สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

สหรัฐอเมริกา นางสาวปทุมวดี อิ่มทั่ว กงสุล (ฝ่ายการเกษตร) ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน นางสาวอาทินันท์ อินทรพิมพ์ ที่ปรึกษา (ฝ่ายการเกษตร) สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป การบรรยายพิเศษเรื่อง “เกษตรไทยอยู่อย่างไรให้รอดในยุค Disruptive Technology” โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การเสวนาเรื่อง “ทิศทางงานวิจัย

และนวัตกรรมภาคการเกษตรภายใต้การบริหารงานยุคใหม่” โดย ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการภารกิจ

การกำกับเเละติดตามการใช้งบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ทพ.จเร วิชาไทย ผู้จัดการงานวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) นางสาวกุลวรา โชติพันธุ์โสภณ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) ดำเนินการเสวนาโดย พ.ท.หญิง ชลรัศมี งาทวีสุข

ขณะเดียวกันยังมีการนำเสนอผลงานวิจัยที่ผ่านการพิจาณาให้นำเสนอในภาคโปสเตอร์ (Poster Session) จำนวน 35 ผลงาน แบ่งเป็น 7 คลัสเตอร์ ได้แก่ ข้าว/ สมุนไพรไทย อาหารเสริม และสปา/ ปาล์มน้ำมัน/พืชสวน พืชไร่ /สัตว์เศรษฐกิจ/ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และ/ อาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าและความปลอดภัย

นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการ ซึ่งประกอบด้วย 3 โซนหลัก ดังนี้

โซนที่ 1 นิทรรศการ 16 ปีกับการดำเนินงาน สวก. โดยมีการนำเสนอผลงานการดำเนินงานที่ผ่านมาของหน่วยงานองค์การมหาชนที่มีบทบาทสำคัญต่อแวดวงเกษตรกรรมไทย

โซนที่ 2 นิทรรศการ “Beyond Disruptive Technology “จัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านเกษตร ของ สวก. ที่สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกที่มีผลต่อการภาคการเกษตรใน 9 หัวข้อ แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนของ Input Process และ Output อาทิ โครงการการพัฒนาระบบเรดาร์เพื่อการจัดทำแผนที่ใต้ดินสำหรับการเกษตร และโครงการเครื่องวิเคราะห์ปริมาณน้ำมันในทะลายปาล์มน้ำมันอย่างรวดเร็ว เพื่อการซื้อขายในเชิงพาณิชย์ด้วยเทคนิค Near Infrared (NIR) เป็นต้น และ

โซนที่ 3. Wings by ARDA งานบริการต่างๆ ของ สวก. เพื่อนักวิจัย อาทิ ให้คำแนะนำในการขอรับทุนวิจัยจาก สวก. ให้คำแนะนำเรื่องการดำเนินการด้านทรัพย์สินทางปัญญา, ให้คำแนะนำในการรับทุนพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย และให้คำแนะนำในการใช้บริการฐานข้อมูลด้านการวิจัยการเกษตร

ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการ สวก. กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้นับเป็นการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง สวก. ในด้านการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนางานวิจัยการเกษตร ตลอดจนพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยการเกษตร รวมทั้งจัดให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศด้านการเกษตร ตลอดจนร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษา หรือสถาบันอื่นของรัฐและเอกชนในการผลิตและพัฒนางานวิจัย และนักวิจัยการเกษตรทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางในการให้บริการข้อมูลและสารสนเทศด้านการเกษตร และส่งเสริมให้เกิดกิจการทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรในรูปแบบต่างๆ

อนึ่ง งาน “ประชุมวิชาการ สวก. 2562” ภายใต้แนวคิด “Beyond Disruptive Technology” จุดเปลี่ยนอนาคตไทย ด้วยงานวิจัยเกษตร จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 8-9 ตุลาคม 2562 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ ชั้น 4 โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โดยกิจกรรมในวันพุธที่ 9 ตุลาคม 2562

มีตลอดจนการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (Oral Presentation) จำนวน 24 ผลงาน ใน 3 หัวข้อหลัก คือ นวัตกรรม และ เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ สนับสนุนงานวิจัยจากฐานราก และเศรษฐกิจภาคการเกษตรเข้มแข็ง รวมทั้งการเสวนาและการบรรยาย เรื่อง การพัฒนาบุคลากรวิจัย และ ระบบศูนย์กลางข้อมูลงานวิจัยการเกษตรของประเทศ THILAND AGRICULTURAL RESEARCH REPOSITORY (TARR) ปิดท้ายด้วยพิธีมอบรางวัลผลงานวิชาการดีเด่น โดยประธานคณะกรรมการพิจารณาการนำเสนอผลงานวิจัย.

วันนี้ (15 ตุลาคม 2562) นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดงานวันรณรงค์ป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง อ. มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น การจัดงานครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ รวมไปถึง สมาคมโรงแป้งมันสำปะหลังไทย และสมาคมผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคเหนือ รวมไปถึงกรมวิชาการเกษตร โดยภายในงานให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังร่วมกันกำจัดต้นอย่างถูกวิธี รวมถึงการปล่อยโดรนฉีดพ่นกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ และปล่อยแมลงช้างปีกใส ศัตรูธรรมชาติ เพื่อป้องกันแมลงหวี่ขาวยาสูบกลับมาทำลายซ้ำ รวมถึงการให้เกษตรกรในพื้นที่ตระหนักถึงมหันตภัยร้ายแรงของโรคใบด่างมันสำปะหลัง

นายเข้มแข็ง เปิดเผยภายหลังการเปิดงานฯ ว่า ปัญหาโรคใบด่างมันสำปะหลัง เป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และมี มติ ครม. เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 เห็นชอบให้แก้ปัญหาโรคใบด่างในมันสำปะหลัง ที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยกำหนดแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่สามารถขายผลผลิตคุณภาพได้ โดยชดเชยให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ที่ได้รับผลกระทบ ไร่ละไม่เกิน 3,000 บาท โดยเกษตรกรจะต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปทำลายด้วย โดยดำเนินการทำลายไร่มันสำปะหลังที่ติดโรค ทั้งการขุด ถอน และฝังดิน ทั้งนี้เกษตรกรจะมีต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร และติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่ง

สำหรับการรณรงค์ป้องกันและกำจัดโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการให้ความรู้เกษตรกรถึงการป้องกันและกำจัดอย่างถูกวิธี รวมถึงการจัดงานรณรงค์ป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง พร้อมแนะ 3 วิธีปฏิบัติกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง ปฏิบัติที่ 1 หมั่นสำรวจแปลงอยู่เสมอ ปฏิบัติที่ 2 กำจัดต้นที่เป็นโรคและแมลงหวี่ขาวยาสูบ พาหะนำโรค และ ปฏิบัติที่ 3 คัดเลือกท่อนพันธุ์สะอาด

อนึ่ง อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 52,210 ไร่ ปัจจุบัน พบการระบาดและยืนยันการพบเชื้อไวรัสโรคใบด่างมันสำปะหลัง ที่ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น จำนวน 7 ไร่ จึงได้จัดงานรณรงค์เพื่อป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง ณ จุดพบการระบาด ในครั้งนี้ เพื่อกำจัดและป้องกัน รวมถึงสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ของ อ.มัญจาคีรี ทั้งหมด

รัฐมนตรีเกษตรฯ ร่วมแสดงความยินดี กรมส่งเสริมการเกษตรครบรอบ 52 ปี “เกษตรกรเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน” ประกาศนโยบายขับเคลื่อนงาน 6 ด้าน มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร เน้นใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยสร้างรายได้

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมการเกษตรครบรอบ 52 ปี ว่า กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นกรมที่ใกล้ชิดพี่น้องเกษตรกรและประชาชนอย่างมาก ในปัจจุบันกรมฯ ต้องบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อเชื่อมโยงกัน รวมถึงนโยบายการตลาดนำการเกษตรและงานวิจัยต่างๆ ที่จำเป็นอย่างยิ่ง การที่ประเทศจะพัฒนาได้ก็ต้องให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนา เนื่องจากเทคโนโลยี และนวัตกรรม จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และกลุ่มคนรุ่นใหม่ เช่น young smart farmer จะเป็นจุดเปลี่ยนเกษตรกรรมแบบเดิมได้ รวมทั้งการรวมกลุ่มบริหารจัดการเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พร้อมกล่าวย้ำถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมถึงเกษตรกรผู้ผลิตคือหัวใจสำคัญ จึงหวังให้ทุกคนทำงานเดินไปด้วยกัน “เกษตรกรเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน” ตนมาทำงานตรงนี้เพื่อต้องการสร้างผลงาน

ด้าน นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2563 กรมส่งเสริมการเกษตรได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนงานตามนโยบายของรัฐบาลและของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการช่วยเหลือดูแล และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยเฉพาะนโยบาย “การตลาดนำการเกษตร” ซึ่งต้องบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งของภาคการเกษตรในระดับฐานราก ด้วยการส่งเสริมการผลิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร มุ่งเน้นขับเคลื่อนการดำเนินงาน 6 ประเด็น คือ 1. ขยายผลโครงการพระราชดำริให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและสืบสานศาสตร์พระราชา โดยการส่งเสริมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการหลวง เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง การส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงและสืบสานศาสตร์พระราชา ยึดแนวทางสืบสาน รักษา ต่อยอดศาสตร์พระราชา และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดปี มีภูมิคุ้มกัน และมีความมั่นคงในอาชีพ

รวมทั้งการส่งเสริมการทำเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อสร้างสมดุลของระบบการผลิตทางการเกษตร ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 2.บริหารจัดการสินค้าเกษตรโดยยึดหลักการตลาดนำการเกษตรและสร้างรายได้แก่เกษตรกร เน้นพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐานเพื่อเข้าสู่เกษตรอุตสาหกรรม โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตและการบริหารจัดการสินค้าเกษตร การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และการผลิตสินค้าเกษตรที่มีโอกาสทางเศรษฐกิจ ใช้สารชีวภัณฑ์ลดการใช้สารเคมี

การสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายประกันรายได้เกษตรกร ปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน และการส่งเสริมการตลาดสินค้าเกษตร พัฒนาตลาดเกษตรกร ขยายความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพิ่มช่องทางการตลาดทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งการตลาดออนไลน์ และการพัฒนาโลจิสติกส์สินค้าเกษตร 3. พัฒนาองค์กรเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และงานเคหกิจเกษตร เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของครัวเรือนให้ดีขึ้น

การพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็นผู้ประกอบการ สร้าง Young Smart Farmer ให้มีบทบาทสำคัญและเป็นผู้นำพัฒนาการเกษตรของชุมชน การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรรวมทั้งสร้างความมั่นคงด้านอาหารในครัวเรือนเกษตรและชุมชน 4. สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายและบูรณาการการทำงานกับทุกภาคส่วน โดยสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการทำงาน พัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์เครือข่าย ให้มีความเข้มแข็งทำงานเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ

เป็นศูนย์กลางด้านการเกษตรของชุมชนและเชื่อมโยงงานวิจัยสู่ชุมชน และบูรณาการการทำงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่โดยพัฒนาต่อยอดจากฐานการพัฒนาที่มีอยู่แล้วและให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา 5. ช่วยเหลือดูแลและให้บริการแก่เกษตรกร ที่ประสบภัยพิบัติ (ภัยธรรมชาติ ศัตรูพืชและโรคพืช) และ 6. พัฒนาองค์กร ระบบการทำงาน และบุคลากรกรมส่งเสริมการเกษตร โดยพัฒนาระบบข้อมูล Big Data ระบบเทคโนโลยีและการสื่อสารต่าง ๆ

ที่ทันสมัยเพื่อให้บริการเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยึดหลักการทำงานอย่างมีส่วนร่วม และการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมทำงานตามหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวทางการดำเนินงานกรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2563 ดังกล่าว จะทำให้การทำงานส่งเสริมการเกษตรมีทิศทางที่ชัดเจน ส่งผลให้เกษตรกรได้รับการดูแลช่วยเหลือในการประกอบอาชีพการเกษตร และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

อนึ่ง กรมส่งเสริมการเกษตรได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2510 และได้ปฏิบัติงานอยู่เคียงคู่กับพี่น้องเกษตรกรมาด้วยความมุ่งมั่น เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 52 ปี จึงได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นในวันที่ 21 ตุลาคม 2562 ณ บริเวณอาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร สำหรับกิจกรรมภายในงานได้มีการจัดพิธีสงฆ์ พิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์พิเศษ ทำนอง สิงคาลวณิช ผู้ก่อตั้งกรมส่งเสริมการเกษตร หน่วยงานต่าง ๆ ร่วมแสดงความยินดีและมอบเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์แก่มูลนิธิธรรมรักษ์ (วัดพระบาทน้ำพุ)

นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานส่งเสริมการเกษตรเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร นำเสนอผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งเป็นเครื่องมือในการให้บริการเกษตรกร นิทรรศการกลไกขับเคลื่อนงานในพื้นที่ และตัวอย่างผลสำเร็จของงานส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่มะม่วงโชคอนันต์ ต.น้ำชุม อ.ศรีนคร จ.สุโขทัย การคัดเลือกบุคคลและหน่วยงานดีเด่นประจำปี 2562 ประกอบด้วย

เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ นักส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัด ดีเด่น จำนวน 24 รางวัล รวมทั้งเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรดีเด่น จำนวน 57 รางวัล เพื่อสนับสนุนให้บุคคลและหน่วยงานสามารถทำงานตามบทบาทหน้าที่ บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาเกษตรกร อีกทั้งยังเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานให้บุคคลและหน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นได้รับการยกย่อง เผยแพร่เกียรติคุณ ตลอดจนเกิดความภาคภูมิใจในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรด้วย

กระทรวงเกษตรฯ บูรณาการหน่วยงานเร่งปฏิบัติการฟื้นฟู เยียวยา เกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัยปี 2562 เสนอ 5 โครงการเป็นทางเลือกให้เกษตรกรที่พื้นที่ได้รับผลกระทบและเสียหายสิ้นเชิง หวังช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มรับสมัครตั้งแต่ 25 ต.ค. – 10 พ.ย. 2562 นี้

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งและอุทกภัยของพายุโพดุลและคาจิกิที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน ส่งผลให้พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายและเกษตรกรได้รับความเดือดร้อนนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 อนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฟื้นฟู เยียวยา

เกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัยปี 2562 จำนวน 5 โครงการ ภายในกรอบวงเงินกว่า 3,120 ล้านบาท ประกอบด้วย 1. โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ถั่วเขียว) 2. โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าวปี 2563/64 3. โครงการพัฒนาเสริมทางเลือกอาชีพด้านประมง : การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดิน 4. โครงการสร้างรายได้จากอาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน และ 5. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก เพื่อฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัย โดยเริ่มเปิดรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม – 10 พฤศจิกายน 2562 ระยะเวลาดำเนินโครงการตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2563

หลักการให้ความช่วยเหลือ ต้องเป็นเกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วง/ฝนแล้ง หรืออุทกภัย ปี 2562 ที่ได้รับความเสียหายสิ้นเชิงและได้รับการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้บูรณาการการทำงานของ 4 หน่วยงานในพื้นที่ร่วมกัน ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว กรมประมง และกรมปศุสัตว์

ในแต่ละโครงการจะมีเจ้าภาพรับผิดชอบหลัก โดยเกษตรกรที่สนใจสามารถเลือกและสมัครเข้าร่วมโครงการได้เพียง 1 โครงการ จากทั้งหมด 5 โครงการ ข้อกำหนดเบื้องต้น คือ พื้นที่ต้องมีเอกสารสิทธิ์ สำหรับเกษตรกรที่สนใจปลูกพืชใช้น้ำน้อยพื้นที่ต้องมีความเหมาะสม มีแหล่งน้ำเพียงพอในการเพาะปลูก หากสนใจเลี้ยงปลาควรจะมีบ่อดิน หรือเลี้ยงสัตว์ปีกอาจจะต้องมีโรงเรือนสำหรับสัตว์ปีกด้วย โดยแต่ละโครงการจะมีเป้าหมายและหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ถั่วเขียว) หน่วยงานรับผิดชอบ คือ กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ประสบภัยให้สามารถกลับมาเพาะปลูกพืชสร้างรายได้ในฤดูแล้ง โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายเป็นเงินสดโอนเข้าบัญชี ธ.ก.ส.ของเกษตรกรเพื่อซื้อเมล็ดพันธุ์ รายละไม่เกิน 20 ไร่ เป้าหมายเกษตรกร 150,000 ครัวเรือน พื้นที่ 1.4 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 100,000 ครัวเรือน พื้นที่ 1 ล้านไร่ อัตราไร่ละ 245 บาท ถั่วเขียว 50,000 ครัวเรือน พื้นที่ 0.4 ล้านไร่ อัตราไร่ละ 200 บาท เกษตรกรเข้าร่วมโครงการตามความสมัครใจ 1 ครัวเรือน ต่อ 1 สิทธิ์ และเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตร

2. โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าวปี 2563/64 หน่วยงานรับผิดชอบ คือ กรมการข้าว เป้าหมายเกษตรกร จำนวน 827,000 ครัวเรือน เมล็ดพันธุ์ข้าว 63,200 ดัน พื้นที่ 6.32 ล้านไร่ โดยสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวแก่เกษตรกรไร่ละ 10 กิโลกรัม ครัวเรือนละไม่เกิน 10 ไร่ ชนิดพันธุ์ข้าว 5 ชนิด ประกอบด้วย 1. ข้าวหอมมะลิ (พันธุ์ กข15, ขาวดอกมะลิ 105) 2. ข้าวหอมปทุม (พันธุ์ปทุมธานี1) 3. ข้าวเจ้าไม่ไวแสง (พันธุ์ กข29, กข31, กข41, กข49, กข57, ชัยนาท 1, พิษณุโลก 2) 4. ข้าวเหนียวไม่ไวแสง (พันธุ์สันป่าตอง 1) 5. ข้าวเหนียวไวแสง (พันธุ์ กข6) ทั้งนี้ จะจัดส่งเมล็ดพันธุ์ข้าวกลุ่มไม่ไวแสงช่วงเดือนกลางเดือน พ.ย.-กลางเดือน ธ.ค.2562 สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกลุ่มข้าวไวแสงจะจัดส่งช่วงเดือน มี.ค.- เม.ย.2563

3. โครงการพัฒนาเสริมทางเลือกอาชีพด้านประมง : การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดิน หน่วยงานรับผิดชอบ คือ กรมประมง เป้าหมายเกษตรกรจำนวน 50,000 ราย โดยสนับสนุนพันธุ์ปลาและอาหารสัตว์น้ำให้แก่เกษตรกร (ได้รับพันธุ์ปลานิลแปลงเพศ จำนวน 800 ตัว/ราย พร้อมอาหารสัตว์น้ำนำร่องจำนวน 120 กิโลกรัม/ราย ซึ่งการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดิน เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น หรือลดรายจ่ายในครัวเรือน โดยพันธุ์ปลานิลแปลงเพศที่สนับสนุนจะมีขนาดใหญ่ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงสั้น

4. โครงการสร้างรายได้จากอาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน หน่วยงานรับผิดชอบ คือ กรมประมง มีเป้าหมายแหล่งน้ำในชุมชนจำนวน 1,436 แห่ง โดยปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ (กุ้งก้ามกราม) ในแหล่งน้ำชุมชนขนาดกลางหรือขนาดเล็ก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำแบบปิดโดยสนับสนุนลูกพันธุ์กุ้งก้ามกรามขนาดตั้งแต่ 5-7 เซนติเมตรขึ้นไป จำนวน 200,000 ตัวต่อแหล่งน้ำ ทั้งนี้ การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่มีศักยภาพในการให้ผลตอบแทนที่รวดเร็วและเป็นอาชีพเสริมที่ให้ผลตอบแทนสูง

5. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก เพื่อฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัย หน่วยงานรับผิดชอบ คือกรมปศุสัตว์ เป้าหมายเกษตรกร 48,000 ครัวเรือน ในพื้นที่ 17 จังหวัด โดยสนับสนุนเป็นเงินโอนเข้าบัญชี ธ.ก.ส.ของเกษตรกรเพื่อซื้อพันธุ์ไก่ไข่ เป็ดไข่ ครัวเรือนละ 10 ตัว ไก่พื้นเมืองคละเพศ อายุ 1 เดือนครัวเรือนละ 30 ตัว พร้อมค่าอาหารและค่าวัสดุในการเลี้ยง

สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ได้รับผลกระทบและเสียหายสิ้นเชิงจากสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงและอุทกภัยปี 2562 สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่

กรมวิชาการเกษตร ล็อคมะพร้าวนำเข้าเมืองอิเหนากว่า 80 ตัน ชี้ผิดเงื่อนไขนำเข้าพบส่วนงอกยอดอ่อนติดมากับผลผลิต จี้ผู้ประกอบการเร่งเคลียร์สินค้าส่งกลับต้นทาง เผยปีนี้ตรวจพบมะพร้าวนำเข้าจากเพื่อนบ้านผิดกฎถูกส่งกลับและทำลายแล้วกว่า 3 พันตัน มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ด่านตรวจพืชท่าเรือ กรมวิชาการเกษตร ได้สุ่มตรวจและยึดผลมะพร้าวนำเข้าจากประเทศอินโดนีเซียจำนวน 3 ตู้คอนเทนเนอร์ ปริมาณ 81 ตัน เนื่องจากตรวจพบมีส่วนงอกของยอดอ่อนติดมากับผลผลิต ซึ่งผิดเงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่องเงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากอินโดนีเซีย พ.ศ. 2554 ที่ต้องไม่ปรากฏส่วนของก้าน ใบ หน่อ หรือยอดอ่อน ซึ่งด่านตรวจพืชท่าเรือได้แจ้งให้ผู้นำเข้าดำเนินการจัดการกับสินค้าดังกล่าว โดยผู้นำเข้าเลือกวิธีที่จะส่งสินค้ากลับที่ประเทศต้นทาง ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการส่งกลับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ตั้งแต่เดือนมกราคม-วันที่ 17 ตุลาคม 2562 ประเทศไทยนำเข้ามะพร้าวรวมจำนวน 1,056 ชิปเม้นท์ ปริมาณ 104,652 ตัน รวมมูลค่ากว่า 750 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้ตรวจพบการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขประกาศกรมวิชาการเกษตรจำนวน 57 ชิปเม้นท์ ปริมาณ 3,116 ตัน มูลค่ากว่า 21 ล้านบาท โดยสาเหตุที่ตรวจพบผิดเงื่อนไขมากที่สุดถึง 93 เปอร์เซ็นต์ คือ พบการงอกของหน่อหรือยอดอ่อนมะพร้าว ซึ่งตามประกาศกรมวิชาการเกษตรหากตรวจพบต้องส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งหากผู้นำเข้าเลือกที่จะส่งสินค้ากลับประเทศต้นทางด่านตรวจพืชจะออกหนังสือแจ้งด่านศุลกากรในพื้นที่เพื่อให้ผู้นำเข้านำไปประกอบพิธีการทางศุลกากรเพื่อให้ด่านศุลกากรตรวจปล่อยสินค้าตามอำนาจหน้าที่ที่ระบุไว้ในกฎหมายต่อไป แต่ถ้าผู้นำเข้าเลือกวิธีที่จะทำลายต้องไปหาแหล่งทำลายซึ่งเป็นสถานประกอบการที่ชอบด้วยกฎหมายในการรับทำลายสินค้า มีมาตรฐาน ISO ไม่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และทำลายถูกต้องตามหลักวิชาการเพื่อมิให้เกิดการแพร่ระบาดของศัตรูพืชภายในประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชไปควบคุมการทำลายด้วยทุกครั้ง

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า มะพร้าวเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งการที่จะอนุญาตให้นำเข้าได้ต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านโรคพืชและแมลงศัตรูพืชเพื่อกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตนำเข้าตามมาตรการสุขอนามัยพืช โดยกรมวิชาการเกษตรมีหน้าที่ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและกำกับดูแลเรื่องศัตรูพืชที่อาจจะติดมากับสินค้า ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอนุญาตให้มีการนำเข้ามะพร้าวแก่ปอกเปลือกจาก 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และเมียนมาร์ เนื่องจากผลผลิตมะพร้าวแก่ปอกเปลือกเพื่อใช้ในประเทศยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ผลผลิตมะพร้าวในประเทศปี 2562 ว่า มีปริมาณ 874,000 ตัน ในขณะที่ความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมมะพร้าวในประเทศมีความต้องการใช้มะพร้าวผลแก่ถึง 1.04 ล้านตัน รวมทั้งการอนุญาตให้นำเข้ามะพร้าวจากประเทศใดประเทศหนึ่งนั้นเกิดจากการร้องขอให้มีการอนุญาตนำเข้าจากผู้ประกอบการด้วย

“ประเภทของมะพร้าวที่ไทยอนุญาตให้นำเข้าคือ ผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือก เนื้อมะพร้าวสด เนื้อมะพร้าวแห้ง กะลามะพร้าว เส้นใยมะพร้าว และกาบมะพร้าว โดยผู้นำเข้าต้องมีใบอนุญาตนำเข้า และต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงงานแปรรูปมะพร้าว ซึ่งการออกใบอนุญาตนำเข้ามะพร้าวเข้ามาในไทยจะอนุญาตเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าวเท่านั้น และการนำเข้าจะต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชกำกับมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้ง โดยได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชตรวจสินค้าที่นำเข้ามาอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชติดเข้ามาในประเทศ” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

สืบเนื่องจากข่าว (กรมส่งเสริมการเกษตร ชู “อะโวคาโด” เป็นพืชเศรษฐกิจ เผย 7 สายพันธุ์แนะนำให้ปลูก https://bit.ly/2kB5hCz) และในข่าวนี้ยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและแผนงานส่งเสริมเกษตรกร และเป้าหมายการสร้างจังหวัดตาก เป็น “City of Avocado” และมีการจัดตั้งทีมบูรณาการโครงการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่เพื่อผลิตอะโวคาโดแบบครบวงจรขึ้น และการขอขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI โดยทางสำนักงานเกษตรจังหวัดตาก…จากข่าวนี้ทำให้ “เกษตรก้าวไกล” ตัดสินใจที่จะลงพื้นที่จังหวัดตากทันที เพราะจากการจับกระแสพบว่า เกษตรกรมีความสนใจในไม้ผลชนิดนี้ และไม่เพียงเท่านี้เราได้โทร.ไปปรึกษาปรมาจารย์นักบุกเบิกปรับปรุงสายพันธุ์อะโวคาโด “ปากช่อง 2 8″ (มาจากแถวที่ 2 ต้นที่ 8) นั่นคือ “อาจารย์ฉลองชัย แบบประเสริฐ” ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ปัจจุบันท่านเกษียณอายุราชการมาหลายปีแล้ว แต่ยังคงมุ่งมั่นกับอะโวคาโดไม่เสื่อมคลาย) ท่านบอกว่า “ผมมั่นใจมานานแล้วว่าอะโวคาโดจะเป็นไม้ผลเศรษฐกิจ มั่นใจมาตลอดครับ” เพียงแค่นี้ก็ทำให้เราอบอุ่นใจเป็นอย่างยิ่ง และก่อนหน้านั้นได้พบกับ คุณสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในวันสุดท้ายของการดำรงตำแหน่งนี้ (30 ก.ย.62) ท่านบอกว่ากรมส่งเสริมการเกษตรยืนยันมั่นใจต่อไม้ผลชนิดนี้ เพราะได้ทำการศึกษามาอย่างดีแล้ว

การเสวนาเคลื่อนที่เร็วจึงเกิดขึ้นในบัดดล…ทีมงานของเราจัดเก็บข้อมูล-จัดทำประเด็นอย่างทันท่วงทีและส่งไปให้ปลายทางคือ คุณธนากร โปทิกำชัย รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก(เกษตรที่สูง) และ คุณรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ เกษตรจังหวัดตาก ทั้งสองท่านตอบกลับอย่างรวดเร็วและบอกว่ายินดีมาก

สรุปว่า จะจัดเสวนาในรูปแบบเคลื่อนที่เร็ว Talk of the Farm (เป็นรูปแบบรายการที่จะจัดให้มีขึ้นบ่อยครั้งในปี 2020 หากครั้งนี้ไปได้ดี) คือจัดพูดคุยกันในสวนแบบสบายๆ หัวข้อว่า “ตามหาอะโวคาโด เกษตรที่สูง จ.ตาก” (Talk of the Farm “City of Avocado”) ประเด็นที่จะพูดคุยและวิทยากร ประกอบด้วย

ประเด็นที่จะเสวนา
วิเคราะห์โอกาสและความเป็นไปได้ของอะโวคาโดต่อการเป็นพืชเศรษฐกิจ (ทั้งในแง่การผลิต การตลาด การแปรรูป และอื่นๆ)
นโยบายและความมั่นใจของจังหวัดตากต่อการประกาศเป็น “City of Avocado” ศูนย์กลางการผลิตอาโวคาโดคุณภาพ
ภารกิจของเกษตรที่สูงจังหวัดตาก และเกษตรจังหวัดตาก เพื่อส่งเสริมอะโวคาโดเป็นพืชเศรษฐกิจ (เช่น การปลูกให้ได้คุณภาพตรงตามมาตรฐานและที่ตลาดต้องการ)
ความตื่นตัวของเกษตรกรในพื้นที่ (จะมีตัวแทนของเกษตรกรมาพูดด้วย)
โอกาสและการเข้าถึงองค์ความรู้ของเกษตรกรไทย

ประเด็นที่จะสาธิต (ดูตามความเหมาะสม)
การขยายพันธุ์อะโวคาโดรูปแบบต่างๆ (สาธิตตัวอย่างวิธีนิยม)
การปลูกและการดูแลจัดการต่างๆ (เดินชมสวน)
การดูลักษณะผลที่จะเก็บเกี่ยว (ดัชนีการเก็บเกี่ยว(Harvesting Index)ของอะโวคาโดสายพันธุ์ต่างๆ)
อื่นๆ (ดูหน้างานอีกครั้ง)

วิทยากรที่จะเสวนาและสาธิต
คุณรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ เกษตรจังหวัดตาก (ประเด็นนโยบายและแผนงานส่งเสริมเกษตรกร และเป้าหมายการสร้างจังหวัดตาก เป็น “City of Avocado” และมีการจัดตั้งทีมบูรณาการโครงการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่เพื่อผลิตอะโวคาโดแบบครบวงจรขึ้น และการขอขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI โดยทางสำนักงานเกษตรจังหวัดตาก)
คุณธนากร โปทิกำชัย รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก(เกษตรที่สูง) ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็น Avocado Man ในฐานะผู้เชี่ยวชาญในการปลูกและดูแลรักษาอะโวคาโด (ประเด็นการพัฒนาสายพันธุ์อะโวคาโด การปลูกและดูแลจัดการให้ได้คุณภาพ ดัชนีการเก็บเกี่ยว(Harvesting Index)ของอะโวคาโดสายพันธุ์ต่างๆ )
ตัวแทนเกษตรกรหรือตัวแทนผู้รับซื้อ (หรือทั้ง 2 อย่าง-ในเบื้องต้นจะเชิญประธานแปลงใหญ่อะโวคาโดตาก) (ประเด็นการปลูกและดูแลจัดการ ปัญหาการปลูก โรคแมลง การตลาดและการขาย รวมทั้งการแปรรูปเพิ่มมูลค่า)

วันเวลา/สถานที่เสวนา
วันอังคารที่ 29 ตุลาคม 2562 เวลา 14.00-16.00 น. (ท่านที่จะเข้าร่วมให้มาได้ตั้งแต่ 13.00 น.)
ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก(เกษตรที่สูง) จัดในแปลงปลูกอะโวคาโด

ทั้งหมดนี้ คือรูปแบบการเสวนาเคลื่อนที่เร็ว สมัคร NOVA88 Talk of the Farm ที่จะไม่เน้นพิธีการ แต่เน้นสาระความรู้และความเรียบง่าย เป็นธรรมชาติ (สบายๆแบบมีส่วนร่วม) เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเกษตรกรมากที่สุด และผู้ที่สนใจก็ไม่ต้องจองที่นั่งแต่อย่างใด หากมาได้ก็ให้มาในวันที่กำหนดเลย แต่มาไม่ได้ก็ให้ติดตามจากการ LIVE สดผ่านเฟสบุ๊ค และช่องยูทูป #เกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน หรือจะสอบถามรายละเอียดได้ที่ ไอดีไลน์ thanasit19 หรือโพสต์ถามได้

ถือเป็นหนึ่งในมิตรแท้ของชาวไร่อ้อยมาอย่างยาวนาน เพราะได้

ดำเนินธุรกิจในการผลิต และให้บริการเกี่ยวกับอุปกรณ์การเกษตรด้านการปลูกอ้อยอย่างครบวงจร รวมถึงการให้คำปรึกษาด้านการเพิ่มผลผลิตและการลดต้นทุนในการปลูกอ้อย มาตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบัน และได้รับความเชื่อถือจากลูกค้าทั้งในและต่างประเทศมากมาย เรียกได้ว่า NKS มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องจักรกลต่างๆที่ต้องใช้ไร่อ้อย โดยมีผลงานที่ได้รับความนิยมจากชาวไร่อ้อยมากมาย ไม่ว่า เครื่องกำจัดวัชพืช SRT6 เครื่องฝังปุ๋ยนำร่องก่อนปลูก โรตารี่มินิคอมบาย เครื่องมือคลุกใบอ้อย เครื่องปลูก Billet Planter ซึ่งปลูกได้เต็มประสิทธิภาพที่เฉลี่ยวันละ 60 ไร่ต่อวัน (8ชั่วโมง) และใช้คนงานเพียง 2 คนเท่านั้น คือคนขับและคนคุมท้าย เป็นต้น

จากก้าวแรกเพื่อการมีส่วนร่วมพัฒนาชีวิตชาวไร่อ้อย มาจนถึงวันนี้ โรงเรียนเกษตรกรชาวไร่อ้อย NKS เปิดการเรียนการสอนให้เกษตรกรที่สนใจไปแล้วกว่า 40 รุ่น โดยเมื่อวันที่ 17-18 กันยายน 2562 ที่ผ่านมาได้เปิดการเทอมการเรียนรู้ล่าสุดไป โดยมีเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมกว่า 48 คน

กล่าวได้ว่า หากสนใจและต้องการที่จะก้าวเป็นไปเกษตรกรสมัยใหม่ที่มีแนวคิดและวิธีการที่ทันสมัยทันต่อการแปลงเปลี่ยน ยกระดับสู่การเป็น Smart Farming โรงเรียนเกษตรกรชาวไร่อ้อย NKS จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ

สำหรับการเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ จะเน้นการให้ได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการปลูกอ้อยเพื่อส่งเข้าโรงงานน้ำตาล ทั้งในด้านภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ สามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริง โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญของ NKS รวมถึงการลงพื้นที่จริงเพื่อเยี่ยมชมความสำเร็จของเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัวอย่าง และหลังเสร็จสิ้นการเรียนตามหลักสูตร ยังจะได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองอีกด้วย

นายสรวิศ ประธานทิพย์ ผจก.ร้านฟาร์มเมอร์เซนเตอร์ สาขาตากฟ้า ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนเกษตรกรชาวไร่อ้อย NKS บอกว่า สำหรับหลักสูตรที่สอนนั้น จะเน้นในสิ่งที่เกษตรกรต้องรู้เพื่อการเพิ่มผลผลิต ซึ่งทางโรงเรียน เรียกองค์ความรู้นี้ว่า 5 ขั้นตอนของหัวใจแห่งการปลูกอ้อย ประกอบด้วย

สิ่งแรก ที่เกษตรกรต้องรู้และเข้าใจ คือ การเตรียมดิน ทุกคนจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ถึงเทคนิคที่สำคัญในการเตรียมดินอย่างไรให้มีความร่วนซุย เหมาะสมกับการปลูกอ้อย เช่นเทคนิคการแก้ไขปัญหาดินดาน

สอง การปลูก เกษตรกรจะมีวิธีการปลูกอ้อยอย่างไรให้มีอัตราการงอกและเจริญเติบโตสม่ำเสมอกันทั้งแปลง เช่น เทคนิคการคัดท่อนพันธุ์ที่ดี

สาม การดูแลรักษาอ้อย หลังจากปลูกอ้อยแล้ว จะต้องดูแลอย่างไรจึงจะทำให้ต้นอ้อยแปลงอุดมสมบูรณ์และแข็งแรง เช่นเทคนิคเกี่ยวกับการให้ธาตุอาหารที่อ้อยต้องการ

สี่ การเก็บเกี่ยว เกษตรกรต้องมีข้อคิด มีการเตรียมแปลงอย่างไรเพื่อรองรับการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

สุดท้าย ห้า การบำรุงตออ้อย เกษตรกรที่เข้าเรียนรู้จะได้รับทราบเทคนิคที่สำคัญในการดูแลอ้อยตอหลังการเก็บเกี่ยวว่าต้องทำอย่างไร เพื่อให้ในปีต่อไปได้ผลผลิตสูงสุดอีก

ทั้งหมดนี้ คือ หัวข้อการเรียนรู้ที่ผู้สนใจจะได้รับทราบ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในแปลงปลูกของตนเอง ดังนั้น ดีที่สุดที่จะได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ดังกล่าว คือ สมัครเข้าเรียนที่โรงเรียนเกษตรกรชาวไร่อ้อย NKS แห่งนี้ ซึ่งจะมีการเปิดการเรียนการสอนตามระยะเวลาที่กำหนด และหากสนใจ สมัครได้โดยตรงที่ บริษัท นครสวรรค์ สตีล จำกัด (NKS) เลขที่ 109 หมู่ที่ 8 ถนนเนินมะกอก ตำบลเนินมะกอก อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โทร. 056-380-006,056-380-0071

นี่คืออีกหนึ่งเรื่องดี ๆ ของวงการไร่อ้อยเมืองไทย…โรงเรียนเกษตรกรชาวไร่อ้อย NKS กรมวิชาการเกษตร ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งพัฒนายกระดับสินค้าเกษตรคุณภาพดีสู่มาตรฐานสากล เน้นระบบการตลาดนำการผลิต หนุนนักวิจัยผลิตงานวิจัยปรับใช้ประโยชน์ ตอบโจทย์แก้ปัญหาการเกษตรของไทยแบบครบวงจร พร้อมร่วมบูรณาการสืบสานต่อยอดศาสตร์พระราชาให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2515 เพื่อทำหน้าที่ค้นคว้า วิจัย ทดลอง และพัฒนาวิชาการเกษตรด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับพืช เครื่องจักรกลการเกษตร ให้บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ รับรอง ให้คำแนะนำเกี่ยวกับดิน น้ำ ปุ๋ย วัสดุการเกษตร ผลผลิต และผลิตภัณฑ์พืช การบริการส่งออกสินค้าเกษตร รวมทั้งกำกับดูแลกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 6 ฉบับ ซึ่งในปี 2562 กรมวิชาการเกษตรมีผลการดำเนินงานสำคัญที่ผ่านมา อาทิ การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน โดยได้ทำการตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชในระบบ GAP ผ่านมาตรฐาน 108,647 แปลง พื้นที่ 539,811.65 ไร่ และตรวจรับรองโรงคัดบรรจุ โรงงานแปรรูป โรงรมตามมาตรฐาน GMP HACCP และ GFP ผ่านมาตรฐานรวม 885 โรงงาน รวมถึงพัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจสอบสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ เป้าหมาย 32 แห่ง

นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรยังมีผลงานวิจัยดีเด่นอีกมากที่พร้อมขยายผลเผยแพร่สู่เกษตรกร โดยเฉพาะพืชพันธุ์ใหม่ 34 พันธุ์ แบ่งเป็น พันธุ์พืชรับรอง 13 พันธุ์ พันธุ์แนะนำ 21 พันธุ์ เครื่องจักรกลการเกษตรที่พร้อมขยายผล จำนวน 19 เครื่อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ ซึ่งผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากกรมวิชาการเกษตรนำไปผลิตจำหน่ายเชิงพาณิชย์ รวม 7 เทคโนโลยี การขับเคลื่อนผลงานวิจัยปรับไปใช้ประโยชน์ถ่ายเทคโนโลยีผ่านเกษตรกรต้นแบบและแปลงต้นแบบ โดยเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ให้คำแนะนำ ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานในปี 2562 ที่ผ่านมา และแผนในปี 2563 รวม 15 โครงการ

ในปี 2562 กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินงานสนับสนุนตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ นโยบายเกษตรอินทรีย์ ตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ผ่านมาตรฐาน รวม 3,171 แปลง และกิจกรรมส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ โดยการอบรมให้ความรู้เกษตรกรด้านการผลิตพืชอินทรีย์ รวม 3,650 ราย รวมทั้งจัดทำแปลงต้นแบบการผลิตพืชอินทรีย์ ผลิตพ่อพันธุ์–แม่พันธุ์แมลงศัตรูพืชธรรมชาติ และผลิตชีวินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืช นโยบายระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืช 5,514 ราย ตรวจรับรอง GAP ผ่าน 3,269 ราย และจัดทำแปลงต้นแบบ 2,043 ไร่ นโยบายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการใช้ชีวินทรีย์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช การใช้ปัจจัยการผลิตอย่างถูกต้องและเหมาะสมรวม 11,063 ราย ผลิตพ่อพันธุ์–แม่พันธุ์ แมลงศัตรูธรรมชาติ 15 ชนิด เผยแพร่องค์ความรู้ผ่าน Smart–Box 90 แห่ง และแจ้งเตือนภัยศัตรูพืชทุกสัปดาห์

ในส่วนการดำเนินงานสนับสนุนนโยบาย Zoning by Agri-Map ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก ปรับโครงสร้างการผลิตในพื้นที่ S3 และ N โดยการสร้างการรับรู้ให้เกษตรกรในการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชในพื้นที่ที่เหมาะสม 1,427 ราย จัดทำแปลงต้นแบบ 1,566 ไร่ ส่วนการพัฒนาศักยภาพการผลิตทางการเกษตร โดยดำเนินงานด้านการเป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช การพัฒนากลุ่มปลูกสมุนไพรให้เข้าสู่ระบบ GAP /GMP แล้ว 5 แห่ง และฝึกอบรมเกษตรกรให้เข้าสู่ระบบการจัดการ GAP และแปรรูปสมุนไพรแล้ว 113 ราย การผลิตพันธุ์พืชคุณภาพดีและปัจจัยการผลิต ได้แก่ พืชไร่ 11 ชนิด พืชสวน 33 ชนิด ปัจจัยการผลิต 19 ชนิด รวมถึงมีภารกิจตามนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในเรื่องการกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด มาตรการจำกัดการใช้ 3 สาร การเปิดตลาดมะม่วงไปออสเตรเลีย และการส่งออกมังคุดไปไต้หวันที่เป็นผลสำเร็จในปีนี้ด้วย

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า งานวันคล้ายวันสถาปนากรมวิชาการเกษตรจะจัดขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคมเป็นประจำทุกปี และในปีนี้นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ส่งสารมาแสดงความยินดีและมอบหมายให้นางอุมาพร พิมลบุตร รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็นประธานในพิธีวันคล้ายวันสถาปนากรมวิชาการเกษตรครบรอบปีที่ 47 และมอบนโยบายการดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนาพืชให้แก่คณะผู้บริหารและนักวิชาการของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งกรมวิชาการเกษตรจะได้นำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรต่อไป พร้อมขับเคลื่อนผลงานวิจัยไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงการผลิตพืชของเกษตรกร ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดสินค้าเกษตร พร้อมร่วมบูรณาการสืบสานต่อยอดศาสตร์พระราชาให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

ระยอง เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพ ทั้งด้านการเกษตร การท่องเที่ยว และด้านอุตสาหกรรม และยังเป็นเมืองศูนย์กลางการพัฒนาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่อยู่ใกล้เมืองหลวง

ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่จังหวัดได้เล็งเห็นความสำคัญ และมุ่งเน้นการพัฒนาโดยเฉพาะ การเป็นเมืองผลไม้ ทั้ง ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ขนุน ลำไย ที่สามารถผลิตออกมาสู่ตลาดทั้งภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศได้อย่างน่าภาคภูมิใจ สามารถทำรายได้ให้จังหวัดปีละหลายพันล้านบาท

จากวิสัยทัศน์จังหวัดระยองที่ว่า “เมืองนวัตกรรมก้าวหน้า พัฒนาอย่างสมดุล บนพื้นฐานความพอเพียง” โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเศษฐกิจให้มีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ สมดุล การจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบมีส่วนร่วมยั่งยืน สร้างคุณภาพชีวิตประชาชนที่ดีบนฐานเศษฐกิจพอเพียง ยกระดับการส่งเสริมการค้าการลงทุน และพัฒนาเศษฐกิจที่เข้มแข็ง จึงทำให้เกิดแนวทางการพัฒนาแนวรุก โดยเฉพาะในภาคการเกษตร

ทั้งนี้ นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า จังหวัดระยองมีเป้าหมายในการพัฒนาทางด้านการเกษตร ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลผลิตการเกษตรของจังหวัดที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เช่น สับปะรด “ทองระยอง” พืช GI ของจังหวัดระยอง เป็นสับปะรดสายพันธุ์ควีน (Queen) รูปผลทรงกระบอก ตาผลใหญ่ ร่องตาตื้น เปลือกบาง เมื่อผลแก่จัดจะมีสีเหลืองทองทั้งผล เนื้อสีเหลืองเข้มสม่ำเสมอตลอดผล เนื้อแน่น แห้ง กรอบ ไม่ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม รับประทานแล้วไม่กัดลิ้น เป็นต้น รวมทั้ง เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง และอื่น ๆ โดยเฉพาะ ทุเรียนหมอนทอง ซึ่งเกษตรกรสามารถผลิตออกมาได้คุณภาพที่ดีเยี่ยม เนื้อเหนียว แห้ง หวาน ทานอร่อย และได้รับการรับรอง GAP จากกรมวิชาการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ทุเรียนที่ออกมาขายได้ในราคาที่สูง เมื่อเทียบกับทุเรียนในภาคอื่น ๆ เพราะทุเรียนที่ระยองจะออกสู่ตลาดก่อนภาคอื่น ๆ ด้วย

“ขณะนี้จังหวัดระยองกำลังดำเนินการขอ GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ อีกพืชหนึ่ง โดยจังหวัดได้มอบหมายให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรให้มีการรวมตัวกันเป็นแปลงใหญ่ การร่วมกันเรียนรู้เทคนิควิชาการใหม่ ๆ ในการพัฒนาคุณภาพผลไม้ การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาผลผลิตสู่การรับรองมาตรฐาน GAP การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การแปรรูป และการจัดหาตลาดในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะในฤดูกาลปี 2563 ที่จะถึง จะได้มุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจในการผลิตทุเรียนคุณภาพให้มากขึ้น ตั้งแต่การผสมดอกทุเรียน การจดบันทึกช่วงเวลาที่ดอกบาน การให้ปุ๋ย ให้น้ำ การป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธี การเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาที่เหมาะสม การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามและเหมาะแก่การขนส่ง การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ เพื่อส่งเสริมการขายในเชิงรุก เป็นต้น”

ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวอีกว่า การดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ นอกจากจะช่วยเกษตรกรให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ตามนโยบายของรัฐบาลแล้ว ยังจะสามารถพัฒนาคุณภาพให้สูงขึ้น และเกษตรกรสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายเองที่สวนในรูปแบบของการท่องเที่ยวเกษตร ตลาดผลไม้ชุมชน ขายผ่านพ่อค้าคนกลาง ขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง ตลาดออนไลน์ ขายส่งออก หรือการนำสินค้ากระจายออกนอกพื้นที่ โดยเกษตรกรเองในนาม “นักการตลาดชุมชน”

“ซึ่งทุกช่องทางการตลาดจะมีเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐคอยเป็นพี่เลี้ยง ประสานงาน และสนับสนุนในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะสินค้าจากสวนที่ได้รับรองมาตรฐาน GAP แล้วจะได้สนับสนุนสติกเกอร์ QR Code เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค เป็นข้อมูลรับรองแหล่งผลิต และการตรวจสอบย้อนกลับอีกด้วย นอกจากการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพแล้ว การตรวจรับรองสถานประกอบการโรงคัดแยก หรือล้ง ก็จะต้องได้รับรองมาตรฐาน GMP อีกด้วย ซึ่งจะต้องเร่งสร้างความเข้าใจ และดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพราะประเทศคู่ค้าหลายประเทศเริ่มมีข้อกำหนดในเรื่องมาตรฐานการผลิต และมาตรฐานโรงคัดแยก เข้มข้นขึ้น” นายสุรศักดิ์ กล่าว

ทางด้านนายนิพนธ์ สุขสะอาด เกษตรจังหวัดระยอง ได้กล่าวเพิ่มเติมในประเด็นของการบริหารจัดการสวนเกษตรให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเกษตร ว่า จังหวัดระยองมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเกษตรสูงมาก เนื่องจากเกษตรกรมีความตื่นตัวในการบริหารจัดการสวนผลไม้ที่ได้คุณภาพ และมีความได้เปรียบในหลาย ๆ ด้าน ทั้งอยู่ใกล้เมืองหลวง การคมนาคมสะดวก เศรษฐกิจของจังหวัดดี มีกำลังซื้อสูง ภาคอุตสาหกรรมมีมาก การขายผลไม้โดยตรงระหว่างกลุ่มผู้ผลิตกับพนักงานบริษัทต่าง ๆ เป็นช่องทางการตลาดที่ไม่ควรมองข้าม

“ส่วนการดำเนินการตลาดในรูปแบบท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งจัดได้ว่าเป็นตลาดเพียงรูปแบบเดียวที่เกษตรกรสามารถควบคุมและทำตลาดได้เอง สามารถกำหนดราคาขายได้เอง ขายอยู่กับสวนกับบ้านโดยไม่ต้องเสียค่าขนส่ง และเมื่อลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชนสามารถขายสินค้าชุมชนประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากผลไม้ได้อีกด้วย เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งขณะนี้มีสวนเกษตรที่ขึ้นทะเบียนแหล่งท่องเที่ยวเกษตร ไว้กับสำนักงานเกษตรจังหวัดระยองทั้งหมด 77 สวน และได้มีการประชุมหารือกันเพื่อจัดตั้งเป็น “สมาคมท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อสุขภาพ โดยชุมชนจังหวัดระยอง” คาดว่าอีกไม่นานคงจะดำเนินการได้แล้วเสร็จ”

นายนิพนธ์ กล่าวต่อไปว่า ส่วนการจัดการท่องเที่ยวในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ท่องเที่ยวธรรมชาติ และอื่นๆ ก็จะหนุนเสริมเกื้อกูลกันเป็นอย่างดี จะเกิดพลังในการบริหารจัดการเชื่อมโยงเครือข่าย การต่อรอง การพัฒนาไปสู่มาตรฐานการท่องเที่ยว การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรที่หลากหลายในมาตรฐานเดียว การขยายผลไปสู่เกษตรกรอื่น ๆ ที่สนใจแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการกระจุกตัวของนักท่องเที่ยว สินค้าไม่พอบริการนักท่องเที่ยว สินค้าล้นตลาด ฯลฯ โดยในปีการผลิตที่จะถึงคาดว่าจะมีสวนเกษตรที่เข้ามาร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 100 สวน สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภค และสร้างรายได้เพิ่มจำนวนมหาศาลให้กับเกษตรกรในจังหวัดระยองอย่างแน่นอน

การพัฒนาการเกษตรในภาพรวมของจังหวัด เกษตรจังหวัดระยองกล่าวเพิ่มเติมว่า จะต้องเน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีก้าวหน้าให้มากขึ้น ตามนโยบายของท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งระบบการให้น้ำอัจฉริยะ การควบคุมโรคแมลง เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวด้วยการนำเทคโนโลยีเครื่องผลิตแก๊สโอโซน ควบคุมคุณภาพผักผลไม้ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การขนส่ง และการเพิ่มช่องทางการตลาดที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมการสร้างอาชีพเกษตรก้าวหน้า โดยการพัฒนา Smart Farmer และ Young Smart Farmer มุ่งผลิตสินค้าอาหารปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ การเพิ่มกำลังการผลิตสินค้าเกษตร ประมง ปศุสัตว์ สินค้าแปรรูป ที่ได้ทั้งปริมาณ และคุณภาพ รองรับการพัฒนาไปสู่จังหวัดอัจฉริยะ (Smart Province) และการเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC : Eastern Economic Corridor

นอกจากนั้นยังจะต้องสร้างอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรรายย่อยในสวนผลไม้ สวนยางพารา และพื้นที่ว่างเปล่า โดยการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เล็ก เป็ด ไก่ การเลี้ยงไส้เดือน การเลี้ยงผึ้ง/ชันโรงช่วยผสมเกสร การปลูกพืชร่วม พืชแซม เช่น ผักเหลียง ผักกูด สละ กระวาน พริกไทย ไม้ตัดดอก ไม้ตัดใบ และพืชสมุนไพรอื่น ๆ อีกหลากหลายชนิดที่สามารถขึ้นร่วมกันได้ในสวนผลไม้ หรือสวนยางพารา ภายใต้แนวคิด “เพิ่มพื้นที่ทำกินโดยไม่เพิ่มโฉนด” และสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร และการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ตามหลักปรัชญาเศษฐกิจพอเพียงนั่นเอง

“ด้วยการพัฒนาการผลิตของเกษตรกรหัวก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง การส่งเสริมอย่างจริงจังของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งโอกาสทางการตลาดที่จะเข้ามาจากนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ นักการค้า การลงทุนที่หลั่งไหลกันเข้ามาอีกมากมายมหาศาล EEC คือโอกาสทองของพี่น้องเกษตรกรชาวระยองแน่นอนครับ” เกษตรกรจังหวัดระยองกล่าวทิ้งท้าย

กรุงเทพฯ ประเทศไทย, 3 -4ตุลาคม 2562 – ฟอร์ด ประเทศไทย นำคณะสื่อมวลชนและกลุ่มเกษตรกรร่วมผจญภัยไปกับกิจกรรม “ฟอร์ด เรนเจอร์ แกร่ง…ทุกงานเกษตร” โดยเดินทางพิสูจน์สมรรถนะรถกระบะ ฟอร์ด เรนเจอร์ ที่มาพร้อมขุมพลังที่เหนือชั้นและเทคโนโลยีอันชาญฉลาดที่ตอบสนองต่อการขับขี่อย่างยอดเยี่ยมในเส้นทางสมบุกสมบัน ทั้งทางเรียบและออฟโรด สมกับคำนิยามรถกระบะ “เกิดมาแกร่ง” พร้อมฝ่าฟันทุกอุปสรรค เพื่อเยี่ยมชมสวนเกษตรและพูดคุยกับเกษตรกรทั้งในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บ้านทุ่งกระโปรง จ.นครนายก
หลังจากซักซ้อมความเข้าใจก่อนออกเดินทางที่สโมสรราชพฤกษ์ ย่านหลักสี่ คณะสื่อมวลชนออกเดินทางจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่ จ. นครนายก โดยมีจุดหมายแรก คือ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านทุ่งกระโปรง อ.บ้านนา ที่นี่มีผู้ใหญ่สมหมาย เกตุแก้ว เป็นไกด์นำเยี่ยมชม ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ระดับอำเภอ ชุมชนบ้านทุ่งกระโปรงมีความโดดเด่นจากการ เป็นชุมชนที่ริเริ่มปรับเปลี่ยนจากการเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานและเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยมุ่งเน้นให้คนในชุมชนพึ่งตนเองได้ และผลผลิตทางการเกษตรที่สดใหม่ปลอดสารพิษของชุมชนบ้านทุ่งกระโปรงด้วย

ชมสวนโกโก้ จ.ปราจีนบุรี
หลังจากนั้น สื่อมวลชนมุ่งหน้าเยี่ยมชมสวนโกโก้ ของคุณฐาณุพงษ์ ชินธนะชัยรัตน์ เกษตรกรยุคใหม่ ณ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี โกโก้เป็นพืชยืนต้นที่ดูแลไม่ยุ่งยากเหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย โรคพืชและแมลงศัตรูรบกวนน้อย ใช้น้ำไม่มาก ออกลูกดกทั้งปี โดยสวนโกโก้แห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ เริ่มปลูกโกโก้จำนวน 600 ต้น เป็นสวนโกโก้แบบอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยสวนโกโก้แห่งนี้ ได้เข้าร่วมกับโครงการส่งเสริมการปลูกโกโก้ออแกนิคของบริษัท เอทีเอ โปรดักส์ จำกัด เพื่อทำการส่งออกและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์โกโก้ระดับพรีเมี่ยมต่อไป

เที่ยวบ้านหมากม่วง เขาใหญ่
เช้าวันที่สอง คณะสื่อมวลชนได้ไปเยี่ยมชมบ้านหมากม่วง (The Mango House Farm) ฟาร์มมะม่วงที่ดำเนินงานโดยเกษตรไทยยุค 4.0 ที่ต่อยอดธุรกิจการปลูกมะม่วงของครอบครัวมานานกว่า 20 ปี ให้กลายเป็นธุรกิจแบบครบวงจร ที่นี่เราได้ฟังแนวคิดการสร้างแบรนด์สินค้าเกษตรและการทำเกษตรสมัยใหม่ โดยคุณแนน-วราภรณ์ มงคลแพทย์ บัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร และเกษตรไทยรุ่นลูก ซึ่งเป็นผู้ต่อยอดธุรกิจของครอบครัว เล็งเห็นโอกาสและการเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยการแปรรูปมะม่วงเป็นสินค้าต่างๆ เช่น ไอศกรีมมะม่วงพุดดิ้ง มะม่วงลอยแก้ว แยมมะม่วง น้ำมะม่วง มะม่วงกวนกล้วยอบน้ำสมุนไพร รวมถึงข้าวเหนียวมะม่วงสูตรเฉพาะของฟาร์ม และกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วงอีกหลายที่ชวนให้เราต้องติดตาม

ดูงานปลูก อะโวคาโด สวนลุงแดง
หลังจากนั้น คณะสื่อมวลชนเดินทางไปเยี่ยมชมสวนอะโวคาโด (สวนคุณแดง) ที่ อ.ปากช่อง จ. นครราชสีมา เป็นสวนอะโวคาโด ของคุณสำเริง กลั่นกลิ่น ทราบว่าได้รับพันธุ์อะโวคาโดจากสถานีวิจัยพืชสวนปากช่องและพันธุ์จากโครงการหลวงทางภาคเหนือมาทดลองปลูกอย่างต่อเนื่อง จนมีต้นอะโวคาโดมากกว่า 500 ต้น โดยจะปูกแซมในสวนน้อยหย่าเพชรปากช่อง ต้นหนึ่งจะให้ผลผลิต 300-500 กิโลกรัม โดยจะให้ผลผลิตประปรายตลอดทั้งปี และจะมากที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน นอกจากนี้ สวนแห่งนี้ยังมีต้นอะโวคาโดพันธุ์พิเศษ “พันธุ์บลูนี่” มีลักษณะผลใหญ่ คุณภาพดี รสชาติอร่อย ซึ่งมีปลูก ณ สวนแห่งนี้เพียงที่เดียวเท่านั้น

ปิดท้ายที่ ไร่สุวรรณ นครราชสีมา
จากนั้นคณะเดินทางก็มุ่งหน้าต่อไปยังศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา หรือรู้จักกันในชื่อ “ไร่สุวรรณ” เพื่อเข้าเยี่ยมชมพื้นที่การปลูกข้าวโพดและข้าวฟ่าง โดยรถกระบะ ฟอร์ด เรนเจอร์ ซึ่งมีพื้นที่กว่าสองพันไร่ บนพื้นที่ลาดเชิงเขาหินปูน ทำให้สื่อมวลชนได้สัมผัสถึงสมรรถนะอันดีเยี่ยมด้วยระบบช่วงล่างของฟอร์ด เรนเจอร์ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อลดการโคลงตัว มอบการควบคุมและการทรงตัวที่ยอดเยี่ยม พร้อมด้วยเหล็กแชสซีส์แข็งแกร่งพิเศษเสริมระบบกันสะเทือนมอบการควบคุมและความสะดวกสบายเหนือชั้น อีกทั้งยังขับขี่ง่าย ปลอดภัย ด้วยระบบพวงมาลัยผ่อนแรงแบบไฟฟ้า (EPAS) และระบบเบรกป้องกันล้อล็อค (ABS) ก่อนกลับ สื่อมวลชนและเกษตรกรได้มีโอกาสซื้อผลผลิตจากสถาบันวิจัยฯ รวมถึงผลิตภัณฑ์ข้าวโพดแปรรูปต่างๆ เป็นของฝากก่อนจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ

“ฟอร์ด ประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย สมรรถนะการขับขี่ที่พร้อมลุยในพื้นที่สมบุกสมบัน โดยเฉพาะในพื้นที่การเกษตร ฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบสนองต่อความต้องการของพี่น้องเกษตรกร ทั้งการบรรทุก ลากจูง รวมถึงเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยที่ถูกติดตั้งมาเพื่อผู้ขับขี่ ที่สำคัญ ฟอร์ด เรนเจอร์ มีให้เลือกหลากหลายรุ่นตามความต้องการใช้งาน ในราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้อย่างง่ายๆ เราเชื่อมั่นว่า ฟอร์ด เรนเจอร์ พร้อมเป็นพาหนะคู่ใจที่ร่วมฝ่าฟันทุกอุปสรรคร่วมกับเกษตรกรไทยไปด้วยกัน” นางสาวกมลชนก ประเสริฐสม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย และตลาดอาเซียน กล่าว

ระหว่างวันที่ 3 -4 ตุลาคม 2562 ฟอร์ด ประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมสื่อมวลชนเกษตรฯ นำคณะสื่อมวลชนและกลุ่มเกษตรกร ร่วมผจญภัยไปกับกิจกรรม “ฟอร์ด เรนเจอร์ แกร่ง…ทุกงานเกษตร” โดยเดินทางพิสูจน์สมรรถนะรถกระบะ ฟอร์ด เรนเจอร์ บนดินแดนแห่งสวนเกษตร ทั้งในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2 วัน 3 จังหวัด 3 ภาค) คือที่จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และปิดท้ายที่ เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ในโอกาสนี้ “เกษตรก้าวไกล” โดย ลุงพร เกษตรก้าวไกล และ สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย นำโดย นายกถวิล สุวรรณมณี ได้สัมภาษณ์พิเศษ…คุณออม-กมลชนก ประเสริฐสม ผอ.ฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย และตลาดอาเซียน ในระหว่างที่กำลังลุยสวนมะม่วง “บ้านหมากม่วง เขาใหญ่” ซึ่งเป็นสวนที่สามารถต่อยอดสร้างแบรนด์สวนมะม่วงให้เป็นที่รู้จักกับนักท่องเที่ยวได้ในเวลานี้

รู้สึกอย่างไรกับคุณแนน บ้านหมากม่วงเขาใหญ่ ที่สามารถพัฒนาเป็นสวนท่องเที่ยวได้
“รู้สึกชื่นชมว่าคุณแนน (คุณแนน-วราภรณ์ มงคลแพทย์ เจ้าของบ้านหมากม่วง เขาใหญ่) เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีคามสามารถ มีความคิดมีไอเดียมีความตั้งใจในการทำงาน แค่เริ่มต้นได้ 5 ปีที่เรียนจบ (เรียนทางด้านการแปรรูปและอาหารปลอดภัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) จะเห็นว่ามีทั้งสวนมะม่วง มีทั้งร้านค้าน่า ก็ดูเป็นธุรกิจที่ได้รับความสนใจมาก…เป็นการสร้างแบรนด์ สร้างคุณค่าสินค้าเกษตรที่น่าสนใจมากค่ะ”

ฟอร์ด จะมีส่วนส่งเสริมภาคเกษตรไทยอย่างไรบ้าง
“ก็จริงๆ แล้วเราทราบกันดีว่ารถกระบะเป็นยานพาหนะที่ชาวเกษตรกรใช้กันมาก การที่เรามีรถที่แข็งแรง(แกร่ง)ตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายรูปแบบ มีความไว้วางใจได้ว่าจะเป็นเพื่อนคู่ใจในการทำงานของเรา ถือว่าเป็นหลักการสำคัญในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าให้แก่ลูกค้าฟอร์ด ขณะเดียวกันฟอร์ดเองก็ให้ความสำคัญอย่างมากกับการบริการหลังการขายและดูแลลูกลูกค้า มีปัญหาอะไรก็เข้าไปที่ศูนย์ของเราให้ช่างของเราดูแลได้ตลอดค่ะ”

อย่างสโลแกนที่ว่าแกร่งทุกงานเกษตร…ไม่ได้ตั้งขึ้นมาลอยๆ
“คำว่า “แกร่งทุกงานเกษตร” ไม่ได้เป็นสโลแกนที่เราตั้งขึ้นมาลอยๆ เพราะเราจัดกิจกรรมกับสื่อมวลชนเกษตรกับพี่น้องเกษตรกรถึง 4 ปีติดต่อกันแล้ว เราไปเยี่ยมชมสวนเกษตรที่หลากหลาย ทั้งสวนดอกไม้ สวนผลไม้ และคราวนี้เราก็มาสวนผลไม้ มาที่ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ก็จะเห็นว่าฟอร์ดเรนเจอร์พร้อมลุยไปทุกที่ค่ะ”

“เราเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาภาคการเกษตรไทย…จริงๆ ฟอร์ดอาจเป็นหนึ่งในไม่กี่แบรนด์ที่เข้ามาทำกิจกรรมกับสื่อมวลชนเกษตรอย่างต่อเนื่อง ช่วยส่งเสริมเกษตรกรที่มีศักยภาพ และเป็นตัวอย่างที่ดี อย่างเช่นคุณแนนวันนี้ถือว่าเป็นไอดอลจริงๆ ของคนรุ่นใหม่ หรือว่าครอบครัวเกษตรกรที่มีลูกหลานขึ้นมาดูช่วยแลธุรกิจ แต่นี่ไม่ใช่แค่ช่วยดูแลธุรกิจ แต่ยังต่อยอดธุรกิจสร้างแบรนด์ให้ดีขึ้นอีกด้วย อันนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ฟอร์ดอยากจะทำอย่างต่อเนื่องต่อไป”

รายละเอียดเพิ่ม…พร้อมความคิดเห็นของ ลุงพร เกษตรก้าวไกล และ นายกถวิล สุวรรณมณี ชมได้จากคลิปข้างต้นนี้ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จัดประชุมวิชาการ สวก. 2562 เปิดเวทีวิชาการด้านการเกษตรครั้งยิ่งใหญ่ เชิญนักวิจัยและนักวิชาการด้านการเกษตรจากทั่วประเทศ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ พร้อมโชว์งานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเกษตรกว่า 150 โครงการ ที่พร้อมนำไปขับเคลื่อนการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศให้เข้มแข็งและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำการเกษตร

เมื่อวันอังคารที่ 8 ตุลาคม 2562 ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ ชั้น 4 โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน “ประชุมวิชาการ สวก. 2562” ภายใต้แนวคิด “Beyond Disruptive Technology” จุดเปลี่ยนอนาคตไทย ด้วยงานวิจัยเกษตร จัดโดย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนางานวิจัยด้านการเกษตร เพื่อขับเคลื่อนการทำการเกษตรของประเทศสู่การทำการเกษตรที่ใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ภาคการเกษตรของไทย รวมทั้งยังเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรับทราบทิศทางงานวิจัยด้านการเกษตรที่สอดรับต่อการเข้ามามีบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกในการทำการเกษตร รวมทั้งบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยที่จะต้องปรับตัวให้ทันต่อการบริหารงานยุคใหม่ซึ่งมีปัจจัยและความท้าทายต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบันและอนาคต โดยมีนักวิจัย นักวิชาการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมเกษตร รวมกว่า 1,200 คนเข้าร่วมงาน

ในโอกาสนี้ ประธานในพิธี สมัคร BALLSTEP2 ได้มอบแนวทางการนำผลงานวิจัยไปขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมนี้ได้ให้เกียรติมอบรางวัลแก่ ผู้ประกอบการดีเด่น นักเรียนทุนดีเด่น และมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณให้แก่นักวิจัยของ สวก. ภายในงานยังมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ การเสวนาเรื่อง “Disruptive Technology เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกการเกษตร”

กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส เปิดเผยถึง ภาพรวมของตลาด

เครื่องจักรกล การเกษตรของไทยช่วงครึ่งปีแรกว่า มีการเติบโตขึ้น 4-5% โดยมีปัจจัยหลักมาจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชหลักของประเทศ ส่งผลทำให้ความต้องการเครื่องจักรกลการเกษตรเพิ่มขึ้น ซึ่งในส่วนของสยามคูโบต้านั้นก็มียอดขายแทรกเตอร์ที่เพิ่มขึ้นถึง 16% เมื่อเทียบกับปี 2561 นอกจากนี้เรายังได้มีพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรที่หลากหลายมากขึ้น เน้นกระบวนการทำงานและการแก้ปัญหาด้านการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตลอดจนมีขั้นตอนการจัดการฟาร์มที่มีประสิทธิภาพและครบวงจร จึงทำให้ผลการดำเนินงานของเราเติบโตไปตามเป้าที่วางไว้

“สยามคูโบต้าดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายเกษตร 4.0 ของรัฐบาล โดยมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำนวัตกรรมการเกษตรเพื่ออนาคต ด้วยสินค้าและบริการแบบครบวงจร พร้อมทั้งคิดค้นนวัตกรรมการเพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพและความแม่นยำ ตลอดจนพัฒนาในด้านสินค้า อะไหล่ บริการหลังการขาย และเครือข่ายผู้แทนจำหน่าย รวมถึงนำ IoT (Internet of Things) มาใช้ในระบบบริหารจัดการเครื่องจักรเพื่อสอดรับยุคดิจิทัล อาทิ ระบบ Kubota Intelligence Solutions (KIS)

พร้อมทั้งดำเนินโครงการที่เป็นประโยชน์แก่เกษตรกรไทย ได้แก่ โครงการเกษตรปลอดการเผา หรือ ZERO Burn โดยร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เผยแพร่การทำเกษตรปลอดการเผา โดยตั้งเป้าให้พื้นที่ภาคการเกษตรของไทยกว่า 140 ล้านไร่ ปลอดการเผา 100% ภายในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร การลงพื้นที่รณรงค์กลุ่มเกษตรกร และเมื่อไม่นานมานี้ได้มีการจัดงานสัมมนา Agri Forum 2019 เกษตรปลอดการเผา ซึ่งมีเกษตรกรให้ความสนใจเข้าร่วมงานกว่าพันคน

สำหรับความคืบหน้าการก่อตั้งคูโบต้าฟาร์ม เพื่อเป็นฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ของภูมิภาคอาเซียน บนเนื้อที่มากกว่า 220 ไร่ โดยใช้นวัตกรรมเกษตรครบวงจร เพื่อยกระดับให้เป็นเกษตรแม่นยำที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้ผลลัพธ์คุ้มค่าทุกตารางเมตร รวมถึงบริหารจัดการรายได้อย่างยั่งยืน เพื่อนำพาภูมิภาคอาเซียนไปสู่เกษตรยุคใหม่อย่างเต็มภาคภูมิ

คูโบต้าฟาร์มตั้งอยู่ที่ จ.ชลบุรี โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนมีนาคม 2561 ขณะนี้แล้วเสร็จกว่า 40% ใช้งบลงทุนไป 30 ล้านบาท ในการก่อสร้างเฟสแรก ซึ่งได้รับการตอบรับทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมศึกษาดูงานแล้วกว่า 4,000 ราย ทางสยามคูโบต้าคาดว่าจะสามารถเปิดบริการอย่างเต็มรูปแบบได้ในปี 2563 โดยมีแผนพัฒนาเฟส 2 และ 3 ให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2568

นายพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ เปิดเผยว่า ปีนี้สยามคูโบต้าเป็นส่วนหนึ่งในการรวมพลังเชียร์นักกีฬาไทย โดยร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการให้กับทัพช้างศึก ทีมฟุตบอลทีมชาติไทย เปิดตัวสินค้ารุ่นพิเศษภายใต้ชื่อ CHANGSUEK EDITION ประกอบด้วย แทรกเตอร์ รถเกี่ยวนวดข้าว และรถขุดขนาดเล็ก ชูเอกลักษณ์ความแข็งแกร่งในทุกแมตช์ฤดูกาลทำเกษตรของประเทศไทย มาพร้อมดีไซน์โฉบเฉี่ยว ตกแต่งลวดลายภายใต้ธีม “ทีมช้างศึก” พร้อมเพิ่มจุดเด่นด้วยการมอบความสะดวกสบายให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น อาทิ ไฟส่องสว่าง LED บังโคลนล้อหลัง ท่อไอเสียแนวตั้ง มือจับ ที่วางแก้ว เป็นต้น เจาะกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรยุคใหม่ หรือ Smart Farmer

“สยามคูโบต้าตั้งเป้ายอดขายสินค้าพิเศษรุ่น CHANGSUEK EDITION ไว้ที่ 1,000 คัน โดยในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคมนี้ เราได้ร่วมมือกับผู้แทนจำหน่ายทั่วประเทศ จัดกิจกรรมเปิดตัวสินค้า CHANGSUEK EDITION สำหรับลูกค้าที่ซื้อสินค้ารุ่นพิเศษนี้จะได้รับของ Premium Set ได้แก่ เสื้อฟุตบอลช้างศึก กระเป๋าใส่รองเท้า และหมวก
ซึ่งเป็นสินค้า Limited โดยมีกำหนดวางจำหน่ายถึงธันวาคม 2562 เท่านั้น” นายพิษณุ กล่าวในที่สุด

สยามคูโบต้า เปิดตัวเลขยอดขายครึ่งปีแรก 27,000 ล้านบาท มั่นใจสามารถปิดปีได้ตามเป้าที่ 60,000 ล้านบาท เผยกลยุทธ์ นำนวัตกรรมการเกษตรแบบครบวงจรเป็นโซลูชั่นสำคัญในการตอบโจทย์ เกษตรกรในยุคดิจิทัลควบคู่กับการรุกจัดกิจกรรมการตลาดต่อเนื่อง พร้อมเปิดตัวแคมเปญการตลาดล่าสุด “ช้างศึก” (CHANGSUEK EDITION) เอาใจแฟนบอลไทย ตั้งเป้าอีก 5 ปีข้างหน้ายอดขายทะลุ 100,000 ล้านบาท

นายฮิโรโตะ คิมุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ผลประกอบการในครึ่งปีแรกของปี 2562 สยามคูโบต้ามียอดขายอยู่ที่ 27,000 ล้านบาท แบ่งเป็นในประเทศ 17,000 ล้านบาท และต่างประเทศ 10,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 60:40 เติบโตขึ้นประมาณ 9 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 เนื่องจากเกษตรกรมีกำลังซื้อเพิ่ม ราคาพืชหลักอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลทดแทนแรงงานคนในภาคการเกษตร อีกทั้งบริษัทฯ ได้มีการเปิดตัวสินค้าใหม่ในช่วงครึ่งปีแรก ได้แก่ แทรกเตอร์ขนาด 57 แรงม้า รุ่น MU5702 ซึ่งเจาะกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ผสม ติดตั้งระบบคูโบต้า นวัตกรรมอัจฉริยะ KIS (KUBOTA Intelligence Solutions) และเครื่องหยอดข้าว รุ่น DS10 เพื่อส่งเสริมการผลิตข้าวให้มีคุณภาพ ในส่วนของตลาดต่างประเทศ สัดส่วนการส่งออกตลาดหลักยังคงเป็นประเทศกัมพูชา ลาว และเมียนมาร์

ในปี 2562 บริษัทฯตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 60,000 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ประมาณ 12 % ซึ่งคาดว่าในปี 2562 บริษัทฯ จะสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่าเกษตรกรไทยมีรายได้สูงขึ้นจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ด้วยปัจจัยสภาพอากาศ ระบบการจัดการน้ำ นโยบายด้านการเกษตรที่วางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

ตลอดจนนวัตกรรมการเกษตร ขณะที่สถานการณ์ในตลาดต่างประเทศ สยาม
คูโบต้ายังคงเป็นอันดับ 1 ที่ส่งออกเครื่องจักรกลการเกษตร พร้อมตั้งเป้านำกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จในไทยไปปรับใช้ในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะงานขายและบริการ พร้อมชูประเด็นสินค้าครบวงจร และอุปกรณ์ที่เหมาะกับการใช้งานในกลุ่มพืชหลัก ทั้งนี้ สยามคูโบต้าตั้งเป้าหมายอีก 5 ปีข้างหน้า จะเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละประมาณ 10 % โดยในปี 2567 จะมีมูลค่ายอดขายรวมประมาณ 100,000 ล้านบาท และเน้นการทำตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นโดยตั้งเป้าขยายส่วนแบ่งตลาดในประเทศและต่างประเทศอยู่ที่ 50 : 50

“ปัจจุบันรูปแบบการทำเกษตรของญี่ปุ่นมีการปรับเปลี่ยนมาเป็นการรวมกลุ่มทำเกษตรแปลงใหญ่ และใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาช่วย อีกทั้งเกษตรกรมืออาชีพ (Smart Farmer) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น คูโบต้า ญี่ปุ่นจึงคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ ตลอดจนสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ใส่ใจการทำเกษตรมากขึ้น อาทิ ระบบจัดการฟาร์ม (KSAS: Kubota Smart Agri System) เทคโนโลยีไร้คนขับ (Autonomous Agricultural Machinery) โดรนฉีดพ่นเพื่อการเกษตร (Spraying Drone) ซึ่งสยามคูโบต้าจะร่วมพัฒนาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่การเกษตรของประเทศไทย และประเทศในแถบอาเซียนต่อไป” นายคิมุระ กล่าวเพิ่มเติม

นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส เปิดเผยถึง ภาพรวมของตลาดเครื่องจักรกลการเกษตรของไทยช่วงครึ่งปีแรกว่า มีการเติบโตขึ้น 4-5% โดยมีปัจจัยหลักมาจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชหลักของประเทศ ส่งผลทำให้ความต้องการเครื่องจักรกลการเกษตรเพิ่มขึ้น ซึ่งในส่วนของสยามคูโบต้านั้นก็มียอดขายแทรกเตอร์ที่เพิ่มขึ้นถึง 16% เมื่อเทียบกับปี 2561 นอกจากนี้เรายังได้มีพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรที่หลากหลายมากขึ้น เน้นกระบวนการทำงานและการแก้ปัญหาด้านการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตลอดจนมีขั้นตอนการจัดการฟาร์มที่มีประสิทธิภาพและครบวงจร จึงทำให้ผลการดำเนินงานของเราเติบโตไปตามเป้าที่วางไว้

“สยามคูโบต้าดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายเกษตร 4.0 ของรัฐบาล โดยมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำนวัตกรรมการเกษตรเพื่ออนาคต ด้วยสินค้าและบริการแบบครบวงจร พร้อมทั้งคิดค้นนวัตกรรมการเพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพและความแม่นยำ ตลอดจนพัฒนาในด้านสินค้า อะไหล่ บริการหลังการขาย และเครือข่ายผู้แทนจำหน่าย รวมถึงนำ IoT (Internet of Things) มาใช้ในระบบบริหารจัดการเครื่องจักรเพื่อสอดรับยุคดิจิทัล อาทิ ระบบ Kubota Intelligence Solutions (KIS)

พร้อมทั้งดำเนินโครงการที่เป็นประโยชน์แก่เกษตรกรไทย ได้แก่ โครงการเกษตรปลอดการเผา หรือ ZERO Burn โดยร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เผยแพร่การทำเกษตรปลอดการเผา โดยตั้งเป้าให้พื้นที่ภาคการเกษตรของไทยกว่า 140 ล้านไร่ ปลอดการเผา 100% ภายในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร การลงพื้นที่รณรงค์กลุ่มเกษตรกร และเมื่อไม่นานมานี้ได้มีการจัดงานสัมมนา Agri Forum 2019 เกษตรปลอดการเผา ซึ่งมีเกษตรกรให้ความสนใจเข้าร่วมงานกว่าพันคน

สำหรับความคืบหน้าการก่อตั้งคูโบต้าฟาร์ม เพื่อเป็นฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ของภูมิภาคอาเซียน บนเนื้อที่มากกว่า 220 ไร่ โดยใช้นวัตกรรมเกษตรครบวงจร เพื่อยกระดับให้เป็นเกษตรแม่นยำที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้ผลลัพธ์คุ้มค่าทุกตารางเมตร รวมถึงบริหารจัดการรายได้อย่างยั่งยืน เพื่อนำพาภูมิภาคอาเซียนไปสู่เกษตรยุคใหม่อย่างเต็มภาคภูมิ คูโบต้าฟาร์มตั้งอยู่ที่ จ.ชลบุรี โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนมีนาคม 2561 ขณะนี้แล้วเสร็จกว่า 40% ใช้งบลงทุนไป 30 ล้านบาท ในการก่อสร้างเฟสแรก ซึ่งได้รับการตอบรับทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมศึกษาดูงานแล้วกว่า 4,000 ราย ทางสยามคูโบต้าคาดว่าจะสามารถเปิดบริการอย่างเต็มรูปแบบได้ในปี 2563 โดยมีแผนพัฒนาเฟส 2 และ 3 ให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2568

นายพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ เปิดเผยว่า ปีนี้สยามคูโบต้าเป็นส่วนหนึ่งในการรวมพลังเชียร์นักกีฬาไทย โดยร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการให้กับทัพช้างศึก ทีมฟุตบอลทีมชาติไทย เปิดตัวสินค้ารุ่นพิเศษภายใต้ชื่อ CHANGSUEK EDITION ประกอบด้วย แทรกเตอร์ รถเกี่ยวนวดข้าว และรถขุดขนาดเล็ก ชูเอกลักษณ์ความแข็งแกร่งในทุกแมตช์ฤดูกาลทำเกษตรของประเทศไทย มาพร้อมดีไซน์โฉบเฉี่ยว ตกแต่งลวดลายภายใต้ธีม “ทีมช้างศึก” พร้อมเพิ่มจุดเด่นด้วยการมอบความสะดวกสบายให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น อาทิ ไฟส่องสว่าง LED บังโคลนล้อหลัง ท่อไอเสียแนวตั้ง มือจับ ที่วางแก้ว เป็นต้น เจาะกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรยุคใหม่ หรือ Smart Farmer

“สยามคูโบต้าตั้งเป้ายอดขายสินค้าพิเศษรุ่น CHANGSUEK EDITION ไว้ที่ 1,000 คัน โดยในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคมนี้ เราได้ร่วมมือกับผู้แทนจำหน่ายทั่วประเทศ จัดกิจกรรมเปิดตัวสินค้า CHANGSUEK EDITION สำหรับลูกค้าที่ซื้อสินค้ารุ่นพิเศษนี้จะได้รับของ Premium Set ได้แก่ เสื้อฟุตบอลช้างศึก กระเป๋าใส่รองเท้า และหมวก
ซึ่งเป็นสินค้า Limited โดยมีกำหนดวางจำหน่ายถึงธันวาคม 2562 เท่านั้น” นายพิษณุ กล่าวในที่สุด

หากใครที่ติดตาม จะทราบดีว่าเราเคยประกาศขอเป็นหุ้นส่วนกับเกษตรกรทั่วประเทศมาบ้างแล้ว ผ่านทั้งเว็บไซต์เกษตรก้าวไกล และเพจเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน แต่ด้วยข่าวสารที่มากมายในแต่ละวันก็อาจจะถูกกลืน วันนี้จึงขอนำมาบอกกล่าวกันอีกครั้งหนึ่ง…

แนวความคิดดังกล่าวมีที่มาจากการได้เห็นระหว่างออกเดินทางตามโครงการเกษตรคือประเทศไทย “เกษตรกรอยู่ที่ไหนเราอยู่ที่นั่น” เมื่อปี 2561 และต่อมาในปี 2562 เราก็ยังเดินทางตามโครงการนี้ และเพิ่มความเข้มข้นในแนวคิด “เกษตรกรคือยอดมนุษย์” ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่สิ้นสุดโครงการ จากภารกิจนี้เราพบว่าเกษตรกรทุกคนทุกกลุ่มตื่นตัวที่จะนำพากิจการของเขาไปสู่ความสำเร็จ

คือไม่ว่าใครอยู่ที่ไหนก็สามารถสื่อสารถึงกันได้ ใช้ระบบออนไลน์เป็นเครื่องมือ “โลกที่เคยใหญ่ก็เล็กลงทุกวัน” เป็นยุคที่ดิจิทัลมีอำนาจ หรือเป็นยุคแห่งการทำลายล้าง (digital disruption) บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายที่กลับตัวเปลี่ยนแปลงไม่ทัน ถึงคราวต้องปิดกิจการหรือไม่ก็ปรับองค์กรให้เล็กลง จึงเป็นโอกาสอันดีของบริษัทขนาดเล็ก โดยเฉพาะเกษตรกรทุกคนที่จะมีโอกาสเท่าเทียมกันอีกครั้งก็คราวนี้

ในฐานะสื่อมวลชนด้านการเกษตรเรามองว่าความร่วมมือสำคัญที่สุด(ยิ่งใหญ่ที่สุด) ไม่มีสิ่งใดจะยิ่งใหญ่เท่ากับความร่วมมืออีกแล้ว (The greatest cooperation) แต่ความร่วมมือที่พูดถึงนี้ เราเน้นในแง่ของความเป็นตัวเราที่เรามีความถนัด และอยากจะนำความถนัดนี้ไปร่วมมือกับเกษตรกรทุกคนที่มองเห็นว่าสอดคล้องต้องกัน ความร่วมมือที่ว่ามี 2 เรื่องหลัก ดังนี้

เราพร้อมที่จะนำเสนอข่าวสารด้านการพัฒนาอาชีพเกษตร ตรงนี้เป็นภารกิจหลักที่เราได้ดำเนินการอยู่แล้ว แต่ขอเพิ่มเติมว่า(ย้ำว่า)ถ้าพี่น้องเกษตรกรมีข่าวสารอันไหนที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวมขอให้ส่งมายังเราได้
ปัจจุบันการเขียนข่าวหรือการส่งข่าวเป็นเรื่อที่ไม่ยาก และทุกคนสามารถเป็นผู้สื่อข่าวหรือผู้ส่งข่าวได้ เราเคยจัดทำโครงการ “เกษตรกรข่าว” หากว่าจะให้ทางเราแนะนำประการใดก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง

เราพร้อมที่จะร่วมมือจัดกิจกรรมร่วมกัน โดยเราได้จัดตั้ง “เกษตรอคาเดมี-เรียนรู้สิ่งดีดีจากของจริง” และทดลองดำเนินการมาได้ปีเศษแล้ว เราคิดว่าเป็นแนวทางที่จะต้องขยายผลต่อไป
วิธีการตรงนี้ เป็นการร่วมมือกับเกษตรกรที่มีความรู้และประสบการณ์ เปิดอบรมห้องเรียนกลางสวน เช่น เรียนรู้เรื่องการทำทุเรียนนอกฤดูที่สวนผู้ใหญ่ดำรงค์ศักดิ์ สินศักดิ์ แห่งจังหวัดชุมพร การเปิดห้องเรียนกลางบ่อปลา เรื่องการเลี้ยงปลาหมอบ่อผ้าใบที่ฟาร์มโกแอ๊ะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมทั้งการเรียนรู้เรื่องการปลูกไม้ผลในภาชนะ และการขยายพันธุ์ไม้ผล ซึ่งเป็นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ความร่วมมือที่ว่านี้จะขยายผลไปถึงองค์กรหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องอีกด้วย)

