ ที่วัดปลูกก็ต้องคอยระวังโรคราน้ำค้าง และโรคเหี่ยวในเมล่อน ใช้เวลาตั้งแต่เพาะเมล็ดประมาณ 75-80 วันก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ทุกวันนี้เริ่มมีเกษตรกรที่สนใจเข้ามาถามไถ่ ขอเรียนรู้วิธีการปลูก วัดตะโหมดยินดีที่ได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เสริมสร้างปัญญาให้แก่ชาวบ้าน เป็นข้อพิสูจน์ว่าวัดซึ่งแหล่งถ่ายทอดความรู้และพัฒนาคนมาตั้งแต่ยุคอดีตนั้น สามารถปรับบทบาทให้ตอบสนองการใช้ชีวิตของผู้คน และไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปอย่างไร วัดก็คงยังเป็นที่พึ่งของชุมชนได้เสมอ

“สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ ต้องขอบคุณวัดตะโหมด และชาวชุมชนตะโหมด ที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพิงตนเองได้มากขึ้น ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ชุมชนตะโหมด คือ ห้องเรียนที่มีชีวิต ซึ่งนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณได้มีโอกาสไปเรียนรู้รุ่นแล้วรุ่นเล่า นิสิตได้โอกาสก้าวออกจากรั้วมหาวิทยาลัยไปเรียนรู้กับครูภูมิปัญญาชุมชน ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่เรียนรู้จริง องค์ความรู้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัย ทำให้มหาวิทยาลัยทักษิณ ตระหนักว่าความมุ่งมั่นที่จะทำตามพันธกิจ “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม” นั้นเราได้เดินมาถูกทางแล้ว และเราต้องทำให้มากยิ่งขึ้นไปอีก” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรไทย ศิริสาธิตกิจ รักษาแทนผู้อำนวยการ สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ กล่าว

กรมประมง…ออกประกาศฯคุมเข้ม !!! ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นที่ขึ้นบัญชีเพิ่มอีกจำนวน 13 ชนิดหวังตัดวงจรการแพร่พันธุ์และคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นพร้อมป้องกันผลกระทบต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำของไทยไม่ให้เกิดความเสียหาย

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่าปัจจุบันสถานการณ์การแพร่พันธุ์ ของสัตว์น้ำต่างถิ่น หรือเอเลียนสปีชีส์ ยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากกรณีปลาหมอสีคางดำที่หลุดรอดเข้าบ่อเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำพื้นถิ่นเป็นอย่างมากซึ่งครั้งนั้นกรมประมงได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยการออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน

หรือเพาะเลี้ยงพ.ศ.2561 สำหรับสัตว์น้ำ 3 ชนิด ได้แก่ ปลาหมอสีคางดำ ปลาหมอมายัน และปลาหมอบัตเตอร์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2561 อีกทั้ง ยังได้มีมาตรการจับสัตว์น้ำเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ด้วยการทำปุ๋ยหมักชีวภาพหรือการฝังกลบ หลังจากนั้นกรมประมงได้มีการติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันการรุกรานของสัตว์น้ำต่างถิ่นในชนิดพันธุ์อื่นๆ และได้มีการประชุมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การเพาะเลี้ยงในประเทศ การรุกราน ที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร

ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผู้ประกอบการประกอบกับการพิจารณาสัตว์น้ำในทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ควรป้องกันควบคุมและกำจัดของประเทศไทยตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 (สำนักงานนโยบายและแผนงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)โดยพิจารณาควบคู่กับทะเบียนชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นที่รุกราน 100 อันดับโลก (GISD; Global Invasive Species Database,IUCN) จึงเห็นควรที่จะเพิ่มชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นที่ขึ้นบัญชีห้ามเพาะเลี้ยงเพื่อให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

ล่าสุดกรมประมงจึงได้อาศัยความตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมงพ.ศ. 2560 ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2564ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันทึ่ 16 สิงหาคม 2564 นี้เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นหายาก หรือป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ ซึ่งประกอบสัตว์น้ำด้วย 13 ชนิดได้แก่

ทั้งนี้ ประกาศฉบับดังกล่าวฯ มีแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญดังนี้

กรณีที่เกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกลุ่มเหล่านี้ ต้องดำเนินการขอใบอนุญาตตามประกาศกรมประมง ภายใน 30 วันหลังจากประกาศฯ มีผลบังคับใช้และเมื่อไม่ต้องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่นกลุ่มดังกล่าวแล้วให้รีบนำสัตว์น้ำส่งมอบให้สำนักงานประมงจังหวัด หรือ หน่วยงานกรมประมงอื่นๆในพื้นที่โดยด่วน
กรณีที่ประชาชนทำการประมงแล้วได้สัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดนี้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ประชาชนสามารถนำไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ แต่ต้องทำให้สัตว์น้ำตายก่อนนำไปจำหน่าย

กรณีที่สัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดนี้จากธรรมชาติได้หลุดรอดเข้าในบ่อเพาะเลี้ยงของเกษตรกรโดย
ไม่เจตนาเกษตรกรสามารถนำไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ แต่ต้องทำให้ปลาตายก่อนนำไปจำหน่าย
กรณีส่วนราชการ สถาบันการศึกษา หรือกรณีจำเป็นอื่นใดที่ต้องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดไว้เพื่อศึกษาวิจัยและประโยชน์ทางราชการให้แจ้งขออนุญาตกรมประมงก่อน

ห้ามผู้ใดปล่อยสัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิด ลงในแหล่งน้ำธรรมชาติโดยเด็ดขาด เนื่องจากมีความผิดตามมาตรา 144 แห่ง พรก.การประมง 2558
บทลงโทษหากพบผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 หรือมาตรา 65 วรรคสอง ต้องระวางโทษตามมาตรา 144 จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง นำสัตว์น้ำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

รองอธิบดีกรมประมง กล่าวในตอนท้ายว่า การออกประกาศฉบับดังกล่าวโดยห้ามทำการเพาะเลี้ยง
สัตว์น้ำทั้ง 13 สายพันธุ์นี้ ถือเป็นอีกแนวทางที่จะช่วยลดปัญหาสัตว์น้ำต่างถิ่นที่หลุดรอดเข้ามาแพร่พันธุ์และสร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรไทย ดังนั้นจึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน หากท่านเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่น (สัตว์น้ำจากต่างประเทศ) และไม่ต้องการที่จะเลี้ยงอีกต่อไปแล้ว อย่านำไปปล่อยลงในแหล่งน้ำสาธารณะ ขอให้ท่านนำสัตว์น้ำเหล่านั้นมามอบให้กับทางกรมประมง หรือสำนักงานประมงจังหวัดในพื้นที่ใกล้บ้านท่าน ให้รับไปดูแล
เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์น้ำต่างถิ่นเกิดการหลุดรอดลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ อันจะสร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศแหล่งน้ำของประเทศในระยะยาว

นายสมพร เหรียญรุ่งเรือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี เปิดเผยกับ “เกษตรก้าวไกล” ในโครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย ว่า ทางศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้รับข้อมูลจากผู้ประกอบการรับซื้อทุเรียนหรือที่เรียกว่าล้ง ด้วยมีความประสงค์ต้องการรับซื้อและรวบรวมทุเรียนสายพันธุ์จันทบุรี เพื่อส่งออกไปยังประเทศจีน

โดยสายพันธุ์ที่มีความต้องการมาก เว็บเล่นพนันออนไลน์ ประกอบด้วย พันธุ์จันทบุรี 1 จันทบุรี 4 และจันทบุรี 10 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีได้ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยเป็นการนำสายพันธุ์พื้นเมืองจากแปลงรวบรวมพันธุ์ทุเรียนของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ที่มีมากกว่า 600 สายพันธุ์มาพัฒนาจนได้ทุเรียนพันธุ์ลูกผสมคุณภาพดี ถึง 10 สายพันธุ์ และตั้งชื่อว่า จันทบุรี 1-10

โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 สศก. โดยศูนย์ข้อมูล

(National Agricultural Big Data Center) หรือ NABC ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำตัวเลขประมาณการผลผลิต ระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 – 12 (สศท.) เพื่อให้ เจ้าหน้าที่ สศท. 1 – 12 เรียนรู้การใช้งาน Web Application และการปรับปรุงข้อมูลสถานการณ์ผลผลิตสินค้าเกษตรระดับจังหวัดได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพข้อมูลผลผลิตของระบบเสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งการวิเคราะห์เชิงลึกในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับโครงสร้างภาคเกษตรรายพื้นที่

เลขาธิการ สศก. กล่าวทิ้งท้ายว่า “การพัฒนาระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ภายใต้ความร่วมมือ ธปท. ในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จไปอีกขั้นของ Big Data ด้านการเกษตร อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ระยะแรก จะเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจให้เฉพาะผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานเกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งในส่วนของเกษตรกรและประชาชนทั่วไป สามารถสืบค้นข้อมูลบริการด้านต่าง ๆ อาทิ ได้จากเว็บไซต์ www.nabc.go.th หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ 0 2579 8161

ประเทศไทย มีภูมิปัญญาอันเนื่องมาจากการปลูกข้าวและมีข้าวเป็นอาหารหลัก สืบมาเป็นเวลา ช้านาน ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็น วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ เนื่องจากวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระอนุชา (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9)ทอดพระเนตรการทำนาและกิจการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ทั้งได้ทรงหว่านข้าวด้วยพระองค์เองในแปลงนาหลังตึกขาว (ปัจจุบันคือตึกพืชพรรณของกรมวิชาการเกษตร) ณ เกษตรกลางบางเขน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานต่อพสกนิกรชาวไทยและข้าวไทย เป็นวาระสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ของกิจกรรมข้าวไทย และยังเป็นพระราชกรณียกิจสุดท้ายในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 ที่คนไทยขอน้อมเกล้า ฯ รำลึกถึง

ต่อมา วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของรัชกาลที่ 8 เป็นวันรัฐพิธี โดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติ โดยจะมีพิธีถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 ดังนั้น วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558 จึงถือว่าเป็นวันรัฐพิธีเป็นปีแรก โดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะพร้อมใจกันมาวางพวงมาลา ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี เป็นพระราชโอรสพระองค์แรก ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีสมเด็จพระเชษฐภคินี 1 พระองค์

และสมเด็จพระอนุชา 1 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ ทั้งงานพระราชพิธี งานรัฐพิธี งานด้านการศาสนาและการศึกษา เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสด็จเยี่ยมโรงพยาบาล หน่วยทหาร สถานที่สำคัญต่างๆ และทรงริเริ่มประเพณีการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในชนบท โดยเริ่มในจังหวัดและอำเภอใกล้ๆ กรุงเทพฯ เช่น จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม ปากเกร็ด

พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งและมีผลระยะยาว คือ การเสด็จเยี่ยมชาวจีนในย่านสำเพ็ง พระนคร ซึ่งถือเป็นการเสด็จเยี่ยมราษฎรครั้งแรก โดยเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชา เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 การเสด็จเยี่ยมชาวจีนที่สำเพ็งครั้งนั้น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่ง เพราะทำให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างชาวจีนและชาวไทยที่มีมาก่อนหน้านั้นหายไป

พระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในการตรวจพลสวนสนามของกองทัพสัมพันธมิตรพร้อมด้วย ลอร์ด หลุยส์ เมาน์ตแบตตัน ณ ท้องสนามหลวงและถนนราชดำเนิน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าประเทศไทย ยังเป็นเอกราชมิได้ถูกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร

พระราชกรณียกิจสุดท้ายของพระองค์ที่มีความสำคัญต่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คือ การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรที่บางเขน และได้ทรงหว่านข้าว ณ แปลงสาธิตที่สถานีเกษตรกลางบางเขน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร มีกำหนดจะเสด็จกลับไปมหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เพื่อทรงทำปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ที่ยังค้างอยู่ให้สำเร็จ แต่ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489

ประวัติศาสตร์บอกเล่า (Oral History) จากการสัมภาษณ์บูรพาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศาสตราจารย์กิตติคุณ คุณชวนชม จันทระเปารยะ อดีตหัวหน้าภาควิชาคหกรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2540 สรุปได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จฯพร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาเพื่อทอดพระเนตรกิจการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 โดยเสด็จฯเยี่ยมตึกเคมี (ตึกสัตวบาล ปัจจุบันคือตึกหอประวัติ มก.) เพื่อพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้อาจารย์ ข้าราชการ และนิสิตเฝ้าฯ และพระราชทานพระบรมราโชวาท แล้วเสด็จฯต่อไปยังสโมสรข้าราชการ จากนั้นประทับรถยนต์พระที่นั่งไปยังตึกขาว (ตึกพืชพรรณ) และเสวยพระกระยาหารที่นั่น..ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 เสด็จฯ ลงยังชั้นล่างเพื่อทอดพระเนตรการแสดงเกี่ยวกับการเกษตร แล้วเสด็จฯไปนาทดลองซึ่งอยู่หลังตึก ทรงหว่านข้าวและพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ราษฎรทูลเกล้าฯถวายของแล้วเสด็จฯกลับ

วันที่ 5 มิถุนายน วันสำคัญของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และของชาติ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาที่มีการเรียนการสอนทางด้านการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย มีภารกิจสำคัญในงานสอนงานวิจัยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์และการเพิ่มมูลค่าเกี่ยวกับข้าวมา โดยตลอดการจัดกิจกรรมอันเนื่องด้วยการส่งเสริมการเกษตร จึงนับเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับความเป็นศาสตร์แห่งแผ่นดินของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง และ ในวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันสำคัญยิ่งของชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในอดีตได้ถือเอาวันที่ 5 มิถุนายนของ

ทุกปีเป็นวันต้อนรับน้องใหม่ (เริ่มปีใดไม่ปรากฏหลักฐาน) เนื่องจากเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ที่พระมหากษัตริย์ไทย คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และสมเด็จพระอนุชา ได้เสด็จ ฯ เยี่ยมชมกิจการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นครั้งแรก จึงถือว่าวันนี้เป็นวันสิริมงคลในการจัดงานต้อนรับน้องใหม่ ไม่ว่าวันที่ 5 มิถุนายนจะตรงกับวันใดก็ตาม ถ้าตรงกับวันธรรมดามหาวิทยาลัยต้องหยุดเรียน 3 วัน คือ วันที่ 4 มิถุนายน เป็นวันเตรียมงาน วันที่ 5 เป็นวันพิธี และวันที่ 6 เป็นวันเก็บงาน

ถือเป็นประเพณีต้อนรับน้องใหม่ในยุคนั้นและได้ถือปฏิบัติกันสืบเนื่องต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2502 จึงได้เปลี่ยนเป็นวันใดก็ได้ที่เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ เพราะเป็นการสะดวกสำหรับนิสิตที่ไม่ต้องหยุดเรียน ซึ่งปัจจุบันวันรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้ปรับเปลี่ยนไปตามระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย และระบบเปิดปิดภาคการศึกษาใหม่ตามประชาคมอาเซียน จวบจนปัจจุบันด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้มีการรับน้องใหม่และจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ 100 %

เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในครั้งนั้น มิได้เลือนหายไปจากความทรงจำของชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ยังคงฝังแน่นไว้ด้วยความจงรักภักดีและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระมหากษัตริย์ไทยทั้ง 2 พระองค์ ได้เสด็จ ฯ เยี่ยมชมกิจการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ทรงหว่านข้าว ณ เกษตรกลาง บางเขน เพื่อเป็นการสืบทอดพระราชปณิธานของพระมหากษัตริย์ไทย ที่ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ ชมรม มก.อาวุโส และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้ร่วมกันจัดงานทำบุญถวายเป็นพระราชกุศล

ในวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี โดยใช้ชื่องานว่า “งานวันรำลึกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงหว่านข้าว ณ เกษตรกลางบางเขน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 โดยจัดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 ที่ได้พระราชทานความสำคัญต่อภาคการเกษตรและข้าว ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของประเทศไทยเสมอมา

ถือว่าเป็นปฏิบัติการเร่งด่วนก็ว่าได้ เกี่ยวกับการเปิดตัวโครงการเกษตรก้าวไกล LIVE ฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ 6 ปี เว็บไซต์เกษตรก้าวไกลและสื่อออนไลน์ในเครือ ซึ่งในตอนนี้ก็ได้ฤกษ์ผานาทีที่ชัดเจน จะเปิดสนามนัดแรก วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน 2564 ที่ไร่คุณชาย อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี

ยุคโควิด-19 นี่ จะบอกอะไร ทำอะไร ต้องรวดเร็วฉับไว รู้อะไรไม่ต้องรู้นาน แต่รู้แล้วต้องทำทันที..ทำวันนี้ให้ดีที่สุด ประธานเปิดงานก็คือ นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งทาง “เกษตรก้าวไกล” ได้เข้าหารือเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 ท่านอธิบดีบอกว่ายินดีมากที่สื่อมวลชนได้ริเริ่มโครงการในลักษณะนี้ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางการเกษตรในยุคโควิด ที่ใช้ระบบออนไลน์เป็นเครื่องมือ ท่านบอกว่าช่วงนี้เสียดายมากที่ไม่ได้ลงพื้นที่ไปหาเกษตรกร เพราะเกิดโควิด หากสถานการณ์คลายเมื่อไรจะรีบลงพื้นที่เหมือนเดิม

ในช่วงวันเปิดตัวโครงการเกษตรก้าวไกล LIVE ซึ่งจะเสมือนเป็นการเปิดสนามนัดแรก (ช่วง 1-2 เดือนนี้ จะตรงกับการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2020 และโอลิมปิกเกมส์ 2021 เราก็เลยอิงให้เข้ากับบรรยากาศนี้ด้วย) หลังจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวเปิดงานจบลง(เปิดงานผ่านระบบออนไลน์จากกรมส่งเสริมการเกษตร กรุงเทพฯ)ก็จะส่งไม้ต่อให้กับ นายมนตรี เชื้อใจ เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี (อยู่ในพื้นที่จริง) ซึ่งตรงนี้พิธีการจะเป็นอย่างไร ทางเกษตรก้าวไกลจะขออุบไว้ก่อน

กล่าวสำหรับไร่คุณชาย โดย นายสมชาย แซ่ตัน CEO เจ้าของสวนนั้น ก็ได้รับการส่งเสริมเรื่องท่องเที่ยวเชิงการเกษตร โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ผ่านทางเกษตรอำเภอไทรโยค และเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในสวนครั้งนี้จึงหวังให้เป็นต้นแบบต่อไป

สำหรับรายละเอียดของกิจกรรม หลังพิธีเปิดจบลง ก็จะออกเดินทาง LIVE ลุยไปตามเรือกสวนตามไร่นาตามฟาร์มของพี่น้องเกษตรที่สามารถเดินทางได้ ส่วนที่เดินทางไม่ได้ก็จะใช้ระบบออนไลน์เชื่อมโยงถึงกัน รวมทั้งการลุยไปยังหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ “เราคนไทยเกษตรกรไทยจะฝ่าฟันสู้วิกฤตโควิดไปด้วยกันอย่างไร” นี่คือภารกิจในครั้งนี้ (รายละเอียดเพิ่มเติมของกิจกรรมครั้งนี้ คลิกอ่าน https://bit.ly/2SMMox0)

ก่อนที่จะถึงวันงาน ขอนำภาพไร่คุณชายมาให้ชมกันไปพลางๆก่อน เวลานี้ทุเรียนอายุ 4 ปี จะเริ่มตัดได้บ้าง เงาะก็ดกมาก มะละกอยิ่งไม่ต้องพูดถึงดกมาหลายปีดีดัก ยังมีขนุน ส้มโอ ฯลฯ เรื่องทุเรียนที่ออกลูกปีแรกนั้นมีจำนวนไม่กี่ลูก กำลังคิดอยู่ว่าทำอย่างไรให้เกิดมูลค่าต่อเกษตรกร ใครมีไอเดียอะไรก็นำเสนอเข้ามาได้

สำหรับท่านที่ไปร่วมกิจกรรมเปิดสนามนัดแรกไม่ได้ ขอให้ดูจากการถ่ายทอดสดจากเพจเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน และช่องยูทูปเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน..ขอย้ำว่าเรามีความมุ่งมั่นตั้งใจที่อยากจะให้เกิดกิจกรรมขึ้นในสวนของพี่น้องเกษตรกรเยอะๆ ทำอย่างไรให้ถนนทุกสายมุ่งหน้ามาหาเกษตรกร ทำได้ประเทศไทยของเรารวยแน่นอนครับ

หลายฝ่ายกำลังพูดถึงทุเรียนไม้ผลเศรษฐกิจเบอร์ 1 ของประเทศไทย เฉพาะส่งออกผลสดไปเมืองจีนในปีที่ผ่านมามีมูลค่าเกือบ 70,000 ล้านบาท ชนิดที่เรียกว่าไทยครองแชมป์เป็นเจ้าทุเรียนโลกตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แต่อนาคตจะยั่งยืนแค่ไหน เป็นเรื่องที่ต้องถกกัน

“เกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน” เลียบๆเคียงๆเรื่องทุเรียนมาตั้งแต่ปี 2561 ภายใต้โครงการเกษตรคือประเทศไทย เดินทางลุยพื้นที่ทุเรียนทั่วประเทศ ตั้งใจว่าปีนี้ 2564 จะจัดกิจกรรมเชิงลึก “ตามหาสุดยอดทุเรียนพื้นบ้านไทย” แต่ก็ยังไม่บรรลุข้อตกลงเนื่องจากต้องประสานงานหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะทุเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล บางต้นอยู่ในป่าลึก และบังเอิญอยู่ในสถานการณ์โควิด ก็เลยต้องพับโครงการไว้ก่อน…

แต่ช้าแต่..ไหนๆก็ออกเดินทางมาบ้างแล้ว จะเลี้ยวกลับมาตั้งหลักแบบไม่มีอะไรติดมือก็ใช่ที ก็เลยว่าปรับโครงการย่อส่วนให้กระชับลงเป็นการอุ่นเครื่อง เพื่อที่จะชกจริงลุยจริงในปี 2565 ด้วยการตามหาสุดยอดทุเรียนไทยเท่าที่จะสามารถทำได้

ความหมายของ “สุดยอดทุเรียนไทย” ที่จะตามหามานำเสนอ เช่น สุดยอดด้านการจัดการสมัยใหม่ สุดยอดด้านการอนุรักษ์พันธุ์กรรม สุดยอดด้านความโดดเด่นเชิงพื้นที่ และสุดยอดด้านอื่นๆ (เช่น ความแปลกใหม่ของพันธุ์ทุเรียน ภูมิปัญญาด้านการปลูกทุเรียน ฯลฯ)

ทั้งหมดนี้เพื่อต้องการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องทิศทางการพัฒนาทุเรียนไทยให้เกิดความยั่งยืน อีกทั้งรณรงค์ให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรทุเรียนไทย พร้อมๆกับการท่องเที่ยวชุมชนไปเที่ยวสวนทุเรียนต่างๆ และในฐานะสื่อมวลชนด้านการเกษตรเราก็หวังว่าการสื่อสารผ่านระบบออนไลน์ข้อมูลจะหลั่งไหลไปสู่ชาวโลกอย่างรวดเร็วว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางทรัพยากรชีวภาพ โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นที่ยังคงอนุรักษ์ไว้

วันไหนโควิดคลาย ฉีดวัคซีนกันส่วนใหญ่แล้วก็ให้มาเที่ยวเมืองไทย ถ้าไม่รีบนำเสนอตอนนี้ที่คนส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่บนโลกออนไลน์เราก็จะพลาดโอกาสทองได้

สำหรับโครงการนี้ เราได้รับการสนับสนุนจากฟอร์ดประเทศไทย ที่มองเห็นคุณค่าการอนุรักษ์ทุเรียนพื้นเมืองไทย รวมทั้งมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะทำให้เกิดขึ้นกับพี่น้องเกษตรกรไทย และเรากำลังประสานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะเริ่มลุยได้ในช่วงกลางเดือนมิถุนายนคู่กับโครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย..อย่าลืมติดตามนะครับ

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (กองทุน FTA) ได้อนุมัติงบประมาณ จำนวน 21.88 ล้านบาท ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการตลาดโคเนื้อสุรินทร์วากิวครบวงจรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้เกษตรกรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคขุนสุรินทร์โกเบครบวงจร ตำบลสลักได อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยมีกรมปศุสัตว์ เป็นผู้กำกับดูแล ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 ปี (ตั้งแต่ ปี 2564 – 2573) โดยร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคขุนพันธุ์สุรินทร์วากิว ให้เป็นเนื้อโคที่ดีมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

การอนุมัติงบประมาณดังกล่าว เพื่อลดผลกระทบจากการสิ้นสุดมาตรการปกป้องพิเศษ (SSG) ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลีย (TAFTA) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นมา ซึ่งกำหนดให้สินค้าเกษตร ที่นำเข้าจากออสเตรเลียจำนวน 17 รายการ เช่น เนื้อวัวและเครื่องใน เนื้อหมูและเครื่องใน ผลิตภัณฑ์จากเนยและนม เป็นต้น จะไม่มีภาษี ไม่จำกัดปริมาณการนำเข้าอีกต่อไป

สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคขุนสุรินทร์โกเบครบวงจร ตำบลสลักได อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ นับเป็นกลุ่มวิสาหกิจที่ประกอบอาชีพเลี้ยงโคเนื้อสายพันธุ์วากิว ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ปัจจุบันมีสมาชิก 107 ราย จำนวนโคแม่พันธุ์ 2,079 ตัว แต่ผลผลิตของกลุ่มฯ ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ซึ่งมีความต้องการประมาณเดือนละ 60 ตัว หรือ ปีละ 720 ตัว ขณะที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ผลิตได้เพียงเดือนละ 18 ตัว หรือปีละ 216 ตัว (คิดเป็นร้อยละ 30 ของตลาดที่มีอยู่)

เป้าหมายของโครงการ คือ การผลิตลูกโคเพศผู้สำหรับขุนได้ ไม่น้อยกว่า 240 ตัว/ปี หรือ 2,400 ตัวตลอด ทั้งโครงการ ด้วยระบบการบริหารจัดการฟาร์มแบบคอกกลาง (Central Feedlot) มีการจัดอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรผู้เป็นสมาชิก ทั้งนี้ จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแล และควบคุมโดยกรมปศุสัตว์ ขณะที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จะร่วมยกระดับการบริหารจัดการฟาร์มภายใต้แนวคิดการผลิตแบบคอกกลางที่มีศักยภาพ ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ 10 ปี เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการ และจะเป็นเนื้อโคขุนที่มีเกรดคุณภาพไขมันแทรกระดับ 2.5 ขึ้นไป จากฟาร์มที่ได้มาตรฐาน GFM / GAP เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดระดับบน ซึ่งเป็นตลาดเนื้อโคขุนคุณภาพ นอกจากนี้ โครงการนี้ ยังได้จัดทำความตกลงด้านการตลาด (MOU) กับบริษัทคู่ค้าไว้แล้ว จำนวน 2 ฉบับ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่เกษตรกรว่า มีตลาดรองรับผลผลิตอย่างแน่นอน

“ที่ผ่านมา สินค้าโคเนื้อ นับเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากตลาดภายในประเทศอย่างมาก แต่กลับพบว่า ปริมาณการผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะเนื้อโคคุณภาพระดับเกรดไขมันแทรกตั้งแต่ระดับ 2.5 ขึ้นไป ดังนั้น หากประเทศไทยสามารถผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพไขมันแทรกได้เอง เช่น โคเนื้อลูกผสมยุโรป ชาโรเร่ส์ แองกัส บราห์มัน หรือโคลูกผสมวากิว ที่เป็นโคสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น จะส่งผลให้ไทยสามารถลดการนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศได้ ซึ่ง สศก. โดยกองทุน FTA เรามีความมุ่งมั่นและยินดีให้การสนับสนุนเงินทุน ให้คำปรึกษาแก่กลุ่มเกษตรกร สำหรับนำไปพัฒนาศักยภาพ ทั้งในด้านการผลิต การตลาด เพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ร่วมกันพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าเกษตรไทย” รองเลขาธิการ สศก. กล่าว

กรมวิชาการเกษตร เร่งเครื่องขยายผลเทคโนโลยีชีวภัณฑ์และปุ๋ยชีวภาพสู่ภูมิภาค ดันนักวิจัยในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยงขยายผลองค์ความรู้สู่กลุ่มเกษตรกรผลิตได้ ใช้เป็น วางเป้าโครงการปีครึ่งเกษตรกรกว่า 8 พันรายใน 57 จังหวัดรับเทคโนโลยีผลิตใช้เองได้ พร้อมต่อยอดสร้างรายได้เป็นอาชีพเสริม ชูโครงการสอดรับนโยบายเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย

นายอนันต์ อักษรศรี รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะโฆษกกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนโครงการขยายผลงานวิจัยและเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรที่ประสบผลสำเร็จแล้วไปสู่เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดเป็นนโยบายหลักของนายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ซึ่งได้มอบนโยบายให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรทั้ง 8 เขตหน่วยงานในส่วนภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตรเร่งดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ซึ่งในปี 2564 นี้กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำโครงการวิจัยต่อยอดและขยายผลเทคโนโลยีการใช้ชีวภัณฑ์และปุ๋ยชีวภาพเพื่อการผลิตพืชปลอดภัยและพืชอินทรีย์ ซึ่งจะเริ่มดำเนินโครงการในเดือนกรกฎาคม 2564 นี้ โดยมีเป้าหมายขยายผลเทคโนโลยีไปสู่กลุ่มเกษตรกรจำนวน 8,425 รายครอบคลุมพื้นที่จำนวน 57 จังหวัด

กรมวิชาการเกษตรมีผลงานวิจัยปุ๋ยชีวภาพหลายชนิดที่มีคุณสมบัติช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและเพิ่มธาตุอาหารที่สำคัญให้แก่ดินที่ใช้เพาะปลูกพืช ซึ่งช่วยลดและทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีและเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ปุ๋ยชีภาพไมคอร์ไรซ่า ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอตเฟต และแหนแดง รวมทั้งยังมีผลงานวิจัยด้านชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชและการผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติเพื่อนำไปใช้ทดแทนสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ แตนเบียนควบคุมแมลงศัตรูพืช แมลงหางหนีบ แมลงช้างปีกใส มวนพิฆาต ไวรัสเอ็นพีวี แบคทีเรียบีที ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืช เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม ไตรโคเดอร์มา เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี และแบคทีเรีย Bs-DOA24 แต่ที่ผ่านมาการนำผลงานวิจัยดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ยังไม่กว้างขวางเท่าที่ควร เนื่องจากสถานที่ผลิตอยู่ในหน่วยงานส่วนกลางห่างไกลจากเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ที่ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเหล่านี้

โฆษกกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า จากปัญหาดังกล่าวอธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงได้มีข้อสั่งการให้มีการขยายผลเทคโนโลยีจากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชและกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไปสู่บุคลากรของกรมวิชาการเกษตรในส่วนภูมิภาคทั้ง 8 แห่ง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งผ่านการอบรมแล้วนำเทคโนโลยีไปขยายผลต่อให้กลุ่มเกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยชีวภาพและชีวภัณฑ์บางชนิดที่มีขั้นตอนไม่ยุ่งยากใช้เองได้ โดยภายหลังจากการขยายผลให้แก่กลุ่มเกษตรกรแล้วเจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจติดตามให้คำแนะนำตลอดขั้นตอนการผลิตจนมั่นใจว่ากลุ่มเกษตรกรสามารถผลิตได้เองอย่างมีคุณภาพ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะทำให้เกษตรกรมีปุ๋ยชีวภาพและชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชไว้ใช้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดฤดูกาลผลิต ช่วยลดต้นทุนการผลิต และบางรายยังสามารถต่อยอดผลิตเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้เพิ่มขึ้นได้ด้วย ทำให้เกษตรกรสามารถผลิตพืชที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ไม่มีสารพิษ ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น สอดรับนโยบายลด ละ เลิกการใช้สารเคมีทางการเกษตรของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

“โครงการวิจัยขยายผลเทคโนโลยีการใช้ชีวภัณฑ์และปุ๋ยชีวภาพเพื่อการผลิตพืชปลอดภัยและอินทรีย์จะเริ่มดำเนินการในเดือนกรกฎาคม 2564 – ธันวาคม 2565 คาดว่าหลังสิ้นสุดโครงการจะมีกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพืชผักและผลไม้จำนวน 8,425 ราย ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ 57 จังหวัดสามารถผลิตชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชและปุ๋ยชีวภาพไว้ใช้เองได้และผลิตขายเป็นอาชีพเสริม รวมทั้งยังมีศูนย์เครือข่ายในส่วนภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตรจำนวน 57 ศูนย์เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้การผลิตและกระจายชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชไปสู่กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ที่ต้องการผลิตพืชปลอดภัยและพืชอินทรีย์” โฆษกกรมวิชาการเกษตร กล่าว

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้ COVID-19 ภายใต้กระทรวงอว.โดยการสนับสนุนของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้เปิดบริการฉีดวัคซีนมาแล้ว 4 วันคือวันที่ 7 ,9 ,11, 12 มิ.ย. 64 มีผู้ฉีดวัคซีนไปแล้ว 16,707 คน รายวันเฉลี่ยฉีดวัคซีนได้ 5,000 คน โดยรายงานยอดการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของวันที่ 12 มิถุนายน 2564 ณ ช่วงเวลาประมาณ 18.30 น. ฉีดวัคซีนไปแล้ว 5, 666 คน

“ศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้ COVID-19 มีเป้าหมายในการให้บริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มบุคลากร นิสิต นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสถาบันการศึกษาอื่นๆ ที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง รวมถึงหน่วยงานและชุมชนโดยรอบ ในระยะถัดไปตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถลงทะเบียนเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ด้วย โดยคาดว่าเมื่อถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2564 จะสามารถฉีดวัคซีนรวม 2.4 แสนโดส เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศไทยตามวาระแห่งชาติโดยเร็ว ทั้งนี้ การให้บริการของศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้ COVID-19 สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องมาจากมี ระบบการฉีดวัคซีนภาคสนามที่พัฒนาโดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

อีกทั้งมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย Application CRA CARE นำมาใช้นำร่องที่ศูนย์แห่งนี้ เป็นรูปแบบใหม่ที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ร่วมกันพัฒนากับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) โดยใช้ Tablet และ Card Reader ในการลงทะเบียนและบริหารจัดการข้อมูลและให้คนรับวัคซีนนั่งอยู่กับที่ตั้งแต่เริ่มต้นลงทะเบียนด้วยบัตรประชาชน วัดความดัน ฉีดวัคซีน และเฝ้าระวังอาการหลังฉีดจนเสร็จโดยไม่ต้องเดินไปตามจุดต่าง ๆ โดยเจ้าหน้าที่ พยาบาล และแพทย์จะเป็นผู้ที่เดินให้บริการแก่ผู้ที่มารับวัคซีนเอง ซึ่งวิธีดังกล่าวนี้จะช่วยประหยัดทรัพยากรบุคคล และแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ได้มาก สร้างความสะดวก รวดเร็ว ให้กับผู้มาฉีดวัคซีน โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาที่จฺุดฉีดวัคซีนนี้ 35-40 นาที ต่อคน” ดร.จงรัก กล่าว

วันนี้ (14 มิ.ย. 64) ที่ไร่คุณชาย บ้านพุตะเคียน ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เว็บไซต์เกษตรก้าวไกล ได้จัดพิธีเปิดโครงการ “เกษตรก้าวไกล LIVE ฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย” ขึ้น โดยมี นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดงาน ได้กล่าวเปิดงานผ่านระบบออนไลน์ นายมนตรี เชื้อใจ เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี เป็นตัวแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ทำพิธีเปิดด้วยการตัดทุเรียนด้วยดาบอาญาสิทธิ์ พร้อมแขกผู้มีเกียรติจากภาคส่วนต่างๆ ประกอบด้วย นายสาวิตร เจียมจิระพร นายอำเภอไทรโยค นายชาตรี คงสุวรรณ ปลัดอำเภอไทรโยค นางสาวสิรินวรรณ สุวรรณ เกษตรอำเภอไทรโยค นางสาวปาณิสรา ผิวนวล ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาน้ำตกไทรโยคน้อย ดร.ปิยะพร พิทักษ์ตันสกุล รองคณะบดีคณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี นายวิกิจ แก้วจิตคงทอง นายก อบต.ท่าเสา นางสาวมัทนา ศรอารา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ตำบลท่าเสา และตัวแทนเกษตรกรในพื้นที่

นายพรศักดิ์ พงศาปาน หรือ “ลุงพร เกษตรก้าวไกล” ประธานและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์เกษตรก้าวไกล เปิดเผยว่า เว็บไซต์เกษตรก้าวไกลและสื่อออนไลน์ในเครือได้เปิดดำเนินการครบรอบ 6 ปี ในปี 2564 ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมาได้มุ่งมั่นพัฒนาการรายงานข่าวเกษตรด้วยระบบการสื่อสารสมัยใหม่เพื่อต้องการเชื่อมโยงสังคมเกษตรไปสู่คนไทยทั่วประเทศ โดยจัดโครงการเกษตรคือประเทศไทย “เกษตรกรอยู่ที่ไหนเราอยู่ที่นั่น” และเมื่อเกิดสถานการณ์โควิดจึงจัดโครงการพิเศษมุ่งเน้นการ LIVE สด ปลุกเร้าเกษตรกรไทยให้ลุกขึ้นสู้ไปด้วยกัน ภายใต้ชื่อโครงการ “เกษตรก้าวไกล LIVE ฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย”

“ภายใต้โครงการฯดังกล่าว จะเน้นนำเสนอบทสัมภาษณ์เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 32 คน พร้อมการสาธิตอาชีพสร้างรายได้เร่งด่วน จำนวน 4 อาชีพ และเสวนาออนไลน์ จำนวน 4 เรื่อง รวมทั้งหมด 40 เรื่อง โดยจะเน้นนำเสนอแง่มุมความคิด “พลิกวิกฤตโควิดเป็นโอกาส” พร้อมกลยุทธ์การปรับตัวในยุค New Normal ทุกเรื่องจะถ่ายทอดสด LIVE ผ่านเพจ Facebook และ YouTube ช่องเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน ซึ่งจะยังนำประโยชน์ให้กับการพัฒนาภาคเกษตรของประเทศไทย” ลุงพร กล่าว

ด้าน นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะประธานเปิดโครงการได้กล่าวผ่าน LIVE ว่า เกษตรก้าวไกล ถือเป็นต้นแบบสื่อออนไลน์ที่สร้างประโยชน์ให้ทั้งเกษตรกรในการถ่ายทอดเรื่องราวความสำเร็จในการประกอบอาชีพ รวมถึงการเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร และ ในโอกาสที่เกษตรก้าวไกล ครบรอบปีที่ 6 และมีการจัดโครงการ “เกษตรก้าวไกล LIVE ฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย” ในครั้งนี้ ถือเป็นการทำงานในบทบาทของสื่อมวลชนด้วยการเลือกที่จะไม่ทำงานในห้อง แต่เน้นการลงพื้นที่จริง สัมผัสเกษตรกรตัวจริง นำประโยชน์ไปสู่ผู้สนใจในวงกว้าง และในโอกาสนี้ขอฝากถึงเกษตรกรว่า ให้ยึดคำว่าคุณภาพเป็นหลัก สร้างผลผลิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

สำหรับในพิธีเปิดโครงการฯ ได้ใช้สัญลักษณ์การตัดผลทุเรียนด้วยดาบที่เรียกว่า “ดาบอาญาสิทธิ์” เป็นดาบที่ได้รับมอบมาจากวัดเส้าหลิน ประเทศจีน ซึ่งประเทศจีนเป็นคู่ค้าสำคัญนำเข้าทุเรียนปีที่ผ่านมามีมูลค่าเกือบ 70,000 ล้านบาท มีจุดหมายเพื่อสื่อไปถึงเกษตรกรว่าอย่าตัดทุเรียนอ่อน ไม่เช่นนั้นแล้วตลาดอาจมีผลกระทบและเกษตรกรที่ไม่ใส่ใจยังมีการตัดทุเรียนอ่อนจำหน่าย จะต้องได้รับการจัดการตามมาตรการที่กฎหมายกำหนด เหมือนเป็นการ “ลงดาบ” หรือลงโทษนั่นเอง

ขณะที่ นายมนตรี เชื้อใจ เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี ผู้ที่ได้รับมอบดาบจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อนำมาใช้ในการตัดทุเรียน ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาไม้ผลจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งยึดหลักตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ 2564 จะเน้นทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

การถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตไม้ผลที่สำคัญ สมัคร GClub ได้แก่ เงาะ ทุเรียน ส้มโอ มังคุด ชมพู่ มะขามหวาน เป็นต้น เพื่อพัฒนาการผลิตไม้ผลให้ได้คุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัย และการสนับสนุนการรับรองแหล่งผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์ พร้อมทั้งการสนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการเสนอช่องทางการจำหน่ายสินค้าในตลาดท้องถิ่น ตลาดเกษตรกร และตลาดออนไลน์ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ผลผลิตสินค้าเกษตรและการจัดอีเว้นท์ต่าง ๆ

ส่งมอบ “กบชายน้ำ” ลูกละ 1 แสนแล้ว เผยที่มาราคา เฉพาะลูกละ

เป็นที่ฮือฮาลือลั่นมากเมื่อสวนจิตร์นิยม อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี ได้ประกาศขายทุเรียนกบชายน้ำของสวนประจำฤดูกาลนี้ว่า ทุเรียนลูกนางพญา 1 ต้นมีเพียงลูกเดียว ขายลูกละ 100,000 บาท ซึ่งขายมาหลายปีแล้ว และในฤดูกาลนี้ “เกษตรก้าวไกล” ได้ลุยไป LIVE ถึงสวนในเวลามืดค่ำ ตามรายละเอียดจากคลิป https://fb.watch/5GIODlXghg/

หลังจากได้ LIVE สด ก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันพอสมควร โดยส่วนใหญ่ผู้คนก็บอกว่าไม่น่าจะเป็นเรื่องจริง เป็นการสร้างข่าวบ้างละ อยากเห็นหน้าคนซื้อจัง ต่างๆนาๆ จนเมื่อตอนบ่ายวันนี้(23 พ.คง64) “จตุพล เกษตรก้าวไกล” ก็ต้องรุดไปที่สวนอีกครั้ง เพราะทราบว่าทุเรียนลูกละ 1 แสน ได้มีการส่งมอบให้ลูกค้าที่จองแล้ว

พร้อมกันนั้นได้ LIVE อีกครั้ง เพื่อคลายข้อสงสัยว่าที่ออกข่าวไปมีผลกลับมาอย่างไร ขายได้ราคาจริงตามที่ว่าหรือไม่ และได้ปีนขึ้นต้นทุเรียนไปดูลูกที่จองกันไว้ ซึ่งสรุปว่าทุเรียนกบชายน้ำ ลูกละ 11,000 บาท จาก 300 ลูก ตอนนี้ขายเหลือ 40 กว่าลูก โดย คุณเกรียงศักดิ์ อุดมสิน หรือพี่หมู ได้ให้ข้อมูลรายละเอียดว่ามีผู้สนใจจองจำนวนมาก พร้อมบอกกถึงที่มาของสายพันธุ์ว่ามาจากรุ่นอากง ซื้อกบชายน้ำจากจังหวัดนนทบุรี จากนั้นนำมาเพาะเมล็ดปลูกไว้ ซึ่งมีลักษณะลูกกลม เนื้อเนียน อร่อยมาก โดยรุ่นลูกๆ

ได้สืบทอดมาเป็นรุ่นที่ 4 แล้ว ส่วนการตั้งราคากบชายน้ำที่สูงนั้น ครั้งแรกก็ไม่ได้คิดว่าจะขายได้ราคาสูงขนาดนี้ เกิดจากความไม่ตั้งใจ เกิดขึ้นเมื่อ 8 ปีที่แล้ว จากลูกค้าคนจีนคนหนึ่งที่สนใจจะขอซื้อ ก็บอกว่าทุเรียนนี้ราคากิโลกรัมละ 5,000-6,000 บาท ก็ไม่คิดว่าเขาจะซื้อ และเหมาคนเดียว 100 ลูก ได้มาเล่าให้คุณแม่ฟัง คูณแม่บอกว่าจะบ้าหรือขายแพงขนาดนี้ และอีกเหตุผลหนึ่งต้องการทำสิ่งที่คุณพ่อสร้างไว้ให้มีมูลค่าที่สุด รวมทั้งการออกแบบแพ็คเก็จจิ้งต่างๆ ก็มีส่วนสำคัญ คลิกชมรายละเอียดเพิ่มเติมจากคลิปในนาทีท้าย

อนึ่ง ทุเรียนกบชายน้ำลูกละ 100,000 บาท ทางเฟสบุ๊คของผู้ใช้นาม Narinchat Phuchutthanutkul ได้ลงไว้เมื่อวานนี้ (22 พ.ค.64) ตามข้อความว่า..

“นอกจากจะมีโอกาสชมผ้าโบราณแล้ว ยังได้ร่วมพิธีส่งมอบทุเรียนกบชายน้ำ ลูกนางพญา ราคาลูกละ 100,000 บาท จากสวนจิตร์นิยม จ.ปราจีนบุรี ของคุณเกรียงศักดิ์เจ้าของสวนมาส่งมอบให้แก่ คุณพ่อสำราญ เฮือนไทโซ่ง จ.ราชบุรี ด้วยตนเอง และคุณพ่อสำราญยังเมตตาให้ชิมทุเรียนกบชายน้ำรุ่นลูก รุ่นหลาน (ลูกละ 8,000 -11,000) มีความสุขกันถ้วนหน้า

นางพญาลูกนี้ไม่ธรรมดา มาจากต้นทุเรียนที่มีอายุกว่า 120 ปี ลักษณะอวบสมบูรณ์ กลิ่นหอมเหมือนเกสรดอกไม้ ลูกใหญ่กว่าทุกลูกบนต้น ออกลูกก่อนใครแต่สุกไม่พร้อมใคร สนใจต้องเข้าไปอ่านประวัติต่อค่ะ”

พร้อมกับภาพประกอบหลายภาพ แต่เกษตรก้าวไกลขอคัดมาจำนวน 3 ภาพ ซึ่งต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ สำหรับผู้สนใจทุเรียนกบชายน้ำที่ยังเหลืออยู่ สามารถสั่งจองได้ที่ เซเว่นอีเลฟเว่น ซึ่งเพจ 7-Eleven Thailand ได้ลงครั้งแรกเมื่อ 8 พฤษภาคม เวลา 10:00 น. ว่า “ขอเสนอ…ที่สุดของทุเรียนในตำนาน กบชายน้ำ พันธุ์โบราณหายาก เก็บจากต้นอายุมากกว่า 100 ปี จากสวนจิตร์นิยม ผลกลมสม่ำเสมอ เนื้อเนียนละเอียด ไร้ใย เก็บได้หลายวัน ไม่เละ กลิ่นหอม ไม่ฉุน คุณภาพคับพู อร่อยขึ้นหิ้ง กินแล้ววางไม่ลงจริงๆ จะบอกให้..สาวกทุเรียนอย่าพลาด ราคาลูกละ 11,000 บาทว่าแต่มีใครอยากจะหารกับแอดไหมคร้าบ..ด่วน! จำนวนจำกัด สั่งเลยวันนี้‼️ ส่งฟรี บรรจุกล่องพรีเมียมถึงบ้าน คลิกเลย”

ทั้งหมดนี้ก็แสดงให้เห็นว่า เกษตรกรไทย สวนจิตร์นิยม จ.ปราจีนบุรี ทำได้..ใครสนใจที่จะสั่งจองทุเรียนลูกละ 11,000 บาท ก็ให้รีบจอง ช้าอดหมดได้ชิม ต้องรอฤดูกาลหน้าครับ

กรุงเทพฯ 24 พฤษภาคม 2564 – คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เดินหน้าสร้างความเป็นธรรมพร้อมดูแลเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ทั่วประเทศ รับฤดูกาลผลไม้ไทยหลากหลายชนิดที่มีผลผลิตทยอยออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก พร้อมเตือนผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) ห้ามมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายการกระทำความผิด ไกด์ไลน์แนวทางการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจการรับซื้อผลไม้

ประกอบด้วย 1.การไม่ระบุวันหรือช่วงเวลาในการเข้าเก็บผลไม้ 2. การต่อรองราคารับซื้อผลไม้ลดลงจากที่กำหนดไว้ในสัญญา 3. ปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมจนทำให้เกิดความเสียหาย และ 4. การฮั้วกันกำหนดราคารับซื้อผลไม้ ซึ่งหากเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ประสบปัญหาถูกเอารัดเอาเปรียบหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) สามารถร้องเรียนโดยตรงได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือช่องทางเว็บไซต์และอื่น ๆ ได้ทันที

นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ กรรมการการแข่งขันทางการค้า และโฆษกคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เปิดเผยว่า ฤดูกาลผลไม้หลากหลายชนิดที่ผลผลิตกำลังออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลทำให้เกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ได้ประสบปัญหาการถูก เอารัดเอาเปรียบจากกลุ่มธุรกิจที่รับซื้อผลไม้ (ล้ง) เนื่องจากการมีอำนาจต่อรองที่น้อยกว่า คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) จึงได้เน้นความสำคัญในการเข้าไปกำกับดูแลเกษตรกรผูปลูกผลไม้ให้ได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น โดยจะเข้มงวดกวดขันให้ผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) ปฏิบัติตามแนวทางการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2563 เป็นต้นมา

ทั้งนี้ประกาศดังกล่าวได้กำหนดพฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรมที่อาจเข้าข่ายความผิดมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย

การไม่ระบุวันหรือช่วงเวลาในการเข้าเก็บผลไม้ การใช้อำนาจต่อรองที่เหนือกว่า รวมถึงเงื่อนไขการค้าที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถขายผลไม้ให้ผู้รับซื้อผลไม้ให้ผู้รับซื้อผลไม้รายอื่นได้ เป็นต้น
การต่อรองราคารับซื้อผลไม้ลดลงจากที่กำหนดไว้ในสัญญาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร การกำหนดคุณภาพของผลไม้หรือเงื่อนไขอื่นใดที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น
การชะลอการเข้าเก็บผลไม้ การเก็บผลไม้ไม่ครบตามจำนวนที่ตกลงไว้ในสัญญา หรือเลือกเก็บผลไม้บางส่วน รวมทั้งพฤติกรรมในลักษณะอื่น ๆ ที่เป็นการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น
การฮั้วกันเพื่อผูกขาดหรือลดการแข่งขัน เช่น การร่วมกันกำหนดราคาซื้อหรือจำกัดปริมาณของสินค้า หรือร่วมกันกำหนดแบ่งท้องที่ซื้อขาย เป็นต้น

นายสันติชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ถูกเอาเปรียบทางการค้า มีอยู่เป็นประจำทุกปี คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรในเรื่องดังกล่าว พร้อมกำชับให้ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) เข้าไปกำกับดูแลให้ความเป็นธรรมภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า และลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างจริงจัง โดยที่ผ่านมามีเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ภาคตะวันออก ร้องเรียนว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) ที่มีพฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรมจำนวนทั้งหมด 10 เรื่อง ซึ่งตรวจพบว่ามีการกระทำความผิดที่เข้าข่ายการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมตามมาตรา 57 จำนวน 1 ราย และได้ลงโทษปรับทางปกครอง

ซึ่งมีโทษปรับสูงสุดอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ในปีที่กระทำความผิด ส่วนอีก 8 ราย อยู่ระหว่างการดำเนินเรื่องของคณะอนุกรรมการสอบข้อเท็จจริง ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อยุติและนำเสนอให้ คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) พิจารณาในเร็ววันนี้ และยุติเรื่อง จำนวน 1 ราย เนื่องจากเป็นกรณีข้อพิพากทางแพ่งที่ไม่เข้าข่ายผิดกฎหมายการแข่งขันทางการค้า เนื่องจากมีโทษปรับในอัตราที่ค่อนข้างสูง

จึงอยากเตือนให้ผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) ระมัดระวังพฤติกรรมทางการค้า ที่อาจเข้าข่ายการกระทำความผิดตามแนวทางการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ และสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้หากได้รับการเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจการรับซื้อผลไม้ (ล้ง) สามารถร้องเรียนโดยตรงได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือช่องทางเว็บไซต์ www.otcc.or.th หมายเลขโทรศัพท์ 02-199-5444 ตลอดจนอีเมล info@otcc.or.th

นางสาวศิริพร จูประจักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 ราชบุรี (สศท.10) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการลงพื้นที่ติดตามโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม “กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมตำบลบางช้าง” ภายใต้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม นับเป็นตัวอย่างของการรวมกลุ่มที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก สามารถสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มเกษตรกร รวมถึงได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ยกระดับคุณภาพผลผลิตมะพร้าวน้ำหอม โดยเกษตรกรได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต พัฒนาเป็น Smart farmer และการรวมกลุ่มเพื่อผลิตและการใช้สารชีวภัณฑ์ จึงสร้างความมั่นใจกับผู้ค้าและผู้บริโภคได้ว่าผลผลิตได้มาตรฐานและมีคุณภาพ

จากการติดตามของ สศท.10 พบว่า กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมตำบลบางช้าง เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 มีพื้นที่ปลูก 375 ไร่ มีสมาชิกเกษตรกร 37 ราย โดยมีนายวชิรวิชย์ มีดี เป็นประธานกลุ่ม เกษตรกรนิยมปลูกมะพร้าวพันธุ์ก้นจีบ (มะพร้าวน้ำหอมสามพราน) มีลักษณะเด่นคือ เป็นพันธุ์ที่มีผลใหญ่ ให้ผลผลิตสม่ำเสมอ น้ำของผลมีความหวาน ให้ผลผลิต หลังปลูกเพียง 3 ปี และเป็นที่ต้องการของตลาดประเทศจีน ในส่วนของต้นพันธุ์เกษตรกรส่วนใหญ่จะเพาะพันธุ์มะพร้าวเอง โดยการคัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพให้ผลผลิตสูงและยังนำลูกไปเพาะพันธุ์เป็นต้นกล้าสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรสูงมากเช่นเดียวกัน เพราะมียอดการสั่งจองล่วงหน้า 5 – 6 เดือน ราคาต้นละ 80 – 150 บาท

สถานการณ์การผลิตมะพร้าวน้ำหอมของกลุ่มฯ มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 42,626 บาท/ไร่/ปี (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 3 และเก็บเกี่ยวได้ถึง 15 – 17 ปี) นิยมปลูกช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม ในรอบ 1 ปี สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 18 ครั้ง(เฉลี่ยเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวได้ทุก 20 วัน) ผลผลิตจะออกตลาดชุกช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน ผลผลิตรวมประมาณ 3,331 ตัน/ปี ผลผลิตเฉลี่ย 8,883 กิโลกรัม/ไร่/ปี (น้ำหนักประมาณ 700 – 1,400 กรัม/ผล) ผลตอบแทนเฉลี่ย 128,797บาท/ไร่/ปี ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) เฉลี่ย 86,171 บาท/ไร่/ปี ราคาที่เกษตรกรขายได้ ณ 24 พฤษภาคม 2564 เฉลี่ย 23 บาท/ผล ทั้งนี้ หากคิดเป็นผลตอบแทนของทั้งกลุ่มฯ จะได้กำไร 32 ล้านบาท/ปี ด้านสถานการณ์ตลาด ผลผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 70 ส่งจำหน่ายพ่อค้าคนกลาง ซึ่งจะมารับซื้อผลผลิตถึงสวน รองลงมาร้อยละ 20 ส่งจำหน่าย บริษัท โรงงานมาลี สามพราน จำกัด เพื่อนำไปแปรรูปเป็นน้ำมะพร้าวน้ำหอม 100% ส่งจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนที่เหลือ อีกร้อยละ 10 จำหน่ายให้กับพ่อค้าในท้องถิ่น ซึ่งผู้รับซื้อจะมาตัดมะพร้าวเองที่สวน

ผลสำเร็จของกลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมตำบลบางช้างเกษตรกรได้มีการรวมกลุ่มผลิตมะพร้าวน้ำหอมคุณภาพตามมาตรฐาน GAP และอินทรีย์ โดยการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด เน้นตลาดนำการผลิต มีการเชื่อมโยงตลาดหรือมีข้อตกลงซื้อขายผลผลิตล่วงหน้า มีตลาดกลางสินค้าเกษตร ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และสร้างรายได้ให้เกษตกรอย่างมั่นคง นอกจากนี้ ทางกลุ่มฯ ยังได้รับการสนับสนุนจากสถานีพัฒนาที่ดินนครปฐม สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์นครปฐม

โครงการชลประทานนครปฐม ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครปฐม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมให้องค์ความรู้ด้านการผลิต การบริหารจัดการกลุ่มฯ ตลอดจนการจัดการด้านตลาด โดยในส่วนของ สศก. ได้มีการติดตามประเมินผลโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 – 2561 พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการส่งเสริมสนับสนุนตามโครงการฯ เนื่องจากได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 รองลงมาร้อยละ 72 การพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐาน GAP ตรงกับความต้องการของตลาด รองลงมาร้อยละ 68 การเพิ่มผลผลิต และร้อยละ 66 สามารถลดต้นทุนการผลิตได้

ผู้อำนวยการ สศท.10 กล่าวทิ้งท้ายว่า การผลิตมะพร้าวน้ำหอมคุณภาพ GAP สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ซึ่งถ้าเกษตรกรได้จัดตั้งกลุ่มบริหารจัดการทั้งระบบร่วมกันตั้งแต่การผลิต การจำหน่าย จนถึงผู้บริโภค แล้วมีตลาดรองรับแน่นอน หากเกษตรกรหรือท่านที่สนใจข้อมูลการผลิตมะพร้าวน้ำหอม สามารถขอคำปรึกษา นายวชิรวิชย์ มีดี ประธานกลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมตำบลบางช้าง หมู่ที่ 5 ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม หรือโทร 09 6096 6522 และสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.10 ราชบุรี โทร. 0 3233 7951

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มุั่งมั่นมีส่วนร่วมเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ประเทศ และลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก บรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ส่งเสริมโรงงานและฟาร์มของซีพีเอฟทั่วประเทศ สานต่อ “โครงการรักษ์นิเวศ” ปลูกต้นไม้ในสถานประกอบการ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี เดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟมุ่งมั่นขับเคลื่อนองค์กรสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้กลยุทธ์ 3 เสาหลักสู่ความยั่งยืน คือ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยเสี่ยงทั้งสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต บริษัทฯ ได้กำหนดแผนปฏิบัติการ โดยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศ ลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร และอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ แก้ปัญหาโดยอาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน ด้วยการจัดการวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบ ส่งเสริมแหล่งวัตถุดิบที่ยั่งยืน การอนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าชายเลน เพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการ

ขณะเดียวกันได้พัฒนาระบบรวบรวมข้อมูลการวัดผลเชิงระบบนิเวศ และในทุกๆปี มีการจัดอบรมให้พนักงานในหลักสูตรการวัดผลการให้บริการระบบนิเวศ และการประเมินการกักเก็บคาร์บอน เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกต้นไม้ โดยตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ซึ่งล่าสุด ในปี 2563 อบก.ได้มอบประกาศนียบัตรให้สถานประกอบการ 58 แห่งของซีพีเอฟที่ร่วมโครงการ มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ต้นไม้กักเก็บจากการปลูกต้นไม้ทั้งสิ้น 5,960 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า” นายวุฒิชัยกล่าว

ในโอกาสวันที่ 26 พ.ค.ปีนี้ ตรงกับวันต้นไม้ประจำปีของชาติ ผู้บริหารและพนักงานของโรงงานและฟาร์มของซีพีเอฟทั่วประเทศ สานต่อโครงการรักษ์นิเวศ โดยร่วมกันจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ อาทิ โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกหนองแค จ.สระบุรี ร่วมกันปลูกต้นทุเรียน ขนุน มะม่วง โรงงานคัดไข่และแปรรูปไข่บ้านนา จังหวัดนครนายก ปลูกต้นกัลปพฤกษ์ ต้นอินทนิล จากเดิมที่ปลูกต้นหูกระจงไว้กว่า 70 ต้น ผู้บริหารและพนักงานของโรงงานผลิตอาหารสัตว์หาดใหญ่ ร่วมกันปลูกต้นบัวตองเพื่อปรับภูมิทัศน์ภายในโรงงาน โรงงานผลิตอาหารสัตว์ศรีราชา ปลูกต้นขนุน ส้มโอ และละมุด จากเดิมที่ปลูกไม้ยืนต้นรวมแล้วกว่า 200 ต้น Complex สันกำแพง ธุรกิจไก่ไข่ ปลูกมะพร้าวน้ำหอม 10 ไร่ เป็นต้น

นอกจากการดำเนินโครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการแล้ว ซีพีเอฟ ยังได้สานต่อโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าบกและป่าชายเลน ในโครงการ “ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” (ปี 2559-2563) สามารถอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปลูกป่าใหม่ บริเวณป่าต้นน้ำพื้นที่เขาพระยาเดินธง ต.พัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี 5,971 ไร่ และ โครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และปลูกป่าใหม่ ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ 5 จังหวัด คือ ระยอง สมุทรสาคร ชุมพร สงขลา และพังงา รวม 2,388 ไร่ ซึ่งพบว่าในพื้นที่ป่าชายเลนปลูกใหม่ ที่ต.บางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร ช่วยดููดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 439 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และในพื้นที่ป่าชายเลนปลูกใหม่ที่ต.ปากน้ำประแส จ.ระยอง ช่วยดููดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 28 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

นอกจากนี้ กิจการในต่างประเทศของซีพีเอฟ อาทิ ลาว กัมพูชา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินเดีย และตุรกี มีการดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ปลูกต้นไม้ในสถานประกอบการ โดยมีเป้าหมายเพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน./

โควิด 19 ประเทศไทย ดำเนินมาเป็นปีที่ 2 ทำให้ภาวะเศรษฐกิจ และสังคม เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก “เกษตรก้าวไกล” ได้เปิดดำเนินการครบรอบ 6 ปี ปกติทุกครบรอบปีจะจัดทำโครงการ “เกษตรคือประเทศไทย ก้าวไกลไปด้วยกันทั้งประเทศ” ด้วยการเชื่อมโยงสังคมเกษตรไปสู่สังคมอื่นๆ ทั่วประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งดำเนินการมาจะขึ้นปีที่ 4 ในปีนี้ โดยปีแรก 2561 มีแนวคิดว่า “เกษตรกรอยู่ที่ไหนเราอยู่ที่นั่น” ปี 2 (2562) “ตามหายอดมนุษย์เกษตรกรไทย” ปี 3 (ปี 2563) ช่วงต้นปีเจอโควิดต้องปรับเป็น “30 วันปันความรู้เพื่อเกษตรกรไทย” และปลายปีพอโควิดคลายก็ออกเดินทางอีกครั้งคราวนี้ชื่อโครงการว่า “ลุยเกษตรสุดเขตไทย” ตั้งใจว่าโครงการนี้จะเดินหน้าไปตลอดปี 2564 จะเห็นว่ามีโครงการระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ครั้นมาถึงต้นปี 2564 โควิด 19 กลับมาเยือนอีกครั้ง คราวนี้หนักกว่าคราวก่อน เอาอย่างไรดีล่ะ จะเดินหน้าต่ออย่างไรดี

คิดอยู่อย่างนี้วนเวียนไปมา แต่ก็มีเวลาให้คิดได้ไม่นานนัก สุดท้ายต้องปรับเปลี่ยนโครงการใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

นั่นคือ การจัดทำโครงการ “เกษตรก้าวไกล LIVE ฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย” จะบอกว่าเป็นการพัฒนาต่อยอดจากโครงการ 30 วันปันความรู้เพื่อเกษตรกรไทยก็ว่าได้ แต่จริงๆก็ไม่อยากจะต่อยอดเลย ไม่มีโควิดเป็นดีที่สุด ช่วงที่เกิดดิจิทัล Disrupt ก็หนักหนาสาหัส จึงเป็นเหมือนไฟท์บังคับที่จะต้องต่อสู้กันต่อไป

แนวคิดของโครงการเกษตรก้าวไกล LIVE ฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย คือจะเน้นการ LIVE รายงานสดหรือถ่ายทอดสด (LIVE Streaming) ทั้งจากส่วนกลางเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ และการลงพื้นที่จริงไป LIVE สด แต่กรณีนี้ขึ้นอยู่กับโควิด 19 ว่าจะผ่อนปรนได้มากน้อยแค่ไหน

โดยเนื้อหาของโครงการจะแบ่งเป็น 3 ส่วน

ส่วนที่ 1 จะเป็นการสัมภาษณ์ LIVE เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยจะเน้นนำเสนอแง่มุมความคิด “พลิกวิกฤตโควิดเป็นโอกาส” พร้อมกลยุทธ์การปรับตัวในยุค New Normal จำนวน 32 คน (32 เรื่อง)

ส่วนที่ 2 จะเป็นการสาธิตอาชีพสร้างรายได้เร่งด่วน จำนวน 4 เรื่อง ซึ่งจะพัฒนาต่อยอดจาก “ห้องเรียนกลางสวน” ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งที่คู่มากับโครงการเกษตรคือประเทศไทย

ส่วนที่ 3 จะเป็นการเสวนาออนไลน์ จำนวน 4 เรื่อง ทั้ง 3 ส่วน รวมทั้งหมด 40 เรื่อง “เกษตรก้าวไกล” ได้วางกรอบกว้างๆไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดเชิงลึก เนื่องจากอยากจะรับฟังจากความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ซึ่งจะพยายามทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ยกตัวอย่างเช่น ท่านอยากจะให้สัมภาษณ์เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องคนไหน หรืออยากจะให้สาธิตอาชีพอะไร รวมทั้งอยากจะฟังเสวนาหัวข้อไหน วิทยากรท่านใด ขอให้ท่านรีบแจ้งเข้ามาที่เพจเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน หรือไอดีไลน์ 0863266490 (รวมทั้งเกษตรกร วิทยากร และผู้เกี่ยวข้องที่เห็นว่ามีแนวทางฝ่าวิกฤตก็สามารถเสนอตัวมาได้เช่นกัน)

ทั้งนี้ การสัมภาษณ์ LIVE การสาธิตอาชีพ และการเสวนาออนไลน์ จะถ่ายทอดสดผ่านเพจ Facebook เกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน และ YouTube ช่องเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน

สำหรับ กำหนดเปิดตัวโครงการประมาณกลางๆ เดือนมิถุนายน และสิ้นสุดโครงการภายในเดือนสิงหาคม 2564 เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือผู้สนับสนุนโครงการที่จะขาดไม่ได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานอย่างเร่งด่วน (ยุคโควิดไม่สามารถใช้เวลาอะไรได้มาก) เบื้องต้นได้ติดต่อกับผู้สนับสนุนรายเดิม แต่ก็ไม่ปฏิเสธที่จะมีผู้สนับสนุนรายใหม่ ที่พูดอย่างนี้เพราะทุกอย่างมันกระชั้นชิด โควิดที่ตอนแรกจะดีขึ้นแล้วยังกลับมาใหม่ เพราะฉะนั้นองค์กรหรือหน่วยงานใดที่จะสนับสนุนก็เรียนเชิญได้

ขอย้ำว่าโครงการเกษตรก้าวไกล LIVE ฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย ทีมงานเกษตรก้าวไกลมีประสบการณ์จากที่ออกเดินทางลงพื้นที่เกษตรมาอย่างต่อเนื่อง เราพบว่าการ LIVE สดเป็นวิธีการที่จะเข้าถึงเกษตรกรและผู้สนใจในวงกว้างอย่างรวดเร็ว หากไม่มีอะไรผิดพลาด อันหมายถึงเสบียงกำลังพอเพียง รับรองว่าโครงการของเราสนุกได้สาระความรู้ครบถ้วนอย่างแน่นอนครับ.

เพื่อนๆสมาชิกผู้ติดตาม “เกษตรก้าวไกล” อาจจะร้อนๆหนาวๆกับโครงการใหม่ของเราที่ได้นำเสนอไปเมื่อวันก่อน นั่นก็คือ “โครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย” โครงการนี้จะพัฒนาต่อยอดจาก “โครงการ30วันปันความรู้เพื่อเกษตรกรไทย” ซึ่งได้จัดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา (โครงการนี้ส่งไม้ต่อมาจากโครงการเกษตรคือประเทศไทยอีกที) พอมาถึงปีนี้ 2564 โควิดก็ยังไม่ลดละ เรียกว่าโควิดรอบ 3 เราจึงเพิ่มความแรงขึ้น 3 เท่าตัว จากเนื้อหาที่เคยนั่งอยู่กับที่และใช้ระบบออนไลน์เชื่อมโยงไปยังพี่น้องเกษตรกร ครั้งใหม่นี้เราจะยกระดับให้แรงขึ้น ด้วยเนื้อหาสาระ 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 จะเป็นการสัมภาษณ์ LIVE เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยจะเน้นนำเสนอแง่มุมความคิด “พลิกวิกฤตโควิดเป็นโอกาส” พร้อมกลยุทธ์การปรับตัวในยุค New Normal จำนวน 32 คน (32 เรื่อง)

ตั้งใจเลยว่าจะตามหาเกษตรกรที่มีคาถาดี เสกสะกดให้โควิดอยู่หมัด ยัดกระสอบให้อยู่เฉยๆ ไม่ให้ทำอะไรได้ ใครรู้ว่าเกษตรกรคนนั้นอยู่ที่ไหนช่วยบอกที
ตั้งใจที่ 2 เดินขึ้นไปบนสำนักงานของบุคคลภาครัฐระดับนโยบาย ไปถามกันตรงๆว่าท่านจะมีอะไรที่จะทำให้(ส่งเสริม)เกษตรกรพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้บ้าง
ตั้งใจที่ 3 เดินไปพบผู้บริหารภาคเอกชน ถามให้รู้ดำรู้แดงว่าท่านมีกลยุทธ์ปรับตัวอย่างไรให้อยู่รอดและจะสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับพี่น้องเกษตรกรไทยอย่างไร

ส่วนที่ 2 จะเป็นการสาธิตอาชีพสร้างรายได้เร่งด่วน จำนวน 4 เรื่อง (หรืออาจจะมากกว่านี้) โดยจะพัฒนาต่อยอดจาก “ห้องเรียนกลางสวน” ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งที่ตีคู่มากับโครงการเกษตรคือประเทศไทย

จากที่เราได้ทดลองนำร่องไปบ้างแล้ว ทั้งที่ในสวน ที่บ่อปลา ที่ฟาร์มเลี้ยงวัว พบว่ามีเกษตรกรจำนวนมากที่มีองค์ความรู้ “ขลัง” พอที่จะแบ่งปันให้เกษตรกรคนอื่นๆได้คุ้มภัยโควิดได้บ้าง

ส่วนที่ 3 จะเป็นการเสวนาออนไลน์ จำนวน 4 เรื่อง

ขณะนี้ทีมงานของเรากำลังผนึกหัวข้อเรื่องและมองหาวิทยากรอย่างเร่งด่วน โดยหัวข้อได้กำหนดไว้แล้ว แต่ก็ยังเปิดกว้าง พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงหากมีหัวข้อที่เหมาะสมกว่า ซึ่งจะเป็นเรื่องอะไรบ้างนั้น จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าจะได้ติดตามชมกันเยอะๆ

โครงการของเราจะเริ่มสตาร์ทเปิดตัวประมาณกลางๆเดือนมิถุนายน ที่ยังไม่กำหนดวันชัดเจน เพราะรอหารือประธานที่จะตัดริบบิ้นหรือกดปุ่มเปิดก่อน เราเป็นคนไทยทำอะไรก็ต้องยึดถือผู้หลักผู้ใหญ่เข้าว่า เพื่อความเข้มแข็งเป็นสิริมงคลว่างั้นเถอะ ตั้งใจว่าพิธีเปิดจะไม่ให้เหมือนใคร แต่จะให้สอดคล้องสถานการณ์ที่สุด จะเป็นอย่างไรก็ต้องติดตาม(อีกแล้ว) ที่พูดมานี้ก็ยังไม่ลงตัวนะ แต่ก็ต้องมั่นใจไว้ก่อนว่าจะต้องทำได้

ยุคโควิดไม่มีอะไรที่เราคนไทยจะทำไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปได้ครับ ขอเพียงว่าต้องร่วมมือร่วมใจกัน เห็นอันไหนดีงามก็ต้องช่วยกัน ออ! เกือบลืมพูดถึงสปอนเซอร์ หรือผู้สนับสนุนของเรา ยึดหลักของปีที่ผ่านมาก่อน แต่ก็พร้อมรับผู้สนับสนุนรายใหม่ เราพูดยังกับว่าจะมีผู้สนับสนุนมากมาย แต่จริงๆไม่มากครับ ทุกท่านช่วยกันคนละเล็กคนละน้อย แต่มากด้วยน้ำใจ ขอเรียนว่าไม่มีผู้สนับสนุนเราก็ไม่มีทางทำได้

ตอนนี้ก็มีผู้สนับสนุนของเราแจ้งเข้ามาเกือบครบแล้วครับ จากที่เราได้ส่งหนังสือไปเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือว่ารวดเร็วทันใจ สัปดาห์ต่อไปเราก็จะมาแจ้งกันว่ามีใครบ้าง…ขอบคุณทุกท่านด้วยใจครับ

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการดำเนินงาน Big Data ด้านการเกษตร ซึ่ง สศก. ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลักที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้ดำเนินการ และเป็นหน่วยงานด้านนโยบายและข้อมูลสารสนเทศการเกษตร ได้เร่งพัฒนาฐานข้อมูล Big Data มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อการบริหารและการให้บริการข้อมูลภาคเกษตรในทุกมิติ

สำหรับปี 2564 สศก. และธนาคารแห่งแประเทศไทย (ธปท.) ภายใต้ความร่วมมือ MOU ของทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันพัฒนาระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ที่เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารในยุคดิจิทัลในการติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตรอย่างรอบด้าน มีข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่ มีความแม่นยำและทันต่อทุกสถานการณ์ โดยระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตรเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (Decision Support System) ที่ให้ข้อมูลอย่างรอบด้าน ประกอบด้วย 1) รายรับจากการขายสินค้าเกษตรของเกษตรกร 2) ต้นทุนการผลิต 3) มูลค่าความเสียหายจากภัยพิบัติ และ 4) เงินช่วยเหลือจากภาครัฐ เป็นรายพืชและรายจังหวัด

ทั้งนี้การพัฒนาระบบติดตามภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ในระยะที่ 1 จะเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลระดับจังหวัด อาทิ กำหนดฤดูกาลเพาะปลูก กำหนดรอบรายสินค้าตามฤดูกาล สินค้าที่มีการผลิตรายจังหวัด และการประมาณการผลผลิตภาพรวม เข้าสู่ฐานข้อมูลเกษตรแห่งชาติ และประมวลผลด้วยวิธีการจัดทำดัชนีแบบลูกโซ่ สามารถรายงานสถานการณ์

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรเป็นรายเดือน สมัครสโบเบ็ต ในระดับจังหวัด ภาค และประเทศ ซึ่งเป้าหมายของระบบติดตาม ระยะที่ 1 คือ “ค่าพยากรณ์ผลผลิต” จะใกล้เคียง “ค่าจริงผลผลิต” เมื่อช่วงการเพาะปลูกเข้าใกล้การเก็บเกี่ยว รวมทั้ง การปรับ “ค่าพยากรณ์ผลผลิต” สะท้อนผลผลิตในพื้นที่อย่างทันกาลและมีเหตุผล และในระยะถัดไป จะมีการนำเข้าข้อมูลมิติอื่น ๆ ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

รองอธิบดีกรมอุตนิยมวิทยากล่าวต่อไปว่า จากนั้นตั้งแต่กลางเดือน

แนวร่องมรสุมจะเลื่อนมาพาดผ่านประเทศไทย และมรสุมจะมีกำลังแรงขึ้น ฝนจะมีการตกชุกหนาแน่นในเกณฑ์ 60 – 80 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ และทำให้มีฝนตกหนักได้หลายพื้นที่ และหนักมากในบางแห่ง ดังนั้นในช่วงนี้จึงต้องระมัดระวังในเรื่องของการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่

สำหรับช่วงเดือน ต.ค. คาดว่า ในพื้นภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จะมีปริมาณฝนเริ่มลดลง และมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า ส่วนบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และฝนตกหนักบางแห่ง

“สำหรับปี 2564 คาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน เคลื่อนเข้ามาสู่ประเทศไทยประมาณ 2 – 3 ลูก ในช่วงเดือน ส.ค – ก.ย. แต่ไม่ได้หมายความในเดือน ก.ค. จะไม่มีโอกาสเกิดพายุขึ้นมา ยังมีโอกาสอยู่ แต่แนวทางการเคลื่อนตัวจะอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงหนือตอนบน หรือภาคเหนือ สิ่งที่ต้องระมัดระวังในช่วงเดือนส.ค-ก.ย. ด้วยมีปัจจัยที่เป็นตัวแปรค่อนข้างมาก ไม่ว่า โอกาสการเกิดพายุ แนวร่องมรสุมที่ค่อนข้างแรง ดังนั้นเดือน ส.ค.-ก.ย. เป็นเดือนที่ต้องเตรียมการป้องกัน เพราะมีฝนตกชุกหนาแน่น” รองอธิบดีกรมอุตนิยมวิทยากล่าว

กรมวิชาการเกษตร เล็งออกประกาศเอื้อขึ้นทะเบียนสารชีวภัณฑ์ 17 ชนิดได้สิทธิ์ไม่ต้องส่งข้อมูลพิษวิทยา ลดทั้งเวลาและขั้นตอนขึ้นทะเบียนคล่องตัว เผยหลักการผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงเกษตรฯ แล้ว เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็นรอบด้าน ก่อนเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตราย

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงนำสารเคมีมาใช้เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชจำนวนมาก ก่อให้เกิดสารตกค้างในพืช และเป็นอันตรายต่อเกษตรกรผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ซึ่ง นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวและมอบเป็นนโยบายหลักเร่งด่วนให้กรมวิชาการเกษตรเร่งดำเนินการให้เกษตรกรลด ละ เลิก การใช้สารเคมีโดยปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรที่ปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ ซึ่งถือเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย

การใช้สารชีวภัณฑ์ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรเป็นแนวทางสำคัญที่ตอบสนองต่อนโยบายดังกล่าวเพราะสามารถนำมาใช้ทดแทนสารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ ดังนั้นเพื่อสนับสนุนให้มีการนำสารชีวภัณฑ์มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวางมากขึ้น กรมวิชาการเกษตร จึงได้เสนอกระทรวงเกษตรฯ เพื่อออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง “การขึ้นทะเบียนการออกใบสำคัญและการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ (ฉบับที่ 2)” โดยประกาศฉบับดังกล่าวจะปรับลดขั้นตอนและระยะเวลาการขึ้นทะเบียนสารชีวภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากพืช และสารฟีโรโมน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรได้นำสารชีวภัณฑ์มาใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชทดแทนการใช้สารเคมีให้มากขึ้น