ตามข้อ 2 นี้ เราเชื่อว่ายังมีเกษตรกรจำนวนมากทั่วประเทศไทยที่มีองค์ความรู้อยู่กับตัว ซึ่งที่ผ่านมาหลายท่านก็อาจจะเผยแพร่ตามวาระโอกาสอยู่แล้ว แต่การร่วมมือกับเราก็ถือว่าเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ความรู้และประสบการณ์ของท่านจะถูกเผยแพร่ออกไปให้หลากหลาย

จึงขอเชิญชวนพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ใกล้ไกลไม่เป็นอุปสรรค เราพร้อมที่จะร่วมมือกับเกษตรกรทั่วประเทศ เพื่อปฏิบัติภารกิจภายใต้แนวคิด “เกษตรคือประเทศไทย” ขอเชิญติดต่อพูดคุยเพิ่มเติมได้ที่ โทร.ไอดีไลน์ 081300599 (ลุงพร เกษตรก้าวไกล) หรืออีเมล์ lungpornku@gmail.com เราพร้อมที่จะเดินไปด้วยกัน…คิดและทำ เพื่อความสำเร็จร่วมกันนะครับ

ตัวอย่างความร่วมมือ “ห้องเรียนกลางสวน” ที่จะเปิดอีกครั้งเร็วๆ นี้
หลักสูตรที่ 1 : การปลูกไม้ผลในภาชนะ(กระถาง เข่ง) ไม่ง้อที่ดินผืนใหญ่

จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับชนิดของไม้ผลว่าชนิดไหนปลูกได้ ปลูกไม่ได้ ปลูกในเข่งหรือในกระถางดี (หรือภาชนะอื่นใด) ระบบดินปลูก การผสมดินปลูก ระบบปุ๋ย ระบบน้ำ การตัดแต่งกิ่ง การบังคับให้ออกดอก ออกผล การตัดแต่งผล รวมทั้งสาธิตการปลูกในเข่งให้ดูกันสดๆ

วันที่สอน : วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2562 หลักสูตรที่ 2 : การขยายพันธุ์ไม้ผลในรูปแบบต่างๆ (ขยายพันธุ์ไม้ผลเป็นเห็นเงินล้าน)

เรียนวิธีการขยายพันธุ์พืชรูปแบบต่างๆ แต่จะเน้นการขยายพันธุ์ไม้ผลเป็นวิธีที่นิยมใช้จริง และเลือกชนิดพันธุ์ไม้ที่เป็นการค้าจริงๆ จะมีทั้งหมด 5 วิธี คือ การตอนกิ่ง ติดตา ต่อกิ่ง การทาบกิ่ง และการเสริมราก รวม 5 วิธี (3 วิธีแรกทุกคนจะได้ปฏิบัติจริง ส่วน 2 วิธีหลังทางวิทยากรจะสาธิตให้ดู)

วันที่สอน : วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2562

ทั้ง 2 หลักสูตร สอนโดย อาจารย์รัฐพล ฉัตรบรรยงค์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้สถานที่เรียน บริเวณแปลงปลูกภายในเรือนองุ่นปวิณ ปุณศรี (ฝั่งตรงข้ามกับโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) เริ่มเรียนตั้งแต่เวลา 13.00-17.00 น. (ค่าเรียนหลักสูตรละ 500 บาท เดิม 300 บาท แต่เนื่องจากไม่ได้มีงบประมาณสนับสนุนและเป็นการเปิดเรียนวันหยุดจะมีค่าใช้จ่ายเจ้าหน้าที่และรวมค่าวัสดุฝึกต่างๆ)

หลักสูตรที่ 3 : การปลูกทุเรียนนอกถิ่น ปลูกอย่างไรให้รอดและรวย

เรียนรู้วิธีการปลูกทุเรียนที่เหมาะสม เช่น ดินที่เหมาะสม ควรเป็นดินแบบไหน ถ้าไม่เหมาะสมจะแก้ไขอย่างไร ปลูกอย่างไรที่ได้ผลดี หลุมปลูก พันธุ์ปลูก ควรปลูกช่วงไหน ระยะห่างเท่าไร การปลูกไม้กันลม การปลูกไม้ผลผสม ควรปลูกไม้ผลชนิดไหนดี การวางระบบน้ำที่ดี ปริมาณน้ำที่ทุเรียนต้องการในแต่ละช่วง รวมทั้งการจัดการสวนทุเรียนตั้งแต่ปลูกใหม่จนอายุ 12 ปี เช่น การใส่ปุ๋ย การตัดแต่งกิ่ง การจัดการโรคแมลง ฯลฯ (ทุเรียนที่สวนมีตั้งแต่อายุ 1-12 ปี)

วันที่สอน : วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.00-16.30 น. ณ สวนเพชรนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก (ค่าเรียน 1,800 บาท…พิเศษลดเหลือ 1,600 บาท เฉพาะรุ่นเปิดตัว และกรณีมา 2 คนขึ้นไป ลดเพิ่มอีกคนละ 200 บาท คงเหลือคนละ 1,400 บาท)

หลักสูตรนี้ สอนโดย ดร.วีรวุฒิ กตัญญูกุล เจ้าของสวนเพชรนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ประวัติเป็นคนจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของทุเรียน มีประสบการณ์ปลูกทุเรียนแบบสะสมความรู้ โดยเริ่มต้นปลูกจาก 5 ต้น เมื่อ 12 ปีที่แล้ว ปัจจุบันปลูก 1,000 กว่าต้น ปลูกร่วมกับไม้ผลชนิดอื่นๆ

วิธีการสมัครเรียน (ทั้ง 3 หลักสูตร)
ขอให้ผู้สนใจสมัครด้วยการแจ้งชื่อ นามสกุล โทร.ไอดีไลน์ 0897877373 (คุณภัทรานิษฐ์) หลังจากนั้นโอนเงินเป็นค่าใช้จ่ายตามกำหนดราคาของแต่ละหลักสูตรข้างต้น เข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขาปากเกร็ด เลขที่บัญชี 142-2-33729-4 ชื่อบัญชี คุณภัทรานิษฐ์ จีระประเสริฐ หลังการโอนให้โทร.แจ้ง หรือไลน์ยืนยันการโอน…

ขอเรียนย้ำว่าการจัดหลักสูตร เป็นความร่วมมือที่จะจัดกิจกรรมร่วมกัน บางหลักสูตรมีเรียนฟรี บางหลักสูตรมีเก็บค่าใช้จ่าย มากบ้างน้อยบ้าง โดยยึดหลักให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องอยู่ได้และถ่ายทอดความรู้ให้ทุกคนทำได้

กรมส่งเสริมการเกษตร เตรียมจัดงานใหญ่ “เกษตรสร้างชาติ ครั้งที่ 2″ คัดสรรสุดยอดสินค้าเกษตรคุณภาพเกรดพรีเมี่ยม จากเกษตรกรตัวจริงทั่วประเทศ ส่งตรงถึงผู้บริโภคคนเมือง ตระการตากับอุโมงค์กล้วยไม้นานาพันธุ์ พร้อมชมและร่วมลุ้นกับการประกวดแข่งขัน อาทิ สวนผักคนเมือง การจัดช่อบูเก้กล้วยไม้ และยังมีเวิร์คช้อปฝึกอาชีพฟรี 28 หลักสูตร วันเดียวทำได้จริง !! เรียกว่ามางานเดียวได้ครบทั้งสุขภาพ สาระความรู้ ความบันเทิง และช่องทางสร้างรายได้

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวภายหลังการแถลงข่าวจัดงาน “เกษตรสร้างชาติ ครั้งที่ 2” ภายใต้แนวคิด “Smart & Strong Together รวมพลังส่งเสริมเกษตรไทย ก้าวไกลมั่นคง” เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุมกรมส่งเสริมการเกษตร ว่าการจัดงานครั้งนี้ ถือเป็นมหกรรมเกษตรแห่งปี ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรจัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการเกษตร

ในรอบปีที่ผ่านมา ภายใต้นโยบายการทำงานที่ให้ความสำคัญกับการทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยยึดหลักร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมแก้ไขปัญหา และร่วมรับประโยชน์ เพื่อให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพได้อย่าง “มั่นคง” และ “อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน” อันเป็นที่มาของการจัดงานในครั้งนี้ และได้รับเกียรติจาก นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็นประธานพิธีเปิด ซึ่งมีความยิ่งใหญ่ตระการตา ในวันที่ 19 กันยายน 2562

สำหรับการจัดงานในแต่ละวัน จะมีความโดดเด่นในธีมที่ไม่ซ้ำกัน เริ่มจากวันที่ 20 กันยายน มาใน ธีม Food for Health “อาหารสุขภาพ” เต็มอิ่มกับอาหารสุดเฮลท์ตี้ ดีต่อสุขภาพ วันที่ 21 กันยายน Orchid Day อลังการกับอุโมงค์กล้วยไม้นานาพันธุ์ และวันสุดท้าย 22 กันยายน Thai Cloth for All พบกับผ้าไทยร่วมสมัย และแฟชั่นโชว์ผ้าไทยดีไซน์เก๋ จากกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร !!

นอกจากนี้ ยังมีส่วนของการนำสินค้าจากเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย โพดุล มาจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย และมีนิทรรศการโชว์มหัศจรรย์พันธุ์พืชแปลก พืชหายากที่น่าสนใจ ได้แก่ ข้าวโพดแฟนซี กล้วยและสับปะรดสีชนิดต่างๆ มะพร้าวเปลือกหวาน มะพร้าวพวงร้อย มะเขือแฟนซี 1 ต้นมี 7 ชนิด ชาเลือด และพืชอื่นๆ ชมการสาธิตการทำอาหารเพื่อสุขภาพ ร่วมเสวนากับคนรักกล้วยไม้ ใน “คนดังนั่งคุย” การเจรจาธุรกิจ คลินิกเกษตร และอีกหนึ่งไฮไลท์เด็ดในงาน “เกษตรสร้างชาติ ครั้งที่ 2” คือ ถนนสายอาหาร 4 ภาค (Food Street) กว่า 100 ร้านค้า ทั้งเมนูคาว-หวาน

เครื่องดื่มและของทานเล่น ต่างพร้อมใจกันมาฝากฝีไม้ลายมือให้ได้ “แซบ หรอย อร่อย ลำ” กันตลอดงาน อาทิ ถั่วคั่วทราย และหมี่อ่อนสอดไส้ จากภาคอีสาน แกงไตปลา และข้าวยำสมุนไพรลูกเดือย จากภาคใต้ ยำหัวปลี และหมูชะมวง จากภาคกลาง กาแฟสด และไส้อั่วใบชา จากภาคเหนือ นอกจากนี้ ยังมีลูกชิ้นปลา และห่อหมกเห็ด ในโซนอาหารมุสลิมด้วย พร้อมกิจกรรมนาทีทอง ลด แลก แจก แถม การแสดงมินิคอนเสิร์ตและความบันเทิงตลอด 4 วันเต็ม 19 – 22 ก.ย. นี้ ณ ชาเลนเจอร์ 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fanpage “เกษตรสร้างชาติ” #มหกรรมเกษตรแห่งปี #งานดีที่ต้องมา #เกษตรสร้างชาติครั้งที่ 2

กรมส่งเสริมการเกษตร เชิญชวนผู้สนใจสมัครฝึกอบรมอาชีพด้านการเกษตร 4 วัน 28 หลักสูตร ฟรี!!! ในงานเกษตรสร้างชาติ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 19 – 22 กันยายน 2562 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนดจัดงาน “เกษตรสร้างชาติ ครั้งที่ 2” ระหว่างวันที่ 19 – 22 กันยายน 2562 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการเกษตร เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ผลผลิตและสินค้าเกษตรคุณภาพ โดยภายในงานนอกจากจะมีการจัดแสดงนิทรรศการแสดงผลงานส่งเสริมการเกษตร การยกทัพสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรเกรดพรีเมี่ยมมาจำหน่ายในเมืองกรุง การประกวดและแข่งขันชิงเงินรางวัล การจัดแสดงเดินแบบผ้าไทย พร้อมถนนสายอาหารของดี 4 ภาค ตลอดจนการแสดงบนเวทีของศิลปินดาราที่ให้ทั้งสาระความรู้และความบันเทิงแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้สนใจสมัครเข้ารับฝึกอบรมอาชีพ 4 วัน 28 หลักสูตรฟรี!!! ในงานดังกล่าวด้วย

สำหรับกิจกรรมการฝึกอาชีพด้านการเกษตร จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “เพลินทูเก็ตเตอร์ (Plearn Together)” เป็นหลักสูตรที่ทำง่าย เรียนรู้ได้ใน 1 วัน และสามารถทำเป็นอาชีพได้จริง เปิดรับสมัครอบรมฟรีตลอดการจัดงาน “เกษตรสร้างชาติ ครั้งที่ 2” โดยเปิดฝึกอาชีพวันละ 2 ห้อง ห้องละ 4 รอบ หรือ 60 นาทีต่อรอบ เริ่มตั้งแต่เวลา 10.30 – 17.00 น. รับสมัครรอบละ 30 คน รวม 840 ราย ซึ่งแต่ละวันจะมีหลักสูตรที่สอดคล้องกับแนวคิดการจัดงานเกษตรสร้างชาติในแต่ละวัน รวม 28 หลักสูตร ดังนี้

วันที่ 19 กันยายน 2562 มีจำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่ สละน้ำผึ้งชีสพาย การปักกล้วยไม้อย่างง่าย โลฟกล้วยหอมช็อกโกแลต และการร้อยมาลัยกล้วยไม้
วันที่ 20 กันยายน 2562 ภายใต้แนวคิด อาหารเพื่อสุขภาพ มีจำนวน 8 หลักสูตร ได้แก่ น้ำยาเห็ด น้ำหม่อน/โยเกิร์ตน้ำหม่อน ขนมจีบ น้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่ สลัดโรล วุ้นลูกมะพร้าว เค้กกล้วยหอม และบาร์บีคิว

วันที่ 21 กันยายน 2562 ภายใต้แนวคิด การใช้ประโยชน์จากกล้วยไม้ มีจำนวน 8 หลักสูตร ได้แก่ กล้วยไม้แฟนซี การปลูกกล้วยไม้และการเพิ่มมูลค่า การร้อยมาลัยกล้วยไม้จิ๋ว การเพาะต้นอ่อนธัญพืช การทำช่อกล้วยไม้ การจัดสวนเคลื่อนที่ การร้อยมาลัยกล้วยไม้ริบบิ้น และผักลอยฟ้า
วันที่ 22 กันยายน 2562 มีจำนวน 8 หลักสูตร ได้แก่ น้ำผึ้งมะนาวสมุนไพร อาหารว่างจากน้ำผึ้ง การทดสอบน้ำผึ้งอย่างง่าย แปรรูปจิ้งหรีดแบบอินเตอร์ ศิลปะการพับผ้าขนหนู พับกลีบบัว ถั่วงอกอินทรีย์ และพวงมาลัยใบเตย

“เงื่อนไขการรับสมัครฝึกอบรมอาชีพด้านการเกษตร ผู้สมัครสามารถสมัครได้คนละไม่เกิน 4 หลักสูตร (30 คน/หลักสูตร) เปิดรับสมัคร ณ อาคารชาเลนเจอร์ 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี บริเวณหน้าห้องอบรมก่อนถึงเวลาเรียน 30 นาที ผู้ที่สมัครแล้วต้องมาแสดงตัว และลงชื่อเพื่อลงทะเบียนพร้อมรับวัสดุฝึกอบรมหน้างาน ก่อนเข้ารับการฝึกอาชีพไม่น้อยกว่า 10 นาที หากไม่มาแสดงตัวถือว่าสละสิทธิ์ในหลักสูตรนั้น ๆ ซึ่งเราเปิดฟรี!!! ทุกวัน จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมกิจกรรมภายในงานครั้งนี้ได้ครับ” อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวในที่สุด

“ฟรีหมดไม่มีค่าใช้จ่ายสักบาทเดียว ตลอดระยะเวลาการเรียน 2 วัน 1 คืนตามหลักสูตร”

“แบบนี้ก็มีด้วยหรือ” เมื่อผู้ถามถึงค่าใช้จ่าย

ที่อื่นไม่รู้ แต่ที่โรงเรียนเกษตรกรชาวไร่อ้อย สมัคร M8BET แห่งนี้ มี และมีมานานแล้ว ตั้งแต่ ปี 2558 เมื่อ นายสมนึก ประธานทิพย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท นครสวรรค์ สตีล จำกัด ( NKS ) คิดและทำ เพื่อช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกรชาวไร่อ้อย ให้เกิดการยกระดับองค์ความรู้ในด้านต่างๆที่เกี่ยวกับการทำไร่อ้อย ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จ หรือ จะพูดง่ายๆว่า ทำให้เกษตรกรมีความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน กับอาชีพการทำไร่อ้อย

สำหรับการบริหารจัดการผลไม้ของจังหวัดยะลา ซึ่งมีผลผลิต

แบ่งเป็น ทุเรียน 41,507 ตัน มังคุด 4,037 ตัน เงาะ 1,371 ตัน และลองกอง 12,158 ตัน ได้ดำเนินการในทิศทางเดียวกับภาพรวมของการบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ โครงการทุเรียนคุณภาพและการบริหารจัดการทุเรียนคุณภาพของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนจังหวัดยะลาได้รวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่มากที่สุดในประเทศ จำนวน 16 แปลง เกษตรกรสมาชิก 951 ราย พื้นที่รวม 6,495.50 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 900 กก./ไร่ เป็นผลผลิตจากแปลงใหญ่รวม 5,845.95 ตัน สร้างรายได้ 320 ล้านบาทต่อปี

จากการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ทุเรียนที่ผ่านมาส่งผลให้มีผลการดำเนินงาน 5 ด้าน ดังนี้ 1) การลดต้นทุนการผลิต ลดลง 10.1% จาก 8,616 บาท/ไร่ คงเหลือ 7,750 บาท/ไร่ โดยการใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน 2) การเพิ่มผลผลิต เพิ่มขึ้น 8.4% จาก 830 กก./ไร่ เป็น 900 กก./ไร่ โดยการจัดการสวนที่ดีและใช้ปุ๋ยถูกต้อง เหมาะสม

มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการผลิต 3) การพัฒนาคุณภาพ ได้มีการกำหนดมาตรฐานการผลิตและเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบ รับรองสินค้าที่สามารถทำได้ หรือเป็นที่ต้องการของตลาด 4) การบริหารจัดการผ่านกระบวนการกลุ่มที่เข้มแข็ง เช่น กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และง่ายต่อการเข้าถึงการส่งเสริม

สนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งด้านองค์ความรู้ แหล่งทุน ให้เกิดการพัฒนาที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต 5) ด้านการตลาด โดยการเชื่อมโยงการตลาด/การสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเกษตรกรสามารถรวบรวมผลผลิตจากสมาชิกส่งตลาดออนไลน์ Facebook และมีการแปรรูป เช่น ทุเรียนทอด ทุเรียนเชื่อม ทุเรียนกวน เพื่อเพิ่มมูลค่าการตลาด สามารถส่ง จำหน่ายทั่วประเทศโดยทางไปรษณีย์ โดยกลุ่มสามารถกำหนดเป้าหมายและแผนปฏิบัติการ รวมทั้งการจัดทำแผนธุรกิจของกลุ่มที่ชัดเจน

ด้านนายจำนงค์ เพชรอนันต์ เกษตรจังหวัดยะลา กล่าวว่า ทุเรียน นับว่าเป็นราชาแห่งผลไม้ที่มีเสน่ห์ รูปลักษณ์ภายนอกที่โดดเด่น กลิ่นและรสชาติที่เป็นที่ชื่นชอบของใครหลาย ๆ คน สำหรับจุดเด่นของทุเรียนยะลา คือ สภาพภูมิอากาศ และพื้นที่ปลูกที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ลาดเทมีผืนป่า “ฮาลาบาลา” โอบล้อม ทำให้ไม่มีปัญหาน้ำแช่ขัง ทุเรียนจึงมีคุณภาพดี เนื้อแห้ง เนียนนุ่ม รสชาติหอมหวานมัน

จนได้รับฉายาว่า “ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา” ซึ่งถือเป็นทุเรียนที่มีคุณภาพ รสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาดผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ ด้วยพื้นที่ปลูกทุเรียนกว่า 67,000 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยวประมาณ 48,000 ไร่ และมีแนวโน้มการปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้น ให้ผลผลิตรวมกว่า 41,000 ตันต่อปี สร้างรายได้ 1,600 ล้านบาทต่อปี จังหวัดยะลาจึงนับเป็นแหล่งปลูกทุเรียนแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคใต้ตอนล่าง

นอกจากนี้ ยะลายังได้กำหนดให้ทุเรียนเป็น 1 ในวาระของจังหวัด ยะลาเมืองทุเรียน (Yala Durian City) ตั้งเป้าหมายให้จังหวัดยะลาเป็นเมืองทุเรียนแห่งภาคใต้ตอนล่าง เน้นการผลิตทุเรียนคุณภาพ ตามระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่เป็นหลัก ด้วยการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มคุณภาพผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มจากการแปรรูป และที่สำคัญคือให้เป็นศูนย์กลางตลาดค้าส่ง และธุรกิจแปรรูปทุเรียนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่ต้องการยกระดับศักยภาพการแข่งขัน และการหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง ส่งเสริมผู้ประกอบการที่เข้มแข็งและพาณิชย์ดิจิตอล พัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการให้มีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวและดำเนินธุรกิจเพิ่มสัดส่วนความเป็นเจ้าของของคนไทยและสนับสนุนให้มีการขยายตลาดที่มีแบรนด์สินค้าและช่องทางการตลาดที่เป็นของตนเองมากขึ้น ตลอดจนพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรม และมอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา

เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนวาระจังหวัดยะลา ยะลาเมืองทุเรียน (Yala Durian City) มีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกรชาวสวนทุเรียน ผ่านกระบวนการเรียนรู้จากศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ที่มีอยู่ทุกอำเภอ ซึ่งมีฐานการเรียนรู้ตามประเด็นต่าง ๆ เช่น การลดต้นทุนการผลิต การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูทุเรียน การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การจัดการน้ำในสวนทุเรียน การตลาดนำการผลิตและการเพิ่มมูลค่าจากผลผลิตทุเรียน

สำหรับราคาฤดูกาลทุเรียนปีนี้ จังหวัดยะลาได้เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตและส่งออกสู่ท้องตลาดผ่านพ่อค้าคนกลางหรือ ล้ง รับซื้อทุเรียนไปแล้วกว่า 15% ซึ่งราคารับซื้อขณะนี้ ทุเรียนเกรด AB อยู่ที่ราคา 86 บาทต่อกิโลกรัม เกรด C ราคา 67 บาทต่อกิโลกรัม และตกไซต์ประมาณ 40 บาทต่อกิโลกรัม โดยราคาดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ชาวสวนทุเรียนมีความพึงพอใจกับราคาเป็นอย่างมาก มีรายได้เพิ่มขึ้น

อันเนื่องมาจากทุเรียนมีคุณภาพจากการเข้าไปส่งเสริมพัฒนาให้ชาวสวนได้รับใบรับรอง GAP และโดยเฉพาะการคัดเลือกเกษตรกรแปลงใหญ่เข้าร่วมกับโครงการทุเรียนคุณภาพของสถาบันปิดทองหลังพระฯ เพื่อเชื่อมโยงด้านการตลาด ช่องทางการจำหน่าย รวมถึงความร่วมมือต่าง ๆ ซึ่งได้เข้ามาส่งเสริมตั้งแต่เริ่มฤดูการผลิต เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตทุเรียนคุณภาพ รวมทั้งนำเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการไปศึกษาดูงาน และนำกลับมาใช้ปรับปรุงสวนของตนเองต่อไป

ถือเป็นโอกาสดีของผู้ที่คิดจะปลูกทุเรียน “เกษตรอคาเดมี” ในเครือเว็บไซต์เกษตรก้าวไกล ร่วมกับ สวนเพชรนครไทย จ.พิษณุโลก ได้ฤกษ์เปิดห้องเรียนกลางสวน เรื่องการปลูกทุเรียนนอกถิ่น ปลูกอย่างไรให้รอดและรวย โดย ดร.วีรวุฒิ กตัญญูกุล เจ้าของสวน (ประวัติ/ผลงาน ดร.วีรวุฒิ ค้นหาจาก Google หรือ Youtube) จะถ่ายทอดความรู้ทั้งวิชาการและประสบการณ์ ซึ่งได้ลงหลักปักฐานปลูกทุเรียนมา 12 ปีเต็มๆ จากเริ่มต้นเพียง 5 ต้น เป็น 1,000 กว่าต้นในปัจจุบัน

ดร.วีรวุฒิ กล่าวว่าการปลูกทุเรียนนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากที่จะเรียนรู้ โดยตนเองนั้นเป็นคนจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของทุเรียน ต่อมามีการปลูกทุเรียนกันหลายจังหวัด ทั่วประเทศ บางคน บางจังหวัด ปลูกทุเรียนต้นแล้วต้นเล่า ตายแล้วตายอีก เพราะยังขาดความรู้ความเข้าใจ…

ดินที่เหมาะสม ควรเป็นดินแบบไหน ถ้าไม่เหมาะสมจะแก้ไขอย่างไร
ปลูกอย่างไรที่ได้ผลดี หลุมปลูก พันธุ์ปลูก ควรปลูกช่วงไหน ระยะห่างเท่าไร
การปลูกไม้กันลม การปลูกไม้ผลผสม ควรปลูกไม้ผลชนิดไหนดี
การวางระบบน้ำที่ดี ปริมาณน้ำที่ทุเรียนต้องการในแต่ละช่วง
การจัดการสวนทุเรียนตั้งแต่ปลูกใหม่จนอายุ 12 ปี เช่น การใส่ปุ๋ย การตัดแต่งกิ่ง การจัดการโรคแมลง ฯลฯ (ทุเรียนที่สวนมีตั้งแต่อายุ 1-12 ปี)
ฯลฯ

“ผมได้มีโอกาสไปเรียนหนังสือได้รับทุนจากรัฐบาล เมื่อมีความรู้ขนาดนี้ จึงอยากจะถ่ายทอดให้เพื่อนเกษตรกร ซึ่งเขายังลำบากอยู่ ไม่ได้มองเรื่องรายได้หรือกำไรอะไรมาก ก็อยากให้เกษตรกรของเรามีฐานะดีขึ้นเหมือนประเทศอื่นๆเขา ทุกวันนี้เกษตรกรของเราปลูกไม้ล้มลุก ปลูกพืชไร่ ซึ่งต้องปลูกทุกปี แต่ไม้ผลปลูกครั้งเดียวอยู่ได้ 30-40 ปี แต่ต้องมีวิธีบริหารจัดการที่ถูกต้อง โดยเฉพาะทุเรียนที่ปลูกนอกถิ่น หรือทุเรียนถิ่นใหม่” ดร.วีรวุฒิ บอกถึงความมุ่งมั่น และย้ำว่า บั้นปลายชีวิตแล้ว อยากทำคุณประโยชน์ต่อแผ่นดิน

วิธีสมัครเรียน ท่านที่สนใจ จองเรียนได้ที่โทร.ไอดีไลน์ 0897877373 (คุณภัทรานิษฐ์) ค่าเรียน 1,800 บาท (พิเศษลดเหลือ 1,600 บาท เฉพาะรุ่นเปิดตัว วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2562 และกรณีมา 2 คนขึ้นไป ลดเพิ่มอีกคนละ 200 บาท คงเหลือคนละ 1,400 บาท) ใช้เวลาเรียนรู้ 1 วัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. (รวมค่าอาหารกลางวัน อาหารว่าง และเอกสาร) ภาคเช้าจะเรียนทฤษฎี ที่ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน สวนเพชรนครไทย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ซึ่งมีห้องประชุมและมุมกาแฟวิวอ่างเก็บน้ำแก่งไฮ และภาคบ่ายจะเรียนกลางสวน ล้อมวงคุย สาธิตวิธีการ เน้นความรู้จากสวนจริง ดูการปลูกในรูปแบบต่างๆ เช่น ปลูกทุเรียนร่วมสะตอ ไผ่ เงาะ มะม่วง ฯลฯ กรณีที่ผู้เรียนต้องการพักค้างคืนจะมีที่พักในราคามิตรภาพ ซึ่งจะเหมาะเหมาะแก่การมาเป็นครอบครัวหรือหมู่คณะ

เปิดเรียนวันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2562…ขอให้รีบลงทะเบียนเรียนล่วงหน้านะครับ หมายเหตุ : หลังจากสมัครแล้วทำการโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขาปากเกร็ด เลขที่บัญชี 142-2-33729-4 ชื่อบัญชี คุณภัทรานิษฐ์ จีระประเสริฐ โทร.ไอดีไลน์ ยืนยัน 0897877373

เรื่องราวการเปิดสอน “ข้าวมันไก่ฮ่องเต้ น้ำจิ้มสูตรมหัศจรรย์” โดยเจ้าของสูตรผู้เป็นต้นตำรับคือ อาจารย์ป้าสิรินารถ และ อาจารย์ลุงตระการ ทรงสายตระกูล หลายท่านคงได้ฟังและรับรู้กันมาบ้างแล้ว เพราะว่าเป็นสูตรที่ลือลั่นมีผู้สนใจมาเรียนจากทั่วประเทศ เดิมนั้นเปิดสอนเป็นประจำที่ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน แต่ด้วยความอาวุโสของวิทยากร ไม่สามารถที่จะสอนแบบเดิมได้ เพราะว่าลูกหลานต้องการให้พักผ่อนอยู่กับบ้านบ้าง เนื่องจากเปิดขายที่ร้านมา 15 ปี และสอนอีก 15 ปี รวมเป็น 30 ปี

เมื่อเป็นเช่นนี้อาจารย์ทั้งสองท่านจึงงดทำการสอนแบบประจำ ยกเว้นเมื่อต้นปี 2562 มานี้ ได้มาสอนให้เป็นกรณีพิเศษกับ “ลุงพร สอนอาชีพ” เป็นการสอนให้กับกลุ่มผู้เรียนที่อ่านจากหนังสือเคล็ดลับจากครู ภาคพิเศษ 2 “อาหารง่ายเงินดี 1 วันทำได้” ที่ลุงพรได้เป็นผู้รวบรวมสูตรจากวิทยากรต่างๆ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้มีสูตรข้าวมันไก่ฮ่องเต้อยู่ด้วย (ปัจจุบันหนังสือไม่มีขายในร้าน แต่มีอยู่ส่วนหนึ่งที่เก็บไว้ และผู้สนใจติดต่อได้เบอร์โทร.เดียวกับจองเรียนข้าวมันไก่) ซึ่งเดิมนั้นลุงพรได้แนะนำผู้อ่านให้ไปเรียนที่ศูนย์อาชีพฯ มติชนอยู่แล้ว แต่เมื่ออาจารย์ทั้งสองงดสอนประจำ จึงเป็นที่มาของการเปิดสอนเป็นกรณีพิเศษที่หมู่บ้านชัยพฤกษ์ ถนนราชพฤกษ์-ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

การเปิดสอนดำเนินไปได้ประมาณ 10 รุ่น โดยในการสอนประมาณ 5-6 รุ่น จะมีอาจารย์ป้าสิรินารถและอาจารย์ลุงตระการมาเป็นวิทยากรหลัก และทุกครั้งจะมี คุณบุญญา พงศาปาน เป็นผู้ช่วยคนสำคัญ จน 4-5 รุ่นหลังมานี้ทางคุณบุญญา สามารถสอนเดี่ยวได้ ซึ่งทางอาจารย์ป้าและลุงได้ถ่ายทอดวิชาความรู้จนหมดสิ้น โดยเฉพาะในเรื่องสูตรและวิธีการทำที่ทำออกมารสชาติเหมือนกันทุกครั้ง ยกเว้นที่ไม่เหมือนกันคือประสบการณ์ แต่ก็ได้บอกกับผู้เรียนทุกคนว่า หากมีอะไรจะสอบถามเจ้าของต้นตำรับตัวจริงก็ไม่ติดขัด ทางอาจารย์ป้าและลุงพร้อมจะตอบคำถามและแนะนำเพิ่มเติมอย่างเต็มที่…

ข้าวมันไก่ฮ่องเต้ สอนอะไรบ้าง?
วกมาที่เรื่องการสอนข้าวมันไก่ฮ่องเต้ ว่ามีหัวข้อการสอนในเรื่องอะไรบ้าง

เริ่มต้นจาการรู้จักวัตถุดิบที่จะมาทำข้าวมันไก่และน้ำจิ้ม ว่าวัตถุดิบแต่ละตัวหาซื้อที่ไหน ราคาเท่าไร มีหลักในการเลือกซื้ออย่างไร
ขั้นตอนการหุงข้าวมันไก่ ข้าวสารที่ใช้เป็นแบบไหน สูตรที่ว่าหุงข้าวไม่ซาวนี้เป็นอย่างไร ดีกว่าสูตรอื่นตรงไหน
การหุงข้าวหม้อไฟฟ้า มีเทคนิคหรือเคล็ดลับอะไรบ้าง เช่น การใช้ไม้พายคนข้าว ทำไมต้องคนไปทางเดียวกัน
การต้มไก่ การต้มเลือด และเครื่องใน โดยเฉพาะการต้มไก่นั้นทำไมต้องยกขึ้นลงในน้ำร้อนเดือดจัด 15-25 นาที
การทำน้ำซุป มีกรรมวิธีอย่างไร
การทำน้ำจิ้มสูตรมหัศจรรย์ มันมหัศจรรย์ตรงไหน ส่วนผสมมีอะไรบ้าง
การสับไก่ การเสิร์ฟ รวมทั้งการแนะนำเปิดร้าน ต้นทุน กำไรต่างๆ
รุ่นต่อไปกำหนดสอนวันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2562 ตั้งแต่เวลา 09.30-15.30 น. ณ หมู่บ้านชัยพฤกษ์ ถนนราชพฤกษ์ ตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

วิธีสมัครเรียนข้าวมันไก่ฮ่องเต้…
สอบถามรายละเอียดและสมัครเรียนได้ที่ โทร.-ไอดีไลน์ 089 7877373 (คุณภัทรานิษฐ์) หลังจากสมัครแล้วทำการโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขาปากเกร็ด เลขที่บัญชี 142-2-33729-4 ชื่อบัญชี คุณภัทรานิษฐ์ จีระประเสริฐ…ค่าเรียนท่านละ 2,500 บาทเหมือนเดิม และมั่นใจว่าเรียนจบบินได้ทันที (ทำได้ทุกคน)

ออ..เกือบลืมบอกไปว่า ถ้ารุ่นนี้ผ่านไปแล้ว รุ่นต่อไปจะมีเมื่อไรอีก ก็ตอบได้เลยว่าจะเปิดสอนเดือนละประมาณ 1 ครั้ง ยกเว้นมีผู้ต้องการเรียนเร่งด่วนก็อาจจะเปิดรอบเสริม…สรุปว่าอยากรู้ว่ารุ่นต่อไปวันไหนก็ให้ไลน์ถาม หรือโทร.คุย นะครับ.

วันที่ 23 สิงหาคม 2562 ที่บริเวณบึงแท่น หมู่ที่ 7 ตำบลสำพะเนียง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการจัดกิจกรรมโครงการ ปั่น ปล่อย ปลูก เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งจัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานประมงจังหวัดนครราชสีมา และองค์การบริหารส่วนตำบลสำพะเนียง โดยมี ว่าที่ ร.ต.อภินันท์ เผือกผ่อง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิด ท่ามกลางแขกผู้เกียรติจากส่วราชการต่างๆ และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน

นายนรินทร์ สุวรรณบริรักษ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า การปลูกป่าในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการปั่น ปล่อย ปลูก เป็นการดำเนินกิจกรรมตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ระยะที่ 4 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทั้งนี้ สำนักงานธ.ก.ส. จังหวัดนครราขสีมา ได้เริ่มดำเนินโครงการฯ มาตั้งแต่ปี 2554 ในพื้นที่ทั้งหมด 1,200 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่อยู่ในความดูแลของ องค์การส่วนตำบลสำพะเนียง ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก ธ.ก.ส.

“ธ.ก.ส.ได้ดำเนินโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯมาแล้วรวม 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ปี 2554 ดำเนินการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ 184 ไร่ คิดเป็นต้นไม้จำนวน 36,800 ต้น ได้แก่ ไม้แดง ยางนา ประดู่ กระถิน เทพา พยุง มะค่าโมง สัก สะเดา นนทรี และหญ้าแฝก การดำเนินโครงการในระยะที่ 1 มุ่งหวังเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าและเป็นแหล่งอาหาร รวมถึงไม้ใช้สอยให้กับชุมชน สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ระยะที่ 2 ปี 2555 ดำเนินการปลูกต้นไม้ทั้งสิ้น 1,100 ต้น โดยในระยะที่ 2 นี้ เป็นการปลูกซ่อมแซมในพื้นที่เดิมที่ต้นไม้ไม่เติบโต และขยายพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นเป็นเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ และระยะที่ 3 ปี 2556 ได้ดำเนินการ 2 กิจกรรมคือ กิจกรรมที่ 1 การมอบพันธุ์ไม้ที่มีคุณสมบัติทนต่อดินเค็มจำนวน 26,000 ต้น ได้แก่ ขี้เหล็ก แคนา สะเดา และมะพร้าวน้ำหอม เพื่อปลูกในพื้นที่ 130 ไร่ และกิจกรรมที่ 2 การก่อสร้างลานกีฬาเอนกประสงค์ เรือนเพาะชำกล้าไม้ และศาลาอเนกประสงค์ รวมสองกิจกรรมใช้งบประมาณจำนวน 2,810,500 บาท”

“ตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาฯ ได้ก่อประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ชุมชนในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ การสร้างความมั่นคงทางอาหาร ชุมชนสามารถนำผลผลิตจากป่าไปประกอบอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ขี้เหล็ก สะเดา ลูกตาล และไข่มดแดง นอกจากนั้นต้นไม้ที่เติบโตขึ้น ยังสามารถนำมาเป็นไม้ใช้สอยในครัวเรือนได้ด้วย เช่น ต้นไผ่ ต้นตาล ก่อให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ตลอดจนช่วยสร้างจิตสำนึกในการปลูกป่าและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” นายนรินทร์ กล่าว

นายนรินทร์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการปลูกป่าในกิจกรรมโครงการ ปั่น ปล่อย ปลูก ครั้งนี้ เป็นการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องในระยะที่ 4 ซึ่งธ.ก.ส. สาขาโนนแดง และ สำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดนครราชสีมา ได้สำรวจพื้นที่ป่าร่วมกัน พบว่า พื้นที่ป่าส่วนใหญ่เติบโตได้ดี แต่มีพื้นที่บางส่วนที่ต้นไม้หักโค่นเองตามธรรมชาติ และบางส่วนต้นไม้ไม่เติบโตเนื่องจากเกิดความแห้งแล้ง จึงทำให้เกิดพื้นที่ว่างเป็นหย่อม ๆ ในผืนป่า หากได้มีการปลูกป่าเสริมเพิ่มเติมในพื้นที่ว่างดังกล่าว ก็จะช่วยให้ผืนป่าเฉลิมพระเกียรติแห่งนี้ มีต้นไม้เติบโตเต็มโครงการ ตรงตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของโครงการฯอย่างแท้จริง ดังนั้น ธ.ก.ส.สาขาโนนแดง และสำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดนครราชสีมา จึงได้จัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ระยะที่ 4 ขึ้นเพื่อทำการปลูกป่าเสริมในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งซ่อมแซมอาคารอเนกประสงค์ ให้อยู่ในสภาพดีสามารถใช้งานได้ในระยะยาว โดยโครงการการในปีนี้ได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลสำพะเนียง และชุมชนอุดมสุขสาขาโนนแดง

ขณะที่ นายจักรภพ ศรีสุวรนันท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธ.ก.ส. สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับในการดำเนินการตามระยะที่ 4 นั้นจะเน้นกิจกรรมปลูกต้นไม้ซ่อมเสริมพื้นที่ป่าเดิมที่ไม่เจริญเติบโตและปลูกเพิ่มในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อให้เป็นป่าผืนเดียวกัน จำนวน 1,000 ต้น อาทิ ต้นยางนา ขี้เหล็ก สะเดา ไผ่ ฯลฯ พร้อมกันนี้ยังมีการปลูกต้นไม้ใหญ่ความสูงประมาณ 3 เมตร บนถนนที่เข้าสู่โครงการจำนวน 150 ต้น และยังมีกิจกรรมบูรณะอาคารอเนกประสงค์อีกด้วย

“หลังเสร็จสิ้นการดำเนินการในระยะที่ 4 แล้ว ทางธ.ก.ส.จะส่งมอบผืนป่าให้ชุมชนดูแลรักษาต่อไป ดังนั้นจึงขอฝากประชาชนในพื้นที่ได้ช่วยกันดูแลรักษาผืนป่าแห่งนี้ไว้ ให้ก่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการไม่ว่าในด้านการฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรมและเพิ่มพื้นที่ป่าให้แก่ชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการเป็นแหล่งอาหารให้กับชุมชน และการปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นให้มีความรักความหวงแหนต่อทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม” นายจักรภพ กล่าว

ด้าน นายวรากรณ์ พุฒิพงศ์พยอม นายกอบต.สำพะเนียง กล่าวว่า การที่ ธ.ก.ส. เข้ามาจัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาที่บึงแท่นมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงระยะที่ 4 ในวันนี้ ได้สร้างประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก สำหรับการดูแลรักษาป่าแห่งนี้ต่อไปนั้น ทาง อบต.สำพะเนียงจะทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลอย่างเต็มที่ ภายใต้มาตรการที่เป็นข้อตกลงของชุมชน เช่นการปลูกป่าเพิ่มเติมให้มากขึ้นด้วยการใช้นโยบายปลูกป่า 1 ต้น ตกปลาได้ 1 วัน โดยประชาชนที่จะเข้ามาตกปลาในบึงแท่น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานประมงจังหวัดนครราชสีมาในการมอบพันธุ์ปลามาปล่อยเลี้ยง จะต้องนำต้นไม้มาปลูกคนละ 1 ต้น จึงจะสามารถเข้ามาตกปลาเพื่อนำไปทำเป็นอาหาร และมาตรการอื่นๆ เพื่อสร้างประโยชน์และความยั่งยืนจากโครงการที่หน่วยงานต่างๆได้เข้ามาดำเนินการในครั้งนี้

กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดโชว์ระบบการขึ้นทะเบียนข้อมูลเกษตรกร มั่นใจฐานข้อมูลการเกษตร มีระบบรับรองและตรวจสอบได้ นอกจากนี้ปัจจุบันยังสามารถวาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล ได้ประมาณ 100 ล้านไร่

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยถึง การขึ้นทะเบียนเกษตรกรถือเป็นหน้าที่ที่เกษตรกรทุกคนควรถือปฏิบัติ โดยหลังจากการขึ้นทะเบียนเกษตรกร เกษตรกรจะได้รับสมุดทะเบียนเกษตรกร เพื่อเป็นเอกสารใช้แสดงสถานภาพการเป็นเกษตรกร ยืนยันความเป็นเกษตรกร โดยเกษตรกรแจ้งความประสงค์ขอปรับปรุงข้อมูลการทำการเกษตร หรือขึ้นทะเบียนใหม่ ได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่ง ตามที่ตั้งแปลงปลูกพืชของตัวเอง และที่สำคัญเกษตรกรจะต้องปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ตามกรอบระยะเวลาการปลูกพืช โดยปกติปรับปรุงหลังจากการปลูก ไม่น้อยกว่า 15 – 60 วัน ตามแต่ละชนิดพืช และหากเกษตรกรไม่มาปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี (นับถัดจากวันที่ 23 มิ.ย 60 ถึง วันที่ 22 มิถุนายน 2563) ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนถึง 896,871 ครัวเรือน ที่ยังไม่ได้มาปรับปรุงข้อมูลเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร หากครบระยะเวลาดังกล่าวแล้ว เกษตรกรจำนวนนี้จะสิ้นสถานภาพการเป็นเกษตรกรทันที และทำให้ไม่ได้รับสิทธิ์ช่วยเหลือจากโครงการของรัฐบาล

ปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตรมีการตรวจสอบด้วยระบบโปรแกรมทั้งการตรวจสอบข้อมูลบุคคลกับสำนักทะเบียนราษฎร กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้ได้ข้อมูลชื่อ สกุล สมาชิกในครัวเรือนที่เป็นปัจจุบัน รวมทั้งการตรวจสอบเนื้อที่เพาะปลูกของเกษตรกรจากการวาดผังแปลงเพาะปลูก (ผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล) โดยซ้อนกับผังแปลงกับกรมที่ดิน สปก. และภาพถ่ายดาวเทียม โดยมีการวาดผังแปลงแล้ว จำนวน 13,824,739 แปลง คิดเป็นพื้นที่กว่า 100 ล้านไร่ (คิดเป็น 72 % ของพื้นที่การเกษตรประมาณ 139 ล้าน) ซึ่งข้อมูลผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัลที่ได้สามารถนำมาใช้ในการวางแผนภาครัฐทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อให้ตอบสนองกับการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเกษตรกรเป้าหมายมากขึ้น เช่น การตรวจสอบข้อมูลเกษตรกร ที่มีพื้นที่ที่ถูกต้อง สามารถเข้ารับสมัครฝึกอบรม เพื่อรับสิทธิ์ซื้อสารเคมี ตามมาตรการจำกัดการใช้สารเคมีทางการเกษตร 3 ชนิดได้ โดยการตรวจสอบที่เป็นพื้นที่ต้นน้ำ การตรวจสอบแปลงเพาะปลูกเพื่อยืนยัน การเพาะปลูกหลังการเก็บเกี่ยว เป็นต้น

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการตรวจสอบด้วยระบบดิจิทัลแล้ว กรมส่งเสริมการเกษตรยังมีการตรวจสอบทางสังคม โดยให้คนในชุมชนร่วมกันตรวจสอบกันเอง การนำข้อมูลการเพาะปลูกของเกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม ไปปิดประกาศในหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นเวลา 3 วัน เพื่อยืนยันหรือคัดค้านว่ามีการเพาะปลูกจริงในชุมชนนั้นหรือไม่

นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาและนำเครื่องมือ เทคโนโลยี มาปรับปรุงวิธีการรับขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร รวมทั้งการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากเกษตรกรอย่างต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้น เช่น การจัดทำ Application FARMBOOK หรือ สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล เพื่อลดภาระในการเดินทาง ซึ่ง แอพฯ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรสามารถแจ้งปรับปรุงข้อมูลในทะเบียนได้ด้วยตนเอง ผ่าน Smart Phone และสามารถติดตามสิทธิ์โครงการช่วยเหลือจากภาครัฐ และให้เจ้าหน้าที่สามารถวางแผนพัฒนาการผลิตและการตลาดของสินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันสามารถดาวน์โหลด Android และ iOS และเริ่มใช้งานผ่านระบบด้วยการใช้เลขที่ในทะเบียนเกษตรกร หรือหมายเลขโทรศัพท์ ที่ใช้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้ 2 นำเครื่อง GPS มาใช้จับพิกัด วัดขนาดพื้นที่ และวาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล นอกจากนั้นยังมี Application FAARMis สำหรับเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลออกให้บริการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรนอกสถานที่โดยสามารถขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้ทั้งเกษตรกรรายใหม่ และเกษตรกรรายเดิม

สำหรับ ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ประกอบด้วย ข้อมูล 9 ด้าน ได้แก่ 1. ข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน 2. สมาชิกในครัวเรือนและการเป็นสมาชิกองค์กร 3. การถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรทั้งที่เป็นของตนเอง ที่ดินเช่า ประเภทเอกสารสิทธิ์ เลขที่เอกสาร และเนื้อที่ตามเอกสาร 4. การประกอบกิจกรรมการเกษตร (ประเภทกิจกรรมการเกษตร/ วันที่ และเนื้อที่ปลูก /วันที่และเนื้อที่ที่จะเก็บเกี่ยว 5. การเข้าร่วมโครงการภาครัฐ 6. รายได้ 7. หนี้สิน 8. เครื่องจักรกลการเกษตร 9. แหล่งน้ำ นอกจากนี้การขึ้นทะเบียนเกษตรกรและการใช้ประโยชน์จากทะเบียนเกษตรกร ถือเป็นข้อมูลหลักสำหรับการทำงานของกรมฯ ช่วยตอบโจทย์โครงการต่างๆ ได้ ซึ่งปัจจุบันมีการเชื่อมโยงไปสู่ระบบของหน่วยงานอื่น รวมทั้งที่มีหน่วยงานต่างๆ ขอใช้ประโยชน์จากข้อมูลขึ้นทะเบียนเกษตรกร แต่อย่างไรก็ตาม กรมส่งเสริมการเกษตรจะยึดหลักการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 อย่างเคร่งครัดต่อไป.