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า สารชีวภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากพืช และสารฟีโรโมน ที่มีข้อมูลทางวิชาการว่ามีความปลอดภัยต่อมนุษย์ พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ตามรายชื่อที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องส่งข้อมูลพิษวิทยามาประกอบการขึ้นทะเบียนมีจำนวนทั้งสิ้น 17 ชนิด โดยเป็นชีวภัณฑ์ที่อยู่ในประกาศเดิม 5 ชนิดและเพิ่มในร่างประกาศใหม่อีก 12 ชนิด ดังนี้

บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) ควบคุมโรคพืชที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น โรคเหี่ยวที่เกิดจากแบคทีเรีย โรคแคงเคอร์, โรคใบจุด, โรคเน่าเละ, โรคแอนแทรคโนส, โรคใบจุด, โรคไหม้ข้าว, โรครากเน่าโคนเน่า, โรครากปมที่เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
บาซิลลัส อะไมโลลิคเฟเชียน (Bacillus amyloliquefaciens) ควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium, Pythium, Rhizoctonia, Phytophthora, Verticillium, Botrytis cinerea, and Alternaria, โรคราแป้ง, โรคแอนแทรคโนส, โรคราน้ำค้าง, โรคไหม้ข้าว และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
บาซิลลัส ไลเคนิฟอร์มิส (Bacillus licheniformis) ควบคุมโรคเน่าสีน้ำตาลในพีท ควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา Botrytis cinerea (gray mold), ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคทางใบของชาน้ำมัน และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

บิซิลลัส พูมิลัส (Bacillus pumilus) ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช อุตสาหกรรมการผลิตทางการเกษตร, อุตสาหกรรมการหมักอาหาร, การบำบัดน้ำเสีย
บิวเวอร์เรีย บัสเซียน่า (Beauveria bassiana) เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลงศัตรูพืชโดยครอบคลุมเข้าทำลายแมลงหลายชนิด ซึ่งเป็นแมลงจำพวกตระกูลเพลี้ย เช่น เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่นเพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อนส้ม เพลี้ยไก่แจ้ รวมถึง บั่ว ที่ทำลายช่อและยอดกล้วยไม้ (ค่อนข้างดื้อยาฆ่าแมลง)หนอนทุกชนิด และแมลงที่เป็นศัตรูพืชเช่น มอดเจาะผลกาแฟ ไรแดง ไรขาว แมลงหวี่ขาว ด้วง แมลงวัน และยุง

เมทาไรเซียม แอนิโซเพลีย (Metarhizium anisopliae) ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชจำพวกปากกัดและปากดูด เช่น ไรแดงแอฟริกัน เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนด้วง และหนอนของผีเสื้อศัตรูพืชหลายชนิด ตลอดจนแมลงปากกัดบางจำพวก เช่น ด้วงกออ้อย ด้วงหมัดผัก ตั๊กแตน หนอนด้วงเจาะลำต้น ด้วงแรด แมลงดำหนาม หนอนหัวดำในมะพร้าว มอดเจาะผลกาแฟ ฯลฯ สามารถใช้ผสมน้ำฉีดพ่นพืชผัก ไม้ผลและไม้ดอก ไม้ประดับทุกชนิด และทุกระยะการเจริญเติบโต

ไตรโคเดอร์มา แอสเพอเรลลัม (Trichoderma asperellum) ควบคุมโรคพืชที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า เหี่ยว และเน่าแห้ง ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม พิเที่ยม ไรซอคโทเนีย ไฟทอปทอร่า

ไตรโคเดอร์มา ฮาร์เซียนั่ม (Trichoderma harzianum)ควบคุมโรคพืชที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า เหี่ยว และเน่าแห้ง ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม พิเที่ยม ไรซอคโทเนีย ไฟทอปทอร่า สเคลอโรเที่ยม มาโครโฟมิน่า และ โบไทรทิส และโรคทางใบเช่น ใบจุดที่เกิดจากเชื้อรา โบไทรทิส และโรคราน้ำค้าง
ไตรโคเดอร์มา แกมซิไอ (Trichoderma gamsii)ควบคุมโรคพืชที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า เหี่ยว และเน่าแห้ง ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม พิเที่ยม ไรซอคโทเนีย ไฟทอปทอร่า และ สเคลอโรเที่ยม
ไตรโคเดอร์มา วิริดี้ (Trichoderma viride)ควบคุมโรคพืชที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า เหี่ยว และเน่าแห้ง ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม พิเที่ยม ไรซอคโทเนีย ไฟทอปทอร่า สเคลอโรเที่ยม มาโครโฟมิน่า และ โบไทรทิส และโรคทางใบเช่น ใบจุดที่เกิดจากเชื้อรา โบไทรทิส และ อัลเทอร์นาเรีย โรคราน้ำค้าง และราแป้ง

ไตรโคเดอร์มา ไวเรน (Trichoderma virens)ควบคุมโรคพืชที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า เหี่ยว และเน่าแห้ง ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม พิเที่ยม ไรซอคโทเนีย และโรคทางใบที่เกิดจากเชื้อราอัลเทอร์นาเรีย
ไตรโคเดอร์มา อะโทรวิริดี้ (Trichoderma atroviride)ควบคุมโรคพืชที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า เหี่ยว และเน่าแห้ง ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรี่ยม และไรซอคโทเนีย

บาซิลลัส ทูริงจิเอนซิส หรือ เชื้อบีที สายพันธุ์ ไอซาไว จุลินทรีย์ควบคุมแมลงศัตรูพืช ได้แก่ กลุ่มหนอนผีเสื้อ เช่น หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนหนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะเสมอฝ้าย หนอนคืบกระหล่ำ หนอนคืบละหุง หนอนร่านกินใบปาล์ม หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
บาซิลลัส ทูริงจิเอนซิส จุลินทรีย์ควบคุมแมลงศัตรูพืช ได้แก่ กลุ่มหนอนผีเสื้อ เช่น หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนหนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะเสมอฝ้าย หนอนคืบกระหล่ำ หนอนคืบละหุง หนอนร่านกินใบปาล์ม หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด

ไวรัส เอ็นพีวี (NPV) จุลินทรีย์ชนิดไวรัสใช้สำหรับควบคุมแมลงได้ หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะเสมอฝ้าย
ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง ไส้เดือนฝอยชนิดกำจัดแมลงได้แก่ ด้วงหมัดผัก ด้วงมันงวงมันเทศ หนอนกินเปลือกลองกอง หนอนผีเสื้อกินก้อนเห็ด หนอนกระทู้หอม
โปรโตซัว ชนิด Sarcocystis singaporensisโปรโตซัว ใช้กำจัดหนู

“ขณะนี้ร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฉบับดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว ซึ่งขั้นตอนในลำดับต่อไปกรมวิชาการเกษตรจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และส่งให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณา หากคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติเห็นชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ จะลงนามในประกาศเพื่อลงราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ซึ่งการปลดล็อคขั้นตอนและระยะเวลาการขึ้นทะเบียนในครั้งนี้จะส่งผลให้การขึ้นทะเบียนสารชีวภัณฑ์เป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น และจะทำให้เกษตรกรได้ใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อนำไปใช้กำจัดศัตรูพืชทดแทนสารเคมีเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

กรมวิชาการเกษตร เปิดประวัติ 2 เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติปี 2564 ไทม์ไลน์ไม่ธรรมดา สาขา GAP อดีตข้าราชการครูเบนเข็มเป็นชาวสวนผลิตลำไยนอกฤดูสร้างรายได้เป็นล้าน/ปี สาขาอินทรีย์ปลูกพืชผักผสมผสานปลดหนี้ได้ สุขภาพดี ชู 2 เกษตรกรยึดหลักผลิตสินค้ามีคุณภาพ ปลอดภัย เรียนรู้ปรับใช้เทคโนโลยี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พร้อมแบ่งปันความรู้ให้ชุมชน

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในทุกปีกรมวิชาการเกษตรจะพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นที่ผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์ เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณ และเผยแพร่ผลงานให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จักและยึดเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เกษตรกร โดยในปี 2564 นี้กรมวิชาการเกษตรได้คัดเลือก นายอำนาจ จันทรส เกษตรกรเจ้าของสวนลำไย จังหวัดจันทบุรี เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) และนายสุธรรม จันทร์อ่อน เกษตรกรปลูกพืชผักผสมผสาน จังหวัดนครปฐม ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาพืชอินทรีย์

นายอำนาจ จันทรส เกษตรกร GAP ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 ของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดจันทบุรี อดีตข้าราชการครูที่หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรชาวสวนลำไย โดยนำกิ่งพันธุ์จำนวน 200 ต้นจากจังหวัดลำพูนมาทดลองปลูก ซึ่งเมื่อปลูกจนให้ผลแล้วจึงพบปัญหาการออกดอกติดผลแปรปรวนไม่สม่ำเสมอทำให้ไม่สามารถวางแผนการผลิตและคาดการณ์ปริมาณผลผลิตที่แน่นอนได้ เมื่อทราบว่าทางภาคใต้เริ่มมีการทำลำไยนอกฤดูและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพจึงได้เดินทางไปศึกษาวิธีการทำลำไยนอกฤดูและนำกลับมาทำในพื้นที่ของตนเองจนได้ผลผลิตลำไยนอกฤดูออกจำหน่ายในปี 2541 และได้สมัครเข้าสู่การผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP กับสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จันทบุรี ในปี 2547 เนื่องจากเห็นว่าตลาดประเทศจีนมีความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน GAP

ด้วยทักษะและประสบการณ์การผลิตลำไยนอกฤดูคุณภาพและการบริหารจัดการสวนที่ดีตามมาตรฐาน GAP ทำให้การผลิตลำไยที่สวนภัทรพันธุ์ของนายอำนาจซึ่งมีพื้นที่ 140 ไร่ มีต้นลำไยจำนวน 3,374 ต้นประสบความสำเร็จทุกปี โดยนายอำนาจใช้วิธีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยการใส้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ต้นลำไย 5-10กก./ต้น/ปี และทุก 3 ปีจะมีการปรับค่าความเป็นกรดด่างของดินด้วยการใส่ปูนโดโลไมท์เพื่อไม่ให้ดินที่ใส่ปุ๋ยเคมีติดต่อกันเป็นเวลานานมีค่าความเป็นกรดด่างมากเกินไปซึ่งอาจส่งผลเสียต่อต้นลำไยได้ ในช่วงใบอ่อนมีการใช้น้ำหมักจากสะเดาเพื่อไล่แมลงและใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาผสมน้ำฉีดพ่นลงดินเพื่อปรับปรุงดินและป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า โดยในปี 2563 ที่ผ่านมาได้ผลผลิตจำนวน 1,980 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งสูงกว่าผลผลิตลำไยของจังหวัดจันทบุรีที่มีค่าเฉลี่ย 869 กิโลกรัม/ไร่ โดยนายอำนาจมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตลำไยในปี 2563 จำนวน 1,744,360 บาท

นายสุธรรม จันทร์อ่อน เกษตรกรพืชอินทรีย์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 ของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดชัยนาท เกษตรกรที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิต แต่เนื่องจากกิจกรรมทางการเกษตรมีต้นทุนที่สูง กระบวนการผลิตยังมีการใช้สารเคมีในปริมาณสูง ส่งผลให้มีปัญหาทั้งด้านสุขภาพและหนี้สินจึงกลับมาทำเกษตรแบบธรรมชาติโดยเริ่มทำการเกษตรในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ ในปี พ.ศ. 2542 จนสามารถปลดหนี้สินได้สำเร็จและยึดแนวทางผลิตพืชแบบอินทรีย์มาจนถึงปัจจุบัน

ภายในเนื้อที่ทำการเกษตรจำนวน 17 ไร่ นายสุธรรม ได้แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนสำหรับปลูกข้าว ปลูกพืชผักผสมผสาน ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร ผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ และโรงสีข้าว โดยพื้นที่จำนวน 5 ไร่ ได้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากกรมวิชาการเกษตร ปัจจุบันมีพืชที่ขอการรับรองจำนวน 27 ชนิด โดยปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกันและเลือกปลูกผักที่ให้ผลผลิตดีตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของระบบเกษตรอินทรีย์มากที่สุด เช่น ผักพื้นบ้าน โดยนำเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร เช่น แมลงหางหนีบ ไส้เดือนฝอย เชื้อราบิวเวอเรีย มาใช้ในการบริหารจัดการศัตรูพืช ใช้พืชสมุนไพรขับไล่แมลง คลุมแปลงด้วยพลาสติกในพืชบางชนิด เพื่อลดปัญหาวัชพืชและแรงงาน

นอกจากนี้ ยังปลูกพืช 9 ชนิดในแปลงเดียวกันโดยเน้นชนิดพืชผักที่มีอายุใกล้เคียงกัน แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ พืชอายุสั้น อายุปานกลาง และอายุยาว ซึ่งพืชทั้ง 3 ระดับจะต้องเป็นพืชที่ดูแลอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น เมื่อปลูกผักกาด คะน้า ผักโขม มะเขือ ก็จะปลูกพืชสมุนไพรร่วมด้วย เพื่อป้องกันโรคและแมลงมารบกวน มีการวางแผนการปลูกพืชทั้งในโรงเรือนและนอกโรงเรือน โดยปลูกแบบผสมผสาน หมุนเวียนสอดคล้องกับฤดูกาลผลิตและความต้องการของตลาด ในปี 2563 ที่ผ่านมามีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตจำนวน 55,900 บาท/ไร่/ปี

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2564 ทั้ง 2 รายนี้นับเป็นความภาคภูมิใจของกรมวิชาการเกษตร เพราะเป็นเกษตรกรที่มีความมุ่งมั่นและรักในอาชีพเกษตรกร มีความคิดริเริ่ม อดทน ขยันหมั่นเพียร พร้อมที่จะแบ่งปันความรู้ ทำการเกษตรโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ผลผลิตมีคุณภาพได้รับการยอมรับจากตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งสามารถเป็นผู้นำและแบบอย่างให้เกษตรกรรายอื่นได้ปฏิบัติตามต่อไป

ซุกิ กับคนไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะซุกิคือปลาช่อนทะเล ที่นำมาอัพเวอร์ชั่นใหม่ให้เป็นปลาช่อนทะเลคุณภาพสูงที่มีความอร่อยขึ้น เป็นปลาช่อนทะเลที่แข็งแรง ทนต่อโรค เลี้ยงง่าย โตไว ได้รับอาหารดี คนกินก็ได้กินเนื้อปลาที่อร่อยมากขึ้นกว่าปลาช่อนทะเลทั่วไป โดยคงคุณสมบัติที่ดีเลิศไว้ เป็นปลาที่ดีต่อสุขภาพมากที่สุด ด้วยคุณสมบัติโปรตีนสูง มีโอเมก้า 3 และมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว DHA สูง และมีไขมันดีแทรกตัวอยู่ เมื่อกัดเข้าไปแล้วจะมีความชุ่มฉ่ำ Juicy เพิ่มอรรถรสในการกินเมนูนั้นมากขึ้น อีกทั้งเนื้อปลายังมีความขาว แน่น ทรงตัวและคงรูป จึงเป็นที่สนใจของเชฟ ร้านอาหาร คนที่รักในการทำอาหารและรักสุขภาพอย่างมาก

ความต้องการที่จะผลักดันให้ปลาช่อนทะเล ของดีจากทะเลไทยเป็นหนึ่งในใจผู้บริโภคและเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ทำให้ โครงการ Booster โดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภูเก็ต กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านการวิจัยเพาะเลี้ยงกระชังน้ำลึกจากรัฐบาลนอร์เวย์ หลังจากเหตุการณ์สึนามิ เพื่อฟื้นฟูความเป็นอยู่ของชาวภูเก็ต มาจับมือร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ในการเลี้ยงให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาช่อนทะเล เลี้ยงด้วยอาหารคุณภาพสูงและเลี้ยงในกระชังน้ำลึก โดยไม่ทำลายระบบนิเวศน์ในทะเล และกระตุ้นให้สังคมเห็นศักยภาพของผลิตภัณฑ์ปลาช่อนทะเลที่สามารถสร้างคุณค่า และสร้างมูลค่าเพิ่มได้ โดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ถึงคุณค่าของปลาช่อนทะเลและทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และพร้อมที่จะส่งเสริมให้ปลาช่อนทะเลกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจใหม่ช่วยสร้างครัวของโลกอย่างยั่งยืนภายใต้ชื่อแบรนด์ ซุกิ (SUGI)

สิ่งที่จะยืนยันถึงศักยภาพของปลาช่อนทะเลที่จะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ที่สำคัญของประเทศ สะท้อนผ่านความคิดเห็นของเชฟชื่อดังในเมืองไทยหลายท่าน อาทิ เชฟแวน-เฉลิมพล โรหิตรัตนะ เจ้าของร้านแดก (DAG) เผยถึงความน่าสนใจในตัวปลาช่อนทะเล เป็นวัตถุดิบที่คุ้มค่า ใช้ได้ทั้งตัวตั้งแต่หัวจรดหาง แม้กระทั่งเครื่องในก็นำมาเนรมิตเป็นอาหารจานอร่อยได้ สามารถกินดิบได้เลย หรือจะเอามาปรุงด้วยความร้อนก็น่ารับประทานมากเช่นกัน

เช่นเดียวกับเชฟโป้ง-ฐาปกรณ์ ชินะวาสี FOOD DEVELOPER สาย Entertain ผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนที่รักการทำอาหาร ให้นิยามปลาชนิดนี้ว่า เป็นปลาคุณภาพเนื้อดี สามารถนำมากินเป็นซาชิมิ เทียบเท่าฮามาจิ ทั้งยังเป็นปลาที่มีรูปทรงเป็นเอกลักษณ์ ด้วยความเป็นปลาตัวกลม จึงสามารถสร้างสรรค์เมนูได้หลากหลาย โดดเด่นที่คุณค่าทางโภชนาการ มีโปรตีนสูงเป็นอันดับต้นๆ เมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น

นอกจากนั้นเชฟถัง-ดนัย โทตระกูล Executive Chef ประจำร้านอาหาร Dewa Phuket Resort ประธานชมรมพัฒนาวิชาชีพเชฟภูเก็ตอันดามัน (PACC) ยังประทับใจในรูปลักษณ์ปลาเนื้อขาว มีความแน่น และด้วยความเป็นปลาขนาดใหญ่ จึงสามารถทำเมนูอาหารได้หลากหลาย จะทำเป็นซาชิมิ สเต็ก รวมทั้งอาหารไทย ซึ่งการนำปลาช่อนทะเลมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักช่วยเพิ่มมูลค่าอาหารไทยได้อย่างมาก

ซุกิ (SUGI) ภาพลักษณ์ใหม่ของปลาช่อนทะเลไทยที่เต็มไปด้วยข้อดีและคุณประโยชน์มากมายนี้ กำลังจะเข้ามาอยู่ในครัวทุกบ้าน ทุกร้านอาหารแล้ว และซุกิก็พร้อมที่จะเป็นสุดยอดปลาไทย เป็นวัตถุดิบปรุงอาหารชั้นดีที่คนกินทั้งไทยและทั่วโลกยกให้เป็นที่หนึ่งอย่างแน่นอน

นางเพ็ญศิริ วงษ์วาท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี (สศท.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “ลูกอ๊อดกบ” เป็นหนึ่งในสัตว์น้ำนำร่องที่ได้รับการผลักดันเข้าสู่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ด้านการประมง เมื่อปี 2560 เนื่องจากเป็นสัตว์น้ำที่ตลาดในท้องถิ่นมีความต้องการสูง ราคาดี ซึ่งเป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสในช่วงหน้าแล้งหลังการทำนาปี โดยปรับพื้นที่นาข้าวเพื่อเพาะเลี้ยงลูกอ๊อดกบ ปัจจุบันเกษตรกรได้มีการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ลูกอ๊อดบ้านหนองแต้ ผลิตและจำหน่ายลูกอ๊อดกบ จนเกิดรายได้หมุนเวียนให้เกษตรกร ที่สำคัญทางกลุ่มแปลงใหญ่ฯ ยังได้รับมาตรฐาน GAP และเกษตรกรผู้เลี้ยงได้มีการจดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เพาะเลี้ยงลูกอ๊อดกบกลุ่มแรกของประเทศไทย ซึ่งนับเป็นตัวอย่างของการรวมกลุ่มที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก

จากการลงพื้นที่ของ สศท.3 เพื่อติดตามสถานการณ์ผลิตของกลุ่มแปลงใหญ่ลูกอ๊อดบ้านหนองแต้ ตำบลนาขาม อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม โดยสัมภาษณ์นายสมชัย วงษ์สุข ผู้จัดการแปลงใหญ่ฯ และยังเป็นเกษตรกรต้นแบบ ซึ่งมีประสบการณ์เพาะเลี้ยงลูกอ๊อดกบมาเป็นระยะเวลานานกว่า 15 ปี เล่าว่า ตนประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก และมีความสนใจอยากทำอาชีพเกษตรอย่างอื่น เพื่อให้มีรายได้ในช่วงหลังการทำนา จึงเลือกการเพาะลูกอ๊อดกบขาย เนื่องจากเลี้ยงง่าย สร้างรายได้สูง ซึ่งได้เลี้ยงมาอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จ และได้มีการถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรรายอื่น รวมถึงแนะนำให้เกษตรกรผู้สนใจหันมาเลี้ยงกันมากขึ้น หลังจากนั้นจึงได้เริ่มรวมกลุ่มแปลงใหญ่ฯ

ปี 2560 ปัจจุบันมีสมาชิกเกษตรกร 32 ราย พื้นที่เลี้ยงรวม 64 ไร่ สำหรับพื้นที่การเพาะเลี้ยงลูกอ๊อดในนา 1 ไร่ จะมีต้นทุนการเลี้ยงเฉลี่ย 61,200 บาท/ไร่ (1 ไร่ มีบ่อเพาะเลี้ยง 20 บ่อ ขนาด 4 x 15 เมตร) ผลผลิตลูกอ๊อดเฉลี่ย 60 กิโลกรัม/บ่อ (1 กิโลกรัม จะได้ลูกอ๊อดประมาณ 450 – 500 ตัว) เกษตรกรมีผลตอบแทน 96,000 บาท/ไร่ คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 34,800 บาท/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 80 บาท/กิโลกรัม โดยภายในระยะเวลา 1 ปี สามารถเพาะเลี้ยงลูกอ๊อดกบได้ถึง 5 ครั้ง คิดเป็นผลตอบแทนทั้งปีเกษตรกรจะมีรายได้สุทธิจากการขายลูกอ๊อดกบมีชีวิตเฉลี่ย 174,000 บาท/ปี/ราย ทั้งนี้ หากมองในภาพรวมของกลุ่มแปลงใหญ่ฯ ในระยะเวลา 1 ปี สามารถผลิตลูกอ๊อดได้ประมาณ 180 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 14.40 ล้านบาท ด้านการจำหน่ายผลผลิตลูกอ๊อดกบ ทางกลุ่มแปลงใหญ่ฯ จะจำหน่ายเพื่อการบริโภคหรือนำไปเลี้ยงเป็นกบเนื้อ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ ลูกอ๊อดกบมีชีวิตและแช่แข็ง

ผู้อำนวยการ สศท.3 กล่าวทิ้งท้ายว่า การเพาะเลี้ยงลูกอ๊อดกบ อีกทั้งยังเป็นอาชีพทางเลือกที่สร้างความสำเร็จ สร้างรายได้ให้เกษตรกร จากโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ทั้งนี้ เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจข้อมูลการผลิตลูกอ๊อดกบของกลุ่มแปลงใหญ่ลูกอ๊อดบ้านหนองแต้ สามารถสอบถามได้ที่ นายสมชัย วงษ์สุข ผู้จัดการแปลงใหญ่ฯ กลุ่มแปลงใหญ่ลูกอ๊อดบ้านหนองแต้ ตำบลนาขาม อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม หรือ โทร 09 8221 7904 ซึ่งยินดีให้คำปรึกษาแก่ทุกท่าน

กรุงเทพฯ 19 พฤษภาคม 2564 – เพราะเราเข้าใจเกษตรกร ที่ต้องเผชิญความไม่แน่นอนในการเพาะปลูก ปุ๋ยตรากระต่าย โดยบริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทย ขอมอบความมั่นใจ และความชัวร์แบบเด๊ะเด๊ะในเรื่องผลิตผลที่ดีด้วยปุ๋ยคุณภาพ ผ่านภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ “ปุ๋ยกระต่ายมาชัวร์” ตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาดปุ๋ยที่อยู่คู่เกษตรกรไทยและได้รับความไว้วางใจมาอย่างยาวนาน พร้อมเพิ่มความมั่นใจและเพิ่มศักยภาพการเพาะปลูกให้พี่น้องเกษตรกรไทย

ปุ๋ยตรากระต่ายเข้าใจอุปสรรคในการเพาะปลูกของเกษตรกร ไม่ว่าจะเรื่องปัจจัยทางธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้ รวมถึงปัจจัยด้านอื่นๆ ที่ล้วนส่งผลต่อผลิตผล เพื่อเพิ่มความมั่นใจและเพื่อให้ทุกการลงทุนในการเพาะปลูกผลิดอกออกผลอย่างสมบูรณ์ ปุ๋ยตรากระต่ายจึงคัดสรรสูตรปุ๋ยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตชั้นนำทั่วโลกให้เหมาะสมกับพืชแต่ละประเภท ทั้งข้าว พืชไร่ ผัก และไม้ผล การันตีด้วยระบบบริหารคุณภาพ ISO9001:2015 ตอกย้ำมาตรฐานการดำเนินงานในระดับสากล

ภาพยนตร์โฆษณา “ปุ๋ยกระต่ายมาชัวร์” ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตเกษตรกรในงานคอนเสิร์ตคาราวานมาชัวร์ ที่พวกเขาต่างต้องเจออุปสรรคในการประกอบอาชีพมากมาย รวมถึงยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆในการเพาะปลูก แต่พวกเขากลับต้องลุ้นรอคอยผลิตผลในทุกๆ ปี ว่าจะมีคุณภาพตามต้องการหรือไม่ แต่ไม่ว่าจะเจออุปสรรคใดๆ ปุ๋ยตรากระต่ายจะเป็นอีกตัวช่วยให้พี่น้องเกษตรกรมั่นใจมากขึ้น ว่าจะได้ผลิตผลดีมีคุณภาพ มาชัวร์ เด๊ะเด๊ะ

นายเทพวิทย์ เตียวสุรัตน์กุล ประธานคณะผู้ปฏิบัติการ บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวว่า “ด้วยความที่เจียไต๋เติบโตเคียงข้างพี่น้องเกษตรกรมายาวนานนับศตวรรษ เราได้มองเห็นปัญหาและอุปสรรคในการเพาะปลูก การลงทุนต้องได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าแบบไม่เสียเปล่า เราจึงมุ่งเน้นคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ทั้งปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ และเทคโนโลยีการเกษตรต่างๆ ที่ตอบโจทย์การเพาะปลูกทั้งพืชไร่ พืชสวน และนาข้าว เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้อย่างมั่นใจและได้ผลิตผลที่ดีมีคุณภาพ ต่อสู้กับความไม่แน่นอนได้ ทั้งนี้ เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงและเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงเพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคผลิตผลที่ดี สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของเจียไต๋ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งมอบนวัตกรรมการเกษตรด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ โดยภาพยนตร์โฆษณา “ปุ๋ยกระต่ายมาชัวร์” ชุดนี้ จะเป็นอีกแรงผลักดันให้พี่น้องเกษตรกรเพาะปลูกได้อย่างมั่นใจ ไม่ว่าจะเจออุปสรรคใดๆ ก็ตาม”

ติดตามรับชมภาพยนตร์โฆษณาปุ๋ยตรากระต่ายชุด “ปุ๋ยกระต่ายมาชัวร์” ที่จะออกอากาศทางโทรทัศน์ และรับชมผ่านช่องทางออนไลน์ที่ กรมวิชาการเกษตร กำชับผู้ส่งออกไทยเฝ้าระวังเชื้อโควิดติดไปกับผลไม้ เผยจีนมาตรการเข้มงวดตรวจหนัก แนะปฏิบัติตามแนวทางป้องการปนเปื้อนในโรงคัดบรรจุเคร่งครัด พร้อมดันผู้ส่งออกใช้บริการตรวจปล่อยสินค้าที่ด่านตงซิงและผิงเสียง แก้ปัญหารถติดสะสมหน้าด่านยอดนิยมโหย่วอี้กวน หลังจีนยืนยันไม่ขยายเวลาให้บริการเพิ่มจากเดิม

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทยที่ยังมีอัตราการตรวจพบผู้ติดเชื้อในประเทศสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรไทยได้โดยเฉพาะผลไม้ที่ขนส่งผ่านเส้นทางบกไปยังประเทศจีน เนื่องจากฝ่ายจีนมีมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 อย่างเข้มงวด โดยสินค้าผลไม้ที่ส่งออกมาจีนจะถูกตรวจกรดนิวคลิอิกเพื่อหาเชื้อโควิด-19 ในสินค้า รวมทั้งการตรวจหาเชื้อในคนขับรถสินค้า และการพ่นฆ่าเชื้อในสินค้า ดังนั้นกรมวิชาการเกษตรจึงขอย้ำเตือนผู้ประกอบการส่งออกของไทยในการควบคุม กำกับดูแลและป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 อย่างเข้มงวดตั้งแต่สวน โรงคัดบรรจุและขั้นตอนการขนส่งเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19 ติดไปกับสินค้า ซึ่งในขณะนี้จีนได้ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้เป็นอย่างมาก หากตรวจพบอาจนำไปสู่การระงับการนำเข้าสินค้าผลไม้จากไทยได้

ทั้งนี้ ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรก็ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับโรงคัดบรรจุผลไม้ให้ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ โดยยึดตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) และ FAO ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่ทางจีนให้การยอมรับและแนะนำให้ประเทศคู่ค้าปฏิบัติด้วยเช่นกันเพื่อควบคุมสุขอนามัยของพนักงานและสิ่งแวดล้อมในสถานที่ผลิต โดยกรมวิชาการเกษตรได้จัดทำเอกสารดังกล่าวทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาจีนส่งให้สำนักงานศุลกากรของจีนพร้อมกับยืนยันว่าไทยได้ให้ความสำคัญกับการควบคุมเชื้อโควิด-19 ในผลไม้ส่งออกตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เพื่อตอกย้ำให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยของผลไม้ไทย

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า นอกจากประเด็นดังกล่าวแล้วขอแจ้งเตือนให้ผู้ส่งออกของไทยวางแผนและบริหารจัดการเวลาในการแจ้งนำเข้าสินค้าผลไม้ที่ด่านนำเข้าของจีนให้ทันต่อเวลา เพื่อไม่ให้เกิดการตกค้างของผลไม้ที่หน้าด่าน โดยเฉพาะด่านโหย่วอี้กวนซึ่งเป็นด่านนำเข้าผลไม้ทางบกที่ผู้ส่งออกของไทยนิยมไปใช้บริการจำนวนมากทำให้เกิดปัญหารถติดสะสมที่หน้าด่านต้องใช้ระยะเวลารอคิวตรวจปล่อยสินค้าค่อนข้างนานส่งผลกระทบต่อคุณภาพผลไม้ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ของไทยได้เจรจากับกระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานศุลกากรของจีน

เพื่อขอขยายเวลาทำการของด่านโหย่วอี้กวนจากเดิมเวลา 09.00-19.00 น. เป็นเวลา 09.00-21.00 น. แต่ได้รับแจ้งจากจีนว่าไม่สามารถดำเนินการให้ได้ เนื่องจากได้เปิดด่านใหม่ตงซิงเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้กับฝ่ายไทยอย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่วันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา ดังนั้นจึงขอย้ำเตือนผู้ส่งออกให้แก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนไปใช้เส้นทางด่านรถไฟผิงเสียงและด่านตงซิง ซึ่งทั้ง 2 ด่านดังกล่าวมีศักยภาพเพียงพอและใช้เวลารวดเร็วในการตรวจปล่อยสินค้า รวมทั้งสามารถรองรับสินค้านำเข้าได้จำนวนมาก

“แม้ที่ผ่านมาแม้จีนจะยังไม่เคยตรวจพบปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19 ในสินค้าเกษตรจากไทยแต่ก็อยากจะเน้นย้ำให้ผู้ส่งออกให้ความสำคัญและปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19 ในโรงคัดบรรจุซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่จีนแนะนำให้ประเทศคู่ค้าปฏิบัติด้วยเช่นกัน รวมทั้งขอให้ผู้ส่งออกปรับเปลี่ยนไปใช้เส้นทางด่านนำเข้าด่านตงซิงและผิงเสียงเพื่อให้เกิดความคล่องตัวต่อการส่งออกและไม่กระทบกับคุณภาพสินค้าผลไม้ไทยที่ต้องรอคิวการตรวจปล่อยสินค้านาน ทั้งนี้ แต่เดือนมกราคม – เมษายน 2564

ไทยได้ส่งออกผลไม้ไปจีนแล้วจำนวน 532,262 ตัน สมัครพนันออนไลน์ รวมมูลค่า 34,453 ล้านบาท โดยผลไม้ไทยที่จีนนำเข้ามากสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ ทุเรียน 193,778 ตัน มูลค่า 23,585 ล้านบาท ลำไย 188,844 ตัน มูลค่า 7,993 ล้านบาท มะพร้าวอ่อน 102,110 ตัน มูลค่า 1,940 ล้านบาท สับปะรดปอกเปลือก 16,309 ตัน มูลค่า 102 ล้านบาท และขนุนปริมาณ 12,289 ตัน มูลค่า 172 ล้านบาท” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

มติที่ประชุมมอบหมายให้คณะทำงานฯ ปรับปรุงแผนปฏิบัติ

การขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยแบ่งกลุ่มคนภาคเกษตรในอนาคตของประเทศไทย ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง/กลุ่มพื้นฐาน/กลุ่มอนุรักษ์ 2) กลุ่มคนที่ทำเกษตรแปรรูป 3) กลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร/ผู้บริโภค และ 4) กลุ่มนักวิชาการ ภาคประชาสังคม (NGO) เพื่อจัดทำแผนพัฒนากำลังคนภาคเกษตรในอนาคตต่อไป

ผลการคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติปะจำปี 2564 ออกมาแล้ว เกษตรกรคนเด่นได้รับรางวัลตามคาดหมาย ฮือฮาปีนี้เกษตรกรเลี้ยงควายมาแรงแข่งโควิด-19 เพราะเป็นอาชีพยอดฮิต และแล้วตัวแทนเกษตรกรเลี้ยงควาย “พรหมพิริยะ สอนศิริ” จากปราจีนบุรี แซงหน้าเกษตรกรเลี้ยงปศุสัตว์อื่นๆ จนคว้ารางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติไปครอง

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีนโยบายให้ส่วนราชการในสังกัดดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่น สาขาอาชีพ/ประเภทที่กำหนดเป็นเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณ และเผยแพร่ผลงานดีเด่นให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จัก ยึดถือเป็นแบบอย่างในแนวทางการปฏิบัติงานด้านการเกษตร โดยในปี 2564 นี้ มีเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่น ที่ได้รับการคัดเลือก ประกอบด้วย เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 16 สาขาอาชีพ สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 12 กลุ่ม สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 6 สหกรณ์ และปราชญ์เกษตรแห่งแผ่นดิน จำนวน 3 สาขา ดังต่อไปนี้

เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 16 สาขาอาชีพ ได้แก่ 1) อาชีพทำนา ได้แก่ นายศักดิ์ดา เขตกลาง จ.ร้อยเอ็ด 2) อาชีพทำสวน ได้แก่ นายยงยุทธ ศรีจินดา จ.สมุทรสาคร 3) อาชีพทำไร่ ได้แก่ นายสุทธิ ที่หมาย จ.ระยอง 4) อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ นายวีระชัย ก้องพนาไพรสณฑ์ จ.ตาก 5) อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้แก่ นางจงรักษ์ พลายงาม จ.ศรีสะเกษ 6) อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายพรหมพิริยะ สอนศิริ จ.ปราจีนบุรี 7) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นางเพียงใจ ต้นสกุลประเสริฐ จ.อ่างทอง 8)

อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ได้แก่ นายจรูญ ทรัพย์ศิริ จ.สมุทรสาคร 9) อาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ ได้แก่ นายกำพล สร้อยแสง จ.ราชบุรี 10) อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นายปริญญา ดรุณศรี จ.สมุทรสงคราม 11) สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ นางสำรวย บางสร้อย จ.ร้อยเอ็ด 12) สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ นายวิเชียร บุญรอด จ.ราชบุรี 13) สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช ได้แก่ นายอำนาจ จันทรส จ.จันทบุรี 14) ที่ปรึกษายุวชนเกษตรกร ได้แก่ นายเผ่า พันธุภา จ.กาฬสินธุ์ 15) สมาชิกกลุ่มยุวชนเกษตรกร ได้แก่ เด็กชายณัฐพล ชมวิระ จ.กาฬสินธุ์ และ 16) สาขาเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ นายสุธรรม จันทร์อ่อน จ.นครปฐม

สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 จำนวน 12 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรกรทำนา ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำนากุดประทาย จ.อุบลราชธานี 2) กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมดงบัง จ.ชัยภูมิ 3) กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์เกาะแกด จ.อุบลราชธานี 4) กลุ่มเกษตรกรทำประมงหรือกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ สมาคมประมงพื้นบ้านหัวไทร จ. นครศรีธรรมราช 5) กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนร้านคนจับปลา จ.สตูล จ.สตูล 6)

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรนายาวสามัคคี จ.ฉะเชิงเทรา 7) กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม จ.ชลบุรี 8) กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลานตาบัว จ.กำแพงเพชร 9) สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานพลังดอนตะโก จ.นครศรีธรรมราช 10) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลศรีดอนมูล จ.เชียงราย 11) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภท ข้าวอื่น ๆ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนข้าวอินทรีย์ ตำบลหนองห้าง จ.กาฬสินธุ์ และ 12) วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านป่าศรี จ.ปัตตานี

สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 จำนวน 6 สหกรณ์ ได้แก่ 1) สหกรณ์การเกษตร ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรไชยา จำกัด จ.สุราษฎร์ธานี 2) สหกรณ์โคนม ได้แก่ สหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์กพัฒนานิคม จำกัด จ.ลพบุรี 3) สหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขพัทลุง จำกัด จ.พัทลุง 4) สหกรณ์ร้านค้า ได้แก่ ร้านสหกรณ์พนักงานโรงพยาบาลบ้านแพ้ว จำกัด จ.สมุทรสาคร 5) สหกรณ์บริการ ได้แก่ สหกรณ์บริการไออาร์พีซี จำกัด จ.ระยอง และ 6) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ได้แก่ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนรวมน้ำใจท่ายาง จำกัด จ.เพชรบุรี

ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2564 จำนวน 3 สาขา ได้แก่ 1) สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ นายนายสุชล สุขเกษม 2) สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ได้แก่ นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล และ 3) สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ได้แก่ นายสิทธิพงษ์ อรุณรักษ์

สำหรับในปี 2564 นี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนั้น ไม่สามารถดำเนินการจัดได้ตามปกติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ผู้แทนสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ผู้แทนสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปีพุทธศักราช 2563 – 2564 จำนวน 76 คน เข้ารับโล่รางวัลพระราชทานเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรฯ จะกำหนดวันและเวลาที่เหมาะสมอีกครั้ง

อนึ่ง เมื่อพิจารณาตามรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกก็จะพบว่าแต่ละรายชื่อล้วนมีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ผ่านการคัดเลือกมาตามขั้นตอนของหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ แต่รายชื่อหนึ่งที่ขอหยิบยกมากล่าวถึง คือ นายพรหมพิริยะ สอนศิริ เกษตรกรผู้เลี้ยงควาย “สอนศิริฟาร์มควายไทย” ฟาร์มควายไทยขนาดใหญ่กว่า 300 ตัว ตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี เกษตรกรคนนี้มีประวัติน่าสนใจ มุ่งมั่นเลี้ยงควายหลังจากลาออกจากงานประจำ และเดินหน้าคัดสรรควายลักษณะดีเข้าประจำคอก โดยที่คอกของเขาเลี้ยงระบบฟาร์มปิด หรือระบบโรงเรือน มีวิธีการจัดการที่ครบวงจร

ความน่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตจากการเลี้ยงควาย เช่น น้ำนมควายพาสเจอร์ไรส์ และนำไปแปรรูปเป็นโยเกิร์ต พุดดิ้ง ฯลฯ อีกทั้งความมุ่งมั่นที่จะให้เกิดขึ้นหลังโควิด 19 คือการทำฟาร์มควายไทยเป็นฟาร์มเพื่อการท่องเที่ยวอีกด้วย

“รู้สึก ยินดี และดีใจอย่างที่สุด..จะพัฒนานวัตกรรมใหม่ในการเลี้ยงสัตว์ต่อไป ซึ่งจะปรากฏขึ้นอีกมากมาย และเป็นแนวทางที่สามารถประกอบอาชีพหลักได้อย่างยั่งยืนและอนุรักษ์สัตว์พันธุ์พื้นเมืองไว้ให้คู่ประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน” นายพรหมพิริยะ สอนศิริ กล่าวกับ “เกษตรก้าวไกล” เมื่อ 30 เมษายน 2564 และอาชีพเลี้ยงควายไทยถือเป็นอาชีพหนึ่งที่มาแรงในยุคโควิด-19 เพราะว่ามีผู้คนที่ทำงานประจำในเมืองจำนวนมากที่เดินทางกลับบ้านเกิดมาทำการเกษตรแบบผสมผสานและการเลี้ยงควายไทยถือเป็นอาชีพยอดฮิตก็ว่าได้ ท่านที่สนใจเรื่องราวของเกษตรกรผู้เลี้ยงควายที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ สามารถ

รศ. ดร. เฉลิมพล สุวรรณภักดี ผู้เชี่ยวชาญพืชสกุลหนามแน่ (Thunbergia) อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ดร. สมราน สุดดี นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช ดร.ขวัญใจ รอสูงเนิน นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูลังกา และ Dr. David Middleton ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์แห่งสวนพฤกษศาสตร์สิงคโปร์ ร่วมกันตีพิมพ์พืชชนิดใหม่ของโลก “หนามแน่ขาวอัมไพ” ในวารสารนานาชาติ Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ 49(1) หน้าที่ 57-62 ปี พ.ศ. 2564

รศ. ดร. เฉลิมพล สุวรรณภักดี เปิดเผยว่า “หนามแน่ขาวอัมไพ” พืชชนิดใหม่นี้ ค้นพบโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดนครพนม ซึ่งทำการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (smart patrol) ในพื้นที่อุทยานฯ ได้พบไม้พุ่มกึ่งเลื้อยดอกสวยงามไม่ทราบชนิดบริเวณป่าดิบแล้งริมลำธาร ความสูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร และได้ประสานส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช ติดตามเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ โดยดร.สมราน สุดดี จึงได้ประสานมาที่ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบ พบว่า ไม้พุ่มกึ่งเลื้อยดอกสวยงาม ดังกล่าว เป็นพืชชนิดใหม่ของโลก

“หนามแน่ขาวอัมไพ” เป็นพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลหนามแน่ (Thunbergia) วงศ์ต้อยติ่ง (Acanthaceae) มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า ThunbergiaamphaiiSuwanph., K. Khamm., D. J. Middleton & Suddee คำระบุชนิด “amphaii” ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นายอัมไพ ผาสีดา เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ภูลังกา ผู้ค้นพบพืชชนิดนี้ระหว่างทำการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ โดยมีชื่อไทยว่า “หนามแน่ขาวอัมไพ” ตามลักษณะสีดอกที่ออกขาวและตามชื่อผู้ค้นพบ ทั้งนี้ ตัวอย่างต้นแบบเก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ “หนามแน่ขาวอัมไพ” เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ลำต้นมีขนตามข้อ มีร่องตามยาว 2 ร่อง ใบเรียงตรงข้าม รูปรี รูปขอบขนานแกมรูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3.5-5 ซม. ยาว 12-14 ซม. ปลายแหลม เรียวแหลม หรือยาวคล้ายหาง โคนรูปลิ่มหรือสอบเรียว ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 8-10 เส้น ปลายเชื่อมติดกันก่อนถึงขอบใบ ก้านใบแบนทางด้านบน มีขนสาก ช่อดอกคล้ายช่อซี่ร่ม ออกที่ปลายยอด ช่อละ 3-8 ดอก ใบประดับ 2 ใบ

รูปใบหอกแกมรูปแถบ ยาวประมาณ 2 มม. ใบประดับย่อย 2 ใบ สีขาวถึงขาวครีม รูปไข่แกมรูปรีถึงรูปไข่ กว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 1.5 ซม. โคนเชื่อมติดกันมากกว่าครึ่งของความยาว ปลายแยก มี เส้นตามยาว 7 เส้น กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกขนาดเกือบเท่ากัน 5 แฉก กลีบดอกสมมาตรด้านข้าง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีขาวถึงขาวครีม ด้านในบริเวณปากหลอดมีแต้มสีเหลืองหรือน้ำตาล ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก แยกเป็นกลีบบน 2 แฉก กลีบล่าง 3 แฉก เกสรเพศผู้ 4 เกสร แยกเป็น 2 คู่ยาวไม่เท่ากัน ก้านชูอับเรณูมีขนต่อมหนาแน่น อับเรณูโคนมีขน ผลแบบผลแห้งแตก โคนป่อง ปลายแหลม มีขนสั้น

มนัญญา สั่งกรมวิชาการเกษตร เสริมคนเพิ่มเวลาทำงานเต็มพิกัดดันส่งออกทุเรียนไทยไปจีนลื่นไหลไม่ถึง 4 เดือนยอดขายพุ่งแล้วกว่า 2 แสนตัน มูลค่าทะลุ 2 หมื่นล้านบาท เผยเป็นปีทองผลไม้ไทยจีนอ้าแขนรับเต็มที่ประกาศเพิ่มทะเบียนสวนทุเรียน GAP และโรงคัดบรรจุ GMP ในเว็บไซต์ พร้อมเคลียร์เส้นทางเพิ่มด่านตงซิงนำเข้าฉลุยอีก 1 ด่านไฟเขียว 29 เมษายนนี้

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่าในปี 2564 นี้นับเป็นปีทองของการส่งออกทุเรียนไทยไปจีนเนื่องจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันผลักดันให้มีการส่งออกผลผลิตที่มีคุณภาพให้เป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้าของจีนอย่างเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งการดำเนินงานในส่วนที่เป็นภารกิจของกรมวิชาการเกษตรได้รับนโยบายจากนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชของกรมวิชาการเกษตรทั่วประเทศเพื่อปฏิบัติงานตรวจสอบและออกใบรับรองสุขอนามัยพืชในพื้นที่ภาคตะวันออกกว่า 40 คน

และเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานพื้นที่ภาคตะวันออกของกรมวิชาการเกษตรทั้งหมดให้ร่วมกันปฏิบัติงานอำนวยความสะดวกสนับสนุนการส่งออกให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีความคล่องตัวมากขึ้นทั้งการตรวจสอบความแก่-อ่อนของทุเรียนควบคู่ไปกับการตรวจสอบศัตรูพืชและการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเชื้อโควิด-19 ของโรงคัดบรรจุ ตลอดจนตรวจสอบการใช้ใบรับรอง GAP ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการสวมสิทธิ์ รวมทั้งได้ขยายระยะเวลาการปฏิบัติงานตรวจปิดตู้ทุเรียนจากเดิม 19.00 น.เป็น 23.00 น.ทุกวัน ทำให้ตั้งแต่เริ่มต้นฤดูกาลผลิต จนถึงขณะนี้สามารถส่งผลผลิตทุเรียนส่งไปจีนได้ปริมาณ 12,000 ตู้ หรือประมาณ 216,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 21,600 ล้านบาท(ราคาเฉลี่ย 100 บาท/กก.)

โดยผลผลิตทุเรียนจะออกมากที่สุดระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม ซึ่งจากการที่กรมวิชาการเกษตรได้เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่เข้าไปปฏิบัติงานและขยายเวลาในการปิดตู้ทำให้สามารถตรวจรับรองการส่งออกได้เพิ่มขึ้นโดยในช่วงระว่างวันที่ 20-29 เมษายน 2564 ผลผลิตทุเรียนที่ส่งออกไปจีน มีจำนวนถึง 4,974 ชิปเม้นท์มากกว่าปี 2563 ในช่วงเวลาเดียวกันที่มีการส่งออก 3,298 ชิปเม้นท์ ซึ่งเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 75 ทั้งนี้ราคารับซื้อทุเรียนหมอนทอง ณ วันที่ 30 เม.ย.64 อยู่ที่ 90-100 บาท/กก.

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ตลาดจีนถือเป็นตลาดส่งออกผลไม้ที่สำคัญของไทยโดยอนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากประเทศไทยมากกว่าถึง 22 ชนิด สร้างรายได้ให้แก่ประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท / ปี ดังนั้นคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราสามารถรักษาตลาดไว้ได้ โดยไทยและจีนมีข้อตกลงเงื่อนไขการนำเข้าและส่งออกผลไม้ที่ต้องปฏิบัติร่วมกันคือผลผลิตจะต้องมาจากสวนที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP และคัดบรรจุในโรงงานผลิตสินค้าพืชที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามมาตรฐาน GMP โดยกรมวิชาการเกษตรได้จัดส่งข้อมูลทะเบียนสวนทุเรียนที่ได้รับการรับรองทั้งหมดส่งให้จีนประกาศในเว็บไซต์ของจีนแล้ว รวมจำนวนทั้งสิ้น 38,767 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มีจำนวน 30,076 ราย ส่วนโรงงานคัดบรรจุ GMP ที่ได้แลกเปลี่ยนทะเบียนและประกาศรายชื่อในเว็บไซต์ของจีนแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 1,587 โรงงาน

“ทั้งนี้ที่ผ่านมาจีนได้เปิดด่านอนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากไทยได้จำนวน 3 ด่านคือ ด่านโม่หัน ด่าน โหย่วอี้กวน และด่านรถไฟผิงเสียง แต่ในขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งข่าวดีว่าสำนักงานศุลกากรของจีน (GACC) ได้อนุญาตให้นำเข้าผลไม้สดของไทยที่ด่านตงซิงได้แล้วโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2564 เป็นต้นไป ซึ่งถือเป็นข่าวดีที่ไทยได้รอคอยมาเป็นระยะเวลา 1 ปี ภายหลังจากที่กรมวิชาการเกษตรและสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้ประสบความสำเร็จในการเจรจา “ร่างพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างไทยและจีน” กับสำนักงานศุลกากรของจีนเมื่อเดือนเมษายน 2563 นำไปสู่การปลดล็อคเส้นทางการขนส่งผลไม้ไปจีนและไทยได้ด่านนำเข้าและส่งออกผลไม้ไปจีนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับผู้ส่งออกผลไม้ไปจีนช่วยแก้ปัญหารถติดสะสมบริเวณหน้าด่านโหย่วอี้กวน โดยเฉพาะในฤดูกาลส่งออกทุเรียนในขณะนี้” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

นางสาวศิริวรรณ นาคมุข นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอสวี เปิดเผยว่าจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดสวี ในพื้นที่ตำบลทุ่งระยะ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ได้รับผลกระทบในด้านการตลาดไม่สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ ด้วยสาเหตุหลักๆ ดังนี้

1.ตลาดส่วนใหญ่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว เช่น จังหวัดภูเก็ต กระบี่ ระนอง ฯลฯ ซึ่งจังหวัดเหล่านี้มีการประกาศระเบียบการเดินทางข้ามจังหวัด ทำให้นักท่องเที่ยวน้อย

2.ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ของทุกปี เป็นช่วงฤดูกาลที่ผลผลิตสับปะรดออกค่อนข้างมาก ทำให้มีสับปะรดที่รอจำหน่ายจำนวนมาก

3.ตลาดไทยในจังหวัดชุมพรค่อนข้างเงียบ เนื่องจากเกษตรกรส่งแผงร้านค้าริมทางถนนเพชรเกษม มีผู้คนหรือนักท่องเที่ยวเดินทางจำนวนน้อยและส่วนใหญ่ไม่แวะซื้อของฝากผลไม้ริมทางเพราะกลัวโควิด

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของสำนักงานเกษตรอำเภอสวี พบว่าสับปะรดสวีที่มีช่วงเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2564 ถึง 20 พฤษภาคม 2564 มีประมาณ 20,000 ผล (30 ตัน) โดยมีรายละเอียดการขายหน้าแปลง ดังนี้

สับปะรดผลขนาดจิ๋ว น้ำหนัก 0.5-0.9 กิโลกรัม ราคา 6 บาท ขนาดเล็กน้ำหนัก 1.0-1.4 กิโลกรัม ราคา 10 บาท ซึ่งสับปะรดจำนวน 2 ขนาดนี้คิดเป็นผลผลิตประมาณ 10 % ผลขนาดกลาง 1.5-1.7 กิโลกรัม ราคา 15 บาท มีประมาณ 20 % ผลขนาดใหญ่ 1.8-2.0 กิโลกรัม ราคา 20 บาท และขนาดจัมโบ้ 2.1 กิโลกรัมขึ้นไป ราคา 23 บาท ผลผลิต 2 ขนาดนี้ผลิตได้มากที่สุดประมาณ 70 %

“ผู้สนใจ สั่งซื้อได้จากเฟสบุ๊ค สับปะรดสวี จังหวัดชุมพร หรือ ติดต่อ นายเชาวลิต ถึงเสียบญวน ประธานกลุ่ม วสช.สับปะรดสวีตำบลทุ่งระยะ 0899948412 อย่าลืมมาช่วยกันอุดหนุนสินค้าจากเกษตรกรไทย เกษตรกรอยู่ได้ประเทศอยู่รอดครับ” นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร กล่าว

อนึ่ง สับปะรดสวี เป็นพันธุ์สับปะรดจากเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย โดยพระยาจรูญโภคากร อดีตเจ้าเมืองหลังสวน นำ เข้ามาปลูกครั้งแรกปลูกในพื้นที่อำเภอหลังสวน เมื่อ 100 ปีที่แล้ว ซึ่งชาวบ้านเรียกชื่อว่า สับปะรดฝรั่ง ต่อมาภายหลังมีการปลูกแพร่หลายในพื้นที่อำเภอสวี จนเป็นที่นิยมและเรียกกันต่อมาว่า “สับปะรดสวี” ซึ่งมีลักษณะผลเล็กทรงกระบอก น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม มีจุดเด่นตรงจุกตั้งยาวขึ้น ผลสุกมีเนื้อเหลือง กลิ่นหอม และรสหวานกรอบ แกนกินได้

ปัญหาทุเรียนอ่อนหรือตัดทุเรียนอ่อนบ้านเราพูดกันมานานมากแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ และนับวันจะมีให้เห็นมากจากโลกการสื่อสารที่ออกมาเปิดเผยกัน ซึ่งการที่จะแก้ไขได้ 100% ทุกคนทุกฝ่ายต้องช่วยกัน เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน เนื่องจากต้องยอมรับว่าทุเรียนเป็นพืชแห่งความหวังที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดมาหลายปีติดต่อกัน โดยตลาดหลักอยู่ที่ประเทศจีน จากตัวเลขส่งออกปี 2563 ที่ผ่านมาพบว่าจีนนำเข้าทุเรียนผลสดจากไทยปริมาณทั้งสิ้น 575,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าถึง 69,000 ล้านบาท เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วผู้รับผิดชอบหลายฝ่ายจึงออกมารณรงค์ไม่ให้มีการตัดทุเรียนอ่อน ซึ่งจะทำให้กลายเป็นจุดบอดหรืออุปสรรคอย่างหนึ่งที่จะเกิดขึ้นหากไม่ได้แก้ไขอย่างทันท่วงที

“เกษตรก้าวไกล” จึงขอนำข้อมูลเรื่อง 7 วิธีการสังเกตทุเรียนแก่ที่พร้อมตัด ตามที่กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำขึ้นมาเผยแพร่อีกครั้ง ดังนี้

สังเกตก้านผล ก้านผลจะแข็งและมีสีเข้มขึ้น เมื่อลูบจะรู้สึกสากมือ เมื่อจับก้านผลแล้วแกว่งผลทุเรียน จะรู้สึกว่าก้านผลทุเรียนยืดหยุ่นมากขึ้น ก้านผลบริเวณปากปลิงจะบวมโตเห็นรอยต่อชัดเจน
สังเกตหนาม ปลายหนามแห้งมีสีน้ำตาลเข้ม เปราะและหักง่าย ดังนั้นเมื่อมองจากด้านบนของผลจะเห็นหนามเป็นสีเข้ม หนามมีลักษณะกว้างออก ร่องหนามห่าง เวลาบีบปลายหนามเข้าหากันจะรู้สึกว่ายืดหยุ่น
สังเกตรอยแยกระหว่างพูผลทุเรียนที่แก่จัดจะสังเกตเห็นรอยแยกบนพูได้อย่างชัดเจน ยกเว้นบางพันธุ์ที่ปรากฏไม่เด่นชัด เช่น พันธุ์ก้านยาว
การชิมปลิง ผลทุเรียนที่แก่จัด เมื่อตัดขั้วผลหรือปลิงออกจะพบน้ำใสซึ่งไม่ข้นเหนียวเหมือนในทุเรียนอ่อนและเมื่อใช้ลิ้นแตะชิมดูจะมีรสหวาน
การเคาะเปลือกหรือกรีดหนาม เมื่อเคาะเปลือกผลทุเรียนที่แก่จัดจะมีเสียงดังหลวม ๆ เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างเปลือกและเนื้อภายในผล เสียงหนักหรือเบาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพันธุ์และอายุของต้นทุเรียน

การปล่อยให้ทุเรียนร่วง ปกติดอกทุเรียนแต่ละรุ่นในแต่ละต้นจะบานไม่พร้อมกันและมีช่วงต่างกันไม่เกิน 10 วัน ดังนั้นเมื่อมีผลทุเรียนในต้นเริ่มแก่ สุก และร่วงก็เป็นสัญญาณเตือนว่าผลทุเรียนที่เหลือในรุ่นนั้นแก่แล้วสามารถเก็บเกี่ยวได้
การนับอายุโดยนับอายุผลเป็นจำนวนวันหลังดอกบาน เช่น
พันธุ์ชะนี ใช้เวลา 100-105 วัน
พันธุ์กระดุม ใช้เวลา 90 ถึง100 วัน
พันธุ์ก้านยาว ใช้เวลา 120 ถึง 135 วัน
พันธุ์หมอนทอง ใช้เวลา 140 ถึง 150 วัน เป็นต้น

การนับวันหรืออายุของผลจะแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละปีและในแต่ละท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ เช่น ถ้าปีใดมีอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างสูง ผลทุเรียนจะแก่เร็วกว่าปีที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่าลุงเหนอเลือกแล้วเลือกเล่าก่อนตัดทุเรียนแก

วันนี้ (7 พ.ค. 64) นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการแถลงข่าว “ปิดจ๊อบส่งน้ำฤดูแล้ง พร้อมเดินหน้ารับมือฤดูฝนปี 64” ผ่านระบบ VDO Conference โดยมีนายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ดร.สุกันยาณี ยะวิญชาญ รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา และผู้แทนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมแถลง

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในการแถลงข่าวตอนหนึ่งว่า ขอให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความพร้อมทั้งในด้านเครื่องจักร เครื่องมือ และกำลังคน รวมถึงการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งได้มอบหมายให้กรมชลประทานกำหนดมาตรการจัดการน้ำและการรับมือฤดูฝนปี 2564 โดยกำชับให้คำนึงถึงการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และส่งเสริมการปลูกพืชฤดูฝนโดยใช้น้ำฝนเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำให้บริหารจัดการน้ำตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ให้มีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน ประสานงานกับทุกภาคส่วน บูรณาการการทำงานร่วมกัน และเน้นย้ำการสื่อสารกับพี่น้องเกษตรกรและพี่น้องประชาชน เพื่อสร้างความเข้าใจ และบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบที่อาจเกินขึ้น รวมถึงสามารถบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วย

ด้าน นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูแล้ง ปี 2563/2564 ที่ผ่านมากรมชลประทาน ได้ดำเนินการจัดสรรน้ำตามแผนที่วางไว้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร และประชาชน อีกทั้งมีการจ้างแรงงานชลประทานทั่วประเทศ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ถึงจำนวน 63,088 คน

สำหรับในช่วงฤดูฝนของปี 2564 มีปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง รวมทั้งสิ้น 447 แห่ง ทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 พฤษาคม รวมจำนวนกว่า 36,442 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่าง ทำให้มีความสามารถในการรองรับน้ำได้อีก ประมาณ 39,626 ล้าน ลบ.ม. พร้อมกันนี้ กรมชลประทานได้วางแผนการบริหารจัดการน้ำตามความต้องการใช้น้ำในแต่ละกิจกรรม ทั้งการอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศน์ การเกษตรและอุตสาหกรรม อย่างเพียงพอ

“นอกจากนี้ กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมในการรับมือและเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัย ด้วยการกำหนดพื้นที่ การกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม การกำหนดคนเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ และประจำพื้นที่เสี่ยง รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักรต่าง ๆ รวมจำนวนทั้งสิ้น 5,935 หน่วย ซึ่งกระจายอยู่ในแต่ละพื้นที่ให้เพียงพอ โดยพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม” อธิบดีกรมชลประทานกล่าว

ด้าน นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการของประเทศไทยนั้น คาดว่า เริ่มประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพ.ค. และสิ้นสุดประมาณกลางเดือนต.ค. 2564 ซึ่งต้องขอให้รอประกาศอย่างเป็นทางการของกรมอุตุนิยมวิทยาอีกครั้ง เพราะขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามระบบลมอยู่

“สำหรับการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนสะสมในปี 2564 คาดว่า จะมีปริมาณสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติของประเทศ และลักษณะของฤดูฝนในช่วงต้นนี้จากการวิเคราะห์พบว่า จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับปี 2551 ที่ผ่านมา ส่วนปริมาณฝนที่ตกลงมาตั้งแต่ช่วงเดือนม.ค.-เม.ย. ของปี 2564 พบว่า ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคเหนือและภาคกลางตอนบนมีปริมาณฝนตกสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ย

รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวต่อไปว่า สำหรับฤดูฝนของปี 2564 พบว่า ในช่วงกลางเดือนพ.ค.ถึงเดือนมิ.ย. จะมีปริมาณต่อเนื่องและมากขึ้น โดยมีปริมาณฝนตกในเกณฑ์ 40 – 60 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ และอาจมมีบางช่วงที่จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ด้วยอาจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวขึ้นบริเวณอ่างเบงกอลแล้วอาจทวีกำลังแรงเป็นพายุไซโคลน และเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ดังนั้นต้องขอให้ติดตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เพราะอาจจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้

“ขณะเดียวกันคาดว่าจะเกิด SBOBET สภาวะที่เรียกว่าฝนทิ้งช่วงในช่วงปลายเดือนมิ.ย.ถึงกลางเดือนก.ค. เนื่องด้วยร่องมรสุมจะเคลื่อนตัวไปพาดผ่านประเทศจีนตอนใต้ และช่วงเดือนนี้มรสุมจะอ่อนกำลังลง เพราะฉะนั้นปริมาณและการกระจายตัวของฝนจะลดลง ทำให้เกิดปัญหาต่อเกษตรกรได้ในเรื่องของการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อยู่นอกเขตชลประทาน”

สำหรับแนวทางการรับซื้อทุเรียนในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม

ล้งและพ่อค้าผู้ส่งออกตั้งราคารับซื้อแบบเหมาสวน ซึ่งมีการจัดแบ่งตามเกรดส่งออกตามมาตรฐาน GAP และ GMP ที่ประเทศจีนกำหนด ราคาอยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 130 – 190 บาท ทั้งนี้ ราคารับซื้อแบบเหมาสวนล่วงหน้า ทุเรียนเกรดมาตรฐานส่งออกเกรด AB ล้งรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 160 บาท เนื่องจากปีนี้กำลังซื้อจากจีนเพิ่มมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวหลังจากโควิด-19 ซึ่งนับว่าเป็นราคาที่อยู่ในเกณฑ์สูง

เกษตรกรพึงพอใจมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ประกอบกับความต้องการบริโภคทุเรียนในประเทศยังมีต่อเนื่อง เห็นได้จากจำนวนล้งที่รับซื้อทุเรียนมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปีนี้ผลผลิตทุเรียนได้รับความเสียหายเยอะช่วงก่อนเก็บผลผลิต เนื่องจากมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นทำให้ทุเรียนใกล้เก็บเกี่ยวพลัดหล่นจากต้นเสียหายจำนวนมาก จนผลิตไม่พอต่อความต้องการ ส่งผลให้ราคาทุเรียนพุ่งสูงขึ้นและยังคงอยู่ในระดับสูงต่ออีกปี

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ขอความร่วมมือเกษตรกรและผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับคุณภาพของทุเรียน และไม่ตัดทุเรียนอ่อนหรือด้อยคุณภาพออกจำหน่าย ซึ่งหากมีการลักลอบตัดทุเรียนอ่อนจะมีบทลงโทษตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมถึงการยึดใบ GAP ของเกษตรกร และใบ GMP ของผู้ประกอบการด้วย

เมื่อวันที่ 19 เมษายน เวลา 18:09 น. นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัวใช้ชื่อ..“พิเชษฐ์ วิริยะพาหะ” “เป็นข้าราชการกินเงินเดือนที่มาจากเงินภาษีของชาวบ้าน พึงระลึกเสมอว่า ต้องทำงานเพื่อชาวบ้าน” เรื่องการการกำหนดพื้นที่เหมาะสมในการปลูกกัญชงว่า “กรมวิชาการเกษตรร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน ได้กำหนด Zoning พื้นที่สำหรับปลูกกัญชง ออกมาสำหรับเป็นข้อมูลในเบื้องต้นแล้วครับ ในภาพรวมเป็นพื้นที่เหมาะสมสูง (S1)จำนวน 6.69 ล้านไร่ พื้นที่เหมาะสมปานกลาง(S2) จำนวน 38.22 ล้านไร่ สำหรับรายละเอียดในรายพื้นที่จะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไปครับ”

เพียงข้อความเท่านี้กับภาพแผนที่ประเทศไทยที่กำหนด Zoning หรือพื้นที่ที่เหมาะสมกับการการปลูกกัญชง จำนวน 5 ภาพ ก็มีคนกดไลท์ 318 คน แสดงความคิดเห็น 17 รายการ แชร์ 81 ครั้ง ตัวอย่างความคิดเห็นส่วนใหญ่จะแสดงถึงพื้นที่ของตนว่าอยู่ในเกณฑ์หรือไม่ แต่ก็มีความคิดเห็นส่วนหนึ่งที่น่าจะนำมาขยายผลหรือต้องตอบให้แน่ชัด เช่น ขอทราบเป็นความรู้หน่อยครับ ใช้เกณฑ์อะไรมาวัดและตัดสินครับ”, “พื้นที่s1 ไม่น่าปลูกได้ไม่มีเอกสารสิทธิ์”, “จันทบุรี ไม่เหมาะสมกับการปลูกลำไย เช่นเดียวกัน อ.ฝาง อ.ไชยปราการ เชียงใหม่ ไม่เหมาะสมกับการปลูกส้ม (ดินแดงสวยมาก) เหมาะสมปลูกมังคุดกับเงาะ ฉะนั้น อย่าเชื่อทั้งหมดครับ” ฯลฯ

ตามรายละเอียดภาพที่กำหนดพื้นที่เหมาะสมนั้น จะแบ่งเป็น 5 ภาค คือภาคเหนือมีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 4,085,864 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 1,849,768 ไร่ ภาคตะวันออก มีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 200 ,499 ไร่ ภาคกลางมีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 547,412 ไร่ ภาคใต้มีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 7,274 ไร่ รวมพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) จำนวน 6.69 ล้านไร่ พื้นที่เหมาะสมปานกลาง(S2) จำนวน 38.22 ล้านไร่ (รายละเอียดเพิ่มเติมขอให้ตรวจสอบจากภาพแผนที่)

อนึ่ง จากการติดตามข้อมูลของ “เกษตรก้าวไกล” พบว่าการกำหนดพื้นที่เหมาะสมสูงดังกล่าวจะเป็นการกำหนดพื้นที่เหมาะสมของพืชเศรษฐกิจตามภารกิจของกรมพัฒนาที่ดิน ภายใต้นโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจะมีการการกำหนดแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ (Agri-Map Online) ซึ่งกรณีของกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกที่อยู่ในความสนใจจึงได้กำหนด Zoning ออกมาในช่วงเวลานี้ และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรผู้สนใจปลูกจะได้รู้ว่าพื้นที่โซนไหนเหมาะสมไม่เหมาะสมเพียงใด แต่ในความเป็นจริงเทคโนโลยีการเพาะปลูกก็ได้พัฒนาไปมาก เช่น การปลูกในภาชนะ หรือปลูกในโรงเรือน เป็นต้น

เมื่อวันที่ 19 เมษายน เวลา 18:09 น. นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัวใช้ชื่อ..“พิเชษฐ์ วิริยะพาหะ” “เป็นข้าราชการกินเงินเดือนที่มาจากเงินภาษีของชาวบ้าน พึงระลึกเสมอว่า ต้องทำงานเพื่อชาวบ้าน” เรื่องการการกำหนดพื้นที่เหมาะสมในการปลูกกัญชงว่า “กรมวิชาการเกษตรร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน ได้กำหนด Zoning พื้นที่สำหรับปลูกกัญชง ออกมาสำหรับเป็นข้อมูลในเบื้องต้นแล้วครับ ในภาพรวมเป็นพื้นที่เหมาะสมสูง (S1)จำนวน 6.69 ล้านไร่ พื้นที่เหมาะสมปานกลาง(S2) จำนวน 38.22 ล้านไร่ สำหรับรายละเอียดในรายพื้นที่จะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไปครับ”

เพียงข้อความเท่านี้กับภาพแผนที่ประเทศไทยที่กำหนด Zoning หรือพื้นที่ที่เหมาะสมกับการการปลูกกัญชง จำนวน 5 ภาพ ก็มีคนกดไลท์ 318 คน แสดงความคิดเห็น 17 รายการ แชร์ 81 ครั้ง ตัวอย่างความคิดเห็นส่วนใหญ่จะแสดงถึงพื้นที่ของตนว่าอยู่ในเกณฑ์หรือไม่ แต่ก็มีความคิดเห็นส่วนหนึ่งที่น่าจะนำมาขยายผลหรือต้องตอบให้แน่ชัด เช่น ขอทราบเป็นความรู้หน่อยครับ ใช้เกณฑ์อะไรมาวัดและตัดสินครับ”, “พื้นที่s1 ไม่น่าปลูกได้ไม่มีเอกสารสิทธิ์”, “จันทบุรี ไม่เหมาะสมกับการปลูกลำไย เช่นเดียวกัน อ.ฝาง อ.ไชยปราการ เชียงใหม่ ไม่เหมาะสมกับการปลูกส้ม (ดินแดงสวยมาก) เหมาะสมปลูกมังคุดกับเงาะ ฉะนั้น อย่าเชื่อทั้งหมดครับ” ฯลฯ

ตามรายละเอียดภาพที่กำหนดพื้นที่เหมาะสมนั้น จะแบ่งเป็น 5 ภาค คือภาคเหนือมีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 4,085,864 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 1,849,768 ไร่ ภาคตะวันออก มีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 200 ,499 ไร่ ภาคกลางมีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 547,412 ไร่ ภาคใต้มีพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) 7,274 ไร่ รวมพื้นที่เหมาะสมสูง (s1) จำนวน 6.69 ล้านไร่ พื้นที่เหมาะสมปานกลาง(S2) จำนวน 38.22 ล้านไร่ (รายละเอียดเพิ่มเติมขอให้ตรวจสอบจากภาพแผนที่)

สำหรับการแสดงความคิดเห็นทั้งหมดยังไม่ได้รับการตอบกลับใดๆ แต่อย่างไรก้ดีในข้อความท้ายโพสต์อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้บอกไว้ว่า “…สำหรับรายละเอียดในรายพื้นที่จะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไปครับ”

อนึ่ง จากการติดตามข้อมูลของ “เกษตรก้าวไกล” พบว่าการกำหนดพื้นที่เหมาะสมสูงดังกล่าวจะเป็นการกำหนดพื้นที่เหมาะสมของพืชเศรษฐกิจตามภารกิจของกรมพัฒนาที่ดิน ภายใต้นโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจะมีการการกำหนดแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ (Agri-Map Online) ซึ่งกรณีของกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกที่อยู่ในความสนใจจึงได้กำหนด Zoning ออกมาในช่วงเวลานี้ และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรผู้สนใจปลูกจะได้รู้ว่าพื้นที่โซนไหนเหมาะสมไม่เหมาะสมเพียงใด แต่ในความเป็นจริงเทคโนโลยีการเพาะปลูกก็ได้พัฒนาไปมาก เช่น การปลูกในภาชนะ หรือปลูกในโรงเรือน เป็นต้น

นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ภาคใต้เป็นแหล่งผลิตไม้ผลที่สำคัญของประเทศไทย ลำดับ 2 รองจากภาคตะวันออก สถานการณ์ การผลิตผลไม้ภาคใต้ ในปี 2564 (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) จากการประชุมรอบแรก พบว่า มีพื้นที่ปลูกรวม 1,079,728 ไร่ แยกเป็น ทุเรียน 628,689 ไร่ มังคุด 242,522 ไร่ เงาะ 73,470 ไร่ และลองกอง 135,047 ไร่ มีเนื้อที่ให้ผลผลิตแล้ว 899,120 ไร่ จำแนกเป็น ทุเรียน 465,714 ไร่ มังคุด 228,814 ไร่ เงาะ 71,340 ไร่ ลองกอง 133,225 ไร่

ปริมาณผลผลิตรวมทั้งสิ้น 871,379 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 20.76 หรือเกือบ 1.5 แสนตัน (ปี 2563 ผลผลิตรวม 721,590 ตัน) จำแนกเป็นทุเรียน 609,813 ตัน มังคุด 155,538 ตัน เงาะ 55,047 ตัน และลองกอง 48,417 ตัน ซึ่งฤดูกาลเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม โดยผลผลิตส่วนใหญ่จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนสิงหาคม ยกเว้นลองกองออกมากในช่วงเดือนกันยายน ปีนี้ผลผลิตทุเรียนเพิ่มขึ้น ประมาณ 9 หมื่นตัน เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้นประมาณ 27,700 ไร่ (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2564) สำหรับ มังคุด เงาะ และลองกอง แม้ว่าพื้นที่ให้ผลจะลดลง แต่ผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากสภาพอากาศค่อนข้างแล้งติดต่อกันระยะเวลาหนึ่งแต่ปีนี้ฝนมาเร็วกว่าปีก่อน ทำให้โอกาสออกดอกและติดผลมากขึ้น แต่ก็ต้องประเมินติดตามสถานการณ์ทุกระยะอย่างใกล้ชิด

สำหรับสถานการณ์ภาพรวมไม้ผลทั้ง 4 ชนิด ขณะนี้พบว่า ทุเรียน ออกดอกแล้วประมาณ ร้อยละ 75 ผลผลิตที่จะเก็บเกี่ยวในช่วงแรกเป็นทุเรียนพันธุ์เบา และทุเรียนที่ใช้สารกระตุ้นการออกดอก ซึ่งเกษตรกรทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิต ได้ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม และสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวปลายเดือนตุลาคม 2564 โดยผลผลิตจะออกชุกช่วงปลายเดือนกรกฎาคมต่อเนื่องถึงเดือนสิงหาคม 2564 มังคุด ปีนี้ออกดอกล่าช้าเนื่องจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ส่งผลให้ออกดอกเพียงร้อยละ 10 แต่คาดว่าปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว

ขณะนี้อยู่ในระยะปากนกแก้ว และระยะคาบไข่ มีดอกบาน และผลเล็กเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มังคุดมีหลายรุ่น เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เล็กน้อยตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม และจะเก็บเกี่ยวได้มากที่สุดช่วงเดือนสิงหาคม 2564 ด้านลองกอง ขณะนี้ยังออกดอกน้อยมาก ปีนี้การพัฒนาช่อดอกยืดยาวได้ดีกว่าปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะออกดอกมากในช่วงปลายเมษายนถึงพฤษภาคม 2564 เมื่อมีฝนตกกระตุ้นช่วงดังกล่าว ซึ่งเกษตรกรจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม 2564 และจะเก็บเกี่ยวได้มากที่สุดช่วงเดือนกันยายน 2564 ส่วนเงาะ ออกดอกเพียงร้อยละ 11 เท่านั้น ส่วนใหญ่อยู่ในระยะตั้งช่อ จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ช่วงมิถุนายนและจะเก็บเกี่ยวได้มากช่วงกลางเดือนกรกฎาคมต่อเนื่องถึงเดือนกันยายน

นายสุพิท กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการผลักดัน การบริหารจัดการผลไม้ โดยใช้มาตรการเชิงรุก มีการประชุมวางแผนจัดทำข้อมูล โดยการสำรวจข้อมูลการผลิตไม้ผลตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และรวบรวมเป็นระดับภาค ตั้งแต่เริ่มต้นฤดูกาล การคาดการณ์ผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด เพื่อจัดทำแผนรองรับ และรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงคุณภาพผลผลิต การขอรับรองคุณภาพมาตรฐาน GAP โดยผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)

รวมไปถึงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ กลุ่มเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการคุณภาพผลผลิต โดยเชื่อมโยงกับการตลาดทั้งในและต่างประเทศ คาดกว่าอีกประมาณ 2-3 เดือนหลังจากนี้สถานการณ์การระบาดของ Covid 19 อาจจะเริ่มคลี่คลาย ผลผลิตจะทยอยออกสู่ตลาด จึงต้องเร่งส่งเสริมการตลาดเพื่อกระจายผลไม้คุณภาพไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั้งนี้ได้จัดประชุมเชื่อมโยงเกษตรกร พ่อค้า และผู้ประกอบการเป็นระยะ เช่น การเชื่อมโยงเครือข่ายมังคุดซึ่งดำเนินการไปแล้ว 1 ครั้ง และจัดเป็นครั้งที่ 2 ในเดือนพฤษภาคมนี้ การเชื่อมโยงเครือข่ายทุเรียน และการพัฒนาศูนย์คัดแยก การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