สยามคูโบต้า เปิดตัวเลขยอดขายครึ่งปีแรก 27,000 ล้านบาท มั่นใจสามารถปิดปีได้ตามเป้าที่ 60,000 ล้านบาท เผยกลยุทธ์ นำนวัตกรรมการเกษตรแบบครบวงจรเป็นโซลูชั่นสำคัญในการตอบโจทย์ เกษตรกรในยุคดิจิทัลควบคู่กับการรุกจัดกิจกรรมการตลาดต่อเนื่อง พร้อมเปิดตัวแคมเปญการตลาดล่าสุด “ช้างศึก” (CHANGSUEK EDITION) เอาใจแฟนบอลไทย ตั้งเป้าอีก 5 ปีข้างหน้ายอดขายทะลุ 100,000 ล้านบาท

นายฮิโรโตะ คิมุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ผลประกอบการในครึ่งปีแรกของปี 2562 สยามคูโบต้ามียอดขายอยู่ที่ 27,000 ล้านบาท แบ่งเป็นในประเทศ 17,000 ล้านบาท และต่างประเทศ 10,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 60:40 เติบโตขึ้นประมาณ 9 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 เนื่องจากเกษตรกรมีกำลังซื้อเพิ่ม

ราคาพืชหลักอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลทดแทนแรงงานคนในภาคการเกษตร อีกทั้งบริษัทฯ ได้มีการเปิดตัวสินค้าใหม่ในช่วงครึ่งปีแรก ได้แก่ แทรกเตอร์ขนาด 57 แรงม้า รุ่น MU5702 ซึ่งเจาะกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ผสม ติดตั้งระบบคูโบต้า นวัตกรรมอัจฉริยะ KIS (KUBOTA Intelligence Solutions) และเครื่องหยอดข้าว รุ่น DS10 เพื่อส่งเสริมการผลิตข้าวให้มีคุณภาพ ในส่วนของตลาดต่างประเทศ สัดส่วนการส่งออกตลาดหลักยังคงเป็นประเทศกัมพูชา ลาว และเมียนมาร์

ในปี 2562 บริษัทฯตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 60,000 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ประมาณ 12 % ซึ่งคาดว่าในปี 2562 บริษัทฯ จะสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่าเกษตรกรไทยมีรายได้สูงขึ้นจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ด้วยปัจจัยสภาพอากาศ ระบบการจัดการน้ำ นโยบายด้านการเกษตรที่วางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

ตลอดจนนวัตกรรมการเกษตร ขณะที่สถานการณ์ในตลาดต่างประเทศ สยาม
คูโบต้ายังคงเป็นอันดับ 1 ที่ส่งออกเครื่องจักรกลการเกษตร พร้อมตั้งเป้านำกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จในไทยไปปรับใช้ในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะงานขายและบริการ พร้อมชูประเด็นสินค้าครบวงจร และอุปกรณ์ที่เหมาะกับการใช้งานในกลุ่มพืชหลัก ทั้งนี้ สยามคูโบต้าตั้งเป้าหมายอีก 5 ปีข้างหน้า จะเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละประมาณ 10 % โดยในปี 2567 จะมีมูลค่ายอดขายรวมประมาณ 100,000 ล้านบาท และเน้นการทำตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นโดยตั้งเป้าขยายส่วนแบ่งตลาดในประเทศและต่างประเทศอยู่ที่ 50 : 50

“ปัจจุบันรูปแบบการทำเกษตรของญี่ปุ่นมีการปรับเปลี่ยนมาเป็นการรวมกลุ่มทำเกษตรแปลงใหญ่ และใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาช่วย อีกทั้งเกษตรกรมืออาชีพ (Smart Farmer) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น คูโบต้า

ญี่ปุ่นจึงคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ สมัคร Genting Club เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ ตลอดจนสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ใส่ใจการทำเกษตรมากขึ้น อาทิ ระบบจัดการฟาร์ม (KSAS: Kubota Smart Agri System) เทคโนโลยีไร้คนขับ (Autonomous Agricultural Machinery) โดรนฉีดพ่นเพื่อการเกษตร (Spraying Drone) ซึ่งสยามคูโบต้าจะร่วมพัฒนาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่การเกษตรของประเทศไทย และประเทศในแถบอาเซียนต่อไป” นายคิมุระ กล่าวเพิ่มเติม

ในตอนท้าย ลุงพร กล่าวว่า การเดินทางจะเริ่มต้นจากภาคอีสาน

ต่อด้วยภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคกลาง “การเดินทางครั้งนี้ทุกท่านสามารถมีส่วนร่วม หรือออกเดินทางไปด้วยกัน เพียงช่วยกันติดแฮชแท็ค #เกษตรกรคือยอดมนุษย์ หรือติดตามผ่านผ่านสื่อออนไลน์ในเครือเกษตรก้าวไกล ก็จะสามารถทราบความเคลื่อนไหวตลอดการเดินทาง” และได้กล่าวขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนสำคัญให้การจัดงานครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

ประธานสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กลุ่มผู้รวบรวมข้าวโพดหวานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสหกรณ์การเกษตร จันทบุรี แนะนโยบายรัฐชุดใหม่ ยึดเกษตรกรเป็นหลัก ลดเอื้อกลุ่มทุน พยุงราคาสินค้าเกษตร ลดต้นทุนการผลิต

นายมนัส พุทธรัตน์ ประธานสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันปาล์ม ปัจจุบัน โรงงานรับซื้อ อยู่ที่กิโลกรัมละ 2.20 บาท แต่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 3.38 บาท เห็นได้ชัดว่า เกษตรกรอยู่ในภาวะขาดทุน ในไทย เกษตรกรไม่สามารถตั้งราคาผลผลิตเองได้ แต่พ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนด อยากให้กระทรวงพาณิชย์ สร้างความเป็นธรรมให้กับสินค้าราคาเกษตร ไม่ใช่เปลี่ยนกลไกตลาดเพื่อกลุ่มทุน รวมทั้ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนในเรื่องการช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต

การหาเทคโนโลยี วิธีการต่างๆ มาช่วยเกษตรกร ตัวอย่างที่ผ่านมาความไม่แน่นอนจากนโยบายการใช้สารเคมีเกษตร เช่น พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส หารลดปริมาณนำเข้าโดยไม่มองความเป็นจริง ทำให้ราคาสารเคมี 3 ตัวแพงขึ้นทันที ทั้งๆ ที่กระทรวงฯ ควรดูแลเกษตรกร ต้องมองเห็นความจำเป็นสำหรับเกษตรกร ไม่เชื่อข้อมูลที่บิดเบือน ทั้งๆ ที่ไม่มีผลต่อสุขภาพในเกษตรกรกลุ่มปาล์ม เพราะใช้มานานกว่า 40 ปี ควรเน้นการให้ความรู้ เพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง เพราะยังไม่มีสารทดแทน รวมทั้ง สารเคมี กลูโฟซิเนต ที่แนะนำให้ใช้แทนนั้น จะแน่ใจได้อย่างไรว่าไม่มีผล

ลกระทบในระยะยา และราคาแพงกว่า 5 เท่า นับเป็นการทำร้ายเกษตรกรและผู้บริโภคยิ่งกว่าเดิม

ด้านสหกรณ์การเกษตรจังหวัดจันทบุรี นายอนุวัฒน์ อิ่มสมบูรณ์ เลขานุการ และเป็นผู้ปลูกทุเรียนส่งออก กล่าวเสริมว่า นโยบายเกษตรของรัฐบาลชุดใหม่ อยากให้เน้นเรื่องมาตรการส่งออก ภาษี และแรงงาน เนื่องจากปัจจุบัน รัฐบาลสามารถดำเนินการเรื่องราคาสินค้าเกษตรในส่วนของผู้ผลิตทุเรียนได้ดีแล้ว แต่ความไม่ชัดเจนเรื่องนโยบายการใช้สารเคมีเกษตรกร กลับส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคการผลิต ที่ขาดแคลนแรงงานอยู่แล้ว เนื่องจากกระแสข่าวการใช้สารเคมีเกษตร ทำให้เกิดการกักตุน ราคาสูงขึ้น สารเคมีผิดกฎหมายถูกนำเข้ามามากขึ้น แนวทางแก้ไขที่เหมาะสม ควรเป็นการให้คำแนะนำเรื่องการใช้ มากกว่าการยกเลิกหรือลดการนำเข้าอย่างถูกกฎหมาย จึงอยากให้รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำความเข้าใจกับกระบวนการผลิตของเกษตรในแต่ละพืชปลูกให้ดี ก่อนออกมาตรการดังเช่นที่ผ่านมา ซึ่งเรียกว่า “เกาไม่ถูกที่คัน”

นายทนงศักดิ์ ไทยจงรักษ์ กลุ่มผู้รวบรวมข้าวโพดหวานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวสรุปว่า สถานการณ์ปัญหาของกลุ่ม คือ การกีดกันทางภาษี และการค้าในกลุ่มประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากปัญหาศัตรูพืชและภัยแล้งธรรมชาติ ดังนั้น การจัดการเรื่องมาตรการส่งออกสินค้าเกษตร ควบคู่ไปกับการวางแผนระบบชลประทานเพื่อภาคการเกษตร จะช่วยเกษตรกรได้มากขึ้น เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถปลูกในพื้นที่ระบบชลประทานเข้าถึงได้ เพราะที่ดินมีราคาสูง

จึงต้องเพาะปลูกในพื้นที่ห่างไกล รวมทั้ง ศัตรูพืชที่มีอยู่ตลอดช่วงการเพาะปลูก ทำให้จำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเกษตรกรข้าวโพดหวานส่วนใหญ่เข้าสู่ระบบมาตรฐานเกษตร GAP แล้ว ผลผลิตจึงอยู่ในมาตรฐานความปลอดภัย ผู้ผลิตและผู้บริโภคไม่ต้องกังวล ดังนั้น นโยบายที่ออกมาจำกัดการใช้สารกำจัดวัชพืช จึงเป็นต้นเหตุและมีปัญหาต่อต้นทุนการผลิต เกษตรกรเห็นด้วยกับภาครัฐที่ส่งเสริมให้ความรู้ด้านการใช้อย่างถูกต้อง แต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกร ต้องให้เวลาจัดการแบบค่อยค่อยไป ทำให้เกษตรกรยอมรับที่จะปรับตัว จะเป็นทางออกที่ยั่งยืนที่สุด

บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด จับมือ 3 องค์กรพันธมิตร ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมการข้าว กระทรวงอุตสาหกรรม โดย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จัดงานสัมมนา Agri Forum 2019 เกษตรปลอดการเผา ภายใต้แนวคิด The World of Unburnt Farm กระตุ้นเกษตรกรไทยทำเกษตรแบบไม่เผา ผ่านเกษตรกรต้นแบบ การปาฐกถาพิเศษ กิจกรรมเสวนา และนิทรรศการเกี่ยวกับการทำเกษตรแบบปลอดการเผา ในวันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2562 ณ ฮอลล์ 5 อิมแพค เมืองทองธานี

นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า สยามคูโบต้าจัดงานสัมมนา Agri Forum ขึ้น ซึ่งเป็นงานสัมมนาครั้งใหญ่ประจำปีที่สยามคูโบต้าได้จัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในด้านต่างๆให้แก่เกษตรกรไทย ได้พัฒนาการทำเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างสูงที่สุด โดยในปีนี้ งานสัมมนา Agri Forum 2019 เกษตรปลอดการเผา ได้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด The World of Unburnt Farm โดยได้จับมือกับ 3 พันธมิตรหน่วยงานภาครัฐในเรื่องข้าว อ้อย และสินเชื่อเพื่อเกษตรกร รวมถึงหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยผลักดันเชิงนโยบายและการจัดกิจกรรมในพื้นที่จริงให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการเกษตรปลอดการเผา Zero Burn ลดปัญหามลพิษที่เกิดจากการเผาในที่โล่งของภาคการเกษตร ซึ่งตั้งเป้าพื้นที่ภาคการเกษตรของไทยกว่า 140 ล้านไร่ ให้ปลอดการเผา 100% ภายในระยะเวลา 3 ปี

ในงานสัมมนา Agri Forum 2019 เกษตรปลอดเผา มีการปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ แนวทางการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งในงานสัมมนาแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 Showcase Best Practice: หัวข้อ ถ้าวันนั้น…ไม่หยุดเผา การสัมภาษณ์เกษตรกรต้นแบบในการปลูกข้าวและอ้อยแบบปลอดการเผา ที่เปลี่ยนจากการทำการเกษตรแบบเดิมมาเป็นแบบรักษ์โลก ช่วงที่ 2 Government Policy: Lecture of Pollution Problem and Policy ปาฐกถาพิเศษจากผู้แทนภาครัฐด้านนโยบายและโครงการสนับสนุนเกษตรปลอดการเผาเพื่อเกษตรกร โดย กรมการข้าว หัวข้อ ข้าวไทย..ไปต่อไม่รอแล้วนะ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย หัวข้อ ชาวไร่อ้อย 4.0 ของ มัน ต้อง เป็น และสยามคูโบต้า หัวข้อ Zero Burn Solution: เทคโนโลยีเกษตรปลอดการเผาเพื่ออนาคต และ ช่วงที่ 3 Panel Discussion: หัวข้อ Agri Circular Economy คิดก่อน…(เผา)…ทิ้ง เสวนาที่ช่วยสร้างความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม (ดิน,อากาศ) และสุขภาพ เพื่อเพิ่มรายได้จากการนำสิ่งเหลือใช้มาสร้างประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยกรมควบคุมมลพิษ กรมพัฒนาที่ดิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสยามคูโบต้า

นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการเกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบปลอดการเผา การสร้างรายได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว เช่น ฟางข้าว ตอซังข้าว ใบอ้อย และใบข้าวโพด โดยแบ่งออกเป็น 2 โซน ได้แก่ โซน Zero Burn Solution ด้วยวิธี KUBOTA (Agri) Solutions พืชข้าวและอ้อย ด้วยการนำเอานวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร Machinery Solutions และองค์ความรู้ด้านการเกษตร Knowledge Solutions มาปรับใช้ และโซน Zero Burn Benefits นิทรรศการให้ความรู้และประโยชน์ของการทำเกษตรแบบปลอดการเผา จากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรณรงค์ให้เกษตรกรทั่วประเทศเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการทำเกษตรที่ไม่เผา ตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่วัสดุเหลือใช้หลังการเก็บเกี่ยว

นายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กรมการข้าวได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับสยามคูโบต้า เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 เพื่อให้ความรู้ ส่งเสริม และทำกิจกรรมร่วมกันในการสนับสนุนชาวนาทำเกษตรแบบปลอดการเผา โดยกรมการข้าวได้วางมาตรการหลักไว้ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ให้ชาวนา 2.การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3.มาตรการทางกฎหมาย โดยในปี 2562 นี้มีเป้าหมายนำร่องใน 6 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท และปทุมธานี ก่อนจะขยายไปทั่วประเทศ ซึ่งในงานสัมมนา Agri Forum 2019 กรมการข้าวได้ร่วมนำเสนอด้านนโยบายและโครงการสนับสนุนเกษตรปลอดการเผาเพื่อเกษตรกร

นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กล่าวว่า ในฐานะหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบาย กำกับ ดูแล ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาลทราย อุตสาหกรรมต่อเนื่องและอุตสาหกรรมชีวภาพ จึงได้นำเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีมติรับทราบและเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 โดยจะดำเนินการใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.มาตรการทางกฎหมาย 2.การสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐ และ 3.มาตรการภาคสมัครใจ นอกจากนี้ยังได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับสยามคูโบต้า องค์กรชาวไร่อ้อย สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เพื่อกำหนดแนวทางจัดการเกษตรแบบปลอดการเผาในอ้อย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมาอีกด้วย สำหรับงานสัมมนา Agri Forum 2019 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นให้เกษตรกรได้เห็นอุปกรณ์ เทคนิคและนวัตกรรมให้นำไปปรับใช้ ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการเงิน ที่จะนำไปสู่การเกษตรแบบปลอดการเผาอย่างยั่งยืน

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 และ 10 กรกฎาคม 2562 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกับสยามคูโบต้า เพื่อกำหนดแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรในการปล่อยสินเชื่อซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร ในโครงการเกษตรปลอดการเผา นอกจากนี้ธนาคารยังมีผลิตภัณฑ์สนับสนุนโครงการดังกล่าวเพิ่มเติม ได้แก่ สินเชื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Green Credit) สินเชื่อเพื่อปรับโครงสร้างการผลิตการเกษตรสู่ความยั่งยืน ซึ่งในงานสัมมนา Agri Forum 2019 ธนาคารพร้อมที่จะสนับสนุนและดูแลเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรปลูกข้าวโพดที่ยังไม่มีเจ้าภาพในขณะนี้ เพราะถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างการรับรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาคการเกษตรที่ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์แนวโน้มการตลาดของสินค้าเกษตรในปัจจุบันที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้นควบคู่ไปกับการช่วยลดปัญหามลพิษ

2 ส.ค.2562–พล.อ.ต.ประสิทธิ์ ยิ้มเจริญ เจ้ากรมสวัสดิการทหารอากาศ กองทัพอากาศ เป็นประธานเปิดงาน “เกษตรปลอดภัย ก้าวไกลกับทัพฟ้า” โดยมีนายมนตรี เอราวรรณ์ นายกสมาคมชาวยโสธร กล่าวรายงาน มีเครือข่ายพี่น้องเกษตรกรเข้าร่วมคับคั่ง ที่สนามธูปะเตมีย์

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน เนื่องด้วยกองทัพอากาศได้มีการส่งเสริมและทำกิจกรรมต่อเนื่อง ทั้งการสนับสนุนปัจจัยการผลิตและทำแปลงทดลองในการแก้ปัญหาภัยแล้งแก่เกษตรกร รวมถึงได้จัดหาช่องทางการจำหน่ายแก่เกษตรกรที่มีความพร้อมทั้งสินค้าทั่วไปและการแปรรูป

ภายในงานมีการออกบูทจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรเครือข่ายกองทัพอากาศและเกษตรกรจากจังหวัดยโสธร รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะนำสินค้ามาจำหน่ายผลผลิตด้านการเกษตรของปราชญ์ชาวบ้าน เกษตรกร และบริษัทห้างร้านต่าง ๆ รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย

ชวนเที่ยวงาน ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม 2562 ณ สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์) รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กิจรัตน์ภรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ท่านอาจารย์พิศ หมอยาดี ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร ท่านนายกสมาคมชาวยโสธร แขกผู้มีเกียรติ และพี่น้องเกษตรกรที่รักทุกท่าน

กองทัพอากาศ โดยท่านพลอากาศเอกชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ได้เล็งเห็นความสำคัญของพี่น้องเกษตรกรทุกท่าน โดยเฉพาะปัจจุบันภาคการเกษตรประสบปัญหาภัยแล้งในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ

กองทัพอากาศมีภารกิจสำคัญในการแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับพี่น้องเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการฝนหลวง ด้วยการจัดทำฝนเทียมเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับพี่น้องเกษตรกรที่ประสบปัญหา โดยเฉพาะปีนี้พบว่าเกิดสภาวะภัยแล้งในหลายพื้นที่ของประเทศ

นอกจากนี้ กองทัพอากาศยังมีโครงการส่งเสริมและสนับสนุนพื้นที่จัดจำหน่ายผลิตผลให้กับพี่น้องเกษตรกร นับตั้งแต่โครงการทัพฟ้าช่วยชาวนา เมื่อครั้งชาวนาประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำเมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งพี่น้องชาวนาสามารถจำหน่ายข้าวโดยตรงได้มากกว่า 140 ตันเลยทีเดียว

ต่อมา กองทัพอากาศยังได้จัดงานใหญ่ภายใต้แนวคิด เกษตรตามรอยพ่อ สานต่อที่พ่อทำ ในงาน “กองทัพอากาศกับศาสตร์พระราชา” เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา โดยการรวบรวมปราชญ์เกษตรมาถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเปิดพื้นที่ให้พี่น้องเกษตรกรได้นำผลผลิตทางการเกษตรมาจำหน่ายในงาน เป็นการแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำให้กับภาคเกษตรได้เป็นอย่างดี

ทั้ง 2 งานที่กองทัพอากาศจัดขึ้น ได้ใช้พื้นที่ของสนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปเตมีย์) แห่งนี้เป็นที่จัดงาน และครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้ง ที่กองทัพอากาศเล็งเห็นปัญหาของเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง จึงได้จัดโครงการ “กองทัพอากาศช่วยเหลือเกษตรกรสู้ภัยแล้ง” และจัดงาน “เกษตรปลอดภัย ก้าวไกลกับทัพฟ้า” ขึ้น เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับพี่น้องเกษตรกรได้นำผลผลิตทางการเกษตรมาจำหน่ายเป็นเวลา 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม

ในนามกรมสวัสดิการทหารอากาศ กองทัพอากาศ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าพี่น้องเกษตรกร องค์กรที่เกี่ยวข้องทุกท่าน จะประสบความสำเร็จในการประกอบการในการมาร่วมงานในครั้งนี้

ขอขอบคุณทุกภาคส่วน เกษตรกรเครือข่ายกองทัพอากาศ ที่ร่วมกันจัดงานครั้งนี้ และขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพการงานที่ท่านได้ดำเนินการอยู่ทุกท่านครับ

ด้วยความขอบคุณ

พลอากาศตรีประสิทธิ์ ยิ้มเจริญ เจ้ากรมสวัสดิการทหารอากาศ “หากชีวิต คิดอยากจะชาร์ตแบต เพื่อเพิ่มพลัง” การท่องเที่ยวไปในโลกกว้าง นับเป็นคำตอบที่ดีมากสุดๆ ดังเป็นที่รู้แก่ใจของทุกคน ท่ามกลางความหลากหลายด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยนั้น “การท่องเที่ยวเชิงเกษตร” นับเป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจยิ่ง การได้ไปสัมผัสบรรยายกาศของเรือกสวนไร่นา การได้สัมผัสเรียนรู้วิถีเกษตรของผู้คนในสาขาอาชีพต่างๆของภาคการเกษตร รวมถึงวัฒนธรรม ประเพณีต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างเพียบพร้อมในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ คืออีกหนึ่งความสุขที่จะหาได้อย่างง่ายๆ

เที่ยวได้ง่ายๆ ด้วยแอฟ..เกษตรเช็คอิน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรในวันนี้ สามารถไปง่ายเที่ยวง่าย ชิม ช๊อป แชะได้อย่างสุดหรรษา เพราะกรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาจนทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเกิดขึ้นในทุกจังหวัด โดยเพียงแค่ดาวโหลด “Application เกษตรเช็คอิน” ซึ่งเป็น Application ที่กรมส่งเสริมการเกษตร จัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้สนใจใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร แบบหลากกิจกรรม หลายบรรยากาศ และมากมายสถานที่

ด้วยในวันนี้ นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยเฉพาะในวิสาหกิจชุมชนต่างๆ นับเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของกรมส่งเสริมการเกษตรที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้มีการคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรต้องชมในทั่วประเทศถึง 55 แห่ง ซึ่งล้วนแต่มีความงดงามน่าสัมผัส น่าตื่นตาตื่นใจทั้งสิ้น

แล้วจะรู้อย่างไรว่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแต่ละแห่งนั้น มีมาตรฐานพร้อมสำหรับรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวได้ จุดนี้ขอเพียงให้สังเกตหรือสอบถาม โดยตรงว่า วิสาหกิจชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรนั้นได้รับ ตราสัญลักษณ์ A (Agrotourism) หรือไม่

เพราะตราสัญลักษณ์ A (Agrotourism) คือเครื่องหมายมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงการเกษตรที่ได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์ที่กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนด โดยวิสาหกิจชุมชนที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ตามมาตรฐานนั้น ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 8 ข้อ คือ หนี่ง เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มีการดำเนินการในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน สอง มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว สาม มีกิจกรรมการเกษตรหรือมีนวัตกรรมด้านการเกษตรที่โดดเด่น ห้า มีความปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยว หก การคมนาคมสะดวก เจ็ด ใกล้แหล่งท่องเที่ยวหลักหรือท่องเที่ยวธรรมชาติ และแปด ชุมชนหรือนักท่องเที่ยวร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

มหัศจรรย์สันเขาผลไม้ที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสันเขา
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผสมผสานบัวสวรรค์ (กลุ่มสันเขา) ตั้งอยู่ที่ 3/1 หมู่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก โทรศัพท์ 08-9642-1461 เป็นหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ต้องชมของกรมส่งเสริมการเกษตร และได้รับตราสัญลักษณ์ A (Agrotourism) ซึ่งพร้อมให้ทุกคนได้มาสัมผัสกับบรรยายกาศภายใต้สีสันความมหัศจรรย์แห่งสันเขาผลไม้หลากหลายชนิด เรียกว่า เที่ยวอิ่มหลับสบายกันเลยทีเดียว

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผสมผสานบัวสวรรค์ (กลุ่มสันเขา) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553 ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการผลิตพืชหลักของสมาชิก โดยเน้น การลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพปลอดภัยได้มาตรฐาน, ส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปผลิลการเกษตรที่มีมากตามฤดูกาล, ส่งเสริมการออมของสมาชิก, จัดหาแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนปัจจัยการผลิต ตามแผนการผลิตของสมาชิก และประสานงานเรื่องการตลาด ในการจัดจาหน่ายสินค้า ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 164 คน

นายไพบูลย์ ชูเอียด ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผสมผสานบัวสวรรค์ (กลุ่มสันเขา) และเกษตรกรเจ้าของสวนเกษตรไพบูลย์ ผู้นำการจุดประกายทั้งด้านแนวทางการประกอบอาชีพของผู้คนในพื้นที่จากการการทำปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาสู่การทำสวนเกษตรแบบผสมผสาน รวมถึงการพัฒนาต่อยอดสร้างคุณค่าใหม่ในอนาคตด้วยการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้ย้อนอดีตให้ฟังระหว่างการเยี่ยมชมกิจกรรมการปลูกไม้ผลในพื้นที่สวนไพบูลย์ ว่า

“ด้วยพื้นที่ใน 2 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก ที่ประกอบด้วย ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง และ ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง เป็นพื้นที่ติดต่อกันโดยตั้งอยู่บนสันเขา สภาพพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 400-600 เมตร จึงทำให้มีความเหมาะสมในการปลูกผลไม้ได้หลากหลายชนิด เช่น อินทผาลัม มะยงชิด ทุเรียน เงาะ ลองกอง มังคุด มะม่วง ลำไย มะขามป้อมยักษ์ มะขามเปรี้ยวฝักใหญ่ เป็นต้น

“ที่สำคัญ ผลไม้ที่ปลูกในพื้นที่ จะมีผลผลิตอกต่อเนื่องหมุนเวียนเกือบตลอดทั้งปี ที่นี่นอกจากผลไม้จะมีความอร่อยสุดยอดแล้ว สมาชิกในกลุ่มทุกคนยังเน้นการปลูกผลไม้แบบปลอดภัยจากสารเคมี วันนี้ทุกสวนต่างได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้วทั้งสิ้น เพราะเป็นนโยบายสำคัญของกลุ่มฯ เลยว่า พวกเราต้องเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย (Food Safety) เพื่อผู้บริโภค”

ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผสมผสานบัวสวรรค์ (กลุ่มสันเขา) บอกต่อไปว่า ด้วยความพร้อมในทุกด้าน ไม่ว่า ความสวยงามของพื้นที่ที่มีการทำสวนเกษตรลดหลั่งกันไปตามแนวสันเขา สภาพอากาศดีสะอาด หายใจได้เต็มปอด เป็นแหล่งโอโซนชั้นเยี่ยมที่ไม่แพ้ที่ใด สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้คนที่มาเยือน จึงทำให้เกิดแนวคิดที่เห็นชอบร่วมกันในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯแห่งนี้ในการต่อยอดในอาชีพ สร้างสวนผลไม้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของทุกคนที่ต้องการมาสัมผัสบรรยากาศความงดงามของจังหวัดพิษณุโลก

ที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผสมผสานบัวสวรรค์ (กลุ่มสันเขา) แห่งนี้มีความพร้อมทุกด้าน ไม่ว่าการมาเที่ยวเยี่ยมชม มาเลือกซื้อผลไม้ปลอดภัยที่หลากหลาย มาถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก จะมาวันเดี่ยวกลับหรือมาพักผ่อนหลายๆ เรามีทุกอย่างพร้อมรองรับ โดยเฉพาะการพักผ่อนสัมผัสความงดงามยามค่ำคืนด้วยบรรยากาศของที่พักแบบโฮมสเตย์

“ที่สำคัญยังมีกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการทำสวนผลไม้ให้ประสบความสำเร็จ หากคิดจะปลูกแล้ว ต้องดูแลอย่างไร ต้องป้องกันกำจัดโรคแมลงแบบปลอดภัยอย่างไร ทุกอย่างเรามีองค์ความรู้ต่างๆให้ทุกคนสามารถมาเรียนรู้ได้ทุกเรื่องทุกความต้องการเลยทีเดียว” ประธานไพบูลย์ กล่าว

เลาะสันเขา..ชมบรรรยากาศ ชิมผลไม้อร่อยกลางสวน
แล้วผลไม้อะไรเด่นและดัง ประธานไพบูลย์ขอยกตัวอย่างแบบไม่พูดมากเจ็บคอ แต่อยากให้มาสัมผัสด้วยตนเอง อาทิ มะยงชิด สภาพอากาศ ดินที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ผลผลิตมะยงชิดออกก่อนพื้นที่อื่นๆประมาณ 1 เดือน อีกทั้งยังมีผิวสวย รสชาติดี ทุเรียนหลงรักไทยเป็นอีกชนิดที่ห้ามพลาด ด้วยเป็นทุเรียนที่โดดเด่น โดยได้มีการนำพันธุ์หลงลับแลมาปลูกเป็นเวลากว่า 20 ปี เมื่อมีผลผลิตออกมาปรากฏว่า เนื้อละเอียดแน่น ไม่เละ สีเหลืองทอง รสชาติหอมหวาน รสชาติไม่แพ้ต้นฉบับ อันเป็นผลมาจากที่ในพื้นที่แห่งนี้มีสภาพอากาศดี เย็น และดินมีความอุสมบูรณ์มีแร่ธาตุอาหารเพียบพร้อบ จึงทำให้ทุเรียนหลงรักไทยอร่อยมาก ส่วนผลไม้อื่นๆ ต้องมาชิมแล้วจะรู้ว่า ดีอย่างไร..งานนี้ต้องบอกว่าอย่าพลาดที่จะมา

ความโดดเด่นอีกประการของการเดินทางมาท่องเที่ยวยังวิสาหกิจชุมชนฯแห่งนี้คือ การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในสวนเกษตรของสมาชิกวิสาหกิจชุมทชนแห่งนี้ฯ ด้วยการเดินทางบนถนนสายหลักที่ลัดเลาะผ่านสันเขา สองข้างทางจะเป็นที่ตั้งของสวนสมาชิก และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งประธานไพบูลย์ได้ไล่เรียงแนะนำดังนี้

เริ่มต้นจาก สวนมณีทิพ สวนผลไม้ผสมผสาน เช่น ขนุน ส้มโอ ทุรียน ฯลฯ ที่อยู่ 784/3 หมู่ที่ 7 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-2803176, สวนศรปัก ดอกหน้าวัว ไม้ดอก ไม้ประดับ ที่อยู่ 255 หมู่ที่ 10 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-9727449, ฟาร์มกวางแดง RED DEER FARM เลี้ยงกวางดาว กวางรูซ่า และกวางแดง พร้อมจำหน่ายเนื้อกวาง และผลิตภัณฑ์จากกวาง ที่อยู่ 568/3 หมู่ที่ 10 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 095-5322207, ภักดีฟาร์ม เลี้ยงกวาง พร้อมจำหน่ายเนื้อ และผลิตภัณฑ์จากกวาง ที่อยู่หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-8452993

จากนั้นเดินทางไปยังสวนเกษตรไพบูลย์ ศูนย์เรียนรู้การเกษตร ไม้ผลผสมผสาน เช่น มะขามเปรี้ยวยักษ์ มะม่วง มะยงชิด อินทผลัม ฯลฯ ที่อยู่ 3/1 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 089-6421461, 087-3109216, สวนโพธิ์ทอง สวนผลไม้ผสมผสาน เช่น ลำไย ขนุน มะม่วง มะนาว ฯลฯ และจำหน่ายพันธุ์ไม้ผล ที่อยู่ 284 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 089-0112741, กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรซำตะเคียน ผลิตภัณฑ์แปรรูปผลผลิตการเกษตร ไม้ผล พืชผัก ที่พัก และอาหาร ที่อยู่ 285/1 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-4744310

ยังไม่สิ้นสุด เพราะยังมี สวนสมพลการ์เดนท์ สวนผลไม้ผสมผสาน เช่น มังคุด เงาะ ลำไย มะไฟ ฯลฯ ที่อยู่ 304 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-1359777, บ่อคาการ์เดนท์ ผักปลอดภัยจากสารพิษ ที่อยู่ 148 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 094-6265551, บ้านและสวนพูพูน สวนมะยงชิด ที่พักและอาหาร ที่อยู่ 43/2 หมู่ที่ 9 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง โทร. 081-9737839, สวนหลงรักไทย สวนทุเรียนหลงรักไทย จำหน่ายผลผลิตและกิ่งพันธุ์ ที่อยู่ 10/2 หมู่ที่ 9 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง โทร. 083-3333316, สวนพงษ์แตง สวนลำไย ที่พักและอาหาร ที่อยู่ 437 หมู่ที่ 7 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง โทร. 081-9917073

พร้อมกันนี้ยังสามารถไปสัมผัสความงดงามของน้ำตกไผ่สีทอง หมู่ที่ 13 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง และเสริมศิริมงคลให้ชีวิตด้วยการกราบสัการะต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดไผ่ใหญ่ไพรญาราม หมู่ที่ 10 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง ได้อีกด้วย

ทั้งหมดนี้คือ อีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวเกษตรที่ต้องชม ณ ที่แห่งนี้ จังหวัดพิษณุโลก… กรมส่งเสริมการเกษตร หนุนเกษตรกรจังหวัดยะลาพัฒนาทุเรียนคุณภาพตามมาตรฐาน GAP เน้นรวมกลุ่มแปลงใหญ่สร้างเครือข่ายเข้มแข็ง พร้อมกำหนดแนวทางพัฒนาและบริหารจัดการทุเรียนทั้งระบบสร้างเสถียรภาพด้านราคาในภาคใต้ตอนล่าง

ว่าที่ร้อยตรี สมสวย ปัญญาสิทธิ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยในโอกาสเดินทางไปร่วมให้ข้อมูลและติดตาม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตรวจราชการโครงการทุเรียนคุณภาพและการบริหารจัดการทุเรียนคุณภาพของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร ณ บริเวณตลาดกลางยางพารา ต.สะเตง อ.เมืองยะลา จ.ยะลา เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562 ว่า

กรมส่งเสริมการเกษตรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ผล โดยส่งเสริมให้เกษตรกรดำเนินการผลิตตามมาตรฐานและยกระดับสู่การรับรอง (GAP) การพัฒนาคุณภาพผลผลิตสู่การส่งออก การรวมกลุ่มทำตลาดล่วงหน้า การยกระดับสินค้าเกษตรที่เป็นอัตลักษณ์และเหมาะสมกับพื้นที่เพื่อเพิ่มมูลค่า นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดในการจัดตั้งสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ วางแผนพัฒนาการผลิตและการตลาดร่วมกัน สร้างความเข้มแข็งองค์กรเกษตรกรเพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการทุเรียนระดับประเทศ

โดยเชื่อมโยงกลุ่มชาวสวนทุเรียนทั้ง 6 ภูมิภาค www.kodiakcamera.com มาร่วมกันวางแผนกำหนดแนวทางพัฒนาและบริหารจัดการทุเรียนทั้งระบบ ซึ่งในเบื้องต้นได้คัดเลือกจากเกษตรกรแปลงใหญ่ระดับอำเภอใน 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด นนทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครนายก ชลบุรี ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ นครศรีธรรมราช ชุมพร สุราษฎร์ธานี ยะลา ปัตตานี ระนอง กระบี่ สงขลา นราธิวาส สตูล และตาก

เจ้าของแปลงปลูกไม้มีค่ากล่าวว่า เดิมพื้นที่ดินตรงนี้ทำนามาก่อน

แต่มีปัญหาน้ำท่วมไม่ถึง จึงเปลี่ยนมาปลูกกล้วยเมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จนัก เนื่องจากระบบชลประทานเข้าไม่ถึง ทำให้น้ำไม่พอเพียง จึงหันมาปลูกไม้มีค่าในวันนี้ เพราะจากข้อมูลที่ศึกษาพบว่าไม่ต้องใช้น้ำมาก ยกเว้นในช่วงปีแรกตนเองจะนำถังน้ำและสายยางมาวางไว้ตามจุดต่างๆ จะต้องรดน้ำทุกวัน และการปลูกจะสลับระหว่างต้นไม้ใบใหญ่กับต้นไม้ใบเล็ก เพื่อให้แสงแดดส่องถึงโคนต้นทุกต้น โดยปลูกห่างต่อต้น 3×3 เมตร รวมต้นไม้ที่ปลูก 750 ต้น และระหว่างที่ต้นไม้ยังไม่โตจะปลูกพืชผักอื่นๆ เพื่อเป็นรายได้เสริมอีกด้วย

ส่วน นายกรสมรรถ เลาพิการนนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ธ.ก.ส.จังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนปลูกไม้มีค่าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้แก่ได้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 เกี่ยวกับไม้หวงห้าม และกระทรวงพาณิชย์ ได้ออกกฎกระทรวงให้ไม้ยืนต้นเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันได้

“กิจกรรมครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในตำบลจำปาหล่อ ร่วมกันปลูกต้นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ยางนา พยุง ตะเคียนทอง ต้นแดง ประดู่ป่า พะยอม ฯลฯ ซึ่งจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นกับชุมชน ทั้งยังสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย พลังงาน เพิ่มพื้นที่ป่ารักษาระบบนิเวศ สร้างสิ่งแวดล้อมให้สมดุล ลดภาวะโลกร้อน เป็นทรัพย์สินเป็นเงินออม เป็นมรดกให้ลูกหลาน รวมทั้งสามารถนำมาเป็นหลักประกันทรัพย์ สิน สำหรับกู้เงินกับสถาบันการเงิน ลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบได้”

นอกจากนี้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ธกส.จังหวัดอ่างทอง1 ยังกล่าวอีกว่า ธ.ก.ส. จะให้การส่งเสริมปลูกไม้มีค่าตั้งแต่การอบรมปลูกไม้มีค่า รวมทั้งการให้ความรู้เรื่องการเพาะขยายพันธุ์ไม้มีค่า ทั้งนี้เพื่อสร้างให้เกิดอาชีพใหม่ๆ และยังรวมไปถึงการนำไม้มีค่าไปแปรรูปเพิ่มมูลค่า ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นนโยบายของ ธ.ก.ส. ที่มุ่งหวังให้เกษตรกรและชุมชนมีความมั่งคงในอาชีพต่อไป

27 มิถุนายน 2562 – “มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด กรมส่งเสริมการเกษตรและดีแทค” ขอชวนเกษตรกรสมัครเข้าประกวดโครงการเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2562 ภายใต้แนวคิด “เกษตรวิถีอินทรีย์แบบครบวงจร” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 500,000 บาท

นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด กล่าวว่า โครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี พ.ศ.2562 ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 11 เพื่อเฟ้นหา สนับสนุนและยกย่องเกษตรกรที่มีศักยภาพในการเป็นต้นแบบสำหรับเกษตรกรยุคใหม่

สำหรับปีนี้ โครงการประกวดมุ่งเน้นสรรหาเกษตรกรต้นแบบ ภายใต้แนวคิด “เกษตรวิถีอินทรีย์แบบครบวงจร” เนื่องจากความต้องการอาหารปลอดภัยของตลาดโลก โดยผลผลิตของเกษตรอินทรีย์ในเอเชียและออสเตรเลียมีมูลค่าสูงถึง 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ขณะเดียวกัน รัฐบาลเองก็เห็นความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ ด้วยการผลักดันสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยสู่ตลาดโลก และมีการกำหนดยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ปี 2560 – 2564 โดยมีแผนจะเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ จากเดิม 3 แสนกว่าไร่ ให้เป็น 6 แสนไร่ภายในปี 2564

ทั้งนี้ การเกษตรวิถีอินทรีย์ (Organic agriculture) จะต้องประกอบด้วยหลักการสำคัญ 4 ข้อ ได้แก่ สุขภาพ, นิเวศวิทยา, ความเป็นธรรม, และการดูแลเอาใจใส่ (health, ecology, fairness and care) นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงการทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-friendly) โดยมี 4 ส่วนสำคัญคือ 1. กระบวนการผลิต (Production) 2. การขนส่ง (Logistics) 3. คำนึงถึงผู้บริโภค (Human Center) และ 4. การจัดการหรือกำจัด (Disposal)

สำหรับ คุณสมบัติผู้เข้าประกวด จะต้องไม่เคยเป็นเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด มีอายุระหว่าง 17-50 ปี เป็นผู้ผลิตสินค้าที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น IFOAM เกษตรอินทรีย์ Earth Safe (อินทรีย์วิถีไทย) PGS (Participatory Guarantee Systems) Organic Thailand มผช. มกท. เป็นต้น หรือมาตรฐานอื่นๆ รวมถึงเกษตรกรที่อยู่ในระยะปรับเปลี่ยนก้าวสู่การเป็นเกษตรอินทรีย์ ทั้งยังมีการประยุกต์ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อลดต้นทุน สร้างรายได้ เพิ่มผลผลิต และสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางด้านการเกษตร พร้อมทั้งมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด และมุ่งพัฒนาการเกษตรวิถีอินทรีย์อย่างยั่งยืน

ผู้ผ่านการคัดเลือก จำนวน 10 ท่าน จะได้รับเงินสนับสนุนพร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ รวมมูลค่ากว่า 500,000 บาท สำหรับ วิธีสมัคร สามารถสมัครเข้าร่วมประกวดได้ 3 ช่องทาง คือ 1.สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน 2.สำนักงานเกษตรจังหวัดทั่วประเทศ และ 3.ส่งใบสมัครและเอกสารมาได้ที่มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิดโดยตรง เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 ก.ค. 2562

เมล็ดพันธฺุ์ตราศรแดงและซันสวีท สองผู้นำการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร ร่วมลงนาม MOU นำนวัตกรรมระดับสากลของรถเกี่ยวข้าวโพดสู่เกษตรกรไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บเกี่ยว และร่วมผนึกกำลังในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวและพืชผักอื่นๆ โดยเฉพาะการเพิ่มช่องทางตลาดใหม่ๆ ด้วยการแปรรูปข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์สวีทไวโอเล็ทพร้อมรับประทานสู่ร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศ

29 มิถุนายน 2562 : นายวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักคุณภาพอันดับ 1 ในไทย ภายใต้แบรนด์ตราศรแดง และ ดร. องอาจ กิตติคุณชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) นำนวัตกรรมระดับสากลของรถเกี่ยวข้าวโพดสู่เกษตรกรไทย และและร่วมผนึกกำลังในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวและพืชผักอื่นๆ สำหรับตลาดแปรรูปพร้อมรับประทานเข้าสู่ตลาดสะดวกซื้อเป็นรายแรกของไทย โดยมี นายอิสระ วงศ์อินทร์ ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด และ นางอัมพันธ์ สุริยัง ผู้จัดการฝ่ายผลิต บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) เป็นสักขีพยาน ณ ศูนย์การเรียนรู้ KC FARM อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่

นายวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด กล่าวว่า “อีสท์ เวสท์ ซีด เรามีวิสัยทัศน์ที่จะยกระดับชีวิตของเกษตรกไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน เข้าใจความต้องการของเกษตรกรว่าต้องการอะไร เราพยายามที่จะหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพ และนำเสนอเทคโนโลยีเหล่านั้นสู่เกษตรกรไทย โดยเทคโนโลยีเหล่านั้น อาจจะเป็นเรื่องประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งนั่นก็นำไปสู่คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนนั่นเอง

โดยในวันนี้ทางอีสท์ เวสท์ ซีด และ ซันสวีท ร่วมลงนาม MOU กัน โดยการเซ็นต์ MOU ในครั้งนี้มี 2 โครงการสำคัญๆ นั่นก็คือ

โครงการที่ 1 โครงการร่วมมือกันในการนำนวัตกรรมของรถเกี่ยวข้าวโพดระดับสากลสู่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดของไทย ซึ่งเราศึกษาแล้วพบว่ารถเกี่ยวข้าวโพดนี้มีประโยชน์ต่อเกษตรกรในแง่ของการประหยัดต้นทุนในการเก็บเกี่ยวทั้งทางด้านแรงงานและเวลา และที่สำคัญรถรุ่นนี้มีการพัฒนามาเพื่อใช้ในพื้นที่การเพาะปลูกขนาดเล็ก ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเพาะปลูกในประเทศไทยซึ่งจากการศึกษาพบว่ารถเกี่ยวสามารถลดต้นทุนในด้านแรงงานลงไปอย่างน้อย 50% ของต้นทุนที่ใช้ในปัจจุบัน

โครงการที่ 2 อีสท์ เวสท์ ซีด เราจับมือกับ ซันสวีท นำข้าวโพดข้าวเหนียวคุณภาพสูงพร้อมรับประทานสู่ตลาดสะดวกซื้อเป็นรายแรกของไทย อย่างที่ทุกท่านคงทราบกันดีว่าข้าวโพดพร้อมรับประทานสำเร็จรูปที่เราพบเห็นในตลาดนั้นเป็นข้าวโพดหวาน ไม่พบข้าวโพดข้าวเหนียวเลย ซึ่งทางอีสท์ เวสท์ ซีด เราเป็นผู้นำอันดับ 1 ของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม โดยสายพันธุ์ที่เป็นเบอร์หนึ่งในตลาดตอนนี้คือ พันธุ์สวีทไวโอเล็ท ของศรแดง ซึ่งในปี 2561 ที่ผ่านมาเราได้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์สวีทไวโอเล็ทคิดเป็นจำนวนมากกว่า 150,000 กก. หรือคิดเป็นปริมาณฝักสดที่อยู่ในท้องตลาดจำนวน 615,000,000 ฝัก (หกร้อยสิบห้าล้านฝัก) ซึ่งตลาดปลายทางของฝักสดสายพันธุ์นี้ถูกกระจายไปตามตลาดสินค้าเกษตร และตลาดสด

จนถึงตลาดนัด แผงต้มข้างทางทั่วประเทศ แต่ในปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป โดยผู้บริโภคมักจะเข้าไปจับจ่ายซื้อของในร้านสะดวกซื้อ บวกกับเทรนด์รักสุขภาพมาแรง คนส่วนใหญ่สนใจในเรื่องของสารอาหารที่จะได้รับ ซึ่งสวีทไวโอเล็ท ข้าวโพดข้าวเหนียวหวานที่มี 2 สีในฝักเดียวคือสีขาว และสีม่วง ด้วยคุณประโยชน์ของข้าวโพดที่เรารู้กันอยู่แล้วว่ามีมากมาย บวกกับสารแอนโทไซยานินที่พบมากในพืชผักสีม่วง ข้าวโพดข้าวเหนียวสวีทไวโอเล็ทจึงน่าจะตอบโจทย์คนรักสุขภาพได้เป็นอย่างดี และนอกจากนี้ยังมีพืชผักอื่น ๆ

อีกหลายตัว เช่น ฟักทอง เป็นต้น ที่วางแผนจะนำเข้าสู่ผลิตภัณฑ์พร้อมรับประทาน เราจึงหาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการแปรรูป ซึ่งซันสวีทถือเป็นบริษัท ฯ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านข้าวโพดและพืชผักแปรรูปพร้อมรับประทานเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย อีกทั้งซันสวีทยังมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่เข้าถึงได้ง่าย เช่น ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ อีสท์ เวสท์ ซีด จึงผนึกกำลังกับซันสวีทโดยการนำร่อง ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์สวีทไวโอเล็ท ของเราที่มีความโดดเด่นในเรื่องคุณภาพฝัก เมื่อนำไปแปรรูปแล้วพบว่าคุณภาพเหมือนฝักที่พึ่งต้มมาใหม่ รสชาติยังดี หวาน เหนียว นุ่ม เข้าสู่ตลาดข้าวโพดข้าวเหนียวพร้อมรับประทาน สู่ตลาดสะดวกซื้อ ซึ่งถือว่าเป็นรายแรกในไทย”

ดร. องอาจ กิตติคุณชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายแปรรูปรายใหญ่ของประเทศ ภายใต้แบรนด์ เคซี ได้ให้สัมภาษณ์ว่า

“ปัจจุบันข้าวโพดหวานเป็นที่ต้องการด้านอาหารของตลาดโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปีนี้ “ซันสวีท” จึงเร่งเดินหน้ารุกตลาดข้าวโพดทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อเพิ่มยอดขาย โดยมี 3 กลยุทธ์หลัก คือ

เพิ่มช่องทางการค้าปลีก เน้นอาหารพร้อมทาน
ขยายไลน์สินค้าใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มอาหารแช่แข็ง และ
สร้างนวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเพิ่มกำลังผลิตและมุ่งยกระดับคุณภาพของวัตถุดิบให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าเพื่อสามารถรักษาฐานลูกค้าเก่าและรองรับลูกค้าใหม่ได้อย่างทั่วถึง
เนื่องจากทางบริษัท ฯ มีแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานในรูปแบบที่หลากหลายขึ้น เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัท ฯ ได้เล็งเห็นโอกาสในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดหวานและข้าวโพดข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพสูง ทั้งด้านคุณภาพ การบริโภคเหมาะสำหรับการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก จึงได้ร่วมมือกับ “อีสท์ เวสท์ ซีด” ในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพด เพื่อเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานให้สูงขึ้น เพิ่มขีดความสามารถของทั้งสองฝ่ายและเป็นการสร้างความมั่นคงด้านเมล็ดพันธุ์ต่อไป”

ทำไมซันสวีท ถึงเลือกพันธุ์สวีทไวโอเล็ทของศรแดง เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวแปรรูปรายแรกในไทย

“เริ่มจากผมไปประเทศเกาหลีมา แล้วพบว่าตลาดเกาหลีมีความต้องการข้าวโพดข้าวเหนียวสองสี ทีนี้ผมมาดูสายพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวในไทย พบว่าพันธุ์สวีทไวโอเล็ทของศรแดง เป็นสายพันธุ์อันดับหนึ่งในตลาดอยู่แล้ว ทางศรแดงทำมานานมาก ผมได้เคยทำการทดลองสายพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวหลาย ๆ สายพันธุ์แล้วพบว่า พันธุ์สวีทไวโอเล็ท เมื่อนำมาแปรรูปแล้วคุณภาพการกินดี เหมือนฝักที่ต้มมาใหม่ ๆ

และเนื่องจาก อีสท์ เวสท์ ซีด เป็นบริษัทเมล็ดพันธุ์อันดับ 1 ที่มีความพร้อมในหลาย ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการผลิต สายพันธุ์ที่มีคุณภาพ และเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการยอมรับสูงอยู่แล้ว และผนวกมากับซันสวีทที่มีเทคโนโลยีแปรรูปที่ทันสมัยอยู่แล้ว จึงมาผสานกันได้ง่าย ๆ ผมไม่ต้องใช้เวลา 3 – 5 ปีมาพัฒนาสายพันธุ์ ผมจึงเลือกสวีทไวโอเล็ทของศรแดงมาเป็นข้าวโพดข้าวเหนียวแปรรูป “อร่อยไม่ยอมหยุด” เป็นรายแรกในประเทศไทยครับ”

ได้ฤกษ์เปิดตัวโครงการ เกษตรคือประเทศไทย ปี 2 ตอน ตามหาสุดยอดเกษตรกรประเทศไทย วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม 2562 เวลา 13.30-16.00 น. ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ

งานนี้เขามีอะไรบ้าง? ทำไมต้องออกตามหากันด้วยเล่า เรามาฟังจากปากคุณพรศักดิ์ พงศาปาน หรือ “ลุงพร เกษตรก้าวไกล” บรรณาธิการผู้ก่อตั้งเว็บไซต์เกษตรก้าวไกล และสื่อออนไลน์ในเครือ ผู้ซึ่งเป็นหลักในการจัดงานนี้

ลุงพร เล่าว่า โครงการเกษตรคือประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2561 ด้วยเห็นพ้องว่า การทำข่าวเกษตรในปัจจุบันมิอาจจะตั้งรับได้อีกต่อไป โดยเฉพาะในยุค digital disruption ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไวมาก เป็นยุคแห่งการทำลายล้าง ในขณะเดียวกันเป็นยุคที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้น “ผมคิดว่าในยุคดิจิทัลทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันอีกครั้ง” และ “วิกฤตคือโอกาส เป็นโอกาสของคนตัวเล็กที่จะกลับตัวหรือเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าคนตัวใหญ่หรือองค์กรขนาดใหญ่ สำคัญแต่ว่าคุณต้องมีความคิดที่จะสร้างสรรค์หรือเชื่อมต่อกับคนตัวใหญ่ที่เขามีพลังหรือมีความพร้อมมากกว่า”

อะไรคือความคิดที่ว่า “อย่างเช่นผมทำเว็บไซต์ด้านการเกษตร(เกษตรก้าวไกลดอทคอม และเกษตรว้อยซ์ดอทคอม รวมทั้งสื่ออนนไลน์ในเครือข่าย) ผมคิดว่าเราตั้งรับแบบเดิมหรือออกไปทำข่าวแบบเดิมไม่ได้อีกต่อไป แต่จะต้องร่วมมือกับองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรหรือส่งเสริมอาชีพที่เกี่ยวกับเกษตรกรหรือไม่ก็ต้องเป็นองค์กรที่เขามองเห็นว่า “เกษตรคือประเทศไทย” เพราะเหตุนี้ผมและทีมงานจึงได้คิดโครงการนี้ขึ้นมา โดยในปีแรกนั้นได้ดำเนินการภายใต้แนวคิด “เกษตรคือประเทศไทย ก้าวไกลไปด้วยกันทั้งประเทศ เกษตรกรอยู่ที่ไหน เราอยู่ที่นั่น” ผลก็คือว่าได้รับการตอบรับดีตั้งแต่เริ่มต้น แต่ก็ยังมีจุดอ่อนอยู่มาก

เพราะเหตุนี้ โครงการเกษตรคือประเทศไทย ปี 2 จึงเกิดขึ้น แต่คราวนี้ได้เพิ่มแนวคิดใหม่ จาก “เกษตรกรอยู่ที่ไหน เราอยู่ที่นั่น” ก็เพิ่มเป็น “ตามหาสุดยอดเกษตรกรประเทศไทย” (Thailand Super Farmer) โดยค้นหาความเป็นสุดยอดของเกษตรกรคนนั้นๆ เรียกว่าโฟกัสหรือมุ่งเป้ามากขึ้น ไม่สะเปะสะปะ แต่ก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า “เกษตรกรคือยอดมนุษย์” กินความหมายว่า เกษตรกรคือผู้ให้อาหาร ปลูกพืชอาหารและเลี้ยงสัตวที่เป็นอาหาร เพื่อมวลมนุษยชาติให้มีชีวิตอยู่ได้ โดยเฉพาะหลายประเทศมียอดมนุษย์ แต่ประเทศไทยที่เป็นประเทศเกษตรกรรม ถ้าจะมียอดมนุษย์บ้าง ควรเป็นใคร https://goo.gl/qjHpVP

ในการเปิดตัวโครงการ “เกษตรกรคือยอดมนุษย์” ไฮไลท์จะอยู่ที่ พิธีตีธงปล่อยรถที่จะออกเดินทางไปตามหายอดมนุษย์เกษตรกรทั่วประเทศ ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดี กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธาน รวมทั้ง ผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรฯ สภาเกษตรกรแห่งชาติ ธนาคาร ธ.ก.ส. ฯลฯ (รายละเอียดตามกำหนดการที่แนบมา)

ไฮไลท์อีกอย่างหนึ่งคือ “บุฟเฟ่ต์ทุเรียนและผลไม้ 4 ภาค” ภายใต้การสนับสนุนของ ตลาดไท และสร้างสีสันด้วยพิธีปอกทุเรียน 4 ภาค โดยได้รับการสนับสนุนจากตัวแทนเกษตรกรภาคต่างๆ เช่น ทุเรียนหลงหลินลับแล (ภาคเหนือ) ทุเรียนภูเขาไฟ(ภาคอีสาน) ทุเรียนจันทบุรี (ภาคกลาง) ทุเรียนสาลิกา ทุเรียนมูซานคิง(ภาคใต้) ฯลฯ

“การจัดงานเปิดตัวโครงการเกษตรคือประเทศไทย ปี 2 จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดซึ่งความร่วมมือ ซึ่งเว็บไซต์เกษตรก้าวไกลและในเครือข่ายเราเป็นคนตัวเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับผู้สนับสนุนแต่ละราย แต่จุดที่เราสามารถเชื่อมต่อได้คือความคิดที่กลั่นออกมาเป็นโครงการ ที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า เกษตรคือประเทศไทย ถ้าทำการเกษตรให้เจริญได้ ประเทศไทยก็เจริญ โดยที่แนวความคิดนี้ผมและทีมงานก็ไม่ได้คิดเอง แต่ได้ศึกษาความคิดจากในหลวงรัชกาลที่ 9 และจากบุคคลอีกหลายคนที่เคารพนับถือ รวมทั้งจากประสบการณ์ของตัวเองและทีมงานที่หล่อหลอมเข้าด้วยกัน” ลุงพร เกษตรก้าวไกล กล่าวย้ำในท้ายที่สุด

ขอเชิญทุกท่านที่เห็นพ้องต้องกันว่า “เกษตรคือประเทศไทย” “เกษตรกรคือยอดมนุษย์” มาร่วมเป็นเกียรติในงานเปิดตัวโครงการครั้งนี้ “มาเป็นพลังให้กันและกัน” โดยพร้อมเพรียงกันครับ

คุณพรศักดิ์ พงศาปาน หรือ “ลุงพร เกษตรก้าวไกล” เปิดเผยว่า ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2562 เวลา 13.30-16.00 น. ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จะจัดให้มีงานเปิดตัวโครงการเกษตรคือประเทศไทย ปี 2 (ตอน) ตามหาสุดยอดเกษตรกรประเทศไทย (Thailand Super Farmer) ภายใต้ธีมงาน “เกษตรกรคือยอดมนุษย์” โดยภายในงานจะมีพิธีตีธงปล่อยรถที่จะออกเดินทางไปตามหายอดมนุษย์เกษตรกรทั่วประเทศ ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดี กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธาน รวมทั้ง ผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้บริหารสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้บริหารธนาคาร ธ.ก.ส. ฯลฯ (รายละเอียดตามกำหนดการด้านล่างสุด)

ไฮไลท์อีกอย่างหนึ่งคือ “บุฟเฟ่ต์ทุเรียนและผลไม้ 4 ภาค” โดยการสนับสนุนของ ตลาดไท และสร้างสีสันด้วยพิธีปอกทุเรียน 4 ภาค โดยประธานในพิธีและตัวแทนแขกผู้เกียรติที่มาร่วมงาน โดยได้รับการสนับสนุนทุเรียนจากตัวแทนเกษตรกรภาคต่างๆ ที่ได้ส่งทุเรียนมาร่วมงาน เช่น ทุเรียนหลง-หลินลับแล (ตัวแทนภาคเหนือ) จากสวน คุณเรียม-กำพล คำมงคล แห่งอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเมื่อเย็นวานนี้(5 ก.ค.62) คุณเรียมได้ตระเวนหาลูกที่จะสุกพอดีในวันงาน และลงทุนลงมาจากภูเขา 14 กิโลเมตร เพื่อนำทุเรียนมาฝากไว้ที่บ้านให้กับคุณสุชาติ ปินจันทร์ (ประธานพัฒนาไม้ผล สภาเกษตรแห่งชาติ จังหวัดอุตรดิตถ์)เพื่อส่งต่อและเมื่อเช้านี้(6 ก.ค.) ได้ส่งมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ทุเรียนภูเขาไฟ (ตัวแทนภาคอีสาน) จากสวนคุณทองจร มั่นสัตย์ เกษตรกรหนุ่มที่มีจิตใจงามแห่งอำเภอขุนหาญ (อำเภอที่ปลูกทุเรียนมากที่สุดของจังหวัดศรีสะเกษ) และเมื่อปีที่ผ่านมาเราเดินหลงเข้าไปตามเสียงรถแทรกเตอร์ที่กำลังปรับพื้นที่เพื่อปลูกทุเรียนก็ได้พบกับตัวเขาที่มีสวนอยู่อีกแปลงที่ทุเรียนกำลังใกล้ตัดและในวันนั้นคุณทองจรได้ค้นหาจนพบทุเรียนที่ร่วงหล่นลงมา 3 ลูก ทำการปอกให้เรารับประทาน พอทราบว่ามีงานเปิดตัวที่เราจะต้องไปตระเวนทำข่าวอีกครั้ง คุณทองจรก็รีบอาสาขอส่งทุเรียนภูเขาไฟอันลือลั่นมาเป็นตัวแทนทันที

เช่นเดียวกับตัวแทนภาคใต้ ผู้ใหญ่ดำรงค์ศักดิ์ สินศักดิ์ จังหวัดชุมพร เดิมนั้นตั้งใจจะมาร่วมงานด้วย แต่ด้วยภารกิจรัดตัวจึงขอส่งทุเรียนจากสวนมาเป็นตัวแทน และเนื่องจากที่สวนทุเรียนหมดรุ่น(ทำนอกฤดู) ต้องตระเวนหากันกว่าจะได้ขนาดผลที่ต้องการและจัดการส่งมาให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ที่จังหวัดพังงา คุณหมู แห่งร้านโง้วเม่งเฮง ตะกั่วป่าริเวอร์ บอกว่าปีนี้ทุเรียนสาลิกาที่สวนคุณนุช (คุณบุญสม มีเกิด) อำเภอกะปง กำลังจะทยอยตัด บอกกันเลยว่างานบุฟเฟ่ต์ทุเรียน 4 ภาค จะขาดทุเรียนสาลิกาไม่ได้ จึงรีบส่งมาให้ทันที พร้อมรูปภาพต้นจริง

ปิดท้ายที่ขอแนะนำคือ ทุเรียนมูซานคิง ทุเรียนดังขอมาเลเซียที่ข้ามถิ่นมาอยู่ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา มาหลายปี ตอนนี้กำลังให้ผลผลิตดีวันดีคืน และรสชาติความอร่อยไม่แพ้ถิ่นเกิด ณ สวนศักดิ์ศรี ถือว่าเป็นสวนทุเรียนสายพันธุ์มาเลเซียใหญ่สุดของเบตง เจ้าของชื่อ คุณศักดิ์ศรี สง่าราศรี เกษตรกรรุ่นใหม่ที่แจ้งเกิดได้อย่างสวยงาม บอกว่าจะส่งมูซานคิงมาให้ชิม ซึ่งปีนี้ที่สวนตัดขายไปแล้ว 1 รุ่น รุ่นใหม่จะตัดช่วงกลางเดือนกรกฎาคม-ปลายเดือนนี้

“การจัดบุฟเฟ่ต์ทุเรียนและผลไม้ไทย 4 ภาค เพื่อต้องการให้ทุเรียนไทยและผลไม้ไทยเกิดการแพร่หลายในแง่ความหลากหลายของผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียนแต่ละท้องถิ่นจะมีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง อย่างเช่น ทุเรียนสาลิกาอำเภอกะปงเวลานี้ได้รับการยกระดับเป็นทุเรียน GI หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ไม่เหมือนที่อื่น และวัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งคือต้องการสร้างการรับรู้ต่อการจัดงานเปิดตัวโครงการเกษตรคือประเทศไทย ปี 2 ซึ่งปีนี้เราได้โฟกัสที่จะออกตามหาสุดยอดเกษตรกรประเทศไทย หรือยอดมนุษย์เกษตรกรไทย โดยที่อาชีพเกษตรกรรมถือเป็นอาชีพที่สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษ แต่อาชีพนี้ก็ยังไม่พัฒนาไปมากนัก ผู้ที่ทำอาชีพนี้คือเกษตรกรยังยากจน เราในฐานะสื่อมวลชนสายเกษตรจึงคิดว่าควรจะกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของอาชีพนี้ ให้ทุกคนมาช่วยกันคนละไม้คนละมือทำให้อาชีพเกษตรเกิดความยั่งยืน…ถ้าทำให้การเกษตรเจริญ ประเทศไทยก็เจริญ ตรงนี้คือแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พวกเราทุกคนตระหนักและต้องทำให้ได้” ลุงพร เกษตรก้าวไกล กล่าว

จึงขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมงานเกษตรคือประเทศไทยปี 2 ทั้งนี้ ตลาดไทได้เตรียมทุเรียนไว้ 100 ชุด ยังไม่รวมผลไม้อื่นๆ และทุเรียนทรงคุณค่าจากพี่น้องเกษตรกรไทย หรือสอบถามเพิ่มเติม : โทร.ไอดีไลน์ 081 3090599 (ลุงพร), 0863185789 (ศุภชัย), 0636239799, (อั๋น) หรือ 081-834-9344 (จตุพล)…ขอย้ำว่างานที่จัดนั้นไม่ใหญ่ บรรยากาศเรียบง่าย แต่สิ่งที่ตั้งใจทำนั้นยิ่งใหญ่และเกินกำลังของเรา เพราะเหตุนี้จึงต้องเชิญทุกท่านมาร่วมกันเติมพลังให้กันและกัน เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ เพื่อความยั่งยืนของเกษตรประเทศไทยครับ

ทีมข่าว “เกษตรก้าวไกล” นำโดย นายพรศักดิ์ พงศาปาน หรือ “ลุงพร เกษตรก้าวไกล” บรรณาธิการผู้ก่อตั้งเว็บไซต์เกษตรก้าวไกล และเกษตรว้อยซ์ ถือฤกษ์ดี 9 กรกฎาคม 2562 เปิดตัวโครงการเกษตรคือประเทศไทย ปี 2 ตอน ตามหาสุดยอดเกษตรกรประเทศไทย (THAILAND Super Farmer) ซึ่งกิจกรรมครั้งได้จัดขึ้นในโอกาสที่เว็บไซต์เกษตรก้าวไกลได้เปิดดำเนินการมาครบ 4 ปี โดยมีหลักการว่าทีมงานเกษตรก้าวไกล จะจัดตั้ง “กองบรรณาธิการเคลื่อนที่” (Mobile editorial) เพื่อออกเดินทางไปยังพื้นที่เกษตรทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อตามหาเกษตรกรที่เป็นต้นแบบสาขาต่างๆ ภายใต้หลักคิด “เกษตรกรคือยอดมนุษย์” เมื่อไปถึงจุดไหนพื้นที่ใดก็จะรายงานข่าวผ่านเครือข่ายระบบสื่อสารสมัยใหม่ (Live สดพื้นที่เกษตรทั่วประเทศ) รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลข่าว ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เพื่อนำเสนอผ่านสื่อในเครือข่ายเกษตรก้าวไกลดอทคอม ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาเดินทางลงพื้นที่เกษตร ประมาณ 90 วัน และได้พบเกษตรกร ประมาณ 100 คน

“การจัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการเกษตรคือประเทศไทยในปีนี้เราได้โฟกัสที่จะออกตามหาสุดยอดเกษตรกรประเทศไทย หรือยอดมนุษย์เกษตรกรไทย โดยที่อาชีพเกษตรกรรมถือเป็นอาชีพที่สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษ แต่อาชีพนี้ก็ยังไม่พัฒนาไปมากนัก ผู้ที่ทำอาชีพนี้คือเกษตรกรยังยากจน ยังมีปัญหามากมาย เราในฐานะสื่อมวลชนสายเกษตรจึงคิดว่าควรจะกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของอาชีพนี้ ให้ทุกคนมาช่วยกันคนละไม้คนละมือทำให้อาชีพเกษตรเกิดความยั่งยืน…ถ้าทำให้การเกษตรเจริญ ประเทศไทยก็เจริญ ตรงนี้คือแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พวกเราทุกคนตระหนักและต้องทำให้ได้” ลุงพร เกษตรก้าวไกล กล่าว

สำหรับการจัดงานครั้งนี้ ซึ่งจัดขึ้น ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ได้รับเกียรติจากนายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดี กรมส่งเสริมการเกษตร ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน และได้รับเกียรติจาก นายถาวร จิระโสภณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมง ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้บริหารสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้บริหารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย รวมทั้งตัวแทนบริษัทเอกชนที่ให้การสนับสนุน ประกอบด้วย บริษัท ฟอร์ด ประเทศไทย จำกัด บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด (ประเทศไทย) จำกัด หรือศรแดง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และบริษัท ซุปเปอร์เอส เซ็นเตอร์ จำกัด

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดี กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวในระหว่างเปิดงานตอนหนึ่งว่า รู้สึกดีใจที่สื่อมวลชนเกษตรได้มีเจตนารมย์อันแน่วแน่ที่จะทำสิ่งสำคัญต่อประเทศนี้ ซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม ถือว่าเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก โดยเฉพาะปีที่ 2 นี้ได้เน้นเกษตรกรมี่มีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ หรือตามหายอดมนุษย์เกษตรกร และเมื่อได้ฟังว่ามีผู้สนับสนุนที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่หลายรายผมก็ขอชื่นชมยินดีที่ท่านทั้งหลายเห็นความสำคัญต่อภาคการเกษตร…

“โดยปกติแล้วนโยบายของทุกรัฐบาลที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญต่อ ภาคการเกษตร ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจหลักของประเทศ และโดยเฉพาะรัฐบาลปัจจุบันได้บูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาเติมเต็มให้กับภาคการเกษตร ไม่ว่าภาครัฐหรือภาคเอกชน โดยเฉพาะในส่วนงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีท่านกฤษฎา บุญราช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการขับเคลื่อนนโยบายที่เข้มข้นมาก เน้นนโยบายการตลาดนำการผลิต และการลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต พร้อมการสร้างระบบเครือข่ายเข้มแข็ง ดังเช่นการขับเคลื่อน โครงการเกษตรแปลงใหญ่ โครงการ Young Smart Farmer ฯลฯ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร เราได้ใช้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ที่มีจำนวน 882 ศูนย์ทั่วประเทศ เป็นแกนกลาง โดยมุ่งเน้นการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้และการแก้ไขปัญหาทางการเกษตรในพื้นที่อย่างทันท่วงที พร้อมกับเป็นตัวแทนระหว่างภาครัฐและเกษตรกร เพื่อการพัฒนาและยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้น…” อธิบดี กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว

ไฮไลท์ของงานคือ พิธีตีธงปล่อยรถฟอร์ดเรนเจอร์ ซึ่งเป็นพาหนะที่ใช้ในการเดินทางครั้งนี้ และไฮไลท์ที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้มาร่วมงานคือ “บุฟเฟ่ต์ทุเรียนและผลไม้ 4 ภาค” โดยการสนับสนุนของ ตลาดไท และสร้างสีสันด้วยพิธีปอกทุเรียน 4 ภาค โดยประธานในพิธีและตัวแทนแขกผู้เกียรติที่มาร่วมงาน โดยได้รับการสนับสนุนทุเรียนจากตัวแทนเกษตรกรภาคต่างๆ

ที่ได้ส่งทุเรียนมาร่วมงาน เช่น ทุเรียนหลง-หลินลับแล (ภาคเหนือ) จากสวนคุณเรียม คำมงคล แห่งอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ทุเรียนภูเขาไฟ(ภาคอีสาน) จากสวนคุณทองจร มั่นสัตย์

เกษตรกรหนุ่มที่มีจิตใจงามแห่ง www.footballsoftpro.com อำเภอขุนหาญ (อำเภอที่ปลูกทุเรียนมากที่สุดของจังหวัดศรีสะเกษ) ทุเรียนชุมพร จากสวนของผู้ใหญ่ดำรงค์ศักดิ์ สินศักดิ์ เซียนทุเรียนคนดัง ทุเรียนสาลิกาจากสวนคุณนุช (คุณบุญสม มีเกิด) แห่งอำเภอกะปง จังหวัดพังงา ปิดท้ายด้วยทุเรียนมูซานคิง จากสวน คุณศักดิ์ศรี สง่าราศรี เกษตรกรรุ่นใหม่แห่งเบตง

หลักการเดิมของในการกู้เงินกับ ธ.ก.ส. ที่ผ่านมา ก็คือ

นำเอาที่ดินมาค้ำประกัน แต่เนื่องจากที่ดินในต่างจังหวัดจะมีราคาไม่มากนัก การประเมินราคาต้นไม้ยืนต้นที่อยู่ในที่ดินนั้นไปด้วยจะทำให้มีราคามากขึ้นและถือเป็นการช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้นด้วย ผู้ช่วยผจก.ธ.ก.ส.สาขาอ่างทอง กล่าว เมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 ทีมข่าว “เกษตรก้าวไกล” ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทีมดีแทค นำโดย คุณประพันธ์ จิวะพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน และคุณอุกฤษ อุณหเลขกะ ผู้ร่วมก่อตั้ง Ricult สตาร์ทอัพที่เป็น AgriTech ในฐานะผู้ร่วมพัฒนาบริการ “ฟาร์มแม่นยำ” ผ่านแอป Farmer Info

การพบปะพูดคุยครั้งนี้ ไม่มีอะไรที่ยิ่งใหญ่เท่ากับความคิดที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะใช้เทคโนโลยีเป็นอาวุธปฏิวัติชีวิตเกษตรกร (รวมทั้งปฏิวัติชีวิตผู้สื่อข่าวเกษตรอย่างเราด้วย) เพราะเกษตรคือประเทศไทย ถ้าเกษตรกรไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้ก็ยากที่จะลดความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจลงได้

คุณประพันธ์ จิวะพงษ์ กล่าวนำว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดีแทคตระหนักถึงบทบาทในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมไทย ตามวิสัยทัศน์ empowering societies จึงเป็นที่มาของโครงการดีแทคพลิกไทย รวมทั้งโครงการดีแทคเน็ตอาสา ที่จะให้ความรู้และสอนเทคนิคการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต…และโดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรไทยที่ดีแทคเข้ามามีบทบาทผ่านโครงการ dtac Smart Farmer อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 และในปี 2561 ที่ผ่านมายังได้เปิดตัวบริการ “ฟาร์มแม่นยำ” แอปที่จะช่วยเกษตรกรเพาะปลูกอย่างแม่นยำ ซึ่งขณะนี้มีเกษตรกรโหลดแอปมาใช้หลายพันคนแล้ว

“การเปิดแอปฟาร์มแม่นยำเราไม่ได้หวังผลกำไรทางธุรกิจ แต่เราต้องการสร้างสรรค์สังคมเกษตร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ให้มีเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยการใช้งานผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน และคิดว่าแอปตัวนี้จะช่วยเกษตรกรทำเกษตรแม่นยำได้มาก” คุณประพันธ์ กล่าว

ทางด้าน คุณอุกฤษ อุณหเลขกะ ผู้บริหารหนุ่มรุ่นใหม่ “หัวใจเกษตร” กล่าวว่า การพัฒนาภาคเกษตรเป็นความใฝ่ฝันของตนเอง…หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านวิศวกรรมและการบริหารจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ก็ได้เข้าทำงานในสาขาวิชาที่เรียนมาในอเมริกา ก่อนเบนเข็มชีวิตกลับสู่เมืองไทย มาก่อตั้งบริษัท Ricult ซึ่งเป็น Social Enterprise หรือธุรกิจเพื่อสังคม

“ผมมีความหลงใหลในเรื่องเกษตรกรรมมาตั้งแต่เด็ก และมีโอกาสได้เห็นปัญหาของภาคการเกษตรมาโดยตลอด เมืองไทยถือว่าเกษตรเป็นกระดูกสันหลังของชาติ แต่ประเทศเรามีเกษตรกรราว 1 ใน 3 ที่ยังประสบปัญหา มันเลยเป็นสิ่งที่ทำให้ผมอยากจะนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยแก้ปัญหาทั้งระบบให้กับเกษตรกร” นี่คือความใฝ่ฝันของคนหนุ่มที่มีพื้นเพมาจากครอบครัวเกษตรกรในจังหวัดฉะเชิงเทรา

เพราะเหตุนี้แอปฟาร์มแม่นยำจึงเกิดขึ้น หลักการสำคัญคือการใช้ดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการทำเกษตรกรรม เรียกว่า “เกษตรแม่นยำ” เพราะสามารถหยั่งรู้ดิน ฟ้า อากาศ ฯลฯ ซึ่งจะทำการเกษตรแบบพึ่งพาฟ้าฝนหรือเทวดาแบบแต่ก่อนไม่ได้อีกแล้ว เพราะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปมาก เทคโนโลยีดิจิทัลเท่านั้นที่จะเข้ามาช่วยได้ (รายละเอียดของแอปฟาร์มแม่นยำ ตอบโจทย์ในเรื่องอะไรบ้าง อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2WDt6uw หรือดาวน์โหลดแอป Farmer Info ผ่าน App Store และ Google Play และเข้าไปที่บริการ “ฟาร์มแม่นยำ” ใช้บริการฟรี 60 วัน และเก็บค่าบริการเริ่มต้น 30 บาทต่อเดือน)

ในระหว่างที่นั่งพูดคุยกันอยู่นั้น ทางคุณประพันธ์ และคุณอุกฤษ ได้นำเสนอแอปฟาร์มแม่นยำ ผ่าน powerpoint และมาสะดุดหยุดลงในหน้าสุดท้ายที่ว่า “เกษตรกรต้องรวย” คำนี้ทำให้ทีมงานเกษตรก้าวไกลหัวใจพองโต ไม่คิดว่าบริษัทผู้ให้บริการสัญญาณอินเตอร์เน็ตจะเห็นความสำคัญและกล้าที่จะใช้คำนี้

“คำว่า เกษตรกรต้องรวยในความหมายของผมคือ ต้องมีรายได้มากขึ้น และลดความเลื่อมล้ำในสังคมไทยครับ” คนหนุ่มที่ชื่อ อุกฤษ ตอบทันที

สรุปว่า หากคนหนุ่มรุ่นใหม่คิดและทำกันแบบนี้เยอะๆ เกษตรกรไทยมีโอกาสร่ำรวยอย่างแน่นอน และสิ่งที่อยากบอกในเบื้องต้นนี้คือ…โครงการเกษตรคือประเทศไทย ปี 2 ที่เกษตรก้าวไกลมีโครงการจะออกเดินทางไปยังพื้นที่เกษตรทั่วประเทศ เราจะมีโครงการความร่วมมือดีๆ “Digital for Farmers ติดอาวุธให้เกษตรกรไทยพร้อมรบในโลกออนไลน์”…ขอได้โปรดฟังสัญญาณอีกครั้งนะครับ

กรมชลประทาน ลุย EIA เขื่อนพระนครศรีอยุธยา ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 13 อำเภอ บรรเทาน้ำท่วม-แล้งซ้ำซาก พร้อมเปิดแผนโครงการจัดการลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 9 โครงการ

วันพุธที่ 5 มิถุนายน 2562 กรมชลประทาน นำคณะสื่อมวลชนสัญจรพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสำรวจพื้นที่ดำเนินโครงการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเขื่อนพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยโครงการดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 13 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วยพื้นที่ อ.บางไทร อ.บางบาล อ.บางปะหัน อ.บางปะอิน อ.ผักไห่ อ.พระนครศรีอยุธยา อ.มหาราช และ อ.เสนา ส่วนในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง ประกอบด้วย อ.ไชโย อ.ป่าโมก อ.โพธิ์ทอง อ. เมือง และ อ.วิเศษชัยชาญ โดยมีพื้นที่หัวงานโครงการตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่หัวงาน 76.93 ไร่ ระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลบ.ม./วินาที จากปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยในพื้นที่ดังกล่าว 10,970 ล้าน ลบ.ม./ปี

จุดประสงค์ของโครงการเขื่อนพระนครศรีอยุธยานั้น เนื่องจากพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประสบปัญหาทั้งน้ำท่วมและภัยแล้ง โดยเฉพาะน้ำท่วมที่เกิดซ้ำซากและมีแนวโน้มระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งสร้างความเสียหายต่อพื้นที่ชุมชน เกษตรกรรม อุตสาหกรรม รวมทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ในขณะเดียวกัน พื้นที่ดังกล่าวกลับเก็บกักน้ำได้น้อยในช่วงฤดูฝน ทำให้ในช่วงฤดูแล้ง ปริมาณน้ำใช้มีไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้ยังพบปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและพื้นที่เพาะปลูกอีกด้วย

การจัดทำเขื่อนพระนครศรีอยุธยาจะทำให้สามารถป้องกันกลุ่มโบราณสถานสำคัญในพื้นที่ประวัติศาสตร์ของพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม จากอุทกภัยซ้ำซากหรือปริมาณน้ำฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากลำน้ำมีลักษณะคดเคี้ยว แคบและเป็นคอขวด ตลอดจนริมสองฝั่งแม่น้ำเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชนเมืองปิดกั้นเส้นทางการระบายน้ำและกีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ อีกทั้งยังเพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์ให้แก่พื้นที่การเกษตรในช่วงฤดูแล้งและเป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการอุปโภค–บริโภคของประชาชนในพื้นที่

และด้วยโครงการดังกล่าวเข้าข่ายโครงการหรือกิจการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 “เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม” กรมชลประทานจึงได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประตูระบายน้ำพระนครศรีอยุธยา

นอกเหนือจากโครงการเขื่อนพระนครศรีอยุธยา กรมชลประทานจึงได้ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างทั้งระบบอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยได้นำเสนอในที่ประชุม กนช. 3 ครั้ง และครม. 2 ครั้ง จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการแผนงานบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 9 แผนงาน ประกอบด้วย

1.ปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง ผ่านการปรับปรุงคลองระพีพัฒน์และโครงข่ายระบบชลประทานฝั่งตะวันออก เพื่อให้สามารถเพิ่มการระบายน้ำจากแม่น้ำป่าสักสู่ทะเล จากเดิม 210 ลบ.ม./วินาที เป็น 400 ลบ.ม./วินาที เริ่มดำเนินการไปแล้วบางส่วน เช่น ประตูระบายน้ำพระมหินทร์ ประตูระบายน้ำพระศรีศิลป์ ประตูระบายน้ำพระศรีเสาวภาค ประตูระบายน้ำพระธรรมราชา เป็นต้น

2. คลองระบายน้ำหลากเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ซึ่งแบ่งเป็น การปรับปรุงคลองชัยนาท-ป่าสัก เป็นคลองส่งน้ำคู่คลองระบายน้ำ ซึ่งเป็นการปรับปรุงคลองชัยนาท-ป่าสัก ซึ่งมีอยู่เดิมให้ระบายน้ำหน้าเขื่อนเพิ่มขึ้นจาก 130 เป็น 930 ลบ.ม./วินาที ความยาว 134 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างสำรวจออกแบบรายละเอียดในช่วงแรก และคลองระบายน้ำหลากป่าสัก-อ่าวไทย เป็นคลองระบายน้ำขุดใหม่ขนาด 600 ลบ.ม./วินาที ยาว 135 กม. ระบายน้ำจากแม่น้ำป่าสัก ลงสู่อ่าวไทย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณารายงาน EIA

3. คลองระบายน้ำคู่ถนนวงแหวนรอบที่ 3 ซึ่งระบายน้ำได้ 500 ลบ.ม./วินาที มีความยาว 110.85 กิโลเมตร โดย JICA ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นแล้วเสร็จเมื่อกุมภาพันธ์ 2561 ปัจจุบัน สทนช. กำลังจะศึกษาเปรียบเทียบแนวทางและทางเลือกการดำเนินการ

4. ปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานฝั่งตะวันตก ซึ่งมีต้องปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานตั้งแต่คลองเจ้าเจ็ด-บางยี่หน ให้สามารถระบายน้ำออกสู่ทะเลได้เพิ่มจาก 52 ลบ.ม./วินาที เป็น 130 ลบ.ม./วินาที วงเงินรวม 34,300 ล้านบาท

5. เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา โดยขุดลอกให้สามารถระบายน้ำได้ 2,500 ลบ.ม./วินาที ที่ระดับตลิ่ง ดำเนินงานโดยกรมเจ้าท่า

6. การบริหารจัดการพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ ซึ่งมีชุมชนที่ได้รับผลกระทบ 14 ชุมชน บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา กรมโยธาธิการฯ โดยได้สร้างพนังป้องกันแล้ว 6 ชุมชน และอยู่ในแผนดำเนินการอีก 3 ชุมชน ในส่วนที่เหลือกรมโยธาธิการฯ จะเข้าแผนศึกษาเพี่อดำเนินการต่อไป

7. คลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร สามารถระบายน้ำเลี่ยงเมืองอยุธยา 1,200 ลบ.ม./วินาที โดยคลองระบายน้ำยาว 22.4 กิโลเมตร ครม.เห็นชอบในการดำเนินโครงการแล้ว

8. เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำท่าจีน โดยการขุดลอก และปรับปรุงบริเวณคอขวดและช่องลัด เพิ่มประสิทธิภาพการระบายแม่น้ำท่าจีน ได้สูงสุดอีก 90 ลบ.ม./วินาที ดำเนินงานโดยกรมเจ้าท่า และกรมชลประทานในส่วนที่เป็นทางน้ำชลประทาน

9. พื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง เริ่มดำเนินการแล้วใน พ.ศ. 2560 เป็นการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มต่ำ 1.15 ล้านไร่ ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ลงมา โดยปรับแผนการเพาะปลูก รองรับน้ำหลากได้ประมาณ 1,500 ล้าน ลบ.ม.