วันนี้ (24 เมษายน 2564) ได้เดินทางไปที่ สวนไม้เมืองนนท์ ซึ่งตั้งอยู่ที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ หรือสวนสมเด็จย่าของชาวไทย ที่นั่นเขามี “โครงการอนุรักษ์สวนทุเรียนนนท์” จัดทำขึ้นเพื่ออนุรักษ์ทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองนนท์ จำนวน 60 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ไหน ลักษณะประจำพันธุ์เป็นอย่างไร คืบหน้าอย่างไร ตรวจสอบได้ที่ https://www.pakkretcity.go.th/duriannon/) ภายใต้วิถีชาวสวนนนท์ด้วยการจำลองพื้นที่สวนนนท์ ยกร่อง ปลูกไม้แซม สืบค้นกล้าพันธุ์ทุเรียนนนท์มาอนุรักษ์ ภายใต้ภูมิปัญญาของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ รวบรวมเป็นข้อมูลองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ทุเรียนนนท์จากพื้นที่จริง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษา ค้นคว้า และปรับปรุงวิธีการในการปลูกทุเรียนนนท์พันธุ์ต่างๆ ได้ต่อไป

จากการศึกษาข้อมูลพบว่าน่าสนใจมากๆ บวกกับข่าวที่ว่าเมื่อเช้าวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 จังหวัดนนทบุรี โดยนายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายวิชัย บรรดาศักดิ์นายกเทศมนตรีนครปากเกร็ด ผู้ดูแล สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์นนทบุรี พร้อมปราชญ์ทุเรียนและคณะทำงานโครงการอนุรักษ์สวนทุเรียนนนท์ ได้ถือฤกษ์วันพืชมงคล ดำเนินการตัดทุเรียน 3 ผลแรกของโครงการ เมื่อเวลา 6.58 น. ทุเรียนทั้ง 3 ผล ได้แก่ ทุเรียนพันธุ์ลวงหางสิงห์ 1 ผล และทุเรียนพันธุ์กบแม่เฒ่า 2 ผล น้ำหนักรวม 8 กิโลกรัม

และเนื่องจากโครงการอนุรักษ์สวนทุเรียนนนท์ เป็นโครงการในพระราชปรารภของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนนทบุรีจึงนำทุเรียน 3 ลูกแรกของโครงการขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในวาระนี้ด้วย และโครงการนี้พระองค์ท่านทรงเสด็จมาเปิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558

จากข่าวนี้เองจึงเป็นแรงบันดาลใจให้ออกเดินทางลุยเดี่ยว เพื่อไปดูว่าทุเรียนเมืองนนท์ที่ปลูกว่าปีนี้ได้ผลเป็นอย่างไร เพราะนี้ก็ใกล้วันที่ 11 พฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันตัดของปีที่แล้ว ปรากฏว่าเมื่อไปถึงก็ติดต่อสอบถามจากรปภ.ก่อนเลย ทราบว่าตรงส่วนที่ปลูกทุเรียนไม่สามารถให้เข้าได้ ต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่ แต่ก็เดินไปดูรอบๆได้ ไหนๆก็มาแล้วไม่ให้เสียเที่ยวก็เดินไปไกลหน่อยถือว่าเป็นการออกกำลังกายไปในตัว

พอไปถึงก็จัดแจงถ่ายรูปเท่าที่สามารถทำได้ และก่อนกลับเจอพี่ที่ดูแลสวนบอกว่าดูแลทุเรียนยากมาก ต้องดูแลเอาใจใส่เหมือนดูแลลูก ตอนนี้มีหลายต้นที่ออกลูกโตมากๆแล้ว แต่ก็ไม่มั่นใจว่าจะตัดวันไหนต้องถามจากเจ้าหน้าที่อีกคน

เมื่อไม่สามารถถ่ายรูปต้นทุเรียนและลูกปัจจุบันได้จึงขอนำภาพของปีที่แล้ว (ภาพจากเว็บไซต์เทศบาลนครปากเกร็ด https://www.pakkretcity.go.th/index.php/page-public-relations/2738-news3023.html) ที่กำลังตัดมาให้ดูชมไปพลางๆก่อน บวกกับภาพที่ถ่ายวันนี้เป็นบริเวณโดยรอบและหากมีความคืบหน้าเรื่องตัดทุเรียนหรือข้อมูลความก้าวหน้าเมื่อไรวันไหนจะนำมาบอกกล่าวกันอีกครั้ง

อนึ่ง “โครงการอนุรักษ์สวนทุเรียนนนท์” ตั้งอยู่พื้นที่ 7 ไร่ ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ นนทบุรี โดยมีเทศบาลนครปากเกร็ดเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 ส่วนลานทรงปลูก กำหนดให้มีพื้นที่ทรงปลูกทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองนนท์ จำนวน 3 ต้น บริเวณด้านหน้าโครงการ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์สวนทุเรียนนนท์ และร่วมโครงการในการสร้างศูนย์เรียนรู้วิถีและภูมิปัญญาชาวสวนนนท์ ที่จะจัดทำขึ้นในพื้นที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ นนทบุรี

ส่วนที่ 2 ส่วนพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เรือนไทย พื้นที่ประมาณ 300 ตร.ม. ในลักษณะศูนย์เรียนรู้ เพื่อเป็นส่วนจัดแสดงวิถีและภูมิปัญญาชาวสวนนนท์ พระราชประวัติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พันธุ์ไม้ประจำของสวนสมเด็จฯ ทั้ง 12 สวน โดยเทศบาลนครปากเกร็ดเป็นผู้ดำเนินการออกแบบ และจัดทำผังรายละเอียดโครงการ

ส่วนที่ 3 ส่วนสวนทุเรียนนนท์ พื้นที่ประมาณ 3 ไร่เศษ ดำเนินการถมดินในสวนสมเด็จฯ โดยใช้ดินจากสวนทุเรียนในจังหวัดนนทบุรีพร้อมจัดทำเป็นร่องสวน กำหนดพื้นที่ในการปลูกทุเรียน ทองหลาง มังคุดและไม้พื้นเมือง จัดทำระบบระบายน้ำ ร่องสวน เพื่อสร้างสวนให้มีลักษณะของสวนทุเรียนนนท์

สำหรับ “เกษตรก้าวไกล” มีโครงการลุยเกษตรสุดเขตไทย ซึ่งดำเนินการมาเป็นปีที่ 2 เป็นการพัฒนาต่อยอดจากโครงการเกษตรคือประเทศไทย ในปีที่ 2 นี้มีความมุ่งมั่นจั้งใจว่าจะออกเดินทางตามหาสุดยอดทุเรียนพื้นเมืองหรือทุเรียนพื้นบ้านทั่วประเทศ ระหว่างนี้อยู่ในช่วงการจัดเตรียมวางแผนการเดินทางและศึกษาข้อมูลต่างๆ หากทุกอย่างลงตัวก็จะลุยตามหาในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2564

ฝ่าวิกฤติโควิด ”เกษตรฯ” ชูธง ”5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ใช้แพลตฟอร์มรูปแบบใหม่ระบบสั่งซื้อล่วงหน้าออนไลน์เจาะตลาดจีน 1,400 ล้านคน พร้อมกลยุทธ์สร้างแบรนด์ทุเรียนไทยสำเร็จเป็นครั้งแรก เตรียมขึ้นเครื่องเช่าเหมาลำล็อตแรก 27 เมษายนนี้ “อลงกรณ์” เผยจะมีการส่งออกแบบพรีออเดอร์อีกหลายประเทศเดือนหน้า พร้อมชื่นชมความร่วมมือระหว่างฟรุ้ทบอร์ด ผู้ประกอบการ สหกรณ์เมืองขลุงและจังหวัดจันทบุรี

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยวันนี้ (25 เม.ย.) ว่า ในวันที่ 27 เมษายนนี้ จะจัดส่งทุเรียนจากสหกรณ์เมืองขลุง จังหวัดจันทบุรี ไปจำหน่ายที่ประเทศจีนโดยเครื่องบินเช่าเหมาลำของสายการบินเซินเจิ้นแอร์ไลน์ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นการจำหน่ายผ่านระบบออนไลน์แบบสั่งซื้อล่วงหน้า (Pre-Order) ที่ลูกค้าจ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์มาเรียบร้อยแล้ว จำนวน 20 ตัน

“เป็นครั้งแรกของการจำหน่ายทุเรียนผ่านระบบ Pre-Order ไปประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่สุดของผลไม้ไทยโดยเฉพาะทุเรียน เราต้องเจาะตลาดจีนที่มีประชากรกว่า 1,400 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วขายทุเรียนได้กว่า 6 หมื่นล้านบาท ด้วยแพลตฟอร์มใหม่ๆบนความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ บริษัทเอกชนและสหกรณ์ผลไม้ เช่น สหกรณ์เมืองขลุง จังหวัดจันทบุรี และยังเป็นทุเรียนชุดแรกที่มีการสร้างแบรนด์ทุเรียนไทยในระดับสหกรณ์ผลไม้ (Cooperative based Branding)ให้เป็นที่รู้จักในสายตาชาวโลกทำให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนและสหกรณ์ขายได้ราคาสูงขึ้นคู่ขนานไปกับการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของทุเรียนในระบบ GAP และ GMP ภายใต้ ”5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” และโมเดล ”เกษตรผลิต-พาณิชย์ตลาด” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายการปฏิรูปไม้ผลทั้งระบบของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) และการขับเคลื่อนโมเดล ”เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ร่วมกับ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์” นายอลงกรณ์ กล่าว

ทั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จทางนโยบายและการบริหารแบบทำได้ไวทำได้จริง หลังจากคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ครั้งที่ 3/2564 เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา เห็นชอบโครงการจำหน่ายผลไม้บนแพลตฟอร์มออนไลน์แบบสั่งซื้อล่วงหน้า (Pre-order) เพื่อเป็นกลไกการขายเชิงรุกทั้งในและต่างประเทศโดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerce กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และฝ่ายเลขานุการของฟรุ้ทบอร์ด คือกรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ภาคเอกชนและกระทรวงพาณิชย์ โดยล่าสุด กรมประชาสัมพันธ์จะมาช่วยเสริมทัพด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์และการผลิตสื่อออนไลน์ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้จะมีการส่งออกภายใต้ระบบพรีออเดอร์อีกหลายประเทศในเดือนหน้าและขอแสดงความชื่นชมความร่วมมือ ระหว่าง ฟรุ้ทบอร์ด ผู้ประกอบการ สหกรณ์เมืองขลุงและจังหวัดจันทบุรี ที่สามารถเปิดฉากการส่งออกทุเรียนล็อตแรกได้สำเร็จอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึง 1 เดือน

นายกฤชฐา โภคาสถิตย์ ประธานคณะอนุกรรมการอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerce กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการฯ ได้ประสานความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนเพื่อสร้าง New Ecosystem ในการ “สร้างแบรนด์ผลไม้ไทย” ในการส่งออกไปทั่วโลก ผ่านช่องทาง Pre-order เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการจดจำ ในฐานะที่เราเป็นผู้ส่งออกผลไม้ที่มีศักยภาพอันดับต้นๆ ของโลก เราสามารถสร้างแบรนด์ให้แต่ละสวน แต่ละฟาร์มผ่านกลไกสหกรณ์ และมีระบบ Logistics ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำที่แข็งแรง ผสานเข้ากับผู้ประกอบการที่มีความพร้อมในการส่งออกผ่านกระบวนการ Pre-Order ทางออนไลน์ ซึ่งจะเป็นมิติใหม่ในการจำหน่ายและเพิ่มมูลค่าของผลไม้ไทยอย่างยั่งยืน.

เฉลิมชัยสั่งเกษตรฯ ผนึกพาณิชย์จับมือขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต ตั้งอนุกรรมการและคณะทำงานจัดทำแผนขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์ใน 4 กลุ่มสินค้าเกษตรให้ตรงกับความต้องการของตลาด และสร้างแพลตฟอร์มกลาง “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” เพิ่มความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัยและการตรวจสอบย้อนกลับให้โดนใจผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการย่อย 4 คณะ ประกอบด้วย 1. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการสร้างและใช้ข้อมูลจากฐานเดียวกัน (Single Big Data) เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีความเชื่อมโยงกัน โดยฐานข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน เข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว เพื่อใช้วางแผนการผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกรให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ 2. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการสร้างแพลตฟอร์มกลาง “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด”

โดยตั้งเป้าหมายหลักเพื่อให้เกิดการซื้อขายสินค้าเกษตรมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ 3. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัยและการตรวจสอบย้อนกลับ ตั้งเป้ายกระดับสินค้าเกษตรและอาหารไทยไปสู่ระดับมาตรฐานพื้นฐานตามที่ตลาดต้องการ 4. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาด วางแนวทางพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร รวมถึงพัฒนาหลักสูตรให้แก่บุคลากร ตอบโจทย์ให้ตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งแต่ละคณะได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนดังกล่าว และมอบหมายให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ติดตามความคืบหน้าพร้อมรายงานให้คณะอนุกรรมการฯ ทราบ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการร่วมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตพิจารณาให้ความเห็นชอบ และมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางขยายผลสู่การปฏิบัติจริงต่อไป

ด้านนายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในส่วนของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาด ได้กำหนดจัดประชุมผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา โดยมีการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์ จำนวน 4 คณะ ใน 4 กลุ่มสินค้า ประกอบด้วย สินค้าข้าว พืชไร่ และพืชสวน สินค้าผลไม้ สินค้าปศุสัตว์ และสินค้าประมง โดยคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์สินค้าข้าว พืชไร่ และพืชสวน เห็นชอบกำหนดกลุ่มสินค้าเป้าหมาย จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ สินค้าข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา

โดยกำหนดสินค้าข้าว และมันสำปะหลังเป็นสินค้านำร่อง (Quick win) ในการจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนดังกล่าว เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ มีความชัดเจนเห็นเป็นรูปธรรมได้ในระยะเวลาไม่นานเกินไป ส่วนการกำหนดแนวทางการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาดในสินค้ากลุ่มนี้ได้วางเป้าหมายไว้ดังนี้ 1) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรทั้งด้านการผลิต และการประกอบธุรกิจ 2) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการและผู้ส่งออกเพื่อรองรับการค้ายุคใหม่ 3)

สร้างความสามารถในการแข่งขันของสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการลดต้นทุนการผลิตข้าว และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ กำหนดการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ตรงตามความต้องการของตลาด 4) สนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกร 5) สร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่ หันมาทำการเกษตรมากขึ้น 6) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้จากทางการเกษตรมาผลิตเป็นสินค้านวัตกรรม 7) พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะสร้างองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ด้านการตลาดทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ เป็นต้น

คณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์สินค้าผลไม้ เห็นชอบกำหนดกลุ่มสินค้าเป้าหมาย จำนวน 4 ชนิด คือ ทุเรียน มะม่วง มังคุด และลำไย โดยได้วางแนวทางการพัฒนาคนให้สามารถผลิตสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานดังนี้ 1) พัฒนาความรู้และทักษะด้านการผลิตให้ได้คุณภาพมาตรฐาน การใช้เทคโนโลยีด้านการผลิต และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของทุเรียน มะม่วง มังคุด และลำไย 2) สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร 3) พัฒนาเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตร ส่วนกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลไม้มีแนวทางดังนี้ 1) พัฒนาความรู้และทักษะ ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มและแปรรูปสินค้าเกษตร 2) พัฒนาความรู้และทักษะด้านการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรแปรรูป 3) ส่งเสริมการเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ด้านการแปรรูปทุเรียน มะม่วง มังคุด และลำไย 4) พัฒนาความรู้และทักษะให้แก่แรงงาน/บุคลากรที่เกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร 5) พัฒนาทักษะด้านการจัดการโลจิสติกส์ภาคการเกษตร ผลิตภัณฑ์เป้าหมาย เช่น ทุเรียน GI มะม่วงแช่แข็ง น้ำมังคุดพร้อมดื่ม เยลลี่มังคุด มังคุดผงฟรีซดราย พรีไบโอติกส์ และลำไยคุณภาพ

ทั้งนี้ คณะทำงานฯ กำหนดให้ทุเรียนเป็นสินค้านำร่อง (Quick win) ปี 2564 – 2565 ในการจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนดังกล่าว มุ่งเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ตลาด (ภาคตะวันออก) เริ่มตั้งแต่ช่วงก่อนฤดูผลไม้ออกจะต้องจัดฝึกอบรมพัฒนาเจ้าหน้าที่และเกษตรกรชาวสวนทุเรียนทุกระดับทั้งมือตัด มือคัด สถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน Smart Farmer, Young Smart Farmer, ผู้ประกอบการ (ล้ง) สมาพันธ์ทุเรียนฯ เป็นต้น หลักสูตรที่จำเป็น ได้แก่ มาตรฐานสินค้า/ข้อกำหนดทางการค้า

การบริหารจัดการสวนทุเรียน การเป็นผู้ประกอบการ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายอาญา ม.271 และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 47 เป็นต้น ส่วนช่วงติดดอก – ผล เริ่มจากการสำรวจติดตามการติดดอก ประมาณการผลผลิต ประชุมคณะทำงานจัดทำข้อมูลเอกภาพ ประชุมจัดทำข้อมูลการซื้อขาย การจัดทำแผนบริหารจัดการผลไม้ การปฏิบัติการป้องปรามในพื้นที่

ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ทุกระดับและเน้นหนัก การแต่งตั้งชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจตรวจสอบทุเรียนด้อยคุณภาพทุกระดับ พร้อมอบรมให้ความรู้ด้านกฎหมายและการตรวจหาเปอร์เซ็นต์เนื้อแห้งทุเรียน เป็นต้น และช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรจะต้องตรวจสอบคุณภาพก่อนเก็บเกี่ยว เช่น พันธุ์หมอนทอง นับจากดอกบาน 120 วัน เนื้อแห้งทุเรียน 32% พันธุ์ชะนี, พวงมณี นับจากดอกบาน 110 วัน เนื้อแห้งทุเรียน 30% และพันธุ์กระดุม นับจากดอกบาน 100 วัน เนื้อแห้งทุเรียน 27% รวมถึงกระบวนการตัด และคัดทุเรียนที่มีคุณภาพ

คณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์สินค้าปศุสัตว์ เห็นชอบกำหนดกลุ่มสินค้าเป้าหมาย จำนวน 6 ชนิด คือ นมโค เนื้อโค เนื้อสุกร ไก่เนื้อ ไข่ไก่ และเนื้อแพะ โดยได้วางแนวทางการพัฒนาคนให้มีองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่สามารถผลิตสินค้ามีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ให้มีมูลค่าเพิ่มและตรงตามความต้องการของตลาด

ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เช่น การวิจัยพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพสายพันธุ์ ระบบการเลี้ยง ระบบการผลิตอาหารสัตว์ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิตนมโค เนื้อโค เนื้อสุกร ไก่เนื้อ ไข่ไก่ และเนื้อแพะ การพัฒนาผลผลิตให้ได้คุณภาพมาตรฐาน มีความปลอดภัย เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตรวมทั้งผลพลอยได้โดยการแปรรูปสินค้าปศุสัตว์ สร้างตราสินค้า (Branding) ชุมชน และบรรจุภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย เป็นต้น

คณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์สินค้าประมง เห็นชอบกำหนดกลุ่มสินค้าเป้าหมาย จำนวน 2 ชนิด คือ กุ้งขาว และกุ้งก้ามกราม โดยแนวทางการพัฒนาเริ่มจากต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เช่น สร้างกลไกการเชื่อมโยงข้อมูลความต้องการผลผลิตระหว่างผู้ผลิต ผู้แปรรูป และตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตกุ้งก้ามกรามที่นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่การผลิต

เพิ่มขีดความสามารถการผลิตของเกษตรกร สมัครเว็บคาสิโน ให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตที่ระเบียบและกฎหมายกำหนด พัฒนาสายพันธุ์ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเครื่องจักรหรือระบบอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการแปรรูป เพื่อทดแทนแรงงานคน การเพิ่มช่องทางตลาด ขยายตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น สำหรับเป้าหมายการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งและผลผลิตต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP กรมประมงและปลอดภัยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องมีประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมีความรู้ด้านการตลาด สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต เพื่อขยายโอกาสในการจำหน่าย

เกษตรฯจัดงาน “Mango of SIAM ที่สุดแห่งมะม่วงไทย ถูกใจทั่วโลก”

กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ยกทัพมะม่วงคุณภาพดีให้คนกรุงได้ลิ้มลองในงาน “Mango of SIAM ที่สุดแห่งมะม่วงไทย ถูกใจทั่วโลก” ระหว่างวันที่ 2 – 6 เม.ย. 2564 นี้ ณ เจริญนครฮอลล์ ชั้น M ไอคอนสยาม เขตคลองสาน กรุงเทพฯ พร้อมเชิญชวนผู้บริโภคอุดหนุนชาวสวนผลไม้ไทย

วันที่ 2 เมษายน 2564 นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานในพิธีเปิดงาน “Mango of SIAM ที่สุดแห่งมะม่วงไทย ถูกใจทั่วโลก” เปิดเผยว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้นโยบายเกี่ยวกับการประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนถึงความร่วมมือและความเป็นไปได้ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ

เพื่อวางแผนการเปิดพื้นที่ให้เกษตรกรนำสินค้าเกษตรเข้าไปจำหน่ายตามฤดูกาล ภายใต้ความร่วมมือการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2564 และช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้การส่งออกเกิดการชะลอตัว โดยเฉพาะตลาดส่งออกมะม่วงที่สำคัญและใหญ่ที่สุด ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น รวมถึงสาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา แคนาดา และกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป โดยเชิญศูนย์การค้าไอคอนสยามเข้ามาร่วมกิจกรรมการจัดงานกับกรมส่งเสริมการเกษตรในงาน “Mango of SIAM ที่สุดแห่งมะม่วงไทย ถูกใจทั่วโลก” ระหว่างวันที่ 2 – 6 เม.ย. 2564 ณ เจริญนครฮอลล์ ชั้น M ไอคอนสยาม

ไอคอนสยาม นับเป็นศูนย์การค้าระดับ High end ที่ผู้ซื้อมีกำลังซื้อสูง และเลือกสรรของดีมีคุณภาพ เรียกได้ว่าสินค้าที่วางจำหน่ายที่นี่ได้นั้น คุณภาพเป็นตัวกำหนดราคา ราคาเป็นตัวกำหนดผู้ซื้อ ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ร่วมจัดงานกับศูนย์การค้าไอคอนสยาม ด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และผสมผสานกับความเป็นศูนย์การค้าใจกลางเมืองหลวงที่เข้ากับอัตลักษณ์ของมะม่วงไทยได้อย่างลงตัว

รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมการรองรับการกระจายผลผลิตมะม่วงในอนาคต โดยเน้นการผลิตมะม่วงคุณภาพให้เข้าสู่ตลาดโมเดิร์นเทรดภายในประเทศให้มากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการมะม่วงในอนาคตได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่ผลิตมะม่วงมีการปรับเปลี่ยนการผลิต

ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิตมะม่วงให้มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิต สามารถเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ได้ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน มีการวางแผนที่ดีและลดความเสี่ยงการผลิตสินค้ามากเกินความต้องการ ถือเป็นการพัฒนาเกษตรกรรมของประเทศด้วยวิถีทางแห่งนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่า และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามนโยบายเกษตร 4.0 ดังนั้น จึงต้องหันมาส่งเสริมด้านการตลาดในประเทศเพื่อช่วยชาวสวนเพิ่มให้มากขึ้น

ด้าน นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้เพื่อช่วยชาวสวนผลไม้กระจายผลผลิต โดยเฉพาะระยะนี้เป็นเทศกาลของมะม่วงซึ่งมีผลผลิตจากหลายพื้นที่ทยอยออกสู่ตลาด กรมส่งเสริมการเกษตรจึงร่วมกับสมาคมชาวสวนมะม่วงไทยคัดสรรผลผลิตและผลิตภัณฑ์มะม่วงคุณภาพดีที่ได้รับการรับรองมาตรฐานมาร่วมออกบูธจำหน่าย ประกอบด้วย สินค้ามะม่วงจากสมาคมชาวสวนมะม่วงไทยของจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ฉะเชิงเทรา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ราชบุรี นครราชสีมา สระแก้ว

สินค้าเกษตรจากตลาดเกษตรกร ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงของจังหวัดเชียงใหม่ ชลบุรี สมุทรปราการ ลำพูน นครนายก สินค้าเกษตรจากกลุ่มแปลงใหญ่ ได้แก่ แปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมของจังหวัดสมุทรสาคร, แปลงใหญ่ส้มโอ ลิ้นจี่ จังหวัดสมุทรสงคราม, แปลงใหญ่ทุเรียน มังคุด จังหวัดจันทบุรี, แปลงใหญ่อโวคาโด จังหวัดตาก, แปลงใหญ่สับปะรด (พันธุ์ใหม่) จังหวัดระยอง, แปลงใหญ่ขนุน จังหวัดชลบุรี และสินค้าเบ็ดเตล็ดที่เกี่ยวกับมะม่วงและการบริการต่าง ๆ ได้แก่ อุปกรณ์ทางการเกษตร ปุ๋ย สารชีวภัณฑ์ ฮอร์โมน ที่เหมาะสมสำหรับชุมชนเมือง รวมทั้งการให้บริการขนส่ง เช่น ไปรษณีย์ไทย, Kerry เป็นต้น

ทั้งนี้ ในปี 2564 สมาคมชาวสวนมะม่วงไทยได้ประเมินสถานการณ์ผลผลิตมะม่วงพันธุ์การค้าเบื้องต้นจากสมาชิกกลุ่มเกษตรกรในแหล่งผลิตสำคัญของประเทศไทย 3 แหล่ง ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 20 จังหวัด คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณผลผลิต 400,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 15 ขณะนี้มีการเก็บเกี่ยวแล้วร้อยละ 20 โดยสถานการณ์ราคามะม่วงที่เกษตรกรขายได้หน้าสวนสำหรับตลาดในประเทศ พบว่า ราคามะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง 17 บาท/กิโลกรัม มะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์สี่ 12 บาท/กิโลกรัม ฟ้าลั่น 7 บาท/กิโลกรัม เขียวเสวย 20 บาท/กิโลกรัม เป็นต้น สำหรับราคามะม่วงตลาดส่งออก พบว่า ราคามะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเกรด A 30 บาท/กิโลกรัม และมะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์สี่ 25 บาท/กิโลกรัม (ต้นทุนการผลิตมะม่วงเฉลี่ยทุกสายพันธุ์ประมาณ 7 บาท/กิโลกรัม) จึงทำให้สถานการณ์ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์พอใช้

กิจกรรมภายในงานครั้งนี้นอกจากจะมีการออกร้านจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ยังได้จัดแสดงนิทรรศการประกอบเพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าชมงาน เช่น นิทรรศการประวัติความเป็นมาและอัตลักษณ์แห่งมะม่วงไทย เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงคุณภาพดี ตั้งแต่การปลูก การดูแลรักษามะม่วง ศัตรูสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง การพัฒนาคุณภาพมะม่วงส่งออก/ดัชนีการเก็บเกี่ยวมะม่วง การแสดงความหลากหลายทางสายพันธุ์มะม่วง และมะม่วงที่ได้รับการรับรองเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สำหรับมะม่วงที่นำมาจัดแสดงครั้งนี้จำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 มะม่วงไทยพันธุ์การค้า ได้แก่ น้ำดอกไม้เบอร์สี่ น้ำดอกไม้สีทอง เขียวเสวย ฟ้าลั่น โชคอนันต์ มหาชนก อกร่อง (อกร่องทอง อกร่องเขียว อกร่องพิกุลทอง) แรด ขายตึก เพชรบ้านลาด มันเดือนเก้า มันขุนศรี มะม่วงเบา น้ำดอกไม้มัน แก้ว หนังกลางวัน กลุ่มที่ 2 มะม่วงไทยพันธุ์หายาก/โบราณ ได้แก่ ยายกล่ำ สายฝน

เจ้าคุณทิพย์ พิมเสนมัน พิมเสนเปรี้ยว งาช้างแดง นาทับ สาวน้อยกระทืบหอ ลิ้นงูเห่า แก้วลืมรัง กลุ่มที่ 3 มะม่วงพันธุ์ต่างประเทศ/ลูกผสม ได้แก่ อ้ายเหวิน อี้เหวิน จินหวง อาร์ทูอีทู แดงจักรพรรดิ แก้วขมิ้น กลุ่มที่ 4 มะม่วงที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ได้แก่ ยายกล่ำนนทบุรี น้ำดอกไม้สระแก้ว น้ำดอกไม้ฉะเชิงเทรา และการซื้อขายสินค้าเกษตรผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมบนเวที เช่น การแข่งขันแกะสลักผลไม้ ตำผลไม้ลีลา เชฟชื่อดังมาร่วมโชว์ปรุงเมนูมะม่วงรสเลิศ การถาม-ตอบความรู้ สาธิตต่าง ๆ

กิจกรรมนาทีทอง ลุ้นโชควงล้อมะม่วงมหาสนุก เป็นต้น โดยมุ่งหวังว่าการจัดงานครั้งนี้จะเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค ตลอดจนมีศูนย์การค้าต้นแบบที่สามารถการันตีมะม่วงคุณภาพสู่ผู้บริโภคในประเทศได้ดีต่อไป จึงขอเชิญชวนผู้บริโภคทั้งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียงร่วมอุดหนุนสินค้าเกษตรไทยช่วยสนับสนุนชาวสวนผลไม้ภายใต้ Campaign “ซื้อสินค้าเกษตรไทย เกษตรกรอยู่ได้ ประเทศไทยอยู่รอด” และเลือกซื้อเป็นของขวัญของฝากให้กับญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้

เกษตรย้ำเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ดำเนินการตามกฏหมายอย่างเข้มงวด เร่งสกัดปมปัญหาทุเรียนอ่อนอย่างต่อเนื่อง สร้างความเชื่อมั่นคุณภาพทุเรียนภาคตะวันออก พร้อมวางระบบรับรองมาตรฐานสุขอนามัยตั้งแต่สวนทุเรียนจนถึงโรงคัดบรรจุ

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้สั่งการให้สำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดจัดตั้งชุดเฉพาะกิจร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปูพรมพื้นที่ปลูกทุเรียน เพื่อตรวจสอบและสกัดกั้นไม่ให้มีการลักลอบตัดทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ออกขาย และให้ดำเนินการกับผู้กระทำผิดตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ในการติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังการตัดทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับรายงานจากสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรีว่า ในส่วนของสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรีได้ดำเนินการขับเคลื่อนการป้องกันแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตรในการป้องปรามทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ปี 2564 อย่างต่อเนื่อง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1. ) ร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 ดำเนินการบังคับและพักการใช้ใบอนุญาตเลขทะเบียน GMP ของล้ง และเลขทะเบียน GAP ของเกษตรกรในกรณีตรวจพบการตัดและการจำหน่ายทุเรียนอ่อน 2) แจ้งให้เกษตรกร ผู้ประกอบการทราบถึงมาตรการต่างๆ เช่น การกำหนดเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียนหมอนทองก่อนตัด

ต้องไม่น้อยกว่า 32% ขึ้นไป และมาตรการดำเนินคดีแก่ผู้จำหน่ายทุเรียนด้อยคุณภาพ 3) ตั้งชุดตรวจเฉพาะกิจเคลื่อนที่เร็ว ชุดตรวจที่ล้งและที่สวนเกษตรกร เฉพาะกรณีที่มีการเก็บเกี่ยวทุเรียนก่อนวันประกาศวันเก็บเกี่ยว (10 เมษายน 2564) และออกใบรับรองผลการตรวจความแก่ของทุเรียน และถ้าพบทุเรียนอ่อนให้คัดออกและทำสัญลักษณ์พ่นสีแดงที่ผล และพิจารณาใช้บทลงโทษขั้นสูงสุด 4) แต่งตั้งชุดเฉพาะกิจในการสุ่มตรวจและแก้ไขปัญหาการตัดทุเรียนอ่อนหรือทุเรียนด้อยคุณภาพ ในระดับตำบล หมู่บ้าน 5) จัดทำ QR Code ติดที่ทุเรียน เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงเกษตรกรผู้ปลุกได้ 6) สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จัดประชุมผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ (ล้ง) เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน และมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อนหรือทุเรียนด้อยคุณภาพ รวมทั้งการฝึกอบรมหลักสูตรนักคัด นักตัด ทุเรียนมืออาชีพ และ 7) ตั้งจุดให้บริการตรวจความอ่อน-แก่ ของทุเรียน ณ ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า ผลการปฏิบัติงานของชุดปฏิบัติการจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตใหญ่และมีล้งส่งออกจำนวนมากที่สุด เบื้องต้น พบว่ามี 8 บริษัทที่มีความผิดต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งฝ่ายปกครองของจังหวัด ได้รวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ดำเนินการทางกฎหมายไว้แล้ว ในขณะที่ผลการตรวจพบทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ประมาณ 30% ส่วนใหญ่พบที่ล้งส่งออก จึงนับว่ามาตรการที่ดำเนินการมาในขณะนี้สามารถควบคุมปัญหาได้เป็นที่น่าพอใจ และถึงแม้ขณะนี้เกษตรกรจะสามารถตัดทุเรียนขายได้ตามระบบปกติแล้ว แต่การป้องปรามก็จะยังคงดำเนินการต่อเนื่องต่อไป ตามที่ได้รับแจ้งเบาะแส เพื่อควบคุมป้องปรามทุเรียนด้อยคุณภาพออกนอกพื้นที่ รวมทั้งในช่วงนี้ต้นทุเรียนโดนลมพายุพัด ทำให้มีผลร่วงหล่น ชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจฯ จึงได้เข้าตรวจตามแผงค้าส่งภายในประเทศเพื่อป้องกันทุเรียนอ่อนเข้าสู่ตลาดบริโภคภายในประเทศอีกด้วย

ด้าน สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด ได้รายงานผลการปฏิบัติงานเชิงรุกว่า เนื่องจากจังหวัดตราดเป็นพื้นที่ที่จะมีผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดก่อนจังหวัดอื่นในภาคตะวันออก จึงได้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายปกครอง เกษตร ทหาร ตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่ อาสาสมัครเกษตรประจำหมู่บ้าน (อกม.) และอื่นๆ กว่า 20 หน่วยงาน เป็นหน่วยเฉพาะกิจระดับอำเภอ ทั้ง 7 อำเภอ ปฏิบัติการลงตรวจคุณภาพผลผลิตถึงสวนของเกษตรกร เพื่อสกัดกั้นทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) อย่างเข้มข้น ทุกวิถีทาง สำหรับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

หน่วยเฉพาะกิจของจังหวัดตราดได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างทุเรียนของเกษตรกร ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – 11 เมษายน 2564 สุ่มตรวจเปอร์เซ็นต์แป้งของผลผลิตทุเรียนก่อนการตัด 4 สายพันธุ์ จำนวนทั้งสิ้น 710 ตัวอย่าง โดยยึดเกณฑ์ดังนี้ พันธุ์หมอนทอง เปอร์เซ็นต์แป้งต้องได้ 32% ของน้ำหนักแห้งขึ้นไป พันธุ์ชะนี เปอร์เซ็นต์แป้งต้องได้ 30 % ของน้ำหนักแห้งขึ้นไป พันธุ์กระดุม เปอร์เซ็นต์แป้งต้องได้ 27 % ของน้ำหนักแห้งขึ้นไป และพันธุ์พวงมณี เปอร์เซ็นต์แป้งต้องได้ 30% ของน้ำหนักแห้งขึ้นไป โดยใช้ตู้อบไมโครเวฟ

ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร ทำให้ปี 2564 นี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดตราดมั่นใจว่าไม่มีทุเรียนด้อยคุณภาพจากพื้นที่จังหวัดตราดออกสู่ตลาดอย่างแน่นอน ทั้งนี้ เคล็ดลับความสำเร็จนอกจากทีมงานเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนจะร่วมกันทำงานอย่างเต็มกำลังแล้ว ในส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตทุเรียน อย่างเจ้าของสวนทุเรียนต้องมีความจริงใจในการตัดทุเรียนที่มีคุณภาพ คนตัดทุเรียนต้องตัดเฉพาะผลผลิตที่มีคุณภาพ และผู้ประกอบการซื้อ-ขายทุเรียน (ล้ง) ต้องรับซื้อเฉพาะทุเรียนคุณภาพด้วย จึงจะทำให้การแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

สำหรับบทลงโทษการซื้อขายทุเรียนที่เก็บเกี่ยวก่อนระยะเหมาะสม กรณีเกษตรกรจะพิจารณาพักหรือเพิกถอนการใช้ใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช เช่นเดียวกับโรงคัดบรรจุ (ล้ง) จะพักหรือเพิกถอนการใช้ใบรับรองโรงคัดบรรจุ GMP ซึ่งเกษตรกรจำนวนมากก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ส่งผลทำให้ราคาทุเรียนในพื้นที่ไม่อยู่ในระดับต่ำเหมือนปีที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดและผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในคุณภาพผลผลิต รวมทั้งยังส่งผลถึงภาพลักษณ์คุณภาพทุเรียนไทยก่อนส่งออกต่างประเทศอีกด้วย

ทั้งนี้ในปี 2564 เป็นปีแรกที่ประกาศให้มี “วันทุเรียนแก่” (วันที่ 10 เมษายน 2564) ซึ่งเป็นวันดีเดย์ให้เกษตรกรเริ่มเก็บเกี่ยวทุเรียนพันธุ์หมอนทองภาคตะวันออกโดยไม่แยกรายจังหวัด เน้นหนักในการตรวจสอบคุณภาพ เมื่อเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวทุเรียนให้แจ้งความประสงค์ที่กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน หรืออาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) เพื่อแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ให้ลงไปตรวจสอบความสุกแก่ของทุเรียนตามมาตรฐานที่กำหนด เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้ว สำนักงานเกษตรอำเภอจะออกใบรับรองเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของเนื้อทุเรียนเฉพาะตัวอย่างแนบไปกับรถขนส่งทุเรียนเข้าโรงคัดบรรจุพร้อมสำเนาใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช เพื่อคุมเข้มสกัดกั้นไม่ให้ทุเรียนอ่อนออกนอกพื้นที่ ส่วนกรณีของโรงคัดบรรจุ (ล้ง) ให้แจ้งความประสงค์ที่ด่านตรวจพืชตามพื้นที่ความรับผิดชอบของด่านแต่ละด่าน เพื่อตรวจคุณภาพทุเรียนตามมาตรฐาน ซึ่งโรงคัดบรรจุที่รับซื้อทุเรียนจะต้องตรวจสอบใบรับรองเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของเนื้อทุเรียนและสำเนาใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืชจากสวนเกษตรกรด้วย เพื่อใช้ในการยื่นต่อด่านตรวจพืชก่อนส่งออก

นายพลเชษฐ์ ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนพัฒนาฐานข้อมูลเกษตรกรกลาง (Farmer ONE) เปิดเผยว่า จากที่ สศก. ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรกรกลาง หรือ Farmer ONE มาตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงทะเบียนเกษตรกรกับหน่วยงานรับขึ้นทะเบียน คือ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ และกรมประมง โดยในปี 2562 ได้มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร กับหน่วยงานเพิ่มเติม คือ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมหม่อนไหม และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวมทั้ง ยังได้รับการสนับสนุนทางด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) อีกด้วย

ปัจจุบัน การให้บริการข้อมูล Farmer ONE มีการแบ่งกลุ่มเกษตรกรออกเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ 1) ปลูกพืช 2) เลี้ยงสัตว์ 3) เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 4) ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ 5) ปลูกพืชและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 6) เลี้ยงสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และ7) ปลูกพืช, เลี้ยงสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งสามารถสืบค้นแบบจำแนกชนิดสินค้า เพื่อรับทราบจำนวนครัวเรือน เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว แบบรายภาค รายจังหวัด ได้ 14 ชนิด คือ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ลำไย สับปะรดโรงงาน กาแฟ ยางพารา เงาะ มังคุด และ ทุเรียน รวมทั้งข่าวสารสำคัญทั่วไป เช่น ข้อมูลพยากรณ์อากาศ และสถานการณ์น้ำ