โครงการเกษตรคือประเทศไทย ก้าวไกลไปด้วยกันทั้งประเทศ ปี 2 (ตอน) ตามหาสุดยอดเกษตรกรประเทศไทย ตามที่ผมเคยเรียนแจ้งมาเป็นระยะๆ ว่าจะมีการเปิดตัวโครงการในวันพุธที่ 19 มิถุนายน 2562 มีอันต้องเลื่อนไปเป็นวันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2562 เพื่อความพร้อมให้มากกว่าที่เป็นอยู่อีกนิด

แต่ถึงอย่างไรกิจกรรมที่เราได้บรรจุไว้ในโครงการนี้ ก็ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว อย่างเช่น “ห้องเรียนกลางสวน” ที่ได้ออกสตาร์ทไปก่อนหน้านี้ที่สวนทุเรียนผู้ใหญ่ดำรงค์ศักดิ์ จังหวัดชุมพร และที่ฟาร์มเลี้ยงปลาหมอโกแอ๊ะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และล่าสุดนี้เราได้เปิดห้องเรียนกลางสวนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

ห้องเรียกลางสวนของเราคราวนี้ มีการเรียนรู้จำนวน 2 หลักสูตร หลักสูตรที่ 1 การปลูกไม้ผลในภาชนะ(กระถาง เข่ง) (เรียนเมื่อ 7มิ.ย.62) เรียนรู้เรื่องการปลูกไม้ผลในพื้นที่จำกัด นั่นคือการปลูกในกระถาง และในเข่ง นอกจากจะทลายข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ ยังแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่ทีมีดินไม่เหมาะสม บรรยากาศเป็นไปด้วยความคักคัก แถมได้ชิมฝรั่งพันธุ์ใหม่ๆ เป็นที่ประทับใจกันมาก

หลักสูตรที่ 2 การขยายพันธุ์พืช หรือ ชื่อหลักสูตรเก๋ไก๋ว่า “ปลูกไม้ผลเป็นเห็นเงินล้าน” (เรียนเมื่อ 7มิ.ย.62) เป็นการเรียนวิธีการขยายพันธุ์ไม้ผลจำนวน 5 วิธีที่ยอดนิยม หรือใช้ในทางปฏิบัติจริง ซึ่งบรรยากาศเข้มข้นมาก ท่ามกลางสายฝนที่เทลงมา แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคใดๆ

ทั้ง 2 หลักสูตร สอนโดย อ.รัฐพล ฉัตรบรรยงค์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งผู้เรียนบอกว่าได้รับวิชาความรู้คุ้มค่ามากๆ และชมเชยผู้สอนที่ทุ่มเทสุดๆ

ทั้งหมดนี้เป็นกิจกรรมเปิดห้องเรียนกลางสวน ที่ “เกษตรอคาเดมี” ในเครือเกษตรก้าวไกล ได้จัดขึ้น ภายใต้ความร่วมมือกับ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยศาสตร์ ซึ่งความร่วมมือนี้จะเกิดขึ้นกับทุกฝ่ายที่มีหัวใจเดียวกัน(หัวใจเกษตร) ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีความรู้และประสบการณ์ ที่มีหัวใจของความเป็นครูหรือผู้แบ่งปันความรู้และรับผิดชอบต่อสังคม

“ห้องเรียนของเราจะไม่จำกัดแค่ห้องสี่เหลี่ยมอีกต่อไป แต่จะเป็นที่ไหนก็ได้ ที่เราสามารถสื่อสารถึงกัน ไม่ว่าจะเป็นในสวน ในฟาร์ม ในบ่อปลา หรือในอากาศ…ขอแค่ทุกคนมีหัวใจเดียวกัน(หัวใจเกษตร)และพร้อมที่จะรับผิดชอบสังคมร่วมกัน”

จึงขอเชิญชวนทุกท่าน ที่มองเห็นร่วมกันว่า “เกษตรคือประเทศไทย” และ “เกษตรกรคือยอดมนุษย์” มาร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีดีให้เกิดขึ้นกับภาคเกษตรประเทศไทย โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรไทย ทำอย่างไรให้อาชีพเกษตรที่เป็นอาชีพของคนไทยที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษให้สามารถเจริญก้าวหน้า ดังแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ว่าถ้าทำให้การเกษตรเจริญได้ ประเทศไทยก็เจริญ…ติดต่อเดินทางไปด้วยกันได้ที่ โทร.ไลน์ 0813090599 (ลุงพร) นะครับ

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในการประชุมหารือร่วมกับกรมการแพทย์แผนไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ตัวแทนภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งตัวแทนจากโรงพยาบาลทั้ง 4 ภูมิภาค จนนำไปสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงกับทางกรมการแพทย์แผนไทย โดยสภาเกษตรกรแห่งชาติจะปลูกกัญชาแบบเกษตรอินทรีย์เท่านั้นส่งให้กับกรมการแพทย์แผนไทย เพราะทำอาหารต้องปลอดภัยมาก ทำเป็นยายิ่งต้องปลอดภัยมากยิ่งกว่า จึงเสนอการปลูกกัญชาแบบเกษตรอินทรีย์แบบลงทุนให้ฟรี เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์อย่างแท้จริง นำร่อง 4 จังหวัด คือ ลำปาง บุรีรัมย์ กาญจนบุรี และสุราษฎร์ธานี ด้วยพื้นที่ระหว่างต้น 2 X 2 เมตร จะปลูกได้ 400 ต้น/ไร่ จังหวัดละ 5 ไร่ ปลูกทั้งแบบในโรงเรือนและนอกโรงเรือน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะลงพื้นที่ไปตรวจสอบ วิเคราะห์ทุกขั้นตอน

เหตุที่เลือก 4 จังหวัดนำร่องดังกล่าว เพราะมีตัวแทนเกษตรกรที่อาสาสมัครเข้ามาและมีความพร้อม พร้อมทั้งในแง่ของหัวใจ ทุนทรัพย์ ด้วยการปลูกนำร่องนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นใดให้เลย ทุกคนต้องลงทุนควักกระเป๋าเอง อย่างน้อยที่สุดคนละ 1 ล้านบาท เราลงทุนฟรีให้กับราชการจะได้เงินหรือไม่ได้เงินคืนมาไม่ทราบได้ ที่อาสาปลูก เพราะต้องการความรู้และความสำเร็จเพื่อประกาศให้คนไทยทั้งประเทศรู้ว่าเกษตรกรก็สามารถปลูกได้

อย่างไรก็ตาม จากการที่สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้จัดเวทีโครงการ “ประชุมสัมมนาขับเคลื่อนการพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” 6 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง สกลนคร นครศรีธรรมราช อุทัยธานี ตรัง กระบี่ มีผู้สนใจเข้าร่วมงาน 3,238 คน และจากการสำรวจออนไลน์เรื่องความสนใจการใช้กัญชาตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2562 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 มีผู้สนใจทำแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 6,195 คน ประกอบอาชีพ เกษตรกร ร้อยละ 72.95% อาชีพอิสระ ร้อยละ 8.58% ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 6.45% รับราชการ 4.57% พนักงานเอกชน ร้อยละ 2.89% เป็นต้น โดยสนใจใช้เพื่อรักษาโรค เหตุผล รักษาตนเอง 3,449 คน คิดเป็นร้อยละ 55.7%, รักษาคนในครอบครัว/คนรู้จัก 2,488 คน คิดเป็นร้อยละ 40.2%, เพื่อความรู้ 2,988 คน คิดเป็นร้อยละ 48.2% และสนใจปลูกกัญชา 3,624 คน คิดเป็นร้อยละ 58.5%

“ขณะนี้การปลูกกัญชาในเชิงพาณิชย์ยังไม่อนุญาต หากเกษตรกรปลูกไปก่อนก็ขายไม่ได้และอาจจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย สภาเกษตรกรฯ จึงขอเริ่มต้นจากพื้นที่ที่มีความพร้อมก่อน ปลูกในเชิงการวิจัยและต้องสละทั้งเงิน เวลา บุคลากรที่จะต้องทุ่มเทให้สำเร็จให้ได้ เพราะฉะนั้นขอให้อดใจรอจนกว่าสังคมจะเปิดกว้างกว่านี้ กฎหมายผ่อนปรนมากกว่านี้ ขอให้สภาเกษตรกรฯ กรุยทางให้เดินก่อนแล้วเกษตรกรค่อยเดินตามหลังมา อดใจรอ 4 จังหวัดนำร่องปลูกไปก่อน และหากเป็นไปได้ก็อยากผลักดันกฎหมายให้ขยายผลการปลูกออกไปได้ทุกพื้นที่จังหวัดในอนาคต” นายประพัฒน์ กล่าวปิดท้าย

ประธานเครือข่ายอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ไทย-ลาว จังหวัดบึงกาฬ ผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ จับมือเครือข่าย 23 องค์กร ลงนามความร่วมมือ(MOU) ด้านการพัฒนา-วิจัย สร้างนวัตกรรมด้านยางพารา ก้าวไปสู่ “บึงกาฬโมเดล” ต้นแบบการแก้ไขปัญหายางพาราอย่างเป็นระบบครบวงจร นับเป็นการบูรณาการความร่วมมือกิจการร่วมค้าเป็นการร่วมทุนแห่งแรกและครั้งแรกของประเทศไทย สร้างแบรนด์สินค้าร่วมกัน ผลักดันเกิดศูนย์การพัฒนานวัตกรรมยางแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พิธีลงนาม(MOU) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนา การวิจัยและสร้างนวัตกรรมด้านยางพารา ครั้งนี้ โดย วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ กับ 23 องค์กรทั้งภาคการศึกษา, ภาครัฐ-เอกชน ตลอดจนเครือข่ายภาคเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ณ ห้องประชุมวิทยาลัย เทคนิคบึงกาฬ โดยมี นายธวัชชัย ศรีทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) และ นายอำนวย ปะติเส อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะที่ปรึกษา สภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) พร้อมทั้ง นายถวิล สุวรรณมณี นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน

ทั้งนี้ ในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหายางพารา และเพื่อยกระดับราคายางในพื้นที่ ทั้งในด้านการพัฒนาผลิต และการแปรรูปยางอย่างครบวงจร ผ่านกลไกในการวิจัย การทดสอบ และการสร้างมาตรฐาน รวมทั้งสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับมูลค่ายางในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศ อย่างเป็นรูปธรรม โดยดำเนินการวิจัยและพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อให้เกิดเป็นศูนย์การพัฒนานวัตกรรมยางแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการให้บริการเรื่องยางแบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) ซึ่งจะมีการจัดประชุมวิชาการ การจัดฝึกอบรม และมีการสร้างเครือข่ายยางนำไปสู่การทำวิสาหกิจชุมชนในการแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ของทุกภูมิภาคทั่วประเทศ สามารถช่วยสร้างอาชีพมีรายได้ที่ดีให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประเทศไทย สอดรับกับนโยบาย Thailand 4.0 โดยเกษตรกรและผู้ประกอบการ สามารถประกอบอาชีพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราได้ เกิดความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน

สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ ได้กำหนดกรอบความร่วมมือเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิอื่นใดของผลงาน สิ่งประดิษฐ์ ระบบฐานข้อมูล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ข้อมูลการรายงานการศึกษาวิเคราะห์ คู่มือ เอกสาร หรือสิ่งอื่นใดที่มีอยู่เดิมของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และได้นำมาใช้ในการดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ย่อมเป็นของฝ่ายนั้น หากอีกฝ่ายประสงค์จะใช้สิทธิในผลงานเดิมของอีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายที่ประสงค์จะใช้สิทธิในผลงานเดิมนั้นจะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากฝ่ายที่เป็นเจ้าของผลงานเดิมนั้นก่อน

สำหรับสิทธิในทางทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิอื่นใดที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นจากการดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ ให้ทุกฝ่ายร่วมกันพิจารณาและกำหนดสิทธิหน้าที่ในทรัพย์สินทางปัญญาเป็นรายกรณีไป ในแต่ละข้อตกลงหรือสัญญาที่จะดำเนินการต่อไปในอนาคต กรณีมีการยกเลิกบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สามารถกระทำได้โดยฝ่ายที่ประสงค์จะยกเลิกให้บอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยให้ถือว่าข้อตกลมเป็นอันสิ้นผลในวันที่ระบุไว้ในหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าดังกล่าว แต่ในแต่ละฝ่ายยังคงมีสิทธิหน้าที่ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน สำหรับการดำเนินการใดๆที่ได้กระทำลงไปในระหว่างที่บันทึกข้อตกลงฉบับนี้มีผลบังคับใช้อยู่และการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม โดยได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากทุกฝ่าย

นายภคพล บุตรสิงห์ ประธานเครือข่ายอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ไทย-ลาวจังหวัดบึงกาฬสาขา สยยท.แห่งประเทศไทย กล่าวเปิดเผยถึงความร่วมมือครั้งนี้ ในฐานะผู้นำในการรวมรวมเกษตรกรและเครือข่ายสมาคมการค้ายางจ.บึงกาฬ สันนิบาตรสหกรณ์ สภาเกษตรกร และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรในความร่วมมือครั้งนี้ว่า นับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญในการบูรณาการความร่วมมือกิจการร่วมค้าของสหกรณ์การเกษตรเครือข่ายสภาเกษตรกรจังหวัดบึงกาฬ กับบริษัท อาร์ ที แอล เวิร์ดเทรด จำกัด

ซึ่งเป็นการร่วมทุนแห่งแรกและครั้งแรกของประเทศไทยที่จะสร้างแบรนด์สินค้าร่วมกันทั้งภายในและต่างประเทศใน CLMVT ประกอบด้วย ประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนม่าร์ เวียดนาม และประเทศไทย ทั้งนี้ได้มีหน่วยงานจากหลายภาคส่วนมาจับมือร่วมกัน คาดว่าจะส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการแก้ไขยางพาราทั้งระบบทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยเริ่มจากในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกยางมากที่สุดของประเทศ ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้เป็นการสร้างต้นแบบที่เรียกว่า “บึงกาฬโมเดล” นับเป็น พร้อมขยายผลความสำเร็จไปในพื้นที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเฉียงและของประเทศไทย และขยายไปในเขตอาเซี่ยน และทั่วโลกต่อไป ซึ่งหากภาครัฐให้การสนับสนุนประสบความสำเร็จนี้จะได้นำรูปแบบดังกล่าวไปใช้ในพื้นที่ปลูกยางพาราในภาคอื่น ๆ ของประเทศไทยซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถแก้ปัญหายางพาราได้อย่างยั่งยืน

ทางด้าน นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การ MOU ครั้งนี้เชื่อมั่นว่าจะเกิดประโยชน์อย่างแน่นอน ล่าสุดที่ผ่านมาได้ทำ บันทึกความร่วมมือ( MOU)กับประเทศเมียนม่าร์แล้ว ซึ่งรัฐบาลควรให้การสนับสนุนอย่างจริงจังและเป็นวาระเร่งด่วน เพราะหากประสบความสำเร็จแล้วจะได้นำรูปแบบดังกล่าวไปพัฒนาปรับใช้ในพื้นที่หรือจังหวัดต่าง ๆ ที่มีการปลูกยางก็จะช่วยแก้ปัญหาได้ในระยะยาวได้ นอกจากนี้ขอฝากให้รัฐบาลหรือพรรคการเมืองผู้ที่จะมารับผิดชอบดูแลด้านยางพารา

ขอให้คัดสรรคนทำงานที่เป็นเก่ง คนดี คนที่มีความรู้ความสามารถมาแก้ปัญหายางพาราจริง ๆ เนื่องจากในอดีต จนถึงวันนี้เกิดปัญหาเรื้อรังสั่งสมมานานท้ายคนรับกรรมคือเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งหากแก้ควรแก้ไขตั้งแต่คนที่จะมานั่งเก้าอี้บริหารองค์กรยาง รวมทั้งควรแก้ระบบ ระเบียบ/กฎเกณฑ์ การทำงาน และงบประมาณที่ไม้เอื้ออำนวยต่อการบริหารงาน รวมทั้งควรรับฟังความคิดเห็นจากคนในพื้นที่ และเปิดโอกาสให้เครือข่ายเกษตรกรเข้ามามีบทบาทในการมาร่วมแก้ไขเพิ่มมากขึ้น.

วันนี้ (12 มิ.ย. 2562) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดระบบจำกัดการใช้สารเคมี 3 ชนิด รับสมัครเกษตรกรที่ต้องใช้ สารจำกัดวัชพืช ได้แก่ พาราควอต ไกลโฟเซต และสารกำจัดศัตรูพืช คลอร์ไพริฟอส เพียงสมัครด้วยตนเองได้ที่ http://chem.doae.go.th หรือผ่านแอปพลิเคชัน FARMBOOK ได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ทุกวันตามเวลาราชการ เกษตรกรเลือกวันและวิธีการอบรมได้เองตามความสมัครใจ และเข้าทดสอบตามวันเวลาที่เลือก เกษตรกรที่สอบผ่านจึงจะได้รับสิทธิ์ซื้อสาร

นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหรณ์ เปิดเผยว่า หลังจากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ ออกประกาศเกี่ยวกับการจำกัดการใช้สารเคมีเกษตร พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส จำนวน 5 ฉบับ ลงวันที่ 5 เมษายน 2562 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2562 ตามที่คณะกรรมการวัตถุอันตราย เห็นชอบให้ดำเนินการตามมาตรการจำกัดการใช้สารเคมี โดยจะมีผลบังคับใช้หลังจากประกาศ 180 วัน เป็นต้นไป (20 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป) ประกาศฯ ดังกล่าวกำหนดให้ เกษตรกรผู้ใช้สาร ผู้รับจ้างพ่น

จะต้องผ่านการอบรมเพื่อให้สามารถใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยมี 4 หน่วยงานที่รับผิดชอบในการอบรม ดังนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร จะอบรมและทดสอบ ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล พืชไร่ ไม้ดอก ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร การยางแห่งประเทศไทย จะอบรมและทดสอบให้กับเกษตรผู้ปลูกยางพารา สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จะอบรมและทดสอบให้กับเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย โดยกรมวิชาการเกษตร จะทำหน้าที่อบรมเจ้าหน้าที่ของ 3 หน่วยงานเพื่อให้เป็นวิทยากรไปอบรมเกษตรกร และเป็นผู้อบรมให้กับผู้รับจ้างพ่น และพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และปลัด อบต.

ด้าน นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ดูแลเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว และมีพื้นที่ปลูกพืชจริง ซึ่งเกษตรกรที่ปลูกพืช มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล พืชไร่ ไม้ดอก และมีความประสงค์ใช้สาร ก็ยังสามารถมาขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร และเข้าสู่ขั้นตอนของการขึ้นทะเบียน ซึ่งต้องลงพื้นที่ตรวจสอบแปลงและวาดแปลง ทั้งนี้ คุณสมบัติของเกษตรกรจะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป สัญชาติไทย และเป็นเกษตรกรที่ปลูกพืชนั้นจริงไม่น้อยกว่า 15 – 60 วัน เงื่อนไขตามแต่ละชนิดพืช

สำหรับการสมัครขอรับสิทธิ์ซื้อ 3 สาร เกษตรกรสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป ที่ “ระบบจำกัดการใช้สารเคมี 3 ชนิด” http://chem.doae.go.th หรือ แอปพลิเคชัน “FARMBOOK” ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง Android และ iOS ได้ทันที สำหรับท่านที่ยังไม่สะดวกให้ไปติดต่อได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่งใกล้บ้านท่าน โดยสามารถเลือกช่องทางเรียนรู้ได้ 3 ช่องทาง คือ ช่องทางแรก เข้ารับการอบรมโดยวิทยากร ครู ข ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง ช่องทางที่ 2 เรียนรู้ผ่านระบบ e-Learning โดยเรียนจากเว็บไซต์ http://elearning.doae.go.th มีทั้งหมด 9 ตอน ใช้เวลาประมาณ 60 นาที หรือ ท่านใดที่ประสงค์จะทดสอบเลย เนื่องจากมีความรู้เพียงพอแล้ว สามารถเลือก ช่องทางที่ 3 สมัครเข้ารับการทดสอบ ได้เลย จากเว็บไซต์ดังกล่าว โดยต้องเลือกสถานที่สอบ วันที่และช่วงเวลาที่ต้องการสอบได้ตามความสมัครใจ ทั้งนี้ สำหรับการทดสอบจะเริ่มตั้งแต่ 1 ก.ค. 62 เป็นต้นไป กรณีไม่ผ่านการทดสอบ สามารถเลือกสอบได้อีก 1 รอบ หากยังไม่ผ่านเกษตรกรจะต้องสมัครเข้าไปเลือกการทดสอบอีกครั้งในระบบ.

การปลูกไม้มีค่าคึกคักทันตาเห็นหลังจากที่รัฐบาลปลดล็อคให้มีการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจบนที่ดินของตนเอง จากเดิมที่ผิดกฎหมาย และยิ่งคึกคักเพิ่มขึ้นเมื่อธนาคาร ธ.ก.ส.เข้ามารับช่วงเรื่องการใช้ไม้มีค่าเป็นหลักทรัพย์ สามารถตีราคาเป็นมูลค่าเพิ่มจากที่ดิน

ณ บริเวณ หมู่ 7 ตำบลจำปาหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง เช้าวันนี้คึกคักมาเป็นพิเศษ เพราะได้มีพิธีการปลูกต้นไม้ขึ้นในชุมชม โดยมี นายเรวัต ประสงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานในพิธี ภายใต้ชื่อโครงการปลูกไม้มีค่าเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน “พอเพียง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยน้อมนำการปลูกป่า ตามแนวพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่าง องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาหล่อ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในนามของธนาคารต้นไม้ภาคกลาง

การปลูกไม้มีค่าวันนี้ (30 พฤษภาคม 2562) ได้ปลูกขึ้นบนที่ดินของ นายธนิสร นิรันดร ชาวบ้านหมู่ 7 บนเนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวา โดย นายศิวกร นิรันดร (น้องชายนายธนิสร) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจำปาหล่อ เปิดเผยว่า เดิมทีเดียว อบต.จำปาหล่อ มีนโยบายปลูกต้นไม่ในที่ดินสาธารณะอยู่ก่อนแล้ว จึงได้เห็นว่าต้นไม้มีการเจริญเติบโตดี จึงเกิดความคิดว่าน่าจะขยายผลไปสู่ที่ดินของชาวบ้านในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการขึ้นและมีชาวบ้านเข้าร่วมตอนนี้จำนวน 8 ราย รวมเนื้อที่ 53 ไร่ โดยมีเป้าหมายที่จะปลูกไม้มีค่าให้ได้ จำนวน 9,999 ต้น

“ที่ปลูกไม้มีค่าวันนี้เป็นการปลูกบนที่ดินของพี่ชาย www.walkoffbalk.com เรามีเป้าหมายว่าจะทำแปลงนี้ให้เป็นแปลงตัวอย่างของชุมชน ซึ่งหวังว่าเมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ต้นไม้เหล่านี้จะเติบโตขึ้นมีมูลค่าต้นละ 2,000 บาท มันก็จะมีเงินเก็บไว้ให้ลูกหลาน แทนที่จะส่งมอบที่ดินว่างเปล่าให้พวกเขา และเกิดเป็นอาชีพแปรรูปไม้มีค่าในชุมชน หรืออย่างน้อยมันก็เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนเราน่าอยู่…” นายยก อบต.จำปาหล่อ กล่าว

ได้ประมาณ 8.27 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เนื่องจากพื้นที่หัวงาน

และอ่างเก็บน้ำอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูพานซ้อนทับป่าสงวนแห่งชาติแก้งกะอาม จำนวน 839 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สงวนไว้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญ กรมชลประทานจึงได้ว่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA เพื่อศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ครบถ้วน รอบด้าน

โดยดำเนินการตามแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งครอบคลุมประเด็นทรัพยากรทางด้านกายภาพ ทรัพยากรทางด้านชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณภาพชีวิต พร้อมทั้งเสนอมาตรการที่จะป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการให้มีน้อยที่สุดหรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้

โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหลัว จะเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับพื้นที่ชลประทานในฤดูฝน 4,695 ไร่ และฤดูแล้ง 1,403 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 9 หมู่บ้าน ในเขต 2 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลผาเสวย จำนวน 8 หมู่บ้าน และเทศบาลตำบลลำห้วยหลัว จำนวน 1 หมู่บ้าน โดยจะส่งน้ำให้กับพื้นที่ของราษฎรผ่านคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย และคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับการปลูกข้าวในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ทำให้ผลผลิตมากขึ้น ส่วนในฤดูแล้งราษฎรยังสามารถที่จะเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อย อาทิ แตงโม พืชผัก

ในฤดูแล้งได้อีกด้วย ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับราษฎรให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ อ่างเก็บน้ำห้วยหลัวยังเป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค และมีผลประโยชน์ทางอ้อมต่อทรัพยากรธรรมชาติบริเวณพื้นที่รอบๆ โครงการอีกด้วย ช่วยให้ลำน้ำห้วยหลัวมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูแล้ง ทำให้ระบบนิเวศน์ในน้ำ เช่น แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น และนอกจากนี้ยังสามารถปล่อยน้ำให้กับน้ำตกแก้งกะอามในช่วงสงกรานต์เพื่อสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวให้กับพื้นที่ได้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม

การก่อสร้างโครงการก็ส่งผลกระทบต่อราษฎรที่อยู่อาศัยและทำกินอยู่ในบริเวณพื้นที่หัวงานและอ่างเก็บน้ำ จำนวน 50 ราย ซึ่งมีความยินดีที่จะเสียสละพื้นที่เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม และราษฎรที่มีพื้นอยู่ตามแนวคลองส่งน้ำอีกประมาณ 104 ราย ซึ่งหากมีการพัฒนาโครงการกรมชลประทานจะต้องดำเนินการชดเชยความเสียหายให้กับผู้ได้รับผลกระทบด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส ในด้านผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติพบว่า พื้นที่หัวงานและอ่างเก็บน้ำอยู่ในบริเวณชายขอบของอุทยานแห่งชาติภูพาน ซึ่งมีสภาพเป็นพื้นที่การเกษตรประมาณ 342 ไร่ และพื้นที่ที่มีสภาพเป็นป่าไม้ 524 ไร่

ซึ่งเป็นป่าเต็งรัง พบพรรณไม้จำพวก ไม้เต็ง รัง ประดู่ ตะแบก แดง ติ้ว ไม่พบพรรณพืชที่เป็นพืชหายาก หรือพืชที่อยู่ในสถานภาพใกล้ สูญพันธุ์ ส่วนด้านสัตว์ป่า จากการสำรวจส่วนใหญ่จะพบสัตว์จำพวกนกมากที่สุด เช่น นกกินปลีอกเหลือง เหยี่ยวปีกแดง นกตะขาบทุ่ง เป็นต้น รองลงมาได้แก่ สัตว์เลื้อยคลาน เช่น จิ้งเหลนหลากลาย กิ้งก่า งูต่างๆ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กซึ่งพบเห็นได้ทั่วไป เช่น หนูพุกใหญ่ หนูท้องขาว กระแต กระจ้อน เป็นต้น ไม่พบสัตว์ป่าที่มีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าสงวน

ซึ่งก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการจะได้มีการอพยพช่วยเหลือสัตว์ป่าออกจากพื้นที่ก่อน โดยในการศึกษาวิเคราะห์กระทบสิ่งแวดล้อมโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหลัว ได้จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ ทั้งในระยะก่อสร้างโครงการ ระยะดำเนินการโครงการ งบประมาณจำนวน 46 ล้านบาท แบ่งเป็นแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม จำนวน 14 แผนงาน และแผนติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม จำนวน 12 แผนงาน งบประมาณค่าก่อสร้างเขื่อนและระบบส่งน้ำรวมทั้งสิ้นประมาณ 625.60 บาท ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี

อนึ่ง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 กรมชลประทาน ได้เปิดทำการปัจฉิมนิเทศโครงการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยหลัว ต.ผาเสวย อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ โดยมี นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธาน และนายสุรัช ธนูศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการกรมชลประทาน นายสมลักษณ์ ยกน้อยวงศ์ นายอำเภอสมเด็จ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมชลประทาน ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมสังเกตการณ์ ก่อนที่จะนำสื่อมวลชนลงพื้นที่บริเวณจุดที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำลำห้วยหลัว ซึ่งอยู่ติดกับจุดชมวิวผาเสวย ต.ผาเสวย อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์

นายสุรัช ธนูศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการกรมชลประทาน กล่าวว่า อ่างเก็บน้ำห้วยหลัวเป็นอ่างเก็บน้ำที่ประชาชนอาศัยอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขาภูพานได้ร้องขอต่อรัฐบาลให้เปิดโครงการชลประทานอ่างเก็บน้ำผาเสวย พร้อมขอให้กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2519 เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้ประสบปัญหาภัยแล้งขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายและผลผลิตตกต่ำ ทำให้มีฐานะความเป็นอยู่ฝืดเคือง

ด้านนายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า สำหรับโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหลัวนั้น นอกจากจะสามารถกักเก็บน้ำได้ 8.27 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะทำให้มีน้ำต้นทุนเพียงพอต่อการเพาะปลูกพืชทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้งแล้ว ภูมิทัศน์บริเวณหัวงานเขื่อนและอ่างเก็บน้ำจะสามารถใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชน และชุมชนโดยรอบ เกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสให้มีการจ้างงานส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่อีกด้วย

ขณะที่ นายวิเศษ ตาปา ชาวบ้านขมิ้น ต.ผาเสวย อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันชาวบ้านใน ต.ผาเสวย และใกล้เคียงประสบวิกฤติปัญหาภัยแล้งซ้ำซากทุกปี เนื่องจากอยู่ในพื้นที่สูงไม่มีอ่างเก็บน้ำไว้กักเก็บน้ำอุปโภค บริโภคในช่วงหน้าแล้ง

วันที่ 15 พฤษภาคม 2562 นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานการประชุมเตรียมการสร้างความเข้มแข็งเกษตรกรชาวสวนทุเรียน โดยมีเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียนใน 22 จังหวัด เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร อ.ปลวกแดง จ.ระยอง

ทั้งนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรได้ชี้แจงทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ แนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนไทย ที่ปัจจุบันประมาณ 80% ตลาดส่งออกไปยังจีนกำลังได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดและการกีดกันทางการค้า พร้อมรับฟังสถานการณ์การผลิตการตลาดและแปลงใหญ่ทุเรียนในภาพรวม การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการสร้างความเข้มแข็งองค์กรเกษตรกร โดย นายมานพ แก้ววงษ์นุกูล และ นายมนตรี ศรีนิล จากสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ซึ่งสมาคมฯ เน้นการรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายและการผลิตมะม่วงให้มีคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน

สำหรับแนวทางการสร้างความเข้มแข็งองค์กรเกษตรกรเพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการทุเรียนระดับประเทศ เสนอให้เริ่มจากการจัดตั้งสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนโดยคัดเลือกจากตัวแทนแปลงใหญ่ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับเขต ในการคัดเลือกคณะกรรมการระดับประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น วางแผนพัฒนาการผลิตการตลาดร่วมกัน

อนึ่ง ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งสมาพันธ์ทุเรียน จากเกษตรกรผู้เข้าร่วมประชุมคนหนึ่ง กล่าวว่า จริงอยู่ราคาทุเรียนปัจจุบัน ราคาน่าปลูก แต่สิ่งเกิดขึ้นเราไม่รู้ ถ้าดีแล้วไป ถ้าเกิดปัญหาละ มีคนเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ผมก็ว่าน่าจะดี และเราเห็นภาพรวมทุเรียนทั้งประเทศได้ดีขึ้น มีหนทางหลบหลีก ไม่ให้ผลผลิตออกมาชนกัน.

เรียกว่าเกษตรกรและผู้สนใจรอคอยก็ว่าได้ เพราะ 1 ปี เปิดให้สั่งซื้อได้เพียงครั้งเดียว นั่นก็คือ พันธุ์ทุเรียนและพันธุ์ไม้ผลอื่นๆ ที่เพาะขยายพันธุ์ โดยศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ใครที่เฝ้ารอขอให้รีบสั่งซื้อทางโทรศัพท์ ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน เป็นต้นไป

ต่อไปนี้เป็นคำประกาศจำหน่ายพันธุ์ทุเรียน…

ประชาสัมพันธ์การจำหน่ายพันธุ์พืช ประจำปี 2562 ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่วันที่ 11 – 14 มิถุนายน 2562 วิธีการจำหน่าย
1.1 โดยการสั่งซื้อทางโทรศัพท์ จำนวน 4 หมายเลข ได้แก่

หมายเลขที่ 1 dtac 080-438-1161
หมายเลขที่ 2 true 064-683-6929
หมายเลขที่ 3 ais 093-127-3181
หมายเลขที่ 4 tot 039-434-096
1.2 เริ่มการสั่งซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป จนกว่าของจะหมด

1.3 เวลาทำการ ภาคเช้า เวลา 09.00 – 12.00 น. ภาคบ่าย เวลา 13.00 – 15.00 น. เฉพาะวันจันทร์-วันศุกร์ ยกเว้น วันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์

หลักเกณฑ์การสั่งซื้อ
2.1 ข้อมูลที่ผู้สั่งซื้อต้องแจ้งในการสั่งซื้อ

ชื่อ – นามสกุล
เลขที่บัตรประชาชน
ที่อยู่
เบอร์โทรศัพท์
2.2 สั่งซื้อได้ 1 สิทธิ์/การโทร 1 ครั้ง บอกข้อมูลในบัตรประชาชน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ ผู้สั่งซื้อสามารถซื้อพันธุ์พืชทุกชนิดรวมกัน ไม่เกิน 20 ต้น โดยผู้สั่งซื้อต้องเตรียมข้อมูลชนิดพันธุ์พืชและจำนวนที่ต้องการให้พร้อมก่อนการโทรศัพท์ โดยตรวจสอบชนิดและจำนวนพันธุ์พืชที่จัดจำหน่ายได้ในเว็บไซต์ของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี

การมารับพันธุ์ไม้
3.1 หลังจากการโทรสั่งซื้อเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่จะแจ้งลำดับเลขผู้ซื้อ วันและเวลาในการมารับพันธุ์พืชของแต่ละท่าน

3.2 ผู้สั่งซื้อสามารถมารับพันธุ์พืชได้ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป ตามวันและเวลาที่เจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบแล้วในข้อ 3.1

3.3 ในวันที่มารับพันธุ์พืช มีขั้นตอนและเอกสารที่ต้องเตรียม ดังนี้

แจ้งชื่อ-นามสกุล และลำดับเลขผู้ซื้อ
ส่งสำเนาบัตรประชาชน
กรอกข้อมูลผู้ซื้อ และพันธุ์พืชที่ต้องการในใบคำขอซื้อพันธุ์พืช
ชำระเงินที่ห้องการเงิน
รับต้นไม้ที่เรือนเพาะชำ

พันธุ์ไม้ที่จำหน่าย
ทุเรียน

พันธุ์ จันทบุรี 1-9
พันธุ์ก้านยาว
พันธุ์ชะนี
พันธุ์กระดุม
พันธุ์พวงมณี
พันธุ์นกหยิบ
พืชอื่นๆ

มังคุด
วานิลลา
พริกไทย พันธุ์ ซีลอนชนิดค้าง / ชนิดพุ่ม
ราคาพันธุ์ไม้ ดังนี้
ทุเรียน (ทุกสายพันธุ์) ราคาต้นละ 50 บาท
มังคุด ราคาต้นละ 25 บาท
พริกไทย ราคาต้นละ 25 บาท
วานิลลา (สูง 1 เมตร) ราคาต้นละ 300 บาท
ข้อปฏิบัติ
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542

มาตรา 32 : ได้รับการจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ โดยกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ทรงสิทธิ์ในพันธุ์ใหม่นั้น จึงสามารถอนุญาตให้บุคคลใดใช้สิทธิ์ในพันธุ์พืชใหม่ของตนหรือโอนสิทธิ์ให้ในพันธุ์พืชใหม่ให้แก่บุคคลอื่นได้

มาตรา 33 : กรมวิชาการเกษตร มีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการผลิตขายหรือจำหน่าย นำเข้ามาในราชอาณาจักร ส่งออกนอกราชอาณาจักร หรือมีไว้เพื่อกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าว ซึ่งส่วนขยายพันธุ์ของพันธุ์พืชใหม่

มาตรา 64 : ผู้ใดกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 33 หรือ 47 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมวิชาการเกษตร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ที่ซื้อพันธุ์ทุเรียนจันทบุรี 1-9 ปฏิบัติได้ดังนี้
สามารถปลูกต้นทุเรียนในสวนของตนเองได้
ขยายพันธุ์ต้นทุเรียนพันธุ์จันทบุรี 1-9 เพื่อปลูกในสวนของตนเองได้ แต่ขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายไม่ได้
(ประกาศโดย : ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี /16 พ.ค.62)

เมื่อวันที่ 22 พฤกษภาคม 2562 นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ฝ่ายวิชาการ พร้อมคณะลงพื้นที่พบปะประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำนาท่อม จังหวัดพัทลุง ซึ่งมีเป้าหมายที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ ว่า ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชที่เพาะปลูก ได้แก่ ข้าวและยางพารา ซึ่งมักจะประสบกับปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่การเกษตรเกือบทุกปี

กรมชลประทาน จึงได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของโครงการฯ และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพื้นที่โครงการอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเขาบรรทัด ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม(โซน C) มากกว่า 500 ไร่ และมีพื้นที่อ่างเก็บน้ำบางส่วนอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด จึงเข้าข่ายประเภทและขนาดโครงการที่จะต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 54 โดยขั้นตอนการศึกษาจะดำเนินตามแนวทางขอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ การศึกษาความเหมาะสมโครงการ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ ชีวภาพ การใช้ประโยชน์ของมนุษย์และคุณภาพชีวิต รวมทั้งการประชาสัมพันธ์และมีส่วนร่วมของประชาชน

สำหรับพื้นที่ก่อสร้าง “อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่” ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ส่วนพื้นที่ชลประทานอยู่ในเขตอำเภอศรีนครินทร์ และอำเภอเมืองพัทลุง ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยมีระยะเวลาศึกษา 360 วัน เริ่มตั้งแต่ 18 เมษายน 2562 จนถึง 11 เมษายน 2563

“การพัฒนาโครงการฯ นอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในฤดูน้ำหลากแล้ว ยังเป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่มีปริมาณน้ำมั่นคง ลดความเสี่ยงของการขาดแคลนน้ำช่วงฤดูแล้ง มีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร อีกทั้ง ยังจะช่วยยกฐานะความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของราษฎรที่อยู่ในพื้นที่โครงการฯและบริเวณใกล้เคียงให้สูงขึ้น จากผลิตผลทางเกษตรที่จะได้ผลและมีคุณภาพที่ดีขึ้น” รองอธิบดีกรมชประทาน กล่าว (ชมคลิป รองอธิบดี พบ

หลังจากนั้น ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ที่จะได้รับผลกระทบให้แสดงความคิดเห็น ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกเสียดาย เพราะมีความผูกพันกับพื้นที่มาเป็นเวลานาน แต่ก็พร้อมที่จะเสียสละหากกรมชลประทานศึกษาแล้วได้ประโยชน์กับส่วนรวมมากกว่า แต่ก็อยากให้ช่วยเหลือจัดหาที่ทำกินหรือตอบแทนให้เกิดความพอดี (ชมคลิปได้ที่

อนึ่ง ในวันเดียวกันนี้ คณะของรองอธิบดีกรมชลประทาน ได้ลงพื้นที่ไปดูงานก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองนาท่อม ต.อ่างทอง อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง ซึ่งการก่อสร้างรุดหน้า 80 % และมีกำหนดแล้วเสร็จ เดือนกันยายน 2562 ก่อสร้างขึ้นเพื่อบริหารควบคุมการผันน้ำจากคลองนาท่อมเข้าสู่คลองระบายน้ำลำเบ็ด (โครงการพัฒนาและบรรเทาอุทกภัยเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง) (ชมคลิปได้ที่ https://www.facebook.com/kasetkaoklai/videos/413684172551220/) และยังเดินทางไปที่ฝายนาท่อม ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อน้ำอุปโภคบริโภคของการประปาพัทลุงอีกด้วย ซึ่งทั้ง 2 โครงการที่มาตรวจเยี่ยมนี้ เป็นโครงการที่ได้รับน้ำมาจากอ่างเก็บเก็บน้ำคลองใหญ่โดยตรง ซึ่งอ่างเก็บน้ำจะตั้งอยู่เหนือขึ้นไป

กรมส่งเสริมการเกษตร แสดงผลสำเร็จของการดำเนินการแปลงใหญ่ พร้อมเปิดดาวดวงใหม่ ผลไม้แปลงใหญ่ โกอินเตอร์ ได้แก่ สับปะรดผลสด มะขามหวาน มะพร้าวน้ำหอม โชว์สินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มตลาดส่งออกดี ในต่างประเทศ แนะเกษตรกรรวมกลุ่มทำแปลงใหญ่ วิเคราะห์ข้อมูลก่อนการผลิต และทำแผนการผลิตครบวงจร

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยภายหลังการจัดงาน Meet the Press ครั้งที่ 1 “เปิดดาวดวงใหม่ ผลไม้แปลงใหญ่ โกอินเตอร์” เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุมกรมส่งเสริมการเกษตร ว่า โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 เข้าสู่ปีที่ 4 ปัจจุบันมีสินค้ากว่า 70 ชนิดสินค้า จำนวน 5,518 แปลง พื้นที่ 5,542,805 ไร่ เกษตรกร 334,969 ครัวเรือน ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในการผลิตสินค้าแปลงใหญ่ กว่า 22,000 ล้านบาท เกิดเครือข่าย การบริหารจัดการร่วมกัน

ซึ่งภาครัฐเป็นพี่เลี้ยงดูแลให้เกษตรกร สามารถดำเนินการผลิต มีแผนการผลิต ปัจจุบันทุกสินค้ามีตลาดรองรับ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม ซึ่งต้องผ่านโรงงานแปรรูป ได้แก่ อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง โดยผลผลิตจากแปลงใหญ่ จะได้ราคาสูงกว่าเกษตรกรรายย่อยทั่วไป เนื่องจากคุณภาพและปริมาณที่ภาคอุตสาหกรรมมั่นใจได้ รวมทั้งสินค้าอื่นๆ เช่น ผัก ผลไม้ ยังมีการเชื่อมโยงกับ modern trade ต่างๆ เช่น Tesco Lotus, Tops โดยเฉพาะผลไม้ ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญ นอกจากขายตลาดในประเทศ ซึ่งปัจจุบันยังมีผลไม้ดาวเด่นอีกหลายชนิดที่เป็นที่ต้องการของตลาดโลก เช่น สับปะรดผลสด มะพร้าวน้ำหอม และมะขามหวาน ที่มีศักยภาพสูงที่จะส่งออก

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงานฯ ในวันนี้ ยังแสดงให้เห็นถึง การส่งเสริมการเกษตรของสินค้าดาวเด่น 3 ชนิด ได้แก่ สับปะรดผลสด มะขามหวาน และมะพร้าวน้ำหอม ว่าสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ รวมทั้ง บริษัท ไปรษณีย์ไทย ที่มาช่วยแนะนำในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และหาตลาดอย่างไร นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คุณปภาวี สุทธาวิวัฒน์ ผู้แทนจากภาคเอกชนในการส่งออกผลไม้ และว่าที่ร้อยตรี พิทักษ์ พึ่งพเดช เจ้าของแบรนด์ “เดี่ยว บ้านแพ้ว” เกษตรกรแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมที่มาร่วมให้ข้อแนะนำในการผลิตสินค้า เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และเกษตรกร เข้าใจและตระหนักถึงการรักษาคุณภาพ ให้ได้มาตรฐาน พร้อมทั้งแนะวิธีการในการผลิตเพื่อการส่งออก ทำอย่างไรสินค้าเกษตรถึงจะไปสู่ตลาดโลกได้

ปัจจุบัน สับปะรดผลสด เข้าสู่ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวน 35 แปลง เกษตรกร เข้าร่วม 1,622 ครัวเรือน พื้นที่ 32,729 ไร่ มีจังหวัดที่ดำเนินการ 15 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ชลบุรี ชัยภูมิ เชียงราย นครพนม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ภูเก็ต ระยอง ราชบุรี ลำปาง เลย หนองคาย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี

มะขามหวาน เข้าสู่ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวน 16 แปลง เกษตรกรเข้าร่วม 901 ราย พื้นที่ 16,791 ไร่ จังหวัดที่ดำเนินการ 5 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ นครราชสีมา น่าน อุตรดิตถ์ ชัยภูมิ

มะพร้าวน้ำหอม เข้าสู่ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวน 11 แปลง เกษตรกรเข้าร่วม 401 ราย พื้นที่ 5,135 ไร่ จังหวัดที่ดำเนินการ 4 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร

“ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำตรัง จังหวัดตรัง ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก เนื่องจากปริมาณน้ำจากแม่น้ำตรัง ที่ไหลล้นเข้าท่วมในเขตอำเภอเมืองและพื้นที่ใกล้เคียง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน และกระทบต่อความเป็นอยู่ของราษฎรเป็นอย่างมาก”

นี่คือส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ได้สรุปให้ สื่อมวลชนได้รับทราบ ถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำตรัง ในระหว่างการจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจรดูงานการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เมื่อเร็วๆนี้ ณ จุดที่จะสร้างประตูระบายน้ำ(ปตร.)แม่น้ำตรัง
ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว และนำมาซึ่งความเดือดร้อน ในฐานะที่กรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบเพื่อดำเนินการแก้ไข จึงได้มีการศึกษาและวางแผนการแก้ไขปัญหาภารใต้โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตรัง-ปะเหลียน โดยดำเนินการขุดลอกและขยายลำน้ำเดิม ขุดช่องลัด ขุดคลองผันน้ำ “แต่ปรากฏว่า ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมมากนัก” รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าว

ซึ่งต่อมาโครงการก่อสร้างฝายน้ำล้น และขุดคลองสายใหม่ เพื่อบรรเทาอุทกภัย กรมชลประทาน โดยสำนักงานบริหารโครงการ ได้จัดทำรายงานวางโครงการระบบระบายน้ำแม่น้ำตรัง ซึ่งเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรม อุปโภคบริโภค และบรรเทาอุทกภัยได้เป็นอย่างดี “แต่เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำของแม่น้ำตรังมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จะต้องมีการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ จึงจำเป็นต้องสร้างประตูระบายน้ำแม่น้ำตรัง เพื่อควบคุมปริมาณการระบายน้ำ และกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง”

คาด ศึกษา EIA แล้วเสร็จ ส.ค.62 เริ่มก่อสร้างปี 64
รองอธิบายกรมชลประทานอธิบายต่อไปว่า กรมชลประทาน จึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วย อาทิ บริษัท ซิกมา ไฮโดร คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นต้น ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมประตูระบายน้ำแม่น้ำตรัง จังหวัดตรัง

สำหรับเหตุผลความจำเป็นในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นการก่อสร้างประตูระบายน้ำในแม่น้ำตรัง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลัก เข้าข่ายการจัดทำรายงาน EIA ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องการกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยในโครงการนี้นั้นจะศึกษา EIA ทั้งพื้นที่รับผลกระทบ ทั้งพื้นที่ก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่น้ำตรัง,พื้นที่แนวคลองผันน้ำหนองตรุด-คลองช้าง พื้นที่แนวปรับปรุงแม่น้ำตรังบริเวณคอขวด และพื้นที่ช่องลัดน้ำแม่น้ำตรัง รวมถึงพื้นที่ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่รับประโยชน์ ประกอบด้วยพื้นที่รับประโยชน์คลองระบายน้ำหลากหนองตรุด-คลองช้าง 10,000 ไร่,พื้นที่รับประโยชน์ด้านเหนือประตูระบายน้ำแม่น้ำตรัง 7,600 ไร่ และพื้นที่รับประโยชน์ด้านการบรรเทาอุทกภัย 59,573 ไร่

การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ประตูระบายน้ำแห่งนี้ ตามกำหนดดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2562 นี้ หลังจากนั้นต้องนำเข้าสู่ขบวนการพิจารณา โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นหน่วยงานหลักการพิจารณา ซึ่งหากผ่านขั้นตอนดังกล่าวแล้วจะเข้าสู่การกำหนดการก่อสร้าง หากไม่มีปัญหาคาดว่าสามารถก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่น้ำตรังได้ในประมาณปี 2564 นี้” รองอธิบดีกรมชลประธาน กล่าว

อนึ่ง สำหรับการก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่น้ำตรังนี้ ทางกรมชลประทานได้มีการกำหนด การชดเชยที่ดินและทรัพย์สิน ทั้งบริเวณก่อสร้าง ปตร. รวมผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมดภายในโครงการ ซึ่งจะมีทั้งสิ้น 88 แปลง ของประชาชน จำนวน 46 ราย ซึ่งทุกรายพร้อมต่างยินดีและพร้อมเสียสละ เพื่อนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาและสร้างคุณภาพชีวิตของชาวจังหวัดตรังให้ดีขึ้น ด้วยไม่ต้องประสบปัญหาอุทกภัยในช่วงหน้าฝน

ประโยชน์ที่เกิด สร้างสุขให้กับคนตรัง
สำหรับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นนั้น รองอธิบดีกรมชลประทานอธิบายว่า ประตูระบายแม่น้ำตรังจะทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านเข้าสู่ตัวเมืองตรังได้มากกว่า 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(ลบ.ม./วินาที) ในช่วงฤดูน้ำหลาก และทดน้ำเข้าคลองผันน้ำในอัตราที่เหมาะสม สอดคล้องกับการบริหารจัดการน้ำหลากในพื้นที่ อีกทั้ง ยังสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งได้อีกด้วย” นายเฉลิมเกียรติกล่าว

นอกจากนี้ ยังได้วางแผนขุดลอก/ปรับปรุงแม่น้ำตรังร่วมกับการขุดช่องลัดแม่น้ำตรัง เนื่องจากพบว่าแม่น้ำตรังบริเวณช่วงสุดท้ายจุดบรรจบกับคลองผันน้ำมีลักษณะคดเคี้ยว เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ ดังนั้น เพื่อให้การระบายน้ำลงสู่ทะเลได้เร็วขึ้น จะต้องดำเนินการขุดขยายแม่น้ำตรังช่วงท้ายน้ำร่วมกับการขุดช่องลัดแม่น้ำตรัง ด้วยการขุด ใน 4 ช่องทาง ได้แก่

ช่องลัดที่ 1 (ขุดใหม่) บริเวณพื้นที่ตำบลนาโต๊ะหมิง อำเภอเมืองตรัง ระยะทางประมาณ 245 เมตร
ช่องลัดที่ 2 (ขุดใหม่) บริเวณพื้นที่ตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง ระยะทางประมาณ 563 เมตร
ช่องลัดที่ 3 (แนวคลองเดิม) บริเวณพื้นที่ตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง ระยะทางประมาณ 350 เมตร
ช่องลัดที่ 4 (แนวคลองเดิม) บริเวณพื้นที่ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง ระยะทางประมาณ 874 เมตร รวมระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร

“ซึ่งทั้งหมดนี้จะสามารถย่นระยะทางการระบายน้ำได้มากกว่า 6 กิโลเมตร ช่วยบรรเทาและลดปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองตรังได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งช่วยเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการอุปโภค บริโภค และการเกษตรในฤดูแล้ง รวมทั้งเพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำในการช่วยผลักดันน้ำเค็มในฤดูแล้ง” รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวในที่สุด

เรื่อง/ภาพ : ลุงพร เกษตรก้าวไกล

วันนี้ (30 พ.ค.62) “เกษตรก้าวไกล” เข้าป่ากับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เป็นป่าไม้ชุมชนบางเสด็จ หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ธนาคารต้นไม้ชุมชนบางเสด็จ” ตั้งอยู่บริเวณวัดท่าสุทธาวาส ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ถือว่าเป็น 1 ในชุมชนต้นไม้ 6,804 ชุมชน ที่ ธ.ก.ส.ให้การสนับสนุน

ในการเข้าป่าชุมชนครั้งนี้ นอกจากจะได้ชมความก้าวหน้าของธนาคารต้นไม้ ซึ่งวันนี้ คุณป้าเพยาว์ แสงประไพ ในฐานะประธานธนาคารต้นไม้ภาคกลาง ได้สาธิตวิธีการวัดต้นไม้ให้ดูชม และ คุณกรสมรรถ เลาพิกานนท์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาอ่างทอง เป็นพี่เลี้ยงที่คอยอธิบายหรือให้ข้อมูลเสริมเพื่อความถูกต้อง เพราะว่าทั้งหลายทั้งหมดวิธีการประเมินแบบนี้ทางธ.ก.ส.จะนำมาใช้ในการประเมินค่าหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเงินกู้ ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งจะทำให้เกษตรกรหรือชาวบ้านเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้นและเป็นการส่งเสริมให้มีการปลูกต้นไม้สร้างความร่มรื่นไปในตัว

หลักการของ ธ.ก.ส.ที่จะพิจารณาว่าต้นไม้ชนิดไหนควรจจะมีค่าหรือมีราคาเท่าไรได้จัดแบ่งประเภทพันธุ์ไม้เศรษฐกิจเป็น 4 กลุ่ม จากทั้งหมด 58 ชนิด โดยใช้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราการเติบโต รอบตัดฟัน และมูลค่าของเนื้อไม้ วิธีการนี้ทางคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ศึกษาจัดทำขึ้นร่วมกับธ.ก.ส.และทดลองนำร่องมาใช้เมื่อไม่นานมานี้ ถือเป็นการตอบรับที่ภาครัฐได้มีการปลดล็อกให้มีการปลูกไม้มีค่าเป็นไม้เศรษฐกิจ

กลุ่มที่ 1 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตเร็ว รอบตัดฟันสั้น มูลค่าของเนื้อไม้ต่ำ กลุ่มนี้จะมีมูลค่าต่ำ เช่น ยูคาลิปตัส สัตตบรรณ กระถินเทพา กระถินณรงค์ ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้ค่อนข้างสูง เช่น ประดู่ ยางนา กระบาก สะตอ ฯลฯ
กลุ่มที่ 3 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูง ได้แก่ สัก ฯลฯ
กลุ่มที่ 4 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตช้า รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูงมาก เช่น พะยูง ชิงชัน จันทน์หอม มะค่าโมง ฯลฯ

หลักการอีกอย่างของ ธ.ก.ส. www.thehistoryof.net ในการประเมินราคาต้นไม้ที่กำหนดไว้เบื้องต้นคือต้องเป็นต้นไม้อายุ 1 ปีขึ้นไป มีลำต้นตรง 2 เมตรขึ้นไป โดยจะต้องเป็นต้นไม้ที่ปลูกในที่ดินตนเอง และจะปล่อยกู้ให้ 50% ของราคาประเมินต้นไม้ชนิดนั้นๆ

ทุเรียนพื้นเมือง 600 สายพันธุ์-กำลังเจียระไนสู่เกษตรกรไทย

ในงาน มหกรรมชิมทุเรียน ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี (25-28 เมษายน 2562) ไม่เพียงแต่มีทุเรียนทั้งพันธุ์ใหม่ๆ และพันธุ์โบราณ หรือพันธุ์พื้นเมืองกว่า 50 สายพันธุ์ มาให้ได้ชิมกัน แต่ยังมีนิทรรศการความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะการนำพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านมาทำเป็นข้อมูลโปสเตอร์และมีผลผลิตทุเรียนบางสายพันธุ์มาวางโชว์ไว้

เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง “เกษตรก้าวไกล” จึงได้สัมภาษณ์ คุณศิริพร วรกุลดำรงชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร ทำให้ทราบว่าที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้รวบรวมพันธุ์ทุเรียนพื้นเมืองไว้กว่า 600 สายพันธุ์ (แบ่งเป็น 6 กลุ่ม) แต่ว่าที่นำมาให้ชิมและโชว์ในงานนั้นเฉพาะสายพันธุ์ที่มีผลผลิตในช่วงนี้ ซึ่งการที่จะสร้างให้ทุเรียนไทยเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่มีความเติบโตอย่างยั่งยืน จะต้องมีกลยุทธ์การพัฒนา

“สิ่งที่เรามองก็คือจะต้องมีกลยุทธ์การแข่งขันในตลาดโลก คือการสร้างสายพันธุ์ใหม่ๆขึ้นมา เหมือนที่มาเลเซียเขาสร้างมูซังคิงเขาพยายามประชาสัมพันธ์ ซึ่งก็คือทุเรียนพื้นเมืองที่มีรสชาติดี ของเราก็มีช้างเผือกในป่าเยอะมากที่มีรสชาติดี ตรงนี้ถือเป็นความโชคดีที่เรามีทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่า เพียงแต่ว่าต้องรอการเอามาขัดสีฉวีวรรณ(เจียระไน)ที่จะนำมาพัฒนาทำเป็นการค้าได้เลยหรือนำมาปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที่เขาบกพร่อง…” ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยพืชสวน กล่าวอย่างเห็นภาพชัดเลยทีเดียว และบอกว่าขณะนี้มีหลายสายพันธุ์ เช่น กลุ่มทุเรียนพันธุ์การค้าของนนทบุรีที่มีมาแต่เดิมกำลังกระจายพันธุ์ไปสู่พี่น้องเกษตรกรและในปี 2562 จะเปิดให้จองประมาณเดือนพฤษภาคมนี้ (วันเวลาที่ชัดเจนจะนำมาแจ้งผ่านเว็บไซต์นี้อีกครั้ง-และความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ดูคลิปวิดีโอนาทีที่ 13.20 เป็นต้นไป) รวมทั้งพันธุ์พื้นเมืองที่ได้มีการทดสอบรสชาติเพื่อให้เกิดความมั่นใจ

สำหรับรายชื่อพันธุ์ทุเรียนที่ปลูกในประเทศไทย ที่นำมาบอกกล่าวนี้ (6 กลุ่ม) ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีชื่อทุเรียนพันธุ์อะไรบ้าง ขอให้ตรวจสอบได้ แต่ขอบอกไว้ก่อนว่ารายชื่อดังกล่าวไม่ครบทั้ง 600 พันธุ์ ที่นำมาบอกกล่าวนี้ทราบว่าเป็นทุเรียนพันธุ์ที่เด่นๆ ที่มีการปลูกทั่วไป (ขอให้ผู้สนใจชมจาก คลิปวิดีโอว่าพันธุ์ที่มีผลผลิตและนำมาโชว์ในงานมหกรรมชิมทุเรียนมีพันธุ์อะไรบ้าง) (รายชื่อที่ครบ 600 ชื่อ จะได้ค้นหามานำเสนอต่อไป)

ทุเรียนพันธุ์ทั่วไป (พันธุ์พื้นเมือง/โบราณ)
ทุเรียนที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งตามลักษณะของผลจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มกบ มีลักษณะรูปทรงใบเป็นแบบรูปไข่ขอบขนาน (oval-oblong) ลักษณะปลายใบเป็นแบบแหลมโค้ง (acuminate-curve) ลักษณะฐานใบเป็นแบบกลมมน (rounded-obtuse) และลักษณะทรงผลของกลุ่มกบนี้จะกระจายอยู่ใน 3 ลักษณะคือกลม (rounded) กลมรี (oval) กลมแป้น (oblate) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะโค้งงอ (hooked)

ทุเรียนกลุ่มกบมี 46 พันธุ์ ได้แก่ 1. กบแม่เฒ่า 2. กบเล็บเหยี่ยว 3. กบตาขำ 4. กบพิกุล 5. กบวัดกล้วย 6. กบชายน้ำ 7. กบสาวน้อย (กบก้านสั้น) 8. กบสุวรรณ 9. กบเจ้าคุณ 10. กบตาท้วม (กบดำ) 11. กบตาปุ่น 12. กบหน้าศาล 13. กบจำปา (กบแข้งสิงห์) 14. กบเบา 15. กบรัศมี 16. กบตาโห้ 17. กบตาแจ่ม 18. กบทองคำ 19. กบสีนาค 20. กบทองก้อน 21. กบไว 22. กบงู 23. กบตาเฒ่า 24. กบชมพู 25. กบพลเทพ 26. กบพวง 27. กบวัดเพลง 28. กบก้านเหลือง 29. กบตานวล 30. กบตามาก 31. กบทองเพ็ง 32. กบราชเนตร 33. กบแก้ว 34. กบตานุช 35. กบตามิตร 36. กลีบสมุทร 37. กบตาแม้น 38. การะเกด 39. กบซ่อนกลิ่น 40. กบตาเป็น 41. กบทองดี 42. กบธีระ 43. กบมังกร 44. กบลำเจียก 45. กบหลังวิหาร และ46. กบหัวล้าน

กลุ่มลวง มีลักษณะรูปทรงใบ ป้อมกลางใบ (elliptical) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate-acute) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) และมน (obtuse) ลักษณะทรงผลกระจายอยู่ใน 2 ลักษณะ คือ ทรงกระบอก (cylindroidal) และรูปรี (elliptic) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะเว้า (concave)
ทุเรียนกลุ่มลวงมี 12 พันธุ์ ได้แก่ 1. ลวง 2. ลวงทอง 3. ลวงมะรุม 4. ชะนี 5. ชะนีกิ่งม้วน 6. ชมพูศรี 7. ย่ำมะหวาด 8. สายหยุด 9. ชะนีก้านยาว 10. ชะนีน้ำตาลทราย 11. มดแดง และ 12. สีเทา

กลุ่มก้านยาว มีลักษณะรูปทรงใบแบบป้อมปลายใบ (obovate-lanceolate) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ลักษณะฐานใบเรียว (caunate acute) ลักษณะทรงผลเป็นรูปไข่กลับ (obovate) และกลม (rounded) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะนูน (convex)
ทุเรียนกลุ่มก้านยาวมี 8 พันธุ์ ได้แก่ 1. ก้านยาว 2. ก้านยาววัดสัก (เหลืองประเสริฐ) 3. ก้านยาวสีนาค 4. ก้านยาวพวง 5. ก้านยาวใบด่าง 6. ทองสุก 7. ชมภูบาน และ 8. ต้นใหญ่

กลุ่มกำปั่น มีลักษณะรูปทรงใบ ยาวเรียว (linear-oblong) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (caudate-acuminate) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) ลักษณะทรงผลเป็นทรงขอบขนาน (oblong) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะแหลมตรง (pointed)
ทุเรียนกลุ่มกำปั่นมี 13 พันธุ์ ได้แก่ 1. กำปั่นเดิม (กำปั่นขาว) 2. กำปั่นเหลือง (เจ้ากรม) 3. กำปั่นแดง 4. กำปั่นตาแพ 5. กำปั่นพวง 6. ชายมะไฟ 7. ปิ่นทอง 8. เม็ดในกำปั่น 9. เห-รา 10. หมอนเดิม 11. หมอนทอง 12. กำปั่นบางสีทอง และ 13. ลุงเกตุ

กลุ่มทองย้อย มีลักษณะรูปทรงใบแบบป้อมปลายใบ (obovate-lanceolate) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ลักษณะฐานใบมน (obtuse) ลักษณะทรงผลเป็นรูปไข่ (ovate) รูปร่างของ หนามผลมีลักษณะนูนปลายแหลม (pointed-convex)
ทุเรียนกลุ่มทองย้อยมี 14 พันธุ์ ได้แก่ 1. ทองย้อยเดิม 2. ทองย้อยฉัตร 3. ฉัตร 4. ฉัตรสีนาค 5. ฉัตรสีทอง 6. พวงฉัตร 7. ทองใหม่ 8. นมสวรรค์ 9. ทับทิม 10. ธรณีไหว 11. นกหยิบ 12. แดงรัศมี 13. อีอึ่ง และ 14. อีทุย

กลุ่มเบ็ดเตล็ด ทุเรียนที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้มีลักษณะไม่แน่ชัด บางลักษณะอาจเหมือนกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งใน 5 กลุ่มแรก ขณะเดียวกันก็มีลักษณะที่ผันแปรออกไป เช่น ลักษณะรูปทรงใบจะมีลักษณะป้อมกลางใบ (elliptical) หรือรูปไข่ขอบขนาน (oval-oblong) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate-acute หรือ cuspidate-acuminate) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) หรือมน (obtuse) ลักษณะทรงผลกระจายกันอยู่ใน ๓ ลักษณะ คือ กลมแป้น (oblate) กลมรี (oval) และทรงกระบอก (cylindroidal) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะเว้าปลายแหลม (pointed-concave) หรือนูนปลายแหลม (pointed-convex)
ทุเรียนกลุ่มเบ็ดเตล็ดมี 81 พันธุ์ ได้แก่ 1. กะเทยเนื้อขาว 2. กะเทยเนื้อแดง 3. กะเทยเนื้อเหลือง 4. กระดุมทอง 5. กระดุมสีนาค 6. กระโปรงทอง 7. กระปุกทอง (กระปุกทองดี) 8. ก้อนทอง 9. เขียวตำลึง 10. ขุนทอง 11. จอกลอย 12. ชายมังคุด 13. แดงช่างเขียน 14. แดงตาน้อย 15. แดงตาเผื่อน 16. แดงสาวน้อย 17. ดาวกระจาย 18. ตะพาบน้ำ 19. ตะโก (ทองแดง) 20. ตุ้มทอง 21. ทศพิณ 22. ทองคำตาพรวด 23. ทองม้วน 24. ทองคำ 25. นกกระจิบ 26. บาตรทองคำ (อีบาตร) 27. บางขุนนนท์ 28. เป็ดถบ 29. ฝอยทอง 30 พวงมาลัย 31. พวงมณี 32. เม็ดในยายปราง 33. เม็ดในบางขุนนนท์ 34. ยินดี 35.. ลำเจียก 36. สีทอง 37. สีไพร 38. สาวชมเห็ด 39. สาวชมฟักทอง (ฟักทอง) 40. หางสิงห์ 41. เหรียญทอง 42. ไอ้เข้ 43. อินทรชิต 44. อีล่า 45. อีลีบ 46. อียักษ์ 47. อีหนัก 48. ตอสามเส้า 49. ทองนพคุณ 50. ทองหยอด 51. ทองหยิบ 52. นมสด 53. เนื้อหนา 54..โบราณ 55. ฟักข้าว 56. พื้นเมืองเกาะช้าง 57. มะนาว 58. เม็ดในกระดุม 59. เม็ดในก้านยาว 60. เม็ดในลวง 61. เมล็ดพงษ์พันธุ์ 62. เมล็ดเผียน 63. เมล็ดลับแล 64. เมล็ดสม 65. เมล็ดอารีย์ 66. ย่ามแม่วาด 67. ลวงเพาะเมล็ด 68. ลุงไหล 69. ลูกหนัก 70. สาเก 71. สาวใหญ่ 72. หมอนข้าง 73. หมอนละอองฟ้า 74. หลงลับแล 75. ห้าลูกไม่ถึงผัว 76. เหมราช 77. เหลืองทอง 78. อีงอน 79. ไอ้เม่น 80. ไอ้ใหม่ และ 81. กะเทยขั้วสั้น

อนึ่ง การแบ่งกลุ่มทุเรียน จัดแบ่งตามลักษณะของผล แต่กรณีของชื่อสายพันธุ์ทุเรียน ที่ฟังดูอาจจะชื่อบ้านๆ แปลกๆ จนกลายเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง (แค่ชื่อก็กินขาด-ขอให้ดูคลิปด้านบนประกอบ-และทวนดูว่ามีชื่อไหนแปลกและถูกใจท่านบ้าง) จากการสอบถาม คุณสุริยัน มิสกร นักวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ทราบว่าที่มาของชื่อโดยส่วนใหญ่มักตั้งชื่อตามลักษณะของพันธุ์ทุเรียนชนิดนั้นๆ หรือไม่ก็ต้องชื่อตามชื่อคนปลูกคนแรก หรือไม่ก็ตั้งชื่อตามท้องถิ่นที่ปลูก ฯลฯ ตัวอย่างการตั้งชื่อตามลักษณะพันธุ์ เช่น กลุ่มลวง จะเป็นทุเรียนที่เปลือกเยอะ แต่เนื้อมีน้อย (เหมือนว่าจะมีเนื้อ) ก็เลยตั้งชื่อว่ากลุ่มลวง หรือตั้งตามสถานที่เช่น ทุเรียนพันธุ์จอกลอย (กลุ่มเบ็ดเตล็ด) มาจากนนทบุรี เพราะเป็นทุเรียที่ปลูกในร่องสวนที่มีร่องน้ำ เวลามันหล่น(ลูกเล็ก) ก็จะหล่นบนจอก(จอกแหน)ยังไม่จมเลย จึงเป็นที่มาของพันธุ์ “จอกลอย” หรือตั้งตามชื่อบุคคล จะพบมากในทุเรียนกลุ่มกบ อย่างนี้เป็นต้น

ทุเรียนพันธุ์ส่งเสริม (พันธุ์การค้าในปัจจุบัน)
พันธุ์ชะนี
ลักษณะเด่น เนื้อละเอียดเหนียว สีสวย มีสีเหลืองเข้ม การสุกของเนื้อในผลเดียวกันสม่ำเสมอ ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่าพอสมควร
ลักษณะด้อย ออกดอกติดผลไม่ดี มักพบอาการแกน เต่าเผา ไส้ซึม งอมแล้วเนื้อแฉะ กลิ่นฉุน คุณภาพเนื้อ ไม่เหมาะสำหรับแปรรูป
พันธุ์หมอนทอง
ลักษณะเด่น เนื้อหนา เมล็ดลีบ กลิ่นไม่แรง ติดผลดี ผลสุกเก็บได้นานกว่าพันธุ์อื่น (เมื่อสุกงอมเนื้อไม่แฉะ) ไม่ค่อยพบอาการแกน เต่าเผาหรือไส้ซึม คุณภาพเนื้อเหมาะสำหรับการแปรรูป ในรูปแบบของการแช่แข็ง กวน และทอดกรอบ
ลักษณะด้อย ไม่ทนทานต่อรากเน่า โคนเน่า เนื้อหยาบ สีเนื้อเหลืองอ่อน (ไม่เข้ม) มักพบการสุกไม่สม่ำเสมอ อาจสุกทั้งผล สุกบางพู หรือสุกบางส่วนในพูเดียวกัน
พันธุ์ก้านยาว
ลักษณะเด่น เนื้อละเอียดเหนียว สีเนื้อสม่ำเสมอ เมื่อสุกงอมแล้วเนื้อไม่แฉะ ติดผลดี พบอาการแกนเล็กน้อย ติดผลง่าย ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่
ลักษณะด้อย เปลือกหนา เนื้อไม่ค่อยหนา เมล็ดมีขนาดใหญ่และมีจำนวนมากเป็นไส้ซึมง่าย มีอาการเต่าเผาปานกลาง ไม่ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า ถ้าหากมีจำนวนผลมากคุณภาพผลจะไม่ดีและจะทำให้กิ่งแห้งตายในภายหลัง อายุการให้ผลหลังปลูกช้า ผลสุกเก็บได้นาน ก้นผลจะแตกง่าย
พันธุ์กระดุม
ลักษณะเด่น ออกดอกเร็ว ผลแก่เร็วจึงขายได้ราคาดีและไม่มีปัญหาไส้ซึม อายุการให้ผลหลังปลูกเร็ว ติดผลดี ผลดก
ลักษณะด้อย ไม่ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า ผลมีขนาดเล็ก เนื้อบาง ถ้าออกผลล่าช้าไปตรงกับการออกผลของพันธุ์อื่นจะมีปัญหาเรื่องตลาด (กรมวิชาการเกษตร)

นอกจากพันธุ์ทุเรียนดังกล่าวแล้ว ประเทศไทยยังมีทุเรียนพันธุ์ลูกผสมใหม่ๆ เช่น พันธุ์จันทบุรี 1-10 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้ทยอยเปิดตัว และมีการรับรองพันธุ์ พร้อมทั้งกระจายพันธุ์สู่เกษตรกรและพี่น้องประชาชนแล้ว

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตข้าวโพดหวานของประเทศในปี 2562 (ข้อมูลพยากรณ์ ณ มีนาคม 2562) คาดว่า มีเนื้อที่เพาะปลูก รวมทั้งประเทศ 237,700 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้วซึ่งมีจำนวน 245,629 ไร่ (ลดลง 7,929 ไร่ หรือร้อยละ 3.23) เนื้อที่เก็บเกี่ยว 232,526 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้วซึ่งมีจำนวน 242,729 ไร่ (ลดลง 10,203 ไร่ หรือร้อยละ 4.20) ผลผลิตรวม 520,603 ตัน ลดลงจากปีที่แล้วซึ่งมีจำนวน 535,365 ตัน (ลดลง 14,762 ไร่ หรือร้อยละ 2.76) ผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 2,239 กก./ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่จำนวน 2,206 กก./ไร่ (เพิ่มขึ้น 33 กก./ไร่ หรือร้อยละ 1.50) ซึ่งภาพรวมผลผลิตลดลงตามการลดลงของเนื้อที่เพาะปลูก โดยเนื้อที่เก็บเกี่ยวลดลง เนื่องจากปริมาณในแหล่งน้ำธรรมชาติในช่วงฤดูแล้งมีน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้มีน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก เกษตรกรจึงปล่อยเนื้อที่ให้ว่าง ด้านผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากในแหล่งผลิตที่ทำการเพาะปลูกได้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต ทั้งนี้ ข้าวโพดหวานในประเทศนิยมปลูกในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ กาญจนบุรี เป็นส่วนใหญ่ และผลผลิตจะออกมาในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม โดยจะออกมากในเดือนกรกฎาคม ร้อยละ 17.45 ของผลผลิตทั้งประเทศ

หากมองถึงการบริโภคข้าวโพดหวานในประเทศ พบว่า ปัจจุบันการบริโภคข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสมมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากมีการพัฒนาข้าวโพดหวานสายพันธุ์ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น พันธุ์ทับทิมสยาม ที่สามารถบริโภคสดได้โดยไม่ต้องทําให้สุกก่อน ในขณะที่ข้าวโพดหวานพันธุ์พื้นเมือง เช่น พันธุ์ข้าวเหนียว ข้าวโพดเทียน ยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่องจากผู้บริโภค

ทั้งนี้ ไทยนับว่าเป็นประเทศส่งออกข้าวโพดหวานอันดับ 1 ของโลกมาตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และจากการที่แหล่งผลิตข้าวโพดหวานในสหภาพยุโรปและทวีปอื่นๆ ซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งที่สําคัญของไทยประสบความเสียหายจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (เอลนีโญ-ลานีญา) จึงส่งผลให้ข้าวโพดหวานของไทย ในปี 2561 สามารถส่งออกได้มากถึง 532,370 ตัน คิดเป็นมูลค่า 7,956 พันล้านบาท โดยปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ซึ่งส่งออกได้ 489,992 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.65) คิดเป็นมูลค่า 7,662 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.84) และคาดว่าปี 2562 การส่งออกจะเติบโตไปในทิศทางบวกเช่นเดียวกันเนื่องจากข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสมเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตและมีความต้องการข้าวโพดหวานปรุงแต่งเพื่อส่งออก โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ซาอุดิอาระเบีย อย่างไรก็ตาม

ในส่วนของการผลิตในประเทศ เกษตรกรควรดูแลคุณภาพผลผลิต และเฝ้าระวังโรคและแมลงที่ระบาดอยู่ใน บางพื้นที่ เช่น หนอนกระทู้ โรคใบลาย โรคใบไหม้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อปริมาณและผลผลิตได้คุณภาพตามต้องการ

ธ.ก.ส.เผยผลงานปีบัญชี 61 สนับสนุนสินเชื่อรวมแล้วกว่า 6.78 แสนล้านบาท ตั้งเป้าปี 62 อำนวยสินเชื่อรวม 7.70 แสนล้านบาท สินเชื่อเติบโตเพิ่ม 95,000 ล้านบาท และเงินฝากเพิ่ม 60,000 ล้านบาท พร้อมชูนโยบายการปฏิรูปภาคเกษตรเพื่อสร้างความยั่งยืน และ “ธ.ก.ส. Go Green” โดยส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และการผลิตอาหารปลอดภัย ตั้งแต่ปลูก แปรรูป ช่องทางการตลาดและมีมาตรฐานรับรอง พร้อมหนุนการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว การต่อยอดธนาคารต้นไม้สู่ชุมชนไม้มีค่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า สร้างความมั่นคงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ปี 61 ปล่อยสินเชื่อกว่า 6.78 แสนล้านบาท
นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในบัญชี 2561 (1 เมษายน 2561 – 31 มีนาคม 2562) ว่า ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคชนบทแล้ว จำนวน 678,342 ล้านบาท สินเชื่อเติบโต 81,647 ล้านบาท ทำให้สินเชื่อรวมเท่ากับ 1,449,504 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากต้นปีร้อยละ 5.86 มียอดเงินรับฝากรวม 1,617,760 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.75 มีสินทรัพย์รวม 1,873,822 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.47 หนี้สินรวม 1,738,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.80 และส่วนของเจ้าของรวม 135,541 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.41 โดยมีรายได้จากการดำเนินงานรวม 100,883 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากต้นปีร้อยละ 7.74 ค่าใช้จ่ายรวม 90,998 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.62 และมีกำไรสุทธิ 9,885 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.24 คิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (ROA) ร้อยละ 0.55 ขณะที่ NPLs อยู่ที่ร้อยละ 3.87 โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงร้อยละ 11.82 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกฎกระทรวงว่าด้วยการดำรงเงินกองทุนที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.50

ในช่วงปีบัญชี 2561 ธ.ก.ส. ได้ดำเนินนโยบายสำคัญ เพื่อดูแลและพัฒนาเกษตรกรลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ มาตรการลดภาระหนี้เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปภาคเกษตรตามแนวทางเกษตรประชารัฐ ผ่านโครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 2.92 ล้านราย จำนวนเงิน 642,605.82 ล้านบาท และโครงการขยายเวลาชำระหนี้ต้นเงินกู้ (3 ปี) มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 2.91 ล้านราย จำนวนเงิน 889,815 ล้านบาท และดำเนินการสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติอีก 7 แผนงาน ได้แก่ 1) แผนงานพัฒนาและยกระดับเกษตรกรผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ซึ่งทำให้เกษตรกรผู้มีรายได้น้อยที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 2,156,703 ราย มีรายได้เพิ่มมากกว่า 30,000 บาท/ปี จำนวน 837,867 ราย หรือร้อยละ 51.44 และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากกว่า 100,000 บาท/ปี จำนวน 29,911 ราย หรือร้อยละ 1 2) แผนงานพัฒนาและสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร โดยมีเกษตรกรและทายาทเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาสู่ Smart Farmer และยกระดับสหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ SMEs เกษตร เพื่อเป็นหัวขบวนในการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต การสร้างงานและรายได้ รวม 9,485 ราย 3) แผนงานเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์การเกษตรโครงการตลาดประชารัฐ โดยจัดตลาดประชารัฐในพื้นที่สาขา ธ.ก.ส. ที่มีทำเลเหมาะสมทั่วประเทศ จำนวน 280 แห่ง มีผู้ค้าเข้าร่วมโครงการ 6,974 ราย 4) โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2561

มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 1.92 ล้านราย พื้นที่ 27.6 ล้านไร่ โดยจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่เกษตรกรผู้ประสบภัยที่เข้าร่วมโครงการแล้ว 128,221 ราย พื้นที่จ่ายค่าทดแทนสินไหมกว่า 1.38 ล้านไร่ เป็นจำนวนเงิน 1,741 ล้านบาท ซึ่งเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. เข้าถึงประกันภัยทางการเกษตร ร้อยละ 95.82 5) แผนงานสร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกร (โครงการเงินออมกองทุนทวีสุข/กอช.) มีเกษตรกรที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก จำนวน 1.55 ล้านราย และมีสมาชิกที่ออมเงินต่อเนื่อง ร้อยละ 50.67 6) แผนงานพัฒนาความร่วมมือกับพันธมิตรให้เป็นเครือข่ายทางการเงิน จำนวน 1,540 แห่ง และ 7) แผนงานพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอุดมสุข มีชุมชนเข้าร่วม 928 แห่ง นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินโครงการนโยบายรัฐอื่น ๆ เช่น โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าว โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางและปาล์มน้ำมัน โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรายย่อยผู้ปลูกข้าว โครงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูการทำนา เป็นต้น

ปี 62 ปล่อยสินเชื่อ 3 กลุ่ม มุ่งปฏิรูปภาคเกษตร
สำหรับปีบัญชี 2562 (1 เมษายน 2562 -31 มีนาคม 2563) ธ.ก.ส.ตั้งเป้าอำนวยสินเชื่อจำนวน 770,000 ล้านบาท โดยขยายสินเชื่อเพิ่มจำนวน 95,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเงินทุนในการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ที่ตรงกับความต้องการของเกษตรกรลูกค้า 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่ม Small ซึ่งเป็นลูกค้าที่ยังคงมีปัญหาด้านเงินทุนและการประกอบอาชีพ เช่น ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วงเงิน 13,000 ล้านบาท กลุ่ม Smart หรือกลุ่มลูกค้าทั่วไป รวมถึงทายาทเกษตรกรวงเงิน 44,000 ล้านบาท และกลุ่ม SMAEs หรือผู้ประกอบการด้านการเกษตร กลุ่มสหกรณ์การเกษตรและวิสาหกิจชุมชนที่เป็นหัวขบวนในการเพิ่มมูลค่าผลผลิต วงเงิน 38,000 ล้านบาท ส่วนด้านเงินฝากมีเป้าหมายเพิ่มขึ้น 60,000 ล้านบาท จากการออกผลิตภัณฑ์และบริการ เช่น สลากออมทรัพย์ เงินฝากแบบมีกรมธรรม์และสวัสดิการ กองทุนทวีสุข เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการออมเงินและการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกค้าในกลุ่มต่าง ๆ

นายอภิรมย์ กล่าวต่อไปว่า การดำเนินงานในปีบัญชี 2562 จะขับเคลื่อนภายใต้แผนการปฏิรูปภาคเกษตร ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ชาติ โดยมุ่งเน้นการปรับการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การใช้โดรนเพื่อการเกษตร การปลูกพืชโดยระบบน้ำหยด การผสมปุ๋ยใช้เอง เป็นต้น การเปลี่ยนการผลิตให้สอดคล้องกับพื้นที่และความต้องการของตลาด เช่น เกษตรแปลงใหญ่ Thai Rice Nama เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น การพัฒนาสหกรณ์การเกษตรและผู้ประกอบการ SMAEs และการเชื่อมโยงด้านการตลาด เป็นต้น

นอกจากนี้ ธ.ก.ส.ยังมุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืนภายใต้หลัก “ธ.ก.ส. Go Green” โดยมีเป้าหมายสนับสนุนชุมชน 400 ชุมชน พื้นที่กว่า 40,000 ไร่ เพื่อร่วมกันผลิตอาหารปลอดภัยและการทำเกษตรอินทรีย์ พร้อมบูรณาการกับส่วนงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุนและผลักดันให้ชุมชนมีการตรวจสอบคุณภาพการผลิตและมีการรับรองมาตรฐาน เช่น GAP Organic Thailand PGA เป็นต้น และต่อยอดโดยการรวบรวมและแปรรูปผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมทั้งสนับสนุนช่องทางการตลาด เช่น ตลาดชุมชน ตลาด อตก.