ล่าสุดผลจากการประชุมของคณะกรรมการขับเคลื่อนพัฒนาฐานข้อมูลเกษตรกรกลาง (Farmer ONE) เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้เห็นชอบในการเดินหน้าพัฒนาการให้บริการ ซึ่งภายในปี 2564 จะเชื่อมโยงฐานข้อมูลเพิ่มเติม จากเกษตรกรผู้ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทอผ้าไหม จากกรมหม่อนไหม และเกษตรกร ชาวสวนยาง จากการยางแห่งประเทศไทยแบบ Real Time เพื่อให้ฐานข้อมูล Farmer ONE มีข้อมูลทะเบียนเกษตรกรทางด้านต่าง ๆ ให้ครอบคลุมกิจกรรมทางการเกษตรให้มากที่สุด รวมทั้งพัฒนาสู่มาตรฐานข้อมูลกลาง (Data Standard) ซึ่งเป็นมาตรฐานในการจัดเก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูลของแต่ละรายบุคคลให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และลดความซ้ำซ้อนการจัดเก็บข้อมูล ชุดเดียวกันแต่มีข้อมูลที่ต่างกัน ยึดหลักการกำหนดมาตรฐานตามกรอบแนวทางเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ หรือ TH e-GIF และแนวทางการจัดทำมาตรฐานข้อมูลภาครัฐของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยเกษตรกรสามารถที่จะเข้ามาตรวจสอบข้อมูลของตนเองได้ และในปี 2565 จะดำเนินการกำหนดมาตรฐานกลางของสินค้าเกษตรที่สำคัญต่อไป

ทั้งนี้ ภายหลังจากที่คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบกรอบการกำหนดมาตรฐานข้อมูลกลาง (Data Standard) ข้อมูลบุคคลของฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรแล้ว สศก. จะได้นำเสนอต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก่อนประกาศใช้ ต่อไปภายในปีนี้ ทั้งนี้ หากท่านใดที่สนใจข้อมูลการให้บริการของ Farmer ONE สามารถเข้าสืบค้นข้อมูลได้ที่ www.farmerone.org หรือ สามารถสอบถามข้อมูลการใช้งานได้ที่ส่วนปฏิบัติการข้อมูลการเกษตร ศูนย์สารสนเทศการเกษตร โทร. 0 2561 2870 ในวันและเวลาราชการ

เว็บไซต์ของศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง ได้แจ้งข่าวเรื่องที่มีผู้สนใจจองสะตอพันธุ์ ตรัง 1 ว่า “เนื่องจากขณะนี้มีผู้สนใจจองเป็นจำนวนมากและปริมาณที่พร้อมจำหน่ายมีจำนวนไม่พอต่อความต้องการอาจทำให้คิวของท่านได้รับความล่าช้า ทางศูนย์ฯ ขอแจ้งหากท่านจะประสงค์จะจองสะตอ ทางเราจะเปิดให้จองอีกครั้ง เดือน กรกฎาคม 2564” แปลได้ความว่า ยอดจองล้นหลาม จึงต้องปิดการจองชั่วคราว ซึ่งตามปกติเปิดให้จองได้ตลอดและเพิ่งลงข่าวให้เบอร์โทร.จอง https://bit.ly/3aqqyWi อย่างไรก็ดีจะเปิดให้จองอีกครั้งเดือนกรกฎาคม 2564

พร้อมกับบอกถึง รายละเอียดการจองสะตอพันธุ์ตรัง 1 ดังนี้

1.รายชื่อ/บ้านเลขที่ จองได้ไม่เกิน 15 ต้น

2.แจ้งชื่อ – นามสกุล , ที่อยู่ , เบอร์โทรติดต่อกลับ

3.ไม่มีบริการจัดส่งต้องมารับด้วยตนเอง

4.ไม่มีการชำระก่อน หรือมัดจำล่วงหน้า ชำระเงิน ณ วันที่รับสินค้าเท่านั้น

5.ราคาต้นละ 50 บาท เป็นแบบติดตา

6.หลังจากทำการจอง หากใกล้จะถึงคิวของท่าน ทางศูนย์ฯ จะโทรไปแจ้งให้มารับพันธุ์สะตอล่วงหน้า 1 – 2 สัปดาห์

ปล.รบกวนท่านจดจำคิวการจองของท่านเพื่อรักษาสิทธิ์ในการจอง หากท่านมีการเปลี่ยนแปลงเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ให้โทรมาแจ้งลำดับคิวกับเจ้าหน้าที่..ขณะนี้จ่ายถึงลำดับคิวที่ 103 อัพเดตวันที่ 10/02/2564

อนึ่ง จากการติดตามข้อมูลของ “เกษตรก้าวไกล” ทราบว่า สะตอตรัง 1 มีคนสนใจและติดต่อมาเยอะมาก ยอดจองจนขณะนี้ประมาณ 70,000 ต้น แต่ด้วยกำลังการผลิตของศูนย์วิจัยพืชสวนตรังมีไม่เพียงพอ ตอนนี้ได้ประสานงานกับสหกรณ์จังหวัดตรัง ร่วมมือกับเกษตรกรที่มีความชำนาญการติดตาเพื่อจัดกลุ่มสร้างเครือข่ายผู้ผลิตต้นกล้าสะตอตรัง 1 เพื่อช่วยผลิตรองรับความต้องการของเกษตรกร ขณะนี้อยู่ในช่วงเสนอโครงการกับกรมวิชาการเกษตร และคาดว่าจะมีคืบหน้าในเร็วๆนี้

สำหรับการผลิตของศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง ที่ผ่านมาสามารถผลิตสะตอตรัง 1 ได้ปีละ 5,000 ต้น แต่ถ้าสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิต ประชุม อบรม สร้างแปลงแม่พันธุ์และขยายพันธุ์ควบคู่กันไปคาดว่าจะเคลียร์ยอดจองภายใน 3 ปี (64-66) แต่ก็ต้องรอการพิจารณาของกรมอีกครั้งว่าจะให้ดำเนินงานไปแนวไหน

อนึ่ง สะตอตรัง 1 ขยายพันธุ์แบบติดตา จึงค่อนข้างยาก เปอร์เซ็นต์การรอดน้อยกว่าพืชอื่นๆ ด้วยต้นเป็นฟองน้ำ จะเหี่ยวแห้งง่าย นั่นเอง

วงการไก่ชน น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก ตี๋..พานทอง เจ้าของฟาร์มไก่ชนระดับเงินล้าน มีไก่ชนไปเข้าสังเวียนนับร้อยชีวิต

แต่วันนี้ ตี๋ พานทอง หรือนายณัฐพงศ์ รอดพิรุณ วัย 59 ปี อยู่ที่ ต.พานทอง อ.พานทอง จ.ชลบุรี บอกว่า ผมทิ้งสังเวียนไปแล้ว เมื่อต้นปี 2563 หลังจากโควิด19 ระบาด ทิ้งไก่ชนหลายรัอยชีวิตไปจนหมดสิ้น

สาเหตุเพราะญาติๆ หลายคนมาขอร้องไว้อย่าไปทำเลยไก่ชน มันเป็นการซื้อขายชีวิตเขา สู้หันมาทำอะไรเพื่อธรรมชาติ เพื่อบ้านเมืองบ้างดีกว่า ตอนนั้นไก่ชนก็ออกไปตีบนสังเวียนไม่ได้ด้วย เลยเอาไก่ไปแจกจ่ายให้เพื่อนไป จนหมดเล้าไก่ ไม่เหลือแม้แต่ตัวเดียว

ก่อนจะมาขบคิดว่าเราจะทำอะไรดี นึกถึงวัตถุดิบในพื้นที่ก่อน เลยรู้ว่า เรามีดินดี มีแกลบเยอ มีขุยมะพร้าว มีต้นและใบก้ามปู อยู่เป็นจำนวนมาก เพราะเคยทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ก้ามปูมาก่อน ประกอบกับช่วงหลังมาปลูกต้นไม้เยอะต้องใช้ดินปลูกจำนวนมาก ไปหาซื้อมาราคาประมาณ 7 ถุง 100 บาท แต่ในถุงมีแค่ดินกับแกลบเผาเท่านั้นเอง

ตี๋พานทอง บอกว่า นี่เลยเป็นจุดเริ่มการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ จากความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาจากวิทยาลัยเกษตรบ้านบึง รุ่น 1 เอามาผสมผสานการทำปุ๋ยอินทรีย์ เริ่มจากการหมักปุ๋ยขี้วัวขี้ไก่ ไว้ 6-10 เดือน

จากนั้นนำปุ๋ยที่หมักไว้มาผสมในเครื่องผสมปุ๋ยอินทรีย์ มีวัตถุดิบ เช่น ดิน แกลบเผา ใบและต้นก้ามปู เปิดเดินเครื่องให้วัตถุดิบทั้งหมดเข้ากัน ก่อนจะเติมน้ำหมักอีเอ็ม ที่ได้มาจากกรมพัฒนาที่ดินใส่ลงไป และตามด้วยเชื้อราไตรโคเดอ์มา ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผลิตออกมาจำหน่ายให้กับเรา ผสมลงไปในขั้นตอนสุดท้าย

ก่อนจะคลุกเคล้าให้วัตถุดิบทั้งหมดเข้ากันแล้วจะนำออกจากเครื่องออกมาบรรจุลงถุงในอัตราถุงละ 5 กก. แล้วออกวางจำหน่ายในท้องตลาดราคา 6 ถุง 100 บาท ซึ่งกำไรไม่มากมายนักแต่ทำเพื่อให้ชาวบ้านชาวสวนได้ใช้ปุ๋ยคุณภาพดีราคาไม่แพงนัก

ก่อนที่จะออกมาจำหน่ายเราได้ทดลอง นำไปปลูกต้นไม้ ทั้งไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ พบว่าเจริญงอกงามดี เมื่อนำไปทดสอบทางห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงรู้ว่าดินปลูกผสมปุ๋ยอินทรีย์ มีคุณสมบัติ สร้างให้ต้นไม้แข็งแรง มีเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นตัวช่วยให้ปุ่มปมรากต้นไม้ทำงานได้ดี

แต่มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บจะต้องไม่ถูกแสงแดดจัดหรือถูกน้ำฝน ตกใส่ เพราะเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะสูญสลายไปโดยง่ายื อีกทั้งยังมีข้อจำกัด เก็บไว้ได้เพียงปีเดียวเท่านั้น

ใครสนใจไปเยี่ยมชมโรงงาน หรือชมขั้นตอนการผลิต ตี๋พานทองพร้อมเสมอ แต่ขอให้ติดต่อไปก่อนที่ 08-1781-8747 ไม่เว้นแม้วันหยุดราชการ กรมส่งเสริมการเกษตร เผยสถานการณ์ผลผลิตและการเก็บเกี่ยวผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2564 ผลผลิตลดจากปีที่แล้วร้อยละ 10 เหตุเพราะสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ประกอบกับได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน ส่งผลให้ราคาไม้ผลปีนี้ปรับตัวสูงขึ้น

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า จากการสำรวจข้อมูลเอกภาพไม้ผลภาคตะวันออก (ระยอง จันทบุรี ตราด) ปี 2564 (ข้อมูล ณ 19 เมษายน 2564) โดยฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) กรมส่งเสริมการเกษตร พบว่า ไม้ผลทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง มีผลผลิตรวม 900,126 ตัน ลดลงจากปี 2563 ที่มีจำนวน 995,501 ตัน (ลดลง 95,375 ตัน หรือร้อยละ 10) เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย หนาวเย็นนาน สลับกับมีฝนตกในช่วงปลายปี 2563 จนถึงต้นปี 2564 ทำให้ออกดอกได้น้อย ไม่เต็มต้น โดยทุเรียน ให้ผลผลิต 575,542 ตัน มังคุด 106,796 ตัน เงาะ 197,708 ตัน และลองกอง 20,080 ตัน ทั้งนี้ ผลผลิตทั้ง 4 ชนิดจะออกมากช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 สำหรับประมาณการผลผลิตรายจังหวัดมีดังนี้

ทุเรียน ได้แก่ จังหวัดระยอง 120,080 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 20,842 ตัน (ร้อยละ 17.36) จันทบุรี 398,618 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 68,898 ตัน (ร้อยละ 17.28 ตัน) ตราด 56,844 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 19,190 ตัน (ร้อยละ 33.76) ภาพรวมทุเรียนภาคตะวันออก ประมาณการผลผลิต 575,542 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 108,930 ตัน คิดเป็นร้อยละ 18.93 โดยทุเรียนเกรด A ราคา 113.33 บาท/กิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาเฉลี่ยรายสัปดาห์ ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 12.25 บาท/กิโลกรัม

มังคุด ได้แก่ จังหวัดระยอง 12,724 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 472 ตัน (ร้อยละ 3.71) จันทบุรี 71,695 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 1,622 ตัน (ร้อยละ 2.26 ตัน) ตราด 22,377 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 1,198 ตัน (ร้อยละ 5.35) ภาพรวมมังคุดภาคตะวันออก ประมาณการผลผลิต 106,796 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 3,292 ตัน คิดเป็นร้อยละ 3.08 โดยมังคุดเกรด A ราคา 196.67 บาท/กิโลกรัม ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 11.94 บาท/กิโลกรัม

เงาะ (โรงเรียน) ได้แก่ จังหวัดระยองให้ผลผลิต 5,350 ตัน จันทบุรี 99,179 ตัน ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวทั้ง 2 จังหวัด ตราด 93,179 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 8,763 ตัน (ร้อยละ 9.40) ภาพรวมเงาะ (โรงเรียน) ภาคตะวันออก ประมาณการผลผลิต 197,708 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 8,763 ตัน คิดเป็นร้อยละ 4.43 โดยเกรด A ราคา 55 บาท/กิโลกรัม ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 8.95 บาท/กิโลกรัม

ลองกอง ประมาณการผลผลิตภาคตะวันออก 20,080 ตัน ขณะนี้ยังไม่มีการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 21.26 บาท/กิโลกรัม

ขณะที่ลิ้นจี่ (นครพนม 1) สมัครพนันออนไลน์ ของภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ให้ผลผลิต 19,937 ตัน เชียงราย 3,059 ตัน น่าน 3,708 ตัน ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวทั้ง 3 จังหวัด พะเยา 4,012 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 3 ตัน (ร้อยละ 0.07) ภาพรวมลิ้นจี่ภาคเหนือ ประมาณการผลผลิต 30,716 ตัน เก็บเกี่ยวแล้ว 3 ตัน คิดเป็นร้อยละ 0.01 โดยเกรด AA ราคา 100 บาท/กิโลกรัม ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 17.43 บาท/กิโลกรัม

แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2564 ไตรมาสแรก

สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัวร้อยละ 0.7 โดยกิจกรรมการเตรียมดินและการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกพืชสำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง ในส่วนของการเก็บเกี่ยวอ้อยโรงงาน แม้ว่าพื้นที่เก็บเกี่ยวอ้อยจะลดลงเนื่องจากเกษตรกรบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกพืชอื่น แต่ผู้ประกอบการได้ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการใช้เครื่องจักรกลในการตัดอ้อยมากขึ้น โดยการจัดหารถตัดอ้อยให้แก่ชาวไร่อ้อยคู่สัญญา

สาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 1.2 เนื่องจากผลผลิตไม้ยูคาลิปตัส ไม้ยางพารา และรังนก เพิ่มขึ้น โดยผลผลิตไม้ยูคาลิปตัสยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ จีน และญี่ปุ่น โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง ขณะที่ผลผลิตไม้ยางพาราเพิ่มขึ้นตามพื้นที่การตัดโค่นสวนยางพาราเก่า เพื่อปลูกทดแทนด้วยยางพาราพันธุ์ดีและพืชชนิดอื่น และรังนกยังมีความต้องการจากประเทศจีนและกัมพูชาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตถ่านไม้ลดลง เนื่องจากความต้องการที่ชะลอตัวลงจากการแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2564 คาดว่า จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.7 – 2.7 เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยทุกสาขาการผลิต ได้แก่ สาขาพืช สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ มีแนวโน้มขยายตัว และคาดว่าปริมาณน้ำฝนในปีนี้จะมีมากกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์ลานีญา ประกอบกับการบริหารจัดการที่ดีทั้งในด้านการผลิตและการตลาด มีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน รวมไปถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทำให้ภาวะเศรษฐกิจมีการฟื้นตัว

“แม้การคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรตลอดทั้งปี 2564 จะมีทิศทางที่ดี โดยมีการขยายตัวทุกสาขา การผลิต แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ทั้งความแปรปรวนของสภาพอากาศ ราคาน้ำมัน ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่า ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ซึ่งแน่นอนว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้มีแนวทางเพื่อรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป ทั้งการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ การพัฒนาระบบเตือนภัยด้านการเกษตร การส่งเสริมการทำเกษตรในรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Economy นอกจากนี้ ยังเน้นสร้างภูมิคุ้มกันและหลักประกันความมั่นคงทางด้านรายได้ เช่น การประกันภัยพืชผล การทำเกษตรพันธสัญญา รวมไปถึงส่งเสริมองค์ความรู้ในการทำเกษตรในรูปแบบเกษตรอัจฉริยะ เกษตรแม่นยำสูง และยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรด้วยเช่นกัน” เลขาธิการ สศก. กล่าว

ในวันเสาร์ที่ 27 มีนาคม 2564 เวลา 13.00-17.00 น. เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่เกิดขึ้นบนผืนดินของเกษตรกร นั่นก็คือ การจัดกิจกรรมห้องเรียนกลางสวน ตอน “ลุยเที่ยวเกี่ยวความรู้ที่ไร่คุณชาย” โดย “เกษตรอคาเดมี” ในเครือเกษตรก้าวไกล (เครือเดียวกันแต่คนละหวี) มุ่งหวังที่จะให้สวนหรือไร่นาของเกษตรกรเป็นห้องเรียน แทนที่จะเป็นที่ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์และขายผลผลิตเพียงอย่างเดียวก็มาเป็นสถานที่เรียนรู้หรือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไปด้วย

การจัดกิจกรรมของเราครั้งนี้ ไม่ได้มุ่งหวังเรื่องกำไรที่เป็นตัวเงิน แต่เรามุ่งหวังให้กิจกรรมเกิดขึ้นในสวนของพี่น้องเกษตรกร เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มตามนโยบาย 4.0 “ทำน้อยได้มาก” ซึ่งหลายสวนที่มีความพร้อมก็อาจจะจัดได้ดีอยู่แล้ว แต่หลายสวนก็อาจจะยังไม่มีความพร้อม เราในฐานะสื่อมวลชนเกษตรจึงคิดว่าจะเข้าไปช่วยเติมเต็ม เท่าที่จะสามารถทำได้ ตามประสบการณ์ที่มีอยู่ เพื่อให้ภาคเกษตรขับเคลื่อนไปสู่อนาคตที่ดีกว่าและสร้างความยั่งยืนในอาชีพการเกษตร…

ทุกท่านคงทราบกันดีว่าช่วงเวลาที่โควิด-19 ได้มาอยู่กับเรา ทำให้เราต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลง บังคับให้เกษตรกรเป็นเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการโดยสมบูรณ์แบบ ถนนทุกสายมุ่งสู่ภาคเกษตร แต่จะมีเกษตรกรสักกี่คนที่ปรับตัวได้ “เกษตรกรอยู่รอดประเทศไทยอยู่ได้” คือคำขวัญที่เราจะใช้รณรงค์ตลอดปี 2564 “เพราะเราเชื่อมั่นว่าเกษตรคือประเทศไทย ถ้าทำให้เศรษฐกิจภาคการเกษตรเติบโตได้ประเทศไทยของเราก็จะเจริญอย่างยั่งยืน” การจัดโครงการห้องเรียนกลางสวนที่ไร่คุณชายจึงถือเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่เราได้มุ่งมั่นดำเนินการมาเป็นระยะๆ จะว่าเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมที่หลายองค์กรคำนึงก็ใช่ โดยพัฒนาต่อยอดมาจากเสวนาเกษตรสัญจรหรือทัวร์เกษตร ที่เกิดขึ้นและได้รับความนิยมมากเมื่อหลายสิบปีก่อน ผู้ที่ริเริ่มและอยู่ในความทรงจำของพวกเราก็คือ คุณประพันธ์ ผลเสวก บรรณาธิการบริหารนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ในเครือมติชนสมัยนั้น

กล่าวสำหรับ “เกษตรก้าวไกล” ก็นำมาปรับต่อยอดใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดเสวนาเคลื่อนที่เร็ว ที่เรียกว่า Talk of The Farm รวมทั้ง “ห้องเรียนกลางสวน” ที่กำลังดำเนินการในวันนี้ที่ไร่คุณชาย บ้านพุตะเคียน ต.ท่าเสา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เป็นรูปแบบที่เจ้าของสวนได้ถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ที่ทำอยู่จริงๆ โดยคุณสมชาย แซ่ต้น เจ้าของสวนที่ยึดมั่นในอาชีพเกษตรหลายสิบปี และวันนี้เรายังได้รับเกียรติจาก คุณครูลออ ดอกเรียง วิทยากรชุมชน ที่ได้มาให้ความรู้เรื่อง พืชทนแล้ง พร้อมทั้งสาธิตการเสริมรากพืชด้วย

กิจกรรมของเราได้เริ่มต้นขึ้นเวลา 13.00 น. พอถึงเวลานัดหมายกลุ่มผู้สนใจก็มากันพร้อมหน้า “ต่างคนต่างมาหัวใจเดียวกัน” คือแนวคิดที่เราใช้ในคราวนี้ นั่นคือให้ทุกคนที่มีหัวใจเกษตรเดินทางมากันเอง ตามปกติอาจจะนัดพบกันที่จุดใดจุดหนึ่งและนั่งรถกันมา แต่ตามรูปแบบเดิมนี้เราพบว่าไม่สะดวกในภาวะปัจจุบันที่ทุกคนเน้นความเป็นอิสระ เรียกว่าทั้งแต่ระบบออนไลน์เฟื่องฟูทุกคนต้องรับผิดชอบตนเอง ไม่ต้องรอคนนั้นคนนี้ แค่ตั้งโลเคชั่นของสวน คุณจะหยุดแวะระหว่างทางเพื่อช่วยกันสร้างเศรษฐกิจ(กระจายรายได้)ก็ทำได้สะดวก พอถึงเวลาก็มาพบกันที่สวนเลย (ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง ตามแนวคิดที่ว่า ถนนทุกสายมุ่งสู่ภาคการเกษตร) มาไกลสุดจากจังหวัดร้อยเอ็ด นอกจากนั้นอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มากันในแบบครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ (ยกเว้นเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ลุยเดี่ยว)

ในครั้งนี้เรายังได้รับเกียรติจากนักวิจัยที่เป็นระดับดอกเตอร์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ถึง 2 ท่าน มาร่วมคณะและจัดทำข้อมูลท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกรไทยในโอกาสต่อไป

พอพูดคุยถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของเจ้าของสวนและผู้จัดเสร็จสรรพก็เป็นการแนะนำตัวว่าผู้ร่วมคณะเป็นใครมาจากไหนก้นบ้าง จากนั้นก็เข้าเรื่องราวการทำสวนตามหัวข้อเรื่องที่วางไว้ โดย คุณสมชาย แซ่ตัน ได้บรรยายเรื่องหลักคิดและวิธีการทำสวนในรูปแบบเกษตรผสมผสานว่าทำอย่างไร ประสบความสำเร็จอย่างไร ปลูกพืชชนิดไหนบ้างที่เข้ากันได้ดี และมีตลาดสม่ำเสมอ ต่อด้วย ครูลออ ดอกเรียง ได้มาบรรยายเรื่องการปลูกพืชทนแล้งและสาธิตเสริมรากมะกรูด ส้มโอ และมะขามป้อม

เมื่อพูดคุยทำความเข้าใจและเปิดโอกาสให้ซักถามกันแล้ว ประมาณ 15.00 น. เป็นการพักเบรก มีทั้งมะพร้าวน้ำหอมที่เฉาะกันสดๆ เป็นเครื่องดื่มธรรมชาติที่ต้อนรับตั้งแต่ก้าวย่างมาถึงสวน ผสมด้วยกล้วยไข่ที่ชมกันว่าหวานอร่อยมาก กล้วยหินต้มก็มันหวานนิดๆ บางคนก็เพิ่งทานครั้งแรก แซมด้วยมะม่วงหวานพอดีๆ มะละกอฮอลแลนด์ มะขามหวานสีทอง และไฮไลท์วันนี้คือมะปรางมะยงชิดที่เก็บมาให้ชิมกันถาดใหญ่ หรือใครจะไปเก็บจากต้นที่อยู่ใกล้ๆกันทางเจ้าของสวนก็เปิดพิเศษในวันนี้

ได้เวลาก็เดินเลาะชมสวน เริ่มจากแปลงข้างบ้าน เดินไปพลางพูดคุยกันไปพลาง ทั้งเจ้าทุเรียน กล้วย มะยงชิด มะละกอ มะม่วง มะนาว ยืนยิ้มน้อยยิ้มใหญ่(สังเกตดูอยู่ระหว่างออกดอกผลิผล) และมาหยุดเป็นจุดๆ ตามกลุ่มของพืชที่ปลูก ซึ่งเน้นไม้ผลเป็นพิเศษ ที่หยุดอยู่นาน เช่น กลุ่มทุเรียนที่มีหลายอายุ แต่ที่อายุ 3-4 ปี จะเยอะหน่อย ซึ่งกำลังออกดอกให้ผลผลิตหลายต้น มะยงชิดก็กำลังสุกพอดี ยืนคุยไป เก็บกินไป ขยับไปตรงขนุนต้นใหญ่มีปลูกไว้ไม่กี่ต้นตามจุดต่างๆที่ตั้งใจจะให้เป็นร่มเงา แต่ดันดกเหลือหลาย ส้มโอก็ใช่ย่อยแข่งกันออกลูกจนกิ่งต้องโน้มลงมากเกือบติดดิน เช่นเดียวกับเงาะโรงเรียนที่ออกลูกไล่เลี่ยกัน ดกกมากๆ ไม่มีกิ่งไหนที่ไม่มีลูกก็ว่าได้ คิดมองภาพไปถึงเดือนพฤษภาคมที่จะถึงคงจะแดงเต็มต้น เห็นเจ้าของสวนโปรยๆว่า จะทำเป็นสกายวอล์กแบบเตี้ยๆให้นักท่องเที่ยวเดินมาเก็บกินและถ่ายรูป เช่นเดียวกับทุเรียนก็จะมามีให้ชิมในช่วงนั้นบ้าง แต่อาจจะยังไม่มาก “ตั้งใจว่าเดือนพฤษภาคมจะจัดบุฟเฟ่ต์เงาะเชิญมาเที่ยวกันนะครับ” เจ้าของสวนย้ำ

พวกเราเดินลัดเลาะชมสวน พร้อมการเรียนรู้จากของจริง จนถึงเวลาประมาณ 16.30 น. ก็ไปรวมตัวกันที่ศาลาเอนกประสงค์ของสวนอีกครั้งหนึ่ง หลังเช็ดหน้าเช็ดตาด้วยผ้าเย็น (ต้องยอมรับว่าเดินกันนานและได้เหงื่อเหมือนกัน) ก็หยุดดื่มน้ำและทานบุฟเฟ่ต์ผลไม้กันต่อ พร้อมกับเจ้าของสวนได้สรุปความรู้ที่ได้รับ ใครมีอะไรซักถามเพิ่มเติมก็ได้อีกนิดหน่อย แต่เราจะมีกลุ่มไลน์ไว้สอบถามกันต่อ

ปิดท้ายเจ้าของสวนมอบกล้วยไข่กลับบ้านกันคนละกล่อง และหาซื้อผลไม้ที่เป็นผลผลิตของสวนไปฝากคนที่บ้าน หรือฝากเพื่อนบ้านก็ตามอัธยาศัย..และก็ไม่ลืมถ่ายภาพร่วมกันที่ป้ายไร่คุณชาย (วันนี้ป้ายจะเก่าๆหน่อยๆแต่ก็ยังขลังอยู่) ซึ่งเสียดายว่าวันนี้สมาชิกที่มากันครอบครัวใหญ่ที่มีคุณแม่ซึ่งอายุมาก และคุณลูก ได้ขอตัวกลับก่อนเวลาเล็กน้อย แต่เสียงเฮ(ถ่ายคลิปไว้)ก็ยังดังลั่น ก็หวังว่าแนวคิดนี้จะกระจายไปยังสวนเกษตรหรือฟาร์มเกษตรต่างๆที่มีอยู่ทั่วประเทศให้ลุกขึ้นมาหาหนทางให้อยู่รอดอยู่นานและยั่งยืนตลอดไปนะครับ

อนึ่ง “เกษตรอคาเดมี” (เรียนรู้สิ่งดีๆจากของจริง) ในเครือเกษตรก้าวไกลจะยังคงมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับสวนหรือฟาร์มต่างๆ รวมทั้งองค์กรที่มองเห็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆให้เกิดขึ้นกลางสวนกลางฟาร์ม รวมทั้งการร่วมมือกับอาจารย์หรือนักวิชาการต่างๆ เพื่อหาจุดลงตัวที่เป็นมาตรฐานของท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อนำมาสรุปจัดทำเป็นข้อมูลเพื่อเผยแพร่เป็นประโยชน์ในวงกว้างต่อไปครับ

ปัญหาของเกษตรกรในปัจจุบันไม่ได้อยู่ที่เรื่องของการเพาะปลูก แต่ปัญหาหลัก ๆ จะอยู่ที่ช่องทางการตลาด ต้องพึ่งพาการขายแบบช่องทางเดิม ๆ ที่มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อและไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา เกษตรกรเริ่มเล็งเห็นถึงการทำตลาดออนไลน์มากขึ้น เพราะช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย ซึ่งในหลายพื้นที่ไม่สามารถทำการค้าขายแบบตลาดปกติหรือตลาดออฟไลน์ได้ เพราะทุกคนกังวลและเกรงว่าจะเกิดความเสี่ยงเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่แออัด เป็นการสัมผัสกับเชื้อโควิด-19 จึงส่งผลให้การค้าขายสินค้าทางการเกษตรที่ผ่านมามีการทำตลาดออนไลน์มากขึ้น เกษตรกรมีการพัฒนาสินค้าทางการเกษตรให้ได้มาตรฐาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดตามไปด้วย

คุณสุพัฒน์ อ่อนคง หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี ให้ข้อมูลว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าไม่สามารถเดินมาหาตลาดออฟไลน์ได้ ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดร่วมกับจังหวัดราชบุรี จึงคิดจัดทำตลาดออนไลน์หรือแอปพลิเคชันภายใต้ชื่อ “เกษตรโมบายราชบุรี” เพื่อให้ผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าผ่านตลาดออนไลน์ได้ โดยพี่น้องเกษตรกรต้องเตรียมสินค้าให้ได้มาตรฐานพร้อมที่จะจัดส่งไปถึงมือผู้บริโภค

“กรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีนโยบายตลาดนำการผลิต โดยสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด มีการส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ และเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน GAP เมื่อมีการส่งเสริมอย่างมีคุณภาพแล้ว เกษตรกรก็มักจะมีคำถามว่า จะให้ไปขายที่ไหน ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอ จึงได้มีการริเริ่มตั้งตลาดเกษตรกร หรือ Farmer Market ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เกษตรกรได้เข้าถึงและเรียนรู้ช่องทางการตลาดรวมถึงการนำสินค้ามาจำหน่ายด้วยตนเอง และเกษตรกรจะได้พบกับผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งที่นี่ก็มีตลาดเกษตรกรแบบกางเต็นท์ประจำหน้าสำนักงานเกษตรอำเภอหรือสถานที่ราชการ และพัฒนาไปสู่ตลาดเกษตรกรถาวร ในรูปแบบศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้ก่อสร้างอาคารขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้ของเกษตรกร ก็จะมีประมาณ 50 กว่าร้าน เรียกว่า เปิดตลาดออฟไลน์” คุณสุพัฒน์ กล่าว

จากสินค้าตลาดออฟไลน์ สู่ตลาดออนไลน์เต็มรูปแบบ
ตลาดออฟไลน์ที่มีการนำผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพมาจำหน่ายนั้น คุณสุพัฒน์ บอกว่า เป็นตลาดเกษตรโมบายราชบุรี โดยนำชื่อมาจากตลาดออนไลน์ ซึ่งจังหวัดราชบุรีเรามีแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า ”เกษตรโมบาย” ซึ่งเป็นตลาดที่มีสินค้าผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP นำสินค้ามาตรฐานต่าง ๆ มาให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อได้อย่างมั่นใจ พร้อมกันนี้เกษตรกรได้มีการปรับตัว ผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาด คือ การตลาดนำการผลิตตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร

“พอเกษตรกรเริ่มจับทางการทำตลาดได้ว่า ลูกค้าหรือกลุ่มผู้บริโภคต้องการอะไร การผลิตสินค้าทางการเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการจึงเป็นเรื่องสำคัญ ต่อมาเมื่อเกษตรกรมีสินค้าที่ได้มาตรฐาน เราในฐานะผู้ดูแล จึงส่งเสริมการทำตลาดให้กับพี่น้องเกษตรกรมากขึ้น เพื่อให้มีการขายหลายช่องทาง ไม่ได้เน้นขายแต่ตลาดออฟไลน์เพียงอย่างเดียว แต่สามารถทำตลาดออนไลน์ส่งตรงไปถึงมือผู้บริโภค รวมทั้งสร้างเป็นสินค้าคุณภาพส่งขายยังตลาดโมเดิร์นเทรดอีกด้วย จึงทำให้เวลานี้ร้านค้าบางร้านที่มีสินค้าได้มาตรฐาน ก็จะมีปริมาณการสั่งซื้อจากลูกค้าเข้ามาอย่างต่อเนื่อง สามารถขายสินค้าได้ เกิดรายได้หลายช่องทาง” คุณสุพัฒน์ กล่าว

วิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัยบ้านหนองหลวง จ.ราชบุรี แหล่งรวบรวมสินค้าออนไลน์ครบวงจร
คุณนิรัญชรา สุขไข่ ประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัยบ้านหนองหลวง ตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดรราชบุรี ให้ข้อมูลว่า วิสาหกิจชุมชนแห่งนี้เริ่มจากการก่อตั้งมาครั้งแรกมีสมาชิกเพียง 7 คน เท่านั้น ต่อมามีการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่ม จนปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ที่ 33 คน เนื้อที่ทำการเกษตรอยู่ที่ 100 กว่าไร่ โดยทางกลุ่มได้ผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย เช่น ผัก ผลไม้ เพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภคเป็นหลัก จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้กลุ่มได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากในการทำตลาด จึงได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การทำตลาดให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น โดยปรับจากเดิมที่ทำแต่ตลาดออฟไลน์ มาสร้างแบรนด์สินค้าให้ได้มาตรฐานและเข้าสู่ระบบออนไลน์แบบเต็มรูปแบบ

“ที่ผ่านมาเนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผลผลิตค่อนข้างมีปัญหา คือไม่มีที่ขาย เพราะตลาดปิด ไม่อยากออกไปในพื้นที่เสี่ยง ก็เลยมาปรึกษาหารือกันว่าจะแก้ปัญหาตรงนี้ได้อย่างไร จึงได้เดินไปหาสำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร คุยถึงปัญหา จะให้ช่วยเหลือปัญหาตรงนี้ให้หน่อย ทางเกษตรจังหวัดจึงได้แนะนำและเข้ามาดูแล และได้มอบแอปพลิเคชันชื่อว่าเกษตรโมบาย ให้ทางกลุ่มได้มาใช้และเพิ่มช่องทางการตลาด ตั้งแต่นั้นมาเราก็เรียนรู้มากขึ้น และทำตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ควบคู่กันไป” คุณนิรัญชรา กล่าว

เมื่อมีลูกค้าให้ความสนใจสินค้าทางการเกษตรและสินค้าแปรรูปของกลุ่มมากขึ้น คุณนิรัญชรา บอกว่า จึงได้มีการพัฒนาสินค้าทางการเกษตรอยู่เสมอ และนำสินค้าดีประจำท้องถิ่นมาพัฒนาให้มีคุณภาพ อย่างเช่น ผักสวนครัว ที่เด่นดังในย่านนี้คือ กะหล่ำดอก เนื่องจากกะหล่ำดอกที่นี่มีรสชาติดี หวาน กรอบ และก็ไม่เหนียว ที่สำคัญคือ เป็นอาชีพที่เกษตรกรที่นี่ทำมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เมื่อความต้องการของลูกค้ามีมากจึงได้พัฒนาการปลูกให้มีหัวใหญ่และได้มาตรฐาน จนประสบผลสำเร็จตามที่ตลาดต้องการ

“พอเราทำตลาดออนไลน์เป็น เราไม่ได้ขายแค่ในออนไลน์ แต่สามารถเชื่อมต่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์ได้ ทำให้กลุ่มของเราขายสินค้าได้เยอะ และทุกปัญหาที่เราเจอ เรามีพี่เลี้ยงที่ดีในการดูแล นั่นก็คือกรมส่งเสริมการเกษตร มีปัญหาก็คุยกับทางสำนักงานเกษตรจังหวัดตลอดเวลา ช่วยให้ปัญหาของเราได้รับการแก้ไข้ สรุปมีปัญหาอะไรเราก็จะมีพี่เลี้ยงคอยดูแล ทำให้ปัญหาทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ ช่วยให้การ พัฒนาตนเองของกลุ่มทั้งเรื่องขายออนไลน์มีความทันยุคทันสมัยมากขึ้นตามไปด้วย” คุณนิรัญชรา กล่าว

การพัฒนาสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพช่วยสร้างรายได้จากตลาดออนไลน์เพิ่มอีกหนึ่งช่องทาง
คุณสุพัฒน์ ได้กล่าวถึงความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัยบ้านหนองหลวงว่า การที่กลุ่มวิสาหกิจฯ แห่งนี้มีการส่งเสริมให้สมาชิกที่นี่ได้เข้ามาเรียนรู้และสามารถทำการตลาดผ่านทางช่องทางออนไลน์อยู่เป็นประจำ จึงทำให้กลุ่มมีการพัฒนาสินค้าทางการเกษตรที่ทันสมัยและตรงตามความต้องการของตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันสามารถทำตลาดออนไลน์เชื่อมโยงไปสู่ตลาดออฟไลน์ได้มากขึ้น เช่น ส่งจำหน่ายสินค้าขึ้นห้างโมเดิร์นเทรดที่มีการสั่งสินค้าจากที่นี่ในปริมาณที่มากขึ้นตามไปด้วย

“เมื่อพี่น้องเกษตรกรสามารถผลิตสินค้าได้มาตรฐาน และรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร จึงช่วยให้สินค้าตรงสเปกและขายได้ตลอดทั้งปี เพื่อรักษาศักยภาพในการผลิตให้มั่นคง เพื่อที่จะสามารถต่อรองกับคู่ค้าได้ ดังนั้น การพัฒนาเกษตรกร สินค้า การพัฒนาเรื่องมาตรฐาน และการทำตลาด จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่เกษตรกรต้องรู้ ก็จะช่วยให้เกษตรกรไทยยืนได้ด้วยตัวเอง ขายให้เป็น เพื่อเป็นเกษตรกรมืออาชีพ” คุณสุพัฒน์ กล่าว

สำหรับเกษตรกรท่านใด สนใจในเรื่องของการทำตลาดออนไลน์ “เกษตรโมบาย” ต้องการเพิ่มช่องทางการตลาด สามารถติดต่อสำนักงานเกษตรอำเภอได้ทุกอำเภอ หรือที่สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี ตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดรราชบุรี หมายเลขโทรศัพท์

“เกษตรกรอยู่รอดประเทศไทยอยู่ได้” ไม่ได้เป็นคำที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ สิ่งที่ “เกษตรก้าวไกล” มุ่งหวังสูงสุดก็คือเรื่องการพัฒนาอาชีพเกษตรให้เกิดความยั่งยืน หลายท่านคงทราบว่า GDP ภาคเกษตรลดต่ำเรื่อยๆ เหลือเพียง 8% ในปีที่ผ่านมา ทั้งๆที่คนไทยส่วนใหญ่ 1 ใน 3 อยู่ในภาคเกษตร นั่นหมายถึงรายได้ต่อหัวของเกษตรกรน้อยมาก ยิ่งทำเกษตรยิ่งยากจน เพราะเราไม่ได้พัฒนาให้ถูกทิศถูกทาง นโยบายที่ว่าต้องเป็นเกษตร 4.0 คือใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรจึงถูกหยิบนกมาใช้…

บ้านเราเคยหลงใหลได้ปลื้มว่าขายข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่แค่หม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่ใช้กันทุกครัวเรือนมีสักแบรนด์สักยี่ห้อหรือไม่ที่เป็นของคนไทยแท้ๆ

อย่างที่เคยบอกในครั้งที่แล้วว่า Covid-19 ได้บังคับให้เกษตรกรทุกคนลุกขึ้นสู้จากที่เคยตั้งหน้าตั้งปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ต่อไปนี้ก็จะกลายมาเป็นผู้ประกอบการอย่างเต็มตัว ทุกคนสามารถทำมาค้าขายได้โดยตรง เลิกหวังคนกลางเพียงอย่างเดียว หันกลับมาสำรวจว่าสถานประกอบการของเราตัวของเรามีอะไรเป็นจุดเด่นหรือมีศักยภาพที่จะนำมาเป็นจุดขายได้บ้าง

“เกษตรก้าวไกล” เดินเข้าออกหลายสวน ชนิดที่ว่า “ลุยเกษตรสุดเขตไทย” ได้มีโอกาสพูดคุยกับพี่น้องเกษตรกรคนแล้วคนเล่า ถ้าเราไม่ร่วมมือกันนำความคิดที่ตกผลึกร่วมกันมาปฏิบัติก็ยากที่จะเป็นจริงได้ ณ สวนเสน่ห์พันธุ์ไม้ ที่มี “ลุงเล็ก-เสน่ห์ ลมสถิตย์” เป็น CEO (เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารที่มีภรรยาและลูกเป็นรองประธานและกรรมการผู้จัดการ) ได้ดำเนินกิจการปลูกมะม่วงและรวบรวมมะม่วงหลากสายพันธุ์จากทั่วโลก โดยเฉพาะมะม่วงพันธุ์ไต้หวันมากมายก่ายกองนัก รวมทั้งไม้ผลชนิดอื่นๆ มาอยู่ในสวนเดียวกัน เดิมนั้นก็ตั้งใจจะขายผลผลิต แต่ไปๆมาๆก็กลายเป็นว่ามีรายได้หลักจากการขายกิ่งพันธุ์ โดยตลาดหลักจะอยู่ที่สวนจตุจักรทุกวันพุธและพฤหัสบดี

เราเดินวนไปมาในสวนได้เห็นความหลากหลายในพันธุกรรมไม้ผล โดยเฉพาะมะม่วงที่มีสายพันธุ์จากทั่วโลกมากที่สุดแห่งหนึ่งของสวนที่เป็นเกษตรกร (ไม่นับศูนย์วิจัยของราชการ) ตรงนี้แหละน่าจะเป็นจุดเด่นของสวนที่น่าจะนำไปบอกต่อเพื่อให้ผู้สนใจเดินทางมาชมที่สวน “ทำอย่างไรให้ตลาดเกิดขึ้นที่สวนที่ฟาร์มหรือที่หน้าบ้านของเกษตรกร” มันทำให้คิดถึงประโยคนี้ของหลายๆคนที่พูดผ่านหูครั้งแล้วครั้งเล่าก็ปะทุขึ้นมาอีกครั้ง “สวนลุงเล็กเข้าตามหลักการนี้เลย เพราะว่าอยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง ถนนหน้าบ้านก็ขยายขึ้นใหม่ คงสะดวกแก่การเดินทาง ผลผลิตของสวนก็น่าจะเชิญชวนให้ผู้คนหลั่งไหลมาชิมได้ ยิ่งภูมิปัญญาเจ้าของสวนก็ไม่ต้องพูดถึง และเมื่อยิ่งได้สัมผัสลงลึกก็พบว่าเจ้าของสวนมีจิตใจแบ่งปันความรู้ไม่เป็นสองรองใคร ฉะนั้นแล้วจะชักช้าอยู่ใย ต้องจัดกิจกรรมขึ้นมาสักอย่างล่ะ ไม่งั้นความคิดก็ล่องลอยไปตามสายลมวันแล้ววันเล่า จะได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา…” คือความคิดที่ได้เริ่มก่อตัวขึ้นมา

จากความคิดดังกล่าวก็ถูกพัฒนามาตามลำดับ จนในที่สุดก็ลงตัวว่าเราจะจัดกิจกรรมเสวนากลางสวน Talk of The Farm เรื่อง การปลูกมะม่วงโลกบนดินแดนประเทศไทย ตอนบุฟเฟ่ต์มะม่วงนานาชาติ (International Mango Buffet, Thailand) โดยจะจัดกันกลางสวนเสน่ห์พันธุ์ไม้ ต.ขุนศรี อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี…ได้ถามลุงเล็กว่ามะม่วงที่สวนจะสุกช่วงไหน เดิมลุงเล็กบอกว่าน่าจะปลายเดือนเมษายน แต่ล่าสุด(29 มีนาคม 2564) บอกว่าน่าจะเป็นช่วงต้นเดือนไปถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2564 มะม่วงสายพันธุ์ต่างประเทศจะสุกช่วงนั้น คือจะช้ากว่ามะม่วงไทย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เลยว่าจะจัดกิจกรรมวันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม 2564 เวลา 13.30-17.30 น. หรือใครที่อยากต่อเวลาก็ให้แจ้งมาจะจัดสรรให้หนำใจ

รูปแบบของกิจกรรมที่จะจัดขึ้น นอกจากจะมีการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเจ้าของสวน ทั้งการทำความรู้จักสายพันธุ์มะม่วงจากทั่วโลก รวมทั้งการเรียนรู้เรื่องการปลูกและการขยายพันธุ์แล้ว เรามั่นใจว่าในวันนั้นจะมีแฟนพันธุ์ดีมะม่วงพันธ์แท้มาร่วมเสวนากันอย่างคึกคัก และอีกประการหนึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นนี้หวังที่จะกระตุ้นให้คนไทยหันมารับประทานมะม่วง ที่เวลานี้ทยอยออกมาจำนวนมาก ในขณะที่การส่งออกของเรายังไม่คล่องตัว ก็หวัวงคนไทยเรานั่นแหละที่จะช่วยกันให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้

มะม่วงสายพันธุ์ต่างประเทศที่จะได้รับประทานในวันนั้นจะมีไม่น้อยกว่า 10 สายพันธุ์ (ปกติหลายสิบสายพันธุ์ แต่ปัญหาคือจะสุกไม่พร้อมกัน) เพราะเหตุนี้จึงเป็นที่มาของงานบุฟเฟ่ต์มะม่วงนานาชาติ…แนวคิดนี้มาจากในบ่ายวันหนึ่งที่ผู้เขียนได้เห็นลุงเล็กดึงลิ้นชักบอกว่าเก็บมะม่วงไว้กินกันและซื้อข้าวเหนียวมะม่วงมาด้วย “มะม่วงของเกษตรกรไทยจะต้องออกจากลิ้นชักออกจากสวนไปสู่คนทั่วโลก” ความคิดที่จะจัดกิจกรรมนี้ก็โลดแล่นทันที

ขอเรียนว่ากิจกรรมในครั้งนี้ เราไม่ได้มุ่งหวังกำไรที่เป็นตัวเงิน ไม่ได้ยึดเรื่องรายได้เป็นตัวตั้ง แต่ยึดเรื่องของการสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆให้เกิดขึ้นในสวนของพี่น้องเกษตรกร และไม่เพียงความรู้เรื่องมะม่วงสายพันธุ์ต่างๆ แนวคิดเสริมของงานคราวนี้คือ “อร่อย ครึกครื้น ชื่นใจ” โดยในวันนั้นนอกจากจะได้ชิมมะม่วงที่อร่อย อันเป็นสายพันธุ์เด่นๆของประเทศต่างๆแล้ว เรายังจะมีข้าวเหนียวมูนจากร้านชื่อดังของจังหวัดนนทบุรี (ข้าวเหนียวคุณพะเยาว์ กฤษแก้ว ขายประจำที่หน้าธนาคารกสิกรไทย ถนนติวานนท์ 25 และโรงพยาบาลชลประทาน สอนอยู่ที่ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน) อีกทั้งยังจะได้ชื่นใจกับไอศกรีมมะม่วงชื่อดังจากปทุมธานี (มานะไอศกรีม ทำไอศกรีมส่งร้านอาหาร อีกทั้งสอนอยู่ที่ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน) มาร่วมสมทบจัดเสิร์ฟคู่กับความรู้ ตามความตั้งใจของลุงเล็กเจ้าของสวนนั้น บอกว่าไม่คิดสตางค์ แต่ในฐานะผู้จัด ต้องการให้ทุกคนได้มีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน จึงตั้งต้นเป็นค่าผ่านประตูเข้าสวนคนละ 200 บาท เพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าข้าวเหนียวมูนและไอศกรีม ซึ่งทั้งข้าวเหนียวมูนและไอศกรีมต่างก็บอกว่าอยากจะมีส่วนร่วม แต่ในฐานะผู้จัดคงจะฟรีไม่ได้ เพราะว่าเผื่อคราวหน้าคราวหลัง จะได้มีครั้งต่อไปอย่างยั่งยืนไม่ใช่จัดครั้งเดียว ขาดทุนกินเนื้อตัวเองก็เลิกกันไป

อนึ่ง ตามความตั้งใจของผู้จัดก่อนถึงวันงานเราจะมีการประกวดคลิปเชิญชวนคนไทยกินมะม่วง และวันงานเราตั้งใจจะเชิญ youtuber และ creator มาร่วมรีวิวกินมะม่วงที่สวนของเกษตรกรไทย(นอกเหนือจากทุกท่านที่สามารถรีวิวตามหน้าสื่อของตนเอง) และชมสวนมะม่วงในประเทศไทย ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานงานและจะแจ้งอีกครั้งว่าเป็นไปได้แค่ไหน สิ่งที่เป็นไปได้ตอนนี้ก็คือขอให้คนไทยทุกคนที่มีหัวใจเกษตรรีบติดต่อจองบัตรผ่านประตูได้ที่โทรไลน์ 0863266490 หรือ 0897877373 พอถึงเวลาก็จูงมือบุตรฉุดมือหลานเดินทางไปที่สวนของเกษตรกร ภายใต้แนวคิด “ต่างคนต่างไปหัวใจเดียวกัน” ขอย้ำว่ากิจกรรมครั้งนี้เราจัดขึ้นเพื่อคนไทยผู้มีส่วนได้เสียทุกคน…เกษตรคือประเทศไทย เกษตรกรอยู่รอดประเทศไทยอยู่ได้ ทำอย่างไรให้ถนนทุกสายมุ่งสู่เกษตรกรไทย All Roads To Farmers เราต้องสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้เกิดขึ้นบนผืนดินของเกษตรกรไทยที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้

หมายเหตุ ภาพมะม่วงส่วนหนึ่งนำมาจากเฟสบุ๊ค “ลุงเล็ก สวนเสน่ห์พันธุ์ไม้” และภาพแรกที่เป็นข้าวเหนียวมะม่วง (คัดมาบางส่วน) ต้นฉบับมาจากเว็บไซต์มติชนออนไลน์ จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

คณะนักวิจัยไทยและต่างประเทศ ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย ดร.รัมภ์รดา มีบุญญา ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ Prof. Henrik Balslev มหาวิทยาลัยออร์ฮุส ประเทศเดนมาร์ก (Aarhus University, Denmark) ได้ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในเอเซีย Dolichos kongkandae R. Meeboonya, Ngerns. & Balslev ชื่อภาษาไทยว่า “ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าขุนห้วยแม่กอก (เด่นหญ้าขัด) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ทางอนุกรมวิธานพืชให้โครงการพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย (Flora of Thailand Project)

รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยถึงการค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในเอเซียว่า “ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของ ดร.รัมภ์รดา มีบุญญา ผู้ได้รับทุนการศึกษาจากโครงการพัฒนากําลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งตนเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และ ได้ทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KURDI) รหัสโครงการ 3.1-61.61 และ The Carlsberg Foundation ประเทศเดนมาร์ก

“ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” อยู่ในวงศ์ถั่ว วงศ์ย่อยประดู่ (Leguminosae, Papilionoideae) เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นพันเลื้อย หูใบรูปไข่หรือรูปรีกว้าง ติดทน ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยใบปลายรูปไข่ รูปใบหอก หรือรูปไข่กว้าง กว้าง 1.5-4.5 ซม. ยาว 3.5-8 ซม. ปลายแหลมและมีติ่งแหลม โคนมน ขอบเรียบ ใบย่อยคู่ข้างรูปไข่หรือรูปใบหอก ไม่สมมาตร ปลายแหลมและมีติ่งแหลม โคนมนกลม มน หรือกึ่งรูปหัวใจ ขอบเรียบ ช่อดอกคล้ายช่อกระจะ ดอกรูปดอกถั่ว สีม่วงเข้ม เมื่อแห้งสีม่วงแกมสีดำ กลีบดอกมีก้านกลีบ กลีบกลางรูปเกือบกลม ปลายเว้าตื้น มีรยางค์ 2 รยางค์อยู่บริเวณกลางกลีบ กลีบคู่ข้างรูปไข่กลับ ปลายเว้าตื้น มีรยางค์ 1 รยางค์อยู่บริเวณใกล้โคนกลีบ กลีบคู่ล่างรูปขอบขนาน ปลายตัด เกสรเพศผู้ 10 เกสร เชื่อมติดสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งมี 9 เกสร อีกกลุ่มหนึ่งมี 1 เกสร รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปแถบ สีเขียวอ่อน มีขน ก้านยอดเกสรเพศเมียแบน ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม มีขนยาว ผลแบบผลแห้งแตกสองแนว เป็นฝัก แบน รูปขอบขนาน กว้าง 6-8 มม. ยาว 5-7.5 ซม. เมล็ดแบน รูปรีหรือรูปขอบขนาน

“ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” มักระบุชนิดผิดเป็น “ถั่วเพรียว” Dolichos tenuicaulis (Baker) Craib เนื่องจากมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์หลายอย่างคล้ายกัน โดยเฉพาะเมื่อเป็นตัวอย่างพรรณไม้แห้ง จากการศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเทียบเคียงกับตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ (type specimens) อย่างละเอียดแล้วพบว่า “ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” มีลักษณะเด่นคือ ลำต้นและใบมีขนหนาแน่น หูใบรูปไข่หรือรูปรีกว้าง กลีบดอกสีม่วงเข้ม เมื่อแห้งสีม่วงแกมสีดำ ซึ่งแตกต่างจาก “ถั่วเพรียว” ที่ลำต้นและใบมีขนประปราย หูใบรูปใบหอก รูปรี หรือรูปคล้ายสามเหลี่ยม สีดอกสีชมพูแกมสีม่วงหรือสีชมพูอ่อน เมื่อแห้งสีเหลือง นอกจากนี้พืชทั้ง 2 ชนิดยังมีความยาวช่อดอก ก้านผลย่อย ขนาดของหูใบ หูใบย่อย ใบประดับ กลีบกลาง กลีบคู่ข้าง และกลีบคู่ล่างแตกต่างกันด้วย

นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย ยังกล่าวอีกว่า คำระบุชนิด “kongkandae” และชื่อไทย “ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” นั้น ตั้งเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ ดร.ก่องกานดา ชยามฤต ผู้เชี่ยวชาญทางพฤกษศาสตร์ ผู้มีคุณูปการต่องานทางพฤกษศาสตร์ไทย อีกทั้งยังเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของ รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย และเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของ ดร.รัมภ์รดา มีบุญญา“ แหล่งที่พบ ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” คือบริเวณพื้นที่เปิดโล่งหรือเขาหินปูนในป่าดิบเขาและป่าเบญจพรรณ ที่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 550-2,150 ม. นอกจากพบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาวแล้ว ยังพบได้ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในต่างประเทศพบที่ภูฏาน อินเดีย เมียนมา จีน และลาว ออกดอกและเป็นผลเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม

ผลงานการค้นพบพืชชนิดใหม่ ของโลก นับเป็นงานวิจัยพื้นฐานที่มีคุณค่าทางวิชาการ เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและการวิจัยที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ทางอนุกรมวิธานพืชให้โครงการพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย (Flora of Thailand Project) ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก มาแล้วจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ช้างงาเอก (Garcinia nuntasaenii Ngerns. & Suddee) วงศ์ Clusiaceae (Guttiferae) เอื้องเทียนปากสีน้ำตาล (Coelogyne phuhinrongklaensis Ngerns. & Tippayasri) วงศ์ Orchidaceae ทังใบขนภูวัว (Litsea phuwuaensis Ngerns.) วงศ์ Lauraceae และล่าสุด คือ “ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” Dolichos kongkandae R. Meeboonya, Ngerns. & Balslev อยู่ในวงศ์ถั่ว วงศ์ย่อยประดู่ (Leguminosae, Papilionoideae)

“ถั่วดอยดอกม่วงก่องกานดา” Dolichos kongkandae R. Meeboonya, Ngerns. & Balslev ตีพิมพ์
ในวารสาร เว็บบอลออนไลน์ PhytoKeys 175: 55–65. เรื่อง Dolichos kongkandae sp. nov. and lectotypification of
D. fragrans (Leguminosae, Papilionoideae) from Asia ตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ เก็บโดย รัมภ์รดา มีบุญญา และ พีรนันท์ ยอดบ่อพลับ (R. Meeboonya & P. Yodboplub 406) ที่บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าขุนห้วยแม่กอก (เด่นหญ้าขัด) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560

โดยเจียไต๋ในฐานะผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทย

มีความเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีการเกษตร มีองค์ความรู้ด้านการเพาะปลูกพืชผักอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถถ่ายทอดให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบได้ริเริ่มปลูกพืชผักในพื้นที่ของตนเอง ไม่ว่าจะในพื้นที่เล็กๆ หรือในแปลงที่มีพื้นที่ใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยลดรายจ่ายด้านอาหารและสามารถสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง แม้กระทั่งสามารถพัฒนาเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงในระยะยาว

ซึ่งโครงการความร่วมมือในครั้งนี้ก็สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเจียไต๋ที่มุ่งมั่นในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งมอบนวัตกรรมการเกษตรด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ ซึ่งด้วยหลักสูตรนี้ เราหวังว่าองค์ความรู้ด้านการเกษตร ตลอดจนเทคนิคการเพาะปลูกของเจียไต๋จะช่วยเปิดโอกาสให้ผู้ที่เดือดร้อนสามารถข้ามผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกันได้

เป็นประสบการณ์เรียนรู้รูปแบบใหม่ของเกษตรกรไทย
นายณัฐพล วัชรศิริสุข ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คอร์สสแควร์ จำกัด กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า คอร์สสแควร์ ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นการเรียนออนไลน์ (Online Learning Solutions) ได้พัฒนาระบบซึ่งจะมาช่วยตอบโจทย์การเรียนรู้ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 โดยเกษตรกรสามารถเข้าถึงหลักสูตรต่าง ๆ ผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดจนเกษตรกรสามารถทำแบบทดสอบออนไลน์เพื่อวัดความเข้าใจหลังจบหลักสูตรได้ ซึ่งถือเป็นประสบการณ์การเรียนรู้รูปแบบใหม่ของเกษตรกรไทย

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถค้นหาหลักสูตรและลงทะเบียนสมัครฝึกอบรมได้ที่เว็บไซต์ www.coursesquare.co/kubota_csr เมื่อลงทะเบียนแล้วสามารถเลือกเรียนหลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม และประเมินผลการเรียนผ่านระบบออนไลน์ในท้ายบทเรียน ผู้ผ่านการประเมินในระดับคะแนน 80 % ขึ้นไปจะได้รับวุฒิบัตรรับรอง โดยสามารถพิมพ์วุฒิบัตรผ่านระบบออนไลน์ได้ด้วยตนเอง

เปิดลงทะเบียนพร้อมกันทั่วประเทศ
อนึ่ง หลักสูตรนักขับเครื่องจักรกลการเกษตร จะมีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ประกอบด้วย 1.โปรแกรมนักขับเบื้องต้น (ภาคทฤษฎีออนไลน์ เริ่มลงทะเบียนเรียน 20 มีนาคม 2564 สิ้นสุดการเรียน 30 เมษายน 2564 2.โปรแกรมนักขับมืออาชีพ (ภาคปฏิบัติ) ต้องเข้าเรียนและสอบผ่านโปรแกรมนักขับเบื้องต้น (ภาคทฤษฎีออนไลน์) แล้วเท่านั้น โดยสามารถจองลงทะเบียนไม่เกินวันที่ 25 เมษายน 2564 เพื่อนัดหมายสถานที่สอบภาคปฏิบัติ ระหว่างวันที่ 1 – 31 พฤษภาคม 2564 ณ 20 ร้านค้าผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้าที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเชียงราย จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดลพบุรี จังหวัดสุโขทัย จังหวัดลำปาง จังหวัดเลย จังหวัดสกลนคร จังหวัดพัทลุง จังหวัดราชบุรี จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดพิจิตร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดแพร่ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสงขลา และจังหวัดกรุงเทพมหานคร

ส่วน หลักสูตรเกษตรมือใหม่ (ภาคทฤษฎีออนไลน์) ลงทะเบียนเรียนได้ตั้งแต่ วันที่ 1 – 30 เมษายน 2564 เริ่มเรียน 1 เมษายน 2564 สิ้นสุดการเรียน 30 เมษายน 2564

เกษตรอำเภอลำทับ จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ ปี 2564 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศูนย์เครือข่าย) กลุ่มผลิตกาแฟขี้ชะมด หมู่ที่ 3 ต.ดินแดง อ.ลำทับ จ.กระบี่

วันที่ 18 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. นายธนากร ชูจิตต์ นายอำเภอลำทับ เป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2564 มี นายอนุชา ยาอีด เกษตรจังหวัดกระบี่ พบปะพี่น้องเกษตรกรที่มาร่วมงาน และ นางสาวจันทร์ฉาย เพ็ญเขตวิทย์ เกษตรอำเภอลำทับ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศูนย์เครือข่าย) หมู่ที่ 3 ตำบลดินแดง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่

นายธนากร ชูจิตต์ นายอำเภอลำทับ กล่าวว่า การจัดงานในวันนี้เป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรเกิดความตระหนักในการทำการเกษตร ซึ่งต้องมีการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลในการผลิตทางการเกษตร นำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพผลผลิตและเชื่อมโยงตลาด มีการพัฒนาให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยใช้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเป็นแหล่งเรียนรู้ของอำเภอ ดังนั้น การเริ่มต้นปีการเพาะปลูกใหม่ ถ้าเกษตรกรนำองค์ความรู้ที่เหมาะสม ในแต่ละพื้นที่ไปประยุกต์ใช้ในไร่นาและสวนของตนเองได้ จะทำให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญ หากมีการขยายผลหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกษตรกรได้เข้าถึงและนำไปใช้ ก็จะทำให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงสังคมก็จะมีแต่ความสุข

นางสาวจันทร์ฉาย เพ็ญเขตวิทย์ เกษตรอำเภอลำทับ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการการเกษตรเพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2564 ในวันนี้ สืบเนื่องมาจากภาคการเกษตรของไทยได้เข้าสู่ฤดูการผลิตใหม่แล้ว ซึ่งโดยทั่วไปถือว่าวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันเริ่มต้นปีเพาะปลูก ดังนั้นเพื่อให้การผลิตมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องมีการใช้องค์ความรู้ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยมีองค์ประกอบของศูนย์ ได้แก่ เกษตรกรต้นแบบ แปลงเรียนรู้ หลักสูตรการเรียนรู้ และฐานการเรียนรู้

อำเภอลำทับได้คัดเลือกพื้นที่ของนายพิศิษฎ์ เป็ดทอง หมู่ที่ 3 ตำบลดินแดง เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเครือข่าย กลุ่มผลิตกาแฟขี้ชะมด มีเป้าหมายในการพัฒนาเรื่องกาแฟ รวมถึงการทำการเกษตรโดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต

สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ มีดังนี้
1. เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรเริ่มต้นการผลิตในปีการเพาะปลูกใหม่โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่
2. หน่วยงานต่างๆ มีการให้บริการด้านการเกษตรตามภารกิจเพื่อสนับสนุนเกษตรกรเริ่มต้นการผลิตในปีการเพาะปลูกใหม่
3. เพื่อเผยแพร่ให้เกษตรกรรู้จักและใช้ประโยชน์จากศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่มีอยู่ในพื้นที่

กิจกรรมภายในงาน จัดให้มีสถานีเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งแต่ละสถานี จะมีเนื้อหาที่สอดคล้องกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายของการจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ โดยมีจำนวน 5 สถานีเรียนรู้ ดังนี้

สถานีที่ 1 บริการด้านวิชาการ
สถานีที่ 2 การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตกาแฟ
สถานีที่ 3 การจัดการและตกแต่งสวนกาแฟ
สถานีที่ 4 การปลูกไม้เศรษฐกิจในสวนกาแฟ
สถานีที่ 5 การเลี้ยงชะมด

นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงองค์ความรู้ กิจกรรมทางการเกษตร และการให้บริการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กลุ่ม/สถาบันเกษตรกร ภาคเอกชน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในการถ่ายทอดความรู้

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้มีเกษตรกรในพื้นที่อำเภอลำทับ และพื้นที่ใกล้เคียงมาร่วมงานไม่น้อยกว่า 120 คน ซึ่งเกษตรกรจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพการเกษตรในพื้นที่ของตนเอง โดยยึดหลักพอเพียง ความพอดีกับศักยภาพของตนเอง บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง รวมทั้งมีความเอื้ออาทรต่อคนอื่นๆ ในสังคมเป็นประการสำคัญ

กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ยกทัพมะม่วงคุณภาพดีให้คนกรุงได้ลิ้มลองในงาน “Mango of SIAM ที่สุดแห่งมะม่วงไทย ถูกใจทั่วโลก” ระหว่างวันที่ 2 – 6 เม.ย. 2564 นี้ ณ ห้างสรรพสินค้า ICONSIAM พร้อมรณรงค์แคมเปญ “ซื้อสินค้าเกษตรไทย เกษตรกรอยู่ได้ ประเทศไทยอยู่รอด” อุดหนุนชาวสวนผลไม้

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้นโยบายเกี่ยวกับการประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนถึงความร่วมมือและความเป็นไปได้ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ได้แก่ ICONSIAM, Central Pattana, The Mall, Tops Market, Makro, Lotus, Big C เพื่อวางแผนภาพรวมทั้งปีในการเปิดพื้นที่ให้เกษตรกรนำสินค้าเกษตรเข้าไปจำหน่ายตามฤดูกาล ภายใต้ความร่วมมือการบริหารจัดการผลไม้

ปี 2564 และช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 สำหรับในช่วงระยะเวลานี้สิ่งที่จำเป็นต้องเร่งทำเป็นกรณีพิเศษคือเรื่องผลไม้ ซึ่งผลไม้เขตร้อนเริ่มออกสู่ตลาดแล้วและจะออกสู่ตลาดมากขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมถัดจากนี้ไป ผลไม้ไทยถือว่ามีคุณภาพมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่งทางด้านการตลาดต้องดำเนินการทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องดำเนินการช่วยระบายผลไม้ทั้งในส่วนตลาดออฟไลน์และตลาดออนไลน์ควบคู่กันไปด้วยเพื่อไม่ให้ผลผลิตกระจุกตัว โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศขณะนี้ประสบปัญหาเรื่องการส่งออกผลไม้ในภาพรวมยังทำได้ไม่ 100% จึงต้องหันมาส่งเสริมด้านการตลาดในประเทศเพื่อช่วยชาวสวนเพิ่มให้มากขึ้น

กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับ ICONSIAM ได้กำหนดจัดงาน “Mango of SIAM ที่สุดแห่งมะม่วงไทย ถูกใจทั่วโลก” ระหว่างวันที่ 2 – 6 เมษายน 2564 ณ บริเวณชั้น G ห้างสรรพสินค้า ICONSIAM โดยเชิญ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน วัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้เพื่อช่วยชาวสวนผลไม้กระจายผลผลิต โดยเฉพาะระยะนี้เป็นเทศกาลของมะม่วงซึ่งมีผลผลิตจากหลายพื้นที่ทยอยออกสู่ตลาด กรมฯ จึงร่วมกับสมาคมชาวสวนมะม่วงไทยคัดสรรผลผลิตและผลิตภัณฑ์มะม่วงคุณภาพดีที่ได้รับการรับรองมาตรฐานมาร่วมออกบูธจำหน่าย รวม 25 บูธ ประกอบด้วย สินค้ามะม่วงจากสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย 8 บูธ

ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา (ผลสดและผลิตภัณฑ์), จ.พิจิตร (ผลสด ผลิตภัณฑ์ และกิ่งพันธุ์), จ.พิษณุโลก (ผลสดและกิ่งพันธุ์), จ.เพชรบูรณ์ (ผลสด), จ.ราชบุรี (ผลสด), จ.นครราชสีมา (ผลสด), จ.สระแก้ว (ผลสด GI) สินค้าเกษตรจากตลาดเกษตรกร 5 บูธ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงมหาชนก จ.เชียงใหม่, มะม่วงดองแช่อิ่ม จ.ชลบุรี, มะม่วงน้ำปลาหวานต้นหอม จ.สมุทรปราการ, มะม่วงพันธุ์ต่างประเทศ อบแห้ง จ.ลำพูน, มะม่วงน้ำปลาหวานมะดัน มะดันแช่อิ่ม จ.นครนายก สินค้าเกษตรจากกลุ่มแปลงใหญ่ 6 บูธ

ได้แก่ แปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม จ.สมุทรสาคร, แปลงใหญ่ส้มโอ ลิ้นจี่ จ.สมุทรสงคราม, แปลงใหญ่ทุเรียน มังคุด จ.จันทบุรี, แปลงใหญ่อะโวคาโด จ.ตาก, แปลงใหญ่สับปะรด (พันธุ์ใหม่) จ.ระยอง, แปลงใหญ่ขนุน จ.ชลบุรี และสินค้าเบ็ดเตล็ดที่เกี่ยวกับมะม่วงและการบริการต่าง ๆ จำนวน 5 บูธ ได้แก่ อุปกรณ์ทางการเกษตร ปุ๋ย สารชีวภัณฑ์ ฮอร์โมน ที่เหมาะสมสำหรับชุมชนเมือง รวมทั้งการให้บริการขนส่ง เช่น ไปรษณีย์ไทย, Kerry เป็นต้น

กิจกรรมภายในงาน นอกจากจะมีการออกร้านจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ยังได้จัดแสดงนิทรรศการประกอบเพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าชมงาน เช่น เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงคุณภาพดี ตั้งแต่การปลูก การดูแลรักษามะม่วง ศัตรูสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง การพัฒนาคุณภาพมะม่วงส่งออก/ดัชนีการเก็บเกี่ยวมะม่วง การแสดงความหลากหลายทางสายพันธุ์มะม่วง และมะม่วงที่ได้รับการรับรองเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สำหรับมะม่วงที่นำมาจัดแสดงครั้งนี้จำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 มะม่วงไทยพันธุ์การค้า จำนวน 16 พันธุ์ ได้แก่ น้ำดอกไม้เบอร์สี่ น้ำดอกไม้สีทอง เขียวเสวย ฟ้าลั่น โชคอนันต์ มหาชนก อกร่อง (อกร่องทอง อกร่องเขียว อกร่องพิกุลทอง) แรด ขายตึก เพชรบ้านลาด มันเดือนเก้า มันขุนศรี มะม่วงเบา น้ำดอกไม้มัน แก้ว หนังกลางวัน กลุ่มที่ 2 มะม่วงไทยพันธุ์หายาก/โบราณ จำนวน 10 พันธุ์

ได้แก่ ยายกล่ำ สายฝน เจ้าคุณทิพย์ พิมเสนมัน พิมเสนเปรี้ยว งาช้างแดง นาทับ สาวน้อยกระทืบหอ ลิ้นงูเห่า แก้วลืมรัง กลุ่มที่ 3 มะม่วงพันธุ์ต่างประเทศ/ลูกผสม จำนวน 6 พันธุ์ ได้แก่ อ้ายเหวิน อี้เหวิน จินหวง อาร์ทูอีทู แดงจักรพรรดิ แก้วขมิ้น กลุ่มที่ 4 มะม่วงที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ยายกล่ำนนทบุรี น้ำดอกไม้สระแก้ว น้ำดอกไม้ฉะเชิงเทรา และการซื้อขายสินค้าเกษตรผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมบนเวที เช่น การแข่งขันแกะสลักผลไม้

ตำผลไม้ลีลา เชฟชื่อดังมาร่วมโชว์ปรุงเมนูมะม่วงเลิศรส การถาม-ตอบความรู้มะม่วง สาธิตต่าง ๆ กิจกรรมนาทีทอง ลุ้นโชควงล้อมะม่วงมหาสนุก เป็นต้น จึงขอเชิญชวนผู้บริโภคทั้งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง ร่วมอุดหนุนสินค้าเกษตรไทยช่วยสนับสนุนชาวสวนผลไม้ภายใต้ Campaign “ซื้อสินค้าเกษตรไทย เกษตรกรอยู่ได้ ประเทศไทยอยู่รอด” พร้อมชมบรรยากาศดี ๆ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศได้ที่ห้างสรรพสินค้า ICONSIAM

ถือเป็นการประกาศวิสัยทัศน์ครั้งแรกของ “ธนารัตน์ งามวลัยรัตน์” ผู้จัดการธ.ก.ส.คนใหม่ หลังเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 1 มีนาคม 2564 มุ่งสร้างตาข่ายความปลอดภัยทางสังคม “Social Safety Net” หนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการรุ่นใหม่เข้ามาเสริมความเข้มแข็งและการเติบโตในภาคชนบท พร้อมดูแลด้านภาระหนี้สินเกษตรกร ผ่านกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ เร่งเติมเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย

ระหว่างวันที่ 20-21 มีนาคม 2564 นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้นำคณะผู้บริหารและพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมคณะสื่อมวลชน เดินทางไปยังจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีธ.ก.ส.ในพื้นที่มาสมทบรวมเบ็ดเสร็จเกือบ 100 ชีวิต

ทันทีที่ไปถึงนครศรีธรรมราช “เมืองพระ” ก็เดินทางไปที่วัดเจดีย์ไอ้ไข่เพื่อทำบุญร่วมกันเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย ซึ่งที่วัดแห่งนี้ได้สร้างความเลื่อมใสศรัทธาให้ผู้คนเดินทางมาสักการะบูชา จนทำให้เศรษฐกิจชุมชนคึกคักเป็นอย่างมาก (ชมคลิป LIVE สดได้ที่ https://fb.watch/4nMUutFMhq/)

จากนั้นในช่วงบ่ายได้เดินทางไปที่ ขนอม คาบานา บีช รีสอร์ต อันเป็นสถานที่แถลงข่าวแนวทางการขับเคลื่อนองค์กรประจำปีบัญชี 2564 นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธ.ก.ส.เปิดเผยถึงนโยบายการขับเคลื่อน ธ.ก.ส. ในฐานะผู้นำองค์กรว่า ยังคงมุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ที่ธนาคารวางไว้คือเป็น “ธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน มุ่งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท” แต่จะปรับวิธีหรือกระบวนการทำงาน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการดูแลเกษตรกรลูกค้าให้สามารถยืนอยู่ได้

“เกษตรกรอยู่ได้ ธ.ก.ส.อยู่ได้” อย่างมั่นคง ยั่งยืน ผ่านมาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ (New Gen /Smart Farmer / Entrepreneur)) ที่มีทักษะความรู้ ความสามารถด้านเทคโนโลยี การบริหารจัดการด้านการตลาด ให้เข้ามาต่อยอดในการเพิ่มมูลค่าผลผลิต และสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน ขณะเดียวกันต้องเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรที่มีภาระหนักด้านหนี้สิน โดยกำหนดให้พนักงานสาขาเข้าไปพบลูกค้าทุกรายเพื่อตรวจสุขภาพหนี้และประเมินศักยภาพ (Loan Review) หากพบว่าลูกค้ายังมีศักยภาพ จะแนะนำให้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น หรือชำระหนี้ให้สอดคล้องกับที่มาของรายได้ กรณีลูกค้าไม่มีศักยภาพ จะปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Loan Management) ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูอาชีพให้กับลูกค้า เพื่อสร้างที่มาแห่งรายได้หรือเพิ่มเติมทุนใหม่ต่อไป

ด้านการขับเคลื่อนงานพัฒนาชนบท จะมุ่งสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน (Community Engagement) ให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ เน้นดูแลรักษาสุขภาพในครัวเรือนและชุมชน การรวมกลุ่มวิเคราะห์ปัญหา สร้างทางเลือกและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด มีการจัดการด้านการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การดำรงรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน โดยเน้นความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค การเพิ่มมูลค่าผลผลิต และการบริหารจัดการทางการตลาด เช่น การเชื่อมโยงตลาด Social Commerce การส่งเสริมระบบการตรวจสอบย้อนกลับในสินค้าเกษตรอินทรีย์

ตลอดห่วงโซ่คุณค่าบนระบบ Blockchain การพัฒนาสินค้าเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน การส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร และส่งเสริมกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกให้กับชุมชนธนาคารต้นไม้ของ ธ.ก.ส. รวมถึงสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่เข้าไปสร้างองค์ความรู้ เพื่อต่อยอดผลผลิต สร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการที่ดำเนินการถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างตาข่ายความปลอดภัยทางสังคม (Social Safety Net) ที่จะเข้าไปดูแลและสร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกรและชุมชนมีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างมีคุณภาพ

อีกเรื่องหนึ่งที่ได้เน้นย้ำคือสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินงานของธนาคาร (Digital Workplace) การนำ Fin Tech มาใช้ผ่าน Digital Banking เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ทันสมัย รวดเร็ว สะดวกสบาย ช่วยลดต้นทุนและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เช่น การรับชำระเงินด้วย QR Code ผ่าน Alipay ผ่านแอปพลิเคชั่นร้านน้องหอมจัง ซึ่งเป็นการเชื่อมระบบการชำระเงินกับต่างประเทศ ช่วยอำนวยความสะดวกในการชำระเงินให้กับลูกค้า โครงการ ATM White Label