Modern Trade ร้านอาหาร A-Farm Mart E-commerce และตลาดประชารัฐ เป็นต้น การยกระดับโครงการธนาคารต้นไม้ ธ.ก.ส.สู่ชุมชนไม้มีค่า จำนวน 1,000 ชุมชน โดยสมาชิกชุมชนปลูกต้นไม้มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างน้อยชุมชนละ 20,000 ต้น การพัฒนาผู้ตรวจประเมินมูลค่าต้นไม้ เพื่อเป็นหลักประกันทางสินเชื่อและธุรกิจ และผู้ประเมินการกักเก็บคาร์บอนตามแนวทางโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าชเรือนกระจก (LESS) ให้กับชุมชน จำนวน 4,000 คน รวมถึงการสร้างวิสาหกิจชุมชนจำนวน 400 แห่ง เพื่อพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ไม้ของชุมชน โดยนำวัตถุดิบที่ได้จากต้นไม้ เช่น กิ่งใบ ลำต้น เป็นต้น มาแปรรูปสร้างรายได้แก่ชุมชน ทั้งนี้ ปัจจุบัน ธ.ก.ส.มีสมาชิกธนาคารต้นไม้ จำนวน 6,827 ชุมชน จำนวนสมาชิก 117,461 ราย มีต้นไม้ที่ปลูกเพิ่มขึ้นในประเทศแล้วกว่า 11.8 ล้านต้น

การสนับสนุนการพัฒนาชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาอาชีพ การลดต้นทุนการผลิต การผลิตอาหารปลอดภัย เป็นต้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ มิติทางสังคม มิติทางสิ่งแวดล้อม และมิติทางวัฒนธรรมประเพณี จำนวน 3,000 ชุมชน โดยยกระดับชุมชนที่มีศักยภาพพัฒนาไปสู่ชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ จำนวน 35 ชุมชน

ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการและเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ธ.ก.ส.ได้พัฒนาการบริการผ่านแอพพลิเคชั่น ธ.ก.ส. A-Mobile ให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงิน การถอนเงินโดยไม่ใช้บัตร ATM และชำระค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ การซื้อสลากออมทรัพย์และบริการความรู้ด้านการเกษตรต่าง ๆ บริการบัตรเดบิต ธ.ก.ส. ที่สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยไม่ต้องใช้เงินสด ซึ่งเหมาะกับ Lifestyle ของลูกค้ากลุ่มคน รุ่นใหม่ ทั้งสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย การจัดทำบริการบัตรเงินสด การจัดหาเครื่องมือทางเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนสถาบันการเงินชุมชน รวมถึงบริการเปิดบัญชีด้วยตนเอง ผ่าน ธ.ก.ส. A-Mobile

สำหรับมาตรการในการดูแลเกษตรลูกค้าที่ประสบภัยต่าง ๆ เช่น ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จนส่งผลให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพทางการเกษตร ธ.ก.ส.ดำเนินการผ่านการให้สินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับเกษตรกรลูกค้าผู้ประสบภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าให้มีเงินทุนสำหรับสร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัย/โรงเรือนหรือเครื่องมือจักรกลทางการเกษตร หรือฟื้นฟูการผลิตที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติ และยังเป็นการลด/ป้องกันการก่อหนี้นอกระบบของเกษตรกร วงเงิน 5,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย MRR-2 วงเงินกู้ ไม่เกินรายละ 500,000 บาท

กว่า 40 ปีที่รอคอย ความหวังของราษฎรบ้านแก้งกะอามเริ่มเป็นรูปธรรม เมื่อกรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหลัว จังหวัดกาฬสินธุ์

บ้านแก้งกะอาม เป็นหมู่บ้านที่อยู่บริเวณที่ราบเชิงเขาภูพาน ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก จึงทำให้เพาะปลูกพืชได้เพียงปีละครั้ง อีกทั้งบางปีที่ฝนทิ้งช่วงก็ทำให้นาข้าวได้รับความเสียหาย

ได้ผลผลิตไม่เต็มที่ www.stacyscreations.net จึงได้รวมตัวกันร้องขอให้สร้างอ่างเก็บน้ำผาเสวยตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 กรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาวางโครงการพบว่า สามารถที่จะพัฒนาเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลางได้ โดยสร้างเขื่อนกั้นลำห้วยหลัวที่บริเวณหมู่ที่ 6 บ้านแก้งกะอาม ต.ผาเสวย สามารถเก็บกักน้ำ

ผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่ม และความพยายามฟันฝ่าอุปสรรค

แนวคิดในการทำงาน สิ่งที่ภาคภูมิใจที่สุดคือ การเป็นเกษตรกร โดยมีแนวคิดในการทำการเกษตร คือ “ทำจริง ต่อยอด พัฒนา ส่งต่อ” ซึ่งให้คำนิยามดังนี้

ทำจริง คือ มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ต่อยอด คือ นำองค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้รับมาทดลองปฏิบัติและปรับปรุงให้เหมาะสมกับพื้นที่
พัฒนา คือ พัฒนาตนเองโดยเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอและนำมาประยุกต์ใช้ภายในสวน
ส่งต่อ คือ การส่งต่อกิจการสู่รุ่นลูกและส่งต่อองค์ความรู้สู่เพื่อนเกษตรกรอย่างไม่ปิดบัง

คุณเรือง ศรีนาราง พื้นฐานครอบครัวประกอบอาชีพทำนา ฐานะยากจน รักอาชีพเกษตรกร จึงมุ่งมั่นเรียนด้านการเกษตร หลังจากจบการศึกษาระดับ ปวช. ปี 2523 ได้เริ่มทำงานเป็นลูกจ้างในสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดจันทบุรี ต่อมาได้ทำงานปลูกป่าที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จังหวัดจันทบุรี เริ่มประกอบอาชีพทำสวนควบคู่กับทำงานเป็นลูกจ้างไปด้วย

ในระยะแรกทำสวนในลักษณะกงสีมีพ่อแม่ของภรรยาเป็นเจ้าของสวน มีพื้นที่ประมาณ 40 ไร่ ปลูกทุเรียนหลายสายพันธุ์ เงาะ ลองกอง ในรูปแบบผสมผสานในที่ดินผืนเดียวกัน โดยเน้นทุเรียนเป็นหลัก ต่อมาในปี 2539 เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ชาวสวนประสบปัญหาภัยแล้ง น้ำแห้ง ฝนทิ้งช่วงไม่มีน้ำรดต้นไม้ จึงมีแนวคิดในการบริหารจัดการน้ำโดยสร้างอ่างเก็บกักน้ำ และเป็นแบบอย่างให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ

นำไปปฏิบัติตามเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการแย่งกันใช้น้ำของชุมชน ต่อมาในปี 2545 วางแผนการบริหารจัดการสวนไม้ผลโดยอาศัยองค์ความรู้จากผู้มีประสบการณ์และศึกษาการตลาดจากพ่อค้าที่มารับซื้อทุเรียน โดยเฉพาะเรื่องการทำทุเรียนนอกฤดู ช่วงระยะเวลาในการออกดอก ระยะที่ผลผลิตออกมาไม่ล้นตลาด จึงริเริ่มทำทุเรียนนอกฤดู ส่งผลให้มีผลผลิตมากขึ้น และได้ราคาที่สูง จึงมีเงินทุนในการขยายพื้นที่เพิ่มอีกขึ้น ปัจจุบันมีพื้นที่ประมาณ 127 ไร่ เน้นปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเป็นหลัก จากประสบการณ์การปลูกทุเรียนทำให้เกิดองค์ความรู้ต่างๆ ดังนี้

จากประสบการณ์ทำให้เกิดองค์ความรู้
1) การทำทุเรียนให้ออกก่อนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยมีเทคนิคการทำให้ออกก่อนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้ผลผลิตและแก้ไขปัญหาผลผลิตกระจุกตัวซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำในช่วงออกสู่ตลาดมาก ดังนี้

1.1) การฉีดพ่นสารพาโคลบิวทราโซล

1.2) การคลุมโคนด้วยผ้าพลาสติก และตัดปลายรากฝอย เพื่อลดความชื้นในดินและลดการหาอาหารของรากพืช เมื่อเริ่มออกดอกจึงนำพลาสติกออก พบว่าออกดอกเร็วขึ้นและตาดอกไม่เปลี่ยนเป็นตาใบถึงแม้จะมีฝนตกหนัก

2) การปรับพื้นที่เพื่อปลูกทุเรียนในที่นาเก่าหรือที่ลุ่ม ซึ่งเป็นพื้นที่นาเก่าไม่เหมาะสมกับการปลูกไม้ผลโดยเฉพาะทุเรียนจึงได้พัฒนาพื้นที่โดยการปลูกแบบยกโคก และขุดร่องระบายน้ำ เป็นต้น

3) การปลูกระยะชิด โดยใช้ระยะ 10 X 10 เมตร และปลูกทุเรียนแซมระหว่างกลาง ทำให้พื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกทุเรียนได้เพิ่มมากขึ้นเป็น 30 ต้นต่อไร่ เป็นวิธีหนึ่งช่วยในเรื่องการเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ รวมทั้งใช้เครื่องจักรกลเข้ามาช่วยในการผลิตทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง

4) การดูแลรักษาต้นทุเรียนอายุมาก เนื่องจากทุเรียนที่ปลูกบางส่วนเป็นทุเรียนชุดแรกมีอายุมากประมาณ 32 ปี จำเป็นต้องดูแลรักษาโดยตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยเคมีหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทันทีเพื่อให้ได้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องทุกปี

5) การป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าโดยใช้ความร้อน สาเหตุเกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า ทำให้ต้นทุเรียนทรุดโทรม หากเป็นมากๆ ต้องโค่นต้นทิ้ง จึงนำเทคนิคการใช้ความร้อนเพื่อรักษาโรคดังกล่าว ดังนี้

5.1) ขูดเปลือกไม้ให้เห็นแผลชัดเจน และนำเปลือกไม้ไปเผาทำลายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อลงสู่ดิน

5.2) ใช้ความร้อนจากหัวพ่นแก็ส พ่นบริเวณแผลที่ขูดให้ทั่วแผล

5.3) ทำด้วยสารเคมีเมทาแลกซิลหรือ ฟอสอีทิล-อลูมีเนียมที่บริเวณแผล

5.4) เมื่อแผลแห้งทาทับด้วยเชื้อไตรโคเดอร์มาเพื่อควบคุมโรคอีกครั้งหนึ่ง

6) การให้ปุ๋ยและเชื้อไตรโคเดอร์มา + น้ำหมัก+จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง พร้อมระบบน้ำเพื่อประหยัดแรงงาน การให้ปุ๋ยเคมีจะให้เฉพาะฤดูแล้ง ส่วนการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา น้ำหมัก จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง สามารถให้ได้ตลอดทั้งปี

7) การปลูกไม้บังลมเพื่อลดความเสียหายของผลผลิตและใบทุเรียน การทำสวนสิ่งที่ควบคุมได้ยาก คือ สภาพภูมิอากาศและลมพายุ ซึ่งส่งผลต่อผลผลิตทำให้หลุดร่วงในช่วงติดผลและใบทุเรียนได้รับความเสียหาย ต่อการสังเคราะห์แสงของทุเรียน จึงป้องกันโดยการปลูกไม้บังลมเช่น กระถินเทพา ไผ่ เป็นต้น

8) การปลูกพืชแซมเพื่อสร้างรายได้ระหว่างปี เป็นการจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพราะการทำสวนทุเรียน จะให้ผลผลิตเพียงปีละครั้ง จึงต้องปลูกพืชเศรษฐกิจหรือไม้ใช้สอยอื่นๆ แซมระหว่างต้น เช่น ลองกอง กาแฟ หมาก เป็นต้น เพื่อทำให้เกิดรายได้ระหว่างปี และเป็นแนวทางทำการเกษตรแบบยั่งยืน

9) การใช้เครื่องจักรกลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน เพื่อลดการใช้แรงงานคน เช่น รถตัดหญ้าแบบนั่ง รถพ่นยาแบบแอร์บัส เครื่องผสมปุ๋ย รถยก เป็นต้น

10) น้ำหมักชีวภาพและจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มธาตุอาหารต่างๆ ให้เหมาะ กับการเจริญเติบโตของพืช

ผลงานและความสำเร็จของผลงาน ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ตลอดระยะเวลา ที่ปฏิบัติงานและความยั่งยืนในอาชีพ
ปี 2561 ผลผลิตเฉลี่ย 2,887 กก./ไร่ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร : 1,136 กก./ไร่)
ต้นทุนการผลิต ปี 2559 : 25,379 บาท/ไร่ (10 บาท/กิโลกรัม) , ปี 2560 : 21,825 บาท/ไร่ (9 บาท/กิโลกรัม), ปี 2561 : 22,452 บาท/ไร่ (8 บาท/กิโลกรัม)
ได้รับรองมาตรฐาน GAP จำนวน 100 ไร่
มีแผนการผลิตเพื่อให้ทุเรียนสามารถเก็บเกี่ยวได้ช่วงกลางเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงที่ราคาทุเรียนสูง และเพิ่มคุณภาพผลผลิตเกรด A- B ประมาณ 82 เปอร์เซ็นต์ และมีผลผลิตตกไซด์ 18 เปอร์เซ็นต์
การใช้เทคโนโลยีการปรับปรุงสภาพการผลิต เช่น การผลิตทุเรียนคุณภาพดีก่อนฤดูเพื่อการส่งออก หรือจัดการให้ต้นทุเรียนพร้อมเพื่อการผลิตนอกฤดู ด้วยการฉีดพ่นสารพาโคลบิวทราโซล การจัดการเพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตด้วยการตัดแต่งผล โยงผล นับวันเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 110-120 วันหลังดอกบาน และการปลูกพืชแซม เพื่อเสริมรายได้เพิ่ม
ความยั่งยืนในอาชีพ มีบุตรที่ช่วยดูแลกิจการโดย บุตรชายช่วยดูแลด้านการผลิตและธุรกิจล้งรวบรวมผลผลิตทุเรียน ส่วนบุตรสาวช่วยดูแลด้านตลาดและจำหน่ายผลผลิตสดและแปรรูป รวมทั้งจำหน่ายผ่านระบบออนไลน์
การเพิ่มมูลค่าผลผลิตและการตลาด
การเพิ่มมูลค่า โดยนำผลผลิตที่ตกเกรดไปแปรรูปภายใต้ชื่อ “ALLBOX”
การตลาด ร่วมกับสภาเกษตรกรจังหวัดตราด เปิดล้งรวบรวมทุเรียนสดคุณภาพดีส่งไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้แผงชื่อ “แผงตาเรือง”

ความเป็นผู้นำและการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในด้านต่างๆ
ปี 2553-ปัจจุบัน รองประธานสภาเกษตรกรจังหวัดตราดคนที่ 1
ปี 2555-ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งในสภาเกษตรกรจังหวัดตราด ดังนี้ ประธานคณะทำงานด้านพืชสวนและพืชไร่ รองประธานคณะทำงานด้านข้าว คณะทำงานด้านเกษตรอินทรีย์และเศรษฐกิจพอเพียง การบริหารจัดการน้ำและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คณะทำงานด้านปศุสัตว์ คณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม
ปี 2555-ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอื่นๆ ดังนี้ ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างคลองขวาง ประธานกรรมการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนฯ,รองประธานคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนคลองขวาง
ปี 2560 ประธานชุมชนกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ชุมชนที่ 5 ตำบลท่ากุ่ม ภายใต้โครงการ 9101
ปี 2560 –ปัจจุบัน ประธานกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนท่ากุ่ม-เนินทราย
ปี 2561 ประธานวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ทุเรียนท่ากุ่ม – เนินทราย ประธานศูนย์ดิน-ปุ๋ยตำบลท่ากุ่ม ประธานกลุ่มย่อยโครงการส่งเสริมรายได้ ประธานแปลงใหญ่จังหวัดตราด เลขานุการแปลงใหญ่ระดับเขต
ปัจจุบันเป็น Smart farmer ต้นแบบ
เป็นคณะทำงานร่วมประชุมวางแผนแก้ไขปัญหาผลไม้ร่วมกับหน่วยงานราชการและท้องถิ่น รวมทั้งจัดทำข้อเสนอการพัฒนาคุณภาพผลไม้เพื่อยกระดับราคาตามแนวทาง GAP
คณะทำงานเจรจาการค้ากับแม่ค้าไทยและลาว จังหวัดหนองคายร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมจัดนิทรรศการเพื่อนำเสนอผลไม้ไทยในประเทศญี่ปุ่นร่วมกับกรมวิชาการเกษตร นำทุเรียนไปร่วมจัดนิทรรศการเพื่อนำเสนอผลไม้ไทยในประเทศกัมพูชาและเวียดนามร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดตราด
ร่วมกับบริษัทไทยอะกริเน็ตเวิร์ค หรือบริษัทเครือข่ายเกษตรกร 4 ภูมิภาค รวบรวมผลผลิตทุเรียนจำนวน 340 ตัน มูลค่า 27.2 ล้านบาทส่งตลาดประเทศจีน
เป็นวิทยากรรับเชิญจากทั้งมหาวิทยาลัยและกลุ่มเกษตรกร
เป็นผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเป็นคณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประจำจังหวัดตราดตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ.2560

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่ตั้งสวนอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน (สปก.) โดยเป็นชื่อของครอบครัว
ปรับปรุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่ทำเอง ร่วมกับปุ๋ยเคมี เป็นการลดต้นทุนการผลิต
ป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยใช้จุลินทรีย์ที่ทำเองโดยเฉพาะไตรโคเดอร์มาร่วมกับวิธีกล (ขูดเปลือก เผาไฟ และทาเชื้อโตรโคเดอร์มา)
ป้องกันกำจัดเชื้อไฟทอปธอร่าในทุเรียน, สารหมักจากเชื้อ พ.ด.8 เพื่อกำจัดไรแดง และจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน
รักษาความชื้นในดิน โดยตัดหญ้าด้วยเครื่องตัดหญ้าแทนการใช้สารเคมีและปลูกพืชแซม
รักษาแหล่งน้ำ ด้วยการขุดลอกคลองเพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดปีและเผื่อแผ่ให้เกษตรกรใกล้เคียง
มีการจัดการบ้านพักและสวนเป็นสัดส่วน มีแหล่งน้ำที่เพียงพอ ติดตั้งระบบสปริงเกอร์ทุกต้น

วันนี้ได้ดูคลิปของ คุณปา ไชยปัญหา ที่ส่งผ่านมาทางไลน์ กลุ่มเกษตรตามรอยพ่อ https://bit.ly/2DiHddR เป็นคลิปแนะนำกิจกรรมและความเคลื่อนไหวของไร่อรหันต์ โคราช ที่คุณปาเป็นเจ้าของ…และแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ว่าต่อไปนี้ทางไร่อรหันต์จะมีช่อง YouTube เป็นของตนเอง…ผมได้ชมก็เกิดแรงบันดาลใจให้เขียนเรื่องนี้ เรื่องที่ว่าเกษตรกรไทยทุกคนควรจะเปิดช่องทีวีออนไลน์ หรือช่อง YouTube เป็นของตนเอง

ทุกท่านคงทราบดีว่ายุคนี้เป็นยุค Digital Disruption คือดิจิทัลทำลายล้างทุกอย่าง โดยเฉพาะคนหรือธุรกิจที่ปรับตัวไม่ทันการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าคนนั้นจะตัวใหญ่หรือธุรกิจนั้นจะเคยมั่นคงแค่ไหน เจอพายุดิจิทัลลูกเดียวพังระเนระนาด แต่จะร้ายแค่ไหนก็ถือว่าเป็นโอกาสอย่างมากสำหรับคนตัวเล็กหรือธุรกิจขนาดเล็ก เพราะยิ่งเล็กยิ่งปรับตัวได้เร็วกว่า ที่เคยบอกว่าปลาใหญ่กินปลาเล็ก กลายเป็นว่าปลาเร็วกินปลาช้า…

สำหรับผมถือว่าเป็นยุคที่จะได้เกิดใหม่ คนตัวเล็กตัวใหญ่เท่าเทียมกันอีกครั้ง ทุกอาชีพไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกันมาก และโอกาสเป็นของทุกคนอีกครั้ง “ไม่ควรที่จะปล่อยให้โอกาสนี้หลุดมือ” โดยเฉพาะการนำอาวุธดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือ หรือทำให้เป็นสมุนรับใช้ ใครสามารถนำมาใช้ได้ก่อนกันก็จะได้เปรียบทันที (ยุคที่อินเตอร์เน็ตเข้าถึงทุกบ้าน นั่นหมายถึงมันพร้อมจะรับใช้เรา)

ผมจึงเห็นด้วยอย่างยิ่งที่คุณปา แห่งไร่อรหันต์ จะเปิดช่อง YouTube รวมทั้งเพื่อนๆของผมคนอื่นๆ ที่หันมาเปิดกันหลายรายแล้ว ที่เห็นด้วยนั้นก็เพราะว่าสมัยนี้คนชอบดูคลิปวิดีโอมากกว่าการอ่านตัวหนังสือ และเป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่าย ทั้งคนทำหรือคนผลิตก็สามารถทำได้ง่าย ผลิตได้ง่าย ที่สำคัญต้นทุนในการทำหรือผลิตนั้นต่ำมาก โดยเฉพาะช่อง YouTube ไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเหมือนเว็บไซต์และใช้เวลาหรือขั้นตอนในการอัฟโหลดง่ายกว่ากันมาก แถม LIVE Streaming ถ่ายทอดสดได้ทุกเมื่อที่ต้องการ จึงถือว่าทรงประสิทธิผลมากกว่าเป็นไหนๆ

ช่อง YouTube ยังสามารถทำเป็นช่องทางสร้างรายได้ นอกเหนือจากการทำช่องเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของสินค้าของกิจการ เรียกว่าเป็นการทำตลาดออนไลน์ด้วยวิดีโอ ส่วนถ้าจะทำเป็นช่องสร้างรายได้ ก็จำเป็นที่จะต้องทุ่มเท หรือเป็นมืออาชีพ เรียกว่า YouTuber แต่ก็ไม่ยากที่จะเรียนรู้

พูดถึงการเรียนรู้ “เกษตรก้าวไกล” (เว็บไซต์ข่าวเกษตรประเทศไทย) มีข่าวดีดีแจ้งให้ทราบว่า ในปี 2562 เราได้ร่วมมือกับพันธมิตรจัดโครงการเกษตรคือประเทศไทย ปี 2 คือไม่เพียงออกเดินทางค้นหาสุดยอดเกษตรกรประเทศไทย (Thailand Super Farmers) แต่เราจะเสริมด้วยกิจกรรมต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ ห้องเรียนกลางสวน (Course for Farmers) ซึ่งได้มีการแนะนำไปบ้างแล้ว และอีกกิจกรรมหนึ่งที่จะเดินคู่กันคือ โครงการอบรมติดอาวุธความรู้(ดิจิทัล)ให้เกษตรกรไทยพร้อมรบในโลกออนไลน์ ชื่อโครงการอาจจะยาวไปหน่อย แต่ชื่อสั้นๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า “Digital for Farmers” (ฟังชื่อแล้วพอได้ไหมครับ) เพราะต้องยอมรับอาวุธดิจิทัลทรงพลังในเรื่องการตลาดสมัยใหม่มาก หรือเรียกว่า เป็นเครื่องมือเดียวที่จะทำให้เกษตรกรทัดเทียม มีอิสระในโลกการค้าเสรีมากขึ้น ขอเพียงใช้เครื่องมือให้เป็น ใช้โทรศัพท์มือถือให้คุ้มประโยชน์ แค่นี้ก็จะลงสนามรบได้

เราจึงขอป่าวประกาศว่าเราจะออกเดินสายจัดอบรมทั่วประเทศ ประมาณ 10 ครั้ง โดยสถานที่กำหนดไว้เบื้องต้น เช่น ที่จังหวัดชุมพร จังหวัดอุตรดิตถ์ ฯลฯ แต่ละสถานที่นั้นจะอยู่ในชุมชน เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยมีโอกาสเข้าถึงให้มากที่สุด และวิธีการกำหนดสถานที่ของเรานั้นจะเปิดโอกาสให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดเอง คือชุมชนใดที่รวบรวมสมาชิกได้ประมาณ 30 คน เราก็จะเดินทางไปเปิดอบรมให้

สำหรับหัวข้อการอบรม จะเน้นเรื่องการทำตลาดออนไลน์ (Digital Marketing) การตลาดที่จะเชื่อมต่อกับคนทั้งโลก “ตลาดทะลุโลก” เน้นการตลาดออนไลน์แบบที่เกษตรกรทำได้ง่ายๆ เช่น การซื้อขายผ่านโซเชียลมีเดีย การเปิดช่องยูทูป การ LIVE สดขายสินค้า การใช้แอปพลิเคชั่นมาเป็นตัวช่วยในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการตัดต่อวิดิโอ การถ่ายภาพ ฯลฯ (สรุปคือว่า เน้นการใช้เครื่องมือให้เป็น และใช้โทรศัพท์มือถือให้คุ้มประโยชน์…รายละเอียดกำหนดการและหัวข้ออบรม จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง)

สิ่งที่อยากย้ำคือ…ในเบื้องต้นนี้ชุมชนไหนที่ประสงค์จะให้ทีมงานของเราไปเปิดอบรม ขอให้รีบแจ้ง โดยการอบรมทั้งหมดไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ จะเป็นการจัดร่วมกันกับชุมชนนั้นๆ โดยที่ชุมชนอาจจะจัดหาเรื่องสถานที่และเตรียมสมาชิกในชุมชนมาเข้าอบรม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.ไอดีไลน์ 0813090599 (ลุงพร) หรืออีเมล์ kasetkaoklai@gmail.com โดยโครงการของเราจะเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน-ตุลาคม …อย่าลืมแจ้งความประสงค์เข้ามาตั้งแต่เนิ่นๆ นะครับ

หมายเหตุ : ขอเชิญชวนมายังหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมสนับสนุนโครงการนี้ เพราะนี่คือโอกาสของเกษตรกรไทยที่จะได้เกิดในเรื่องการตลาดนำการผลิต ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งในทางปฏิบัติจะต้องให้เกษตรกรทำการตลาดได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะ Digital Marketing ดังกล่าวแล้ว

ชาวนาสุพรรณบุรี และจังหวัดใกล้เคียง ประกาศร่วมมือร่วมใจไม่เผาตอซังข้าวอีกต่อไป https://bit.ly/2GBZk0e คำประกาศนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2562 ณ ทุ่งนา อำเภอศรีประจันต์ โดย บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้นำธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน พร้อมเป็นผู้นำนวัตกรรมเกษตรเพื่ออนาคต แก้ปัญหาการเผาภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน ได้ดำเนินการจัดงานนี้ขึ้น ภายใต้โครงการ Zero Burn เกษตรปลอดการเผา ตอน ชาวนาไทยไร้ฝุ่นควัน เพื่อส่งเสริมชาวนาไทย ทำเกษตรปลอดการเผา เพิ่มมูลค่าฟางข้าวเหลือทิ้งเป็นรายได้เสริม ไถกลบตอซังเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่แปลงนา พร้อมจับมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน และกรมวิชาการเกษตร ให้ความรู้และสนับสนุนการทำนาข้าวด้วยเครื่องจักรกลแบบครบวงจร รวมถึง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตั้งเป้าทำให้ได้ภายใน 3 ปี

ตั้งเป้าพื้นที่เกษตร 140 ล้านไร่ ปลอดเผา 100% ใน 3 ปี
นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า มลพิษที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 เป็นปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากการเผาในที่โล่งกว่า 50% โดยเฉพาะในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน สถานการณ์จะหนักในช่วงพฤศจิกายนถึงพฤษภาคม ส่วนในภาคกลางมักจะได้รับผลกระทบจากการเผาตอซังในนาข้าว เนื่องจากเป็นแหล่งปลูกข้าวในเขตชลประทานที่ทำนาปีละ 2 ครั้ง ซึ่งปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน เพื่อลดปัญหาการเผาจากภาคการเกษตร จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายและมาตรการต่างๆ

ของรัฐบาลที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การดำเนินการควบคุมการเผาตอซังข้าวในพื้นที่เกษตรกรรมและควบคุมการเผาในที่โล่ง โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจัดส่งเจ้าหน้าที่เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการหยุดเผาในพื้นที่เกษตร สร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาให้ถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพเกษตรกรในชุมชนให้นำเทคโนโลยีนวัตกรรมเกษตรจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ทดแทนการเผา ล่าสุดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร ได้รับความร่วมมือจากบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด จัดตั้งโครงการ Zero Burn เกษตรปลอดการเผา ขึ้น เพื่อส่งเสริมเกษตรกรไทยทำการเกษตรแบบไม่เผา ด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรอย่างครบวงจรในพืชที่กระทรวงดูแลรับผิดชอบอยู่ ได้แก่ ข้าวและข้าวโพด โดยตั้งเป้าพื้นที่เกษตรของไทยกว่า 140 ล้านไร่ให้เป็นเกษตรปลอดการเผา 100% ภายใน 3 ปี

พื้นที่ปลูกข้าว 70 ล้านไร่ ตอซัง 18 ล้านตัน จะต้องเพิ่มมูลค่า
นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวปีละประมาณ 70 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.40 ของพื้นที่ทำการเกษตร ในแต่ละปีมีฟางข้าวเหลือทิ้งในนาเฉลี่ย 27 ล้านตัน และมีตอซังข้าวที่ตกค้างอยู่ในนาข้าวประมาณ 18 ล้านตัน ซึ่งฟางข้าวและตอซังข้าวเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีปริมาณมากที่สุดเมื่อเทียบกับตอซังพืชอื่น

โดยในพื้นที่ปลูกข้าว 1 ไร่ มีปริมาณฟางข้าวและตอซัง โดยเฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม นับเป็นปัจจัยหลักที่เกษตรกรส่วนมากนิยมเผาตอซังข้าวเพื่อให้เกิดความสะดวกในการไถเตรียมดิน ง่ายต่อการกำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืช ซึ่งวิธีดังกล่าวจะทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนไป สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 พันล้านบาทต่อปี แต่หากเปลี่ยนเป็นวิธีไถกลบตอซังข้าวในพื้นที่ 1 ไร่ จะเป็นการเพิ่มธาตุอาหารหลักลงในดิน ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม คิดเป็นมูลค่า 900 บาท/ไร่

ซึ่งช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ อีกทั้งทำลายจุลินทรีย์และแมลงที่เป็นประโยชน์ การเผาตอซังพืชทำให้ผิวดินมีอุณหภูมิสูงถึง 90 องศาเซลเซียส ทำให้สูญเสียน้ำในดิน ส่งผลให้ความชื้นในดินลดลง โดยกรมการข้าวได้จัดโครงการรณรงค์งดเผาฟางและไถกลบตอซังพืชอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรตระหนักถึงผลกระทบจากการเผาฟาง ชี้ให้เห็นถึงข้อดีของการไถกลบตอซังพืชที่สามารถช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ง่ายต่อการเตรียมดิน เพิ่มธาตุอาหารทางเคมีตรงตามที่พืชต้องการ

ต้านทานความเป็นกรด-ด่าง และยังช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในดิน อีกทั้งนำฟางข้าวไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น คลุมดินทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง หรืออัดฟางก้อนไปขายเพื่อเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงโค นอกจากนี้สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากฟางข้าว เพื่อสร้างรายได้เสริมทดแทนการเผาอีกด้วย สำหรับโครงการ Zero Burn เกษตรปลอดการเผา ตอน ชาวนาไทยไร้ฝุ่นควัน จะเป็นการเข้าไปให้ความรู้แก่เกษตรกรชาวนาในการเก็บเกี่ยวข้าวหลังฤดูกาลเพาะปลูก ร่วมถึงการทำเกษตรปลอดการเผาด้วยการไถกลบตอซัง และนำฟางข้าวที่เหลือทิ้งมาอัดเป็นฟางก้อนเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรด้วยเครื่องจักรกลการเกษตร โดยจะเน้นในพื้นที่เกษตรที่มีการเผาสูง หรือจุด Hotspot 10 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อยับยั้งการเกิดจุดความร้อนเพิ่มขึ้น และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางอากาศ

สยามคูโบต้า โชว์จักรกลเกษตรช่วยชาวนาไม่เผาอีกต่อไป
นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึงที่มาของโครงการ Zero Burn เกษตรปลอดการเผา ว่า บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาในภาคการเกษตรอย่างเร่งด่วน จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน พร้อมด้วยกระทรวงอุตสาหกรรม

โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จัดโครงการ “Zero Burn เกษตรปลอดการเผา” ขึ้น เพื่อรณรงค์ให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบไม่เผา ในพืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ ข้าว อ้อย และข้าวโพด พร้อมลงพื้นที่สนับสนุนการทำเกษตรด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร และให้ความรู้ในด้านต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มรายได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร รวมถึงส่งเสริมให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของอินทรียวัตถุ การรักษาความชื้นในดิน เพื่อการทำเกษตรอย่างยั่งยืนด้วยองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้เกษตรกรมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะใช้ระยะเวลาดำเนินงานร่วมกันในทุกภาคส่วน 3 ปีหลังจากนี้ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่เกษตรปลอดการเผา 100%

โครงการ Zero Burn เกษตรปลอดการเผา จะเริ่มรณรงค์จากเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ภายใต้ชื่อ ตอน “ชาวนาไทยไร้ฝุ่นควัน” ซึ่งหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เศษวัสดุเหลือใช้จากนาข้าวทั้งฟางข้าวและตอซังข้าว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อชาวนาเป็นอย่างมาก หากเกษตรกรมีการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาใช้งานอย่างครบวงจร ในส่วนของฟางข้าว เกษตรกรสามารถเพิ่มมูลค่าของฟางข้าวได้ด้วยการอัดฟางข้าว จากเครื่องอัดฟางคูโบต้า รุ่น HB135 ซึ่งเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้ในการอัดฟาง ทำให้ได้ก้อนฟางที่แน่น ตรงสวย

ลดการหลุดร่วงและการสูญเสียฟางข้าว โดยสามารถอัดฟางได้วันละ 40-50 ไร่ (เฉลี่ย 20-25 ก้อนต่อไร่) ได้ก้อนฟางสูงถึง 1,250 ก้อนต่อวัน ซึ่งรายได้จากการรับจ้างอัดฟางจะมีมูลค่าอยู่ที่ 13 บาทต่อก้อน โดยก้อนฟางเหล่านี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ อาทิ โคนม โคเนื้อ สัตว์เคี้ยวเอื้องเพื่อการพาณิชย์ ช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนสำหรับฟาร์มโคเนื้อ ตลอดจนสร้างรายได้เสริมด้วยการใช้เครื่องอัดฟางอีกด้วย นอกจากนี้หากมีการฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ ที่ผ่านกรรมวิธีการหมักผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด. 2 ซึ่งเป็นสารจุลินทรีย์ที่ผลิตโดยกรมพัฒนาที่ดิน

มีคุณสมบัติในการย่อยสลายวัสดุการเกษตรในลักษณะสด อวบน้ำ หรือมีความชื้นสูงเพื่อผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ ด้วยเครื่องพ่นอเนกประสงค์ ตราช้าง รุ่น BS350 ที่มีคุณสมบัติฉีดละอองละเอียดถึง 70 ไมครอน กระจายตัวแทรกซึมทั่วพื้นที่ สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง สามารถเปลี่ยนหัวฉีดได้หลากหลายให้เหมาะกับพืชแต่ละชนิด ระบบหมุนวนภายในถังทำให้สารที่ต้องการฉีดพ่นไม่ตกตะกอน ได้คุณภาพคงที่ หรือจะเป็นนวัตกรรมใหม่ โดรนเพื่อการเกษตร รุ่น MG1-K ซึ่งจะฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพก่อนการไถกลบตอซัง เพื่อช่วยปรับปรุงบำรุงดินเพิ่มธาตุอาหารและฮอร์โมนพืช

สุดท้ายเป็นการไถกลบตอซังข้าว ด้วยผานพรวน ตราช้าง รุ่น DH245-6F-HP ซึ่งเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับไถกลบเศษตอซัง ที่ถูกออกแบบให้เป็นกระทู้แยกสำหรับใบจานแต่ละใบ ทำให้ใช้งานได้เอนกประสงค์ สามารถไถพรวนดินได้ลึก ละเอียด ตลอดจนกลบหรือสาดดินได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาฟางหมุน ปรับตั้งได้ตามความเหมาะสมในการใช้งานในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะช่วยทำให้ดินมีความโปร่ง ร่วนซุย ดินมีการระบายอากาศได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ง่ายต่อการเตรียมดินในการเพาะปลูกครั้งต่อไป ด้วยวิธีการใช้รถดำนาและรถหยอดข้าว ทดแทนการทำนาหว่าน ในโครงการ Zero Broadcast เพื่อส่งเสริมเกษตรกรปลูกข้าวคุณภาพสูง ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า

เรื่อง : ลุงพร เกษตรก้าวไกล (ภาพบางส่วนจาก ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี)

ต้องขอบอกว่าบรรยากาศของงาน มหกรรมชิมทุเรียน ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-28 เมษายน 2562 อบอวลไปด้วยทุเรียนทั้งพันธุ์ใหม่ๆ และพันธุ์โบราณหายากที่นำมาชิมกันกว่า 50 สายพันธุ์ (จากทั้งหมด 600 สายพันธุ์) เรียกว่าเป็นครั้งหนึ่งของชีวิตที่จะมีโอกาสได้ชิมทุเรียนพื้นเมืองมากมายขนาดนี้

การเปิดงานเริ่มต้นขึ้น เวลา 09.30 น. โดย คุณวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในพิธี และกล่าวต้อนรับโดย คุณศิริพร วรกุลดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ซึ่งถือเป็นเจ้าภาพของงานนี้ที่จัดขึ้นปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

คุณศิริพร กล่าวถึงที่มาที่ไปของการจัดงานครั้งนี้ว่า (ประวัติทุเรียนไทย) ประเทศไทยมีการปลูกทุเรียนมายาวนานกว่า 300 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2228 ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในยุคกรุงศรีอยุธยา ในอดีตประเทศไทยมีพันธุ์ทุเรียนมากกว่า 200 สายพันธุ์ แต่ในปัจจุบันพันธุ์ทุเรียนที่นิยมปลูกเป็นการค้ามีอยู่เพียง 5 สายพันธุ์คือ หมอนทอง กระดุมทอง ชะนี ก้านยาว และพวงมณี เท่านั้น

“ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินงานโครงการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากเชื้อพันธุกรรมทุเรียนมาเป็นระยะเวลานาน ต่อเนื่องจากสถานีทดลองพืชสวนพลิ้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 – ปัจจุบันเป็นเวลากว่า 60 ปีแล้ว ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการสำรวจ รวบรวม และจำแนกพันธุ์ทุเรียนจากแหล่งปลูกที่สำคัญจากทั่วประเทศไทยและต่างประเทศ มีจำนวนมากกว่า 600 สายพันธุ์

นำมาปลูกรวบรวมไว้ในแปลงอนุรักษ์และรวบรวมพันธุ์ของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี จำนวน 3 แห่ง พื้นที่ประมาณ 70 ไร่ จนถึงปัจจุบันนี้ นับได้ว่าศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีเป็นแหล่งอนุรักษ์และรวบรวมพันธุ์ทุเรียนที่มากที่สุดในประเทศไทย โดยศูนย์ฯ ได้นำพันธุกรรมเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์เพื่อสร้างทุเรียนลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาเป็นพันธุ์การค้าใหม่ของประเทศไทย ที่ตรงกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ทั้งในด้านความหลากหลาย และมีลักษณะเฉพาะตามรสนิยมในการบริโภคที่แตกต่างกัน ได้แก่ พันธุ์จันทบุรี 1-10 เป็นต้น และเก็บรักษาฐานพันธุกรรมทุเรียนนี้ไว้เพื่อเป็นมรดกสำหรับอนุชนรุ่นหลังสำหรับใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต” ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี

ทางด้าน คุณวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีโอกาสมาเป็นประธานเปิดงานมหกรรมชิมทุเรียน ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ปี 2562 ในครั้งนี้

“ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี เป็นหน่วยงานที่ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนางานด้านไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะทุเรียน รวมทั้งอนุรักษ์และรวบรวมพันธุ์ทุเรียนมากที่สุดในประเทศไทยเป็นระยะเวลานานมากกว่า 60 ปีแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีว่าปัจจุบันมีสายพันธุ์ทุเรียนทั้งพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ต่างประเทศ และพันธุ์การค้าที่รวบรวมไว้ในแปลงปลูกมากกว่า 600 สายพันธุ์ และถือได้ว่าพันธุกรรมทุเรียนเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่เป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติ จากข้อมูลของผู้อำนวยการศูนย์วิจัย พืชสวนจันทบุรีทำให้ทราบว่า

ในปัจจุบันทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทยอยู่ในภาวะเสี่ยงที่ใกล้จะสูญพันธุ์สูง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะภัยทางธรรมชาติ ดังนั้น การอนุรักษ์และรวบรวมพันธุ์ทุเรียนจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างมากทั้งในด้านการนำพันธุกรรมเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์เพื่อสร้างทุเรียนลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ๆ ได้แก่ พันธุ์จันทบุรี 1-10 และเป็นมรดกตกทอดสำหรับอนุชนรุ่นหลังสำหรับใช้เป็นฐานพันธุกรรมทุเรียนในอนาคต และงานมหกรรมชิมทุเรียนฯ

ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีจัดขึ้นครั้งนี้ นอกจากเป็นการช่วยเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ความหลากหลายของทุเรียนในประเทศไทยให้ประชาชนโดยทั่วไปได้รู้จักมากขึ้น โดยการเปิดให้ชิมทุเรียนสายพันธุ์ต่างๆ นำผลทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองโบราณมาจัดแสดง และมีนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับทุเรียนและพันธุ์ทุเรียนแล้วยังเป็นการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของโครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์วิจัย พืชสวนจันทบุรี และการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ และเป็นมหานครผลไม้ที่มีความเด่นมากยิ่งขึ้นด้วย” ผู้ว่าฯ จันทบุรี กล่าว

สำหรับบรรยากาศของงานในวันแรกนี้ ได้มีประชาชนที่ทราบข่าวเดินทางมาร่วมชิมทุเรียนจำนวนไม่ขาดสาย ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าทุเรียนพื้นเมืองไทยรสชาติอร่อยและมีความหลากหลายมาก ปกติชิมแต่พันธุ์หมอนทอง ชะนี ก้านยาว ที่เป็นพันธุ์การค้าไม่เคยได้มีโอกาสชิมทุเรียนพื้นเมืองที่มากเท่าครั้งนี้มาก่อน จึงรู้สึกภาคภูมิใจในมรดกอันล้ำค้าที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างขึ้นและตกทอดมาสู่ลูกหลานไทยในวันนี้

โดยกิจกรรมต่างๆ ในงานมหกรรมชิมทุเรียน นอกจากจะได้ชิมทุเรียนสายพันธุ์ต่างๆ ทั้งพันธุ์พื้นเมืองมากกว่า 50 สายพันธุ์ พันธุ์จันทบุรี และพันธุ์การค้าต่างๆ แล้ว ยังจะได้ชมนิทรรศการความรู้ เรียกว่าอิ่มทั้งกายและใจ โดยเฉพาะการจัดจำแนกกลุ่มพันธุ์ทุเรียน โดยการนำผลทุเรียนสายพันธุ์ต่างๆ มาจัดแสดงให้เห็นจริง และโปสเตอร์ความรู้เกี่ยวกับทุเรียนและพันธุ์ทุเรียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจ และเป็นประสบการณ์ที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้วในประเทศไทย

ท่านที่สนใจขอให้รีบไปชมงาน สมัคร Holiday Palace ระหว่างวันที่ 25-28 เมษายน 2562 เวลา 10.00-14.00 น. ณ อาคารท่องเที่ยวฯ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี…”ขอย้ำว่าเป็นเวลาดี 4 วันเท่านั้นที่จะมีโอกาสครั้งหนึ่งของชีวิตในรอบปี ที่จะได้ชมและชิมทั้งทุเรียนพันธุ์ใหม่และพันธุ์พื้นเมืองหายากจำนวนสายพันธุ์มากที่สุดเท่าที่เคยมีมา”…นี่เป็นคำพูดประสานเสียงของผู้ว่าฯจันทบุรีและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี นะครับ