ระบบเอทีเอ็มกลางที่รับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของทุกธนาคาร ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวกและไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้บริการตู้เอทีเอ็มระหว่างธนาคารหรือข้ามเขต การสร้างเครือข่ายทางการเงิน (Banking Agent) ร่วมกับเคาน์เตอร์เซอร์วิส ไปรษณีย์ไทย ตู้บุญเติมและตู้เติมสบาย เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกในการทำธุรกรรมกับ ธ.ก.ส. มากยิ่งขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการข้อมูล (Data Governance) เพื่อรองรับการดำเนินงานและสร้างโอกาสการแข่งขัน การเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการอื่น (open API) และที่สำคัญคือการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ โดยปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการและให้บริการ พร้อมทั้งลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน

นายธนารัตน์ กล่าวอีกว่า ในช่วงปี 2563 ถึงปัจจุบัน ประเทศไทยและทั่วโลกประสบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ การดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ซึ่งในส่วนของ ธ.ก.ส. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือประคับประคองให้ลูกค้าก้าวข้ามวิกฤตไปด้วยกัน เช่น การพักหนี้ทั้งระบบ จำนวน 3.25 ล้านราย ต้นเงินประมาณ 1.07 ล้านล้านบาท

การเติมวงเงินสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และเสริมสภาพคล่อง ซึ่งช่วยบรรเทาความเดือดร้อน กระตุ้นการใช้จ่าย การลงทุน ทำให้ระบบเศรษฐกิจเกิดการหมุนเวียน เช่น เงินกู้ฉุกเฉิน ที่ไม่ต้องใช้หลักประกันวงเงิน 20,000 ล้านบาท สินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิด สินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ สินเชื่อเพื่อฤดูการผลิตใหม่ วงเงินรวม 170,000 ล้านบาท จัดทำโครงการชำระดีมีคืนและโครงการลดภาระ ซึ่งทั้ง 2 โครงการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องดอกเบี้ย โดยสามารถคืนเงินเข้าสู่กระเป๋าเกษตรกร กว่า 1.6 ล้านราย วงเงินกว่า 3,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการส่งมอบเงินและความช่วยเหลือไปยังเกษตรกรและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 เช่น การจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร 5,000 บาทเป็นระยะเวลา 3 เดือน ผู้พิทักษ์สิทธิ์ เราไม่ทิ้งกัน การจ่ายเงินตามโครงการประกันรายได้ 5 พืชเศรษฐกิจหลัก เป็นต้น

จากสถานการณ์ข้างต้น ส่งต่อผลการดำเนินงานในปีบัญชี 2563 ของ ธ.ก.ส. ซึ่งจะครบปีในวันที่ 31 มีนาคม 2564 ซึ่งข้อมูลคาดการณ์เบื้องต้น ธ.ก.ส. จะมีสินทรัพย์จำนวน 2,039,144 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 4.10 เงินให้สินเชื่อจำนวน 1,572,376 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.90 หนี้สินจำนวน 1,892,612 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.94 เงินรับฝาก 1,730,272 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 3.41 ส่วนของเจ้าของ 146,532 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.19 โดยมีรายได้จำนวน 103,171 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายจำนวน 95,987 ล้านบาท กำไรสุทธิจำนวน 7,184 ล้านบาท อัตราส่วน ROA ร้อยละ 0.36 NIM ร้อยละ 3.09 Cost to income 32.25 BIS ratio 11.99 และ NPLs/Loan ratio 3.57 ทั้งนี้ ในปีบัญชี 2564 (1 เมษายน 2564 – 31 มีนาคม 2565) วางเป้าหมายสินเชื่อเติบโตเพิ่มขึ้น 69,000 ล้านบาท เงินฝากเติบโตเพิ่มขึ้น 25,000 ล้านบาท

“ตลอดระยะเวลา 55 ปี ธ.ก.ส. ยังคงมุ่งมั่นสร้าง Better Life คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชนบท Better Community ชุมชนที่ดีและเข้มแข็งขึ้น และ Better Pride สร้างความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมให้มากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างรากฐานที่เข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ” ผู้จัดการธ.ก.ส. กล่าว และย้ำว่าสิ่งที่ได้ดำเนินนั้นได้ทำมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว เพียงแต่จะมุ่งมั่นให้สัมฤทธิ์ผลมากขึ้น “เกษตรกรอยู่ได้ ธ.ก.ส.อยู่ได้” คือประโยคที่ผู้จัดการคนใหม่กล่าวหลายครั้ง

ในวันรุ่งขึ้น นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธ.ก.ส. และคณะ เดินทางไปที่วิสาหกิจชุมกลุ่มผู้เลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า ที่มี นางจารึก เพ็ชรด้วง เป็นประธานกลุ่ม ทันทีที่ไปถึงก็ได้กล่าวทักทายกับเกษตรกรที่มาต้อนรับและถ่ายรูปร่วมกันที่ป้ายวิสาหกิจ จากนั้นเดินเข้าไปในบริเวณที่ทำการวิสาหกิจ ซึ่งวันนี้ได้มีกลุ่มเกษตรกรที่ธ.ก.ส.ให้การสนับสนุนมาตั้งบูธแสดงผลิตภัณฑ์กันอย่างคึกคัก อาทิ กลุ่มทุเรียนนอกฤดู ผู้ประกอบการน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น กลุ่มผ้ามัดย้อม กลุ่มยาย้อมผมจากสารสกัดธรรมชาติ กลุ่มสวนสละและแปรรูปสระ กลุ่มนวัตกรรมการจัดการและควบคุมน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร ฯลฯ โดยผู้จัดการธ.ก.ส.ได้เดินพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มเกษตรกรอย่างมุ่งมั่นและคำถามที่เน้นย้ำในทุกกลุ่มเกษตรกรคือเรื่องของการตลาดและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ โดยในส่วนนี้ทาง.ก.ส.จะเข้ามามีส่วนร่วมกับกลุ่มเกษตรกรและชุมชนเพื่อบรรลุเป้าหมายความสำเร็จร่วมกัน (รายละเอียดการเยี่ยมชมกลุ่มเกษตรกรสามารถชมเพิ่มเติมจากการ LIVE

ในช่วงบ่ายได้เดินทางไปที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ทำพิธีแห่ผ้าขึ้นห่มโอบรอบฐานพระมหาธาตุที่ประดิษฐานภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ถือเป็นการทำบุญร่วมกันและสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานเริ่มต้นปีบัญชีใหม่เพื่อขับเคลื่อนตามนโยบายที่วางไว้ให้ประสบความสำเร็จต่อไป

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 1 ปี 2564 (มกราคม – มีนาคม 2564) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยปัจจัยสำคัญมาจากฝนที่ตกสะสมเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำและในแหล่งน้ำธรรมชาติมีมากขึ้น เกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูกได้เพิ่ม ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิต นอกจากนี้ การดำเนินนโยบายของภาครัฐ อาทิ การขยายช่องทางการตลาดทั้งตลาดออนไลน์และออฟไลน์ การประกันรายได้ รวมถึงมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่น การส่งเสริมอาชีพเกษตร และการพักชำระหนี้ ทำให้เกษตรกรสามารถทำการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อพิจารณาในแต่ละสาขา พบว่า

สาขาพืช ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 พืชสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น คือ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และ อ้อยโรงงาน เนื่องจากปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของพืช รวมถึงสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ประกอบกับเกษตรกรมีการจัดการดูแลรักษาที่เหมาะสม ขณะที่ มันสำปะหลัง และ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น สับปะรดโรงงาน ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาสับปะรดโรงงานในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจ ให้เกษตรกรมีการบำรุงรักษาต้นสับปะรดดีขึ้น ยางพารา ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นยางพาราที่กรีดได้ส่วนใหญ่

อยู่ในช่วงอายุที่ให้ผลผลิตสูง ประกอบกับปริมาณน้ำฝนมีเพียงพอ ทำให้ต้นยางสมบูรณ์ดี ลำไย ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นลำไยที่ปลูกในปี 2560 เริ่มให้ผลผลิตในปีนี้ ประกอบกับสภาพอากาศเหมาะสม มีปริมาณน้ำเพียงพอ และ ทุเรียน ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรมีการบำรุงและดูแลรักษา และมีการทำทุเรียนนอกฤดูมากขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ทำให้มีการติดดอกออกผลได้มากขึ้น รวมถึงพื้นที่ปลูกใหม่ ในปี 2559 เริ่มให้ผลผลิตได้ในปี 2564 เป็นปีแรก ด้านพืชที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งและภาวะฝนทิ้งช่วงในปี 2562 ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของต้น ทำให้มีการติดผลปาล์มน้อย และทะลายปาล์มน้ำหนักน้อย ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่จึงลดลง

สาขาปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 0.5 เป็นผลจากการเพิ่มปริมาณการผลิต ตามความต้องการบริโภคของตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับการเฝ้าระวัง ควบคุมโรคระบาดอย่างเข้มงวด และการจัดการฟาร์มที่ได้มาตรฐาน ทำให้สินค้าปศุสัตว์หลัก ได้แก่ ไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น

สาขาประมง หดตัวร้อยละ 7.3 สมัครจีคลับ เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือลดลง ส่วนปริมาณกุ้งทะเลเพาะเลี้ยง มีทิศทางลดลง เพราะผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เกษตรกรจึงปรับลดพื้นที่การเลี้ยง ลดจำนวนลูกพันธุ์ และชะลอการลงลูกกุ้ง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตประมงน้ำจืด ได้แก่ ปลานิล และปลาดุก มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากฝนตกทั่วถึงทุกพื้นที่ในช่วงปลายปี 2563 จึงมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเลี้ยง ประกอบกับเกษตรกรมีการอนุบาลลูกปลาให้ได้ขนาดใหญ่ก่อนปล่อยลงบ่อเลี้ยงเพื่อเพิ่มอัตราการรอด และเพิ่มอัตราการปล่อยลูกพันธุ์ จึงมีผลผลิตเพิ่มขึ้น

ผู้จัดการทั่วไป ด้านหน่วยงานพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ

ธรรมาภิบาล เเละสื่อสารองค์กร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวว่า หมู่บ้านกองกาย อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ต้นแบบการเปลี่ยนแปลง ที่เครือซีพีเลือกเป็นพื้นที่นำร่องในปี 2560 ในการพัฒนาภายใต้ เเม่เเจ่มโมเดล ปรับเปลี่ยนพื้นที่ด้วยการปลูกพืชแบบผสมผสาน และมีจำนวนต้นไม้ที่ดูแลตลอดทั้งโครงการจำนวน 40,102 ต้น ในพื้นที่ 93 ไร่ ดึงศักยภาพของชุมชนออกมาและพัฒนาของเกษตรกรในพื้นที่ลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวคือ ข้าวโพด มาเป็นการปลูกกาแฟที่สามารถสร้างรายได้ พร้อมนำองค์ความรู้และทักษะด้านบริหารจัดการตลอดกระบวนการ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ โดยมีนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญจากเครือซีพีให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ผลผลิตกาแฟฟื้นป่าบ้านกองกาย ได้ขยายผลต่อยอดสู่ “วิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)” มีการจัดการที่ดีตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้ได้กาแฟคุณภาพส่งมอบสู่ตลาด เพื่อสร้างการกระจายรายได้สู่ชุมชน โดยเครือซีพีได้ทำหน้าที่เป็นตลาดในการรับซื้อกาแฟเชอร์รี่สดส่งต่อมาที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่แจ่ม เพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟคุณภาพภายในพื้นที่และจัดจำหน่ายแก่ผู้ประกอบการต่อไป ซึ่งในอนาคต เครือซีพีและกลุ่มวิสาหกิจบ้านกองกาย มีความตั้งใจสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เกิดแบรนด์กาแฟชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมพร้อมขยายการรับรู้ในวงกว้างเพื่อเป็นแนวทางสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ในชุมชน ให้คิดค้นพัฒนาสินค้าชุมชนอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงการสร้างโรงแปรรูปกาแฟพร้อมเครื่องจักรในการผลิตที่ครบวงจรในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

นายสมเกียรติ มีธรรม เลขานุการมูลนิธิฮักเมืองแจ่ม กล่าวว่า นับเป็นครั้งแรกที่เห็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่พร้อมใจขับเคลื่อนสู่วิสาหกิจชุมชนเข้มแข็ง และต่อยอดการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการจัดระบบบริหารจัดการอย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย ซึ่งผลผลิตปีแรกครั้งนี้ถือเป็นความภูมิใจของเกษตรกรและคนในพื้นที่แม่แจ่ม ต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ช่วยกันทำให้คนในพื้นที่มีการปรับเปลี่ยนอาชีพ และทำให้เห็นถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มวิสาหกิจ ที่เป็นก้าวแรกแห่งความสำเร็จที่สามารถขับเคลื่อนและช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ก่อเกิดแนวคิดการพัฒนาบ้านเกิดให้กลายเป็นโมเดลต้นแบบต่อไปในอนาคต

นายสุภพ เทพวงศ์ หรือ อาจารย์แม้ว นักวิชาการด้านพืชกาแฟ ที่ปรึกษาในโครงการ 4 พื้นที่ต้นน้ำ เครือเจริญโภคภัณฑ์กล่าวว่า กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่มีการเรียนรู้ที่รวดเร็ว สถานที่เพาะปลูกมีความเหมาะสม ส่งผลให้ปีนี้ได้ผลผลิตที่น่าพอใจ และแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งจากการรวมกลุ่มเกิดการผสานความรู้ระหว่างนักวิชาการและเกษตรกรให้เกิดความเข้าใจ ซึ่งจะผลักดันให้มีการพัฒนาเพื่อพร้อมเดินหน้าสู่ตลาดกาแฟอย่างเต็มรูปแบบ

นายศตวรรษ อาภาประเสริฐ เกษตรกรบ้านกองกายกล่าวว่า ปีนี้เป็นปีแรกของการสร้างรายได้จากผลผลิตกาแฟ จากเดิมที่เกษตรกรต่างคนต่างทำมาหากิน ไม่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน ได้ร่วมมือจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบนพื้นที่แม่แจ่มตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงวันนี้รู้สึกภูมิใจและสร้างคุณค่าแก่ตัวเองและครอบครัว ที่ในพื้นที่ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ ซึ่งในอนาคตคาดหวังว่าพื้นที่แห่งนี้จะกลายเป็นพื้นที่ต้นแบบแห่งการเรียนรู้แก่ชุมชนรอบข้าง มีการสนันสนุนปลูกพืชมูลค่าสูงมากขึ้น เพิ่มช่องทางสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ จากความท้าทายในการปรับเปลี่ยนวิถีการเกษตร วันนี้เกษตรกรบ้านกองกาย สามารถสร้างโมเดลต้นแบบและมีอาชีพที่สร้างรายได้ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหนึ่งโมเดลสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดพร้อมขยายองค์ความรู้และผลักดันชุนชนในพื้นที่ใกล้เคียงก้าวสู่การทำธุรกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป

ด้วยสถานการณ์การผลิตพืชอาหารทางการเกษตรเริ่มให้ความสำคัญไปที่การผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศและการส่งออกเพราะปัจจุบันข้อจำกัดทางด้านการค้าระหว่างประเทศในการส่งผลผลิตทางการเกษตรไปจำหน่าย มีข้อบังคับว่าด้วยสินค้าทางการเกษตรต้องผ่านมาตรฐานการรับรองที่เป็นสากล

ดังนั้น สินค้าทางการเกษตรจึงควรมีมาตรฐานการรับรองที่เป็นสากล เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกร GAP (Good Agricultural Practice) หรือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเป็นแนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี และปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด GAP จึงเป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรครบวงจร ตั้งแต่ ปัจจัยการผลิต การผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และการขนส่งการผลิต ทั้งนี้มาตรฐาน GAP ก็จะเป็นกระบวนการผลิตหนึ่งที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนทางการเกษตร สิ่งแวดล้อม รวมถึงเศรษฐกิจและสังคม

มาตรฐาน GAP ดำเนินการออกใบรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร แต่ในทางปฏิบัติเกษตรต้องการข้อมูล ความรู้ และความเข้าใจในการปฏิบัติ เพื่อผลิตสินค้าเกษตรให้ได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน GAP โดยกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานที่เป็นแกนหลักในการพัฒนาเกษตรกรให้เข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดหนึ่งที่สินค้าทางการเกษตรมีความหลากหลายไม่น้อยไปกว่าจังหวัดอื่น เมื่อให้ความสำคัญไปที่การขอมาตรฐาน GAP แล้ว พบว่าจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเกษตรกรที่รวมกลุ่มทำเกษตรแปลงใหญ่ และวิสาหกิจชุมชน ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP แล้วหลายราย

นายดนัย ปัญจพิทยากุล เกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ข้อมูลว่า พื้นที่ทางการเกษตรของจังหวัดมีมากกว่า 1 ล้านไร่ มีข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก มีพื้นที่กว่า 600,000 ไร่ รองลงมาเป็นไม้ผล ได้แก่ มะม่วง มะพร้าว ยางพารา เป็นต้น ซึ่งหน้าที่ที่สำคัญตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมการเกษตร ก็เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค อีกทั้งสินค้าต้องตรงความต้องการของตลาด เพื่อการจำหน่ายสินค้าเกษตรไม่สะดุด ไม่เกิดปัญหาเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา ระบุด้วยว่า การถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกร จึงเป็นหลักสำคัญเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน GAP โดยบทบาทที่เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร ต้องเข้าถึงเกษตรกร คือการถ่ายทอดความรู้ ติดตาม ให้คำปรึกษา ตรวจประเมินแปลงเบื้องต้น และส่งรายชื่อเกษตรกรให้หน่วยตรวจรับรอง เพื่อตรวจประเมิน

ทั้งนี้ จังหวัดฉะเชิงเทรามีเกษตรกรที่ได้รับมาตรฐาน GAP แบ่งเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ไผ่อำเภอท่าตะเกียบ ได้รับมาตรฐาน GAP ครบทั้ง 30 ราย กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวอำเภอคลองเขื่อน จำนวน 38 ราย ได้รับมาตรฐาน GAP 19 ราย กลุ่มแปลงใหญ่ลำไยอำเภอสนามไชยเขต จำนวน 30 ราย ได้รับมาตรฐาน 8 ราย กลุ่มเห็ด มี 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแปลงใหญ่เห็ดอำเภอท่าตะเกียบ กลุ่มแปลงใหญ่เห็ดฟางอำเภอพนมสารคาม กลุ่มแปลงใหญ่เห็ดอำเภอสนามชัยเขต ทั้งหมดจำนวน 56 ราย ได้รับมาตรฐาน GAP จำนวน 33 ราย กลุ่มแปลงใหญ่พืชผักอำเภอสนามชัยเขต จำนวน 29 ราย ได้รับมาตรฐาน GAP จำนวน 13 ราย กลุ่มแปลงใหญ่ขนุนอำเภอแปลงยาว ได้รับมาตรฐาน GAP 29 ราย จากจำนวน 30 ราย

สำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับพืชอาหารตามข้อกำหนด 8 ข้อ เพื่อการขอรับรอง GAP พืช คือ

1.น้ำ น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตต้องมาจากแหล่งที่ไม่มีสภาพแวดล้อม ซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนต่อผลผลิต

2.พื้นที่ปลูก ไม่อยู่ในสภาพแวดล้อม ซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผลผลิต

3.วัตถุอันตรายทางการเกษตร จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ในสถานที่เก็บที่มิดชิด และใช้ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

4.การจัดการคุณภาพในกระบวนการเก็บเกี่ยว มีแผนควบคุมการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพตามความต้องการของตลาดและข้อตกลงของประเทศคู่ค้า

5.การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีอายุเหมาะสม ผลผลิตที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาดและข้อตกลงของประเทศคู่ค้า

6.การพักผลิตผล การขนย้ายในแปลงปลูกและการเก็บรักษาผลผลิต มีการจัดการด้านสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่มีผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

7.สุขลักษณะส่วนบุคคล ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความเข้าใจในสุขลักษณะส่วนบุคคล เพื่อสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกสุขลักษณะ

8.การบันทึกข้อมูลและการตามสอบ มีการบันทึกข้อมูลการปฏิบัตงานการใช้สารเคมี ข้อมูลผู้รับซื้อและปริมาณผลผลิต เพื่อประโยชน์ต่อการตามสอบ

นางสาวอังคณา นาเมืองรักษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา อธิบายการทำงานของเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรในการช่วยให้เกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ว่า เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่อบรมถ่ายทอดความรู้ ติดตาม เตรียมความพร้อมและให้คำแนะนำเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการให้ปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP ประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรในการตรวจติดตามประเมินแปลง ประสานเครือข่ายเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ในการให้คำแนะนำแก่ผู้รับการตรวจประเมิน เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการดำเนินการขอรับรอง และประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรฐาน GAP ปรับปรุงสมุดจดบันทึกกิจกรรมทางการเกษตรให้เกษตรกรสามารถเข้าใจได้ง่าย ตรวจประเมินแปลงเบื้องต้นของเกษตรกร ก่อนขอรับการตรวจรับรองมาตรฐาน ประสานงานศูนยวิจัยและพัฒนาการเกษตรฉะเชิงเทรา เพื่อส่งเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ โดยดูจากความพร้อม และประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับจากการขอรับรองมาตรฐาน

นางสาวอังคณา กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากการให้ความสำคัญการรับรองมาตรฐาน GAP แบบกลุ่มแล้ว ยังให้ความสำคัฐกับเกษตรกรรายเดี่ยว ที่ต้องการมาตรฐาน GAP จึงมีการสำรวจและผลักดันการขอรับรองมาตรฐาน GAP ให้กับเกษตรรายเดี่ยวที่ต้องการรับรองมาตรฐาน GAP ด้วย ซึ่งการทำงานที่สำคัญ ต้องมุ่งเน้นไปที่การแนะนำเกษตรกรในการเริ่มต้นขอรับรองมาตรฐาน เช่น เริ่มต้นการจดบันทึก และทำตามข้อกำหนดในเบื้องต้น รวมถึงการถ่ายทอดความรู้และฝึกฝนให้คำแนะนำเกษตรกรให้สามารถเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรด้วยกันเองในเบื้องต้นอีกด้วย

“กรณีเป็นพืชที่อยู่ในกลุ่มที่ต้องใช้สารเคมีในการจัดการแปลง เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกรเองต้องมีความละเอียดรอบคอบมากขึ้น เพราะข้อกำหนดเรื่องวัตถุอันตรายทางการเกษตรมีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก เช่น การจดบันทึกชื่อสารเคมีที่ใช้ต้องเป็นชื่อสามัญ ไม่ใช่ชื่อทางการค้า แต่ถ้าเป็นพืชอื่น เช่น เห็ด ผักสลัด หรือพืชอายุสั้น ไม่มีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายทางการเกษตร ก็จะมุ่งเน้นไปที่การพักผลิตผล การขนย้ายในแปลงปลูกและการเก็บรักษาผลผลิต มีการจัดการด้านสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่มีผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคหรือไม่” นางอังคณา กล่าว

พื้นที่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ที่มีเกษตรกรรวมกลุ่มแปลงใหญ่ และตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP แล้ว 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแปลงใหญ่ไผ่อำเภอท่าตะเกียบ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตลำไยอำเภอท่าตะเกียบ และแปลงใหญ่เห็ดตำบลคลองตะเกรา

จุดเด่นของกลุ่มแปลงใหญ่ไผ่อำเภอท่าตะเกียบ ซึ่งมีสมาชิก 60 ราย ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP แล้ว 44 ราย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ GAP กลุ่ม มี Q อาสา เป็นผู้ตรวจประเมินเบื้องต้น ในลักษณะของเกษตรกรแนะนำเกษตรกรด้วยกันเองและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการผลิตพืชอาหารปลอดภัยร่วมกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลผลิตจากไผ่ที่ได้เป็นการจำหน่ายหน่อไผ่สด และผลิตหน่อไม้นอกฤดูได้ดี แต่หากมีมากในช่วงฤดูการผลิต จะนำไปแปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง หน่อไม้ปรุงรส เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตลำไยอำเภอท่าตะเกียบ มี คุณพิเชษฐ์ หงษา เป็นประธานวิสาหกิจชุมชนฯ เริ่มได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ในปี 2562 ถึงปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มที่ได้รับการรับรองมาตฐาน GAP แล้ว 46 ราย และเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตามข้อกำหนดการขอรับรองมาตรฐาน GAP เพราะเห็นว่า เป็นพื้นฐานการของการทำเกษตรปลอดภัย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผลผลิตได้รับการยอมรับทั้งตลาดภายในประเทศและเป็นช่องทางหนึ่งของการทำตลาดต่างประเทศด้วย

ด้าน คุณกัญญาภัค สกุลศรี ประธานแปลงใหญ่เห็ดตำบลคลองตะเกรา กล่าวว่า เดิมกลุ่มรวมตัวกันเพื่อการนำผลผลิตส่งจำหน่ายไปยังตลาดสดของจังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี โดยมีรถมารับซื้อถึงแปลงทุกวัน ในช่วงแรกยังไม่เห็นความสำคัญของการขอรับรองมาตรฐาน GAP กระทั่งเริ่มขยายตลาดส่งเห็ดไปยังตลาดไท ซึ่งการส่งผลผลิตไปยังตลาดไท ที่เป็นตลาดกลางค้าส่งสินค้าทางการเกษตรระดับประเทศ จำเป็นมากที่ผลผลิตควรผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP เพื่อความมั่นใจของผู้บริโภค จึงเห็นความสำคัญ และได้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด ให้คำแนะนำ ปรึกษา ช่วยเหลือ กระทั่งปัจจุบันโรงเรือนเห็ดของสมาชิกผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP ไปเกือบครบแล้ว

แม้ว่า การพัฒนาเกษตรกรเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP ของเกษตรกรแต่ละพื้นที่ ประสบความสำเร็จไปมากแล้ว แต่ยังมีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่รอการส่งเสริมและพัฒนา เพื่อเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐาน GAP อยู่ กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ มีความพร้อมให้คำแนะนำ ปรึกษา และช่วยเหลือเกษตรกรที่ต้องการผลักดันตนเองหรือกลุ่มเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP โดยเกษตรกรสามารถขอคำแนะนำได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่งทั่วประเทศ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งทุกจังหวัดจัดงานรณรงค์วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2564 จัดแผนผู้บริหาร กษ. ลงพื้นที่ 19 จุด พร้อมเชิญชวนเกษตรกรร่วมเรียนรู้และเข้าถึงเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิตใหม่ ๆ เพื่อนำไปใช้เริ่มต้นฤดูกาลผลิตที่จะมาถึงนี้ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) 882 ศูนย์ทั่วประเทศ

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยพี่น้องเกษตรกรในช่วงฤดูกาลผลิตใหม่ ปี 2564 ที่กำลังจะมาถึงนี้ จึงได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) 882 แห่งและศูนย์เครือข่ายทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรเริ่มต้นการผลิตในปีการเพาะปลูกใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง สามารถวิเคราะห์ปัญหา และมีฐานเรียนรู้ ซึ่งจะมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาให้บริการด้านการเกษตรตามภารกิจ ทั้งการเข้าถึงเทคโนโลยี ช่องทางการตลาด แหล่งข้อมูลความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจหลักของแต่ละพื้นที่ ได้แก่ ข้าว พืชไร่ ไม้ยืนต้น ผัก/สมุนไพร ไม้ผล ปศุสัตว์ และประมง เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เล็งเห็นความสำคัญของพี่น้องเกษตรกรทุกพื้นที่ จึงได้กำหนดแผนการเปิดงาน Field Day 19 จุดหลัก โดยผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะลงไปพบปะและเยี่ยมเยียน พร้อมนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดสู่พี่น้องเกษตรกร ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันที่ 8 มี.ค. 2564 สินค้าหลัก : ข้าว ณ แปลงใหญ่ข้าว อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย โดยมี อธิบดีกรมประมง เป็นประธาน ครั้งที่ 2 วันที่ 17 มี.ค. 2564 สินค้าหลัก : แตงโมไร้เมล็ด ณ ศพก.อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม โดยมี เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เป็นประธาน ครั้งที่ 3 วันที่ 17 มี.ค. 2564 สินค้าหลัก : ปาล์มน้ำมัน ณ ศพก.เมืองระนอง จ.ระนอง โดยมี

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธาน ครั้งที่ 4 วันที่ 18 มี.ค. 2564 สินค้าหลัก : มันสำปะหลัง ณ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี โดยเลขาธิการสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ครั้งที่ 5 วันที่ 18 มี.ค. 2564 สินค้าหลัก : ข้าวและถั่วลิสง ณ แปลงใหญ่ถั่วลิสง อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร โดยอธิบดีกรมหม่อนไหม ครั้งที่ 6 วันที่ 22 มี.ค. 2564 สินค้าหลัก : ข้าวและเกษตรผสมผสาน ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่บ้านหนองสามพราน อ.เมืองกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี โดยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ครั้งที่ 7 วันที่ 22 เม.ย. 2564 สินค้าหลัก : การเลี้ยงผึ้งโพรง ณ ศพก.เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งโพรงบ้านปังหวาน อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร โดยอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 8 วันที่ 27 เม.ย. 2564 สินค้าหลัก : ข้าว/ผัก/ปลา ณ ศูนย์เครือข่ายด้านเศรษฐกิจพอเพียง อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ

โดยอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ครั้งที่ 9 วันที่ 7 พ.ค. 2564 สินค้าหลัก : ข้าว ณ อ.บางเลน จ.นครปฐม โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) เป็นประธาน ครั้งที่ 10 วันที่ 7 พ.ค. 2564 สินค้าหลัก : มันสำปะหลัง ณ อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา โดยเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ครั้งที่ 11 วันที่ 12 พ.ค. 2564 สินค้าหลัก : ข้าว ณ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว โดยอธิบดีกรมชลประทาน ครั้งที่ 12 วันที่ 13 พ.ค. 2564 สินค้าหลัก : พืชผัก ณ ศพก.เครือข่ายตำบลสวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โดยอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ครั้งที่ 13 วันที่ 13 พ.ค. 2564 สินค้าหลัก : ข้าว ณ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี โดยมี รมช.เกษตรและสหกรณ์ (นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์) เป็นประธาน ครั้งที่ 14 วันที่ 27 พ.ค. 2564 สินค้าหลัก : ข้าว ณ อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์

โดยอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ครั้งที่ 15 วันที่ 9 มิ.ย. 2564 สินค้าหลัก : ข้าว ณ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก โดยมี รมช.เกษตรและสหกรณ์ (นายประภัตร โพธสุธน) เป็นประธาน ครั้งที่ 16 วันที่ 15 มิ.ย. 2564 สินค้าหลัก : ลองกอง ณ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส โดยอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ครั้งที่ 17 วันที่ 17 มิ.ย. 2564 สินค้าหลัก : ข้าว ณ ศพก.เครือข่ายศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว อ.ห้วยหม้าย จ.แพร่ โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ ครั้งที่ 18 วันที่ 15 ก.ค. 2564 สินค้าหลัก : ลำไย ณ ศพก.เครือข่ายตำบลท่ากว้าง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โดยมี รมช.เกษตรและสหกรณ์ (ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า) เป็นประธาน และ ครั้งที่ 19 วันที่ 25 ส.ค. 2564 สินค้าหลัก : ข้าวไร่ดอกข่า ณ ศพก.เครือข่ายข้าวไร่ดอกข่าสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านบางทอง อ.ห้วยเหมือง จ.พังงา โดยอธิบดีกรมการข้าว เป็นประธาน

กิจกรรมวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเตรียมความพร้อมของพี่น้องเกษตรกร ก่อนเข้าสู่การเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ ปี 2564 โดยให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีองค์ความรู้ เพื่อวางแผนการผลิต เข้าถึงปัจจัยการผลิต บริหารจัดการความเสี่ยง และสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร ซึ่งหากทำให้เกษตรกรนำองค์ความรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ไปประยุกต์ใช้ จะทำให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญคือหากมีการขยายผลหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และองค์ความรู้ต่างๆ จะทำให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ และ ศพก.ก็จะเป็นที่พึ่งพาช่วยเหลือดูแลเกษตรกรในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง

จึงขอเชิญชวนพี่น้องเกษตรกรมาร่วมเรียนรู้ และเข้าถึงเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิตใหม่ๆ ในการจัดงาน Field Day แต่ละจังหวัด โดยกิจกรรมหลักจะมีสถานีเรียนรู้ที่บูรณาการองค์ความรู้จากหลายหน่วยงาน ซึ่งเน้นเนื้อหา และเทคโนโลยีที่จำเป็นในกระบวนการผลิตสินค้า เพื่อถ่ายทอดให้เกษตรกรได้รับทราบ การให้บริการจากหน่วยงานภาครัฐ นิทรรศการของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ กลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร รวมทั้งภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุน และมีกิจกรรมเสริมภายในงาน ได้แก่ การแสดงและจำหน่ายสินค้าของสถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน โดยสามารถสอบถามข้อมูลการจัดงาน Field Day ได้ ณ สำนักเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่

วันนี้ (16 มีนาคม 2564) บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมกับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน บริษัท เจียไต๋ จำกัด และบริษัท คอร์สสแควร์ จำกัด ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวหลักสูตร KUBOTA Agri e-Learning หรือ โครงการพัฒนาทักษะอาชีพด้านการเกษตร เพื่อช่วยเหลือสถานการณ์โควิด–19 ปีที่ 2 ในรูปแบบหลักสูตรออนไลน์ ช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด–19 ภายใต้แคมเปญ KUBOTA on your side

พิธีการเริ่มต้นขึ้นโดยมี นายทาคาโนบุ อะซึมะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ขึ้นกล่าวต้อนรับแขกผู้เกียรติและกล่าวแสดงความยินดีถึงความร่วมมือในครั้งนี้ โดยบอกว่ามั่นใจในการผนึกกำลังว่าจะสามารถสร้างโอกาสและส่งเสริมศักยภาพการประกอบอาชีพด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน

นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึงการจัดโครงการในครั้งนี้ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ส่งผลกระทบทำให้ภาคเศรษฐกิจชะลอตัว อุตสาหกรรมแรงงานได้รับผลกระทบเกิดการเลิกจ้างงาน โดยในปีที่ผ่านมา โครงการพัฒนาทักษะอาชีพด้านการเกษตร เพื่อช่วยเหลือสถานการณ์โควิด–19 ปีที่ 1 จัดโดยสยามคูโบต้าร่วมกับร้านค้าผู้แทนจำหน่ายของสยามคูโบต้า และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้รับการตอบรับด้วยดี มีผู้สนใจเข้าร่วมอบรม 20 รุ่น จำนวน 365 คน จึงมองว่าเป็นโอกาสที่จะนำโครงการนี้กลับมาช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบ และกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการเกษตร เพราะอาชีพเกษตรกรรมยังเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ มีบทบาทสำคัญ สามารถรองรับและแก้ปัญหาแรงงานที่กลับไปทำงานยังภูมิลำเนาได้ อีกทั้งตลาดสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าแปรรูปยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวและขยายผลสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

“สำหรับปีนี้ สยามคูโบต้า ได้ร่วมกับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และ บริษัท เจียไต๋ จำกัด ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สยามคูโบต้าได้ร่วมทำบันทึกข้อตกลงทางวิชาการว่าด้วยความร่วมมือในภาคการเกษตรเมื่อปี 2563 มาร่วมมือกันสร้างโอกาสและส่งเสริมศักยภาพการประกอบอาชีพด้านการเกษตร พร้อมทั้งได้ บริษัท คอร์สสแควร์ จำกัด ให้บริการโซลูชั่นการเรียนออนไลน์ (Online Learning Solutions) มาร่วมเป็นพันธมิตรในการเปิดประสบการณ์เรียนออนไลน์รูปแบบใหม่ในครั้งนี้อีกด้วย” นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กล่าว

เปิด 2 หลักสูตรออนไลน์ อยู่ที่ไหนก็เรียนได้
นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กล่าวต่ออีกว่า ในครั้งนี้หลักสูตร KUBOTA Agri e-Learning ได้ปรับการเรียนการสอนเป็นรูปแบบออนไลน์ ตอบโจทย์ความร่วมมือภาครัฐในการงดรวมกลุ่มในช่วงที่ยังมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลาผ่านสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ โดยหลักสูตรประกอบด้วย หลักสูตรนักขับเครื่องจักรกลการเกษตร 2 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมนักขับเบื้องต้น (ภาคทฤษฎีออนไลน์) เรียนรู้การขับแทรกเตอร์ รถเกี่ยวนวดข้าว และรถขุดในระดับเบื้องต้น และเมื่อสามารถผ่านหลักสูตรนักขับเบื้องต้นแล้ว ผู้เรียนสามารถต่อยอดโดยเรียนโปรแกรมนักขับมืออาชีพ (ภาคปฏิบัติ) เพื่อพัฒนาฝีมือและทักษะการขับฯ ในระดับเชี่ยวชาญ พร้อมรับใบขับขี่ตามมาตรฐานผู้ประกอบอาชีพจากสถานประกอบการ ที่ได้การรับรองจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สามารถนำไปประกอบอาชีพรับจ้างในตลาดแรงงานเกษตรได้ โดยสามารถเข้าอบรมและลงทะเบียนเรียนได้ที่ร้านค้าผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้าที่เข้าร่วมโครงการ

นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรเกษตรมือใหม่ (ภาคทฤษฎีออนไลน์) โดยได้รับความร่วมมือจากเจียไต๋ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการปลูกพืชผักและผลไม้ให้ได้คุณภาพและราคาดี นอกจากนี้ยังสอนเรื่องนวัตกรรมเกษตรครบวงจร KUBOTA (Agri) Solutions หรือ KAS เป็นการจัดการเกษตรกรรมครบวงจรอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสยามคูโบต้า เทรนด์ในภาคการเกษตร ปัจจัยที่มีผลต่อการเพาะปลูกพืช และการสร้างมูลค่าเพิ่มอีกด้วย โดยคาดว่า จะมีผู้สนใจเข้าลงทะเบียนเรียนรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 3,000 คน อย่างไรก็ตามสยามคูโบต้า ไม่เพียงมุ่งหวังสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าและบริการอย่างดีที่สุดแก่ลูกค้า แต่เรามีความปรารถนาดีที่อยากจะช่วยเหลือสังคมอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร ตลอดจนการเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยให้ประชาชนมีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

มั่นใจพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน
นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และกระทรวงแรงงาน โดย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และ ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน มีนโยบายมุ่งเน้นให้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานใช้แนวทางประชารัฐร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา พัฒนาทักษะฝีมือให้เป็นแรงงานคุณภาพป้อนสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เป็นการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน และช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ตามนโยบายของรัฐบาลและนโยบายกระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนและให้การสนับสนุนการฝึกอบรม เชิงบูรณาการกับการทำงานทักษะด้านการเกษตร เพื่อหนุนตลาดแรงงานและช่วยเหลือแรงงานที่ตกงานเนื่องจากสถานการณ์โควิด–19

เจียไต๋ถ่ายทอดนวัตกรรมปลูกผักครบรวงจร
นายศุภรัตน์ แต่รุ่งเรือง สมัคร Royal Online รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนในทุกภาคส่วนนั้น เจียไต๋ได้เล็งเห็นความสำคัญของความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของคนในสังคม โดยในปีที่ผ่านมา เจียไต๋ได้ร่วมมือกับสยามคูโบต้าในการยกระดับองค์ความรู้และนวัตกรรมการเพาะปลูกพืชผักอย่างมั่นคงเพื่อส่งเสริมศักยภาพการเพาะปลูกของไทย สร้างประโยชน์แก่เกษตรกร และธุรกิจภาคเกษตรด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการปลูกพืชผักอย่างครบวงจร และในครั้งนี้ จึงได้ต่อยอดสู่การพัฒนาหลักสูตร KUBOTA Agri e-Learning